บางหัวเสือกับนวัตกรรม


อุปสรรคที่เกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์ในเรื่องนวัตกรรมคือ 3 C
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 14 กันยายน 2549 .ดร.จีระได้รับเกียรติจากโรงเรียนบางหัวเสือบุญแจ่มเนียมนิล ซึ่งเป็นต้นแบบโรงเรียนในฝัน ให้ไปบรรยายและร่วมแลกเปลี่ยนความรู้เรื่อง HRD กับ Innovation (นวัตกรรม) ให้แก่ผู้บริหารโรงเรียนประถม มัธยม และเอกชน ในชุมชนใกล้เคียง และนักเรียนหลักสูตรธุรกิจอุตสาหกรรม รวมกว่า 40 รวม ในโครงการให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชน ซึ่งเป็นนโยบายหนึ่งของโรงเรียน.ดร.จีระได้พูดถึงนวัตกรรมว่า มี 3 เรื่อง1.      ต้องมี Ideas ใหม่ ๆ 2.      เมื่อมี Ideas แล้ว ต้องมี action plan นำไปสู่การปฎิบัติ3.      เอาชนะอุปสรรค ต้องทำให้สำเร็จและได้พูดถึงอุปสรรคที่เกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์ในเรื่องนวัตกรรมคือ 3 C ประกอบด้วยC ที่ 1 คือ มักไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ChangeC ที่ 2 คือ ไม่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า Customer ซึ่งลูกค้าของโรงเรียนคือ ครู อาจารย์  นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน เป็นต้นC ที่ 3 คือ ผู้บริหารส่วนใหญ่มักจะสั่งการ Command and control ไม่รับฟังความเห็นของผู้อื่น

3 C จึงเป็นอุปสรรคที่สำคัญในด้านทรัพยากรมนุษย์ต่อนวัตกรรม

       จึงขอเรียนเชิญทุกท่านร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นเรื่องนวัตกรรมครับ

หมายเลขบันทึก: 52799เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2006 09:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

เรียน  ท่านอาจารย์ จีระ ที่เคารพ

           จากการที่อาจารย์มาบรรยายเรื่องนวัตกรรมกับการศึกษาให้คณะครูและผู้บริหารกลุ่มโรงเรียนปู่เจ้าสมิงพราย เมื่อวันที่ 14 ก.ย. 49 นั้น ผลการประเมินผู้เข้าร่วมสัมมนา ทุกคนได้รับความรู้มาก 3C ของอาจารย์คือสิ่งที่เป็นจริงในวัฒนธรรมการทำงานไทย และหนูคิดว่า จะต้องร่วมมือกันนำ 3C ของอาจารย์มาใช้ เพื่อเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการทำงานใหม่ เพื่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ที่แท้จริง ถึงแม้จะใช้เวลาก็ตาม พวกเราจะมุ่งมั่นนำแนวคิดของอาจารย์มาเป็นแนวปฏิบัติในการทำงาน

                             ขอขอบพระคุณอย่างสูง

                                ปรารถนา  ศรีสุข

นายกิตติศักดิ์ ชาญอักษร

ผมได้คิดเรื่องนวัตกรรมขึ้นมาคือเรื่อง

Chain of Quality หรือ Chain of Value in Education

มัธยมศึกษา

อุดมศึกษา
ประถมศึกษา
อนุบาล
ผู้เกี่ยวข้อง

            เป็นการพัฒนาคุณภาพ โดยเชื่อมโยงระบบการศึกษาที่แตกต่างกัน ให้มีคุณภาพเท่าเทียมกันและสอดรับกัน ในแต่ละระดับ โดยมีผู้เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ปกครอง ประชาชน ธุรกิจ องค์กรท้องถิ่น และเอกชน เป็นผู้สนับสนุน มีส่วนร่วม ตรวจสอบ แสดงความเห็น จึงขอให้ทุกท่านช่วยแสดงความเห็นครับ

ขอบคุณครับ

ผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า สมุทรปราการ ( บางหัวเสือบุญแจ่มเนียมนิล ) 
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง ขอต้อนรับ : พลเอกสุรยุทธ์"

ขอต้อนรับ : พลเอกสุรยุทธ์[1]

 

ท่านที่ติดตามบทความของผมมาตลอด 7-8 ปี คงจะเห็นแล้วว่าแต่ละสัปดาห์ มีอะไรเกิดขึ้น และตัวเราวิเคราะห์ให้เป็น เราจะเป็นสังคมการเรียนรู้อย่างแท้จริง กระหายความรู้ นำเอาความรู้ไปใช้ในการสร้างมูลค่าเพิ่ม
สิ่งแรกที่เกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 24
หลายฝ่ายอาจจะไม่เข้าใจประวัติความเป็นมาของท่าน ผมขอเรียนว่า ท่านเป็นทหารมืออาชีพ และเป็นทหารประชาธิปไตย ซี่งดีกว่านักประชาธิปไตยแต่ในรูปแบบ วันนี้ประเทศไทยทำงานแบบ Back to basics ที่เกิดขึ้นทั้งหมดคือ ความถูกต้องและความพอดี หรือหากจะเรียกว่าเป็นความพอเพียงทางการเมือง สังคมและวิถีชีวิตคนไทยคือเดินสายกลาง ไม่หลุดโลกไปทางใดทางหนึ่ง
มี 2 ประเด็นที่น่าจะเขียนถึงท่านนายกรัฐมนตรีคนที่ 24 คือ
ท่านเป็นคนสมถะ ประหยัดและดำรงชีวิตแบบพอเพียงมาตลอด อุปนิสัยจะช่วยให้บทบาทของท่านนายกรัฐมนตรีคนใหม่เป็นตัวอย่างที่ดี " Role Model " ของคนไทยคือ หลังจากรับตำแหน่ง ท่านได้ไปกราบสมเด็จพระสังฆราช และไปพบผู้ใหญ่ที่ท่านเคารพนับถือ คือ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
หนังสือพิมพ์ The Nation เขียนว่า ช่วงที่นายกฯทักษิณชนะการเลือกตั้ง ท่านไป ช็อปปิ้งที่ เอ็มโพเรียม และดื่มกาแฟที่ Starbucks เป็นการเปรียบเทียบวิถีชีวิตของท่านทั้งสองได้ดี
อีกเรื่องหนึ่ง ภาพของนายกฯ สุรยุทธ์ จะนำไปสู่ภาพของความพอเพียง และเป็นภาพที่สร้างความจริงของสังคมไทย คือจะเจริญทางด้านวัตถุไม่พอ ต้องมี
Heritage
รากเหง้า
Head
คิดเป็น
Heart
มีคุณธรรม
Happiness
มีความสุข ความสมดุลในชีวิต
ในช่วง 1 ปีนี้ที่สำคัญคือ รูปแบบผู้นำของท่าน จะทำให้นิสัยของคนไทย ที่ฟุ้งเฟ้อ ลดน้อยลง สิ่งไม่ดีต่างๆ เช่น ความอยากได้ทุกอย่างเร็วๆ นิยมตะวันตก นิยมวัตถุ การไม่เคารพรากเหง้าหรือประวัติศาสตร์ของตัวเอง มองมนุษย์โดยไม่เน้นการเคารพ ( Respect ) และความมีศักดิ์ศรี ( Dignity ) อาจจะดีขึ้นบ้าง โดยเฉพาะหากท่านนายกฯ คนใหม่เน้นเรื่องสังคมเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นวิถีชีวิตของคนไทยอย่างเป็นรูปธรรมและมองสังคมแบบยั่งยืนเป็นหลัก
ประเด็นนี้น่าสนใจ เพราะยุคคุณทักษิณ ไม่ใช่แค่ระบอบทักษิณ แต่เป็นวัฒนธรรมการคิดแบบคุณทักษิณที่เน้นเงินและอำนาจ แบบทุนนิยมที่ไร้ขอบเขต ไร้จิตวิญญาณเป็นหลัก ซึ่งในที่สุดแล้ว ไม่เหมาะกับสังคมไทยในระยะยาว จึงต้อง back to basics หลังจากเหตุการณ์รัฐประหารผ่านไป 2 สัปดาห์กว่า สิ่งหนึ่งที่ผมได้เขียนไปแล้วช่วงแรกคือ การสร้างความเข้าใจกับประชาคมโลก เพราะโลกาภิวัตน์ มีหลายเรื่องที่กระทบเรา เช่น
- Information Technology
เทคโนโลยีสารสนเทศ และอื่นๆ เช่น Nanotechnology , Biotechnology
-
เรื่องการค้าเสรี , WTO , FTA
-
เรื่องการเงินเสรี อัตราแลกเปลี่ยน
-
บทบาทของจีน อินเดีย และลาตินอเมริกา
-
เรื่องอิทธิพลของประชาธิปไตย และ human right
-
เรื่อง Global warming , ภัยธรรมชาติ
-
เรื่องสงคราม และการก่อการร้าย
-
เรื่องน้ำมันหมดโลก และพลังงานทดแทน
-
เรื่อง Bird Flu หรือไข้หวัดนก
เรื่องใหญ่คือ เรื่องมาตรฐานประชาธิปไตยกับสิทธิมนุษยชนของตะวันตก
จริงอยู่ การศึกษากำหนดมาตรฐานต่างๆ ต้องเน้นทฤษฎี 2 R's ของผมซี่งเน้นว่า จะวิเคราะห์อะไรต้องประกอบด้วย :
Reality
ความจริง
Relevance
ตรงประเด็น
ประชาธิปไตยภายใต้ระบอบทักษิณเป็นเรื่องไม่ปกติ หากปกติคงจะไม่มีการขัดแย้ง ไม่มีคดียุบพรรค ไม่มีคดีฉ้อราษฎร์บังหลวง ความแตกแยกในสังคมไทย ขาดคุณธรรม จริยธรรม
ดังนั้น คนไทยจะต้องอธิบายว่า ปฏิวัติเกิดขึ้นเพราะอะไร ความจริงคืออะไร และแสดงให้เห็นว่า มาแก้ไขเพื่อไปประชาธิปไตยที่ดีในอนาคต ไม่ใช่เห็นรถถังก็กลัว คล้ายว่าถอยหลัง 1 ก้าว เพื่อไปข้างหน้า 2 ก้าวอย่างมั่นคงและยั่งยืน
การอธิบายต่อสังคมโลกเป็นสิ่งสำคัญ อย่าให้มาตรฐานของตะวันตกเป็นมาตรฐานโลกมากำหนดตัวเราเท่านั้น สหรัฐอเมริกายังไม่เห็นพูดถึงประชาธิปไตยในปากีสถาน บางครั้งอเมริกาก็มี Double Standard ด้วย จึงขอเรียนว่า อย่าตกใจไปกับข่าวทางลบของต่างประเทศมากเกินไป ผมคิดว่าอธิบายได้ ผมเป็นคนหนึ่งที่อธิบายให้เพื่อนต่างประเทศทุกวัน
หวังว่าข่าวรัฐประหารจะค่อยๆ จางไป แต่จะขอฝากท่านนายกฯ คนใหม่คือ เรื่องปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูปให้คนไทยคิดเป็น เป็นสังคมการเรียนรู้ อยากรู้ อยากมีทุนทางปัญญา ไม่ใช่เห็นแก่ใบปริญญาเท่านั้น โดยเฉพาะในภาคอีสานและภาคเหนือ ประชากรส่วนมาก รอให้รัฐบาลช่วยเหลือ จะทำอย่างไรให้เขาพึ่งตัวเองได้มากขึ้น เพราะงานของรัฐบาลชั่วคราวที่สำคัญ ต้องปรับอุปนิสัยแบมือขอ ที่รัฐบาลไทยรักไทยทำอย่างต่อเนื่องมา 6 ปีเต็ม อบต.หรือองค์กรปกครองท้องถิ่นต่างๆ จะมองการสร้างภูมิคุ้มกันให้ชาวชนบทอย่างไร การจะให้อะไรแบบประชานิยม ก็ต้องแน่ใจว่าระยะยาวอยู่รอดและเข้มแข็งขึ้น
หนังสือพิมพ์ Herald Tribune เขียนว่าการทำให้ชาวบ้านพอใจนั้น พรรคไทยรักไทยเก่งมาก เขาเน้นการตลาด การคิดนอกกรอบ การมีนวัตกรรมทางนโยบาย การใช้พลังทุกอย่าง ซึ่งรัฐบาลชุดใหม่จะต้องมีความเข้าใจ และปรับนโยบายระยะยาว ต้องพิจารณาประเด็นเหล่านี้ด้วย
ขอจบด้วยการเล่าถึงโครงการต่อเนื่องที่ผมทำอยู่ 2 โครงการคือ
โครงการ Learning Forum ที่ Ho Chi Minh ที่ได้จัดไปเมื่อวันศุกร์ที่ 29 กันยายน ซึ่งได้เห็นว่า เศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีคุณค่าต่อผู้นำทางภาคเกษตรของเวียดนามมาก เขาศึกษาอย่างละเอียด และมีบรรยากาศในการแลกเปลี่ยนความคิดที่น่าสนใจ ยิ่งกว่านั้น เวียดนามจะขอมาดูงานที่ประเทศไทยด้วย ต้องถือโอกาสขอบคุณท่านกงสุลใหญ่ คุณสมปอง สงวนบรรพ์ และเจ้าหน้าที่ของสถานกงสุล คุณปาริฉัตร ลื้อไพบูลย์พันธ์ คุณพิมพ์พิรี ไพรามาน การทูตภาคประชาชนต้องมีรัฐบาลมาเป็นแนวร่วมด้วย
กงสุลใหญ่ ท่านเป็นคนใฝ่รู้ ให้ความสำคัญกับกิจกรรมของมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศมาก เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสถานกงสุลมานั่งฟังตลอด ได้เห็นวิธีการเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรม
ผมได้กลับไปที่โรงเรียนบ้านแพง จังหวัดมหาสารคาม เป็นครั้งที่ 3 ในช่วง 3 ปี กลับไปสร้างสังคมการเรียนรู้กับเด็กนักเรียนกว่า 400 คน ผอ.วาสนา เลื่อมเงิน เป็นลูกศิษย์ผม และเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนที่ทำงานนอกกรอบ สนใจการสร้างแนวร่วม Network ลูกศิษย์ก็กระตือรือร้น เช่น กลุ่มมัธยมศึกษา บอกว่า จะให้ผมและมูลนิธิฯ ช่วยสนับสนุนให้มาดูอุทยานวิทยาศาสตร์ในจังหวัดปทุมธานี การศึกษาในอนาคตไม่สามารถจะใช้แบบการบริหารในกล่อง รอให้รัฐบาลมาช่วย ต้องกระโดดออกนอกกล่อง พึ่งตัวเอง และให้นักเรียนเป็นผู้ได้ประโยชน์ ไม่ใช่ผู้อำนวยการโรงเรียนวิ่งหาตำแหน่ง เพื่อจะได้ C8 ตลอดเวลา

  จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง ขอต้อนรับ : พลเอกสุรยุทธ์"(ต่อ)

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน

 

เช้านี้ วันเสาร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ผมหาความรู้ ทาง internet และค้นหาอ่านบทความ บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ ซึ่งสัปดาห์นี้อาจารย์ใช้ชื่อเรื่องว่า ขอต้อนรับ : พลเอกสุรยุทธ์[1]ในบทความนี้          ศ.ดร. จีระ เขียน ถึงนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันได้อย่างน่าสนใจ และท่านได้เล่าเรื่องสำคัญที่ท่านได้ทำประโยชน์แก่สังคมไว้อย่างน่าสนใจเช่นกัน ผมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม โดยใช้ข้อความข้างล่างนี้ แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม ซึ่งมีดังนี้ ครับ  

 
สิ่งแรกที่เกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 24 ประเด็นนี้ แสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยะภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ ในการตัดสินพระทัยโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี  งานนี้ ถ้าไม่ใช่คนดี มีคุณธรรม และเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย จนเป็นที่ประจักษ์ แก่ราษฎรอย่างท่านองคมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ ก็อาจจะทำให้มีประท้วงครั้งใหญ่และอาจนำไปสู่การปฏิวัติซ้อนได้  เป็นแบบอย่างที่ดีในการตัดสินใจแก้ไขปัญหา  เหมือนให้ยาที่ถูกกับโรคที่เกิดขึ้น  ในองค์กรถ้ามีปัญหาแล้วคิดให้รอบคอบ มองการณ์ไกล รองรับปัญหาที่คาดว่าน่าจะเกิด แล้วตัดสินใจบนหลักการและเหตุผล ไม่ใช้อารมณ์ เป็นใหญ่ การตัดสินใจแก้ไขปัญหานั้นก็จะบรรลุวัตถุประสงค์   ผมชื่นชม และขอสรรเสริญคณะองคมนตรีด้วยความเคารพและนับถืออย่างสูง ที่พวกท่านคอยถวายการดูแล ช่วยเหลือภารกิจ ต่าง ๆ ของพระองค์ท่าน เป็นอย่างดี  เป็นตัวอย่างที่ดีของการทำงานเป็นทีม ความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์    มี 2 ประเด็นที่น่าจะเขียนถึงท่านนายกรัฐมนตรีคนที่ 24 คือ
ท่านเป็นคนสมถะ ประหยัดและดำรงชีวิตแบบพอเพียงมาตลอด อุปนิสัยจะช่วยให้บทบาทของท่านนายกรัฐมนตรีคนใหม่เป็นตัวอย่างที่ดี " Role Model " ของคนไทยคือ หลังจากรับตำแหน่ง ท่านได้ไปกราบสมเด็จพระสังฆราช และไปพบผู้ใหญ่ที่ท่านเคารพนับถือ คือ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ผมสนใจและประทับใจ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ มากขึ้น เมื่อครั้งทราบข่าวจากหน้าหนังสือพิมพ์หลายฉบับว่า เมื่อท่านพ้นจากตำแหน่งทางราชการแล้ว ท่านหันไปบวช เพื่อต้องสละกิเลสทั้งหลาย ใช้ชีวิตเรียบง่ายสันโดษ มีคุณค่า อันที่จริง คนระดับนี้ พร้อมที่จะเลือกหาความสุขได้หลายรูปแบบ แต่กลับเลือกมาทางพุทธศาสนาเป็นเครื่องชี้นำ เป็นสิ่งที่น่าสนใจ และน่าสรรเสริญ อย่างยิ่ง  เป็นแบบอย่างที่ดีของการดำเนินชีวิตที่มีศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย  ภาพที่ท่านใช้ชีวิตเรียบง่าย ชอบเดินป่า และภาพการออกบวช เดินบิณฑบาต ยังอยู่ในความทรงจำของคนไทยได้ดี 
อีกเรื่องหนึ่ง ภาพของนายกฯ สุรยุทธ์ จะนำไปสู่ภาพของความพอเพียง และเป็นภาพที่สร้างความจริงของสังคมไทย คือจะเจริญทางด้านวัตถุไม่พอ ต้องมี
Heritage
รากเหง้า
Head
คิดเป็น
Heart
มีคุณธรรม
Happiness
มีความสุข ความสมดุลในชีวิต สิ่งที่ ศ.ดร.จีระ กล่าวในประเด็นนี้ ผมคิดว่า เป็นรูปแบบของการดำเนินชีวิตที่ยั่งยืน  การดำเนินชีวิต จะเจริญแต่วัตถุนิยมอย่างเดียวนั้นไม่ยั่งยืน  ต้องเจริญด้วย ศีล สมาธิ สติปัญญา เจริญด้วยทุนที่เกี่ยวกับมนุษย์ ตามทฤษฎี 8K’s ของ ศ.ดร.จีระ  เป็นสิ่งที่ผู้นำประเทศ ควรต้องมียุทธ์ศาสตร์ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ให้เจริญตามแนวคิดที่ ศ.ดร.จีระ กล่าวถึงไว้อยู่เสมอ ผมยังอยากให้ ศ.ดร.จีระ เข้าไปช่วยรัฐบาลชุดนี้ ในตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงานฯ หรือเป็นที่ปรึกษาขอรัฐบาลชุดนี้ เพื่อกู้วิกฤตทางด้านทรัพยากรมนุษย์ ของชาติซึ่งยากที่จะหาคนที่มีสายตาแหลมคม มองเห็นปัญหาเรื่องทรัพยากมนุษย์ได้ลึก กว้างและไกลได้เช่นนี้

 

 

ในช่วง 1 ปีนี้ที่สำคัญคือ รูปแบบผู้นำของท่าน จะทำให้นิสัยของคนไทย ที่ฟุ้งเฟ้อ ลดน้อยลง สิ่งไม่ดีต่างๆ เช่น ความอยากได้ทุกอย่างเร็วๆ นิยมตะวันตก นิยมวัตถุ การไม่เคารพรากเหง้าหรือประวัติศาสตร์ของตัวเอง มองมนุษย์โดยไม่เน้นการเคารพ ( Respect ) และความมีศักดิ์ศรี ( Dignity ) อาจจะดีขึ้นบ้าง โดยเฉพาะหากท่านนายกฯ คนใหม่เน้นเรื่องสังคมเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นวิถีชีวิตของคนไทยอย่างเป็นรูปธรรมและมองสังคมแบบยั่งยืนเป็นหลัก ผมมีความเชื่อเช่นเดียวกับ ศ.ดร.จีระ ว่า ถ้าผู้นำประเทศ  กระตุ้นให้ทรัพยากรมนุษย์ของชาติ มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง และส่งเสริมให้เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตของชาวไทย อย่างเห็นผลชัดเจน มีตัวชี้วัดได้ จะเป็นการพัฒนาชาติที่ยั่งยืน ถึงแม้เวลาบริหารประเทศจะกำหนดไว้เพียงไม่เกิน 1 ปี สำหรับรัฐบาลชุดนี้ แต่ถ้ามีทีมคณะรัฐมนตรีที่มีคุณภาพ รู้จริง และอาสา อยากมาช่วยพัฒนา แก้ไขปัญหาบ้านเมืองเพื่อชาติ ก็จะสามารถทำได้ แม้กระทั่งการกำหนดรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ก็ควรให้มีและใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้วย พื่อกู้วิกฤตทางด้านทรัพยากรมนุษย์

 

สิ่งหนึ่งที่ผมได้เขียนไปแล้วช่วงแรกคือ การสร้างความเข้าใจกับประชาคมโลก เพราะโลกาภิวัตน์ มีหลายเรื่องที่กระทบเรา เช่น
- Information Technology
เทคโนโลยีสารสนเทศ และอื่นๆ เช่น Nanotechnology , Biotechnology
-
เรื่องการค้าเสรี , WTO , FTA
-
เรื่องการเงินเสรี อัตราแลกเปลี่ยน
-
บทบาทของจีน อินเดีย และลาตินอเมริกา
-
เรื่องอิทธิพลของประชาธิปไตย และ human right
-
เรื่อง Global warming , ภัยธรรมชาติ
-
เรื่องสงคราม และการก่อการร้าย
-
เรื่องน้ำมันหมดโลก และพลังงานทดแทน
-
เรื่อง Bird Flu หรือไข้หวัดนก
เรื่องใหญ่คือ เรื่องมาตรฐานประชาธิปไตยกับสิทธิมนุษยชนของตะวันตก

สิ่งที่ ศ.ดร.จีระ กล่าวมาในประเด็นนี้ ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่มีผลกระทบต่อประเทศ ต่อประชาชนคนไทยทั้งปัจจุบันและอนาคต และเป็นเรื่องใหญ่ เรื่องสำคัญ ที่ควรต้องมีคณะรัฐบาลที่ดี มีฝีมือ มีคุณธรรม มีอุดมการณ์เพื่อชาติ เข้ามาช่วยบริหารจัดการ  และที่น่าเป็นห่วงคือ ท่านจะได้คนดี มีฝีมือเหล่านี้มาอย่างไร เพราะเขาเหล่านั้นมักไม่แสดงตน และใช้ชีวิตเรียบง่ายแบบท่านนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์  ถอยหลัง 1 ก้าว เพื่อไปข้างหน้า 2 ก้าวอย่างมั่นคงและยั่งยืน ผมชอบประโยคนี้ ของ ศ.ดร.จีระ คือเข้าใจง่ายและใช้อธิบายเหตุผลของการปฏิวัติครั้งนี้ให้นักเรียน นักศึกษาเข้าใจได้ดี  เรียกว่า จังหวะของชีวิต บางครั้งในการเดินไปข้างหน้า เมื่อพบปัญหาอุปสรรคบนเส้นทางเดิน ก็จำเป็นต้อง หยุดและถอยหลัง เพื่อก้าวกระโดดไปข้างหน้าให้ได้ไกลกว่าที่ผ่านมา การบริหารจัดการเรียกว่า เป็นศิลปะในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ก็ว่าได้ อย่างไรก็ตาม การถอยหลังก็ต้องถอยอย่างรอบคอบ สง่างาม มีการสื่อสารที่ดี มิฉะนั้นประชาคมโลกจะเข้าใจผิด อีกประเด็นหนึ่งก็คือ เมื่อถอยแล้ว การจะก้าวกระโดดไปข้างหน้า ต้องพร้อม มั่นคง ยั่งยืน สง่างามกว่าที่ผ่านมา และช่วงจังหวะหยุดและถอย กับการจะกว้ากระโดด อย่าให้นานจนเกินไป เพื่อรักษาประโยชน์ของชาติ เป็นหลัก


 

หวังว่าข่าวรัฐประหารจะค่อยๆ จางไป แต่จะขอฝากท่านนายกฯ คนใหม่คือ เรื่องปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูปให้คนไทยคิดเป็น เป็นสังคมการเรียนรู้ อยากรู้ อยากมีทุนทางปัญญา ไม่ใช่เห็นแก่ใบปริญญาเท่านั้น ประเด็นนี้ เห็นได้ชัดว่า การระบบการศึกษาสมควรมีการปฏิวัติ และจัดการใหม่  ผมเห็นรัฐบาลหลายคณะ มาบริหารประเทศไม่ค่อยได้เน้นเรื่องนี้อย่างจริงจัง มัวแต่ไปเน้นการก่อสร้าง วัตถุนิยม  ที่อินเดีย เน้นเรื่องการศึกษามากกว่าการสร้างวัตถุนิยม  ผมเชื่อว่าในที่สุดอินเดียจะเป็นประเทศที่พัฒนาแบบยั่งยืนกว่าประเทศจีน ที่ขณะนี้มุ่งเน้นการวางผังเมือง การสร้างอาคารต่าง ๆ อย่างมาก  หนังสือพิมพ์ Herald Tribune เขียนว่าการทำให้ชาวบ้านพอใจนั้น พรรคไทยรักไทยเก่งมาก เขาเน้นการตลาด การคิดนอกกรอบ การมีนวัตกรรมทางนโยบาย การใช้พลังทุกอย่าง ซึ่งรัฐบาลชุดใหม่จะต้องมีความเข้าใจ และปรับนโยบายระยะยาว ต้องพิจารณาประเด็นเหล่านี้ด้วย

จุดเด่นของพรรคไทยรักไทย คือทำให้ชาวบ้านพอใจโดยใช้ระบอบประชานิยม ในการบริหารนโยบายสาธารณะ มีทั้งส่วนดีและส่วนไม่ดี  ดีคือสามารถสนองความต้องการของลูกค้า(ประชาชนได้) รัฐฯควรมองประชาชนเป็นลูกค้า และสนองความต้องการของลูกค้าได้  One stop service ในหน่วยงานราชการหลายแห่ง เกิดขึ้นในยุครัฐบาลของท่านทักษิณ ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี รัฐบาลอิเล็คโทรนิค ก็เช่นกัน

 

อย่างไรก็ตามจุดอ่อนคือขาดการวิเคราะห์ผลกระทบระยะยาวในนโยบายสาธารณะ โดยเฉพาะนโยบายการบริหารกิจการบ้านเมือง ยังขาดหลักการแห่งความยั่งยืน  รัฐบาลยุคท่านทักษิณ เป็นครูที่ดี แก่ผู้นำและสัจจะธรรมชีวิต ทุกอย่างในโลกล้วนมีการเปลี่ยนแปลง และไม่มีอะไรแน่นอนในโลกนี้  เมื่อมีมา ย่อม มีไป เมื่อมีเกิด ย่อมมีแก่ มีเจ็บและตาย

 

อดีตนายกฯทักษิณ ให้บทเรียนที่ดีแก่ผู้นำทั้งหลาย ทุกองค์กร พังสังวร ขอให้มองการณ์ไกลอย่างที่ ศ.ดร.จีระ เคยสอนนักศึกษาปริญญาเอกว่า อีก 20 ปีจะเกิดอะไรขึ้นในประเทศไทย  และจะแก้ไข ป้องกันอย่างไร  ทำให้คิดต่อไปว่า อีก 20 ปี จะเกิดอะไรขึ้นกับตัวเรา กับเครือข่าย กับทุนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต และจะบริหารจัดการอย่างไร เป็นสิ่งที่น่าคิดต่อไปว่า หลังจาก 1 ปี ของรัฐบาลชุดนี้จะเกิดอะไรขึ้นกับประเทศไทย  เศรษฐกิจ ส้งคม การเมือง การศึกษาของไทย จะเป็นอย่างไร จะเป็นประเด็นที่น่าสนใจ และเป็นสิ่งกำหนดอนาคตประเทศไทย 

ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์สู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 หรือทาง http://www.chiraacademy.com/  เชิญท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ    

ขอความสวัสดีจงมีแด่ทุกท่าน   

ยม  

นักศึกษา ปริญญาเอก  

รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต 

ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง โลกาภิวัตน์ยั่งยืนต้องเศรษฐกิจพอเพียง"
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน  เช้านี้ วันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ผมหาความรู้ ทาง internet และค้นหาอ่านบทความบทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระซึ่งสัปดาห์นี้อาจารย์ใช้ชื่อเรื่องว่า โลกาภิวัตน์ยั่งยืนต้องเศรษฐกิจพอเพียง ในบทความนี้ ศ.ดร. จีระ เขียน ได้เล่าเรื่องสำคัญที่ท่านได้ทำประโยชน์แก่สังคมไว้อย่างน่าสนใจเช่นกัน ผมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม โดยใช้ข้อความข้างล่างนี้ แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม ซึ่งมีดังนี้ ครับ            ช่วงรัฐบาลของไทยรักไทย 4 -5 ปี พวกเราที่มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศพยายามทำเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงในประเทศ สำเร็จในระดับหนึ่ง แต่ข้าราชการและธุรกิจ ส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจ และอาจจะมองแบบขัดแย้งด้วย จนถึงวันนี้ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีเอาจริง และได้ดำเนินนโยบายอย่างเป็นรูปธรรม ผมดีใจเพราะสนใจเรื่องนี้มานาน ได้ทำงานเรื่องนี้มาตลอด 5 ปี น่าจะเป็นประโยชน์มาก จะทำให้เราซึ่งอยู่ในโลกที่มีการแข่งขันกันอย่างหนัก ได้มีสติและอยู่รอด ผมโชคดี หรือที่ท่านพุทธทาสเรียกว่า มีบุญ คือมีความสนใจ ใส่ใจและเอาใจใส่ ค้นหาความรู้เรื่อง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และพยายามติดตามหาอ่านบทความที่เป็นประโยชน์ รวมทั้งบทความของ ศ.ดร.จีระ ด้วย ผมได้เรียนรู้ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ ศ.ดร.จีระ เขียนในหนังสือพิมพ์ และฟังจากรายการวิทยุ FM. 96.5   ต่อมาเมื่อมาเรียน ป.เอก กับ อาจารย์ ท่านก็ได้สอดแทรกเรื่อง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไว้ในวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในอนาคต ในหลักสูตรปริญญาเอกรัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต และเมื่อมีโอกาสติดตามไปฟังอาจารย์บรรยายที่อื่นอีก อาจารย์ก็จะพูถึงเรื่อง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่อาจารย์ได้นำแนวคิด ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไปสอดแทรกในการสอน ป.โท หลักสูตร MBA ที่ลาดกระบังฯ และให้นักศึกษาที่เรียนกับอาจารย์ ได้นำองค์ความรู้ เกี่ยวกับ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ไป เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับแนวคิด ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้กับนักเรียนมัธยม ที่จังหวัดกาญจนบุรี  นอกจากนี้ ผมทราบจากข้อความใน Bog จาก Web ของอาจารย์ว่า อาจารย์ได้นำเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปพูดที่ต่างประเทศหลายประเทศ และใช้เป็นยุทธศาสตร์การทูตภาคประชาชน ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย สิ่งเหล่านี้ ผมคิดว่าเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ผมเห็น เรียนรู้ และประทับใจต่อการทำงาน ของ ศ.ดร.จีระ ที่อุทิศตนทำงานด้านการเผยแพร่ความรู้ Learning by doing เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  สิ่งที่อาจารย์ทำนั้น เป็นประโยชน์ต่อสังคมอย่างมาก  ผมเองปรารถนาที่จะเห็นรัฐบาลทำจริง ทำต่อเนื่อง ทำอย่างยั่งยืน และทำอย่างทั่วถึง ไม่กระจุกอยู่เฉพาะในกรุงเทพฯ 

ผมขอต้อนรับคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ด้วยความเคารพที่ ก่อนจะตั้ง สื่อมวลชนได้เชื่อมถึงและคาดการณ์ต่างๆ มากมายกันมากมาย พอตั้งเสร็จ วิพากษ์ทันที
 จุดแข็งของสื่อมวลชน(บรรดานักข่าว นักหนังสือพิมพ์)ในบ้านเรา  ทำงานเร็ว เกาะติดสถานการณ์ คิดต่อยอดทำให้ข่าวเป็นที่น่าสนใจกับประชาชนได้อย่างทั่วถึง  ทำงานให้ได้ตามเป้าหมาย  แต่สิ่งที่น่าสังเกต คือการนำแนวพระราชบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปใช้เป็นแนวทางในการทำงาน ยังมีน้อย ผมจำได้ว่าพระองค์ท่าน ต้องการให้พวกเราคนไทย จะคิด จะพูด จะทำ อะไรก็ตาม ให้มีความเมตตา ปรารถนาดี  ต่อกัน ส่งเสริมความสมานฉันท์สามัคคีของคนในชาติ ความสมดุล ความยั่งยืน  แต่ข่าวที่ออกมาเร็วนั้น ยังมีแนวคิดแบบนี้น้อย เกินไป  สื่อมีส่วนช่วยชาติ ได้ด้วยการทำข่าว ที่ส่งเสริมให้ทรัพยากรมนุษย์เกิดทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนทางความสุข ที่ยั่งยืน อย่างทั่วถึงทุกคนทุกระดับ ทำงานสอดคล้องต้องกันกับนโยบายบริหารราชการแผ่นดิน เจริญลอยตามฝ่าพระบาทพ่อหลวงของเรา

การกำหนดนโยบายของรัฐบาล โดยนำเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ให้เป็นประโยชน์ ต่อทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่ดี ไม่ได้ขัดแย้งกับระบบสากลแต่อย่างใด ตรงกันข้ามกลับสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะการใช้คำว่ารากแก้ว แทนที่จะเป็นรากหญ้า
 เท่าที่ผมเข้าใจในแนวคิดหลักเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยย่อว่า แนวคิดหลักเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สอนให้เรา คิดเป็น คิดถูก เป็นสุข ยั่งยืน บนความพอดี สอนให้คิดว่าจะทำอะไรก็ตาม ให้ทำในสิ่งที่ตัวเองถนัด มีทรัพยากรเพียงพอ ไม่ทำตามแฟชั่นหรือทำตามกระแส  ประการต่อมา   ทำอย่างมีการวางแผนที่รอบคอบ มีการประเมินติดตามผล และการปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มองปัญหาที่จะเป็นผลกระทบจากการกระทำนั้น ทั้งระยะสั้นระยะยาว  มีแผนการป้องกันปัญหาไว้  เมื่อการทำตามแผนที่วางไว้ มีปัญหา ก็มีแผนสอง แผนสาม รองรับไว้ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน ให้พร้อมรับ และยินดีต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี ทั้งปัจจุบันและอนาคต  ผมจึงคิดว่า แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในทุกกิจกรรมของการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ใช้ได้ทุกเพศ ทุกวัย ใช้ได้ทั้งภาครัฐและเอกชน ใช้ได้ทั้งโครงการระยะสั้นและระยะยาว ทั้งปัจจุบันและในอนาคต  ที่สำคัญคือทำอย่างไร ที่จะให้คนที่เป็นหัวใจ คนที่จะไปสอนเรื่อง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เข้าใจเรื่องนี้อย่างลึกซึ้ง ก่อนที่หลักสูตรจะคลอดออกมาแล้วนำไปสอน เอกสารการสอน เอกสารการเผยแพร่ความรู้ ด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ก็ควรจัดทำให้เหมาะสมกับวัย ระดับความรู้ของผู้สอนและผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วม  และทำโครงการเสนอ โดยใช้แนวคิด ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  เป็นกรอบแนวความคิด การเรียนการสอนในหลักสูตร ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ควรให้มีทุกระดับ โดยเฉพาะในระดับที่กำลังจะออกมาช่วยพัฒนาประเทศชาติ ควรต้องรีบทำ 
มูลนิธิฯ ได้ดำเนินการสร้างชุมชนการเรียนรู้ในต่างจังหวัดหลายครั้ง เช่นโครงการ "การสร้างชุมชนเข้มแข็งและชุมชนต้นแบบตามแนวพระราชดำรัส"ที่จังหวัดสมุทรสงคราม และได้ทำต่อเนื่องหลายครั้ง โครงการที่สร้างชุมชนเข้มแข็ง พบว่า ต้องสร้างความเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เรื่องโลกาภิวัตน์ เพื่อให้คนในชุมชนรู้ความเป็นไปของโลก และใช้เศรษฐกิจพอเพียงในการรับมือโลกาภิวัตน์ เพราะเมื่อชุมชนจะได้เข้มแข็งแล้ว อนาคตข้างหน้าไม่ว่าจะส่งออกหรือจะนำเศรษฐกิจให้ก้าวไปสู่สากล เราก็สามารถทำได้
ประโยคนี้ ทำให้ผมคิดถึงครูในชนบท ในชุมชนที่ห่างไกลความเจริญ น่าสงสารที่ทั้งความรู้ อุปกรณ์การสอน การได้รับการสนับสนุน ในการสอนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีไม่เพียงพอ ที่จะทำให้เด็กไทย คิดและเข้าใจได้ดีเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กำนันผู้ใหญ่บ้าน อบต. ผู้นำท้องถิ่น และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องยังไม่สามารถ ช่วยปลูกฝัง ความรู้ ทัศนคติ ค่านิยม พฤติกรรม เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้เกิดขึ้นแก่ชุมชนได้ลึกซึ้งไปถึงรากแก้ว ขอฝากรัฐบาลจากชุดนี้ไป  ถ้าท่านจะใช้ใครให้ทำ ให้เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไปยังกลุ่มเป้าหมายใด ด้วยรูปแบบใด กรุณาฉลาดที่จะเลือกทรัพยากรมนุษย์ที่รู้และเข้าใจเรื่องนี้เป็นอย่างดี เข้าไปช่วย ผมว่าคนที่จะเข้าไปช่วยชาติ ช่วยรัฐบาลทำในเรื่อง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ยังมีไม่พอ รัฐบาลที่ผ่านมาก็ไม่รู้จักแสวงหาคนดีมีฝีมือที่มีอุดมการณ์ เข้ามาช่วย การจะให้คนดี มีฝีมือเหล่านี้มาช่วย ก็ต้องมียุทธศาสตร์ที่ชาญฉลาดเช่นกัน มิฉะนั้นแล้ว ต่อให้รัฐมีความมุ่งมั่นตั้งใจ อย่างไร ก็คงเห็นความสำเร็จได้ยาก ครับ   
โดยสรุป รัฐบาลจะต้องเร่งอธิบายให้สังคมโลกรู้อย่างแท้จริงว่า เศรษฐกิจพอเพียง ทำให้โลกาภิวัตน์ยิ่งจะมีประโยชน์ต่อส่วนรวม และปัจจุบันประเทศไทยต้องอยู่ในโลกโลกาภิวัตน์อยู่แล้ว แต่คำถามก็คือ อยู่อย่างไร เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ทำให้เราอยู่รอด เพราะคนไทยต้องหาความรู้ มีเหตุมีผล พอประมาณครับ
เรื่องการกู้ชื่อเสียงประเทศชาติในสายตาคนต่างชาติ ตรงนี้ การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงออกไปเผยแพร่ กับต่างชาติด้วยยุทธวิธีหลากหลาย ควรเร่งทำ รัฐควรใช้ ทุนทาง IT เข้ามาช่วย และใช้ทุนมนุษย์ ทรัพยากรมนุษย์ทั้งในระบบและนอกระบบ เข้ามาช่วย ครับ   ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์สู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 หรือทาง http://www.chiraacademy.com/  เชิญท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ      ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่านผู้อ่านทุกท่าน 

 

          

ยม

 นักศึกษาปริญญาเอก รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต [email protected]
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง โลกาภิวัตน์ยั่งยืนต้องเศรษฐกิจพอเพียง"
โลกาภิวัตน์ยั่งยืน [1]
ต้องเศรษฐกิจพอเพียง

ช่วงรัฐบาลของไทยรักไทย 4 -5 ปี พวกเราที่มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศพยายามทำเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงในประเทศ สำเร็จในระดับหนึ่ง แต่ข้าราชการและธุรกิจ
ส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจ และอาจจะมองแบบขัดแย้งด้วย จนถึงวันนี้ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีเอาจริง และได้ดำเนินนโยบายอย่างเป็นรูปธรรม
ผมดีใจเพราะสนใจเรื่องนี้มานาน ได้ทำงานเรื่องนี้มาตลอด 5 ปี น่าจะเป็นประโยชน์มาก จะทำให้เราซึ่งอยู่ในโลกที่มีการแข่งขันกันอย่างหนัก ได้มีสติและอยู่รอด
งานชิ้นแรกที่เป็นรูปธรรมที่ท่านนายกฯ ทำคือ ให้กระทรวงศึกษาธิการของเรา มีหลักสูตรเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเป็นรูปธรรม และอย่างที่ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ได้พูดเป็นประจำว่า เศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เรื่องภาคเกษตร แต่กระทบทุกๆ ภาค เพราะเศรษฐกิจพอเพียงเป็นวิธีการคิด เป็นปรัชญา ไม่ใช่โครงการภาคเกษตรหรือโครงการรากแก้ว จำได้ว่า ในยุคทักษิณ มีโครงการเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเสียมิได้ มีโครงการลักษณะนี้โดยให้ภรรยาของคณะรัฐมนตรีเป็นผู้ดำเนินการ จึงทำให้สำเร็จได้ยาก เพราะไม่มีความเข้าใจอย่างแท้จริงและไม่มีปรัชญาที่ถูกต้องและขัดแย้งกับนโยบายหลักของไทยรักไทย
ผมขอต้อนรับคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ด้วยความเคารพที่ ก่อนจะตั้ง สื่อมวลชนได้เชื่อมถึงและคาดการณ์ต่างๆ มากมายกันมากมาย พอตั้งเสร็จ วิพากษ์ทันทีว่า รัฐมนตรีปลัดบ้าง คณะรัฐมนตรีคนแก่บ้าง ผมคิดว่า ภายในระยะเวลาจำกัด ท่านนายกฯ คงจะไม่เน้นการทำงานแบบนอกกรอบมากนัก เพราะรัฐบาลเดิมทำไว้มาก จึงพยายามจะทำอะไรให้เกิดความพอดี ในลักษณะที่เก่งไม่กลัว แต่กลัวจะไม่มีคุณธรรมและจริยธรรมมากกว่า ฉะนั้น จึงอย่าวิตกไปมากเลย เพราะเป็นการดึงเอาความเป็นเลิศของข้าราชการประจำที่ไม่ฝักใฝ่การเมืองเข้ามาช่วยประเทศ
สิ่งที่น่าสนใจคือ ทฤษฎี 4 ป ของนายกฯสุรยุทธ์
- โปร่งใส
- เป็นธรรม
- ประหยัด
- ประสิทธิภาพ
ซึ่งเป็น Basics ที่มีประโยชน์ในช่วงนี้
ทั้ง 4 ป เกิดมาจากการที่รัฐบาลทักษิณได้เร่งดำเนินการนำทุนนิยมและระบบ CEO มาใช้ จึงทำให้เกิดความไม่มั่นคง และไม่ยั่งยืนในที่สุด
ผมมั่นใจว่า การเขียนนโยบายของรัฐบาล โดยรองนายกฯ โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฏ์ คงจะไปได้ดี เพราะท่านเป็นคนที่มองเศรษฐกิจพอเพียงอยู่แล้ว
ผมเชื่อว่า ใครก็ตามที่เข้าใจเศรษฐกิจพอเพียง จะรู้ว่าไม่ขัดแย้งกับทุนนิยมแต่อย่างใด แต่เป็นการมองทุนนิยมที่ไม่เน้นการรวยกระจุกตัวการขยายตัวที่ไม่เสี่ยงจนเกินไป
การอธิบายให้ต่างประเทศฟังเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ผมและมูลนิธิฯ พูดได้ว่าได้ทำกับประเทศเพื่อนบ้านมาแล้วทั้งหมด 7 ครั้ง อยากให้ข้อมูลท่านผู้อ่านไว้ประกอบ
1. โครงการ Learning Forum "Sufficiency Economy and New Agricultural Theory in Cambodia" ที่กรุงพนมเปญ กัมพูชา ระหว่างวันที่ 28-29 ตุลาคม 2545 โดยมีการเผยแพร่หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทฤษฎีใหม่ ให้แก่ข้าราชการและเกษตรกรชาวกัมพูชา และเป็นการสร้างการทูตภาคประชาชน
2. โครงการต่อเนื่องจาก Learning Forum "Sufficiency Economy and New Agricultural Theory in
Cambodia" เป็นการดูงานศูนย์ศึกษาการพัฒนาตามแนวพระราชดำริที่ คุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี เขาหินซ้อน จังหวัดฉะเชิงเทรา ห้วยทราย จังหวัดเพชรบุรี ระหว่างวันที่ 1-10 ธันวาคม 2546
3. โครงการต่อเนื่อง II Learning Forum "Leadership Development in Sufficiency Economy for Agriculture Value Added" in Siem Reap, Cambodia ที่เสียมราฐ กัมพูชา ระหว่างวันที่ 19-21 พฤษภาคม 2547 เป็นการเผยแพร่หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทฤษฎีใหม่ ให้แก่ข้าราชการและเกษตรกรชาวเสียมราฐ เพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการ และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างไทย-กัมพูชามากขึ้น
4. โครงการ Learning Forum "Tourism, Globalization and Sufficiency Economy in
Myanmar" ที่กรุงย่างกุ้ง เมียนมาร์ ระหว่างวันที่ 21-23 กรกฎาคม 2547 เผยแพร่หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างความยั่งยืนในด้านการท่องเที่ยว สิ่งแวดล้อมที่ดีและคุณภาพชีวิต และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน
5. โครงการต่อเนื่อง "Sufficiency Economy and New Agricultural Theory IV" ระหว่างวันที่ 11-17 มกราคม 2548 ที่จังหวัดเชียงใหม่ เน้นการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างไทยและกัมพูชา โดยเผยแพร่หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีการศึกษาดูงานศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ตามพระราชดำริ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สหกรณ์สารภี บริษัทสันติภาพ และเยี่ยมชมโครงการพระราชดำริดอยตุง เชียงราย
6. โครงการ Learning Forum on "Sufficiency Economy and New Agricultural Theory in
Kunming , China" ที่คุนหมิง จีน ระหว่างวันที่ 14-15 มีนาคม 2548 เป็นการเผยแพร่หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ,ทฤษฎีใหม่ , contract farming และมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ร่วมกัน
7. โครงการ Learning Forum on "Sufficiency Economy and New Agricultural Theory in Ho Chi Minh City , Vietnam" ที่โฮจิมินห์ เวียดนาม วันที่ 29 กันยายน 2549 ซึ่งผมเขียนถึงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
ทุกครั้งได้รับความสนใจจากต่างประเทศเป็นอย่างมาก
การกำหนดนโยบายของรัฐบาล โดยนำเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ให้เป็นประโยชน์ ต่อทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่ดี ไม่ได้ขัดแย้งกับระบบสากลแต่อย่างใด ตรงกันข้ามกลับสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะการใช้คำว่ารากแก้ว แทนที่จะเป็นรากหญ้า
มูลนิธิฯ ได้ดำเนินการสร้างชุมชนการเรียนรู้ในต่างจังหวัดหลายครั้ง เช่นโครงการ "การสร้างชุมชนเข้มแข็งและชุมชนต้นแบบตามแนวพระราชดำรัส"ที่จังหวัดสมุทรสงคราม และได้ทำต่อเนื่องหลายครั้ง โครงการที่สร้างชุมชนเข้มแข็ง พบว่า ต้องสร้างความเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เรื่องโลกาภิวัตน์ เพื่อให้คนในชุมชนรู้ความเป็นไปของโลก และใช้เศรษฐกิจพอเพียงในการรับมือโลกาภิวัตน์ เพราะเมื่อชุมชนจะได้เข้มแข็งแล้ว อนาคตข้างหน้าไม่ว่าจะส่งออกหรือจะนำเศรษฐกิจให้ก้าวไปสู่สากล เราก็สามารถทำได้
โดยสรุป รัฐบาลจะต้องเร่งอธิบายให้สังคมโลกรู้อย่างแท้จริงว่า เศรษฐกิจพอเพียง ทำให้โลกาภิวัตน์ยิ่งจะมีประโยชน์ต่อส่วนรวม และปัจจุบันประเทศไทยต้องอยู่ในโลกโลกาภิวัตน์อยู่แล้ว แต่คำถามก็คือ อยู่อย่างไร เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ทำให้เราอยู่รอด เพราะคนไทยต้องหาความรู้ มีเหตุมีผล พอประมาณครับ

 จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181
 
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ แค่ปรับ Mindset ก็พอ"
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน  
เช้านี้ วันเสาร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ผมหาความรู้ ทาง internet และค้นหาอ่านบทความบทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระซึ่งสัปดาห์นี้อาจารย์ใช้ชื่อเรื่องว่า ในบทความนี้ ศ.ดร. จีระ เขียนเรื่อง แค่ปรับ Mindset ก็พอ ได้เล่าเรื่องที่ท่านได้ทำและน่าสนใจ ผมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม โดยใช้ข้อความข้างล่างนี้ แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม ซึ่งมีดังนี้ ครับ    

 


สิ่งที่สำคัญมากในระดับประเทศที่อยากขอฝากรัฐบาลชุดใหม่คือ การปฏิรูปการศึกษา ในหลายเรื่องที่ต้องทำคือ การปรับ Mindset ทัศนคติของผู้บริหารให้มองการศึกษาเป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเศรษฐกิจแบบยั่งยืน และอยู่ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างเร็วได้ คือ เน้น ทุนทางปัญญา ทุนทางสังคม (Networking) และเน้นทุนแห่งความยั่งยืน

 พูดถึงระบบการศึกษา ของประเทศเรา ยังไม่สามารถสร้างคนให้ทันโลกทันเหตุการณ์ มีทุนทางปัญญา เพียงพอกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทั้งในประเทศและต่างประเทศ  ถ้าเปรียบเสมือนรถ  ก็เปรียบเทียบได้ว่า ระบบส่งกำลังที่จะขับเคลื่อน ไปข้างหน้า มีปัญหา ถึงขั้นทำให้ไม่สามารถรักษาอันดับต้น ๆ ไว้ได้ แนวทางแก้ไขคือต้องฟิตเครื่องใหม่ หาเครื่องยนต์ใหม่ มาใส่  ในการบริหารเชิงกลยุทธ์  ปัญหาในองค์กรใหญ่เล็ก มักจะมีอยู่สองเรื่อง ใหญ่ ๆ  คือ 1 ปัญหาเรื่องระบบ  2 ปัญหาเรื่องคน  ซึ่งควรต้องแก้ไขพร้อมกันไป ทรัพยากรมนุษย์ เป็นตัวสร้าง บริหารระบบ ถึงแม้ว่าควรแก้ทั้งสองปัญหาไปพร้อม ๆ กัน แต่การแก้ปัญหาเรื่องคน ต้องให้ถูกจุด ตรงประเด็น ก็คือปรับทัศนคติ ความคิด เพิ่มองค์ความรู้ใหม่ ๆ เข้าไป เพื่อคนจะได้นำความรู้ ทัศนคติใหม่ ๆ ไปบริหารจัดการระบบ ได้ดี  การศึกษาในไทย จึงต้อง ปฏิรูป ปฏิวัติกันบ่อย  ๆ ทำทั้งแบบค่อยเป็นค่อยไป และบางเรื่อง ต้องทำทันที ต้องมีการบริหารการเปลี่ยนแปลงให้ดี


ผมเห็นว่า ตราบใดก็ตาม หากคนไทยใฝ่รู้ มี Lifelong Learning มากขึ้น อยากรู้อยากเห็นมากขึ้น ( Curiosity ) ตั้งคำถามที่น่าสนใจ และคิดนอกกรอบ แทนที่จะขยันในการหาคำตอบที่ตายตัวแบบที่เป็นอยู่ ประเทศคงอยู่รอดแน่นอน

 ในโรงเรียนประถม ส่วนใหญ่ สอนให้นักเรียนท่องจำ ขยันหาคำตอบให้ตรงกับที่ครู ตั้งไว้ล่วงหน้าแล้ว  เด็กไทยจึงเบื่อการเรียน และหันไปเสพสิ่งบันเทิงอื่น ๆ เป็นปัญหาสังคมอยู่ทุกวันนี้  ตราบใดถ้า Mind Set ของผู้บริหารการศึกษาในโรงเรียนบางแห่ง ครูรุ่นเก่า ๆ ไม่เปลี่ยน อนาคตทรัพยากรมนุษย์ของไทย คงสู้ต่างชาติไม่ได้    ที่จริงการระบบการศึกษาในญี่ปุ่น น่าสนใจ ทั้งครูและนักเรียนญี่ปุ่นมี Mind Set ที่ดีกว่าเรา ผมเคยไปอยู่ที่ญี่ปุ่น เห็นการสอนเด็กอนุบาล เด็กประถม ที่ญี่ปุ่น มองออกได้ว่า เขามีระบบการจัดการที่ดี ผสมผสาน บูรณาการ การเรียนการสอน ของชาติที่เจริญแล้ว มาเป็นแบบ ญี่ปุ่น ญี่ปุ่นจึงสามารถกู้สถานการณ์ของประเทศได้เร็ว ก็ด้วยทรัพยากรที่มีคุณภาพ จากวัยเด็กมาสู่ผู้ใหญ่ มาช่วยพัฒนาชาติ และยังสามารถช่วยเหลือประเทศที่ด้อยกว่าได้อีกด้วย 

 


ผมคิดว่าเศรษฐกิจพอเพียง มีจุดแข็งที่ว่า จะทำอะไร รู้ให้จริง มีความคิดสร้างสรรค์ มีเหตุมีผล และนำไปสร้างนวัตกรรม ( Innovation ) แต่ที่สำคัญคือ ต้องมีคุณธรรม จริยธรรม และอยู่อย่างยั่งยืน เรื่องแรกที่จะเล่าให้ฟังคือ ตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 19 ตุลาคม เป็นต้นไป ผม ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ดร.ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ ดร.ปรียานุช พิบูลสราวุธ จะนำเสนอสารคดีสั้น 5 นาทีเฉลิมพระเกียรติ เรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียงและโลกาภิวัตน์" ทุกวันจันทร์ถึงวันศุกร์ติดต่อกัน ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 เวลา 22.40-22.45 น. เพื่อให้ผู้ชมได้รู้ว่า
- เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร
- โลกาภิวัตน์คืออะไร
- เศรษฐกิจพอเพียงจะช่วยคนไทยให้อยู่ในโลกาภิวัตน์ได้อย่างไร
- และให้รู้ว่าเศรษฐกิจพอเพียงช่วยทุกส่วนของสังคมไทย ไม่ใช่แค่ภาคเกษตร และทำให้เราอยู่ในโลกาภิวัตน์ได้อย่างยั่งยืน

  รายการ เศรษฐกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์ ที่ ศ.ดร.จีระ ออกอากาศทุกวันจันทร์ ถึง ศุกร์ เวลา 22.40-22.45 เป็นรายการที่ดี มีประโยชน์ สอดโครงกับนโยบายสาธารณะในรัฐบาลชุดนี้ และเป็นการนำแนวคิดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาต่อยอด ขยายผลอย่างเป็นรูปธรรม ในบทบาทของครูของชาติ  เมื่อทางรัฐบาล จะนำเอาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ไปทำเป็นหลักสูตรการเรียน การสอน ผมขอกราบเรียนทางภาครัฐ ผ่าน Blog นี้ว่า ขอให้ทำเรื่องง่ายให้เป็นเรืองง่ายยิ่งขึ้น ให้เป็นเรื่องที่น่าชวนติดตาม น่าโน้มนำไปปฏิบัติ รายการนี้ ที่จริงแล้ว เนื้อหาสาระ ที่ ศ.ดร.จีระ และทีมงานกำกับ นั้น ดี มีประโยชน์ สามารถนำไปเป็นสื่อการเรียนการสอนเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์ ได้ทั่วประเทศ 

 


แต่สิ่งสำคัญคือ เศรษฐกิจพอเพียงต้องเป็นสังคมการเรียนรู้ ใฝ่รู้ตลอดเวลา นอกจากมีคุณธรรมแล้ว ยังต้องคิดเป็น ทำเป็น มี Head Heart และ Hand อย่างที่คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์แนะนำไว้

 เศรษฐกิจพอเพียง ต้องเป็นสังคมการเรียนรู้ ใฝ่รู้ตลอดเวลา ตรงนี้สำคัญมาก การจัดให้ประชาชนได้มีการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง รัฐและเอกชน ควรร่วมมือกัน ทำไปอย่างมีทิศทางเดียวกัน  ขณะนี้ การโฆษณาทีวี เกี่ยวกับ เรื่อง  เศรษฐกิจพอเพียง มักจะเน้นที่การออมเงิน  การทำกินบนพื้นฐาน ประหยัด พอเพียง ผมว่า ยังไม่ไร้ทิศทาง ที่จริงควรโฆษณา ออกมาในแนวกระตุ้นให้คนไทยอยากรู้ อยากเห็น อยากทำ ร่วมกันในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง  โฆษณา ให้คนไทยตื่นตัวเรื่องการเรียนรู้ ใฝ่รู้ ทุกระดับ ส่งเสริมให้คิด ให้ทำ อย่างสร้างสรรค์ ไม่ใช่แค่อดออมอย่างที่เป็นอยู่ มิฉะนั้นจะเกิดปัญหา ถ้าทุกคนทั้งประเทศหันมาเก็บออม ระบบเศรษฐกิจ อาจจะมีปัญหาได้ เพราะการใช้จ่ายภาคครัวเรือน ชะลอตัวลง ภาคธุรกิจก็จะไม่คล่องตัว ภาครัฐจะเก็บภาษีได้น้อยลง 

 

  

สำคัญที่สุดและยังจำเป็นที่จะต้องมีความคิดที่นอกกรอบ เช่น Creativity ความคิดสร้างสรรค์ และนำ Creativity ไปสู่ Innovation นวัตกรรม แต่ต้องมีคุณธรรมและมีความรู้ที่แน่น ไม่ใช่พอเพียงแค่อยู่รอด หากรอดแล้ว ต้องไม่ประมาท หาความรู้เพิ่มเติมตลอดเวลา การขยายตัวอย่างมั่นคงจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะมนุษย์ต้องการความก้าวหน้า ( Progress ) ที่ยั่งยืน

 ประโยคนี้ สามารถอธิบายแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ได้เข้าใจง่าย และประโยคนี้ สามารถที่จะนำไปทำรายการ ทำสื่อการเรียนการสอน เกี่ยวกับแนวคิด เศรษฐกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์  เพื่อสื่อให้ประชาชนคนไทย ได้มีความเข้าใจเรื่องยิ่งขึ้นได้

มีหนังสือเล่มล่าสุดของ John Naisbitt ซึ่งเคยเขียนเรื่อง Megatrends ที่ดังมากมาแล้ว บอกว่า การที่คนยุคใหม่จะประสบความสำเร็จได้ ต้องมีวิธีการคิด และวิธีการทำงานที่ใหม่เสมอ อย่ามีวิธีคิดแบบเดิม พร้อมจะเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ถ้ามีข้อมูลใหม่ ผมคิดว่า การที่จะเปลี่ยน mindset ได้ จะต้องหาความรู้ให้ทันโลกและสดใหม่อยู่เสมอ ข้ามศาสตร์ และวิเคราะห์แบบโป๊ะเชะ วิธีการหาความรู้ต้องเป็นวิธีที่ตัวเรามีส่วนร่วม ไม่ใช่ฟังข้างเดียว เราต้องวิเคราะห์เป็น และวิเคราะห์แบบทฤษฎี 2 R's คือ
- Reality มองความจริง
- และ Relevance ตรงประเด็น
  การที่คนยุคใหม่จะประสบความสำเร็จได้ ต้องมีวิธีการคิด และวิธีการทำงานที่ใหม่เสมอ อย่ามีวิธีคิดแบบเดิม พร้อมจะเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ถ้ามีข้อมูลใหม่  ประโยคนี้ เป็นจริงครับ  ในยุคที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ การทำงานแบบเดิม ๆ คิดแบบเดิม ๆ วิธีการเก่า ที่เคยทำสำเร็จในอดีต จะไม่สามารถรับรองความสำเร็จในปัจจุบันและอนาคตได้   มหาวิทยาลัยในประเทศเรา นับจากปี ค.ศ. 2000 วิชาการองค์ความรู้ต่าง ๆ ต้องปรับใหม่หมด ให้ทันโลกทันเหตุการณ์ วิธีการเรียนการสอน ต้องปรับใหม่  เรียกว่า ทุกมหาวิทยาลัย ต้องเริ่มใหม่ ใครคิดก่อน เปลี่ยนก่อน ได้เปรียบ    การทำงานยุคใหม่ นอกจากต้องคิดใหม่ ๆ เสมอ พร้อมเปลี่ยนแปลงแล้ว ต้องเร็ว มีประสิทธิภาพ เรียกว่า เร็วกว่า ดีกว่า ถูกว่า มีประสิทธิภาพกว่า


เมื่อเร็ว ๆ นี้ PMAT สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย กล้าไปจัดสัมมนาเรื่อง HRM ในภาคอิสาน ซึ่งผมได้รับเชิญด้วย เดิม PMAT อาจคิดว่ามีแต่คนในกรุงเทพฯ เท่านั้นที่สนใจ ปรากฏว่าคนในภาคอิสานตื่นตัวมาก เพราะได้แนวคิดใหม่ ๆ

คนอีสาน เป็นคนที่มีเอกลักษณ์ เป็นของตนเอง ทั้งโครงสร้างร่างกายและจิตใจ ประเพณีวัฒนธรรมอีสาน เป็นจุดเด่น แม้กระทั่งคนต่างชาติเริ่มเห็นจุดเด่นตรงนี้ และหันมาปักหลัก สร้างครอบครัวที่อีสานมากขึ้น  ในอีก 20 ปีข้างหน้า คนอีสานจะมีบุคลิกภาพใหม่ จมูกโด่ง สูง ยาว สมอง ปัญญาดี กว่าเก่า คนอีสานจะพัฒนาเร็วขึ้นและเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาสังคมมากยิ่งขึ้น 

 

 คนดี มีน้ำใจ ที่อีสานมีมากมาย เป็นสิ่งที่ผมศึกษามานาน เมื่อครั้งผมไปอยู่ที่อีสาน เพื่อทำวิจัย ในโครงการบัณฑิตอาสาสมัครมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ไปใช้ชีวิตกับคนอีสานเกือบสองปี  คนอีสานเป็นคนรวย   คนจะรวย รวยศีลทาน ใช่บ้านโต คนอีสานรักษ์ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม ที่ ม.ขอนแก่น ทำตรงนี้ได้ดี ขอชื่น ที่ ม.ขอนแก่น ก็เป็นตัวอย่างที่ดีของคนอีสาน  
คณะนี้ขอให้ผมในฐานะ Lead Shepherd ของ HRD Working Group ใน APEC ติดต่อไปดูงานระบบสารสนเทศกับการสอน ที่กรุงโซล ซึ่งผมรู้จักเกาหลีใต้ดี ได้เจรจาให้จนประสบความสำเร็จ และได้เซ็นสัญญากับโรงเรียนในเกาหลี ว่าจะแลกเปลี่ยนเรื่อง ICT กับการเรียนการสอน เพราะเกาหลีเขาเอาจริงเรื่อง ICT กับการสอน และการแลกเปลี่ยนนักเรียนและครูในอนาคตด้วย

สิ่งที่ ศ.ดร.จีระ ทำอยู่ ถือว่าเป็นประโยชน์กับสังคม ประเทศชาติอย่างมาก การเชื่อมโยง จุดแข็งของประเทศต่าง ๆ ที่เป็นพันธมิตร และมองประเทศไทยเป็นเพื่อนบ้านที่ดี  มาเสริมจุดอ่อนของชาติเรา ถือว่าเป็นยุทธศาสตร์การต่างประเทศ ยุทธศาสตร์การทูต ยุทธศาสตร์การปฏิรูประบบการศึกษาที่น่าสนใจ  นำไปเป็นแม่แบบ ในการกำหนดนโยบายสาธารณะ สำหรับรัฐบาลชุดนี้ และชุดต่อ ๆ ไป

 


ทัศนคติของผู้บริหารชุดนี้คือ ทำ ทำ และทำให้สำเร็จ พึ่งตัวเอง ทำจริง คิดนอกกรอบ นึกถึงลูกค้าคือนักเรียน

ระบบราชการของเรา อยู่ในระหว่างปฏิรูป  ขั้นตอนยังคงมีมาก รอไม่ได้ ต้องคิดถึงลูกค้าคือนักเรียน ตรงนี้ เป็นตัวอย่างที่ดี น่ายกย่อง น่าศึกษา หน่วยงานราชการอื่น ๆ ทีติดขัดปัญหา ก็น่าจะลองศึกษาวิทยายุทธ์ของครูอาจารย์ ที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า สมุทรปราการ ถ้าทั้งประเทศทำเช่นนี้ได้ ผมคิดว่าจะเกิดประโยชน์กับประเทศชาติ เป็นอย่างมาก

 

 

  ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์ช่อง 11 ชื่อรายการสู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และ รายการ เศรษฐกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์ ทุกวันเวลา 22.40 น. 22.45 น.นอกจากนี้ ยังออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 หรือทาง http://www.chiraacademy.com/  เชิญท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ       
ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่านผู้อ่านทุกท่าน               

ยม

นักศึกษาปริญญาเอก 

รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎบัณฑิต 

 

01-9370144
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ แค่ปรับ Mindset ก็พอ"
แค่ปรับ mindset ก็พอ[1]

ในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา ผมเขียนแต่เรื่องการเมือง เนื่องจากการเมืองในประเทศไทยไม่ปกติ แต่เมื่อเริ่มเข้ารูปเข้าร่างแล้ว ก็จะเล่าถึงงานของผมต่อไป บทความของผมจะเน้นการเรียนรู้จากความจริง จากกิจกรรมต่าง ๆ ที่ผมได้ทำไป นำมาแบ่งปันกัน และสร้างมูลค่าเพิ่ม แต่ละเรื่องจะทำให้คนไทยมีวัฒนธรรมการเรียนรู้มากขึ้น คิดเป็น วิเคราะห์เป็น นำไปใช้เป็นประโยชน์
สิ่งที่สำคัญมากในระดับประเทศที่อยากขอฝากรัฐบาลชุดใหม่คือ การปฏิรูปการศึกษา ในหลายเรื่องที่ต้องทำคือ การปรับ mindset ทัศนคติของผู้บริหารให้มองการศึกษาเป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเศรษฐกิจแบบยั่งยืน และอยู่ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างเร็วได้ คือ เน้น ทุนทางปัญญา ทุนทางสังคม ( Networking ) และเน้นทุนแห่งความยั่งยืน
ผมเห็นว่า ตราบใดก็ตาม หากคนไทยใฝ่รู้ มี Lifelong Learning มากขึ้น อยากรู้อยากเห็นมากขึ้น ( Curiosity ) ตั้งคำถามที่น่าสนใจ และคิดนอกกรอบ แทนที่จะขยันในการหาคำตอบที่ตายตัวแบบที่เป็นอยู่ ประเทศคงอยู่รอดแน่นอน
ผมคิดว่าเศรษฐกิจพอเพียง มีจุดแข็งที่ว่า จะทำอะไร รู้ให้จริง มีความคิดสร้างสรรค์ มีเหตุมีผล และนำไปสร้างนวัตกรรม ( Innovation ) แต่ที่สำคัญคือ ต้องมีคุณธรรม จริยธรรม และอยู่อย่างยั่งยืน เรื่องแรกที่จะเล่าให้ฟังคือ ตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 19 ตุลาคม เป็นต้นไป ผม ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ดร.ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ ดร.ปรียานุช พิบูลสราวุธ จะนำเสนอสารคดีสั้น 5 นาทีเฉลิมพระเกียรติ เรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียงและโลกาภิวัตน์" ทุกวันจันทร์ถึงวันศุกร์ติดต่อกัน ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 เวลา 22.40-22.45 น. เพื่อให้ผู้ชมได้รู้ว่า
- เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร
- โลกาภิวัตน์คืออะไร
- เศรษฐกิจพอเพียงจะช่วยคนไทยให้อยู่ในโลกาภิวัตน์ได้อย่างไร
- และให้รู้ว่าเศรษฐกิจพอเพียงช่วยทุกส่วนของสังคมไทย ไม่ใช่แค่ภาคเกษตร และทำให้เราอยู่ในโลกาภิวัตน์ได้อย่างยั่งยืน
เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์นี้ หากไม่มีรัฐบาลซึ่งมีพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี เรื่องนี้อาจจะถูกมองข้ามไปว่าไม่เกี่ยวกัน เพราะรัฐบาลชุดที่แล้ว มองโลกาภิวัตน์เพื่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ การส่งออก และดึงเงินทุนจากต่างประเทศ ซึ่งไม่ผิด แต่ต้องพอดี และไม่เสี่ยงจนเกินไป แต่จะยั่งยืนหรือไม่นั้น หากการขยายตัวที่ไม่มีพื้นฐานที่ดี เหมือนการสร้างตึก โดยไม่ลงเสาเข็มนั้น คงทำได้ยากและไม่ยั่งยืน ผมคิดว่า อาจจะเป็นโชคของประเทศไทย ที่มีผู้นำแบบอดีตนายกฯ ทักษิณ มาแสดงความสามารถในนโยบายเชิงรุก ให้คนไทยได้เห็นถึงจุดอ่อน จุดแข็ง เพื่อจะได้มีโอกาสเปรียบเทียบกัน แต่สิ่งสำคัญคือ เศรษฐกิจพอเพียงต้องเป็นสังคมการเรียนรู้ ใฝ่รู้ตลอดเวลา นอกจากมีคุณธรรมแล้ว ยังต้องคิดเป็น ทำเป็น มี Head Heart และ Hand อย่างที่คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์แนะนำไว้ สำคัญที่สุดและยังจำเป็นที่จะต้องมีความคิดที่นอกกรอบ เช่น Creativity ความคิดสร้างสรรค์ และนำ Creativity ไปสู่ Innovation นวัตกรรม แต่ต้องมีคุณธรรมและมีความรู้ที่แน่น ไม่ใช่พอเพียงแค่อยู่รอด หากรอดแล้ว ต้องไม่ประมาท หาความรู้เพิ่มเติมตลอดเวลา การขยายตัวอย่างมั่นคงจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะมนุษย์ต้องการความก้าวหน้า ( Progress ) ที่ยั่งยืน
ในเวลา 1 ปีกว่าจากนี้ รัฐบาลจะต้องวางรากฐานให้สังคมไทย คิดเป็น รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ จะต้องไม่ปฏิรูปเฉพาะโครงสร้างเท่านั้น แต่ต้องปฏิรูปพฤติกรรม ปฏิรูป mindset หรือวิธีการมองโลกของคนไทยให้ได้ เรื่อง mindset นี้มีหนังสือเล่มล่าสุดของ John Naisbitt ซึ่งเคยเขียนเรื่อง Megatrends ที่ดังมากมาแล้ว บอกว่า การที่คนยุคใหม่จะประสบความสำเร็จได้ ต้องมีวิธีการคิด และวิธีการทำงานที่ใหม่เสมอ อย่ามีวิธีคิดแบบเดิม พร้อมจะเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ถ้ามีข้อมูลใหม่ ผมคิดว่า การที่จะเปลี่ยน mindset ได้ จะต้องหาความรู้ให้ทันโลกและสดใหม่อยู่เสมอ ข้ามศาสตร์ และวิเคราะห์แบบโป๊ะเชะ วิธีการหาความรู้ต้องเป็นวิธีที่ตัวเรามีส่วนร่วม ไม่ใช่ฟังข้างเดียว เราต้องวิเคราะห์เป็น และวิเคราะห์แบบทฤษฎี 2 R's คือ
- Reality มองความจริง
- และ Relevance ตรงประเด็น
เช่น ยุคนายกฯสุรยุทธ์ หากจะแก้ปัญหาภาคใต้ คงต้องเปลี่ยนวิธีการคิด จากการที่จะฆ่ากันทุกครั้ง มาเป็นการคุยกันแบบเจรจาบนโต๊ะ มองมาเลเซียเป็นมิตร ไม่ใช่แบบฆ่าทิ้งเป็นว่าเล่นอย่างในอดีต
เมื่อเร็ว ๆ นี้ PMAT สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย กล้าไปจัดสัมมนาเรื่อง HRM ในภาคอิสาน ซึ่งผมได้รับเชิญด้วย เดิม PMAT อาจคิดว่ามีแต่คนในกรุงเทพฯ เท่านั้นที่สนใจ ปรากฏว่าคนในภาคอิสานตื่นตัวมาก เพราะได้แนวคิดใหม่ ๆ
ผมบอกได้ว่า อิสานเป็นสังคมการเรียนรู้ได้สบาย ถ้าท่านมองอิสานแบบใหม่ คือไม่ใช่จน โง่ รับจ้างแรงงานถูก ๆ ควรต้องยกย่อง มองการเกษตรเชื่อมโยงวัฒนธรรม สร้างองค์ความรู้ มองคุณค่าของคนอิสาน โดยเปิดโอกาสให้อิสานได้มีอิสรภาพทางความคิด ผมว่าคนอิสานก็คิดเป็น แต่บรรยากาศไม่เอื้ออำนวย ถ้าผมรู้จักคนอิสานมากขึ้น ผมจะเขียนหนังสือพาดหัวสวย ๆ เป็นภาษาอังกฤษว่า :
Isarn can also learn and think
ผมมีเรื่องกิจกรรมอีกเรื่องที่จะเล่าให้ฟัง
เมื่อวันที่ 16 - 18 ตุลาคม 2549 คณะครูจากจังหวัดสมุทรปราการ นำโดยโรงเรียนบางหัวเสือบุญแจ่มเนียมนิล ซึ่งเปลี่ยนชื่อมาเป็นโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า สมุทรปราการ เดินทางไปดูงานด้านการศึกษาที่ประเทศเกาหลีใต้
การไปดูงานครั้งนี้ ได้ไปเยี่ยมเยียนเอกอัครราชทูตไทยประจำเกาหลี คุณวศิน ธีระเวชฌาน แลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน ผมได้เล่าถึงความเป็นมาของโครงการการศึกษาระหว่างไทย/เกาหลี และท่านทูตได้ให้ความรู้เกี่ยวกับเกาหลีใต้ในหลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องการศึกษาที่รัฐบาลเกาหลีให้ความสำคัญมาก เพราะมองคนเป็นทรัพย์สิน asset ไม่ใช่ต้นทุน จึงทำให้ประชากรเกาหลีมีคุณภาพ และให้ความรู้เรื่องการเมืองระหว่างประเทศในกรณีเกาหลีเหนือทดลองอาวุธนิวเคลียร์ นับเป็นการเรียนรู้ข้ามศาสตร์ที่น่าสนใจสำหรับคณะครู ซึ่งทำงานต่อเนื่องในด้านการศึกษาร่วมกับผมมา 3 ปี และได้เดินทางไปดูงานต่างประเทศ 3 ครั้งแล้ว
สิ่งแรกที่คณะนี้ทำได้คือ ปรับ mindset ว่า ฉันทำได้ ฉันพึ่งตัวเอง ไม่รอให้กระทรวงส่งฉันไปดูงานต่างประเทศ
เรื่องที่สองคือ กลุ่มนี้สนใจ Networking มาก อะไรที่ดี ๆ จะแสวงหาและฉกฉวยให้ได้ ในอดีตเคยได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ปัจจุบันมีการสร้างแนวร่วมกับนายกเทศมนตรีสำโรงใต้ คุณสรรเกียรติ กุลเจริญ และธุรกิจต่าง ๆ รอบโรงเรียน ประการที่ 3 คือ ได้ทำต่อเนื่อง ไม่ใช่ทำครั้งเดียวแล้วสำเร็จ
คณะนี้ขอให้ผมในฐานะ Lead Shepherd ของ HRD Working Group ใน APEC ติดต่อไปดูงานระบบสารสนเทศกับการสอน ที่กรุงโซล ซึ่งผมรู้จักเกาหลีใต้ดี ได้เจรจาให้จนประสบความสำเร็จ และได้เซ็นสัญญากับโรงเรียนในเกาหลี ว่าจะแลกเปลี่ยนเรื่อง ICT กับการเรียนการสอน เพราะเกาหลีเขาเอาจริงเรื่อง ICT กับการสอน และการแลกเปลี่ยนนักเรียนและครูในอนาคตด้วย
ทัศนคติของผู้บริหารชุดนี้คือ ทำ ทำ และทำให้สำเร็จ พึ่งตัวเอง ทำจริง คิดนอกกรอบ นึกถึงลูกค้าคือนักเรียน ผมภูมิใจมากที่มีโอกาสได้นำอาจารย์ 32 คน ซึ่งออกเงินเอง ไม่แบมือขอใคร และสามารถใช้การทูตภาคประชาชน ทำประโยชน์ให้แก่นักเรียนและครู ผู้ปกครองของจังหวัดสมุทรปราการได้สำเร็จ เพราะปรับ mindset ที่ถูกต้องครับ

 

 จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181
 
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง ควรรับฟังข้อคิดเห็นอดีตนายกฯชวน"

ควรรับฟังข้อคิดเห็นอดีตนายกฯชวน[1]

 

เวลาผ่านไปแล้ว 5 สัปดาห์ เหตุการณ์ต่าง ๆ ได้เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วและคาดไม่ถึง หลายอย่างดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็มีปัจจัยหรือมีข้อมูลใหม่ๆเพิ่มเติมเสมอ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี ต้องใช้นโยบาย
Listen and Learn
อย่างมาก และต้องมีความอดกลั้น ที่จะต้องรับฟัง หากมีประโยชน์จึงนำไปปฏิบัติ
ผมคิดว่า ความคิดและข้อเสนอแนะของอดีตนายกฯ ชวน หลีกภัยที่ติงการทำงานของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ น่าสนใจ คือจะต้องอธิบายจุดอันตรายของ "ระบบทักษิณ" ให้ประชาชนได้รับทราบและเข้าใจอย่างแท้จริง เพราะใน 5 ปีที่ผ่านมา ประชาชนที่ยากจนอาจจะคิดไม่ครบถ้วน และไม่เข้าใจ ผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นจะต้องทำ ควรอธิบายด้วยข้อมูลและข้อเท็จจริง อาจจะต้องดึงเอาภาคประชาสังคมที่เป็นกลาง มาช่วยอธิบายเพื่อเสริมรัฐบาลและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเพื่อให้ทั่วถึง
ผมหวังว่า งานดังกล่าวจะก้าวไปด้วยดี และสร้างความเข้าใจได้ถูกต้อง
ระยะนี้ ยังมีข่าวความไม่สงบหรือคลื่นใต้น้ำอยู่ ซึ่งคงจะไม่ใช่ของแปลกอะไร เพราะมีผู้เสียผลประโยชน์มาก คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติจะต้องบริหารและจัดการสิ่งเหล่านี้อย่างรอบคอบ เหมาะสมและสมานฉันท์
ดูเหมือนว่า นายกฯสุรยุทธ์ จุลานนท์ ทำหน้าที่เหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ได้เชิญหัวหน้าพรรคการเมืองมามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นจุดที่สำคัญ การยกย่องให้เกียรติทุกกลุ่มในสังคมเป็นเรื่องที่ดีและเหมาะสม
ส่วนกลุ่มพันธมิตรก็เช่นกัน คงจะต้องอดทนและมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเหมือนเดิม ขออย่าท้อใจ ถึงกับจะลาออกจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งไม่เป็นผลดี คงจะต้องช่วยกันตรวจสอบต่อไป
สำหรับผม ถึงแม้ว่าจะไม่เกี่ยวกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็จะทำหน้าที่ต่อไปในฐานะประชาชนคนหนึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของการให้ความรู้ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในระยะนี้ ท่านผู้อ่านอาจจะใช้สื่อทางวิทยุมากขึ้น เพราะสื่อทางโทรทัศน์ยังไม่เปลี่ยนแปลงอะไรมากนัก
ในขณะที่สื่อวิทยุ เช่น FM 96.5 MHz. ทั้ง 24 ชั่วโมง มีความคิดดี ๆ ออกมาจากผู้เชี่ยวชาญหลายด้าน ทันเหตุการณ์ ผมยังต้องติดตามใกล้ชิด
สัปดาห์ที่ผ่านมาผมมีงาน 3 เรื่องที่จะเล่าให้ฟัง
เรื่องแรก ซึ่งทำเป็นประจำทุกปี คือ ค่ายผู้นำเยาวชน Knowledge camping ให้แก่นักเรียนเทพศิรินทร์และโรงเรียนในเครือทั้ง 7 โรงเรียน จำนวน 120 คน ครั้งนี้เป็นปีที่ 8 แล้ว ในปีนี้เน้นในพระอัจฉริยภาพด้านต่าง ๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เช่น ภาวะผู้นำ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น มีวิทยากรรับเชิญซึ่งเป็นนักเรียนเก่าที่มีชื่อเสียงหลายท่านมาร่วมแบ่งปันความรู้ เช่น
-
หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวง เป็นองค์ประธานในพิธีและปาฐกถาพิเศษเรื่อง "โครงการหลวง"
-
ฯพณฯ พล.อ.ต.กำธน สินธวานนท์ บรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านพลังงาน"
-
ดร.ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ บรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรีและกีฬา"
-
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน บรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ"
ค่าย Knowledge camping นี้เป็นค่ายที่สร้างและพัฒนาภาวะผู้นำให้กับนักเรียน ให้เด็กมีความคิดกว้างไกล คิดเป็น กล้าแสดงออก เด็กจะได้รับการพัฒนาความคิดจากโจทย์ "ประเทศไทยในอีก 20 ปีข้างหน้า" ซึ่งเป็นการเตรียมพร้อมที่จะเติบโตเป็นผู้นำของชาติในอนาคต
อีกงานหนึ่งเป็นงาน India-Thai Business Forum ซึ่งเป็นชมรมนักธุรกิจชั้นนำของอินเดียในประเทศไทย ผมภูมิใจที่เขาสนใจงาน HRD ของ APEC ของผม แต่แทนที่จะมองเฉพาะ APEC เขามองถึงความร่วมมือระหว่างอินเดียกับ APEC ในอนาคต
ผมคิดว่าเรื่อง HRD กับอินเดียน่าจะมี 3 เรื่อง
1.
การแลกเปลี่ยนครูทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และ IT โดยให้อินเดียส่งครูมาช่วย
2.
การส่งครูไทยไปสอนเรื่อง การบริการ Service sector และการท่องเที่ยว
3.
จัดให้เกิดธุรกิจร่วมกัน เช่น E-learning
ผมคิดว่ารัฐบาลของนายกฯสุรยุทธ์ ยังคงสนับสนุนแนวคิดการจัดตั้ง ACD HRD Center ขึ้น เพื่อให้เอเชีย ซึ่งมีอินเดีย จีน ญึ่ปุ่น ไทย และประเทศในตะวันออกกลางรวย ๆ เช่น โอมาน คูเวต มาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของคนเอเชียด้วยกัน แทนที่จะไปเรียนจากตะวันตก ซึ่งผมได้รับมอบหมายจากรัฐบาลชุดที่แล้วให้ดำเนินการ และได้รับการเห็นชอบในหลักการแล้ว
เอเชียต้องมีฐานความรู้ของตัวเอง ร่วมมือกับตะวันตกได้ โดยไม่ลอกความคิดของตะวันตกอย่างเดียว
นอกจากนี้ ผมได้รับเชิญจากมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย ไปบรรยายเรื่อง คิดแบบ CEO ในยุคสมัยใหม่ ผมชอบหัวข้อที่เขาตั้ง เพราะ CEO ต้องคิดเป็นถึงจะสำเร็จ จึงแนะนำวิธีการคิดไป 3 วิธีคือ
-
ทฤษฎี 4 L's ของผม
- 5 Disciplines
ของ Peter Senge
-
และ 6 Thinking hats ของ Edward de Bono
เน้นว่าแต่ละแบบสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้โดยมองจากสถานการณ์ความจริงของแต่ละองค์กร มีจุดที่น่าสนใจคือ ยุคใหม่ CEO ต้องไม่เก่งคิดคนเดียว ต้องให้ผู้ร่วมงานคิดเป็นด้วย
คำถามคือ จะทำอย่างไร ในประเทศไทย เราเสียเปรียบตั้งแต่ระบบการศึกษา เพราะเราไม่มีการกระตุ้นให้นักเรียนสนใจที่จะแลกเปลี่ยนความรู้ เราให้นักเรียนลอกความคิดของอาจารย์
ผมโชคดีได้เปลี่ยนแนวการสอนมากว่า 10 ปีแล้ว ไม่ว่าจะสอนที่ไหน จะให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และสรุปร่วมกัน ทุกวันนี้มีคนสนใจเรื่องนี้มากขึ้น ล่าสุดองค์กรบริหารส่วนตำบล ซึ่งจะนำเศรษฐกิจพอเพียงไปให้เขาคิด เช่นเดียวกับข้าราชการระดับ C7 , C8 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของรองปลัดสุทธิพร จีระพันธุ ซึ่งเป็นผู้สนใจวิธีการเรียนแบบใหม่

 

 จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181  
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ ควรรับฟังข้อคิดเห็นอดีตนายกฯชวน"(ปรับปรุงใหม่)

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน

 

วันเสาร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2549  ผมมีกิจกรรม สัมมนา ภาวะผู้นำโลก(Seminar on Global Leadership) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน ในหลักสูตร ป.เอก ผมออกเดินทางแต่เช้า เพื่อจะไปร่วม สภากาแฟก่อนมีการสัมมนา จึงส่งข้อควานี้มาช้ากว่าปกติที่เคยทำ หลังจากเขียนเสร็จแล้ว รู้สึกว่า บรรยากาศรอบตัวมีผลต่อการเขียนมาก ไม่ค่อยมีสมาธิเหมือนเขียนเงียบ ๆ ในมุมธรรมชาติ

 

อย่างไรก็ตาม ผมอ่านบทความบทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ” จาก Interent ซึ่งสัปดาห์นี้อาจารย์ใช้ชื่อเรื่องว่า ในบทความนี้ ศ.ดร. จีระ เขียนเรื่อง ควรรับฟังข้อคิดเห็นอดีตนายกฯชวน ผมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม โดยใช้ข้อความข้างล่างนี้ แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม ซึ่งมีดังนี้ ครับ 

 

  เวลาผ่านไปแล้ว 5 สัปดาห์ เหตุการณ์ต่าง ๆ ได้เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วและคาดไม่ถึง หลายอย่างดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็มีปัจจัยหรือมีข้อมูลใหม่ๆเพิ่มเติมเสมอ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี ต้องใช้นโยบาย
Listen and Learn
อย่างมาก และต้องมีความอดกลั้น ที่จะต้องรับฟัง หากมีประโยชน์จึงนำไปปฏิบัติ  
ในความเห็นส่วนตัว ผมคิดว่าเรื่องการ Listen and Learn ที่ ศ.ดร.จีระ กล่าวไว้ สำคัญต่อการเป็นผู้นำยุคใหม่อย่างมาก
ผมคิดว่า Competency หรือ สมรรถนะของผู้นำยุคใหม่จะเกี่ยวข้องกับสมรรถนะในการ  
  • Link หมายถึง ขีดความสามารถในการสร้างเครือข่าย ความสัมพันธ์ต่อทรัพยากรมนุษย์ โดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อเนื่อง เชิงสร้างสรรค์
  • Listen หมายถึง ขีดความสามารถในการฟังผู้อื่น ไม่เอาแต่สังการ ควบคุม แต่ฝ่ายเดียว การฟัง ด้วยเหตุ ด้วยผล ด้วยสติปัญญา จะทำให้เกิดแนวคิดใหม่ ๆ ได้
  • Learn   หมายถึงขีดความสามารถในการเรียนรู้สรรพสิ่งทั้งหลาย เรียนรู้จากเหตุการณ์ สถานการณ์ที่เกิดขึ้น เรียนรู้ถึงความสำเร็จ ความล้มเหลว ในอดีต ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต เป็นต้น 

ในอดีต การสรรหา คัดเลือกผู้นำ CEO ในองค์กร มักจะแสวงหาผู้นำที่มีความสามารถในการทำงาน ถือว่าเก่ง ครับ แต่ในยุคปัจจุบันและอนาคตแนวคิดนั้นได้เปลี่ยนมาแสวงหาผู้นำที่มีความสามารถในการ Link, Listen and Learn เพื่อต้องการหาผู้นำที่สามารถบริหารการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผมคิดว่า ความคิดและข้อเสนอแนะของอดีตนายกฯ ชวน หลีกภัยที่ติงการทำงานของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ น่าสนใจ คือจะต้องอธิบายจุดอันตรายของ "ระบบทักษิณ" ให้ประชาชนได้รับทราบและเข้าใจอย่างแท้จริง เพราะใน 5 ปีที่ผ่านมา ประชาชนที่ยากจนอาจจะคิดไม่ครบถ้วน และไม่เข้าใจ ผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นจะต้องทำ ควรอธิบายด้วยข้อมูลและข้อเท็จจริง อาจจะต้องดึงเอาภาคประชาสังคมที่เป็นกลาง มาช่วยอธิบายเพื่อเสริมรัฐบาลและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเพื่อให้ทั่วถึง ระยะนี้ ยังมีข่าวความไม่สงบหรือคลื่นใต้น้ำอยู่ ซึ่งคงจะไม่ใช่ของแปลกอะไร เพราะมีผู้เสียผลประโยชน์มาก คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติจะต้องบริหารและจัดการสิ่งเหล่านี้อย่างรอบคอบ เหมาะสมและสมานฉันท์  
ดูเหมือนว่า นายกฯสุรยุทธ์ จุลานนท์ ทำหน้าที่เหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ได้เชิญหัวหน้าพรรคการเมืองมามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นจุดที่สำคัญ การยกย่องให้เกียรติทุกกลุ่มในสังคมเป็นเรื่องที่ดีและเหมาะสม
ส่วนกลุ่มพันธมิตรก็เช่นกัน คงจะต้องอดทนและมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเหมือนเดิม ขออย่าท้อใจ ถึงกับจะลาออกจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งไม่เป็นผลดี คงจะต้องช่วยกันตรวจสอบต่อไป   

ในความเห็นส่วนตัวของผมคิดว่า  ในสายตาของประชาชนคงเข้าใจว่า คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน
คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี เป็นบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิ โดยเฉพาะท่านนายกรัฐมนตรี เป็นที่รักและเคารพ อย่างสูง เป็นองคมนตรีของชาติ การที่ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี จะพูด จะทำอะไร จึงเป็นสิ่งที่อาจจะมีผลกระทบถึงตัวท่านนายกรัฐมนตรีได้
การฟังความคิดเห็นจากผู้อื่น การ Link, Listen and Learn เป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายควรทำ ทุกฝ่ายควร Know our situation! และร่วมกันประกอบภารกิจด้วยความรอบคอบ ระมัดระวังกันทุกฝ่าย เหตุการณ์ภาคใต้ รุนแรงมากขึ้น เราจะสามารถกู้สถานการณ์ได้หรือไม่

Can we fix! Broken Government?

Can we fix! The national disunity?

เป็นสิ่งที่คนไทยจะต้องสมานฉันท์ ร่วมมือกัน ผมเชื่อว่า ปัญหาทุกอย่างที่เกิดขึ้นในบ้านของเรา ย่อมแก้ไขได้ด้วยคนในบ้านของเราเช่นกัน  

 

ประเทศไทยจะต้อง Compete international เพื่อที่จะลดความยกจนลง Economic growth ควรจะต้อง ได้ 6% GDP 

 

ขณะนี้ เราเผชิญปัญหาหลายอย่าง ผมในฐานะคนไทยด้วยกัน ขอแสดงความเห็นใจรัฐบาล และผู้รับอาสาเข้ามาบริหารบ้านเมือง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีคนจน 60% อีสานเป็นภาคที่จนที่สุดในประเทศ ทรัพยากรมนุษย์ส่วนใหญ่ขาดคุณภาพ ด้อยโอกาสทางการศึกษาและอาชีพ ทั้งที่เป็นคนดีมีน้ำใจ 
อีสานเป็นดินแดนไม่สมบูรณ์เหมือนภาคกลาง ไม่มีทางออกทะเล ดินฟ้าอากาศมีผลต่อการประกอบอาชีพ ผลผลิตเกษตรต่อไร่ตกต่ำ การติดต่อค้าขายกับชายแดนต่ำ การใช้เงินภาคสาธารณะต่ำ Low Public spending  อาชีวอนามัยแม่และเด็กยังคงมีปัญหา ส่งผลต่อสมองและความฉลาดของเด็กไทยในอีสาน

 

ที่สำคัญที่สุดเราหนีไม่พ้นที่จะต้องแข่งขันกับโลก  การศึกษาสำคัญที่สุดควรจะต้องรีบเร่งแก้ไขปรับปรุง

 

การลงทุนภาคเอกชน ชะลอการลงทุนเกือบถึงขั้นหยุดชะงักมาหลายปี(Reluctance) แนวโน้มจะมีมากขึ้นหรือน้อยลง ผมไม่แน่ใจ 

 

แรงงานมีทักษะ ความรู้ต่ำ แรงงานต่างด้าวคุณภาพต่ำเข้ามาผสมผสานมากขึ้นมีทั้งถูกต้องไม่ถูกต้อง
การปฏิรูปสถาบันการเงินยังมีขีดจำกัดในภาพรวมทางเศรษฐกิจ  การขาดแคลนแรงงานทีมีความสามารถเป็นข้อจำกัดในการลงทุน Skill Labor
นอกจากนี้ จุดอ่อนของประเทศไทยประการหนึ่งคือ Staff นักบริหารอ่อน องค์ความรู้เพื่ออนาคต อ่อน IT ควรต้องมีแผนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

 

จุดแข็งในการใช้แรงงานราคาถูกของไทย เช่น โรงงานทอผ้า ธุรกิจ Garment รองเท้าฯ ได้สูญเสีย Competitive edge ให้แก่ประเทศจีนและเวียดนามไปแล้ว และ 2 ประเทศนี้ได้พัฒนาการศึกษา เทคโนโลยีอย่างรวดเร็วนำหน้าประเทศไทยไป  
สิ่งเหล่านี้ เป็นเรื่องท้าทายรัฐบาลทุกยุคสมัย เป็นเรื่องท้าทายวิสัยทัศน์ ความคิด การกระทำของกลุ่มสมัชชา และความร่วมมือของคนไทยทั้งชาติ  

 

ประชาชนทุกส่วน ควรเพิ่มและส่งเสริมความสมานทฉันท์ ช่วยเหลือกันและกัน เพื่อชาติจริง ๆ ร่วมมือกันช่วยรัฐบาลในการพัฒนาประเทศให้สำเร็จ   ยุติความขัดแย้ง หันมาแก้ปัญหาประชาธิปไตยด้วยความสงบสุข เคารพในศักดิ์ศรี ในศักยภาพของคนทุกคน ต้องเชื่อว่าคนทุกคนมีคุณค่าทั้งสิ้น ไม่มองใครต่ำ ใครสูง 

 

 

คณะรัฐมนตรี ต้องเร่งบริหารประเทศให้พ้นภัย ให้บรรลุเป้าหมายสูงสุด ด้วยการทำงาน Fast, smart to meet highest Standard
วิสัยทัศน์ของชาติต้องชัดเจน และยั่งยืน เน้นความสงบสุขของบ้านเมือง และประโยชน์ของประชาชน ไม่ทำลาย ไม่กล่าวร้ายใคร อะไรก็ตามที่เป็นอุปสรรคสร้างและพัฒนาชาติควรขจัดออกไป ควรต้องสนองแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง และแนวคิดขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของเรา   ผสมผสานบูรณาการแนวคิดทางการบริหาร ทฤษฎีอื่น ๆ ทั้งแนวพุทธศาสตร์ อิสราม คริสต์ฯ มาพัฒนาชาติของเราให้เข้มแข็งโดยเร็ว

 

รัฐบาลใด ชาติใดก็ตามถ้าเริ่มต้นบริหารชาติด้วยดี พลีอุดมการณ์ให้ชาติ เพื่อคนรุ่นหลัง  เพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่ชาติแล้วนั้น นั่นคืออนุสาวรีย์ที่ปักแน่นในจิตวิญญาณของคนทั้งประเทศ 

สำหรับผม ถึงแม้ว่าจะไม่เกี่ยวกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็จะทำหน้าที่ต่อไปในฐานะประชาชนคนหนึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของการให้ความรู้ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง

 

ผมคิดว่า สิ่งที่ ศ.ดร.จีระ ทำอยู่เป็นแบบอย่างที่ดีที่ผมประทับใจ อาจารย์เป็นกลาง มีคุณธรรม มีอุดมการณ์ มีเสียสละ เพื่อส่วนรวม อาจารย์ทำงานที่มีประโยชน์กับสังคม โดยหวังให้ผู้อื่นเป็นสุข หวังให้ชาติเจริญ เป็นงานพัฒนาทรัยพากรมนุษย์ที่แท้จริงในทุกระดับ ทั้งในและต่างประเทศ   สมกับเป็น HR สายพันธ์แท้  รัฐบาลและองค์กรพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทุกระดับ ควรให้การสนับสนุน ทั้งทางตรงและทางอ้อม  
นักศึกษา ลูกศิษย์ ของอาจารย์ หากมีโอกาส ก็ควรเข้ามาช่วยสนับสนุนอาจารย์ ทุกรูปแบบ ด้วยความมีอุดมการณ์ ความมีชาตินิยม และเรียนรู้วิถี แนวทางของ ศ.ดร.จีระ เพื่อต่อยอด เป็นแนวร่วมอุดมการณ์ ครับ

สัปดาห์ที่ผ่านมาผมมีงาน 3 เรื่องที่จะเล่าให้ฟัง
เรื่องแรก ซึ่งทำเป็นประจำทุกปี คือ ค่ายผู้นำเยาวชน Knowledge camping ให้แก่นักเรียนเทพศิรินทร์และโรงเรียนในเครือทั้ง 7 โรงเรียน จำนวน 120 คน ครั้งนี้เป็นปีที่ 8 แล้ว ในปีนี้เน้นในพระอัจฉริยภาพด้านต่าง ๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เช่น ภาวะผู้นำ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น มีวิทยากรรับเชิญซึ่งเป็นนักเรียนเก่าที่มีชื่อเสียงหลายท่านมาร่วมแบ่งปันความรู้ เช่น
-
หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวง เป็นองค์ประธานในพิธีและปาฐกถาพิเศษเรื่อง "โครงการหลวง"
-
ฯพณฯ พล.อ.ต.กำธน สินธวานนท์ บรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านพลังงาน"
-
ดร.ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ บรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรีและกีฬา"
-
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน บรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ"
ค่าย Knowledge camping นี้เป็นค่ายที่สร้างและพัฒนาภาวะผู้นำให้กับนักเรียน ให้เด็กมีความคิดกว้างไกล คิดเป็น กล้าแสดงออก เด็กจะได้รับการพัฒนาความคิดจากโจทย์ "ประเทศไทยในอีก 20 ปีข้างหน้า" ซึ่งเป็นการเตรียมพร้อมที่จะเติบโตเป็นผู้นำของชาติในอนาคต

 

 

ที่ ศ.ดร.จีระ ทำ Knowledge camping นี้ ผมเห็นว่า เป็น Good Model ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ อย่างมาก เป็นประโยชน์ในการสร่างเยาวชน ให้เป็นผู้นำในอนาคต
การปฏิรูปการศึกษาบ้านเรา ควรมีวิธีการเรียนรู้แบบนี้ สอดใส่เข้าไปในการศึกษาทุกระดับ ตั้งแต่ระดับประถมฯ ถึง มหาวิทยาลัย และถ้าทุกสถานบันการศึกษาทำได้ ผมเชื่อว่าเราจะมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพในอนาคตมากพอ เป็นการสร้างคนเพื่อสร้างชาติไทยให้เข้มแข็ง ยั่งยืนยิ่งขึ้น

อีกงานหนึ่งเป็นงาน India-Thai Business Forum ซึ่งเป็นชมรมนักธุรกิจชั้นนำของอินเดียในประเทศไทย ผมภูมิใจที่เขาสนใจงาน HRD ของ APEC ของผม แต่แทนที่จะมองเฉพาะ APEC เขามองถึงความร่วมมือระหว่างอินเดียกับ APEC ในอนาคต
ผมคิดว่าเรื่อง HRD กับอินเดียน่าจะมี 3 เรื่อง
1.
การแลกเปลี่ยนครูทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และ IT โดยให้อินเดียส่งครูมาช่วย
2.
การส่งครูไทยไปสอนเรื่อง การบริการ Service sector และการท่องเที่ยว
3.
จัดให้เกิดธุรกิจร่วมกัน เช่น E-learning

ผมคิดว่ารัฐบาลของนายกฯสุรยุทธ์ ยังคงสนับสนุนแนวคิดการจัดตั้ง ACD HRD Center ขึ้น เพื่อให้เอเชีย ซึ่งมีอินเดีย จีน ญึ่ปุ่น ไทย และประเทศในตะวันออกกลางรวย ๆ เช่น โอมาน คูเวต มาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของคนเอเชียด้วยกัน แทนที่จะไปเรียนจากตะวันตก ซึ่งผมได้รับมอบหมายจากรัฐบาลชุดที่แล้วให้ดำเนินการ และได้รับการเห็นชอบในหลักการแล้ว 

 

ประเด็นนี้ ผมขอเสนอความคิดเห็นเพิ่มเติมครับ สิ่งที่ ศ.ดร.จีระ ทำเรื่อง การร่วมมือระหว่างอินเดียกับไทยและ APEC เป็นสิ่งที่น่าสนใจ ไม่ธรรมดาเลย  ทำให้คนอินเดียประทับใจและทึ่งคนไทยไปอีกนานด้วยความสามารถของ ศ.ดร.จีระ
ผมเสนอเพิ่มเติมว่า การร่วมมือระหว่างอินเดียกับไทยและ APEC น่าจะมีอีกหลายเรื่องที่ทำได้และจะเป็นประโยชน์กับไทยมาก เช่น ในเรื่องการให้ความร่วมมือเรื่องการพัฒนาความรู้ด้านภาษาอังกฤษ ให้แก่ครูและนักเรียนในชนบทยากจน ทำอย่างไรให้เด็กไทยพูดภาษาอังกฤษได้เหมือนเด็กอินเดีย  
IT CITY ในรัฐบังกาลอร์ ของอินเดีย เป็นตัวอย่างที่ดี ในเรื่องการบริหาร Talent people การแลกเปลี่ยน นักศึกษา ป.โท ป.เอก ในด้านพลังงานเพื่ออนาคต การวิจัยปัญหาของโลก ปัญหาของ APEC เช่น ด้านการป้องกันภัยวิบัติของโลก Global warming การป้องกันการก่อการร้ายข้ามชาติ การอนุรักษ์วัฒนธรรม ไทย อินเดีย การส่งเสริมและปฏิบัติตามหลักศาสนา เป็นต้น ครับ

นอกจากนี้ ผมได้รับเชิญจากมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย ไปบรรยายเรื่อง คิดแบบ CEO ในยุคสมัยใหม่ ผมชอบหัวข้อที่เขาตั้ง เพราะ CEO ต้องคิดเป็นถึงจะสำเร็จ จึงแนะนำวิธีการคิดไป 3 วิธีคือ
-
ทฤษฎี 4 L's ของผม
- 5 Disciplines
ของ Peter Senge
-
และ 6 Thinking hats ของ Edward de Bono
เน้นว่าแต่ละแบบสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้โดยมองจากสถานการณ์ความจริงของแต่ละองค์กร มีจุดที่น่าสนใจคือ ยุคใหม่ CEO ต้องไม่เก่งคิดคนเดียว ต้องให้ผู้ร่วมงานคิดเป็นด้วย

 

ผมขอเสนอความคิดเห็นเพิ่มเติมที่อาจจะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านว่า การคิดแบบ CEO ที่เป็นเลิศ ควรต้องคิดโดยใช้สมองทั้งสองด้าน ทั้งซีกซ้ายและขวาด้วย คือต้องมองอะไรได้ทั้งเชิงบวกและเชิงลบ เช่น ไม่คิดว่าแนวคิดตะวันตกดีเลิศ มองแนวคิดตะวันออกแบบติดลบ ต้องคิดบูรณาการทั้งตะวันออก และตะวันตกเข้าด้วยกัน จะได้จุดแข็งทั้งสองซีกโลกมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวม เป็นต้น

 

คำถามคือ จะทำอย่างไร ในประเทศไทย เราเสียเปรียบตั้งแต่ระบบการศึกษา เพราะเราไม่มีการกระตุ้นให้นักเรียนสนใจที่จะแลกเปลี่ยนความรู้ เราให้นักเรียนลอกความคิดของอาจารย์

 

ผมคิดว่า การปฏิรูปการเรียนการสอน การศึกษาของบ้านเรา  น่าจะนำแนวคิด แนวปฏิบัติ ของ ศ.ดร.จีระ มาเป็นส่วนหนึ่งใน

ในการพัฒนาระบบการศึกษา

 

ผมสังเกตเห็นว่า อาจารย์ทำแล้วได้ผล อาจารย์สามารถขุดความสามารถของนักเรียน นักศึกษาได้ อาจารย์ทำให้นักเรียน นักศึกษาจำนวนมาก (ในเวลาที่จำกัด) ที่ไม่ค่อยพูดซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนเก่ง ได้มีโอกาสได้แสดงความเก่งขึ้นมาอย่างน่าทึ่ง ให้นักเรียน นักศึกษาได้แชร์ความรู้ ได้ปะทะกันทางปัญญา เหมือนพระสนทนาธรรม เหมือนจอมยุทธ์ได้ปะลองฝีมือ ปัญญาย่อมเกิด ฝีมือย่อมพัฒนาขึ้นได้แน่นอน

 

และที่สำคัญคือท่านที่สนใจวิธีการมองคนที่เป็นเลิศ ของ ศ.ดร.จีระ ว่าท่านทำอย่างไรจึงมีสายตาที่เฉียบคม มองเห็นในสิ่งที่ CEO ผู้นำ หรือคนอื่น มองไม่เห็น อาจารย์มีเทคนิคในการมองลูกศิษย์ทุกระดับ ได้เหมือนมีแว่นวิเศษ ครับ สุดท้ายก่อนจบการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นวันนี้ ผมฝากไว้เกี่ยวกับ  Brain Power 
 “We live in the world where almost anything is a new possibility. The nature of work is changing. It is becoming increasingly brain intensive, value oriented, and unpredictable.   Skilled brain power is replacing disciplined muscle power. 

 

We want everyone to be seen as an achiever, an innovator, a seeker of the unknown to build a better world together.  The effective development of brain power within a nation will decide the prosperity of the country in the future.”   
ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์ช่อง 11 ชื่อรายการสู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และ รายการเศรษฐกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์ ทุกวันเวลา 22.40 น. – 22.45 น.นอกจากนี้ ยังออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 หรือทาง http://www.chiraacademy.com/  เชิญท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ        
ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่านผู้อ่านทุกท่าน     
            
ยม  
นักศึกษาปริญญาเอก 
รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฏีบัณฑิต
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท