แผนการจัดการเรียนรู้แบบ Constructivism


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2

กลุ่มสาระการเรียนรู้  สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม      ตอนที่ 1:   พระพุทธ

รายวิชา  ส41103 พระพุทธศาสนา 1  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

เรื่อง   สังคมชมพูทวีปก่อนสมัยพุทธกาล  เวลา  1  ชั่วโมง 

สอนโดย  นางสาวบรรจง  มุกดา


มาตรฐานที่  ส 1.1   เข้าใจประวัติ  ความสำคัญ หลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือ

  ศาสนาที่ตนนับถือและสามารถนำหลักธรรมของศาสนา

   มาเป็นหลักในการอยู่ร่วมกัน

สาระสำคัญ

   ศึกษา สังคมชมพูทวีปก่อนสมัยพุทธกาล  เห็นความแตกต่างของชนชั้นเพื่อให้ ผู้เรียนรู้และเข้าใจ วิเคราะห์  คติความเชื่อทางศาสนาตลอดจนอิทธิพลของระบบวรรณะที่มีต่อวิถีชีวิตของคนในสังคมชมพูทวีปสมัยก่อนพุทธกาล

จุดประสงค์การเรียนรู้ 

  จุดประสงค์ปลายทาง

  รู้และเข้าใจ  ลักษณะสังคมชมพูทวีปก่อนสมัยพุทธกาล สามารถวิเคราะห์   คติความเชื่อทางศาสนาตลอดจนอิทธิพลของระบบวรณะที่มีต่อวิถีชีวิตของคนในสังคมชมพูทวีปสมัยก่อนพุทธกาล

  จุดประสงค์นำทาง

  1.  อธิบายลักษณะสังคมชมพูทวีปสมัยก่อนพุทธกาลในด้านต่างๆได้

  2.  วิเคราะห์  คติความเชื่อทางศาสนาตลอดจนอิทธิพลของระบบวรรณะที่มีต่อ

วิถีชีวิตของคนในสังคมชมพูทวีปสมัยก่อนพุทธกาลได้

  3.  ตระหนักในพระเมตตากรุณาต่อมวลมนุษย์  ในการคิดหาทางปฏิวัติความคิดความเชื่อของประชาชนในเรื่องพรหมลิขิต

  4.  มีทักษะกระบวนการกลุ่ม  อันเป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิตในสังคม

เรื่อง  สังคมชมพูทวีปก่อนสมัยพุทธกาล

คุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์  อ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความ

  ด้านความรู้    การใฝ่รู้

  ด้านคุณธรรมจริยธรรม  ความรับผิดชอบ

  ด้านทักษะ  ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

สาระการเรียนรู้

  1.  สังคมชมพูทวีปก่อนสมัยพุทธกาล  (K)

    แบ่งออกเป็น  4  ด้าน  คือ   

ด้านการเมืองการปกครอง

2.  ด้านสังคม 

3.  ด้านเศรษฐกิจ 

4.  ด้านลัทธิความเชื่อ

  2.  เห็นความแตกต่างของสังคมชมพูทวีปก่อนสมัยพุทธกาล  (A)

  3.  การมีทักษะกระบวนการกลุ่ม  (P)

 

กิจกรรมการเรียนรู้

  1.  ขั้นแนะนำและ ขั้นทบทวนความรู้เดิม

  1.  ผู้เรียนกราบพระแบบเบญจางค์ประดิษฐ์ (ในกรณีที่ทำการเรียนการสอน

ที่ห้องจริยธรรม)  สวดมนต์สั้นพร้อมคำแปล   นั่งสมาธิประมาณ 3-5 นาที   แผ่เมตตาพร้อมกัน

โดยมีผู้เรียน  เลขที่  4  เป็นผู้นำ  การจัดการเรียนรู้ในขั้นนี้  เพื่อให้ผู้เรียนเตรียมความพร้อม  ในการเข้าสู่บทเรียน

  2.  ผู้เรียนและครูร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับ กำเนิดของศาสนาพุทธ  การจัดกิจกรรม-การเรียนรู้ในขั้นนี้  เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียน  ดึงความคิดเดิม  ความรู้เดิม ของผู้เรียนออกมาใช้  เพื่อสร้างสถานการณ์ ให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญาของผู้เรียน  จากการที่ผู้เรียนมีคำตอบแตกต่างกันออกไป  ซึ่งความขัดแย้งทางปัญญานี้จะเป็นพื้นฐานในการสร้างความคิดใหม่ของผู้เรียน  โดยครูตั้งคำถามดังนี้

(แนวคำถามที่ 1 

-  จากการเรียนพระพุทธศาสนาหรือวิชาภูมิศาสตร์ในระดับชั้นมัธยมต้น  ชมพูทวีป 

คือประเทศอะไรในปัจจุบัน

(แนวคำตอบของแต่ละคน…

  -  ประเทศอินเดีย)

(แนวคำถามที่  2  ชมพูทวีป  มีส่วนเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาอย่างไรบ้าง

(แนวคำตอบของแต่ละคน...

  -  เป็นแหล่งกำเนิดพระพุทธศาสนา

  -  เป็นสถานที่ประสูติ  ตรัสรู้  และปรินิพพาน)

(แนวคำถามที่ 3  ถ้าพูดถึงดินแดนชมพูทวีป  ผู้เรียนสนใจอยากทราบเรื่องอะไรบ้างนอกเหนือจากเป็นสถานที่กำเนิดพระพุทธศาสนา

(แนวคำตอบของแต่ละคน...

  -  แม่น้ำศักดิ์สิทธ์(คงคา)

  -  วรรณะ

  -  ความเป็นอยู่  อาชีพ

-  ความเชื่อ

-  การปกครอง)

  3.  ในการตอบคำถามครูให้ผู้เรียนออกมาเขียนคำตอบที่กระดาน  หลังจากนั้นผู้เรียนและครูร่วมกันเลือกคำตอบที่น่าจะเกี่ยวข้องกับสังคมชมพูทวีป ช่วงนี้จะก่อให้เกิดความขัดแย้งทางด้านความคิดเพราะผู้เรียนแต่ละคนจะมีพื้นฐานความรู้เดิมต่างกัน  ซึ่งเป็นผลดีเพราะจะทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในเนื้อหาที่จะศึกษา  ว่าข้อสรุปของคำตอบจะตรงกับที่ตนคิดหรือไม่

  4.  ครูถามว่า  จากความรู้เดิมของผู้เรียนที่ได้สนทนากันเบื้องต้น  สังคมชมพูทวีปมีลักษณะอย่างไรบ้าง  ให้ผู้เรียนแต่ละคนเขียนคำตอบลงในสมุดขอนตนเองตามความเข้าใจของตนจะได้กี่คำตอบก็ได้  เพื่อดึงเอาความรู้เดิมของผู้เรียนออกมาใช้ในการเชื่อมต่อกับความรู้ใหม่ในขั้นการจัดการเรียนรู้ขั้นปรับเปลี่ยนความคิด

  5.  ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้  เพื่อให้ผู้เรียนได้รับรู้จุดมุ่งหมายในการเรียนรู้   ในบทเรียน

  2.  ขั้นปรับเปลี่ยนความคิด

  6.  ผู้เรียน  แบ่งกลุ่ม ออกเป็น  6 กลุ่ม  แต่ละกลุ่มคละความสามารถ  เก่ง ปานกลาง 

 และอ่อน  ครูชี้แจงให้ผู้เรียนเข้าใจถึงความสำคัญของการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มว่าต้องให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีการจัดการกลุ่มอย่างเป็นระบบ  เช่นมีการเลือกประธานกลุ่ม รองประธานกลุ่ม  เลขานุการกลุ่ม  มอบหน้าที่ในการทำงาน  เป็นต้น  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้  ในขั้นนี้  เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะกระบวนการกลุ่ม  อันเป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข

6. ให้สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มเสนอความคิดของตนที่บันทึกไว้  เลขากลุ่มบันทึกความคิดของสมาชิกกลุ่มของตน  จากนั้นสมาชิกทุกคนในกลุ่ม  ร่วมกันอภิปรายถึงคำตอบที่ได้จากสมาชิกว่าคำตอบใดที่มีลักษณะเดียวกันให้หลอมรวมเป็นคำตอบเดียวกัน  บันทึกรวมไว้เป็นความรู้  ของกลุ่ม  หลังจากนั้นผู้เรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษา เรื่อง  สังคมชมพูทวีปก่อนสมัยพุทธกาล  ในหนังสือเรียน  พระพุทธศาสนา  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  จนสมาชิกทุกคนในกลุ่มเข้าใจ  โดยวิธีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเองในกลุ่ม  ถ้าไม่ได้คำตอบเป็นที่เข้าใจ  ให้ถามครู  เมื่อศึกษาเป็นที่เข้าใจแล้วผู้เรียนแต่ละกลุ่มทำใบงานที่ 1  เรื่อง เรื่อง  สังคมชมพูทวีปก่อนสมัยพุทธกาล ซึ่งในการศึกษาใบงานที่ 1  นี้ เพื่อให้ผู้เรียนได้เชื่อมโยงความคิดเดิมของกลุ่ม เข้ากับความคิดใหม่ที่ได้ศึกษา  สร้างเป็นความคิดใหม่ของกลุ่ม  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในขั้นนี้เพื่อให้ผู้เรียนทำความเข้าใจและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน  ให้ผู้เรียนฝึกทักษะการคิด

  7.  ผู้เรียนแต่ละกลุ่ม ช่วยกันกลั่นกรอง  ความคิดใหม่ของกลุ่ม โดยจัดแนวความคิด  ให้เป็นระบบแบ่งเป็นหัวข้อตามที่ได้ทำใบงานที่ 1 ดังนี้คือแบ่งลักษณะของสังคมชมพูทวีปออกเป็น  4  ด้าน  คือ   1  ด้านการเมืองการปกครอง  2.  ด้านสังคม  3.  ด้านเศรษฐกิจ   4.  ด้านลัทธิความเชื่อ  เพื่อนำไปสร้างผังความคิดเรื่อง  ลักษณะสังคมชมพูทวีปก่อนสมัยพุทธกาล  เพื่อนำไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนกลุ่มอื่นๆ  โดยวิธีการนำเสนอความคิดใหม่ของกลุ่มในรูปแบบผังความคิด  กิจกรรมการเรียนรู้ในขั้นนี้  เพื่อให้ผู้เรียน นำผลจากการอภิปรายและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน  มากำหนดเป็นความคิดใหม่

  8.  สมาชิกในแต่ละกลุ่ม ร่วมกันประเมิน ความคิดใหม่ของกลุ่มตนเอง  อาจเป็นการอภิปรายอย่างหลากหลายระหว่างสมาชิกในกลุ่ม  หรืออาจเป็นการถาม-ตอบ กันอย่างละเอียด  ของสมาชิกภายในกลุ่ม  หรืออาจจะเป็นการซักซ้อมการนำเสนอ  เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มช่วยกันเพิ่มเติมส่วนที่ยังไม่สมบูรณ์  หรือปรับปรุงในส่วนที่บกพร่อง  ทำการประเมินอย่างละเอียดเพื่อให้ความคิดใหม่ของกลุ่มออกมาสมบูรณ์ที่สุด  และสรุปลักษณะสังคมชมพูทวีป  ก่อนสมัยพุทธกาล ออกมาเป็นผังความคิด จัดรูปแบบให้สวยงาม  น่าสนใจ เพื่อนำเสนอผลงานกลุ่มหน้าชั้นเรียน  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในขั้นนี้  เพื่อให้ผู้เรียนได้ออกแบบดำเนินการตรวจสอบความคิดใหม่ที่ผู้เรียนสร้างขึ้น

  9.  ในขณะที่ผู้เรียนแต่ละกลุ่มเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม  ครูต้องคอยดูแล  สังเกตการณ์ทำงานของแต่ละกลุ่มอย่างใกล้ชิด  พร้อมกับทำการประเมินการทำงานกลุ่ม  และพฤติกรรมด้านความรับผิดชอบรายบุคคล  โดยใช้แบบประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม  และแบบประเมินพฤติกรรมด้านความรับผิดชอบรายบุคคล 

  3.  ขั้นนำความคิดไปใช้

  10.  ผู้เรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอ  ผังความคิด เรื่อง ลักษณะสังคมชมพูทวีป

ก่อนสมัยพุทธกาล  ที่ได้จากแนวคิดของกลุ่ม  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในขั้นนี้  เพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้แนวคิดที่ได้พัฒนาขึ้นมาใหม่  นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ 

  11.  ในขณะที่ผู้เรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานกลุ่ม  ครูทำการประเมินการนำเสนอผลงานของแต่ละกลุ่ม  โดยใช้แบบประเมินการนำเสนอผลการอภิปราย

  12.  ครูชมเชยการนำเสนอผลงานของแต่ละกลุ่ม  พร้อมกับให้ข้อเสนอแนะสำหรับส่วนที่ต้องปรับปรุง

  4.  ขั้นสะท้อนความคิด/สรุป

  13.  ผู้เรียนทุกคนในห้องเรียนและครู  ร่วมกันประเมินผังความคิด เรื่องลักษณะสังคมชมพูทวีปก่อนสมัยพุทธกาล  ของแต่ละกลุ่มที่นำเสนอให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม  เพื่อปรับปรุงให้สมบูรณ์ หลังจากนั้นผู้เรียนแต่ละคนบันทึกข้อสรุปเรื่อง  ลักษณะสังคมชมพูทวีป

ก่อนสมัยพุทธกาล  เป็นความคิดใหม่ที่สมบูรณ์บันทึกลงในสมุดบันทึกรายวิชา ส 41103  พระพุทธศาสนา 1  เป็นรายบุคคล  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในขั้นนี้  เพื่อให้ผู้เรียนประเมิน  และพัฒนาความคิดอย่างรอบคอบและต่อเนื่องจนสามารถประเมินตนเองได้

  14.  ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน  10  ข้อ  มีการแลกเปลี่ยนกันตรวจ  ครูแจ้งผล  ให้ทราบในทันที  โดยครูแจ้งให้ผู้เรียนทราบว่า  ใครตอบถูก  7  ข้อ  ขึ้นไป  ผ่านเกณฑ์การประเมิน  ผู้เรียนที่ไม่ผ่าน  ต้องกลับไปศึกษานอกเวลาเรียน  แล้วมาขอสอบใหม่กับครูนอกเวลาเรียน  ถ้าใครตอบถูกเกิน  7  ข้อ  ก็ให้มีค่าเท่ากับทำถูกเพียง  7  ข้อ  เท่านั้น 

  15.  ผู้เรียนกลุ่มที่ 1  นำเสนอ  กิจกรรมเสริมคุณธรรม  “หยดธรรม หยดทิพย์”  ครั้งที่ 1

และสรุปการปฏิบัติ การนำไปใช้ ในชีวิตประจำวันลงในแบบบันทึกกิจกรรมเสริมคุณธรรม  “หยดธรรม หยดทิพย์”

สื่อ/ แหล่งการเรียนรู้

  1.  หนังสือเรียน พระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  เอกสารค้นคว้า

  2.  แบบประเมินพฤติกรรมด้านความรับผิดชอบรายบุคคล

  3.  แบบประเมินผลการนำเสนอผลงานกลุ่ม

  4.  ใบงานที่ 1  เรื่อง  “สังคมชมพูทวีปก่อนสมัยพุทธกาล”

  5.  แบบประเมินคุณธรรม  จริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์  การอ่าน

คิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความ

  6.  แบบทดสอบหลังเรียน  จำนวน  10 ข้อ

  10.  ห้องสมุดโรงเรียนหรือสถาบันอื่นๆ

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

  ด้านความรู้

    วิธีการ

  1.  สังเกตพฤติกรรมด้านความรับผิดชอบรายบุคคล

  2  การนำเสนอผลงานกลุ่ม

  3.  ทดสอบหลังเรียน

  เครื่องมือ

  1.  แบบสังเกตพฤติกรรมด้านความรับผิดชอบรายบุคคล

  2.  แบบประเมินการนำเสนอผลงานกลุ่ม

  3.  แบบทดสอบหลังเรียน  จำนวน  10  ข้อ

  เกณฑ์การประเมิน

  1.  พฤติกรรมด้านความรับผิดชอบรายบุคคล

ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับ คุณภาพ  ดี 

  2.  การนำเสนอผลงานกลุ่ม

ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับคุณภาพ  ดี  ขึ้นไป

  3.  ทำแบบทดสอบหลังเรียน ได้ถูกต้อง  7  ข้อ ขึ้นไป

  ด้านทักษะกระบวนการ

  วิธีการ

  ประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม

  เครื่องมือ

  แบบประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม

  เกณฑ์การประเมิน

  พฤติกรรมการทำงานกลุ่มผ่านเกณฑ์การประเมิน

ระดับคุณภาพ  ดี  ขึ้นไป

  ด้านคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์  การอ่าน คิดวิเคราะห์

และเขียนสื่อความ

  วิธีการ

ประเมินคุณธรรม  จริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 

การอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความ

  เครื่องมือ

แบบประเมินคุณธรรม  จริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 

การอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความ

  เกณฑ์การประเมิน

   คุณธรรม  จริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์  การอ่าน

คิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความ  ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับคุณภาพ  ดี

ความเห็นของผู้บังคับบัญชาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

  ลงชื่อ……………………………….

   (……………………..……..…)

  ตำแหน่ง…………………………………….

   ……………./…………./……………

บันทึกหลังสอน

1.  ผลการสอน

………………………………………………………………………...........................................

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………………

-  ผลการทดสอบหลังเรียน  ข้อสอบ  .........ข้อ  เกณฑ์การประเมินผ่าน  ผู้เรียนต้องทำข้อสอบ

ได้ถูกต้อง ........ ข้อขึ้นไป  ผลการปฏิบัติผู้เรียนผ่านเกณฑ์การประเมิน  จำนวน.......................คน  คิดเป็นร้อยละ..................ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน...................คน  คิดเป็นร้อยละ....................

-  ผลการประเมินการทำงานกลุ่ม  เกณฑ์การประเมิน  ต้องผ่านเกณฑ์คุณภาพระดับดีขึ้นไป 

ผลการปฏิบัติงานกลุ่มที่ผ่านเกณฑ์การประเมินคุณภาพระดับดี.......... ………. .กลุ่ม 

คุณภาพระดับดีมาก............กลุ่ม  กลุ่มที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน...................กลุ่ม

2.  ปัญหาและสิ่งที่ต้องพัฒนา……………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

3.  แนวทางการแก้ปัญหาและพัฒนา……………………………………………………………..

……………………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………………

4.  ผลที่เกิดกับผู้เรียนในการแก้ปัญหาและพัฒนา………………………………………………...

……………………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………………

  ลงชื่อ……………………………………ผู้สอน

     (นางสาวบรรจง  มุกดา)

  ครู 

   ……………/…………………………./……………



คำสำคัญ (Tags): #ข้ารองบาทฯ
หมายเลขบันทึก: 533647เขียนเมื่อ 23 เมษายน 2013 08:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 สิงหาคม 2013 21:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เป็นกำลังใจให้กับท่่านผู้เป้นแม่พิมพ์แห่งชาติ นะคะ

มีความสุขกับการอ่านและเขียนบันทึกนะคะ  

ขอบพระคุณทุกท่านค่ะที่ให้กำลังใจ


เรียน ครูมุก ที่เคารพ ครับ

ผมอ่านแผนการสอนของท่าน อย่างรวดเร็ว 1 รอบ แล้วมีความเห็นต่อไปนี้ครับ

  1. หากเราลองตั้งคำถาม 4 คำถามคือ
    • เนื้อหานี้สำคัญหรือไม่ จำเป็นต้องสอนหรือไม่ (หรือนักเรียนสามารถเรียนรู้เองได้)
    • การสอนนี้ต้องการให้เกิด KPA อะไร
    • จะประเมิน KPA นั้นอย่างไร เกิดหรือไม่
    • ถ้าเกิดหรือไม่เกิดทำอย่างไร
  2. ผมขอตอบคำถามข้อ 1. ในความเห็นของผมเอง ดังนี้ครับ
    • เนื้อหาหน่วยนี้ "สังคมชมพูทวีปก่อนสมัยพุทธกาล  เวลา  1  ชั่วโมง" ไม่จำเป็นต้องสอน   ผมคิดว่าหากออกแบบให้นักเรียนทำงานเป็นกลุ่มในการเรียนรู้เรื่อง พุทธประวัติ  เช่นอาจแบ่งเป็น กลุ่มก่อน กลุ่มระหว่างท่านค้นหาสัจจะธรรม และกลุ่มหลังตรัสรู้  แล้วให้มานำเสนอ จะสามารถเก็บประเด็นได้หมด
    • KPA ในเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับศาสนา ยากมากที่จะทำให้เกิดได้ใน 1 ชั่วโมง ดังนั้น หัวเรื่องนี้ไม่จำเป็นต้องแยกออกมาเรียนเป็นหน่วยต่างหาก แต่ควรออกแบบกระบวนการเรียนรู้ เรื่องที่กำหนดไว้เพียงสาระสำคัญ แล้วออกแบบการเรียนรู้แบบทั้งเทอม ได้เลย เช่น จัดให้มีการแสดงละครตามพุทธประวัติ เป็นตอนๆ เป็นต้น  ทักษะที่ควรได้ คือ ทักษะการสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ ไอซีที การพูด การนำเสนอ การรู้จักตนเอง สติ สมาธิ ฯลฯ
    • ควรเน้นประเมินจากการตีความ โดยให้เขียนเรียงความ หรือการแสดงออกถึงความเข้าใจ โดยการเน้นการอภิปราย ด้วยคำถาม ทำไม เริ่มตั้งแต่ ทำไมต้องเรียนเรื่องนี้....
    • ..... ต้องฝากให้อาจารย์ตอบครับ เพราะต้องสังเกตว่า ทำไมถึงไม่เกิด ต้องการ Reflection จากนักเรียนเช่นกัน
  3. ผมเสนอว่า เราควรลดภาระงานด้านการเขียนแผนการสอนแบบแยกหน่วยการเรียนรู้ ที่ไม่จำเป็น ซึ่งจะเห็นว่าหน่วยการเรียนรู้นี้ ยังเน้นเนื้อหา มากกว่าการฝึกทักษะ  ... และต้องใช้เวลาเขียนแผนเยอะมาก แต่ใช้เวลาสอนเพียง 1 ชั่วโมง ซึ่งยากมากที่จะให้บรรลุ วัตถุประสงค์ โดยเฉพาะข้อ ปรับเปลี่ยนวิธีคิด

สวัสดีค่ะ ดร. ต๋อย

ขอบพระคุณมากค่ะที่ให้ข้อเสนอแนะ  จะนำข้อเสนอแนะมาปรับในการเรียนการสอนที่เน้นให้นักเรียนปฏิบัติ  ให้เกิดทักษะด้านต่างๆ

- การเขียนแผนในสมัยที่ต้องส่งผลงานเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ ถูกกำหนดมาว่าเขียนแผนละ 1 ชั่วโมงค่ะ 

- ต้องเก็บรายละเอียดตามกฎกติกาในการเขียนแผนอย่างละเอียด 

- พอสอนจริงๆหนึ่งชั่วโมงทำไม่ได้อย่างที่ท่าน ดร.ให้ความเห็นค่ะ

...ฯลฯ....อีกมากมายค่ะที่ไม่สามารถเขียนบอกได้เมื่อพบกันจะเล่าให้ฟังค่ะ 

ในภาคเรียนที่จะถึงนี้ 1/2556 มีการกำหนดหลักสูตรสถานศึกษาใหม่ในกลุ่มสาระฯกำหนดให้สอนพระพุทธศาสนาทั้งหมด 27 ตัวชี้วัดให้จบในเทอมเดียว(เนื้อหา ม.4 -ม.6) ...ทุกวันก็จะนั่งคิดวางแผนว่าจะสอนอย่างไรให้ครบทุกตัวชี้วัดและนักเรียนต้องได้ประโยชน์สูงสุด สามารถนำไปใช้ในการดำรงชีวิตได้อย่างเป็นสุข  ตั้งใจอย่างแรงกล้าว่าต้องบูรณาการกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง...ขอบคุณ 

  • ออกแบบการเรียนรู้แบบทั้งเทอม ได้เลย เช่น จัดให้มีการแสดงละครตามพุทธประวัติ เป็นตอนๆ เป็นต้น  ทักษะที่ควรได้ คือ ทักษะการสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ ไอซีที การพูด การนำเสนอ การรู้จักตนเอง สติ สมาธิ ฯลฯ 
  • ควรเน้นประเมินจากการตีความ โดยให้เขียนเรียงความ หรือการแสดงออกถึงความเข้าใจ โดยการเน้นการอภิปราย ด้วยคำถาม ทำไม เริ่มตั้งแต่ ทำไมต้องเรียนเรื่องนี้....  

     ขอบคุณค่ะที่ให้คำแนะนำตอนนี้ความกังวลเรื่องสอนน้อยลงแล้วค่ะ ...ต่อไปก็จะนำตัวชี้วัดและตัว มาจับกลุ่มแล้วจัดหน่วยค่ะ.....ถ้าท่าน ดร. จะกรุณาให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมก็ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท