แนวคิด/ นโยบายรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช




      วันนี้เข้าประชุมรับนโยบายรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช). ที่ห้องประชุมสำนักงาน กศน.  สาระสำคัญได้สรุปเป็นแผนที่ความคิดได้ดังนี้ 
     ภาคบ่ายไปร่วมงานกฐินพระราชทานกระทรวงศึกษาธิการ ที่วัดสามพระยาวรวิหาร เขตพระนคร กทม.


แนวคิด/นโยบายรมช.ศธ.(เสริมศักดิ์พงษ์พานิช). 
 
   1. อย่าปล่อยให้เดินหลงทาง
        แนะนำรัฐมนตรีได้
   2. หลักการทำงาน
        2.1หลักความเป็นธรรม
       2.2 หลักมนุษยธรรม
        2.3  หลักความเมตตา
         2.4 หลักการทำงานที่รวดเร็ว
                    _  เก่งไม่กลัวๆช้า
         2.5 หลัก บวร
                     บ้าน
                     วัด
                      โรงเรียน
    3.การแต่งตั้งโยกย้ายอย่าให้มีการซื้อขายตำแหน่ง
    4.  เห็นด้วยนโยบายครูคืนถิ่น แต่ต้องเกลี่ยให้เหมาะสม
     5.  เงินเดือนครูเลื่อนไหล
     6. นโยบายต่อเนื่อง
         6.1 ม.6-8เดือน__  เป้าแสนห้าหมื่นคน
         6.2  OTOP mini MBA   -- GDP เรายังไม่ถึงเป้างานนี้จึงช่วยเสริม
         6.3  กศน.อินเตอร์
          6.4  บ้านหนังสืออัจฉริยะ และการสร้างเสริมนิสัยรักการอ่าน
          6.5 ให้มีศูนย์วิทยาศาสตร์และท้องฟ้าจำลองทุกภาค
          6.6  เร่งรัด พรบ.ส่งเสริมกศ.ตลอดชีวิต
          6.6  กศน.เพื่อประชาชน-- ช่วยแก้ปัญหาภัยพิบัติ
    7. ย้ำนโยบาย รมต.ศธ
          7.1  การพัฒนาคุณภาพกศ.  ความรู้คู่คุณธรรม
           7.2  การขยายโอกาสทางกศ.
            7.3   การนำสันติสุขสู่ชายแดนภาคใต้
                     _ ขวัญกำลังใจแก่ครูในพื้นที่
                     _ ระบบ รปภ.ครู
            7.4  ยาเสพติด
                    _  ให้ความร่วมมือกันในการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง
                     _ ไม่เผลอไม่แผ่ว เพราะมันจะโผล่
           7.7     Tablet- จัดเพิ่มให้ครบ
            7.8    การนำการวิจัยมาใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง
             7.9 กองทุนตั้งตัวได้
             7.10 การปฏิรูปการเมือง_ให้ช่วยสนับสนุน
             7.11    งปม.ให้บริหารอย่างรวดเร็วไม่ให้มีเงินค้างท่อ
                      __    การบริหารจัดการเน้นGood Governance
              7.12   ป้องปรามการล่วงละเมิดทางเพศครูกับศิษย์
         8.การเพิ่มทางเลือกในการประเมินวิทยะฐานะ
         9.ลูกศิษย์เหมือนลูกของเรา
        10.   การครองตนให้ยึดเศรษฐกิจพอเพียง----  อย่าเอาเวลาราชการไปตีกอล์ฟ
         11.  การส่งเสริมอาชีพให้สอดคล้องกับศูนย์ศิลปาชีพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ

หมายเลขบันทึก: 508666เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2012 21:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 12:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

รับทราบค่ะ จะนำแนวคิดไปรับใช้ในการทำงานค่ะ

รับทราบค่ะ จะพยายามนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันให้ได้มากที่สุดค่ะ

ได้เห็นนโยบายของท่านรัฐมนตรีคนใหม่แล้วเห็นด้วยอย่างยิ่งถ้าการนำไปสูการปฏิบัติเป็นไปด้วยความโปร่งใส รวดเร็วมีความยุติธรรมค่ะ

ขอบคุณครูศิริพร ครูสุรินธร ผอ.ดวงตา และครูอินอรครับ

รับทราบครับ พร้อมนำสู่การปฏิบัติครับ

ด้วยความนับถือ..

สิ่งที่ได้อ่านจากการถอดความส่วนใหญ่เป็นหลักปฏิบัติ ที่ไม่ควรละเลย.. เป็นปกติธรรมดา..อยู่เดิม มีแนวคิด/ หลักคิดใหม่สำหรับการบริหารจัดการ เพียง ๒-๓ ข้อ เช่น เพิ่มทางเลือกเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ.. / สร้างศูนย์วิทยาศาสตร์ทุกภาค / ส่วนอื่นๆ ก็เป็นวิถีการงานตามปกติ ถ้ารัฐมนตรีมีนโยบายแค่นี้ ก็น่าผิดหวังอย่างมาก...

นานๆ เราจะได้นักบริหารการศึกษา ที่คิด พูด ทำ เกี่ยวกับการศึกษาอย่างเข้มข้น หรือนักบริหารที่ "เป็นงาน" ไม่นอกรีต นอกรอย เช่น น่าจะได้ยินคำพูดถึงทิศทางของหลักสูตร ถึงการจัดการโรงเรียน การอำนวยการแก่ครู-ผู้บริหาร ระบบสนับสนุนการเรียนการสอน คำพูดถึงหนังสือเรียน-สมุด-ดินสอ กระดานดำ-ชอล์ค อุปกรณ์กีฬา-วิทยาศาสตร์ กรอบการประเมินและปรับแก้หลักสูตร ห้องเรียน ผู้บริหาร ครูผู้สอน นักเรียน ข้อสอบ วิธีการเรียน-สอน-สอบ ระบบการสนับสนุนนักเรียนดีเด่นด้านต่าง ๆ การอนุเคราะห์นักเรียนที่ไร้โอกาส คุณภาพและมาตรฐานทางการศึกษาในระดับต่างๆ กลไกความร่วมมือระหว่างโรงเรียน บ้าน บ้านเมือง / ครู นักเรียน และผู้ปกครอง กลไกการประสาน ระหว่าง กศน. โรงเรียนในระบบ และเอกชน (บวร เป็นกรอบคิดที่ใหญ๋มาก แม้จะดีแต่พิสูจน์แล้วว่า มีผู้เข้าใจน้อยกว่าผู้ไม่เข้าใจ และผู้สับสน เข้าใจไขว้เขว...)

โรงเรียนเป็นส่วนหนึ่งของสังคมก็จริง แต่การพูดอย่างไม่จำแนกแจกแจงความสัมพันธ์ เชื่อว่าจะเป็น ระบบ Set ที่สับสน เช่น ร่วมมือปราบยาเสพติด (หน้าที่ของตำรวจ-นักปกครอง) / ร่วมมือปฎิรูปการเมือง..(หน้าที่ของรัฐสภา กกต พรรคการเมือง) / จัด Tablet (สำนักงบ-สำนักปลัด-สำนักเลขาฯ รมต.) / ฯลฯ ครู เป็นเพียงคนธรรมดา ที่ประกอบอาชีพ สร้างความรู้ให้แก่นักเรียนเท่านั้น ไม่มีอำนาจของระบบรองรัีบ มีแต่ศรัทธาที่ค้ำจุนเท่านั้น หากคาดหวังให้ครูทำอะไรหลาย ๆอย่างหลาย ๆ หน้าที่ คงผิดธรรมชาติไป..

ขออนุญาตเขียนความเชื่อของตนเองสักนิด.. ด้วยความนับถือ..อีกครั้ง...

รับทราบค่ะ ได้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องแล้ว คือ

    กศน.อินเตอร์   ได้ติดป้ายประชาสัมพันธ์ การลงทะเบียนเรียน English Program (ฟรี) ที่บอร์ดประชาสัมพันธ์ ของห้องสมุดแล้ว

     2. ขออนุญาตเรียนถามถึง หัวข้อ 6.4  บ้านหนังสืออัจฉริยะ และการสร้างเสริมนิสัยรักการอ่าน จากข้อมูลที่ทราบในเบื้องต้นและอ้างอิงได้คือ    "   สนง.กศน. ได้อนุมัติวงเงินงบประมาณจัดทำโครงการ บ้านหนังสืออัจฉริยะ จำนวน 450 ล้านบาท เพื่อจัดหาสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทต่างๆ ไว้บริการด้านข่าวสาร ความรู้ วิทยาการใหม่ ที่อาจปรับใช้ในอาชีพและการดำรงชีวิตได้ โดยจะจัดทำในทุกหมู่บ้านทั่วประเทศ       ในระยะแรกเริ่มปี 2556 นี้ จะนำร่อง 40,000 หมู่บ้าน และขยับขยายจนครบ 80,000 หมู่บ้านในปีถัดๆ ไป" 
     2.1 สำหรับ กศน. จังหวัดสมุทรสาคร  กำหนดหรือไม่ว่าแต่ละอำเภอต้องมีบ้านหนังสือกี่แห่ง 
     2.2  เท่าที่ได้ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของ รูปแบบ "บ้านหนังสืออัจฉริยะ" สงสัยว่า....จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องเป็นบ้านคน เป็นหอพัก, ร้านค้าในชุมชน ได้หรือไม่คะ  

ขอบคุณคุณHan Min ครับ ทุกความเห็นมีคุณค่าเป็นเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท