หนูรี
นารี เอี่ยมวิวัฒน์กิจ ชูเรืองสุข

"เหนียวหลาม"



สมุดภาพอาหารการกินถิ่นใต้



ขอนำเสนอ 



"เหนียวหลาม" 




ภาพ : เหนียวหลาม หรือ ข้าวหลาม นั่นเอง


"ขนมจาก" 


จากหนังสือ กินดี มีสุข1 ลักหยบไว้ ในขนมบ้านบ้าน หน้า 38 เขียนเล่าเรื่องและวิธีการทำไว้

ดังนี้  ... " ต้นฤดูฝนเดือนหก หลามเหนียวหัวพรรษา"


  • ข้าวหลาม จะเลือกใช้ไม้ไผ่สีสุก เพราะ เจี๊ยหนา ( เจี๊ย = เยื่อไผ่ ส่วนที่ติดผิวข้าวเหนียวหลาม)
  • ลำไผ่ที่พอดี คือ พอแตกใบขิง หมายถึงไม้ไผ่ที่แตกหน่อใหม่ในปีนั้นๆ
  • หลังจากยืดลำเต็มที่แล้ว จะคลี่ใบ พอดีกับช่วงข้าวใหม่ออก
  • ข้าวใหม่ ไผ่สดหอมเจี๊ยนุ่มพอเหมาะ
  • นำมาตัดเป็นปล้องๆ ให้หัวท้ายยาวเท่า "ศอกกำ" (ศอกกำ คือ 1ศอกแล้วกำมือไว้)
  • จากนั้นใช้คมพร้า ปาดตาไม้ไผ่ออก เพื่อไม่ให้เก้งก้างเวลาตั้งย่าง
  • ภูมิปัญญาชาวบ้านกับการทำข้าวหลาม ...ก็เริ่มต้น
  • เตรียมข้าวเหนียว 10 กิโลกรัม มะพร้าว 10 กิโลกรัม (ตวงเหนียวเท่าพร้าว)
  • เรื่องเหนียวดำเหนียวขาว เหนียวดำจะล้วนๆจะแข็งร่วน
  • ให้ปนเหนียวขาว 5ส่วน เหนียวดำ 3ส่วน เหนียวหลามจะอ่อนพอดี
  • ล้างเหนียว 2-3 น้ำแล้วแช่ พอผุดหาด (แช่พอผุดหาด = น้ำที่แช่พอปริ่มๆข้าวเหนียว) 
  • จึงสงขึ้น วางพักให้สะเด็ดน้ำ 
  • คั้นกะทิด้วยน้ำอุ่น ใส่เกลือในกะทิ ชิมรสเค็มพอดี แล้วเติมอีก 1ช้อน คือปรุงให้เข้มข้นนั่นเอง
  • กรอกข้าวเหนียวใส่กระบอก เหลือช่องว่าง ปากกระบอกไว้ 1คืบ
  • แล้วเติมกะทอลงไปให้ท่วม สังเกต เวลาตะแคงกระบอกแล้วจะเห็นเม็ดข้าว
  • อุดกระบอกด้วยใยมะพร้าว หรือทางสาคู รองใบตองสองชั้น ค่อยหมุนเข้าไปให้พอแตะกะทิ
  • การหลาม
  • ต้องดูถ่านไม่ให้ไฟลุก เขี่ยให้เป็นถ่าน นิยมใช้กะลามะพร้าว หรือเศษไม้เนื้อแข็ง
  • ระวังอย่าให้ไฟไหม้ กระบอกข้าวหลาม คอยพลิกหมุน ให้โดนความร้อนทั่วๆ
  • ให้ "พอหรามๆ" ("พอหรามๆ" คือ พอเริ่มมีรอยเกรียมนิดๆ) ทิ้งให้พออุ่นมือจับได้
  • ลับมีด หรือ พร้าให้คม ปาดอุดปากกระบอกให้เรียบ 
  • ปอกและเหลาเปลือกให้เหลือบางๆ ขาวเกลี้ยงเกลา
  • เก็บไว้ได้นาน สามสีวันไม่บูด 
  • บางครั้งน้ำไปอุ่นโดยย่างเตาถ่าน พกพาเดินทางไปเยี่ยมญาติ 


<div><hr></div><ul><li>สรุปเนื้อหาจากเรื่องเล่าโดย ยายเหลื่อม ทองสุข อายุ 87 ปี หมู่ที่ 5 ตำบลแพรกหา  อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง</li><li>ขอบคุณค่ะ </li></ul><div><hr></div><p></p>


นารี ชูเรืองสุข 

วันที่ 27 มกราคม 2556

สวัสดีค่ะ 




หมายเลขบันทึก: 517565เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2013 11:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2013 16:16 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ชอบทานข้าวหลามแบบบ้านเรานะคะ ชนิดไม่ใส่น้ำตาลข้างในน่ะค่ะ 

แต่เวลาทานชอบจะเอามาจิ้มนมข้นหวาน (ตอนเด็กๆ ) 

แต่ตอนนี้ไม่ค่อยได้ทานค่ะ เพราะมันอ้วน

อ.จัน จันทวรรณ
พี่โอ๋ โอ๋-อโณ
พี่อร  Bright Lily
 คุณtuknarak
ขอขอบคุณสำหรับกำลังใจนะคะ :)

 พี่อรค่ะ

เหนียวหลามบ้านเรา รสชาติออกเค็มๆ กินกับแกงมั่สมั่น หรือ ไก่กอแหละ อร่อย :)

เห็นแล้วหิวขึ้นมาทันที คงอร่อยมากใช่มั้ยครับ

ข้าวหลาม -ไผ่
นิเวศวัฒนธรรมที่มหัศจรรย์ มากครับ

หนาวนี้ต้องชวนพี่น้องทำบ้างซะแล้ว...ชอบ ๆ สนุกดี

(อิ อิ  เพราะจริง ๆ แรงงานหลักอยู่ที่ผู้ชาย....ตัดกระบอกไผ่)

สวัสดีค่ะ อาจารย์สันติสุข สันติศาสนสุข

เหนียวหลามทางภาคใต้ รสชาติจะไม่หวานอย่างภาคกลาง ค่ะ :)



สวัสดีค่ะอาจารย์พนัส

แห่งภูมิปัญญาของคนแต่แรกเชียวค่ะ 

คนรุ่นหลังต้องช่วยกันรักษาให้คงไว้ 

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะน้องหมออ้อ

พี่แจ๋วยังไม่เคยคิดว่าอยากทำ อิอิ มันยากเกินกำลัง แค่คิดถึง ไม้ไผ่ ก็ลำบากมาเลย

เมื่อไหร่ที่ซื้อจะไม่ขอต่อรองราคาแม่ค้าเลย เพราะ กว่าจะเป็นข้าวหลาม แสนลำบากหนอ!

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท