เยือนประเทศเพื่อนบ้านลาว-เวียดนาม ทางรถยนต์ ไม่ไปไม่รู้


เมื่อสัปดาห์ที่สองของเดือนมกราคม 2556 ดิฉันได้มีโอกาสเดินทางไปราชการในทีมคณะผู้บริหารคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จุดประสงค์หลักของการเดินทางครั้งนี้คือไปเจรจาความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยประเทศเพื่อนบ้าน เอาเป็นว่าเรื่องไปราชการก็สำเร็จไปตามขั้นตอนและเป้าหมายที่วางไว้ก็แล้วกัน ส่วนที่อยากจะนำเสนอคือมุมมองต่อการเดินทางในครั้งนี้ ก่อนไปก็แอบเตรียมเหนื่อยในใจ ระยะทางจากพิดโลกไป เว้ นี่ร่วม พันกิโล เชียวนะ ดีที่พักครึ่งทางที่มุกดาหารก่อน ไหนๆ ก็ไหนๆ ไปก็ไป ตามแผนที่นี้เลยค่ะ 



ก่อนไปก็ตั้งใจว่าจะดูว่า เอะประเทศเพื่อนบ้านเขานี่จะมีป้าย หรือข้อความภาษาอังกฤษ แพร่หลายขนาดไหน อย่างไรบ้าง คือถ้าไปตามเมืองใหญ่ๆ ของประเทศไทยเรา ก็เป็นเรื่องปกติที่มีป้ายสองภาษากำกับไว้ให้นักท่องเที่ยวต่างชาติได้รู้ เรามาดูป้ายที่ถ่ายทันตามสถานที่ หรือข้างทางดีกว่า

เส้นทางที่ข้ามไปคือ มุกดาหาร สะพานมิตรภาพที่ 2 เข้าเมืองสะหวันนะเขต เซโน พะลานไซ ลาวบ่าว แล้วเข้าเขตกวางตรี เวียดนาม
พอเข้าประเทศลาวก็ได้ฝึกอ่านภาษาลาว พออ่านได้บ้างไม่ได้บ้าง แต่ก็พอเดาได้ ภาษาอังกฤษยังไม่ค่อยมี

ป้ายบริการห้องน้ำ ภาษาลาว ที่เมืองพะลานไซ  กรุณาซื้อตั๋วค่าห้องน้ำ  มีทั้งภาษาลาว เวียดนาม และอังกฤษ 

ไกด์ลาวว่า ไทยมาตรงนี้ทีไรเสียตัวให้ลาวทุกที เพราะต้องซื้อปี้ (ตั๋ว) ฮาาาา  อาคารจุดพักรถแล้วมีสินค้าท้องถิ่นของเมืองพะลานไซสร้างขึ้นโดยโครงการมิตรภาพ ญี่ปุ่น - ลาว ถ้าไม่มีจุดพักรถนี้คงแย่เหมือนกันเพราะ 200 กว่ากิโล ถนนไม่ค่อยดี แทบหาห้องน้ำ หรือ ปั้มน้ำมันไม่ได้เลย


พอเข้าใกล้ชายแดนเวียดนาม เริ่มเห็นภาษาเวียดนามมากขึ้น ข้ามเข้าเวียดนามก็ยังแอบเห็นภาษาลาวบ้าง แต่พอห่างเขตชายแดนไปแล้ว มีแต่ภาษาเวียดล้วนๆ ภาษาอังกฤษก็พอมีบ้างเฉพาะป้ายสำคัญๆ ส่วนป้ายขายสินค้านี่ ภาษาเวียดนามเป็นส่วนมากเลย ป้ายสองภาษาจะมีแต่ป้ายสำคัญๆ หรือร้่านค้าใหญ่ๆ เท่านั้น 



ในตัวเมืองเว้ มีใช้ชื่อภาษาอังกฤษเป็นชื่อร้าน ชื่อยี่ห้อ แต่ดูแล้วมีไม่มากเทียบกับพิดโลก บ้านเรานี่ใช้ชื่อร้าน ป้ายโฆษณาต่างๆ เป็นภาษาอังกฤษเยอะอยู่ แสดงว่าคนไทยก็คุ้นกับการใช้ภาษาอังกฤษอยู่ทุกวัน แต่ล่าสุดนี้ที่มีการสำรวจความสามารถภาษาอังกฤษคนไทยแพ้เวียดนามนะ แต่คงจะประกอบด้วยเหตุผลหลายประการทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง มีแง่มุมน่าคิดมากมาย อย่างไรก็ตามคงสรุุปรวมจากเฉพาะพื้นที่ไม่ได้ การใช้ภาษาก็เป็นไปตามบริบทที่มองเห็นและมองไม่เห็น 

ป้ายที่เห็นมากที่สุด มีเกือบทุกๆ50 เมตร คือ ป้ายร้านขายข้าว และขายขนมปังยาวๆ ที่เรียกว่า Bánh mì  (baguette) บาแกตต์ ใส่ใส้ พวกเราก็ซื้อชิม อร่อยใช้ได้เลย มีใส่พริกตามความชอบด้วย แซบทีเดียว น่าจะมีขายบ้านเราเนอะ เป็นฟาสฟู๊ดที่มีสารอาหารครบ ราคาถูก



ป้าย ร้านข้าว มีก๋วยเตี๋ยวด้วย 

ดิฉันส่งภาพให้เพื่อนเวียดนามดู เกี่ยวกับป้ายร้านข้าว เธอบอกว่า ที่เมืองเว้นี่ ข้าวกับหอย ข้าวหน้าหอย com hen (mussel rice) COM คือ ข้าว  เป็นที่นิยม ความนิยมคงเหมือนกับข้าวมันไก่บ้านเรานี่หล่ะเป็นอาหารของคนท้องถิ่นเพราะราคาถูก หอยแมลงภู่ตัวเล็กๆ มีเหลือเฟือเพราะติดกับทะเล <

เพื่อนบอกว่า ไอ้ข่าวกับหอยนี่เป็นอาหารท้องถิ่นพบแต่ในเมืองเว้ ถ้าเห็นที่เมืองอื่นแสดงว่าเป็นคนเว้ทำขาย คนเวียดนามนิยมทานข้าวนอกบ้านกันมากเหมือนกับบ้านเราเพราะเป็นการเข้าสังคมอย่างหนึ่ง อาหารรองจากข้าวคือ เฝอ และขนมปัง Bánh mì  (baguette) ที่เห็นขายอยู่ทั่วไป

รสชาติอาหารที่ไปครั้งนี้ออกจะเค็ม และทุกมื้อมีน้ำปลาพริกให้ไม่ขาด ไว้หารูปเจอจะเอามาเพิ่มนะคะ

Thank you Doan Pham Anh Khoi my PhD Mate at Massey University, New Zealand, for the information

ขอขอบคุณ แอน พาม เพื่อนเรียน ป.เอก ที่นิวซีแลนด์ ที่กรุณาให้ข้อมูลเชิงลึก

แวะร้านขนมเบเกอรี่มีชื่อ ได้เห็นขนมแปลกๆ หน้าตาเหมือนตะโก้ แต่ไม่ได้ซื้อ สอบถามเพื่อนว่าเป็นขนมที่มักใช้ในงานแต่งงาน ลักษระของขนมเป็นฝาที่ทำมาจากใบมะพร้าวหรือใบเตยประกบกัน เหมือนความรักของสามีภรรยา อัยยะ น่าจะซื้อมากินเป็นสิริมงคง ฮาาา ชื่อ ขนมผัวเมีย PHU THE ข้างในเป็นแป้งเหนียวใส่ใส้ อารมณ์เดียวกับขนมเข่งนะ 



ประสบการณ์ครั้งนี้มีค่ามาก แม้ว่าจะทรมานสังขารนั่งรถเป็นเวลานานๆ แต่ได้เห็นว่าเพื่อนบ้านเขาอยู่อย่างไร เขามีชีวิตอย่างไร บ้านเรือน อาหารการกินเขาเป็นอย่างไร เคยมีเพื่อนเวียดนามมาสองสามคน เข้าใจเขาขึ้นมากทีเดียว ถ้าเดินทางโดยเครื่องบินคงไม่มีอย่างนี้ ไม่ได้แวะตลาด ร้านขายของข้างทาง โดยมีไกด์ชาวลาวแนะนำ อยากให้ใครที่มีโอกาสออกไปดูบ้างว่าบ้านเมืองเขาเป็นอย่างไร จะเข้าใจเขามากขึ้น และความเข้าใจผิดต่างๆ ก็จะลดลง

แต่ละประเทศเพื่อนบ้านต่างมีวัฒนธรรม มีเอกลักษณ์ของเขาที่น่าสนใจ มีทั้งความเหมือนความต่าง เนื่องจากได้รับอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมและการปกครอง อย่างไรก็ตามเราควรพัฒนาความสัมพันธ์อันดี เพื่อการคบค้าสมาคมกันได้อย่างสงบและสันติในภูมิภาคอาเซียนแห่งนี้


นั่งรถตู้จากมุกดาหารไปเว้-ดานัง

หมายเลขบันทึก: 517569เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2013 12:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2014 14:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับคุณไก่..เอ๊ยไก๊ด์.

เวลาอ่านหนังสือถ้ายังไม่ได้ดื่มข้าวแฝ่. ภาษาคนคุกที่เรียกกาแฟ. มักอ่านผืดเสมอๆ น่าสนใจจริงๆแต่..ทำไมสั้นเหลือเกิน แม้ผมจะเป็นประเภทสูงวัยผมเคนตั้งใจว่าก่อนสิ้นลม อยากเดินทางไปเที่ยวให้ทั่วในย่านเอเซีย ไปทางบก. ที่ผ่านมาเคยไปเขมร..มาเลย์ พม่า - เฉพาะทางบกแถวๆชายแดนเท่านั้นเอง. เคยไปเป็นล่ามที่บังคลาเทศอยูเกือบ ๕ เดือน จบงานเสียก่อน แต่ไปทำงานจริงๆไม่ได้เที่ยวมากนัก พอถึงกำหนดพักเจ้านายจับขึ้นเครื่องกลับบ้านทันที พร้อมกับพูดให้ช้ำใจว่า..Hey..You better go home, no Lกฮ..no woman in Bangladesh. เลยต้องล้มเลิกความตั้งใจ ก่อนขึ้นเครื่องซื้อเหล้า ซีแกรม 7 มาหนึ่งขวด โดนพี่บังเอาเปรียบอีกต่างหาก พี่แกไม่ยอมรับเงินของตัวเองโดยบอกอีกว่า..No Taka ; Dollar only.หยิบขึ้นมาแล้วถ้าไม่ซื้อเดี๋ยวพี่บังจะหาว่าผู้เขียนใจเสาะ..มาเปิดขวดดื่มกับคนขับรถชัทเทิ้ลบัสที่ร้านแถวๆนาจอมเทียน แล้วจึงเข้าบ้าน..เที่ยวหน้าผมจะตามอ่านอีกน๊ะครับ ถ้าไปเที่ยวที่ไหนแล้วนำมาลงในบล๊อกอีก.

มิงกาลาบา.

โตนี่-ฟาง.

๒๘ ม.ค.๕๖

ขอบพระคุณท่าน  โตนี่ ฟาง ที่แวะมาอ่าน เก็บมาฝากเล็กน้อยจากการเดินทางค่ะ ต่อไปนี้หากได้ไปไหนจะเอามาเขียนอีก แต่จะยึดประเด็นหลักคือ ภาษาอังกฤษที่เห็นในบริบทอาเซียนนะคะ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท