แนวคิดความเจ็บป่วยเรื้อรัง


สรุป กรอบแนวคิดวิถีทางความเจ็บป่วย (Trajectory Framework)
  • http://gotoknow.org/file/nursing/trajectory+framework.pdf 
  •  เป็นไฟล์เอกสารที่ส่งให้เพื่อนของโอ๋ช่วยแปล
  • และผลการแปลอ่านได้ที่นี่ดังนี้
  •  

    หลังจากแยกแยะปัญหาของบุคคลและครอบครัวกับความเจ็บป่วยเรื้อรัง กระบวนการต่อมาคือกลยุทธ์ขั้นพื้นฐาน การบริหารจัดการและครอบครัว รวมถึงผลที่ตามมาของการจัดการเหล่านั้น 

     ขอบเขตของแนวทาง 

                   จากผลงานของ Strauss และทีมงานในปีช่วง ค.ศ.1960 และ 1970 ขอบเขตของวิถีทางได้ถูกนำมาพัฒนาขึ้นอีกครั้งในปี ค.ศ.1980 Corbin และ Strauss (1992) พัฒนาขอบเขตนี้ ทั้งนี้เพื่อให้พยาบาลสามารถ
    1.)     มองเห็นถึงประสบการณ์ภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังของผู้ป่วย
    2.)     รวบรวมเอาทฤษฎีที่มีอยู่เกี่ยวกับภาวะโรคเรื้อรังเพื่อนำไปสู่แนวทางปฏิบัติ
    3.)     เสนอแนวทางสำหรับการสร้างรูปแบบการดูแลรักษา ซึ่งเป็นแนวทางในการปฏิบัติ การสอน

    การวิจัยและการกำหนดแนวนโยบาย

         แนวทางได้ถูกอธิบายในเชิงของอาการความเจ็บป่วยผ่านช่วงเวลา รวมทั้งท่าทีของผู้ป่วย ครอบครัว และผู้ให้การบำบัดรักษาในการจัดการและกำหนดแนวทางนั้น  แนวทางของภาวะความเจ็บป่วยได้ถูกกำหนดตามความเป็นไปโดยอาศัย เวชศาสตร์เชิงสรีระ และการเปลี่ยนแปลงทางสุขภาพ แต่กระนั้นยังมีกรรมวิธีบางอย่างที่ถูกใช้โดยผู้ป่วย ครอบครัว และผู้ให้การบำบัดรักษา ซึ่งกำหนดแนวทางของการเจ็บป่วย แม้ว่าอาการอาจเหมือนกัน แต่แนวทางของการเจ็บป่วยในแต่ละคนแตกต่างกัน ซึ่งนำไปสู่เอกลักษณ์ของแต่ละบุคคล (Jablonski, 2004) การกำหนดแนวทางนี้มิได้หมายถึงทิศทางที่แท้จริงของโรคจะต้องถูกเปลี่ยนไป หรือโรคได้รับการรักษา แต่วิถีทางของการเจ็บป่วยอาจถูกกำหนดหรือเปลี่ยนแปลงโดยพฤติกรรมของแต่ละบุคคลและครอบครัว เพื่อที่จะให้ทิศทางของโรคคงที่ มีการถูกรบกวนน้อยที่สุด และอาการที่ปรากฏอยู่ภายใต้การควบคุมที่ดีกว่า (Corbin and Strauss, 1992)

            ภายใต้รูปแบบ คำว่า เฟส แสดงถึงภาวะต่าง ๆ กันของความเจ็บป่วยเรื้อรังของผู้ป่วย รูปแบบของแนวทางประกอบด้วย 9 เฟส ซึ่งแม้ว่าจะเป็นภาวะที่ต่อเนื่องกัน แต่ก็มิได้แปรผันตามกันโดยตรง ผู้ป่วยอาจมีลักษณะอาการเป็นไปตามเฟสแบบต่อเนื่องกันโดยตรง ถอยกลับไปยังเฟสก่อนหน้า หรือลุกลามไปยังเฟสที่นอกเหนือออกไป นอกจากนี้แล้ว การปรากฏของโรคเรื้อรังมากกว่าหนึ่งโรคมีผลต่อการดำเนินไปตามแนววิถีทางด้วยเช่นกัน

           อีกคำหนึ่งที่ถูกใช้คือคำว่า ประวัติประวัติของผู้ป่วยประกอบด้วยข้อมูลการเข้ารับการรักษา แนวทางที่เป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์อาการ ความเชื่อในการเจ็บป่วยและประสบการณ์อื่น ๆ ในชีวิต (White and Lubkin, 1998)

           เฟสแรกเริ่มของรูปแบบวิถีทาง เรียกว่า Pretrajectory phase หรือเฟสป้องกัน ซึ่งทิศทางของการเจ็บป่วยยังไม่เริ่มขึ้น อย่างไรก็ตามมีปัจจัยทางพันธุกรรม หรือแนวทางการใช้ชีวิตของบุคคลที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง ตัวอย่างเห็นได้จากบุคคลที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไป และประวัติทางครอบครัวมีปัญหาเรื่องโรคหัวใจ และคลอเรสเตอรอลสูง และไม่ออกกำลังกาย

           ในช่วงของ Trajectory phase สิ่งบ่งบอกและอาการของโรคเริ่มปรากฏ และการวินิจฉัยโรคก็เริ่มต้นขึ้น ผู้ป่วยจะเข้าสู่กระบวนการตรวจและวินิจฉัยตามอาการที่ปรากฏ ในช่วงของ Stable phase อาการของการเจ็บป่วยเรื้อรังอยู่ภายใต้การควบคุมและการจัดการดูแลโดยส่วนใหญ่สามารถกระทำได้ที่บ้าน ช่วงเวลาที่ไม่สามารถควบคุมอาการได้เกิดขึ้นในช่วงของ Unstable phase ในช่วงของ Acute phase เป็นภาวะอาการรุนแรงและไม่สามารถบรรเทาได้ หรือภาวะซับซ้อนของโรค ภาวะสำคัญหรือคุกคามชีวิตที่จำเป็นต้องอาศัยการรักษาโดยเฉียบพลันปรากฏในช่วง Crisis phase ช่วง Comeback phase แสดงถึงภาวการณ์ฟื้นตัว ช่วง Download phase เป็นลักษณะอาการปรากฏในทิศทางเลวลง โดยมีอาการปรากฏมากขึ้น รูปแบบของวิถีทางสิ้นสุดที่ถาวะ Dying phase ซึ่งเป็นภาวะที่กระบวนการในร่างกายไม่มีการตอบสนอง หรือเสียชีวิต (Corbin, 2001)

     ตาราง 2-4 ภาวะต่าง ๆ ของแนวทาง 

    ภาวะ

    นิยาม จุดมุ่งหมายของการจัดการ

    Pretrajectory 

     Trajectory Onset   

    Stable  

      

    Unstable   

    Acute  

       

    Crisis   

    Comeback  

    Download   

    Dying

    ปัจจัยทางพันธุกรรม หรือแนวทางการใช้ชีวิตของบุคคลที่มีผลเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง 

    ปรากฏอาการที่เห็นได้ชัด รวมถึงช่วงการตรวจวินิจฉัย และระบุได้โดยอาการที่แฝงตัวทางชีววิทยา ในขณะที่ผู้ป่วยเริ่มสังเกตเห็นอาการ 

     ทิศทางความเจ็บป่วยและอาการอยู่ภายใต้การควบคุม ประวัติและกิจกรรมแต่ละวันได้รับการจัดการภายใต้ข้อจำกัดของการเจ็บป่วย การจัดการรักษากระทำที่บ้าน 

    ช่วงของความไม่คงที่ของการรักษาอาการ ภายใต้การควบคุมของโรค การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันรวมทั้งการรักษากระทำได้ที่บ้าน 

    อาการรุนแรงและไม่บรรเทาลง หรือการพัฒนาของโรคที่ต้องอาศัยการดูแล หรือพักฟื้นบนเตียง เพื่อให้ทิศทางของโรคอยู่ภายใต้การควบคุม รวมทั้งประวัติและกิจกรรมในแต่ละวันบางอย่างอาจจะต้องระงับหรือลดลง

     ภาวะจำเป็นหรือคุกคามชีวิตที่ต้องการการรักษาโดยฉุกเฉิน ประวัติและกิจกรรมชีวิตประจำวันถูกระงับจนกว่าช่วงวิกฤติผ่านไป

     การฟื้นตัวอย่างช้า ๆ ถึงระดับที่ยอมรับได้ ตามอาการหรือโรค 

    ทิศทางของโรคกำหนดโดยความค่อยเป็นค่อยไป หรือรวดเร็วของภาวะถดถอยทางร่างกาย ที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มขึ้นของแนวโน้มทุพลภาพหรือความยากในการควบคุมอาการของโรค 

    ช่วงวันหรือสัปดาห์สุดท้ายก่อนการเสียชีวิต กำหนดโดยความค่อยเป็นค่อยไป หรือรวดเร็วของกระบวนการของร่างกาย ไม่มีการดำเนินไปของการกิจกรรมในชีวิตประจำวัน 

    ป้องกันการเจ็บป่วยเรื้อรัง  

    ก่อตั้งแนวทางการรักษา (Trajectory projection and scheme) 

     รักษาความคงที่ของโรค ประวัติ และกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละวัน 

      กลับสู่สภาวะ Stable   

    ควบคุมสภาวะความเจ็บป่วย และดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันให้เป็นไปตามปกติ 


     
     ออกจากสภาวะคุกคามชีวิต  

    กำหนดแนวทางและดำเนินวิถีทาง 
     
     

     ปรับให้เข้ากับสภาวะถดถอย  

      ปล่อยวาง และเสียชีวิตโดยสงบ  

        

    ROTFLThbpbpthpt!Surrender







    หมายเลขบันทึก: 53166เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2006 22:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 20:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (0)

    ไม่มีความเห็น

    ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท