ใบหน้าสั่นกระตุกจนเกร็งล้าคอ...บำบัดอย่างไร


ขอบคุณกรณีศึกษา ว. วัยทำงาน และมีสามีและลูกแล้ว ติดต่อขอปรึกษาเรื่อง เวลาเครียดและโมโห (โกรธง่ายหายเร็ว) ตนเองจะรู้สึกใบหน้าสั่นกระตุก เมื่อเป็นบ่อยๆ รู้สึกกล้ามเนื้อคอเกร็งจนรู้สึกล้ามากๆ แต่เวลาอารมณ์ดีก็ไม่ค่อยเป็นอะไร เคยไปพบแพทย์ ได้รับยาคลายเครียดกับยาลดความดัน แต่ไม่ดีขึ้น และที่ดร.ป๊อป แนะนำให้ไปตรวจระดับการทำงานของไทรอยด์ก็ปกติ 

ดร.ป๊อป สอบถามถึงบริบทที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะกรณีศึกษา พบว่า กรณีศึกษาเกิดความกลัวกดดันจากการเลี้ยงดูของแม่ที่เคร่งเครียดจนเกินไปในวัยเด็ก พอมีลูกก็จะไม่ทำแบบที่แม่เคยเป็น และที่เครียดที่สุดคือการขับรถระยะทางไกลทุกวันรู้สึกล้ากล้ามเนื้อคอมากๆ ยิ่งมีปัญหากับพี่น้อง

จากนั้นดร.ป๊อป จึงตั้งสมมติฐานว่า กรณีศึกษาน่าจะบุคลิกภาพที่ไวต่อความรู้สึก (กดดันและเครียดง่ายในสถานการณ์ปัญหาชีวิต) อาจทำให้ระบบจิตประสาทวิทยาตอบสนองผ่านภาวะเครียดสู่ระบบจิตประสาทกับระบบประสาทสรีรของร่างกาย ซึ่งจะวัดชีพจรก่อน ขณะ และหลังทำกิจกรรมที่ต้องใช้สหสัมพันธ์ของตา มือ คอ และลำตัว (กิจกรรม Purdue Pegboard เสียบหมุดสามองค์ประกอบให้เร็วที่สุด) พร้อมจับชีพจร หากชีพจรเต้นเร็วบ่งชี้ภาวะเครียด จากนั้นก็จะลองให้ทำกิจกรรมบำบัดจิตสังคม (การจัดการความล้า) ผ่านเทคนิคการผ่อนคลายกล้ามเนื้อตามลำดับ 3 ท่าๆ ละ 3 รอบ + เทคนิคการทำสมาธิและหายใจ (เป่าปาก หายใจเข้า เป่าปาก รวม 3 รอบ) + เทคนิคการบอกจิตใต้สำนึกด้วยตัวเองว่า "ผ่อนคลายๆๆๆ รวม 3 รอบ" รวมทั้งสิ้นเป็น 1 รอบใหญ่ โดยให้ทำในกรณีที่มีอาการต่างๆ ขณะทำการประเมิน เช่น ใบหน้าสั่น กระตุก เกร็งล้าคอ แน่นหน้าอก หายใจขัดๆ รู้สึกกังวล ฯลฯ 

ลองมาศึกษาผลการตรวจประเมินทางกิจกรรมบำบัดจิตสังคมอ้างอิงกรอบระบบจิตประสาทสรีรวิทยา

ก่อนการทำกิจกรรมบำบัดจิตสังคม  ชีพจรเต้น 80 ครั้งต่อนาที

1. ใช้มือซ้ายเสียบหมุดสามองค์ประกอบให้เร็วที่สุด ใช้เวลา 6 นาทีใน 25 หมุด ชีพจรเต้นเฉลี่ยทุก 5 หมุด 80 ครั้งต่อนาที (78, 83, 81, 80, และ 78) รู้สึกล้าจากเกร็งคอในขณะมีชีพจร 81 ครั้งต่อนาที (หมุดที่ 15) ระดับ 8/10 และรู้สึกสั่นระดับ 9/10

2. ใช้มือขวา (มือข้างถนัด) เสียบหมุดสามองค์ประกอบให้เร็วที่สุด ใช้เวลา 3 นาทีใน 25 หมุด ชีพจรเต้นเฉลี่ยทุก 5 หมุด 77.8 ครั้งต่อนาที (90, 87, 89, 84, และ 85) รู้สึกล้าจากเกร็งคอในขณะมีชีพจร 89 ครั้งต่อนาที (หมุดที่ 15) ระดับ 7/10 และรู้สึกสั่นระดับ 6/10

ข้อสังเกต ใช้มือข้างถนัดทำได้เร็วกว่า มีความรู้สึกล้าและสั่นน้อยกว่า แม้ว่าชีพจรดูเต้นช้ากว่า บ่งชี้ถึงภาวะเครียด + ภาวะการตอบสนองช้าทางระบบจิตประสาทสรีรวิทยา

หลังการทำกิจกรรมบำบัดจิตสังคม (ที่กรณีศึกษาทำได้แล้วรู้สึกดีขึ้นคือ 6 รอบใหญ่) ชีพจรเต้น 80 ครั้งต่อนาที

3. ใช้มือซ้ายเสียบหมุดสามองค์ประกอบให้เร็วที่สุด ใช้เวลา 4 นาทีใน 25 หมุด ชีพจรเต้นเฉลี่ยทุก 5 หมุด 78.6 ครั้งต่อนาที (77, 80, 81, 77, และ 78) รู้สึกล้าจากเกร็งคอในขณะมีชีพจร 77 ครั้งต่อนาที (หมุดที่ 5) ระดับ 9/10 และรู้สึกสั่นระดับ 3/10

กรณีศึกษาทำได้แล้วรู้สึกดีขึ้น เพิ่มเติมอีก 6 รอบใหญ่

4. ใช้มือขวา (มือข้างถนัด) เสียบหมุดสามองค์ประกอบให้เร็วที่สุด ใช้เวลา 4 นาทีใน 25 หมุด ชีพจรเต้นเฉลี่ยทุก 5 หมุด 77.8 ครั้งต่อนาที (73, 81, 79, 80, และ 76) ไม่รู้สึกล้าใดๆ อยู่ในระดับ 3/10 และรู้สึกสั่นระดับ 0/10

ข้อสังเกต ใช้ทั้งสองมือทำได้เร็วเท่ากัน แต่กรณีศึกษาต้องจัดการความล้า รวม 12 รอบใหญ่ ซึ่งมีผลลดอาการสั้นและมีความล้าเหลือเล็กน้อย เมื่อพิจารณาลำดับการเต้นของชีพจรเฉลี่ยลดลงจาก 80 ครั้งต่อนาทีถึง 77.8 ครั้งต่อนาทีทั้งใช้มือข้างถนัดแล้วเกิดการเรียนรู้จากการใช้มือข้างไม่ถนัด กับ ทั้งสองมือมีชีพจรลดลงหลังจัดการความล้า

สรุปผลการประเมิน คือ ผลของการจัดการความล้าทำให้ความเครียดลดลง (อาการสั่นลดลงแม้ว่าจะล้าอยู่บ้าง) แต่คำถามคือ ความล้าทางจิตจากบุคลิกภาพที่ไวต่อความรู้สึกจนเครียด หรือความล้าทางร่างกายจากอาการเกร็งกล้ามเนื้อ จึงต้องประเมินจิตประสาทสรีรวิทยา ด้วยเครื่องมือวัดความสั่นของมือขณะพยายามนำเข็มลงรูวงกลมจากขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่ที่สุดถึงเล็กที่สุด (ให้โอกาส 5 รอบ) 

ผลคือ ข้างขวา ทำได้ผิดพลาด จาก 6, 2, 1, 2, และ 3 บ่งชี้ความผิดพลาดลดลงจากรอบแรก

           ข้างซ้าย ทำได้ผิดพลาด จาก 6, 3, 5, 5, และ 6 บ่งชี้ความผิดพลาดไม่ลดลงจากรอบแรก 

ข้อสังเกต ร่างกายข้างขวา (ข้างถนัด) ผ่านการทำงานของสมองซีกซ้าย มากกว่า 50% จะเกี่ยวข้องกับการสั่งการการเคลื่อนไหวและการสื่อสาร ซึ่งควบคุมไม่ให้มือสั่นจนผิดผลาดลดลงจากรอบแรก และเมื่อสังเกตการเต้นของชีพจรขณะข้างขวาทำกิจกรรม จะลดลงได้ดี บ่งชี้ระบบจิตประสาทสรีรวิทยาปกติส่วนร่างกายข้างซ้าย (ไม่ถนัด) ผ่้านการทำงานของสมองซีกขวา มากกว่า 50% จะเกี่ยวข้องกับบุคลิกภาพ อารมณ์ และความคิดความเข้าใจ และเมื่อสังเกตการเต้นของชีพจรขณะข้างซ้ายทำกิจกรรม จะลดลงหลังจัดการความล้า 

สรุปผลการประเมิน คือ ผลของการจัดการความล้าทำให้ความเครียดลดลง (อาการสั่นลดลงแม้ว่าจะล้าอยู่บ้าง) ซึ่งพบว่า เป็นความล้าจากบุคลิกภาพที่ไวต่อความรู้สึกจนเครียด ซึ่งภาวะเครียดจนทำให้ใบหน้าสั่นกระตุกและเกร็งล้าคอสามารถลดลงหลังกิจกรรมการจัดการความล้าที่ทำได้ก่อนนอนและตื่นนอน ถือเป็นวิธีการบำบัดทางอ้อม สำหรับวิธีการบำบัดทางตรงเป็นไปได้ยากเพราะเป็นความล้าจากการพัฒนาบุคลิกภาพในวัยเด็ก นอกจากว่า กรณีศึกษาจะพยายามเรียนรู้และฝึกฝนทักษะการรู้คิดเชิงบวกด้วยตนเอง 


หมายเลขบันทึก: 519152เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2013 12:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2013 12:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ขอบคุณที่ให้ความรู้คะ พออ่านเรื่องนี้ถึงสังเกตว่า ตัวเองไม่ถึงหน้ากระตุกเวลาเครียด แต่จะปวดกราม (เคยมีคนสังเกตว่านอนกัดฟัน​) แบบนี้ควรบำบัดอย่างไรดีคะ

ขอบคุณมากครับคุณหมอ ป. สำหรับการนอนกัดฟัน ลองสังเกตว่า เป็นเฉพาะเวลาเครียดๆ ก่อนนอนหรือไม่ ถ้าเป็นอาจต้องลองฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าตามลำดับ หลับตา ตั้งแต่กล้ามเนื้อยักคิ้ว เกร็ง นับ 1-2-3 แล้วคลาย กล้ามเนื้อหลับตาแน่นๆ เกร็ง นับ 1-2-3 แล้วคลาย กล้ามเนื้อยักจมูก นับ 1-2-3 แล้วคลาย ทำหน้ายิ้มและทำให้หน้าเล็กที่สุด เกร็ง นับ 1-2-3 แล้วคลาย สุดท้ายกัดฟันแน่นๆ เกร็ง นับ 1-2-3 แล้วคลาย นับตรงนี้เป็น 1 รอบ ทำติดต่อกัน 3 รอบ 

ถ้าไม่ได้เป็นเวลาเครียด อาจเกิดจากระบบจิตประสาทสรีรวิทยา คงต้องตรวจควาามไวของการตอบสนองการรับความรู้สึกต่างๆ ว่าช้าหรือไม่ แล้วฝึกการรับความรู้สึกทีละด้านแล้วรวมกันแบบ Multisensory รวมทั้งฝึกสะกดจิตใต้สำนึกแล้วผ่อนคลายเฉพาะบริเวณที่ปวดกรามตรงข้อต่อ TMJ แบบ Pain Management ครับผม

ขอบคุณมากครับคุณปภังกร เป็นการเติมเต็มความรู้ได้ยอดเยี่ยมมากครับผม

ขอบคุณมากครับสำหรับดอกไม้จากคุณยายธี และพี่โอ๋ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท