สุนทรียสนทนา 10 : การเสวนาครั้งนี้ ดี-ไม่ดี อย่างไร ?


 PathoOTOP2-สุนทรียสนทนา   มาถึงบทส่งท้ายแล้วค่ะ    หลังจากที่ได้เล่าความในใจจนครบทุกคนแล้ว     คุณอำนวย โอ๋-อโณ   ได้โยนคำถามให้กับวงสนทนาว่า     เวที ลปรร   แบบนี้ดีมั๊ย ?    มีความคิดเห็นหลายแบบดังนี้
.
ดี.....(ไม่มีแต่)
  • ดีแล้ว   ได้ประโยชน์จากการฟัง   แนวคิดบางประการนำไปปรับใช้ได้
  • ได้ประโยชน์ทุกครั้งที่ฟัง    ได้พูดในสิ่งที่อยากพูด  ได้ฝึกพูดต่อหน้ากลุ่มคน
  • ได้ฟังแนวคิดที่หลากหลาย  (อาจมีเหมือนมีต่าง)    และได้ฝึกพูด  ก่อนขึ้นเวทีจริง
  • บรรยากาศดี  มีทั้งพูด  ทั้งฟัง   ทำให้ไม่ง่วง
  • แต่ละคนพูดมาจากใจ   บรรยากาศเป็นกันเองดี  ไม่เครียด
  • รู้สึกดี  ที่พูดแล้วมีคนฟัง

ดี.....แต่มีข้อเสนอ

  • ดีแล้ว...แต่บางทีฟังไม่รู้เรื่อง   เพราะไม่เข้าใจงานคนอื่น   ใช้เวลามากไป (2 ชม.)    ต้องทิ้งงานมา   และต้องฝากงานให้ผู้อื่นทำ (เกรงใจ)
  • แรกๆ น่าฟัง   แต่พอฟังๆ ไป   พูดหัวข้อเดียวกัน  ทำให้น่าเบื่อ   อยากให้มีหัวข้อที่แตกต่างกันไปหลายๆ แบบ    และน่าจะมีคนคอยกระตุ้น   เพื่อให้บรรยากาศสนุกและกระชับกว่านี้
  • รูปแบบโดยรวมดี   แต่น่าจะจัดกลุ่มที่ทำโครงการเกี่ยวข้องกัน   จะได้ฟังรู้เรื่อง   และแสดงความคิดเห็นได้

ดี....และมีคำตอบ

  • เรื่องเสียเวลางานต้องมีบ้าง   และการฝากงานให้เพื่อนร่วมงานทำแทน  เป็นการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน   ครั้งนี้เรามาทำกิจกรรม  เขาทำงานแทน   คราวหน้าก็แลกกัน    เป็นการได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
  • การ ลปรร. ไม่มีผิด  ไม่มีถูก   แม้ว่าหัวข้อที่พูดจะเหมือนกัน   แต่แนวคิดของแต่ละคนไม่เหมือนกัน (นานาจิตตัง)    
  • สิ่งที่แต่ละคนพูดถ้าตั้งใจฟัง  จะเห็นว่า  "มีประเด็น"    ซึ่งเราอาจนำไปปรับใช้ได้       (ต้องตั้งใจฟังและจับประเด็น)

ปิดท้ายด้วย คุณอำนวยทั้งสองท่านบอกว่า     การสนทนาแบบนี้เป็นกระบวนการที่ใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงาน   ว่าทำแล้วได้อะไร   เพื่อนำข้อคิดเห็นไปปรับปรุงงานต่อไป     ที่จัดแบบนี้เพราะอยากฟังแนวคิดและความรู้สึก  มากกว่าเนื้อหารายละเอียดของโครงการ( เพราะเนื้อหา    หาได้จากที่อื่น   เช่นตอนที่เสนอโครงการ   และในวารสารสายใยพยาธิ)        กระบวนการแบบนี้สามารถนำไปปรับใช้ในหน่วยงานได้    .

..............................." ฝึกฟัง     และพูดจากใจ"   ..............................

คุณอำนวย

คุณอำนวย   และคุณเอื้ออำนวย

คุณเอื้ออำนวย

คุณเอื้ออำนวย  in concert

คุณลิขิต

คุณลิขิต...ติดบันทึก

หมายเลขบันทึก: 52793เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2006 09:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

หลายๆ ครั้งในการประชุม เราจะบอกว่า ผู้บริหารเกณฑ์ไปฟัง เพราะเล่นพูดอยู่คนเดียว ไม่ยอมฟัง

ในเหตุการณ์เดียวกัน ถ้าลงท้ายว่า มีใครมีความคิดเห็นว่าอย่างไร ....แล้วก็พบว่า สิ่งที่ได้ยิน คือความเงียบ

เมื่อออกจากห้องประชุม มักจะระคนไปด้วยความคิดเห็นต่างๆนานา ที่มีคุณค่า น่ารับฟัง และเป็นประโยชน์น่าพิจารณา

เอ! เรากำลังทำอะไรผิดขั้นตอนกันหรือเปล่า

ผมเห็นด้วยว่าเราเริ่มกลับทิศการกระทำบ้างก็ดี เริ่มจากกำหนด scope ของเรื่องว่า เราจะคุยเรื่องอะไรกันดี หลังจากนั้น แต่ละคนมีความคิดเห็นว่าอย่างไร แล้วผู้บริหารค่อยเสริมในตอนสุดท้ายว่า ลองทำแบบนี้ดีไหม

เผื่อว่าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง อย่างน้อยก็น่าจะได้ยินอะไรบ้างที่นอกเหนือจากความเงียบ

ขอบคุณคุณ nidnoi มากค่ะ ที่ช่วยเป็นคุณลิขิตให้

เป็นคุณลิขิต ที่เก็บรายละเอียด สรุปประเด็น และ ถ่ายทอดออกมาได้อย่างครบถ้วนและน่าติดตามยิ่ง สงสัย อาจจะต้องมีบันทึกต่อจากนี้ เกี่ยวกับเคล็ดลับในการเป็นคุณลิขิต!

 

สนับสนุนและรออ่าน "บันทึกเคล็ดลับการเป็นคุณลิขิต" ด้วยคน
ขอบคุณ อ.ปารมี  และคุณศิริ
สำหรับเรื่อง   เคล็ดลับในการเป็นคุณลิขิต
สงสัยจะเขียนไม่ได้   เพราะ...   ไม่มีเลยค่ะ
เพียงแค่   จดทุกอย่างที่ได้ยิน   เพราะไม่รู้ว่า "อะไร"   ที่จะนำมาใช้ได้   (ส่วนที่จดไม่ทัน   ก็คิดซะว่าไม่ได้ยิน....^.-^ )
คุณพี่ไมโต
เห็นดีเห็นงาม  ตามกันไปค่ะ   
เพราะบางทีเราก็ไม่กล้าเสนอความคิดเห็นหรอกค่ะ   เกรงว่าจะไม่เข้าท่า...แต่ก็ชอบมาคุยกันนอกรอบเสมอๆ   เป็นพวกเก่งลับหลัง
หลังๆ  ก็เห็นว่าผู้บริหารท่านก็จะเปลี่ยนวิธีกันใหม่แล้วนะคะ    ( จาก blog ของคุณเมตตา)
  • แวะมาแสดงความยินดีครับผม
  • ดีใจมากเลยครับ
  • ขอบคุณครับ
  • คุณ nidnoi เป็นคุณลิขิตที่เยี่ยมจริง ๆ
  • รออ่านค่ะ
ขอบคุณคุณขจิตและคุณสุชานาถค่ะ
.
จริงๆ แล้วเป็นคนไม่ชอบจดบันทึก    เพราะคิดว่าฟังแล้วทำความเข้าใจน่าจะดีกว่า    แต่บางเรื่องที่คิดว่าเข้าใจและจำได้      พอจะนำมาเขียนในบล็อกแล้วเขียนไม่ได้เพราะลืมรายละเอียดบางอย่างไป
.
เริ่มเห็นประโยชน์ของการจดบันทึกแล้วค่ะ 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท