การตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข โนโรไวรัส


                                             การตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข โนโรไวรัส

                                                          นายอานนท์ ภาคมาลี (หมอแดง)

การตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข โนโรไวรัส กรณีอาหารเป็นพิษนักเรียนค่ายลูกเสือ เขตอำเภอมวกเหล็กและอำเภอปากช่อง ระกว่างวันที่ 10-28 เดือนธันวาคม 2555ประชุมถอดบทเรียนในวันที่ 15 เดือนกุมภาพันธ์ 2556 ณ ห้องประชุมราชาวดี โรงพยาบาลพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี สำนักระบาด สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดสระบุรี)

วัตถุประสงค์

1.  เพื่อกลั่นกรององค์ความรู้และประสบการณ์จากการดำเนินงานสอบสวน และป้องกันควบคุมโรคระบาดของโรคอาหารเป็นพิษในกลุ่มผู้ไปเข้าค่ายลูกเสือที่อำเภอมวกเหล็กและอำเภอปากช่อง ระหว่างวันที่ 10-28 เดือนธันวาคม 2555

2.  กำหนดมาตรการในการสอบสวนป้องกันควบคุมโรค และบริหารจัดการกรณีเกิดอาหารเป็นพิษในค่ายพักแรมลูกเสือ

3.  เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาทีม SRRT และงานด้านการตอบโต้สถานการณ์โรคและภัยสุขภาพต่อไป

ประชุมระดมสมองตามหัวข้อ/ประเด็นที่กำหนด โดยในแต่ละประเด็นให้พิจารณา

1.  หากเหตุการณ์อาหารเป็นพิษในค่ายลูกเสือครั้งต่อไป ระดับสำนักงานป้องกันควบคุมโรคเขต2 ศูนย์อนามัยสิ่งแวดล้อม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และระดับตำบลจะดำเนินการอย่างไรในด้านการสอบสวนโรค

2.  สิ่งที่ทำดีแล้ว และสมควรกระทำเช่นนั้นอีกในการดำเนินการครั้งต่อๆไปมีอะไรบ้าง

3.  สิ่งที่ทำไปแล้ว แต่อยากจะปรับปรุงให้ดีกว่าเดิม มีอะไรบ้าง

4.  แนวทาง/วิธีการพัฒนาและปรับปรุงให้ดีขึ้น จะทำอย่างไรบ้าง

ถอดบทเรียน

เมื่อได้รับแจ้งจากโรงพยาบาล และการยืนยัน ตรวจสอบ ยืนยันข่าว ทีม SRRT โรงพยาบาล สาธารณสุขอำเภอ/สาธารณสุขจังหวัด ทีมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/เทศบาล สอบสอบโรค จัดเตรียมอุปกรณ์ โทรศัพท์ ผู้ประสานงานแต่ละท่าน

โรงพยาบาล ทีมการรักษาพยาบาล (สหวิชาชีพ) ทีมเก็บตัวอย่าง ทีมควบคุมโรค จัดเตรียมทีมสอบสวนโรค จัดเตรียมภาชนะ สำหรับตัวอย่าง เช่นถุงพลาสติก ภาชนะใส่น้ำ กระติกหรือกล่องโฟมใส่น้ำแข็งไว้แช่สิ่งต้องส่งตรวจ(กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข) จัดเตรียมทีมเฝ้าระวัง/โรคทางระบาดวิทยา ทุกวัน มีผู้ป่วย 1 รายต้องซักประวัติ หากอาเจียนต้องเก็บอาเจียน ผู้ป่วยมีอาการอย่างไร ให้แยกประเด็นทุกราย แบบสอบสวนโรคให้กะทัดรัด รวดเร็ว หากมีผู้ป่วยจำนวนมาก

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ประชุมทีม SRRT ทุกวัน ทีม SRRT เข้าให้ความรู้/ทำความสะอาด มีพี่เลี้ยงประจำทีม ตรวจสอบการเข้าค่ายพักแรมทุกวัน การประสานงานกับโรงพยาบาล

องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น/ส่วนเกี่ยวข้อง นายอำเภอออกหนังสือขอความร่วมมือจากค่ายต่างๆ/จัดประชุมค่าย แจ้งต่อไปยังเทศบาล/องค์การบริหารส่วนตำบล ขอความร่วมมือในการให้ความสนับสนุนในด้านความสะอาด/ทำความสะอาดค่าย ขยะ สิ่งแวดล้อมต่างๆประชาสัมพันธ์กับสื่อต่างๆ

อุปสรรค ไม่ได้รับความร่วมมือ เป็นยามวิกาล (นอกเวลาราชการ) เป็นวัดหยุด (ทีมไม่อยู่) ติดต่อไม่ได้ จำนวน SRRT ไม่พอ

ข้อเสนอแนะ การเก็บตัวอย่าง/ภาชนะในการเก็บตัวอย่างไม่พร้อม/ไม่มีทักษะในการเก็บ ควรมีวิธีการเก็บและให้เป็นไปตามกฎหมาย ถุงที่ใส่น้ำแข็งเป็นถุงปุ๋ยใส่อาหารสัตว์ รถที่ใช้ส่วนใหญ่ไม่ได้มาตรฐาน ตรวจจับให้ได้ตั้งแต่เริ่มต้น/การเตรียมทีม/บทบาทหน้าที่ของทีม การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น การสอบสวนโรค ข้อมูลที่มีไม่ครบถ้วน/ไม่มีการวิเคราะห์ข้อมูล ไม่ต้องรอ ผลตรวจทาง Lab วิเคราะห์ได้เลย การสอบสวนโรค การได้ข้อมูล (เก็บข้อมูล) และรายละเอียดในการวิเคราะห์ ยังไม่ได้วิเคราะห์ข้อมูล ต้องวิเคราะห์ไปกับการจัดเก็บข้อมูล (ข้อมูลผู้ป่วย)


หมายเลขบันทึก: 519745เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2013 12:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2013 12:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

 .... ถอดบทเรียน... กลั่นกลองจาก... งานสอบสวนโรค นะคะ .... ส่งกำลังใจไปช่วยนะคะ

เยี่ยมมากคะ  ขอนำไปใช้ด้วยนะคะ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท