รัชดาวัลย์ วงษ์ชื่น(อิงจันทร์)
รัชดาวัลย์ วงษ์ชื่น(อิงจันทร์) ครูตาล วงษ์ชื่น

วิจัยชั้นเรียนอย่างง่าย 1)...การใช้โวหาร...


ไม่ใช่นักล่ารางวัล แต่เกิดจากการปฏิบัติจริง การส่งผลงานเข้าประกวด เพื่อเป็นการเผยแพร่ผลงาน อีกประการเพื่อเป็นผลงานของ ผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงเรียน ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่ฯ

   

           สำหรับฉันแล้วการวิจัยชั้นเรียน  จะเป็นการวิจัยที่ทำแบบง่าย ๆ  ใช้เวลาไม่นาน  หยิบเอาเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่มี

ปัญหา  ต้องการแก้ปัญหานั้น  ต้องการพัฒนาให้มีผลการพัฒนาที่เพิ่มขึ้น  บางครั้งอาจเป็นปัญหาของเด็กเพียงคน

เดียว  ใช้เวลาในการทำไม่มากนั้น  อาจจะเพียง 2-3  คาบ  ขึ้นอยู่กับปัญหา  และสื่อนวัตกรรมที่เราจะนำมาใช้ในการ

พัฒนา 

รายงานการวิจัยชั้นเรียน ปีการศึกษา 2555 

เรื่อง      การใช้การ์ตูนเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง โวหาร

              ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านพุตะแบก

ผู้วิจัย     นางรัชดาวัลย์  วงษ์ชื่น

สถาบัน  โรงเรียนบ้านพุตะแบก  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต 1

ปี พ.ศ.    2555

                                                                                   บทคัดย่อ

รัชดาวัลย์   วงษ์ชื่น. (2555). การใช้การ์ตูนเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง โวหาร 

       ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านพุตะแบก

      การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6 เรื่องโวหาร ที่เรียนด้วยการใช้หนังสือการ์ตูนเสริมการอ่าน เรื่อง โวหาร เป็นการจัดการเรียนการสอนระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน และเพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการใช้โวหารในงานเขียนประเภทต่าง ๆ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านพุตะแบก ภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2555 จํานวน 8 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง แล้วนํากลุ่มตัวอย่างมา ศึกษาเรื่องโวหาร โดยการใช้การ์ตูนเสริมการอ่าน ใช้เวลาในการทดลอง 3 คาบเรียน คาบละ 1 ชั่วโมง แบบแผนการทดลองเป็นแบบทดสอบก่อนการทดลองและหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น คือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องโวหาร  เป็นข้อสอบปรนัย  จํานวน 20 ข้อ ใช้ทดสอบก่อนและหลังเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและร้อยละ และการทดสอบค่าสถิติt –test แบบPaired Sampleผลการศึกษาพบว่า

         1.  คะแนนเฉลี่ยและร้อยละของการทําแบบฝึกหัดระหว่างเรียนเรื่องโวหาร จำนวน 20ข้อ  แบบฝึกหัดโวหารที่เป็นหนังสือการ์ตูนเสริมการอ่าน ใช้ได้ผล นักเรียนสามารถทําแบบฝึกหัดได้คะแนนเกินร้อยละ 50 ทุกคน โดยได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 15.75 จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 78.75

        2. คะแนนการทดสอบหลังเรียน โดยเฉลี่ยเท่ากับ 14.25 จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน คิดเป็นร้อยละ  71.25  ซึ่งสูงกวาการทดสอบก่อนเรียนโดยเฉลี่ยเท่ากับ  6.00 จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 30.00 

       3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องโวหาร   โดยการใช้การ์ตูนเสริมการอ่าน คะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01  อ่านทั้งหมดได้จากไฟล์นี้ค่ะ

รายงานการวิจัยในชั้นเรียน

การใช้การ์ตูนเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง โวหาร

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านพุตะแบก


<p></p>

หมายเลขบันทึก: 532016เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2013 07:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กันยายน 2013 07:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

เป็นวิจัยในชั้นเรียนที่ดีมากๆ ค่ะ ได้ทั้งความรู้และอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย นิทานช่วยให้เด็กรักการอ่านมากขึ้น

..... งานวิจัยช่วยเติมเต็ม .... ความรู้เชิงลึก ..... ขอบคุณค่ะ ..... 

ขอบคุณค่ะ

  • เด็ก ๆ เค้าชอบการ์ตูนค่ะ  
  • เราให้เขาเป้นตัวละครในหนังสือการ์ตูนเล่มนั้นด้วย เขาิยิ่งชอบอ่านค่ะ



ขอชื่นชมและให้กำลังใจจ้ะ

ขอบคุณค่ะ ที่นำผลไม้เมืองเหนือมาฝาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท