ภาษาอังกฤษ___กับ evening primrose (อาหารเสริม)




.
อ.อนาฮัด โอ'คอนเนอร์ ตีพิมพ์เรื่อง "จริงไหม? เคลม (คำกล่าวอ้างที่ว่า): น้ำมันอีฟนิง พริมโรส (Evening Primrose)' ลดผื่นคันผิวหนัง (ช่วยผิวพรรณดี)", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ [ nytimes ]
.

.
อีฟนิง พริมโรส (Evening Primrose) เป็นไม้ดอกท้องถิ่นในอเมริกาเหนือ (ดังภาพ)
.
เชื่อกันว่า น้ำมันอีฟนิง พริมโรสน่าจะดีกับผิวหนัง โดยเฉพาะในการบรรเทาอาการผื่นคันจากภูมิแพ้เรื้อรัง (eczema - เอกซีมา)
.
คนเรามีโอกาสเป็นผื่นภูมิแพ้ผิวหนังประมาณ 1/5 = 5 คนเป็นโรค 1 คน, หนักบ้างเบาบ้าง... ว่ากันไป
.
น้ำมันอีฟนิง พริมโรสเป็นน้ำมันกลุ่มแกมมา ไลโนเลอิค (gamma linoleic acid) หรือกลุ่มโอเมกา-6
.

.
ทีมวิจัยจากองค์กรวิจัยนานาชาติโคเครน (Cochrane Library) ทำการทบทวนการศึกษาวิจัยที่ผ่านมา 27 รายงาน รวมกลุ่มตัวอย่าง 1,600 คน เปรียบเทียบกับยาหลอก (placebo)
.
ยาหลอกหรือพลาเซโบ เป็นยาที่มีรูปร่าง-ขนาดเหมือนยาจริง ต่างกันตรงที่ไม่มีเนื้อยาที่ออกฤทธิ์ได้แบบยาจริง
.
ยาหลอกมีชื่ออีกอย่างคือ "ดัมมี (dummy pills; pill = เม็ดยา)
  • [ dummy ] > [ ดั๊ม _ หมี่; ออกเสียงคล้าย "ด๊ำดำ+บะหมี่" ] > http://www.thefreedictionary.com/dummy > noun = หุ่นจำลอง หัวนมหลอก ของเลียนแบบ ของปลอม
  • [ pill ] > [ พิ่ว; ขอให้สังเกตว่า ตัวสะกด 'L' ส่วนใหญ่ออกเสียงคล้ายสะกดด้วย "ว", ไม่ใช่ "น" หรือแม่กน ] > http://www.thefreedictionary.com/pill > noun = ยาเม็ด

.
อาหารเสริมและเครื่องเทศหลายชนิดทำให้เลือดแข็งตัวช้าลงเล็กน้อย...การกินน้ำมันอีฟนิง พริมโรสอาจเพิ่มเสี่ยงตกเลือดได้ในคนที่กินยาละลายลิ่มเลือดวาร์ฟาริน (warfarin)
.
ยาละลายลิ่มเลือดในภาษาอังกฤษ = 'blood-thinning drugs'
.
ิอ.อนาฮัด โอ'คอนเนอร์ สรุปว่า การศึกษาวิจัยที่ผ่านมาพบว่า น้ำมันอีฟนิง พริมโรสไม่มีประโยชน์ในการรักษาโรคชัดเจน (จากการศึกษาวิจัยอย่างเป็นระบบ)
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

 > [ Twitter ]

  • ขอขอบพระคุณ / Thank > http://well.blogs.nytimes.com/2013/04/29/really-the-claim-evening-primrose-oil-soothes-eczema/?ref=health
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์. 1 พฤษภาคม 56. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่จำเป็นต้องขออนุญาต... ขอบคุณครับ > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูง จำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้

หมายเลขบันทึก: 534459เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2013 17:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2013 17:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เรื่องบางเรื่องเราไม่รู้จริงๆ นะคะ 

ก็คิดมาตลอดว่าดีค่ะ และก็แพงซะด้วยนะคะ

ขอบคุณรายละเอียดที่เป็นประโยชน์และสะกิดใจให้เราระวังในการบริโภคมากขึ้นค่ะ

ยังมีตัวอื่นที่เราบริโภคกันอยู่ทุกวันอีกเย่อะที่ยังไม่ได้วิจัย เช่นกาแฟ บางกลุ่มก็ว่าประโยชน์มหาศาล บางกลุ่มก็ว่าโทษมากมาย เลยไม่รู้ความจริงเป็นอย่างไร...


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท