การเลือกใช้คำให้ตรงกับความคิดและการสื่อสาร


 การเลือกใช้คำให้ตรงกับความคิดและการสื่อสาร
ในชีวิตประจำวันของมนุษย์จะต้องมีการ สื่อสาร ไม่ว่าจะด้วยการพูด เขียน ฟัง หรืออ่าน  และการสื่อสารทุกระบบ จำเป็นต้องใช้ “ถ้อยคำ” ถ้าผู้สื่อสารมีความสามารถในการใช้ถ้อยคำ เช่น รู้จักความหมายของคำ รู้จักเลือกใช้ถ้อยคำ จะทำให้การสื่อสารไม่เกิดปัญหาหรือไม่มีอุปสรรคในทางตรงกันข้าม ถ้าผู้สื่อสารไม่เข้าใจความหมายของคำอย่างถ่องแท้ หรือไม่รู้จักเลือกสรรถ้อยคำให้เหมาะกับบุคคล กาลเทศะ การสื่อสารย่อมมีอุปสรรค

1.  ความหมายของคำ
   คำ  หมายถึง  เสียงพูดหรือลายลักษณ์อักษรที่เขียนหรือพิมพ์ขึ้นเพื่อแสดงความคิด เช่น ฉัน กับ เขา พ่อ เรียน กิน อยู่ ไป ฯลฯ
   คำแต่ละคำที่พูดหรือเขียน ยังไม่สามารถบอกได้ว่าคำคำนั้นมีความหมายอย่างไรเพราะคำบางคำอาจมีมากกว่า 1 ความหมาย แต่ถ้านำคำที่ต้องการพูดหรือเขียนมาเรียงเข้าเป็นถ้อยคำ วลี หรือประโยค ก็จะสามารถทราบความหมายของคำได้ เช่น

ประโยค   คำ   ความหมาย
ฉันรักครู     
พระฉันภัตตาหารเพล     
เราคุยกันฉันเพื่อน     
เขากลัวงู     
กวางตัวนี้มีเขายาว     
นักเรียนแข่งกันวิ่งขึ้นเขา     

   จะเห็นได้ว่า คำทุกคำย่อมมีความหมาย โดยเฉพาะลักษณะความหมายของคำไทยนั้น มีมาก ซึ่งจะกล่าวเป็นข้อ ๆ ดังนี้
1.1  คำที่มีความหมายกว้างและความหมายแคบ
คำที่มีความหมายกว้าง หมายถึง คำทั่ว ๆ ไป ที่มีความหมายไม่เฉพาะเจาะจง หรือมีความหมายเป็นชื่อหมวดหมู่ของคำอื่น ๆ
คำที่มีความหมายแคบ หมายถึง คำทั่ว ๆ ไปที่มีความหมายเฉพาะเจาะจงชัดเจน
ตัวอย่างคำที่มีความหมายแบบกว้างและแบบแคบ เช่น
ความหมายกว้าง   ความหมายแคบลง   ความหมายแคบกว่า
ดอกไม้ หมายถึง ส่วนหนึ่งของพรรณไม้ที่ผลิออกจากต้นหรือกิ่ง มีหน้าที่ทำให้เกิดผลและเมล็ดเพื่อสืบพันธุ์ ทั้งยังหมายรวมถึงดอกไม้ทุกชนิดที่ต่างสีต่างลักษณะ   กุหลาบ  ..................
.............................................
.............................................
.............................................
.............................................
.............................................
.............................................
   กุหลาบหนู หมายถึง
...........................................
............................................
............................................
.............................................
.............................................
.............................................

นักเรียน   …..........................................   ............................................
จากตัวอย่างข้างต้น มีข้อสังเกตว่า คำบางคำที่มีความหมายกว้าง อาจทำให้มีความหมายแคบลงได้โดยการเติมคำขยาย

1.2   คำมีความความหมาย 3 ระดับ
  คำที่มีความหมายโดยตรงและความหมายโดยนัย
1.2.1คำที่มีความหมายโดยตรง หมายถึง ความหมายเดิมของคำนั้น ๆ ที่ทั้งผู้พูดกับผู้ฟังหรือผู้เขียนกับผู้อ่านต่างเข้าใจความหมายได้ตรงกัน และเป็นคำที่ค้นหาความหมายได้จากพจนานุกรม
1.2.2คำที่มีความหมายโดยนัย  หมายถึง คำที่มีความหมายพิเศษต่างไปจาก
ความหมายเดิมทั้งยังเป็นความหมายที่ชักนำความคิดให้เกี่ยวโยงกับสิ่งอื่น ความเข้าใจความหมายโดยนัยได้ตรงกันนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับทัศนคติ ประสบการณ์ กาลเทศะ บุคคล ฯลฯ เช่น


ความหมายตรง   ความหมายโดยนัย   ความหมาย
สมศรีชอบกินหมูผัดกระเทียมพริกไทย     หมายถึง สัตว์สี่เท้าชนิดหนึ่งเลี้ยงลูกด้วยนมมีทั้งที่เป็นสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า

   ข้อสอบวิชาภาษาไทยคราวนี้หมูจัง   
   หมูมาแล้ว   
     ชื่อเล่นของคนที่ใช้เรียกขานกันระหว่างบุคคลที่สนิทสนม
     คนที่มีรูปร่างอ้วน เตี้ย ขาสั้น เดินต้วมเตี้ยม ฯลฯ
     คนที่หลอกลวงได้ง่าย โดยเฉพาะหลอกลวงในการซื้อขายสิ่งของ

1.2.3 คำที่มีความหมายนัยประหวัด คำที่มีความหมายให้ความรู้สึก
 คำที่มีความหมายตรงตัว  เช่น
  ดาว  หมายถึง  สิ่งที่เห็นเป็นดวงบนท้องฟ้าเวลามืด
  เก้าอี้  หมายถึง  ที่สำหรับนั่ง มีขา
  เพชร  หมายถึง  ชื่อแก้วที่แข็งที่สุดและมีน้ำแวววาวกว่าพลอยอื่น ๆ
  นกขมิ้น  หมายถึง  ชื่อนกชนิดหนึ่ง ตัวเท่านกเอี้ยง มีหลายสี
  กา  หมายถึง  ชื่อนกชนิดหนึ่ง ตัวสีดำ ร้อง กา ๆ
  ความหมายนัยประประหวัด คำที่ไม่ได้แปลความหมายตรงตัว  แต่จะแปลความหมายเปรียบเทียบ ซึ่งทุกคนในสังคมเข้าใจความหมายนั้นเป็นอย่างดี  อาจใช้ว่า คำที่มีความหมายโดยนัย หรือ คำที่มีความโดยอุปมา ก็ได้ เช่น
  ดาว  หมายถึง  บุคคลที่เด่นในทางใดทางหนึ่ง
  เก้าอี้  หมายถึง  ตำแหน่ง
  เพชร  หมายถึง  บุคคลที่มีคุณค่า
  นกขมิ้น  หมายถึง  คนเร่ร่อน ไม่มีที่พำนักเป็นหลักแหล่ง
  กา  หมายถึง  ความต่ำต้อย
ตัวอย่างการใช้คำที่มีความหมายนัยตรง-ความหมายนัยประหวัด
นัยตรง - นักเรียนช่วยกันจัดเก้าอี้ในห้องเรียน
นัยประหวัด - ส.ส.กำลังแย่งเก้าอี้กัน
 นัยตรง - เราจะเห็นดาวชัดเจนในคืนเดือนมืด
นัยประหวัด - ภราดรวดีเป็นดาวเด่นในการประกวดเชียร์ลีดเดอร์
 นัยตรง - ผู้หญิงชอบเครื่องเพชร
นัยประหวัด - ขุนช้างขุนแผนเป็นเพชรเม็ดงามประดับวงวรรณกรรมไทย
คำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน ใช้ตามปริบท
ในภาษาไทยมีคำจำนวนมากที่มีความหมายใกล้เคียงกัน คำบางคำอาจใช้แทนกันได้
บางคำแทนกันไม่ได้ เช่น
คำที่มีความหมายเกี่ยวกับ การทำอาหารให้สุก
คำ   ความหมาย   คำที่นำไปใช้
ปิ้ง     การทำอาหารให้สุกด้วยไฟ   กล้วยปิ้ง หมูปิ้ง ลูกชิ้นปิ้ง
ย่าง     
ต้ม     
ลวก     
ตุ๋น     
นึ่ง     
ทอด     
คั่ว     
คำ   ความหมาย   คำที่นำไปใช้
กักกัน     
กักขัง     
กักตุน     
เกลี้ยกล่อม     
ไกล่เกลี่ย     
แก้แค้น     
แก้เผ็ด     
ความรู้     
ความสามารถ     
จัดเจน     
ประสบการณ์     
ตรวจตรา     
ตรวจสอบ     
โปรด     
กรุณา     
เผลอ     
เผอเรอ     
เสียดสี     
เสียดแทง     
อุตลุต     
ชุลมุน     
กีดขวาง     
กีดกัน     
กระฉับกระแฉง     
กระปรี่กระเปล่า     
คุณค่า     
คุณภาพ     
ตรวจทาน     
คำ   ความหมาย   คำที่นำไปใช้
ทบทวน     
แก้ไข     
แก้ขัด     
มาก     
ชุม     
ชุกชุม     
ดก     
หนาแน่น     

1.3   คำที่มีความหมายเหมือนกัน
ภาษาไทยมีคำที่ใช้ในภาษามาก จึงมีคำเป็นจำนวนมากที่มีความหมายเหมือนกัน
คำที่มีความหมายเหมือนกันเรียกว่า คำไวพจน์ เช่น
คำสามัญ   คำไวพจน์
ผู้หญิง   กนิษฐ์ กัญญา กันยา กัลยา กัลยาณี  กานดา แก้วตา ขนิษฐา ขวัญตา โฉมฉาย โฉมยง ดรุณี  ดวงสมร ทรามวัย นงคราญ นงราม นงนุช นาฏ นงเยาว์ นงลักษณ์
......................................................................................................................................................................................................................................
...................................................................................................................
..................................................................................................................
พูด   
บ้าน   เรือน อู่ พระราชวัง กระท่อม อาศรม วัง ทับ คุ้ม
ประชุม   
ตาย   
พระจันทร์   แข จันทร์ บุหลัน อุฬุราชา  นิสากร แถง จันทิมา ศศิธร เดือน โสโม นิศากร นิสานาถ นิสาบดี …..............................................................................................
......................................................................................................................
......................................................................................................................
.....................................................................................................................
คำ   คำไวพจน์
พระอาทิตย์   ตะวัน รำไพ ภานุมาศ ไถง ทินกร ภาณุรังษี  ทิวากร วรุณ รวิ ประภากร สตรังษี  รพี  ภาสกร สหัสรังษี สุริยะ อังสุมาลี รังสิมา อาภากร สูรย์ นภัศจักษุ สาวิตร
..................................................................................................................
..................................................................................................................
...................................................................................................................
ดอกไม้   ....................................................................................................................
.....................................................................................................................
........................................................................................................................
......................................................................................................................
นก   ทวิช ทิชชาชาติ บุหรง ปักษา ...........................................................................
.....................................................................................................................
ภูเขา   พนม ภู คีรี บรรพต .........................................................................................
......................................................................................................................
พระมหากษัตริย์   ขัตติยะ บพิตร พระเจ้าอยู่หัว ภูบดี ไท ไท้ นรินทร์ นโรดม ธเรศ จักรพรรดิ  ภูวนาถ
ราช ราชา อดิศร ...............................................................................................
........................................................................................................................

แม้ว่าจะมีคำมากมายที่มีความหมายเหมือนกัน แต่คำทุกคำก็ใช้แทนกันไม่ได้เสมอไป ทั้งนี้ ควรคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ประกอบด้วย เช่น ระดับของบุคคล เวลา สถานที่ ดังตัวอย่างความแตกต่างของการใช้คำที่มีความหมายเหมือนกันต่อไปนี้
คำที่มีความหมายว่า กิน
     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสวยพระกระยาหารค่ำ
     คุณแม่นิมนต์พระมาฉันเพลที่บ้าน
     อาจารย์ไม่อยู่ค่ะ เพิ่งลงไปรับประทานอาหาร สักครู่คงกลับมา
     แดงวันนี้เราไปกินก๋วยเตี๋ยวเรือกันไหม
     แดงวันนี้เราไปฟาด ก๋วยเตี๋ยวเรือกันไหม
     หม่ำข้าวให้หมดก่อนลูก แล้วแม่จะพาไปเที่ยว
1.4   คำที่มีความหมายตรงกันข้าม
ถ้าต้องการให้คำใด  ๆ มีความหมายตรงกันข้ามกับคำเดิม อาจทำได้โดยเติมคำว่า
ไม่ หรือ ไม่ใช่ ไว้ข้างหน้าคำนั้น เช่น เปิด – ไม่เปิด สวย – ไม่สวย คางคก –ไม่ใช่คางคก กระโปรง – ไม่ใช่กระโปรง  แต่ก็ยังมีคำอีกจำนวนหนึ่งที่มีความหมายตรงกันข้าม โดยไม่ต้องเติมคำ ไม่ หรือ ไม่ใช่ เช่น
บุรุษ   สตรี   ยิ้มแย้ม     
เหนือ     แข็งแรง     
หนา     คดโกง   
สูง       สุภาพ   
ทู่       ความสุข   
เข้ม     เจ้าบ่าว     
2.  การเลือกใช้คำ
   แม้จะรู้ความหมายของคำ แต่ถ้าไม่รู้จักเลือกสรรถ้อยคำมาใช้ให้เหมาะสมกับความหมายที่จะสื่อ จะทำให้การสื่อสารไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ดังนั้น การเลือกใช้ถ้อยคำให้ถูกต้องเหมาะสมควรคำนึงถึงเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
2.1  การเลือกใช้ถ้อยคำตรงกับความหมาย
   ก่อนพูดหรือเขียน ควรจะรู้ความหมายของคำเหล่านั้นให้ถ่องแท้ก่อน แล้วจึงเลือกใช้ถ้อยคำให้เหมาะสมกับความหมาย เช่น
   
ถ้อยคำ   ข้อปกพร่อง   ประโยคที่ตรงกับความหมาย
เขากินทุกอย่างตั้งแต่ไปอยู่ต่างจังหวัด   ไม่ชัดเจน กิน มีความหมายได้ทั้งการรับประทานและคดโกงหรือฉ้อราษฎร์บังหลวง   
เขาเสร็จหรือยัง     
เขาเป็นคนใหญ่ที่สุดในการทำงาน     

2.2   การเลือกใช้ถ้อยคำให้ตรงตามความมุ่งหมาย
คำบางคำมีเสียงใกล้เคียงกันจนทำให้เกิดความสับสน และใช้คำไม่ได้ตรงตามความมุ่ง
หมาย เช่น
สูจิบัตร  -  สูติบัตร
สูจิบัตร  หมายถึง   ใบแสดงรายการต่าง ๆ ตามกำหนดเวลา
สูติบัตร   หมายถึง   เอกสารสำคัญที่แสดงถึงชาติกำเนิด วัน เดือน ปีเกิด บิดา มารดาของบุคคล เช่น
   เจ้าหน้าที่แจก...................ให้ผู้เข้าชมละครการกุศล
   นักเรียนทุกคนต้องแสดง..................ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ
2.3   การเลือกใช้ถ้อยคำให้เหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล
ภาษาเป็นเครื่องมือแสดงวัฒนธรรมอย่างหนึ่งดังนั้น จึงควรรู้จักเลือกใช้ภาษา หรือใช้
คำให้เหมาะสมกับสถานที่ โอกาส และฐานะของบุคคล เช่น การพูดหน้าชั้นเรียนแตกต่างกับการพูดที่บ้าน การสนทนากับอาจารย์แตกต่างกับการพูดคุยกับเพื่อน การกล่าวปาฐกถาในห้องประชุมแตกต่างกับการอวยพรวันเกิดเพื่อนที่บ้านเช่น
พรุ่งนี้อั๊วขอเจอลื้อตอน 8 โมงนะ
 (เพื่อนกับเพื่อน  แสดงความเป็นกันเอง) (นายจ้างกับลูกจ้าง แสดงความแตกต่างของฐานะ)
พรุ่งนี้ผมขออนุญาตพบอาจารย์ที่ห้องพักเวลา 8 นาฬิกาครับ
(ศิษย์กับอาจารย์ คำสรรพนามและคำกริยาจึงสุภาพเพื่อแสดงให้เห็นความเคารพนบนอบที่ศิษย์มีต่ออาจารย์)
2.4   การเลือกใช้ถ้อยคำที่ไม่กำกวม
การใช้คำกำกวมอาจทำให้เข้าใจความหมายคลาดเคลื่อนได้ เช่น
คำกำกวม   ใช้คำที่ไม่กำกวม
เธอซักเสื้อขาด
   เธอซักเสื้อจนขาด   เธอซักเสื้อตัวที่ขาดแล้ว   เธอซักเสื้อไม่ครบจำนวน
ผมชอบเงาะ
       
สุนัขวิ่งชนเก้าอี้ล้ม
       

2.5   การเลือกใช้ถ้อยคำไม่ซ้ำซาก
การใช้ถ้อยคำซ้ำกันหลายครั้งในการพูดหรือโดยเฉพาะการเขียนข้อความ ย่อมทำให้
ผู้ฟังหรือผู้อ่านเกิดความเบื่อหน่าย ทั้งยังทำให้ข้อความไม่สละสลวยได้ ดังนั้น จึงควรเลือกใช้ถ้อยคำที่แตกต่างกันแต่ก็ยังคงมีความหมายเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกัน เช่น
“แม้ว่าประเทศไทยจะเป็นประเทศเล็ก ๆ แต่ฉันก็มีความภูมิใจที่เกิดในประเทศ
ไทย ไม่ว่าฉันจะอยู่ประเทศใด ฉันก็ยังรักและหวงแหนประเทศไทย เพราะเป็นประเทศที่ฉันเกิดและเติบโตมาตั้งแต่เด็ก”
ข้อความข้างต้นใช้คำ ประเทศ ซ้ำกันอยู่หลายแห่ง อาจแก้ไขความซ้ำซากโดยใช้คำ
ต่าง ๆ ดังนี้
...........................................................................................................................................................................................................................................................................................
2.6   การเลือกใช้ถ้อยคำที่ทำให้เห็นภาพ
ถ้อยคำที่ทำให้เห็นภาพ หมายถึง คำที่ผู้อ่านหรือผู้ฟังเห็นภาพตามคำนั้น ประหนึ่งว่า
ได้รับรู้หรือสัมผัสร่วมไปด้วย
1)   ถ้อยคำเลียนเสียงธรรมชาติ
ถ้อยคำเลียนเสียงธรรมชาติเป็นถ้อยคำที่ใช้เทียบเคียงจากเสียงธรรมชาติ เช่น
เปรี้ยง เปรี๊ยะ โพละ เพล้ง ตูม ตู๋ม จ๋อม จ๊อก ๆ โครม ติ๊กต๊อก ฉ่า กรอบแกรบ เปาะแปะ ฯลฯ
2)   ถ้อยคำที่เกิดจากความรู้สึก
ถ้อยคำที่เกิดจากความรู้สึกเป็นถ้อยคำที่เกิดจากความรู้สึกของคนหรือสัตว์
เช่น
   อือ   แสดงความรู้สึก...............   โอย   แสดงความรู้สึก...................
   โถ   แสดงความรู้สึก...............   อ๋อ,อ้อ   แสดงความรู้สึก...................
   อุ๊ย,ว้าย   แสดงความรู้สึก...............   โธ่เอ๊ย   แสดงความรู้สึก...................
2.7   การเลือกใช้ถ้อยคำให้ถูกต้องตามชนิดของคำ
ภาษาไทยมีคำหลายชนิด ถ้าเลือกใช้ถ้อยคำแต่ละชนิดได้ถูกต้อง เหมาะกับบุคคล
กาลเทศะ ก็จะทำให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผล ดังการเลือกใช้ถ้อยคำบางชนิด ดังนี้
1)   การใช้คำนาม
การใช้คำนาม ต้องใช้ให้เหมาะสมกับบุคคลและความสุภาพของภาษาเช่น
กำหนดการ หมายถึง รายการต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ คำนี้ใช้สำหรับบุคคลสามัญ
หมายกำหนดการ มีความหมายเดียวกับกำหนดการ แต่ใช้สำหรับ
พระมหากษัตริย์  และพระอัครมเหสี
เมีย หมายถึง หญิงที่เป็นคู่ครองของชาย คำนี้ใช้ในภาษาพูด
ภรรยา มีความหมายเดียวกับเมีย ใช้ในภาษาเขียน
2)   การใช้คำลักษณนาม
การใช้คำลักษณนาม เช่น
คาถา     2   ..................
ธูป     5   .................
มโหรี     4    ..................
ไฟฉาย     3   ...................
ยา   ขนาน    เอก

3)   การใช้คำสรรพนาม
การใช้คำสรรนามต้องใช้ให้เหมาะกับฐานะของบุคคลและความสุภาพ เช่น สรรพ
นามแทนตัวผู้พูดควรใช้คำว่า ผม ดิฉัน แทน ข้า กู
สรรพนามแทนตัวผู้ที่พูดถึง เช่น ครู ควรใช้ว่า ท่าน แทน แก เขา
4)   การใช้คำอาการนาม
คำอาการนาม คือ คำที่มีการ หรือ ความ นำหน้า แต่ การใช้นำหน้ากริยา เช่น
การเรียน การร้อง การรำ ฯลฯ ส่วน ความใช้นำหน้าคำวิเศษณ์หรือคำที่แสดงความเป็นไปทางจิตใจหรือทางนามธรรม เช่น ความคิด ความเชื่อ ความรัก ความสามัคคี ความงาม ฯลฯ มีคำบางคำใช้ได้ทั้ง ความ และ การ นำหน้า แต่มีความหมายต่างกัน เช่น
.................เชื่อคนง่ายเป็นสิ่งไม่ดี (มุ่งถึงภาวะของกริยา)
ไสยศาสตร์เป็น................เชื่ออย่างหนึ่งของคนไทย (มุ่งถึงภาวะของนาม)
.............เสียสละ ครั้งยิ่งใหญ่ของพระเวสสันดร คือ ให้ทานลูกแก่ชูชก
พ่อแม่ควรปลูกฝัง..............เสียสละให้ลูกทุกคน
5)   การใช้คำกริยาช่วย
คำกริยาช่วยทำให้ความหมายของคำกริยาชัดเจนขึ้น เช่น
เขา............ทำการบ้าน     (เป็นคำกริยาช่วยแสดงความคาดคะเน)
เขา.............ทำการบ้าน     (เป็นคำกริยาช่วยแสดงกาลเวลา)
เขา...........ทำการบ้าน     (เป็นคำกริยาช่วยแสดงคำสั่ง)
เขา............ทำการบ้าน     (เป็นคำกริยาช่วยแสดงการแนะนำ)
6)   การใช้คำวิเศษณ์
คำวิเศษณ์บางคำมีความหมายคล้ายกัน แต่ใช้ต่างกัน เช่น
วิชัยตา.................มาแต่กำเนิด
น้องสาวของฉันหกล้มจึงเดินขา..................
เด็กคนนี้ฟัน................
ทั้งคำว่า เข  เป๋  เก มีความหมายเหมือนกัน คือ ไม่ตรง
คำวิเศษณ์บางคำมีความหมายเหมือนกันแต่มีที่ใช้ต่างกัน เช่น สวย หล่อ งาม ซึ่งหมายถึง ลักษณะที่เห็นแล้วชวนพึงใจ เช่น
     ผู้หญิงคนนั้น.....................
     พระเอกคนนี้รูป...............
     พระพุทธรูปองค์นี้................มาก
   การใช้คำวิเศษณ์ยังควรคำนึงถึงความสุภาพ และความรู้สึกของผู้ฟังด้วย เช่น
     ไม่ได้พบกันนาน เธออ้วนขึ้นมาก
ไม่ได้พบกันนาน เธอสมบูรณ์ขึ้นมาก
แม้คำว่า อ้วน  และสมบูรณ์ จะมีความหมายคล้ายกัน แต่การใช้คำ สมบูรณ์
แทน อ้วน จะสุภาพและให้ความรู้สึกที่ดีกับผู้ฟังมากกว่า
7)   การใช้คำบุพบท
การใช้คำบุพบทต่างกันจะทำให้ความหมายของข้อความแตกต่างกัน เช่น
เธอเก็บของไว้ในตู้
เธอเก็บของไว้ใต้ตู้
เธอเก็บของไว้บนตู้
คำบุพบทมีจำนวนมาก ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับข้อความ เช่น
เขาฝากของไว้...............เธอ
เขามอบเข็มที่ระลึก............เธอ
สมชายถวายภัตตาหารเพล..........พระภิกษุ
ข้าราชการต้องมีความรับผิดชอบ...........หน้าที่การงาน
8)   การใช้คำสันธาน
การใช้คำสันธานช่วยทำให้ข้อความติดต่อกันและสละสลวยมากขึ้น เช่น
ฉันไปเที่ยวทะเล.................เห็นแก่เธอ
พอวินิจกลับมาถึงบ้านคุณแม่............สิ้นใจ
...............ฝนไม่ตกแดดก็ออก
9)   การใช้คำต่างประเทศ
ปัจจุบันการใช้คำต่างประเทศแพร่หลายมาก ดังนั้น จึงควรเขียนคำต่างประเทศที่ใช้
ทับศัพท์ให้ถูกต้อง เช่น
บ๊วย   แชร์   เฉาก๊วย     กีตาร์   น้ำเก๊กฮวย   เต็นท์
ก๋วยเตี๊ยว   ลิปสติก     เตาอั้งโล่   บาสเกตบอล
คำต่างประเทศบางคำมีคำไทยใช้แทนได้ ก็ควรเลือกใช้ทำไทย เช่น

เขียม     ควรใช้คำไทยแทนว่า   .........................
ยี่ห้อ     ควรใช้คำไทยแทนว่า   ........................
แป๊ะเจี๊ยะ   ควรใช้คำไทยแทนว่า   .........................
แบงก์     ควรใช้คำไทยแทนว่า   ........................
เบลอ     ควรใช้คำไทยแทนว่า   ........................
เปอร์เซ็นต์   ควรใช้คำไทยแทนว่า   .........................
OK     ควรใช้คำไทยแทนว่า  .........................

10)   สรุป
การสื่อสารในชีวิตประจำวัน  เราสื่อสารโดยใช้คำ กลุ่มคำ หรือประโยค เพื่อถ่ายทอด
ความรู้ความคิด ความรู้สึกให้ผู้อื่นทราบ คำไทยมีความหมายตรงตามตัวอักษร เรียกว่า ความหมายนัยตรง แต่คำไทยคำเดียวนั้นมีหลายความหมาย  คำจะมีความหมายอย่างไร ขึ้นกับคำนั้นอยู่ในตำแหน่งใดของประโยค และบริบทหรือข้อความที่แวดล้อมเป็นตัวกำหนดความหมาย ซึ่งความนั้นอาจจะเป็นความหมายโดยนัยหรือความหมายแฝงที่ปรากฏในรูปสำนวนโวหารนอกจากนี้คำไทยยังมีคำที่มีเสียงหรือความหมายใกล้เคียงกันหรือคล้ายคลึงกัน ดังนั้นผู้เรียนจะต้องรู้ความหมายของคำ และรู้จักเลือกใช้ถ้อยคำให้เหมาะสมกับบุคคลและกาลเทศะด้วย การสื่อสารจึงจะสัมฤทธิผล

หมายเลขบันทึก: 508665เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2012 21:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 12:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท