เสวนาสืบสานประเพณีทำบุญรับขวัญข้าวแม่โพสพ ที่บึงฉลาม ทุ่งมะขามหย่อง


ทำอย่างไรให้ชาวนาปลอดหนี้ มีการเสวนาใน 13 ยุทธศาสตร์ในการแก้ปัญหาหนี้สินชาวนาและเกษตรกร มีนายวิเชียร พวงลำเจียก นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย และนาย ธงไธย คงคาลัย นำเสวนาเพื่อ นำร่างยุทธศาสตร์ นำเสนอต่รัฐสภา และรัฐบาลต่อไป



      การจัดงาน อนุรักษ์สืบสานประเพณีทำบุญรับขวัญแม่โพสพ  ในวันที่ 15 

พฤษภาคม 2556  เปิดงานโดยผู้ว่าราชการจังหวัด พระนครศรีอยุธยา กล่าวรายงาน

โดยนายอำเภอบางประหัน นาย ศิริชัย อัมพวา และมีการแสดงภาคบันเทิงบนเวที 


       วันที่ 16 พฤษภาคม มีการเสวนาจากตัวแทน 28 จังหวัด ประกอบด้วย 

อุบลราชธานี 3 คน 

นครนายก 6 คน

นครปฐม 4 คน 

พระนครศรีอยุธยา 33 คน 

กรุงเทพมหานคร 3 คน

พัทลุง10 คน

 กาญจนบุรี 9 คน 

สงขลา 7 คน 

นครสวรรค์3คน

 ราชบุรี 1 คน 

ศรีษะเกศ 6 

บุรีรัมย์ 2 คน

นครราชสีมา 3 คน 

อำนาจเจริญ 2 คน 

ขอนแก่น1คน  

เชียงราย 1 คน 

บึงกาฬ 1คน 

สมุทรปราการ 1 คน 

อุดรธานี 1คน 

ปทุมธานี 1 คน

สุพรรณบุรี 1 

 เชียงใหม่ 1 คน

อ่างทอง 1 คน 

สกลนคร4 คน 

กาฬสินธ์ 1 คน

ฉะเชิงเทรา3 คน 

ทำอย่างไรให้ชาวนาปลอดหนี้  มีการเสวนาใน 13 ยุทธศาสตร์ในการแก้ปัญหาหนี้สินชาวนาและเกษตรกร  มีนายวิเชียร พวงลำเจียก นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย และนาย ธงไธย คงคาลัย นำเสวนาเพื่อ นำร่างยุทธศาสตร์ นำเสนอต่รัฐสภา และรัฐบาลต่อไป สรุปเวทีการพูดคุยในประเด็นต่างของการเสวนาดังนี้

สรุปร่างยุทธศาสตร์สมาคมชาวนาและเกษตรไทย

1.ฝ่ายการจัดตั้งกองทุน เพื่อสวัสดิการชาวนา

·  ติดตามด้านกฎหมาย

·  ยกร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญสวัสดิการชาวนา

·  งบประมาณ

·  งบภาษีน้ำมัน(ติดที่จัดสรรงบประมาณลงสู่ประชากรไม่ได้

2.ฝ่ายแปรรูปข้าวเปลือกเพื่อเพิ่มมูลค่า เช่นข้าวสารอื่นๆ

3.ฝ่ายการจัดการตั้งร้านค้าชุมชน ธนาคารออมทรัพย์ระดับชุมชน สหกรณ์ชาวนา

·  การจัดตั้งสมาคมกองทุนชาวนา

-  สามารถทำการจัดตั้งกองทุนได้

-  จัดตั้งคณะกรรมการ

-  ร่วมลงทุน

-  จดทะเบียนการจัดตั้งกองทุน

·  คณะกรรมการลงทุนงบประมาณ

แนวทาง

- เกษตรกรมีโรงสีข้าว- ลานตากข้าว

- กำหนดราคาข้าว

- การจัดตั้งสหกรณ์

- มีนโยบายของสมาคม

- จัดตั้งสมาคมจังหวัด

- รวมกลุ่มทุกพื้นที่ของแต่ละจังหวัด

- จัดเป็นกองทุน เป็นของสมาคม

- การควบคุมจัดตั้งสหกรณ์

·  ปัญหา

-  ขาดกองทุนหมุนเวียน

-  มีเงินกู้ดอกเบี้ยน้อย

-  ขาดการจัดการบริหารกองทุน

·  กองทุนสมาคมไม่สามารถจัดซื้อ จัดจ้าง ค้าขาย งบประมาณไม่ได้(สินค้า)

·  กองทุนสมาคมไม่สามารถทำสังคกรรมการเกษตรไม่ได้

4. การแก้ไขปัญหาหนี้สิน

·  รัฐจัดสรรงบประมาณซื้อหนี้สินเกษตรกร

·  เกษตรกรผ่อนส่งรัฐ

·  จัดสรรซื้อที่ดินให้เกษตรกร คนละ 5 ไร่ (เป็นนิคม)

·  การปลูกไม้ใช้หนี้

·  การสร้างตลาดภายใน

·  การจัดตั้งแพทย์แผนไทย

·  การจัดตั้งเกรดข้าว พืช ผัก (เปิดAEC)

·  สถาบันการศึกษาวิจัยการแปรรูปผลผลิตภัณฑ์ข้าว (รูปธรรม)

·  การปรับเปลี่ยนงบประมาณช่วยเหลือเกษตรกร

·  GDP ต้องปรับให้แต่ละอาชีพ

5. การขยายเครือข่ายสมาคม

·  การประสานร่วมกับผู้ประกอบการ(โรงสี)

·  การเชื่อมโยงกับเกษตรกรกับพื้นที่ อำเภอ จังหวัด

·  เกษตรกรรวมพลัง

·  มีงบประมาณ

·  มีการค้นหาคนที่มีความเข้าใจ

·  ปัญหาขยายเครือข่าย  พื้นที่ต่างกัน 

6. การแปรรูปข้าวเปลือกและเพิ่มมูลค่า

·  จัดตั้งโรงสีข้าวชุมชน (รวมกลุ่ม)

·  ข้าวสุญญากาศ

·  การสร้างบรรจุภัณฑ์ (ยี่ห้อ)

·  การส่งเสริมของภาครัฐ

·  สมาคมฯเข้าร่วม กับ สวทช.

·  จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อรับคำร้องเรียนและปรึกษา

·  ชาวนาขายตรงกับบริษัทเอง

·

  แต่งตั้งฝ่ายเพื่อติดต่อประสานกับสถานศึกษาและศูนย์เรียนรู้เพื่อให้ความรู้เกี่ยว

กับข้าวอินทรีย์  และข้อเสนอให้รัฐบาลในเรื่องการจำนำข้าวดังนี้


สมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย  ที่ ตำบลบ้านลี่(บึงฉลาม)  อ.บางปะหัน

  จ.พระนครศรีอยุธยา  13420

วันที่  16 พฤษภาคม 2556

เรื่อง  ข้อเสนอของสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย

เรียน  พณ.ท่านนายกรัฐมนตรี

  จากการประชุมเสวนาของสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย ในวันนี้มีข้อเสนอต่อ พณ.ท่านดังนี้

  1. ให้รัฐบาลจำนำข้าวทุกเมล็ด

  2. ราคารับจำนำ 15,000 บาท/เกวียนและข้าวหอมมะลิ 20,000 บาท/เกวียน เท่าเดิม

  3. ขอให้ผลผลิตข้าวต่อไร่แต่ละจังหวัดให้สมาคมชาวนาและเกษตรกรไทยเป็นผู้กำหนดตามความจริงไม่ใช่เฉลี่ย 700 กก./ ไร่ (ตามกระทรวงเกษตรฯ)

  4. ขอให้รัฐบาลรีบดำเนินการให้ชาวนาได้แปรรูปข้าวโดยมีเครื่องสีข้าวขนาดเล็กและมีฉางข้าวทุกครัวเรือนที่ต้องการ (โดยการกู้ไม่เอาฟรีเสร็จสิ้นภายใน 3 ปี)

  จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา

ขอแสดงความนับถือ

(นายวิเชียร  พวงลำเจียก)

นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย


หมายเลขบันทึก: 536150เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2013 14:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2013 07:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

มาให้กำลังใจคนทำงานเป็นคนแรกเลยจ้าาา

ชาวนา ปลอดหนี้ยาก  เป็นกำลังใจให้

เป็นกิจกรรมที่ดีต่อเกษตรกรมากๆเลยครับ

อย่างนี้ต้องเชียรื

และให้กำลังใจให้ประสบความสำเร็จครับ

บังครับมาให้กำลังใจ มีกาญจนบุรีด้วย 9 ท่าน เย้ๆ

เรียนน้องมะเดื่อ ขอบคุณกำลังใจ แทนชาวนาไทย

ใช้แอร์ การ์ดขัดใจมากๆเดี๋ยวหลุดๆ

วอญ่าท่านผู้เฒ่า มีสิ่งดีๆมาเล่าเสมอ ขอบคุณค่ะ

ดีใจค่ะ จังหวัดดิฉันมีผู้แทนตั้ง 4 คน

ท่านวอญ่า สุดยอดเลย

แต่ไม่มีสมาชิกนครศรีฯเลยคราวหน้าถ้ามีโอกาศผมจะขอร่วมแจมด้วยคนน๊ะ

น้องมะเดื่อ...เมื่อวานนั่งรถผ่านเมืองกุย ก็บอกเพื่อนร่วมทางว่ามีโรงเรียนเล็กแต่ยิ่งใหญ่ในใจของชุมชน

เรียนคุณหมอแดง ใช่ครับ ปลดหนี้ยาก โดยภาพรวม แต่ในทางยุทธวิธี พอมีเห็นทาง หากชาวนามีข้าว ไม่รีบขาย จัดการมาแปรรูปเป็นมูลค่าเพิ่ม จะเสริมรายได้มากเท่าตัว

ซึ่งทางคณะทำงานมีช้อมูลละพื้นที่ทำสำเร็จมาให้เรียนรู้ ..

จะทำในปัจเจก ไม่ทำแบบปูพรหม ของบประมาณ

ขอบคุณ...คุณ พ.ที่มาเชียร์ชาวนา เป็นกำลังใจให้กระดูกสันหลังของชาติ

ชาวนาปลอดหนี้ตือสุขของชาวนา

เรียนท่านอาจารย์ขจิต จังหวัดกาญจนบุรี มีคนเป็นกรรมการสมาคมด้วยครับ แต่จำชื่อไม่ได้ 

วันหลังจะถามดู

เรียนคุณ ระพี  อุปนายกจากโคราช เจ๋งมาก ขยันและเก่ง คือคุณ อุทิศ ฉิมนอก 

เรียน คุณ tuknarak  นครปฐม อุปนายกฝ่ายประชาสัมพันธ์ ผมอาสามาเป็นผู้ช่วย ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ครับ



เรียนนายหัวตุ้ม นครมีกรรมการสองคน คือ พี่แหวง กับผู้ใหญ่บาวหัวไทร

แม้ต้องพัฒนาสังคมไทยด้วยเทคโนโลยีแค่ไหน
ต้องไม่ลืมว่าคนส่วนใหญ่ ยังเป็น เกษตรกร...
...
และเกษตรกร ยังติดหนี้ !

ชื่นชมต่อเวทีที่ไม่จำนนต่อชะตากรรม ครับ

เรียนอาจารย์ แผ่นดิน  พักนี้ห่างหายในการแลกเปลี่ยน เพราะไปช่วยคิดชาวนา 

ในหลายประเด็น โดยเฉพาะการแปรรูปข้าว และ สวัสดิการชาวนา  พอมีความรู้นิดหน่อยก็เข้าช่วยผลักดัน

ชาวนามีภูมิปัญญาในการอยู่รอด มีหลายพื้นที่น่าสนใจ  แต่ขาดการจัดการและเรียนรู้อย่างเป็นระบบ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท