สมัชชาคนสตูล ชุมชนจัดการตนเอง..(รักจังสตูล)


ในประเด็นท่าเรือน้ำลึกที่ปากบารา สตูล อนาคตที่เขาคนสตูลอยากเห็น ก็ทำเป็น เอกสารให้ได้ศึกษาเรียนรู้ เป็นข้อเสนอที่มีพลัง คม ชัด เป็นทิศทางของจังหวัดได้ เพราะข้อเสนอสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด

      สมัชชาสุขภาพทางอากาศวันเสาร์ที่เสาร์ที่ 27 เมษายน 2556 ตอบโจทย์ ชุมชน

ท้องถิ่นจัดการตนเอง จัดโดยเครื่อข่ายสื่อภาคใต้ และเครือข่ายสภาองค์กรชุมชน

นครศรีธรรมราช ทางคลื่น 95.00 MZ  

 >.คุณอานนท์  มีศรี ดำเนินรายการ สนทนา มีผู้เข้าร่วมสนทนา หลายจังหวัด

 >.คุณ สมบูรณ์ กำแหง (บังแกน)จากจังหวัดสตูล  

 >.คุณ เชภาดร  จันทร์หอม เครือข่ายพลเมืองปกป้องแผ่นดินถิ่นเกิด จากตรัง 

        ช่วงตอบโจทย์มี  

>.น้อง มุ่ย อารยาจากเครือข่ายเด็กและเยาวชน สื่อชุมชนภาคใต้ จากนครศรีธรรมราช 

>.และ คุณนเรศ หอมหวล (บังหีม)จากพัทลุง 

       เริ่มออกอากาศตั้งแต่เวลา 9.00น. ถึง 11.00  น. 2 ชั่วโมง ซึ่งมีทั้ง วันเสาร์และ

วันอาทิตย์ 

        เสาร์นี้ คุยกันเรื่องประเด็นการจัดการตนเอง ......

คุณอานนท์ มีศรีเริ่มชวนคุย....ชุมชนจัดการตนเอง จังหวัดจัดการตนเองคืออะไร 

ทำอย่างไร มีที่ไหนบ้าง ที่ต้องนำคุย ซึ่งในพื้นที่จังหวัดจัดการตนเอง ที่ได้ตืดตามก็มี

หลายจังหวัด เช่น ภูเก็ต  เชียงใหม่ มุกดาหาร และปัตตานี เหล่านี้อยู่ในโครงการ

จังหวัดจัดการตนเอง

     วันนี้สตูล คนสตูลมีการจัดการตนเองอย่างไร ..

บังแกน....เล่าให้ฟังว่า สตูลมีปัญหาเรื่องแผนพัฒนาภาคใต้ ที่รัฐต้องการสร้างท่าเรือ

น้ำลึกที่ปากบารา คนสตูลมีความเห็นทั้งสนับสนุนและคัดค้าน เปิดเวทีฟังความคิดมาก็

หลายครั้ง  แต่ต่างคนต่างพูด ต่างก็มีชุดข้อมูลของฝ่ายตน จนมานั่งคิดนั่งคุย ว่าเรา

ต้องหันหน้ามาคุยกัน เพื่อให้รู้เท่าทันข้อมูลทั้งสองฝ่าย เราต้องการรวมคน  รวมความ

คิด ลุกขึ้นมาปกป้อง ทักทวง และเสนอแนะ"ทำให้เขา เห็นหัวเราบ้าง"  ชาวบ้านมีข้อเสนอ

ก็บอกไป  รัฐมีข้อสนองก็บอกมา  จึงได้นำมาสู่เวที สมัชชาคนสตูล ที่เครือข่ายภาค

ประชาชนเป็นเจ้าภาพ  เชิญ หน่วยงาน และเครือข่าย  30  เครือข่ายมานั่งคุยกัน ภาย

ใต้ทุกคนมีสิทธิ์มีเสียงเท่ากัน คือความหวงแหน ความรักทรัพยากรธรรมชาติเท่ากัน 

นั้นคือ"รักจังสตูล"....นี้คือทิศทางในการจัดการตนเองของสตูล 

     มาถึงช่วงที่2 ของชั่วโมง ก็ได้พูดคุยกับคนนอกพื้นที่  ที่ได้เข้าไปทำกิจกรรมกับพี่

น้องชาวสตูล และได้เข้าร่วมเวที รักจังสตูลด้วย คือ คุณ เชภาดร  จันทร์หอม จาก

เครือข่าย พลเมืองปกป้องแผ่นดินถิ่นเกิด จากจังหวัดตรัง

     คุณ เชฯ เห็นอะไรบ้างจากการเข้าร่วมเวทีสมัชชาคนสตูล.......

เชฯ... ผมคนตรังแต่รักสตูล... ได้เข้าไปร่วมให้กำลังใจ เห็นประเด็น เห็นความสนใจ

ของผู้ร่วมเวที 

1 การรวมคน เป็นการรวมคน รวมเครือข่ายที่มีพลังมาก ที่สุด 30 กว่าองค์กรที่มาร่วม

ประชุมทั้ง หน่วยงานรัฐ นักการเมือง และเครือข่าย  ซึ่งถือว่าคนสตูลไม่ธรรมดา 

2. เห็นการพัฒนาในการจัดประชุม ส่วนมากพวกเราจัดจัดประชุมก็นั่งบ่นไปบ่นมาแล้ว

เลิก แต่สตูลวันนี้ไม่ใช่เวทีที่มาพูด แต่เป็นการพัฒนาบนพื้นฐานข้อมูล  ข้อเสนอแนะ ที่

เป็นระบบทำเป็นเอกสาร ไม่ใช่"บ่นแล้วจาก" 

ในประเด็นท่าเรือน้ำลึกที่ปากบารา สตูล อนาคตที่เขาคนสตูลอยากเห็น  ก็ทำเป็น

เอกสารให้ได้ศึกษาเรียนรู้ เป็นข้อเสนอที่มีพลัง คม ชัด เป็นทิศทางของจังหวัดได้ 

เพราะข้อเสนอสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด  

3 .เป็นเวทีตัวแทน เช่น ปลัดจังหวัด นายก อบจ อปท อบต. ก็มากันมาก มีการพูดคุย

กับฝ่ายบริหารจังหวัด ราชการได้มารับรู้ความต้องการของชุมชน เป็นการเปิดพื้นที่ 

เปิดใจกันเพื่อการพัฒนาในทิศทางเดียวกัน 

   ในประเด็นสุขภาพ ห้องนี้ มีคุณหมอ ประวิตรจากโรงพยาบาลสตูลมาแสดงความเห็น  

ตัแทนหน่วยงานหลายคนเข้าร่วม แต่ภาคประชาชนมากหน่อย..เขาเป็นเจ้าภาพ....


ที่น่าสังเกตว่า งานนี้งานนี้ อบจ. ลงมาขับเคลื่อด้วยนับเป็นความสำเร็จของการเคลื่อน

ทัพภาคประชนในการจัดการตนเอง ของคนสตูล "รักจังสตูล"...ผู้ดำเนินรายการทิ้ง

ท้ายไว้ในชั่วโมงแรก..


(.สมัชชาคนสตูล  นเรศ หอมหวล รวบรวม รายงานสมัชชาทางอากาศ)27 เมษายน 


2556)

หมายเลขบันทึก: 534134เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2013 06:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 เมษายน 2013 06:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

ภาคใต้ตอนล่าง "สตูล"  เป็นเมืองที่่น่าอยู่

ก็สมควรอยู่หรอกที่จะ  "รักจังสตูล"

คนคุณภาพจริงๆ
ลุงวอญ่า เป็นสมาชิกกี่สมัชชาแล้วนะคะ

ดีเจคนของชุมชนนะคะเนี่ย

ถ้านักการเมืองท้องถิ่นลงมาด้วยนะครับ...รับรอง..คนสตูล "รักจังสตูล"...

สวัสดีน้องครูอิง ตอนนี้ กำลังถ่ายทอด สื่อชุมชชนภาคใต้ ทางเฟสบุก รับฟังได้ที่ เครือข่ายสื่อชุมชนภาคใต้ 

ผมนั่งจับประเด็นเอามาสื่อต่อใน กทน.  วันนี้คุยเรื่อง "ขันหมาก ประเพณีหรือวัฒนธรรม

เรียนอาจารย คุณหมอ ป. 

ในเรื่องของสมัชชา ก็เป็นคณะทำงานของ สมัชชาสุขภาพจังหวัด แล้ว แต่ละพื้นที่ก็ไปจัดสมัชชาสุขภาพในแต่ละจังหวัด แต่ละประเด็น ก็ทำให้มีโอกาส ไปเรียนรู้ มาจัดเป็น สมัชชาภาค 

และครั้งที่จัดสมัชชาสุขภาพภาคใต้ครั้งที่ 3 ที่ชุมพร ทางทีมสื่อก็ประชุมหารือ การใช้สื่อ โดยการจัดสมัชชาทางอากาศ คือใช้ วิทยุชุมชนทุกพื้นทั่วประเทศ ถ่ายทอดการพูดคุย

วันนี้ 28 คุยเรื่อง"ขันหมากต้น เป็นประเพณี หรือวัฒนธรรม"และตามด้าย สมัชชาคนสตูลต่อจากเมื่อวาน

มีจังหวัดที่เป็นเครือข่ายถ่ายทอดวันนี้ สมุทรสาคร  มุกดาหาร สุราษฎร์  ตรัง พัทลุง ยะลา ร่วมกันออกอากาศให้คนชายขอบในชุมชนได้รับฟัง

เรียนคุณหมอ ธิรัมภา บันทึกนี้ถอดความจากรายการสมัชชาสุขภาพทางอากาศ 

ที่มีผู้ฟังหลายจังหวัด ฟังผ่านสื่ออนไลน์  เป็นการจัดรายการวิทยุอีกสื่อช่องทางหนึ่ง

สวัสดีน้องทิมดาบ....งานนี้นักการเมืองท้องถิ่น มาฟังมาแสดงความเห็น

เป็นสิ่งที่ดีที่คนสตูลเขามาร่วมคิดเห็นกำหนดอนาคตตนเอง

เป็นพลังที่มาจากชุมชนน่าชื่นชมค่ะ

เรียนอาจารย์ ผศ.ทิพยวัลย์ คนต้นคิดเรื่องสมัชชาสุขภาพทางอากาศ คือคุณ ชัยพร จันทร์หอม 

กรรมการสาธารณสุขแห่งชาติภาคประชาชน

เป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมาก่อนจึงเข้าใจในสาธารณสุข

ถ้าสมัยใหม่ก็ต้องบอกว่า " รักสตูล จุงเบย "   นะบังวอ... 555

5555555  " รักสตูล จุงเบย " อยากใช้คำนี้เหมือนกัน แต่เกรงวัยไม่รุ่น เลยต้องใช้ รักจังสตูล

บังทันสมัยน่าดู มีจุงเบยด้วย 555555

เรียนท่านอาจารย์ ขจิต ตามทันสื่อ รู้ทันสื่อ จึงใช้สื่อตามสมัย ครับ

สตูลเมืองน่าเที่ยวชม  นิยมคนคิดดี  ทำดีนะครับ

เรียนอาจารย์ ยูมิ สมัชชาทางอากาศ ทางสสส.เขาสนใจ เห็นว่าจะมี งปม.มาให้ทีมสื่อทดลองทำเป็นทางเลือก สมัชชาทางอากาศ

เรียนอาจารย์ ยูมิ สตูลน่ารัก มีธรรมชาติและวิถีที่งดงาม

เดินทางไปบากันเคย ชาวบ้านมีอัธยาศัยเยี่ยมเลย

เพิ่งไปสตูลมาเมื่อไม่กี่วัน ราว ๆ ต้นเดือนกรกฎาคม 2556 นี่เองครับ

อาจจะไม่ได้สัมผัสบรรยากาศด้านการรณรงค์อะไรมากมายนัก แต่ก็พบว่า แม้ไม่รณรงค์ แต่คนสตูลนั้น น่ายกย่องในเรื่องการใส่ใจปัญหาของท้องถิ่นตนและสนใจแสวงหาข้อมูลจริง ๆ ครับ

http://www.gotoknow.org/posts/542205

ขอบคุณ นักเรียนห้องสันติศึกษา ที่มาให้กำลังใจคนสตูล 

วันนี้เจอบังแกนใน เวที สพม.ที่นคร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท