124 สานก๋วย...ช่วยได้หลายๆเรื่อง


ได้มีโอกาสไปร่วมกิจกรรม HAPPY GFGAP  กับทีม G2K ของชาวเชียงใหม่  ที่ไร่สวนบัวชมพู  อ. เชียงดาว  ของน้องแหม่ม  ได้เข้าไปสัมผัสกับบรรยากาศของคนในชุมชน  เลยได้เยี่ยมชมการทำงานของชาวบ้านหลายๆอย่าง  แต่ที่สนใจมาก  คือ เรื่องการสานก๋วย




“ก๋วย” หรือภาคกลางเรียกว่า “เข่ง”  เป็นภาชนะทำมาจากไม้ไผ่สำหรับบรรจุผลผลิตทางการเกษตร  ไม่ว่าจะเป็น ผัก  ผลไม้ หรืออื่นๆ


เท่าที่เคยรับรู้มา การสานก๋วยเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีการผลิตกันมากที่  อำเภอเชียงดาว  จ. เชียงใหม่  โดยเฉพาะที่ บ้านใหม่สามัคคี  ซึ่งชาวบ้านที่นี่จะยึดเป็นอาชีพเสริมอีกช่องทางหนึ่ง


โดยไม้ไผ่ที่นำมาสานก๋วย  ก็จะใช้ไม้ไผ่หลายชนิด เช่น  ไผ่บ้าน ไผ่ป่า และไผ่ซางป่า  และจะพบว่าชาวบ้านบางคนก็ปลูกไว้ใช้เองก็มี




จากที่ได้พูดคุยกับพี่สาวคนหนึ่งในภาพ (ขออภัยที่จำชื่อไม่ได้ )  ได้ความว่า ไม้ไผ่ที่นำมาสานควรมีอายุประมาณ 1 ปีขึ้นไป  และต้องใช้ไม้ไผ่สดเท่านั้น  เพราะไม้สดจะสานง่ายไม่หัก  ควรตัดไม้ไผ่ความยาวประมาณ  1  วา  กะโดยประมาณว่า “วาใครวามัน”  ผู้เขียนเลยแซวว่า  งั้นก็ได้ ก๋วยขนาดไม่เท่ากันเพราะแต่ละคนอาจจะมีความยาวแขนไม่เท่า  พี่เขาเลยสรุปว่า ประมาณ 1.5- 1.8 เมตร  อิอิ มีความสุขที่ได้แซว  ส่วนกรรมวิธีในการผลิตไม่ยากผู้เขียนไม่ขอกล่าวถึง  เพราะสามารถหาอ่านได้ทั่วไป




แต่ทีน่าสนใจ คือที่นี่มีการทำการซื้อขายแบบสหกรณ์ของชาวบ้าน  มีการประกันราคาในแต่ละวัน  เพื่อให้สมาชิกมั่นใจในราคาขาย  ด้วยการจัดตั้ง ‘กลุ่มอุตสาหกรรมในครัวเรือนบ้านจอมคีรี’ ขึ้นมา  เพื่อเป็นตัวแทนให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาเรื่องการกดขี่ราคาพ่อค้าคนกลาง  ต่อรองกับกลุ่มพ่อค้าคนกลาง  ด้วยการเปิดโอกาสให้พ่อค้าคนกลางเข้ามาประมูลราคาก๋วย  เพื่อความเป็นธรรม  นอกจากได้ผลกำไรจากที่ขายในแต่ละวันแล้ว  สิ่งที่ได้มากกว่านั้น คือ มีการคืนกำไรให้เมื่อสิ้นปี  ซึ่งกำนันเล่าว่าเพราะเป็นความต้องการของตลาดผลตอบแทนจึงคิดเป็นเงินจำนวนหลายแสนบาทซึ่งนับว่าไม่น้อยเลย 


 และที่น่าสนใจกว่า  คือ  “ก๋วยช่วยได้...หลายๆเรื่อง” 

 แล้วช่วยได้อะไรบ้าง ??  ลองตามอ่านดูนะคะ

     ·  อย่างแรก คือ ช่วยให้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์  เป็นเหมือนการทำงานอดิเรก

      ·  ช่วยสร้างรายได้

       ·  ช่วยสานสัมพันธ์  ความอบอุ่น ในครัวเรือนและชุมชน  เพราะกิจกรรมนี้สอนให้รู้จัก การแบ่งปัน  ร่วม

           มือร่วมใจ

       ·  ช่วยฝึกฝนให้เด็กๆรู้จักความภาคภูมิใจจากการรู้จักสร้างรายได้ให้ตนเองและครอบครัว  เพราะเป็น 

          กิจกรรมที่สามารถทำได้ในทุกกลุ่มวัย 

       ·  ช่วยให้เด็กๆรู้จักการอดออม  เพราะได้รับรู้จากประสบการณ์ตรงว่า  กว่าจะได้เงินต้องทำงานเหนื่อย

          เพียงใด

       ·  สุดท้ายคือ  เมื่อลูกๆรู้จักการอดออม  พ่อแม่และครอบครัวก็เป็นสุข 

             เมื่อหลายๆครอบครัวเป็นสุข  ชุมชนก็เป็นสุข  จนเกิดเป็น  “ชุมชนเพียงพอ” ที่สามารถพึ่งพิงตนเองได้อย่างแท้จริง   

            ท่านผู้อ่านเห็นด้วยไหมคะ ...

หมายเลขบันทึก: 509217เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2012 11:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 09:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

คนหน้าตาเฉย ได้รางวัลสุดคนึงเดือนตุลา ดีใจกันหน่อยครับคนหน้าเฉย

ค่ะช่วยได้มากมาย ในสิ่งดีๆทั้งส่วนรวมและครอบครัว มีความสุข

เราได้ทราบได้ชม ก็ชื่นชมเป็นแบบอย่างที่ดีมาก

หลายๆหมู่บ้าน ฯ นำเป็นแบบอย่างได้อย่างดี  นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท