saving of blood, sweat and tears in weaving of rice paddy



เกี่ยวข้าวแบบประหยัดเลือด เหงื่อ และน้ำตา  แถมได้ผลผลิตเพิ่ม


ผมไม่เคยทำนา แต่ถามนามามาก และคิดนามามาก   และรับรองผมคิดอะไรมักไม่ผิด  ถึงผิดก็ไม่มาก  วันนี้จะมาเสนอแนวคิดในการเกี่ยวข้าวแบบเหนื่อยน้อยวกว่าเดิมแถมได้ผลผลิตเพิ่มมากกว่าเดิม

การเกี่ยวข้าวแบบโบราณเกี่ยวด้วยเคียว หรือ แกละ  ...มีเคียวหางไหลด้วย (ปักษ์ใต้เรียก “ตรูด” แต่คนส่วนใหญ่ไม่รู้จักกันแล้ว...ผมมีแสดงไว้หมดที่ พภ. ไทยโบราณ)   พอเกี่ยวเสร็จก็เอารวงข้าววางค้างไว้บนตอซัง  (ตอข้าวที่เกี่ยวแล้ว) สักสามแดด ให้รวงข้าวมันแห้ง   (ลูกชาวนาคงพอได้เห็น แต่คนไม่เคยทำนาคงจินต์ไม่ออก) 

ปัญหาของระบบเก่าคือ  ๑ ..เหนื่อย   ๒. เกิดการสูญเสียมาก เพราะข้าวหล่น   ทั้งขณะเกี่ยว และ ขณะเก็บจากตอซัง    โดยเฉพาะขณะเก็บ รวงข้าวแห้งมาก ทำให้เปราะ เวลาเราไปเก็บเอามามัดเป็นฟ่อน   ยกเบาๆ ข้าวก็ร่วงมากแล้ว   ๓.  วางไว้กลางนาหนูก็มากิน   บางทีฝนหลงฤดูมาก็เสียหายหมด บางทีมีคนมาขโมย  โอ๊ย..สารพัด 

วิธีที่ผมเสนอคือ  แทนที่จะใช้เคียว  ให้พัฒนา “หวี”   เป็นหวียักษ์สักหน่อย  มีสามขยัก คือ หยาบ  กลาง ละเอียด   โดยที่เราจะเอาหวีนี้ไปสางเม็ดข้าวออกจากรวง   แล้วให้มันหล่นลงในกระบุงที่เราห้อยไว้ริมเอว  (กระบุงเราออกแบบให้มันเว้าเข้าเอวด้วยนะ)  

ผมพยายามจะให้นศ. ป.ตรี วิศวะเครื่องกล ทำอุปกรณ์เกี่ยวข้าวนี้มาหลายปีแล้ว ไม่สำเร็จสักที  ติดปัญหามากมาย 

ความเร็วมันจะพอๆ กับเกี่ยวข้าวด้วยเคียวนี่แหละ    แต่ผลที่ได้ต่างกันมาก เพราะเราได้ข้าวเปลือกเป็นเม็ดๆ เลย  ไม่มีเส้นฟาง       ทำให้เราไม่ต้องเหนื่อยมาตากบนตอซัง มานวด มาฝัด  ก่อนที่จะเก็บเข้ายุ้งเอาไว้กิน หรือขายก็ตามที   (นวด ฝัด  มันเหนื่อยกว่าเกี่ยวอีกนะจะบอกให้ )  

 ...เคยฟังเพลง คาราวาน แต่งโดย  จิตร ภูมิศักดิ์ ไหม   ....จากข้าวมาเป็นรวง ระยะทางนั้นเหยียดยาว  

http://www.youtube.com/watch?v=ms3chjCNI74

พอเกี่ยวเสร็จ เป็นเม็ดๆ   เราก็เอามาตากแห้ง  ไม่ต้องเอาไปตากริมถนน ให้ลำบาก  แต่ผมได้คิดและทดลองเครื่องอบแห้งพลังงแดดไว้แล้ว  เป็นแคร่กระบะ สร้างด้วยไม้ไผ่ หรือกระถิน  ราคาถูกมาก แต่ทดลองแล้ว  ได้ผลดีมาก  อบแห้งได้รวดเร็วมาก ใช้พื้นที่น้อย  พลิกกลับเพียงวันละสามครั้ง เช้า กลางวันเย็น  แบบใช้แรงงานน้อยมาก  

วิธีที่เสนอนี้มันดีกว่าระบบเก่าคือ

๑.     เหนื่อยยากน้อยลงสิบเท่า 

๒.    ได้ผลผลิตมากกว่า  (ข้าวไม่หล่นร่วง หรือ สูญหายจากหนู นก ที่ลงกิน หรือเปียกฝนตก ) 

๓.    ได้เงินมากกว่า  โดยใช้เวลาน้อยกว่า   สองเด้งเลยนะ  ก็พอเพียง พออยู่ได้ เวลาที่เหลือก็เอาไปศึกษาวิจัยต่อยอดวิธีนี้ให้ดียิ่งๆ ขึ้นสิ  เพราะพอเราทำไปแล้ว เราก็จะเกิดปัญญา พัฒนาต่อยอดไปได้เรื่อยๆ  

...คนถางทาง (๒ เมย ๒๕๕๖) 


หมายเลขบันทึก: 532011เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2013 00:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 เมษายน 2013 00:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ลูกชาวนา ขอแสดงความคิดเห็นในแนวคิด นี้ค่ะ 

เนื่องจากเป็นทั้งลูชาวนา  และเคยทำนา มานั้นนึกภาพตามที่อาจารย์เขียนออก แบบทะลุ  แถมความคิดที่ว่านี่เคยคิด และลองตามภาษาทะโมนสมัยเด็กมาแล้ว ไม่สำเร็จ ( อาจเพราะไม่ใช่วิศวะก็ได้ ) เคยถามแม่ว่า ทำไมต้องทำร่ำไรแท้ ก็เก็บเอาแต่รวงข้าวไม่ได้หรือ เกี่ยวมาทำไมทั้งซังข้าวน่ะ ไม่ทำงานซ้ำซ้อนหรือ  แม่เป็นสาวชาวบ้านเรียนจบชั้น ป.4 แต่ให้คำตอบชลัญแบบถึงบางอ้อเลยทีเดียว 

 แม่บอกว่า การที่เราเอามาแต่เม็ดข้าวน่ะทำงานหลายต่อกว่า อีก แล้วต้องออกแรงมาก (นี่เป็นคำตอบเมื่อ สามสิบกว่าปีนะค่ะอาจารย์ ) ชลัญสงสัยว่ายังไง คือการเกี่ยวข้าวนี่มันมีเครื่องทุ่นแรงคือเคียว ชลัญก็สงสัยอีกว่าทุ่นแรงยังไงก็ต้องออกแรงเกี่ยว แม่อธิบายต่อว่า เวลาเกี่ยวข้าวนี่ต้องทำเคียวให้ได้เอียงๆจะเกี่ยวได้เร็ว และไม่ต้องออกแรงมาก  หากดึงตรงๆ จะใช้แรงมาก เกี่ยวยากไม่ขาด ชลัญลองทำเออ..จริง  แต่ถ้าเอาแต่เม็ดข้าวนี่เราต้องออกแรกในการทำให้เมล็ดข้าวร่วงมาก เพราะ ซังข้าวยังสด ทำให้เหนื่อย ได้งานช้ากว่า  อีกอย่างเราต้องใช้ซังข้าวมาไว้เลี้ยงวัวควาย ด้วย เมื่อ ตีข้าวเสร็จซักข้าวที่เหลือก็นำมาทำประโยชน์ต่อ  แล้วเวลาเกี่ยวเสร็จ เอาซักวางไว้เพราะเอาไว้รัดฟ่อนข้าว เวลาขนจะขนกันแต่เช้าตรู่ หรือไม่ก็คืนเดือนหงาย ซึ่งเป็นช่วงหน้าหนาวน้ำค้างลงมาก ทำให้ข้าวไม่กรอบ ไม่หล่นเรี่ยมากเท่าไหร่ ชลัญเคยไปช่วยนะ แหม... ได้แรงทีเดียว หนาวๆนี่หายหนาวเลย ส่วนข้าวจะตกหล่นเรื่ยไปบ้างก็ไว้เป็นอาหารของนกหนูไป  เลี้ยงไว้อ้วนๆ เนื้อมาก ( คือแถบบ้านชลัญเขากินหนูนากันค่ะ )  หรืออาจมีเก็บไม่หมด ก็ไว้ให้ คนไม่มีนาไปเก็บข้าวที่เรี่ยอยู่ตามนามาไว้กิน ก็ได้บุญ แม่บอกช่วยเขาทางอ้อม ซังข้าวที่เหลือนอกจากจะเป็นอาหารสัตว์ แล้ว ยังเอามาทำปุ๋ย ปลูกเห็ดฟางได้อีกทาง 

   

ลานข้าวสมัยก่อนใช้ขี้วัวทำลาน  หากสมัยนี้ก็คงเป็นตาข่ายสีฟ้าๆแทน  ไม้ตีข่วบ้านชลัญยังมี อยู่  เมื่อปีที่ผ่านมาก็ตีข้าวเอง อีกนาหนึ่งของพี่สาว ฝคืมีอยู่สัก 1 ไร่ ใกล้ๆบ้าน รถสีข้าวเขาไม่มาสีให้ไม่คุ้มน่ะ ก็ทำกันแบบโบราณค่ะ 


หากเป็นสมัยนี้แนวคิดอาจารยืก็น่าสนอยู่เหมือนกัน  แต่การจะทำให้เมล็ดข้าวร่วงออกจากรวงนี่ต้องใช้แรงมากกว่าการเกี่ยวจริงค่ะอาจารย์

อุ๊ย ... เขียนไปเขียมา เมนท์จะยาวกว่าบันทึกอาจารย์ล่ะ อิ อิ อิ 

นี่ยังไม่หมดนะ เรื่องการทำนานี่ ชลัญยังยากคิดเขียนบันทึกไว้ให้รุ่นหลังๆได้เรียนรู้เหมือนกันค่ะ 

ผมอธิบายบอกไว้แล้วว่า วิธีนี้ใช้แรงเกี่ยวน้อยกว่าวิธีเก่าแบบเคียวสิบเท่า  แถมได้ผลผลิตมากกว่า  1.2 เท่า  เพราะเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ใช้หวี   หวีสามชั้นนะ     หยาบ กลาง ละเอียด  ...หวีนะตรงๆ นะ   ไม่ใช่เคีียวโง้งๆ   ...สางออกมาแล้วได้ข้าวเป็นเม็ดๆ  ลงกระบุงเลย   ไม่มีฟาง   .ทำให้ไม่ต้องเหนื่อยยากมาตี  มาฝัด    เพียงเพืือเอาฟางข้าวไปมัดข้าวฟ่อนข้าวทำไม  ก็วิธีนี้มันไม่ต้องมัดฟ่อนข้าวให้เหนื่อยอยู่แล้วตั้งแต่ต้น  

เรื่องนี้ผมได้โพสต์ไว้ก่อนหน้านี้นานแล้ว มีรูปเสกตช์ที่ผมเขียนไว้ประกอบด้วย แต่มีคนอ่านน้อยมาก ทั้งที่ผมคิดว่ามันปฏิวัติโลกได้เลย  เพราะทำให้ชาวนาเหนื่อยน้อยลงสิบเท่า  แถมได้ผลผลิตข้าวเพิ่ม  

  

Back in the good old days, rice was harvested by hand (and sickle), straw was a very useful by-product. The process as you see are many stages. But once sicled and carted to a more convient area, latter stage work can be done (off the fields; near home; less travelling). One transport trip collect both rice and straw. And that was good (because transport was costly). 

Today, on broad-acre rice growing, machine harvesters pick the rice husks first, then a (tractor-attachment) slashers, sweepers and balers follow. Sometimes, they also set fire to the stumps before tilling the land (again with tractor-attachment tillers).  And this is used to be good (because fuel has been cheap).

New thinking is looking at one single harvest for both rice and straw again. Using some straw as fuel to power rice exracting and milling processes (to reduce fuel cost). Human is very energy-efficient much much better than machines (if human woukd only use energy to do good ;-)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท