Akha Ama coffee on the dental stage : เรื่องเล่าจากดอยสูง


ช่วงจบมาใหม่ปีที่ ๓  มีโอกาสรักษาการหัวหน้างานทันตสาธารณสุข  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย  รอพี่อาวุโสไปเรียนต่อกลับมาครองตำแหน่ง 

เจ้านายสมัยนั้น  ท่านนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดบอกว่า  หมอน่ะโชคดี  ได้ทำงานกับคนที่ค่อนข้างมีคุณภาพชีวิตที่ดี  คนที่จะสนใจสุขภาพช่องปาก  มักจะมีสุขภาพพื้นฐานอื่น ๆ ที่ค่อนข้างดีแล้ว

ความที่ยังเด็กมาก  ประสบการณ์ทำงานนิดเดียว  ไม่ค่อยเข้าใจนักว่าท่านต้องการสื่ออะไร  พอไปเรียนวิชาการสร้างเสริมสุขภาพเพิ่มเติม  มีสิ่งหนึ่งที่เป็นปัจจัยก่อน (prerequisite) ที่จะมี “สุขภาพ” ได้ คือ การศึกษา  ก็พอจะเข้าใจได้เลา ๆ 

กว่าจะเข้าใจมากขึ้นว่าการศึกษา  ไม่ได้หมายถึงเพียงแค่ในระบบเท่านั้น  การเรียนรู้นอกห้องเรียน  โดยเฉพาะการเรียนรู้ของชาวบ้านซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ที่เราทำงานด้วยนั้น  มาจากประสบการณ์ตรงในชีวิตมากกว่า 

ผ่านเลยมาอีกสิบกว่าปี  อยากจะพัฒนาสุขภาพชาวบ้านให้ยั่งยืน (คำนี้ยิ่งใหญ่มากสำหรับผู้เขียน)  โดยต้องมีวิธีการทำงานกับชาวบ้าน  เพื่อให้เป็นคนที่อยากเปลี่ยนแปลงเอง  ใช้สัดส่วนทรัพยากรที่มีของในชุมชนเองมากกว่าภายนอก 

เราผู้มาจากภายนอก  และแม้ว่าบางคนโชคดีได้ทำงานที่บ้านของตนเองหรือใกล้เคียง  แต่แน่ใจหรือว่าการศึกษาในระบบของประเทศไทยนี้  ไม่ได้หล่อหลอมให้เราเหินห่างจากรากฐานวิธีคิดของชาวบ้าน

จำเป็นยิ่งที่ต้องทำความเข้าใจในมุมมองของชาวบ้าน....จริง ๆ  ไม่หลอก  ไม่ปลอม  ก่อนจะอยากเป็นนักพัฒนาชุมชน

(โห.....คิดถึงความหลังฝังใจเรื่อง “ปุลากง”  ของคุณโสภาค  สุวรรณ....ขึ้นมาทันใด)

^_,^


ไปเชียงใหม่รอบสองในปี ๒๕๕๕  เมื่อ ๗ – ๙  พฤศจิกายน  ที่ผ่านมา

สงสัยว่าประกายตาเจิดจ้าส่งแววชื่นชมน้องลีชัดเสียยิ่งกว่าชัด  น้องอ้อทั้งสอง  ต้นอ้อและดอกอ้อ  จึงถูกวางตัวให้สนทนากับคุณลี  อายุ  จือปา  บนเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการ  เพิ่มศักยภาพการปฏิบัติงานทันตสาธารณสุขชุมชน  รับสมัครผู้เข้าประชุมทันตบุคลากร  พยาบาล  นักวิชาการสาธารณสุข  จากทั่วประเทศเพียง  ๑๕๐  คน  ณ โรงแรมฮอลิเดย์อินน์ เชียงใหม่

ชายหนุ่มคนไทยชนเผ่าอาข่า  ผู้ทำให้ป้า ๆ เหล่าทันตแพทย์ เมื่อ  ๖  เดือนก่อน  ที่ร้านอาข่าอาม่าคอฟฟี่ (Akha Ama Coffee)  หัสเดวีซอย ๓  เชียงใหม่  ทึ่งในประวัติการทำให้กาแฟจากจำนวนพันจากทั่วโลก  ถูกทดสอบในห้องปฏิบัติการที่ลอนดอน  โดยองค์กรกาแฟชนิดพิเศษแห่งยุโรป  กรุงลอนดอน  ปี ๒๐๑๐  คัดเหลือเพียง  ๒๑  ชนิด 

กาแฟหนึ่งเดียวเท่านั้นจากไทย  ที่ได้รับการยอมรับระดับสากล...เวทีนานาชาติ  รับรางวัลกาแฟชนิดพิเศษ  เพราะคนทำกาแฟดูแลชุมชน  ดูแลสิ่งแวดล้อม  ราคายุติธรรม 

แบรนด์อาข่าอาม่าคอฟฟี่มีส่วนพัฒนาคุณภาพชีวิตชนเผ่าอาข่า  ณ บ้านแม่จันใต้  อำเภอแม่สรวย  บ้านเกิดที่เชียงรายของน้องลี.....อย่างไร 

เป็นรายการ Hilight ที่ต้องจัดขึ้นตามบัญชาของเหล่าป้า ๆ  ที่คาดว่าผู้เข้าประชุมจะชื่นชอบด้วยแน่นอน

^_,^


ไม่ผิดหวัง  เสียงปรบมือกึกก้องหลังเวลาอาหารเที่ยงราวครึ่งชั่วโมง  ไม่มีใครยอมลุก  เชิญติดตามส่วนที่เก็บรายละเอียดมาได้นะคะ

ทั้งหมด  ๓๒ หลังคาเรือน  บ้านแม่จันใต้  อำเภอแม่สรวย  จังหวัดเชียงราย  ชาวบ้านนับถือบรรพบุรุษ  เชื่อเรื่องธรรมชาติ  สิ่งแวดล้อม 

ฤดูกาลเพาะปลูก  ปลูกพืชหลายชนิด  รายได้ คือ เหตุผล

ปี ๒๕๒๘  ขยายการศึกษา  มีโรงเรียนบนดอยสูง  ชาวบ้านอยากส่งลูกเรียน

เดิมเกษตรไม่ใช่รายได้เป็นหลัก  มีผัก  มีข้าวกิน  แต่โรงเรียนคงไม่รับค่าเทอมเป็นผัก  เป็นข้าว

จากปลูกพอกิน  พอแบ่ง  แลกกันกิน  เกิดการเปลี่ยนแปลง  จากแลกเป็นขาย  มีการต่อรองราคากัน

ค่าเทอมราว ๆ  ๒๕๐  บาท  ลูก ๆ  ๔ – ๕  คน  ค่าเทอมไม่มี  ค่ากับข้าวกับปลา  ค่าชุดนักเรียน

ตื่นเช้าทำกับข้าวให้น้อง  ลีเดินไปโรงเรียน  ๔ – ๕  กิโลเมตร  จากอนุบาลจน ป. ๖

อยากเรียนต่อ  ค่ากิน  ค่าที่พักเยอะกว่าค่าเทอมอีก  รุ่นเดียวกับลีที่ได้เรียนต่อ  ไม่ถึง ๒%


สิบกว่าปีก่อน  แต่ก่อนปลูกหลายอย่าง  เริ่มปลูกกาแฟ  สร้างเศรษฐกิจ  แต่ราคายังไม่สูง  ไม่รู้เรื่องราคา  พ่อค้าคนกลางบอกเท่าไหร่ก็เท่านั้น  พ่อค้าคนกลางเก่งการตลาด 

เดิมปลูกกาแฟ  ดูแล  เก็บ  แล้วก็ขาย  บางส่วนทำกระบวนการผลิต  กะเทาะเปลือก  ล้าง  แช่น้ำ  แล้วก็ตาก

มีหน่วยงานราชการและเอกชน  หน่วยงานต่าง ๆ เข้าไปแนะนำกระบวนการปลูกและผลิต  เกษตรที่สูง  โครงการหลวง

ทุกวันนี้ลีไปคุยเรื่องคุณภาพกาแฟ  ชาวบ้านไม่เข้าใจ  ก็ต้องทำกาแฟให้ชิม  ลองทานกาแฟของตัวเอง 

เพราะเดิมกาแฟไม่ใช่วัฒนธรรมของเรา  ความรู้สึกแรก รสชาติแบบไหนที่คนอื่นกินแล้วบอกว่ามีคุณภาพ  ให้ราคาดี  สร้างคุณค่า  สร้างคุณภาพ  ยกระดับกาแฟ 

แต่ไม่ถึงกับตั้งราคาเท่าแบรนด์ที่ราคาแก้วละเป็นร้อย   อยากให้ราคายุติธรรมต่อผู้ผลิต  ต่อผู้บริโภค  ชาวบ้านทั่วไปกินได้  ไม่ใช่แพงเพราะร้านหรู  ที่ชาวบ้านทั่วไปจะมีโอกาสได้ชิมกาแฟอร่อยไหม

ไม่ควรตามกระแสเรื่องราคากาแฟ  ความรู้สึกถือแก้วเก๋ ๆ เท่  ไม่ใช่คุณค่า 

ทุกวันนี้ไม่ควรยึดถือหน้าตา  ฐานะ  ยศ  เราควรนึกถึงคุณภาพชีวิต 

^_,^


การเรียนรู้  พ่อ  แม่  คือ ครูคนแรก  สร้างสังคม  สร้างครอบครัวอย่างมีความสุข  ส่งผลต่ออนาคต

โอกาสเท่าเทียม  เวลาเท่ากัน  จะทำอย่างไรให้เกิดผล  มีคุณค่ามากที่สุด

จบ ป. ๖  เรียนต่อที่ไหน  คุณครูบอกว่าต้องเรียนต่อ ม. ๑ นะแม่   ซึ่งที่บ้านเราไม่มี....ในเมืองเป็นอย่างไร....ไม่รู้

ครูบนดอย  ยากลำบาก  ส่วนใหญ่จบมาใหม่  เดินทางเป็นวัน  เดินเท้า  หน้าฝน  ถนนเป็นลำธาร

คนคิดนอกกรอบออกจากชุมชน  เป็นคนประหลาด

ยิ่งลีเป็นลูกคนโต  น้องอีก ๓  อะไรก็ใหม่  อะไรก็ครั้งแรก

พบพระธุดงค์  ท่านบอกว่ามีโรงเรียนที่ลำพูน  แต่ต้องบวช  ลีจึงได้บวชเรียนจนจบ ม.ต้น   

ลีชอบทำกิจกรรม  มัธยมปลายเป็นตัวแทนโรงเรียน

กลับบ้านไม่ถูก


เรียนปรัชญาชีวิต  นักธรรม  ประสบการณ์สะสม  ตั้งแต่ตัวเองเดินตามหาการศึกษา

จบ ม. ปลาย  เดินทางต่อที่ราชภัฎเชียงราย  เรียนไม่ค่อยเก่ง  พูดไม่ค่อยเก่ง  ภาษาไทยไม่เก่ง  ไม่ใช่ภาษาแรก 

อาศัยความพยายาม  เรียนรู้อะไรช้า  เพื่อนในห้องไม่ค่อยชอบ  ขยันเกิน

จากเกือบที่โหล่  ทุกคนก็อยากได้ที่ ๑

ทำไมต้องเครียดขนาดนี้  ทีคนอื่นเขายังเล่น  พระอาจารย์บอก  ต้องมีหย่อนบ้าง  อย่าไปตึงเกิน

ไม่เข้าใจหรอก


หาจุดแข็งกลบจุดอ่อน  มีผู้นำ  มีผู้ตาม  อยากได้ที่  ๑  จนลืมส่วนอื่นไป

ได้ทุน  และหารายได้จากขายของที่ไนท์บาร์ซา

ภาษาอังกฤษสามารถเป็น Passport ให้ลีได้

ตัวเอง  จบ ม.๖  เก่งมากแล้ว  ในชุมชนเป็นคนแรก

วันหนึ่งนึกถึงพระอาจารย์  คงไม่ใช่เล่ม Passport

เหตุผลเดียวที่เรียนภาษาอังกฤษ  จะกลับไปช่วยชุมชน

ได้รู้จักองค์กรนานาชาติตั้งแต่มัธยมปลาย  แม้เป็นเด็ก  ความคิดที่ดี  ผู้ใหญ่รับฟัง

คิดต่ออุดมศึกษา  สูงมาก


จบ ม. ๖  ขอพ่อกับแม่  พ่อแม่ก็.....เฮ้อ

สิ่งที่ลีพูดจากทฤษฎี  สิ่งที่พ่อแม่พูดจากประสบการณ์

ตำแหน่งสูง  พ่อแม่บอก  อะไรสูง ๆ

มีช่องว่าง

การเรียนรู้ของพ่อแม่มาจากประสบการณ์  เหมือนพี่ ๆ ในห้องนี้  ใช้ประสบการณ์ชีวิตโดยตรง

พูดอาข่านี่แหละ  แต่ไม่ค่อยเข้าใจ

พ่อแม่รับฟัง  เปิดมาก

จะไปเรียนมหาวิทยาลัย  ๔  ปี  แม่บอกว่าน้อยกว่ามัธยมเน้าะ .... (ฮาทั้งห้อง)

บอกแม่ว่า  ๓  ปี  แม่บอกว่าทำได้เหรอ

ดูหลาย ๆ มหาวิทยาลัย (ศึกษาข้อมูล)

เชียงรายมีหลักสูตรนานาชาติ  เป็นปีแรก 

ต้องตัดสินใจ  ต้องทดลอง


คะแนนสูง  สัมภาษณ์กับอาจารย์ฝรั่ง  คนสุดท้าย  ๔  โมงเย็น  เรานึกว่าอาจารย์อยากกลับบ้าน

เราเคยอาสา  พาเดินเที่ยว  เจดีย์นั้นเจดีย์นี้  แต่คงคุยเรื่องเจดีย์ไม่ได้แล้วล่ะ

เล่าเรื่องในวัด

ทำไมถึงอยากกลับไปชุมชนตัวเอง  อยากจะทำงานเพื่อสังคม 

มีโอกาส  เพราะอยู่ในวัด  มีหลายคนช่วย


ทุกคนในชั้นพูดภาษาอังกฤษเก๋  มาจากออสเตรเลีย  อินเดีย 

ลีเข้าห้องเรียน  นั่งหลังสุด 

แต่คงรออะไรไม่ได้  เพื่อนเดิน  ๑  ก้าว  เราต้องก้าว  ๒  ก้าว

ขอคุยกับอาจารย์  ๑๕  นาที  นอกเวลา  อาจารย์ฝรั่ง  ยินดีมาก  สังเกต Accent ของอาจารย์

จนกล้าพูด  กล้าแสดง  สามารถพูดสำเนียงดีกว่าเพื่อน ๆ หลายคน

Final เทอมแรก  คะแนนสูงสุดในโปรแกรม


อายุ  ๒๗  ปี  ทำไมชุมชนยอมรับ

ซื่อสัตย์ต่อตัวเอง  คำพูด  ทำจริง  ซื่อสัตย์ต่อผู้อื่น  พูดแล้วทำ

๒  ปี  ๘  เดือน  คะแนนสูงสุดในโปแกรม  เกียรตินิยมอันดับ  ๒

มีโอกาสฝึกงานกับมูลนิธิเกื้อฝันเด็ก  ช่วยเหลือน้อง ๆ  ค่ายผู้ลี้ภัย  ราชบุรี  ตราด

กัมพูชา  ไทยนี่  ทางเหนือยังมีสู่รบเยอะแยะ  พม่า  ลาว


ตอนที่เราคิกว่าโชคร้ายที่สุด  เกิดบนดอย

น้อง ๆ บางคนแขนขาด  พ่อแม่ไม่มี  วันนั้นบอกตัวเองว่า  โชคดีขนาดไหน  เกิดเป็นคนไทย  มีพ่อแม่

เขามีอุปสรรคเยอะ  พยายามใช้ชีวิตให้ได้  เรียนหนังสือให้ได้

จากที่คิดว่าเรามีอุปสรรคเยอะ  เบาเลย


ฝึกงาน  ๓  เดือน  โชคดีมาก  ถ้าได้ทำงานที่นี่ ช่วยเหลือน้องๆ  ให้กำลังใจด้านการศึกษา

วันสุดท้ายความฝันเป็นจริง  องค์กรบอกว่าเราซาบซึ้งช่วง  ๓  เดือนที่อยู่ด้วยกัน

ถ้าลียินดีที่จะมาเป็นเจ้าหน้าที่  เราก็พร้อมที่จะรับ  คำให้กำลังใจจากผู้ก่อตั้ง  ชาวสวิสเซอร์แลนด์

ความฝันกำลังจะเป็นจริง  คนแรกที่อยากบอกพ่อกับแม่  ไม่มีโทรศัพท์ 


บ่ายสามพรุ่งนี้ลีจะโทร.มา  ไม่ต้องไปไร่ไปสวน

ดีใจ  ขอเอาใจช่วย  ที่จะได้ช่วยเหลือคนอื่นด้านการศึกษา

รู้สึกว่าได้โอกาสเยอะมาก  ไม่อยากปล่อยให้โอกาสเสียไป

๓ ปี  มูลนิธิร่วมกับสถานทูตสวิส  สร้างหอพักให้โรงเรียนเก่า

สร้างห้องเรียนให้โรงเรียนเก่า  สภาพไม้ไผ่  ฝนตกต้องยกเท้าให้น้ำไหลผ่าน


๓  ปีครึ่ง  ลีรู้สึกว่าห่างจากชุมชน

มีคนเสนอทุนเรียนต่อต่างประเทศ  ขอบคุณเขาไป

ประสบการณ์ดี  เงินเดือนก็ดี  รู้สึกว่ากลับบ้านชาวบ้านทำงานหนักหนาสาหัสเหมือนเดิม

บอกพ่อแม่ว่า  ลีลาออกจากงานแล้วนะ  จากเดิมไปที่ไหน  หวังว่าพ่อแม่คงภูมิใจ

กลายเป็น  แม่บอกผมหน่อยทำอะไรดี  อ้าว ! ยากพ่อกับแม่อีก 


อยากช่วยชุมชนบ้านเรา  สร้างโอกาส  ยกฐานะ  น้อง ๆ  ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี

ถามแม่ว่า  ที่บ้านเรามีอะไรบ้าง  แต่ออกมาสักระยะ  การเปลี่ยนแปลงเราไม่ได้รู้ทุกอย่าง

ถ้าลีจะพัฒนาชุมชน  สร้างโอกาส  พัฒนาทางการศึกษา

โอกาสของครอบครัว  ส่งเสริมให้ลูกหลานตัวเองได้เรียน

บางครอบครัวไม่ได้วางแผนครอบครัว  มีลูก ๕ – ๖  คน  เรียนประถมพอได้


พ่อแม่ทำกาแฟ  ๑๐  ปี  ลีมาเริ่ม  ๒  ปี 

สังคมมองว่าเราเป็นเด็ก  ไม่มีประสบการณ์

จินตนาการ  เราเองต้องพิสูจน์ให้ดูก่อน

เขาไม่เข้าใจหรอก  ว่าปีหน้าราคากาแฟจะดีกว่า

ขายเมล็ดกาแฟของครอบครัว  ปลายมีนาคม.. ตลาดโลกมีปัญหา  ๓ ปีที่แล้ว

คนอื่นปิดกิจการ  ลีเปิดกิจการใหม่


เราไม่ได้มองแค่เงินเดือนตัวเอง  มองถึงชุมชน

กาแฟตัวเอง  ๒  ตัน  ๑,๕๐๐  กิโลกรัม  ทำกาแฟตัวอย่าง

มีคนเดียว  ออกไปข้างนอกปิดร้าน  ขอโอกาสเสนอกาแฟ

ทั้งโดนด่า  โดนชม  บางที่ดีรับไว้จะลองชิม  ขอบคุณนะน้อง  แล้วจะติดต่อกลับไป

ผ่านช่วงนั้นมาได้  เพราะไม่ได้ทำเพื่อตัวเอง  เมื่อรู้สึกไม่ไหว  คำ ๆ เดียว 

ถ้าเราไม่ทำ  แล้วใครจะทำ  ถ้าเราไม่เริ่ม  แล้วใครจะเริ่ม


ว่าตรงนี้มีอาม่าอาข่า  หรืออาข่าอาม่านี่แหละ

๙  เดือน แรก  ชงกาแฟให้กินฟรี  กี่แก้วก็ได้

มีคนกลับมาทุกวัน  วันแรกกลับมาคนเดียว

๑๐  ๒๐  เป็น  ๔๐   เดือนที่สิบ  แขกบ้านแขกเมืองมาเยี่ยมเชียงใหม่  ไปกินร้านนั้นไหม  เขาให้กินฟรี

เดือนที่สิบ  ไม่ฟรี  ๓๕  บาท  ลดราคาครึ่งหนึ่ง  ๑๗ – ๑๘  บาท


เทศกาลบอลลูน  ครั้งแรกที่มีรถตู้มาจอด  เต็มร้าน

ได้รางวัลแล้ว  แต่ไม่กล้าบอกใคร  อาม่า  อาข่า  อาข่า  อาม่า  ยังมีคนเรียกไม่ถูก

วันนั้นขายได้  ๒๐  แก้ว  ดีใจมาก  นักข่าวถ่ายรูป  ชื่อลีใช่ไหม

แมกกาซีนแรกที่ลง  แม่บ้าน  ใส่เล่มเล็กที่แนบ

บางกอกโพสต์  ไปทางเมืองนอก  คนไทยไม่รู้จักอีก

คนไทยชอบเข้ามาตอนฝรั่งไปแล้ว

สื่อ  บางกอกโพสต์ลงกระบวนการทำ  เรื่องของอาข่า

คนเขียน Blog  อยู่ที่ญี่ปุ่น

ดีใจ  ลึก ๆ คนไทย  ใจดีมาก  ไม่เคยจ่าย  ทุกคนพร้อม  แพรว  กรุงเทพธุรกิจ


ขอบคุณคนไทย

เหมือนบ้าน  มาเรียนรู้  แบ่งปัน  เรื่องราวของคนไทย  ชุมชน

ไม่ใช่กาแฟของลี

เริ่มจากจุดเล็ก ๆ  เติบโต  ช่วยได้มหาศาล

เวบไซต์   ลีภูมิใจที่จะบอกว่า  สวย  ทันสมัย  ใช้ Socialnetwork เป็นคนทันสมัย  ต้องทำให้สวย

Web designer  คนอเมริกัน  ช่างภาพอยู่ญี่ปุ่น  รัสเซีย


หลาย ๆ คน  หมอฟันกลุ่มน้อย  มีใจร่วมพัฒนาชุมชน  ทำงานร่วมกับชุมชน

หมู่บ้านของลี  ชาวบ้านส่งเสริมลูกไปโรงเรียนได้เยอะขึ้น  ไม่ต้องรอหน่วยงานเอกชน  ราชการที่จะมามอบการศึกษา  เขาดูแลปัจจัยพื้นฐาน  ช่วงชุมชนเรียนรู้ เรื่อง ความรู้ปลูกกาแฟ 


ยอมรับการพัฒนาพึ่งตนเอง  ไม่ใช่รอแต่คนอื่นเอามาให้


อยากรู้เรื่องกาแฟแบบสรุป ๆ  เชิญไปที่ร้าน  อยากรู้นาน ๆ ละเอียด  ต้องไปที่บ้านบนดอย

กาแฟเหมือนกัน  เมล็ดกาแฟเหมือนกัน  ต่างที่ส่วนผสม

คำถามจาก Floor  ลีประสบความสำเร็จมากมาย  หมู่บ้านอื่น ๆ เชิญน้องลีไปคุยบ้างไหม

มีเยอะพอสมควร  สมัชชาชนเผ่า  ทั้งไทยและนานาชาติ  เชิญคุยเรื่องพัฒนาการศึกษาถิ่นทุรกันดาร

สาขาพัฒนาชุมชนดีเด่น  ด้านการศึกษา  สังคมศาสตร์ มช.


ไม่ปล่อยโอกาสไปเลย  ใช้ชีวิตสมดุลทุก ๆ ด้าน


พัฒนาตนเอง  ครอบครัว  คน ๆ หนึ่ง  สามารถทำอะไรได้  เปลี่ยนตนเอง  เปลี่ยนคนอื่น  เปลี่ยนสังคม

พี่ ๆ คงมีประสบการณ์ชีวิตมากกว่า 


รู้สึกได้ว่า  ยาก  เป็นไปไม่ได้   ท้อได้  เหนื่อยได้  ออกจากกรอบตรงนี้ไป  หาเพื่อนที่พร้อมจะร่วมกับเรา  

อะไรก็ทำได้ดี  บวก  ให้เชื่อว่าเป็นไปได้  กำลังใจอยู่กับตัวเองตลอดไป  อย่าให้เสียหลัก  ให้กำลังใจตัวเองเยอะๆ


กำลังใจจากคนอื่นก็ดี  แต่กำลังใจจากตัวเองสำคัญยิ่งกว่า

เราได้เริ่ม  เราได้ทำ

^_,^

หมายเลขบันทึก: 516516เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2013 00:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มกราคม 2013 21:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

...

บันทึกนี้มีเรื่องราว
มีความยาวใช่เล่นเล่น
เนื้อหามีประเด็น
ชีวิตเป็นสิ่งดีงาม

ชีวิตหมอเพื่อมวลชน
เป็นสากลทุกเขตขาม
ลมหายใจในทุกยาม
ปฏิบัติตาม ... จักฟันดี

...

ว้าว ได้แค่นี้แฮะ ขออภัยคุณหมอธิ ;)...

อ่านแล้วได้แง่คิดดีๆค่ะ..ขอบคุณที่แบ่งปัน

ขอบคุณค่ะคุณหมอ

ชื่นชมและเป็นกำลังใจคนทำงาน คลุกวงในจริงๆค่ะ


กำลังใจจากคนอื่นก็ดี  แต่กำลังใจจากตัวเองสำคัญยิ่งกว่า

...
ยังไงก็ขอเป็นแรงใจเล็กๆ ให้คุณหมอนะคะ 
เคยบอกคุณหมอว่ากลับบ้านไปจะไปลองกาแฟที่นี่ แต่ยังไม่ได้ไปเลยค่ะ ;)
ฝันดีนะคะ

ว้าว !  สมกับเป็นกวีศรีครูเงา

ขอบคุณมากค่ะคุณครู Was

สวัสดีค่ะคุณป้าใหญ่  ขอบพระคุณมาก ๆ นะคะ

"คลุกวงใน"   ชอบจัง ๆ  ขอบคุณค่ะพี่อุ้ม  ^_,^

ขอบคุณมากค่ะคุณปริม  สำหรับแรงใจเล็ก ๆ แต่สม่ำเสมอ

ไม่ใช่ญาติ  ก็เหมือนญาติ  ขาดไม่ได้


โอกาสหน้ายังมีให้แวะไปชม  ชิม  ...แล้วจะชอบนะคะ  กาแฟอาข่าอาม่าและการสนทนากับเจ้าของร้าน

  • สวัสดีครับ ทพญ.ธิรัมภา
  • ขอบคุณ ที่นำประสบการณ์ดีๆ มีข้อคิดมาแบ่งปัน

ขอบคุณคุณเขียวมรกตที่แวะมาเติมกำลังใจกันนะคะ

เห็นด้วยค่ะ พ่อแม่คือครูคนแรก

ยอดเยี่ยมในการถ่ายทอด ชี้ให้เห็นถึงจุดสำคัญในเส้นทางชีวิตที่ไม่ยอมถอย เพื่อสร้างสุขให้ผู้อื่น หนุ่มลีหัวใจยิ่งใหญ่มากค่ะ งดงามในเรื่องราว ประทับใจ และขอบคุณคุณหมออ้อที่นำมาฝากให้ข้อคิด



ขอบพระคุณพี่นุชนะคะ  สำหรับ....เส้นทางสร้างสุขให้ผู้อื่น  ด้วยหัวใจยิ่งใหญ่ที่ไม่ยอมถอย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท