จากบันทึกภาคสนาม เรื่อง หาความรู้ให้ชาวบ้านหน่อย


คำพูดของชาวบ้าน สะท้อนบทบาทของราชการและนักวิชาการที่ชาวบ้านต้องการ

ช่วงต้นเดือนกรกฎาคม 2556 ผมได้ลงไปเก็บข้อมูลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลการกระจายอำนาจในพื้นนที่ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล ทำให้ได้คุยกับกลุ่มผู้บริหาร กลุ่มข้าราชการและลูกจ้าง และประชาชนในเทศบาลตำบลกำแพงหลายต่อหลายคน

สำหรับการพูดคุยกับชาวบ้านนั้น (ขอเปลี่ยนจากประชาชนมาเป็นชาวบ้าน เพราะดูใกล้ชิดกว่า ^_^ และเราก็เน้นถามประชาชนที่มีทะเบียนราษฏร์อยู่ในพื้นที่เทศบาลและอยู่อาศัยที่เทศบาลจริง ๆ จัง เพื่อให้ได้ตัวแทนในการตอบแบบสอบถามในฐาน ชาวบ้านในพื้นที่จริง ๆ ) มีเรื่องที่น่าสนใจและอยากบันทึกไว้ ณ ที่นี้ด้วย คือ เรื่องเกี่ยวกับท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบารา ซึ่งเป็นเรื่องที่ชาวบ้านชวนเราคุย (และแบบสอบถามที่กำหนดมาไม่ได้มีเรื่องพวกนี้โดยตรง)

ชาวบ้านบอกว่ารู้ข้อมูลทุกอย่างมาจาก "ข่าวทีวี" เป็นส่วนใหญ่ และตามด้วย "ข่าวหนังสือพิมพ์"  เลยถามเราต่อว่า แล้วที่จริงแล้วแบบจริง ๆ มันเป็นอย่างไร  (ซึ่งเราเองก็ตอบไม่ถูก เพราะไม่ได้มีข้อมูลเยอะเพียงพอที่จะกล้าตอบ)

ชาวบ้านเลยบอกว่า ทุกวันนี้ขาดข้อมูลแบบจริง ๆ และอยากให้ ส่วนราชการ มหาวิทยาลัย อาจารย์ ช่วยเอาข้อมูลที่เป็นจริงและเป็นกลางมาให้หน่อย

ขณะที่นั่งฟังอยู่นั้น ก็นึกถึงเรื่องที่ อาจารย์ ประสาท มีแต้ม ได้เคยเล่าถึงเรื่องที่ชาวบ้านขอให้อาจารย์ไปหาความรู้มาให้ชาวบ้าน เพื่อชาวบ้านจะได้คิดและตัดสินใจปัญหาของเขาเองได้

 

อาจารย์ประสาท ได้เล่าถึงครั้งที่ไปหาชาวบ้านที่ตลิ่งชัน อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ซึ่งในขณะนั้น กำลังมีความกังวลและเริ่มที่จะต่อต้านโครงการก่อสร้างโรงแยกแก๊ซขึ้นในพื้นที่ ได้กล่าวกับอาจารย์ในฐานะนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่า

 

"อาจารย์อย่าเอาแต่นอน ช่วยหาความรู้มาให้พวกฉัน แล้วพวกฉันจะคิดเอง"

 

ทุกวันนี้ ชาวบ้านที่เคยต่อต้านโรงแยกแก๊ซที่จะนะ ก็คงยังมีการรวมกลุ่มอยู่ เพียงแต่ว่า ด้วยเวลาที่ผ่านไป และสภาพการณ์ในปัจจุบันที่หลังจากมีทั้งการเรียกร้องผ่านกระดาษ ผ่านการประชุม ผ่านการล้มการประชาพิจารณ์ และ ผ่านการล้อมตีขณะชุมนุมประท้วง จนกระทั่งโรงแยกแก๊ซได้สร้างเสร็จแล้วและเดินเครื่องมานานปี การรวมตัวจึงเป็นการ เฝ้าระวังสถานการณ์มลภาวะ และการพยายามคิดหาหนทางที่จะต้องอยู่ร่วมกับโรงแยกก๊าซและโรงไฟฟ้า รวมถึงนิคมอุตสาหกรรมที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต การคิดดังกล่าวของชาวบ้านล้วนเกิดจากการเชื่อมโยงความรู้เข้าสู่ท้องถิ่น ซึ่งไม่ใช่เพียงแต่นักวิชาการ ม.อ. แต่ยังมีนักวิชาการที่อื่น มีนักกฎหมาย นักศึกษา เครือข่ายชุมชน นักพัฒนาเอกชน และผู้คนอีกมากมายเป็นระยะเวลากล่าวสิบปี

ปล. ผู้เขียนเคยลงพื้นที่ตลิ่งชัน อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลาครั้งแรกใน พ.ศ. 2546 ในขณะเรียนวิชาประชาสังคมกับ อาจารย์อุษณีย์ วรรณนิธิกุล ซึ่งอาจารย์ขับรถยนต์ส่วนตัวพานักศึกษา 3 คนที่ลงทะเบียนเรียนวิชานี้กับอาจารย์ไปเจอกับชาวบ้านเพื่อรับฟังปัญหาของชาวบ้านด้วยหูของตัวเอง ขอขอบคุณอาจารย์อุษณีย์ไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ

หมายเลขบันทึก: 542205เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2013 16:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 กรกฎาคม 2013 12:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณที่เล่าความหลังครั้ง จะนะจากอาจารย์ ประสาท (รักจังสตูลhttp://www.gotoknow.org/posts/534134) เชิญแลกเปลี่ยนที่นี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท