ความรู้ จาก เรียนภาษาไทยกับครูสมเกียรติลักษณะสำคัญบางประการของภาษาไทย


 http://www.facebook.com/groups/275847539188364/files/

ใบความรู้ที่๑

วิชาภาษาไทย ๒    ท ๓๑๑๐๒  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔

ลักษณะสำคัญบางประการของภาษาไทย

  ภาษาไทยเป็นเครื่องมือติดต่อสื่อสารของคนไทยมาเป็นเวลาช้านาน  ภาษาไทยจึงเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่ก่อให้คนในชาติเกิดความผูกพันกันอย่างแน่นแฟ้น

  ภาษาไทยมีลักษณะเฉพาะเป็นของตนเอง  ภาษาไทยมีลักษณะสำคัญ ๓ ประการ

  ภาษาพูดประกอบด้วยเสียงและความหมาย

  ภาษาไทยมีพลังในการสื่อสาร

  ภาษาไทยเป็นสัญลักษณ์ในการสื่อความหมาย

๑.  ภาษาพูดประกอบด้วยเสียงและความหมาย

๑.๑ เสียงที่เปล่ง .............................  ...............................  ..............................

เช่นคำว่า(..............................)ประกอบด้วยเสียง  ................................  ........................

................................  ................................หมายถึงพื้นที่ราบทำเป็นคันกั้นน้ำเป็นแปลงๆสำหรับปลูกข้าว

๑.๒เสียงหนักเบา การออกเสียงคำในภาษาไทยไม่ออกเสียงเสมอกันทุกพยางค์

(ขีดเส้นใต้พยางค์ที่ออกเสียงหนัก)  หนังสือ  กุญแจ  ศิลา  หนังสือเรียน  กุญแจเลื่อน  ศิลาอาสน์  กรมพระยา  ชัยพฤกษ์  เกียรติยศ 

  บางคำพยางค์ที่ไม่ลงเสียงหนักเสียงเบาจะหายไป

คำ

ออกเสียงอ่านถูกต้อง

ออกเสียงเบาหายไป

อธิบดี

อะ-ทิบ-บอ-ดี

อะ-ทิบ-ดี

วิทยาลัย



โรงพยาบาล



สถานี



  คำภาษากลางบางหน่วยเสียงหายไปเมื่อใช้ในภาษาใต้

ภาษากลาง

ภาษาใต้

ภาษากลาง

ภาษาใต้

กำไร


สำลัก


สำหรับ


คำรน


ตลาด


กับแกล้ม


  การเน้นเสียงหนักเบามีความสำคัญต่อความหมายในประโยค

ประโยค

เน้นเสียง

ความหมาย

ใครตามหมอมา

ใคร



ใคร  ตาม


เขาเป็นลูกรักแม่

ลูก



ลูก  รัก


เด็กฉลาดเรียนดี

เรียน



ฉลาด  เรียน


ไก่ย่างหมดแล้ว

ไก่ย่าง/  หมดแล้ว



ไก่/  ย่างหมดแล้ว


คนขับรถมาแล้ว

คน/  ขับรถมาแล้ว



คนขับรถ/  มาแล้ว


หัวหน้าไปเล่นงานใคร






เธอเสนอตัวอย่างมาก






ลูกแมวน่ารักมาก






ทหารยามไปไหน






น้ำร้อนหมดแล้วหรือ









๑.๓ ท่วงทำนองเสียง  คือระดับสูงต่ำของเสียงที่ปรากฏเป็นลักษณะของประโยค

  ท่วงทำนองเสียงตก  เสียงต้นประโยคสูงกว่าท้ายประโยค

  ท่วงทำนองเสียงขึ้น  ต้นเสียงต่ำกว่าท้ายเสียงประโยค

เสียงตก

เสียงขึ้น

คะยั้นคะยอ

ซักถาม

บอกให้รู้

เรียกขาน

คำสั่ง

ถาม

ให้แน่ใจ

คุณซื้อเถอะนะ







เขาไม่รู้เรื่อหรอก







เขามาแล้วแหละ








คุณแม่ขา







เธอต้องไปนะ







เธอจะไปเร้อ







เธอจะไปไหน






  ๑.๔ เสียงสั้นยาว  เสียงสั้นยาวในภาษาไทยช่วยแยกความหมายของคำได้

  นักมวยมีเข่าดี  หมายถึง  ...................................................................................................

  นักมวยมีข่าวดี หมายถึง ....................................................................................................

  วันนี้เขามาโรงเรียน  หมายถึง  ..........................................................................................

  วานนี้เขามาโรงเรียน หมายถึง  .........................................................................................

    คำบางคำออกเสียงสั้นยาวไม่ตรงตามรูปเขียน

ไม้ 

เสียงยาว

เสียงสั้น

นกอยู่บนต้นไม้



เขาชอบเล่นไม้สั้นไม้ยาว



ประโยคนี้ไม่ต้องใช้ไม้ยมก



ม้าไม้ตัวนี้แข็งแรงมาก



บ้านของเขาสร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง



บ้านของเขาสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง



แม่พริ้มยิ้มพรายอยู่ชายไพร



แม่ตระเตรียมไปเมืองตรัง



พ่อค้ากว้านซื้อก้านมะพร้าว



ลูกๆดีใจที่ได้พบแม่



เขาเป็นคนดีที่ควรยกย่อง



เธอรู้สึกดีขึ้นมาก



อธิบดีท่านนี้ดวงกำลังขึ้น



โรงเรียนนี้ร่มรื่นมีรั้วรอบ



นักเรียนก็รื่นเริง



แบบทดสอบที่ ๑ วิชาภาษาไทย ๒ ท ๓๑๑๐๒

ลักษณะเฉพาะของภาษาไทย

นำตัวเลือก ก – ฌ  จากลักษณะภาษาไทยทางขวามือมาใส่หน้าข้อความ

ข้อ

ตัวเลือก

ข้อความ

ลักษณะภาษาไทย


เด็กๆหนีพี่เลี้ยงไปเล่นซุกซน จนเนื้อตัวมอมแมม

ภาษาไทยมีคำพ้องเสียง


พูดปากกล้าคารมคมเป็นกรด พูดประชดหมดสนุกเพื่อนลุกหนี

ภาษาไทยคำๆเดียวมีหลายความหมาย


  เสียง โหม่ง โหม่ง ฆ้องตีเคล้าปี่พาทย์

เสียงเตรง เตร่ง เตร๊ง ระราดซัดจังหวะ

เสียงตะโพน เท่งติง ติง เท่งปะ

เสียงกลองแขก โจ๊ จ๊ะ จ๊ะ โจ๊ โจ๊

ภาษาไทยมีคำซ้ำเสียงสื่อความรู้สึกเพิ่มขึ้น ลดลงหรือเปลี่ยนไปจากเดิม


เธอเลือกสรรเสื้อผ้าที่มีสีสันสดใสใส่ไปงานสังสรรค์คืนนี้

ภาษาไทยมีคำซ้อนเสียงเพื่อให้การสื่อความหมายชัดเจน


เมื่อเขาเป็นหวัด  เขาชอบเขียนหวัด

ภาษาไทยมีเสียงสูงต่ำต่างกัน ความหมายต่างกัน


คำว่านาน่าน้า  ปาป่าป้า ให้ยลยิน

ภาษาไทยมีวัฒนธรรมทางภาษา


เด็กเกิดมามีคำเรียกวงศ์ญาติ เช่น ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา พ่อ แม่

ภาษาไทยมีการนำคำที่ไม่มีความหมายมาสื่อ แต่ผู้อ่านเข้าใจ


ไก่ทำอาหารได้หลายอย่างเช่น ไก่ย่าง ไก่ทอด ไก่รวน ไก่เคเอฟซี ห่อหมกไก่ แกงไก่

ภาษาไทยมีคำความหมายเดียวกันแต่ใช้คำต่างกันขึ้นอยู่กับความรู้สึก


เธออย่าเดินหยุดๆ เร็วๆเข้า พี่ๆ กำลังรออยู่

ภาษาไทยมีคำเดียวกันความหมายต่างกันตามปริบท

๑๐


  จะกอดแก้วด้วยกลอนขจรกรุ่น

เป็นอกหนุนอุ่นเนื้อเมื่อนอนหนาว

จะร้อยดาวเรียงดวงเป็นรวงดาว

สว่างพราวกะพริบพริ้มชมฉิมพลี

ภาษาไทยใช้คำเกินจริงเพื่อให้เกิดความรู้สึก

พลังของภาษาไทย

๑.  ภาษาช่วยธำรงสังคม  ๒. ภาษาช่วยจรรโลงจิตใจ   ๓. ภาษาช่วยพัฒนาความคิด

๔. ภาษาช่วยกำหนดอนาคต  ๕. ภาษาช่วยแสดงความเป็นปัจเจกบุคล

คำสั่ง  ให้พิจารณาข้อความที่กำหนดให้  แล้วเขียนระบุความสำคัญของภาษา  (ใส่ตัวเลข)

ข้อ

ข้อความ

ความสำคัญของภาษา

เธอเป็นอะไรหรือเปล่า ดูหน้าซีดๆ ไปนะ


ระเบียบวินัยของโรงเรียนเป็นสิ่งที่เราควรปฏิบัติด้วยความเต็มใจ


ดีใจจังเลยที่ได้พบกันอีก  คุณสบายดีหรือเปล่า


คุณอย่ามาเถียงผม ผมสั่งให้ทำอย่างไรก็ต้องทำอย่างนั้น


มีอะไรไห้ดิฉันช่วยทำอีกไหมคะ งานคุณจะได้ไม่หนักเกินไป


หนังสือเล่มนี้เขียนดีมาก  อ่านแล้วได้รับความรู้เพิ่มขึ้นมากมาย


พรุ่งนี้ลูกต้องไปโรงเรียนแต่เช้า รีบรีบนอนเถอะเดี๋ยวตื่นสายนะ


อย่าออกไปตากฝนนะลูก เดี๋ยวจะเป็นหวัด


เพลงไม่อาจเปลี่ยนใจ  ฟังทีไรเพราะทุกครั้งเลยนะเธอ


๑๐

ฉันชอบกลอนบทนี้มากๆ แต่งได้ไพเราะจับใจเหลือเกิน





๒.ภาษาไทยมีพลังในการสื่อสาร

ภาษาไทยมีพลังในการสื่อสาร

๑.ภาษาช่วยพัฒนาความคิด

  การกระทำ

ความคิด  การพูด  ผู้รับความคิด(นำความคิดไปพัฒนาตนเอง)

  การเขียน

    พูดดี

  ใช้ภาษาได้ดี  มีความคิดดี    นักคิดที่ดี

      เขียนดี

      ฟัง  วิเคราะห์

หาประสบการณ์  ข่าวสาร  ข้อเท็จจริง    สังเคราะห์  เป็นนักคิด

  อ่าน  ประเมินค่า

สรุป......................................................................................................................................................

......................................................................................................................................................

แบบทดสอบความคิด

ใช้ความคิดอย่างมีเหตุผลให้มากที่สุด

๑.  ลองนึกดูก็ได้ถ้าท่านต้องการเข้ามาเรียนเพื่อให้ได้ชื่อว่าเรียนในโรงเรียนที่มีชื่อเสียง  แต่ท่านอาจจะไม่ได้รับความรู้ไปด้วย  ตรงกันข้าม  ถ้าท่านต้องการมาเรียนเอาความรู้  ท่านอาจจะได้ทั้งความรู้และการเรียนจบจากโรงเรียนที่มีชื่อเสียง

๑.โรงเรียนที่มีชื่อเสียงเป็นแหล่งรวมความรู้ที่สามารถสอบเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยได้

๒.การเรียนจบจากโรงเรียนที่มีชื่อเสียงจะมีคุณค่า ถ้าได้มาด้วยความตั้งใจจริง 

  ๓. คนมีพรสวรรค์ไม่ต้องเรียนในโรงเรียนที่มีชื่อเสียงก็ได้  ถ้ารู้จักพัฒนาตนเอง  ๔.คนเราแสวงหาความรู้จากที่ไหนก็ได้ ถ้าตั้งใจจริง

  ๒. วีระต้องการทำป้ายเลขที่บ้านด้วยพลาสติก จึงามขอคำนำจากครู

    นักเรียนคิดว่าวีระทำเช่นนี้เพราะเหตุใด

๑.  ไม่มีประสบการณ์ในการทำป้าย

๒.  ต้องการสร้างความมั่นใจให้กับตัวเอง

๓.  ต้องการศึกษารายละเอียดและวิธีทำเพื่อจะได้งานที่ผิดพลาด

๔.  ต้องการได้เทคนิคใหม่ๆเพื่อให้ผลงานสวยงาม ประณีตจากฝีมือตนเอง

๓.นิตยาจ้องดูการสาธิตประดิษฐ์ดอกไม้ด้วยผ้าใยบัวอย่างตั้งอกตั้งใจ

  นักเรียนคิดว่านิตยาทำเช่นนั้นเพราะเหตูใด

๑.  ชอบงานประดิษฐ์ดอกไม้ที่ทำด้วยผ้าหรือกระดาษ

๒.  งานประดิษฐ์ดอกไม้ที่ทำด้วยผ้าใยบัวเป็นของแปลกใหม่

๓.  คิดว่าการได้เห็นการสาธิตอย่างชัดเจนทำให้มีความมั่นใจที่จะกลับไปทำเอง

๔.  เชื่อว่าถ้าได้เห็นอย่างใกล้ชิดทุกขั้นตอน จะช่วยให้ทำดอกไม้จากใยบัวได้ดียิ่งขึ้น

  ๔.    ยามเยาว์เห็นโลกล้วน  แสนสนุก

  เป็นหนุ่มสาวก็หลงสุข  ค่ำเช้า

  กลางคนเริ่มเห็นทุกข์  สุขคู่  กันนอ

  ตกแก่จึงรู้เค้า  ว่าล้วนอนิจจัง

  ข้อใดไม่เป็นการสรุปความคิดของคำประพันธ์นี้

๑.  ต่างคนต่างใจ

๒.  ต่างวัยต่างทรรศนะ

๓.  ปัจจัยสำคัญอยู่ที่วัย

๔.  ความสำคัญของแต่ละวัย

๕.“นี่สมคิด  อาจารย์สุภาพให้เราส่งคำขวัญส่งเสริมการประหยัดและการออม ฉันคิดจะส่งคำขวัญนี้(ออมทรัพย์วันละนิด  เศรษฐกิจจะมั่นคง)  ถ้าเธอเป็นสมคิดจะตอบว่าอย่างไร

  ๑.  คำขวัญของเธอก็ดีนะ

  ๒.  ฉันจะไปคิดคำขวัญของฉันมาส่งบ้าง

  ๓.  ฉันอยากให้ทุกคนปฏิบัติตามคำขวัญของเธอจัง

  ๔.  ฟังคำขวัญของเธอแล้วทำให้ฉันอยากจะออมทรัพย์บ้าง

๖. กอบกุล “เรามาช่วยกันรักษาแม่น้ำลำคลองให้สะอาดกันเถอะ

  วนิดา  ...............................................”

๑.  เราจะชวนเพื่อนๆไปร่วมงานครั้งนี้ด้วยนะ

๒.  เรากำลังคิดจะรักษาแม่น้ำให้สะอาดอยู่พอดี

๓.  จะทำเมื่อไรบอกเราด้วยแล้วกัน

๔.  จะให้เราช่วยอะไรเธอบ้างล่ะ

๗. แม่ “อู๊ด  แม่ไม่จ้างคนรับใช้แล้ว ต่อไปให้ลูกมีหน้าที่ซักผ้ารีดผ้านะ

  อู๊ด ครับ  เลิกจ้างตลอดไปเลยแม่  ผมช่วยได้

  นักเรียนรู้สึกอย่างไรกับคำพูดของอู๊ด

๑.  เขาจะแบ่งเบาภาระหน้าที่ของแม่ไปได้มาก

๒.  ถ้าลูกๆทำเหมือนเขา จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในบ้านได้

๓.  เป็นการพูดเพื่อเอาใจแม่

๔.  เขาช่างมีน้ำใจดีต่อแม่จริงๆเลย

๒.ภาษาช่วยธำรงสังคม

  ภาษาเป็นเครื่องมือสื่อสารของคนในสังคมทำให้มนุษย์มีความเข้าใจกัน มีไมตรีต่อกัน อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข  เพราะภาษาเป็นสื่อในเรื่องต่อไปนี้

  ๑.  ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และระเบียบวินัยของสังคมของสังคม...............................................

  ๒.  ปฏิบัติตนเหมาะสมแกฐานะ............................................................................................

  ๓.  ปฏิบัติตามประเพณีวัฒนธรรมร่วมกัน

การใช้ภาษาให้เหมาะเพื่อการอยู่ร่วมกัน  ข้อความต่อไปนี้ความใดไม่เหมาะสมควรเปลี่ยนแปลง

ที่

ผู้ใช้

ข้อความ

แก้ไขให้เหมาะสม

พี่-น้อง

น้องบอกคุณย่าด้วยนะว่าพี่ไม่สนแล้ว


ลูก-พ่อ

คุณพ่อแก่แล้วไม่ควรดื่มโอยัวะวันละหลายๆแก้ว


เพื่อน-เพื่อน

โธ่เอ๋ย. น่านักเหลือเกินแล้ว


เพื่อน-เพื่อน

เราไม่อยากไปหาอาจารย์เล้ย กลัวแกด่าเอา


หัวหน้า-ลูกน้อง

พวกคุณอย่าคุยมากเลยจะเสียเวลา รีบทำเร็วๆ เข้าเถอะ


นักเรียน-ครู

กระผมในนามของนักเรียนชั้น ม.๔/๓ ขออวยพรให้อาจารย์มีความสุขตลอดปีใหม่นี้


๓.ภาษาช่วยให้เกิดการพัฒนา

  ภาษาเชื่อมโยงสังคม จาก  อดีต    ปัจจุบัน    สู่อนาคต

  สื่อสารสืบทอด

ความคิด  ความรู้  วัฒนธรรม  ศิลปกรรม  สถาปัตยกรรม 

   

ผยแพร่ทางสื่อ

  สังคม

 

นำมาพัฒนา  ชีวิต  สังคม

สรุป................................................................................................................................

  ภาษาช่วยให้เกิดความจรรโลงใจ

ความจรรโลงใจคือการค้ำจุนจิตใจไว้ให้มั่นคงด้วยความสุขใจ  ที่เราได้รับจากภาษา

ตอนเราเล็กๆ คุณแม่คุณยายเคยร้องเพลงกล่อมให้เราหลับ

  ฮาเฮอเหอ สาวน้อยเหอ  แม่สาวน้อยแก้มเกลื้อน

  อยู่สวยหวาเพื่อน  บาวบาวชวนกันมาหน้าปรอ

  ถ้าเป็นดอกไม้ดอกไหล้  สาวจะหักให้คนละช่อ

  บาวบาวชวนกันมาหน้าปรอ  ใจสาวมีช่อเดียว เหอ

จากเพลงข้างต้นให้เกิดความคิดจรรโลงใจอย่างไร....................................................................

....................................................................................................................................................

.....................................................................................................................................................

  นักเรียนอ่านเพลงพื้นบ้านข้างล่างนี้ว่าให้ความคิดจรรโลงใจอะไรบ้าง

  บุหงาตันหยง  กำพงน้องหนอดอกขี้เหล็ก

  จำได้ไหมน้องเรายังเด็ก  เราเขเรือลำเล็กไปรุนกุ้ง

  น้องสาวคิ้ววาด  เรือมันติดหาดพี่รุนจนรุ้ง

  เราเขเรือลำเล็กไปรนกุ้ง  น้ำพุ่งน้องเหอสองข้างแคม

.......................................................................................................................................................

.......................................................................................................................................................

.......................................................................................................................................................

........................................................................................................................................................

พิจารณาคำประพันธ์จากวรรณคดีว่าให้ความจรรโลงใจแก่ผู้อ่านเรื่องใด

ที่

คำประพันธ์

สิ่งที่สื่อให้เรารู้

จิตนางเปรียบอย่างชลาลัย

ไม่เลือกไหลห้วยหนองคลองละหาน

เสียดายทรงแสนวิไลแต่ใจพาล

ประมาณเหมือนผลอุทุมพร

สุกแดงดั่งแสงปัทมราช

ข้างในล้วนกิมิชาติเบียนบ่อน

เรารู้ใจมิให้อนาทร

จะพาคืนนครในราตรี

............................................................................

...........................................................................

............................................................................

............................................................................

............................................................................

...........................................................................

...........................................................................

...........................................................................

  โฉมแม่จักฝากฟ้า  เกรงอินทร์  หยอกนา

อินทร์เทิดเอา  สู่ฟ้า

โฉมนางจะฝากดิน  ดินท่าน  แล้วแฮ

ดินท่านขัดเจ้าหล้า  สู่สมสองสม

  โฉมแม่ฝากน่านน้ำ  อรรณพ แลฤา

เยียวนาคเชยชมอก  พี่ไหม้

โฉมแม่รำพึงจบ  ไตรโลก

โฉมแม่ใครสงวนใว้  เท่าเจ้าสงวนเอง


เจ้าร่างน้อยนอนนิ่งบนเตียงต่ำ



คมขำงามแฉล้มแจ่มใส

คิ้วคางบางงอนอ่อนละไม

รอยไรเรียบรับระดับดี



ผมเปลือยเลื้อยลงบนบ่า

งามปลายเกศาดูสมศรี



ที่นอนน้อยน่านอนอ่อนดี

มีหมอนข้างคู่ประคองเคียง


สำนวนไทยมีการเปรียบเทียบหรือกล่าวให้เห็นว่าภาษามีความจรรโลงใจ

สำนวน

ความหมายตรง และความหมายโดยนัย

กบเลือกนาย


เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า


ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด


เต่าใหญ่ไข่กลบ


ฟังไม่ได้ศัพท์จับไปกระเดียด


รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม


เสือเฒ้าจำศิล


เอากุ้งฝอยไปตกปลากะพง


1.กรุงศรีอยุธยาไม่สิ้นคนดี  :  สำนวนคำพังเพยประโยคนี้เป็นสำนวนเก่า ซึ่งอาจจะมีมาจากครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยาก็ได้เพราะปรากฏมีหลักฐานในเสภาขุนช้างขุนแผน ตอนเถรกวาดแก้แค้นพลายชุมพลตอนหนึ่งด้วยว่า " คนดีไม่สิ้นอยุธยา " สำนวนนี้เป็นความหมาย ี้อธิบายอยู่ในตัวแล้ว " คนดี " ก็คือคนเก่งหรือผู้มีความสามารถในทางต่อสู้และความคิดอยู่พร้อม  อย่าชะล่าใจนักจักเสียที.
2.กลิ้งครกขึ้นภูเขา : สำนวนนี้ มักจะพูดกันว่า ''เข็นครกขึ้นภูเขา ''  กันส่วนมาก แต่แท้จริง '' ครก '' ต้องทำกริยา '' กลิ้ง '' ขึ้นไปจึงจะถูก กล่าวคำว่า '' เข็น '' แปลว่า เรื่องที่กำลังจะทำหรือจะทำให้สำเร็จบรรลุผลนั้น ยากลำบากแสนเข็ญมิใช่ของที่ทำได้ง่ายนักเปรียบได้กับ การกลิ้งครกขึ้นภูเขาไปสู่ยอดเขา
กลืนไม่เข้าคายไม่ออก : แปลว่าหมดหนทางที่จะทำหรือไม่รู้จะทำอย่างไรดีหรือ เป็นการทำให้ตัดสินใจไม่ถูก เพราะจะไม่ทำลงไปก็ไม่ดี ทำลงไปก็ไม่ดีเป็นการยากที่จะตัดสินใจทำลงไปได้ง่าย เหมือนก้างปลาหรือเศษอาหารอะไรอย่างหนึ่ง เข้าไปติดอยู่กลางลำคอกลืนก็ไม่เข้าคายก็ไม่ออก.
3.กว่าถั่วจะสุก งาก็ไหม้ : สำนวนพังเพยนี้ มาจากการคั่วถั่วกับงาในกระทะเดียวกัน ถั่วเป็นของสุกช้างาสุกเร็วมัวรอไห้ถั่วสุก งาก็ไหม้เสียก่อน สำนวนนี้หมายถึงการทำอะไรสองอย่างพร้อมกันหรือทำอะไรสักอย่างที่ไม่รอบคอบ มัวคิดแต่จะได้ทางหนึ่งต้องเสียทางหนึ่งในความหมายอีกแง่ก็แปลว่าการทำอะไรมัวรีรออยู่ ไม่รีบลงมือทำเสียแต่แรกครั้นพอลงมือจะทำ ก็ไม่ทันการเสียแล้วเพราะคนอื่นเขาเอาไปทำเสียก่อน.

4.กำขี้ดีกว่ากำตด : ความหมายว่า ได้ในสิ่งที่เห็นหรือเป็นของได้แน่ ดีกว่าคิดอยากได้ในสิ่งหรือของที่ไม่เห็นเหมือนไม่มีตัวตน การกินการอยู่ใครไม่สู้พ่อ การพายการถ่อพ่อไม่สู้ใคร : สำนวนนี้อธิบายความหมายอยู่ในตัวแล้วแสดงว่า เรื่องกินแล้วเก่งจนไม่มีใครสู้แต่ถ้าเรื่องงานแล้วยอมแพ้ ซึ่งแปลว่าขี้เกียจนั้นเอง.
5. กินที่ลับไข่ที่แจ้ง : สำนวนนี้ มีความหมายไปในทำนองที่ว่า ทำอะไรไว้ในที่ลับแล้วอดปากไว้ไม่ได้เอามาเปิดเผย ให้คนทั้งหลายรู้เพื่อจะอวดว่าตนกล้าหรือสามารถทำอย่างนั้นได้โดยไม่กลัวใครผิดกฎหมาย อะไรทำนองนั้นหรือไม่กลัว 
6.กินน้ำใต้ศอก : หมายไปในทางที่ว่าถึงจะได้อะไรสักอย่างก็ไม่เทียมหน้าหรือไม่เสมอหน้าเขา เช่นหญิงที่ได้สามี แต่ต้องตกไปอยู่ในตำแหน่งเมียน้อย  ก็เรียกว่า "กินน้ำใต้ศอกเขา" ที่มาของสำนวนนี้ คนในสมัยก่อนอธิบายว่า คนหนึ่งเอาสองมือกอบน้ำมากิน มากิน อีกคนหนึ่งรอหิวไม่ไหวเลยเอาปากเข้าไปรองน้ำที่ไหลลงมาข้อศอก ของคนกอบน้ำกินนั้นเพราะรอหิวไม่ทันใจ.
7.กินบนเรือน ขี้รดบนหลังคา : แปลว่าคนที่เนรคุณคนเปรียบได้กับคนที่อาศัยพักพิงบ้านเขาอยู่แล้ว คิดทำมิด ีมิชอบให้เกิดขึ้นภายในบ้านนั้น ทำให้เจ้าของบ้านที่ให้อาศัยต้องเดือดร้อนคนโบราณเอาลักษณะของแมวที่ไม่ดี คือกินแล้วไม่ขี้ให้เป็นที่กลับขึ้นไปขี้บนหลังคาให้เป็นที่สกปรกเลอะเทอะเพราะคนสมัยก่อนต้องการให้หลังคาสะอาดเพื่อรองน้ำฝนไว้กิน
จึงเอาแมวชั่วนี้ มาเปรียบเทียบกับคนชั่วที่ไม่รู้จักบุญคุณคน.
8.กินปูนร้อนท้อง : สำนวนนี้มาจากตุ๊กแก ว่ากันว่า ตุ๊กแกที่กินปูน (ปูนแดงที่กินกับหมากพลู )
มักจะทำอาการกระวนกระวาย ส่งเสียงร้องแกร็กๆ เหมือนอาการร้อนท้องหรือปวดท้อง
จึงนำเอามาเปรียบกันคนที่ทำพิรุธหรือทำอะไรไว้ไม่อยากให้ใครรู้แต่เผอิญมีใครไปแคะได้ หรือเรียบเคียงเข้าหน่อยทั้ง ๆ ที่เขาไม่ได้เจตนาเจาะจงแต่ตัวเอง ก็แสดงอาการเป็นเชิงเดือดร้อนออกมาให้เขารู้ สำนวนนี้มักพูดกันว่า  "  ตุ๊กแกกินปูนร้อนท้อง  ".
9.กินน้ำเห็นปลิง : แปลว่า สิ่งใดที่ต้องการ ถ้าสิ่งนั้นมีสิ่งที่น่ารังเกียจ หรือไม่บริสุทธิ์ก็ทำให้รังเกียจหรือตะขิดตะขวงใจไม่อยากได้
เปรียบดังที่ว่าปลิงเป็นสัตว์น่ารังเกียจอยู่ในน้ำ เวลากินน้ำมองเห็นปลิงเข้าก็รู้สึกรังเกียจขยะแขยงไม่อยากกิน
สำนวนนี้มีนักเขียนเอามาเขียนเอามาตั้งเป็นชื่อหนังสือเล่มหนึ่ง.

10.เกลียดขี้ขี้ตาม เกลียดความความถึง : สำนวนนี้  ไม่ทราบที่มาหรือมูลของสำนวนแน่ชัด
แต่ก็เป็นที่รู้ ความหมายกันทั่วไปว่า หมายถึง การที่คนเราเกลียดสิ่งไหนแล้วมักจะได้สิ่งนั้นเปรียบได้กับชายที่เกลียด ผู้หญิงขี้บ่นจู้จี่แต่มักลงท้ายกลับไปได้ภรรยาขี้บ่นจู้จี่เข้าจนได้.
11. เกลียดตัวกินไข่ เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง : สำนวนนี้มีความหมายแตกต่างกับประโยค " เกลียดขี้ขี้ตาม " เพราะแปลความหมายไปในทางที่ว่าเกลียดตัวเขาแต่อยากได้ผลประโยชน์จากเขา หรือของ ๆ เขา  ตามความหมายเปรียบเทียบของสำนวนที่ว่าเช่นเกลียดปลาไหลในรูปร่างของมัน  แต่เมื่อเอามาแกงมีรสหอม
ก็ทำให้อดอยากกินแกงไม่ได้ถึงแม้จะไม่กินเนื้อปลาไหลเลยก็ตาม.
12.แกว่งเท้าหาเสี้ยน : หมายถึงคนที่ชอบทำอะไรเป็นการสอดแทรกเข้าไปยุ่งกับเรื่องของผู้อื่นเข้า จนกระทั้งกลาย เป็นเรื่องกับตัวเองจนได้เสมอ เรียกว่าชอบสอดเข้าไปเกี่ยวสำนวนในปัจจุบันเปลี่ยนไปใช้เป็นว่า " แกว่งปากหาเท้า " 
เสียแล้ว เพื่อให้ความชัดเจนขึ้น.
13.ไก่กินข้าวเปลือก : สำนวนคำพังเพยประโยคนี้ ถ้าพูดให้เต็มความก็ต้องพูดว่า " ตราบใดที่ไก่ยังกินข้าวเปลือกอยู่ ตราบนั้นคนเราก็ยังอดกินสินบนไม่ได " เข้าใจว่าเป็นคำพังเพยของจีน ๆ เอามาใช้เป็นภาษาของเขาก่อน แล้วไทยเราเอามาแปลเป็นภาษาไทยใช้กันอยู่มากในสมัยก่อน ๆ.
14.ใกล้เกลือกินด่าง  : หมายความว่า  สิ่งที่หาได้ง่ายหรืออยู่ใกล้ไม่เอา  กลับไปเอาสิ่งที่อยู่ไกลหรือหายากเปรียบได้ว่าเกลือหาง่ายกว่าด่าง  ความหมายอีกทางหนึ่งหมายถึงว่าอยู่ใกล้กับของดีแท้ ๆ  แต่ไม่ได้รับเพราะกลับไปคว้าเอาของที่ดี  หรือมีราคาด้อยกว่าคือด่างซึ่งมีรสกร่อยหรืออ่อนเค็มกว่าเกลือ.

15.พกหินดีกว่าพกนุ่น  : คำว่า  " พกหิน "  หมายถึง  ใจคอหนักแน่น  เปรียบเหมือนเอาหินหนัก ๆ มาไว้กลับตัว  ส่วน  "  พกนุ่น "  หมายถึง  ใจเบา  หรือหูเบาเอนเอียงง่าย  เพราะนุ่นเป็นของเบา  สำนวนนี้จึงหมายถึง  ทำใจคอให้หนักแน่นไว้ดีกว่าหูเบาหรือใจเบา  หลงเชื่อคำของคนอื่น.
16.พบไม้งามเมื่อขวานบิ่น  :  สำนวนนี้  ใช้เป็นความหมายโดยเฉพาะกับผู้ชายเราที่บังเอิญมาพบผู้หญิงสวยงาม  ถูกใจอย่างแท้จริงคนหนึ่งเข้า  แต่ก็เป็นการสายเสียแล้ว  เพราะวัยของคนชราภาพหรือมีครอบครัวเต็มทีแล้ว  ก็เท่ากับว่า  สังขารของคนชราภาพหรือมีครอบครัวเต็มทีแล้ว  ก็เท่ากับว่า  สังขารของตนไม่อำนวย  เพราะ  " ขวาน "  ที่จะใช้การก็มามีอัน  " บิ่น "  ตัดไม้หรือตัดอะไรไม่ได้เสียแล้ว.
17.  พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ
  :  หมายถึง  การเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขจากของเดิมให้มันผิดแผกแตกต่างออกไปทั้งหมด  หรือคิดว่าจะทำอย่างนี้  แต่กลับเปลี่ยนแปลงไปทำอีกอย่างในลักษณะตรงกันข้าม  เปรียบได้กับ  หลังมือและหน้ามือ.
18. พิมเสนแลกกับเกลือ  : หมายความว่า  ยอมลดตัวเองไปทำในสิ่งที่ต่ำกว่า  หรือไม่คู่ควรกัน  ความหมายของ  " พิมเสน "  ย่อมมีราคากว่า  " เกลือ "  การทำตนเองให้มีราคาตัวของตนตกต่ำลงไปก็เท่ากับว่า  เอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ.

19.ชาติเสือต้อง

หมายเลขบันทึก: 508661เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2012 21:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 12:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท