รัชดาวัลย์ วงษ์ชื่น(อิงจันทร์)
รัชดาวัลย์ วงษ์ชื่น(อิงจันทร์) ครูตาล วงษ์ชื่น

อีกครั้งกับบรรยากาศ "สงกรานต์บ้านนา" วรรณกรรมหน้าเดียวที่ทรงคุณค่า



             

เพลง สงกรานต์บ้านนา  ผู้ประพ้นธ์คำร้อง/ทำนอง  คือคุณไพบูลย์ บุตรขัน  ขับร้องต้นฉบับ 
คุณรุ่งเพชร  แหลมสิงห์ เป็นเพลงที่ครูอิงฟังมาตั้งแต่เด็ก ๆ ตอนเพชรแหลมสิงห์ เป็นเพลงที่
ครูอิงฟังมาตั้งแต่เด็ก ๆ ตอนเป็นเด็กก็มิได้คิดอะไรมาก ฟังเพราะจังหวะครึกครื้นน่าฟัง ฟังแล้ว
รู้สึกสนุกดีไม่ได้ฟังมานานมาก  กระทั่งเข้ามาใน gotoknow. ได้ฟังเพลงนี้อีกครั้งหนึ่งที่บล็อก
ของท่านพี่วอญ่า ณ วันนี้เปิดฟังหลาย ๆ เที่ยว ปกติก็ชอบเพลงลูกทุ่งที่มีเนื้อหาสะท้อนถึงวิถีชีวิต
ชาวบ้าน สะท้อนถึงประเพณีวัฒนธรรม ฟังเพลงนี้แล้วใช่เลย นี่แหละเสน่ห์ของเพลงลูกทุ่งไทย
มิเคยตายจาก เนื้อหาของเพลงฟังแล้วคิดถึงบรรยากาศแห่งท้องทุ่งที่เคยวิ่งเล่น เคยวิ่งไล่จับกัน
ตามประสาเด็ก ๆ ภาพการละเล่นของเด็กไทย ที่กล่าวถึงในเพลงนี้คือ การเล่นแอบซ่อน หรือเล่น
ซ่อนหา  การเล่นลูกช่วง  สันนิษฐานว่าอาจจะมีการเล่นเพลงมาลัย นอกจากนี้ยังทำให้เห็น
บรรยากาศการนัดพบกันของหนุ่มสาว  แต่ก่อนนี้หนุ่มสาวจะพบกันได้ก็เมื่อมีงานบุญ หรืองาน
ประเพณีต่าง ๆ นี่แหละ การเล่นสงกรานต์ในสมัยก่อนแตกต่างกับสมัยปัจจุบันนี้มากนัก  ฟังเพลง
นี้แล้วอยากกลับบ้าน แต่ถึงอย่างไรบรรยากาศสงกรานต์แบบในเนื้อเพลงนี้ก็คงไม่หวนกลับมาอีก
แล้ว เหลือไว้แต่เพียงบทประพันธ์ที่ทรงคุณค่า เพลง "สงกรานต์บ้านนา"อีกหนึ่งตำนานเพลงที่
บันทึกความงดงามของประเพณีไทยควรค่าแก่การอนุรักษ์และส่งต่อความภาคภูมใจให้
รุ่นลูกรุ่นหลานสืบไป

                                                                                               
            เพลง : สงกรานต์บ้านนา
          ศิลปิน : รุ่งเพชร แหลมสิงห์ 
                  
ประเพณีไทย เมื่อสมัย ครั้งเก่าก่อน
เล่น แอบซ่อน ลูกช่วง พวงมาลัย
ตรุษ สงกรานต์ สนานสนุก กันพอใจ
พี่ วิ่งไล่ น้องก็หลบ เมื่อพบหน้า
พี่ เข้ากอด น้องยังออด ทำ เอียงอาย
คืน เดือนหงาย พอพี่จูบ น้อง ทุบพลาง
นอน หนุนตัก สัญญารัก ข้าง กองฟาง
จน แสงเดือนจาง พี่ไม่ยอมห่าง น้องไปไกล
ลืมน้ำคำ ของพี่ เสียหมด
พี่คงอด เที่ยววันสงกรานต์ เดือนอ้าย
ย่างเข้าเดือนยี่ แล้วน้องหนี พี่ไปไหน
หรือเจ้าไปมีแฟนใหม่ ลืมเราวิ่งไล่ ในวันสงกรานต์
รัก กัน มา แต่เมษา วันที่เก้า
เศร้า ปีนี้เศร้า ขาดคู่เคล้า เศร้าซมซาน
คืน วัน เพ็ญ แสงเดือนเด่น เป็นพยาน
กลับเถิด นงคราญ มาเล่นสงกรานต์ ที่บ้านนาเรา
ลืมน้ำคำ ของพี่ เสียหมด
พี่คงอด เที่ยววันสงกรานต์ เดือนอ้าย
ย่างเข้าเดือนยี่ แล้วน้องหนี พี่ไปไหน
หรือเจ้าไปมีแฟนใหม่ ลืมเราวิ่งไล่ ในวันสงกรานต์
รัก กัน มา แต่เมษา วันที่เก้า
เศร้า ปีนี้เศร้า ขาดคู่เคล้า เศร้าซมซาน
คืน วัน เพ็ญ แสงเดือนเด่น เป็นพยาน
กลับเถิด นงคราญ มาเล่นสงกรานต์ ที่บ้านนาเรา
 

การเล่นลูกโยน หรือลูกช่วง

 

ลูกโยน ทำด้วยผ้าผืนเช่น ผ้าขาวม้า นำมาม้วนพันชายข้างหนึ่งแล้วห่อมัดด้วยชายอีกข้างหนึ่ง ต้องมัดให้เหลือชายผ้าสำหรับจับโยน ๑ ลูก แบ่งผู้เล่นออกเป็น ๒ ฝ่าย นิยมให้ฝ่ายหนึ่งเป็นชายอีกฝ่ายหนึ่งเป็นหญิงจำนวนผู้เล่นฝ่ายละประมาณ ๕-๑๐ คนขีดเส้นกั้นแดนมิให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งล่วงข้ามแดนกัน
วิธีการเล่น มี ๔ ขั้นตอน ดังนี้
๑. การเริ่มต้น ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะเป็นผู้เริ่มโยนลูกโยนก่อนก็ได้ ถ้าฝ่ายชาย เป็นฝ่ายเริ่ม ฝ่ายชายก็จะโยนลูกโยนข้ามไปยังแดนฝ่ายหญิง หากไม่มีผู้ใดรับลูกโยนได้ ลูกโยนตกถึงพื้น ฝ่ายหญิงจะหยิบลูกโยนขึ้นมาโยนกลับไปยังฝ่ายชาย แต่หากฝ่ายหญิงรับลูกโยนได้ก่อนตกถึงพื้น ก็จะขว้างลูกโยนข้ามไปให้ถูกตัวฝ่ายชายถ้าขว้างไปแล้วไม่ถูกใคร และลูกโยนตกถึงพื้น ฝ่ายชายจะหยิบลูกโยนขึ้นมาโยนกลับไปข้างฝ่ายหญิง สลับกันไปมา
๒. สภาพเป็นเชลย หากผู้เล่นคนใดปล่อยให้ลูกโยนที่ฝ่ายตรงข้ามรับได้และขว้างกลับมาถูกส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ผู้เล่นคนนั้นจะตกเป็นเชลยของฝ่ายตรงข้าม ต้องข้ามแดนไปยืนคอยรับลูกช่วงในแดนฝ่ายตรงข้าม เชลยต้องพยายามหลบหลีกจากการป้องกันของฝ่ายตรงข้ามเพื่อจะรับลูกโยนที่ฝ่ายตนพยายามโยนมาให้ ขณะเดียวกัน ฝ่ายเจ้าของเชลยก็ต้องพยายามกันไม่ให้เชลยรับลูกโยนได้
๓. การพ้นสภาพเชลย เมื่อเชลยรับลูกโยนที่โยนมาจากฝ่ายของตนได้เมื่อใด ก็จะทำให้ลูกโยนนั้นไปสัมผัสฝ่ายตรงข้าม จะโดยวิธีตี หรือขว้างก็ได้ แต่ต้องระวังไม่ให้ลูกโยนสัมผัสพื้นก่อนสัมผัสฝ่ายตรงข้าม มิฉะนั้นจะหมดสิทธิ์พ้นการเป็นเชลยในคราวนั้น เมื่อลูกโยนสัมผัสร่างกายผู้ใด ผู้นั้นก็จะกลายเป็นเชลยของอีกฝ่ายหนึ่ง สลับกันไปมาและจะพ้นสภาพการเป็นเชลยได้ในกรณีเดียวกัน
๔. การสิ้นสุดการละเล่น เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตกเป็นเชลยจนไม่มีผู้เล่นเหลือในแดนของตนแล้ว ฝ่ายนั้นจะเป็นฝ่ายแพ้ และถูกปรับให้ทำตามที่ฝ่ายชนะต้องการ

โอกาสที่เล่น
นิยมเล่นในช่วงงานประเพณีสงกรานต์ เวลากลางวัน หรือเวลาเย็น

คุณค่า
ผู้เล่นได้รับความสนุกสนาน กระบวนการเล่นเสริมสร้างความสามัคคี ความรักพวกพ้องและรู้จักช่วยเหลือพวกพ้องเมื่อมีภัย เป็นการส่งเสริมความมั่นคงในสังคม
 
หมายเลขบันทึก: 532015เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2013 06:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 เมษายน 2013 06:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ลูกช่วง .... เป็นการละเล่นของไท ทรงดำ ของ  อ.เขาย้อยเพชรบุรี .... นะคะ


ขอบพระคุณค่ะ หมอเปิ้น ที่ช่วยเติมเต็มให้บันทึก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท