เมื่อทุกข์ท้อทรมาร...ให้กลับมามองผู้ป่วย....


บ่ายแก่ของเมื่อวาน...ผมกะจะนั่งทำงาน เพื่อสะสางงานเอกสารที่คั่งค้างให้ระบายออกไปมากที่สุด

เพราะช่วงเช้าผมได้ออกหมู่บ้าน...จนเกิดอาการขาดน้ำ...แสบหน้า...เพราะอากาศร้อนมากจริงๆ

เมื่องานถาโถมเข้ามารอบด้าน ทั้งงานตนเอง...งานผู้อื่นที่ให้ผมช่วย...และงานวิจัยที่เก็บข้อมูลภาคสนามแล้ว ที่ต้องนั่งเรียบเรียง และวิเคราะห์ข้อมูลในยามดึกๆ...

และพรุ่งนี้...ก็เป็นวันเปิดเทอมใหม่ของลูกชาย...ผมอยากไปส่งลูกวันแรกของการเรียน แต่ก็ทำไม่ได้ เพราะพรุ่งนี้เป็นคลินิกโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยต้องมารอหมอ ตั้งแต่ตีสี่....รอผมเพื่อเจาะเลือด

(ความทุกข์ของผมในช่วงนี้) คือ งานที่ถาโถม กับความรู้สึกความเป็นพ่อที่แย่...




แต่เมื่อเวลาบ่ายแก่ๆ ...พี่นักศึกษาปริญญาโท...ที่มาลงเก็บงานวิทยานิพนธ์ภาคสนามในพื้นที่

ขอให้ลงหมู่บ้านช่วย...เพราะไม่คุ้นเคยกับกลุ่มเป้าหมาย....และไม่มั่นใจว่า จะเดินทางไปถูกกับกรอบแนวคิดวิจัยหรือไม่?

ตอนแรกผมว่า จะปฏิเสธเพราะพี่นักศึกษาไม่ได้บอกผมล่วงหน้า...และงานเอกสารของผมไม่เสร็จเลย

แต่พี่เล่าว่า...พี่ต้องส่งงานอาจารย์แล้ว...แต่เวลาของพี่หายไปกับการดูแลแม่ที่ชรามาก...พี่ชายที่กำลังป่วยด้วยมะเร็ง...และรถยนต์ที่จอดอยู่ข้างถนน...จอดซื้อของ แต่กลับถูกรถพ่วงมาเฉียด...จับตัวไม่ได้...หมดค่าซ่อมรถครึ่งหมื่น

ผมก็เลยใจอ่อน...กับความทุกข์ของพี่นักศึกษา

(และผมก็มีความทุกข์เพิ่มขึ้น)...กับความทุกข์ในความทุกข์ของพี่นักศึกษา





ผมและพี่นักศึกษา...ลงไปเยี่ยมบ้าน “ป้าลำดวน”

ครอบครัวมีทั้งหมด 7 คน และใน 3 คน รวมกับป้าลำดวน ที่อายุ 55 ปี เป็นพิการ...(ผมรับความทุกข์มาอีกข้อ)...

ป้าดวน...เป็นแม่ของลูก 4 คน ส่งเสียลูกๆ ให้เรียนจบอย่างน้อยมอหก...ด้วยอาชีพแม่ค้าขายอาหารถุงในหมู่บ้าน...(ผมเริ่มมีความสุขในใจขึ้นมาบ้าง)

ด้วยความขยัน เพราะสามีตายไปนานแล้ว ป้าดวนดูแลแม่ที่พิการตามองไม่เห็น และพี่ชายที่พิการขาข้างหนึ่งเดินไม่ได้

ตนเองต้องทำงานคนเดียว...เลี้ยงทั้ง 7 ชีวิต



ป้าดวนเกิดอุบัติเหตุตกรถ  และรถชน ถึง 4 ครั้ง

เมื่อ 3 ปีที่แล้ว เดินไม่ได้ และปัสสาวะด้วยตนเองไม่ได้...

รักษาไปรักษามา...รู้ว่าเป็น “กระเพาะปัสสาวะพิการ” และผู้ป่วยพิการด้านการเคลื่อนไหว

นับแต่นั้นมา ป้าดวนต้องไปโรงพยาบาลที่ห่างจากบ้านร้อยกิโลเมตรทุกเดือน...ทุกหกเดือนต้องไปนอนโรงพยาบาลเพื่อตรวจระบบทุกอย่างเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์อย่างน้อย

ป้าดวนเดินไม่คล่อง แต่สามารถนั่งรถโดยสารประจำทางไปโรงพยาบาลเองด้วยตนเองโดยลำพัง

ถ้านอนโรงพยาบาล...ขอให้ลูกไปแค่วันแรก...เพราะต้องเซนชื่อยินยอมรักษา

และก็ให้ลูกกลับมาบ้าน เพื่อทำงาน...ไม่ต้องเสียเวลากับป้าดวน...



ทุกๆ วัน...ป้าดวน...ต้องสวนปัสสาวะด้วยตนเอง...โดยการสอดท่อพลาสติกเข้าในรูปัสสาวะ

ทำทุกๆ 4 ชั่วโมง และต้องทำความสะอาดเครื่องมือ...แช่น้ำยาเครื่องมือ...

จนพวกเราอดห่วงการติดเชื้อไม่ได้...แต่ป้าดวลบอกว่า...ไม่เคยติดเชื้อเลย

ต่างจากที่เคยคาสายสวนปัสสาวะไว้กับตัวตลอดเวลา



ผมถามว่า...ทุกข์ทรมานไหม...กับชีวิตและความเจ็บป่วย?

ป้าดวลยิ้มและตอบอย่างไม่รีรอว่า “ไม่เคยท้อ พยายามทำอะไรด้วยตนเอง รบกวนคนอื่นน้อยที่สุด

ไม่อยากเป็นภาระของคนอื่น...ทำวันนี้ให้ดีที่สุด...มีความสุขที่ได้อยู่กับแม่...พี่ และลูกๆ

ความสุขคือเห็นทุคนในบ้านมีความสุข...”



ผมกับพี่นักศึกษาลาป้าดวลกลับอนามัย

เมื่อนั่งบนรถ...ผมยิ้มให้พี่...พี่ยิ้มให้ผม

และเราต่างบอกความรู้สึกจากชีวิตป้าดวลว่า

“ชีวิตของเราขี้ปะติ๋วเลย เมื่อเทียบกับชีวิตของป้าดวล”


หมายเลขบันทึก: 536142เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2013 12:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2013 12:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

คุณหมอ ไม่ได้เป็นพ่อที่แย่สักหน่อยครับ

 แต่เป็นพ่อที่น้อง ทิมดาบ ควรภูมิใจในความเสียสละต่อส่วนรวม และชุมชน...

ขอชื่นชมคุณหมอ

และเป็นกำลังใจให้ครับ

มาชื่นชมค่ะ เพราะคุณทิมดาบได้ทำหน้าที่อย่างดีที่สุดแล้ว

ค่ะ. ทุกข์ของเราขี้ปะติ๋วเลย   เมื่อเทียบกับของป้าลำดวน.   

เป็นกำลังใจให้คุณหมอทิมดาบค่ะ

เข้าทำนอง

I cried because I had no shoes until I met a man who had no feet. นะคะ

ชื่นชมป้าผู้สู้ชีวิตค่ะ

ขอบคุณมากครับไม่มีคำใดเหมาะมากกว่าคำนี้ "แพทย์หัวใจมนุษย์" อาจารย์ประเวศพูดไว้...

เป็นสิ่งที่ kunrapee จำได้มั่น และแนะนำผู้อื่นเสมอค่ะ

ให้มองคนที่ด้อยกว่าเรา แล้วเราจะรู้สึกดีขึ้นแถมมีพลังที่จะทำงานหรืออยู่ต่อไป

อ่านบันทึกนี้ แล้วพูดไม่ออก 

ป้าดวนเก่ง และ เข้มแข็งและอดทนมากจริง ๆ ค่ะ

ขอเป็นกำลังใจให้ป้านะคะ สู้ สู้ ค่ะ

ทุกครั้งที่เข้ามา..ไม่เคยผิดหวังกลับไป

..

ขอเป็นกำลังใจให้เสมอ นะครับทิบดาบ

ตอนนี้จะไม่บ่นที่ต้องปลุกลูกทุกเช้าแล้วค่ะ อย่างน้อยก็มีโอกาสไปส่งลูก เป็นกำลังให้ทั้งคุณหมอ พี่ป.โท และป้าดวนด้วยค่ะ

ลูกชายต้องภาคภูมิใจในตัวคุณพ่อแน่นอนค่ะ ทุกบันทึกของคุณหมอเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ที่วันหนึ่งลูกชายจะได้เข้ามาอ่าน และรู้สึกยิ่งกว่าที่ผู้อ่านทุกคนรู้สึกในตัวคุณหมอค่ะ  ยิ่งได้เห็นคุณป้าผู้สู้ชีวิตเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับผู้ป่วยหลายต่อหลายคนแล้ว คุ้มค่ามากค่ะที่คุณพ่อทำเพื่อความดีงาม

อ่านทีไรก็มีความสุขคะขอบคุณน่ะค่ะ ทุกข์ของเราติ๊ดเดียวเองจริงๆด้วย

ให้กำลังใจนะคะ ขอแชร์เรื่องดีๆนี้นะคะ

มีกำลังใจขึ้นเยอะเลยค่ะ 

ขอบคุณค่ะ

ชีวิตที่น่าสรรเสริญ...เป็นชีวิตที่ไม่หวั่นไหวในยามขึ้นหรือลง...เมตตาทำให้เกิดจิตที่มีคุณภาพ....สอนลูกชายและให้กำลังใจเขาในต้นแบบพ่อแม่ที่สามารถเรียกศรัทธาอย่างเป็นธรรมชาติ...ไม่บังคับ   คาดว่าสิ่งดีๆน่าจะติดตามมา

ป้าดวน ผู้ป่วยเพียงกาย แต่กำลังใจ ยอดเยี่ยมเลยค่ะ

เป็นกำลังใจให้คุณหมออีกคนนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท