การศึกษาเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย


ประชากรอินโดนีเซียมี จำนวน ๒๔๓ ล้านคน

ชื่อเรื่อง  การศึกษาเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย

ผู้จัดทำ  นายณัฐนนท์ บุญเกิด  เลขที่ ๒๑ 

              นายธีรพงศ์ จันทร์เพ็ญ  เลขที่ ๓๐

              นายศิวกร วงษ์คำ  เลขที่ ๓๒ 

              นายสุพล เซี่ยงหลิว  เลขที่ ๓๓

ระดับชั้น   มัธยมศึกษาปีที่ ๔/๑

ครูที่ปรึกษา  ครูอภินันท์  สีสันต์

โรงเรียน  ท่ามะกาวิทยาคม

ปีการศึกษา  ๒๕๕๕

บทคัดย่อ

             การศึกษาเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย เป็นการศึกษาค้นคว้าในรายวิชาการสื่อสารและการนำเสนอ IS2 สาระเพิ่มเติมหลักสูตรโรงเรียนมาตรฐานสากล จัดทำขึ้นจากการศึกษา   ค้นคว้านอกห้องเรียนตามความสนใจเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนของแต่ละกลุ่ม
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
๑) เพื่อศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ๒) เพื่อศึกษาข้อมูลเบื้องต้นที่ส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ๓) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของบุคคลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย

             เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ ๑) เว็บไซต์ที่เกี่ยวกับประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ๒) เอกสาร หนังสือเกี่ยวกับภูมิภาคอาเซียน และประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ) แบบบันทึกข้อมูล ๔) แบบสัมภาษณ์ข้อมูลความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย

             จากการศึกษาพบ ว่า ๑) ข้อมูลเบื้องต้นของประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย คือประวัติความเป็นมาอินโดนีเซียเคยถูกประเทศฮอลันดาในอดีตหรือฮอลแลนด์ในปัจจุบันยึดครอง จนหลังสงครามโลกครั้งที่สองเกิดสงครามระหว่างคนอินโดนีเซียและฮอลันดา สหประชาชาติเข้ามาระงับข้อพิพาทและอินโดนีเซียได้เอกราช           ปี พ.ศ.๒๔๙๒ ภูมิศาสตร์ อินโดนีเซียประกอบด้วยหมู่เกาะมากมายกว้างใหญ่ไพศาล มีภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิ การศึกษา การรู้หนังสืออยู่ในระดับต่ำ ประชากรจำนวน ๒๔๓ ล้านคน ส่วนใหญ่มีฐานะยากจน ทำการเกษตร การประมง ไม่ค่อยสนใจศึกษาในระดับสูง การเมืองการปกครอง ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข ของประเทศและรัฐบาล สังคมและวัฒนธรรม มีหลากหลายชนเผ่า หลากหลายภาษา การแต่งกายจะบอกได้ว่ามาจากชนเผ่าใด ชาวอินโดนีเซียยึดหลักโกตองโรยองคือการพึ่งพาอาศัยกัน สังคมอบอุ่น
๒) จากข้อมูลเบื้องต้นทั้ง ๕ ประเด็น คือ ประวัติความเป็นมา สภาพทางภูมิศาสตร์ ระบบการศึกษา การเมืองการปกครอง สังคมและวัฒนธรรม พบว่าสภาพทางภูมิศาสตร์ ที่ทำให้มีภัยพิบัติทางธรรมชาติบ่อยครั้ง การศึกษาของประชากรที่ยังมีอัตราการไม่รู้หนังสือจำนวนมาก การเมืองการปกครองที่แม้จะเป็นระบบประชาธิปไตยแต่พบว่ามีการคอรัปชั่นในระดับต้นๆ ส่งผลในทางไม่ดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซียซึ่งอาจทำให้เศรษฐกิจของสาธารณรัฐอินโดนีเซียพัฒนาไปได้ช้ามาก ๓) บุคคลทั่วไปร้อยละ ๘๘.๙๐เห็นว่าการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซียน่าจะเป็นไปในทิศทางที่ดี สอดคล้องกับสมมติฐานการศึกษาที่ตั้งไว้



 



 

หมายเลขบันทึก: 521385เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2013 01:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มีนาคม 2013 01:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ประเทศอินโดนีเซีย



จุดแข็งขนาดเศรษฐกิจใหญ่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้• ตลาดขนาดใหญ่ (ประชากรมากเป็นอันดับ 4 ของโลกและมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้)• มีชาวมุสลิมมากที่สุดในโลก• มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายและจำนวนมาก โดยเฉพาะถ่านหินน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ โลหะต่างๆ• ระบบธนาคารค่อนข้างแข็งแกร่ง

จุดอ่อนที่ตั้งเป็นเกาะและกระจายตัว• สาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร โดยเฉพาะการคมนาคม และการเชื่อมโยงระหว่างประเทศ

ประเด็นที่น่าสนใจ  การลงทุนส่วนใหญ่เน้นใช้ทรัพยากรในประเทศเป็นหลัก

นางสาว นิชากร ก๋งพิ้ว ม.4/4 เลขที่39

ดิฉัน คิดว่าประเทศอินโดนีเซีย เป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจที่ดีมากเพราะเป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย  จึงทำให้มีการส่งออกมาก และเป็นประเทศที่มีประชากรเป็นจำนวนมาก

นางสาวอรุณรัตน์ เทพนู ม.4/9 เลขที่ 37

เรียนอาจารย์อภินันท์    สีสันต์

ดิฉันมีความคิดเห็นว่า ประเทศอินโดนีเซียเป็นประเทศมีภัยพิบัติทางธรรมชาติบ่อยครั้ง การศึกษาของประชากรที่ยังมีอัตราการไม่รู้หนังสือจำนวนมาก การเมืองการปกครองที่แม้จะเป็นระบบประชาธิปไตยแต่พบว่ามีการคอรัปชั่นในระดับต้นๆ ส่งผลในทางไม่ดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซียซึ่งอาจทำให้เศรษฐกิจของสาธารณรัฐอินโดนีเซียพัฒนาไปได้ช้ามาก

นายนัสพร เอี่ยมสะอาด ม.4/9 เลขที่ 45

เรียนอาจารย์อภินันท์    สีสันต์

กระผมได้ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นพบว่า

1.ประวัติความเป็นมาของอินโดนีเซียเคยถูกประเทศฮอลันดาในอดีตหรือฮอลแลนด์ในปัจจุบันยึดครอง

2.ภูมิศาสตร์อินโดนีเซียประกอบด้วยหมู่เกาะมากมายกว้างใหญ่ไพศาล มีภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิ

3.การศึกษา การรู้หนังสืออยู่ในระดับต่ำ ประชากรจำนวน ๒๔๓ ล้านคน ส่วนใหญ่มีฐานะยากจน

4.การเมืองการปกครอง ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข ของประเทศและรัฐบาล

5.สังคมและวัฒนธรรม มีหลากหลายชนเผ่า หลากหลายภาษา การแต่งกายจะบอกได้ว่ามาจากชนเผ่าใด ชาวอินโดนีเซียยึดหลักโกตองโรยองคือการพึ่งพาอาศัยกัน สังคมอบอุ่น

นางสาวจุฑามาศ เกิดคล้าย ม.4/9 เลขที่ 25

เรียน อาจารย์ อภินันท์ สีสันต์ 

สรุปเรื่อง การศึกษาการพัฒนาเศรษกิจของประเทศอินโดนีเซีย

ดิฉันได้ศึกษาและดูจากรายละเอียดข้างต้น ดิฉันมีความคิดเห็นว่าประเทศอินโดนีเซียมีจุดเด่นในเรื่องของการเป็นศูนย์กลางการส่งสินค้า หรือ ท่าเรือใหญ่ จุดด้อยคือ ระบบการศึกษา ประเทศอินโดนีเซียมีประชากรเป็นจำนวนมากแต่ประชากรส่วนใหญ่ยากจนจึงทำให้การรู้หนังสือของประเทศอินโดนีเซียอยู่ในระดับที่ต่ำ หรือ ค่อนข้างไม่ดี


นางสาวบุษรา เปลี่ยนศรี ม.4/9 เลขที่ 28

จากการที่ได้ไปศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของประเทศอินโดนีเซีย ข้อมูลบื้องต้นทั้ง 5 ประเด็น  คือ ประวัติความเป็นมา สภาพทางภูมิศาสตร์ ระบบการศึกษา การเมืองการปกครอง สังคมและวัฒนธรรม พบว่าสภาพทางภูมิศาสตร์ ทำให้มีการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติบ่อยนัก การศึกษาของประชากรก็มีอัตราการที่ไม่รู้หนังสือเป็นจำนวนมาก การเมืองการปกครองที่เป็นระบบประชาธิปไตย ส่งผลในทางไม่ค่อยดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอินโดนีเซียซึ่งอาจทำให้เศรษฐกิจของสาธารณรัฐอินโดนีเซียพัฒนาไปได้ช้ามาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท