พวงรัตน์ ปฐมสิริรักษ์ (Puangrat Patomsirirak)
นางสาว พวงรัตน์ ปฐมสิริรักษ์ (Puangrat Patomsirirak) Cherry ปฐมสิริรักษ์

ร่างกฎกระทรวงมาตรา 7 ทวิวรรคสาม ยังคงกำหนดให้ “คนต่างด้าวเกิดไทยถูกถือเป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย” –แม้ไม่ลงโทษ ก็เป็นการบันทึกสถานะทางทะเบียนที่ผิด


ข้อสังเกตและบทความทางวิชาการของผู้เขียน ซึ่งเป็นคณะทำงานในทีมผู้ช่วยทางวิชาการ ภายใต้ “โครงการประชาคมวิจัยการจัดการประชากร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” อันมีต่อประเด็นที่นำเสนอในเวทีหารือเกี่ยวกับร่างกฎกระทรวงกำหนดเงื่อนไข การอยู่ในราชอาณาจักรไทยของผู้เกิดในราชอาณาจักรไทยซึ่งไม่ได้สัญชาติไทย พ.ศ. ... จากการประชุมคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนากฎหมายด้านกระบวนการยุติธรรม ในคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายกับผู้แทนจากภาครัฐ ภาคประชาสังคม และนักวิชาการ ตลอดจนประเด็นอื่นๆ อันเกี่ยวข้องกับ ร่างกฎกระทรวงมาตรา 7 ทวิวรรคสามแห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติสัญชาติ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 และพระราชบัญญัติสัญชาติ(ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551

ร่างกฎกระทรวงมาตรา 7 ทวิวรรคสาม ยังคงกำหนดให้ “คนต่างด้าวเกิดไทยถูกถือเป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย” –แม้ไม่ลงโทษ ก็เป็นการบันทึกสถานะทางทะเบียนที่ผิด

ฉบับเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2556

โดย นางสาวพวงรัตน์ ปฐมสิริรักษ์

  แน่นอนว่า การที่ร่างกฎกระทรวงตามมาตรา 7 ทวิวรรค ยังคงปรากฎถ้อยคำ “ให้ถูกถือว่าเป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย” นั้นเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของ ตัวกฎหมายแม่บทที่ให้อำนาจไว้ กล่าวคือ พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติสัญชาติ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 และพระราชบัญญัติสัญชาติ(ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551 ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ขัดต่อหลักกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยมีพันธกรณี

“แต่ก็ยังคงมีความน่าประหลาดใจที่บางส่วนมีความเห็นว่า การคงถ้อยคำดังกล่าวไว้ในตัวกฎกระทรวง แต่ในความเป็นจริงไม่ลงโทษในฐานคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย  ---ย่อมไม่กระทบสิทธิคนกลุ่มนี้”

.....กรณีนี้ต้องทำความเข้าใจว่า “การกล่าวว่าคนที่เกิดในประเทศไทย เป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย” นั้นได้ส่งผลร้ายแรงที่นำไปสู่การบันทึก (Recognition) สถานะบุคคลของบุคคลผู้นั้นลงในทะเบียนราษฎร อย่างผิดพลาดไปจากข้อเท็จจริงและหลักการของกฎหมายแล้ว เป็นการกระทบโดยตรงต่อ “สิทธิในสถานะบุคคล” และกระทบต่อ “หลักประกันในกฎหมายอาญา” เพราะได้เป็นการกล่าวโทษผู้นั้นในสิ่งที่เขาไม่ได้กระทำ

แม้ว่าจะมีข้อถกเถียงว่า “การคงถ้อยคำดังกล่าวจะไม่เกิดปัญหา” เพราะบอกว่ากฎหมายที่กำหนดให้บุคคลเป็นผู้กระทำผิดนั้น ในทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่รัฐจะไม่ถูกนำมา “บังคับใช้ (Enforcement) เพื่อลงโทษ (Sanction)ฐานคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย” กับบุคคลผู้นั้น เพราะคนเหล่านี้จะได้รับ “การผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักรไทย” ทำให้ฟังแล้วเกิดความเข้าใจผิดเพราะดูเหมือนบุคคลนั้นจะไม่ถูกลงโทษในทางกายภาพ.... แต่ผลของการบันทึก (recognition) ที่ผิดไปแล้ว ก็ได้นำมาซึ่งผลลัพธ์ของการกล่าวหา ผู้บริสุทธิ์ให้เป็นคนผิด เสียแล้ว

หมายเลขบันทึก: 521072เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2013 16:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มีนาคม 2013 16:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท