กระบวนการจัดการเรียนรู้การบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน วัดนิกรวราราม(วัดย่านยาว) ต.ตะกั่วป่า อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา


ประวัติสามเณร

ประวัติสามเณร

สามเณร คือ หน่อเนื้อแห่งสมณะ มาจากคำว่า สมณ ลง เณร ปัจจัย แปลว่า หน่อเนื้อ สามเณร แปลว่า นักบวชในพระพุทธศาสนา ถือศีล 10 ข้อ มีอายุระหว่าง 7 ถึง 20 ปี ตามประวัติในพระพุทธศาสนา สามเณรรูปแรกคือ พระราหุลเถระ สามเณร รูปแรกในพระพุทธศาสนาคือ "ราหุล" พระราชโอรสของเจ้าชายสิทธัตถะ สามเณร รูปแรกของประเทศไทย คือ "สามเณรสา" ต่อมาได้เป็นพระสังฆราช ชื่อว่า "สังฆราชสา" ผู้ที่จะบรรพชาเป็นสามเณรได้นั้น ต้องรู้เดียงสาแล้ว คือ สามารถไล่นกไล่กาที่มากินถั่วกินงาได้

การเตรียมการและวิธีการอบรม

การเตรียมโครงการ

-  หลักการและเหตุผล

เนื่องด้วยสภาพสังคมปัจจุบัน เยาวชนส่วนใหญ่ขาดการศึกษาเรื่องราวของชีวิต ทำให้ไม่รู้ว่าชีวิตเกิดมาทำไม? เป้าหมายของชีวิตอยู่ไหน? จึงเป็นเหตุให้เยาวชนเหล่านั้นหลงเดินไปในทางผิด ก่อให้เกิดความวุ่นวายของสังคม

  ทางคณะสงฆ์ ได้ตระหนักถึงปัญหานี้อย่างยิ่ง จึงได้จัดการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนขึ้น เพื่อปลูกฝังคุณธรรมทางศาสนาให้งอกงามในจิตใจของเยาวชน

-  วิธีดำเนินการ

 ๑.แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน

๒.ติดต่อประสานงานกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งในส่วนราชการและเอกชน

๓.ติดต่อวิทยากรและพระอาจารย์พี่เลี้ยง

  ๔.ประชาสัมพันธ์ให้ผู้นำระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอและจังหวัดให้รับทราบ

๕.ประชาสัมพันธ์โครงการตามโรงเรียนต่างๆ

  ๖.ประการรับสมัครเยาวชนอายุ ๑๑-๑๕ ปี เข้ารับการอบรม

เป้าหมาย

-  ด้านคุณธรรม

  ๑.สอนธรรมะแก่เยาวชนให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

  ๒.ปลูกฝังมโนสำนึกในการพัฒนาตนเองของเยาวชนและประชาชนทั่วไป

  ๓.นำเยาวชนให้รู้จักการประหยัดตั้งแต่วัยเยาว์

  ๔.ฝึกเยาวชนให้รู้จักความเข็มแข้งอดทน

  ๕.นำธรรมมะเผยแพร่สู่ประชาชนในท้องถิ่น

การจัดหางบประมาณ

  ในการจัดโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน เงินเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะต้องเตรียมพร้อมไว้สำหรับใช้จ่ายในกิจกรรมนี้ แหล่งที่มาของงบประมาณจะสามารถหาได้จากประชาชนผู้มีจิตศรัทธา รวมถึงหน่วยงานต่างๆทั้งทางภาครัฐและภาคเอกชน


หลักวิธีการสอนและการสอดแทรกคุณธรรมแก่สามเณร

  ในการจัดการบรรพชาสามเณรนี้ทางโครงการได้มีการจัดการสอดแทรกทั้งทางด้านคุณธรรมในการดำเนินชีวิตรวมทั้งยังได้เชิญวิทยากรซึ้งเป็นอาจารย์ มาสอนความรู้ทางด้านการศึกษาวิชาการความรู้ต่างๆด้วย ซึ่งจะมีอยู่ด้วยกันคือ

  ๑.การสอนบทสวดมนต์ต่างๆ

  ๒.การเปิดสื่อความรู้ทางพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า พร้อมทั้งอธิบายเหตุผลในการดำเนินชีวิตของพระพุทธเจ้า รวมทั้งหลักคำสอนต่างๆมาขยายความให้สามเณรได้มีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น

  ๓.การสอนเรื่องความเป็นระเบียบเรียบร้อย การจัดเก็บและดูแลข้าวของของตัวเอง

  ๔.การสอนเรื่องความอดทน สามเณรแต่ละคนมาจากครอบครัวที่ต่างกัน การทำงานและความอดทนก็ต่างกัน ทางวัดจึงได้สอนเรื่องความอดทน การสอนให้ทำงาน การให้ทำงานจริง รวมถึงยังสอนการทำงานร่วมกันเป็นทีม 

  ๕.การสอนให้มีความรักพวกพ้อง การที่รับผิดชอบร่วมกัน

  ๖.การสอนเรื่องวิชาการความรู้ โดยแบ่งเด็กออกเป็น ๓ กลุ่ม ตามชั้นการศึกษา และให้อาจารย์จากทางโรงเรียนได้มาสอนวิชาความรู้ในรายวิชาต่างๆ เสมือนได้เป็นการเตรียมความพร้อมก่อนที่จะเปิดเทอมการศึกษา

               


หมายเลขบันทึก: 536144เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2013 12:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2013 12:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อนุโมทนาค่ะพระอาจารย์

ขออนุโมทนาด้วยครับ สาธุๆๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท