หนูรี
นารี เอี่ยมวิวัฒน์กิจ ชูเรืองสุข

เห็ดนมหมู "ธรรมชาติยิ้มได้เห็ดป่าคืนกลับ"




ณ บ้านสวนถ้ำทะลุ 


เมื่อ วันที่ 24 เมษายน 2556ที่ผ่านมา 

เห็ดนมหมู เห็ดธรรมชาติจากป่า ที่คืนกลับมาอีกครั้ง หลังจากที่ห่างหายไปนาน ด้วยหลายปัจจัยที่เกษตรกรยุคหนึ่ง ซึ่งได้รับเทคโนโลยีที่ใช้สารเคมีกำจัดหญ้าคา ... ตายถึงรากถึงโคน ด้วยเหตุความไม่รู้ ในยุคหนึ่งที่การใช้กันแพร่หลาย เพราะคิดว่าสิ่งที่ใช้นั้นดี เห็นผลทันใจ 


หลังจากที่เตี่ยป่วยด้วยโรงมะเร็งเม็ดเลือดขาว ชนิดที่เกิดขึ้นบนผิวหนัง ด้วยไม่ทราบสาเหตุ อาจจะเกิดจากเหตุนี้ก็เป็นไปได้ ช่วงที่เตี่ยสร้างสวนของเราด้วยน้ำพักน้ำแรง ได้รับการส่งเสริมจากหน่วยงานราชการ มีการแนะนำให้เกษตรกรใช้เพื่อปราบหญ้าคาที่มีมากมายจนทำลายด้วยแรงคนไม่ทัน จากนั้นมาเตี่ยก็ใช้มาตลอด ผลพวงจากที่สวนเตียนโล่ง หญ้าคาและวัชพืชนั้นตายเรียบ ด้วยยาปราบวัชพืช ที่พ่นๆทั่ว ผืนป่า ไม่เพียงแต่ต้นหญ้าที่ตาย เห็ดป่าที่เราเคยเก็บกินก็หายไป แมลงเล็กๆ ก็หายไปเช่นกัน 


จากเหตุนี้ที่เตี่ยป่วย ไม่อาจจะบ่งชี้ชัดว่ามาจากสาเหตุใด จากนั้นมาที่สวนของเราจึงเลิกใช้ยาปราบวัชพืช หันมาใช้การตัดหญ้าแทน แม้จะไม่เตียนโล่งมากนักอย่างแต่ก่อน หญ้าที่รกเหล่านี้เองมันช่วยเพิ่มความชุมชื่นให้กับผืนดิน  ต้นหญ้าเล็ก ดอกไม้ป่าสวยๆก็เกิดขึ้นมาใหม่ แมลงตัวน้อยก็กลับคืน 


มาวันนี้(24-04-2556)ในสวนของเราด้านติดกับภูเขานั่น พี่เขยเดินไปทำสวน เจอเห็ดงอก มากมาย

เก็บมาได้หนึ่งตะกร้าใบโต 



ด้วยความคิดถึงที่ไม่ได้เจอกันนาน ...เห็ดนมหมู ...จึงกลับไปเอากล้องมาเก็บภาพสักหน่อย เราเจอเห็ดนี้บ่ายคล้อย เห็ดจึงบาน ใกล้โรยรา หากว่าไม่เจอวันนี้ พรุ่งนี้ก็กินไม่ได้แล้ว 




จับมาวางเรียงๆ ชมหน้าตา ของเห็ดนมหมู ...แม่บอก อันนี้ เรียกว่า "เห็ดนมหมูย่านดำ" 

เห็ดนมหมู มีสองชนิด คือ เห็ดนมหมูขาว และเห็ดนมหมูดำ  

วันนี้ที่เจอเป็นเห็ดนมหมูดอกใหญ่ จะงอกขึ้นเป็นกลุ่มใหญ่ บนพื้นที่มีใบไม้แห้งทับถม เมื่อความชื้นพอเหมาะก็จะงอกขึ้นมาก จะงอกทุกๆปี ตรงที่เดิม




ภาพนี้ดอกบาน ใกล้โรยรา มองใกล้ๆ 




ภาพนี้ ดอกบานไม่มาก กำลังพอดี 

เมื่อเก็บภาพได้แล้ว จึงนำเห็ดหนึ่งตะกร้าใหญ่ จึงจัดสรรแบ่งปันกันทั่วหน้า สี่ห้าบ้าน ผัดได้จานโตๆ 


ฉันยังไม่เคยจัดการปรุงเห็ดป่าด้วยตัวเองสักครั้ง จึงถามแม่ทำอย่างไร 

แม่สอนให้ล้าง ...แบ่งส่วนที่เป็นดอกเห็ด นั่น ออก จาก ต้น แยกล้างเป็นส่วนๆ จะได้ไม่ติดดินติดกรวดทราย

ส่วนต้นก็ใช้มีดขูดๆเอาส่วนติดใบไม้แห้งและดินออกจะสะอาด 

ล้างทีละนิด จนสะอาดจริงๆ วางพักใส่ตะกร้า ให้สะเด็ดน้ำก่อน ไม่เช่นนั้น ตอนนำไปปรุง น้ำจะออกมาเยอะไป

ที่บ้านเราปรุงอาหารจากเห็ดป่า แบบง่ายๆ 

แม่บอก ... ผัดเกลือ เติมพริกไทยเล็กน้อย ...จะอร่อยเพราะเห็ดหวานธรรมชาติอยู่แล้ว 




เห็ดนมหมูผัด ...เมนูอาหารธรรมชาติ จากป่า  

เมื่อธรรมชาติยิ้มได้เห็ดป่าคืนกลับ ...แบ่งปันความอุดมสมบูรณ์ให้แก่เรา  




ขอบคุณเมนูจานเห็ด ...อาหารจากธรรมชาติ ค่ะ 




  • ก่อนปิดท้ายบันทึก 

เก็บเรื่องราวเกี่ยวเห็ดนมหมู มาฝากเพิ่มเติมค่ะ

ที่มา ข้อมูล http://klarod.blogspot.com/2007/11/blog-post_06.html

ลักษณะทั่วไป เห็ดโคนหรือเห็ดปลวกมีหมวกดอกเห็ดขนาดแตกต่าง กันแล้วแต่ความสมบูรณ์ของดอกเห็ด มีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 2 – 20 เซนติเมตร ผิวด้านบนเรียบเหมือนมีรอยย่นจีบเล็กน้อย สีน้ำตาลดำหรือน้ำตาลเข้ม กลางหมวกมียอดแหลมคล้ายหมวกจีน เนื้อหมวกขาว ด้านล่างมีครีบหมวกสีขาว ก้านดอกยาว 5 – 20 เซนติเมตร โคนก้านเหนือดินโป่งเป็นกระเปาะใหญ่ โคนก้านดอกมีสีน้ำตาลอ่อน และเรียวเล็กยาวหยั่งลึกลงไปยังจอมปลวกคล้ายรากแก้วของพืช
สปอร์ สีนวลหรือสีเหลืองอมชมพูอ่อนผิวเรียบ ผนังบาง ขนาด 6-8 x 4- 5 ไมโครเมตร ( อนงค์ จันทร์ศรีกุล. 2542 : 19 )
แหล่งที่พบ เห็ดโคนหรือเห็ดปลวกพบได้โดยทั่วไป บนพื้นดินที่มีจอมปลวกหรือบริเวณที่มีปลวกอาศัยชุกชุมจึงเรียกเห็ดชนิดนี้ว่าเห็ดปลวก ภาคกลางเรียก เห็ดโคน , ภาคใต้ เรียก เห็ดโคน ชนิดนี้ว่า เห็ดนมหมู 


ฤดูที่พบ เห็ดโคนพบได้ในฤดูฝนเดือนพฤษภาคม – กันยายน จะพบ ในช่วงที่มีความชื้นสูงอากาศร้อนอบอ้าว
ประโยชน์ เห็ดโคนเป็นเห็ดที่รับประทานได้ รสชาติดีเป็นที่นิยมบริโภคของชาวบ้านและขายได้ราคาแพง



และ ที่นี่ค่ะ

 


ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลที่อ้างถึงค่ะ 



ปิดท้ายบันทึกด้วยคำขอบคุณ ...

ขอขอบคุณทุกๆท่านที่ติดตามอ่านบันทึกนะคะ

 .... สวัสดีค่ะ  :)

นารี ชูเรืองสุข 

วันที่บันทึก 8 พฤษภาคม 2556

....

หมายเลขบันทึก: 535163เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2013 12:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤษภาคม 2013 12:34 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

หน้าตาคล้ายๆเห็ดโคนบ้านผมเลยครับ


ไม่เคยได้ยินชื่อนี้เหมือนกัน บ้านดิฉันอาจเรียกอย่างอื่น แต่ที่แน่ๆ คืออร่อยค่ะ

ชอบทานมากค่ะ หวานธรรมชาติค่ะ

...เข้าป่าบ่อยเจอแต่เห็ดที่กินไม่ได้...ซื้อจากฟาร์มแน่นอนกว่านะคะ...

     
            

   ขอบคุณที่นำมาให้รู้จัก

ได้อีกหนึ่งเมนูเห็ด...ขอบคุณสำหรับข้อมูลน่าสนใจ...

ขอบคุณข้อมูลค่ะหนูรี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท