ผลงานวิจัยสมุนไพรไทยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)


ผลงานวิจัยสมุนไพรไทยวว.

สร้างจุดแข็งงานวิจัยด้านสมุนไพรไทยอย่างต่อเนื่อง

กับผลงานของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)


เปิดตัวต้นแบบผลิตภัณฑ์ จากสมุนไพรไทย ใหม่ล่าสุด เพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภคคนไทย ไม่ต้องเสียเงินให้กับของนำเข้าราคาแพง นายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ผู้ว่าการ วว. บอกว่า วว. ตระหนักถึงความสำคัญของภูมิปัญญาไทย จึงนำสมุนไพรไทยเข้าสู่กระบวนการวิจัยและพัฒนา เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อสุขภาพ เพิ่มมูลค่าให้สมุนไพรไทย และสร้างทางเลือกให้แก่ผู้บริโภคและที่สำคัญลดการนำเข้าเวชภัณฑ์จากต่างประเทศ



ล่าสุดฝ่ายเภสัชและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ วว. ซึ่งมี ดร.ชุลีรัตน์ บรรจงลิขิตกุล เป็นผู้อำนวยการ ประสบผลสำเร็จในการวิจัย 5 ผลิตภัณฑ์ใหม่จากสมุนไพร ที่มีบทบาทครอบคลุมการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคอย่างเป็นรูปธรรมโดยผลงานแรก เป็นเรื่องของการบำรุงสมอง สร้างความจำ เรียกว่า “เบรนนี่-แท็บ”


 
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสารสกัดผักใบเขียว ดร.กฤติยา ทิสยากร หัวหน้าโครงการวิจัยนี้ บอกว่า ได้คัดเลือกผักใบเขียว เช่น ปวยเล้ง บัวบกและบร็อกโคลี มาศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาในสัตว์ทดลองที่เหนี่ยวนำให้เกิดภาวะความจำเสื่อม ชั่วคราว แล้วนำมาพัฒนาเป็นยาเม็ดชนิดเคลือบฟิล์มแบบธรรมดา ผ่านการทดสอบกลไกการออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาแล้วพบว่า สามารถลดระดับของเอนไซม์ที่ทำลายสารสื่อประสาทในสมองได้เช่นเดียวกับยาที่ ใช้รักษาอาการโรคอัลไซเมอร์ในปัจจุบัน


นอกจากนี้ยังผ่านการประเมินความปลอดภัยทั้งต่อสัตว์ทดลองและเซลล์เนื้อ เยื่อ เมื่อศึกษาประสิทธิผลของผลิตภัณฑ์ต่อความจำในอาสาสมัครเปรียบเทียบกับยาหลอก พบว่า “เบรนนี่-แท็บ” มีแนวโน้มในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมองโดยไม่มีผลข้างเคียงต่อร่าง กายเมื่อรับประทานทุกวันเป็นเวลา 3 เดือน


สำหรับผลงานชิ้นต่อมาตอบโจทย์คนที่มีปัญหาเรื่องรังแค โดยนำสารสกัดตะไคร้ต้นและขิงมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เวชสำอางป้องกันรังแคชื่อ ว่า “ลิทเซียรา” นางรัตนศิริ จิวานนท์ หัวหน้าโครงการฯ บอกว่า ผลิตภัณฑ์อยู่ในรูปแบบแฮร์โทนิค มีประสิทธิภาพต้านเชื้อที่เป็นสาเหตุการเกิดรังแค และมีฤทธิ์ต้านอักเสบ ผลิตภัณฑ์ผ่านการประเมินความปลอดภัยเบื้องต้นในสัตว์ทดลอง และผ่านการทดสอบความปลอดภัย และการสำรวจความพึงพอใจในอาสาสมัครจากการทดลองใช้ผลิตภัณฑ์เป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์ พบว่า ผู้บริโภคที่มีปัญหารังแคพึงพอใจในการใช้ผลิตภัณฑ์ อยู่ในระดับปานกลางถึงค่อนข้างมาก



นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เวชสำอางป้องกันแผลเป็นนูน “ลิโค-สการ์ครีม” จากสารสกัดชะเอมเทศ ซึ่งมีสรรพคุณลดการเกิดแผลเป็นนูน ไม่ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนัง ใช้ง่าย เหมาะกับผิวหนังของคนไทย


และผลิตภัณฑ์เวชสำอางลดฝ้าลดริ้วรอย และผลิตภัณฑ์กันแดด “นิมฟ์ เดอ เมลา” ซึ่งพัฒนาจากสารสกัดดอกบัวสาย ผ่านการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและความปลอดภัยระดับพันธุพิษจากอนุมูล อิสระ รวมทั้งมีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเม็ดสีผิวเมลานิน และมีฤทธิ์ในการกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนของเซลล์ นอกจากนี้ยังผ่านการทดสอบฤทธิ์ลดอาการอักเสบจากแสง ซึ่งพบว่าสามารถป้องกันการอักเสบที่ผิวหนังจากรังสี ยูวีเอและยูวีบี



สมุนไพรไทยเป็นมรดกทางภูมิปัญญา ซึ่งบรรพบุรุษของเราได้สั่งสมความรู้ ประสบการณ์สืบต่อกันมาช้านาน แม้ว่าความเจริญรุดหน้าทางเทคโนโลยีการแพทย์ในปัจจุบันจะก้าวล้ำเพียงใด แต่สมุนไพรไทยยังคงมีบทบาทสำคัญต่อการแพทย์แผนโบราณและการแพทย์แผนปัจจุบัน อย่างต่อเนื่อง ด้วยสรรพคุณทางยาและคุณประโยชน์ที่หลากหลายของสมุนไพรไทยนั่นเอง ผู้ว่าการ วว. กล่าว ซึ่ง วว. มีความพร้อมในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตผลิตภัณฑ์สู่เชิงพาณิชย์ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่อุตสาหกรรมเอสเอ็มอีของประเทศ ตลอดจนสร้างความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจของประเทศโดยรวมต่อไป



( ขอบคุณผลงานวิจัยจากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ )


สมุนไพรไทยเราเยี่ยมนะคะ ผลิตภัณฑ์แต่ละอย่างจะได้ใช้บ้างเมื่อไหร่นั้นคงต้องสอบถามที่วว.นะคะ

ด้วยความปรารถนาดี กานดา แสนมณี


หมายเลขบันทึก: 534465เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2013 19:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤษภาคม 2013 07:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สมุนไพรมีคุณค่ามากค่ะพี่กานดา

ต่อไปยิ่งวิจัย เราก็น่าจะยิ่งมีสมุนไพรที่ใช้แทนยาเคมี ซึ่งปลอดภัยกว่ามากค่ะ  :)

-สวัสดีครับ

-สมุนไพรไทยเป็นมรดกทางปัญญา ซึ่งได้สั่งสมและสืบทอดมาจากบรรพบุุรุษ .

-ขอบคุณบทความดี ๆนี้ครับ

ขอบคุณสมุนไพรไทยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท