นิสิตจิตอาสา กับค่ายมีนา ปี 56 : 15 โครงการ 15 องค์กร กับพื้นที่ 10 จังหวัด และ 14 อำเภอ


การปฐมนิเทศนิสิตที่จะออกค่ายช่วงเดือนมีนาคม เป็นภารกิจที่กลุ่มงานกิจกรรมนิสิตปฏิบัติเป็นประจำ แต่อาจจะมีบ้างที่ห่างหายไปเป็นบางช่วง ตัวผมเอง ได้รับหน้าที่วิเคราะห์โครงการและนำเสนอข้อมูลทั่วไปของการทำกิจกรรมค่าย

ค่ายมีนา (ปี) นี้....มีอะไร...?  คือคำที่ผมใช้ในการคุยในวันนี้

            โครงการการจัดการความรู้สู่ผู้นำองค์กรนิสิต  คือ โครงการที่เราจัดปฐมนิเทศสำหรับองค์กรนิสิตที่จะออกค่ายในช่วงเดือนมีนาคม ครับ แนวคิดหลัก ๆ คือ เราควรติดอาวุธทางปัญญาให้กับนิสิต  นอกจากเรื่องความรู้  วิธีการทำงาน ขั้นตอนการทำงานแล้ว  สิ่งสำคัญที่สุดคือ  เรื่อง  "วิธีคิดและกระบวนการคิด"

            ครั้งนี้ผมได้รับหน้าที่ในการวิเคราะห์ ภาพรวมโครงการที่จะออกค่ายในครั้งนี้ครับ

องค์กรที่จัดกิจกรรมในค่ายภาคฤดูร้อน’56

  ค่ายภาคฤดูร้อน  คือชื่อที่เราใช้เรียกค่ายในช่วงเดือนมีนาคม ซึ่งในเดือนมีนาคม 2556  นี้  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  มีองค์กรที่จะออกค่ายทั้งหมด  15  องค์กร  ได้แก่

1.  ชมรมนิสิตคาทอลิก                               9. ชมรมนอกหน้าต่าง

2.  ชมรมสานสายใยร่วมชายคา                  10.ชมรมรุ่นสัมพันธ์

3.  ชมรมอาสาพัฒนา                                11.ชมรมเทิดคุณธรรม

4.  ชมรมทอฝัน                                         12.สภานิสิต

5.  ชมรมยุวฑูตนมแม่                                 13.ชมรมครูอาสา

6.  ชมรมมรดกอีสานใต้                              14.ชมรมครูบ้านนอก

7.  ชมรมพุทธศาสน์                                   15.ชมรมถนนผู้สร้าง

8.  ชมรมสานฝันคนสร้างป่า

    โดยทั้ง 15 องค์กรนิสิต แบ่งได้คร่าว ๆ ดังนี้ มี 11 ชมรมที่เป็นชมรมสังกัดองค์การนิสิต  ได้แก่ ชมรมลำดับที่ 1 – 11  ชมรมสังกัดสโมสรนิสิตคณะ ได้แก่ ชมรมลำดับที่  13 – 15 และมี 2 ชมรมที่ออกค่ายร่วมกัน  ได้แก่  ชมรมยุวฑูตนมแม่  และชมรมมรดกอีสานใต้


โครงการ...ในค่ายภาคฤดูร้อน’56

  ในค่ายภาคฤดูร้อน ปี 2556 มีโครงการทั้งหมดจำนวน  15  ค่าย  ดังนี้

1.  โครงการความรู้นี้พี่ให้น้อง ครั้งที่ 11

2.  โครงการนอกหน้าต่างสานสายใยแห่งฝัน ปันสายใยแห่งรัก ถักทอแรงใจสร้างอาคารเรียนให้น้อง ครั้งที่ 10

3.  โครงการเฮ็ดโป่งตุ้มป่า ตอน คนสร้างป่าพาสร้างโป่ง

4.  โครงการสานชุมชนคนรักสุขภาพ

5.  โครงการทอฝันสานสัมพันธ์เพื่อน้อง ครั้งที่ 11

6.  โครงการ 28 ปี อาสาพัฒนา ห้องน้ำเพื่อน้อง

7.  โครงการสร้างกุศล คนหอใน มมส

8.  โครงการสานสัมพันธ์พี่น้องคาทอลิกกับชุมชน

9.  โครงการศึกษาวิถีวัฒนธรรมพื้นบ้าน

10.โครงการเยาวชนรุ่นใหม่ หัวใจคุณธรรม รุ่นที่ 2

11.โครงการพัฒนาจิต

12.โครงการอาสาสร้างสนามเด็กเล่น

13.โครงการถนนผู้สร้าง สายที่ 9

14.โครงการครูอาสาสู่ชนบท ครั้งที่ 11

15.โครงการครูบ้านนอกอาสาพัฒนาโครงเรียน ครั้งที่ 11

           ถึงแม้ว่าจะมีจำนวนโครงการที่แจ้งความประสงค์จะจัดกิจกรรมชัดเจน ในช่วงเดือนมีนาคม 2556  จำนวนถึง  15  ค่าย  แต่ก็ยังมี 2 โครงการที่ยังไม่เสนอขออนุมัติจัดกิจกรรม  ได้แก่  โครงการพัฒนาจิต  ซึ่งจะจัดโดยชมรมพุทธศาสน์  และโครงการอาสาสร้างสนามเด็กเล่น  ซึ่งจัดโดยสภานิสิต

           และมีหนึ่งโครงการที่จัดกิจกรรมในพื้นที่เดิม  ได้แก่  โครงการเฮ็ดโป่งตุ้มป่า ตอน คนสร้างป่าพาสร้างโป่ง  ซึ่งจัดโดย  ชมรมสานฝันคนสร้างป่า  ซึ่งเป็นโครงการอีกโครงการหนึ่งที่น่าสนใจให้ค้นหาคำตอบ เพราะ การที่เราจะกลับไปทำอะไรในที่เดิม ๆ คงต้องมีเหตุผลที่สำคัญพอสมควร  พอปกติส่วนใหญ่เรามักพบว่าการออกค่ายมักไปที่ใหม่เรื่อย ๆ อาจจะมีบ้างที่กลับไปเยี่ยมเยียนหลังเสร็จสิ้นกิจกรรม


พื้นที่การดำเนินงานโครงการ


จุดสีแดงและจุดสีเหลืองแสดงพื้นที่ดำเนินโครงการขององค์กรนิสิต

จุดสีเหลือง เป็นพื้นที่ที่ 2 ชมรม ดำเนินกิจกรรมร่วมกัน

                    พื้นที่ในการดำเนินงานโครงการ ทั้ง 15 องค์กร 15 โครงการ กินพื้นที่ ในภาคอีสานทั้งหมด 10 จังหวัด  14 อำเภอ  ได้แก่

1.  อำเภอวานรนิวาส  จังหวัดสกลนคร

2.  อำเภอธวัชบุรี  จังหวัดร้อยเอ็ด

3.  อำเภอห้วยเม็ก  จังหวัดกาฬสินธุ์

4.  อำเภอหนองกุงศรี  จังหวัดกาฬสินธุ์

5.  อำเภอเมือง  จังหวัดขอนแก่น

6.  อำเภอภูเวียง  จังหวัดขอนแก่น

7.  อำเภอกันทรวิชัย  จังหวัดมหาสารคาม

8.  อำเภอนาเชือก  จังหวัดมหาสารคาม

9.  อำเภอภูเรือ  จังหวัดเลย

10.อำเภอสิรินธร  จังหวัดอุบลราชธานี

11.อำเภอทุ่งศรีอุดม  จังหวัดอุบลราชธานี

12.อำเภอคำเขื่อนแก้ว  จังหวัดยโสธร

13.อำเภอหนองวัวซอ  จังหวัดอุดรธานี

14.อำเภอหว้านใหญ่  จังหวัดมุกดาหาร


กิจกรรม...ทำอะไรบ้าง

ในจำนวนค่ายทั้ง 15 โครงการ  15 องค์กร สามารถแบ่งประเภทของกิจกรรมออกได้ ดั้งนี้

1.  กิจกรรมหรือโครงการที่เมื่อเสร็จสิ้นโครงการแล้วก่อเกิดผลลัพธ์เป็น  “รูปธรรม”

หมายถึง  ลักษณะโครงการ ที่มีผลลัพธ์เป็นรูปธรรม  สามารถแตะต้อง สัมผัสได้ ซึ่ง  ส่วนใหญ่เป็นกิจกรรม  ด้านบำเพ็ญประโยชน์  ซึ่งสามารถจำแนกได้อีก  ดังนี้

     1.1  ค่ายสร้าง  คือ  ค่ายสร้างสร้าง หรือทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดขึ้นมาทั้งหมด ตั้งแต่เริ่มต้น

  จนเสร็จสิ้นกระบวนการ  ได้แก่

            1.1.1  โครงการนอกหน้าต่างสานสายใยแห่งฝัน ปันสายใยแห่งรัก ถักทอแรงใจสร้างอาคารเรียนให้น้อง ครั้งที่ 10  โดยชมรม นอกหน้าต่าง

            1.1.2  โครงการ  28 ปี อาสาพัฒนา ห้องน้ำเพื่อน้อง  โดยชมรม นอกหน้าต่าง

            1.1.3  โครงการถนนผู้สร้าง สายที่ 9  โดยชมรม  ถนนผู้สร้าง สังกัดสโมสรนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์

  1.2  ค่ายซ่อม  คือ  ค่ายที่ดำเนินกิจกรรมหลักเป็นการ ปรับปรุง ซ่อมแซม สิ่งต่าง ๆ

   ภายในค่าย ทั้งสิ่งปลูกสร้าง  สื่อเคลื่อนที่  และสื่อถาวร  ได้แก่

           1.2.1  โครงการความรู้นี้พี่ให้น้อง ครั้งที่ 11  โดยชมรมรุ่นสัมพันธ์

           1.2.2  โครงการอาสาสร้างสนามเด็กเล่น  โดยสภานิสิต

    1.3  ค่ายสร้างและค่ายซ่อม  คือ  ค่ายที่ดำเนินกิจกรรมทั้งสร้างขึ้นใหม่และปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่ให้ใช้งานได้ตามปกติ  ได้แก่

          1.3.1  โครงการทอฝันสานสัมพันธ์เพื่อน้อง ครั้งที่ 11 โดยชมรมทอฝัน

          1.3.2  โครงการเฮ็ดโป่งตุ้มป่า ตอน คนสร้างป่าพาสร้างโป่ง โดยชมรมสานฝันคนสร้างป่า

          1.3.3  โครงการครูอาสาสู่ชนบท ครั้งที่ 11  โดยชมรมครูอาสา

          1.3.4  โครงการครูบ้านนอกอาสาพัฒนาโครงเรียน ครั้งที่ 11  โดยชมรมครูบ้านนอก


ลักษณะของกิจกรรมที่ดำเนินงาน  ได้แก่

1.  สร้างห้องน้ำ

2.  สร้างอาคารเรียน

3.  ปรับปรุงอาคารเรียน

4.  ซ่อมแซมและปรับปรุงห้องสมุด

5.  ปรับปรุงสนามเด็กเล่น

6.  สร้างฐานเสาธง

7.  สร้างสนามคอนกรีตอเนกประสงค์

8.  สร้างโป่งเทียม

9.  ซ่อมแซมโป่งเทียม

10.สร้างสื่อการเรียนการสอน

11.ซ่อมแซมสื่อการเรียนการสอน

12.มอบหนังสือและอุปกรณ์กีฬา

13.สร้างสนามเปตอง


2.  กิจกรรมหรือโครงการที่เมื่อเสร็จสิ้นโครงการแล้วก่อเกิดผลลัพธ์เป็น  “นามธรรม”

                หมายถึง  ลักษณะโครงการ ที่มีผลลัพธ์เป็นนามธรรม  ไม่สามารถแตะต้อง สัมผัสได้ ซึ่ง  เป็นกิจกรรม  เชิงวิชาการ  ในด้านต่าง ๆ ดังนี้

   2.1  ด้านพุทธศาสนา  ได้แก่

         2.1.1  โครงการเยาวชนรุ่นใหม่หัวใจคุณธรรม รุ่นที่ 2  โดยชมรมเทิดคุณธรรม

         2.1.2  โครงการพัฒนาจิต  โดยชมรมพุทธสาสน์

         2.1.3  โครงการสร้างกุศล คนหอใน มมส  โดยชมรมสานสายใยร่วมชายคา

  2.2  ด้านคริสตศาสนา  ได้แก่

       2.2.1  โครงการสานสัมพันธ์พี่น้องคาทอลิกกับชุมชน  โดยชมรมนิสิตคาทอลิก

  2.3  ด้านวิชาชีพ  ได้แก่

       2.3.1  โครงการสานชุมชนคนรักสุขภาพ  โดยชมรมยุวฑูตนมแม่

  2.4  ด้านศิลปวัฒนธรรม  ได้แก่

       2.4.1  โครงการศึกษาวิถีวัฒนธรรมพื้นบ้าน  โดยชมรมมรดกอีสานใต้

ลักษณะของกิจกรรมที่ดำเนินงาน  ได้แก่

1.  เรียนรู้วัฒนธรรมการเล่นหมอลำ

2.  เรียนรู้พิธีกรรมต่างๆ ของชุมชน

3.  ให้ความรู้ด้านสุขภาพ

4.  กิจกรรมตามแนวทางศาสนา  เช่น ทำวัตร สวดมนต์ สวดภาวนา  ทำบุญตักบาตร

5.  กิจกรรมฐานการเรียนรู้

6.  ช่วยสร้างเจดีย์

  1.  อบรมคุณธรรมจริยธรรม


รู้ตัวตนโครงการ

  รู้ตัวตนโครงการ  เป็นจุดเริ่มต้นของการจะเริ่มทำโครงการ ที่พี่พนัส  ปรีวาสนา มักบอกพวกเรา และน้อง ๆ นักกิจกรรมเสมอ  นั่นคือ  ก่อนออกไปทำโครงการสิ่งที่ควรทำความเข้าใจมากที่สุดก็คือเรื่องราวของตัวเอง  หรือ โครงการของตนเอง

  ในค่ายฤดูร้อนปีนี้ ผมเองได้มีโอกาสได้ศึกษาข้อมูล ขององค์กรนิสิตที่จะออกค่ายในช่วงนี้ และได้เกิดข้อสังเกตและใคร่ขอแนะนำน้อง ๆ เพิ่มเติมดังนี้

ชื่อ(โครงการ)นั้น...สำคัญไฉน...?

ค่ายที่จัดขึ้นในช่วงเดือนมีนาคม 2556 นั้น ต้องยอมรับว่ามีการตั้งชื่อโครงการให้สละสลวย คล้องจอง มากขึ้น กว่าในปี ก่อน ๆ ซึ่งอ่านแล้วทำให้เรารู้สึกว่าเราเป็นผู้มีวาทศิลป์มากยิ่งขึ้นซึ่งพอสามารถจำแนกได้ดังนี้

     1.  ชื่อโครงการที่บอกถึงกิจกรรมที่ทำ คือ ชื่อโครงการที่เมื่ออ่านแล้วรับรู้ได้ทันทีว่าโครงการนี้ จะไปทำอะไร  เช่น เฮ็ดโป่งตุ้มป่า ตอน  คนสร้างป่าพาสร้างโป่ง, 28 ปี อาสาพัฒนา ห้องน้ำเพื่อน้อง, โครงการนอกหน้าต่างสานสายใยแห่งฝัน ปันสายใยแห่งรัก ถักทอแรงใจสร้างอาคารเรียนให้น้อง ครั้งที่ 10

     2.  ชื่อโครงการที่บอกใบ้ถึงกิจกรรมที่ทำ คือ ชื่อโครงการที่เมื่ออ่านแล้วสามารถบอกกิจกรรมที่จะทำได้บ้างแต่ไม่ชัดเจน เช่น โครงการความรู้นี้พี่ให้น้อง ครั้งที่ 11, เยาวชนรุ่นใหม่หัวใจคุณธรรม, สานชุมชนคนรักสุขภาพ

     3.  ชื่อโครงการที่ไม่ได้บอกถึงกิจกรรมที่ทำ คือ ชื่อโครงการที่เมื่ออ่านแล้วไม่สามารถบอกกิจกรรมที่จะทำได้ เช่น โครงการถนนผู้สร้าง สายที่ 9, โครงการทอฝัน สานสัมพันธ์เพื่อน้อง ครั้งที่ 11


        โครงการบางโครงการที่มีตัวเลขกำกับต่อท้ายโครงการ มีคำว่า “ครั้งที่” ต่อท้าย ซึ่งบ่งบอกถึง อุดมการณ์ที่ถูกถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นและความเป็นปึกแผ่น เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันรวมถึงการสอนงานและสร้างทีมให้กับน้อง รุ่นต่อรุ่น  และถือเป็นการสานต่อประวัติศาสตร์ของโครงการนั้น ๆ ทำให้ดูมีมนต์ขลัง และยังสามารถดึงดูดใจให้ผู้พบเห็นอยากเข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์อีกด้วย

     ชื่อโครงการบางโครงการมีการเล่นคำ แต่ไม่สุดทาง เช่น โครงการเฮ็ดโป่งตุ้มป่า ตอน คนสร้างป่าพาสร้างโป่ง น่าจะเปลี่ยนคำว่า สร้างโป่ง  เป็น  เฮ็ดโป่ง  เพราะคำว่า  สร้าง  เป็นภาษาไทยกลาง เมื่ออ่านแล้ว คำว่า  สร้างโป่ง  เพียงบ่งบอกว่าจะทำโป่ง  แค่นั้น  แต่คำว่า  เฮ็ด  เป็นภาษาอีสาน  คำว่า  เฮ็ดโป่ง  จึงบ่งบอกว่าจะไปทำโป่ง  และยังบ่งบอกอีกว่า ทำในเขตพื้นที่ภาคอีสานแน่นอนและอีกอย่างหนึ่งชื่อโครงการเราเป็นเฮ็ดโป่ง  อยู่แล้ว จึงน่าจะใช้คำเดิมกลับมาอีกครั้ง


หลักการและเหตุผล....ส่วนสำคัญที่คนเรามักมองข้าม...?

       หลักการและเหตุผล ส่วนสำคัญของโครงการที่นิสิตส่วนใหญ่มักมองข้ามความสำคัญในการเขียนไปหลักการและเหตุผล จะสะท้อนหลักคิด วิธีคิด กระบวนการคิด และที่ไปที่มาของโครงการนั้น ๆ

  โดยทั่วไปมักแบ่งได้ 2 ส่วนได้แก่

  1. หลักการ  เป็นส่วนอ้างอิงถึงความสำคัญของกิจกรรม ที่เราจะทำหรือดำเนินงานในโครงการ และ

  2. เหตุผล  เป็นส่วนสืบเนื่องจากส่วน หลักการ แต่จะตีกรอบให้เล็กลง มาที่องค์กร และพื้นที่ที่เราจะดำเนินกิจกรรม  โดยบอกถึงมูลเหตุ และความจำเป็นในการทำกิจกรรมขององค์กรต่อพื้นที่นั้น ๆ องค์กรนิสิตส่วนมากเขียนเหตุผลไม่ค่อยดี  ส่วนที่ขาดได้แก่มูลเหตุสำคัญในการเลือกพื้นที่ในการทำกิจกรรม

       และมีบางองค์กรเขียนหลักการและเหตุผลน้อยเกินไป ซึ่งอาจจะส่งผลระยะยาวในการเขียนเพื่อขอรับงบประมาณสนับสนุนจากภายนอก

วัตถุประสงค์....ส่วนสำคัญที่สุด...ที่เราไม่ค่อยรู้...?

      วัตถุประสงค์ของโครงการ  ถือว่าเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของโครงการ เพราะถ้าหากโครงการไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์แล้ว  ก็ถือได้ว่า โครงการนั้นล้มเหลว 

ซึ่งจากการที่ได้ศึกษาโครงการขององค์กรนิสิต มีข้อสังเกตดังนี้

             - วัตถุประสงค์โครงการมากเกินไป  ซึ่ง  อาจทำให้ลำบากในการทำงาน เพราะต้องทำให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ทุกข้อ

             - วัตถุประสงค์เป็นนามธรรมเกินไป ซึ่งทำให้ลำบากในการประเมินผลความสำเร็จของโครงการ  ซึ่งบางครั้งเราต้องอาศัยเขียนบรรยายสรุปผลในรายงานเพื่อตอบวัตถุประสงค์บางข้อ


งบประมาณ....เงินทองของนอกกาย....

วุ่นวายจะตายถ้าไม่ได้มันมา...?

 งบประมาณดำเนินงานโครงการ 15 โครงการ รวมแล้วประมาณ 510,000  บาท

-  งบประมาณเงินรายได้  ประมาณ  130,000  บาท

-  งบประมาณจัดหาเอง  ประมาณ  380,000  บาท  (ไม่เปิดเผยแหล่งที่มา)

งบประมาณส่วนใหญ่ถูกใช้ทำอะไร...?

-  ค่าอาหาร      ประมาณ  170,000  บาท

-  ค่าพาหนะเดินทาง  ประมาณ  85,000  บาท

-  ค่าอุปกรณ์จัดกิจกรรม   ประมาณ  220,000 บาท

-  ค่าอื่น ๆ     ประมาณ  35,000 บาท


ผลที่่คาดว่าจะได้รับ....

อะไรคือสิ่งที่จะได้เมื่อเสร็จสิ้นกิจกรรม..?

  ผลที่คาดว่าจะได้รับ....คือสิ่งที่คุณต้องตอบคำถามตัวเองให้ได้ว่า....จะได้อะไรเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ ทั้งตัวคนทำงาน องค์กร ชุมชน และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

  - หลายองค์กร Copy วัตถุประสงค์มา

  - หลายองค์กร ตอบแบบกำปั้นทุบดิน 

  “ถ้าหากคุณยังตอบไม่ได้ว่า เมื่อค่ายคุณเสร็จสิ้นแล้ว จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง คุณจะได้อะไร  ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้อะไร  องค์กรจะได้อะไร  ชุมชนจะได้อะไร.........แล้วคุณจะทำกิจกรรม นั้น ๆ ไปเพื่ออะไร...?”………THE  END

และนั่นคือเรื่องราวที่ผมพูดกับน้อง ๆ ในวันนี้ครับ

28 กุมภาพันธ์ 2556


หมายเลขบันทึก: 520950เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2013 14:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2013 15:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอให้กำลังใจและจะติดตามอ่านเรื่องเล่านะคะ

ผมชอบที่บรรยายมาก  เห็นภาพรวม เป็นการเติมเต็มทักษะวิธีคิดในการเขียนโครงการและการบริหารโครงการได้เป็นอย่างดี  

ข้อมูลเหล่านี้คือภาพสะท้อนที่นิสิตไม่ควรมองข้าม
ถือเป็นฐานข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์ไปในตัว
เป็นการ SWOT  ในอีกมิติหนึ่ง...

ชื่นชมครับ

เยี่ยมไปเลยครับอาจารย์  อ่านแล้วได้ความรู้และจินตนาการถึงบรรยากาศแห่งความสุขออกเลยครับ

ดีมากๆเลยค่ะ..ทั้งเป็นประโยชน์แกสังคมและเปิดโลกทัศน์ มุมมองชีวิตให้กับนิสิต..^^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท