ทำไมเรื่องเล่าจึงสำคัญ?



บล็อกของ Steve Denning ซึ่งเป็น Guru ด้าน Storytelling พูดถึงความสำคัญของเรื่องเล่าเร้าพลังไว้ที่ http://stevedenning.typepad.com/steve_denning/2005/10/why_storytellin.html

ประโยคเด่นที่ดิฉันคิดว่าเป็นสิ่งที่ควร Quote ไว้ในบล็อกคือ “…leaders establish credibility and authenticity through telling the stories that they are living…”


 

หมายเลขบันทึก: 5278เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2005 10:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 สิงหาคม 2013 10:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ผมมองว่าเรื่องเล่าเป็น vehicle หรือ package สำหรับสื่อ tacit knowledge ออกมาสู่กัน   tacit knowledge อยู่ลึกมากในคนและในความสัมพันธ์ระหว่างคน    ถ้าไม่มี vehicle ก็เอาออกมาไม่ได้

วิจารณ์

ขออณุญาตยก  วลีของ  ดร.เลขา  ปิยะอัจฉริยะ  นักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญในวงการศึกษาพื้นฐานที่ได้จากการพูดคุยในเวทีนำเสนอโครงการวิจัยด้านการศึกษาพื้นฐาน

"การจัดการเรียน  การสอนในโรงเรียนบ้านเรานั้น  พบว่าติดอยู่กับ Explicit Knowledge  มาโดยตลอด   ถึงเวลาแล้วที่จะต้องหันมามอง Tacit knowledge ของครูเก่งๆ (รวมทั้งครูในโรงเรียน  และครูภูมิปัญญาท้องถิ่น) เอาความรู้ประเภทนี้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันเพื่อนำไปสู่การปฏิรูปการศึกษาอย่างจริงจัง"

หากอาจารย์จันทวรรณได้ไปบรรยาย blog ให้ครูปักษ์ใต้ฟัง  อย่าลืม  เชียร์ให้ครู  หรือศิษย์ของอาจารย์เขียนเรื่องเล่าดีๆแบบนี้ลงใน blog ด้วยนะครับ   โดยเฉพาะครูบ้านนอกที่ไม่ค่อยมีโอกาสได้ share เรื่องเหล่านี้สู่ภายนอกซักเท่าไร

คุณธวัชจะลงไปทำ KM ที่นครศรีฯ เมื่อไหร่ บอกด้วยนะคะ เผื่อจะได้ลงไป Join คะ :)

เรื่องเล่าคือการวาดภาพในใจ เป็นภาพต่อเนื่อง

ภาษาบรรยายของบางคน คือการวาดภาพในใจเช่น กัน แต่เป็นภาพเดี่ยว

ทำไมวาดภาพจึงสำคัญต่อการสื่อสาร

อาจเพราะเราชินกับภาษาประจำวันที่เป็นนามธรรมมากขึ้นเรื่อย ๆ จนหมดความสามารถที่จะวาดภาพในใจ เมื่อสื่อสาร จึงสื่อสิ่งที่เป็นนามธรรม ซึ่งอยู่ในระดับผิวนอกของการรับรู้ สามารถล่อนหลุดกระเทาะแตกได้ง่าย ส่งต่อแทบไม่ได้

นิทานจำนวนมาก ก็เป็นภาพวาดลายเส้นที่สะท้อนให้เห็นเหตุการณ์จริงในมุมมองที่ตลกขบขัน เนื่องจากเป็นภาพวาด จึงเข้าไปในใจได้ง่าย วันดีคืนดีภาพวาดลายเส้นเหล่านี้มาเชื่อมโยงกับเหตุการณ์จริงแล้วเราเห็นทั้งสองเรื่องเกิดขึ้นแบบคู่ขนาน เราก็จะรู้สึกว่าทั้งสองเรื่องไม่ได้ต่างกันเลย และผลที่เกิดขึ้น ก็คือ เราจะพยายามปรับตัวเพื่อไม่กลายเป็นตัวตลกในเรื่องไปเสียเอง

ตัวอย่างเช่น นิทานองุนเปรี้ยวมะนาวหวาน สะท้อนให้เห็นปฎิกิริยาตอบสนองของเรายามไม่รู้ตัวต่อเรื่องที่เข้ามากระทบอย่างไม่เป็นดั่งใจ

มองในแง่นี้ "เรื่องเล่า-นิทาน-บันทึกเหตุการณ์-ภาษาเชิงภาพพจน์" จึงเป็นการบีบอัดชีวิตจริงหรือเหตุการณ์จริงลงมาเป็นภาพ (ลายเส้น-ภาพถ่าย-ภาพยนต์) ทำให้บีบอัดข้อมูลได้แน่นมากและเร็ว ส่งง่าย ถึงผู้รับแน่ แต่จะมีผลกับเขาหรือไม่ ขึ้นกับความสุกงอมทางวุฒิภาวะของผู้รับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท