ดร.กฤษฎา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษฎา สังขมณี

การเงินและการธนาคาร เทอม 2/ 2555 หมู่ 02


Good morning my lovely students

Today , Monday November , the twelve , 2012.

New semester and first year in SSRU.

You will graduate soon so you must know everything in finance and economic world.

 We 'll communicate in my blog, assignment , home works and so on.

Thank you for joining us , go together and receive your success.

My students : early to visit Bank of Thailand , search knowledge and present your impression in that Palace in my BLOG. (ไปได้เลย ไม่ต้องรอให้พาไป ได้ความรู้อะไร ประทับใจสิ่งใด เขียนใส่ Blog ส่งภายใน คืนวันเสาร์ 17 พ.ย. 55 ใ่ส่รูปแต่ละคนด้วยจะได้รู้ว่าไปจริงๆครับ)

 On Tuesday 13 Nov. I’ll go to research in the field of finance at Samut Songkram Province all day so all of you won’t go to class but do your assignment with best effort.

  Your Professor

   Dr. Krisada


My students

        Thursday - Sunday this week, all of you must go to Siam Paragon 5th. floor. "SET in the CITY " over there.

         Search and collect information in finance and economic and send me in our blog before Monday 26 Nov.

                                      Dr. Krisada , your professor


My students

     Assignment for this week. 

           1. Search many many pictures about financial instrument such as cheque , government bond , common stock , prefer stock and etc. send in our blog before Sunday night.

           2. Study the detail of financial instrument for your quiz in the next class.

                               Your Professor

                                      30/11/12


Your hero (father) are so smart.

Tomorrow our class will cancel .

Faculty of Management Science will arrange the candidate to speak and sell ideas in order to manage our faculty in the next term.  

                               Your Professor

       

                                 10/12/2012



Tomorrow our class will cancel .

Faculty of Management Science will have a Christmas & New Year celebration party from 7.30-14.00.

See you in January 2013.

                          Your Professor

       

                                 24/12/2012


My students

         The topics "Government Financial Policies" this morning. I guide all of you to search the Financial Policies of Yinglak Cabinet. Analyze and send me in our blog with in Sunday 27 Jan. 2013.

                              Your Professor

       

                                 22/1/2013


My students

     

Baht currency in this period is so strong when compare with the hard currencies. Analyze this situation and the BOT. role 

and send me in our blog with in Sunday 3 Feb. 2013.

                         Your Professor

       

                               1/2/2013



หมายเลขบันทึก: 508440เขียนเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2012 11:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2013 21:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (230)

นักศึกษาแสดงความเห็นได้เลย นัดหมายกันไปโดยใช้ Blog นี้ก็ได้นะครับ

                            ผ.ศ.ดร.กฤษฎา

พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่ในตำหนักใหญ่ วังบางขุนพรหม และตำหนักใหญ่วังเทวะเวสม์ ซึ่งมีความงดงามทางสถาปัตยกรรมเป็นอย่างยิ่ง การจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ให้ทั้งความรู้และความเพลิดเพลินเป็นอย่างยิ่ง โดยใช้เทคนิคต่าง ๆ ที่ดึงดูดความสนใจ มัทั้งการนำระบบแสง-เสียง เทคนิคฉากละคร (Diorama) ระบบมัลติมีเดีย ระบบคอมพิวเตอร์กราฟิก ฯลฯ ภายใน พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย มีห้องจัดแสดงต่างๆดังนี้ 1.ห้องจัดแสดงสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เงินตราในภูมิภาคสุวรรณภูมิและวิวัฒนการเงินตราไทยจนเป็นกษาปณ์ในปัจจุบัน 2. ห้องธนบัตรไทย จัดแสดงวิวัฒนาการ การใช้เงินกระดาษในระบบเงินตราไทย ตั้งแต่ “หมาย” “ใบพระราชทานเงินตรา” “อัฐกระดาษ” “บัตรธนาคาร” “ตั๋วเงินกระดาษ” หรือ “เงินกระดาษหลวง” มาจนถึงธนบัตรที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ 3. ห้องธนบัตรต่างประเทศ มีจอภาพขนาดใหญ่ให้ความรู้เรื่องธนบัตรต่างประเทศจากทั่วโลก พร้อมจัดแสดงธนบัตรในบอร์ดกระจกที่เราสามารถพลิกชมเองได้ทั้งสองด้าน โดยจัดแสดงธนบัตรในกลุ่มประเทศที่สำคัญซึ่ง ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นสมาชิก อาทิ กลุ่มผู้นำประเทศอุตสาหกรรม (G8)และกลุ่มธนาคารแห่งประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEACEN) 4. ห้องประวัติและการดำเนินงาน ธปท. สิ่งที่เราได้เรียนรู้เริ่มจาก ตราพระสยามเทวาธิราช ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง สิ่งจัดแสดงที่โดดเด่นได้แก่ พระปรมาภิไธยในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ครั้งเสด็จมาที่วังบางขุนพรหมในปี ๒๔๘๙ เหรียญที่ระลึกในพิธีเปิดธนาคารแห่งประเทศไทยในปี ๒๔๘๕ พระเกรียงที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงใช้ในพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารสำนักงานใหญ่หลังปัจจุบัน ในส่วนของเนื้อหา เราได้ทราบประวัติและการดำเนินงานของธนาคารแห่งประเทศไทย ตั้งแต่ปี ๒๔๘๕ ถึงปัจจุบัน วิสัยทัศน์ พันธกิจ โครงสร้างองค์กร บทบาทหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง โดยผ่านสื่อที่น่าตื่นตาตื่นใจ เช่น Computer Kiosk 2D Animation และเกมสนุก ๆ มากมาย 5. ห้องเชิดชูเกียรติ แสดงประวัติและวัตถุที่ระลึกจากผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยทุกท่าน 6. ห้องสีชมพู ในอดีตเคยเป็นห้องท้องพระโรงสำหรับอาคันตุกะสำคัญของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ตลอดจนใช้ในการทำบุญเลี้ยงพระและการพิธีต่าง ๆ รวมทั้งฉายภาพยนตร์ในคืนวันเสาร์ การตกแต่งห้องสีชมพูนี้งดงามกว่าห้องอื่นด้วยมีลวดลายปูนปั้นเดินลายทองทั้งที่ผนัง กรอบของช่องเปิดและฝ้าเพดาน 7. ห้องนี้อยู่ติดกับห้องสีชมพู สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงตั้งพระทัยให้ห้องนี้เป็นห้องรับรองอาคันตุกะของหม่อมเจ้าประสงค์สม ชายา ปัจจุบันห้องนี้ประดิษฐานพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ ซึ่งพระราชทานแก่ธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๙ 8. ห้องนี้จัดแสดงพระประวัติของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตไว้อย่างสมบูรณ์ด้วยวีดิทัศน์เรื่อง “เจ้าฟ้านักบริหาร แบบอย่างของผู้ทรงนำคุณประโชยน์เพื่อแผ่นดิน” นอกจากนี้ ยังนำเสนอเพลงพระนิพนธ์ผ่านทางหุ่นจำลองวงปี่พาทย์ไม้แข็งครบวง สำหรับวัตถุประกอบการจัดแสดงนั้น ที่น่าสนใจจะเป็นของใช้ที่ มีตราประจำพระองค์ เช่น จาน เครื่องแก้ว ของที่ระลึกที่ประทาน “แหนบบริพัตร” นอกจากนี้ ยังมีเครื่องบินบริพัตรจำลอง โน้ตเพลงลายพระหัตถ์ รวมทั้งหุ่นจำลองขนาดเท่าพระองค์จริงในฉลองพระองค์จอมพลทหารเรือที่โดดเด่น จุดสุดท้ายที่ดึงดูดใจผู้ชมอย่างมากคือ หุ่นจำลองตำหนักประเสบัน ที่เมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย และฉลองพระองค์ชุดสุดท้ายของพระองค์ที่มหาดเล็กคู่พระทัยถอดเก็บไว้บูชาหลังจากสิ้นพระชนม์ และทายาทได้นำมามอบให้พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อการจัดแสดงและระลึกถึงพระองค์ 9. ห้องวิวัฒนไชยานุสรณ์ อยู่ใกล้ห้องสีน้ำเงิน ครั้งสมัยที่ยังเป็นวังบางขุนพรหม ห้องนี้เคยใช้เป็นห้องบรรทมของหม่อมเจ้าประสงค์สม ชายาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เมื่อธนาคารใช้ตำหนัก วังบางขุนพรหมเป็นสถานที่ทำการนั้น ห้องนี้ใช้เป็นห้องทำงานของผู้ว่าการ ตั้งแต่พระองค์แรก “พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย” ซึ่งเป็นพระอนุชาของหม่อมเจ้าประสงค์สม จนกระทั่งถึงสมัยผู้ว่าการคนที่ ๑๐ “นายนุกูล ประจวบเหมาะ” สิ่งที่น่าสนใจคือตู้ติดผนังที่มีช่องเก็บเอกสารที่พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย ทรงร่างแบบเองดังปรากฏหลักฐานเป็นต้นฉบับลายพระหัตถ์ในเอกสารจดหมายเหตุของธนาคารแห่งประเทศไทย 10. ห้องประชุมเล็ก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต โปรดดนตรีทั้งไทยและสากล โดยทรง นิพนธ์เพลง ไว้ถึง39 เพลง แต่เดิมห้องนี้จึงเคยเป็นห้องเก็บเครื่องดนตรีของวังบางขุนพรหม เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยใช้ตำหนักวังบางขุนพรหมเป็นสถานที่ทำการ จึงใช้ห้องนี้เป็นที่ประชุมผู้บริหารสำหรับพิจารณากำหนดนโยบายการเงินที่สำคัญของประเทศมาโดยตลอด ห้องนี้มีรูปหล่อครึ่งตัวของ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย คนที่ 7 ซึ่งอยู่ในตำแหน่งยาวนานกว่า 12 ปี บางครั้งห้องนี้จึงถูกเรียกว่า “ห้องดร.ป๋วย” ส่วนที่ข้าพเจ้าประทับใจ คือการแกะสลักแบบพิมพ์นั้นทางธนาคารไม่ได้นำของจริงมาจัดแสดงแต่ ได้นำแบบพิมพ์มาจัดแสดงให้ดูแทนเนื่องจากเป็นความลับ การแกะสลักแบบพิมพ์นั้นจะต้องใช้ความปราณีตและสมาธิในการแกะเป็นอย่างมาก ซึ่งการเข้าชมในครั้งนี้ข้าพเจ้าได้รับประสบการณ์และความรู้เป็นอย่างมากทำให้ข้าพเจ้ารู้คุณค่าของเงิน และการใช้เงินอย่างเป็นประโยชน์

สิ่งที่ได้รับจากการไปที่ธนาคารแห่งประเทศไทย คือ การที่ได้เข้าไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย และได้รับความรู้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งในพิพิธภัณฑ์มี 2 ชั้น คือ ชั้นล่าง มีห้องเปิดโลกเงินตราไทย ห้องธนบัตรไทย ห้องธนบัตรต่างประเทศ ห้องเปิดโลกการเรียนรู้ ส่วนชั้นบน ห้องประวัติและการดำเนินงาน ธปท. ห้องเชิดชูเกียรติ ห้องบริพัตร ห้องวิวัฒนไชยานุสรณ์ ห้องของผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ห้องประชุม สิ่งที่ได้ความรู้เพิ่มมากขึ้น คือ

การผลิตเหรียญกษาปณ์ ( The Minting Of Coinage ) 1. หลอมและหล่อโลหะ
2. รีดแผ่นโลหะ 3. ตัดเหรียญตัวเปล่า 4. ยกของเหรียญ 5. อบอ่อน 6. ล้างทำความสะอาดและอบให้แห้ง 7. รับเหรียญตัวเล่า 8. ปั้นแบบดินน้ำมัน 9. หล่อปูนพลาสเตอร์ 10. หล่ออีพ็อกซ์ 11. ย่อสลาย 12. ถอดแม่ตรา 13. แม่ตรา 14. ถอดดวงตรา 15. ดวงตรา 16. การตีตราเหรียญสำเร็จ 17. รับเหรียญสำเร็จ

อีแปะ( Ee-Pae ) เป็นเงินตราท้องถิ่นภาคใต้ในสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งทำมาจากเหรียญตะกั่วผสมกับดีบุก ลักษณะเป็นเหรียญกลม มีรูเป็นรูปสีเหลี่ยมตรงกลาง ที่เหรียญมีการสลักเป็นอักษรจีน หรือ อักษรไทย บอกชื่อเมือง หรือ บริษัทที่ทำเหมืองแร่ ชื่อกิจการไว้บนเหรียญ ปี้ (Pee ) เป็นวัตถุใช้แทนเงินตราในการเล่นพนันในโรงบ่อน ทำด้วยโลหะ กระเบื้อง แก้วสีต่างๆ เมื่อเลิกเล่นแล้วแลกคืนเป็นเงินได้

มาตราเงินไทย( Monetary Units ) 50 เบี้ย = 1 โสฬส 2 โสฬส = 1 อัฐ 2 อัฐ = 1 เลี้ยว ( ไพ ) 2 เลี้ยว = 1 ซีก 2 ซีก = 1 เฟื้อง 2 เฟื้อง = 1 สลึง 4 สลึง = 1 บาท 4 บาท = 1 ตำลึง 20 ตำลึง = 1 ชั่ง

ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย คือ พระวรวงค์เธอพระองค์เจ้าวิวัฒนไชย

กระบวนการผลิตธนบัตร ( The Bonknote Production Process) 1. การออกแบบธนบัตร Design 2. การทำแม่แบบแม่พิมพ์ Plate Making 3. การพิมพ์ Printing 4. การตรวจสอบคุณภาพและการตรวจนับจำนวน Quality Inspection and Vorification 5. การผลิตธนบัตรขั้นสำเร็จรูป Finishing เป็นต้น

สิ่งที่ประทับใจ คือ ลักษณะสถาปัตยกรรมในยุโรป มีความสวยงามเป็นเอกลักษณ์ด้วยการตกแต่งผนังปูนปั้นอันวิจิตร นับเป็นอาคารที่มีลวดลายประดับอย่างสวยงาม มีบรรยากาศที่ร่มรื่น พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรีพระอัครราชเทวี เพราะว่า ทำให้เห็นถึงความรัก ความภาคภูมิใจ ที่มีมีต่อลูก บทความ มีดังนี้

“…ลูกเราคนนี้ ไม่เสียคนเลยเป็นอันขาด หลักแหลม มั่งคงมาก ควรจะดีใจได้เป็นแท้…”

และพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีคำสั่งสอนให้คนไทยพอใจในสิ่งที่ตัวเองมี ให้พออยู่พอกิน ถ้าเราทำแบบนี้ๆได้เราก็จีความสุข บทความ มีดังนี้

“ คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา จะว่าเมืองไทยล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชย ไม่สิ่งที่ใหม่ แต่เราอยู่พอมีพอกิน และขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทย อยู่แบบพออยู่พอกิน มีความสงบและทำงาน ตั้งจิตอธิฐาน ตั้งปณิธานในทางนี้ ที่จะให้เมืองไทย อยู่แบบพอมีพอกิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่มีความพออยู่พอกิน มีความสงบเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้เราก็จะยอกยิ่งยวดนี้ได้ ”

หนุ่มแรก สาวแรก ยอดเยี่ยมมาก งานถัดๆไป ต้องดีกว่านี้อีกนะ คนอื่นๆ ว่าไงครับ

จากการที่ได้ไปศึกษาประวัติศาสตร์ในพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย คือ การที่ได้เข้าไปเยี่ยมชมธนบัตรไทยแบบที่ใช้ในปัจจุบันตลอดจนธนบัตรในอตีต เหรียญกษาปณ์ และของที่เอาไว้แลกเปลี่ยนกับสินค้าในยุคสมัยต่างๆ ของลํ้าค่าในยุคโบราณ ในพิพิธภัณฑ์มี 2 ชั้น คือ ชั้นล่าง มีห้องเปิดโลกเงินตราไทย ห้องธนบัตรไทย ห้องธนบัตรต่างประเทศ ห้องเปิดโลกการเรียนรู้ ส่วนชั้นบน ห้องประวัติและการดำเนินงาน ธปท. ห้องเชิดชูเกียรติ ห้องบริพัตร ห้องวิวัฒนไชยานุสรณ์ ห้องของผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ห้องประชุม และสิ่งที่ข้าพเจ้าสนในและประทับใจเป็นพิเศษ คือ ปี้ ซึ่งเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5เป็นวัตถุแทนเงินตราสำหรับเล่นพนัน มีทั้งทำด้วยโลหะและแก้วสีต่างๆ ตะเกียงโรมันจำลอง ศิลปะแบบโรมัน พบที่ตำบลพงตึก อำเภอทำมะกา จ.กาญจนบุรี พ.ศ.2470 ฝาด้านบนเปิดปิดได้ เป็นเศียรเทพเจ้าซิเลบัส แสดงให้เห็นว่า จังหวัดกาญจนบุรี เป็นชุมชนแวะพักของกองคาราวานที่เดินทางบนเส้นทางการค้าโบราณ ซึ่งเชื่อมโยงการติดต่อระหว่างสุวรรณภูมิ กับ อินเดีย เปอร์เซีย กรีก โรมัน เงินดอกจันทร์ เป็นเงินอาณาจักรศรีวิชัย ลักษณะกลมแบน ด้านหนึ่่งมีตราสี่แฉกตอกประทับไว้ อีกด้านหนึ่งจารึกเป็นภาษาสันสกฤตไว้ว่า วร แปลว่า ประเสริฐ นอกจากทำด้วยเงินแล้ว ยังมีชนิดที่ทำด้วยทองอีกด้วย พบในจังหวัดสุราษฏร์ธานี และสงขลา เงินพดด้วง มีสัณฐานกลม แต่ละยุคจะแตกต่างกัน ด้านบนประทับตราประจำแผ่นดินหรือประจำเมือง ด้านหน้าประทับด้วยตราประจำรัชกาล โคนขาสองข้างในยุคต้นเป็นรอยบาก ประทับตราสังข์ ด้านหลังไม่มีตราประทับ ด้านข้างทั้งซ้ายและขวาเป็นรอยค้อนตี ด้านล่างปลายขาประทับตราสังข์หรือตราเมล็ดข้าวสาร ลายพุ่มทรงข้าวบิณฑ์ เป็นภาพของลายนํ้าที่มีความโปร่งแสงเป็นพิเศษปรากฎบนธนบัตรชนิดราคา 1000 บาท เพื่อเพิ่มลักษณะพิเศษต่อต้านการปลอมแปลง สัญญาลักษณ์แห่งพระมหากษัตริย์ไทยปรากฎในเงินตราไทยอย่างชัดเจนในเงินพดด้วงสมัยอยุธยา เรียกว่าตราประจำรัชกาล คู่กับตราจักรเป็นตราแผ่นดิน จนมาถึงรัชกาลที่4 มีการผลิตเหรียญกษาปณ์แทนเงินพดด้วง สัญญาลักษณ์ด้านหนึ่งเป็นตราช้างในวงจักร อีกด้านเป็นตราพระมหาพิชัยมงกุฏ

       ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ชื่อไม่เป็นทางการ แบงค์ชาติ (อังกฤษ: The Bank of Thailand: BOT) เป็นธนาคารกลางของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 เปิดดำเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2485 มีหน้าที่หลักในการดูแลกำกับเรื่องการเงินของชาติ ทั้งออกกฎเกณฑ์และควบคุมสถาบันการเงิน นำออกหมุนเวียนซึ่งธนบัตรไทยรวมถึงการควบคุมการถ่ายโอนเงินตราระหว่างประเทศ และเฝ้าระวังอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบกับสกุลเงินตราอื่น

ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดตั้งขึ้นหลังจากประเทศไทยได้มีธนาคารพาณิชย์ทั้งของรัฐและเอกชนเริ่มดำเนินการไปก่อนหน้านั้นแล้ว ภารกิจและหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยเดิมซ้อนเหลื่อมอยู่กับกระทรวงการคลังและได้มีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นลำดับหลังจากที่ระบบการเงินของโลกพัฒนาไปและมีวิกฤตเศรษฐกิจครั้งสำคัญต่างๆ

      มีหน้าที่หลักคือ สร้างเสถียรภาพทางการเงิน  โดย มีนาย ประสาร  ไตตรัตน์กุล เป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเ?ศไท ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 ถึงปัจจุบัน    และตราของธนาคารคือ พระสยามเทวาธิราช     

      การผลิตเหรียญกษาปณ์ตั้งแต่การ หลอมโลหะ รีดแผ่นโลย์ ยกขอบเหรียญ อบอ่อน ล้างอบแห้ง ปั้นแบบ หล่อปูนปาสเตอร์ หล่ออีพ๊อกซี่ ย่อลาย ถอนแม่ตรา จนถึงรับเหรียญ และรู้ว่า เหรียญกาาปณ์มีทั้งเหรียญกษาปญ์หมุนเวียนทีืทนำมาผลิตใช้หมุนเวียนในระบบและเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกผลิตขึ้นเป็นพิเศษในโอกาสสำคัญและเหรีญญกษาปณ์ที่ใช้หมุนเวียนในปัจจุบัน มีมาตั้งแต่ พ.ศ2521ตั้งแต่ชนิดราคา 1สตางค์ถึง 10 บาท จนถึงเหรียญทองเหลืองพระบรมรูปตรารวงข้าว พ.ศ. 2523 ชนิดราคา 50 สตางค์
      และสกุลเงินตราคู่ค้าของไทยในประวัติศาสตร์ จีน เงินไซซี พม่า เงินพยู อินเดีย เงินรูปี เวียดนาม เงินฮาง และประวัติของธนบัตรจากชาตต่างๆ  เช่นแบงค์ ห้าบาท ของนิวซีแลนด์ หน้าแบงค์เป็น เซอร์เอ็กมันดื ฮิลลารี นกปีนเขาผู้พิชิตยอดเขาเอเวอเรส เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2496  เป็นต้น  และการ พิพ์ ธนบัตร คือ พิมพ์สีแห้งสีพื้น พิมพ์เส้นนูน พิมพ์เลขหมาย และรายเซ็น จาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ ผู้ว่าการธนาคารกลางแห่งประเทศไทย  และตัด เก็บอย่างปลอดภัย และนำมาหมุนเวียนกับประชาชนต่อไป   


       ความประทับใจคือ สถานที่ของพิพิธภัณฑ์สวย และ สิ่งต่างๆที่จัดโชว์อยู่ภายใน ได้ ความรู้และเห็นในสิ่งที่เป็นเรื่องใกล้ตัวแต่ไม่เคยรู้มาก่อนก็ได้รับจากที่นี้ ที่ประทับใจที่สุดคือห้องธนบัตรทีมีแท่นพิมหน้า ธนบัตรอยู่สี่ชนิด และมีกระดาษกับดินสอให้ระบายพิมภาพจากแท่นพิมพ์ได้     เช่นหน้ารูปเรือสำเภา ธนบัตรแบบ 15 ชนิด ราคา 500บาท นำรูปแบบมาจาก๓าพจิตรกรรมโบสถ์วัดเครือวัลย์ เพราะในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการค้าสำเภา   ซึ่งการไปครั้งนี้ได้ทั้งความรู้ความประทับใจดังข้างต้น  

ความรู้ที่ได้รับจากการไปพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยในครั้งนี้ คือ ได้รู้เกี่ยวกับเหรียญในแต่ละสมัยว่ามีขนาดเท่าไหร่ ผลิตเมื่อใด ลักษณะอย่างไร มีความเป็นมาในแต่ละสมัยอย่างไร ตัวอย่างเช่น เงินพดด้วง ในสมัยรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.๒๓๒๕ – ๑๔๔๗) ในสมัยรัตนโกสินทร์นั้น บ้านเมืองมีความเจริญ มีการติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศ ระบบเงินตรายังคงเป็นไปในลักษณะเดียวกับอยุธยาและกรุงธนบุรี คือ มีเงินพดด้วงเป็นมูลค่าสูงและหอยเบี้ยเป็นเงินปลีก เงินพดด้วงจะมีลักษณะกลม ขาอ้วนสั้นชิดกันและมีตราประทับ ๒ ดวงเป็นสำคัญ คือ ตราพระแสงจักร เป็นตราประจำแผ่นดินและตราประจำรัชกาลต่างๆความรู้อีกอย่างที่ได้รับคือ ได้รู้ว่าวันสิ้นสุดยุคของเงินพดด้วงคือวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๕๑

      ได้รู้ว่าการผลิตเงินพดด้วงในสมัยรัตนโกสินทร์ตามบันทึกของนาย Reginald  Le  May เมื่อครั้งได้เข้าไปชมการแสดงวิธีการทำเงินพดด้วงที่กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ว่าคนทำมีชุดละ4คน
     เงินพดด้วงในสมัยสุโขทัย (พ.ศ. ๑๗๘๑ -๑๙๘๑ ) ในสมัยนั้นอาชีพหลักของคนสมัยสุโขทัยก็คือ  เกษตรกรรม  หัตถกรรมและการค้าขาย ซึ่งการค้าขายเป็นไปโดยเสรี มีการใช้เงินควบคู่กับการแลกเปลี่ยนสินค้าปรากฏในใบศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงว่า ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงินค้าทองค้า ไพร่ฟ้าหน้าใส ในสมัยสุโขทัยนั้นยังมีการติดต่อค้าขายกับบ้านเมืองใกล้เคียง เช่น อาณาจักรล้านนา อาณาจักรล้านช้าง เป็นต้น  เงินพดด้วงในสมัยสุโขทัยนั้นทำด้วยโลหะเงิน สัณฐานกลม ปลายขาเงินยาวและแหลมชิดกัน มีรูขนาดใหญ่ระหว่างขามีตราประทับแตกต่าง เช่น ธรรมจักร ช้าง วัว กระต่าย ราชสิงห์ ดอกไม้ เป็นต้น
   เงินพดด้วงในสมัยอยุธยา (พ.ศ. ๑๘๙๓ – ๒๓๑๐ ) ด้วยสภาพทางภูมิศาสตร์ของกรุงศรีอยุธยา ซึ่งมีแม่น้ำล้อมรอบและมีแม่น้ำ 3 สายไหลมาบรรจบ ทำให้เกิดที่ราบอันอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทำเกษตรกรรม ขณะเดียวกันก็มีการติดต่อคมนาคมกับต่างประเทศได้เพราะ ไม่ไกลจากทะเล
 เงินดอกจัน ในสมัยลพบุรี เป็น เงินตราซึ่งเชื่อว่ากันว่าเป็น กษาปณ์ของอาญาจักรศรีวิชัย มีลักษณะกลมแบน ด้านหนึ่งมีตราสี่แฉกตอกประทับไว้ อีกด้านหนึ่งมีจารึกเป็นภาษาสันสกฤตว่า  วร  แปลว่า ประเสริฐ เงินดอกจันนอกจากจะทำด้วยเหล็กแล้ว  เงินดอกจันทร์นี้ยังมีชนิดที่ทำด้วยหลอดทองคำอีกด้วย พบมากใน จังหวัด สุราษฏร์ธานี สงขลา รวมทั้งพบที่เกาะสุมาตราอีกด้วย
 ประโยชน์และความประทับใจที่ได้รับในการไปธนาคารแห่งประเทศไทยครั้งนี้ คือได้ทราบประวัติความเป็นมาของเงินในแต่ละสมัย  สามารถแยกแยะธนบัตรจริงและปลอมด้วยตนเองได้  ซึ่งมีประโยชน์ในชีวิตประจำวันเป็นอย่างยิ่ง รวมทั้งยังได้ลองทำภาพลายน้ำในธนบัตรกับเพื่อนๆ เป็นประสบการณ์ที่หาไม่ได้ง่ายๆเลย

 

ธนาคารแห่งประเทศไทย The Bank of Thailand

ประวัติธนาคารแห่งประเทศไทย

พระสยามเทวาธิราช .....ตราธนาคารแห่งประเทศไทย

ตราธนาคารแห่งประเทศไทย คือ พระสยามเทวาธิราชในเหรียญเสี้ยว อัฐ โสฬส ที่ออกใช้ในรัชการที่ 5 มาดัดแปลง และเพิ่มถุงเงินในพระหัตถ์เบื้องขวา ซึ่งเป็นเครื่องหมายถึงผู้คุมถุงเงินของชาติ อันเป็นหน้าที่หลักของธนาคารแห่งประเทศไทย พระแสงธารพระกรในพระหัตถ์ซ้าย เพื่อคอยปัดป้องผู้ที่มารุกราน แต่ได้เปลี่ยนตอนปลายจากรูปดอกไม้มาเป็นลายดอกบัว

จากสำนักงานธนาคารชาติ...ธนาคารแห่งประเทศไทย

ในสมัยรัชกาลที่ ๔ มีการเจริญสัมพันธไมตรีและติดต่อค้าขายกับต่างชาติมากขึ้น ในปี ๒๓๙๘ โปรดให้ทำสนธิสัญญาทางการทูตและการค้ากับประเทศอังกฤษ เรียกว่า สนธิสัญญาเบาริง ซึ่งต่อมาประเทศไทยได้ลงนามในสนธิสัญญาแบบเดียวกันนี้กับอีกหลายประเทศ อันเป็นการเปิดประเทศอย่างกว้างขวางมากขึ้น

เมื่อชาวตะวันตกติดต่อค้าขายกับไทยมากขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ ๕ และรัชกาลที่ ๖ ได้มีความพยายามที่จะขอจัดตั้งธนาคารกลางขึ้นในประเทศไทยหลายครั้ง เพื่อสิทธิในการออกธนบัตรซึ่งให้ผลประโยชน์ตอบแทนที่งดงาม แต่ไม่เป็นผลสำเร็จเพราะฝ่ายไทยเห็นว่าชาวต่างประเทศเหล่านั้นคิดแต่จะเอาผลประโยชน์ฝ่ายเดียว ทำให้ประเทศไทยเห็นความสำคัญของการมีธนาคารกลางของไทย เพื่อเป็นสื่อกลางในทางการค้าและทางเศรษฐกิจ แต่โครงการก่อตั้งธนาคารกลางก็ได้หยุดชะงักไปเพราะเวลานั้นยังขาดประสบการณ์และบุคคลากรที่มีความรู้  

ความสนใจที่จะจัดตั้งธนาคารกลางได้มีขึ้นอีกครั้งภายหลังที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. ๒๔๗๕ สืบเนื่องจากการเสนอร่างเค้าโครงเศรษฐกิจของคณะราษฎรที่นายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) เป็นผู้ร่าง ได้กล่าวถึงความจำเป็นในการจัดตั้งธนาคารชาติ เพื่อเป็นกลไกหนึ่งในการดำเนินการเศรษฐกิจของประเทศ ร่างเค้าโครงเศรษฐกิจของนายปรีดี พนมยงค์ ไม่ได้รับความเห็นชอบจากนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีจำนวนหนึ่ง พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นจึงประกาศปิดสภา
ผู้แทนราษฎร

ภายหลังเมื่อพระยาพหลพลพยุหเสนาได้เข้ายึดอำนาจการปกครองเมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๖ จึงมีการสนับสนุนให้มีธนาคารชาติขึ้นอีก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพระคลังมหาสมบัติได้นำเรื่องเข้าหารือกับ นายเจมส์ แบกซ์เตอร์ ที่ปรึกษาการคลังในขณะนั้น ซึ่งให้ความเห็นว่า ยังไม่สมควรแก่เวลาที่จะจัดตั้งธนาคารกลางขึ้น เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีผู้รู้ผู้ชำนาญทางด้านการธนาคาร ไม่มีทุน และยังไม่มีระบบธนาคารพาณิชย์ของคนไทยด้วย

รัฐบาลได้ผลักดันเรื่องการตั้งธนาคารกลางอีกครั้งหนึ่งในปี ๒๔๗๘ โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กระทรวงการคลังพิจารณาร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้งธนาคารชาติ พ.ศ. ๒๔๗๘ ซึ่งหลวงวรนิติปรีชาเป็นผู้ร่างขึ้น  เสนอให้ควบรวมบริษัทแบ๊งค์สยามกัมาจล ทุนจำกัด ให้เป็นธนาคารชาติ พระราชบัญญัติดังกล่าวมีเพียง ๘ มาตรา ซึ่งอธิบดีกรมบัญชีกลางในเวลานั้นพิจารณาแล้วเห็นว่าพระราชบัญญัตินี้ยังขาดความรอบคอบและรายละเอียดยังไม่ชัดเจน

ต่อมาเมื่อ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ พลตรีหลวงพิบูลสงครามได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี และได้แต่งตั้งนายปรีดี พนมยงค์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เมื่อได้รับตำแหน่งแล้ว นายปรีดี พนมยงค์ ได้รื้อฟื้นเรื่องการจัดตั้งธนาคารชาติขึ้น ให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย อธิบดีกรมศุลกากรย้ายมาดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาของกระทรวงการคลัง ซึ่งแต่เดิมจะใช้ที่ปรึกษาชาวต่างชาติทั้งสิ้น ในครั้งนี้ นายปรีดี พนมยงค์ ได้พยายามทำความเข้าใจกับที่ปรึกษาฝ่ายต่างประเทศของกระทรวงการคลัง ให้เข้าใจถึงความจำเป็นและเจตนารมณ์ของทางการ ซึ่งในที่สุดก็ได้รับความร่วมมืออย่างดีในการช่วยร่างกฎหมายจัดตั้งธนาคารชาติไทยขึ้น นับเป็นก้าวแรกที่นำไปสู่การตั้งธนาคารกลางของประเทศไทยในที่สุด

ในการดำเนินการจัดตั้งธนาคารชาติไทยนั้น นายปรีดี พนมยงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้มอบให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย ที่ปรึกษากระทรวงการคลังฝ่ายไทยรับผิดชอบในการร่างกฎหมายจัดตั้งธนาคารชาติต่อจากที่ปรึกษาต่างประเทศที่ได้ดำเนินการไว้แล้ว ในที่สุดก็ได้มีการนำเสนอร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการเตรียมการจัดตั้งธนาคารชาติไทยต่อนายกรัฐมนตรี เมื่อคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติแล้ว ให้เปลี่ยนชื่อพระราชบัญญัติเป็น ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งสำนักงานธนาคารชาติไทย เมื่อผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรแล้วได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ วัตถุประสงค์ประการหนึ่งของการจัดตั้งสำนักงานธนาคารชาติไทยก็เพื่อเตรียมพนักงานสำหรับการทำงานในธุรกิจธนาคารกลาง และทำหน้าที่บริหารเงินกู้ของรัฐบาล

สำนักงานธนาคารชาติไทยได้เริ่มปฏิบัติงานเมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๓ ต่อมาในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๓ ซึ่งเป็นวันชาติในสมัยนั้น จึงได้ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ  สำนักงานธนาคารชาติไทยดำเนินงานได้เพียงปีเศษก็เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา ญี่ปุ่นนำกำลังทหารเข้ามายังประเทศไทยในวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ และได้เสนอให้รัฐบาลไทยจัดตั้งธนาคารกลางขึ้น โดยมีที่ปรึกษาและหัวหน้างานต่าง ๆ เป็นชาวญี่ปุ่น ซึ่งรัฐบาลไทยไม่อาจยอมให้เป็นเช่นนั้นได้ จึงมอบให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชยดำเนินการร่างกฎหมายเพื่อเปลี่ยนฐานะของสำนักงานธนาคารชาติไทยให้เป็นธนาคารกลาง และให้ประกาศใช้โดยเร็วที่สุด  พระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย จึงได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๕ ต่อมาได้ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ ซึ่งเป็นวันรัฐธรรมนูญและในวันต่อมา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เริ่มดำเนินการ ณ อาคารที่ทำการเดิมของธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ จำกัด ถนนสี่พระยา พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย ทรงดำรงตำแหน่งผู้ว่าการพระองค์แรก ต่อมาได้ย้ายที่ทำการมาอยู่ ณ วังบางขุนพรหมตั้งแต่วันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ แล้วย้ายมาอาคารสำนักงานใหญ่ที่สร้างขึ้นในบริเวณวังบางขุนพรหมเมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๕  และในปี ๒๕๕๐ สำนักงานใหญ่ได้ย้ายมาอยู่ ณ อาคารสำนักงานใหญ่หลังใหม่  ที่ก่อสร้างขึ้นในบริเวณเชื่อมต่อระหว่างวังบางขุนพรหมกับวังเทวะเวสม์

 

ธนาคารแห่งประเทศไทย  มีหน้าที่หลักในการรักษาเสถียรภาพทางการเงินและดูแลระบบการเงินให้มั่นคง

พันธกิจ  มุ่งสร้างสภาพแวดล้อมทางการเงินที่มั่นคง  เสถียรภาพเพื่อเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน  อันนำไปสู่การยกระดับมาตราฐานการครองชีพของประชาชนอย่างต่อเนื่อง

วิสัยทัศน์  เป็นองค์กรที่มองการไกล  พนักงานมีความสามารถสูงมากและอุทิศตนเพื่อดูแลเศรษฐกิจให้ผ่านพ้นความผันผวนได้อย่างราบรื่น

The Bank of Thailand

Function as the country’s central bank whose core purpose is to ensure and maintain monetary and financial stability

Mission  To provide a stale financial environment for sustainable economic growth in order to achieve continuous improvement in the standard of living of people of Thailand

Vision  A forward-looking organization with competent staff dedicated to ensuring the resilience of the Thai economy against shock and instability

 

พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย

พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่ในตำหนักใหญ่ วังบางขุนพรหม และตำหนักใหญ่วังเทวะเวสม์ ภายในบริเวณธนาคารแห่งประเทศไทย เลขที่ ๒๗๓ ถนนสามเสน แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐

วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง

1.  เพื่ออนุรักษ์เงินตราไทยอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของชนชาติไทยในอดีต

2.  เพื่อเป็นศูนย์กลางการค้นคว้าศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการเงินตราไทย ระบบเงินตรา ซึ่งสะท้อนถึงภาวะเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมในแต่ละยุคสมัย

3.  เพื่อเผยแพร่ความรู้แก่สาธารณชนเกี่ยวกับระบบการเงินของไทย และบทบาทของธนาคารแห่งประเทศไทยในฐานะธนาคารกลางของประเทศ

4.  เพื่อแสดงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรมและศิลปกรรมของอาคารโบราณสถานที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้อนุรักษ์ไว้ให้เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมของชาติต่อไป

การจัดแสดง
               การจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์มุ่งให้ทั้งความรู้และความเพลิดเพลินแก่ผู้เข้าชม โดยใช้เทคนิคต่าง ๆ ที่ดึงดูดความสนใจของผู้เข้าชมมีการนำระบบแสง-เสียง เทคนิคฉากละคร (Diorama) ระบบมัลติมีเดีย ระบบคอมพิวเตอร์กราฟิก ฯลฯ เข้าร่วมในการนำเสนอ
              นอกจากนี้ยังได้วางระบบต่างๆ เพื่อการสงวนรักษาวัตถุจัดแสดงและความปลอดภัยอย่างถูกต้องตามหลักวิชา ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ ศึกษาค้นคว้าเรื่องราวเกี่ยวกับวิวัฒนาการเงินตราไทย ประวัติบทบาทหน้าที่สำคัญของธนาคารแห่งประเทศไทยและวังบางขุนพรหม ให้อนุชนรุ่นหลังได้ตระหนักถึงคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรม โดยช่วยกันอนุรักษ์และเชิดชูไว้ให้เป็นสมบัติของชาติสืบไป

ห้องจัดแสดงพิพิธภัณฑ์ มีดังนี้

1. ห้องเปิดโลกเงินตราไทย

2. ห้องธนบัตรไทย

3. ห้องธนบัตรต่างประเทศ

4. ห้องประวัติและการดำเนินงานของ ธปท.

5. ห้องบริบัติ

ห้องเปิดโลกเงินตราไทย

จัดแสดงสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์  เงินตราในภูมิภาคสุวรรณภูมิและวิวัฒนการเงินตราไทยจนเป็นกษาปณ์ในปัจจุบันคือ

1. เงินตราโบราณ  เงินตราสมัยทวาราวดี เหรียญลวปุระที่หาชมได้ยาก เงินดอกจันทน์ของอาณาจักรศรีวิชัย  นอกจากนี้ ยังมีการจัดแสดงเงินตราอาณาจักรล้านนา เช่น เงินเจียง เงินท้อก  เงินปากหมู  เงินใบไม้  เงินอาณาจักรล้านช้าง เช่น   เงินลาด เงินฮ้อย ในส่วนที่จัดแสดงเกี่ยวกับเงินตราโบราณนี้มีการจัดแสดงเงินตราโบราณของอาณาจักรใกล้เคียงที่มีหลักฐานว่ามีการนำมาใช้ในสมัยโบราณของบริเวณที่เป็นที่ตั้งของประเทศไทยในปัจจุบัน เช่น เงินไซซี  เงินฮาง  เงินตู้   

ตราสัญลักษณ์ในสมัยทวาราวดี

ศรีวัตสะ  มงคลแห่งความอุดมสมบรณ์ของอินเดีย

พระอาทิตย์อุทัย  ความอุดมสมบูรณ์ของพ์ชพรรณธัญญาหาร

สังข์  ความอุดมสมบูรณ์บ่อน้ำ

กลศ  หม้อน้ำ

แม่และลูกโค  ความอุดมสมบูรณ์ทางการเกษตร ปศุสัตว์

ฑมรุ  การสร้างโลก

ธรรมจักร  คำสั่งสอนสัมมาสัมพุทธเจ้า

จามร (แส้)  บัลลังก์ ราชูปโภคของกษัตริย์

สวัสดิกะ  ความมีโชค

วัชระ  สายฟ้า

2. เงินพดด้วง  เป็นเงินที่ผลิตขึ้นมาใช้กว่า ๖๐๐ ปีนับตั้งแต่สมัยสุโขทัยถึง  สมัยรัตนโกสินทร์ และยกเลิกการใช้ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕

3. กษาปณ์ไทย  จัดแสดงเรื่องราวของเหรียญกษาปณ์ในสมัยต่าง ๆ ตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ “เหรียญช้าง เมืองไท” “เหรียญดอกบัว เมืองไท” จนถึงเหรียญกษาปณ์ในสมัยรัชกาลปัจจุบัน

ห้องธนบัตรไทย

  ประเทศไทยนำธนบัตรออกใช้เป็นครั้งแรก เมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๕ ตามพระราชบัญญัติธนบัตรสยามรัตนโกสินทร ศก ๑๒๑  โดยมีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ (กระทรวงการคลัง ในปัจจุบัน) เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ควบคุม ดูแล การสั่งพิมพ์และนำออกใช้ธนบัตรภายในประเทศ จนกระทั่ง มีการจัดตั้งธนาคารแห่งประเทศไทยขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๕ กิจการทั้งปวงและอำนาจในการดำเนินการเกี่ยวกับธนบัตร จึงถูกโอนมาอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของธนาคารแห่งประเทศไทย   ต่อมาเมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๒ ธนาคารแห่งประเทศไทย สามารถจัดตั้งโรงพิมพ์ธนบัตรขึ้นเป็นผลสำเร็จ จึงได้พิมพ์ธนบัตรขึ้นใช้เองภายในประเทศ ได้แก่ ธนบัตรแบบ ๑๑ รวมทั้งแบบอื่น ๆ เป็นลำดับจนถึงปัจจุบัน 

การจัดทำและนำออกใช้ธนบัตร เป็นหน้าที่หลักสำคัญอีกด้านหนึ่งของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่มีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศเป็นอย่างยิ่ง ด้วยธนบัตรเป็นเงินตราที่สามารถชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ซึ่งต้องอาศัยการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และได้มาตรฐาน เพื่อให้ธนบัตรไทยคงไว้ซึ่งความน่าเชื่อถือสมเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนที่สำคัญในปัจจุบัน     

เงินกระดาษชนิดแรก เริ่มในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔  ได้มีการผลิตเงินกระดาษขึ้นใช้เป็นครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๓๙๖ เรียกว่า “หมาย” ซึ่งนับเป็นเงินกระดาษชนิดแรกในระบบเงินตราไทย  และมีการผลิตใบสั่งจ่ายขึ้นหลายชนิดราคาเรียกว่า “ใบพระราชทานเงินตรา”  ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ทำ “อัฐกระดาษ” ออกใช้ระยะสั้นๆ เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนเงินปลีกระยะหนึ่ง  หลังจากนั้นได้มีการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่ออำนวยความสะดวกในการชำระหนี้ระหว่างธนาคารและลูกค้า เรียกว่า “บัตรธนาคาร”  ต่อมาในพ.ศ. ๒๔๓๓ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติได้พิมพ์ “เงินกระดาษหลวง” ขึ้น เพื่อใช้เป็นธนบัตรแต่มิได้นำออกใช้เพราะขาดความพร้อม จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๔๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติจัดทำตั๋วสำคัญที่ใช้แทนเงินตรา  ประกาศออกใช้เมื่อวันที่ 7 กันยายน ธนบัตรไทยจึงถือกำเนิด ขึ้นตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา 

 ห้องธนบัตรต่างประเทศ

จัดแสดงธนบัตรในกลุ่มประเทศที่สำคัญซึ่ง ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นสมาชิก อาทิ กลุ่มผู้นำประเทศอุตสาหกรรม (G8)และกลุ่มธนาคารแห่งประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEACEN)

ห้องบริบัติ

จัดแสดงพระประวัติของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตไว้อย่างสมบูรณ์ด้วยวีดิทัศน์เรื่อง “เจ้าฟ้านักบริหาร แบบอย่างของผู้ทรงนำคุณประโชยน์เพื่อแผ่นดิน”  ซึ่ง  เพลงประกอบที่ไพเราะของเรื่องนี้จัดทำโดยพระนัดดาของพระองค์เอง   สำหรับเรื่องราวของพระอัจฉริยภาพทางดนตรีนั้น นำเสนอด้วยเทคนิค Ghost Box ที่ถ่ายทอดเรื่องราวโดยพระธิดาของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต คือ  “พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอินทุรัตนา”  ซึ่งผู้ชมจะได้ฟัง เพลงมาร์ชบริบัตรและฮังกาเรียนราฟโซดีอันมีชื่อเสียง นอกจากนี้ ยังนำเสนอเพลงพระนิพนธ์ผ่านทางหุ่นจำลองวงปี่พาทย์ไม้แข็งครบวง  สำหรับวัตถุประกอบการจัดแสดงนั้น ที่น่าสนใจจะเป็นของใช้ที่ มีตราประจำพระองค์ เช่น จาน  เครื่องแก้ว  ของที่ระลึกที่ประทาน “แหนบบริพัตร” นอกจากนี้ ยังมีเครื่องบินบริพัตรจำลอง  โน้ตเพลงลายพระหัตถ์ รวมทั้งหุ่นจำลองขนาดเท่าพระองค์จริงในฉลองพระองค์จอมพลทหารเรือที่โดดเด่น  จุดสุดท้ายที่ดึงดูดใจผู้ชมอย่างมากคือ หุ่นจำลองตำหนักประเสบัน ที่เมืองบันดุง  ประเทศอินโดนีเซีย และฉลองพระองค์ชุดสุดท้ายของพระองค์ที่มหาดเล็กคู่พระทัยถอดเก็บไว้บูชาหลังจากสิ้นพระชนม์ และทายาทได้นำมามอบให้พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อการจัดแสดงและระลึกถึงพระองค์

 

สิ่งทีประทับใจในการชมพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย

คือ  การได้เข้าชมสถานที่นี้ ทำให้ดิฉันได้ทราบถึงข้อมูลเงินตราของไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นข้อมูลที่ให้ความรู้ได้ในระดับดีมาก โดยในสถานที่นี้ยังมีการแนะนำการวางแผนทางการเงิน มีรูปแบบการออม ซึ่งเราสามารถนำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติใช้ในชีวิตของเราได้  และสิ่งที่ประทับใจมากที่สุดในการเช้าชมพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยครั้งนี้ก็คือ  การจัดแสดงห้องธนบัตรไทยและห้องธนบัตรต่างประเทศ ซึ่งเป็นห้องที่จัดแสดงในเรื่องของการผลิตธนบัตร มีการจัดแสดงทองคำแท่ง และยังมีกิจกรรมที่ทำให้เพลิดเพลินคือ มีการระบายบนแท่นพิมพ์ที่มีรูปสัญลักษณ์ต่างๆ อาทิ ลายดอกพุดตาน ลายสิงห์ ลายเรือสำเภา และลายรูปรัฐธรรมนูญ โดยรูปสัญลักษณ์ก็มีที่มาที่แตกต่าง ทั้งนี้นอกจากจะได้ความเพลิดเพลินยังได้ความรู้อีกด้วย

พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย (วังบางขุนพรหม) จะมีอยู่สองชั้น ชั้นล่างได้เข้าชมเกี่ยวกับ เงินตรา ธนบัตรของไทยและต่างประเทศ ซึ่งมีการจัดแสดงเงินตราและธนบัตรในหลายสมัยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ส่วนชั้นบนจะเป็นห้องที่เกี่ยวกับประวัติและการดำเนินงานของธนาคารแหงประเทศไทย

ความรู้ที่ได้จาการเข้าชมพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย (วังบางขุนพรหม) คือ ได้รู้เกี่ยวกับเงินตราและธนบัตรของไทย ได้รู้เกี่ยวกับธนบัตรต่างประเทศ ได้รู้ประวัติและการดำเนินงานของธนาคารแห่งประเทศไทย ได้เห็นเงินตรา ธนบัตร และเครื่องมือในการดำเนินวานในธนาคารของจริง เช่น

ห้องเปิดโลกเวินตราไทย : จัดการแสดงเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยน ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เงินตราในภูมิภาคสุวรรณภูมิและวิวัฒนการเงินตราไทยจนเป็นกษาปณ์ในปัจจุบัน

เงินตราโบราณ เสนอเรื่องราวเกี่ยวกับสุวรรณภูมิ...ดินแดนทองแห่งการค้า จุดบรรจบของโลกตะวันตกและตะวันออกนำเสนอด้วยวีดิทัศน์ ในรูปแบบของ Animation ส่วนวัตถุพิพิธภัณฑ์ประกอบการจัดแสดงเป็นโบราณวัตถุก่อนประวัติศาสตร์ อาทิ สร้อยลูกปัดสีน้ำเงิน กำไลหิน ต่างหูหิน ขวานหิน ขวานสำริด ซึ่งสันนิษฐานว่า เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนก่อนมีเงินตรา สำหรับเงินตราโบราณที่จัดแสดงในห้องนี้ ได้แก่ เงินตราสมัยทวาราวดี เหรียญลวปุระที่หาชมได้ยาก เงินดอกจันทน์ของอาณาจักรศรีวิชัย นอกจากนี้ ยังมีการจัดแสดงเงินตราอาณาจักรล้านนา เช่น เงินเจียง เงินท้อก เงินปากหมู เงินใบไม้ เงินอาณาจักรล้านช้าง เช่น เงินลาด เงินฮ้อย ในส่วนที่จัดแสดงเกี่ยวกับเงินตราโบราณนี้มีการจัดแสดงเงินตราโบราณของอาณาจักรใกล้เคียงที่มีหลักฐานว่ามีการนำมาใช้ในสมัยโบราณของบริเวณที่เป็นที่ตั้งของประเทศไทยในปัจจุบัน เช่น เงินไซซี เงินฮาง เงินตู้

ห้องธนบัตรไทย : จัดแสดงวิวัฒนาการ การใช้เงินกระดาษในระบบเงินตราไทย ตั้งแต่ “หมาย” “ใบพระราชทานเงินตรา” “อัฐกระดาษ” “บัตรธนาคาร” “ตั๋วเงินกระดาษ” หรือ “เงินกระดาษหลวง” มาจนถึงธนบัตรที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้

เงินกระดาษชนิดแรก เริ่มในรัชกาลที่ ๔ ได้มีการผลิตเงินกระดาษขึ้นใช้เป็นครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๓๙๖ เรียกว่า “หมาย” ซึ่งนับเป็นเงินกระดาษชนิดแรกในระบบเงินตราไทย และมีการผลิตใบสั่งจ่ายขึ้นหลายชนิดราคาเรียกว่า “ใบพระราชทานเงินตรา” ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ทำ “อัฐกระดาษ” ออกใช้ระยะสั้นๆ เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนเงินปลีกระยะหนึ่ง หลังจากนั้นได้มีการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่ออำนวยความสะดวกในการชำระหนี้ระหว่างธนาคารและลูกค้า เรียกว่า “บัตรธนาคาร” ต่อมาในพ.ศ. ๒๔๓๓ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติได้พิมพ์ “เงินกระดาษหลวง” ขึ้น เพื่อใช้เป็นธนบัตรแต่มิได้นำออกใช้เพราะขาดความพร้อม จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๔๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติจัดทำตั๋วสำคัญที่ใช้แทนเงินตรา ประกาศออกใช้เมื่อวันที่ 7 กันยายน ธนบัตรไทยจึงถือกำเนิด ขึ้นตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

 ความประทับใจที่ได้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย (วังบางขุนพรหม) คือ 

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้สร้างความประทับใจตั้งแต่ก้าวแรกที่สัมผัส ด้วยอากาศจากเครื่องปรับอากาศที่เย็นสบาย และการใช้แสงสีที่ทำให้รู้สึกอบอุ่น ได้ความรู้มากมายในการเดินชมพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ เราสามารถนำความรู้ที่ได้จากการเข้าชมนี้บอกต่อกับคนรอบข้างได้ สิ่งที่ประทับใจอีกอย่าวคือบรรยากาศรอบๆสวยงามและอากาศเย็นมาก มีความสุขมากๆๆๆๆๆๆเลยค่ะ

                                             ความรู้ที่ได้รับจากการไปพิพิธภัณฑ์

จากการที่กระผมได้ไปศึกษาที่ พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยนั้น กระผมได้รู้ถึงประวัติความเป็นมาของธนาคารแห่งประเทศไทยว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 เปิดดำเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2485 มีหน้าที่หลักในการดูแลกำกับเรื่องการเงินของชาติ ทั้งออกกฎเกณฑ์และควบคุมสถาบันการเงิน นำออกหมุนเวียนซึ่งธนบัตรไทยรวมถึงการควบคุมการถ่ายโอนเงินตราระหว่างประเทศ และเฝ้าระวังอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบกับสกุลเงินตราอื่นและทำให้รู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยมีผู้ว่าทั้งหมด 19 คน มีรายชื่อดังต่อไปนี้
1 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย 2 เล้ง ศรีสมวงศ์ 3 หลวงเดชสหกรณ์ 4 ดร. เสริม วินิจฉัยกุล 5 เกษม ศรีพยัคฆ์ 6 โชติ คุณะเกษม 7 ดร. ป๋วย อึ๊งภากรณ์ 8 พิสุทธิ์ นิมมานเหมินท์ 9 ดร. เสนาะ อูนากูล 10 นุกูล ประจวบเหมาะ 11 ดร. กำจร สถิรกุล 12 ชวลิต ธนะชานันท์ 13 วิจิตร สุพินิจ 14 เริงชัย มะระกานนท์ 15 ดร. ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ 16 หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล 17 หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล 18 ดร. ธาริษา วัฒนเกส 19 ดร. ประสาร ไตรรัตน์วรกุล และในพิพิธภัณฑ์นั้นยังจัดแสดง เงินตราของไทยในสมัยโบราณ อาทิเช่น

 เงินตราของภาคเหนือ

เงินแท่งและเงินก้อน

          มีรูปลักษณ์ต่างๆกัน เช่น รูปเรือสำเภา อานม้า ขนมครก ฯลฯ เป็นเงินตราที่จีนนำมาใช้ ในอาณาจักรล้านนาไทย ราคาคิดตามน้ำหนักเงิน เป็นตำลึงจีน (10 สลึง เท่ากับ1 ตำลึงจีน) เนื่องจากเงินนี้มีเนื้อเงินบริสุทธิ์สูงเกือบ 100 เปอร์เซนต์ จึงมีผู้นำไปใช้เป็นเครื่องประดับ และภาชนะใช้สอยกันมาก 

เงินใบไม้ เงินวงตีนม้า เงินปากหมู เงินหอยโข่ง เงินท้อกเชียงใหม่ เงินท้อกเมืองน่าน

            เป็นเงินตราของล้านนาไทย เนื้อเงินมีความบริสุทธิ์น้อย เรียกชื่อตามรูปลักษณ์ที่ทำต่างๆกัน ราคาคิดตามค่าของน้ำหนักโลหะที่นำมาหลอม สำหรับเงินท้อกเชียงใหม่นั้น กล่าวกันว่าทำขึ้นเพื่อใช้ในการแต่งงาน และการหย่าร้าง มิใช่เพื่อจับจ่ายใช้สอย 

เงินกำไลมือ หรือเงินเจียง เงินดอกไม้ หรือเงินผักชี

                เป็นเงินที่ใช้กันทางภาคเหนือของไทย เงินเจียง (เชียง) ดัดแปลงมาจากกำไลมือ มาเป็นรูปคล้ายเกือกม้าสองวง ปลายต่อกัน มีตราอักษรไทย บอกชื่อเมืองที่ทำเงินนี้ขึ้น เช่น แสน (เชียงแสน) หม (เชียงใหม่) กก (เชียงราย) ส่วนเงินดอกไม้หรือเงินผักชี นั้นทำด้วยเงินผสมโลหะอื่นเล็กน้อย ด้านหนึ่งมีลวดลาย รูปก้นหอยหรือผักชี คล้ายดอกไม้และมีขนาดต่างๆกัน 
เงินตราของภาคอีสาน
  เงินฮาง  เป็นเงินตราที่ใช้กันทางภาคอีสานของไทย รูปลักษณ์เหมือนรางหญ้าหรือรางข้าวหมู มีขอบโดยรอบเหมือนแคมเรือทางด้านหน้า และมีตราประทับทางมุมด้านหัว เนื่องจากเงินนี้มีเนื้อเงินบริสุทธิ์สูงมาก จึงนิยมนำไปหลอมเป็นเครื่องประดับ เครื่องใช้สอย 
  เงินฮ้อย  เป็นเงินตราที่ใช้กันอยู่ในอาณาจักรลานช้าง ซึ่งเป็นเมืองในที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง เช่น เวียงจันทร์ หลวงพระบาง สกลนคร อุดรธานี และอุบลราชธานี รูปลักษณ์คล้ายเรือแคนนู หัวท้ายเรียวเล็กน้อย ด้านบนมีตุ่มทั่วไปเป็นท้องบุ้ง และมีราคาแตกต่างกันไปตามส่วนผสมของเนื้อเงิน 
  เงินลาด  เป็นเงินตราที่ใช้กันอยู่ในอาณาจักรลานช้าง หรือเมืองในแถบภาคอีสาน เช่นเดียวกับเงินฮ้อย เงินลาดนี้ทำด้วยทองแดงผสมทองเหลือง มีเนื้อเงินเล็กน้อย บางชิ้นมีเนื้อเงินหุ้มเฉพาะภายนอกเท่านั้น รูปลักษณ์คล้ายเงินฮ้อยแต่เรียวเล็กกว่า มีร่องตรงกลางและมีตราประทับอยู่ ด้านบน 3 ตรา มีขนาดต่างๆกัน บางคนเรียกว่า เงินปลิง 
  เงินตราของภาคใต้

เหรียญเงินอาหรับและเหรียญทองคำ พบที่จังหวัดปัตตานี เป็นเงินตราของพ่อค้าชาวอาหรับ นำติดตัวมาจากประเทศของตน อาจใช้แลกเปลี่ยนสินค้ากับพ่อค้าคนไทย แถบหัวเมืองชายทะเลภาคใต้ แต่คงไม่ถึงกับใช้ในการซื้อขายสินค้า สำหรับเหรียญนี้มีอักษรเปอร์เซียจารึกไว้ อ่านได้ความว่า จัดทำขึ้นเป็นเหรียญที่ระลึก เงินนโม เป็นเงินตราที่มีบนาดเท่าเม็ดกาแฟขนาดเล็ก ด้านหนึ่งมีอักษรสันสกฤตโบราณ "น" อีกด้านหนึ่งเป็นร่องคล้ายเม็ดกาแฟ ทำด้วยเงินแต่ไม่ขาวเหมือนเงินบริสุทธิ์ เข้าใจว่าคงผสมแร่พลวง เงินนโมนี้นิยมใช้เป็นเครื่องรางของขลัง คุ้มกันโรคภัยไข้เจ็บ พบมากที่จังหวัดนครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และที่เกาะชวา อีแปะ เป็นเงินตราที่มีรูปลักษณ์เหมือนเงินเหรียญของจีน ทำด้วยตะกั่วผสมดีบุก บรรดานายเหมือง และเจ้าเมืองแถบภาคใต้ของไทย เป็นผู้ทำขึ้นในอาณาเขตของตน โดยมีอักษรไทย - จีน บอกชื่อเมืองกำกับไว้เป็นสำคัญ จึงมักเรียกอีแปะเหล่านี้ตามชื่อเมืองที่ผลิต เช่น อีแปะสงขลา อีแปะพัทลุง อีแปะปัตตานี

 เงินตราของภาคกลาง

เงินพดด้วงสุโขทัย ทำด้วยเนื้อเงินบริสุทธิ์ รูปลักษณ์เป็นก้อนกลม ปลายงอเข้าหากัน มีตราประทับอยู่ด้วย ส่วนใหญ่เป็นตราช้าง ราชสีห์ ราชวัตร สังข์ และดอกไม้ มีราคา บาท สองสลึง สลึง อีกชนิดหนึ่งเรียกว่า เงินคุบหรือเงินคุด ทำด้วยเนื้อชิน ซึ่งอาจใช้เป็นเงินตรา หรือใช้เป็นลูกตุ้มชั่งน้ำหนัก เงินพดด้วงอยุธยา ป็นเงินที่มีรูปลักษณ์ขดกลมคล้ายตัวด้วง มีตราประทับต่างๆกัน กว่า 50 ตรา ส่วนใหญ่เป็น ตราจักร หรือธรรมจักร หรือตราสังข์ ครุฑ ช้าง ดอกบัว พุ่มดอกไม้ ราชวัตร ฯลฯ ทำด้วยเนื้อเงินบริสุทธิ์ คิดราคาตามค่าของน้ำหนักเงิน ใช้เป็นเงิตรา ราคาสูงขนาด บาท สองสลึง เฟื้อง 2 ไพ และไพ ส่วนเงินปลีกที่มีราคาต่ำสุดใช้เบี้ยหอย เงินพดด้วงรัตนโกสินทร์ เป็นเงินตราที่ใช้กันในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น รูปลักษณ์เหมือนกับพดด้วงสมัยอยุธยา ทำด้วยเนื้อเงินบริสุทธิ์ตราจักรประทับไว้หนึ่งตรา พร้อมตราประจำรัชกาลที่ผลิตเงินนี้ขึ้นใช้ประทับไว้ด้วย เช่น เงินพดด้วงในรัชกาลที่ 4 ใช้ตรามงกุฎ เป็นต้น นอกจากจะผลิตขึ้นใช้เป็นเงินตราแล้ว ยังใช้เป็นเงินที่ระลึกในโอกาสต่างๆอีกด้วย ราคาคิดตามค่าของน้ำหนักเงิน เช่นเดียวกับเงินพดด้วงอยุธยา เงินนี้เลิกใช้เมื่อ ปี พ.ศ. 2447 และนอกจากนี้ในพิพิธภัณฑ์ ยังมีการจัดแสดง เงินตราต่างประเทศ อีกหลายๆสุกลเงินอีกด้วย ในพิพิธภัณฑ์มีการจัดแสดงธนบัตรชนิดต่างในสมัยต่างๆ และมีวีดีโอ แสดงการทำธนบัตรชนิดต่างๆ

                                   สิ่งที่ประทับใจที่ได้จากการไปพิพิธภัณฑ์ครั้งนี้

ทำให้กระผมทราบถึงประวัติการเป็นมาของเงินชนิดต่างๆ และรวมไปถึงประวัติความเป็นมาของ ธนาคารแห่งประเทศไทย และได้เพลิดเพลินกับการที่ได้ชม วังเก่าที่มีความวิจิตรงดงาม และข้าวของเครื่องใช้ในสมัยก่อน และยังเพลิดเพลินกับการทำกิจกรรมต่างๆภายในนั้นอีกด้วย ได้ความรู้แล้วยังสนุกสนานกับกิจกรรมภายในนั้ัน

ธนาคารแห่งประเทศไทย The Bank of Thailand ประวัติธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ชื่อไม่เป็นทางการ แบงค์ชาติ (อังกฤษ: The Bank of Thailand: BOT) เป็นธนาคารกลางของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 เปิดดำเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2485 มีหน้าที่หลักในการดูแลกำกับเรื่องการเงินของชาติ ทั้งออกกฎเกณฑ์และควบคุมสถาบันการเงิน นำออกหมุนเวียนซึ่งธนบัตรไทยรวมถึงการควบคุมการถ่ายโอนเงินตราระหว่างประเทศ และเฝ้าระวังอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบกับสกุลเงินตราอื่น ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดตั้งขึ้นหลังจากประเทศไทยได้มีธนาคารพาณิชย์ทั้งของรัฐและเอกชนเริ่มดำเนินการไปก่อนหน้านั้นแล้ว ภารกิจและหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยเดิมซ้อนเหลื่อมอยู่กับกระทรวงการคลังและได้มีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นลำดับหลังจากที่ระบบการเงินของโลกพัฒนาไปและมีวิกฤตเศรษฐกิจครั้งสำคัญต่างๆ

     ในปี พ.ศ. 2482 เกิดสงครามโลกครั้งที่สอง สงครามและเหตุการณ์ที่เกิดจากสงครามได้เร่งรัดความจำเป็นต้องจัดตั้งธนาคารกลางขึ้นในประเทศไทย ปรีดี พนมยงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ร่วมมือกับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย เริ่มจัดตั้งสำนักงานธนาคารชาติขึ้นในปี พ.ศ. 2482 อันเป็นแนวทางไปสู่การตราพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทยในปี พ.ศ. 2485 ในสมัยที่ พลเอกเภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (2484 - 2487) ได้มีการตราพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2485 จัดตั้งธนาคารแห่งประเทศไทย ขึ้นเป็นองค์กรอิสระ และ จากพระราชกฤษฎีกากำหนดกิจการธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2485 ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเริ่มประกอบธุรกิจได้ตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2485 เป็นต้นไป พร้อมกันนี้ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวิวัฒนไชย เป็นผู้ว่าการธนาคารพระองค์แรก (พ.ศ. 2485 - 2489) พระองค์ได้ทรงวางระเบียบแบบแผนและดำเนินการจนธนาคารแห่งประเทศไทยได้ดำรงอยู่เป็นปึกแผ่นมั่นคงตลอดมาจนปัจจุบัน

พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ย มีอนุสนธิมาจากคำสั่งที่ ๙๖/๒๕๒๑ ลงวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๒๑ เรื่องตั้งคณะทำงานพิจารณาจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ของธนาคาร ทำหน้าที่ดูแลการซ่อมแซมปรับปรุงวังบางขุนพรหม เพื่อให้เป็นพิพิธภัณฑ์เงินตราและจัดแสดงประวัติวังบางขุนพรหม ซึ่งเดิมวังบางขุนพรหมเป็นอาคารที่ทำการธนาคารแห่งประเทศไทย ต่อมาในปี ๒๕๒๕ เมื่ออาคารสำนักงานใหญ่หลังแรกได้เปิดดำเนินการ วังบางขุนพรหมจึงมิได้ใช้งาน ประกอบกับมีความงดงามทางสถาปัตยกรรมเป็นอย่างยิ่ง จึงได้รับความเห็นชอบจากธนาคารที่จะตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กราบบังคมทูลพระกรุณาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๙ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๖ ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่ในตำหนักใหญ่ วังบางขุนพรหม และตำหนักใหญ่วังเทวะเวสม์ ภายในบริเวณธนาคารแห่งประเทศไทย เลขที่ ๒๗๓ ถนนสามเสน แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง เพื่ออนุรักษ์เงินตราไทยอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของชนชาติไทยในอดีต เป็นศูนย์กลางการค้นคว้าศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการเงินตราไทย ระบบเงินตรา ซึ่งสะท้อนถึงภาวะเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมในแต่ละยุคสมัย อเผยแพร่ความรู้แก่สาธารณชนเกี่ยวกับระบบการเงินของไทย และบทบาทของธนาคารแห่งประเทศไทยในฐานะธนาคารกลางของประเทศ อืกทั้งแสดงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรมและศิลปกรรมของอาคารโบราณสถานที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้อนุรักษ์ไว้ให้เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมของชาติต่อไป การจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์มุ่งให้ทั้งความรู้และความเพลิดเพลินแก่ผู้เข้าชม โดยใช้เทคนิคต่าง ๆ ที่ดึงดูดความสนใจของผู้เข้าชมมีการนำระบบแสง-เสียง เทคนิคฉากละคร (Diorama) ระบบมัลติมีเดีย ระบบคอมพิวเตอร์กราฟิก ฯลฯ เข้าร่วมในการนำเสนอ

          นอกจากนี้ยังได้วางระบบต่างๆ เพื่อการสงวนรักษาวัตถุจัดแสดงและความปลอดภัยอย่างถูกต้องตามหลักวิชา ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ ศึกษาค้นคว้าเรื่องราวเกี่ยวกับวิวัฒนาการเงินตราไทย ประวัติบทบาทหน้าที่สำคัญของธนาคารแห่งประเทศไทยและวังบางขุนพรหม ให้อนุชนรุ่นหลังได้ตระหนักถึงคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรม โดยช่วยกันอนุรักษ์และเชิดชูไว้ให้เป็นสมบัติของชาติสืบไป

จากที่ดิฉันได้เข้าไปศึกษามีด้วยกันทั้งหมด2ห้อง ห้องแรกจะจัดแสดงเกี่ยวกับ เหรียญในสมัยต่างๆในประวัติศาสตร์ไม่ว่าจะเป็นของไทยหรือของต่างประเทศ ห้องที่2จัดแสดงเกี่ยวกับ ธนบัตรในสมัยต่างๆ ทั้งของไทยและต่างประเทศ

ระบบสกุลเงินไทยในปัจจุบัน ซึ่งเงิน หนึ่งบาท มีค่าเท่ากับ 100 สตางค์ เริ่มใช้ปี พ.ศ. 2440 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ในปัจจุบัน มีการผลิตเหรียญกษาปณ์อยู่ทั้งหมด 9 ชนิดคือ เหรียญ 1, 5, 10, 25 และ 50 สตางค์, 1, 2, 5 และ 10 บาท โดยเหรียญ 25 และ 50 สตางค์, 1, 2, 5 และ 10 บาท เป็นเหรียญที่ออกใช้หมุนเวียนทั่วไป ส่วนเหรียญ 1, 5 และ 10 สตางค์ ไม่ได้ออกใช้หมุนเวียนทั่วไป แต่ใช้ภายในธนาคารเท่านั้น ดินแดนซึ่งเป็นที่ตั้งของประเทศไทยในปัจจุบัน เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่ก่อน พุทธศตวรรษที่ 6 ซึ่งกลุ่มชนเหล่านี้ได้มีการติดต่อกับชุมชนอื่นในบริเวณใกล้เคียง โดยใช้สื่อกลางใน การแลกเปลี่ยนหลายรูปแบบ เช่น ลูกปัด เปลือกหอย เมล็ดพืช เป็นต้น สำหรับชนชาติไทยสันนิษฐานว่าได้มีการนำโลหะเงินมาใช้เป็นเงินตรามาตั้งแต่ในสมัยสุโขทัย เรียกกันว่า เงินพดด้วง ซึ่งมีเอกลักษณ์ เป็นของตัวเอง และแสดงให้เห็นถึงความเจริญของชนชาติไทยที่ได้ผลิตเงินตราขึ้นใช้เองเป็นเวลาหลายร้อยปีจวบจนมีการนำเงินเหรียญตามแบบสากลเข้ามาใช้ - อาณาจักรฟูนันก่อตัวขึ้นบริเวณทางใต้ของลุ่มน้ำโขง ประมาณพุทธศตวรรษที่ 6 และล่มสลายลง ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 เงินตราที่ใช้จะมีสัญลักษณ์ เกี่ยวกับกษัตริย์ การปกครอง และศาสนา โดยมีลักษณะเป็นเหรียญเงินด้านหนึ่งมีสัญลักษณ์พระอาทิตย์ครึ่งดวงเปล่งรัศมี อีกด้านหนึ่งเป็นรูปพระศรีวัตสะ กลองบัณเฑาะว์ที่พราหมณ์ใช้ในพิธีต่างๆ และมีเครื่องหมายสวัสดิกะซึ่งหมายถึงความโชคดี - อาณาจักรทวารวดีเริ่มมีความสำคัญขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 12 และล่มสลายลงในพุทธศตวรรษที่ 16 สันนิษฐานว่ามีศูนย์กลางการปกครองอยู่บริเวณจังหวัดนครปฐม เงินตราที่พบยังคงมีสัญลักษณ์เกี่ยวกับกษัตริย์ อำนาจการปกครอง ความอุดมสมบูรณ์ และศาสนา เช่น เหรียญเงินด้านหนึ่งเป็นรูปบูรณกลศ (หม้อน้ำที่มีน้ำเต็ม) ซึ่งหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ อีกด้านเป็นภาษาสันสกฤตโบราณ อ่านว่า "ศรีทวารวดี ศวรปุณยะ" แปลว่า "บุญกุศลของพระราชาแห่งศรีทวารวดี" -ราชอาณาจักรสุโขทัยได้ผลิตเงินตราขึ้นใช้ในระบบเศรษฐกิจ คือ เงินพดด้วง นอกจากนี้ยังใช้ "เบี้ย" เป็นเงินปลีกสำหรับแลกเปลี่ยนสินค้าราคาต่ำ เงินพดด้วงสันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัย และใช้ต่อเนื่องกันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา กรุงธนบุรี กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

  • ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเงินที่สำคัญ พระองค์มีพระราชดำริว่า มาตราของไทยที่ใช้อยู่ในขณะนั้น คือ ชั่ง ตำลึง บาท สลึง เฟื้อง เป็นระบบที่ยากต่อการคำนวณ และการจัดทำบัญชี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุงใหม่ โดยใช้หน่วยเป็นบาท และสตางค์ คือ 100 สตางค์ เป็น 1 บาท ตั้งแต่ พ.ศ. 2441 แล้วรู้หรือไม่ว่าในสมัยของพระองค์ได้เริ่มนำรูปของพระมหากษัตริย์ประทับลงบนหน้าเหรียญกษาปณ์
  • เงินกระดาษที่ออกครั้งแรกในประเทศไทย เรียกว่า "หมาย มีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด ชนิดแรกเป็นหมายขนาดใหญ่มี 4 ราคา คือ 3 ตำลึง , 4 ตำลึง , 6 ตำลึง และ 10 ตำลึง หมายชนิดที่ 2 มีราคา 1 บาท , 3 สลึง, 2 สลึง ,สลึงเฟื้อง , หนึ่งสลึง และหนึ่งเฟื้อง หมายชนิดที่ 3 เป็นหมายราคาสูง มี 2 ราคา เท่านั้นคือ ราคา 20 บาท และ 80 บาท
  • กระดาษอัฐ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่4 โปรดเกล้าฯ ให้ใช้กระดาษแทนเบี้ย เพราะเหรียญกษาปณ์ไม่มีพอใช้ประจำวัน
  • บัตรธนาคาร ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มี 3 ธนาคารต่างประเทศ ออกบัตรธนาคารใช้แทนเงินอยู่ในท้องตลาด คือ ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ ธนาคารชาร์เตอร์ และธนาคารแห่งอินโดจีน บัตรที่ออกเรียกว่า แบงค์โน้ต (Bank Note) แต่คนไทยเรียกสั้นๆว่า แบงค์ เลยติดปากเรียกธนบัตรของรัฐบาลว่า แบงค์มาจนถึงทุกวันี้ ธนบัตรต่างประเทศ -ธนบัตรของประเทศอังกฤษ เป็นรูปของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบทที่2 -ธนบัตรดอลล่าสหรัฐของอเมริกาเป็นรูปของเบจามิน แฟรงเคลิน -ธนบัตรรูปีของอินเดียเป็นรูปของมหาตมะ คานที ผูเรียกร้องเอกราชอินเดีย2490 เป็นการเรียกร้องอย่างสันติวิธี -ธนบัตรเยน ญี่ปุ่นเป็นรูปของยูกิชิ ฟุกุซาวะ -ดอลล่าสหรัฐอเมริกา อับราฮัม ลินคอล์น Abraham Lincoln ปธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา บิดาระบอบประชาธิปไตยยุคใหม่ -ธนบัตรดอลล่าสิงคโปร์เป็นรูปของ ยูซุปบิน ไอซัค ปธานธิบดีคนแรกของสิงคโปร์หลังจากรับเอกราชจากประเทศอังกฤษ -ธนบัตรวอนของ ประเทศเกาหลี เป็นรูปของกษัตริย์เซจอง ราชวงศ์โชชอน ผู้ประดิษฐ์อักษรเกาหลี -ดอลล่าออสเตเลีย เป็นรูปของเนลลี เมลบา -ดอลล่านิวซีแลนด์ เป็นรูปของ เซอร์เอ็ดมัน ฮิลลารี ผู้พิชิตยอดเขาเอฟเวอเรส -เงินหยวนของจีน เป็นรูปของ เหมา เจ๋อ ตุ๋ง ปธานาธิบดี แห่งจีนคนแรก นำปฏิวัติสู่สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ สถาปนาสาธารณรัฐจีน
    นี่ก็เป็นความรู้ที่ฉันได้รับ จากการไปทัศนศึกษานอกสถานที่ในครั้งนี้ และได้รับความประทับใจคือได้เห็นสิ่งที่หลงเหลือจากอดีต มาจัดแสดงให้คนรุ่นหลังได้ดู อาจจะไม่ใช่ครั้งแรกที่เเคยเห็น แต่ก็เป็นบุญครั้งหนึ่งที่เคยเห็นสิ่งที่ล้ำค่า ที่บรรพบุรุษสร้างไว้ให้เราได้ดู ถ้าไม่มีพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ดิฉันก็คงไม่เคยเห็นสิ่งที่มีมานับร้อยๆปี และยังมีอยู่จริงที่พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย

ชื่อ slowly ของ นาย ชานนท์ จันทร์ดีสุขใจ

ธนาคารแห่งประเทศไทย The Bank of Thailand ประวัติธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ชื่อไม่เป็นทางการ แบงค์ชาติ (อังกฤษ: The Bank of Thailand: BOT) เป็นธนาคารกลางของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 เปิดดำเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2485 มีหน้าที่หลักในการดูแลกำกับเรื่องการเงินของชาติ ทั้งออกกฎเกณฑ์และควบคุมสถาบันการเงิน นำออกหมุนเวียนซึ่งธนบัตรไทยรวมถึงการควบคุมการถ่ายโอนเงินตราระหว่างประเทศ และเฝ้าระวังอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบกับสกุลเงินตราอื่น ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดตั้งขึ้นหลังจากประเทศไทยได้มีธนาคารพาณิชย์ทั้งของรัฐและเอกชนเริ่มดำเนินการไปก่อนหน้านั้นแล้ว ภารกิจและหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยเดิมซ้อนเหลื่อมอยู่กับกระทรวงการคลังและได้มีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นลำดับหลังจากที่ระบบการเงินของโลกพัฒนาไปและมีวิกฤตเศรษฐกิจครั้งสำคัญต่างๆ

     ในปี พ.ศ. 2482 เกิดสงครามโลกครั้งที่สอง สงครามและเหตุการณ์ที่เกิดจากสงครามได้เร่งรัดความจำเป็นต้องจัดตั้งธนาคารกลางขึ้นในประเทศไทย ปรีดี พนมยงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ร่วมมือกับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย เริ่มจัดตั้งสำนักงานธนาคารชาติขึ้นในปี พ.ศ. 2482 อันเป็นแนวทางไปสู่การตราพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทยในปี พ.ศ. 2485 ในสมัยที่ พลเอกเภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (2484 - 2487) ได้มีการตราพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2485 จัดตั้งธนาคารแห่งประเทศไทย ขึ้นเป็นองค์กรอิสระ และ จากพระราชกฤษฎีกากำหนดกิจการธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2485 ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเริ่มประกอบธุรกิจได้ตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2485 เป็นต้นไป พร้อมกันนี้ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวิวัฒนไชย เป็นผู้ว่าการธนาคารพระองค์แรก (พ.ศ. 2485 - 2489) พระองค์ได้ทรงวางระเบียบแบบแผนและดำเนินการจนธนาคารแห่งประเทศไทยได้ดำรงอยู่เป็นปึกแผ่นมั่นคงตลอดมาจนปัจจุบัน

พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ย มีอนุสนธิมาจากคำสั่งที่ ๙๖/๒๕๒๑ ลงวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๒๑ เรื่องตั้งคณะทำงานพิจารณาจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ของธนาคาร ทำหน้าที่ดูแลการซ่อมแซมปรับปรุงวังบางขุนพรหม เพื่อให้เป็นพิพิธภัณฑ์เงินตราและจัดแสดงประวัติวังบางขุนพรหม ซึ่งเดิมวังบางขุนพรหมเป็นอาคารที่ทำการธนาคารแห่งประเทศไทย ต่อมาในปี ๒๕๒๕ เมื่ออาคารสำนักงานใหญ่หลังแรกได้เปิดดำเนินการ วังบางขุนพรหมจึงมิได้ใช้งาน ประกอบกับมีความงดงามทางสถาปัตยกรรมเป็นอย่างยิ่ง จึงได้รับความเห็นชอบจากธนาคารที่จะตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กราบบังคมทูลพระกรุณาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๙ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๖ ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่ในตำหนักใหญ่ วังบางขุนพรหม และตำหนักใหญ่วังเทวะเวสม์ ภายในบริเวณธนาคารแห่งประเทศไทย เลขที่ ๒๗๓ ถนนสามเสน แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง เพื่ออนุรักษ์เงินตราไทยอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของชนชาติไทยในอดีต เป็นศูนย์กลางการค้นคว้าศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการเงินตราไทย ระบบเงินตรา ซึ่งสะท้อนถึงภาวะเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมในแต่ละยุคสมัย อเผยแพร่ความรู้แก่สาธารณชนเกี่ยวกับระบบการเงินของไทย และบทบาทของธนาคารแห่งประเทศไทยในฐานะธนาคารกลางของประเทศ อืกทั้งแสดงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรมและศิลปกรรมของอาคารโบราณสถานที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้อนุรักษ์ไว้ให้เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมของชาติต่อไป การจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์มุ่งให้ทั้งความรู้และความเพลิดเพลินแก่ผู้เข้าชม โดยใช้เทคนิคต่าง ๆ ที่ดึงดูดความสนใจของผู้เข้าชมมีการนำระบบแสง-เสียง เทคนิคฉากละคร (Diorama) ระบบมัลติมีเดีย ระบบคอมพิวเตอร์กราฟิก ฯลฯ เข้าร่วมในการนำเสนอ

          นอกจากนี้ยังได้วางระบบต่างๆ เพื่อการสงวนรักษาวัตถุจัดแสดงและความปลอดภัยอย่างถูกต้องตามหลักวิชา ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ ศึกษาค้นคว้าเรื่องราวเกี่ยวกับวิวัฒนาการเงินตราไทย ประวัติบทบาทหน้าที่สำคัญของธนาคารแห่งประเทศไทยและวังบางขุนพรหม ให้อนุชนรุ่นหลังได้ตระหนักถึงคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรม โดยช่วยกันอนุรักษ์และเชิดชูไว้ให้เป็นสมบัติของชาติสืบไป

จากที่ดิฉันได้เข้าไปศึกษามีด้วยกันทั้งหมด2ห้อง ห้องแรกจะจัดแสดงเกี่ยวกับ เหรียญในสมัยต่างๆในประวัติศาสตร์ไม่ว่าจะเป็นของไทยหรือของต่างประเทศ ห้องที่2จัดแสดงเกี่ยวกับ ธนบัตรในสมัยต่างๆ ทั้งของไทยและต่างประเทศ

ระบบสกุลเงินไทยในปัจจุบัน ซึ่งเงิน หนึ่งบาท มีค่าเท่ากับ 100 สตางค์ เริ่มใช้ปี พ.ศ. 2440 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ในปัจจุบัน มีการผลิตเหรียญกษาปณ์อยู่ทั้งหมด 9 ชนิดคือ เหรียญ 1, 5, 10, 25 และ 50 สตางค์, 1, 2, 5 และ 10 บาท โดยเหรียญ 25 และ 50 สตางค์, 1, 2, 5 และ 10 บาท เป็นเหรียญที่ออกใช้หมุนเวียนทั่วไป ส่วนเหรียญ 1, 5 และ 10 สตางค์ ไม่ได้ออกใช้หมุนเวียนทั่วไป แต่ใช้ภายในธนาคารเท่านั้น ดินแดนซึ่งเป็นที่ตั้งของประเทศไทยในปัจจุบัน เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่ก่อน พุทธศตวรรษที่ 6 ซึ่งกลุ่มชนเหล่านี้ได้มีการติดต่อกับชุมชนอื่นในบริเวณใกล้เคียง โดยใช้สื่อกลางใน การแลกเปลี่ยนหลายรูปแบบ เช่น ลูกปัด เปลือกหอย เมล็ดพืช เป็นต้น สำหรับชนชาติไทยสันนิษฐานว่าได้มีการนำโลหะเงินมาใช้เป็นเงินตรามาตั้งแต่ในสมัยสุโขทัย เรียกกันว่า เงินพดด้วง ซึ่งมีเอกลักษณ์ เป็นของตัวเอง และแสดงให้เห็นถึงความเจริญของชนชาติไทยที่ได้ผลิตเงินตราขึ้นใช้เองเป็นเวลาหลายร้อยปีจวบจนมีการนำเงินเหรียญตามแบบสากลเข้ามาใช้ - อาณาจักรฟูนันก่อตัวขึ้นบริเวณทางใต้ของลุ่มน้ำโขง ประมาณพุทธศตวรรษที่ 6 และล่มสลายลง ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 เงินตราที่ใช้จะมีสัญลักษณ์ เกี่ยวกับกษัตริย์ การปกครอง และศาสนา โดยมีลักษณะเป็นเหรียญเงินด้านหนึ่งมีสัญลักษณ์พระอาทิตย์ครึ่งดวงเปล่งรัศมี อีกด้านหนึ่งเป็นรูปพระศรีวัตสะ กลองบัณเฑาะว์ที่พราหมณ์ใช้ในพิธีต่างๆ และมีเครื่องหมายสวัสดิกะซึ่งหมายถึงความโชคดี - อาณาจักรทวารวดีเริ่มมีความสำคัญขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 12 และล่มสลายลงในพุทธศตวรรษที่ 16 สันนิษฐานว่ามีศูนย์กลางการปกครองอยู่บริเวณจังหวัดนครปฐม เงินตราที่พบยังคงมีสัญลักษณ์เกี่ยวกับกษัตริย์ อำนาจการปกครอง ความอุดมสมบูรณ์ และศาสนา เช่น เหรียญเงินด้านหนึ่งเป็นรูปบูรณกลศ (หม้อน้ำที่มีน้ำเต็ม) ซึ่งหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ อีกด้านเป็นภาษาสันสกฤตโบราณ อ่านว่า "ศรีทวารวดี ศวรปุณยะ" แปลว่า "บุญกุศลของพระราชาแห่งศรีทวารวดี" -ราชอาณาจักรสุโขทัยได้ผลิตเงินตราขึ้นใช้ในระบบเศรษฐกิจ คือ เงินพดด้วง นอกจากนี้ยังใช้ "เบี้ย" เป็นเงินปลีกสำหรับแลกเปลี่ยนสินค้าราคาต่ำ เงินพดด้วงสันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัย และใช้ต่อเนื่องกันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา กรุงธนบุรี กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

  • ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเงินที่สำคัญ พระองค์มีพระราชดำริว่า มาตราของไทยที่ใช้อยู่ในขณะนั้น คือ ชั่ง ตำลึง บาท สลึง เฟื้อง เป็นระบบที่ยากต่อการคำนวณ และการจัดทำบัญชี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุงใหม่ โดยใช้หน่วยเป็นบาท และสตางค์ คือ 100 สตางค์ เป็น 1 บาท ตั้งแต่ พ.ศ. 2441 แล้วรู้หรือไม่ว่าในสมัยของพระองค์ได้เริ่มนำรูปของพระมหากษัตริย์ประทับลงบนหน้าเหรียญกษาปณ์
  • เงินกระดาษที่ออกครั้งแรกในประเทศไทย เรียกว่า "หมาย มีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด ชนิดแรกเป็นหมายขนาดใหญ่มี 4 ราคา คือ 3 ตำลึง , 4 ตำลึง , 6 ตำลึง และ 10 ตำลึง หมายชนิดที่ 2 มีราคา 1 บาท , 3 สลึง, 2 สลึง ,สลึงเฟื้อง , หนึ่งสลึง และหนึ่งเฟื้อง หมายชนิดที่ 3 เป็นหมายราคาสูง มี 2 ราคา เท่านั้นคือ ราคา 20 บาท และ 80 บาท
  • กระดาษอัฐ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่4 โปรดเกล้าฯ ให้ใช้กระดาษแทนเบี้ย เพราะเหรียญกษาปณ์ไม่มีพอใช้ประจำวัน
  • บัตรธนาคาร ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มี 3 ธนาคารต่างประเทศ ออกบัตรธนาคารใช้แทนเงินอยู่ในท้องตลาด คือ ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ ธนาคารชาร์เตอร์ และธนาคารแห่งอินโดจีน บัตรที่ออกเรียกว่า แบงค์โน้ต (Bank Note) แต่คนไทยเรียกสั้นๆว่า แบงค์ เลยติดปากเรียกธนบัตรของรัฐบาลว่า แบงค์มาจนถึงทุกวันี้ ธนบัตรต่างประเทศ -ธนบัตรของประเทศอังกฤษ เป็นรูปของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบทที่2 -ธนบัตรดอลล่าสหรัฐของอเมริกาเป็นรูปของเบจามิน แฟรงเคลิน -ธนบัตรรูปีของอินเดียเป็นรูปของมหาตมะ คานที ผูเรียกร้องเอกราชอินเดีย2490 เป็นการเรียกร้องอย่างสันติวิธี -ธนบัตรเยน ญี่ปุ่นเป็นรูปของยูกิชิ ฟุกุซาวะ -ดอลล่าสหรัฐอเมริกา อับราฮัม ลินคอล์น Abraham Lincoln ปธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา บิดาระบอบประชาธิปไตยยุคใหม่ -ธนบัตรดอลล่าสิงคโปร์เป็นรูปของ ยูซุปบิน ไอซัค ปธานธิบดีคนแรกของสิงคโปร์หลังจากรับเอกราชจากประเทศอังกฤษ -ธนบัตรวอนของ ประเทศเกาหลี เป็นรูปของกษัตริย์เซจอง ราชวงศ์โชชอน ผู้ประดิษฐ์อักษรเกาหลี -ดอลล่าออสเตเลีย เป็นรูปของเนลลี เมลบา -ดอลล่านิวซีแลนด์ เป็นรูปของ เซอร์เอ็ดมัน ฮิลลารี ผู้พิชิตยอดเขาเอฟเวอเรส -เงินหยวนของจีน เป็นรูปของ เหมา เจ๋อ ตุ๋ง ปธานาธิบดี แห่งจีนคนแรก นำปฏิวัติสู่สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ สถาปนาสาธารณรัฐจีน
    นี่ก็เป็นความรู้ที่ฉันได้รับ จากการไปทัศนศึกษานอกสถานที่ในครั้งนี้ และได้รับความประทับใจคือได้เห็นสิ่งที่หลงเหลือจากอดีต มาจัดแสดงให้คนรุ่นหลังได้ดู อาจจะไม่ใช่ครั้งแรกที่เเคยเห็น แต่ก็เป็นบุญครั้งหนึ่งที่เคยเห็นสิ่งที่ล้ำค่า ที่บรรพบุรุษสร้างไว้ให้เราได้ดู ถ้าไม่มีพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ดิฉันก็คงไม่เคยเห็นสิ่งที่มีมานับร้อยๆปี และยังมีอยู่จริงที่พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย

     จากการที่ข้าพเจ้าได้เข้าไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยในครั้งนี้ ทำให้ข้าพเจ้าได้ศึกษาเรียนรู้อะไรหลายๆอย่างอาทิประวัติของเงินตรานับตั้งแต่ยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์มาจนถึงปัจจุบันนี้ประวัติศาสตร์ของเงินตรานับว่าเป็นประวัติศาสตร์อย่างหนึ่งที่มีคุณค่ามากยิ่งนัก

     "ดินแดนซึ่งเป็นที่ตั้งของประเทศไทยในปัจจุบัน เป็นทีี่อยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่ก่อนพุทธศตวรรษที่6 ซึ่งกลุ่มชนเหล่านี้ได้มีการติดต่อกับชุมชนใกล้เคียง โดยใใช้สื่อกลางในการเเลกเปลี่ยนหลากหลายรูปแบบเช่น เปลืกหอย เมล็ดพืช เป็นต้นสำหรับชนชาติไทยสันนิาฐานว่าได้มีการนำโลหะเงินมาใช้เป็นเงินตราตั้งแต่สมัยสุโขทัย เรียกกันว่าเป็นเงิน พดด้วง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เป็นของตัวเองและเเสดงถึงความเจริญของชนชาติไทยที่ผลิตเงินตรามาใช้เองเป็นเวลาหลายร้อยปีจวบจนมีการนำเงินตามแบบสากลมาใช้

 วิวัฒนาการเงินตราไทย

     เงินตราฟูนัน  เหรียญเงินด้านหนึ่งมีลักษณะเป็นพะอาทิตย์ครึ่งดวงเปล่งรัศมี อีกด้านหนึ่งเป็นรูปพระศรีวัตสะ กลองบัณเทาะว์ที่พราหมณ์ใช้ในพิธีต่างๆและมีเครื่องหมายสวัสดิกะวึ่งหมายถึงความโชคดี

     เงินตราทวาราวดี  เป็นเงินตราที่พบยังคงมีลักษณะเป็นกษัตริย์ อำนาจการปกครอง ความอุดมสมบูรณ์และศาสนาเช่น เหรียญเงิน อีกด้านหนึ่งเป็นรูปบูรณกลศ

    เงินตราศรีวิชัย  ประมาณพุทธศตวรรษที่13 การค้าทางทะเลมีความสำคัญมากขึ้น ส่งผลให้เมืองที่อยู่บน คาบสมุทรสุวรรณภูมิ ได้แก่ ไชยาและนครศรีธรรมราชมีความเจริญในทางการค้า

    เงินตราสุโขทัย  การผลิตเงินพดด้วงในสมัยนี้ ทางราชการเปิดโอกาสให้เจ้าเมืองประเทสราช ตลอดจนพ่อค้าและประชาชนสามารถผลิตขึ้นมาใช้เองได้ เพื่อความสะดวกและคล่องตัวในการติดต่อค้าขาย จึงพบเงินพดด้วงที่มีตราประทับหลาหลายตรากันไป ดดยอาจเป็นตราของผู้ผลิต ของเจ้าเมืองหรือผู้มีอำนาจในการรับรองของเนื้อเงินก็ได้ ตราที่พบส่วนใหญ่ได้แก่ ราชสีห์ ช้าง หอยสังข์ ธรรมจักร บัว กระต่ายและราชวัต

    เงินตราสมัยกรุงธนบุรี  สมัยนี้ยังใช้เงินพดด้วงอย่างกรุงเก่า สันนิษฐานมีการผลิตใช้เงินพดด้วงขึ้นมาใช้เพียง 2 ชนิด คือ เงินพดด้วงตราตรีศูลและตราทวิวุธ

    สมัยราชกาลที่๑  เงินพดด้วงสมัยราชกาลที่๑ เดิมประทับตราจักร และตราตรีศูล แต่หลังจากบรมราชาภิเษกแล้วได้โปรดเกล้าฯให้ผลิตเงินพดด้วงประจำราชกาลและประทับตราพระแสงจักร-บัวอุณาโลม

    สมัยราชกาลที่๒  ตราที่ประทับบนเงินพดด้วงคือ ตราจักรและตราครุฑ สันนิษฐานว่าครุฑมาจากพระนามเดิมของราชกาลที่๒ คือ "ฉิม" ซึ่งเป็นวิมารของพญาครุฑ

    สมัยราชกาลที่๓  ตราปราสาทเป็นตราประจำพระองค์ของราชกาลที่๓ ผลิตขึ้นมาเมื่อพระองค์เสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติในปี พ.ศ.2367 นอกจากนี้ยังมีการผลิตเงินพดด้วงเป็นที่ระลึกในโอกาสสำคัญๆ

    สมัยราชกาลที่๔  พระองค์จึงมีพระราชดำริที่จะเปลี่ยนรูปเงินตราของไทยจากเงินพดด้วงเป็นเงินเหรียญ ในสมัยนี้จึงถือว่ามีการใช้เหรียญกษาปณ์แบบสากลนิยมเป็นครั้งแรก ทรงประกาศให้เลิกใช้เงินพดด้วงทุกชนิด ตั้งแต่วันที่ 28 ตุลาคม 2447 เป็นต้นมา

    สมัยราชกาลที่๕  ในราชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเงิน ที่สำคัญพระองค์มีพระราชดำริว่า มาตราของไทยที่ใช้อยู่ในขณะนั้น คือ ชั่ง ตำลึง บาท สลึง เฟื้อง เป็นระบบที่ยากต่อการคำนวณและการทำบัญชี

    สมัยราชกาลที่๖  มีการผลิตเหรียญกษาปณ์ไปใช้แต่ไม่มีการเปลี่ยนรูปแบบมากนัก ส่วนใหญ่เป็นเงินกษาปณ์ที่มีราคาไม่สูงนัก คือ 1บาท,50 สตางค์,10 สตางค์,5 สตางค์ และ 1 สตางค์

    สมัยราชกาลที่๗  ในราชกาลนี้มีการผลิตเหรียญออกไปใช้ไม่มากนัก เนื่องจากอยู่ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ เหรียญประจำราชกาลที่นำออกไปใช้เป็นเหรียญชนิดราคา 50 และ 25 สตางค์ ตราพระบรมรูป-ช้างทรงเครื่อง

   สมันราชกาลที่๘  เหรียญประจำราชกาลที่ผลิตออกมาใช้หมุนเวียน เป็นเหรียญตราพระบรมรูป-พระครุฑพ่าห์ ชนิดราคา 50,25,10 และ 5 สตางค์ 

    สมัยราชกาลที่๙  ได้มีการผลิตเหรียญกษาปณ์รุ่นเเรกออกไปใช้ เป็นเหรียญอะลูมิเนี่ยมบรอนซ์ หรือทองแดง ชนิดราคา5 สตางค์ ,10 สตางค์,25 สตางค์,50 สตางค์ ลวดลายด้านหน้าเป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ด้านหลังเป็นตราแผ่นดินของไทย

นอกจากนี้ยังมีเงินตราท้องถิ่นของภาคใต้ในสมัยรัฒนโกสินทร์ที่เรียกกันว่า "อีแปะ"  ตั้งแต่สมัยราชกาลที่๒ถึงสมัยราชกาลที่๕(ตอนปลาย)แห่งกรุงรัฒนโกสินทร์(ค.ศ.1879-1970) ได้มีการผลิตและใช้อีแปะดีบุก หรือที่ชาวใต้เรียกว่า "เบี้ย"ซึ่งเกิดขึ้นเพราะความต้องการใช้เงินปลีกย่อยในเมืองหรืือในอณาเขตเมืองต่างๆ ได้แก่ สงขลา พัทลุง ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี และปัตตานี โดยเป็นทีี่ยอมรับให้ใช้เฉพาะท้องถิ่น สันนิษฐานว่าชาวจีนเป็นผู็ริเริ่มผลิตอีแปะขึ้นมา ชาวใต้เลียนแบบชาวจีนโดยใช้ตะกั่วผสมดีบุกหล่อในแม่พิมพ์คล้ายกิ่งไม้ ตัวอีแปะมีลักษณะกลมบาง มีรูตรงกลางบ้างก็เรียกเหรียญกงสี เหรียญกงสีเป็นวิวิฒนาการมาจากอีแปะทำด้วยโลหะดีบุค+ตะกั่ว กลางเหรียญมีรูกลมบ้าง รูสี่เหลี่ยมบ้าง บนเหรียญส่วนใหญ่มีอักษรจีน ระบุสถานที่ใช้หรือที่ผลิต เหรียญกงสีทั้งน่าจะริเริ่มใช้ในปลายสมัยราชกาลที่๓เป็นต้นมาจนถึงสมัยราชกาลที่๕ซึ่งเป็นสมันที่ไทยเริ่มเปิดประเทศ และมีชาวจีนเป็นผู็รับเหมาเก็บภาษี กิจกรรมใหญ่ๆที่มีลูกจ้างมาก เช่นเหมืองแร่ โรงสี โรงเลื่อย เป็นต้น ต่อมาราชกาลที่๕ได้ทรงปรับเปลี่ยนระบบกาารปกครอง เศรษฐกิจการเมืองให้ทันสมัยในเรื่องของการคลัง ทางการได้ตราพระราชบัญญัติมาตราทองคำ ร.ศ.127 เมื่อ11 พฤศจิกายน 2451 ทำให้ไทยเข้าสู่ระบบการใช้ทองคำเป็นทุนสำรองและกำหนดอัตราเงินบาทเทียบเท่าทองคำ ส่วนเงินนอกระบบไม่ว่าจะเป็นเงินท้องถิ่นหรือเงินต่างประเทศจึงถูกห้ามใช้ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาอีกทั้งข้าพเจ้าได้รู็ถึง

 กระบวนการผลิตธนบัตร

  1. การออกแบบธนบัตร
  2. การทำแม่แบบแม่พิมพ์
  3. การพิมพ์
  4. การตรวจสอบคุณภาพและตรวจนับจำนวน
  5. การผลิตธนบัตรขั้นสำเร็จรุป

ระบบการจัดการธนบัตรที่มีประสิทธิภาพ

  1. โรงพิมพ์ธนบัตร
  2. ฝ่ายจัดการธนบัตร
  3. ศูนย์จัดการธนบัตร (ธปท.)
  4. ศูนย์เงินสดกลางธนาคารพาณิชย์
  5. ธนาคารพาณิชย์
  6. ประชาชน

ขั้นตอนในการวางแผนทางการเงิน

  1. ประเมินฐานะทางการเงิน
  2. ระบุเป้าหมายที่ต้องการ
  3. จัดทำแผนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางเงิน
  4. มุ่งมั่นปฏิบัติตามแผน
  5. ติดตามประเมินผลทบทวนและปรับปรุงแผน

รูปแบบการออม

  1. การออมเพื่อไว้ใช้ยามเกษียณ
  2. การออมเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายยามฉุกเฉิน
  3. การออมเพื่อสิ่งที่อยากได้หรืออยากทำ
  4. การออมเพื่อใช้เป็นการลงทุน

           I was very impressed with The Museum of The Bank of Thailand,and i can take the knowledge gained applied in my everyday lifestyle whether it is a matter of process in financial planning , forms saving money and payment systems

Name: Madihah  Sa-it

ID:55127326080

พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย

   จากการได้ไปศึกษาและเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ดิฉันได้รับความรู้มากมายว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ชื่อไม่เป็นทางการ แบงค์ชาติ จัดตั้งขึ้นพ.ศ. 2485 เปิดดำเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2485หน้าที่หลักในการดูแลกำกับเรื่องการเงินของชาติ ทั้งออกกฎเกณฑ์และควบคุมสถาบันการเงิน นำออกหมุนเวียนซึ่งธนบัตรไทยรวมถึงการควบคุมการถ่ายโอนเงินตราระหว่างประเทศ และเฝ้าระวังอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบกับสกุลเงินตราอื่น ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดตั้งขึ้นหลังจากประเทศไทยได้มีธนาคารพาณิชย์ทั้งของรัฐและเอกชนเริ่มดำเนินการไปก่อนหน้านั้นแล้ว ภารกิจและหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยเดิมซ้อนเหลื่อมอยู่กับกระทรวงการคลังและได้มีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นลำดับหลังจากที่ระบบการเงินของโลกพัฒนาไปและมีวิกฤตเศรษฐกิจครั้งสำคัญต่างๆ
   พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ทำหน้าที่ดูแลการซ่อมแซมปรับปรุงวังบางขุนพรหม เพื่อให้เป็นพิพิธภัณฑ์เงินตราและจัดแสดงประวัติวังบางขุนพรหม ซึ่งเดิมวังบางขุนพรหมเป็นอาคารที่ทำการธนาคารแห่งประเทศไทย ต่อมาในปี ๒๕๒๕ เมื่ออาคารสำนักงานใหญ่หลังแรกได้เปิดดำเนินการ  วังบางขุนพรหมจึงมิได้ใช้งาน ประกอบกับมีความงดงามทางสถาปัตยกรรมเป็นอย่างยิ่ง จึงได้รับความเห็นชอบจากธนาคารที่จะตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย

เมื่อการจัดทำพิพิธภัณฑ์แล้วเสร็จ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กราบบังคมทูลพระกรุณาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๙ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๖

ต่อมาภายหลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์วังเทวะเวสม์ในปี ๒๕๔๑ จึงได้มีการปรับปรุงและอนุรักษ์ตำหนักใหญ่ วังเทวะเวสม์ และได้จัดทำห้องจัดแสดงของพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยที่ตำหนักนี้ด้วย โดยแสดงพระประวัติของสมเด็จ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการและแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับวังเทวะเวสม์ ในการนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้มีพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดตำหนักใหญ่ วังเทวะเวสม์ เมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๗ ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่ในตำหนักใหญ่ วังบางขุนพรหม และตำหนักใหญ่วังเทวะเวสม์ ภายในบริเวณธนาคารแห่งประเทศไทย เลขที่ ๒๗๓ ถนนสามเสน แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ การจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์มุ่งให้ทั้งความรู้และความเพลิดเพลินแก่ผู้เข้าชม โดยใช้เทคนิคต่าง ๆ ที่ดึงดูดความสนใจของผู้เข้าชมมีการนำระบบแสง-เสียง เทคนิคฉากละคร (Diorama) ระบบมัลติมีเดีย ระบบคอมพิวเตอร์กราฟิก ฯลฯ เข้าร่วมในการนำเสนอ

   นอกจากนี้ยังได้วางระบบต่างๆ เพื่อการสงวนรักษาวัตถุจัดแสดงและความปลอดภัยอย่างถูกต้องตามหลักวิชา ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ ศึกษาค้นคว้าเรื่องราวเกี่ยวกับวิวัฒนาการเงินตราไทย ประวัติบทบาทหน้าที่สำคัญของธนาคารแห่งประเทศไทยและวังบางขุนพรหม ให้อนุชนรุ่นหลังได้ตระหนักถึงคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรม โดยช่วยกันอนุรักษ์และเชิดชูไว้ให้เป็นสมบัติของชาติสืบไป

สิ่งที่ดิฉันประทับใจคือ การได้รับรู้ว่าประเทศไทย มรดกที่สืบติ่กันมาช้านาน นั่นคือเรื่องของเงินตรา ซึ่งประเทศไทยเรามีการคิดค้นเงินตราต่างๆมากมายแต่ละสมัย เพื่อใช้เป็นสื่อในการแลกเปลี่ยนสินค้า เงินพดด้วงในสมัยสุโขทัย เงินพดด้วงในสมัยอยุธยา เงินดอกจัน ในสมัยลพบุรี และที่ไม่เคยรู้มาก่อนคือ ห้องธนบัตรทีมีแท่นพิมหน้ามีกระดาษกับดินสอให้ระบายพิมภาพจากแท่นพิมพ์ได้ จากการศึกษาดูงานครั้งนี้ช่วยให้ดิฉันอยากสะสมเงินมากขึ้นๆ และมากขึ้น เพื่อประโยชน์แก่ตนเอง และคนรุ่นหลังต่อไปค่ะ

จากที่ดิฉันได้ไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ก้าวแรกที่เดินเข้าไปประทับใจในบรรยากาศที่สงบร่มรื่นและสวยงามเป็นอย่างมาก และต่อมาดิฉันได้เดินเข้าไปเยี่ยมชมภายในบริเวณพิพิธภัณฑ์ ภายในพิพิธภัณฑ์ได้มีการจัดแสดงนิทรรศการไว้มากมาย และทำให้ดิฉันรับรู้ถึงประวัติความเป็นมาของธนาคารแห่งประเทศไทยว่าธนาคารแห่งประเทศไทยสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่10 ธันวาคม 2585 สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในวังบางขุนพรหม ตั้งแต่ พ.ศ. 2541 ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงอยู่ในอาณาบริเวณของวังอันงดงาม ท่ามกลางภูมิทัศน์อันร่มเย็นริมแม่น้ำเจ้าพระยา สำหรับการจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์มุ่งให้ทั้งความรู้และความเพลิดเพลินแก่ผู้เข้าชม โดยใช้เทคนิคต่าง ๆ ที่ดึงดูดความสนใจของผู้เข้าชมมีการนำระบบแสง-เสียง เทคนิคฉากละคร (Diorama) ระบบมัลติมีเดีย ระบบคอมพิวเตอร์กราฟิก ฯลฯ เข้าร่วมในการนำเสนอ

        นอกจากนี้ยังได้วางระบบต่างๆ เพื่อการสงวนรักษาวัตถุจัดแสดงและความปลอดภัยอย่างถูกต้องตามหลักวิชา ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ ศึกษาค้นคว้าเรื่องราวเกี่ยวกับวิวัฒนาการเงินตราไทย ประวัติบทบาทหน้าที่สำคัญของธนาคารแห่งประเทศไทยและวังบางขุนพรหม ให้อนุชนรุ่นหลังได้ตระหนักถึงคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรม โดยช่วยกันอนุรักษ์และเชิดชูไว้ให้เป็นสมบัติของชาติสืบไป

ห้องเปิดโลกเงินตราไทย จัดแสดงสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เงินตราในภูมิภาคสุวรรณภูมิและวิวัฒนการเงินตราไทยจนเป็นกษาปณ์ในปัจจุบันคือ 1. เงินตราโบราณ นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับสุวรรณภูมิ...ดินแดนทองแห่งการค้า จุดบรรจบของโลกตะวันตกและตะวันออกนำเสนอด้วยวีดีทัศน์ ในรูปแบบของ Animation ส่วนวัตถุพิพิธภัณฑ์ประกอบการจัดแสดงเป็นโบราณวัตถุก่อนประวัติศาสตร์ อาทิ หม้อบ้านเชียง สร้อยลูกปัดสีน้ำเงิน ลูกปัดดินเผาบ้านเชียง กำไลหิน ต่างหูหิน ขวานหิน ขวานสำริด ซึ่งสันนิษฐานว่า เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนก่อนมีเงินตรา สำหรับเงินตราโบราณที่จัดแสดงในห้องนี้ ได้แก่ เงินตราสมัยทวาราวดี เหรียญลวปุระที่หาชมได้ยาก เงินดอกจันทน์ของอาณาจักรศรีวิชัย นอกจากนี้ ยังมีการจัดแสดงเงินตราอาณาจักรล้านนา เช่น เงินเจียง เงินท้อก เงินปากหมู เงินใบไม้ เงินอาณาจักรล้านช้าง เช่น เงินลาด เงินฮ้อย ในส่วนที่จัดแสดงเกี่ยวกับเงินตราโบราณนี้มีการจัดแสดงเงินตราโบราณของอาณาจักรใกล้เคียงที่มีหลักฐานว่ามีการนำมาใช้ในสมัยโบราณของบริเวณที่เป็นที่ตั้งของประเทศไทยในปัจจุบัน เช่น เงินไซซี เงินฮาง เงินตู้
2. เงินพดด้วง จัดแสดงเรื่องราวของเงินพดด้วงซึ่งเป็นเงินที่ผลิตขึ้นมาใช้กว่า ๖๐๐ ปีนับตั้งแต่สมัยสุโขทัยถึง สมัยรัตนโกสินทร์ และยกเลิกการใช้ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ในห้องจัดแสดงนี้มีเงินพดด้วงครบทุกยุคทุกสมัย เงินพดด้วงที่ถือว่าเด่นและดึงดูดสายตาผู้ชมมากคือ “พดด้วงตราพระมหามงกุฎ” “พดด้วงตราช่อรำเพย” ซึ่งเป็นพดด้วงเถาครบชุด หาชมได้ยากและ “พดด้วงทองคำ” ซึ่งมีสภาพสมบูรณ์และหาชมได้ยากเช่นกัน ส่วนรายละเอียดของกระบวนการทำเงินพดด้วงนั้นจัดแสดงในสื่อที่เรียกว่า Diorama มีเสียงบรรยายประกอบ รวมทั้งจัดแสดงอุปกรณ์การจัดทำเงินพดด้วง นอกจากนี้ยังมีMultimedia ที่แสดงเรื่องราวของการค้าสมัยอยุธยา โดยมีเรือสำเภาโปรตุเกสจำลองที่สามารถแล่นไปมาได้ นอกจากนี้ยังมีการแสดงองค์ประกอบของเงินพดด้วง ตราสัญลักษณ์ของเงินพดด้วงสมัยต่างๆ พดด้วงจำลองขนาดยักษ์ที่หมุนได้รอบทิศ Jigsaw ที่เป็นตราพดด้วงที่ผู้เข้าชมสามารถต่อเล่นได้ มุมทดสอบน้ำหนักเงินพดด้วง เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องน้ำหนักและมูลค่าของพดด้วง และเกมคอมพิวเตอร์เพื่อทดสอบความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาของการจัดแสดงในส่วนเปิดโลกเงินตรา 3. กษาปณ์ไทย จัดแสดงเรื่องราวของเหรียญกษาปณ์ในสมัยต่าง ๆ ตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ “เหรียญช้าง เมืองไท” “เหรียญดอกบัว เมืองไท” จนถึงเหรียญกษาปณ์ในสมัยรัชกาลปัจจุบัน เหรียญกษาปณ์ที่เด่นและมีชื่อเสียงในแต่ละสมัย เช่น

เหรียญแต้เม้ง”  สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔

เหรียญหนวด” สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
เหรียญทองคำต้นแบบ” สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖

      นอกจากนี้ ผู้ชมยังสามารถเรียนรู้เรื่องเงินตราในยุคสมัยต่าง ๆ ผ่านจอ Computer  Kiosk ซึ่งมีเนื้อหาในการสืบค้นอย่างละเอียดรอบด้านและส่งท้ายของการเรียนรู้ในห้องเปิดโลกเงินตราด้วยตู้หยอดเหรียญกษาปณ์ที่ผู้ชมสามารถเรียนรู้ขั้นตอนการผลิตเหรียญกษาปณ์โดยย่อ  แต่สามารถทำความเข้าใจได้อย่างชัดเจนพร้อมรับเหรียญที่ระลึกวังบางขุนพรหมเป็นของฝากเพียงหยอดเหรียญ ๑๐ บาท จำนวน ๒ เหรียญ

ห้องธนบัตรไทย จัดแสดงวิวัฒนาการ การใช้เงินกระดาษในระบบเงินตราไทย ตั้งแต่ “หมาย” “ใบพระราชทานเงินตรา” “อัฐกระดาษ” “บัตรธนาคาร” “ตั๋วเงินกระดาษ” หรือ “เงินกระดาษหลวง” มาจนถึงธนบัตรที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ เงินกระดาษชนิดแรก เริ่มในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ได้มีการผลิตเงินกระดาษขึ้นใช้เป็นครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๓๙๖ เรียกว่า “หมาย” ซึ่งนับเป็นเงินกระดาษชนิดแรกในระบบเงินตราไทย และมีการผลิตใบสั่งจ่ายขึ้นหลายชนิดราคาเรียกว่า “ใบพระราชทานเงินตรา” ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ทำ “อัฐกระดาษ” ออกใช้ระยะสั้นๆ เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนเงินปลีกระยะหนึ่ง หลังจากนั้นได้มีการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่ออำนวยความสะดวกในการชำระหนี้ระหว่างธนาคารและลูกค้า เรียกว่า “บัตรธนาคาร” ต่อมาในพ.ศ. ๒๔๓๓ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติได้พิมพ์ “เงินกระดาษหลวง” ขึ้น เพื่อใช้เป็นธนบัตรแต่มิได้นำออกใช้เพราะขาดความพร้อม จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๔๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติจัดทำตั๋วสำคัญที่ใช้แทนเงินตรา ประกาศออกใช้เมื่อวันที่ 7 กันยายน ธนบัตรไทยจึงถือกำเนิด ขึ้นตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ธนบัตรที่นำมาจัดแสดงนี้ มีครบทุกแบบตั้งแต่ธนบัตรแบบหนึ่งเป็นต้นมา รวมทั้งธนบัตรที่ระลึกและบัตรธนาคาร ไม่แต่เท่านั้นยังแสดงรายละเอียดของธนบัตรแต่ละรุ่นว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร แสดงแบบร่างสีก่อนที่จะนำมาตีพิมพ์ หรือ มิได้นำมาตีพิมพ์ ธนบัตรที่ตีพิมพ์แล้วแต่มิได้นำออกใช้ ธนบัตรที่หายากเป็นพิเศษ เบื้องหลังของธนบัตรที่น่าสนใจใคร่รู้ เช่น แบ็งก์กงเต็ก ธนบัตรไว้ทุกข์ เป็นต้น ห้องธนบัตรต่างประเทศ มีจอภาพขนาดใหญ่ให้ความรู้เรื่องธนบัตรต่างประเทศจากทั่วโลก พร้อมจัดแสดงธนบัตรในบอร์ดกระจกที่ผู้ชมสามารถพลิกชมเองได้ทั้งสองด้าน โดยจัดแสดงธนบัตรในกลุ่มประเทศที่สำคัญซึ่ง ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นสมาชิก อาทิ กลุ่มผู้นำประเทศอุตสาหกรรม (G8)และกลุ่มธนาคารแห่งประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEACEN) ห้องบริพัตร จัดแสดงพระประวัติของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตไว้อย่างสมบูรณ์ด้วยวีดีทัศน์เรื่อง “เจ้าฟ้านักบริหาร แบบอย่างของผู้ทรงนำคุณประโชยน์เพื่อแผ่นดิน” ซึ่ง เพลงประกอบที่ไพเราะของเรื่องนี้จัดทำโดยพระนัดดาของพระองค์เอง สำหรับเรื่องราวของพระอัจฉริยภาพทางดนตรีนั้น นำเสนอด้วยเทคนิค Ghost Box ที่ถ่ายทอดเรื่องราวโดยพระธิดาของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต คือ “พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอินทุรัตนา” ซึ่งผู้ชมจะได้ฟัง เพลงมาร์ชบริบัตรและฮังกาเรียนราฟโซดีอันมีชื่อเสียง นอกจากนี้ ยังนำเสนอเพลงพระนิพนธ์ผ่านทางหุ่นจำลองวงปี่พาทย์ไม้แข็งครบวง สำหรับวัตถุประกอบการจัดแสดงนั้น ที่น่าสนใจจะเป็นของใช้ที่ มีตราประจำพระองค์ เช่น จาน เครื่องแก้ว ของที่ระลึกที่ประทาน “แหนบบริพัตร” นอกจากนี้ ยังมีเครื่องบินบริพัตรจำลอง โน้ตเพลงลายพระหัตถ์ รวมทั้งหุ่นจำลองขนาดเท่าพระองค์จริงในฉลองพระองค์จอมพลทหารเรือที่โดดเด่น จุดสุดท้ายที่ดึงดูดใจผู้ชมอย่างมากคือ หุ่นจำลองตำหนักประเสบัน ที่เมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย และฉลองพระองค์ชุดสุดท้ายของพระองค์ที่มหาดเล็กคู่พระทัยถอดเก็บไว้บูชาหลังจากสิ้นพระชนม์ และทายาทได้นำมามอบให้พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อการจัดแสดงและระลึกถึงพระองค์

      นับว่าการที่ได้มาเยี่ยมชมในครั้งนี้ทำให้ดิฉันได้รับความรู้เป็นอย่างมาก เพราะภายในห้องเรียนไม่สามารถหาความรู้ได้ขนาดนี้ เพราะการได้มาสถานที่จริงทำให้เราตื่นเต้น กระตือรือร้น อยากได้ความรู้อยู่ใหม่ๆ ได้สัมผัสกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จริง ภายในห้องยังมีคอมพิวเตอร์ไว้ให้สำหรับเล่นเกมส์ ส่วนเกมส์นั้นก็จะแทรกความรู้ต่างๆเกี่ยวกับการเงินในสมัยต่าง ๆไว้เพื่อเพิ่มพูนความรู้สำหรับผู้ที่มาเยี่ยมชม และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในบทเรียนต่อไปได้ค่ะ

สิ่งที่ได้รับจากการไปศึกษาที่พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย

      ประเทศไทยนำธนบัตรออกใช้เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2445 ตามพระราชบัญญัติธนบัตรสยามรัตนโกสินทร ศก 121 โดยมีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ (กระทรวงการคลัง ในปัจจุบัน) เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ควบคุม ดูแล การสั่งพิมพ์และนำออกใช้ธนบัตรภายในประเทศ จนกระทั่ง มีการจัดตั้งธนาคารแห่งประเทศไทยขึ้นเมื่อพ.ศ. 2485 กิจการทั้งปวงและอำนาจในการดำเนินการเกี่ยวกับธนบัตร จึงถูกโอนมาอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของธนาคารแห่งประเทศไทย ต่อมาเมื่อพ.ศ. 2512 ธนาคารแห่งประเทศไทย สามารถจัดตั้งโรงพิมพ์ธนบัตรขึ้นเป็นผลสำเร็จ จึงได้พิมพ์ธนบัตรขึ้นใช้เองภายในประเทศ ได้แก่ ธนบัตรแบบ 11 รวมทั้งแบบอื่น ๆ เป็นลำดับจนถึงปัจจุบัน

ก่อนที่จะมีการนำธนบัตรเข้ามาใช้ร่วมกับเงินตราชนิดอื่น ๆ ในระบบการเงินของประเทศ ชนชาติไทยได้ใช้หอยเบี้ย ประกับ (ดินเผาที่มีตราประทับ) เงินพดด้วง ปี้กระเบื้อง และเหรียญกษาปณ์เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน จนกระทั่งในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างชาติและเปิดเสรีทางการค้า ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้น จนไม่สามารถผลิตเงินพดด้วงซึ่งเป็นเงินตราหลักในขณะนั้นได้ทันต่อความต้องการ ทั้งยังมีผู้ทำเงินพดด้วงปลอมออกใช้ปะปนในท้องตลาด จนเป็นปัญหาเดือดร้อนกันทั่วไป ในพ.ศ. 2396 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้จัดทำเงินกระดาษชนิดแรกขึ้นใช้ในระบบเงินตราของประเทศ เรียกว่า หมาย ต่อมาระหว่างพ.ศ. 2415 - 2416 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดปัญหาเหรียญกษาปณ์ชนิดราคาต่ำซึ่งเป็นเงินปลีกที่ทำจากดีบุกและทองแดงขาดแคลน ประกอบกับมีการนำ ปี้ ซึ่งเป็นเครื่องหมายที่ใช้แทนเงินในบ่อนการพนันมาใช้แทนเงินตรา ในพ.ศ. 2417 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้จัดทำเงินกระดาษชนิดราคาต่ำเรียกว่า อัฐกระดาษ ให้ราษฎรได้ใช้จ่ายแทนเงินเหรียญที่ขาดแคลน แต่อัฐกระดาษก็ไม่เป็นที่นิยมใช้เช่นเดียวกับหมาย เงินกระดาษชนิดต่อมา คือ บัตรธนาคาร ซึ่งธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศสามธนาคารที่เข้ามาเปิดสาขาในประเทศไทย ได้แก่ ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ ธนาคารชาร์เตอร์แห่งอินเดีย ออสเตรเลีย และจีน และธนาคารแห่งอินโดจีน ได้ขออนุญาตนำบัตรธนาคารออกใช้ เมื่อพ.ศ. 2432, 2441, และ 2442 ตามลำดับ เนื่องจากในช่วงเวลานั้นรัฐบาลประสบปัญหาไม่สามารถผลิตเหรียญกษาปณ์ได้ทันต่อการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจ บัตรธนาคาร มีลักษณะเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดหนึ่งที่ใช้อำนวยความสะดวกในการชำระหนี้ระหว่างธนาคารกับลูกค้า ดังนั้น การหมุนเวียนของบัตรธนาคารจึงจำกัดอยู่ในวงแคบเฉพาะบุคคลที่มีความจำเป็นต้องติดต่อธุรกิจกับธนาคารดังกล่าวเท่านั้น อย่างไรก็ดี บัตรธนาคารมีส่วนช่วยให้ประชาชนรู้จักคุ้นเคยกับเงินที่เป็นกระดาษมากขึ้น และเนื่องจากมีระยะเวลาการนำออกใช้นานกว่า 13 ปี (พ.ศ. 2432 - 2445) ทำให้การเรียกบัตรธนาคารทับศัพท์ว่า แบงก์โน้ต หรือ แบงก์ ในขณะนั้น สร้างความเคยชินให้คนไทยเรียกธนบัตรของรัฐบาลที่ออกใช้ในภายหลังว่า แบงก์ จนติดปากมาถึงทุกวันนี้ ขณะเดียวกันรัฐบาลในสมัยนั้นได้พิจารณาเห็นว่าบัตรธนาคารที่สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศออกใช้อยู่ในขณะนั้น มีลักษณะคล้ายกับเงินตราที่รัฐบาลควรจัดทำเสียเอง ในพ.ศ. 2433 จึงได้เตรียมการออกตั๋วเงินของกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เรียกว่า เงินกระดาษหลวง โดยสั่งพิมพ์จากห้างกีเชคเก้ แอนด์ เดวรีเอ้นท์ ประเทศเยอรมนี จำนวน 8 ชนิดราคา เงินกระดาษหลวงได้ส่งมาถึงกรุงเทพฯ เมื่อพ.ศ. 2435 แต่เนื่องจากความไม่พร้อมของทางการในการบริหาร จึงมิได้นำเงินกระดาษหลวงออกใช้ จนกระทั่งพ.ศ. 2445 จึงเข้าสู่วาระสำคัญในการออกธนบัตร กล่าวคือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชโองการให้ตรา พระราชบัญญัติธนบัตรสยาม รัตนโกสินทรศก 121 ขึ้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2445 อีกทั้งโปรดให้จัดตั้ง กรมธนบัตร ในสังกัดกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เพื่อทำหน้าที่ออกธนบัตรและรับจ่ายเงินขึ้นธนบัตร และเปิดให้ประชาชนนำเงินตราโลหะมาแลกเปลี่ยนเป็นธนบัตรตั้งแต่วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2445 จึงนับว่าธนบัตรได้เข้ามามีบทบาทในระบบการเงินของไทยอย่างจริงจังนับแต่นั้นมา ธนบัตรที่นำออกใช้ตามพระราชบัญญัติธนบัตรสยาม รัตนโกสินทรศก 121 นั้น มีลักษณะเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินของรัฐบาลที่สัญญาจะจ่ายเงินตราให้แก่ผู้นำธนบัตรมายื่นโดยทันที ต่อมา ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. 2471 ซึ่งกำหนดให้เงินตราของประเทศประกอบด้วยธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ ตลอดจนให้ธนบัตรและเหรียญกษาปณ์เป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย จึงเป็นการเปลี่ยนลักษณะของธนบัตรจากตั๋วสัญญาใช้เงินมาเป็นเงินตราอย่างสมบูรณ์

       ซึ่งในห้องธนาบัตรไทย จะมีให้ผู้เยี่ยมชมพิมลายธนาบัตร

จากการที่ได้ไปชมพิพิธภัณฑ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย (The Bank of Thailand: BOT) ได้รับความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของเหรียญกษาปณ์ที่มีการพัฒนาให้มีคุณภาพดีขึ้นเรื่อยๆ ของแต่ละสมัย จนถึงปัจจุบันที่เห็นกันบ่อยๆ และมีการผลิตธนบัตรที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน การผลิตเหรียญกษาปณ์และธนบัตรที่เห็นในแต่ละสมัยเกิดจากวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงเรื่อยมาจากชีวิตและวัฒนธรรมของมนุษย์ตลอดเวลาอันยาวนาน เหรียญกษาปณ์และเหรียญที่ระลึกผลิตขึ้นเป็นพิเศษเฉพาะโอกาสสำคัญเกี่ยวกับสถาบันชาติ ทำขึ้นด้วยโลหะที่มีค่า เป็นเหรียญที่ผลิตเพื่อนำออกใช้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเป็นเงินปลีก ผลิตในปริมาณเพียงพอสำหรับความต้องการใช้ในระบบเศรษฐกิจของประเทศ ก็จะมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบและลวดลายไปตามแต่ละยุคสมัย ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เริ่มนำพระบรมรูปพระมหากษัตริย์ประทับบนหน้าเหรียญตามแบบสากลนิยมครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.2419 ปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่าในธนบัตรหรือเหรียญนั้นจะมีลวดลายที่สื่อความหมายได้ชัดเจน จากด้านหน้านั้น ก็จะเห็นได้ว่ามีรูปพระบรมรูปรัชกาลที่ 9 (พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช) หมายถึง สถาบันกษัตริย์ ด้านหลังก็จะเห็นเป็นภาพวัดสำคัญ สื่อความหมาย สถาบันศาสนา ประเทศไทย สื่อความหมาย สถาบันชาติ และได้ทราบประวัติเกี่ยวกับการจัดตั้งธนาคารแห่งประเทศไทย เบี้ยหอย เป็นเงินปลีกที่ใช้เป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยนสมัยโบราณ แต่มีราคาต่ำ มีสุภาษิตเกี่ยวกับเบี้ยไว้ว่า เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน เก็บเบี้ยที่ตกอยู่ตามใต้ถุนร้าน หรือแผงลอยวางของขายซึ่งตกหล่นอยู่บ้าง เพราะมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนเบี้ยกับของโดยไม่เห็นว่าจะเป็นเบี้ยมีราคาต่ำ เบี้ยปรับ เบี้ยบ้ายรายทาง เบี้ยต่อไส้ หอยเบี้ย เบี้ยหัวแตก สิบเบี้ยใกล้ เบี้ยหัวแหล เป็นต้น เมื่อ วันที่ 26 ตุลาคม 2482 มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดตั้งสำนักงานธนาคารชาติไทย วันที่ 13 พฤษภาคม 2483 สำนักงานธนาคารชาติไทยเริ่มปฏิบัติงานเป็นวันแรก วันที่ 26 มิถุนายน หลวงประดิษฐมนูธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ทำพิธีเปิดสำนักงานธนาคารชาติไทย และเมื่อ พ.ศ. 2485 ได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย การผลิตเหรียญกษาปณ์ ก็จะมีภาพประกอบการผลิตทีละขั้นตอน เริ่มจากการผลิตเหรียญตัวเปล่า มีขั้นตอนที่หลากหลายดังนี้ หลอมและหล่อโลหะ รีดแผ่นโลหะ ตัดเหรียญตัวเปล่า ยกขอบเหรียญ อบอ่อน ล้างทำความสะอาดและอบให้แห้ง -รับเหรียญตัวเปล่า
การทำแม่แบบ เริ่มจาการ ปั้นแบบดินน้ำมัน หล่อปูนพลาสเตอร์
ต่อด้วยการทำแม่ตรา หล่ออีพ็อกซี่ ย่อลาย ถอนแม่ตรา
การทำดวงตรา เริ่มจากการนำ แม่ตรา ถอนดวงตรา ดวงตรา การตีตราเหรียญสำเร็จ รับเหรียญสำเร็จ จากขั้นตอนทั้งหมดนั้นทำให้เห็นว่าการทำเหรียญในแต่ละเหรียญนั้นมีขั้นตอนที่ยากลำบากในการผลิตและมีขั้นตอนมากมายต้องใช้เวลาในการผลิต เพื่อที่จะให้เหรียญนั้นมีคุณภาพ ทนทาน สิ่งที่ข้าพเจ้าประทับใจ คือ สถานที่ตั้งธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นสถานที่ที่มีความงดงามมาก และเป็นการที่ได้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้เห็นได้สัมผัสกับการเรียนรู้เกี่ยวกับวิวัฒนากการของเงินตราของแต่ละยุคแต่ละสมัยจนถึงเงินตราที่ใช้ในปัจจุบันด้วยตนเอง การจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์นั้นจะมีเกมส์เกี่ยวกับการผลิตเหรียญทำให้เข้าเจ้ามีความเพลิดเพลินที่จะเรียนรู้ข้อมูลการผลิต ได้เห็นภาพขั้นตอนการผลิตเหรียญมากขึ้น ทำให้รู้ว่าเหรียญแต่ละเหรียญนั้นมีขั้นตอนที่หลาหลาย กว่าจะผลิตให้เป็นเหรียญที่มีคุณภาพ มาตรฐานนั้นต้องใช้เวลา ในการศึกษานอกสถานที่ในครั้งนี้ ทำให้ข้าพเจ้าได้เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องเงินมากขึ้น

ประภาพร เหลือถนอม 55127326047

 

ความรู้ที่ได้จากการศึกษาดูงานที่พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย

 มาตราเงินไทยโบราณ

ในอดีตที่สังคมไทยใช้สื่อกลางในการแลกเปลี่ยนทั้งหอยและพดด้วง การกำหนดมูลค่าของเงินแต่ละชนิด ต้องใช้วิธีชั่งน้ำหนัก มาตราเงินไทยจึงเป็นหน่วยเดียวกับมาตราชั่งน้ำหนัก โดยเขียนเลขจำนวนเงินลงตามตำแหน่งของหน่วยเงินลงตามตำแหน่งของหน่วยเงิน ซึ่งขีดเป็นรูป กากบาท หรือที่เรียกว่า “ครุตีนกา” หรือ “ครุเรือนเงิน”

 เงินพดด้วงเอกลักษณ์เงินตราไทย

จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบในดินแดนประเทศไทยมีการขุดพบกำไลที่มีตราประทับในพื้นที่ ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของเมืองศรีสัชนาลัย เมืองสำคัญก่อนสมัยอาณาจักรสุโขทัย ด้วยลักษณะของเงินกำไลที่เป็นวงโค้ง และมีพัฒนาการของปลายขาทั้งสองข้างที่ค่อยๆขดเข้าหากัน จนมีขนาดกะทัดรัด สันนิษฐานว่าเงินกำไลเป็นต้นกำเนิดของเงินพดด้วงสมัยสุโขทัย

สัญลักษณ์แห่งพระมหากษัตริย์ในธนบัตรไทย

-ธนบัตรไทยออกใช้ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๕ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เรียกว่าธนบัตรแบบหนึ่ง โดยมีรูปครุฑพ่าห์ ซึ่งเป็นตราแผ่นดิน และใช้เป็นสัญลักษณ์แทนพระองค์พระมหากษัตริย์ปรากฏในธนบัตรแบบหนึ่งตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๑ นับแต่นั้นมาธนบัตรไทยทุกแบบจะมีรูปพระครุฑห่าห์ ปรากฏอยู่ในธนบัตรเสมอมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ของพระมหากษัตริย์นั้น เชิญมาเป็นภาพประธานด้านหน้าธนบัตรครั้งแรกในธนบัตรแบบสามออกใช้สมัยรัชกาลที่ ๗ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๗ และตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๐ ธนบัตรที่ใช้หมุนเวียนได้เริ่มใช้ลายน้ำพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ ดังนั้น นับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นต้นมา สัญลักษณ์หลักแทนพระองค์พระมหากษัตริย์ในธนบุตรไทยประกอบด้วย ๑. พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์(ที่เป็นภาพประธานด้านหน้า) ๒. ลายน้ำพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ ๓. รูปพระครุฑพ่าห์

สัญลักษณ์แห่งพระมหากษัตริย์ปรากฏในเงินตราไทยอย่างชัดเจนในเงินพดด้วงสมัยอยุธยา (พ.ศ. ๑๘๙๓-๒๓๑๐) ในรูปแบบที่เรียกว่าตราประจำรัชกาล โดยปรากฏคู่กับตราจักร ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ตราแผ่นดิน ระบบสัญลักษณ์นี้ดำรงอยู่มาจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๔

เมื่อมีการใช้เงินกระดาษเป็นครั้งแรก ใน พ.ศ. ๒๓๙๖ เรียกว่า “หมาย” สัญลักษณ์แทนพระมหากษัตริย์เป็นพระราชลัญจกรประจำพระองค์ รูปพระมหาพิชัยมงกุฎ รวมทั้งมีรูปแสงพระจักร และพระราชลัญจกรอื่นๆ

สัญลักษณ์แทนพระองค์พระมหากษัตริย์ในเงินตราไทย ได้ส่งต่อมาถึงธนบัตรที่ใช้หมุนเวียนในทุกวันนี้ โดยวิวัฒนาการเป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ ลายน้ำพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ และรูปพระครุฑพ่าห์เป็นหลัก และมีสัญลักษณ์อื่นเป็นด้านรอง ซึ่งการเลือกใช้สัญลักษณ์แห่งพระมหากษัตริย์ในธนบัตรชนิดราคาใดไม่มีกฎเกณฑ์โดยเฉพาะ ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายในการออกแบบธนบัตร องค์ประกอบธนบัตร ความสอดคล้องกับภาพหรือสัญลักษณ์ด้านหลังธนบัตร ทั้งนี้ เมื่อได้ใช้สัญลักษณ์แทนพระองค์พระมหากษัตริย์ ทั้ง ๓ สัญลักษณ์ที่เป็นหลักครบถ้วนแล้ว สัญลักษณ์อื่นๆ อาจนำมาใช้ได้ตามความเหมาะสม

ตราจักรี  เริ่มใช้ครั้งแรกในธนบัตรแบบสิบสาม ซึ่งประกอบด้วยชนิดราคา ๕๐ บาท และ๕๐๐ บาท มีวัตถุประสงค์ เพื่อร่วมฉลองงามสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ จึงมีตราจักรีที่เป็นเครื่องหมายแห่งพระบรมจักรีราชวงศ์เป็นภาพประกอบ ตราจักรีนี้ยังคงปรากฏอยู่ในธนบัตรแบบสิบห้า ชนิดราคา ๕๐ บาทด้วย เพราะเป็นชนิดราคาที่ออกใช้ต่อเนื่องกัน

พระราชลัญจกรประจำพระองค์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ปรากฏบนธนบัตรหมุนเวียนครั้งแรกในธนบัตรแบบสิบสี่ ชนิดราคา ๑๐๐๐ บาท ออกใช้เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๕ เพื่อให้สอดคล้องกับภาพประธานด้านหลังที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ซึ่งพระราชลัญจกรนี้ยังปรากฏสืบต่อมาในธนบัตรแบบสิบห้า ชนิดราคา ๑๐๐๐ บาทด้วย เพราะมีจุดมุ่งหมายเช่นเดียวกัน

ตราอักษรพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. ปรากฏใช้ครั้งแรกในธนบัตรแบบสิบสี่ ชนิดราคา ๑๐๐ บาท เพื่อให้สอดคล้องกับภาพประกอบด้านหลังที่มีตราอักษรปรมาภิไธย จ.ป.ร. และ ว.ป.ร. ของรัชกาลที่ ๕ และรัชกาลที่ ๖ ตามลำดับ ตราอักษรพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. ยังมีปรากฏต่อเนื่องในธนบัตรแบบสิบห้า ชนิดราคา ๒๐ บาท ๑๐๐ บาท และ ๕๐๐ บาท เพื่อความสอดคล้องกับภาพประกอบด้านหลังธนบัตรที่มีพระราชลัญจกรหรือตราอักษรปรมาภิไธยกำกับอยู่

ธนบัตรเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ไทย ธนบัตรแบบใหม่ที่เริ่มออกใช้ในปัจจุบัน คือ ธนบัตรแบบสิบหก มีจุดมุ่งหมายเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ไทย ตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ ที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจอันเป็นคุณูปการแก่ประเทศชาติ ชนิดราคาแรกที่ออกใช้คือ ๕๐ บาท ออกใช้เมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ธนบัตรนี้ยังคงมี ๓ สัญลักษณ์หลักแทนพระองค์พระมหากษัตริย์ คือ  พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นภาพประธานด้านหน้า ลายน้ำพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ และรูปพระครุฑพ่าห์ ส่วนภาพประธานด้านหลังเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงหลั่งทักษิโณทก ภาพจิตรกรรมฝาผนังทรงพระแสงดาบ นำทหารเข้าตีค่ายพม่า พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ อนุสรณ์ดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี และพระเจดีย์ชัยมงคล วัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  โดยเหตุที่พระมหากษัตริย์ไทยในอดีตบางพระองค์ไม่มีตราสัญลักษณ์ของราชวงศ์ จึงมิได้เชิญตราสัญลักษณ์มาพิมพ์บนด้านหน้าธนบัตร ดังนั้นธนบัตรแบบสิบหก ชนิดราคา ๕๐ บาทจึงไม่ได้แสดงสัญลักษณ์ เช่น ตราจักรี ดังเช่นธนบัตรอื่นๆ

 

 

      สิ่งที่ได้รับจากการเข้าเยี่ยมชมที่พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย  คือการแสดงเงินตราไทย  ธนบัตรต่างประเทศ  ธนบัตรไทยที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันและอดีตที่ผ่านมาจะมีขั้นตอนการแสดงขั้นตอนการผลิตเหรียญและขั้นตอนการผลิตธนบัตรที่เราใช้กันในปัจจุบัน เช่น

ขั้นตอนการผลิตธนบัตรมี1.ขั้นตอนการผลิตธนบัตร 2. การผลิตแม่แบบแม่พิมพ์ 3. การพิมพ์ธนบัตร >การพิมพ์สีพื้น >การพิมพ์เส้นนูน >การพิมพ์เลขหมายลายเซ็น 4.การตรวจสอบคุณภาพ 5.การผลิตธนบัตรสำเร็จรูป และเงินตราที่ใช้ในสมัยต่างๆ ที่ผ่านมาเช่น อีแปะ เป็นเงินตราที่ใช้กันในภาคใต้ในสมัยรัตนโกสินทร์ เช่น พัทลุง สงขลา ปัตตานีการผลิตพดเงินพดด้วงในสมัยรัตนโกสินทร์ ตามที่บันทึกของนาย Reginald Le May เมื่อครั้งได้เข้าไปชมการแสดงวิธีทำเงินพดด้วงที่กระทรวงพระคลังมหาสมบัตรพดด้วงกับวิธีการค้าสมัยกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 1893-2310 เงินพดด้วงสมัยอยุธยาด้วยสภาพเอื้อทางภูมิศาสตร์ของกรุงศรีอยุธยา ซึ่งมีแม่น้ำรอบ 3 สายไหลบรรจบกัน ทำให้เกิดเป็นที่ราบและเกิดความอุดมสมบรูณ์ กรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองท่านานาชาติที่สำคัญของเอเชีย พดด้วงเอกลักษณ์เงินตราของไทย จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบในดินแดนประเทศไทย มีการขุดกำไรที่มีตราประทับพื้นที่ที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของเมืองศรีสัชนาลัย ก่อนสมัยอาณาจักรสุโขทัย ด้วยลักษณะกลมคล้ายลูกปืนโบราณ ชาวต่างประเทศจึงเรียนว่า Bullet coin หรือ Bullet Money และ ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB)มีหน่วยงานที่รับผิดชอบกิจการธนบัตร นับตั้งแต่เริ่มมีธนบัตรออกใช้ครั้งแรก พ.ศ. 2445 ได้มีการจัดตั้งกรมธนบัตร - พ.ศ. 2452 กรมธนบัตรขึ้นต่อกรมตรวจและกรมบัญชี - พ.ศ. 2548 กรมธนบัตรขึ้นต่อกรมบัญชีกลาง - พ.ศ. 2471 เปลี่ยนชื่อเป็นกรมเงินตราขึ้นต่อกรมบัญชีกลาง สังกัดกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ - พ.ศ. 2476 ลดฐานะเป็นกองเงินตรา ขึ้นต่อกรรมกรมคลังซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นเป็นกระทรวงการคลัง - พ.ศ. 2485 งานด้านกิจการธนบัตรทั้งหมดถูกโอนมาให้กับธนาคารแห่งประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติธนาคาร แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 ซึ่งได้จัดตั้งฝ่ายออกบัตรธนาคาร ขึ้นเป็นหน่วยงานรับผิดชอบต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น ลายออกบัตรธนาคารและธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นธนาคารกลางของประเทศ มีบทบาทหน้าที่หลักในการรักษาเสถียรภาพทางการเงินและดูแลระบบการเงินให้มั่นคงพันธกิจมุ่งเสริมสร้างสภาพแวดล้อมทางการเงินที่มั่งคง มีเสถียรภาพเพื่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน อันจะนำไปสู่การยกระดับมาตรฐานการครองชีพของประชาชนอย่างต่อเนื่อง วิสัยทัศน์ เป็นองค์กรที่มองก้าวไกล พนักงานมีความสามารถสูง และอุทิศตนเพื่อดูแลเศรษฐกิจให้ผ่านพ้นความผันผวนได้อย่างราบรื่น สิ่งที่ประทับใจที่ได้ไปที่ พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยได้จัดแสดงเงินตรา และธนบัตรในสมัยต่างๆที่ผ่านมาที่ไม่เคยเห็นก็มีเห็นจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยแห่งนี้ และได้รับประโยชน์ความรู้อีกมากมาย สิ่งได้เห็นครั้งแรกก็ประทับใจในพิพิธภัณฑ์ที่มีสถาปัตยกรรมที่สวยงามและบรรยากาศที่สดชื่น

      พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ 273 ถนนสามเสน แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

      ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นธนาคารกลางของประเทศ มีบทบาทหน้าที่หลักในการรักษาเสถียรภาพทางการเงินและดูแลระบบการเงินให้มั่นคง

พันธกิจ   มุ่งเสริมสร้างสภาพแวดล้อมทางการเงินที่มั่นคง  มีเสถียรภาพ  เพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน  อันจะนำไปสู่การยกระดับมาตรฐาน  การครองชีพของประชาชนอย่างต่อเนื่อง

วิสัยทัศน์  เป็นองค์กรที่มองการณ์ไกล  พนักงานมีความสามารถสูง  และอุทิศตนเพื่อการดูแลเศรษฐกิจให้ผ่านพ้นความผันผวนได้อย่างราบรื่น

ตราธนาคารแห่งประเทศไทย   พระสยามเทวาธิราช

ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยปัจจุบัน  นายประสาร  ไตรรัตน์วรกุล

      การเข้าชมพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย  ได้รู้ว่าสมัยโบราณใช้หอยเบี้ย  เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน  หอยเบี้ยที่ใช้อยู่ในประเทศไทยสมัยโบราณ  ส่วนใหญ่ใช้ชนิดเบี้ยจั่นและเบี้ยนางและได้รู้ว่า

เงินพดด้วงสมัยสุโขทัย(1781-1981)  ทำด้วยแท่งโลหะเงิน สันฐานกลม  ปลายขาเงินยาวและแหลมชิดกัน  มีรูขนาดใหญ่ระหว่่างขา  มีตราประทับแตกต่าง  เช่น  ธรรมจักร  ช้าง  วัว  กระต่าย  ราชสีห์  ดอกไม้  เป็นต้น

เงินพดด้วงสมัยอยุธยา(1893-2310)   มีแม่น้ำ 3 สายไหลมาประจบกัน  ทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ มีเส้นทางติดต่อทางคมนาคมกับต่างประเทศ  มีความเจริญรุ่งเรือง  ลักษณะเหรียญมีสันฐานกลม  ขาสั้นโค้งปลายชิดกัน  มีตราประทับ 2 ตรา  ด้านบนส่วนใหญ่เป็นตราธรรมจักรเป็นตราประจำแผ่นดิน  ด้านหน้าเป็นตรารัชกาล

เงินพดด้วงสมัยธนบุรี(2310-2325)   มีลักษณะเหมือนพดด้วงสมัยอยุธยาตอนปลาย  มีลักษณะกลม  ขาอ้วนสั้นชิดกัน  ประทับตราแสงจักรเป็นตราประจำแผ่นดิน  และตราตรีศูลเป็นตราประจำรัชกาล

ห้องธนบัตรไทย

   มีการจัดแสดงตั้งแต่เงินกระดาษแบบแรกที่เรียกว่า  หมาย  ในสมัยรัชกาลที่ 4 ธนบัตรแบบแรกของไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงธนบัตรแบบที่ใช้ในปัจจุบัน  ตลอดจนธนบัตรที่ระลึกชมวัตถุจัดแสดงที่ล้ำค่า  เช่น  ทองคำแท่ง  ซึ่งเป็นทุนสำรองเงินตราสำคัญของประเทศ

กระบวนการผลิตธนบัตร

  1. การออกแบบธนบัตร
  2. การทำแม่แบบ  แม่พิมพ์
  3. การพิมพ์
  4. การตรวจสอบคุณภาพและการตรวจนับจำนวน
  5. การผลิตธนบัตรขั้นสำเร็จรูป

สัญลักษณ์แห่งพระมหากษัตริย์ในธนบัตรไทย

    ธนบัตรไทยออกใช้ครั้งแรกเมื่อ  พ.ศ.  2445  ในสมัยรัชกาลที่ 5 เรียกว่าธนบัตรแบบหนึ่ง  โดยมีรูปพระครุฑพ่าห์  ซึ่งเป็นตราแผ่นดิน  และใช้เป็นสัญลักษณ์แทนพระองค์พระมหากษัตริย์ปรากฏในธนบัตรแบบหนึ่งตั้งแต่ พ.ศ.  2461  นับแต่นั้นมาธนบัตรไทยทุกแบบจะมีรูปพระครุฑพ่าห์  ปรากฏอยู่ในธนบัตรเสมอมาจนถึงปัจจุบัน  ส่วนพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ของพระมหากษัตริย์นั้น  เชิญมาเป็นภาพประธานด้านหน้าธนบัตรครั้งแรกในธนบัตรแบบสามออกใช้สมัยรัชกาลที่ 7 เมื่อ พ.ศ. 2477  และตั้งแต่ พ.ศ. 2500  ธนบัตรที่ใช้หมุนเวียนได้เริ่มใช้ลายน้ำพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์  ดังนั้น  นับตั้งแต่  พ.ศ. 2500  เป็นต้นมา  สัญลักษณ์หลักแทนพระองค์พระมหากษัตริย์ในธนบัตรไทยประกอบด้วย

  1. พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์  ที่เป็นภาพประธานด้านหน้า
  2. ลายน้ำพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์
  3. รูปพระครุฑพ่าห์

 วิธีการสังเกตธนบัตรปลอม 

    สัมผัส

       กระดาษธนบัตร  แกร่ง  ทนทาน  ไม่ยุ่ยง่าย

       ลวดลายเส้นนูน  ตัวเลขแจ้งราคามุมขวาบน  และตัวอักษรไทยด้านหน้าธนบัตร  เมื่อลูบด้วยนิ้วมือจะรู้สึกสะดุดกับหมึกพิมพ์

    ยกส่อง

       ลายน้ำ  พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ชัดเจนทั้งสองด้าน  ประดับด้วยรูปลายไทยที่โปร่งแสงเป็นพิเศษ

       แถบสีโลหะในเนื้อกระดาษ  มีตัวเลขและตัวอักษรขนาดจิ๋วโปร่งแสงแจ้งราคา

    พลิกเอียง

       หมึกพิมพ์พิเศษสลับสี  ตัวเลข 500 เปลี่ยนจากสีเขียวเป็ฯสีม่วง  ตัวเลข 1000 ส่วนที่เป็นสีทองเปลี่ยนเป็นสีเขียว

       แถบฟอยล์สีทอง  บนธนบัตร 1000 500 และ 100 บาท  จะเห็นลวดลายหลายสีและสะท้อนแสงเมื่อพลิกธนบัตรไปมา

      ความประทับใจพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย   ประทับใจตั้งแต่ที่ได้เห็นสถานที่ มีความสวยงามมาก สะอาด อากาศดี  และทำให้เรามีความรู้เกี่ยวกับเงินตราประเทศเรามากขึ้น  ได้รู้วิธีการผลิตเหรียญกษาปณ์และการผลิตธนบัตรว่าผลิตอย่างไร  และทำให้รู้เรื่องเงินตราตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  และประทับใจห้องธนบัตร  ที่มีกิจกรรมให้ทำและเพลิดเพลิน  เช่น  การระบายบนแท่นพิมพ์ที่มีรูปสัญลักษณ์ต่างๆ อาทิเช่น  ลายดอกพุดตาน  เรือสำเภา  สิงห์  รูปรัฐธรรมนูญ  เป็นต้น  ในการได้มาศึกษาหาความรู้ในที่นี้  ทำให้รู้สึกมีความสนุก ไม่น่าเบื่อ และได้ความรู้อีกด้วย

      

  ธนาคารแห่งแระเทศไทยตั้งอยู่ที่วังบางขุนพรหม  จากที่ข้าพเจ้าไปสัมผัสเป็นสถานที่ที่งดงามอย่างยิ่ง  ธนาคารแห่งประเทศไทย  มีผู้ว่าการธนคารคนแรก  คือ  พระวรวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย  และผู้ว่าการธนคารคนปัจจุบันคือ  นายประสาน  ไตรรัตน์วรกุล  และตราสัญลักษญ์ของธนคารแห่งประเทศไทย  คือ พระสยามเทวาธิราช
  จากที่ข้าพเจ้าได้ไปทัศนะศึกษาที่ธนาคารแห่งประเทศไทยในครั้งนี้  ได้รับความรู้มากมาย   แต่จะขอยกมาเพียงบางส่วน  ดังนี้
   1.ได้เรียนรู้ถึงวิธีการใช้ธนบัตรที่ถูกต้อง  เพื่อที่จะช่วยชาติประหยัดงบประมาณในการพิมพ์ธนบัตร
  • ควรเก็บธนบัตรเหยียดตรงหลีกเลี่ยงการพับ และกรีดจนเป็นรอย
  • หลีกเลี่ยงการเย็บด้วยลวดเย็บกระดาษ การขีดเขียน การประทับตราหรือนำธนบัตรไปใช้ในการประดิษฐ์
  • เก็บธนบัตรให้ห่างจากความร้อนและความชื้น
    2.ได้รู้ว่าะนบัตรที่ชำรุดสามารถนำไปแลกคืนจากธนคารได้ในอัตราต่างๆตามสภาพที่ชำรุด  ดังนี้้ 
    
    -ขาดครึ่งฉบับแยกตรงกลางตามแนวตั้งมีค่าครึ่งราคา -ต่อท่อนผิดไม่เกินสองท่อน แบบชนิดและราคาเดียวกัน เนื้อที่เหลือเกินครึ่งฉบับ ราคาเต็ม -ขาดวิ่น ธนบัตรเหลือเกินครึ่งฉบับ มีค่าเต็มราคา -ลบเลือน แต่สามารถตรวจพิสูจน์ได้ว่าเป็นธนบัตรรัฐบาลม่ค่าเต็มราคา 3.รู้ขั้นตอนการผลิตธนบัตร -ออกแบบ -ทำแม่พิมพ์ -การพิมพ์ -ตรวจสอบคุณภาพและนับจำนวน -ผลิตธนบัตรขั้นสำเร็จรูป 4.ได้รู้ถึงบทบาทของธนคารแห่งประเทศไทย -รักษาเสถียรภาพทางการเงิน -กำกับดูแลสถาบันการเงิน -เป็นนายธนาคารและเป็นที่ปรึกษาด้านนโยบายเศรษฐกิจของรัฐ -บริหารเงินสำรองระหว่างประเทศ -จัดพิมพ์และออกใช้ธนบัตร 5.ได้รู้ถึงสถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย -ธนาคารพาณิชย์ไทย -ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย -ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารต่างประเทศ -สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ -บริษัทเงินทุน -บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ -สถาบันการเงินเฉพาะกิจ -บริษัทบริหารสินทรัพย์ -ผู้ประกอบธุรกิจการเงินที่มิใช่สถาบันการเงิน ปัจจุบันอนุญาตธุรกิจ 3 ประเภท ได้แก่ ธุรกิจบัตรเครดิต ธุรกิจสินเชื่อ-ส่วนบุคคล และธุรกิจให้บริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ -บริษัทข้อมูลเครดิต
     ยังมีความรู้เล็กๆน้อยอีกมากมายที่ไม่เคยรู้มาก่อน  แต่เมื่อได้ไปที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแล้วก็ได้รู้เพิ่มเติมอีกมากมาย แต่ขอยกตัวอย่างมาเพียงเท่านี้ก่อน
      สุดท้ายนี้ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์  ผศ.ดร กฤษฎา  สังขมณี  เป็นอย่างสูงที่จัดกิจกรรมดีๆแบบนี้ขึ้นและข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะมีโครงการดีๆแบบนี้อีกค่ะ  
    

ความรู้ที่ได้รับ

1.เหรียญกษาปณ์และเหรียญที่ระลึก (Coins and medals) 1.1เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน ผลิตเพื่อนำออกใช้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ เป็นเงินปลีกใช้ชำระหนี้ได้ตามจำนวนที่กฎหมายกำหนดไว้สามารถจ่าย แลก ซื้อ ขายได้ตามราคา ที่ปรากฏบนเหรียญ ผลิตให้มีปริมาณเพียงพอสำหรับความต้องการใช้ในระบบเศรษฐกิจของประเทศและมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบและลวดลายไปตามยุคสมัย ในปัจจุบันได้มีการปรับรูปแบบลวดลายให้สื่อความหมายชัดเจน ด้านหน้าของเหรียญเป็นพระบรมรูปรัชกาลที่๙ หมายถึงสถาบันกษัตริย์ ด้านหลังเป็นภาพวัดสำคัญสื่อความหมายถึง สถาบันศาสนา และมีคำว่า “ประเทศไทย”สื่อความหมายถึง สถาบันชาติ 1.2เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก (Commemorative coins) เป็นเหรียญกษาปณ์ที่ผลิตออกใช้ในวโรกาสและโอกาสที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันคือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หรือเหตุการณ์ระหว่างประเทศ โดยจัดทำ 2 ประเภท คือ ขัดเงา และไม่ขัดเงา ข้อแตกต่างระหว่างเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนและเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก ก็คือการวางลวดลายด้านหน้าและด้านหลัง โดยเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนจะวางลวดลายแบบ American Turning ซึ่งจะต้องพลิกดูลวดลายด้านหลังในแนวดิ่ง สำหรับเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกได้จัดวางลวดลายแบบ Europan Turning ซึ่งจะต้องพลิกในแนวนอนเพื่อดูลวดลายด้านหลัง หอยเบี้ย คือ เป็นเงินปลีกที่ใช้เป็นเครื่องประดับและเป็นสิ่งของเพื่อแลกเปลี่ยนตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้มีการขุดค้นพบตามหลุมศพต่างๆ หอยถูกตีค่าในความหมายของเครื่องประดับที่มีค่า วัสดุอันทรงพลัง มีคุณค่า ต่อมานำมาใช้แลกเปลี่ยนเพื่อซื้อสิ่งของระหว่างกัน วัฒนธรรมการใช้หอยแลกเปลี่ยนสินค้าแทนเงินพบได้ในจีน อินเดีย ยุโรป แอฟริกา ตะวันออกกลาง ซึ่งอยู่ในเส้นทางการค้าขายทางเรือนั่นเอง โดยประเทศที่ทำการส่งออกหอยเบี้ยคือ หมู่เกาะมัลดิลฟ์ ซึ่งพ่อค้าชาวอาหรับได้ทำการซื้อขายหอยเบี้ยนานกว่า 4,000 ปีมาแล้ว ตามพ่อค้าชาวยุโรป ซึ่งมีหลักฐานการค้าทาสของฝรั่งเศสกับอังกฤษ มีการซื้อขายทาสกับหอยเบี้ย เสถียรภาพสถาบันการเงิน Financial Institutions Stability 1.มุ่งเสริมสร้างระบบสถาบันการเงินให้เป็นที่ยอมรับจากภายในและนานาประเทศ พร้องแข่งขัน เปี่ยมประสิทธิภาพมั่นคง และปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์ 2.ส่งเสริมให้สถาบันการเงินมีธรรมาภิบาลและบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสม 3.มีระบบการกำกับตรวจสอบสถาบันการเงินที่มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นธนาคารกลางของประเทศ มีบทบาทหน้าที่หลักในการรักษาเสถียรภาพทางการเงินและดูแลระบบการเงินให้มั่นคง พันธกิจ มุ่งเสริมสร้างสภาพแวดล้อมทางการเงินที่มั่นคง เพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน อันจะนำไปสู่การยกระดับมาตรฐานการครองชีพของประชาชนอย่างต่อเนื่อง วิสัยทัศน์ เป็นองค์กรที่มองการไกล พนักงานมีความสามารถสูงและอุทิศคนเพื่อดูแลเศรษฐกิจให้ผ่านพ้นความผันผวนได้อย่างราบรื่น

ความประทับใจ ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นสถานที่ที่กว้างมากและก็สวยงามมาก ได้ไปชมพิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับเงินในสมัยก่อนและปัจจุบันว่าเงินที่เราใช้แหล่งกำเนิดมาจากไหนการไปศึกษาครั้งนี้ทำให้รู้ว่าได้ศึกษาได้ความรู้เกี่ยวกับเงินมากขึ้นและก็เป็นครั้งแรกที่ได้ไปศึกษาที่ธนาคารแห่งประเทศไทยและก็สนุกมากๆๆได้ไปกับเพื่อนๆทุกคน

  ธนาคารแห่งประเทศไทย มีชื่อไม่เป็นทางการคือ “แบงค์ชาติ” หรือชื่ออังกฤษ (The Bank of Thailand: BOT) เป็นธนาคารกลางของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 เปิดดำเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2485 มีหน้าที่หลักในการดูแลกำกับเรื่องการเงินของชาติ ทั้งออกกฎเกณฑ์และควบคุมสถาบันการเงิน นำออกหมุนเวียนซึ่งธนบัตรไทยรวมถึงการควบคุมการถ่ายโอนเงินตราระหว่างประเทศ และเฝ้าระวังอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบกับสกุลเงินตราอื่น ตราธนาคารแห่งประเทศไทย คือ พระสยามเทวาธิราชนเหรียญเสี้ยว อัฐ โสฬส ที่ออกใช้ในรัชการที่ 5 มาดัดแปลง และเพิ่มถุงเงินในพระหัตถ์เบื้องขวา ซึ่งเป็นเครื่องหมายถึงผู้คุมถุงเงินของชาติ อันเป็นหน้าที่หลักของธนาคารแห่งประเทศไทย พระแสงธารพระกรในพระหัตถ์ซ้าย เพื่อคอยปัดป้องผู้ที่มารุกราน แต่ได้เปลี่ยนตอนปลายจากรูปดอกไม้มาเป็นลายดอกบัว 
  สิ่งที่ดิฉันได้จากการได้ไปศึกษาที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ทำให้ดิฉันได้ทราบประวัติความเป็นมาของธนาคารแห่งประเทศไทย เงินตรา ธนบัตร การพิมพ์ธนบัตรในสมัยก่อนว่าเกิดขึ้นมาได้อย่างไร 
  อย่างแรกที่ดิฉันได้พบคือเงินตราที่อยู่ในลักษณะต่างๆกันไป เช่น 1. เงินพดด้วง เป็นเงินตราที่เป็นเอกลักษณ์ของไทย โดยเฉพาะไม่ซ้ำแบบของชาติใด มีค่าในตัวเองเพราะทำด้วยโลหะมีราคา โดยมีน้ำหนักเป็นมาตรฐานวัดมูลค่า รูปทรงกะทัดรัด ทนทานผลิตด้วยมือทำจากแท่งเงินบริสุทธ์ ทุบปลายทั้งสองข้างให้โค้งงอเข้าหากัน ทำให้มีรูปร่างกลมคล้ายลูกปืนโบราณ ชาวต่างประเทศจึงเรียกว่า Bulet Coin ในสมัยอยุธยาได้มีการประทับตราแผ่นดิน และตราประจำรุชกาลของพระมหากษัตริย์ แต่ละพระองค์รวมเป็นสองตราใบ 2. เงินเจียง ทำจากวัสดุเงิน นิยมใช้กันในอาณาจักรล้านนา มีระยะเวลาการผลิตนรูปแบบเดียวกัน เพื่อใช้แทนเงินตรานานนับศตวรรษ เป็นเงินตราที่มีการใช้อยู่บริเวณภาคเหนือของประเทศไทย หรืออาณาจักรล้านนาเดิม โดยมีอาณาเขตไปจนถึง พม่า ลาว โดยมีแร่ของเงินอยู่ประมาณ 85 - 90% ของน้ำหนักเงินทั้งหมด มีการทำเครื่องหมายบ่งบอกต้นกำเนิดของเงินแต่ละตัว โดยการทำเครื่องหมาย เช่นคำว่า แสน น่าน หลวง ซอย ญวน และสบฝาง เป็นต้น ซึ่งจากการพบเครื่องหมายต่าง ๆ ที่ติดอยู่ข้างตัวเงิน สันนิษฐานว่ามีอยู่มากกว่า 10 เมืองที่ได้มีการจัดทำ และซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราประเภทนี้อยู่ อายุไม่เกิน 400 ปี ขึ้นอยู่กับตราที่ติดอยู่ข้างตัวเงินเจียง 3. เงินท้อก เป็นเงินตราสมัยล้านนาทำด้วยโลหะผสมเคลือบผิวด้วยโลหะเงิน มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 15-43 มิลลิเมตร ลักษณะกลมแบน ด้านหน้านูนขึ้นมาคล้ายเงินใบไม้ผิวเรียบ ด้านหลังมีรอยเว้าเป็นแอ่งเข้าไป มักมีสีแดงเป็นมันเคลือบอยู่และเจาะรูเล็กๆ มีริมขอบ สำหรับใช้เชือกร้อยรวมกันเพื่อความสะดวกในการนับ 4. หอยเบี้ย เป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราแรกๆของโลก หอยเบี้ยถูกใช้เป็นเครื่องประดับและเป็นสิ่งของเพื่อแลกเปลี่ยนตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้มีการขุดค้นพบตามหลุมศพต่างๆ หอยถูกตีค่าในเครื่องประดับที่มีค่า วุสดุอันทรงพลัง มีคุณค่า ต่อมานำมาใช้แลกเปลี่ยนเพื่อซื้อสิ่งของระหว่างกัน
  อย่างที่สองก็คือธนบัตรในแบบต่างๆ ธนบัตร เป็น กระดาษที่ใช้แทนเงินตรา หรือเป็น "เงินตรากระดาษ"

คำว่า"ธนบัตร" มาจากคำว่า "ธน" + "บัตร

           ธน (ทะนะ) เป็นคำนาม หมายถึง ทรัพย์สิน เงินทอง
           บัตร (บัด) เป็นคำนาม หมายถึงเอกสารแทนสิทธิ์ของผู้ใช้

ธนบัตร (ทะนะบัด) เป็นคำนาม หมายถึง บัตรใช้แทนเงินตรา ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย เงินตรากระดาษมีใช้ครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๖ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ในราชวงศ์จักรี แต่ในสมัยนั้นใช้คำเรียกแทนเงินตรากระดาษว่า "หมาย" โดยออกใช้ทั้งหมด ๓ รุ่น คือ หมายราคาต่ำ หมายราคาตำลึง และ หมายราคาสูง

  อย่างที่สามก็คือเหรียญกษาปณ์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) ได้มีการผลิตเหรียญกษาปณ์ เริ่มจากเหรียญทองแดงและเหรียญดีบุกตราพระบรมรูป - ตราแผ่นดิน ใน พ.ศ. 2493 ผลิตเหรียญราคา 5 บาท ขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2515 ผลิตเหรียญราคา 10 บาท ขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2531 และได้มีการผลิตเหรียญกษาปณ์หมุนเวียน และเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก รวมทั้งมีการพัฒนาจัดทำเหรียญที่ระลึก ต่อเนื่องมาจนกระทั่งปัจจุบัน คือ
  1. เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน (Circulated coins) เป็นเหรียญกษาปณ์ที่ใช้หมุนเวียนกันอยู่ทั่วไปในชีวิตประจำวัน มี 9 ชนิดราคา คือ 10 บาท, 5 บาท, 2 บาท, 1 บาท, 50 สตางค์, 25 สตางค์, 10 สตางค์, 5 สตางค์ และ 1 สตางค์ แต่ที่ใช้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมี 6 ชนิดราคา คือ 10 บาท, 5 บาท, 2 บาท, 1 บาท, 50 สตางค์, 25 สตางค์ ส่วนเหรียญชนิดราคา 10 สตางค์, 5 สตางค์ และ1 สตางค์ มีใช้ในทางบัญชีเท่านั้น
  2. เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก (Commemorative coins) เป็นเหรียญกษาปณ์ที่ผลิตออกใช้ในวโรกาสและโอกาสที่สำคัญตทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันคือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หรือเหตุการณ์ระหว่างประเทศ โดยจัดทำ 2 ประเภท คือ ขัดเงา และไม่ขัดเงา ข้อแตกต่างระหว่างเหรียญกษาปณ์หมุนเวียน และเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกก็คือการวางลวดลายด้านหน้าและด้านหลัง โดนเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนจะวางลวดลายแบบ American Turning ซึ่งจะต้องพลิกดูลวดลายด้านหลังในแนวดิ่ง สำหรับเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกได้จัดวางลวดลายแบบ European Turning ซึ่งจะต้องพลิกในแนวนอนเพื่อดูลวดลายด้านหลัง
  3. เหรียญที่ระลึก (Medal) เป็นเหรียญที่ผลิตขึ้นเนื่องในวโรกาสและโอกาสที่สำคัญต่างๆ ซึ่งมีความแตกต่างจากเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกตรงที่จะ ไม่มีราคาหน้าเหรียญ เนื่องจากมิใช่เงินตราจึงไม่สามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย อย่างที่สี่ก็คือการทำแม่พิมพ์สีพื้นและแม่พิมพ์เส้นนูน เมื่อแบบธนบัตรได้รับความเห็นชอบแล้ว จะเข้าสู่ขั้นตอนการผลิตต้นฉบับเพื่อเป็นแม่แบบสำหรับผลิตแม่พิมพ์ธนบัตร ซึ่งมีทั้งการแกะแผ่นโลหะด้วยมือ เพื่อผลิตแม่พิมพ์เส้นนูน และงานเขียนลวดลายสีพื้นด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นลายเส้นที่มีความละเอียดซับซ้อนสูงเพื่อผลิตแม่พิมพ์สีพื้น งานผลิตต้นฉบับหรือแม่แบบสำหรับผลิตแม่พิมพ์นี้ ต้องอาศัยความประณีตและความอุตสาหะของบุคลากรเป็นพิเศษ เพื่อให้ลวดลายทุกเส้นคมชัดสวยงาม โดยเฉพาะพนักงานแกะโลหะที่ต้องได้รับการฝึกฝนทักษะจนชำนาญและสั่งสมประสบการณ์นานปี กว่าจะสามารถแกะลวดลายได้งดงาม ถูกสัดส่วน ไม่ผิดเพี้ยน หลังจากนั้น จึงประกอบต้นฉบับทั้งหมดเข้าด้วยกันตามแบบโดยเทคนิคการถ่ายภาพทางการพิมพ์และเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้สำหรับผลิตแม่พิมพ์สีพื้น แม่พิมพ์เส้นนูน และแม่พิมพ์ลายเซ็นต่อไป อย่างที่ห้าก็คือโรงพิมพ์ธนบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย โรงพิมพ์ธนบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย มีหน้าที่พิมพ์ธนบัตรและพิมพ์สิ่งพิมพ์อื่นตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ทั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพิมพ์ธนบัตรขึ้นใช้เองภายในประเทศให้เพียงพอกับความต้องการตามสถานการณ์ และพิมพ์สิ่งพิมพ์อื่นให้ได้ผลผลิตมีคุณภาพสูง มีประสิทธิภาพในการจัดการและให้กิจการดำเนินไปได้โดยสม่ำเสมอ ตลอดจนดำเนินการพิมพ์ธนบัตรให้เป็นไปอย่างปลอดภัยที่สุด ซึ่งมีทุนสำรองเงินตราตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติเงินตรา พุทธศักราช ๒๕๐๑ เป็นทุนหนุนหลัง ปัจจุบันโรงพิมพ์ธนบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาสร้างสรรค์นวัตกรรมการผลิตธนบัตรให้ก้าวล้ำนำสมัย เพื่อให้เป็นหนึ่งในผู้นำด้านการพิมพ์สิ่งพิมพ์มีค่าระดับโลกในอนาคต
    สิ่งที่ดิฉันประทับใจในการได้ไปศึกษาที่ธนาคารแห่งประเทศไทยก็คือ การได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ซึ่งสิ่งที่เห็นนั้นคือสิ่งที่หาดูได้ยากมากในปัจจุบันนี้ แต่ละอย่างที่อยู่ในธนาคารนั้นมีความสำคัญมาก และเป็นสิ่งที่เก่ามากควรที่จะเก็บไว้ให้คนรุ่นหลังได้ดูและได้ศึกษา การที่ดิฉันได้ไปศึกษาที่นี้ทำให้ได้ความรู้ทางด้านของเงิน ค่าของเงิน มากขึ้นเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนได้
                                          ธนาคารแห่งประเทศไทย The Bank of Thailand

สิ่งที่ได้รับจากการไปที่พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย

      พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่ในตำหนักใหญ่ วังบางขุนพรหม และตำหนักใหญ่วังเทวะเวสม์ ภายในบริเวณธนาคารแห่งประเทศไทย เลขที่ 273 ถนนสามเสน แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ชื่อไม่เป็นทางการ แบงค์ชาติ (อังกฤษ: The Bank of Thailand: BOT) เป็นธนาคารกลางของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 เปิดดำเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2485 มีหน้าที่หลักในการดูแลกำกับเรื่องการเงินของชาติ ทั้งออกกฎเกณฑ์และควบคุมสถาบันการเงิน นำออกหมุนเวียนซึ่งธนบัตรไทยรวมถึงการควบคุมการถ่ายโอนเงินตราระหว่างประเทศ และเฝ้าระวังอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบกับสกุลเงินตราอื่น ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดตั้งขึ้นหลังจากประเทศไทยได้มีธนาคารพาณิชย์ทั้งของรัฐและเอกชนเริ่มดำเนินการไปก่อนหน้านั้นแล้ว ภารกิจและหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยเดิมซ้อนเหลื่อมอยู่กับกระทรวงการคลังและได้มีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นลำดับหลังจากที่ระบบการเงินของโลกพัฒนาไปและมีวิกฤตเศรษฐกิจครั้งสำคัญต่างๆ มีหน้าที่หลักคือ สร้างเสถียรภาพทางการเงิน โดย มีนาย ประสาร ไตรรัตน์วรกุล เป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 ถึงปัจจุบัน และตราของธนาคารคือ พระสยามเทวาธิราช

     พันธกิจ  มุ่งสร้างสภาพแวดล้อมทางการเงินที่มั่นคง  เสถียรภาพเพื่อเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน  อันนำไปสู่การยกระดับมาตราฐานการครองชีพของประชาชนอย่างต่อเนื่อง
      วิสัยทัศน์  เป็นองค์กรที่มองการไกล  พนักงานมีความสามารถสูงมากและอุทิศตนเพื่อดูแลเศรษฐกิจให้ผ่านพ้นความผันผวนได้อย่างราบรื่น
      ได้เข้าไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย  ซึ่งในพิพิธภัณฑ์มี 2 ชั้น คือ ชั้นล่าง มีห้องเปิดโลกเงินตราไทย ห้องธนบัตรไทย ห้องธนบัตรต่างประเทศ ห้องเปิดโลกการเรียนรู้ ส่วนชั้นบน ห้องประวัติและการดำเนินงาน ธปท. ห้องเชิดชูเกียรติ ห้องบริพัตร ห้องวิวัฒนไชยานุสรณ์ ห้องผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ห้องประชุม  แต่ละห้องจะจัดแสดงสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์  เงินตราในภูมิภาคสุวรรณภูมิและวิวัฒนการเงินตราไทยจนเป็นกษาปณ์ในปัจจุบันคือ  เงินตราโบราณ  เงินตราสมัยทวาราวดี เหรียญลวปุระที่หาชมได้ยาก เงินดอกจันทน์ของอาณาจักรศรีวิชัย  นอกจากนี้ ยังมีการจัดแสดงเงินตราอาณาจักรล้านนา เช่น เงินเจียง เงินท้อก  เงินปากหมู  เงินใบไม้  เงินอาณาจักรล้านช้าง เช่น   เงินลาด เงินฮ้อย ในส่วนที่จัดแสดงเกี่ยวกับเงินตราโบราณนี้มีการจัดแสดงเงินตราโบราณของอาณาจักรใกล้เคียงที่มีหลักฐานว่ามีการนำมาใช้ในสมัยโบราณของบริเวณที่เป็นที่ตั้งของประเทศไทยในปัจจุบัน เช่น เงินไซซี  เงินฮาง  เงินตู้   เงินพดด้วง  เป็นเงินที่ผลิตขึ้นมาใช้กว่า 600 ปีนับตั้งแต่สมัยสุโขทัยถึง  สมัยรัตนโกสินทร์ และยกเลิกการใช้ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5  กษาปณ์ไทย  จัดแสดงเรื่องราวของเหรียญกษาปณ์ในสมัยต่าง ๆ ตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 “เหรียญช้าง เมืองไท” “เหรียญดอกบัว เมืองไท” จนถึงเหรียญกษาปณ์ในสมัยรัชกาลปัจจุบัน  ประเทศไทยนำธนบัตรออกใช้เป็นครั้งแรก เมื่อพุทธศักราช 2445 ตามพระราชบัญญัติธนบัตรสยามรัตนโกสินทร์ ศก 121โดยมีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ (กระทรวงการคลัง ในปัจจุบัน) เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ควบคุม ดูแล การสั่งพิมพ์และนำออกใช้ธนบัตรภายในประเทศ จนกระทั่ง มีการจัดตั้งธนาคารแห่งประเทศไทยขึ้นเมื่อพุทธศักราช 2485กิจการทั้งปวงและอำนาจในการดำเนินการเกี่ยวกับธนบัตร จึงถูกโอนมาอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของธนาคารแห่งประเทศไทย   ต่อมาเมื่อพุทธศักราช 2512 ธนาคารแห่งประเทศไทย สามารถจัดตั้งโรงพิมพ์ธนบัตรขึ้นเป็นผลสำเร็จ จึงได้พิมพ์ธนบัตรขึ้นใช้เองภายในประเทศ ได้แก่ ธนบัตรแบบ 11 รวมทั้งแบบอื่น ๆ เป็นลำดับจนถึงปัจจุบัน ห้องธนบัตรต่างประเทศ  จัดแสดงธนบัตรในกลุ่มประเทศที่สำคัญซึ่ง ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นสมาชิก อาทิ กลุ่มผู้นำประเทศอุตสาหกรรม (G8)และกลุ่มธนาคารแห่งประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEACEN)  ห้องบริบัติ  จัดแสดงพระประวัติของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตไว้อย่างสมบูรณ์ด้วยวีดิทัศน์เรื่อง “เจ้าฟ้านักบริหาร แบบอย่างของผู้ทรงนำคุณประโยชน์เพื่อแผ่นดิน”   มีเครื่องบินบริพัตรจำลอง  โน้ตเพลงลายพระหัตถ์ รวมทั้งหุ่นจำลองขนาดเท่าพระองค์จริงในฉลองพระองค์จอมพลทหารเรือที่โดดเด่น  จุดสุดท้ายที่ดึงดูดใจผู้ชมอย่างมากคือ หุ่นจำลองตำหนักประเสบัน ที่เมืองบันดุง  ประเทศอินโดนีเซีย และฉลองพระองค์ชุดสุดท้ายของพระองค์ที่มหาดเล็กคู่พระทัยถอดเก็บไว้บูชาหลังจากสิ้นพระชนม์ และทายาทได้นำมามอบให้พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อการจัดแสดงและระลึกถึงพระองค์

สิ่งที่ประทับใจในการชมพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย

      การชมพิพิธภัณฑ์แห่งประเทศไทย นอกจากได้อรรถรสเชิงประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจแล้ว ยังได้ชื่นชมความสวยงามของสถาปัตยกรรมของวังบางขุนพรหม ซึ่งมีการผสมผสานจัดวางได้อย่างลงตัวอีกด้วย ทั้งเนื้อหาทางวิชาการ (เข้มข้น) ความรู้ และความเพลิดเพลินโดยใช้เทคนิคต่าง ๆ ที่ดึงดูดความสนใจของผู้เข้าชม มีการนำระบบแสง-เสียง เทคนิคฉากละคร (Diorama) ระบบมัลติมีเดีย ระบบคอมพิวเตอร์กราฟิก ฯลฯ เข้าร่วมในการนำเสนอ ทำให้การนำเสนอแต่ละห้องจัดแสดงตื่นตาตื่นใจน่าติดตามชม  และที่ประทับใจที่สุดคือ  ห้อง “บริพัตร” จัดแสดงพระประวัติสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ที่ดึงดูดใจผู้ชมอย่างมากคือ หุ่นจำลองตำหนักประเสบัน ที่เมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย และฉลองพระองค์ชุดสุดท้ายของพระองค์ที่มหาดเล็กคู่พระทัยถอดเก็บไว้บูชาหลังจากสิ้นพระชนม์ และที่ประทับใจคือผู้เข้าชมห้องนี้จะได้ฟังเพลงมาร์ชบริบัตรและฮังกาเรียนราฟโซดีอันมีชื่อเสียง

นางสาวหนึ่งฤทัย เวฬุวนารักษ์ รหัส 55127326071

พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์อีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย และเป็นสถานที่ที่พวกเรานักศึกษาบริหารธุรกิจต้องเรียนรู้ โดยพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ในวังบางขุนพรหม บนพื้นที่ 30 ไร่ ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ภายในบริเวณเดียวกันกับธนาคารแห่งประเทศไทย ถนนสามเสน เขตพระนคร โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างโดยใช้เงินพระคลังข้างที่ เพื่อให้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิจ พระราชโอรสพระองค์ที่ 33ในพระองค์ และพระนางเจ้าสุขุมาลย์มารศรีพระอัครราชเทวี หลังปี พ.ศ. 2475 พระตำหนักบางขุนพรหมถูกใช้เป็นสถานที่ราชการอยู่ระยะหนึ่ง จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2488 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เข้ามาใช้เป็นสถานที่ทำการจนกระทั่งปี พ.ศ. 2525 จึงได้เปลี่ยนมาเป็นพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย จัดเป็นพิพิธภัณฑ์ให้เข้าชม 14 ห้อง มี 2 ชั้น ประกอบด้วย -ชั้นหนึ่ง ได้แก่ ห้องเงินตราโบราณ ห้องพดด้วง ห้องกษาปณ์ไทย ห้องธนบัตรไทย ห้องทองตรา ห้องเงินตราต่างประเทศ -ชั้นสอง ได้แก่ ห้อง 60 ปีธนาคารแห่งประเทศไทย ห้องงานพิมพ์ธนบัตร ห้องบริพัตร ห้องประชุมเล็ก ห้องสีชมพู ห้องสีน้ำเงิน ห้องม้าสน ห้องวิวัฒนไชยานุสรณ์ ความประทับใจที่ได้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย (วังบางขุนพรหม) ทุกห้องจัดแสดงมีความสำคัญมีความรู้ที่น่าสนใจทั้งหมดแต่ส่วนที่ผมชื่นชอบมากที่สุดคือ “สินค้าต่างยุค ราคาต่างสมัย” เพราะมีรูปแบบที่น่าสนใจน่าดึงดูดมองแล้วอ่านแล้วทำให้เรารู้สึกไม่เบื่อ อ่านง่ายเข้าใจง่าย มีรูปประกอบ ที่สวยงาม ทำให้เราร็ถึงความเปลี่ยนแปลงของค่าเงินในแต่ละยุคสมัยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เช่น 2454 ค่าเข้าชมภาพยนตร์ 1 โรง ญี่ปุ่นหลวง 2 บาท

    2468    ฉลากสองล้าน ฉบับละ 1 บาท
    2510    น้ำมันเบนซิน  ลิตรละ 2 บาท   ฯลฯ

พิพิธภัณฑ์นี้มีความน่าสนใจมากมาย เหมาะกับผู้ที่ต้องการศึกษาการเปลี่ยนแปลง ทางด้านการเงิน ของแต่ละยุคสมัย ทำให้เราเข้าใจประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา โดยมีรูปแบบที่น่าสนใจในทุกห้องการจัดแสดง มีบรรยากาศที่สบายเหมาะกับการศึกษา เป็นอย่างดี

ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นธนาคารกลางของประเทศ มีบทบาทหน้าที่หลัก ในการรักษาเสถียรภาพทางการเงินและดูแลระบบเงินให้มั่นคง

พันธกิจ    มุ่งสร้างสภาพแวดล้อมทางการเงินที่มั่นคง มีเสถียรภาพ เพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน อันจะนำไปสู่การยกระดับมาตรฐานการครองชีพของประชาชนอย่างต่อเนื่อง            
วิสัยทัศน์   เป็นองค์กรที่มองการณ์ไกล พนักงานมีความสามารถสูง และอุทิศตนเพื่อดูแลเศรษฐกิจให้ผ่านพ้นความผันผวนได้อย่างราบรื่น

บทบาทหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยกับระบบเศรษฐกิจไทย

- --- การรักษาเสถียรภาพทางการเงิน                                 -

กำกับดูแลสถาบันการเงิน - การเป็นนายธนาคารและที่ปรึกษาด้านนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล - การเป็นนายธนาคารของสถาบันการเงิน

    - การบริหารเงินสำรองระหว่างประเทศ                         
-  การจัดพิมพ์และออกใช้ธนบัตร

เสถียรภาพสถาบันการเงิน - มุ่งสร้างระบบสถาบันการเงินให้เป็นที่ยอมรับจากภายในและนานาประเทศ พร้อมแข่งขัน เปี่ยมประสิทธิภาพ มั่นคงและปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

- ส่งเสริมให้สถาบันการเงินมีธรรมาภิบาลและบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสม         - 

มีระบบการกำกับตรวจสอบสถาบันการเงินที่มีแระสิทธิภาพและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล

สัญลักษณ์แห่งพระมหากษัตริย์ในธนบัตรไทย                          
ธนบัตรไทยออกใช้ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2445 ในสมัยรัชกาลที่ 5 เรียกว่าธนบัตรแบบที่หนึ่ง โดยมีรูปพระครุฑพ่าห์ ซึ่งเป็นตราแผ่นดิน และใช้เป็นสัญลักษณ์แทนพระองค์ พระมหากษัตริย์ปรากฏในธนาบัตรแบบหนึ่งตั่งแต่ พ.ศ. 2461 นับแต่นั้นมาธนบัตรไทยทุกแบบจะมีรูปพระครุฑพ่าห์ ปรากฏอยู่ในธนบัตรเสมอมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ของพระมหากษัตริย์นั้น เชิญมาเป็นภาพประธานด้านหน้าธนบัตรครั้งแรกในธนบัตรแบบสามออกใช้สมัยรัชกาลที่ 7 เมื่อ พ.ศ. 2477 และนับตั้งแต่ พ.ศ. 2500 ธนบัตรที่ใช้หมุนเวียนได้เริ่มใช้น้ำพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ ดั้งนั้น นับตั้งแต่ พ.ศ. 2500 เป็นต้นมา

สัญลักษณ์หลักแทนพระองค์พระมหากษัตริย์ในธนบัตรไทย ประกอบด้วย

1. พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ ที่เป็นภาพประธานด้านหน้า                 
2. ลายน้ำพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์                            
3. รูปพระครุฑพ่าห์

วังบางขุนพรหม

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวังบางขุนพรหมพระราชทานเป็นที่ประกอบในสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต พระราชโอรส แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2449 มีพิธีขึ้นตำหนักใหม่ในวันศุกร์ที่ 28 ธันวาคม 2449 พระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสร็จพระราชดำเนินในมาในการขึ้นตำหนักแห่งนี้                                       กระบวนเรือพยุหยาตรา                                   
    เป็นเรืออันเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงาม และเสียงบทเห่เรือที่มีท่วงทำนองอันไพเราะกลางสายน้ำเจ้าพระยาเมื่อครั้งรับเสร็จพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงบูชาที่วัดอรุณราชวรารามฯ และงานฉลองพระนคร 150 ปี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 สะท้อนถึงปรีชาสารถและความสนพระทัยในการอนุรักษ์งานศิลปวัฒนธรรมประเพณันทรงคุณค่าของชาติได้เป็นอย่างดี

พดด้วงทองคำ

ผลิตขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยา ตราหอยสังข์ ชนิดราคาสอง แต่บทในปริมาณน้อย ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ มีการผลิตพดด้วงทองคำ ในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้แก่ พดด้วงทองคำที่ระลึก ตราพระแสงจักร-ใบมะตูม

มาตราเงินไทยโบราณ

        ในอดีตที่สังคมไทยใช้สื่อกลางในการแลกเปลี่ยนทั้งหอยเบี้ยและพดด้วง การกำหนดมูลค่าของเงินแต่ละชนิดต้องใช้วิธีชั่งน้ำหนัก มาตราเงินไทยจึงเป็นหน่วยเดียวกัน มาตราชั่งน้ำหนัก โดยเขียนเลขจำนวนเงินตามตำแหน่งของหน่วยเงินบนช่องเรือนเงิน ซึ่งขีดเป็นรูปกากบาทหรือที่เรียกว่า ครุตีนกา หรือ ครุเรือนเงิน

โรงพิมพ์ธนบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย

ปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทยได้จัดสร้างโรงพิมพ์ธนบัตร ณ บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 30 ถนนบรมราชชนนี ตำบลขุนแก้ว อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ภายใต้การควบคุมดูแลของลายออกธนบัตรธนาคาร ธนาคารแห่งประเทศไทย โรงพิมพ์ธนบัตรแห่งนี้สร้างเสร็จสมบรูณ์และมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2550

ความประทับใจ

ประทับใจตั้งแต่เห็นตึกพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นสถานที่ ที่สวยงามมาก บรรยากาศก็ดี เดินเข้าไปห้องแรกก็เป็นห้องเกี่ยวกับเงินตราทั้งหมดในประเทศไทย มีตั้งแต่เงินในสมัยโบราณที่มีหลากหลายรูปแบบ และไม่เคยเห็นมาก่อน จนถึงปัจจุบัน ทำให้เห็นการพัฒนาการทำเหรียญและธนบัตรในแต่ละสมัยว่าเป็นอย่างไร ซึ่งธนบัตรชนิดพิเศษสวยงาม และมีความพิเศษแตกต่างกัน ซึ่งจัดทำขึ้นในวโรกาสต่างๆ ที่สำคัญ ภายในพิพิธภัณฑ์ก็สวยงามมาก มีเครื่องใช้ในสมัยโบราณหลายชนิด มีการนำเทคโนโลยี มาใช้ในการให้ความรู้เพิ่มเติม และบรรยายถึงความสำคัญแต่ละสมัยว่านั้นมีการเปลี่ยนแปลงอะไร มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นประสบการณ์และความประทับใจดีที่จะไม่มีวันเลย

หลังจากที่ได้ไปชมพิพิธภัณฑ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย (The Bank of Thailand: BOT) เมื่อดิฉันไปถึงหน้าพิพิธภัณฑ์วังบางขุนพรมก็รุ้สึกว่าที่นี่สวยงามมาก มีเจ้าหน้าที่คอยให้การดูแลในเรื่องต่างๆและสิ่งแล้วที่ดิฉันจดคือพันธกิจและวิสัยทัศน์ดังนี้ พันธกิจ มุ่งสร้างสภาพแวดล้อมทางการเงินที่มั่นคง มีเสถียรภาพ เพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน อันจะนำไปสู่การยกระดับมาตรฐานการครองชีพของประชาชนอย่างต่อเนื่อง วิสัยทัศน์ เป็นองค์กรที่มองการณ์ไกล พนักงานมีความสามารถสูง และอุทิศตนเพื่อดูแลเศรษฐกิจให้ผ่านพ้นความผันผวนได้อย่างราบรื่น เมื่อเดินเข้าไปข้างในห้องแรกที่เข้าไปชมคือห้องเปิดโลกเงินตราไทยซึ่งภายในห้องจัดแสดงเงินหรือเหรียญต่างๆไว้เป็นหมวดหมู่คือ เงินตราโบราณ เงินแท่งและเงินก้อนมีรูปลักษณ์ต่างๆกัน เช่น รูปเรือสำเภา อานม้า ขนมครก ฯลฯ เป็นเงินตราที่จีนนำมาใช้ ในอาณาจักรล้านนา เงินฮางเป็นเงินตราที่ใช้กันทางภาคอีสานของไทย รูปลักษณ์เหมือนรางหญ้าหรือรางข้าวหมู เงินฮ้อยเป็นเงินตราที่ใช้กันอยู่ในอาณาจักรลานช้าง ซึ่งเป็นเมืองในที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง เหรียญเงินอาหรับและเหรียญทองคำ เงินนโม อีแปะ เงินพดด้วงอยุธยา เงินพดด้วงรัตนโกสินทร์ เป็นต้นการเหรียญกษาปณ์ไทย วิวัฒนาการเหรียญเงินทวาราวดีเงินที่พบมีตราเกี่ยวศาสนาพราหมณ์ทั้งหมด เช่น เป็นรูปสังข์ รูปศรีวัตสะ เงินลานนา-เงินอานม้า เป็นเงินจีนนิยมใช้กันแถบยูนาน เงินลานนา-เงินมุ่น , ไซซี (เรือสำเภา)เป็นเงินที่ไทยคิดขึ้น ดัดแปลงจากเงินแท่งของจีน ทำเป็นรูปเรือสำเภา พดด้วงสุโขทัย เป็นเงินสมัยเดียวกับเงินลานนา และเงินลานช้าง มีลักษณะเป็นขด กลมคล้ายด้วง ส่วนปลายงอเข้าหากัน มีรอยบากลึก เป็นต้น ส่วนห้องที่2 คือห้องธนบัตรไทย สิ่งที่ชอบคือลายน้ำบนธนบัตรซึ่งมีความสวยงามมองแล้วเพลิดเพลิน สังเกตสิ่งที่เปลี่ยนของธนบัตรไทยจะสังเกตได้ว่าเริ่มผลิตเล็กลงพกพาสะดวกมีขั้นตอนการทำต่างๆ ห้องธนบัตรไทย จัดแสดงวิวัฒนาการ การใช้เงินกระดาษในระบบเงินตราไทย ตั้งแต่ หมายใบพระราชทานเงินตราอัฐกระดาษบัตรธนาคารตั๋วเงินกระดาษหรือ “เงินกระดาษหลวง” มาจนถึงธนบัตรที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ เงินกระดาษชนิดแรก เริ่มในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ได้มีการผลิตเงินกระดาษขึ้นใช้เป็นครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๓๙๖ เรียกว่า หมายซึ่งนับเป็นเงินกระดาษชนิดแรกในระบบเงินตราไทย และมีการผลิตใบสั่งจ่ายขึ้นหลายชนิดราคาเรียกว่าใบพระราชทานเงินตราและมีวิธีการตรวจสอบธนบัตรจริงและปลอมซึ่งความรู้นี้สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ ห้องที่ประทัปใจคือห้องเชิดชูเกียรติ รู้สึกว่าที่นี้ไม่ใช่เพียงจัดแสดงให้ดูแต่เงินตราแต่ยังจัดแสดงผู้ที่อยู่เบื้องหลังของธนาคารแห่งประเทศไทยอีกด้วยมีการแสดงเข็มประจำธนาคารชุดยูนิฟรอมต่างๆที่พนักงานใส่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันรวมไปถึงโล่ประกาศเกียรติคุณซึ่งเป็นห้องที่ประทับใจที่สุด

    การที่่ข้าพเจ้าได้ไปเยือนที่ธนาคารแห่งประเทศไทย  ตั้งแต่เกิดมาป็นครั้งแรกที่ข้าพเจ้านั้นได้ไปเยือนที่นั่นซึ่งก็ถือว่าเป็นความประทับใจอย่างยิ่งที่สุดในชีวิต  ข้าพเจ้าและเพื่อนๆได้เดินเข้าไปบรรยากาศที่นั่นดูเงีบยสงบมากและมีเจ้าหน้าที่บอกให้เข้าไปที่พิพิธภัณฑ์  ซึ่งที่นี่เองมีความรู้และความประทับใจเป็นทีสุดมาก
    เดินเข้าไปในพิพิธภัณฑ์ในนั้นเป็นการจัดนิทัศการเกี่ยวการเงินตั้งแต่ยุคแรกและพัฒนามาจนถึงปัจจุบัน  ธนาคารแห่งประเทศไทยนี้  เป็นธนาคารแห่งประเทศไทยเก่า  ในวันที่  5  กันยายน 2505  คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดตั้งโรงพิมพ์ธนบัตรขึ้นภายในประเทศในวันที่  24  มิถุนายน  2512  เป็นพิธีเปิดโรงพิมพ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย  และปํจจุบันมีธนาคารแห่งประเทศไทยใหม่ซึ่งย้ายไปที่จังหวัดนครปฐมมีพิธีเปิดเมื่อวัรนที่  15  ตุลาคม  2550  นั่นเอง สิงที่ข้าเจ้าประทับใจที่สุดในพิพิธภัณฑ์ก็คือ  เหรียญทองแดงตราช้าง-เมืองไทย  1179  และตราดอกบัว-เมืองไทย1197  เป็นเหรียญซึ่งในสมัยรัชกาลที่ 3  ทรงดำริที่จะทำเบี้ยทองแดงขึ้น  ใช้แทนเบี้ยหอยทรงเห็นว่าเบี้ยหอยทำมาจากสิ่งมีชีวิตมันบาป  จึงโปรดเกล้าให้พระยาคลัง(ดิส  บุนนาค) ทำตัวอย่างเหรียญเข้ามาให้ทอดพระเนตร  พระยาคลังให้  โรเบิร์ต  ฮันเตอร์พี่ค้าชาวอังกฤษจัดหาเหรียญทองแดงมาเป็นตัวอย่างในครั้งนั้น  โรเบิร์ตได้นำเหรียญทองแดงมา  2  แบบ  มาปรับปรุงให้เหมาะกับไทย  อย่างล่ะ  500  เหรียญ  คือเหรียญตราช้าง-เมืองไทย และเหรียญตราดอกบัว-เมืองไทยทั้ง2มีเลข1179 คืดจุลศักราสที่ผลิตเหรียญขึ้นแต่ทรงไม่โปรดเกล้าจึงไม่ได้ทำเหรียญออกใช้ในรัชกาลนี้  ถึงเหรียญนี้จะไม่ได้มีใช้ในประเทศไทยก็ตามแต่ด้วยเหตุผลที่รัชกาลที่3 คิดที่จะเปลี่ยนจากเบี้ยหอยมาเป้นเหรียญเพราะทรงเห็นว่าหอยเป็นสิ่งมีชีวิตเนี้ยหอยนั้นทำมาจากสิ่งมีชิวิตและเบี้ยหอยนั้นจึงทำมาจากสิ่งมีชีวิตจึงจะเปลี่ยนเพื่อไม่ให้เป้นการเบียดเบียนต่อสิ่งมีชีวิตและเหรียญนี้ก็คงจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ให้ประเทศไทยเปลี่ยนจากการทำลายสิ่งมีชีวิตมาทำเป็นเงิน ซึ่งถือว่าเงินใช้ทุกคนเป็นสิ่งมีค่ามีมูลค่าเปลี่ยนมาเป้นอย่างอื่นแทน
     สุดท้ายนี้ข้าพเจ้าอยากเชิญชวนทุกคนถ้ามีโอกาสไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ของะนาคารแห่งประเทศไทยนี้เพื่อเป็นการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับจุดเริ่มต้นและพัฒนาการของการใช้เงินที่ทุกคนใช้กันทุกวันและอยากจะให้ทำตามกฎเกณฑ์ของพิพิธภัณคือไม่ให้ถ่ยรูปและห้ามส่งเสียงดังเนื่องจากเป็นสถานที่ปิด
     ธนาคาร เปรียบเสมือนแหล่งเก็บสะสมของต่างๆทั้ง  เงิน   ทอง  ทรัพย์สินที่มีค่าต่างๆ รวมทั้งประวัติศาสตร์ของประเทศไทยด้วยและที่ที่ดิฉันได้มาศึกษาก็คือ พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย (Bank  of  Thailand  Museum,Bangkok) เป็นสถานที่ประวัติศาสตร์อย่างแท้จริง  ในพิพิธภัณฑ์ได้เก็บรวบรวมสิ่งของที่มีค่า  มีความรู้น่าที่จะศึกษา สิ่งของบางชิ้นมีประวัติมาตั้งแต่บรรพบุรุษของเราว่าพวกเขามีความเป็นอยู่ยังไง  การใช้จ่ายในสมัยก่อนเป็นยังไงเหมือนกับสมัยนี้หรือเปล่า  เป็นสถานที่อีกสถานที่หนึ่งที่ลองน่าจะเข้าไปศึกษาหาความรู้อย่างมาก  ในตัวพิพิธภัณฑ์เป็นเหมือนวังเก่าแบ่งเป็นสองชั้นและจัดแสดงออกเป็นหลายห้อง  แต่ละห้องนั้นถูกตกแต่งอย่างสวยงาม  หรูหรา  และแต่ละห้องจะอธิบายประวัติความเป็นมาต่างๆให้เราได้ศึกษา  
     เมื่อดิฉันได้มาศึกษาที่นี่ก็รู้ว่าในสมัยก่อนยังไม่มีธนบัตร  เหรียญใช้กันอย่างในปัจจุบัน  เมื่อก่อนเงินที่ใช้กันเรียกกันว่าหอยเบี้ย  ส่วยใหญ่ใช้ชนิดเบี้ยจั่นและเบี้ยนางนำเข้าจากมัลดิฟส์และฟิลิปปินส์ใช้กันตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงรัชกาลที่ 4  จึงออกประกาศให้เลิกใช้ให้ใช้เหรียญกษาปณ์แทน
   เหรียญกษาปณ์แรกของโลกคือ  เหรียญลิเดีย  เกิดขึ้นเมื่อ  2600  ปีมาแล้ว  เป็นประเทศตุรกีในปัจจุบันและในพิพิธภัณฑ์มีตัวอย่างเหรียญกษาปณ์และธนบัตรของแต่ล่ะประเทศตั้งแต่ยุคแรกจนถึงยุคปัจจุบัน  แล้วเหรียญกษาปณ์ยังสามารถจำแนกเป็นหลายแบบมีเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนเป็นเหรียญที่ใช้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเป็นเงินปลีกใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย  ผลิตในปริมาณที่เพียงพอในระบบเศรษฐกิจและเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกทำในโอกาสสำคัญเกี่ยวกับสถาบันชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์  จัดทำด้วยโลหะที่มีค่าผลิตเป็นครั้งคราวในจำนวนจำกัด  แล้วเหรียญที่ระลึก  จะทำในโอกาสพิเศษ  ไม่มีราคาปรากฎบนเหรียญการแลกซื้อเหรียญที่ระลึกเป็นไปตามราคาที่ผู้ออกเหรียญกำหนดไม่สามารถชำระหนี้ได้  
เมื่อก่อนเราอาจจะเห็นเหรียญจะรู้สึกว่าแต่ล่ะเหรียญก็สามารถใช้ได้ไม่แตกต่างกันแต่เมื่อได้เข้ามาศึกษาในพิพิธภัณฑ์แล้วเราก็รู้ว่าเหรียญแต่ละเหรียญมีความสำคัญยังไงถึงผลิตขึ้นมาและเหรียญที่เราใช้กันในปัจจุบันก็มีความหมายของเหรียญอยู่ด้านหน้าเป็นรูปกษัตริย์  หมายถึง  สถาบันกษัตริย์ด้านหลังเป็นรูปวัด  หมายถึง  สถาบันศาสนา  และจะมีคำว่าประเทศไทย  หมายถึงสถาบันชาติ
ขณะที่เราได้เดินศึกษาแต่ล่ะห้องก็จะมีประวัติศาสตร์แทรกอยู่ในนั้น  ที่พิพิธภัณ์นี้จะใช้สื่อเทคโนโลยีแทนภาพเคลื่อนไหว  หุ่นจำลองมาคอยอธิบายบางอย่างทำให้เราเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น  สามารถเรียกความสนใจให้กับเราได้สนุกในการไปเรียนรู้ด้วย  เมื่อดิฉันเดินสำรวจศึกษาแต่ล่ะห้องไปเรื่อยก็ได้รู้ว่าการทำเหรียญกษาปณืนั้นมีขั้นตอนหลายขั้นตอนในการทำให้เป็นเหรียญขึ้นมาหนึ่งเหรียญต้องอาศัยความอดทนความปราณีตอย่างมากในการทำ
 เมื่อเราได้มาศึกษาที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว  เราต้องทราบว่าผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยคือใคร  ท่านก็คือนายประสาร  ไตรรัตนวรกุล  ดำรงตำแหน่งตั้งแต่  1 ตุลาคม 2553-ปัจุบัน    ส่วนท่านที่ดำรงตำแหน่งคนแรกก็คือ  พระวรวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย  
 พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นเหมือนแหล่งประวัติศาสตร์อีกที่หนึ่งที่สามารถบอกถึงความเป็นมาของประเทศไทยได้  และยิ่งเมื่อดิฉันได้มาศึกษาก็ทำให้ประทับใจมากได้ความรู้ความสนุก  ความเพลิดเพลินไปยังห้องต่างๆที่ได้สอดแทรกความรู้ของแต่ล่ะห้องเอาไว้ การหาความรู้ก็ไม่น่าเบื่อเพราะเขาใช้สื่อเป็นสิ่งประกอบในการศึกษาทำให้เข้าใจง่ายและสนุกด้วย  ยิ่งได้เข้าไปดูแต่ล่ะห้องก็จะได้ความสนุกหลากหลายเพราะแต่ล่ะห้องจะไม่ซ้ำกัน  ทำให้ไม่น่าเบื่อแถมยังได้ความรู้อีกด้วย

ธนาคารแห่งประเทศไทย มีพิพิธภัณฑ์ที่เป็นแหล่งรวบรวมเกี่ยวกับเงินตราตั้งแต่สมัยก่อนจนถึงปัจจุบัน รู้จักเงินของประเทศอื่นๆมากมาย มีรูปปั้นจำลองที่เสมือนการกำลังผลิตเงินขึ้นมา ได้ความรู้และความประทับใจหลายอย่างแต่ที่สะดุดตาจริงๆ ก็มีการผลิตเงินพดด้วงในสมัยรัตนโกสินทร์ ตามบันทึกของนาย Reginald Le May เมื่อครั้งได้เข้าไปชมการแสดงวิธีทำเงินพดด้วงที่กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ, ปี้ที่เป็นวัตถุแทนเงินตราสำหรับการเล่นการพนัน, เงินกำไลที่เป็นเงินต้นกำเนิดของเงินพดด้วงสมัยสุโขทัย และประวัติของนายช่วง สเลลานนท์ นักออกแบบธนบัตรรุ่นแรกของประเทศไทย มีบทบาทสำคัญอีกหลายอย่างเช่น เป็นผู้ออกแบบตราพระสยามเทวาธิราชจากแบบร่างเดิมของกรมศิลปกร,เป็นผู้ปั้นพระรูปพระสยามเทวาธิราชที่ประดิษฐาน ณ ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นต้น ห้องที่สองที่ดิฉันเข้าเยี่ยมชมเป็นห้องเกี่ยวกับธนบัตร การพิมพ์ลายลงบนธนบัตรขนาดราคาต่างๆ เมื่อขึ้นสู่ชั้นที่สองของพิพิธภัณฑ์ก็จะเกี่ยวกับความเป็นมาของธนาคารแห่งประเทศไทย พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย มีอนุสนธิมาจากคำสั่งที่ ๙๖/๒๕๒๑ ลงวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๒๑ เรื่องตั้งคณะทำงานพิจารณาจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ของธนาคาร ทำหน้าที่ดูแลการซ่อมแซมปรับปรุงวังบางขุนพรหม เพื่อให้เป็นพิพิธภัณฑ์เงินตราและจัดแสดงประวัติวังบางขุนพรหม ซึ่งเดิมวังบางขุนพรหมเป็นอาคารที่ทำการธนาคารแห่งประเทศไทย ต่อมาในปี ๒๕๒๕ เมื่ออาคารสำนักงานใหญ่หลังแรกได้เปิดดำเนินการ วังบางขุนพรหมจึงมิได้ใช้งาน ประกอบกับมีความงดงามทางสถาปัตยกรรมเป็นอย่างยิ่ง จึงได้รับความเห็นชอบจากธนาคารที่จะตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย -เป็นธนาคารกลางของประเทศ มีบทบาทหน้าที่หลักในการรักษาเสถียรภาพทางการเงินและดูแลระบบการเงินให้มั่นคง พันธกิจ -มุ่งเสริมสร้างสภาพแวดล้อมทางการเงินที่มั่นคง มีเสถียรภาพเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน อันจะนำไปสู่การยกะรดับมาตรฐานการครองชีพของประชาชนอย่างต่อเนื่อง วิสัยทัศน์ –เป็นองค์กรที่มองการณ์ไกล พนักงานมีความสามารถสูงและอุทิศตนเพื่อดูแลเศรษฐกิจให้ผ่านพ้นความผันผวนได้อย่างราบรื่น พระสยามเทวาราช –ตราธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้ว่าการธนาคาร –พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวิวัฒนไชย บทบาทหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย 1. การรักษาเสถียรภาพทางการเงิน 2. การกำกับดูแลสถาบันการเงิน 3. การเป็นนายธนาคารและที่ปรึกษาด้านนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล 4. การเป็นนายธนาคารของสถาบันการเงิน 5. การบริหารเงินสำรองระหว่างประเทศ 6. การจัดพิมพ์และออกใช้ธนาบัตร การที่ดิฉันได้เข้ามาศึกษาในพิพิธภัณฑ์ทำให้ดิฉันทราบถึงความเป็นมาของธนาคารแห่งประเทศไทย ทราบลักษณะของเหรียญที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย ความแตกต่างของเงินที่พระมหากษัตริย์ใช้กับคนธรรมดาสามัญ ธนบัตรของแต่ละประเทศผลิตขึ้น ลายที่มีความหมายบนธนบัตร พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยจึง เป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับวิวัฒนาการเงินตราไทย ประวัติสถานที่และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับธนาคารแห่งประเทศไทย รวมทั้งประวัติบทบาทหน้าที่การดำเนินงานของธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อแสดงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรม

 

สิ่งประทับใจที่ดิฉันได้ไปทรรศนะศึกษาที่พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย  คือ  เป็นสถานที่เงียบสงบ  สะอาดเรียบร้อย  แต่ละห้องของพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย มีการจัดนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ   ประวัติของธนาคาร  เหรียญต่างๆในแต่ละสมัย  ธนบัตรต่างๆของแต่ละประเทศ   ขั้นตอนการผลิตธนบัตรและเหรียญ  และอีกมากมาย  โดยมีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย  ทำให้ดิฉันรู้สึกสนุก        ไม่น่าเบื่อ  แถมยังได้ความรู้อีกด้วย  และดิฉันก็นำความรู้เล็กๆน้อยๆที่ประทับใจมากนำมาฝากด้วยค่ะ     

 

     ประวัติการก่อตั้งธนาคารแห่งประเทศไทย

ในสมัยรัชกาลที่ ๔ มีการเจริญสัมพันธไมตรีและติดต่อค้าขายกับต่างชาติมากขึ้น ในปี ๒๓๙๘  โปรดให้ทำสนธิสัญญาทางการทูตและการค้ากับประเทศอังกฤษ เรียกว่า สนธิสัญญาเบาริง ซึ่งต่อมาประเทศไทยได้ลงนามในสนธิสัญญาแบบเดียวกันนี้กับอีกหลายประเทศ อันเป็นการเปิดประเทศอย่างกว้างขวางมากขึ้น      เมื่อชาวตะวันตกติดต่อค้าขายกับไทยมากขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ ๕ และรัชกาลที่ ๖ ได้มีความพยายามที่จะขอจัดตั้งธนาคารกลางขึ้นในประเทศไทยหลายครั้ง เพื่อสิทธิในการออกธนบัตรซึ่งให้ผลประโยชน์ตอบแทนที่งดงาม แต่ไม่เป็นผลสำเร็จเพราะฝ่ายไทยเห็นว่าชาวต่างประเทศเหล่านั้นคิดแต่จะเอาผลประโยชน์ฝ่ายเดียว ทำให้ประเทศไทยเห็นความสำคัญของการมีธนาคารกลางของไทย เพื่อเป็นสื่อกลางในทางการค้าและทางเศรษฐกิจ แต่โครงการก่อตั้งธนาคารกลางก็ได้หยุดชะงักไปเพราะเวลานั้นยังขาดประสบการณ์และบุคคลากรที่มีความรู้              -   กำเนิดเหรียญกษาปณ์ในประเทศไทย                                                                                                                                    รัชกาลที่  4  มีการเปิดการค้าเสรี    มีพ่อค้าชาวตะวันตกเข้ามาค้าขาย  และนำเหรียญเงินต่างประเทศเข้ามาแลกเหรียญเงินพดด้วงเพื่อซื้อสินค้าไทย  แต่การผลิตเงินพดด้วงไม่ทันใช้                                                                                      - เงินตราสมัยล้านนา                                                                                                                         พญามังรายแห่งแคว้นโยนก ทรงสถาปนาอาณาจักรล้านนาขึ้นใน พ.ศ. 1839 ประกอบด้วยดินแดน บริเวณ 8 จังหวัดภาคเหนือของไทย และบางส่วน ในประเทศพม่าปัจจุบัน มีเมืองเชียงใหม่ เป็นเมืองหลวง สามารถล่องเรือ ติดต่อ กับดินแดนทางใต้ หรือเดินทางบก ไปยังเมือง สำคัญๆ โดยรอบได้อย่างสะดวก เมืองเชียงใหม่จึงเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ อาณาจักรล้านนามีระบบเงินตรา ดังนี้ เบี้ย เงินเจียงและเงินกำไล เงินท้อก                                                                                                -   เงินตราในสมัยล้านนา                                                                                                                                                                     เงินเจียง  =  เรียกกันว่าเงินขาคีม มีรูปคล้ายเกือกม้าสองวงปลายต่อกันคอดกลาง ทำให้หักออกและทอนค่าลงได้ มีการตีตราประทับด้านละ 3 ดวง บอกน้ำหนักของเงินชื่อเมืองที่ทำขึ้น และตราจักรตามลำดับ มีมากกว่า 60 เมือง เช่น แสน (เชียงแสน) หม (เชียงใหม่) กก หาง สบฝางหรือฝาง นาน (น่าน) คอน (ลำปาง) แพร (แพร่) บางอันมีตราเล็กๆ อีก 1 ดวงประทับอยู่ตรงปลายขา เงินเจียงมีขนาดมาตรฐานหนัก 4 บาท ตามมาตรฐานของชาวไทย และมีขนาดอื่นบ้าง ได้แก่ 2 บาทครึ่ง 1 บาท กึ่งบาท และเฟื้องหนึ่ง                                                                                                                                                                                   

 

เบี้ย  =  หอยเบี้ยที่ใช้เป็นเงินปลีกได้แก่ เบี้ยจั่นและเบี้ยนาง ส่วนใหญ่เป็นเบี้ยที่มาจากหมู่เกาะมัลดีฟในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้ เบี้ยที่พบส่วนใหญ่ฝนหลังเบี้ยออกเพื่อประโยชน์ในการใช้เชือกร้อยเป็นพวง                                                                                                                                                   เงินกำไล  =  เงินกำไลนั้นมีลักษณะและน้ำหนักเหมือนเงินเจียงแต่ขนาดใหญ่กว่า เข้าใจว่าพ่อค้าผลิตขึ้นเพื่อใช้ชำระหนี้ในการค้าขาย โดยตอกตรารับรองน้ำหนักและความบริสุทธิ์ของเนื้อเงินไว้                               

 เงินใบไม้ หรือ เงินเส้น   =  ทำด้วยทองสำริด มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 28-35 มิลลิเมตร ลักษณะกลมตันแบนเป็นก้นกระทะผิวเรียบ ด้านหน้านูน ส่วนมากมีเส้นเหมือนลายใบไม้ มีมูลค่าต่ำกว่าเงินท้อกชนิดอื่น ทำด้วยทองสำริด มีลายเส้นคล้ายใบไม้ด้านหนึ่ง จัดว่าเป็นเงินท้อกที่มีมูลค่าต่ำที่สุด                                                                                                                        เงินท้อกน่าน  =  ทำด้วยโลหะผสมเคลือบผิวด้วยโลหะเงิน มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 15-43 มิลลิเมตร ลักษณะกลมแบน ด้านหน้านูนขึ้นมาคล้ายเงินใบไม้ผิวเรียบ ด้านหลังมีรอยเว้าเป็นแอ่งเข้าไป มักมีสีแดงเป็นมันเคลือบอยู่และเจาะรูเล็กๆ มีริมขอบ สำหรับใช้เชือกร้อยรวมกันเพื่อความสะดวกในการนับ                                                                                                                                                   เงินท้อกเชียงใหม่   =  เรียกกันว่าเงินหอย ทำด้วยโลหะเงินผสมทองแดง มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 14-47 มิลลิเมตร ลักษณะคล้ายเปลือกหอยตลับ ด้านบนนูนขึ้นมามีเส้นเป็นริ้วเล็กๆ ส่วนด้านล่างมีช่องกลวงลึกเข้าไปเป็นโพรง มีหลายขนาดและน้ำหนัก ที่ขอบปากมักตอกตราไว้ 1-2 ตรา ด้านล่างมีสีแดงเป็นมันเคลือบอยู่เช่นกัน มีมูลค่าสูงกว่าเงินท้อกน่าน เนื่องจากมีเนื้อเงินผสมมากกว่า

     เงินวงตีนม้า   =   ทำด้วยโลหะเงินผสม มีลักษณะคล้ายเงินท้อกเชียงใหม่ แต่มีผิวบางมากเป็นพิเศษ ที่ขอบปากล่าง มีตรารูปม้าตอกประทับไว้ โดยที่เป็นเงินที่มีลักษณะคล้ายรอยตีนม้าจึงเรียกกันว่าเงินวงตีนม้า                                                                                                                                 เงินหอยโข่ง    =   รูปร่างคล้ายหอยโข่งทำด้วยโลหะเงินผสม ด้านบนนูนขึ้นสูงมากผิวภายนอกเป็นลายเส้นและย่นเป็นริ้ว มีความบางมาก ส่วนด้านล่างเป็น โพรงกลวงลึกเข้าไปภายในไม่มีขอบปากที่ด้านล่าง มีมูลค่าตามน้ำหนัก                                                                                                              เงินปากหมู  =  คล้ายเงินหอยโข่ง ทำด้วยโลหะเงินเช่นกัน ด้านล่างมีช่องกลวงลึกเข้าไป ช่องนี้มีลักษณะคล้ายช่องบริเวณปากหมู จึงเรียกกันว่าเงินปากหมู มีหลายขนาดและน้ำหนัก                                                                                                                 เงินดอกไม้หรือเงินผักชี   =  ทำด้วยโลหะเงินเจือโลหะอื่นบ้างเล็กน้อย มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10-100 มิลลิเมตร ลักษณะกลมมี 2 ชนิด ชนิดแรกคล้ายเงินท้อกเชียงใหม่ แต่มีน้ำหนักมากกว่าอีกชนิดหนึ่งเป็นแผ่นแบน ด้านหน้าของเงินดอกมีลวดลายคล้ายหยดน้ำที่ตกกระจายบนพื้นดูคล้ายดอกไม้หรือผักชี จึงเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่าเงินผักชี มีน้ำหนักและขนาดต่างๆ กัน เงินดอกไม้ผลิตขึ้นทั้งในอาณาจักรล้านนาและประเทศพม่า                                                                               บทบาทหน้าที่ของธนาคาร                                                                                                                                                              1.  การรักษาเสถียรภาพการเงิน                                                                                                                                                            2.  การกำกับสถาบันการเงิน                                                                                                                                                                     3.   การเป็นนายธนาคารและที่ปรึกษาด้านนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล                                                                                         4.   การเป็นนายธนาคารของสถาบันการเงิน                                                                                                                                  5.   การบริหารเงินสำรองระหว่างประเทศ                                                                                                                                           6.   การจัดพิมพ์และออกใช้ธนบัตร    

    ระบบการจัดการธนบัตรที่มีประสิทธิภาพ

โรงพิมพ์ธนบัตร  =>  ฝ่ายจัดการธนบัตร  =>  ศูนย์การจัดการธนบัตรธนาคารประเทศไทย =>             ศูนย์เงินสื่อกลางธนาคารพาณิชย์   =>  ธนาคารพาณิชย์   =>  ประชาชน        

     กระบวนการผลิตธนบัตร

การออกแบบธนบัตร  =>  การทำแม่แบบแม่พิมพ์  => การพิมพ์ => การตรวจสอบคุณภาพและการนับจำนวน  => การผลิตธนบัตรสำเร็จรูป        

    มุมเกร็ดความรู้

MLR   =  อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อระยะยาวของลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี

MRP  =  อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อของลูกค้ารายย่อยชั้นดี 

Flat  Rate  =  อัตราดอกเบี้ยแบบเงินต้นคงที่

Effective  rate  =  อัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก

 

นางสาว ญานิชา  คำตัน   ( 02 )  55127326073                                                                                                                               

จากการที่ได้ไปในพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ทำให้ทราบถึง พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย มีอนุสนธิมาจากคำสั่งที่ ๙๖/๒๕๒๑ ลงวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๒๑ เรื่องตั้งคณะทำงานพิจารณาจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ของธนาคาร ทำหน้าที่ดูแลการซ่อมแซมปรับปรุงวังบางขุนพรหม เพื่อให้เป็นพิพิธภัณฑ์เงินตราและจัดแสดงประวัติวังบางขุนพรหม ซึ่งเดิมวังบางขุนพรหมเป็นอาคารที่ทำการธนาคารแห่งประเทศไทย ต่อมาในปี ๒๕๒๕ เมื่ออาคารสำนักงานใหญ่หลังแรกได้เปิดดำเนินการ วังบางขุนพรหมจึงมิได้ใช้งาน ประกอบกับมีความงดงามทางสถาปัตยกรรมเป็นอย่างยิ่ง จึงได้รับความเห็นชอบจากธนาคารที่จะตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย

  • สื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เงินตราในภูมิภาคสุวรรณภูมิและวิวัฒนการเงินตราไทยจนเป็นกษาปณ์ในปัจจุบันคือ การจัดแสดงเป็นโบราณวัตถุก่อนประวัติศาสตร์ อาทิ หม้อบ้านเชียง สร้อยลูกปัดสีน้ำเงิน ลูกปัดดินเผาบ้านเชียง กำไลหิน ต่างหูหิน ขวานหิน ขวานสำริด ซึ่งสันนิษฐานว่า เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนก่อนมีเงินตรา สำหรับเงินตราโบราณที่จัดแสดงในห้องนี้ ได้แก่ เงินตราสมัยทวาราวดี เหรียญลวปุระที่หาชมได้ยาก เงินดอกจันทน์ของอาณาจักรศรีวิชัย นอกจากนี้ ยังมีการจัดแสดงเงินตราอาณาจักรล้านนา เช่น เงินเจียง เงินท้อก เงินปากหมู เงินใบไม้ เงินอาณาจักรล้านช้าง เช่น เงินลาด เงินฮ้อย ในส่วนที่จัดแสดงเกี่ยวกับเงินตราโบราณนี้มีการจัดแสดงเงินตราโบราณของอาณาจักรใกล้เคียงที่มีหลักฐานว่ามีการนำมาใช้ในสมัยโบราณของบริเวณที่เป็นที่ตั้งของประเทศไทยในปัจจุบัน เช่น เงินไซซี เงินฮาง เงินตู้ ....เรื่องราวของเงินพดด้วงซึ่งเป็นเงินที่ผลิตขึ้นมาใช้กว่า ๖๐๐ ปีนับตั้งแต่สมัยสุโขทัยถึง สมัยรัตนโกสินทร์ และยกเลิกการใช้ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ในห้องจัดแสดงนี้มีเงินพดด้วงครบทุกยุคทุกสมัย เงินพดด้วงที่ถือว่าเด่นและดึงดูดสายตาผู้ชมมากคือ “พดด้วงตราพระมหามงกุฎ” “พดด้วงตราช่อรำเพย” ....งเหรียญกษาปณ์ในสมัยต่าง ๆ ตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ “เหรียญช้าง เมืองไท” “เหรียญดอกบัว เมืองไท” จนถึงเหรียญกษาปณ์ในสมัยรัชกาลปัจจุบัน เหรียญกษาปณ์ที่เด่นและมีชื่อเสียงในแต่ละสมัย เช่น เหรียญแต้เม้ง” สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ เหรียญหนวด” สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
    เหรียญทองคำต้นแบบ” สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖

  • ธนบัตรไทย จัดแสดงวิวัฒนาการ การใช้เงินกระดาษในระบบเงินตราไทย ตั้งแต่ “หมาย” “ใบพระราชทานเงินตรา” “อัฐกระดาษ” “บัตรธนาคาร” “ตั๋วเงินกระดาษ” หรือ “เงินกระดาษหลวง” เงินกระดาษชนิดแรก เริ่มในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ได้มีการผลิตเงินกระดาษขึ้นใช้เป็นครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๓๙๖ เรียกว่า “หมาย” ซึ่งนับเป็นเงินกระดาษชนิดแรกในระบบเงินตราไทย และมีการผลิตใบสั่งจ่ายขึ้นหลายชนิดราคาเรียกว่า “ใบพระราชทานเงินตรา” ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ทำ “อัฐกระดาษ” ออกใช้ระยะสั้นๆ เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนเงินปลีกระยะหนึ่ง หลังจากนั้นได้มีการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่ออำนวยความสะดวกในการชำระหนี้ระหว่างธนาคารและลูกค้า เรียกว่า “บัตรธนาคาร” ต่อมาในพ.ศ. ๒๔๓๓ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติได้พิมพ์ “เงินกระดาษหลวง” ขึ้น เพื่อใช้เป็นธนบัตรแต่มิได้นำออกใช้เพราะขาดความพร้อม จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๔๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติจัดทำตั๋วสำคัญที่ใช้แทนเงินตรา ประกาศออกใช้เมื่อวันที่ 7 กันยายน ธนบัตรไทยจึงถือกำเนิด ขึ้นตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

  • ประวัติของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต วีดิทัศน์เรื่อง “เจ้าฟ้านักบริหาร แบบอย่างของผู้ทรงนำคุณประโชยน์เพื่อแผ่นดิน” ซึ่ง เพลงประกอบที่ไพเราะของเรื่องนี้จัดทำโดยพระนัดดาของพระองค์เอง สำหรับเรื่องราวของพระอัจฉริยภาพทางดนตรีนั้น นำเสนอด้วยเทคนิค Ghost Box ที่ถ่ายทอดเรื่องราวโดยพระธิดาของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต คือ “พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอินทุรัตนา” ซึ่งผู้ชมจะได้ฟัง เพลงมาร์ชบริบัตรและฮังกาเรียนราฟโซดีอันมีชื่อเสียง นอกจากนี้ ยังนำเสนอเพลงพระนิพนธ์ผ่านทางหุ่นจำลองวงปี่พาทย์ไม้แข็งครบวง สำหรับวัตถุประกอบการจัดแสดงนั้น ที่น่าสนใจจะเป็นของใช้ที่ มีตราประจำพระองค์ เช่น จาน เครื่องแก้ว ของที่ระลึกที่ประทาน “แหนบบริพัตร” นอกจากนี้ ยังมีเครื่องบินบริพัตรจำลอง โน้ตเพลงลายพระหัตถ์ รวมทั้งหุ่นจำลองขนาดเท่าพระองค์จริงในฉลองพระองค์จอมพลทหารเรือที่โดดเด่น จุดสุดท้ายที่ดึงดูดใจผู้ชมอย่างมากคือ หุ่นจำลองตำหนักประเสบัน ที่เมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย และฉลองพระองค์ชุดสุดท้ายของพระองค์ที่มหาดเล็กคู่พระทัยถอดเก็บไว้บูชาหลังจากสิ้นพระชนม์ และทายาทได้นำมามอบให้

สิ่งที่ประทับใจ...พิพิธภัณฑ์ให้ทั้งความรู้และความเพลิดเพลิน เป็นแหล่งการเรียนรู้ ศึกษาค้นคว้าเรื่องราวเกี่ยวกับวิวัฒนาการเงินตราไทย แสดงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรม เป็นสถานที่ อนุรักษ์เงินตราไทยอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของชนชาติไทยในอดีต แสดงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรมและศิลปกรรมของอาคารโบราณสถานที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้อนุรักษ์ไว้ให้เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมของชาติ

ประวัติธนาคารแห่งประเทศไทย

    สถาบันแรกที่ได้เริ่มทำหน้าที่ธนาคารกลางของประเทศไทย คือ สำนักงานธนาคารชาติไทย ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2482 มีฐานะเป็นส่วนราชการ สังกัดกระทรวงการคลัง และเปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2483 โดยมีพระยาทรงสุรรัชฎ์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง ในขณะนั้น เป็นผู้อำนวยการ แต่การดำเนินงานของสำนักงานธนาคารชาติไทยในระยะเริ่มแรกนั้น จำกัดอยู่เพียงกิจการธนาคารกลางบางประเภทเท่านั้น ได้แก่ การรับฝากเงินจากรัฐบาล องค์การรัฐบาล ธนาคารพาณิชย์ไทยและต่างประเทศ รวมทั้งการให้กู้เงินและโอนเงินระหว่างส่วนกลางกับส่วนภูมิภาค
    ต่อมาในปี พ.ศ. 2484 จึงได้ดำเนินงานด้านการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน หลังจากเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา รัฐบาลได้เปลี่ยนฐานะของสำนักงานธนาคารชาติไทยให้เป็น ธนาคารกลาง โดยตราพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 ขึ้น กำหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นนิติบุคคล ทำหน้าที่เกี่ยวกับกิจการของธนาคารกลาง ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เปิดดำเนินการ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2485 โดยมีหม่อมเจ้าวิวัฒนไชย ไชยันต์ ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการ
    ตามพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่กำกับกิจการของธนาคารแห่งประเทศไทยโดยทั่วไปโดยมีคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยอันประกอบด้วย ผู้ว่าการ และรองผู้ว่าการ ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งเป็นประธานและรองประธานตามลำดับ และกรรมการไม่น้อยกว่า 5 ท่าน ซึ่งแต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรีเป็นผู้ควบคุมและดูแลกิจการของธนาคารแห่งประเทศไทย
    ตราธนาคารแห่งประเทศไทย คือ พระสยามเทวาธิราชในเหรียญเสี้ยว อัฐ โสฬส ที่ออกใช้ในรัชกาลที่ 5 มาดัดแปลง และเพิ่มถุงเงินในพระหัตถ์เบื้องขวา ซึ่งเป็นเครื่องหมายถึงผู้คุมถุงเงินของชาติ อันเป็นหน้าที่หลักของธนาคารแห่งประเทศไทย พระแสงธารพระกรในพระหัตถ์ซ้ายเพื่อคอยปัดป้องผู้ที่มารุกราน แต่ได้เปลี่ยนตอนปลายจากรูปดอกไม้มาเป็นลายดอกบัว
    ในตลาดการเงิน ผู้ที่มีบทบาทในการประสานอุปสงค์และอุปทาน คือ สถาบันการเงินต่างๆเพราะเป็นแหล่งระดมทุนจากเงินออมของประชาชน ซึ่งรัฐจำต้องเข้าควบคุม ในที่สุด จึงได้มีการจัดตั้งธนาคารแห่งประเทศไทยขึ้นตามพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485

เงินพดด้วงเอกลักษณ์เงินตราไทย จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบในดินแดนประเทศไทยมีการขุดพบกำไลที่มีตราประทับในพื้นที่ ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของเมืองศรีสัชนาลัย เมืองสำคัญก่อนสมัยอาณาจักรสุโขทัย ด้วยลักษณะของเงินกำไลที่เป็นวงโค้ง และมีพัฒนาการของปลายขาทั้งสองข้างที่ค่อยๆขดเข้าหากัน จนมีขนาดกะทัดรัด สันนิษฐานว่าเงินกำไลเป็นต้นกำเนิดของเงินพดด้วงสมัยสุโขทัย

ห้องธนบัตรไทย มีการจัดแสดงตั้งแต่เงินกระดาษแบบแรกที่เรียกว่า หมาย ในสมัยรัชกาลที่ 4 ธนบัตรแบบแรกของไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงธนบัตรแบบที่ใช้ในปัจจุบัน ตลอดจนธนบัตรที่ระลึกชมวัตถุจัดแสดงที่ล้ำค่า เช่น ทองคำแท่ง ซึ่งเป็นทุนสำรองเงินตราสำคัญของประเทศ สิ่งที่ประทับใจ สิ่งแรกที่ประทับใจคือบรรยากาศที่สงบร่มรื่น สวยงาม ส่วนข้างในก็สวยเหมือนพระราชวังมีพรมสีแดงปูตลอดทางเดิน มีการจัดนิทรรศการในเรื่องเกี่ยวกับประวัติของธนาคารแห่งประเทศไทย การทำเงินตราในสมัยก่อน ประวัติของบุคคลสำคัญ นับว่าการได้มาครั้งนี้เป็นโอกาสที่ดีมากเพราะได้ความรู้ในสิ่งต่างๆที่ไม่รู้และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ต่อไปค่ะ

ประวัติธนาคารแห่งประเทศไทย

    สถาบันแรกที่ได้เริ่มทำหน้าที่ธนาคารกลางของประเทศไทย คือ สำนักงานธนาคารชาติไทย ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2482 มีฐานะเป็นส่วนราชการ สังกัดกระทรวงการคลัง และเปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2483 โดยมีพระยาทรงสุรรัชฎ์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง ในขณะนั้น เป็นผู้อำนวยการ แต่การดำเนินงานของสำนักงานธนาคารชาติไทยในระยะเริ่มแรกนั้น จำกัดอยู่เพียงกิจการธนาคารกลางบางประเภทเท่านั้น ได้แก่ การรับฝากเงินจากรัฐบาล องค์การรัฐบาล ธนาคารพาณิชย์ไทยและต่างประเทศ รวมทั้งการให้กู้เงินและโอนเงินระหว่างส่วนกลางกับส่วนภูมิภาค
    ต่อมาในปี พ.ศ. 2484 จึงได้ดำเนินงานด้านการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน หลังจากเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา รัฐบาลได้เปลี่ยนฐานะของสำนักงานธนาคารชาติไทยให้เป็น ธนาคารกลาง โดยตราพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 ขึ้น กำหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นนิติบุคคล ทำหน้าที่เกี่ยวกับกิจการของธนาคารกลาง ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เปิดดำเนินการ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2485 โดยมีหม่อมเจ้าวิวัฒนไชย ไชยันต์ ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการ
    ตามพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่กำกับกิจการของธนาคารแห่งประเทศไทยโดยทั่วไปโดยมีคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยอันประกอบด้วย ผู้ว่าการ และรองผู้ว่าการ ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งเป็นประธานและรองประธานตามลำดับ และกรรมการไม่น้อยกว่า 5 ท่าน ซึ่งแต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรีเป็นผู้ควบคุมและดูแลกิจการของธนาคารแห่งประเทศไทย
    ตราธนาคารแห่งประเทศไทย คือ พระสยามเทวาธิราชในเหรียญเสี้ยว อัฐ โสฬส ที่ออกใช้ในรัชกาลที่ 5 มาดัดแปลง และเพิ่มถุงเงินในพระหัตถ์เบื้องขวา ซึ่งเป็นเครื่องหมายถึงผู้คุมถุงเงินของชาติ อันเป็นหน้าที่หลักของธนาคารแห่งประเทศไทย พระแสงธารพระกรในพระหัตถ์ซ้ายเพื่อคอยปัดป้องผู้ที่มารุกราน แต่ได้เปลี่ยนตอนปลายจากรูปดอกไม้มาเป็นลายดอกบัว
    ในตลาดการเงิน ผู้ที่มีบทบาทในการประสานอุปสงค์และอุปทาน คือ สถาบันการเงินต่างๆเพราะเป็นแหล่งระดมทุนจากเงินออมของประชาชน ซึ่งรัฐจำต้องเข้าควบคุม ในที่สุด จึงได้มีการจัดตั้งธนาคารแห่งประเทศไทยขึ้นตามพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485

เงินพดด้วงเอกลักษณ์เงินตราไทย จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบในดินแดนประเทศไทยมีการขุดพบกำไลที่มีตราประทับในพื้นที่ ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของเมืองศรีสัชนาลัย เมืองสำคัญก่อนสมัยอาณาจักรสุโขทัย ด้วยลักษณะของเงินกำไลที่เป็นวงโค้ง และมีพัฒนาการของปลายขาทั้งสองข้างที่ค่อยๆขดเข้าหากัน จนมีขนาดกะทัดรัด สันนิษฐานว่าเงินกำไลเป็นต้นกำเนิดของเงินพดด้วงสมัยสุโขทัย

ห้องธนบัตรไทย มีการจัดแสดงตั้งแต่เงินกระดาษแบบแรกที่เรียกว่า หมาย ในสมัยรัชกาลที่ 4 ธนบัตรแบบแรกของไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงธนบัตรแบบที่ใช้ในปัจจุบัน ตลอดจนธนบัตรที่ระลึกชมวัตถุจัดแสดงที่ล้ำค่า เช่น ทองคำแท่ง ซึ่งเป็นทุนสำรองเงินตราสำคัญของประเทศ สิ่งที่ประทับใจ สิ่งแรกที่ประทับใจคือบรรยากาศที่สงบร่มรื่น สวยงาม ส่วนข้างในก็สวยเหมือนพระราชวังมีพรมสีแดงปูตลอดทางเดิน มีการจัดนิทรรศการในเรื่องเกี่ยวกับประวัติของธนาคารแห่งประเทศไทย การทำเงินตราในสมัยก่อน ประวัติของบุคคลสำคัญ นับว่าการได้มาครั้งนี้เป็นโอกาสที่ดีมากเพราะได้ความรู้ในสิ่งต่างๆที่ไม่รู้และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ต่อไปค่ะ

เงินพดด้วงของไทย เป็นเงินตราที่เป็น เอกลักษณ์ของไทย โดยเฉพาะไม่ซ้ำแบบของชาติใด มีค่าในตัวเอง เพราะทำด้วย โลหะมีราคา โดยมีน้ำหนักเป็นมาตรฐานวัดมูลค่า รูปทรงกระทัดรัด ทนทาน ผลิตด้วยมือ ทำจากแท่งเงินบริสุทธิ์ ทุบปลายทั้งสองข้าง ให้โค้งงอเข้าหากัน ทำให้มีรูปร่างกลมคล้าย ลูกปืนโบราณ ชาวต่างประเทศจึงเรียกว่า Bullet Coin ในสมัยอยุธยา ได้มีการ ประทับตราแผ่นดิน และตราประจำรัชกาลของพระมหากษัตริย์ แต่ละพระองค์ รวมเป็น 2 ตราใบ เงินพดด้วงแต่ละอัน

ในสมัยน่านเจ้า เงินที่ใช้ในการแลกเปลี่ยน ส่วนมากเป็นเงินบริสุทธิ์ นำมาหล่อหลอม หรือ ตีเป็นแท่ง เป็นก้อน หรือเป็นกำไล ชาวต่างประเทศ เรียก Bracelet Money มีรูปร่างแตกต่างไปจาก เงินตราของจีน เงินในสมัยนี้มีขนาดหนึ่ง และ สองตำลึง มีตราหลายตราตีประทับบนเนื้อเงิน

 

อาณาจักรล้านช้าง ทำเงินเป็นแท่งยาว ปลายเรียว มีตราประทับก็มี ไม่มีตราประทับก็มี เรียกว่า เงินฮ้อย เงินลาด และเงินเฮือ ทางภาคเหนือเรียกว่า เงินปลิง เนื่องจากมีรูปร่างคล้ายตัวปลิง ชาวต่างประเทศเรียกเงินชนิดนี้ว่า Bar Money เพราะมีลักษณะเป็นแท่ง

วิวัฒนาการเงินตราไทย เริ่มตั้งแต่กลุ่มชนดั้งเดิมในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ได้อาศัยอยู่ในดินแดนที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบันตั้งแต่ราว 38,000 ปีมาแล้ว ก่อนจะได้รับวัฒนธรรมจากอินเดียนั้น กลุ่มชนเหล่านี้ติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้ากัน โดยใช้สิ่งของเป็นสื่อกลาง เมื่อวัฒนธรรมอินเดียแพร่เข้ามาจึงเริ่มผลิตเงินตราเป็นสื่อกลางค้าขาย
ช่วงพุทธศตวรรษที่ 6-16 ในวัฒนธรรมแบบฟูนัน-ทวารวดี ได้ผลิตเหรียญกลมแบนจากโลหะเงิน ดีบุก ทองแดง โดยใช้แม่พิมพ์ตราสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น พระอาทิตย์ สังข์ แพะ ปูรณกลศ ตัวอักษร เป็นต้น ซึ่งสื่อถึงความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์ อำนาจรัฐ กษัตริย์ และความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์
ช่วงพุทธศตวรรษที่ 13-18 อาณาจักรศรีวิชัย ซึ่งเป็นเมืองท่าค้าขายบริเวณคาบสมุทรภาคใต้ของไทยมีอำนาจควบคุมเส้นทางการค้าทางทะเล มีการผลิตเงินดอกจันทน์และเงินนโม เพื่อระบบเศรษฐกิจอย่างแพร่หลาย ราวพุทธศตวรรษที่ 19 ราชอาณาจักรสุโขทัยและล้านนาก็ถือกำเนิดขึ้นและได้ติดต่อค้าขายกับราชอาณาจักรในลุ่มเจ้าพระยา คือ กรุงศรีอยุธยา ตลอดจนดำเนินการค้าทางทะเลกับจีน อินเดีย ยุโรป และได้ติดต่อค้าขายกับกลุ่มชนทางตอนเหนือของไทย เช่น ล้านช้าง ยูนาน น่านเจ้า เป็นต้น และไปไกลถึงเปอร์เซีย อาหรับ ในดินแดนตะวันออกกลาง
ราชอาณาจักรสุโขทัย ล้านนา กรุงศรีอยุธยา ได้ผลิตคิดค้นเงินตราขึ้นใช้ในระบบเศรษฐกิจ พร้อมกันนั้นก็ยอมรับเงินตราของต่างชาติด้วย เงินตราที่ใช้ในอาณาจักรล้านนา ได้แก่ เงินไซซี เงินกำไล เงินเจียง เงินท้อก เงินดอกไม้ ส่วนราชอาณาจักรสุโขทัยและอยุธยาได้ผลิตเงินพดด้วง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะของตนเองขึ้นใช้ และใช้เบี้ยหอยแทนเงินปลีกย่อย บางครั้งเบี้ยหอยขาดแคลนก็ได้ผลิตเบี้ยโลหะและประกับดินเผาขึ้นใช้ร่วมด้วย
ภายหลังราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาสลายลง กรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ถือกำเนิดขึ้นตามลำดับ ก็ยังคงใช้เงินพดด้วงเช่นครั้งกรุงศรีอยุธยา จนกระทั่งถึงรัชกาลที่ 4 การเปิดประเทศสยามสู่อารยประเทศ มีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบเงินตราให้เป็นสากล นำไปสู่การผลิตเงินตราในลักษณะเหรียญกลมแบนออกใช้เป็นครั้งแรก ต่อมารัชกาลที่ 5 จึงทรงประกาศยกเลิกการใช้เงินพดด้วง นับตั้งแต่นั้นเงินตราไทยจึงคงลักษณะเป็นเหรียญกลมแบนต่อเนื่องมาจวบจนปัจจุบัน

 

ความรู้ที่ได้จากการที่ได้ไปศึกษาที่ธนาคารแห่งประเทศไทย

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ชื่อไม่เป็นทางการ แบงค์ชาติ (อังกฤษ: The Bank of Thailand: BOT) เป็นธนาคารกลางของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 เปิดดำเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2485 มีหน้าที่หลักในการดูแลกำกับเรื่องการเงินของชาติ ทั้งออกกฎเกณฑ์และควบคุมสถาบันการเงิน นำออกหมุนเวียนซึ่งธนบัตรไทยรวมถึงการควบคุมการถ่ายโอนเงินตราระหว่างประเทศ และเฝ้าระวังอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบกับสกุลเงินตราอื่น ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดตั้งขึ้นหลังจากประเทศไทยได้มีธนาคารพาณิชย์ทั้งของรัฐและเอกชนเริ่มดำเนินการไปก่อนหน้านั้นแล้ว ภารกิจและหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยเดิมซ้อนเหลื่อมอยู่กับกระทรวงการคลังและได้มีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นลำดับหลังจากที่ระบบการเงินของโลกพัฒนาไปและมีวิกฤตเศรษฐกิจครั้งสำคัญต่างๆ

ประวัติ

ในปี พ.ศ. 2482 เกิดสงครามโลกครั้งที่สอง สงครามและเหตุการณ์ที่เกิดจากสงครามได้เร่งรัดความจำเป็นต้องจัดตั้งธนาคารกลางขึ้นในประเทศไทย ปรีดี พนมยงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ร่วมมือกับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย เริ่มจัดตั้งสำนักงานธนาคารชาติขึ้นในปี พ.ศ. 2482 อันเป็นแนวทางไปสู่การตราพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทยในปี พ.ศ. 2485 ในสมัยที่ พลเอกเภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (2484 - 2487) ได้มีการตราพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2485 จัดตั้งธนาคารแห่งประเทศไทย ขึ้นเป็นองค์กรอิสระ และ จากพระราชกฤษฎีกากำหนดกิจการธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2485 ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเริ่มประกอบธุรกิจได้ตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2485 เป็นต้นไป พร้อมกันนี้ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวิวัฒนไชย เป็นผู้ว่าการธนาคารพระองค์แรก (พ.ศ. 2485 - 2489) พระองค์ได้ทรงวางระเบียบแบบแผนและดำเนินการจนธนาคารแห่งประเทศไทยได้ดำรงอยู่เป็นปึกแผ่นมั่นคงตลอดมาจนปัจจุบัน การคลังของไทย ก่อนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การบริหารการคลังของไทยได้ดำเนินมาเป็นเวลานาน นับตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นต้นมา แต่ยังมิได้จัดตั้งหน่วยงานเพื่อทำหน้าที่นี้โดยเฉพาะ รัฐบาลมีรายได้จาก ส่วยสาอากร หรือที่เรียกกันในปัจจุบันว่า ภาษีอากร 4 ชนิด ได้แก่ จังกอบ อากร ส่วย และ ฤชา ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ได้มีการจัดระเบียบการปกครองฝ่ายพลเรือนเป็น 4 แผนก เรียกว่า จตุสดมภ์ ซึ่งประกอบด้วย กรมเมือง กรมวัง กรมพระคลัง และ กรมนา โดยกรมพระคลังทำหน้าที่รักษาราชทรัพย์ผลประโยชน์ของบ้านเมือง มีขุนคลังเป็นหัวหน้าบังคับบัญชา และมีพระคลังสินค้าเป็นที่เก็บและรักษาส่วยสาอากร ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 1991 - 2031) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุงแก้ไขระบบราชการวางระเบียบการคลังการส่วยสาอากรและเศรษฐกิจให้รัดกุมทันสมัย ให้ตราพระราชบัญญัติทำเนียบราชการ โดยแบ่งราชการออกเป็นฝ่ายทหารและพลเรือนซึ่งใช้มาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ฝ่ายทหารมีสมุหพระกลาโหม เป็นหัวหน้าดำรงตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี ฝ่ายพลเรือนมีสมุหนายกเป็นหัวหน้าดำรงตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีเช่นเดียวกัน และมีตำแหน่งเสนาบดีจตุสดมภ์อีก 4 ตำแหน่ง คือ เสนาบดีกรมเมือง บังคับบัญชาการรักษาพระนครและความนครบาล เสนาบดีกรมวัง บังคับบัญชาการที่เกี่ยวกับพระราชสำนักและพิจารณาคดีความของราษฎร เสนาบดีกรมพระคลัง บังคับบัญชาเกี่ยวกับการจัดการรักษาพระราชทรัพย์ที่ได้จากส่วยสาอากรและบังคับบัญชากรมท่าซึ่งเกี่ยวกับการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ และยังมีหน้าที่เกี่ยวกับกรมพระคลังสินค้าการค้าสำเภาของหลวงด้วย เสนาบดีกรมนา บังคับบัญชาการเกี่ยวกับเรื่องนาและสวน การเพาะปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหาร ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2367 - 2394) พระองค์ทรงสนพระทัยที่จะปรับปรุงเศรษฐกิจของประเทศ ในยุคนั้นทางราชการมีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินมากกว่าในแผ่นดินก่อนๆ ทรงพยายามหาวิธีเพิ่มรายได้แผ่นดินด้วยการให้ผูกขาดการเก็บภาษีอากร โดยอนุญาตให้เจ้าภาษี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวจีนในประเทศไทยเป็นผู้จัดเก็บภาษีอากรจากราษฎรโดยตรง ในแต่ละปีเจ้าภาษีจะเสนอรายได้สูงสุดในการจัดเก็บภาษีอากรแต่ละชนิดให้แก่รัฐบาล เมื่อได้รับอนุญาตจากรัฐบาลแล้ว เจ้าภาษีจัดแบ่งส่งเงินรายได้แก่รัฐบาลเป็นรายเดือนจนครบกำหนดที่ได้ประมูลไว้เป็นการเริ่มระบบเจ้าภาษีนายอากรนับแต่นั้นมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2394 - 2411) ไทยได้เปิดประตูการค้ากับประเทศตะวันตก นับตั้งแต่ได้มีการลงนามใน สนธิสัญญาเบาริง กับประเทศอังกฤษเมื่อปี พ.ศ. 2398 และกับประเทศอื่นๆ บทบัญญัติในสนธิสัญญาบาวริงมีผลให้ไทยต้องยกเลิกการค้าแบบผูกขาด โดยระบบพระคลังสินค้าอย่างเด็ดขาด เลิกล้มการเก็บภาษีเบิกร่องหรือค่าปากเรือ มีการจัดตั้ง ศุลกสถาน (Customs House) หรือ โรงภาษี จัดเก็บภาษีขาเข้าในอัตรา ร้อยชักสาม และภาษีขาออกตามที่ระบุไว้ในท้ายสัญญา ระบบการศุลกากรแบบใหม่ก็นำมาใช้นับแต่ครั้งนั้น ภายหลังสนธิสัญญาบาวริง การค้าขายระหว่างไทยกับต่างประเทศเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว พ่อค้าชาวต่างประเทศได้นำเงินเหรียญดอลลาร์เม็กซิกันมาขอแลกเป็นเงินไทยมาก จนกระทั่งเงินบาทพดด้วงที่มีอยู่ไม่พอใช้หมุนเวียน ดังนั้นใน พ.ศ. 2403 รัชกาลที่ 4 จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง โรงกษาปณ์สิทธิการ ขึ้นในพระบรมมหาราชวัง ผลิตเงินเหรียญด้วยเครื่องจักร มีทั้งที่ทำด้วย ทองคำ เงิน ดีบุก และทองแดงในราคาต่างกัน

การคลังของไทย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2411 - 2453) เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชสมบัตินั้น ทรงมีพระชันษาได้ 16 พรรษาเท่านั้น จึงมีสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ระหว่าง พ.ศ. 2411 - 2416 ครั้นเมื่อทรงบรรลุนิติภาวะแล้ว ได้ทรงรับมอบอำนาจการปกครองแผ่นดินจากสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ และทรงเริ่มพระราชกรณียกิจในการปรับปรุงแก้ไขการบริหารราชการแผ่นดินให้ทันสมัยทันที ได้มีการเปลี่ยนแปลงการบริหารงานการคลัง ซึ่งนำไปสู่การสถาปนากระทรวงการคลังขึ้นในรัชกาลนี้ การตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ พ.ศ. 2416 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่า การบริหารการคลังของประเทศประสบปัญหาเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีอากรและการจัดระบบการคลังหลายประการ ประการแรก การจัดเก็บภาษีอากรไม่มีการจัดระบบให้ถูกต้อง การเงินของประเทศได้ถูกแบ่งไปอยู่ที่เจ้านายและขุนนางผู้มีอำนาจ โดยอำนาจการจัดเก็บภาษีอากรกระจายไปอยู่ตามกรมต่างๆ เช่น กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมพระกลาโหม กรมมหาดไทย กรมนา และกรมพระคลังสินค้า เป็นต้น แล้วแต่เจ้ากรมผู้บังคับบัญชากรมนั้นๆ จะจัดเก็บตามประสงค์ ไม่เป็นระเบียบแบบแผนอันเดียวกันที่จะพึงปฏิบัติเยี่ยงอารยประเทศ นอกจากนี้ภาษีอากรที่กรมต่างๆ จัดเก็บได้ ซึ่งจะต้องมอบเงินส่วนหนึ่งให้กรมพระคลังมหาสมบัติ ก็ปรากฏว่าให้บ้างไม่ให้บ้าง กรมพระคลังมหาสมบัติเป็นเพียงแต่เจ้าพนักงานรับเงินหลวง ไม่มีอำนาจบังคับหรือเรียกร้องให้กรมต่างๆ ปฏิบัติตามแต่อย่างใดเพราะไม่มีระเบียบบัญญัติกฎหมายวางไว้ให้ทำเช่นนั้นได้ ทำให้เงินผลประโยชน์ของแผ่นดินรั่วไหลไปทางอื่นเสียเป็นอันมาก ประการที่สอง ระบบเจ้าภาษีนายอากรไม่มีประสิทธิภาพ ตามที่รัฐบาลได้ให้เจ้าภาษีนายอากรรับผูกขาดการเก็บภาษีอากรชนิดต่างๆ และนำเงินส่งรัฐเพื่อเป็นรายได้นำมาทำนุบำรุงประเทศนั้น ปรากฏว่าในระยะแรกเจ้าภาษีนายอากรก็นำเงินส่งราชการเต็มตามจำนวนและตรงเวลา แต่เมื่อนานวันไปเจ้าภาษีนายอากรมักบิดพลิ้วผัดผ่อน ไม่ส่งเงินตามกำหนดและส่งให้ไม่ครบตามจำนวน อีกทั้งยังทำการรีดนาทาเร้นราษฎรให้ได้รับความเดือดร้อน เกิดระบบการยักยอก ฉ้อโกงเงินหลวงของเจ้าหน้าที่และเจ้าภาษีนายอากร จำนวนเงินที่รัฐควรจะได้ก็ไม่ครบตามจำนวนที่พึงได้ เป็นผลกระทบต่อเงินรายจ่ายของแผ่นดิน จนเกือบจะไม่พอใช้ในกิจการต่างๆ ประการที่สาม การจัดทำบัญชีของกรมพระคลังมหาสมบัติไม่เรียบร้อย นับตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การทำบัญชีรับและจ่ายเงินของกรมพระคลังมหาสมบัติ มิได้มีปรากฏไว้เป็นแบบอย่างและเป็นหลักฐานให้ตรวจสอบได้ จึงไม่ทราบแน่นอนว่าในแต่ละปี รัฐได้รับเงินเท่าไร และจ่ายราชการไปเท่าไร มีกำไรหรือขาดทุน เมื่อพระคลังมหาสมบัติแต่ละคนดับสูญไป บัญชีนั้นก็สูญหายไปหมด ไม่มีการจัดแจงเรียบเรียงบัญชีไว้สำหรับแผ่นดิน เมื่อสิ้นปีก็มิได้งบบัญชีขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายให้ทรงทราบเป็นบัญชีข้างที่ไว้สำหรับทรงตรวจดูตัวเงินแผ่นดินว่ามีเงินมากน้อยเพียงใด นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2411 เป็นต้นมา เงินผลประโยชน์รายได้ของแผ่นดินลดลงไปมาก ในขณะที่การใช้จ่ายในกรมพระคลังมหาสมบัติเพิ่มรายการขึ้นทุกปี จนในที่สุดรายได้ไม่พอจ่ายต้องค้างชำระ รัฐบาลต้องเป็นหนี้สินอยู่เป็นอันมาก ดังปรากฏหลักฐานอยู่ในพระราชหัตถเลขาของรัชกาลที่ 5 ซึ่งทรงมีไปถึงสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ฉบับลงวันที่ 28 ตุลาคม ร.ศ. 122 ความตอนหนึ่งว่า "…ในเวลาครึ่งปีต่อมา เงินภาษีอากรก็ลดเกือบหมดทุกอย่าง ลดลงไปเป็นลำดับ จนถึงปีมะแม ตรีศก (พ.ศ. 2414) เงินแผ่นดินที่เคยได้อยู่ปีละ 50,000 - 60,000 ชั่งนั้น เหลือจำนวนอยู่ 40,000 ชั่ง แต่ไม่ได้ตัวเงินกี่มากน้อย แต่เงินเบี้ยหวัดปีละ 11,000 ชั่ง ก็วิ่งตาแตก ได้เงินในคลังมหาสมบัติ ซึ่งเป็นของเจ้าหน้าที่วิ่งมาหาเป็นพื้น นอกนั้นก็ปล่อยค้าง ที่ได้เงินตัวจริงมีประมาณ 20,000 ชั่งเท่านั้น เงินไม่พอจ่ายราชการก็ต้องเป็นหนี้…" ดังนั้นเมื่อได้เสด็จขึ้นว่าราชการแผ่นดินโดยเด็ดขาด จึงทรงเริ่มทำการปฏิรูปการคลังโดยโปรดเกล้าฯ ให้ ตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2416 ในพระบรมมหาราชวัง ให้เป็นที่ทำการของเจ้าพนักงานพระคลังมหาสมบัติ และให้มีพนักงานบัญชีกลางสำหรับรวบรวมบัญชีเงินผลประโยชน์แผ่นดินและตรวจตราการเก็บภาษีอากรซึ่งกระทรวงต่างๆ เป็นเจ้าหน้าที่เก็บนั้น ให้รู้ว่าเป็นจำนวนเงินเท่าใด และเร่งเรียกเงินของแผ่นดินในด้านภาษีอากรให้ส่งเข้าพระคลังมหาสมบัติตามกำหนด พร้อมกันนั้นได้ทรงตราพระราชบัญญัติสำหรับหอรัษฎากรพิพัฒน์ จุลศักราช 1235 หรือ พ.ศ. 2416 จากพระราชบัญญัติสำหรับหอรัษฎากรพิพัฒน์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานอำนาจแก่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ ทรงจัดให้มีเจ้าพนักงานบัญชีกลางรวบรวมพระราชทรัพย์ ซึ่งขึ้นในท้องพระคลังทั้งปวงตั้งสำนักงานอยู่ในหอรัษฎากรพิพัฒน์ในพระบรมมหาราชวัง ให้มีแบบธรรมเนียมที่เจ้าภาษีนายอากรต้องปฏิบัติในการรับประมูลผูกขาดจัดเก็บภาษีอากร ให้มีเจ้าจำนวนภาษีของพระคลังทั้งปวงมาทำงานในสำนักงานเป็นประจำ เพื่อตรวจตราเงินภาษีอากรที่เจ้าภาษีนายอากรนำส่งต่อพระคลังแต่ละแห่ง โดยครบถ้วนตามงวดที่กำหนดให้ การกำหนดหน้าที่ของเจ้าพนักงานหอรัษฎากรพิพัฒน์ และระเบียบข้อบังคับให้เจ้าภาษีนายอากรปฏิบัติโดยเคร่งครัด เป็นการตัดผลประโยชน์ของเจ้าพนักงานทั้งปวง จึงกล่าวได้ว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงวางรากฐานระเบียบการปฏิบัติการภาษีอากรและการเงินของประเทศไว้เป็นครั้งแรก ทำให้รัฐบาลมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2418 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แยกกรมท่าซึ่งอยู่ในบังคับบัญชาของกรมพระคลังมาแต่ครั้งสมัยพระบรมไตรโลกนาถออกจากกรมพระคลังมหาสมบัติ โดยให้กรมท่ามีหน้าที่เกี่ยวกับการต่างประเทศ

พระราชบัญญัติกรมพระคลังมหาสมบัติ จุลศักราช 1237

ภายหลังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงวางระเบียบสำหรับปรับปรุงการคลังของประเทศตามพระราชบัญญัติสำหรับหอรัษฎากรพิพัฒน์ไปแล้ว ทรงพระราชดำริว่า การภาษีอากรอันเป็นเงินผลประโยชน์ก้อนใหญ่สำหรับใช้จ่ายในราชการทำนุบำรุงบ้านเมือง และใช้จ่ายเป็นเบี้ยหวัดเงินเดือนข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือนนั้น พระคลังมหาสมบัติยังจัดไม่รัดกุมเป็นระเบียบเรียบร้อย เงินผลประโยชน์ของรัฐบาลยังกระจัดกระจายตกค้างอยู่กับเจ้าภาษีนายอากรเป็นจำนวนมาก เป็นเหตุให้เงินยังไม่พอใช้จ่ายในราชการและทำนุบำรุงบ้านเมืองให้สมดุล จึงทรงปรึกษากับสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน หรือเคาน์ซิลเลอร์ ออฟ สเตด (Councillors of State) พร้อมด้วยคณะเสนาบดี ตราพระราชบัญญัติกรมพระคลังมหาสมบัติ จุลศักราช 1237 ขึ้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2418 ว่าด้วยกรมต่างๆ ซึ่งจะเบิกเงินส่งเงินของทางราชการ พระราชบัญญัติสำหรับกรมพระคลังมหาสมบัติฉบับนี้ถือได้ว่าเป็นกฎหมายงบประมาณฉบับแรกของเมืองไทย ดังปรากฏอยู่ในมาตราที่ 1 และมาตราที่ 2 ของพระราชบัญญัติ และจากพระราชบัญญัติฉบับนี้ เห็นได้ว่า กรมพระคลังมหาสมบัติมีฐานะเป็นกระทรวงเพราะใช้คำภาษาอังกฤษเพื่อเรียกอธิบดีว่า มินิสเตอร์ ออฟ ฟิแนนซ์ (Ministry of Finance) เมื่อเปรียบเทียบเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบตามที่ปรากฏในพระราชบัญญัติสำหรับกรมพระคลังมหาสมบัติกับหน่วยงานในกระทรวงการคลังสมัยปัจจุบัน ก็จะเห็นได้ดังนี้ เจ้าพนักงานบัญชีรับเงิน อำนาจและหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นี้เป็นหน้าที่ของกรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร เจ้าพนักงานบัญชีจ่ายเงิน และเจ้าพนักงานผู้เก็บเงิน เป็นอำนาจและหน้าที่ของกรมธนารักษ์ ปลัดอธิบดี เทียบเท่ากับ ปลัดกระทรวง และอธิบดีกรมบัญชีกลาง เจ้าพนักงานใหญ่ ก็คือประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน กรมพระคลังมหาสมบัติตามที่กล่าวมาแล้วนี้ ก็คือกระทรวงการคลังในปัจจุบันนั่นเอง และโดยที่กรมพระคลังมหาสมบัติได้รับการสถาปนาขึ้น ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2418 จึงถือเอาวันนี้เป็นวันสถาปนากระทรวงการคลัง นับถึงบัดนี้เป็นปีที่ 120 ประมาณปี พ.ศ. 2431 ได้มีการย้ายศุลกสถานหรือโรงภาษี ซึ่งเป็นที่ทำการของกรมศุลกากรจากปากคลองผดุงกรุงเกษม มาอยู่ที่ริมแม่น้ำ อำเภอบางรัก

ยกฐานะกรมพระคลังมหาสมบัติเป็นกระทรวง พ.ศ. 2433

ในปี พ.ศ. 2430 เมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ จะเสด็จเป็นผู้แทนพระองค์ไปช่วยงานฉลองรัชกาลสมเด็จพระบรมราชินีนาถวิคตอเรีย ครบ 50 ปี ณ ประเทศอังกฤษ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตรัสสั่งให้ไปพิจารณาดูแบบอย่างการปกครองของประเทศในทวีปยุโรป เมื่อสมเด็จกรมพระยาเทววงศ์วโรปการเสด็จกลับมา ก็ถวายรายงานให้ทรงทราบ ในปี พ.ศ. 2433 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติพระธรรมนูญการปกครองแผ่นดินขึ้น กำหนดการปกครองส่วนกลางเป็นกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ซึ่งถือเป็นการปฏิรูปการปกครองของไทยให้ทันสมัย กรมพระคลังมหาสมบัติจึงได้รับการยกฐานะเป็นกระทรวง พระราชบัญญัติพระธรรมนูญหน้าที่ราชการในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ร.ศ. 109 ใน พ.ศ. 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่า เมื่อกรมพระคลังมหาสมบัติได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นกระทรวงแล้ว ตำแหน่งเจ้าพนักงานต่างๆ ซึ่งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกรมพระคลังมหาสมบัติ พ.ศ. 2418 ไม่เพียงพอแก่ราชการที่เป็นอยู่ ตำแหน่งและหน้าที่ของผู้จะมารับราชการตามพระราชบัญญัติเดิมนั้น ก็ยังเป็นการบกพร่อง ขาดเกิน ก้าวก่ายไม่เรียบร้อย สมควรจะได้จัดการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติแบ่งกรมและตำแหน่งหน้าที่ ให้เหมาะสมแก่กาลสมัย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ตราพระราชบัญญัติพระธรรมนูญหน้าที่ราชการในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติขึ้น เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2433 พระราชบัญญัติฉบับนี้ กำหนดให้กระทรวงมหาสมบัติมีหน้าที่สำหรับ รับ จ่าย และรักษาเงินแผ่นดินทั้งสรรพราชสมบัติพัสดุทั้งปวง กับถือบัญชีพระราชทรัพย์สำหรับแผ่นดินทั้งสิ้น และเก็บภาษีอากรเงินขึ้นแผ่นดินตลอดทั่วพระราชอาณาจักร มีเสนาบดีรับผิดชอบบังคับราชการในกระทรวงสิทธิ์ขาด ประกอบด้วยกรมเจ้ากระทรวงและกรมขึ้น รวมเป็นกรมใหญ่ 13 กรม ดังนี้ กรมเจ้ากระทรวง มี 5 กรมย่อย ได้แก่ กรมพระคลังกลาง มีหน้าที่ประมาณการรับจ่ายเงินแผ่นดินว่าด้วยภาษีอากรและบังคับบัญชาราชการในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติทั้งหมด กรมสารบาญชี มีหน้าที่รับจ่ายเงินแผ่นดินและถือสารบาญชีพระราชทรัพย์ทั้งหมด กรมตรวจ มีหน้าที่ตรวจบัญชี ตรวจราคา ตรวจรายงานการรับจ่ายเงินแผ่นดิน และสรรพราชสมบัติการภาษีอากรทั้งหมด กรมเก็บ มีหน้าที่รักษาพระราชทรัพย์ทั้งหมด กรมพระคลังข้างที่ มีหน้าที่จัดการเงินในพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กรมขึ้น มี 8 กรม แบ่งเป็น 2 แผนก คือ กรมทำการแผ่นดิน มี 3 กรมย่อย คือ กรมกระสาปนสิทธิการมีหน้าที่ทำเงินตรา กรมพิมพ์ธนบัตร มีหน้าที่ทำเงินกระดาษและตั๋วตรา กรมราชพัสดุ มีหน้าที่จัดการซื้อจ่ายของห้างหลวง และรับจ่ายของส่วย กรมเจ้าจำนวนเก็บเงินภาษีอากรมี 5 กรมย่อย คือ กรมส่วย มีหน้าที่เร่งเงินค่าราชการตัวเลขและค่าธรรมเนียม กรมสรรพากร มีหน้าที่จัดเก็บเงินอากรต่าง ๆ กรมสรรพภาษี มีหน้าที่เก็บเงินภาษีต่าง ๆ กรมอากรที่ดิน มีหน้าที่เก็บเงินอากร ค่าที่ต่าง ๆ กรมศุลกากร มีหน้าที่เก็บเงินภาษีขาเข้า ขาออก โดยผลแห่งพระราชบัญญัติพระธรรมนูญหน้าที่ราชการในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ กรมสรรพากรจึงถือเอาวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2433 เป็นวันสถาปนากรมและกรมบัญชีกลางกำหนดให้วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2433 เป็นวันสถาปนากรมตามลำดับ การปฏิรูปการปกครองส่วนกลาง พ.ศ. 2435 เหมือนหัวข้อ การปฏิรูปการปกครองส่วนกลาง พ.ศ. 2435 เพื่อให้การจัดระเบียบราชการส่วนกลางเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้แบ่งหน่วยราชการส่วนกลางเป็น 12 กระทรวง จัดสรรอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละกระทรวงให้เป็นสัดส่วน ไม่ก้าวก่ายในการปฏิบัติราชการ โดยมีพระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งกระทรวงแบบใหม่ ขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2435 กระทรวงทั้ง 12 กระทรวงมีดังนี้ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงวัง กระทรวงนครบาล กระทรวงเกษตราธิการ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงยุทธนาธิการ กระทรวงธรรมการ กระทรวงโยธาธิการ กระทรวงมุรธาธิการ ทรงประกาศตั้งเสนาบดีเจ้ากระทรวงต่าง ๆ ขึ้นให้มีศักดิ์เสมอกันทั้ง 12 กระทรวง ยุบเลิกตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี และเสนาบดีจตุสดมภ์

พระบรมราชโองการฉบับนี้ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ เป็นเสนาบดีกระทรวงการคลังพระมหาสมบัติ แต่เนื่องจากทรงพระประชวร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ จึงทรงปฏิบัติราชการแทนต่อมาในปีเดียวกัน วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2435 ได้มีประกาศเปลี่ยนแปลงตำแหน่งเสนาบดี โดยให้กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงการคลังมหาสมบัติแทน ในปี พ.ศ. 2435 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมพระคลังข้างที่ ซึ่งแต่เดิมสังกัดกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ให้มาสังกัดกระทรวงมุรธาธิการ ปัจจุบัน กรมพระคลังข้างที่ได้เปลี่ยนมาเป็นสำนักงานพระคลังข้างที่สังกัดอยู่ในสำนักพระราชวัง การยกเลิกระบบเจ้าภาษีอากรเปลี่ยนมาเป็นรัฐบาลจัดเก็บภาษีอากรเอง นับตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว การเก็บภาษีอากรจากราษฎรใช้วิธีการประมูลผูกขาด ให้เจ้าภาษีนายอากรรับผูกขาดไปเก็บภาษีจากราษฎรทุกปี ปรากฏว่าวิธีการดังกล่าวนี้ไม่มีประสิทธิภาพรัฐบาลไม่ได้รับเงินผลประโยชน์ครบตามจำนวน ถึงแม้ว่าจะได้มีการปรับปรุงมาตรการต่างๆ เช่น การตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ พ.ศ. 2416 แล้วก็ตาม ในปี พ.ศ. 2436 พันเอกพระยาฤทธิรงค์รณเฉท (สุข ชูโต) สมุหเทศาภิบาลมณฑลปราจีนบุรี ได้เสนอให้เจ้าพนักงานของรัฐบาลจัดเก็บภาษีอากรเอง ในสมัยพี่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีสิทธิธงไชย กรมขุนสิริธัชสังกาศ เป็นเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ แต่ยังไม่ได้ดำเนินการอย่างใด จนกระทั่งเมื่อ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย มาเป็นเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ (พ.ศ. 2439-2449) ทรงทราบเรื่องและทรงเห็นว่าเป็นผลดีสมตามความมุ่งหมายของรัฐบาล จึงมีพระประสงค์จะปรับปรุงแก้ไขวิธีการเก็บภาษีอากร และได้กราบทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสนอวิธีการปรับปรุงการเก็บภาษีอากรใหม่ยกเลิกการประมูลผูกขาดเก็บภาษีอากรเปลี่ยนมาเป็นรัฐบาลดำเนินการจัดเก็บเอง ครั้นเมื่อได้รับพระบรมราชานุญาตแล้ว ก็เตรียมการในเรื่องนี้ต่อไป การจ้างที่ปรึกษาชาวต่างประเทศในกิจการคลัง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อจะทรงปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย จำเป็นต้องใช้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถ แต่ข้าราชการไทยในเวลานั้นยังขาดความรู้และประสบการณ์ จึงทรงเห็นควรจ้างชาวต่างประเทศที่รู้งานเข้ามารับราชการ และเป็นที่ปรึกษากระทรวงพระคลังมหาสมบัติได้จ้างชาวต่างประเทศที่มีความรู้ในด้านการคลังมาทำงานหลายคน ได้แก่

มิสเตอร์ อี.โฟล ริโอ เข้ารับราชการในกรมสารบาญชี เมื่อปี พ.ศ. 2436 ท่านได้วางรูปบัญชีแบบสากลเป็นคนแรก ซี่งใช้ถือปฏิบัติในกรมบัญชีกลางสืบมา มิสเตอร์ เอฟ.เอช. ไยลส์ และ มิสเตอร์ดับเบิลยู เอ. เกรแฮม ชาวอังกฤษจากอินเดีย ช่วยเตรียมวิธีการปรับปรุงให้เจ้าพนักงานของรัฐบาลเป็นผู้จัดเก็บภาษีอากรเอง เมื่อปี พ.ศ. 2440 มิสเตอร์ริเวต คาแวค ชาวอังกฤษตำแหน่งที่ปรึกษากระทรวงพระคลังมหาสมบัติใน [[พ.ศ. 2441[[ ได้เสนอความเห็นให้แยกการสรรพากรออกจากกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ไปอยู่ในบังคับของกระทรวงมหาดไทย เพื่อมิให้เกิดการทุจริตฉ้อเงินและผลประโยชน์ของแผ่นดิน ซึ่งรัชกาลที่ 5 ทรงเห็นชอบด้วย ใน พ.ศ. 2442 จึงให้ยกกรมสรรพากรนอกมาขึ้นกระทรวงมหาดไทย แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้มิสเตอร์ไยลส์ เป็นเจ้ากรมกรมสรรพากรนอก ส่วนมิสเตอร์เกรแฮมได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้ากรมกรมสรรพากรใน ขึ้นอยู่กับกระทรวงนครบาล และมิสเตอร์คาแวคก็ได้รับแต่งตั้งเป็นอธิบดีกรมบาญชีกลาง (พ.ศ. 2443-2445)

การทำงบประมาณแผ่นดิน เพื่อให้การรับจ่ายเงินของแผ่นดินเป็นไปอย่างรัดกุมใน พ.ศ. 2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้มีการจัดทำงบประมาณแผ่นดินขึ้นเป็นครั้งแรก กระทรวงพระคลังมหาสมบัติเริ่มวางระเบียบการจัดงบประมาณรายจ่าย แล้วรวบรวมขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต และจะไม่มีการจ่ายเงินเกินงบประมาณโดยที่มิได้รับความเห็นชอบจากองค์พระมหากษัตริย์เสียก่อน นอกจากนี้ ยังวางระเบียบการควบคุมการใช้จ่ายเงินของกระทรวงและกรมต่างๆ ทั้งหมด การจัดงบประมาณอย่างคร่าวๆนี้ เป็นการกำหนดรายจ่ายมิให้เกินกำลังของเงินรายได้ เพื่อรักษาดุลยภาพและความมั่นคงของฐานะการคลังของประเทศ ใน พ.ศ. 2444 รัฐบาลสามารถจัดพิมพ์งบประมาณรายรับรายจ่ายแผ่นดินขึ้นเป็นครั้งแรก อนึ่ง ในการจัดทำงบประมาณแผ่นดินนี้ โปรดฯให้แยกการเงินส่วนแผ่นดิน และส่วนพระองค์ออกจากกันอย่างเด็ดขาด พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์นั้น ให้ พระคลังข้างที่ เป็นผู้จัดการดูแล การคลังของไทย ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จนถึงสมัยการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475

ตั้งกรมพระคลังมหาสมบัติ เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติในปี พ.ศ. 2453 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวบรัดพระคลังในท้องที่ต่างๆทั่วพระราชอาณาจักร เข้ามาอยู่ในบังคับบัญชาของกระทรวงมหาสมบัติ กรมพระจันทบุรีนฤนาถก็ได้ดำเนินการตามแนวทางนี้จนสำเร็จ ในพระราชบัญญัติพระธรรมนูญหน้าที่ราชการในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ พ.ศ. 2433 กรมเก็บในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ทำหน้าที่เป็นพระคลังแผ่นดินสำหรับจ่ายและรักษาพระราชทรัพย์ทั้งปวงในกรุงเทพมหานคร และเป็นต้นเรื่องรับส่งเงินแผ่นดินถึงพระคลังในหัวเมืองทั่วพระราชอาณาจักร แต่ชื่อเรียกกรมเก็บนี้ ไม่เหมาะสมกับขอบเขตหน้าที่การงาน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามกรมเก็บเป็นกรมพระคลังมหาสมบัติ ตามประกาศ ณ วันที่ 26 มีนาคม 2454 สำหรับการรวบรัดคลังหัวเมืองมาอยู่ในบังคับบัญชาของกระทรวงพระคลังมหาสมบัติก็สำเร็จสมบูรณ์ด้วยการโอนคลังในจังหวัดต่าง ๆ แห่งมณฑลกรุงเทพฯ ซึ่งเดิมอยู่ในกระทรวงนครบาลมาขึ้นกับกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2458 เป็นต้นไป ในปี พ.ศ. 2456 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2456 เพื่อวางระเบียบกำหนดเวลาที่กระทรวงต่าง ๆ จะต้องยื่นงบประมาณต่อกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เวลาที่จะต้องทูลเกล้าฯ ถวาย กับเวลาที่จะพระราชทานพระบรมราชานุญาตและกำหนดวิธีการจ่ายเงินนอกงบประมาณในระหว่างปี การใช้จ่ายเงินงบประมาณของแต่ละปี กำหนดให้สิ้นสุดในวันที่ 31 มีนาคม ของปีงบประมาณนั้น การรวมกรมสรรพากรในและกรมสรรพากรนอกเป็นกรมสรรพากร ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้มีกรมราชการขึ้น 2 กรมคือ กรมสรรพากรในและกรมสรรพากรนอก ขึ้นอยู่ในกระทรวงนครบาล และกระทรวงมหาดไทยตามลำดับ ต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่าหน้าที่ของกรมสรรพากรในและกรมสรรพากรนอกนี้ ไม่สมควรที่จะอยู่ในกระทรวงฝ่ายปกครอง น่าจะได้มาอยู่ในเสนาบดีที่มีหน้าที่ทางการเงิน เพื่อจะได้จัดการตรวจตราและจัดการให้เป็นประโยชน์งอกงามขึ้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกกรมสรรพากรในและกรมสรรพากรนอกมาขึ้นอยู่ในบังคับบัญชาพระคลังมหาสมบัติ และรวมกรมสรรพากรในและกรมสรรพากรนอกเป็นกรมเดียวกัน เรียกว่า กรมสรรพากร

ตั้งกรมตรวจเงินแผ่นดิน เนื่องจากเงินรายได้และรายจ่ายของประเทศไทยมีจำนวนมากขึ้นโดยลำดับ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่า ควรจะมีการตรวจตราการรับจ่ายและการรักษาเงินให้รัดกุมยิ่งขึ้น โดยมีเจ้าหน้าที่เฉพาะสำหรับปฏิบัติการนี้แผนกหนึ่ง จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง กรมตรวจเงินแผ่นดิน ขึ้นในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติตามประกาศตั้งกรมตรวจเงินแผ่นดิน ณ วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2458 ให้ทำหน้าที่ตรวจตราเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ซึ่งทำการรับหรือจ่ายเงินแผ่นดินและเงินอื่น ๆ ที่รัฐบาลต้องรับผิดชอบ และอาศัยอำนาจแห่งพระราชบัญญัตินี้ เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติได้ออกประกาศระบุหน้าที่การงานต่าง ๆ ซึ่งกรมตรวจเงินแผ่นดินจะต้องตรวจตรา และวิธีการที่จะต้องปฏิบัติ

กรมบัญชีกลาง เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมตรวจเงินแผ่นดินนั้น เพื่อมิให้กรมใหม่ที่ตั้งขึ้นนี้ มีหน้าที่ปะปนกับกรมตรวจและกรมสารบาญชี ซึ่งมีอยู่แล้วแต่เดิมในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ และทรงพระราชดำริเห็นว่านามกรมและหน้าที่ราชการของกรมตรวจเงินในแผ่นดินจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าปะปนกับกรมตรวจและกรมสารบาญชี จึงเปลี่ยนนามกรมตรวจและกรมสารบาญชีเป็นกรมบาญชีกลาง ตามประกาศวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2458 มีหน้าที่จัดระเบียบการประมวลบัญชีเงินรายได้และรายจ่ายของแผ่นดิน และสอบสวนการเบิกจ่ายเพื่อรักษารูปงบประมาณกับเพื่อให้การเบิกจ่ายได้ปฏิบัติไปตามความมุ่งหมายของการงบประมาณ ทั้งกำหนดหน้าที่ของกรมบาญชีกลางไว้

ตั้งกรมสถิติพยากรณ์ การวางนโยบายการปฏิบัติราชการของหน่วยงานต่าง ๆ ย่อมต้องอาศัยความรู้ในความเป็นไปของบ้านเมืองและราษฎร เป็นพื้นฐานแห่งนโยบายนั้น สถิติของบ้านเมือง กระทรวงบางแห่งได้เคยเก็บรักษาไว้ แต่เพื่อจะให้ได้รับประโยชน์ยิ่งขึ้นจากสถิติเหล่านี้ก็สมควรมีเจ้าหน้าที่กองกลาง เป็นผู้รวบรวมข้อความและตัวเลขต่าง ๆ แสดงสถิติของบ้านเมืองขึ้นเป็นพยากรณ์สำหรับประโยชน์ทั่วไป พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จังตั้งกรมสถิติพยากรณ์ขึ้นในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2458 ภายหลังได้รับการยกฐานะเป็นกระทรวงพาณิชย์ในปี พ.ศ. 2463

กรมศุลกากร เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2457-2461) ประเทศไทยได้ประกาศสงครา

 

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ชื่อไม่เป็นทางการ แบงค์ชาติ (อังกฤษ: The Bank of Thailand: BOT) เป็นธนาคารกลางของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 เปิดดำเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2485 มีหน้าที่หลักในการดูแลกำกับเรื่องการเงินของชาติ ทั้งออกกฎเกณฑ์และควบคุมสถาบันการเงิน นำออกหมุนเวียนซึ่งธนบัตรไทยรวมถึงการควบคุมการถ่ายโอนเงินตราระหว่างประเทศ และเฝ้าระวังอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบกับสกุลเงินตราอื่น

ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดตั้งขึ้นหลังจากประเทศไทยได้มีธนาคารพาณิชย์ทั้งของรัฐและเอกชนเริ่มดำเนินการไปก่อนหน้านั้นแล้ว ภารกิจและหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยเดิมซ้อนเหลื่อมอยู่กับกระทรวงการคลังและได้มีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นลำดับหลังจากที่ระบบการเงินของโลกพัฒนาไปและมีวิกฤตเศรษฐกิจครั้งสำคัญต่างๆ

ประวัติ

ในปี พ.ศ. 2482 เกิดสงครามโลกครั้งที่สอง สงครามและเหตุการณ์ที่เกิดจากสงครามได้เร่งรัดความจำเป็นต้องจัดตั้งธนาคารกลางขึ้นในประเทศไทย ปรีดี พนมยงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ร่วมมือกับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย เริ่มจัดตั้งสำนักงานธนาคารชาติขึ้นในปี พ.ศ. 2482 อันเป็นแนวทางไปสู่การตราพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทยในปี พ.ศ. 2485 ในสมัยที่ พลเอกเภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (2484 - 2487) ได้มีการตราพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2485 จัดตั้งธนาคารแห่งประเทศไทย ขึ้นเป็นองค์กรอิสระ และ จากพระราชกฤษฎีกากำหนดกิจการธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2485 ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเริ่มประกอบธุรกิจได้ตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2485 เป็นต้นไป พร้อมกันนี้ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวิวัฒนไชย เป็นผู้ว่าการธนาคารพระองค์แรก (พ.ศ. 2485 - 2489) พระองค์ได้ทรงวางระเบียบแบบแผนและดำเนินการจนธนาคารแห่งประเทศไทยได้ดำรงอยู่เป็นปึกแผ่นมั่นคงตลอดมาจนปัจจุบัน

การคลังของไทย ก่อนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

การบริหารการคลังของไทยได้ดำเนินมาเป็นเวลานาน นับตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นต้นมา แต่ยังมิได้จัดตั้งหน่วยงานเพื่อทำหน้าที่นี้โดยเฉพาะ รัฐบาลมีรายได้จาก ส่วยสาอากร หรือที่เรียกกันในปัจจุบันว่า ภาษีอากร 4 ชนิด ได้แก่ จังกอบ อากร ส่วย และ ฤชา ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ได้มีการจัดระเบียบการปกครองฝ่ายพลเรือนเป็น 4 แผนก เรียกว่า จตุสดมภ์ ซึ่งประกอบด้วย กรมเมือง กรมวัง กรมพระคลัง และ กรมนา โดยกรมพระคลังทำหน้าที่รักษาราชทรัพย์ผลประโยชน์ของบ้านเมือง มีขุนคลังเป็นหัวหน้าบังคับบัญชา และมีพระคลังสินค้าเป็นที่เก็บและรักษาส่วยสาอากร

ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 1991 - 2031) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุงแก้ไขระบบราชการวางระเบียบการคลังการส่วยสาอากรและเศรษฐกิจให้รัดกุมทันสมัย ให้ตราพระราชบัญญัติทำเนียบราชการ โดยแบ่งราชการออกเป็นฝ่ายทหารและพลเรือนซึ่งใช้มาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ฝ่ายทหารมีสมุหพระกลาโหม เป็นหัวหน้าดำรงตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี ฝ่ายพลเรือนมีสมุหนายกเป็นหัวหน้าดำรงตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีเช่นเดียวกัน และมีตำแหน่งเสนาบดีจตุสดมภ์อีก 4 ตำแหน่ง คือ

เสนาบดีกรมเมือง บังคับบัญชาการรักษาพระนครและความนครบาล

เสนาบดีกรมวัง บังคับบัญชาการที่เกี่ยวกับพระราชสำนักและพิจารณาคดีความของราษฎร

เสนาบดีกรมพระคลัง บังคับบัญชาเกี่ยวกับการจัดการรักษาพระราชทรัพย์ที่ได้จากส่วยสาอากรและบังคับบัญชากรมท่าซึ่งเกี่ยวกับการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ และยังมีหน้าที่เกี่ยวกับกรมพระคลังสินค้าการค้าสำเภาของหลวงด้วย

เสนาบดีกรมนา บังคับบัญชาการเกี่ยวกับเรื่องนาและสวน การเพาะปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหารต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2367 - 2394) พระองค์ทรงสนพระทัยที่จะปรับปรุงเศรษฐกิจของประเทศ ในยุคนั้นทางราชการมีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินมากกว่าในแผ่นดินก่อนๆ ทรงพยายามหาวิธีเพิ่มรายได้แผ่นดินด้วยการให้ผูกขาดการเก็บภาษีอากร โดยอนุญาตให้เจ้าภาษี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวจีนในประเทศไทยเป็นผู้จัดเก็บภาษีอากรจากราษฎรโดยตรง ในแต่ละปีเจ้าภาษีจะเสนอรายได้สูงสุดในการจัดเก็บภาษีอากรแต่ละชนิดให้แก่รัฐบาล เมื่อได้รับอนุญาตจากรัฐบาลแล้ว เจ้าภาษีจัดแบ่งส่งเงินรายได้แก่รัฐบาลเป็นรายเดือนจนครบกำหนดที่ได้ประมูลไว้เป็นการเริ่มระบบเจ้าภาษีนายอากรนับแต่นั้นมา

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2394 - 2411) ไทยได้เปิดประตูการค้ากับประเทศตะวันตก นับตั้งแต่ได้มีการลงนามใน สนธิสัญญาเบาริง กับประเทศอังกฤษเมื่อปี พ.ศ. 2398 และกับประเทศอื่นๆ บทบัญญัติในสนธิสัญญาบาวริงมีผลให้ไทยต้องยกเลิกการค้าแบบผูกขาด โดยระบบพระคลังสินค้าอย่างเด็ดขาด เลิกล้มการเก็บภาษีเบิกร่องหรือค่าปากเรือ มีการจัดตั้ง ศุลกสถาน (Customs House) หรือ โรงภาษี จัดเก็บภาษีขาเข้าในอัตรา ร้อยชักสาม และภาษีขาออกตามที่ระบุไว้ในท้ายสัญญา ระบบการศุลกากรแบบใหม่ก็นำมาใช้นับแต่ครั้งนั้น

ภายหลังสนธิสัญญาบาวริง การค้าขายระหว่างไทยกับต่างประเทศเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว พ่อค้าชาวต่างประเทศได้นำเงินเหรียญดอลลาร์เม็กซิกันมาขอแลกเป็นเงินไทยมาก จนกระทั่งเงินบาทพดด้วงที่มีอยู่ไม่พอใช้หมุนเวียน ดังนั้นใน พ.ศ. 2403 รัชกาลที่ 4 จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง โรงกษาปณ์สิทธิการ ขึ้นในพระบรมมหาราชวัง ผลิตเงินเหรียญด้วยเครื่องจักร มีทั้งที่ทำด้วย ทองคำ เงิน ดีบุก และทองแดงในราคาต่างกัน

การคลังของไทย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2411 - 2453)

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชสมบัตินั้น ทรงมีพระชันษาได้ 16 พรรษาเท่านั้น จึงมีสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ระหว่าง พ.ศ. 2411 - 2416 ครั้นเมื่อทรงบรรลุนิติภาวะแล้ว ได้ทรงรับมอบอำนาจการปกครองแผ่นดินจากสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ และทรงเริ่มพระราชกรณียกิจในการปรับปรุงแก้ไขการบริหารราชการแผ่นดินให้ทันสมัยทันที ได้มีการเปลี่ยนแปลงการบริหารงานการคลัง ซึ่งนำไปสู่การสถาปนากระทรวงการคลังขึ้นในรัชกาลนี้

การตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ พ.ศ. 2416

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่า การบริหารการคลังของประเทศประสบปัญหาเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีอากรและการจัดระบบการคลังหลายประการ

ประการแรก การจัดเก็บภาษีอากรไม่มีการจัดระบบให้ถูกต้อง การเงินของประเทศได้ถูกแบ่งไปอยู่ที่เจ้านายและขุนนางผู้มีอำนาจ โดยอำนาจการจัดเก็บภาษีอากรกระจายไปอยู่ตามกรมต่างๆ เช่น กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมพระกลาโหม กรมมหาดไทย กรมนา และกรมพระคลังสินค้า เป็นต้น แล้วแต่เจ้ากรมผู้บังคับบัญชากรมนั้นๆ จะจัดเก็บตามประสงค์ ไม่เป็นระเบียบแบบแผนอันเดียวกันที่จะพึงปฏิบัติเยี่ยงอารยประเทศ นอกจากนี้ภาษีอากรที่กรมต่างๆ จัดเก็บได้ ซึ่งจะต้องมอบเงินส่วนหนึ่งให้กรมพระคลังมหาสมบัติ ก็ปรากฏว่าให้บ้างไม่ให้บ้าง กรมพระคลังมหาสมบัติเป็นเพียงแต่เจ้าพนักงานรับเงินหลวง ไม่มีอำนาจบังคับหรือเรียกร้องให้กรมต่างๆ ปฏิบัติตามแต่อย่างใดเพราะไม่มีระเบียบบัญญัติกฎหมายวางไว้ให้ทำเช่นนั้นได้ ทำให้เงินผลประโยชน์ของแผ่นดินรั่วไหลไปทางอื่นเสียเป็นอันมาก

ประการที่สอง ระบบเจ้าภาษีนายอากรไม่มีประสิทธิภาพ ตามที่รัฐบาลได้ให้เจ้าภาษีนายอากรรับผูกขาดการเก็บภาษีอากรชนิดต่างๆ และนำเงินส่งรัฐเพื่อเป็นรายได้นำมาทำนุบำรุงประเทศนั้น ปรากฏว่าในระยะแรกเจ้าภาษีนายอากรก็นำเงินส่งราชการเต็มตามจำนวนและตรงเวลา แต่เมื่อนานวันไปเจ้าภาษีนายอากรมักบิดพลิ้วผัดผ่อน ไม่ส่งเงินตามกำหนดและส่งให้ไม่ครบตามจำนวน อีกทั้งยังทำการรีดนาทาเร้นราษฎรให้ได้รับความเดือดร้อน เกิดระบบการยักยอก ฉ้อโกงเงินหลวงของเจ้าหน้าที่และเจ้าภาษีนายอากร จำนวนเงินที่รัฐควรจะได้ก็ไม่ครบตามจำนวนที่พึงได้ เป็นผลกระทบต่อเงินรายจ่ายของแผ่นดิน จนเกือบจะไม่พอใช้ในกิจการต่างๆ

ประการที่สาม การจัดทำบัญชีของกรมพระคลังมหาสมบัติไม่เรียบร้อย นับตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การทำบัญชีรับและจ่ายเงินของกรมพระคลังมหาสมบัติ มิได้มีปรากฏไว้เป็นแบบอย่างและเป็นหลักฐานให้ตรวจสอบได้ จึงไม่ทราบแน่นอนว่าในแต่ละปี รัฐได้รับเงินเท่าไร และจ่ายราชการไปเท่าไร มีกำไรหรือขาดทุน เมื่อพระคลังมหาสมบัติแต่ละคนดับสูญไป บัญชีนั้นก็สูญหายไปหมด ไม่มีการจัดแจงเรียบเรียงบัญชีไว้สำหรับแผ่นดิน เมื่อสิ้นปีก็มิได้งบบัญชีขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายให้ทรงทราบเป็นบัญชีข้างที่ไว้สำหรับทรงตรวจดูตัวเงินแผ่นดินว่ามีเงินมากน้อยเพียงใด

นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2411 เป็นต้นมา เงินผลประโยชน์รายได้ของแผ่นดินลดลงไปมาก ในขณะที่การใช้จ่ายในกรมพระคลังมหาสมบัติเพิ่มรายการขึ้นทุกปี จนในที่สุดรายได้ไม่พอจ่ายต้องค้างชำระ รัฐบาลต้องเป็นหนี้สินอยู่เป็นอันมาก ดังปรากฏหลักฐานอยู่ในพระราชหัตถเลขาของรัชกาลที่ 5 ซึ่งทรงมีไปถึงสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ฉบับลงวันที่ 28 ตุลาคม ร.ศ. 122 ความตอนหนึ่งว่า

"…ในเวลาครึ่งปีต่อมา เงินภาษีอากรก็ลดเกือบหมดทุกอย่าง ลดลงไปเป็นลำดับ จนถึงปีมะแม ตรีศก (พ.ศ. 2414) เงินแผ่นดินที่เคยได้อยู่ปีละ 50,000 - 60,000 ชั่งนั้น เหลือจำนวนอยู่ 40,000 ชั่ง แต่ไม่ได้ตัวเงินกี่มากน้อย แต่เงินเบี้ยหวัดปีละ 11,000 ชั่ง ก็วิ่งตาแตก ได้เงินในคลังมหาสมบัติ ซึ่งเป็นของเจ้าหน้าที่วิ่งมาหาเป็นพื้น นอกนั้นก็ปล่อยค้าง ที่ได้เงินตัวจริงมีประมาณ 20,000 ชั่งเท่านั้น เงินไม่พอจ่ายราชการก็ต้องเป็นหนี้…"

ดังนั้นเมื่อได้เสด็จขึ้นว่าราชการแผ่นดินโดยเด็ดขาด จึงทรงเริ่มทำการปฏิรูปการคลังโดยโปรดเกล้าฯ ให้ ตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2416 ในพระบรมมหาราชวัง ให้เป็นที่ทำการของเจ้าพนักงานพระคลังมหาสมบัติ และให้มีพนักงานบัญชีกลางสำหรับรวบรวมบัญชีเงินผลประโยชน์แผ่นดินและตรวจตราการเก็บภาษีอากรซึ่งกระทรวงต่างๆ เป็นเจ้าหน้าที่เก็บนั้น ให้รู้ว่าเป็นจำนวนเงินเท่าใด และเร่งเรียกเงินของแผ่นดินในด้านภาษีอากรให้ส่งเข้าพระคลังมหาสมบัติตามกำหนด พร้อมกันนั้นได้ทรงตราพระราชบัญญัติสำหรับหอรัษฎากรพิพัฒน์ จุลศักราช 1235 หรือ พ.ศ. 2416

จากพระราชบัญญัติสำหรับหอรัษฎากรพิพัฒน์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานอำนาจแก่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ ทรงจัดให้มีเจ้าพนักงานบัญชีกลางรวบรวมพระราชทรัพย์ ซึ่งขึ้นในท้องพระคลังทั้งปวงตั้งสำนักงานอยู่ในหอรัษฎากรพิพัฒน์ในพระบรมมหาราชวัง ให้มีแบบธรรมเนียมที่เจ้าภาษีนายอากรต้องปฏิบัติในการรับประมูลผูกขาดจัดเก็บภาษีอากร ให้มีเจ้าจำนวนภาษีของพระคลังทั้งปวงมาทำงานในสำนักงานเป็นประจำ เพื่อตรวจตราเงินภาษีอากรที่เจ้าภาษีนายอากรนำส่งต่อพระคลังแต่ละแห่ง โดยครบถ้วนตามงวดที่กำหนดให้

การกำหนดหน้าที่ของเจ้าพนักงานหอรัษฎากรพิพัฒน์ และระเบียบข้อบังคับให้เจ้าภาษีนายอากรปฏิบัติโดยเคร่งครัด เป็นการตัดผลประโยชน์ของเจ้าพนักงานทั้งปวง จึงกล่าวได้ว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงวางรากฐานระเบียบการปฏิบัติการภาษีอากรและการเงินของประเทศไว้เป็นครั้งแรก ทำให้รัฐบาลมีรายได้เพิ่มมากขึ้น

ในปี พ.ศ. 2418 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แยกกรมท่าซึ่งอยู่ในบังคับบัญชาของกรมพระคลังมาแต่ครั้งสมัยพระบรมไตรโลกนาถออกจากกรมพระคลังมหาสมบัติ โดยให้กรมท่ามีหน้าที่เกี่ยวกับการต่างประเทศ

พระราชบัญญัติกรมพระคลังมหาสมบัติ จุลศักราช 1237

ภายหลังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงวางระเบียบสำหรับปรับปรุงการคลังของประเทศตามพระราชบัญญัติสำหรับหอรัษฎากรพิพัฒน์ไปแล้ว ทรงพระราชดำริว่า การภาษีอากรอันเป็นเงินผลประโยชน์ก้อนใหญ่สำหรับใช้จ่ายในราชการทำนุบำรุงบ้านเมือง และใช้จ่ายเป็นเบี้ยหวัดเงินเดือนข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือนนั้น พระคลังมหาสมบัติยังจัดไม่รัดกุมเป็นระเบียบเรียบร้อย เงินผลประโยชน์ของรัฐบาลยังกระจัดกระจายตกค้างอยู่กับเจ้าภาษีนายอากรเป็นจำนวนมาก เป็นเหตุให้เงินยังไม่พอใช้จ่ายในราชการและทำนุบำรุงบ้านเมืองให้สมดุล จึงทรงปรึกษากับสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน หรือเคาน์ซิลเลอร์ ออฟ สเตด (Councillors of State) พร้อมด้วยคณะเสนาบดี ตราพระราชบัญญัติกรมพระคลังมหาสมบัติ จุลศักราช 1237 ขึ้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2418 ว่าด้วยกรมต่างๆ ซึ่งจะเบิกเงินส่งเงินของทางราชการ

พระราชบัญญัติสำหรับกรมพระคลังมหาสมบัติฉบับนี้ถือได้ว่าเป็นกฎหมายงบประมาณฉบับแรกของเมืองไทย ดังปรากฏอยู่ในมาตราที่ 1 และมาตราที่ 2 ของพระราชบัญญัติ และจากพระราชบัญญัติฉบับนี้ เห็นได้ว่า กรมพระคลังมหาสมบัติมีฐานะเป็นกระทรวงเพราะใช้คำภาษาอังกฤษเพื่อเรียกอธิบดีว่า มินิสเตอร์ ออฟ ฟิแนนซ์ (Ministry of Finance)

เมื่อเปรียบเทียบเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบตามที่ปรากฏในพระราชบัญญัติสำหรับกรมพระคลังมหาสมบัติกับหน่วยงานในกระทรวงการคลังสมัยปัจจุบัน ก็จะเห็นได้ดังนี้

เจ้าพนักงานบัญชีรับเงิน อำนาจและหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นี้เป็นหน้าที่ของกรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร

เจ้าพนักงานบัญชีจ่ายเงิน และเจ้าพนักงานผู้เก็บเงิน เป็นอำนาจและหน้าที่ของกรมธนารักษ์

ปลัดอธิบดี เทียบเท่ากับ ปลัดกระทรวง และอธิบดีกรมบัญชีกลาง

เจ้าพนักงานใหญ่ ก็คือประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

กรมพระคลังมหาสมบัติตามที่กล่าวมาแล้วนี้ ก็คือกระทรวงการคลังในปัจจุบันนั่นเอง และโดยที่กรมพระคลังมหาสมบัติได้รับการสถาปนาขึ้น ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2418 จึงถือเอาวันนี้เป็นวันสถาปนากระทรวงการคลัง นับถึงบัดนี้เป็นปีที่ 120

ประมาณปี พ.ศ. 2431 ได้มีการย้ายศุลกสถานหรือโรงภาษี ซึ่งเป็นที่ทำการของกรมศุลกากรจากปากคลองผดุงกรุงเกษม มาอยู่ที่ริมแม่น้ำ อำเภอบางรัก

ยกฐานะกรมพระคลังมหาสมบัติเป็นกระทรวง พ.ศ. 2433

ในปี พ.ศ. 2430 เมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ จะเสด็จเป็นผู้แทนพระองค์ไปช่วยงานฉลองรัชกาลสมเด็จพระบรมราชินีนาถวิคตอเรีย ครบ 50 ปี ณ ประเทศอังกฤษ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตรัสสั่งให้ไปพิจารณาดูแบบอย่างการปกครองของประเทศในทวีปยุโรป เมื่อสมเด็จกรมพระยาเทววงศ์วโรปการเสด็จกลับมา ก็ถวายรายงานให้ทรงทราบ ในปี พ.ศ. 2433 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติพระธรรมนูญการปกครองแผ่นดินขึ้น กำหนดการปกครองส่วนกลางเป็นกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ซึ่งถือเป็นการปฏิรูปการปกครองของไทยให้ทันสมัย กรมพระคลังมหาสมบัติจึงได้รับการยกฐานะเป็นกระทรวง

พระราชบัญญัติพระธรรมนูญหน้าที่ราชการในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ร.ศ. 109

ใน พ.ศ. 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่า เมื่อกรมพระคลังมหาสมบัติได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นกระทรวงแล้ว ตำแหน่งเจ้าพนักงานต่างๆ ซึ่งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกรมพระคลังมหาสมบัติ พ.ศ. 2418 ไม่เพียงพอแก่ราชการที่เป็นอยู่ ตำแหน่งและหน้าที่ของผู้จะมารับราชการตามพระราชบัญญัติเดิมนั้น ก็ยังเป็นการบกพร่อง ขาดเกิน ก้าวก่ายไม่เรียบร้อย สมควรจะได้จัดการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติแบ่งกรมและตำแหน่งหน้าที่ ให้เหมาะสมแก่กาลสมัย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ตราพระราชบัญญัติพระธรรมนูญหน้าที่ราชการในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติขึ้น เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2433

พระราชบัญญัติฉบับนี้ กำหนดให้กระทรวงมหาสมบัติมีหน้าที่สำหรับ รับ จ่าย และรักษาเงินแผ่นดินทั้งสรรพราชสมบัติพัสดุทั้งปวง กับถือบัญชีพระราชทรัพย์สำหรับแผ่นดินทั้งสิ้น และเก็บภาษีอากรเงินขึ้นแผ่นดินตลอดทั่วพระราชอาณาจักร มีเสนาบดีรับผิดชอบบังคับราชการในกระทรวงสิทธิ์ขาด ประกอบด้วยกรมเจ้ากระทรวงและกรมขึ้น รวมเป็นกรมใหญ่ 13 กรม ดังนี้

กรมเจ้ากระทรวง มี 5 กรมย่อย ได้แก่

กรมพระคลังกลาง มีหน้าที่ประมาณการรับจ่ายเงินแผ่นดินว่าด้วยภาษีอากรและบังคับบัญชาราชการในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติทั้งหมด

กรมสารบาญชี มีหน้าที่รับจ่ายเงินแผ่นดินและถือสารบาญชีพระราชทรัพย์ทั้งหมด

กรมตรวจ มีหน้าที่ตรวจบัญชี ตรวจราคา ตรวจรายงานการรับจ่ายเงินแผ่นดิน และสรรพราชสมบัติการภาษีอากรทั้งหมด

กรมเก็บ มีหน้าที่รักษาพระราชทรัพย์ทั้งหมด

กรมพระคลังข้างที่ มีหน้าที่จัดการเงินในพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

กรมขึ้น มี 8 กรม แบ่งเป็น 2 แผนก คือ

กรมทำการแผ่นดิน มี 3 กรมย่อย คือ

กรมกระสาปนสิทธิการมีหน้าที่ทำเงินตรา

กรมพิมพ์ธนบัตร มีหน้าที่ทำเงินกระดาษและตั๋วตรา

กรมราชพัสดุ มีหน้าที่จัดการซื้อจ่ายของห้างหลวง และรับจ่ายของส่วย

กรมเจ้าจำนวนเก็บเงินภาษีอากรมี 5 กรมย่อย คือ

กรมส่วย มีหน้าที่เร่งเงินค่าราชการตัวเลขและค่าธรรมเนียม

กรมสรรพากร มีหน้าที่จัดเก็บเงินอากรต่าง ๆ

กรมสรรพภาษี มีหน้าที่เก็บเงินภาษีต่าง ๆ

กรมอากรที่ดิน มีหน้าที่เก็บเงินอากร ค่าที่ต่าง ๆ

กรมศุลกากร มีหน้าที่เก็บเงินภาษีขาเข้า ขาออก

โดยผลแห่งพระราชบัญญัติพระธรรมนูญหน้าที่ราชการในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ กรมสรรพากรจึงถือเอาวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2433 เป็นวันสถาปนากรมและกรมบัญชีกลางกำหนดให้วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2433 เป็นวันสถาปนากรมตามลำดับ

การปฏิรูปการปกครองส่วนกลาง พ.ศ. 2435

เหมือนหัวข้อ การปฏิรูปการปกครองส่วนกลาง พ.ศ. 2435

เพื่อให้การจัดระเบียบราชการส่วนกลางเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้แบ่งหน่วยราชการส่วนกลางเป็น 12 กระทรวง จัดสรรอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละกระทรวงให้เป็นสัดส่วน ไม่ก้าวก่ายในการปฏิบัติราชการ โดยมีพระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งกระทรวงแบบใหม่ ขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2435 กระทรวงทั้ง 12 กระทรวงมีดังนี้

กระทรวงมหาดไทย

กระทรวงกลาโหม

กระทรวงการต่างประเทศ

กระทรวงวัง

กระทรวงนครบาล

กระทรวงเกษตราธิการ

กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ

กระทรวงยุติธรรม

กระทรวงยุทธนาธิการ

กระทรวงธรรมการ

กระทรวงโยธาธิการ

กระทรวงมุรธาธิการ

ทรงประกาศตั้งเสนาบดีเจ้ากระทรวงต่าง ๆ ขึ้นให้มีศักดิ์เสมอกันทั้ง 12 กระทรวง ยุบเลิกตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี และเสนาบดีจตุสดมภ์

พระบรมราชโองการฉบับนี้ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ เป็นเสนาบดีกระทรวงการคลังพระมหาสมบัติ แต่เนื่องจากทรงพระประชวร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ จึงทรงปฏิบัติราชการแทนต่อมาในปีเดียวกัน วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2435 ได้มีประกาศเปลี่ยนแปลงตำแหน่งเสนาบดี โดยให้กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงการคลังมหาสมบัติแทน

ในปี พ.ศ. 2435 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมพระคลังข้างที่ ซึ่งแต่เดิมสังกัดกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ให้มาสังกัดกระทรวงมุรธาธิการ ปัจจุบัน กรมพระคลังข้างที่ได้เปลี่ยนมาเป็นสำนักงานพระคลังข้างที่สังกัดอยู่ในสำนักพระราชวัง

การยกเลิกระบบเจ้าภาษีอากรเปลี่ยนมาเป็นรัฐบาลจัดเก็บภาษีอากรเอง

นับตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว การเก็บภาษีอากรจากราษฎรใช้วิธีการประมูลผูกขาด ให้เจ้าภาษีนายอากรรับผูกขาดไปเก็บภาษีจากราษฎรทุกปี ปรากฏว่าวิธีการดังกล่าวนี้ไม่มีประสิทธิภาพรัฐบาลไม่ได้รับเงินผลประโยชน์ครบตามจำนวน ถึงแม้ว่าจะได้มีการปรับปรุงมาตรการต่างๆ เช่น การตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ พ.ศ. 2416 แล้วก็ตาม ในปี พ.ศ. 2436 พันเอกพระยาฤทธิรงค์รณเฉท (สุข ชูโต) สมุหเทศาภิบาลมณฑลปราจีนบุรี ได้เสนอให้เจ้าพนักงานของรัฐบาลจัดเก็บภาษีอากรเอง ในสมัยพี่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีสิทธิธงไชย กรมขุนสิริธัชสังกาศ เป็นเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ แต่ยังไม่ได้ดำเนินการอย่างใด จนกระทั่งเมื่อ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย มาเป็นเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ (พ.ศ. 2439-2449) ทรงทราบเรื่องและทรงเห็นว่าเป็นผลดีสมตามความมุ่งหมายของรัฐบาล จึงมีพระประสงค์จะปรับปรุงแก้ไขวิธีการเก็บภาษีอากร และได้กราบทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสนอวิธีการปรับปรุงการเก็บภาษีอากรใหม่ยกเลิกการประมูลผูกขาดเก็บภาษีอากรเปลี่ยนมาเป็นรัฐบาลดำเนินการจัดเก็บเอง ครั้นเมื่อได้รับพระบรมราชานุญาตแล้ว ก็เตรียมการในเรื่องนี้ต่อไป

การจ้างที่ปรึกษาชาวต่างประเทศในกิจการคลัง

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อจะทรงปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย จำเป็นต้องใช้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถ แต่ข้าราชการไทยในเวลานั้นยังขาดความรู้และประสบการณ์ จึงทรงเห็นควรจ้างชาวต่างประเทศที่รู้งานเข้ามารับราชการ และเป็นที่ปรึกษากระทรวงพระคลังมหาสมบัติได้จ้างชาวต่างประเทศที่มีความรู้ในด้านการคลังมาทำงานหลายคน ได้แก่

 

มิสเตอร์ อี.โฟล ริโอ เข้ารับราชการในกรมสารบาญชี เมื่อปี พ.ศ. 2436 ท่านได้วางรูปบัญชีแบบสากลเป็นคนแรก ซี่งใช้ถือปฏิบัติในกรมบัญชีกลางสืบมา

มิสเตอร์ เอฟ.เอช. ไยลส์ และ มิสเตอร์ดับเบิลยู เอ. เกรแฮม ชาวอังกฤษจากอินเดีย ช่วยเตรียมวิธีการปรับปรุงให้เจ้าพนักงานของรัฐบาลเป็นผู้จัดเก็บภาษีอากรเอง เมื่อปี พ.ศ. 2440

มิสเตอร์ริเวต คาแวค ชาวอังกฤษตำแหน่งที่ปรึกษากระทรวงพระคลังมหาสมบัติใน [[พ.ศ. 2441[[ ได้เสนอความเห็นให้แยกการสรรพากรออกจากกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ไปอยู่ในบังคับของกระทรวงมหาดไทย เพื่อมิให้เกิดการทุจริตฉ้อเงินและผลประโยชน์ของแผ่นดิน ซึ่งรัชกาลที่ 5 ทรงเห็นชอบด้วย ใน พ.ศ. 2442 จึงให้ยกกรมสรรพากรนอกมาขึ้นกระทรวงมหาดไทย แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้มิสเตอร์ไยลส์ เป็นเจ้ากรมกรมสรรพากรนอก ส่วนมิสเตอร์เกรแฮมได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้ากรมกรมสรรพากรใน ขึ้นอยู่กับกระทรวงนครบาล และมิสเตอร์คาแวคก็ได้รับแต่งตั้งเป็นอธิบดีกรมบาญชีกลาง (พ.ศ. 2443-2445)

การทำงบประมาณแผ่นดิน

เพื่อให้การรับจ่ายเงินของแผ่นดินเป็นไปอย่างรัดกุมใน พ.ศ. 2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้มีการจัดทำงบประมาณแผ่นดินขึ้นเป็นครั้งแรก กระทรวงพระคลังมหาสมบัติเริ่มวางระเบียบการจัดงบประมาณรายจ่าย แล้วรวบรวมขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต และจะไม่มีการจ่ายเงินเกินงบประมาณโดยที่มิได้รับความเห็นชอบจากองค์พระมหากษัตริย์เสียก่อน นอกจากนี้ ยังวางระเบียบการควบคุมการใช้จ่ายเงินของกระทรวงและกรมต่างๆ ทั้งหมด การจัดงบประมาณอย่างคร่าวๆนี้ เป็นการกำหนดรายจ่ายมิให้เกินกำลังของเงินรายได้ เพื่อรักษาดุลยภาพและความมั่นคงของฐานะการคลังของประเทศ ใน พ.ศ. 2444 รัฐบาลสามารถจัดพิมพ์งบประมาณรายรับรายจ่ายแผ่นดินขึ้นเป็นครั้งแรก

อนึ่ง ในการจัดทำงบประมาณแผ่นดินนี้ โปรดฯให้แยกการเงินส่วนแผ่นดิน และส่วนพระองค์ออกจากกันอย่างเด็ดขาด พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์นั้น ให้ พระคลังข้างที่ เป็นผู้จัดการดูแล

การคลังของไทย ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จนถึงสมัยการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475

ตั้งกรมพระคลังมหาสมบัติ

เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติในปี พ.ศ. 2453 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวบรัดพระคลังในท้องที่ต่างๆทั่วพระราชอาณาจักร เข้ามาอยู่ในบังคับบัญชาของกระทรวงมหาสมบัติ กรมพระจันทบุรีนฤนาถก็ได้ดำเนินการตามแนวทางนี้จนสำเร็จ

ในพระราชบัญญัติพระธรรมนูญหน้าที่ราชการในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ พ.ศ. 2433 กรมเก็บในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ทำหน้าที่เป็นพระคลังแผ่นดินสำหรับจ่ายและรักษาพระราชทรัพย์ทั้งปวงในกรุงเทพมหานคร และเป็นต้นเรื่องรับส่งเงินแผ่นดินถึงพระคลังในหัวเมืองทั่วพระราชอาณาจักร แต่ชื่อเรียกกรมเก็บนี้ ไม่เหมาะสมกับขอบเขตหน้าที่การงาน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามกรมเก็บเป็นกรมพระคลังมหาสมบัติ ตามประกาศ ณ วันที่ 26 มีนาคม 2454

สำหรับการรวบรัดคลังหัวเมืองมาอยู่ในบังคับบัญชาของกระทรวงพระคลังมหาสมบัติก็สำเร็จสมบูรณ์ด้วยการโอนคลังในจังหวัดต่าง ๆ แห่งมณฑลกรุงเทพฯ ซึ่งเดิมอยู่ในกระทรวงนครบาลมาขึ้นกับกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2458 เป็นต้นไป

ในปี พ.ศ. 2456 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2456 เพื่อวางระเบียบกำหนดเวลาที่กระทรวงต่าง ๆ จะต้องยื่นงบประมาณต่อกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เวลาที่จะต้องทูลเกล้าฯ ถวาย กับเวลาที่จะพระราชทานพระบรมราชานุญาตและกำหนดวิธีการจ่ายเงินนอกงบประมาณในระหว่างปี การใช้จ่ายเงินงบประมาณของแต่ละปี กำหนดให้สิ้นสุดในวันที่ 31 มีนาคม ของปีงบประมาณนั้น

การรวมกรมสรรพากรในและกรมสรรพากรนอกเป็นกรมสรรพากร

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้มีกรมราชการขึ้น 2 กรมคือ กรมสรรพากรในและกรมสรรพากรนอก ขึ้นอยู่ในกระทรวงนครบาล และกระทรวงมหาดไทยตามลำดับ

ต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่าหน้าที่ของกรมสรรพากรในและกรมสรรพากรนอกนี้ ไม่สมควรที่จะอยู่ในกระทรวงฝ่ายปกครอง น่าจะได้มาอยู่ในเสนาบดีที่มีหน้าที่ทางการเงิน เพื่อจะได้จัดการตรวจตราและจัดการให้เป็นประโยชน์งอกงามขึ้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกกรมสรรพากรในและกรมสรรพากรนอกมาขึ้นอยู่ในบังคับบัญชาพระคลังมหาสมบัติ และรวมกรมสรรพากรในและกรมสรรพากรนอกเป็นกรมเดียวกัน เรียกว่า กรมสรรพากร

ตั้งกรมตรวจเงินแผ่นดิน

เนื่องจากเงินรายได้และรายจ่ายของประเทศไทยมีจำนวนมากขึ้นโดยลำดับ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่า ควรจะมีการตรวจตราการรับจ่ายและการรักษาเงินให้รัดกุมยิ่งขึ้น โดยมีเจ้าหน้าที่เฉพาะสำหรับปฏิบัติการนี้แผนกหนึ่ง จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง กรมตรวจเงินแผ่นดิน ขึ้นในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติตามประกาศตั้งกรมตรวจเงินแผ่นดิน ณ วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2458 ให้ทำหน้าที่ตรวจตราเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ซึ่งทำการรับหรือจ่ายเงินแผ่นดินและเงินอื่น ๆ ที่รัฐบาลต้องรับผิดชอบ และอาศัยอำนาจแห่งพระราชบัญญัตินี้ เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติได้ออกประกาศระบุหน้าที่การงานต่าง ๆ ซึ่งกรมตรวจเงินแผ่นดินจะต้องตรวจตรา และวิธีการที่จะต้องปฏิบัติ

กรมบัญชีกลาง

เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมตรวจเงินแผ่นดินนั้น เพื่อมิให้กรมใหม่ที่ตั้งขึ้นนี้ มีหน้าที่ปะปนกับกรมตรวจและกรมสารบาญชี ซึ่งมีอยู่แล้วแต่เดิมในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ และทรงพระราชดำริเห็นว่านามกรมและหน้าที่ราชการของกรมตรวจเงินในแผ่นดินจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าปะปนกับกรมตรวจและกรมสารบาญชี จึงเปลี่ยนนามกรมตรวจและกรมสารบาญชีเป็นกรมบาญชีกลาง ตามประกาศวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2458 มีหน้าที่จัดระเบียบการประมวลบัญชีเงินรายได้และรายจ่ายของแผ่นดิน และสอบสวนการเบิกจ่ายเพื่อรักษารูปงบประมาณกับเพื่อให้การเบิกจ่ายได้ปฏิบัติไปตามความมุ่งหมายของการงบประมาณ ทั้งกำหนดหน้าที่ของกรมบาญชีกลางไว้

ตั้งกรมสถิติพยากรณ์

การวาง

เดิมวังขุนพรหมเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัฒรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไปวังขุนพรหมได้ใช้เป็นที่ทำการธนาคารแห่งประเทศไทย และเปิดดำเนินการครั้งแรก เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2485 ได้แบ่งความสำคัญหลักเป็น 3 ส่วน คือ 1.ประวัติวังขุนพรหม

2.ประวัติเกี่ยวกับเงินตรา

3.ประวัติบทบาทหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย

ในแต่ละห้องจะบอกความเป็นมาของเงินตราในแต่ละสมัย และเหรียญแต่ละชนิดในสมัยประวัติศาสตร์ถึงปัจจุบัน ธนบัตรในสมัยอดีตสู่ปัจจุบันรวมถึงการออกแบบธนบัตร และรวมถึงความรู้ต่างๆเกี่ยวกับธนาคารแห่งประเทศไทย ความรู้จากประวัติคร่าวๆ วิวัฒนาการเงินตราไทยเริ่มตั้งแต่กลุ่มชนดั้งเดิมในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ได้อาศัยอยู่ในดินแดนประเทศไทยราว 38000 ปีมาแล้วก่อนจะได้รับวัฒนธรรมจากอินเดียกลุ่มเหล่านี้ได้ติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าโดยใช้สิ่งของเป็นเสื่อกลางเมื่อวัฒนธรรมอินเดียเข้ามาจึงเริ่มผลิตเงินตราเป็นเสื่อการค้าขาย และมีความหลากหลายของเงินโบราณ เช่น เงินเฟ เงินขนนก เงินใบหยก เงินเข็มขัด เป็นต้น ส่วนเงินพดด้วงเป็นเอกลักษณ์ของเงินตราไทย สัญลักษณ์ของเงินพดด้วงมีสัณฐานกลมแต่ละยุคมีข้อแตกต่างกันตั้งแต่ตราประทับ ส่วนมาตราเงินไทยในรัชกาลที่ 4 มีการเพิ่มเงินตราขึ้นอีก 4 หน่วย คือ โสฬส อัฐ เสี้ยว ชัก เป็นเงินปลีกแล้วจัดตามมาตราเงินไทย ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีการใช้เงินกระดาษราคา 1 อัฐ เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ.2417 เป็นเสื่อที่ใช้แทนเงินเหรียญกษปณ์ที่ไม่เพียงพอกับการใช้งานเป็นที่มาของคำว่า อัฐกระดาษ ประเทศที่เข้ามาเปิดสาขาดำเนินงานในประเทศไทยให้สามารถออกธนบัตรตัวเองได้ เรียกว่า แบงก์โน๊ต นับว่าเป็นธนบัตรรุ่นแรกๆที่ใช้ในประเทศไทยจากนั้นต้องยกเลิกและประกาศใช้ธนบัตรแบบแรกของประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ส่วนในบทบาทหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย (The roles and reonsibilities to the bank of Thailand) คือ รักษาเสถียรภาพทางการเงิน กำกับดูแลสถาบัญการเงิน เป็นนายธนาคารและที่ปรึกษาด้านนโยบายเศรษฐกิจ เป็นนายธนาคารสถาบัญการเงิน การบริหารเงินสำรองระหว่างประเทศ จัดพิมพ์และออกใช้ธนบัตร นอกจากนี้ยังมีรูปแบบสถาปัตยกรรมจากในสมัยก่อนที่ผสมผสานศิลปะประกอบด้วยลวดลายที่สวงามและมีความโดดเด่นในแต่ละมุม

 

สิ่งที่ประทับจากการไปเยี่ยมชมและศึกษา คือ ได้ความรู้จากเจ้าหน้าที่มากมายและมีการต้อนรับที่ดีมีการจัดนำเสนอข้อมูลออกมาได้ดี ทั้งทางรูปภาพและเสียงต่างๆ มีบรรยากาศที่เงียบสงบและมีดนตรีคลอเป็นเพลงทำให้เกิดความเพลิดเพลินในการชมและรู้สึกไม่น่าเบื่อ ส่วนสิ่งที่จัดวางไว้แต่ละห้องที่ไปเยี่ยมชมทำให้เราได้เห็นถึงเงินตราตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และยังได้รุ้ถึงเรื่องราวประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย และในส่วนด้านสถาปัตยกรรมมีความงดงามที่สวยมากเหมาะกับบรรยากาศ

พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย

พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่ในตำหนักใหญ่ วังบางขุนพรหม และตำหนักใหญ่วังเทวะเวสม์ ภายในบริเวณธนาคารแห่งประเทศไทย เลขที่ ๒๗๓ ถนนสามเสน แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐

วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง

  1. เพื่ออนุรักษ์เงินตราไทยอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของชนชาติไทยในอดีต

  2. เพื่อเป็นศูนย์กลางการค้นคว้าศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการเงินตราไทย ระบบเงินตรา ซึ่งสะท้อนถึงภาวะเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมในแต่ละยุคสมัย

  3. เพื่อเผยแพร่ความรู้แก่สาธารณชนเกี่ยวกับระบบการเงินของไทย และบทบาทของธนาคารแห่งประเทศไทยในฐานะธนาคารกลางของประเทศ

  4. เพื่อแสดงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรมและศิลปกรรมของอาคารโบราณสถานที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้อนุรักษ์ไว้ให้เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมของชาติต่อไป

การจัดแสดง

           การจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์มุ่งให้ทั้งความรู้และความเพลิดเพลินแก่ผู้เข้าชม โดยใช้เทคนิคต่าง ๆ ที่ดึงดูดความสนใจของผู้เข้าชมมีการนำระบบแสง-เสียง เทคนิคฉากละคร (Diorama) ระบบมัลติมีเดีย ระบบคอมพิวเตอร์กราฟิก ฯลฯ เข้าร่วมในการนำเสนอ
          นอกจากนี้ยังได้วางระบบต่างๆ เพื่อการสงวนรักษาวัตถุจัดแสดงและความปลอดภัยอย่างถูกต้องตามหลักวิชา ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ ศึกษาค้นคว้าเรื่องราวเกี่ยวกับวิวัฒนาการเงินตราไทย ประวัติบทบาทหน้าที่สำคัญของธนาคารแห่งประเทศไทยและวังบางขุนพรหม ให้อนุชนรุ่นหลังได้ตระหนักถึงคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรม โดยช่วยกันอนุรักษ์และเชิดชูไว้ให้เป็นสมบัติของชาติสืบไป

ห้องจัดแสดงพิพิธภัณฑ์ มีดังนี้

  1. ห้องเปิดโลกเงินตราไทย

  2. ห้องธนบัตรไทย

  3. ห้องธนบัตรต่างประเทศ

  4. ห้องประวัติและการดำเนินงานของ ธปท.

  5. ห้องบริบัติ

ห้องเปิดโลกเงินตราไทย

จัดแสดงสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เงินตราในภูมิภาคสุวรรณภูมิและวิวัฒนการเงินตราไทยจนเป็นกษาปณ์ในปัจจุบันคือ

  1. เงินตราโบราณ เงินตราสมัยทวาราวดี เหรียญลวปุระที่หาชมได้ยาก เงินดอกจันทน์ของอาณาจักรศรีวิชัย นอกจากนี้ ยังมีการจัดแสดงเงินตราอาณาจักรล้านนา เช่น เงินเจียง เงินท้อก เงินปากหมู เงินใบไม้ เงินอาณาจักรล้านช้าง เช่น เงินลาด เงินฮ้อย ในส่วนที่จัดแสดงเกี่ยวกับเงินตราโบราณนี้มีการจัดแสดงเงินตราโบราณของอาณาจักรใกล้เคียงที่มีหลักฐานว่ามีการนำมาใช้ในสมัยโบราณของบริเวณที่เป็นที่ตั้งของประเทศไทยในปัจจุบัน เช่น เงินไซซี เงินฮาง เงินตู้

ตราสัญลักษณ์ในสมัยทวาราวดี

ศรีวัตสะ มงคลแห่งความอุดมสมบรณ์ของอินเดีย

พระอาทิตย์อุทัย ความอุดมสมบูรณ์ของพ์ชพรรณธัญญาหาร

สังข์ ความอุดมสมบูรณ์บ่อน้ำ

กลศ หม้อน้ำ

แม่และลูกโค ความอุดมสมบูรณ์ทางการเกษตร ปศุสัตว์

ฑมรุ การสร้างโลก

ธรรมจักร คำสั่งสอนสัมมาสัมพุทธเจ้า

จามร (แส้) บัลลังก์ ราชูปโภคของกษัตริย์

สวัสดิกะ ความมีโชค

วัชระ สายฟ้า

  1. เงินพดด้วง เป็นเงินที่ผลิตขึ้นมาใช้กว่า ๖๐๐ ปีนับตั้งแต่สมัยสุโขทัยถึง สมัยรัตนโกสินทร์ และยกเลิกการใช้ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕

  2. กษาปณ์ไทย จัดแสดงเรื่องราวของเหรียญกษาปณ์ในสมัยต่าง ๆ ตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ “เหรียญช้าง เมืองไท” “เหรียญดอกบัว เมืองไท” จนถึงเหรียญกษาปณ์ในสมัยรัชกาลปัจจุบัน

ห้องธนบัตรไทย

ประเทศไทยนำธนบัตรออกใช้เป็นครั้งแรก เมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๕ ตามพระราชบัญญัติธนบัตรสยามรัตนโกสินทร ศก ๑๒๑ โดยมีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ (กระทรวงการคลัง ในปัจจุบัน) เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ควบคุม ดูแล การสั่งพิมพ์และนำออกใช้ธนบัตรภายในประเทศ จนกระทั่ง มีการจัดตั้งธนาคารแห่งประเทศไทยขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๕ กิจการทั้งปวงและอำนาจในการดำเนินการเกี่ยวกับธนบัตร จึงถูกโอนมาอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของธนาคารแห่งประเทศไทย ต่อมาเมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๒ ธนาคารแห่งประเทศไทย สามารถจัดตั้งโรงพิมพ์ธนบัตรขึ้นเป็นผลสำเร็จ จึงได้พิมพ์ธนบัตรขึ้นใช้เองภายในประเทศ ได้แก่ ธนบัตรแบบ ๑๑ รวมทั้งแบบอื่น ๆ เป็นลำดับจนถึงปัจจุบัน

การจัดทำและนำออกใช้ธนบัตร เป็นหน้าที่หลักสำคัญอีกด้านหนึ่งของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่มีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศเป็นอย่างยิ่ง ด้วยธนบัตรเป็นเงินตราที่สามารถชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ซึ่งต้องอาศัยการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และได้มาตรฐาน เพื่อให้ธนบัตรไทยคงไว้ซึ่งความน่าเชื่อถือสมเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนที่สำคัญในปัจจุบัน

เงินกระดาษชนิดแรก เริ่มในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ได้มีการผลิตเงินกระดาษขึ้นใช้เป็นครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๓๙๖ เรียกว่า “หมาย” ซึ่งนับเป็นเงินกระดาษชนิดแรกในระบบเงินตราไทย และมีการผลิตใบสั่งจ่ายขึ้นหลายชนิดราคาเรียกว่า “ใบพระราชทานเงินตรา” ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ทำ “อัฐกระดาษ” ออกใช้ระยะสั้นๆ เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนเงินปลีกระยะหนึ่ง หลังจากนั้นได้มีการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่ออำนวยความสะดวกในการชำระหนี้ระหว่างธนาคารและลูกค้า เรียกว่า “บัตรธนาคาร” ต่อมาในพ.ศ. ๒๔๓๓ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติได้พิมพ์ “เงินกระดาษหลวง” ขึ้น เพื่อใช้เป็นธนบัตรแต่มิได้นำออกใช้เพราะขาดความพร้อม จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๔๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติจัดทำตั๋วสำคัญที่ใช้แทนเงินตรา ประกาศออกใช้เมื่อวันที่ 7 กันยายน ธนบัตรไทยจึงถือกำเนิด ขึ้นตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ห้องธนบัตรต่างประเทศ

จัดแสดงธนบัตรในกลุ่มประเทศที่สำคัญซึ่ง ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นสมาชิก อาทิ กลุ่มผู้นำประเทศอุตสาหกรรม (G8)และกลุ่มธนาคารแห่งประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEACEN)

ห้องบริบัติ

จัดแสดงพระประวัติของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตไว้อย่างสมบูรณ์ด้วยวีดิทัศน์เรื่อง “เจ้าฟ้านักบริหาร แบบอย่างของผู้ทรงนำคุณประโชยน์เพื่อแผ่นดิน” ซึ่ง เพลงประกอบที่ไพเราะของเรื่องนี้จัดทำโดยพระนัดดาของพระองค์เอง สำหรับเรื่องราวของพระอัจฉริยภาพทางดนตรีนั้น นำเสนอด้วยเทคนิค Ghost Box ที่ถ่ายทอดเรื่องราวโดยพระธิดาของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต คือ “พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอินทุรัตนา” ซึ่งผู้ชมจะได้ฟัง เพลงมาร์ชบริบัตรและฮังกาเรียนราฟโซดีอันมีชื่อเสียง นอกจากนี้ ยังนำเสนอเพลงพระนิพนธ์ผ่านทางหุ่นจำลองวงปี่พาทย์ไม้แข็งครบวง สำหรับวัตถุประกอบการจัดแสดงนั้น ที่น่าสนใจจะเป็นของใช้ที่ มีตราประจำพระองค์ เช่น จาน เครื่องแก้ว ของที่ระลึกที่ประทาน “แหนบบริพัตร” นอกจากนี้ ยังมีเครื่องบินบริพัตรจำลอง โน้ตเพลงลายพระหัตถ์ รวมทั้งหุ่นจำลองขนาดเท่าพระองค์จริงในฉลองพระองค์จอมพลทหารเรือที่โดดเด่น จุดสุดท้ายที่ดึงดูดใจผู้ชมอย่างมากคือ หุ่นจำลองตำหนักประเสบัน ที่เมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย และฉลองพระองค์ชุดสุดท้ายของพระองค์ที่มหาดเล็กคู่พระทัยถอดเก็บไว้บูชาหลังจากสิ้นพระชนม์ และทายาทได้นำมามอบให้พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อการจัดแสดงและระลึกถึงพระองค์

จากที่ข้าพเจ้าได้ไปธนาคารแห่งประเทศไทยข้าพเจ้ามีความประทับใจในหลายอย่างๆไม่ว่าด้านสถานที่หรือด้านพี่ที่ทำงานอยู่ที่นั่นพี่เค้าให้คำปรึกษาดีมากและบอกเรื่องราวต่างๆได้ดีเมื่อเดินเข้าไปก้าวแรกรู้สึกว่าเป็นสถานที่ที่สงบและมีความขลังอยู่ในตัวเองห้องแต่ละห้องเป็นห้องที่สวยงามมากบอกเล่าประวัติเกี่ยวกับเงินได้อย่างละเอียดทุกยุคทุกสมัยว่าแต่ละยุคสมัยนั้นมีชื่อเรียกเงินตราว่ายังไงบ้างเช่น สมัยลพบุรียังไม่ระบุชื่อเรียกทีแน่นอน แต่ว่าจะมีพิมพ์ชื่อเหรียญ 2 ด้านด้านนึงจะเป็นคำว่า ลว และอีกด้านหนึ่งชื่อว่า ปุระ สมัยศรีวิชัย จะใช้เงินดอกจันทน์ สมัยสุโขทัย จะใช้เงินพดด้วง สมัยล้านนา จะใช้เงินเจียง สมัยล้านช้าง จะใช้เงินฮ้อย สมัยอยุยา จะมีเงินหอยเบี้ย พดด้วงและเงินนโม สมัยธนบุรี จะใช้เงิน พดด้วงและสมัยรัตนโกนินทร์ จะใช้เป็นเงินบาทจนถึงปัจจุบันและยังทำให้เราทราบอีกว่าธนบัตรที่เราใช้กันอยู่ในทุกวันนี้กว่าจะได้ออกมาเป็นแบบนี้เราใช้กันมาถึงกี่แบบอย่างเช่นเมื่อก่อนที่ด้านหลังธนบัตรมีข้อความพิมพ์ว่า " บุคคลที่จะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อให้พ้นผิดจากความรับผิดชอบในทางอาญาไม่ได้" แต่ก็ได้ถูกยกเลิกไปแล้วจนในปัจจุบันไม่มีนอกจากนี้ยังได้รู้เกี่ยวกับทุนสำรองเกี่ยวกับเงินตราว่ามีอะไรบ้าง ซึ่งได้แก่ 1เงินตรา 2 เงินตราต่างประเทศ 3 หลักทรัพย์ต่างประเทศที่มการชำระหนี้ 4 ทองคำสินทรัพย์ต่างประเทศและสิทธิพิเศษถอนเงิน 5 ใบสำคัญสิทธิซื้อส่วนสำรอง 6 ใบสำคัญสิทธิพิเศษถอนเงิน 7 หลักทรัพย์รัฐบาลไทยที่มีการชำระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศ 8 ตั๋วเงินในประเทศที่ธนาคารแห่งประเทศไทยพึงซื้อหรือรับซื้อส่วนลดได้และพอเดินเข้าไปอีกห้องหนึ่งเราก็ได้รู้เกี่ยวกับการพิมพ์ธนบัตรว่าเค้าพิมพ์กันยังไงและมีขั้นตอนอะรัยบ้างก่อนอื่นเราต้องพิมพ์สีพื้น พิมเส้นนูน พิมพ์ลาย แล้วก็พิมพ์ลายเส้นเป็นการเสร็จขั้นตอนการพิมพ์และยังได้รู้เกี่ยวกับการทำเหรียญกษาปว่ามีขั้นตอนการทำยังไงบ้างผ่านวิดิโอที่ฉายให้ดูนอกจากนั้นยังได้เห็นแบงค์ 500000 ทั้งที่ไม่เคยรู้เลยว่าจะมีแต่ก็มี สรุปว่าที่ไปวันนั้นได้รู้เรื่องเกี่ยวกับเงินเยอะมากๆ เลยคะ

           จากการที่ได้ไปศึกษาข้อมูลในงาน SET in the City 2012 ในครั้งนี้ ได้พบกับตลาดหลักทรัพย์หลายบริษัทมาจัดบูธให้ข้อมูลให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง หุ้นในตลาดหลักทรัพย์ และมีธนาคาร สถาบันการเงินต่างๆมาหาข้อมูลเปิดให้ซื้อขายกองทุนรวม พร้อมจัดโปรโมชั่นแจกของสมณาคุณอีกมากมาย ยังมีเกมให้ได้ร่วมเล่นสนุกกันอีกด้วย ดิฉันได้มีโอกาสไปนั่งฟังการจัดสัมนาอบรมสำหรับผู้ที่เป็นมือใหม่หัดเล่นหุ้น กับ TISCO โดยมีตำราที่ชื่อว่า  Thailand Market Snapshots เป็นข้อมูลประกอบการอบรมด้วย ในหนังสือเล่มนี้ให้ประโยชน์เกี่ยวกับการเล่นหุ้นซื้อขายหุ้น บอกการเคลื่อนไหวของหุ้น บอกว่านักลงทุนต่างชาติให้ความสนใจกับหุ้นตัวไหนมากที่สุด ให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขเศรษฐกิจและอื่นๆอีกมากมายหนังสือเล่มนี้เหมาะกับผู้ที่เพิ่งหัดเล่นหุ้นเป็นอย่างมาก สำหรับดิฉันก็ได้เรียนรู้ศัพท์ทางการเงินอีกไม่น้อย เช่น

EST Consensus คือ การประมาณการของตลาดหุ้นหลายเจ้ารวมกัน

Chang YoY คือ การเปลี่ยนแปลงของหุ้นในช่วงเดือนนี้ในปีนี้กับแต่ละปีในเดือนนี้

-1M คือ 1เดือนย้อนหลัง

EPS gwt คือ กำไรสุทธิต่อหุ้น 

PER  คือ การเปรียบราคาหุ้น เป็นต้น

                      นอกจากนี้ยังได้รับ VCD รายงานประจำปี 2554 The Great Step Forward จากบูธของ RATCH เป็นผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)  จากนั้นได้ไปที่บูธ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้รับหนังสือ ชีวิตเปลี่ยนเพราะการลงทุน ในหนังสือเล่มนี้ให้แง่คิดเกี่ยวกับการลงทุน การสร้างเงินให้งอกเงยอย่างมีเป้าหมาย ซึ่งเป็นการบริหารเงินที่มีประสิทธิภาพ หนังสือเล่มนี้ทำขึ้นเพื่อเป็นการจุดประกายสร้างแรงบันดาลใจ แก่ผู้เริ่มลงทุนและผู้ที่ลงทุนแล้วแต่ยังไม่มีเป้าหมายการลงทุนที่ชัดเจน เนื้อหาก็จะเกี่ยวกับ บริการด้านการลงทุนของบริษัทหลักทรัพย์ชั้นนำ (Broker Services) เพื่อให้ผู้ลงทุนได้ทราบถึงการบริการของแต่ละตลาดหลักทรัพย์และสามารถเลือกบริษัทหลักทรัพย์ให้บริการแก่ผู้ลงทุนอย่างเหมาะสม

                     ดิฉันยังได้รู้จักเกี่ยวกับตราสารหนี้ว่าตราสารหนี้คือ หลักทรัพย์ประเภทหนึ่งหรือตราสารการเงิน โดยเป็นสัญญาแสดงความเป็นหนี้ระหว่างผู้ออกหรือผู้กู้และผู้ซื้อหรือนักลงทุนหรือผู้ให้กู้ ตราสารหนี้ต่างกับหุ้นสามัญ เนื่องจากตราสารหนี้มีสถานะเป็นผู้ซื้อหรือนักลงทุน ส่วนหุ้นสามัญนั้นมีสถานะเป็นเจ้าของกิจการ ตราสารหนี้จะอยู่ในรูปของพันธบัตรหรือหุ้นกู้ ผู้ที่เกี่ยวข้องในตลาดตราสารหนี้ ได้แก่ ผู้ออกตราสารหนี้,สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์,นายทะเบียน,ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้,ผู้ค้าตราสารหนี้,ผู้จัดจำหน่ายตราสารหนี้,สถาบันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ โดยข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวกับตราสารหนี้อยู่ในหนังสือ รอบรู้เรื่องตราสารหนี้ ราคา 120 บาท แต่ในงานนี้แจกฟรีที่บูธตลาดหลักทรัพย์

                   นอกจากนี้ยังได้แวะเข้าไปเยี่ยมชมบูธของ AIA ได้รวมเล่นเกมทำแบบสอบถามมีแจกไอศกรีมให้รับประทานฟรีอีกด้วยยังได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการเงินครบวงจร การประกันภัยพร้อมสรรพทั้งความคุ้มครองชีวิตและเพิ่มโอกาสในการลงทุน และข้อมูลในการออมเงินได้รับเอกสารเพื่อที่จะให้นำไปศึกษา การชำระเบี้ยประกัน ตารางค่าธรรมเนียมกรมธรรม์ สิทธิของผู้เอาประกันภัย ซึ่งมีประโยชน์มากสำหรับผู้จะซื้อประกันชีวิต

                   ในงานยังมีการแนะนำแอพฟลิเคชั่นที่ทันสมัย ให้โหลดมาใช้สำหรับผู้ที่มี Ipad , Iphone,Smart phoneไวแอพฟลิเคชั่นนี้ชื่อว่าOpportunity Day เป็นแอพฟลิเคชั่นเพื่อการซื้อขายหุ้นได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ยังมีข้อมูลที่น่าสนใจอีกมากมายที่ดิฉันได้ไปรับชมและรับฟังมา ได้ทั้งหนังสือเอกสารให้ความรู้อีกหลากหลายเกี่ยวกับเรื่อง เศรษฐกิจการเงิน

SET in the City กรุงเทพมหานคร 2012 SET in the City กรุงเทพมหานคร 2012 ซึ่งจัดขึ้นที่รอยัล พารากอน ฮอลล์ ชั้น5 สยามพารากอน ภายในงานได้แบ่งเป็นโซนต่างๆ ดังนี้ โซน 1 Investment on stage ระดมทุกความเห็น มุมมองของนักวิเคราะห์ชั้นนำระดับตำนานพร้อมสัมมนาเด็ด เนื้อหาดีจาก 10 บริษัทชั้นนำ โซน 2 จุดแลกของสมนาคุณสมาคม TFPA / ASCO / TIA โซน 3 Hall 2-3 กลุ่มธนาคาร / บล. / บลจ. / โกลด์ฟิวเจอร์ส / ประกันภัย โซน 4 Vision Talk on stage Seminar Hall 1 เวทีสัมมนาการลงทุนแห่งปี ที่คุณเข้าถึงได้เวทีเดียวที่จะเปิดวิสัยทัศน์ 360 องศา การลงทุนเจาะลึก รุ้จริง ทันทุกกระแสการลงทุนโลกกับนักวิเคราะห์ นักกลยุทธ์ นักวิชาการ ผู้บริหารองค์กรรัฐและเอกชนชั้นนำ แลกเปลี่ยนมุมมองเข้มข้นเต็มตลอด 4 วันพร้อมตอบคำถามที่คุณอยากรู้แบบสดๆในเรื่องการลงทุน โซน 5 SET in the City Room 1-2 22-23 Opportunity Day c]t 24-25 Financial Planning โดยสมาคมนักวางแผนการเงินไทย โซน 6 Hall 1 บริษัทจดทะเบียนหน่วยงานภาครัฐและเอกชน บริษัทจดทะเบียน 1. บมจ. ปตท. 2. บมจ. เอสพีซีจี 3. บมจ. ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง 4. บมจ. ช.การช่าง 5. บมจ. ทางด่วนกรุงเทพ 6. บมจ. ผลิตไฟฟ้า 7. บมจ. แสนสิริ 8. บมจ. บีจีที คอร์ปอเรชั่น 9. บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น 10. บมจ. การบินไทย 11. บมจ. มาสเตอร์แอด 12. บมจ. พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค 13. บมจ. เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ๊ป บริษัทหลักทรัพย์ 1. บล. กสิกรไทย 2. บล. ไทยพาณิชย์ 3. บล. กรุงศรี 4. บล. บัวหลวง 5. บล. เคที ซิมีโก้ 6. บล. ทิสโก้ 7. บล. ฟิลลิป(ประเทศไทย) 8. บล. เมย์แบงค์ กิมเอ็ง(ประเทศไทย 9. บล. โกลแบล็ก 10. บล. ธนชาต 11. บล. เคทีบี(ประเทศไทย) 12. บล. เกียรตินาคิน 13. บล. โนมูระ พัฒนสิน 14. บล. คันทรี่ กรุ๊ป 15. บล. ดีบีเอส วิคเคอร์ส(ประเทศไทย) 16. บล. ภัทร 17. บล. เอเวีย พลัส 18. บริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน 1. บลจ. กสิกรไทย 2. บลจ. ไทยพาณิชย์ 3. บลจ. กรุงศรี 4. บลจ. บัวหลวง 5. บลจ. กรุงไทย 6. บลจ. ทิสโก้ 7. บลจ. ฟิลลิป 8. บลจ. กิมเอ็ง(ประเทศไทย) 9. บลจ. เกียรตินาคิน 10. บลจ. เอ็มเอฟซี 11. บลจ. ทหารไทย 12. บลจ. แอสเซทพลัส 13. บลจ. ฟินันซ่า 14. บลจ. วรรณ 15. บลจ. แมนูไลฟ์(ประเทศไทย) 16. บลจ. อเบอร์ดีน บริษัทจดทะเบียนกลุ่มธนาคารพาณิชย์ 1. บมจ. ไทยเครดิตเพื่อรายย่อย 2. บมจ. ธนาคารกสิกรไทย 3. บมจ. ธนาคารไทยพาณิชย์ 4. บมจ. ธนาคารกรุงศรี 5. บมจ. ธนาคารกรุงเทพ 6. บมจ. ธนาคารกรุงไทย 7. บมจ. ธนาคารทิสโก้ 8. บมจ. ธนาคารเกียรตินาคิน โบรกเกอร์ผู้ค้าทอง 1. บ. จีที เวลธ์ แมเนจเมนท์ 2. บ. ฮั่วเซ่งเฮง โกลด์ ฟิวเจอร์ส 3. บ. ออสสิริส ฟิวเจอร์ส 4. บ. วายแอลจี บูลเลี่ยน อินเตอร์เนชั่นแนล 5. บ. เอ็มทีเอส โกลด์ ฟิวเจอร์ส 6. บ. คาสสิค โกลด์ ฟิวเจอร์ส กลุ่มธุรกิจประกันภัย 1. บ. อเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนลแอสซัวันส์ 2. บมจ. ไทยประกันชีวิต 3. บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต 4. บ. แอ็ดวานซ์ ไลฟ์ ประกันชีวิต 5. บมจ. แมนูไลฟ์ ประกันชีวิต(ประเทศไทย) หน่วยงานภาครัฐและเอกชน 1. สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(กลต.) 2. กรมสรรพากร 3. สำนักงานบริหารหนี้สิน (สบน.) 4. บ. มีเดีย แอซโซซิเอตเต็ค(วารสารการเงินการธนาคาร) 5. ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (AFET) กลุ่มตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 1. ตลาดแห่งทรัพย์แห่งประเทศไทย 2. ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ 3. ตลาดตราสารหนี้ 4. ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ 5. ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า 6. ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาความรู้ตลาดทุน 7. โครงการให้เงินทำงานผ่านกองทุนรวม ปตท. เน้นสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศ SPCG จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยภายใต้หมวดพลังงาน ด้วยทุนจดทะเบียน 840 ล้านบาท ดำเนินธุรกิจหลักในด้านการพัฒนาโครงการโซล่าฟาร์มเชิงพาณิชย์ จำหน่ายไฟฟ้าให้ไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จำนวน 36 โครงการ ด้วยกำลังผลิตกว่า 250 เมกะวัตต์ ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง วิสัยทัศน์ เป็นผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนชั้นนำระดับภูมิภาคที่เป็นที่เชื่อถือของสาธารณชน พันธกิจ ลงทุน พัฒนา และดำเนินงานด้านผลิตไฟฟ้าและธุรกิจเกี่ยวเนื่อง ช.การช่าง เป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง มีลักษณะเป็น ผู้รับเหมาโดยตรง ผู้รับเหมาช่วง กิจการร่วมค้าและการร่วมทุนแบบคอนซอร์เตียม วิสัยทัศน์ของบริษัท เป็นผู้นำด้านธุรกิจก่อสร้างที่มีความสามารถในการพัฒนาการลงทุนและดำเนินการบริหารโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานในระดับภูมิภาคอย่างมีคุณภาพและครบวงจร ทางด่วนกรุงเทพ BECL มีทุนจดทะเบียน 8000 ล้านบาท โดยเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2538 โดย ณ วันที่ 30 กันยายน 2555 หุ้นของบริษัท มีมูลค่าตามราคาตลาดประมาณ 22715 ล้านบาท และยังเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. เป็นองค์กรของรัฐที่ทำหน้าที่กำกับดูแลและพัฒนาตลาดทุนไทยให้เป็นแหล่งระดมทุนและแหล่งลงทุนที่มีประสิทธิภาพของทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไป ประวัติ พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ได้รับการตราขึ้นและมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ตลาดทุนมีการพัฒนาและเติบโตไปในทิศทางที่เอื้อ ประโยชน์ต่อการระดมทุนและการลงทุน ทั้งตลาดแรกและตลาดรอง รวมถึงระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม โดยกฎหมายดังกล่าวกำหนดให้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) ขึ้นเป็นองค์กรอิสระ ทำหน้าที่กำกับดูแลและพัฒนาตลาดทุน โดยมี คณะกรรมการ ก.ล.ต. เป็นผู้กำหนดนโยบายการดำเนินงาน พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 ได้รับการตราขึ้นเพื่อให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและตัวกลางที่เกี่ยวข้องที่ชัดเจน รวมทั้งให้คณะกรรมการ ก.ล.ต. เป็นผู้กำกับดูแลนโยบายและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบต่อตลาดทุนโดยรวม โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2547 อำนาจและหน้าที่ สำนักงาน ก.ล.ต. มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินงานตามนโยบายที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. มอบหมาย และกำกับดูแลผู้ที่เกี่ยวข้องในตลาดทุนตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด รวมทั้งรับผิดชอบการดำเนินงานประจำวันในเรื่องเกี่ยวกับการพิจารณาอนุมัติคำขอต่าง ๆ และพิจารณาการกระทำที่อาจเข้าข่ายฝ่าฝืน พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ และ พ.ร.บ. สัญญาซื้อขายล่วงหน้าฯ ซึ่งอยู่ภายใต้ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของสำนักงาน ก.ล.ต. โดยมีเลขาธิการเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด ภารกิจและแผนงาน ภารกิจหลักของสำนักงาน ก.ล.ต. มีดังนี้ 1. ดูแลรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยของตลาดทุน 2. คุ้มครองนักลงทุน 3. เอื้ออำนวยให้เกิดนวัตกรรมในตลาดทุน 4. ส่งเสริมการแข่งขัน การกำกับดูแลและพัฒนาตลาดทุน สำนักงาน ก.ล.ต. แบ่งโครงสร้างการกำกับดูแลและพัฒนาตลาดทุนออกเป็น 6 ด้านหลัก ดังนี้ 1. การกำกับดูแลการออกหลักทรัพย์และครอบงำกิจการ 2. การกำกับดูแลธุรกิจหลักทรัพย์ 3. การกำกับดูแลธุรกิจจัดการลงทุน 4. การกำกับดูแลธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า 5. การกำกับดูแลตลาดรอง 6. การตรวจสอบและการบังคับใช้กฎหมาย แผนกลยุทธ์ปี 2553 – 2555 ในแผนกลยุทธ์ปี 2553 – 2555 ได้กำหนดทิศทางการดำเนินงานของสำนักงาน ก.ล.ต.โดยมุ่งเน้นงาน 5 ด้านหลัก คือ 1. การเชื่อมโยงกับต่างประเทศ 2. การขจัดการผูกขาด 3. การผลักดันและสนับสนุนนวัตกรรม 4. การปรับปรุงการกำกับดูแลและการบังคับใช้กฎหมาย 5. การส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนแก่ประชาชน คำขวัญ ก.ล.ต. เกื้อหนุนธุรกิจ ปกป้องสิทธิ์ผู้ลงทุน นำตลาดทุนสู่สากล คณะกรรมการ ก.ล.ต. มีอำนาจหน้าที่กำหนดนโยบายและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ภายใต้ขอบเขตอำนาจหน้าที่ที่กำหนดใน พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ และ พ.ร.บ.สัญญาซื้อขายล่วงหน้าฯ คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเป็นตัวแทนจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ดังนี้ 1. ประธานกรรมการ ก.ล.ต. ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยคำแนะนำของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง 2. กรรมการโดยตำแหน่ง ประกอบด้วย ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ปลัดกระทรวงการคลัง และ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ 3. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้ง โดยผ่านการคัดเลือกของคณะกรรมการคัดเลือกซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้ง จำนวนไม่น้อยกว่า 4 คน แต่ไม่เกิน 6 คน โดยต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย การบัญชี และการเงินด้านละ 1 คน 4. เลขาธิการสำนักงาน ก.ล.ต. ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ก.ล.ต. เป็นกรรมการและเลขานุการ รายชื่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. (ณ 17 สิงหาคม 2554) นางสาวนวพร เรืองสกุล ประธานกรรมการ นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม กรรมการ นายยรรยง พวงราช กรรมการ ดร. ประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการ นายนนทพล นิ่มสมบุญ กรรมการ นายกำชัย จงจักรพันธ์ กรรมการ นางพรรณี สถาวโรดม กรรมการ นายสมชาย คูวิจิตรสุวรรณ กรรมการ นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ กรรมการ นายชาลี จันทนยิ่งยง (รักษาการเลขาธิการ) กรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการกำกับตลาดทุน มีอำนาจหน้าที่ในการออกกฎเกณฑ์ในระดับที่เป็นการปฏิบัติ โดยมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความชำนาญในภาคธุรกิจร่วมอยู่ด้วย เพื่อให้ประกาศหลักเกณฑ์ที่ออกมาสอดคล้องและไม่เป็นอุปสรรคในทางปฏิบัติ ทั้งนี้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะต้องมีความเป็นอิสระ ไม่ดำรงตำแหน่งใดๆ ในหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงาน ก.ล.ต. คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกอบด้วย 1. เลขาธิการ สำนักงาน ก.ล.ต. เป็นประธานกรรมการ 2. รองเลขาธิการ สำนักงาน ก.ล.ต. ซึ่งเลขาธิการมอบหมาย 1 คน 3. ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง หรือรองผู้อำนวยการที่ได้รับมอบหมาย 1 คน 4. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ผ่านการคัดเลือกของคณะกรรมการคัดเลือก ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งอีกไม่เกิน 4 คน ทั้งนี้ ผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 2 คนต้องมีประสบการณ์ในการบริหารกิจการบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือบริษัทหลักทรัพย์ 5. พนักงานของสำนักงาน ก.ล.ต. ซึ่งเลขาธิการแต่งตั้ง 1 คน เป็นเลขานุการ รายชื่อคณะกรรมการกำกับตลาดทุน (ณ 17 สิงหาคม 2554) นายชาลี จันทนยิ่งยง (รักษาการ) ประธานกรรมการ นายวสันต์ เทียนหอม กรรมการ ดร. นริศ ชัยสูตร กรรมการ นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ กรรมการ ม.ล. ผกาแก้ว บุญเลี้ยง กรรมการ นายกัมปนาท โลหเจริญวนิช กรรมการ นางดัยนา บุนนาค กรรมการ

AIA เอไอเอ ประเทศไทย ดำเนินธุรกิจประกันชีวิตมานานกว่า 70 ปีตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2481 และเป็นหนึ่งในสมาชิกของกลุ่มบริษัท เอไอเอ โดยให้ความคุ้มครองคนไทยมากกว่า 5 ล้านคนในด้านการประกันชีวิต การวางแผนออมเงินเพื่อวัยเกษียณ การประกันภัยอุบัติเหตุและสุขภาพ และการประกันชีวิตแบบควบการลงทุน นอกจากนี้ ยังให้บริการแก่ลูกค้าองค์กรในด้านการประกันภัยกลุ่ม ประกันสินเชื่อ และเป็นผู้จัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กลุ่มบริษัทเอไอเอ จำกัด รวมทั้งสำนักงานสาขา บริษัทย่อย และบริษัทในเครือ เป็นกลุ่มบริษัทประกันชีวิตที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ มีการบริหารจัดการอย่างอิสระ และมีเครือข่ายครอบคลุมทั่วเอเชีย ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยเป็นบริษัทประกันชีวิตชั้นนำในภูมิภาคเอเชียที่มีรากฐานอยู่ใน 14 ประเทศในเอเชียแปซิฟิก ทั้งในประเทศฮ่องกง ไทย สิงคโปร์ จีน มาเลเซีย เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย ไต้หวัน เวียดนาม นิวซีแลนด์ มาเก๊า และบรูไน และเป็นผู้ถือหุ้นร่วมทุน 26% ในประเทศอินเดีย กลุ่มบริษัทเอไอเอมีรากฐานในเอเชียมานานกว่า 90 ปี และเป็นผู้นำตลาดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ยกเว้นประเทศญี่ปุ่น) โดยมีเบี้ยประกันภัยรับจากธุรกิจประกันชีวิตและเป็นผู้นำในตลาดโดยส่วนใหญ่ในภูมิภาคนี้ โดยมีสินทรัพย์รวมประมาณ 115,782 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ณ 31 พฤษภาคม 2554) กลุ่มบริษัทเอไอเอนำเสนอความคุ้มครองชีวิตและการออมเงินแก่ลูกค้าบุคคลผ่านผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ ทั้งการประกันชีวิต การวางแผนทางการเงินในวัยเกษียณ การประกันภัยอุบัติเหตุและสุขภาพ นอกจากนี้แล้ว เอไอเอยังให้บริการลูกค้าองค์กรผ่านผลิตภัณฑ์สวัสดิการพนักงาน ประกันสินเชื่อ และให้บริการเป็นผู้จัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ผ่านเครือข่ายตัวแทนในวงกว้างกว่า 230,000 คนและพนักงานมากกว่า 20,000 คนทั่วภูมิภาคเอเชีย โดยให้บริการลูกค้าที่ถือครองกรมธรรม์ประกันชีวิตรายบุคคลที่มีผลบังคับมากกว่า 23 ล้านคน และสมาชิกกรมธรรม์ประกันกลุ่มมากกว่า 10 ล้านคนทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เอไอเอจดทะเบียนในกระดานหุ้นหลักของตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง ภายใต้รหัสหลักทรัพย์ 1299 สำหรับ American Depositary Receipts มีการซื้อขายหลักทรัพย์นอกตลาดหลักทรัพย์ (Over-the-Counter) ภายใต้สัญลักษณ์ AAGIY วิสัยทัศน์ เป็นองค์กรแบบอย่างที่ได้รับการยอมรับโดยปราศจากข้อโต้แย้ง ค่านิยม พนักงาน : พัฒนาความสามารถให้หลากหลาย ให้รางวัลสำหรับความเป็นเลิศ และการทำงานเป็นทีม การเอาใจใส่ลูกค้า : เอาใจใส่ต่อลำดับความสำคัญของลูกค้า และทำให้ดีกว่าที่ลูกค้าคาดหวัง หลักการปฏิบัติงาน : มีความรับผิดชอบ มีความสามารถในการบริหารความเสี่ยง นำความแข็งแกร่งของเอไอเอสู่การปฏิบัติงาน ความซื่อสัตย์ : ทำงานด้วยความซื่อสัตย์ เพิ่มพูนชื่อเสียงของเอไอเอ การให้เกียรติ : ให้เกียรติเพื่อนร่วมงาน ประสานงานซึ่งกันและกัน ความเป็นผู้ริเริ่ม : สร้างโอกาส สรรหาสิ่งใหม่ ๆ ให้กับลูกค้า

เมืองไทยประกันชีวิต วิสัยทัศน์ เรามุ่งมั่นเป็นบริษัทประกันชีวิตที่มีความมั่นคง แข็งแกร่ง และเป็นอันดับ 1 ด้วยการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตและบริการ ผ่านช่องทางที่หลากหลาย เพื่อตอบสนองทุกกลุ่มลูกค้าเป็นสำคัญ พันธกิจ เรา คือ องค์กรมืออาชีพ ที่มีความแข็งแกร่งทั้งทางด้านการเงิน การบริการ และภาพลักษณ์ ภายใต้ระบบการบริหารความเสี่ยงและหลัก ธรรมาภิบาลระดับมาตรฐานสากล โดยเรามุ่งมั่นเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับคุณภาพชีวิตของทุกกลุ่มลูกค้า ด้วยการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต การบริการ และช่องทางการขายที่หลากหลาย ทั้งยังตระหนักถึงการมอบผลประโยชน์ที่เป็นธรรมแก่ลูกค้า พนักงาน พันธมิตรทางธุรกิจ ผู้ถือหุ้น และสังคม บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) บริษัทของคนหัวคิดทันสมัย ได้ดำเนินธุรกิจด้านการประกันชีวิตโดยดำเนินงานมายาวนาน ซึ่งนับเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความมุ่งมั่นและตั้งใจในการพัฒนาคุณภาพอย่างไม่หยุดนิ่ง ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต จนเป็นที่ไว้วางใจของผู้เอาประกันและประชาชน จึงทำให้บริษัทฯ ก้าวไปสู่ความเป็นผู้นำทางการตลาดของธุรกิจประกันชีวิตอันดับต้นๆ ของประเทศไทย ซึ่งพิสูจน์ได้จากรางวัลแห่งความมั่นคงแข็งแกร่งทางด้านการเงินที่ได้รับการยอมรับจากต่างประเทศ และรางวัลแห่งเกียรติยศต่างๆ อีกมากมาย จากสถาบันที่มีชื่อเสียงทั้งในประเทศและต่างประเทศ จึงนับเป็นเครื่องยืนยันถึงความตั้งมั่นและตั้งใจของบริษัทฯ ในการสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้กับประชาชนเพื่อที่จะก้าวสู่ความเป็นหนึ่งและเป็นที่ยอมรับของประชาชนอย่างมั่นคงและยั่งยืน ไทยประกันชีวิต ความเป็นมา นับจากที่การประกันชีวิตเริ่มเป็นที่รู้จักในเมืองไทยราวสมัยรัชกาลที่ 5 โดยมีบริษัทต่างประเทศเข้ามาดำเนินกิจการ และตั้งสำนักงานตัวแทนเสนอขายประกันชีวิตแบบตลอดชีพ พร้อมกับมี สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เอกอัครมหาเสนาบดี เป็นผู้ถือกรมธรรม์ฉบับแรกนั้น อาจเรียกได้ว่าการประกันชีวิตยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก แต่หลังจากที่ได้มีการก่อตั้งกองประกันภัย สังกัดกระทรวงพาณิชย์ และคมนาคมขึ้นในปี พ.ศ. 2472 ธุรกิจประกันชีวิตก็เริ่มเป็นที่แพร่หลาย มีบริษัทประกันชีวิตต่างชาติเข้ามาประกอบธุรกิจเป็นจำนวนมาก ซึ่งต่อมาในช่วงปี พ.ศ. 2485 อันเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงมีกลุ่มบุคคลคนไทยได้ก่อตั้งบริษัทประกันชีวิตที่เป็นของคนไทยขึ้นเป็นครั้งแรก ประวัติบริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) การประกันชีวิตต้องหยุดชะงักลงเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 บริษัทประกันชีวิตต่างชาติได้พากันปิดกิจการ และขนทรัพย์สินกลับสู่ภูมิลำเนาเดิม ยังความเสียหายให้แก่ผู้เอาประกันในเมืองไทยเป็นอย่างยิ่ง ด้วยเหตุนี้คนไทย และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของไทยในสมัยนั้น จึงได้รวมตัวกันก่อตั้งบริษัทประกันชีวิตของไทยขึ้น เมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2485 ภายใต้ชื่อ บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) นับเป็นบริษัทประกันชีวิตแห่งแรกของคนไทย ที่มุ่งสร้างหลักประกันที่มั่นคงให้กับครอบครัวคนไทย โดยมีคณะกรรมการดังนี้ 1. พระยาชัยสุรินทร์ (ตาล บุนนาค) 2. นายบุญล้อม พึ่งสุนทร 3. นายปพาฬ บุญ-หลง 4. นายหลุย พนมยงค์ 5. นายวิจิตร์ ลุลิตานนท์ 6. นายโล่เต็กชวน บูลสุข 7. นายตันจินเก่ง 8. นายเชวง เคียงศิริ 9. นายตันเกียกปุ้น หลังจากนั้นบริษัทฯ ได้รับหนังสืออนุญาตจากกระทรวงคลังให้ประกอบธุรกิจประกันภัย เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2485 แล้วก็ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารชุดแรกเพื่อดำเนินธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วย 1. เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) ประธานกรรมการ 5. นายปพาฬ บุญ-หลง กรรมการ 2. พระยาชัยสุรินทร์ กรรมการ 6. นายวิจิตร์ ลุลิตานนท์ กรรมการ 3. นายหลุย พนมยงค์ กรรมการ 7. นายเชวง เคียงศิริ กรรมการ 4. นายบุญล้อม พึ่งสุนทร กรรมการ 8. นายโล่เต็กชวน บูลสุข กรรมการ บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) เริ่มดำเนินกิจการประกันชีวิตครั้งแรกด้วยทุนจดทะเบียน 1,000,000 บาท และมีสำนักงานแห่งแรกตั้งอยู่เลขที่ 25 - 27 ถนนเยาวราช กรุงเทพฯ ต่อมาในปี พ.ศ. 2500 ได้ย้าย สำนักงานมาอยู่ ณ เลขที่ 624 ตึกสหธนาคาร และในปี พ.ศ. 2502 ได้ย้ายสำนักงานมาอยู่ ณ อาคาร 8 ถนนราชดำเนิน พร้อมกับได้ดำเนินกิจการเรื่อยมา จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2513 จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารชุดใหม่ อันมีนายวานิช ไชยวรรณ เป็นผู้นำเข้ามาปรับปรุงโครงสร้าง และระบบบริหารงานครั้งใหญ่ โดยมีนายอนิวรรตน์ กฤตยากีรณ เป็นกำลังสำคัญในการวางรากฐานการดำเนินงานที่ทันสมัย และมีประสิทธิภาพ รวมทั้งได้ปรับปรุงโครงสร้างระบบงาน ตลอดจนวางแผนพัฒนาจนไทยประกันชีวิตสมบูรณ์ในทุกๆ ด้าน ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ไทยประกันชีวิตได้สั่งสมประสบการณ์ และความชำนาญในการดำเนินธุรกิจ ทั้งยังได้รับความเชื่อมั่นศรัทธาจากมหาชนเพิ่มขึ้นตามลำดับ เป็นผลให้ไทยประกันชีวิตก้าวขึ้นสู่บริษัทประกันชีวิตชั้นแนวหน้าของคนไทยในปัจจุบัน วิสัยทัศน์ สร้างความอบอุ่นใจ ด้วยหลักประกันด้านการเงินที่มั่นคง พันธกิจ 1. มุ่งมั่นที่จะเป็นบริษัทประกันชีวิตชั้นนำของคนไทยในระดับสากล ที่สร้างหลักประกันความมั่นคงทางการเงินแก่ประชาชน ทุกครอบครัวทุกระดับ และให้บริการที่สะดวก รวดเร็วสมบูรณ์แบบครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ 2. มุ่งมั่นที่จะแสวงหา สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ และการบริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยการสร้างมูลค่าเพิ่ม และการให้บริการที่มีคุณภาพนำหน้า สะดวกรวดเร็ว สมบูรณ์แบบ และครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ 3. มุ่งมั่นที่จะสร้างบุคลากรที่มีศักยภาพสูงสุด มีจิตสำนึกด้านการบริการ มีความรัก และผูกพันต่อองค์กร มีความเป็นมืออาชีพ บนพื้นฐานความซื่อสัตย์สุจริต มีขวัญ และกำลังใจ ด้วยการมีคุณภาพชีวิตการทำงานที่ดี 4. มุ่งมั่นที่จะเป็นผู้สร้างสรรค์ แสวงหา และนำเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารงานให้ครบถ้วน อย่างสมบูรณ์ 5. ยึดมั่นต่อการสนับสนุน และการมีส่วนร่วมในการบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมไทยอย่างต่อเนื่อง ด้วยจิตสำนึกการเป็นบริษัทของคนไทย และการเป็นองค์กรที่ดีของสังคมเคียงคู่คนไทยตลอดไป ธนาคารไทยพาณิชย์ 2449 - 2475 ก่อรากฐานการธนาคารไทย ประวัติศาสตร์หน้าแรกของธนาคารไทยพาณิชย์ ซึ่งนับเป็นสถาบันการเงินแห่งแรกของชาวสยามนั้น เริ่มต้นขึ้นในนาม "บุคคลัภย์" (Book Club) โดย พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ซึ่งขณะนั้นทรง ดำรงตำแหน่งเสนาบดี กระทรวง พระคลังมหาสมบัติในพระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งพระทัยอย่างแน่วแน่ที่จะให้มีสถาบัน การเงินของสยาม เป็นฐานรองรับการเติบโตทางด้าน เศรษฐกิจการเงินของประเทศ จากการที่โลกตะวันตกได้ ขยายเส้นทางการค้าทางทะเลมาสู่ดินแดนสยามเป็นอย่างมาก ในยุคนั้น ในขั้นแรกจึงทรงริเริ่มดำเนินกิจการธนาคาร พาณิชย์เป็นการ ทดลองในนาม "บุคคลัภย์" (Book Club)ต่อมากิจการทดลองประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงมีพระบรม ราชานุญาตให้ตั้งเป็นธนาคารในนาม "บริษัท แบงก์สยาม กัมมาจล ทุนจำกัด" (Siam Commercial Bank, Limited) เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2449 ประกอบธุรกิจ ธนาคารพาณิชย์ อย่างเป็นทางการ นับตั้งแต่นั้นมาและได้ กลายมาเป็น "ต้นแบบธนาคารไทย" โดยริเริ่ม นำระบบ และ แนวคิดของการให้บริการ รับฝากเงินออมทรัพย์ และ บริการ บริการบัญชี กระแสรายวัน (Current Account) ถอนเงิน โดยใช้เช็คมาให้บริการ แก่ประชาชน พร้อมทั้งจัดตั้งสาขาขึ้น ทั้งในกรุงเทพฯ และภูมิภาคต่างๆ นอกจากนี้ธนาคารยังมี ส่วนร่วม ในการก่อกำเนิดและวางรากฐานสหกรณ์การเกษตร ของประเทศ วิสัยทัศน์ เราจะเป็นธนาคารที่ลูกค้า ผู้ถือหุ้น พนักงาน และสังคมเลือก พันธกิจ ธนาคารที่ให้บริการครบวงจรชั้นำของประเทศโดยมุ่งเน้นการให้บริการตลาดการเงิน กลุ่มลูกค้าหลักด้วยการใช้ประโยชน์อย่างสูงสุดจากเครือข่ายของกลุ่มไทยพาณิชย์ และมีความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างเต็มที่ ธนาคารกรุงเทพ นโยบายการกำกับดูแลกิจการของธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงเทพตระหนักถึงความสำคัญของการกำกับดูแลกิจการที่ดี ซึ่งถือเป็นปัจจัยหลักในการสร้างความเป็นธรรมแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และเสริมสร้างองค์กรให้มีประสิทธิภาพธนาคารจึงมุ่งส่งเสริมให้การดำเนินกิจการของธนาคารเป็นไปตามหลักการการกำกับดูแลกิจการที่ดี อันจะเป็นพื้นฐานของผลการดำเนินงานที่ดี ฐานะการเงินที่แข็งแกร่งและมั่นคง และการเจริญเติบโตที่ยั่งยืน นโยบายการกำกับดูแลกิจการนี้จึงถูกจัดทำขึ้นเพื่อแสดงถึงทิศทาง และกรอบการดำเนินการในการกำกับดูแลกิจการของธนาคารตามหลักการการกำกับดูแลกิจการที่ดี ความมุ่งหมายของธนาคารกรุงเทพ คือ การเป็นธนาคารที่ให้บริการด้านการเงินที่มีคุณภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป้าหมาย มีความพร้อมด้วยบุคลากรที่มีคุณภาพ มีเทคโนโลยีและระบบงานที่ทันสมัย คงไว้ซึ่งความเป็นสากล ตลอดจนการเป็นธนาคารชั้นนำแห่งภูมิภาคเอเชีย ดังนั้น เพื่อให้บรรลุความมุ่งหมายดังกล่าว ธนาคารจึงกำหนดนโยบายการกำกับดูแลกิจการให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและภูมิภาคธนาคารกรุงไทย วิสัยทัศน์ (Vision) ธนาคารแสนสะดวก (The Convenience Bank) สำหรับลูกค้ารายย่อย ภาคธุรกิจ ภาครัฐ และสถาบัน พันธกิจ (Mission) o เป็นสถาบันการเงินชั้นนำ o มุ่งเน้นการให้บริการที่เป็นเลิศ o สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีได้อย่างยั่งยืน o ส่งเสริมการสร้างทุนทางปัญญา o ยึดมั่นในหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี

รูปแบบ: เป็นอิสระ นกวายุภักษ์หลุดจากกรอบจำกัด เพื่อการโบยบินที่เป็นอิสระและคล่องตัวยิ่งกว่า

สี: สีฟ้า หมายถึง ความทันสมัย อิสระที่ไร้ขอบเขต พลังแห่งความกระตือรือร้น และมุ่งมั่นที่จะโบยบินนำพาไปสู่ความก้าวหน้าที่กว้างไกลทั่วแผ่นฟ้าไทย และสีฟ้า SKY BLUE ยังสื่อถึงความรู้สึกสะดวกสบาย เป็นคนกันเอง ที่ลูกค้าทุกคนจะได้รับจากธนาคารกรุงไทย

ตัวอักษร: มั่นคง หนักแน่น ทันสมัย มั่นคง หนักแน่น: ด้วยตัวอักษรตรง ทันสมัย: ด้วยเส้นของตัวอักษรที่ตรงเฉียบคมผสมผสานกับเส้นโค้งที่ดูนุ่มนวล มีความเป็นกันเอง

ให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ธนาคารจึงให้ความสำคัญกับแผนงานที่มุ่งเน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง พร้อมทั้งมีแผนงานด้านการตลาดและการปรับปรุงภาพลักษณ์องค์กรให้เด่นชัดมากยิ่งขึ้น เพื่อสร้างประสบการณ์ให้ลูกค้ารับรู้ สัมผัสและจดจำ ในการเป็นธนาคารแสนสะดวกของธนาคาร โดยในปี 2554 ธนาคารจะเน้นการผลักดันแผนงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายสำคัญใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้าน Convenience Bank ได้กำหนดแผนงาน Benchmarking ผลิตภัณฑ์และบริการหลักของธนาคาร ใน 5 มิติ คือ Product, Process, People,Place และ Promotion เพื่อพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพบริการให้เทียบเคียงหรือไม่ด้อยกว่าคู่เทียบ

ด้าน Sustainable Growth เน้นการเติบโตอย่างต่อเนื่องภายใต้การบริหารจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ โดยมีแผนกลยุทธ์ในการรักษาฐานลูกค้าเดิมและขยายฐานลูกค้าใหม่ ด้วยการเสนอแผลตอบแทนที่จูงใจ ทั้งด้านเงินฝาก เงินให้สินเชื่อและเงินลงทุน รวมทั้งการเป็นผู้นำตลาดด้าน Processing Bank การขยายฐานลูกค้า Cash Management ไปยังหน่วยงานภาครัฐและเอกชน การขยายฐานลูกค้านำเข้า – ส่งออก และร่วมกับบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินเร่งขยายฐานลูกค้า Non–Bank Product เพื่อเพิ่มรายได้ค่าธรรมเนียมให้มากขึ้น

ด้าน Bank for Government สนับสนุนนโยบายและการดำเนินงานภาครัฐ โดยขยายบริการ Agent Bank ธนาคารชุมชน และ Government Bank Gate Way เพื่ออำนวยความสะดวกในการบริการประชาชน

โครงการที่สำคัญของธนาคารในปี 2554 ประกอบด้วย

1. โครงการ Benchmarking บริการหลักของ ธนาคารกับคู่เทียบ
2. โครงการยกระดับการให้บริการลูกค้า และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยเฉพาะในเขต กทม.
3. โครงการองค์กรแห่งการเรียนรู้
4. โครงการ Branding Strategy / Marketing Communication Strategy

ธนาคารกสิกรไทย ประวัติธนาคาร ธนาคารกสิกรไทย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2488 ด้วยทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท และพนักงานชุดแรกเริ่มเพียง 21 คน มีอาคารซึ่งเป็นสาขาสำนักถนนเสือป่าในปัจจุบันเป็นที่ทำการแห่งแรก การดำเนินงานของธนาคารประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี เพียง 6 เดือนหรือเพียงงวดบัญชีแรกที่สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2488 มียอดเงินฝากสูงถึง 12 ล้านบาท มีสินทรัพย์ 15 ล้านบาท จากจุดที่เริ่มต้นจนถึงวันนี้ ธนาคารกสิกรไทยเติบโตอย่างมั่นคง ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555 มีทุนจดทะเบียน 30,486 ล้านบาท มีสินทรัพย์จำนวน 2,005,460 ล้านบาท เงินรับฝากจำนวน 1,398,295 ล้านบาท เงินให้สินเชื่อจำนวน 1,295,008 ล้านบาท มีสาขาในประเทศ จำนวน 824 สาขา โดยเป็นสาขาในกรุงเทพมหานครจำนวน 288 สาขา สาขาในส่วนภูมิภาคจำนวน 536 สาขา และมีสาขาหรือสำนักงานตัวแทนต่างประเทศจำนวน 8 แห่ง ได้แก่ สาขาลอสแองเจลิส สาขาฮ่องกง สาขาหมู่เกาะเคย์แมน สาขาเซินเจิ้น สำนักงานผู้แทนกรุงปักกิ่ง สำนักงานผู้แทนนครเซี่ยงไฮ้ สำนักงานผู้แทนเมืองคุนหมิง และสำนักงานกรุงโตเกียว สาขาและสำนักงานผู้แทนในต่างประเทศเหล่านี้ ให้บริการและส่งเสริมความสะดวกต่างๆ ด้านการค้า การเงินระหว่างประเทศไทยและประเทศคู่ค้าทั่วโลก

ตลอดระยะเวลากว่า 67 ปีที่ผ่านมา ธนาคารมุ่งมั่นในการพัฒนาองค์กรและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อ ให้บริการที่เป็นเลิศแก่ลูกค้า ภายใต้คำขวัญของธนาคารที่ว่า “บริการทุกระดับประทับใจ” ภารกิจ ค่านิยมหลัก วิสัยทัศน์ ภารกิจ ธนาคารกสิกรไทย มุ่งมั่นในการเป็นสถาบันการเงินไทยที่แข็งแกร่ง สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วยบริการด้านการเงินที่หลากหลาย ครบถ้วน ในคุณภาพมาตรฐานสากล โดยผสมผสานการใช้เทคโนโลยีและทรัพยากรมนุษย์ ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุผลที่ดีและเป็นธรรม ต่อลูกค้า ผู้ถือหุ้น พนักงาน และประเทศไทย ค่านิยมหลัก o การยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง o การทำงานร่วมกันเป็นทีมของทั้งเครือ o ความเป็นมืออาชีพ o การริเริ่มสิ่งใหม่ วิสัยทัศน์ ธนาคารกสิกรไทยมุ่งมั่นเป็นสถาบันการเงินที่มั่นคงที่สุด ที่ริเริ่มในสิ่งใหม่ และกระทำทุกวิถีทางเพื่อเป็นสถาบันการเงินไทยที่ให้บริการอย่างดีที่สุดแก่ลูกค้า ตราสัญลักษณ์ ความหมายของตราสัญลักษณ์ วงกลม • แสดงถึงความสมดุลและสมบูรณ์ ซึ่งแทนความไม่สิ้นสุด ก่อให้เกิดพลังความ สามัคคี กลมเกลียวเงินไม่รั่วไหล สามารถแก้ไขอุปสรรคทั้งมวล รวงข้าว  เป็นธาตุไม้แสดงถึงความเจริญรุ่งเรือง คลื่น  เปรียบเสมือนน้ำ ซึ่งบำรุงต้นข้าว ส่งเสริมให้อุดมสมบูรณ์ เจริญเติบโตยิ่งขึ้น และน้ำ หมายถึง เงิน ลายเส้น 6 เส้น เลข 6 คือ ดาวศุกร์ ซึ่งเป็นดาว เงิน สอดคล้องกับธุรกิจธนาคาร สี สีเขียว หมายถึง ธาตุไม้เป็นสีที่เหมาะสมเนื่องจากปีที่ก่อตั้งธนาคารเป็นธาตุไม้ สีเทา เป็นสีของธาตุน้ำ สีเข้ม เสมือนน้ำลึก หมายถึง เงินทองหนาแน่นเป็นปึกแผ่น สีแดง หมายถึง ธาตุไฟ ซึ่งสอดคล้อง สมดุลกับธาตุน้ำและธาตุไม้ ความหมายโดยรวม สรุปโดยรวมว่า ธาตุน้ำก่อให้เกิดธาตุไม้ และธาตุไม้ก่อให้เกิดธาตุไฟ เป็นการผสมธาตุที่กลมกลืนสมดุล ก่อให้เกิดสิริมงคลและความก้าวหน้า ธนาคารธนชาต ประวัติธนาคาร ธนาคารธนชาต จำกัด(มหาชน) (ธนาคารธนชาต) เดิมเป็นสถาบันการเงินที่ประกอบธุรกิจในชื่อ บริษัทเงินทุน เอก

จากการที่ได้ไปศึกษางาน ที่ Set in the city at Siam paragon hall เป็นงานที่ใหญ่มากและรวมแหล่งลงทุนและสถาบันการเงินไว้มากมายมีทั้งการให้ความรู้กับผู้สนใจทั้่วไป กับ ผู้ที่สนใจจะลงทุนร่วมกัน มีบูธการแจกของสมนาคุณ เล่นเกม มีน้ำ ไอติม แจกและถ่ายรูปร่วมกับมาสคอสประจำบูธด้วย ภายในงาน แบ่งเป็น หก โซน ได้แก่ หนึ่ง Investment on Stage รวมนักวิเคราะห์ชั้นนำจากสิบบริษัทหลักทรัพย์ชั้นำมาให้ความรู้เกี่ยวกับการลงทุน สอง จุดแรกของสมนาคุณ สามคือกลุ่มธนาคาร บล บลจ ประกันภัยต่างๆ สี่คือ Vision Talk on Stage เวทีสัมณาการลงทุนสำหรับผู้ที่สนใจการลง แต่ต้องอายุ ยี่สิบปีขึ้นไปถึงจะลงทุนได้ ห้า Financial Planning โดยสมาคมนักวางแนการเงินไทย และสุดท้าย มีการจดทะเบียนภาครัฐและเอกชน จากบูธแรกที่ได้ศึกษา คือ บริษัทเมืองไทยประกันชีวิต โดยให้ความรู้ของผู้ที่สนใจทำประกันชuวิตมีโปรโมชั่นมากมาย อาทิ บำนาญแบบลดหย่อนได้ กับ ประกันเพิ่มโรคร้ายเป็นต้น สำหรับผู้ลงทุนว่ากิจการมีมายาวนานกว่าหกสิบปีและแข็แกร่งทางการเงินโดยปี 2011 มียอดสินทรัพย์รวม116,442 ล้านบาท และมีเงินสำรอง 96,489 ด้วยกันมีนิตยสารแจกฟรีชื่อซอกแซก ที่สอดแทรกเนื่อหาเกี่ยวกับบริษัททั้งสิ้น ต่อมาก็เป็นบริษัทตลาดหลักทรัพย์ ชื่อ May bank Kim Eng เป็นะนาคารอันดับหนึ่งจากประเทสมาเลเซีย และ AIA ประกันชีวิตโดยมีโปรโมชั่น AIA LINK คือกรมธรรม์ที่ให้ทั้งการคุ้มครองชีวิตและโอกาสในการลงทุน พร้อมคำแนะนำ และยังได้ไอติมแกฟรี พร้อมสมุดโน๊ตด้วยและหนังสือประวัติของบริษัทว่าเป็นบริษัทประกันที่ใหย่ติดอันดับห้าของโลกและดำเนินการมากว่า 75 ปีในปีนี้ โดยมี CEO of Thailand is Mr . Ron wan Oyen และบูธที่น่าสนใจที่สุดก่อนการที่เราจะคิดลงทุนอะไรนั้นคงเป็น ก ล ต หรือ กองทุนรวม ที่มีหน้าที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการที่จะเราจะลงทุน โดยให้คำแนะนำ เทคนิคการดูแลตนเองเมื่อลงทุน สิทธิของผู้ลงทุนไทยร้องเรียนอย่างไรให้ได้ผล ลงทุนในหุ้นอย่างไรให้ไกลปัญหา เรื่องน่ารู้ของผู้ถือหุ้นทั้งหมดนี้มีโบรชัวร์ให้ความรู้ด้วย โดยมีบริการ Private Wealth ที่แนะนำด้านวางแผนการลงทุน โดยสามารถลงทุนและดูผลผ่านระบบออนไลน์ได้ และบริษัททุนยักใหย่ของงานนี้คงเป็น บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด มหาชน ที่มีการให้ลงหุ้นกับสัมปทานทางด่วนสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอก กทม โดยมีทั้ง BECL มีจดทะเบียน 8 พันล้านบาท แต่หากเป็น NECL มีทุนจดทะเบียน 6 พันล้านบาท มีแผนที่ให้ศึกษาเส้นทางด้วย และบริษัท ช การช่าง เป็นกลุ่ม อุตสาหกรรมและอสังหาริมทรัพย์โดยผลงานการก่อสร้างที่ผ่านมาอาทิ ระบบขนส่งมวลชนคือรถไฟ้ฟ้าใต้ดิน สนามบิสุวรรณภูมิ ทางด่วน บางปะอิน ปากเกร็ด ท่าเรือน้ำลึกภูเก็ต เป็นต้น มีหนังสือรายงานประจำปีแจกให้ดูความสำเร็จอีกด้วย และ บมจ การไฟ้ฟ้าราชบุรี โฮสดิ้งมีแจกรายงานประจำปีอีกเช่นกัน ในนั้นมีทั้ง ประวัติ วิสัยทัศน์ การบริหาร อุตสาหกรรมและรวมผู้ถือหุ้นยักษ์ใหญ่ รวมทั้ง ความสำเร็จจากปีที่แล้ว คือยอดงบ นั่นเอง และบริษัทเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพมหานคร ที่นำโดย ผศ ดร สิงห์ อินทรชูโต เป้นผู้เขียนให้คำแนะนำเกี่ยวกัย Green Network ที่แนะนำการลดโลกร้อน อาทิ พลังงานแสงอาทิตย์ บ้านเย็น และระบบเครื่องบินEco อีกด้วย ต่อมาเป็น ธนาคารต่างๆ ที่คุ้นเคยคงเป็นธนาคารกรุงไทยที่มีให้เล่นเกมแจกรางวัลเป็นสมุดโน็ตกับพวงกุญแจ และ สารพันการลงทุน โดยมีโปรโมชั่น การลดหย่อนภาษี กับการลงทุนและ ลงทุนแบบใหนขนาดใหนให้เหมาะกับตัวเรา ปรึกษาฟรี สำหรับธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นเรื่องของการขายกรมทัณฑ์ ประกันชีวิต ทั้งสุขใจอาวุโส และสุขใจวัยวนรวมถึง ประกันรถยนต์อีกด้วย ธนาคารที่ไม่เคยได้ยินชื่อ คือ ธนาคารไทยเครดิต ดดยจะเป็นการปล่อยสินเชื่อให้กับผู้สนใจ จำนำทอง เงินฝากปลอดภาษี เป็นต้น ธนาคาร TMB มีกองทุนให้ลงทุนชื่ิอ ไทยธนพลัสโดยแบ่งเป็น ตราสารหนี้ ตลาดเงิน และทองคำ รวมถึงตราสารหนี้ต่างประเทศด้วย มี นโยบาย จุดเด่น และความเสี่ยง ของแต่ละประเภท สุดท้าย คือ K Bank หรือ ธนาคารกสิกรไทย มีระบบ K Expert บริการสำหรับ คนอยากมีบ้าน อยากไปเที่ยวตามฝัน อยากเป็นเจ้าของธรุกิจ อยากสบายวัยเกษียณ อยากสร้างครอบครัวมั่นคงเป็นต้น โดยจะมีคำแนะนำและปล่อยสินเชื่อตามความต้องการ

  สำหรับการไปงานนี้ได้รับความรู้ใหม่ๆรวมถึงเห็นโลกของการลงทุน ในวงกว้างและสนุกกับการเลนเกมได้รางวัล และหยิบทุกโบรชัวเก็บเกี่ยวทุกความรู้ของทุกบูธที่ เดินผ่าน ถือว่าเป็นการ"ลงทุน"ที่คุ้มมาก และ แทบไม่เสียอะไรเลย 

ภายในงาน "SET in the City 2012" ได้มีการให้ความรู้แก่ผู้สนใจลงทุนมากมาย ตั้งแต่หน้าใหม่ไปจนถึงนักธุรกิจ และยังมีการเล่นเกมส์เพื่อแจกของรางวัลต่างๆเพื่อเป็นของที่ระลึก

ความรู้สึกของดิฉันที่ได้ไปงาน "SET in the City 2012"

 เมื่อก่อนดิฉันคิดว่า การทำงาน เก็บเงิน ฝากธนาคาร แล้วสักวันฉันจะรวย มีบ้าน มีรถ มีเงินเลี้ยงครอบครัวให้อยู่ได้อย่างสบาย หลังจากที่ดิฉันได้เข้าไปฟังสัมมนาเกี่ยวกับนักลงทุนมือใหม่ทำให้ความคิดดิฉันเปลี่ยนไป
 ในความเป็นจริงแล้ว ด้วยสภาพเศรษฐกิจในตอนนี้ ผนวกกับเงินเดือนที่คาดว่าจะได้รับในอนาคต (2-3หมื่น) การที่จะเลี้ยงดูครอบครัวให้สบาย หรือทำอย่างที่ดิฉันกล่าวไว้ในข้างต้นนั้นแทบเป็นไปไม่ได้เลย หนทางที่ดิฉันจะเข้าสู่อิสรภาพทางการเงินได้นั้นมีเพียงอย่างเดียวคือ "การลงทุน"
 ในตอนนี้ดิฉันไม่คิดว่าการฝากเงินในธนาคารเพื่อกินดอกเบี้ยจะทำให้ดิฉันมั่งมีขึ้แต่อย่างใด ดูเป็นคนโง่เสียด้วยซ้ำ เพราะว่า ธนาคารให้ดอกเบี้ยเราเพียงไม่กี่เปอร์เซนต์ต่อปี แต่เอาเงินที่เราไปฝากไปปล่อยกู้ได้เกือบสิบเปอร์เซ็น ซึ่งต่างจากการลงทุน การเล่นหุ้น รวมไปถึงกองทุนรวม เพราะอย่างน้อยเราก็ยังได้เงินปันผลสูงกว่าการฝากธนาคารหลายเท่านัก
 ถึงแม้จะมีผู้คนบอกว่าการลงทุนมีความเสี่ยง แต่ดิฉันเองคิดว่า การทำอะไรทุกอย่างมันก็เสี่ยงทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นการเดินข้ามถนน ซึ่งอาจจะโดนรถชนเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ แต่การลงทุนเราสามารถบริหารความเสี่ยงได้ โดยอาศัยความรู้ ความสามารถที่เรามีอยู่
 วิทยากรในงานบอกดิฉันว่า ถ้าคิดจะเล่นหุ้น หรือลงทุนอะไรต่างๆ เงินที่เอามาลงทุนนั้นควรจะเป็น "เงินเย็น" คือเงินที่เราเก็บออมไว้ หรือไม่คิดจะใช้แล้ว คือไม่มีมันเราก็ไม่เดือดร้อน เพราะว่าถ้าเราคิดจะลงทุนอะไรสักอย่างหนึ่ง เราต้องไม่ใจร้อน ยกตัวอย่างเช่นการเล่นหุ้น ถ้าเราซื้อมันมาในราคาที่สูง อยู่ดีดีมันตกฮวบ เราใจร้อน กลัวเสียเงินไปโดยสูญเปล่าแล้วเรารีบขาย เราก็จะตกเป็นเหยื่อของการลงทุนไป
 อย่างไรก็ตาม คนเราถ้าไม่ทำงาน ก็จะไม่มีเงินไปลงทุนหรือทำอย่างอื่น ดังนั้นดิฉันจึงคิดว่าจะตั้งใจเรียน ตั้งใจทำงานหาเงิน พร้อมทั้งศึกษาเรื่องการลงทุน เก็บเกี่ยวประสบการณ์ไปเรื่อยๆ พอถึงจุดๆหนี่งอยากลงทุนทำอะไรสักอย่าง ก็จะได้ทำได้เลย ไม่ต้องรอค่ะ

จากที่ได้ไปดูงาน SET in the City 2012 จัดขึ้นที่รอยัล พารากอน ฮอลล์ ชั้น5 กรุงเทพมหานคร ซึ่งเข้าไปใน Hall 1 ก็พบกับบริษัทจดทะเบียนหน่วงงานภาครัฐและเอกชน เช่น บมจ.ปตท. บมจ.เอสพีซีจี บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง บมจ.ช.การช่าง บมจ.ทางด่วงกรุงเทพ บมจ.ผลิตไฟฟ้า บมจ.แสนสิริ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นต้น ใน Hall 1 นี้มีการเล่นเกมส์แจกของรางวัล กดแฟนเพจได้รับกระเป๋า แจกหนังสือ แผนพับต่างๆ สิ่งที่ได้รับในHall 1 นี้คือ ได้รู้จักขั้นตอนการลงทุนในหุ้น 1. กำหนดเป้าหมายและระยะเวลาลงทุน 2. วิเคาระห์ปัจจัยพื้นฐาน 3. ประเมินมูลค่าที่แท้จริง 4. หาจังหวะลงทุน 5. ตัดสินใจซื้อขาย 6. ติดตามผลการลงทุน สำนักงาน ก.ล.ต. หรือ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ มีสถานะเป็นองค์กรของรัฐทำหน้าที่ในการกำกับดูแลและพัฒนาตลาดทุนของประเทศให้มีประสิทธิภาพ ยุติธรรม โปร่งใส วิธีเรียกร้องให้ได้ผลคือ 1. ตั้งสติ ลำดับเหตุการณ์ ควรคำนึงถึงเรื่องให้ชัดเจน ว่าท่านจะร้องเรียนเรื่องอะไร? วัตถุประสงค์ในการร้องเรียนคืออะไร? ร้องเรียนบุคคลหรือนิติบุคคลใด? ในเบื้องต้น ควรไปร้องเรียนที่หน่วยงานกำกับดูแลและการปฏิบัติงาน (Compliance Unit ) 2. หลักฐานที่สำคัญที่สุด เช่น ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพย์ที่ติดต่อได้ของผู้ร้องเรียน วัตถุประสงค์ในการร้องเรียน/ชี้เบาะแส ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ของผู้ถูกร้องเรียน รายละเอียดของเรื่อง หลักฐานที่เกี่ยวข้อง/เบาะแส เป็นต้น 3. ใช้ช่องทางร้องเรียนที่ท่านสะดวก ส่วน Hall 2-3 ก็พบกับ กลุ่มธนาคาร บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน โกลด์ฟิวเจอร์ส ประกันภัย เช่น บล.กสิกร บล.ไทยพาณิชย์ บล.กรุงศรี บล.กรุงไทย บล.โกลแบล็ก บล.บัวหลวง บล.เกียรตินาคิน บล.ทิสโก้ เป็นต้น สิ่งที่ได้รับรู้ใน Hall 2-3 คือ การซื้อ-ขายหุ้น การเล่นหุ้น สิ่งที่สำคัญในการเล่นหุ้นคือ เราต้องอายุ 20 ปีขึ้นไปถึงจะสามมารถเล่นหุ้นได้ และการคิดวิเคาระห์ในการซื้อ-ขายหุ้น การตัดสินใจในการซื้อ-ขาย ก่อนที่เราจะเล่นหุ้นจริง เราควรที่จะศึกษาก่อน วิธีการศึกษาคือ การอ่านวิธีการเล่นหุ้น และเล่นเกมส์ Click2win ซึ่งเป็นเกมส์ที่เสมือนจริงกับการเล่นหุ้น มีการซื้อ-ขาย การเสียเงิน ได้รับเงิน โดยที่เกมส์จะมีเงินไว้ให้เราแล้ว แต่ก่อนที่เราจะเล่นเราต้องเปิดบัญชีก่อน และได้เห็นทองคำแท่งที่สวยงามม ในงานนี้มีการซื้อ-ขายทองคำเเท่ง ซื้อแล้วได้ทองคำแท่งเลย การที่ได้ไปศึกษาดูงาน SET in the City นี้ทำให้รู้ว่า การเงินมีวงกว้าง มีนักลงทุนมากมาย มีการแข่งขันกัน และทำให้รู้ว่าข้างหน้าเราต้องทำอย่างไรเพื่อวันในอนาคต และที่สำคัญงานนี้ทำให้ได้รับความรู้มากมาย เกี่ยวกับการลงทุน การเล่นหุ้น แนวทางในการมีงานทำ ขั้นตอนในการลงทุนในหุ้น มีโปรโมชั่น การลดหย่อนภาษี ปรึกษาเรื่องการลงทุน แถมในงานยังมีการแนะนำแอพฟลิเคชั่นที่ทันสมัย ให้โหลดมาใช้สำหรับผู้ที่มี Smart phone แอพฟลิเคชั่นนี้ชื่อว่า "Opportunity Day" เป็นแอพฟลิเคชั่นเพื่อการซื้อขายหุ้นได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น เหมาะกับบุคคลที่ไม่มีเวลานั่งหน้าคอมพิวเตอร์ทั้งวัน งานนี้สนุกและได้รับความรู้มากมายเลยรวมทั้งได้ของแจกฟรีอีก

     จากการได้ไปชมและได้ศึกษาที่มหกรรมการลงทุนครบวงจรแห่งปี SET in the City กรุงเทพมหานคร 2012 ระหว่างวันที่ 22-25 พ.ย. 55 เวลา 10:00-20:00 น. ที่รอยัล พารากอน ฮอลล์ ชั้น5 สยามพารากอน ในงานได้มีการแบ่งเป็นโซนๆ ได้แก่ โซนที่1 Investment on Stage ระดมทุกความเห็น มุมมองของนักวิเคราะห์ชั้นนำระดับตำนาน พร้อมสัมมนาเด็ด เนื้อหาดีจาก 10 บริษัทหลักทรัพย์ชั้นนำ โซนที่2 จุดแลกของสัมมนาคุณ สมาคม TFPA/ASCO/TIA โซนที่3 Hall 2-3 กลุ่มธนาคาร/บล./บลจ./โกลด์ฟิวเจอร์ส/ประกันภัย โซนที่4 Vision Talk on Stage Seminar Hall 1 เวทีสัมมนาการลงทุนแห่งปี ที่คุณเข้าถึงได้เวทีเดียว ที่จะเปิดวิสัยทัศน์ 360ํ การลงทุนเจาะลึก รู้จริง ทันทุกกระแสการลงทุนโลก กับนักวิเคราะห์ นักกลยุทธ์ นักวิชาการ ผู้บริหารองค์กรรัฐและเอกชนชั้นนำแลกเปลี่ยนมุมมองเข้มข้น เต็มตลอด 4 วัน พร้อมตอบทุกคำถามเรื่องการลงทุนที่คุณอยากรู้ สดๆ ผ่าน facebook  โซนที่5 SET in the City Room 1-2  22-23 Opportunity Day , 24-25 Financial Planning โดยสมาคมนักวางแผนการเงินไทย โซนที่6 Hall 1 บริษัทจดทะเบียน หน่วยงานภาครัฐและเอกชน และได้มีการเปิดบูธมากมาย เช่น บูธเมืองไทยประกันชีวิต มีหลักประกันมากมาย อาทิ เมืองไทยคุ้มครองตลอดชีพ 99/20 เน้นความคุ้มครองชีวิต ลดหย่อนภาษีได้  ออมทรพย์ 20/14 เน้นการออมทรัพย์ลดหย่อนภาษีได้  เมืองไทยทวีทรัพย์ 15/7 พลัส มีเงินจ่ายคืนระหว่างสัญญา ลดหย่อนภาษีได้ ความคุ้มครองชีวิตมากขึ้น  เมืองไทยธนพันธุ์ ผลตอบแทนที่งอกเงยให้คุณและครอบครัว  สัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพ แบบแยกค่าใช้จ่ายและแบบวีไอพี ครอบคลุมค่าห้อง ค่าอาหารและค่ารักษาพยาบาล เน้นเรื่องสุขภาพ  สัญญาเพิ่มเติมแฮปปี้ ลีฟวิ่ง โรคร้ายแรง 30 โรค เสียชีวิตทุกกรณี เบี้ยประกันภัยไม่แพง  สัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยอุบัติเหตุ แบบ ก,ข,ค เบี้ยประกันไม่แพง เน้นเรื่องอุบัติเหตุ  ไทยประกันชีวิต ได้รู้วิธีการวางแผนการเงินให้ชีวิตออกแบบได้ 1. เริ่มต้นจากการออม สู่สภาพคล่องทางการเงิน  2. เส้นทางลดรายจ่าย ด้วยการวางแผนภาษี  3. ออมเพื่อการศึกษา คุณค่าสำหรับบุตรสุดรัก  ธนาคารกรุงไทยหรือKTAM การบริหารการเงินอย่างครบมิติกับกรุงไทยธนบดี  ภาวะตลาดการเงินและตลาดทุน ค่อนข้างผันผวนไร้ทิศทาง โดยตลาดตราสารหนี้และธนาคารพาณิชย์ ปรับตัวดีขึ้นขณะที่ตลาดหุ้นค่อนข้างผันผวน อัตราแลกเปลี่ยนทรงตัว ส่วนอัตราดอกเบี้ยกลับปรับลดลงเหนือความคาดหมาย  เอไอเอ ประเทศไทย  การบริหารการลงทุนที่เลือกได้ พอร์ตโฟลิโอ โมเดล เอไอเอ มีบริการจัดพอร์ตโฟลิโอ การลงทุนให้เหมาะสมตามความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงของคุณโดยแย่งเป็น 3 ระดับ คือ พอร์ตโฟลิโอความเสี่ยงต่ำ(Conservative)  สำหรับนักลงทุนที่มีความระมัดระวังสูงโดยต้องการผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝากประจำทั่วไป อย่างไรก็ตามคุณยอมรับความเสี่ยงได้น้อย อาจเพราะต้องการรักษาสินทรัพย์ที่ได้สะสมมาคุณสามารถลงทุนในตราสารหนี้ระยะ 2-3 ปี  พอร์ตโฟลิโอความเสี่ยงปานกลาง(Moderate)  สำหรับนักลงทุนที่มีความรอบคอบและต้องการสร้างพอร์ตการลงทุนที่มีความสมดุล เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางการเงินในระยะยาว คุณสามารถยอมรับความเสี่ยงได้หากการลงทุนนั้นให้โอกาสการได้รับผลตอบแทนที่ดี ระยะเวลาในการลงทุนมากกว่า 3 ปีขึ้นไป โดยลงทุนทั้งในตราสารหนี้ และตราสารทุน พอร์ตโฟลิโอความเสี่ยงสูง(Growth) สำหรับนักลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงและความผันผวนของราคาได้ค่อนข้างสูง สามารถลงทุนในตราสารทุนได้มากกว่าครึ่งหนึ่งของเงินลงทุน และมีเป้าหมายในการลงทุนในระยะกลางถึงระยะยาว  การปรับสัดส่วนการลงทุนอัตโนมัติ(Automatic Fund Re-balancing Program) บริการปรับสัดส่วนการลงทุนอัตโนมัติ ช่วยรักษาสัดส่วนการลงทุนทีคุณออกแบบไว้ให้คงเดิม เนื่องจากราคาหน่วยลงทุนอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามสภาวะตลาด ด้วยวิธีการปรับสัดส่วนอัตโนมัติทุกไตรมาส โดยระบบจะทำการขายและซื้อหน่วยลงทุนอัตโนมัติเพื่อเพิ่มและลดสัดส่วนแต่ละกองทุน  การสับเปลี่ยนกองทุนอัตโนมัติ(Automatic Fund Switching Program) บริการสับเปลี่ยนกองทุนอัตโนมัติ ใช้หลักการเฉลี่ยต้นทุน หรือ Dollar Cost Averaging คือวิธีการกระจายความเสี่ยงสำหรับการลงทุนระยะยาวด้วยการลงทุนอย่างสม่ำเสมอในจำนวนที่เท่ากัน ทุกรอบระยะเวลา เช่น ลงทุน 1,000 บาท ทุกๆเดือน โดยไม่ต้องคำนึงถึงทิศทางของตลาดที่ลงทุนว่าจะเป็นช่วงขาขึ้น หรือลง ทั้งนี้ ด้วยจำนวนเงินลงทุนที่คงที่ หากราคาหน่วยลงทุนสูงขึ้น จะทำให้ผู้เอาประกันภัยได้รับจำนวนลงทุนน้อยลง ในทางกลับกัน หากราคาหน่วยลงทุนลดลง ผู้เอาประกันภัยจะได้รับจำนวนหน่วยลงทุนมากขึ้น ดังนั้น จึงเป็นการเฉลี่ยต้นทุนในการลงทุนซึ่งเหมาะสมกับช่วงที่ตลาดมีความผันผวน  RATCH บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง การบริหารการเงิน บริษัทมีนโยบายการบริหารการเงินที่มุ่งเน้นความเพียงพอของเงินทุนเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของบริษัท โดยคำนึงถึงสภาวะการเปลี่ยนแปลงของตลาดการเงินทั้งในและต่างประเทศความสำเร็จในการบริหารการเงินที่สำคัญในปี 2554 ประกอบด้วย 1. การ Refinance เงินกู้ของบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด  2. การจัดหาเงินทุนเพื่อการเข้าซื้อหุ้นกองทุน Transfiled Services Infrastructure ประเทศออสเตรเลีย 3. ผลการจัดอันดับเครดิตองค์กรของบริษัท ในปี2554   ธนาคารกสิกรไทย ได้มีการแจกเอกสารประกอบการอธิบาย เช่น อยาก....มีบ้าน ได้ให้ความสนใจกับคนที่อยากซื้อบ้าน มีให้เลือกว่าอยากได้บ้านแบบไหน ซื้อด้วยเงินสดหรือเงินผ่อนก็ได้และสามารถเลือกทำเลได้ด้วย, อยาก...สบายวัยเกษียณ มีการวางแผนในการออมเงิน,  อยาก...มีรถคันใหม่ ให้คำปรึกษาอยากได้รถแบบไหน และให้วิธีการออมอย่างไรกับรถคันแรก และให้คำปรึกษาการใช้จ่ายที่ตามมาหลังซื้อรถ, อยาก...ปลดหนี้ ให้คำปรึกษาในเรื่องหาวิธีปลดหนี้  อยาก...ฝาก ถอน โอน ให้ง่ายๆ, อยาก...สร้างครอบครัวที่มั่นคง, อยาก...มีเงินเก็บ เมื่อเริ่มทำงาน, อยาก...ไปเที่ยวตามฝัน, อยาก...ประหยัดภาษี และมีพี่ๆคอยให้ความรู้มากมาย  Maybank Kim Eng  เป็นบริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ 999/9 อาคารสำนักงาน ดิ ออฟฟิศเศสแอท เซ็นทรัล เวิลด์ ชั้น 20-21,24 ถนนพระราม1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพ 10330 ผลิตภัณฑ์และบริการ มีการบริการนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ บริการตัวแทนซื้อขายตราสารอนุพันธ์ บริการการลงทุนในต่างประเทศ บริการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ บริการสินเชื่อเพื่อการลงทุน บริการซื้อขายตราสารหนี้ ที่ปรึกษาการลงทุนกองทุนรวม ที่ปรึกษาด้านวางแผนการลงทุน บริการชำระค่าซื้อสินทรัพย์ด้วยหน่วยลงทุน บริการด้านวาณิชธนกิจ บริการที่ปรึกษาการเงิน บริการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ บริการที่ปรึกษาการควบรวมกิจการ บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ มีบัญชีเงินสด บัญชีเงินฝากล่วงหน้า บัญชีมาร์จิ้น  บัญชีซื้อขายตราสารอนุพันธ์ ผู้ลงทุนจะต้องวางหลักประกันของสินค้าแต่ละประเภทซึ่งจะไม่เท่ากันในแต่ละประเภทสินค้าก่อนเปิดสถานะของสัญญา การลงทุนในต่างประเทศ แมย์แบงก์ (ประเทศ) พร้อมที่จะให้บริการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์หลักทั่วโลก ทั้งในภูมิภาคเอเซีย อเมริกาเหนือ โดยมีผู้เชี่ยวชาญการลงทุนในต่างประเทศคอยให้คำแนะนำ รวมทั้งบทวิเคราะห์หลักทรัพย์เพื่อประกอบการตัดสินใจจากทีมนักวิเคราะห์ของเมย์แบงก์ กิมเอ็ง ซึ่งมีอยู่ทั่วทั้งภูมิภาค โดยผู้ลงทุนสามารถเลือกช่องทางการส่งคำสั่งซื้อขาย ได้ทั้งทาง Internet หรือผู้แนะนำการลงทุนของเรา 

 

 

 

 

 

 

 

จากการที่ได้ไปศึกษาดูงาน SET IN THE CITY ครั้งนี้ได้รับความรู้มากมาย เกี่ยวกับการเงิน เศรษฐกิจ และการลงทุน โดยในงานจะมีกิจกรรมต่างๆมากมาย มีสถาบันที่เกี่ยวกับการเงิน การลงทุน และบริษัทประกันชีวิต ซึ่งสถาบันต่างๆเหล่านี้จะมีวิธีการให้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันของตัวเอง โดยการแจกแผ่นพับ บ้างก็ให้กดไลค์ในเฟสบุ๊ค บ้างก็ให้เล่นเกมเพื่อแลกของรางวัล บ้างก็แจกหนังสือ และยังมีวิทยากรคอยแนะนำให้ความรู้ต่างๆมากมาย และจากเอกสารที่ได้มามีความรู้เกี่ยวกับการลงทุนเป็นส่วนใหญ่จะขอยกตัวอย่างมาเพียงบางส่วนหรือส่วนที่ได้ทำการศึกษาแล้ว คือเรื่อง 4 หลักการ มือใหม่ในการลงทุน(1.)เริ่มต้นที่รู้จักตัวเองสำรวจว่าตัวเองมีความพร้อมในการลงทุนหรือยังซึ่งควรสำรวจปัจจัยดังนี้ 1.มีความสนใจ มีเงินออมเหลือจากการใช้จ่ายและพร้อมที่จะลงทุน 2.รู้ความสามารถในการรับมือความเสี่ยงของตัวคุณเอง3.รู้จักผลตอบแทนและความเสี่ยงจากการลงทุน4.รู้จักกระาจายความเสี่ยงไปยังการลงทุนประเภทต่างๆ 5.รู้เกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่ต้องการลงทุน6.รู้แหล่งข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจ (2.)รู้จักตราสารและทางเลือกการลงทุน หลังจากตรวจความพร้อมของการลงทุนของตัวเองแล้ว ก็สามารถสร้างพอร์ตในการลงทุน โดยการกำหนดเป้าหมาย วางแผนการลงทุน เลือกประเภทการลงทุนที่ต้องการ สามารถรับคำปรึกษาและแนะนำเรื่องการวางแผนจากงานสัมมนาหรือเจ้าหน้าที่ตลาดหลักทรัพย์ก็ได้(3.)ต้องเตรียมตัว เอกสารอะไรหากตั้งใจจะลงทุน (4.)เกาะติดข่าวสารและบริหารพอร์ต หลังจากที่ตั้งใจจะลงทุนแล้วต้องหมั่นติดตามข่าวสารข้อมูลการลงทุนทั้งในและต่างประเทศและตรวจสอบผลการลงทุนในปัจจุบันว่าได้รับผลกระทบหรือไม่ ควรจะมีการปรับพอร์ตการลงทุนอย่างไรให้เหมาะกับสถานการณ์ และความรู้อีกอย่างที่ประทับใจและสามารถนำไปใช้ได้กับการเรียนด้วยคือ การอ่านงบการเงินอย่างไรให้ได้ประโยชน์ ส่วนประกอบในงบการเงินรายงานผู้สอบบัญชี งบดุล งบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสด งบแสดงการรับรู้รายได้และค่าใช้จ่าย งบแสดงการเปลี่ยนแปลงของผู้ถ์อหุ้น หมายเหตุประกอบการเงิน การใช้ประโยชน์จากงบการเงินการวิเคราะห์การเงินและการวิเคราะห์ การอ่านงบการเงินรายกลุ่มอุตสาหกรรม ข้อพึงระวังในการอ่านงบการเงิน

        ข้อพึงระวังในการอ่านเงิบการเงินคือ  การอ่านงบการเงินให้เกิดประโยชน์  นอกเหนือจากการพิจารณาตัวเลขในงบการเงิน  และการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินแล้ว  ผู้ลงทุนควรให้ความสำคัญกับข้อมูลอื่นๆที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในงบการเงินด้วย  เช่น  รายงานผู้สอบบัญชี  และหมายเหตุการประกอบงบการเงิน เป็นต้น  เนื่องจากอัตราส่วนทางการเงินต่างๆเพียงแสดงให้เห็นถึงแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่เราจะต้องวิเคราะห์อีกต่อไป  เช่น  อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือที่ดลง  อาจเป็นแนวโน้มที่ไม่ดี  แต่ในขณะเดียวกัน  อาจหมายถึงการสะสมวัตถุดิบที่หายากเพื่อใช้ในการขาดแคลก็เป็นได้  ซึ่งหากปล่อยให้ขาดแคลน  อาจทำให้บริษััทเสียหายหรือหยุดชะงักก็เป็นได้  ดังนั้นเพื่อทราบสาเหตุที่แท้จริงของการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของอัตราส่วนทางการเงิน  ผู้ลงทุนควรสอบถามกับบริษัทโดยตรงหรือแหล่งข้อมูลอื่นเพิมเติม
       หัวใจสำคัญของงบการเงิน งบการเงินที่ดี  มีคุณภาพ  ควรมีการรายงานข้อมูลที่ครบถ้วนต่อผู้ถือหุ้น  หรือผู้ลงทุน  เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ  ลงทุนโดยงบการเงินควรมีรูปแบบการนำเสนอและการเปิดเผยข้อมูล  ดังนี้1.แสดงรายการและข้อมูลอย่างครบถ้วน  เพียงพอ  ถูกต้อง  เข้าใจง่าย  และเชื่อถือได้  2.ไม่ปกปิดข้อเท็จจริง  หรือบิดเบือนความจริงอันเป็นสาระสำคัญซึ่งอาจทำให้ผู้ใช้งบการเงินหลงผิดและเกิดความเสียหายแก่บริษัทหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง 3.เปรียบเทียบได้กับงวดเดียวกันของปีก่อนหรืองวดก่อนหน้า  หรือกับบริษัทอื่นที่ประกอบกิจการคล้ายกัน4.เผยแพร่ข้อมูลภายในเวลาที่เหมาะสม  ไม่ล้าสมัยจนไม่ม่ประโยชน์ต่อการตัดสินใจทางธุรกิจ
     สุดท้ายนี้ก็ต้องขอบพระคุณท่านผศ.ดร.กฤษฎา สังขมณี  ที่แนะนำกิจกรรมแบบนี้ให้กับพวกเราค่ะ  และหว้งว่าจะมีกิจกรรมดีๆๆแบบนี้อีกน่ะค่ะ  สำหรับการไปงานวันนี้ได้ของติดไม้ติดมือมามากมายค่ะ  คุ้มมาก  ได้ทั้งความรุ้  ทั้งของที่ระลึก  กระเป๋า  และอีกเยอะแยะมากมายค่ะ  และดิฉันจะนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดค่ะ

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีแผนจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเรื่องการออมและการลงทุนยังส่วนกลาง และส่วนภูมิภาคผ่านรูปแบบกิจกรรม SET in the City โดยมุ่งเน้นกระตุ้นและผลักดันการขยายตัวทางเศรษฐกิจด้วยการนำเสนอด้วยเนื้อหาตามสภาวการณ์ปัจจุบัน ครอบคลุมและเป็นประโยชน์ทั้งต่อภาคธุรกิจและภาคประชาชน อีกทั้งยังผลักดันให้มีการบริหารการเงินภาคประชาชนที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนการใช้ทางเลือกการลงทุนได้อย่างเหมาะสมกับการประกอบอาชีพ ธุรกิจ และการดำเนินชีวิตผ่านช่องทางของการลงทุนได้เหมาะสมภายใต้สภาวการณ์ปัจจุบัน การจัดงานมหกรรมการลงทุนในหลักทรัพย์ เป็นการจัดงานแบบครบวงจร โดยเป็นศูนย์รวมของผู้ที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุนไม่ว่าจะเป็นบริษัทหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บริษัทจดทะเบียน หน่วยงาน สมาคมทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งตลาดหลักทรัพย์และบริษัทในเครือ สำหรับบริษัทจดทะเบียนกลุ่มพาณิช ก็จะมีหน่วยงาน คือ บมจ. ธนาคารไทยเครดิตเพื่อรายย่อย บมจ. ธนาคารกสิกรไทย บมจ. ธนาคารไทยพาณิชย์ บมจ. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา บมจ. ธนาคารกรุงเทพ บมจ. ธนาคารกรุงไทย บมจ.ธนาคารทิสโก้ บมจ. ธนาคารเกียรตินาคิน กลุ่มธุรกิจประกันภัย บ.อเมริกาอินเตอร์แนชชั่นแนลแอสชัวรันส์ บมจ. ไทยประกันชีวิต บมจ.เมืองไทยประกันชีวิต บ. แอ๊ดวานซ์ ไลฟ์ ประกันชีวิต บมจ.แมนูไลฟ์ ประกันชีวิต (ประเทศไทย) และบริษัทอื่น ๆ อีกมากมาย สำหรับบริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง ประเทศไทย จำกัด มหาชน ชื่อย่อ MBKET ถือหุ้นโดยกลุ่มเมย์แบงค์ (Maybank) ธนาคารอันดับ 1 ของประเทศมาเลเซีย บริษัท มีส่วนแบ่งการตลาดสูงสุดเป็นอันดับ1 ต่อเนื่องตั้งแต่ปี2545 จนถึงปัจจุบัน บริษัทประกอบธุรกิจหลักทรัพย์อย่างครบถาวร งานที่ปรึกษาทางการเงินและจัดจำหน่ายหลักทรัพย์มีมาตรฐานสากล โดยมีเครือข่ายในศูนย์กลางทางการเงินที่สำคัญทั่วโลก อาทิ มาเลเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ซาอุดิอาระเบีย นิวยอร์ก และลอนดอน ส่วนบริษัทผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือเอ็กโก กรุ๊ป เป็นของบริษัท ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (independent Power Ppoducer - ipp ) แห่งแรกของไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่12พฤษภาคม2535 ตามนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจของรัฐบาล เพื่อเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามา ลงทุนในธุรกิจผลิตไฟฟ้า เอ็กโก กรุ๊ป ดำเนินการผลิตไฟฟ้าในรูปแบบครบวงจร ครอบคลุมธุรกิจหลัก 3 ด้าน ได้แก่ ธุรกิจผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้า ธุรกิจการให้บริการด้านการพลังงาน ทั้งในส่วนของการเดินเครื่องบำรุงรักษาวิศวกรรม ก่อสร้าง และฝึกอบรมแก่โรงงานไฟฟ้า และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆทั้งในและต่างประเทศและธุรกิจน้ำ ตลอดระยะเวลาของการดำเนินธุรกิจรับใช้สังคม เอ็กโก กรุ๊ปมีนโยบายและแนวทางอันชัดเจนในการดำเนินธุรกิจและการขยายการเจริญ เติบโต ควบคู่ไปกับการธำรงรักษาไว้ซึ่งสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาสังคมเพื่อรักษาดุลยภาพของการอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูล และยิ่งยืนตลอดไป เอ๊กโก กรุ๊ปเป็นบริษัทที่จดทะเบียนที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ คือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและเท็ปเดีย เจเนอเรติ้ง บีวี และนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศโดยมีสัดส่วนการถือหุ้น ณ วันปิดสมุดทะเบียน รักษาดุลยภาพของการอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูล และยิ่งยืนตลอดไป นอกจากนี้ยังได้รับหนังสือจากบริษัท ช. การช่างจำกัด (มหาชน) ภายในก็จะมีเนื่อหาเกี่ยวกับ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม และกลยุทธ์ ข้อมูลสำคัญทางการเงิน ฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงาน รายงานและงบการเงินรวม และข้อมูลบริษัทอื่นๆอีกมากมาย นอกเหนือจากภารกิจหลักของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในการทำหน้าที่เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศแล้ว ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังได้ให้ความสำคัญต่อการดำเนินงานด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งเเวดล้อม เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ให้สามารถเติบโตเคียงคู่กันไปในอนาคต ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้กำหนดเเนวทางการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคม หรือ CSR เพื่อสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจแก่สังคม ไว้ 3 ด้านที่สำคัญ ได้แก่ ด้านพัฒนาการศึกษาและส่งเสริมการเรียนรู้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ด้านพัฒนาสังคม คุณภาพชีวิต และสิ่งเเวดล้อม ด้านศาสนาและศิลปวัฒนธรรม สำหรับการ ภายในงานก็จะมีกิจกรรมต่างๆ เช่น การเล่นเกมส์ชิงของรางวัล สำหรับเนื้อหาของเกมส์ก็จะสอดแทรกเกี่ยวกับการลงทุน การตอบแบบสอบถาม การได้มางานนี้ทำให้มีความรู้เพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับการลงทุนตลาดหลักทรัพย์ ได้รู้ถึงข้อมูลของบริษัทต่างๆ เพราะได้มาสัมผัสเองทำให้ได้รับความรู้นอกเหนือจากอยู่ในห้องเรียนอีกด้วย

จากที่ดิฉันได้ไปศึกษาดูงาน มหกรรมการลงทุนครบวงจรแห่งปี SET in the city ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่22-25พ.ย.2555 ที่จัดขึ้นบริเวณ ชั้น5 รอยัล พารากอนฮอลล์ ศูนย์การค้าสยามพารากอน งานนี้จัดขึ้นเพื่อให้ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับการลงทุน การขอสินทรัพย์ การจัดบูทของบริษัทเงินต่างๆ รวมทั้งมีสินค้ามาจำหน่ายในราคาที่ถูกกว่าปกติ ทั้งยังมีการร่วมสนุกกับการเล่นเกมส์ การแจกของของบูทต่างๆ แจกอาหาร ของว่างมากมาย มีการเดินขบวนของบริษัทเงินทุนต่างๆและจุดที่น่าสนใจที่สุดของงานคงจะเป็นการจัดสัมนาอบรมสำหรับผู้ที่เป็นมือใหม่หัดเล่นหุ้น กับ TISCO ซึ่งจะได้พบกับนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมากมายมาให้ความรู้ ความเข้าใจ รวมถึงการเตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนว่าประเทศไทยของเรามีความพร้อมมากเพียงใดในการรับมืออีก9ประเทศสมาชิก และแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจในอนาคต การจัดบูทก็จะแบ่งออกเป็นหลายโซนด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นบริษัทประกันชีวิต หลายๆบริษัท บริษัทอสังหาริมทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ธนาคารพานิชย์ทั้งหลาย มีการเสนอโปรโมชั่นของธนาคารต่างๆ ธนาคารกสิกรไทย หรือKแบงค์ มีระบบ K-expert สำหรับผู้ที่มีความประสงค์ อยากสบายวัยเกษียณ อยากปลดหนี้ อยากประหยัดภาษี
ธนาคารTMBAM ใครๆก็จัดทัพลงทุนได้แบบยิ้มด้วยกองทุนRMF&LTF ของบลจ.ทหารไทย เพื่อการประหยัดภาษี กองทุนรวมหน่วยลงทุนFeeder Fundที่ลงทุนในต่างประเทศ นโยบายเน้นในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองเดียวโดยนโยบายเงินปันผลคือไม่มีการจ่ายเงินปันผล ประเทศที่ลงทุนได้แก่ เกาหลีใต้ มาเลเซีย ออสเตเลีย โปรแลนด์ สวีเดน อิยิปต์ อิสราเอล เป็นต้น ธนาคารกรุงไทย แบงค์วายุภักดิ์ ภาษี..ยิ่งลด ยิ่งได้เพิ่ม การวางแผนภาษี ช่องทางการลดหย่อนภาษี ยิ่งเริ่มต้นออมเงินสำหรับการเกษียณได้เร็วเท่าใด ก็ยิ่งมีเงินเก็บไว้ใช้จ่ายหลังเกษียณมากขึ้นเท่านั้น โซล่าฟาร์ม คือ ฟาร์มที่ผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่เป็นพลังงานสะอาดปราศจากมลภาวะ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมประกอบด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด210วัตจำนวน 29160แผงกำลังผลิตไฟฟ้า6123กิโลวัตต์ และเครื่องแปลงไฟขนาด11.4กิโลวัตต์จำนวน540เครื่องติดตั้งอยู่ในพื้นที่กว่า100ไร่ สำหรับความประทับใจที่ได้รับคงจะเป็นการได้ไปเปิดประสบการณ์ใหม่และเป็นครั้งแรกกับการการที่ได้เข้าร่วมงานนี้ ได้รับความสนุกจากการร่วมกิจกรรมกับบูทต่างๆ เขาต้อนรับดีมาก แจกกระเป๋าผ้า ให้กินไอติมฟรี ทำให้เราได้รู้อะไรต่างๆมากข้น มีประสบการณ์ในการตัดสินใจต่างๆมากยิ่งข้น

จากการที่ได้ไปศึกษาดูงานมหกรรมการลงทุน SET in the city ณ สยามพารากอน วันที่ 23 พฤศจิกายน 2555 เป็นงานที่ให้ความรู้ต่างๆมากมาย แต่ละบูท ก็จัดเกี่ยวกับ การลงทุนต่างๆ ประกันภัยชีวิต ธนาคารต่างๆ การซื้อขายหุ้น และก็มีเกมส์ให้เล่น สิ่งที่ดิฉันประทับใจมาก คือ เรื่องหุ้น หุ้นหมายถึง หลักทรัพย์ที่แสดงความเป็นเจ้าของส่วนหนึ่งในบริษัท อยู่ในรูปของเอกสารทางการเงินที่บริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ออกมาเพื่อระดมเงินทุนจากผู้ลงทุน และเปิดให้มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งราคาหุ้นจะเปลี่ยนแปลงตามผล ประกอบการของบริษัทและภาวะตลาดคะ ลักษณะของหุ้นก็มีหลายแบบด้วยกัน เช่น หุ้นปันผลจะมีเงินปันผลสูงสม่ำเสมอ หุ้น Defensive ราคาไม่ตกมาก เวลาตลาดตก โดยมากเป็นหุ้นในกลุ่มอุตสาหกรรมที่กำไร มีความผันผวนต่ำ มักเป็นที่พักเงินรอเล่นหุ้นตัวอื่นๆ หุ้นบริษัทกำลังรุ่ง เป็นบริษัทโตเร็ว มียอดขายและ/หรือ ผลกำไรเติบโตเร็ว เมื่อเทียบกับปีก่อน และมีแนวโน้มต่อเนื่องไปในอนาคต 2-3 ปีข้างหน้า หุ้นอุตสาหกรรม เ็ป็นอุตสาหรรมที่ไำม่ค่อยเติบโตหรืออยู่ในช่วงขาลง หุ้นถือยาว เป็นหุ้นของบริษัทที่มีผลประกอบการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง มีความมั่นคง( แม้ว่าการเติบโตอาจไม่สูงมาก) ซึ่งนักลงทุนสามารถถือลงทุนระยะยาวได้ หุ้น Turn Around เป็นหุ้นของบริษัทที่ก่อนหน้านี้มีปัญหาประสบภาวะขาดทุนอย่างมาก จนเมื่อมีการปรับปรุงบริหารการเงิน การตลาดและสินค้า การเงิน หือเมื่อภาวะการประกอบธุรกิจที่บริษัทดำเนินงานอยู่ปรับตัวดีขึ้นส่งผลให้ผลประกอบการกลับมีกำไร หุ้นเก็งกำไร เป็นหุ้นต้องลุ้นกันหน่อยว่าจะออกหัวออกก้อย ถ้าตรงตามคาดก็จะทำกำไรได้มาก หุ้นปั่น เป็นหุ้นขึ้นเร็ว โดยไม่มีเหตุผล หรือ เหตุผลไม่สมจริง ราคาขึ้นไปได้ก็คงอยู่ไม่ได้นาน เป็นต้น ก่อนที่เราจะเล่นแบบสบายใจ ควรมีคุณสมบัติ 5 ขั้น 1. ใช้เงินเย็นหรือเงินก้อนที่จะไม่ใช้ใน 1-5 ปี 2. วางแผนล่วงหน้าว่าซื้อหรือขายหุ้นแต่ละตัวเมื่อใด ในสถานการณ์ใด 3. จัดสำหรับการลงทุนของตนเองแต่ต้นมือ 4. เลือกหุ้นที่ตกยังไง ก็ยังไม่กลัวสูญ โดยต้องเลือกหุ้นดี และมีการติดตามเป็นประจำเพื่อให้แน่ใจว่าหุ้นนี้ยังคงเป็นหุ้นดี 5. ติดตามข่าว และวิเคราะห์ผลกระทบของข่าวต่อหุ้นในมือ สำหรับการซื้อขายหุ้นโดยBroker หมายถึง นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ผู้ที่ให้บริการเราในเรื่องการส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ไปยังตลาดหลักทรัพย์ และเป็นผู้ทำหน้าที่ในการส่งมอบรับมอบหลักทรัพย์แทนเรา รวมถึงการเรียกร้องสิทธิต่าง ๆ ในหลักทรัพย์ที่เราได้หมอบหมายให้ Broker นั้นๆ ได้ทำการซื้อขาย สำหรับมือใหม่นั้นเราควรเลือกโดยสังเกตุดูสิ่งต่อไปนี้ 1. ควร เลือกโบรกเกอร์ที่มีชื่อเสียงหรือมีความมั่นคง ระวังเว็บโบรกเกอร์ที่อาจจะมาหลอกเอาเงินลงทุนจากเรา ดังนั้นให้หลีกเลี่ยงเว็บโบรกเกอร์ที่ดูไม่น่าเชื่อถือไว้ก่อน 2. จำนวน Spread หรือ ส่วนต่างของจำนวนจุดที่ถูกหักออกเป็นค่าตอบแทนให้กับทางโบรกเกอร์ ซึ่งถ้า Spread น้อย แสดงว่าเราจะต้องเสียค่านายหน้าหรือค่าใช้จ่ายให้กับทางโบรกเกอร์น้อยลง 3. ควรเลือกโบรกเกอร์ที่มีโปรแกรมหรือ Plate From ที่มีเครื่องมือให้ใช้หลากหลาย หรือดูง่ายสำหรับการใช้งาน 4. โบรกเกอร์นั้นควรมีที่อยู่ที่ติดต่อชัดเจน และควรมีห้อง Support ให้ใช้ติดต่อได้ตลอด 24 ชม.หากว่าเรามีปัญหาเกิดขึ้น 5. มี ความเสถียรในเรื่องของระบบ บางโบรกเวลาเล่นๆอยู่แล้วหลุดจากการติดต่อบ่อยๆก็จะไม่ค่อยดี เพราะถ้าบางครั้งเรากำลังเทรดอยู่แล้วโปรแกรมหลุดการติดต่อไปเฉยๆ เราอาจจะขาดทุนแทนที่จะได้ทำกำไรก็ได้ 6. ควรมีการกำหนด Margin Requirement ที่ต่ำ 7. ควรเลือกโบรกเกอร์ที่สามารถเทรดด้วยวงเงินที่ต่ำๆได้ เพราะจะได้ไม่ต้องเอาเงินลงทุนเข้าไปทีละเยอะๆจนเกินไป สำหรับเรื่องหุ้นนี้ที่ดิฉันได้กล่าวไว้ข้างต้นนี้ก็เป็นเพียงเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆ สำหรับใครที่สนใจจะลงเล่นหุ้น เพราะจะต้องศึกษาอีกเยอะ วิเคราะห์ข่าว ดูข้อมูลบริษัทต่างๆ ว่าธุรกิจดีไหม และที่สำคัญต้องรู้ชื่อย่อของบริษัทต่างๆ เพื่อสะดวกในการดูหุ้นคะ

นางสาวญานิชา คำตัน 55127326073

กิจกรรมสัมมนาที่ได้จัดขึ้นนี้ จากที่ได้ไปศึกษาดูงานที่ SET in the City ก็ได้รับความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งที่เรายังไม่รู้อีกมาก และการลงทุนของนักลงทุนเป็นความรู้ที่คุ้มค่า การจัดสัมมนาที่ดีของนักเคราะห์ด้านการลงทุน SET in the City กรุงเทพมหานคร 2012 จัดสัมมนา จากวันที่ 22-25 พ.ย. 2555 เริ่มเวลา 10.00-20.00 น. สถานที่รอยัล พารากอน ฮอลล์ ชั้น 5 สยามพารากอน ภายในงานแบ่งออกเป็น 2 โซน ซึ่งได้พบการตั้งบูทต่างๆ เช่นบูทของศักยภาพบริษัทจดทะเบียนชั้นนำหลายบริษัท ธนาคารพาณิชย์ยักษ์ใหญ่ มีการให้บริการแบบครบวงจร บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุน โปรกเกอร์โกลด์ฟิวเจอร์ส และบริษัทประกันภัย และได้ให้ความรู้เกี่ยวกับ Investment on Stsage เป็นการระดมทุกความเห็นของนักวิเคราะห์ชั้นนำระดับตำนานพร้อมสัมมนาเด็ด เนื้อหาดีๆจาก บริษัทหลักทรัพย์ชั้นนำ ส่วนของHall 2-3 มีการจัดบูทของกลุ่มธนาคาร/บล./บลจ./โกลด์ฟิวเจอร์ส/ประกันภัย และได้เข้าร่วมแล่นเกมกับบูทของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ( กลต) มีการแจกกระเป๋าเพื่อเป็นการตอบแทนในการร่วมเล่นเกมด้วย และได้ ความรู้เกี่ยวกับ Mank Kim Eng (MBKET) เป็นบริษัทเกี่ยวกับหลักทรัพย์ถือหุ้นโดยเมย์แบงก์ ( Malayan Bankink Berhad หรือ Maybank ) ธนาคารารอันดับ 1 ของประเทศมาเลเซีย บริษัทฯมีส่วนแบ่งการตลาดสูงสุดเป็นอันดับหนึ่งต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2545 จนถึงปัจจุบัน เป็นบริษัทประกอบธุรกิจหลักทรัพย์อย่างครบวงจร งานที่ปรึกสาด้านการเงินและจำหน่ายหลักทรัพย์ และเป็นมาตรฐานสากล โดยมีเครือข่ายในศูนย์กลางทั่งโลก อาทิ มาเลเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ซาอุดิอาระเบีย นิวยอร์ค และลอนดอน Gold Investment With Globlex เป็นการลงทุนทองคำแท่งกับโกลเบล็ก ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาทองคำ ปัจจัย ทิศทาง ราคาทองคำ 1.ความต้องการทองคำ เพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้น 2.ความสามารถในการผลิตทองคำ เพิ่มขึ้น ลดลง 3.ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น ลดลง 4.อัตราดอกเบี้ย เพิ่มขึ้น ลดลง 5.ราคาน้ำมันในตลาดโลก เพิ่มขึ้น ลดลง

ข้อดีของการลงทุนในทองคำ -เป็นเครื่องมือในการลงทุนเพื่อสร้างผลกำไร -เป็นเครื่องมือในการออมสะสมความมั่งคั่งที่มีความมั่นคงสูง -เป็นเครื่องมือในการกระจายความเสี่ยงในการลงทุน -เป็นแหล่งลงทุนที่มีความปลอดภัย -ใช้ในประเพณีต่างๆ ทางวัฒนธรรม เช่น สินสอด เป็นต้น และได้ความรู้จากโซล่าฟาร์ม (Solar Farm) คือ ฟาร์มทีผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่เป็นพลังงานสะอาดปราศจากมลภาวะและก็เป็นมิตรกับแวดล้อมซึ่งประกอบด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 210 วัตต์ จำนวน 29160 แผง กำลังผลิตไฟฟ้า 6123 กิโลวัตต์ และเครื่องแปลงไฟฟ้าขนาด 11.4 กิโลวัตต์จำนวน 540 เครื่องติดตั้งอยู่ในพื้นที่กว่า 100 ไร่ ของ Solar Power Company Limited และเกี่ยวกับการลงทุนในหุ้น ส่วนผู้สนใจลงทุนเกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่ควรรู้ คือหน่วยงานองโบรกเกอร์ ได้แก่ 1. ฝ่ายบริการด้านหลักทรัพย์ (front office) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการให้คำแนะนำการลงทุนและรับส่งการสั่งซื้อขายจากลูกค้า 2. ฝ่ายปฏิบัติการด้านหลักทรัพย์ (back office) ให้บริการด้านคำปรึกษาเรื่องการชำระราคา การฝาก-ถอนสินทรัพย์ของลูกค้า (เงินสด หุ้น หรือทรัพย์สินอื่น) จัดการเรื่องข้อมูลของลูกค้า รวมถึงการออกเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ 3. ฝ่ายกำกับดูแลการปฏิบัติงานของบริษัทหลักทรัพย์ (compliance unit) ทำหน้าที่กำกับดุแลการทำงานของฝ่ายบุคคลากรทั้งหมดของบริษัทให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎเกณฑ์และระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งรับเรื่องร้องเรียนของลูกค้าด้วย และสุดท้ายก็ขอขอบคุณอาจารย์ที่ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการไปศึกษาดูงานครั้งนี้เป็นอย่างยิ่งค่ะ

          การที่ได้ไปดูงานSET  in the city นั้นได้ข้อมูลมามากทั้งจากเอกสารที่ได้มาและมีการจัดนิทรรศการที่ให้ความรุ้เกี่ยวกับการลงทุน การเล่นหุ้น มีเอกสารมากมายที่นำมาแจกและมีของรางวัลเล็กๆน้อยๆอีกมีหนังสือที่เป้นประโยชน์อีกมากมาย และที่ประทับใจ คือหนังสือ 360องศากับตราสารหนี้เป็นหนังสือเล่มสีฟ้าในหนังสือมีสาระมากมายเกี่ยวกับตราสารหนี้   ตราสารหนี้กับการลงทุน  คณิตศาสตร์พื้นฐานของตราสารหนี้  เรื่องต้องร็เมื่อลงทุน  ตลาดตราสารหนี้  BEX และอีกมากมาย
       ตราสารทางการเงิน โดยสาระสำคัญพื้นฐานแล้วคือ สัญญาที่แสดงความผูกพันระหว่าง  ผู้ออกตราสาร กับนักลงทุน ซึ่งความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคลทั้งสองฝ่ายนั้น ขึ้นอยุ่กับประเภทของตราสารอย่างไรก็ดีความสัมพันธ์ที่กล่าวถึงนั้น อาจจะแยกเป็น2เรื่องหลักได้แก่ สิทธิ และภาระผูกพัน   

หุ้นสามัญ เป็นตราสารทางการเงินที่แสดงถึงสิทิของผู้ถือหุ้นว่าเป็น เจ้าของ ดังนั้น บริษัทผู้ออกจึงเกิดภาระผูกพันในอันที่จะต้องปฏิบัติตามมติที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นสามัญหรือ พูดภาชาวบ้านว่าบริษัทต้องทำตามความต้องการของเจ้าของนั่นเอง การลงทุนในตราสารทางการเงินสองประเภท คือ ตราสารทุน และ ตราสารหนี้ อย่างไรก็คื ในทางการเงินนั้น ยังมีตราสารอีกประเภทหนึ่ง ก็คือ ตราสารอนุพันธ์ ตราสารอนุพันธ์เป็นตราสารที่มีลักษณะพิเศษเหนือกว่าตราสารทุน และตราสารหนี้ที่ได้กล่าวมาในข้างต้น เพราะการกำหนดสิทธิและหน้าที่ระหว่างผู้ถือตราสารอนุพันธ์กับผู้ออกสารอนุพันธ์กับผู้ออกตราสารอนุพันธ์ จะไม่ตายตัว หรือคงที่อย่างที่แสดงไว้ในกรณีของตราสารทุนและตราสารหนี้ กล่าวคือ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลสองฝ่ายในกรณีของตราสารอนุพันธ์นั้น เกิดขึ้นได้หลายแยย เช่น ทั้งสองฝ่ายมีเพียงภาระผูกพันระหว่างกัน ไม่มีใครที่มีสิทธิเหนืออีกฝ่าย และยังมีความรู้อีกมากมาย

     การที่ได้ไปศึกษาได้เข้าไปเยี่ยมชมงาน  SET  in the city ได้ความรู้และความสนุกสนานเป็นการได้ไปเรียนรู้นอกห้องเรียนถ้าทุกคนมีโอกาสอยากให้ทุกคนนั้นได้ไปเยี่ยมชมเพระเป็นประโยชน์ทั้งที่ผู้สนใจอย่างมาก
     จากที่ได้ไปดูงาน SET  in the city  ที่จัดขึ้นที่ สยามพารากอน ชั้น 5  ในงานจะมีการจัดบูทของ ตลาดหลักทรัพย์ ธนาคารต่างๆ การประกันชีวิตและอื่นๆอีกมากมาย คนที่ไปงานก็จะเป็นคนทุกเพศทุกวัย  ทั้งเป็นคนที่ต้องการจะลงทุน   เป็นคนที่ลงทุนแล้ว และก็มีคนที่มาศึกษาดูงาน ในงานจะแบ่งออกเป็นหลายบูท แต่ละบูทจะมีการอธิบาย  ให้ข้อมูลของบูทตัวเอง  ในแต่ละบูทก็มีการเชิญให้ร่วมเล่นเกม  แจกของรางวัล ไม่ว่าจะเป็น กระเป๋า  ร่ม พวงกุญแจ  และอีกมากมาย  ในงานจะมีการสัมมนากันพูดถึงประโยชน์ในการลงทุน  การป้องกัน ว่าเป็นยังไง 
     แล้วสิ่งที่เราสามารถนำกลับมาศึกษาได้ก็คือ โปร์ชัว  หนังสือ  ที่แต่บูทมีแจกไว้   ให้เราได้นำกลับมา ในโปร์ชัว จะประกอบไปด้วยข้อมูลต่างๆที่เป็นประโยชน์กับเรา ไปงานนี้เราได้รู้เกี่ยวกับหลายเรื่อง เช่น เรื่องหุ้น  คุณสมบัติของหุ้นที่ดี ประกอบไปด้วย การจ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ  มีปริมาณหุ้นซื้อขายในตลาดมากพอสมควร   มีการซื้อขายในแต่ละวันมากพอสมควร  มีอนาคต   เวลามีกำไรต่อหุ้นไม่ต่ำเกินไปมีราคาต่อมุลค่าของบริษัท  เมื่อไหร่ตลาดหุ้นจะขึ้น  เมื่อเศรษฐกิจมีท่าว่าจะดีขึ้น   นโยบายการเงินการคลังไม่ผิดพลาดและเอื้ออำนวย   นักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศสนใจตลาดหุ้นมีเงินไหลเข้าตลาด  หุ้นตัวไหนควรหลีก   คือ  หุ้นเล็ก  หุ้นที่ราคาขึ้นโดยที่หาเหตุผลไม่ได้   หุ้นพวกนี้มักมีโพยคือมีข่าวดีเป็นชุดๆออกมา  ส่วนมากจะเป็นหุ้นอันตราย  สันนิษฐานไว้ก่อนว่านี่เป็นเวลาเล่นเกมของคนบางคน  อย่าเห็นราคาและกำไรที่คิดได้ในใจเย้ายวนจนเผลอดทรศัพท์หรือติดต่ออินเทอร์เน็ตไปซื้อหรือขายหุ้น
    การไปดูงานครั้งนี้ทำให้ได้รับมากขึ้นจากเดิม  และยังได้รับความสนุกในการเล่นเกม แล้วยังได้รับของรางวัลอีกด้วย

สนุกมากค่ะ

ความรู้ที่ได้จากการศึกษาดูงาน SET in the City กรุงเทพมหานคร 2012

  วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2555 ดิฉันเดินทางไปสยามพารากอนเพื่อศึกษาดูงาน SET in the City กรุงเทพมหานคร 2012 ซึ่งภายในงานเป็นการจัดบูธอยู่หลายบูธ ตัวอย่างเช่น  บูธเกี่ยวกับการลงทุน บูธตลาดหลักทรัพย์ สถาบันการเงินต่างๆเป็นต้น มาให้ข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุน เป็นที่ปรึกษาด้านการลงทุน การเล่นหุ้น การสร้างความมั่นคงทางการเงิน และเพิ่มผลผลิตให้กับเงินออมของตนเอง บางบูทก็เชิญชวนให้ลงทุน และมีของสัมมนาคุณต่างๆมากมาย ให้คำแนะนำเกี่ยวกับผู้สนใจเล่นหุ้นทั้งมือใหม่และมืออาชีพ ภายในงานมีผู้สนใจเข้าร่วมลงทุนมากมาย ดิฉันยังได้แวะเข้าไปเยี่ยมชมบูธของ AIA ได้รวมเล่นเกมทำแบบสอบถามมีแจกไอศกรีมให้รับประทานฟรีอีกด้วยยังได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการเงินครบวงจร การประกันภัยพร้อมสรรพทั้งความคุ้มครองชีวิตและเพิ่มโอกาสในการลงทุน และข้อมูลในการออมเงินได้รับเอกสารเพื่อที่จะให้นำไปศึกษา การชำระเบี้ยประกัน ตารางค่าธรรมเนียมกรมธรรม์ สิทธิของผู้เอาประกันภัย ซึ่งมีประโยชน์มากสำหรับผู้จะซื้อประกันชีวิต
    นอกจากนี้ยังมีเวทีที่เชิญคนสำคัญทางการเงิน ผู้เชี่ยวชาญทางการเล่นหุ้น การลงทุนมาพบปะ บรรยายให้กับผู้สนใจทางด้านนี้อีกด้วย และจากการศึกษาดูงานในครั้งนี้ ฉันก็นึกถึงคำที่ว่า “คนจนชอบเล่นหวย คนรวยชอบเล่นหุ้น” ซึ่งหากมองภายนอกมันก็คือการเสี่ยงเหมือนกัน แต่สำหรับตัวดิฉันคิดว่า การเล่นหวยเราเอาเงินที่เราต้องใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันไปซื้อหวย ไปเสี่ยงกับหวย แต่สำหรับการเล่นหุ้นเราเอาเงินที่เราได้จากการออมไปเล่นซึ่งก็ไม่ส่งผลกระทบกับชีวิตประจำวันของเรา และการเล่นหุ้นสามารถบริหารความเสี่ยงของเราได้เองจากความรู้ที่เราได้ศึกษามา

จากการที่ข้าพเจ้าได้ไปศึกษาดูงานในงาน SET in The City ที่สยามพารากอน ข้าพเจ้าเกิดความประทับใจอย่างมากเพราะนับว่าเป็นครั้งเเรกที่ข้าพเจ้าได้มีโอกาสไปงานนี้ บรรยากาศภายในงานตื่นตาตื่นใจมากภายในงานมีหลากหลายบูท แต่ละบูทก็เเตกต่างกันไปและที่สำคัญภายในงานมีกิจกรรมให้ร่วมสนุกมีการเเจกรางวัลเล็กๆน้อยๆไม่ว่าจะเป็น กระเป๋า พวงกุญเเจ เข็มกลัด และหนังสือต่างๆข้าพเจ้าได้รับหนังสือหลายเล่มมากแต่ละเล่มเป็นหนังสือดีๆทั้งนั้นหนังสือที่ข้าพเจ้าได้มาทำให้ข้าพเจ้าสามารถเพิ่มพูนความรู้อะไรหลายๆอย่างที่เกี่ยวกัลธนาคาร ตลาดหลักทรัพย์ เช่นในเรื่องของตั๋วเงินคลัง

ตั๋วเงินคลัง(Treasury Bills)

    ตั๋วเงินคลังเป็นหลักทรัพย์ที่รัฐบาลใช้ในการกู้ยืมเงินจากประชาชนในระยะสั้นซึ่งปกติจะมีอายุไม่เกิน 1 ปีโดยกระทรวงการคลังเป็นผู้ออก และมอบให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดการประมูล(สำหรับตลาดแรก)ตั๋วเงินคลังไม่มีการกำหนดดอกเบี้ยเป็นผลตอบแทน แต่ผลตอบแทนจะอยู่ในรูปของ ส่วนลด(Discount)ซึ่งมีมูลค่าเท่ากับจำนวนราคาหนน้าตั๋วลบราคารที่ซื้อในครั้งเเรกแต่มื่อถึงกำหนดชำระคืนรัฐบาลต้องชำระเต็มตมราคาที่ตราไว้(ราคาพาร์)และเมื่อตั๋วเงินคลังครบกำหนดไถ่ถอนคืน นักลงทุนก็มีสิทธิที่จะได้รับเงินตามที่สัญญาไว้ ยกตัวอย่างเช่น ราคาหน้าตั๋วของตั๋วเงินคลังฉบับหนึ่ง กำหนดไว้เท่ากับ 1,000 บาท นักลงทุนได้รับส่วนลดเป็นเงิน 50 บาท(ในที่นี้ส่วนลดเท่ากับ 50 บาท)นั่นหมายความว่านักลงทุนสามารถลงทุนซื้อตั๋วเงินคลังฉบับดังกล่าวได้ในราคา 950 บาทต่อฉบับ แต่เมื่อครบกำหนดไถ่ถอนนักลงทุนผู้นั้น จะได้รับเงินคืนจากรัฐบาลเป็นเงิน 1000 บาทต่อฉบับนั่นคือ นักลงทุนผู้นั่นจะได้รับกำไรจากการลงทุนในตั๋วเงินคลัง เท่ากับ 50 บาทต่อฉบับ

    ในส่วนของประวัติตั๋วเงินคลัง การออกตั๋วเงินคลังในประเทศไทยได้เริ่มครั้งเเรกเมื่อปี พ.ศ.2488 จำนววนเงิน 50 ล้านบาท โดยมีวัตถุประสงค์ในการออก เพื่อใช้จ่ายตามงบประมาณ ตั๋วเงินคลังที่ออกในช่วงเเรกมีอายุ 4 เดือน ต่อมาได้ลดอายุ่เป็น 3 เดือน ในปี พ.ศ. 2507 และ 2 เดือน ในปี พ.ศ.2509 เพื่อใช้อัตราดอกเบี้ยลดลงตามกำหนดอายุของตั๋วเงินคลังเหลือร้อยละ 4 ต่อปี เหตุผลอีกประการหนึ่ง ก็เพื่อเป็นการสนับสนุนให้มีผู้ประมูลซื้อตั๋วเงินคลังโดยตรงจากกระทรวงกรคลังแทนการซื้อต่อจากธนาคารแห่งประเทสไทย ซึ่งมักนิยมเลือกตั๋วเงินคลังที่มีอายุเหลือประมาณ 2 เดือนก่อนครบกำหนดชำระ และในปี พ.ศ.2510 ได้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นเป็นร้อยละ 5 ต่อปี เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยในตลาดสูงขึ้น และเพิ่มขึ้นอีกเป็นร้อยละ 7 ต่อปี ในปี พ.ศ.2512 พร้อมกันนั้นก็ได้ปรับปรุงอยุตั๋วเงินคลังจาก 60 วัน เป็น 63 วัน เพื่อให้ตั๋วเงินคลังครบกำหนดชำระในวันเดียวกันกับวันที่ประมูลตั๋วครั้งถัดไป ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ผู้ถือตั๋วเก่าที่ครบกำหนดแล้วประสงค์ซื้อตั๋วใหม่ต่อ จะได้รับดอกเบี้ยต่อเนื่องกัน

    การออกตั๋วเงินคลังได้ดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ.2488 ต่อเนื่องเรื่อยมจนถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2533 ต่อจากนั้นรัฐบาลได้เปลี่ยนวิธีการจัดทำงบประมาณให้เป็นงบประมาณแบบสมดุล จึงไม่มีความจำเป็นที่จะกู้เงินตามวิธีการดังกล่าว จนกระทั่งในปีงบประมาณ พ.ศ.2542 รัฐบาลได้ใช้นโยบายงบประมาณแบบขาดดุลอีกครั้งโดยคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติวงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณประจำปี พ.ศ.2542 จำนวน 40,000 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นการกู้โดยการออกตั๋วเงินคลังจำนวน 15,000 ล้านบาท โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน 2542

    การประมูลตั๋วเงินคลังในตลาดครั้งเเรกนั้น จัดโดยธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งปัจจุบันจัดขึ้นทุกวันจันทร์ของสัปดาห์ 

    ทั้งนี้ข้าพเจ้าต้องขอบพระคุณ ดร.อ.กฤษฎา สังขมณี เป็นอย่างสูงที่แนะนำสถานที่ดีๆให้ข้าพเจ้าได้ไปศึกษาเรียนรู้

 

นางสาวมาดีฮะห์ สะอิ

55127326080

     จากการที่ได้เข้าไปชมและได้ศึกษาที่มหกรรมการลงทุนครบวงจรแห่งปี SET in the Cityกรุงเทพมหานคร 2012 วันที่ 23 พ.ย. 55 ที่รอยัล พารากอน ฮอลล์ ชั้น5 สยามพารากอน ได้พบกับตลาดหลักทรัพย์หลายบริษัทมาจัดบูทให้ข้อมูลให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง หุ้นในตลาดหลักทรัพย์ และมีธนาคาร สถาบันการเงินต่างๆมาหาข้อมูลเปิดให้ซื้อขายกองทุนรวม พร้อมจัดโปรโมชั่นแจกของอีกมากมาย มีเกมให้ได้ร่วมเล่นสนุกกันอีกด้วย  เป็นงานที่ใหญ่มากและรวมแหล่งลงทุนและสถาบันการเงินไว้มากมายมีทั้งการให้ความรู้กับผู้สนใจทั่วไป กับ ผู้ที่สนใจจะลงทุนร่วมกัน  Hall 1 มีการเล่นเกมส์แจกของรางวัล กดแฟนเพจได้รับกระเป๋า แจกหนังสือ แผนพับต่างๆ ได้รู้จักขั้นตอนการลงทุนในหุ้น สำนักงาน ก.ล.ต. หรือ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ มีสถานะเป็นองค์กรของรัฐทำหน้าที่ในการกำกับดูแลและพัฒนาตลาดทุนของประเทศให้มีประสิทธิภาพ ยุติธรรม โปร่งใส   Hall 2-3 มีกลุ่มธนาคาร บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน โกลด์ฟิวเจอร์ส ประกันภัย เช่น บล.กสิกร บล.ไทยพาณิชย์ บล.กรุงศรี บล.กรุงไทย บล.โกลแบล็ก บล.บัวหลวง บล.เกียรตินาคิน บล.ทิสโก้  การซื้อ-ขายหุ้น การเล่นหุ้น เราต้องอายุ 20 ปีขึ้นไปถึงจะสามมารถเล่นหุ้นได้ และการคิดวิเคราะห์ในการซื้อ-ขายหุ้น การตัดสินใจในการซื้อ-ขาย ก่อนที่เราจะเล่นหุ้นจริง เราควรที่จะศึกษาวิธีการเล่นหุ้นก่อนและมีเกมส์การเล่นหุ้นให้เราได้ลองเล่นดูก่อน  ก่อนที่เราจะไปเล่นหุ้นจริงๆ  การลงทุนในทองคำกับโกลเบล็ก  เป็นบริษัทผู้ค้าทองคำแท่ง  เพียงรายเดียวที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  มีความรู้และความสามารถในตลาดทุนเป็นอย่างดี  บริษัทอยู่ภายใต้การควบคุมและกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (กลต.) จึงดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ  โปร่งใส  และยุติธรรม  เพื่อประโยชน์สูงสุดของลูกค้า
     สิ่งที่ได้รับจากการมาศึกษาคือ ความรู้ใหม่ๆ  แผ่นพับ  หนังสือ  กระเป๋า  ที่แต่ละบูทมีแจกไว้ให้เราได้นำกลับมา  ในแผ่นพับจะประกอบไปด้วยข้อมูลต่างๆที่เป็นประโยชน์กับเราในการศึกษาต่อ  มีเวทีเชิญคนสำคัญทางการเงิน  ผู้เชี่ยวชาญทางการลงทุนและเล่นหุ้น  มาบรรยายให้กับผู้สนใจทางด้านนี้อีกด้วย  ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ดีมากๆ  สำหรับคนที่จะศึกษาหาข้อมูลในการลงทุน  มีการให้คำปรึกษา  แนะนำแนวทางต่างๆ  ประทับใจมากๆค่ะ

นางสาวหนึ่งฤทัย เวฬุวนารักษ์ รหัส 55127326071

     จากการที่ได้เข้าไปชมและได้ศึกษาที่มหกรรมการลงทุนครบวงจรแห่งปี SET in the Cityกรุงเทพมหานคร 2012 วันที่ 23 พ.ย. 55 ที่รอยัล พารากอน ฮอลล์ ชั้น5 สยามพารากอน ได้พบกับตลาดหลักทรัพย์หลายบริษัทมาจัดบูทให้ข้อมูลให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง หุ้นในตลาดหลักทรัพย์ และมีธนาคาร สถาบันการเงินต่างๆมาหาข้อมูลเปิดให้ซื้อขายกองทุนรวม พร้อมจัดโปรโมชั่นแจกของอีกมากมาย มีเกมให้ได้ร่วมเล่นสนุกกันอีกด้วย  เป็นงานที่ใหญ่มากและรวมแหล่งลงทุนและสถาบันการเงินไว้มากมายมีทั้งการให้ความรู้กับผู้สนใจทั่วไป กับ ผู้ที่สนใจจะลงทุนร่วมกัน  Hall 1 มีการเล่นเกมส์แจกของรางวัล กดแฟนเพจได้รับกระเป๋า แจกหนังสือ แผนพับต่างๆ ได้รู้จักขั้นตอนการลงทุนในหุ้น สำนักงาน ก.ล.ต. หรือ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ มีสถานะเป็นองค์กรของรัฐทำหน้าที่ในการกำกับดูแลและพัฒนาตลาดทุนของประเทศให้มีประสิทธิภาพ ยุติธรรม โปร่งใส   Hall 2-3 มีกลุ่มธนาคาร บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน โกลด์ฟิวเจอร์ส ประกันภัย เช่น บล.กสิกร บล.ไทยพาณิชย์ บล.กรุงศรี บล.กรุงไทย บล.โกลแบล็ก บล.บัวหลวง บล.เกียรตินาคิน บล.ทิสโก้  การซื้อ-ขายหุ้น การเล่นหุ้น เราต้องอายุ 20 ปีขึ้นไปถึงจะสามมารถเล่นหุ้นได้ และการคิดวิเคราะห์ในการซื้อ-ขายหุ้น การตัดสินใจในการซื้อ-ขาย ก่อนที่เราจะเล่นหุ้นจริง เราควรที่จะศึกษาวิธีการเล่นหุ้นก่อนและมีเกมส์การเล่นหุ้นให้เราได้ลองเล่นดูก่อน  ก่อนที่เราจะไปเล่นหุ้นจริงๆ  การลงทุนในทองคำกับโกลเบล็ก  เป็นบริษัทผู้ค้าทองคำแท่ง  เพียงรายเดียวที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  มีความรู้และความสามารถในตลาดทุนเป็นอย่างดี  บริษัทอยู่ภายใต้การควบคุมและกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (กลต.) จึงดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ  โปร่งใส  และยุติธรรม  เพื่อประโยชน์สูงสุดของลูกค้า
     สิ่งที่ได้รับจากการมาศึกษาคือ ความรู้ใหม่ๆ  แผ่นพับ  หนังสือ  กระเป๋า  ที่แต่ละบูทมีแจกไว้ให้เราได้นำกลับมา  ในแผ่นพับจะประกอบไปด้วยข้อมูลต่างๆที่เป็นประโยชน์กับเราในการศึกษาต่อ  มีเวทีเชิญคนสำคัญทางการเงิน  ผู้เชี่ยวชาญทางการลงทุนและเล่นหุ้น  มาบรรยายให้กับผู้สนใจทางด้านนี้อีกด้วย  ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ดีมากๆ  สำหรับคนที่จะศึกษาหาข้อมูลในการลงทุน  มีการให้คำปรึกษา  แนะนำแนวทางต่างๆ  ประทับใจมากๆค่ะ

นางสาวหนึ่งฤทัย เวฬุวนารักษ์ รหัส 55127326071

จากการได้ไป SET in the city มหกรรมการลงทุนครบวงจรแห่งปี ได้แนวคิดที่ก้าวทันวัตกรรมการลงทุน : หุ้น อนุพันธ์ พันธบัตร กองทุนรวม ประกันภัย โดยกระผมสนใจในเรื่องเกี่ยวกับ การเรียนรู้เตรียมพร้องสู้การลงทุน ซึ่งจากการเรียนรู้ การลงทุน เปรียบทางด่วนสู้ความมั่นคง การออกตัวที่ดี ตั้งต้นได้เร็ว และเดินตามแผนที่ว่างไว้ ย่อมช่อยให้ก้าวถึงเส้นชัยดั่งใจหมายไว้ มีขั้นต้น 6 ขั้นตอน คือ

  1. รู้จักตนเองค้นพบเป้าหมาย การกำหนดเป้าหมายการลงทุนที่จัดเจน ว่า...

    • ต้องการลงทุนเพื่ออะไร ลงทุนเพื่อบั้นปลายชีวิต เพื่อลดหย่อนภาษี เพื่อเอาชนะเงินเฟ้อ หรือเพื่อทำกำไร
    • ต้องการใช้เงินประมาณเท่าไร ระบุจำนวนเงินให้จัดเจน เพราะแต่ละเป้าหมายย้อมใช้เงินต่างกัน
    • ต้องการบรรลุเป้าหมายเมื่อไร ระยะสั้นไม่เกิน 1 ปี ระยะกลาง 1-5 ปี หรือระยะยาวตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป
  2. รู้จักรู้ระดับความเสี่ยง เลียงลงทุนผิด ต้องพิจารณา ข้อจำกัดและเงื่อนไข ในการลงทุนว่า...

    • มีเงินมากน้อยเพียงใด
    • มีเวลาติดตามข่าวสารมากน้อยเพียงใด
    • ต้องการผลตอบแทนรู้แบบใด้ เท่าใด ความเสียงต่ำ ยอมรับความผันผวนได้น้อยหรือแทบจะไม่ได้เลย การลงทุนส่วนใหญ่พยายามรักาเงินลงทุนให้ปลอดภัย ความเสี่ยงปานกลาง ยอมรับความผันผวนได้ระดับหนึ่งแต่ต้องไม่มากเกินไป เพื่อแลกกับการได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้นและหวังให้เงินลงทุนบางส่วนมีมูลค่าเพิ่ม ความเสี่ยงสูง ไม่กังวนความผันผวนที่เกิดขึ้นระหว่างการลงทุนเท่าไรหนัก โดยมุ่งหวังผลตอบแทนสูงขึ้น รวมทั้งโอกาสเงินลงทุนจะเติบโตเพิ่มขึ้นจากการลงทุน
  3. สร้างพอร์ตเป็นระบบพบทางรวย กล่าวถึง การจัดสรรสิ้นทรัพย์ อย่างเหมาะสม โดนแบ่งเงินลงทุนในสิ้นทรัพย์หลายประเภท เช่น เงินฝาก พันธบัตร หุ้นกู้ กองทุนรวม หุ้น ..... พอร์ตการลงทุนที่ดี ควรมีลักษณะดังนี้

    • ต้องการกระจายความเสี่ยงอย่างเหมาะสม ไม่ควรทุ่มเงินลงทุนเพื่อการลงทุนรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งหรือสินทรัพย์ใดสินทรัพย์หนึ่งทั้งหมด
    • ไม่หลากหลายหรือกระจายมากเกินไป เพราะจะทำให้ยากในการติดตามราคาและข่าวสารทางเลือกเกี่ยวกับการลงทุนนั่นๆ
    • มีสักส่วนการลงทุนที่เหมาะสมกับเป้าหมายการลงทุนของตน กล่าวคือ มีความสมดุจระหว่างการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงน้อย ให้ผลตอบแทนค่อนข้างแน่นอนกับการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งอาจผลตอบแทนที่ไม่แน่นอน แต่เวลาได้ผลตอบแทนก็ได้เป็นกอบกำ
    • มีความยืดหยุ่น สามารถเปลี่ยนแผนการลงทุนได้ เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป โดยสิ่งสำคัญก็คือ ต้องหมั่นติดตามประเมิน และทบทวนแผนการลงทุนอย่างสม่ำเสมอตามสถานการณ์
  4. ทำคัมภีร์ลงทุนไว้ใช้พอร์ตฯ คือ นโยบายการลงทุน ที่คุณควรเขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษร สำหรับใช้เป็นกรอบในการลงทุน ซึ่งควรปรับปรุงนโยบายเป็นประจำอยู่เสมอ นโยบายการลงทุน ควรมีข้อมูลต่างๆต่อไปนี้

    • เป้าหมายการลงทุน จำนวนเงิน และระยะเวลาลงทุน
    • ขัอจำกัดในการลงทุน และระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
    • ระดับอัตราผลตอบแทนที่ต้องการ
    • วิธีการสร้างพอร์ตการลงทุน และแนวทางการเลือกสินทรัพย์ที่ช่วยให้บรรลุเป้าหมาย
    • วิธีการตัดสินใจสร้างพอร์ตการลงทุน รวมถึงเกณฑ์มาตรฐานที่ใช้เปรียบเทียบผลตอบแทนจากการลงทุน
  5. ลงทุนตามกรอบตอบแทนตรงใจ ก่อนการลงทุนต้องเปิดบัญชี เพื่อใช้ในการซื้อหรือขายก่อนโดย....

    • กรณีลงทุนในหุ้น ตราสารหนี้ ETF หรืออนุพนธ์ ต้องเปิดบัญชีกับบริษัทหลักทรัพย์ (โปรกเกอร์)
    • กรณีลงทุนในกองทุนรวม ต้องปิดบัญชีกับบริษัทหลักทรัพย์จักการกองทุน
  6. วัดผลเป็นประจำนำสู้เป้าหมาย ขั้นตอนสุดท้าย คุณต้องมีการ ติดตามผล กล่าวคือ หมั่นตรวจสอบสถานการลงทุนของตนเป็นประจำอาจจะทุน 6 เดือน หรือ 1 ปีก็ได้ ว่าเป็นไปตามเป้าหมายการลงทุนที่กำหนดไว้ตอนต้นหรือไม่ หากไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ จะได้รับพอร์ตการลงทุนของตนได้ทันท่วงที

    • เงินฝาก เกณฑ์มาตรฐาน อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือน เฉลี่ยของ BBL , KBANK , KTB , SCB
    • ตราสารหนี้ เกณฑ์มาตรฐาน อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลที่มีอายุ 1 , 5 , 10 , 20 ปี
    • หุ้น เกณฑ์มาตรฐาน อัตราผลตอบแทนของ SET lndex หรือ SET50 lndex
      จากการที่กระผมได้ไปศึกษาดูงาน SET in the city มหกรรมการลงทุนครบวงจรแห่งปีที่ siam paragon นั้น ทำให้กระผมได้รู้วิธีการลงทุนและการออมในรูปแบบต่างๆ อาทิ การลงทุนทองคำ  การลงทุนทางหุ้น  การออมอีกหลายรูปแบบ  รวมไปถึงบริษัทประกันชีวิต และยังได้ร่วมทำกิจกรรมต่างๆภายในบูท  และทำให้ได้ของรางวัลมากมาย จากการที่ไปศึกษา ครั้งนี้ทำให้รู้ถึงวัตถุประสงค์ของการจัดงานนี้ขึ้นเพื่อกระตุ้นและผลักดันการขยายตัวทางเศรษฐกิจด้วยการนำเสนอด้วยเนื้อหาตามสภาวการณ์ปัจจุบัน ครอบคลุมและเป็นประโยชน์ทั้งต่อภาคธุรกิจและภาคประชาชน อีกทั้งยังผลักดันให้มีการบริหารการเงินภาคประชาชนที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนการใช้ทางเลือกการลงทุนได้อย่างเหมาะสมกับการประกอบอาชีพ ธุรกิจ และการดำเนินชีวิตผ่านช่องทางของการลงทุนได้เหมาะสมภายใต้สภาวการณ์ปัจจุบัน  
        นอกจากนี้ภายในงานยังเชิญผู้เชียวชาญ มาเสวนา  เรื่อง หุ้น  เรื่องการเงิน  และแนะนำวิธีการลงทุนในรูปแบบต่างๆ 

 

จากการที่ได้ไปชมงานมหกรรมการลงทุนครงวงจรแห่งปี "SET in the City กรุงเทพมหานคร 2012"

ที่ รอยัล พารากอน ฮอลล์ ชั้น 5 สยามพารากอน มีบูธซึ่่งจัดไว้เป็นโซนต่างๆให้ศึกษา มากมาย อาทิเช่น

  • กลุ่มตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  • หน่วยงานภาครัฐและเอกชน
  • กลุ่มธุรกิจประกันภัยต่างๆ
  • โบรกเกอร์ผู้ค้าทอง
  • บริษัทจดทะเบียนกลุ่มธนาคารพาณิชย์
  • บริษัทจดทะเบียน
  • บริษัทหลักทรัพย์
  • บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน

ความรู้ที่ได้จากการไปชมงานครั้งนี้ คือ

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (The Stock Exchange of Thailand: SET)

      เปิดทำการซื้อขายวันแรก ณ ศูนย์การค้าสยาม ในวันที่ 30 เมษายน 2518 ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางซื้อ ขาย หลักทรัพย์และมีบทบาทในการสนับสนุนการออมทรัพย์และการระดมทุนระยะยาวให้แก่ ธุรกิจในภาครัฐและเอกชน ปัจจุบันสินค้าในตลาดหลักทรัพย์ คือ หลักทรัพย์จดทะเบียนของธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วขั้นต่ำ 300 ล้านบาทขึ้นไป 

ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (Market for Alternative Investment: mai)

      เป็นตลาดรองสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กที่มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วขั้นต่ำ 20 ล้านบาทขึ้นไปแต่ไม่เกิน300 ล้านบาท ปัจจุบันมีบริษัทจดทะเบียนซื้อขาย 79 บริษัท

ตลาดตราสารหนี้ (Bond Electronic Exchange: BEX)

      เป็นแหล่งซื้อขายตราสารหนี้ พันธบัตรรัฐบาล และหุ้นกู้เอกชน ใช้ระบบการซื้อ ขาย แบบเรียลไทม์หรือ Firsts (Fix Income and Related Securities Trading System)

ตลาดตราสารอนุพันธ์ (Thailand Futures  Exchange: TFEX )

      เป็นศูนย์กลางการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ คือ ฟิวเจอร์ส (Futures) ออปชัน (Options) และออปชันบนสัญญาฟิวเจอร์ส (Options on Futures) 

บูธตลาดหลักทรัพย์ยังให้ความรู้เกี่ยวกับ ..หลัก 3 ต. เตรียมตัว เตรียมสตางค์ เตรียมใจ

  • เตรียมตัวเพื่อจะเป็นนักลงทุนที่ดีโดยการกำหนดเป้าหมายการลงทุนที่ชัดเจน
  • เตรียมสตางค์ เตรียมเงินลงทุนในจำนวนที่เหมาะสม
  • เตรียมใจ ให้พร้อมกับทุกสถานการณ์ที่จะมีผลกระทบต่อการลงทุน

"รู้จักความเสี่ยงและผลตอบแทน"

There is no such ting as a free lunch. เพราะโลกนี้ไม่มีอะไรที่เราจะได้มาฟรีๆ การลงทุนในหลักทรัพย์ใดที่คาดว่าน่าจะได้ผลตอยแทนสูงย่อมจะมีความเสี่ยงสูงด้วย เช่นกัน เพราะ ความเสี่ยงคือความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ก่อนการลงทุนเราจึงต้องประเมินความเสี่ยงที่จะยอมรับได้ อย่างรอบคอบก่อนเสมอ.....

"การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental analysis)" 

แบ่งการวิเคราะห์หลักทรัพย์เป็น 3 ระดับคือ 

  1. การวิเคราะห์เศรษฐกิจ เป็นการมองภาพรวมและแนวโน้มในระดับมหภาค ทั้งเศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจในประเทศและปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจซึ่งอาจมีผลต่อราคาหลักทรัพย์ เช่น สถานการณ์ทางการเมือง นโยบายของรัฐบาล ภัยธรรมชาติ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี
  2. การวิเคราะห์อุตสาหกรรม เป็นการวิเคราะห์วงจรของอุตสาหกรรม เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มการเติบโตศักยภาพในการแข่งขัน รวมถึง Demand and Supply ในตลาด
  3. การวิเคราะห์บริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพจากรายงานทางการเงิน ประเภทธุรกิจ รวมถึงสินค้าและบริการ กระบวนการผลิต กลยุทธ์ทางธุรกิจ นโยบายการบริหารงาน เพื่อประเมินศักยภาพในการดำเนินงาน การทำกำไรในอนาคต

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานจะช่วยให้ทราบมูลค่าที่แท้จริงของหลักทรัพย์ เมื่อเปรียบเทียบกับราคาตลาดของหลักทรัพย์ที่ซื้อขายกัน

"Derivative Warrants (DW) หรือ ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์"

      เป็นตราสารการเงินประเภทหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นทางเลือกให้แก่ผู้ลงทุนได้ในปัจจุบันเพื่อให้โอกาสในการสร้างผลตอบแทนเพิ่มนอกเหนือจากการลงทุนในหลักทรัพย์อื่น ในต่างประเทศ DW เป็นตราสารที่ผุ้ลงทุนนิยมซื้อขายมากและมีมากมายหลายประเภท แต่ DW ที่ซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยระยะแรก จะเป็น DW ที่มีลักษณะง่ายๆ ไม่ซับซ้อน

"ตราสารหนี้"

ตราสารหนี้ คือ ตราสารทางการเงินที่แสดงความเป็นหนี้ระหว่างกัน โดยลักษณะของการเป็นตราสารเป็นสิ่งที่สามารถเปลี่ยนมือได้กล่าวอีกนัยหนึ่งตราสารหนี้ก็คือ การกู้ยืมเงินชนิดหนึ่งที่มีความเป็นมาตรฐาน ผู้ออกตราสารเป็นผู้กู้หรือลูกหนี้ ในขณะที่ผู้ให้กู้เป็นผู้ซื้อหรือเจ้าหนี้ โดยทั้งสองฝ่ายมีข้อผูกพันทางกฎหมายที่จะได้รับชำระเงินหรือผลประโยชน์อื่นใด เช่น ดอกเบี้ย เงินต้น ตามเวลาที่กำหนด ทั้งนี้ ตราสารหนี้มีคุณสมบัติที่สามารถแบ่งเป็นหน่วยย่อยๆที่เท่าๆกันโดยได้ผลประโยชน์หรืออัตราผลตอบแทนเท่ากันทุกหน่วย และมีคุณสมบัติที่สามารถซื้อขายเปลี่ยนมือกันได้จนกว่าจะหมดอายุของตราสารนั้น
สำหรับการเรียกชื่อตราสารหนี้ มีความแตกต่างกันเล็กน้อยระหว่างในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยทั่วไปในต่างประเทศใช้คำว่า Bond สำหรับตราสารหนี้ที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน(Secured bond) และใช้คำว่า Debenture สำหรับตราสารหนี้ที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน(Unsecured bond) สำหรับในประเทศไทยนิยมเรียกตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาลหรือองค์กรของรัฐว่า พันธบัตร(Bond) ส่วนตราสารหนี้ที่ออกโดยภาคเอกชนจะเรียกว่า หุ้นกู้(Debenture)

นอกจากนี้ภายในงานยังได้มีการเชิญผู้เชี่ยวชาญ มาร่วมเสวนา เรื่องสถานการณ์การเงินในปัจจุบันให้ผู้ที่สนใจได้รับฟัง และที่น่าประทับใจที่สุดก็คือ พนักงานทุกคนของสถาบันการเงินต่างๆ มีอัธยาศรัยที่ดีมาก

 

นายโยธิน ตาคำ เอกการเงินการธนาคาร หมู่เรียน 02 รหัสนักศึกษา 55127326081
 

 

 

 

 
จากการที่ได้ไปเข้าชมงาน SET in the City จัดที่สยามพารากอน ชั้น5 ณ วันที่ 22-25 พ.ย. 55 ที่จัดขึ้นเพื่อให้นักลงทุนได้มาดูงาน เพื่อใช้สำหรับการลงทุนต่างๆ ดิฉันก็ได้มาเข้าชมงานที่นี้เช่นกัน ในงานมีบูธมากมาย อาทิ ตลาดหลักทรัพย์ต่างๆ บริษัทประกันภัย และสถาบันการเงินเป็นต้น ดิฉันได้ความรู้จากงานนี้มากมาย เช่น การลงทุนในรูปแบบต่างๆ ว่าเราควรลงทุนแบบไหน ถ้าลงทุนแล้วผลตอบแทนจะดีหรือไม่ ต่อไปก็การเล่นหุ้น เราก็ต้องดูว่าหุ้นนั้นเราควรที่จะซื้อมาต่อยอดเพื่อทำกำไรให้เราได้หรือไม่ แล้วเราก็ต้องดูหุ้นเป็นว่าหุ้นไหนตก หรือหุ้นไหนดีควรแก่การลงทุน การลงทุนในหุ้นถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนสูงกว่าเงินเฟ้อ แต่มีความเสี่ยงสูงเช่นกัน จึงเหมาะกับผู้ลงทุนที่รู้จัก เข้าใจ และยอมรับความเสี่ยงจากการลงทุนในหุ้นได้ 
จากงานนี้ทำให้ดิฉันได้ความรู้มากยิ่งขึ้น ทำให้รู้จักการลงทุน หุ้นต่างๆ การประกันชีวิตในรูปแบบต่างๆกันไป งานนี้ก็มีทั้งความรู้ในด้านของวิชาการ และ กิจกรรม มีทั้งเล่นเกมเพื่อได้ของรางวัล การกดไลด์เพื่อแสดงความคิดเห็น งานนี้ถือว่าตอบโจทย์ของผู้ที่ต้องการลงทุนได้ดีทีเดียว ส่วนสำหรับผู้ที่มาหาความรู้เช่นนักศึกษาหรือบุคคลทั้วไปนั้น ก็ทำให้ได้ความรู้เพิ่มมากขึ้นจากบูธต่างๆที่ได้จัดนำเสนอ อีกทั้งตลาดหลัทรัพย์แห่งประเทศไทยนำนักวิเคราะห์ นักวิชาการ ผู้บริหารต่างๆมาชี้แจงการลงทุนและการซื้อหุ้น ทำให้เราได้รู้จักขั้นตอนของการลงทุนให้หุ้น คือ ขั้นตอนแรกเราจะต้องกำหนดเป้าหมายและระยะเวลาในการลงทุนนั้นก่อน จากนั้นก็วิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน เช่น การวิเคราะห์เศรษฐกิจ วิเคาระห์อุตสาหกรรม วิเคราะห์บริษัท ขั้นต่อไปก็ประเมินมูลค่าที่แท้จริงคือการดูว่าหุ้นนั้นถูกหรือแพงเพื่อเลือกหุ้นที่ให้ผลตอบแทนคุ้มค่ากับความเสี่ยง ขั้นต่อไปหาจังหวะการลงทุนคือการจัดสินใจว่าเราควรจะซื้อหรือขายหุ้นตอนไหนดี ด้วยการวิเคราะห์พฤติกรรมมนุษย์ของหุ้น จากราคา ปริมาณการซื้อขายและช่วงจังหวะเวลาเพื่อหาราคาที่เหมาะสม ขั้นต่อไปการตัดสินใจซื้อขาย ขั้นสุดท้ายก็คือการติดตามผลการลงทุน นี้ก็คือขั้นตอนในการลงทุนในหุ้น 
จากงานนี้ก็ยังทำให้เรารู้จักกับตราสารหนี้(Debt Instrument) เป็นตราสารทางการเงิน ที่มักจะถูกนักลงทุนมองข้ามไป  เพราะเหตุนี้ผู้คนทั้งหลายรู้สึกว่า ตราสารประเภทนี้ดูง่ายๆ ไม่มีอะไรซับซ้อนจึงไม่ค่อยให้ความสนใจ หลายคนคิดว่าเข้าใจตราสารประเภทนี้ดีอยู่แล้ว แต่พอเริ่มเรียนรู้ไป กลับรู้สึกว่ายังมีความซับซ้อนในการคิดวิเคราะห์มากขึ้น แต่หากนักลงทุนพิจารณานำตราสารหนี้เข้ามาประกอบใน Portfolio แล้ว จะพบว่าสามารถช่วยลดความเสี่ยงได้อย่างน่าสนใจทีเดียว นอกจากจะรู้จกกับตราสารหนี้แล้วดิฉันก็ยังรู้จักกับพันธบัตรภาครัฐ(รวมรัฐวิสาหกิจ)เป็นตราสารหนี้ที่มีสัดส่วนใหญ่ที่สุดของตลาดตราสารหนี้ไทยโดยรวม พันธบัตรภาครัฐเป็นเครื่องมือที่รัฐบาลนำมาใช้เป็นแหล่งระดมทุนในการชดเชยการขาดดุลงบประมาณ เพื่อใช้ในโครงการพัฒนาเศรษฐกิจต่างๆของประเทศ แล้วยังมีตั๋วเงินคลังซึ่งเป็นหลักทรัพย์ที่รัฐบาลใช้ในการกู้ยืมเงินจากประชาชนในระยะสั้นซึ่งปกติจะมีอายุไม่เกิน1ปี โดยกระทรวงการคลังเป็นผู้ออก และมอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดการประมูล ตั๋วเงินคลังไม่มีการกำหนดดอกเบี้ยเป็นผลตอบแทน แต่ผลตอบแทนจะอยู่ในรูปของ ส่วนลด(Discount) ซึ่งมีมูลค่าเท่ากับจำนวนราคาหน้าตั๋วลบราคาที่ซื้อในครั้งแรก และทำให้รู้เรื่องพันธบัตรออมทรัพย์ เป็นตราสารหนี้ที่รัฐบาลออกโดยให้คำมั่นสัญญาว่า ผู้ถือมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยจากรัฐบาลตามจำนวนและอัตราที่กำหนดไว้ในพันธบัตร นอกจากนี้ยังเป็นพันธบัตรชนิดเดียวที่เปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปสามารถซื้อได้ในตลาดแรกอีกด้วย
งานนี้ให้ทั้งสาระความรู้รอบด้านเกี่ยวกับการลงทุน หุ้นต่างๆ อีกทั้งยังให้ความสนุกสนานแก่ผู้ที่มาร่วมงานอีกด้วย

จากการได้ไปชมและได้ศึกษาที่มหกรรมการลงทุนครบวงจรแห่งปี SET in the City กรุงเทพมหานคร 2012 ที่รอยัล พารากอน ฮอลล์ ชั้น5 สยามพารากอน ในงานได้มีการกิจกรรม และการแนะนำเกี่ยวกับการลงทุนมากมาย มีการจัดบูธของตลาดหลักทรัพย์ ธนาคารต่างๆ และกลุ่มธุรกิจประกันภัย บริษัทอื่นๆอีกมากมาย ได้รับความรู้จากแผนพับ หนังสือ มีการแนะนำและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการลงทุน ถ้าเข้าร่วมกิจกรรมก็มีรางวัลเช่น ธนาคารกรุงเทพ บัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง (Bualuang iBanking) ธนาคารอินเตอร์เน็ต ที่ธนาคารกรุงเทพสร้างสรรค์ขึ้นด้วยเทคโนโลยีเดียวกันกับธนาคารั้นนำทั่วโลกเลือกใช้ เพื่อช่วยให้ทำธุรกรรมทางการเงินได้อย่างมั่นใจสะดวกสบาย ทุกวัน ทุกที่ ทุกเวลา ตลอด 24 ชั่วโมง สามารถชำระ จ่าย โอน ได้ง่ายๆ ผ่านอินเทอร์เน็ต พร้อมความปลอดภัยสูงทุกครั้งที่เข้าทำธุรกรรมทางการเงิน บริการลงทุนในหน่วยลงทุนกองทุนรวม

 -ซื้อ ขาย และสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน
 -สอบถามหน่วยลงทุนคงเหลือ

ดิฉันประทับใจมาก ได้เข้าร่วมสมัคร บัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง ได้รับกระเป๋าบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง Maybank บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ชื่อย่อ MBKET บริษัทประกอบธุรกิจหลักทรัพย์อย่างครบวงจร งานที่ปรึกษาทางการเงินและจัดจำหน่ายหลักทรัพย์มีมาตรฐานสากล มีผลิตภัณฑ์และบริการ Equity บริการนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ Derivatives บริการตัวแทนซื้อขายตราสารอนุพันธ์ Offshore Trading บริการการลงทุนในต่างประเทศ SBL บริการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ เป็นต้น บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็กโก กรุ๊ป เป็นบริษัทผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (Independent Power Producer-IPP) แห่งแรกของไทย มีการดำเนินธุรกิจผลิตไฟฟ้าในรูปแบบครบวงจร เอ็กโก กรุ๊ป เป็นบริษัทจดทะเบียนที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ มีการลงทุนในธุรกิจโรงไฟฟ้าทั้งในและต่างประเทศรวมทั้งสิ้น 21 โรง จนถึงทุกวันนี้เอ็กโก กรุ๊ป ยังคงมุ่งมั่นพร้อมจะขยายการลงทุนเข้าสู่ธุรกิจใหม่ รวมถึงขยายตลาดไปถึงอาเซียนและภูมิภาคใกล้เคียง สิ่งที่ได้รับจากการเข้าชมครั้งนี้ ทำให้ได้ความรู้เพิ่มขึ้น ทั้งจากการได้ฟังการบรรยายของแต่ละบูธ แผนพับและหนังสือ และยังได้รับกระเป๋าอีกด้วย

จากที่ได้ไปดูงาน SET in the City 2012 จัดขึ้นที่รอยัล พารากอน ฮอลล์ ชั้น5 กรุงเทพมหานคร ในงานได้มีการแบ่งเป็นโซนๆ ได้แก่ โซนที่1 Investment on Stage ระดมทุกความเห็น มุมมองของนักวิเคราะห์ชั้นนำระดับตำนาน พร้อมสัมมนาเด็ด เนื้อหาดีจาก 10 บริษัทหลักทรัพย์ชั้นนำ โซนที่2 จุดแลกของสัมมนาคุณ สมาคม TFPA/ASCO/TIA โซนที่3 Hall 2-3 กลุ่มธนาคาร/บล./บลจ./โกลด์ฟิวเจอร์ส/ประกันภัย โซนที่4 Vision Talk on Stage Seminar Hall 1 เวทีสัมมนาการลงทุนแห่งปี ที่คุณเข้าถึงได้เวทีเดียว ที่จะเปิดวิสัยทัศน์ 360ํ การลงทุนเจาะลึก รู้จริง ทันทุกกระแสการลงทุนโลก กับนักวิเคราะห์ นักกลยุทธ์ นักวิชาการ ผู้บริหารองค์กรรัฐและเอกชนชั้นนำแลกเปลี่ยนมุมมองเข้มข้น เต็มตลอด 4 วัน พร้อมตอบทุกคำถามเรื่องการลงทุนที่คุณอยากรู้ สดๆ ผ่าน facebook โซนที่5 SET in the City Room 1-2 22-23 Opportunity Day , 24-25 Financial Planning โดยสมาคมนักวางแผนการเงินไทย โซนที่6 Hall 1 บริษัทจดทะเบียน หน่วยงานภาครัฐและเอกชน จะมีการแสดงบูทต่างๆมากมาย....อาทิเช่น -กลุ่มตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย -หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ได้แก่ กรมสรรพากร สำนักงานบริหารหน๊้สาธารณะ เป็นต้น -กลุ่มธุรกิจประกันภัยต่างๆ ได้แก่ บมจ.ไทยประกันชีวิต บมจ.เมืองไทยปรกันชีวิต เป็นต้น -โบรกเกอร์ผู้ค้าทอง ได้แก่ บ.จึทึ เวลธ์ แมเนจเมนท์ บ.ฮั่วเซ้งเฮง โกลด์ ฟิวเจอร์ส เป็นต้น -บริษัทจดทะเบียนกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ได้แก่ บมจ. ธนาคารไทยเครดิตเพื่อรายย่อย บมจ. ธนาคารกสิกรไทย บมจ. ธนาคารไทยพาณิชย์ บมจ. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา บมจ. ธนาคารกรุงเทพ บมจ. ธนาคารกรุงไทย บมจ.ธนาคารทิสโก้ บมจ. ธนาคารเกียรตินาคิน -บริษัทจดทะเบียน ได้แก่ บมจ.ปตท. บมจ.เอสพีซีจี บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง บมจ.ก่รบินไทย เป็นต้น -บริษัทหลักทรัพย์ต่างๆ -บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ได้รับความรู้มากมายจากบูทต่างๆๆได้สิ่งของ รางวัลจากงานมามากมาย รู้สึกสนุกสนานที่ได้ไปงานนี้ มีความสุขมากๆๆค่ะ

จากการที่ผมได้ไปชมงานมหกรรมการลงทุนครบวงจรแห่งปี "SET in the City กรุงเทพมหานคร 2012" ในวันที่ 23 พ.ย.55 ณ รอยัล พารากอน ฮอลล์ ชั้น5 สยามพารากอน ภายในงานมีรูปแบบการลงทุนมากมาย มีการจัดบูธต่างๆ ที่เดียวกับตลาดหลักทรัพย์ ธนาคาร การลงทุนในรูปแบบต่างที่ที่น่าสนใจมากมาย อาทิเช่น - บริษัทจดทะเบียน เช่น ปตท. , เอสพีซีจี , การบินไทย , เมเจอร์ซินิแพล็กซ์ ฯลฯ -บริษัทหลักทรัพย์ เช่น บล.กสิกรไทย , บล.ไทยพาณิชย์ , บล.กรุงศรี , บล.บัวหลวง ฯลฯ -บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เช่น บลจ.เกีรยตินาคิน , บลจ.ทหารไทย ฯลฯ -บริษัทจดทะเบียนกลุ่มธนาคารพาณิชย์ เช่น บมจ.ธนาคารกรุงเทพ , บมจ.ธนาคารกรุงไทย ฯลฯ -โบรกเกอร์ผู้ค้าทอง เช่น บ.จีที เวลธ์ แมเนจเมนท์ , บ.ออสสิริส ฟิวจอร์ส ฯลฯ -กลุ่มธุรกิจประกันภัย เ่ช่น บมจ.ไทยประกันชีวิต , บมจ.เมืองไทยประกันชีวิต ฯลฯ -หน่วยงานภาครัฐและเอกชน เช่น กรมสรรพากร สำนักบริหารหนี้สาธารณะ ฯลฯ -กลุ่มตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เช่น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ฯลฯ

จากการได้เข้าร่วมงาน ถือเป็นการเริ่มต้นของการเรียนรู้เกี่ยวกับธุรกิจประเภทต่างๆเป็นอย่างยิ่ง เพราะในแต่ละบูธ ที่จักแสดงจะมี เจ้าหน้าที่ พนง. พร้ิอมอธิบายข้อมูลต่างๆ มีเอกสารมากมายประกอบ พร้อมมีเกม หรือกิจกรรม ที่เกี่ยวข้องกับ บูธ นั้นๆ ทำให้เรารู้ว่า ยุคสมัยใหม่ไม่จำเป็นต้องไปทำธุรกรรม การเงิน ที่สถานที่นั้นๆแต่ยังมีบริการทาง social network ทางแอปพลิเคชั่นต่างๆ ที่สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น มีการจัดเวทีสัมมนาการลงทุนแห่งปี ที่นักลงทุนควรรับรู้ เป็นงานที่เหมาะกับนักธุรกิจกลุ่มผู้ลงทุนเป็นอย่างยิ่ง เพราะแต่ละบูธจะมีเจ้าหน้าที่ชักชวน ให้ผู้เข้าร่วมงานเข้ามาลงทุน แต่ผมยังเป็นนักศึกษา บริหารธุรกิจ คงได้แค่ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนต่าง เพื่อ่เป็นความรู้ในอนาคตข้างหน้า หรือใช้ในการประกอบอาชีพ ภายในงานทำให้ผมรู็สึกว่า อนาคตข้างหน้า จะต้องมีเรามาเป็นเจ้าหน้าที่ เป็นพนง.ของบริษัทที่เกี่ยวกับการลงทุน หรือ ธนาคารต่างๆ ที่มีชื่อเสียงที่มาจัดบูธภายในงานแน่ๆ

เอกสารที่ได้มาจากภายในงาน

ตลาดหลักทรัพย์

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ ตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517 เพื่อทำหน้าที่เป็นแหล่งกลางในการระดมเงินทุนระยะยาวที่มีประสิทธิภาพ สนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของในกิจการธุรกิจและอุตสาหกรรมในประเทศส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและเป็นศูนย์กลางการซื้อขายหลักทรัพย์ประเภทต่างๆ เริ่มทำการซื้อขายหลักทรัพย์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2518 ทั้งนี้ตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่ได้เป็นผู้ให้บริการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยตรง แต่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการให้บริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหลักทรัพย์และดูแลให้การซื้อขายหลักทรัพย์เป็นไปอย่างมีระเบียบ คล่องตัว โปร่งใส่ และงานของตลาดหลักทรัพย์ฯ อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกการลงทุนที่หลากหลายให้ผู้สนใจลงทุนทั่วไป ตลาดหลักทรัพย์ฯ จัดให้มีตลาดรองสำหรับซื้อขายหลักทรัพย์ต่างๆ เพิ่มเติม คือ ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ตลาดตราสารหนี้ และตลาดอนุพันธ์

ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ

เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการลงทุน ที่ผู้มีเงินออมได้มีส่านร่วมเป็นเจ้าของกิจการขนาดกลาง และขนาดเล็กที่มีศักยภาพ หรือมีแนวโน้มการเติบโตที่ดี โดยมีโอกาสได้รับผลตอบแทนในหลายรูปแบบจากกิจการที่ลงทุน เช่นเดียวกับการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ อาททิ สิทธิได้รับเงินปันผล สิทธิในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนและ/หรือใบสำคัญแสดงสิทธิฯ และสิทธิอื่นๆ ที่ผู้ถือหุ้นพึงได้รับ หากผู้ลงทุนเลือกจังหวะการลงทุน มีการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตัดสินใจลงทุนอย่างเหมาะสมก็มีโอกาสได้รับกำไรจากการซื้อขายหลักทรัพย์เป็นการตอบแทน

ตลากตราสารหนี้

ตลาดตราสารหนี้ BEX(Bond Electronic Exchange) ให้บริการระบบการซื้อขายตราสารหนี้ประเภทต่างๆ ได้แก่ ตราสารหนี้ภาครัฐ ตราสารหนี้ภาคเอกชน ตราสารหนี้ของสถาบันการเงินระหว่างประเทศ และตราสารหนี้ที่ออกในโครงการเอเชียบอนด์ (Asian Bond) ทั้งแก่ผู้ลงทุนทั่วไปและผู้ลงทุนสถาบันโดยให้บริการผู้ลงทุนทั่วไปด้วยระบบจับคู่อัตโนมัติ และให้บริการผู้ลงทุนสถาบันด้วยระบบ Firsts (Fixed Income and Related Securities Trading System)ซึ่งเป็นระบบซื้อขายตราสารหนี้แบบ OTC (Over-the-counter) บนระบบอิเล็กทรอนิกส์ ผู้สนใจลงทุนสามารถเปิดบัญชีเพื่อซื้อขายตราสารหนี้และส่งคำสั่งซื้อหรือขายผ่านเจ้าหน้าที่การตลาดตราสารหนี้กับบริษัทหลักทรัพย์ที่ให้บริการซื้อขายตลาดตราสารหนี้

ตลาดตราสารอนุพันธ์

ตลาดหลักทรัพย์ฯ จัดตั้งบริษัท ตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (Thailand Futures Exchange Public company Limited : TFEX ) หรือที่เรียกกันว่า ตลาดอนุพันธ์ เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2547 เพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และได้รับใบอนุญาตให้เป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2548 โดยอนุพันธ์ที่สามารถจัดให้มีการซื้อขายได้ คือ ฟิวเจอร์ส (Futures) ออปชั่น (Options) และออปชั่นบนสัญญาฟิวเจอร์ส (Options on Futures) ซึ่งอนุพันธ์เหล่านี้มีสินทรัพย์อ้างอิงในประเภทต่างๆ เช่น อ้างอิงกับตราสารทุน ได้แก่ ดัชนีราคาหลักทรัพย์ หลักทรัพย์อ้างอิงกับตราสารหนี้ ได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล อัตราดอกเบี้ย และอ้างอิงกับราคาหรือดัชนีราคาอื่นๆ ได้แก่ ทองคำ น้ำมันดิบ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เป็นต้น    

ออปชั่น (Options) เป็นสัญญาระหว่างบุคคล 2 ฝ่ายคือ ผู้ซื้อ และผู้ขาย โดยผู้ขายให้สิทธิกับผู้ซื้อที่จะทำการซื้อ (หรือขาย) สินค้า ตามจำนวน ราคา และภายในระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา โดยผู้ซื้อสามารถเลือกที่จะให้สิทธิหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้ ผู้ซื้อ จะต้องจ่ายเงินค่าออปชั่นที่เรียกว่า ต่าพรีเมี่ยม (Premium) ให้แก่ผู้ขายเป็นการตอบแทนเพื่อแลกกับการได้สิทธิตามสัญญานั้น ออปชั่นในหุ้นแบ่งเป็น 2 ประเภท คอลออปชั่น (Call Options) พุทออปชั่น (Put Options) ETF หรือ Exchange Traded Fund เป็นกองทุนรวมที่มาจดทะเบียนเพื่อซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ETF เป็นนวตกรรมที่รวมความโดดเด่นของการเป็นกองทุนที่สามารถลงทุนในสินทรัพย์ได้หลากหลายประเภท เช่น หุ้นในประเทศ หุ้นต่างประเทศ ทองคำ น้ำมัน ETF สามารถซื้อขายเหมือนหุ้น ราคาซื้อขายเคลื่อนไหวตลอดเวลาในตลาดหลักทรัพย์

         จากที่ได้ไปชมเเละศึกษางานSET in the City ได้รับความรู้มากมาย กองทุนรวม คือ เครื่องมือในการลงทุน (investment vehicle) สำหรับผู้ลงทุนรายย่อย ที่ประสงค์จะนำเงินมาลงทุนในตลาดเงินตลาดทุน แต่ติดขัดด้วยอุปสรรคหลายประการ ที่ทำให้การลงทุนด้วยตนเองไม่สามารถได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมายที่ต้องการ เช่น

· มีทุนทรัพย์จำนวนจำกัด ไม่สามารถกระจายการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเภทได้มากพอ เพื่อลดความเสี่ยงจากการลงทุน หรือ · ไม่มีประสบการณ์ ความรู้ ความชำนาญในการลงทุน หรือ · ไม่มีเวลาจะศึกษา ค้นหา และติดตามข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจการลงทุน กองทุนรวม จึงเป็นเครื่องมือในการลงทุนที่มีประสิทธิภาพ มีการจัดการลงทุนอย่างเป็นระบบ โดยมีจุดมุ่งหมาย ให้การลงทุนได้รับผลตอบแทนที่ดีสุด ภายใต้กรอบความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนยอมรับได้ประเภทของกองทุนรวม

กองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ (Fixed income fund) เน้นลงทุนเฉพาะในตราสารหนี้ เช่น เงินฝาก พันธบัตร หรือ หุ้นกู้ เน้นความเสี่ยงต่ำ รับรายได้ประจำจากดอกเบี้ย กองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น (capital protected fund) เน้นการลงทุนแบบต้นไม่หายแต่กำไรไม่สูงมากนัก ด้วยกลไกการเลือกลงทุนในตราสารทางการเงินที่มีความเสี่ยงต่ำ กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (foreign investment fund : FIF) เป็นช่องทางกระจายเงินทุนไปยังต่างประเทศเพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยง กองทุนรวมหน่วยลงทุน (fund of funds) เป็นกองทุนรวมที่นำเงินไปลงทุนในกองทุนรวมอื่นอีกทีหนึ่งเพื่อให้ได้ผลตอบแทนตามนโยบายการลงทุนที่กำหนด กองทุนรวมตราสารแห่งทุน (equity fund) เน้นลงทุนในหุ้นไม่น้อยกว่า 65 % เสี่ยงสูงแต่ผลตอบแทนก็ มีโอกาสสูงด้วย กองทุนรวมมีประกัน (guaranteed fund) ลงทุนแบบสบายใจ สบายกระเป๋า เพราะมีผู้รับประกันความเสี่ยง (guarantor) ตามเงื่อนไขการลงทุนที่กำหนด กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (property fund) ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ บ้าน คอนโดมิเนียม อาคารสำนักงาน หรือ ศูนย์การค้า ที่ผู้ลงทุน สามารถเป็นเจ้าของตึกก็ได้ และมีโอกาสได้รับผลตอบแทนจากทรัพย์สินนั้นๆ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual fund : RMF) ลงทุนแบบออมเงินระยะยาวเพื่อการเกษียณอายุพร้อมได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ลดทุกปีที่ซื้อสูงสุดร้อยละ 15 ของรายได้ทั้งปีหรือไม่เกิน 500,000 บาท เน้นลงทุนระยะยาวต่อเนื่องจนอายุ 55 ปี กองทุนรวมผสม (mixed fund) ลงทุนทั้งหุ้นและตราสารหนี้ผสมผสานกัน เน้นความยืดหยุ่นปรับสัดส่วนการลงทุนตามสถานการณ์ เพื่อลดความเสี่ยง กองทุนรวมตลาดเงิน (money market fund) ลงทุนในตราสารการเงินระยะสั้นอายุไม่เกิน 1 ปี เป็นส่วนใหญ่เน้นความเสี่ยงต่ำ แต่มีโอกาสให้ผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝาก กองทุนรวมดัชนี (index fund) เน้นการสร้างผลตอบแทนล้อตามการเคลื่อนไหวของดัชนีราคาหลักทรัพย์ ที่กำหนดไว้ในนโยบายการลงทุน เช่น ลงทุนตามดัชนี SET Index หรือ SET50 เป็นต้น กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (Long term equity fund : LTF) เน้นการลงทุนในหุ้น ที่แถมสิทธิลดหย่อนภาษีสำหรับเงินที่นำมาลงทุน ได้มากถึงร้อยละ 15 ของรายได้ทั้งปี หรือไม่เกิน 500,000 บาท ระยะเวลาลงทุนเพียง 5 ปฏิทิน Exchange Traded Fund (ETF) กองทุนเปิดจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ผู้ลงทุนสามารถส่งคำสั่งซื้อขายหน่วยลงทุน ETF โดยผ่านบริษัทหลักทรัพย์ (Brokers) ได้เหมือนการซื้อขายหุ้นทั่วไป และยังช่วยลดความเสี่ยง อีกทั้งยังใช้เงินเริ่มต้นในการลงทุนไม่มาก พร้อมกับช่วยสร้างสภาพคล่องของการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ให้มากขึ้น เเละได้รับความรู้ต่างๆอีกมากมายได้เข้าร่วมกิจกรรม เล่นเกม เเละมีการเเจกกระเป๋าด้วย

      จากที่ได้ไปศึกษางานมหกรรมการลงทุนครบวงจรแห่งปี SET in the City 2012  จัดขึ้นระหว่างวันที่ 22-25 พฤศจิกายน 2555 ณ รอยัล พารากอนฮอลล์ ชั้น 5 ศูนย์การค้าสยามพารากอน  จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 8 ภายใต้แนวคิด “Your Investment Vision: เปิดโลกการลงทุน ที่คุณเข้าถึงได้” เพื่อเป็นศูนย์กลางรวบรวมของผลิตภัณฑ์ และบริการทางการเงินการลงทุนที่ทันสมัย และครบวงจร โดยมีหน่วยงานทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนร่วมออกบูทถึง 100 องค์กร นำเสนอข้อมูล และให้คำปรึกษาด้านการวางแผนการลงทุน รวมถึงนำเสนอเทคโนโลยีบริการทางการเงินใหม่ๆ นอกจากนี้ ยังมีสัมมนาที่น่าสนใจอีก 50 หัวข้อ จาก 100 วิทยากรมากด้วยประสบการณ์
   ดิฉันออกเดินทางวันที่ 23 พฤศจิกายน 2555 ภายในงานมีผู้คนที่สนใจเป็นจำนวนมาก ทั้งนักศึกษา นักลงทุน รวมไปถึงผู้คนที่เดินทางไปจับจ่ายสินค้าก้เข้าไปเยี่ยมชมงาน พี่ๆแต่ละบูทยิ้มแย้มและใจดีมาก มีของแจกมากมายเพียงแค่เรารวมเล่นเกมหรือกรอกแบบสอบถาม

จากที่ดิฉันได้ไปศึกษาดูงาน มหกรรมการลงทุนครบวงจรแห่งปี SET in the city ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่22-25พ.ย.2555 ที่จัดขึ้นบริเวณ รอยัล พารากอนฮอลล์ ชั้น5 ศูนย์การค้าสยามพารากอน งานนี้จัดขึ้นเพื่อให้ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับการลงทุน ก็จะมีบูธซึ้งจัดไว้ให้สอบถามหรือศึกษามากมาย เช่น -กลุ่มตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย -หน่วยงานภาครัฐและเอกชน -กลุ่มธุรกิจประกันภัยต่างๆ -บริษัทจดทะเบียนกลุ่มธนาคารพาณิชย์ -บริษัทจดทะเบียน -บริษัทหลักทรัพย์ -บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน -โบรกเกอร์ผู้ค้าทอง ภายในงาน แบ่งเป็น 6 โซน 1.) Investment on Stage ระดมทุกความเห็น มุมมองของนักวิเคราะห์ชั้นนำระดีบตำนาน พร้อมสัมมนาเด็ด เนื้อหาดีจาก 10 บริษัทหลักทรัพย์ชั้นนำ 2.)จุดแรกของสมนาคุณ สมาคม TFPA/ASCO/TIA 3.)Hall 2-3 กลุ่มธนาคาร/บล./บลจ./โกลด์ฟิสเจอร์ส/ประกันภัยต่างๆ 4.)Vision Talk on Stage Swminar Hall 1 เวทีสัมณาการลงทุนสำหรับผู้ที่สนใจการลง แต่ต้องอายุ ยี่สิบปีขึ้นไปถึงจะลงทุนได้ 5.)Financial Planning โดยสมาคมนักวางแผนการเงินไทย 6.)มีการจดทะเบียนภาครัฐและเอกชน

บูธที่ดิฉันได้ไปศึกษามา คือ บริษัทเมืองไทยประกันชีวิต (Muang Thai Life Assurance) โดยให้ความรู้ เกี่ยวกับ ประกันต่างๆ เช่น --เมืองไทยคุ้มครองตลอดชีพ 99/20 “สร้างหลักประกันให้คุณและครอบครัวได้อุ่นใจ” สร้างหลักประกันเพื่อเป็นหลักประกันไว้ให้แก่ลูกหลานหรือคนที่คุณรัก ด้วยเงินครบสัญญา 100% มั่นใจ ด้วยความคุ้มครองชีวิตที่ยาวนานถึงครบอายุ99ปี แต่ชำระเบี้ยประกันภัยเพียง20ปี อายุที่รับประกันภัย1เดือน-65ปี เน้นความคุ้มครองชีวิต ลดหย่อนภาษีได้ --ออมทรัพย์ 20/14 “สร้างความมั่นคง สร้างหลักประกัน สะสมเงินออม คุ้มครองระยะยาว” วางแผนการออมด้วยการสะสมเงินออมระยะยาวเพื่อนำไปใช้ในอนาคต คุ้มครองอุ่นใจด้วยความคุ้มครองชีวิต 100% ตลอดสัญญาให้คุณและคนที่คุณรักได้อุ่นใจ จ่ายสั้น คุ้มครองนานด้วยความคุ้มครองยาวนานถึง20ปี แต่ชำระเบี้ยประกันภัยเพียง14ปี อีกทั้งเบี้ยประกันภัยที่ชำระไม่แพง ผู้ที่มีรายได้น้อยก็สามารถออมเงินเอย่างที่หวัง อายุที่รับประกันภัย 1-65ปี เน้นการออมทรัพย์ ลดหย่อนภาษีได้ --เมืองไทย ธนพันธุ์ “ผลตอบแทนที่งอกเงยให้คุณและครอบครัว” อิ่มเอมด้วยเงินจ่ายคืนระหว่างสัญญาทุกๆ2ปี รวมสูงถึง9ครั้ง เพื่อนำไปใช้จ่ายตามที่ต้องการ อิ่มใจกับความคุ้มครองชีวิตที่ยาวนานถึง20ปี แต่ชำระเบี้ยประกันเพียง8ปี อิ่มสุขด้วยการชำระเบี้ยระดับปานกลาง แต่ได้รับความคุ้มครองชีวิตที่เพิ่มขึ้นในแต่ละช่วงชีวิต อายุรับประกันภัย 1-65ปี มีเงินจ่ายคืนระหว่างสัญญา ลดหย่อนภาษี ความคุ้มครองชีวิตเพิ่มขึ้น --เมืองไทย ทวีทรัพย์ 15/7 พลัส “คุ้มครอง คุ้มค่า...เงินตราเพิ่มพูน” มั่นใจด้วยผลประโยชน์รวมสูงสุด 236%ด้วยเงินจ่ายคืนระหว่างสัญญา มั่นคงด้วยการสร้างหลักประกัน เพื่อความมั่นใจของคนในครอบครัว กับความคุ้มครองชีวิตที่สูงสุดถึง 200% คุ้มค่าด้วยการชำระเบี้ยเพียง 7ปี แต่ได้รับความคุ้มครองเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว ประหยัด กับสิทธิการลดหย่อนภาษี อายุที่รับประกันภัย 1-70ปี มีเงินจ่ายคืนระหว่างสัญญา ลดหย่อนภาษี ความคุ้มครองชีวิตเพิ่มขึ้น --*สัญญาเพิ่มเติมประกันภัยสุขภาพ แบบแยกค่าใช้จ่าย และ แบบ วีไอพี ครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่มากกว่า...ช่วยให้คุณหมดห่วงเมื่อเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลในฐานะผู้ป่วยใน เลือกรับผลประโยชน์ค่าห้องได้สูงสุด25000บาทต่อวัน สามารถเบิกผลประโยชน์ค่าห้อง ค่าอาหาร และค่าบริการพยาบาลได้สูงสุด120วันต่อการเข้าพักรักษาตัวครั้งใดครั้งหนึ่ง สามารถเข้ารักษาได้ทุกโรงพยาบาลทั่วประเทศ ไม่ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาล อีกทั้งดิฉันยังพอทราบข้อมูลย้อยๆของ ธนาคารกสิกรไทย ฝากสะดวก ออมง่ายๆ บริการ K-CDM (เครื่องฝากเงินสดอัตโนมัติ) ช่วยให้การฝากเป็นเรื่องง่ายและสะดวกยิ่งขึ้นผ่านเครื่องฝากเงินสดอัตโนมัติ บริการหักบัญชีเงินฝากอัตโนมัติ ช่วยให้การฝากเงินฝากประจำทวีทรัพย์ 24 เดือน ทำได้สะดวกยิ่งขึ้น ชำระง่าย โอนสบาย บริการชำระเงินผ่านการหักบัญชีอัตโนมัติกสิกรไทย(K-Direct Debit) ซึ้งจะช่วยให้ประหยัดเวลา สะดวก รวดเร็วในการใช้เงินมากขึ้น บริการ K-Mobile Banking PLUS ช่วยให้การโอนเงินและชำระเงินทำได้สะดวก ทุกที่ทุกเวลา ด้วยโทรศัพท์มือถือ ธนาคารกรุงไทย ช่องทางการลดหย่อนภาษียอดนิยม คือการลงทุนในกองทุน LTE-RMF การซื้อประกันชีวิต และการใช้สิทธิลดหย่อนต่างๆ ที่กรมสรรพากรกำหนด กองทุนรวม หุ้นระยะยาว (LTE) ซื้อได้สูงสุดไม่เกิน 15% ของรายได้รวมทั้งปีและต้องไม่เกิน500,000บาท มีความเสี่ยงสูงเพราะต้องลงทุนในหุ้นสามัญไม่น้อยกว่าร้อยละ65 โดยเฉลี่ยในรอบปี ไม่บังคับให้ลงทุนต่อเนื่องทุกปี กองทุนรวม เพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ซื้อได้สูงสุดไม่เกิน 15% ของรายได้รวมทั้งปี เมื่อนำเงินมาสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และ กบข. แล้วต้องไม่เกิน 500,000บาท ความเสี่ยงมีหลายระดับ ขึ้นอยู่กับนโยบายการลงทุนของแต่ละกองทุน ลงทุนปีเว้นปีได้ แต่จะนับการลงทุนเฉพราะปีลงทุนจริงเท่านั้น ประกันชีวิต บริษัทกรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต ได้รู้เรื่องการลงทุน การลงทุน ไม่ว่าเป็นการลงทุนค้าขาย ลงทุนในหุ้นหรือกองทุมรวมก็ตาม ในทางทฤษฎีหลักการลงทุนที่มีประสิทธิภาพสูงสุดก็คือ “ซื้อถูก ขายแพง” ซึ้งการจะทำเช่นนั้นได้ นักลงทุนต้องจับจังหวะการลุงทุนได้เป็นอย่างดี และต้องสามารถคาดการณ์ตลาดได้อย่างถูกต้อง ตราสารทางการเงิน แบ่งเป็น4กลุ่มใหญ่คือ 1.ตราสารทุน(Equity) 2.ตราสารหนี้ (Debt) 3.กองทุนรวม (Mutual funds) 4.ตราสารอนุพันธ์ (Derivatives) บลจ.ทหารไทย กองทุนเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองเดียว(Master Fund) คือ กองทุน Templeton Global Bond Fund ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ของกองทุนโดยเฉลี่ยในรอบระยะเวลาบัญชีสำหรับส่วนที่เหลือกองทุนอาจพิจารณาลงทุนในหลักทรัพย์ที่เสนอขายทั้งในและต่างประเทศ ความเสี่ยงของกองทุน Templeton Global Bond Fund 1.ความเสี่ยงเรื่องความสามารถในการชำระหนี้ (Default Risk หรือ Credit Risk) 2.ความเสี่ยงในการลงทุนตราสารที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าระดับลงทุน(Low-Rated or Investment Grade Securities Risk) 3.ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Riak) 4.ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน (Currency Risk) 5.ความเสี่ยงของประเทศที่ลงทุน (Country Risk) 6.ความเสี่ยงจากการเข้าทำธุรกรรมสัญญาซื้อขายล่วงหน้า(Derivative) 7.ความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องของตราสารหนี้ เอไอเอ ประเทศไทย การบริหารการลงทุนที่เลือกได้ พอร์ตโฟลิโอ โมเดล เอไอเอ มีบริการจัดพอร์ตโฟลิโอ การลงทุนให้เหมาะสมตามความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงของคุณโดยแย่งเป็น 3 ระดับ คือ พอร์ตโฟลิโอความเสี่ยงต่ำ(Conservative) สำหรับนักลงทุนที่มีความระมัดระวังสูงโดยต้องการผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝากประจำทั่วไป อย่างไรก็ตามคุณยอมรับความเสี่ยงได้น้อย อาจเพราะต้องการรักษาสินทรัพย์ที่ได้สะสมมาคุณสามารถลงทุนในตราสารหนี้ระยะ 2-3 ปี พอร์ตโฟลิโอความเสี่ยงปานกลาง(Moderate) การไปศึกษาครั้งนี้ได้ความรู้เยอะมาก ได้ความรู้ในหลายๆด้าน อีกทั้ง ยังได้ของติดมือกลับมาเนื่องจากได้ร่วมเล่นเกมส์กับบูธต่างๆ ดิฉันมีความประทับใจเป็นอย่างมาก

ความรู้ที่ได้รับที่ได้ไปศึกษา “โอกาสรับผลตอบแทนต่อเนื่องจากการลงทุนในหุ้นต่างประเทศด้วยการรับซื้อคืนผลตอบแทนเมื่อมูลค่าหน่วยลงทุนปรับตัวขึ้นทุกๆ 5% ตลอด 1 ปี” ลักษณะเด่นของกองทุน บริหารกองทุนเชิงรุก (Active Management) -เน้นคัดเลือกหลักทรัพย์รายตัวพื้นฐานดี และมีศักยภาพเติบโต (Fundamental) ควบคู่กับแนวโน้มการเคลื่อนไหวของตลาด (Market Momentum) -ปรับสัดส่วนการลงทุนในหุ้นได้ 0% -100% และใช้อนุพันธ์ช่วยบริหารความเสี่ยงในช่วงตลาดมีความผันผวน -เน้นลงทุนในต่างประเทศ โดยใช้หลักการการเลือกตลาดที่จะเข้าลงทุน การเลือกอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ การเลือกบริษัทที่แข็งแกร่ง และการบริหารพอร์ตจับจังหวะการลงทุนควบคู่กัน การรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติ -ทยอยรับซื้อคืนอัตโนมัติเมื่อมูลค่าหน่วยลงทุนปรับตัวขึ้นทุกๆ 5% จากมูลค่าหน่วยลงทุน 10 บาท (10.50, 11.00, 11.50….บาท) และบริษัทจัดการมีเงินสดเพียงพอจะชำระค่ารับซื้อคืนในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าหน่วยลงทุนที่เพิ่มขึ้นจากราคารับซื้อคืนล่าสุด ผลตอบแทนจากการลงทุนได้รับการยกเว้นภาษีสำหรับผู้ลงทุนประเภทบุคคลธรรมดา ทำไม ASP-STAR3 จึงน่าลงทุน ? ปี 2013 เป็นโอกาสดีในการลงทุนในหุ้นต่างประเทศ นักวิเคราะห์คาดว่า ดัชนี S&P500 จะปรับฐานลดลงเป็น 1,250 ในปลายปี 2012 จากแรงขายในระยะสั้นจากการที่ตลาดยังรอดูความชัดเจนเกี่ยวกับการแก้ปัญหา Fiscal Cliff ดังนั้น จึงเป็นโอกาสที่ดีในการหาจังหวะเข้าลงทุน ตลาดหุ้นที่น่าสนใจ -ตลาดจีน และฮ่องกง แนวทางปฏิรูปเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่ ภายใต้เสถียรภาพทางการเงิน และการคลังจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้การลงทุนในจีน (ฮ่องกง H-Share) บนการฟื้นตัวของกำไร การยกระดับของ PE ตลาด และอุปสงค์ของ HKD ที่เพิ่มขึ้น -ตลาดสหรัฐ แนวโน้มเศรษฐกิจเติบโตหลังเผชิญข้อจำกัดการคลัง (Fiscal Cliff) แรงขายในระยะสั้นทำให้ราคาหุ้นถูกลงพร้อมต่อการฟื้นตัวจากมาตรการ QE 3 ที่ผักดันธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และ การจ้างงาน จึงเป็นโอกาสเลือกซื้อหุ้นที่มีธุรกิจระดับโลกที่มีศักยภาพในการทำกำไร -ตลาดยุโรป การชะลอตัวของยุโรป เป็นปัจจัยบวกต่อธุรกิจวาณิชธนกิจจากการรวบรวมกิจการ และการปรับโครงสร้างทางการเงินนอกจากนั้น กลุ่มส่งออกซึ่งได้รับประโยชน์จากการที่ค่าเงินยูโรอ่อนตัว ทำให้เป็นผลดีกับสินค้าโดยเฉพาะแบรนด์ระดับโลกซึ่งมีตลาดในเอเชีย หรือ ประเทศที่เศรษฐกิจที่เติบโตดี -ตลาดเอเชีย การเข้าซื้อกิจการ โดยใช้กระแสเงินสด และการแข็งค่าของเงินโดยเปรียบเทียบกับหุ้นในตลาดประเทศพัฒนา สร้างโอกาสในธุรกิจ และการเจริญเติบโตในอนาคต ทำไม ASP-PRIME3 จึงน่าลงทุน? คาดว่าดัชนี SET มีโอกาสปรับฐานมาอยู่ที่ 1,280 จุด เนื่องจากขาดปัจจัยใหม่ที่จะมากระทบตลาด แต่ตลาดถูกกดดันจากความไม่ต่อเนื่องของนโยบายเกี่ยวกับข้อจำกัดทางการคลังในสหรัฐฯ (US Fiscal Cliff) ความต่อเนื่องของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในจีน จะเป็นปัจจัยกดดันให้ตลาดอยู่ในภาวะชะลอตัวเพื่อรอดูความชัดเจน ดังนั้น หากดัชนีปรับตัวตามที่คาดจึงเป็นจังหวะดีในการเข้าลงทุน *ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนปี 2555 คาดว่าจะขยายตัวประมาณ 20% และประมาณ 15% ในปี 2556 โดยได้รับปัจจัยมาจาก -การเติบโตของการใช้จ่ายภายในประเทศ -การลดภาษีเงินได้นิติบุคคลลงเหลือร้อยละ 23 ในปี 2555 และเหลือร้อยละ 20 ในปี 2556 ซึ่งทำให้กำไรของบริษัทจดทะเบียนปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่อัตราการจ่ายเงินปันผลยังอยู่ในระดับสูงกว่า 4% ทังนี้ กลุ่มบริษัทอุตสาหกรรมที่น่าสนใจ คือ กลุ่มที่ได้รับประโยชน์จากการบริโภคในประเทศ อาทิ อสังหาริมทรัพย์การเงิน การเกษตร อาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น -ภูมิภาคเอเชียและประเทศไทยยังสามารถดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศได้ แนวโน้มการลงทุนในการลงทุนในภูมิภาคเอเชียรวมถึงประเทศไทยยังคงอยู่ในทิศทางที่ดี จากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่มีเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพมีอัตราเติบโตต่อเนื่อง มีอัตราการว่างงานที่ต่ำ รวมถึงระดับเงินเฟ้อที่ควบคุมได้ ซึ่งจะช่วยดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศกลับมาได้ การลงทุนในหุ้นอย่างไร การลงทุนในหุ้น ถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนสูงกว่าเงินเฟ้อ แต่ก็มีความเสี่ยงสูงเช่นกัน จึงเหมาะกับผู้ลงทุนที่รู้จัก เข้าใจ และยอมรับความเสี่ยงจากการลงทุนในหุ้นได้ รวมทั้งมีเวลาศึกษาและติดตามข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถืออย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ หากผู้ลงทุนในหุ้นรู้จักเคล็ดลับและแนวทางในการดูแลตัวเอง เช่น แนวทางในการติดต่อกับโบรกเกอร์ และวิธีการตรวจสอบการลงทุน เป็นต้น ก็จะยิ่งช่วยให้การลงทุนในหุ้นเป็นไปอย่างราบรื่น และลดโอกาสการเกิดปัญหาในการลงทุนได้ ความประทับใจ เป็นสถานที่ที่ดีและใหญ่มากสำหรับการจัดงานก็ประทับใจตรงที่ไปศึกษาเป็นครั้งแรกผู้คนมากมายมีแต่นักธุรกิจที่ไปศึกษาดูงานและนักลงทุนก็ได้ไปเห็นธนาคารหลายสาขามารวมกันในงานนี้และก็ได้ไปศึกษากับเพื่อนๆทุกคนก็สนุกสนานมาก

จากการได้ไปงาน SET in the city 2012 มหกรรมการลงทุนครบวงจรแห่งปี..ที่รอยัล พารากอน ฮออล์ ชั้น 5 สยามพารากอน

ได้ดูกิจกรรมจากบูธต่างๆ ได้แนวคิด ความรู้ที่ได้ไปศึกษาดูงานมาดังนี้

เปิดโลกการลงทุนที่คุณเข้าถึงได้ ( YOUR INVESTMENT VISION ) - เปลี่ยน แนวคิดให้กก้าสทันนวัตกรรมการลงทุน : หุ้น อนุพันธ์ พันธบัตร กองทุนรวม ประกันภัย - เปิด รับโลกการลงทุน ผ่าน 100 องค์กรคุณภาพ ที่คัดสรรแล้ว - ปรับ วิสัยทัศน์พาคุณสู่กระแสใหม่ของการลงทุน ด้วยสุดยอดสัมมนา 50 หัวข้อ 100 กูรู

งานเปิดโลกการลงทุน ที่คุณเข้าถึงได้ (Your Investment Vision) ได้แนวคิดความก้าวหน้าของการลงทุน ผ่านระบบการเงินทั้ง หุ้นการเรียนรู้การลงทุนและวิธีการเลือกลงทุน มีนักวิเคราะห์ นักกลยุทธ์ นักวิชาการ ผู้บริหาร มาบรรยายในแต่ละบูธว่ามีความเป็นมา ความสำคัญ ลักษณ ผลกระทบ การคาดการณ์ และมีการแนะนำให้เปิดหุ้นว่าแต่ละหุ้นที่เราจะเปิดนั้นจะมีผลดีต่อเราและผลเสียอย่างไรต่อการลงทุน เช่น การลงทุนในหุ้นเป็นทางเลือกหนึ่งที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนสูงกว่าเงินเฟ้อ แต่มีความเสี่ยงสูงจึงเหมาะกับผู้ลงทุนที่รู้จักเข้าใจ และยอมรับความเสี่ยงจากการลงทุนในหุ้นได้ รวมทั้งมีเวลาการศึกษาและติดตามข้อมูล หากผู้ลงทุนรู้จักเคล็ดลับและแนวทางในการดูแลตัวเองก็จะสามารถบริหารหุ้นได้ดี นอกจากนี้ยังมีการเปิดตัว Application “SET activity“ เพื่อเป็นตัวช่วยให้ผู้ลงทุนเข้าถึงทุกกิจกรรมที่สำคัญจากกลุ่มตลาดหลักทรัพย์ ส่วนในบางบูธก็จะมีการให้เปิดบัญชี ว่าแต่ละบัญชีที่เปิดจะได้ดอกเบี้ยกำไรเท่าไหร่มีผลดีอย่างไรสำหรับของแต่ละธนาคาร และในส่วนของประกันชีวิต ก็จะบอกผลประโยชน์ที่เราจะได้และการคุ้มครอง ความประทับใจ ได้รู้ข้อมูลจากบูธหลากหลายมากมายที่เราไม่เคยได้รู้ที่เกี่ยวกับตลาดหลักทรัพย์และผู้ถือหุ้นและ ผู้ให้คำบรรยายยังให้ข้อมูลที่ง่ายต่อการเข้าถึงและเข้าใจ มีการให้ทำกิจกรรมร่วมตอบคำถามได้ของรางวัลและได้รับคำปรึกษาเป็นอย่างดี ภายในงานที่แต่ละบูธจัดเป็นสัดสวนดูน่าสนใจทำให้ดูเพลิดเพลินในการชม ดิฉันหวังว่าการมางานในครั้งนี้จะทำให้ดิฉันได้ความรู้มากยิ่งขึ้นและได้รับประสบการณ์ดีๆเพื่อเป็นประโยชน์ในปัจจุบันและในอนาคต

นายธนากร ไทยเหนือ 55127326068 การเงินการธนาคาร02ภาคปกติ รุ่น55

SET in the City ธนาคารกรุงเทพ (บัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง:Bualuang iBanking) คลิกง่ายแค่ปลายนิ้ว บัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง ธนาคารทางอินเตอร์เน็ต ที่ธนาคารกรุงเทพสร้างสรรค์ขึ้นด้วยเทคโลยเดียวกันกับที่ธนาคารชั้นนำทั่วโลกเลือกใช้ เพื่อช่วยให้ท่าทำธุรกรรมทางการเงินได้อย่างมั่นใจ สะดวกสะบาย ทุกวัน ทุกที่ ทุกเวลา ตลอด 24 ชั่วโมง เหมืนไปธนาคารด้วยตนเอง เพียแค่ปลายนิ้วคลิก ท่านก็สามารถจ่าย โอน ผ่อนชำระ ได้ง่ายๆ ผ่านอินเตอร์เน็ต พร้อมความปลอดภัยสูงทุกครั้งที่เข้าทำธุรกรรมทางการเงิน

 ขั้นตอนง่ายๆ ในการเข้าสู่ระบบ

1.เข้าสู่ระบบครั้งแรกที่ www.bankkokbank.com/ibanking แล้วลิก "Log on" 2.กรอก "เลขประจำตัวลูกค้า (User ID)" และ "รหัสลับแรกเข้า (PIN)" แล้วคลิก "เข้าสู่บริการ" 3.ในการเข้าสู่บิการครั้งแรก ระบบจะขอให้ท่านเปลี่ยนรหัสลับแรกเข้าเป็นรหัสสส่วนตัว (Password) ของท่านเอง เพื่อใช้ในการเข้าสู่บริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้งครั้งต่อๆไป •บริการตรวจสอบรายการบัญชี สรุปรายรายการบัญชี และรายงานการเคลื่อนไหวทางบัญชี -บัญชีเงินฝาก (สะสม ประจำ กระแสรายวัน สินมัธยะ ทรัพย์ทวี) -บัญชีกองทุนรวม -บัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ -บัญชีบัตรบีเฟริสต์ และบัตรเครดิต -บัญชีสินเชื่อ •บริการโอนเงิน -โอนเงินได้ทันที และตั้งวันโอนได้ล่วงหน้า หรือโอนเป็นประจำ -โอนเงินระหว่างบัญชีของท่าน หรือโอนเงินไปยังบุคคลอื่น ที่มีบัญชีกับธนาคารกรุงเทพ -โอนเงินไปบัญชีธนาคารอื่น พร้อมมีผู้ช่วยบริการโอนเงินแนะนำรูปแบบการโอนที่เหมาะสมที่สุดสำหรับท่าน -ส่ง SMS แจ้งผลการโอนไปยังหมายเลขโทรศัพท์มือถือของผู้รับโอน -โอนเงินจากบัญชีเงินฝากตราต่างประเทศเข้าบัญชีเงินบาทของท่าน -โอนเงินไปต่างประเทศ •บริการชำระเงิน -ชำระค่าสินค้าและบริการแก่บริษัทผู้รับชำระมากกว่า 300 บริษัท ได้ทันที หรือตั้งวันชำระล่วงหน้า -ชำระค่าใช้จ่ายบัตรเครดิต -ชำระภาษีแก่กรมสรรพากร -ชำระค่าสาธรณูปโภค เติมงินโทรศัพท์มือถือ และค่าอินเตอร์เน็ต -สมัครใช้บริการหักบัญชีเงินฝากอัตโนมัติ เพื่อชำระค่าสินค้าและบริการ •บริการลงทุนในหน่ยลงทุนกองทนรวม -ซื้อ ขาย และสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน -สอบถามยอดหน่วยลทุนคงเหลือ •บริการพิเศษ -สอบถามรายการเช็คคืน -อายัดเช็ค อายัดสมุดคู่ฝาก -ขอใบสดงรายการทางบัญชีกระรายวันและบัญชีบัตรเครดิตย้อนหลัง -ตรวจสอบยอดเงินหรือรายการที่ผิดปกติ -ลงทะเบียนเพิ่มบัตรเครดิต เปลี่ยนแปลงข้อมูลบัตรเครดิต และแลกของกำนัลจากคะแนนสะสมบัตรเครดิต -บริการแบงก์เมล ใช้สำหรับติดต่อระหว่างท่านกับธนาคารเท่านั้น •การกำหนดค่า -ซ่อนเลขที่บัญชีและตั้งชื่อย่อบัญชี เพื่อความปลอดภัยและง่ายต่อการจดจำ -เปลี่ยนรหัสลับส่วนตัวและรหัสประจำตัวด้วยตัวเอง -เลือกรูปแบบการใช้งานได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ -กำหนดวงเงินการโอนไปยังบุคคลอื่นและวงเงินการชำระเงิน -บริการส่งรหัสผ่านทาง SMS (OTP - One Time Password) เพื่อใช้ในการเพิ่มบัญชีบุคคลอื่นได้ทันทีด้วยตัวท่านเอง -ตั้งค่าสำหรับบริการแจ้งเตือน เพื่อให้ระบบแจ้งเตือนทุกครั้งที่เกิดธุรกรรมตามประเภทรายการที่ท่านกำหนดไว้ •สมัครใช้บริการง่ายๆ ด้วย 2 ช่องทางการสมัครใช้บริการบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง ที่ท่านเลือกเองได้ ไม่ว่าจะเป็น -สมัครได้เองง่ายๆ ที่เครื่องเอทีเอ็มธนาคารกรุงเทพทุกแห่งด้วยบัตรเอทีเอ็มหรือบัตรเดบิตบีเฟิสต์ -กรอกใบสมัคร แล้วยื่นที่สาขาธนาคารกรุงเทพที่ท่านสะดวก (รับใบสมัครที่สาขา หรือดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ www.bangkokbank.com/ibanking) พร้อมแนบบัตรประจำตัวประชาชนและสมุดบัญชีเงินฝาก ที่ท่านประสงค์จะทำธุรกรรมผ่านบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) (Krungsri Securities:KSS) เป็นบริษัทหลักทรัพย์ในเครือธนาคารกรุงศรีอยุธยาดำเนินธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ และตราสารอนุพันธ์ เน้นการบริการที่มั่นใจไดว่าจะสอดรับกับบุคลิกและตอบสนองความต้องการในการลงทุนได้เป็นอย่างดี บริษัทมีทีมงานที่มากด้วยประสบการณ์ เชี่ยวชาญธุรกิจหลักทรัพย์และตราสารอนุพันธื พร้อมทั้งข้อมูลและเทคโนโลยีที่ทันสมัย •บริการนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และตราสารอนุพันธ์ "รู้ลึก รู้จริง ใส่ใจความต้อการของผู้ลงทุน" มุ่งมั่นใจที่จะให้ลูกค้าบรลุเป้าหมายในการลงทุนทั้งด้านหลักทรัพย์และตราสารอนุพันธ์ มีเจ้าหน้าที่การตลาดให้คำแนะนำด้านการลงทุนบนข้อมูลทั้งปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยทางเทคนิค ลุกค้าจะได้รับข้อมูลทุกคามเคลื่อนไหวในธุรกิจกาเงินประกอบการพิจารณาการลทุนที่มีประสิทธิภาพสูงสุด คำนึงถึงการสร้างความพึงพอใจกับลูกค้าเป็นสำคัญ •บริการซื้อขายหลักทรัพย์และตราสารอนุพันธ์ผ่านระบบออนไลน์ (Online Trading) ระบบการซื้อขายออนไลน์ที่ทำใหห้ท่านสามารถติดตามข้อมูล ข่าวสารและความเคลื่อนไหวของตลาดหลักทรัพย์และตลาดอนุพันธ์แบบเรียไทม์จากทั่วทุกมุมโลกตลอด 24 ชั่วโมง ในหน้าจอเดียวด้วยโปรแกรม SreamingProOneClick ซึ่งถูกสร้างสรรค์มาเพื่อตอบสนองทุกความต้องการทุกความต้องการของนักลงทุนอย่างแท้จริง ท่านสามารถส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์และราสารอนุพันธ์ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์, โทรศัพท์เคลื่อนที่, iPhone, Tablet (iPad, Samsung Galaxy Tab เป็นต้น), Blackberry และ Pocket PC/PDA ทำให้นักลงทุไม่พลาดโอกาสทองทางการลงทุนในทุกที่...ทุกเวลาผ่าน www.krungsrisecurities.com อีกทั้งบริษัทฯ มุ่งมั่นในการพัฒาเทคโนโลยีและคุณภาพของระบบการซื้อขายหลักทรัพย์และอนุพันธ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ลูกค้าของเราได้พบกับประสบการณ?ใหม่ในการลงทุนด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพทั้งความสะดวก รวดเร็ว และความปลอดภัยขั้นสูงสุด รองรับด้วยบุคลกรที่มีคุณภาพพร้อมให้คำปรึกษาทั้งด้านการลงทุนและการแก้ไขปัญหาทางเทคนิคการใช้งาน •บริการด้านการวิเคราะห์หลักทรัพย์ "ข้อมูลเปี่ยมคุณภาพ ครอบคลุม ฉับไว ทันต่อเหตุการณ์" ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง แม่นยำ ฉับไวเป็นสิ่งสำคุญในการลงทุน จึงมีหน่วยงานวิเคราะห์หลักทรัพย์ ทั้งด้านปัจจัยพื้นฐาน ปัจจัยทางเทคนิคและการกำหนดกลยุทธ์การลงทุน ให้คำแนะนำทั้งการลงทุนในหลักทรัพย์และตราสารอนุพันธ์ผ่านการศึกษาและวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงแนวโน้มของปัจจัยต่างๆ ทันต่อเหตุการณ์ ศึกษาบทวิเคราะห์ได้ที่ www.krungsrisecurities.com ได้ทุกเวลาที่ต้องการ •บริการด้านการจัดการกองทุนส่วนบุคคล "บริหารเงินลงทุนให้เพิ่มค่าอย่างมืออาชีพ" บริหารเงินลงทุนส่วนบุคคลที่ช่วยวางแผนและเป็นที่ปรึกษาการลงทุนในสไตล์ที่เหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าแต่ละราย ภายใต้การบริหารของผู้จัดการกองทุนที่มากด้วยความสามารถและประสบการณ์ มุ่งให้ลูกค้าได้รับผลตอบแทนที่ดีที่สุด ในระดับความเสี่ยงที่ลูกค้ายอมรับได้ •บริการด้านตัวแทนขายหน่วยลงทุน (Selling Agent) "ให้คำแนะนำและวางแผนการลงทุนเพื่อให้ทุกการลงทุนเป็นเรื่องสบายๆ" เป็นตัวแทนสนับสนุนการขายและรัซื้อคืนหน่วยลงทุนจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนชั้นนำมากถึง 19 แห่ง ในหลากหลาประเภทกองทุน ให้บริการข้อมูล คำแนะนำในการวางแผนการลงทุนที่เหมาะสม และให้บริการซื้อขายหน่วยลงทุน รวมทั้งติดตามผลการลงทุนของกองทุนอย่างใกล้ชิด ศูนย์สนับสนุนผู้ลงทุน สำนักงานคณะกรรมการการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สำนักงานก.ล.ต.คือใคร สำนักงานก.ล.ต. หรือ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ มีสถานะเป็นองค์กรของรัฐทำหน้าที่ในการกำกับดูแลและพัฒนาตลาดทุนของประเทศให้มีประสิทธิภาพ ยุติธรรม โปร่งใส และน่าเชื่อถือ ภารกิจหลักของสำนักงาน ก.ล.ต. 1.พัฒนาตลาดทุนให้เป็นกลไกหลักสำหรับผู้ระดมทุนและผู้ลงทุน 2.เสริมสร้างระบบและกลไกเพื่อช่วยให้ผู้ลงทุนได้รับความคุ้มครองและสามารถปกป้องประโยชน์ตนเองได้ 3.ดูแลให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีความมั่นใจ เชื่อถือในกลไกการทำงานของตัวกลางและองค์กรต่างๆในตลาดทุน 4.ดำรงความเป็นองค์กรที่ซื่อตรง โปร่งใส เข้าใจธุรกิจ เท่าทันเหตุการณ์ และเป็นผู้รักษากฎหมายที่เข้มงวดและเป็นธรรม ศูนย์สนับสนุนผู้ลงทุน ศูนย์สนับสนุนผู้ลงทุน สำนักงาน ก.ล.ต. (SEC Help Center) จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ที่เป็นศูนย์กลางในการให้บริการตอบคำถาม ให้ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับตลาดทุนไทยและบทบาทหน้าที่ของสำนักงาน ก.ล.ต. รวมถึงรับเรื่องร้องเรียนและเบาะแสการกระทำผิดในตลาดทุน ผ่านช่องทางต่างๆ อาที โทรศัพท์ โทรสาร จดหมาย และ อีเมล นอกจากนี้ สำนักงาน ก.ล.ต. ยินดีรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อรับประโยชน์ในการกำกับดูแลและพัฒนาตลาดทุน กรมสรรพากร มาตรการภาษีส่งเสริมธุรกิจส่งออก •ธุรกิจส่งออก นับเป็นกลไกภาคธุรกิจที่สำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยซึ่งมีอัตราการขยายตัวในระดับสูงเป็นธุรกิจที่นำเงินตราต่างประเทศเข้ามาสู่ประเทศไทยเป็นจำนวมากมีส่วนผลักดันต่อการขยายตัวของภาคเศรษฐกิจ การลงทุนอุตสาหกรรม สร้างมูลค่าเพิ่มทางทรัพากร เกิดการพัฒนาด้านเทคโนโลยี มีการสร้างแรงงานสูงขึ้น ส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจขยายตัวต่อเนื่อง •กรมสรรพากรร่วมสนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจส่งออก เพราะความสำคัญของธุรกิจกาส่งออก กรมสรรพากรจึงไดมีความพยายามในทุกวิถีทาง เพื่อสนับสนุนสภาพคล่องในกิจการ เพื่อร่วมสร้างขีดความสามารถในการข่งขันกับต่างประเทศ โดยการจัดหลักเกณฑ์เป็น "ผู้ประกอบการส่งออกที่ดี" และ "ผู้ส่งออกขึ้นทะเบียน" •สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับจากกรมสรรพากร เมื่อท่านได้รับอนุมัติให้เป็นผู้ประกอบการส่งออกที่ดีหรือผู้ส่งออกขึ้นทะเบียน ท่านจะได้รับการพิจารณาคืนภาษีมูลค่าเพิ่มในเวลาอันรวดเร็วยิ่งกว่าผู้ส่งออกทั่วไป โดยเฉพาะกรณีที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูค่าเพิ่มผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากรที่ www.rd.go.th •ผู้ประกอการส่งออกที่ดี คือ ผู้ประกอบการส่งออกหรือผู้ส่งออกระดับบัตรทองของกรมศุลกากร ทั้งนี้ รวมถึงผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกที่มีการขายสินค้าระหว่างกันเป็นบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด และมีคุณมบัติอื่นๆตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.159/2550 ลลงวันที่ 9 เมษายน 2550 เช่น เป็นสมาชิกของสมาคมหรือองค์กรเอกชน (ในทางการค้า) เป็นต้น •ผู้ส่งออกขึ้นทะเบียน คือ ผู้ประกอบการส่งออก ทั้งนี้ วมถึงผู้ประอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกที่มีการขายสินค้าระหว่างกัน ซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและมีคุณสมบัติอื่นๆตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดตมคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.159/2550 ลงวันที่ 9 เมษายน 2550 เช่น เป็นสมาชิกของสมาคมหรือองค์กรภาคเอกชน (ในทางการค้า) เป็นต้น

SET in the City ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นมหกรรมการลงทุนครบวงจรแห่งปี การเปิดโลกการลงทุนที่คุณเข้าถึงได้มีการเปลี่ยน เปลี่ยน แนวคิดให้ก้าวทันนวัตกรรมการลงทุน : หุ้น อนุพันธ์ พันธบัตร กองทุนรวม ประกันภัย Investor Classroom เป็นบูธวิเคราะห์หุ้น ได้รู้จักหุ้นต่างๆทันเหตุการณ์การลงทุน Stock : หุ้น ได้แก่ หุ้นพริกขี้หนู หุ้นร้อนแรงปี2556 หุ้นที่ได้อานิสงค์จากโครงการMega projectของภาครัฐปีหน้า หุ้นนักลงทุนVIชอบเก็บ และหุ้น 10 ปี โต 1,000% ETFเป็นกองทุนรวมที่ซื้อขายได้ในตลาดหลักทรัพย์ฯให้ผลตอบแทนตามดัชนีของสินทรัพย์ที่ไปลงทุน เลือกลงทุนได้ทั้งในประเทศ หุ้นต่างประเทศ และทองคำ TFEX : ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ได้แก่ 1.Sector Futures จัดกลยุทธ์ ปรับพอร์ตลงทุน เพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนตามการเคลื่อนไหวของดัชนี 2.SET 50 Futures & Options เปิดโอกาสทำกำไรเหนือกว่า 3.USD Futures ดอลลาร์ล่วงหน้า สร้างกำไร ใช้ป้องกันความเสี่ยงบนค่าเงินบาท 4.SILVER Futures 5.Interest Rate Futures 6.GOLD Futures 7.STOCK Futures 8.IL Futures ประกันควบคุมการลงทุน Unit LinK 1.พบกับความสุขและรอยยิ้มที่บูธเมืองไทยประกันชีวิต และกิจกรรมดีๆตลอดปีกับเมืองไทยสไมล์คลับ 2.วางแผนชีวิตมั่นคง ด้วยการลงทุนกับกรมธรรม์ เอไอเอ ลิงค์ 3.แมนไลฟ์ ยูนิต ลิงค์ พร้อมที่จะทำให้ทุกการตัดสินใจทางการเงินเป็นเรื่องง่าย TSI :ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน แหล่งความรู้เพื่อผู้ลงทุน เรียนรู้หลักการออมหุ้นแบบ Step by step รู้จักสไตล์หุ้นแบบต่างๆ ทั้งการเพิ่มความมั่งคั่งทางการเงินด้วยหุ้นคุณค่า(Value Stock) การสร้างรายได้สม่ำเสมอด้วยหุ้นปันผล(Dividend Stock) เทคนิคการทยอยสะสมหุ้นชั้นดี(Dollar Cost Average : DCT) เรียนรู้เส้นทางลัดสู่การเป็นเจ้าของกิจการในฐานะผู้ถือหุ้น กองทุนรวม จัดพอร์ตลงทุน สไตล์Fund Managers รับกำไรปี 56 TSD : ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ 1.บริการInvestor Portal : เพิ่มการตรวจสอบการทำธุรกรรมเกี่ยวกับเช็คและธุรกรรมใบหุ้นที่ TSD บนระบบได้ง่ายๆ 2.บริการตรวจสอบหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายทั้งหมด 3 ปีย้อนหลังในงาน เปิด รับโลกการลงทุน ผ่าน 100 องค์กรคุณภาพที่คัดสรรแล้ว พบศักยภาพบริษัทจดทะเบียนชั้นนำ ธนาคารพาณิชย์ยักษ์ใหญ่ให้บริการแบบครบวงจร บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน โบรกเกอร์โกลส์ฟิวเจอร์ส บริษัทประกันภัย ร่วมสร้างพอร์ตมั่นใจกับผู้แนะนำการลงทุนมืออาชีพ พร้อมระดมโปรโมชั่นส่งท้ายปี ปรับ วิสัยทัศน์พาคุณสู่กระแสใหม่ของการลงทุนด้วยสุดยอดสัมมนา 50 หัวข้อ 100 กูรู เวทีเดียวที่จะเปิดวิสัยทัศน์ 360 องศาการลงทุน เจาะลึก รู้จริง ทันกระแสการลงทุนกับนักวิเคราะห์ นักกลยุทธ์ นักวิชาการ ผู้บริหารองค์กรรัฐและเอกชนชั้นนำ แลกเปลี่ยนมุมมองตลอด 4 วัน กับ 5 ช่วงเสวนา นำเสนอภาพรวมเศรษฐกิจ ทิศทาง รวมทั้งนวัตกรรมผลิตภัณฑ์การลงทุนและบริการต่างๆโดยกลุ่มตลาดหลักทรัพย์ฯ ดิฉันรู้สึกดีใจที่ได้ไปงานนี้ มันเป็นงานที่ได้สาระความรู้ทั้งผู้ที่สนใจจะลงทุนและผู้ที่ขาดความรู้เรื่องนี้ เมื่อได้ไปจะรู้สึกว่ามันไม่ได้มีแต่นักธุรกิจอย่างเดียวที่จะเข้าถึงได้บุคคลธรรมดาหรือนักศึกษาก็สามารถเข้าถึงได้เหมือนกัน แต่ละบูธจะมีเอกสารแจกให้มีทั้งแผ่นพับ หนังสือและวิดีโอ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมต่างๆให้ได้ร่วมสนุกแจกของของรางวัลมากมายมีทั้งกระเป๋า สมุดโน้ต และยังได้ทานไอศกรีมเพื่อสุขภาพฟรีอีก มันคุ้มค่าจริงๆค่ะ

SET in the City ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นมหกรรมการลงทุนครบวงจรแห่งปี การเปิดโลกการลงทุนที่คุณเข้าถึงได้มีการเปลี่ยน เปลี่ยน แนวคิดให้ก้าวทันนวัตกรรมการลงทุน : หุ้น อนุพันธ์ พันธบัตร กองทุนรวม ประกันภัย Investor Classroom เป็นบูธวิเคราะห์หุ้น ได้รู้จักหุ้นต่างๆทันเหตุการณ์การลงทุน Stock : หุ้น ได้แก่ หุ้นพริกขี้หนู หุ้นร้อนแรงปี2556 หุ้นที่ได้อานิสงค์จากโครงการMega projectของภาครัฐปีหน้า หุ้นนักลงทุนVIชอบเก็บ และหุ้น 10 ปี โต 1,000% ETFเป็นกองทุนรวมที่ซื้อขายได้ในตลาดหลักทรัพย์ฯให้ผลตอบแทนตามดัชนีของสินทรัพย์ที่ไปลงทุน เลือกลงทุนได้ทั้งในประเทศ หุ้นต่างประเทศ และทองคำ TFEX : ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ได้แก่ 1.Sector Futures จัดกลยุทธ์ ปรับพอร์ตลงทุน เพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนตามการเคลื่อนไหวของดัชนี 2.SET 50 Futures & Options เปิดโอกาสทำกำไรเหนือกว่า 3.USD Futures ดอลลาร์ล่วงหน้า สร้างกำไร ใช้ป้องกันความเสี่ยงบนค่าเงินบาท 4.SILVER Futures 5.Interest Rate Futures 6.GOLD Futures 7.STOCK Futures 8.IL Futures ประกันควบคุมการลงทุน Unit LinK 1.พบกับความสุขและรอยยิ้มที่บูธเมืองไทยประกันชีวิต และกิจกรรมดีๆตลอดปีกับเมืองไทยสไมล์คลับ 2.วางแผนชีวิตมั่นคง ด้วยการลงทุนกับกรมธรรม์ เอไอเอ ลิงค์ 3.แมนไลฟ์ ยูนิต ลิงค์ พร้อมที่จะทำให้ทุกการตัดสินใจทางการเงินเป็นเรื่องง่าย TSI :ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน แหล่งความรู้เพื่อผู้ลงทุน เรียนรู้หลักการออมหุ้นแบบ Step by step รู้จักสไตล์หุ้นแบบต่างๆ ทั้งการเพิ่มความมั่งคั่งทางการเงินด้วยหุ้นคุณค่า(Value Stock) การสร้างรายได้สม่ำเสมอด้วยหุ้นปันผล(Dividend Stock) เทคนิคการทยอยสะสมหุ้นชั้นดี(Dollar Cost Average : DCT) เรียนรู้เส้นทางลัดสู่การเป็นเจ้าของกิจการในฐานะผู้ถือหุ้น กองทุนรวม จัดพอร์ตลงทุน สไตล์Fund Managers รับกำไรปี 56 TSD : ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ 1.บริการInvestor Portal : เพิ่มการตรวจสอบการทำธุรกรรมเกี่ยวกับเช็คและธุรกรรมใบหุ้นที่ TSD บนระบบได้ง่ายๆ 2.บริการตรวจสอบหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายทั้งหมด 3 ปีย้อนหลังในงาน เปิด รับโลกการลงทุน ผ่าน 100 องค์กรคุณภาพที่คัดสรรแล้ว พบศักยภาพบริษัทจดทะเบียนชั้นนำ ธนาคารพาณิชย์ยักษ์ใหญ่ให้บริการแบบครบวงจร บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน โบรกเกอร์โกลส์ฟิวเจอร์ส บริษัทประกันภัย ร่วมสร้างพอร์ตมั่นใจกับผู้แนะนำการลงทุนมืออาชีพ พร้อมระดมโปรโมชั่นส่งท้ายปี ปรับ วิสัยทัศน์พาคุณสู่กระแสใหม่ของการลงทุนด้วยสุดยอดสัมมนา 50 หัวข้อ 100 กูรู เวทีเดียวที่จะเปิดวิสัยทัศน์ 360 องศาการลงทุน เจาะลึก รู้จริง ทันกระแสการลงทุนกับนักวิเคราะห์ นักกลยุทธ์ นักวิชาการ ผู้บริหารองค์กรรัฐและเอกชนชั้นนำ แลกเปลี่ยนมุมมองตลอด 4 วัน กับ 5 ช่วงเสวนา นำเสนอภาพรวมเศรษฐกิจ ทิศทาง รวมทั้งนวัตกรรมผลิตภัณฑ์การลงทุนและบริการต่างๆโดยกลุ่มตลาดหลักทรัพย์ฯ ดิฉันรู้สึกดีใจที่ได้ไปงานนี้ มันเป็นงานที่ได้สาระความรู้ทั้งผู้ที่สนใจจะลงทุนและผู้ที่ขาดความรู้เรื่องนี้ เมื่อได้ไปจะรู้สึกว่ามันไม่ได้มีแต่นักธุรกิจอย่างเดียวที่จะเข้าถึงได้บุคคลธรรมดาหรือนักศึกษาก็สามารถเข้าถึงได้เหมือนกัน แต่ละบูธจะมีเอกสารแจกให้มีทั้งแผ่นพับ หนังสือและวิดีโอ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมต่างๆให้ได้ร่วมสนุกแจกของของรางวัลมากมายมีทั้งกระเป๋า สมุดโน้ต และยังได้ทานไอศกรีมเพื่อสุขภาพฟรีอีก มันคุ้มค่าจริงๆค่ะ

ความรู้สึกและความรู้ที่ได้รับสิ่งที่ประทับใจในงานมหกรรมการลงทุนครบวงจรแห่งปี SET in the Cityกรุงเทพมหานคร 2012 ณ รอยัล พารากอน ฮอลล์ ชั้น5 สยามพารากอน วันที่ 23 พ.ย. 55
ความรู้ที่ได้จากการไปงาน SET in the Cityกรุงเทพมหานคร คือ ได้ไปนั่งฟังโปรกเกอร์ชั้นนำบรรยายและให้ความรู้เกี่ยวกับการดูหุ้นต่างๆของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยซึ่งธนาคารTISCO เป็นผู้มาบรรยาย ชื่อหนังสือว่า Thailand Market Snapshots หัวข้อหลักๆคือ Market view Market statis และประวัติคราวๆของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย คือ The modern Thai capital market developed in two phases. The privately owned Bangkok Stock Exchange operated from 1962 to the early 1970s. The Second National Economic and Social Development Plan (1967-1971) established the Securities Exchange of Thailand to mobilize funds to support industrialization and economic development. This was the country's first officially sanctioned, supervised and regulated orderly securities market. วิสัยทัศน์ เพิ่มพลังให้ธุรกิจและผู้ลงทุน ด้วยความโดดเด่นในการตอบสนองโอกาสทางการเงิน หน้าที่หรือการดำเนินงานหลัก คือ การรับหลักทรัพย์จดทะเบียน บริษัทจดทะเบียนประกอบด้วยบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และตลาดเอ็ม เอ ไอ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ (SET) บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI) หลักทรัพย์จดทะเบียน หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ หน่วยลงทุน ใบสำคัญแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย ใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหลักทรัพย์หรือวอแรนท์ ใบสำคัญแสดงสิทธิในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ ใบสำคัญแสดงสิทธิที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์หรือวอแรนท์อนุพันธ์ กองทุน หุ้นกู้ พันธบัตร กองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ (Fixed income fund) เน้นลงทุนเฉพาะในตราสารหนี้ เช่น เงินฝาก พันธบัตร หรือ หุ้นกู้ เน้นความเสี่ยงต่ำ รับรายได้ประจำจากดอกเบี้ย กองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น (capital protected fund) เน้นการลงทุนแบบต้นไม่หายแต่กำไรไม่สูงมากนัก ด้วยกลไกการเลือกลงทุนในตราสารทางการเงินที่มีความเสี่ยงต่ำ กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ ความรู้สึกที่ได้ไปงานนี้ รู้สึกว่างานนี้ให้ความรู้หลายๆอย่างในเรื่องของการประกันภัยก็ดีเรื่องการลงทุนต่างๆ มีการแจกของภายในงาน สิ่งที่ประทับใจ คือ บูตของ กลต ซึ่งแจกกระเป๋าน่ารักๆและมีแจกที่เดียวภายในงาน และและบูต ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยซึ่งแจกหนังสือชีวิตเปลี่ยนเพราะการลงทุน ซึ่งข้างในหนังสือจะมีเรื่องราวของนักธุรกิจหลากหลายคนมาเล่าเรื่องการลงทุนบางคนก็เป็นนักลงทุนมือใหม่ บอกประสบการณ์บทเรื่องต่างๆที่ได้รับจากการลงทุน

ชื่อ นฤมล แก้วพันตา เลขที่11 รหัส 55127326054

ความรู้สึกและความรู้ที่ได้รับสิ่งที่ประทับใจในงานมหกรรมการลงทุนครบวงจรแห่งปี SET in the Cityกรุงเทพมหานคร 2012 ณ รอยัล พารากอน ฮอลล์ ชั้น5 สยามพารากอน วันที่ 23 พ.ย. 55

ถาพรวมและเศรษฐกิจการลงทุน -การขยาตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียจะเป็นปัจจัยสำคัญต่อการขับเคลื่อนเสรษฐกิจโลกที่มีปัจจัยเสี่ยงจากกรณี Fiscal Cliff ของสหรัฐ และ การแก้ไขปัญหาหนี้ในกลุ่มประเทศยุโรป - เศรษฐกิจจีนน่าจะเริ้มกลับมาขยายตัวได้ดีอีกในปี2556 หลังจากชะลอตัวจากการบริโภค การลงทุนในประเทศ และการส่งออก ซึ่งประเทศไทยน่าจะได้รับผลประโยชน์ด้านบวกต่อภาคการส่งออก - การลงทุนฝนประเทศไทยภาคเอกชน และ ภาครัฐจะเป็นปัจจัยบวกต่อการเติบโตของเศรษฐกิจประเทศ เพื่อรองรับการเปิดอัตราเติบโตของ GDP ไทยไว้ที่ระดับ 4.5% - ปัจจัยเสี่ยงคือ ผลผลิตด้านเกษตรกรอาจจะหดตัวจากภาวะภัยแล้งที่มาเร็ว ซึ่งกระทบต่อการใช้จ่ายเงินภาคครัวเรือนการกู้เงินและระดับหนี้ภาคครัวเรือนและระดับหนี้ของภาครัฐต่อ GCP ที่สูงขึ้นเร็ว อัตราเงินเฟ้อจากราคาอาหารที่เพิ่ม การเปลี่ยนแปลงทิศทางของเงินทุนระหว่างประเทศที่มากขึ้นและเร็วขึ้น วิเคราะห์ทางเทคนิคภาพรวมตลาด - ดัชนีตลาดหุ้นไทยยังคงเป็นทิศทางขาขึ้นในปี2556สำหรับแนวโน้มระยะกลาง-ยาว ระดับแนวต้านสำคัญคือ 1400จุด และ ระดับแนวรับสำคัญที่1100/1230จุด เครื่องมือ indicator บ่งบอกถึงความเสี่ยงที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยอาจปรับตัวลงได้ระยะสั้น 1 เดือนข้างหน้าได้ - ดัชนีธุรกิจกลุ่มธนาคารการเงิน พาณิชย์ อาหาร บันเทิง ท่องเที่ยวโรงแรม และการแพทย์โรงพยาบาท ยังเป็นกลุ่มนำสำหรับการปรับตัวขึ้นของดัชนีตลาดรวม ขณะที่ดัชนีกลุ่มพลังงาน ปิโตรเคมี เดินเรือ อาจจะปรับตัวได้ดีขึ้นหากเศรษฐกิจจีนกลับมาคึกคัก - หุ้นขนาดกลาง-ใหญ่คาดว่าจะปรับตัวได้ดีกว่าหุ้นขนาดเล็ก เนื่องจากปัจจุบันมูลค่าซื้อขายบนค่าพีอี 12 เดือน ย้อนหลังของหุ้นขนาดเล็กสูงกว่าค่าพีอีของหุ้นขนาดใหญ่กว่า 23% เทียบกับค่าเฉลี่ยระยะยาวพรีเมียมเพียง10% บริษัทหลักทรัพย์มี3หุ้นคือ หุ้นขนาดใหญ่ หุ้นขนาดกลาง และหุ้นขนาดเล็ก ตราประจำหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมี2ส่วนประกอบกันขึ้นเป็นวงกลม ส่วนบนเป็นสีทอง และส่วนล่างเป็นสีดำ การออกแบบเกิดขึ้นด้วยแรงบันดาลใจจากจานโบราณใบนี้ซึ่งมีลายสลักรูปปลาคู่ที่มีลักษณะเวียนว่ายหนึ่งจรดหนึ่งทางว่ายวนกันต่อเนื่องไม่มีสิ้นสุดสอดคล้องกับหลักธรรมในลัทธิเต๋าที่กล่าวถึงความสมดุลของสิ่งสองสิ่งที่เป็นทั้งคู่และสิ่งที่ตรงกันข้าม คือ หยิน กับ หยาง และนอกจากนี้ดิฉันยังได้รู้ 3 ต. คือ เตรียมตัวเพื่อจะเป็นนักลงทุนที่ดีโดยการกำหนด เป้าหมายการลงทุนที่ชัดเจน และสองเตรียมสตางค์หรือเตรียมเงินลงทุนในจำนวนที่เหมาะสมและสามเตรียมใจให้พร้อมสำหรับทุกสถานการณ์ที่จะมีผลกระทบต่อการลงทุน

เงินเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งในการขับเคลื่อนกลไกทางเศรษฐกิจเพราะระบบเศรษฐกิจและการค้าขายที่เชื่อมโยงกันทั่วโลกด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น

ตลาดตราสารหนี้ (Bond Electronic Exchange: BEX) เป็นศูนย์กลางการซื้อขายตราสารหนี้หลายประเภททั้งที่ออกโดยภาครัฐ ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล และหุ้นกู้ภาคเอกชน รวมไปถึงตราสารหนี้ให้บริการด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัยจึงช่วยให้นักลงทุนสามารถเข้าถึงข้อมูลและทำการซื้อขายตราสารหนี้ได้อยากสะดวก รวดเร็วมากขึ้น ตลาดตราสารอนุพันธ์(Thailand Futures Exchange: TFEX) เป็นศูนย์กลางการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ คือ ฟิวเจอร์ส (Futures) ออปชัน (Options)และออปชันบนสัญญาฟิวเจอร์ส (Options on Futures) ของสินทรัพย์อ้างอิง คือ ตราสารหนี้ ตราสารทุน และสินค้าโภคภัณฑ์ปัจจุบัน ตลาดตราสารอนุพันธ์ 4 รายการ หุ้นสามัญ นักลงทุนหรือผู้ถือหุ้นสามัญเป็นเจ้าของกิจการที่แท้จริงทางการเงิน หุ้นบุริมสิทธิ มีลัษณะคล้ายกับหุ้นสามัญเพียงผู้ถือหุ้นจะไม่มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถิอหุ้น แต่จะได้รับผลตอบแทนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญและได้เงินทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ 6ขั้นตอนการลงทุนอย่างเซียน 1 กำหนดนโยบายการลงทุน 2 เปิดบัญชีเพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์ 3 วิเคราะห์ทางเลือกในการลงทุน 4 ส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ 5 ส่งมอบและชำระราคาหลักทรัพย์ 6 ทบทวนการลงทุนอย่างสม่ำเสมอเพราะราคาหลักทรัพย์สามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ตามปัจจัยหลายอย่างที่มากระทบ

หลังจากที่ได้ไปดูงานมหกรรมการลงทุนครบวงจรแห่งปี SET in the city กรุงเทพมหานคร 2012 ที่รอยัลพารากอน ฮอล์ ชั้น 5 สยามพารากอน ได้รู้เกี่ยวกับการลงทุนต่างๆ รวมสุดยอดทุกหลักสูตรการลงทุนที่ทำให้ทุกคนเป็นเซียนลงทุนได้ จากการที่ได้ไปเดินดูภายในงานก็ได้ความรู้ต่างๆมากมาย ภายในงานก็จะมีบูธและบริษัทต่างๆมากมาย เช่น บริษัทจดทะเบียน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุน บริษัทจดทะเบียนกลุ่มธนาคารพาณิชย์ โบรกเกอร์ผู้ค้าทอง กลุ่มธุรกิจประกันภัย หน่วยงานภาครัฐและเอกชน กลุ่มตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ภายในงานก็จะมีสิ่งที่น่ารู้หลายอย่าง เช่น ภาษีอากรกับการลงทุนในหลักทรัพย์ คือ การลงทุนในหลักทรัพย์โดยผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในปัจจุบันทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดา นิติบุคคล ประสงค์ที่จะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนที่คุ้มค่าทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งภาษีอากรถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่เป้นผลกระทบต่อผลตอบแทนสุทธิทั้งที่เป็นเงินปันผล หรือเงินส่วนแบ่งกำไรจากการขายหลักทรัพย์ ( หุ้นหรือหน่วยงาน ) ตลอดจนผลตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ย เช่น ดอกเบี้ยหุ้นกู้ และได้ไปเข้าร่วมกิจกรรมกับบัวหลวง ไอแบงก์กิ้ง และได้เข้าร่วมกิจกรรมกับบูธ กลต. และได้รู้เกี่ยวกับ กองทุนรวม ได้รู้ว่ากองทุนรวมคิออะไร กองทุนรวม คือ เครื่องมือในการลงทุนรูปแบบหนึ่งที่ผู้ลงทุนหลายๆคนนำเงินลงทุนมารวมกัน และมอบหมายให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ที่เรียกย่อๆว่า บลจ. ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการลงทุน และได้รับใบอนุญาตในการบริหารจัดการกองทุนรวมจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ( ก.ล.ต. ) ทำหน้าที่การบริหารจัดการเงินลงทุนก้อนนั้นให้แก่ผู้ลงทุน บลจ. จะทำหน้าที่บริหารกองทุนรวมให้เกิดดอกออกผล โดยนำเงินลงทุนของกองทุนรวมไปลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินประเภทต่างๆ เช่น พันธบัตร หุ้นกู้ หุ้น เป็นต้น เพื่อให้ได้ผลตอบแทนจากการลงทุนของกองทุนรวมนั้นด้วย และได้รู้เกี่ยวกับ ผู้ถือหุ้น และได้รู้เกี่ยวกับ ลงทุนในหุ้น อย่างไร ให้ไกลปัญหา การลงทุนในหุ้น ถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนสูงกว่าเงินเฟ้อ แต่ก็มีความเสี่ยงสูงเช่นกัน จึงเหมาะกับที่ลงทุนที่รู้จัก เข้าใจ และยอมรับความเสี่ยงจากการลงทุนในหุ้นได้ รวมทั้งมีเวลาศึกษาและตืดตามข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถืออยู่เสมอ นอกจากนี้ หากผู้ลงทุนในหุ้นรู้จักเคล็ดลับและแนวทางในการดูแลตัวเอง เช่น แนวทางในการติดต่อกับโบรกเกอร์ และวิธีการตรวจสอบการลงทุน เป็นต้น ก็จะยิ่งช่วยให้การลงทุนในหุ้นเป็นไปอย่างราบรื่น และลดโอกาสการเกิดปัญหาในการลงทุนได้ และเทคนิคดูแลตนเองง่ายๆเมื่อลงทุนใน กองทุนรวม ในการลงทุนไดๆก็ตาม ผู้ลงทุนควรมีการติดตามผลต่อเนื่อง เพื่อรักษาประโยชน์ของตนเอง กรณีการลงทุนรวมก็เช่นเดียวกัน เมื่อลงทุนไปแล้วควรมีการติดตามผลการดำเนินงานของกองทุนรวม รวมถึงตรวจสอบกาทำงานของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน หรือ บลจ. ในฐานะผู้บริหารจัดการกองทุนรวมอย่างต่อเนื่องด้วยและได้รู้เกี่ยวกับการลงทุนทองคำ ได้รู้ราคาทองคำ และความรู้อีกมากมายที่อยู่ในงาน มหกรรมการลงทุนครบวงจรแห่งปี SET in the city กรุงเทพมหานคร 2012

 

 เครื่องมือทางการเงิน (Financial Instruments) หมายถึง หนังสือสำคัญซึ่งเป็นเอกสารแสดงสิทธิต่าง ๆ เช่น สิทธิในการเป็นเจ้าของ สิทธิในการเป็นเจ้าหนี้ สิทธิที่จะซื้อหรือขายหลักทรัพย์ ฯลฯ  ทั้งนี้ จะยกตัวอย่างตราสารทางการเงินชนิดต่าง ๆ ตามตาราง แสดงตัวอย่างของเครื่องมือทางการเงินชนิดต่าง ๆ ดังนี้

              

ตารางแสดงตัวอย่างของเครื่องมือทางการเงินชนิดต่าง ๆ

 

เครื่องมือทางการเงิน ผลตอบแทน / สิทธิของผู้ถือ สถานะของผู้ถือ
  ตราสารหนี้ เช่น 
  พันธบัตร หุ้นกู้ ตั๋วสัญญาใช้เงิน
  1. ดอกเบี้ย 
  2. กำไรจากการขายเปลี่ยนมือ
เจ้าหนี้กิจการ
  ตราสารหุ้น เช่น 
  หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ 

  1. เงินปันผล 
  2. สิทธิในการบริหาร 
  3. กำไรจากการขายเปลี่ยนมือ 
  4. สิทธิจองหุ้นออกใหม่
เจ้าของกิจการ
  ตราสารอนุพันธ์ เช่น ใบสำคัญ 
  แสดงสิทธิการซื้อหุ้น (Warrant)

  กรณี (Warrant) 
  1. ผลต่างระหว่างราคาใช้สิทธิในการซื้อหุ้นกับราคาตลาด 
  2. กำไรจากการขายเปลี่ยนมือ
กรณี (Warrant) 
ผู้ถือมีสิทธิในการจองซื้อหุ้น 
สามัญของบริษัท
  หน่วยลงทุน (Unit trust) 
  1. เงินปันผล 
  2. กำไรจากการขายเปลี่ยนมือหรือขายคืน
เจ้าของกองทุนรวม

               สำหรับตราสารทางการเงินประเภทตราสารหนี้นั้น จะได้กล่าวถึงโดยละเอียดโดยแยกหัวข้อนำไปอธิบายในเรื่องถัด ๆ ไป เนื่องจากตราสารหนี้เป็นตราสารทางการเงินที่มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับเรื่องของอัตราดอกเบี้ย และการดำเนินนโยบายการเงิน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์การเงิน ส่วนตราสารอีก 3 ประเภท จะได้อธิบายโดยสังเขปเพิ่มเติมจากตารางสรุปข้างต้น ดังนี้

               1. ตราสารทุนหรือหุ้นทุน (Share) คือ ส่วนของทุนของกิจการที่ถูกแบ่งออกเป็นหุ้น ซึ่งแต่ละหุ้นจะให้อำนาจผู้ถือหุ้นในการเป็นเจ้าของของกิจการตามสัดส่วนของหุ้นที่ถือ ซึ่งหมายความรวมถึงการได้สิทธิในการได้รับส่วนแบ่งกำไรและสิทธิในการบริหาร ในที่นี้จะยกตัวอย่างหุ้นทุน 2 ประเภท คือ

                   1.1 หุ้นสามัญ (Common Stock) คือ หลักทรัพย์ที่บริษัทออกจำหน่าย เพื่อให้สิทธิแก่ผู้ถือในการร่วมเป็นเจ้าของบริษัท ผู้ถือหุ้นสามัญมีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อร่วมตัดสินใจในการบริหาร การวางนโยบายการดำเนินการของบริษัท การเลือกตั้งกรรมการของบริษัท และเพื่อร่วมตัดสินใจในปัญหาสำคัญของบริษัท ผู้ถือหุ้นมีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนในรูปของเงินปันผล เมื่อบริษัทมีกำไรและอนุมัติให้มีการจ่ายเงินปันผล หรือเมื่อราคาหุ้นในตลาดรองสูงขึ้นก็สามารถนำไปขาย เพื่อรับส่วนต่างจากราคาหุ้นที่ซื้อมา (Capital Gain) นอกจากนี้ ผู้ถือหุ้นจะได้รับสิทธิจองหุ้นใหม่ (Right) เมื่อบริษัทต้องการจะเพิ่มทุนด้วย

                   1.2 หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) เป็นหุ้นที่มีลักษณะกึ่งหนี้สินและกึ่งหุ้นสามัญ (Hybrid) มีราคาหน้าตั๋ว (Par Value) และมีอัตราเงินปันผลกำหนดไว้ตายตัว ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับสิทธิพิเศษเหนือกว่าผู้ถือหุ้นสามัญ เช่น ได้รับเงินปันผลก่อนหรือมากกว่าผู้ถือหุ้นสามัญ และมีสิทธิในทรัพย์สินของบริษัทก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ (แต่หลังจากผู้เป็นเจ้าหนี้ของบริษัท) ในกรณีที่บริษัทจะต้องเลิกกิจการ  อย่างไรก็ตาม ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิส่วนใหญ่มักจะไม่ได้รับสิทธิในการออกเสียง และการบริหารงานของบริษัท

               2. ตราสารอนุพันธุ์ (Derivatives) หมายถึง ตราสารทางการเงินประเภทที่มูลค่า หรือราคาของตราสารนั้นเกี่ยวเนื่องอยู่กับมูลค่าของสินทรัพย์ที่ตราสารนั้นอิงอยู่ เช่น ตราสารสิทธิที่จะซื้อหรือขายหุ้น (Stock Options) เป็นตราสารอนุพันธุ์ เพราะราคาของตราสาร ดังกล่าวจะเกี่ยวโยงกับราคา ของหุ้นที่จะใช้ตราสารสิทธินั้นไปซื้อหรือขายได้ สัญญาซื้อขายดัชนีราคาหุ้นล่วงหน้า (Stock Index Futures) เป็นตราสารอนุพันธ์ เพราะราคาของตราสารนี้สืบเนื่องมาจากดัชนีราคาหุ้นที่ตราสารอิงอยู่ การจัดให้มีการซื้อขายตราสารอนุพันธ์จะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้อง กับ ตลาดการเงินมีเครื่องมือไว้ปกป้อง และบริหารความเสี่ยงที่มีอยู่ และเป็นการเพิ่มช่องทางลงทุนซื้อขายที่หลากหลายยิ่งขึ้น

               3. หน่วยลงทุน (Unit trust) หมายถึง หลักทรัพย์ที่ออกขายโดยบริษัทจัดการลงทุน เพื่อระดมเงินเข้ากองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้น แล้วจัดสรรเงินในกองทุนนั้น ลงทุนในตลาดการเงินตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน เช่น ลงทุนซื้อหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ ลงทุนในตราสารการเงิน ต่าง ๆ และฝากไว้กับสถาบันการเงิน เป็นต้น ผู้ถือหน่วยลงทุนมีฐานะร่วมเป็นเจ้าของกองทุนนั้น ๆ และมีสิทธิได้รับเงินปันผลตอบแทนจากผลกำไรที่เกิดขึ้น หากถือไว้จนถึงกำหนดไถ่ถอนก็จะได้รับส่วนแบ่งคืนจากเงินกองทุนตามสัดส่วนของหน่วยลงทุนที่ถืออยู่

 

ภาพตัวอย่างเครื่องมือทางการเงิน

พันธบัตร 

ตั๋วสัญญาใช้เงิน

นายโยธิน  ตาคำ  รหัสนักศึกษา 55127326081  การเงินการธนาคาร 02

 เครื่องมือทางการเงิน (Financial Instruments) หมายถึง หนังสือสำคัญซึ่งเป็นเอกสารแสดงสิทธิต่าง ๆ เช่น สิทธิในการเป็นเจ้าของ สิทธิในการเป็นเจ้าหนี้ สิทธิที่จะซื้อหรือขายหลักทรัพย์ ฯลฯ ทั้งนี้จะยกตัวอย่างตราสารทางการเงินชนิดต่าง ๆ 

ตราสารหนี้ หรือ Fixed Income Securities คือ ตราสารทางการเงิน ที่ผู้ออกตราสาร ซึ่งเรียกว่า ผู้กู้ หรือ ลูกหนี้ มีข้อผูกพันทางกฎหมายว่าจะจ่ายผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยเป็นงวด ๆ และเงินต้น หรือ ผลประโยชน์อื่นๆ ตามกำหนดในตราสารให้แก่ผู้ซื้อ ซึ่งเรืยกว่า เจ้าหนี้ หรือ ผู้ให้กู้ เมื่อครบกำหนดที่ตกลงกันไว้ โดยทั่วไปตราสารหนี้ในตลาดทุนมักจะหมายถึง ตราสารหนี้ที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป

ตราสารหนี้ประเภทที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน (secured bond) เป็นตราสารหนี้ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นหุ้นกู้ที่บริษัทผู้ออกนำสินทรัพย์ของตนมาค้ำประกันการออกหุ้นกู้ นั้นและผู้ถือหุ้นกู้จะมีสิทธิในสินทรัพย์ที่วางเป็นประกันนั้นเหนือเจ้าหนี้สามัญรายอื่นๆ

ตราสารอนุพันธ์ (อังกฤษ: derivative) เป็นสินทรัพย์ทางการเงินประเภทหนึ่ง ที่มูลค่าของตราสารจะขึ้นอยู่กับกระแสเงินของสินทรัพย์อ้างอิง ไม่ได้มีค่าจากกระแสเงินของตัวตราสารเองโดยตรง ตัวอย่างของตราสารอนุพันธ์ ได้แก่ futures, forward, swap, options เป็นต้น และมีสินทรัพย์ที่สามารถอ้างอิงได้คือ เงินตราต่างประเทศ พันธบัตร ตั๋วเงิน หุ้นสามัญ สินค้าโภคภัณฑ์ หรือทรัพย์สินใดๆ เป็นต้น

พันธบัตรรัฐบาล คือ ตราสารทางการเงินรูปแบบหนึ่งที่ออกโดยรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และ สถาบันการเงินที่มี กฎหมายจัดตั้งขึ้นมา จุดประสงค์ในการออกพันธบัตรก็เพื่อระดมเงินทุนจากนักลงทุนสถาบันและประชาชน ทั่วไป โดยถือว่าผู้ออกพันธบัตรนั้นมีฐานะเป็นลูกหนี้ที่จะต้องมีภาระในการจ่ายคืน หนี้ให้กับผู้ถือพันธบัตรซึ่งมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของผู้ออกพันธบัตรต่อไปในอนาคต โดยที่จำนวนเงินที่ต้องจ่ายคืน ระยะเวลา และ อัตราผลตอบแทน ขึ้นกับสัญญาที่ได้กำหนดเอาไว้

สัญญาซื้อขายทองคำล่วงหน้า หรือ โกลด์ฟิวเจอร์ส (Gold Futures) เป็นตราสารอนุพันธ์ หรือเครื่องมือทางการเงินชนิดหนึ่งที่ผู้ลงทุนสามารถใช้เก็งกำไรจากการผันผวนของราคาทองคำ ทั้งในภาวะขาขึ้นและภาวะขาลงของราคาทองคำ คุณลักษณะเด่นของตราสารอนุพันธ์ชนิดนี้คือ เป็นตราสารที่สามารถซื้อก่อนขายหรือขายก่อนซื้อก็ได้ และที่สำคัญที่สุดของการลงทุนในตราสารอนุพันธ์ประเภทนี้คือ ใช้เงินลงทุนน้อยประกอบกับราคาทองคำมีการเคลื่อนไหวทุกวัน จะทำให้

ตั๋วเงินคลัง เป็นตราสารหนี้ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ออกเช่นเดียวกัน แต่ที่แตกต่างจากพันธบัตรรัฐบาลก็คือ ตั๋วเงินคลังเป็นตราสารหนี้ระยะสั้น จะมีอายุไม่เกิน 1 ปีเท่านั้น หุ้นกู้ ใช้เรียกตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทเอกชน มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ถ้าเป็นหุ้นกู้อายุสั้นๆ เช่นไม่เกิน 9 เดือน จะเรียกว่า หุ้นกู้ระยะสั้น หรือในกรณีที่เป็นตราสารหนี้ระยะสั้นที่ออกเพื่อการกู้ยืมระหว่างกันในวงแคบ และมีลักษณะแตกต่างกันไปในแต่ละหน่วย ไม่มีความเป็นมาตรฐานเหมือนหุ้นกู้ จะเรียกว่า ตั๋วเงิน หรือ ตั๋วบีอี
ภาพตัวอย่างตราสารทางการเงิน

ตราสารทางการเงิน (Financial Instruments) คือ หลักฐานแสดงการถือครองและสิทธิเรียกร้องต่างๆ ที่บริษัทผู้ออก หลักทรัพย์นำออกมาจำหน่ายเพื่อระดมเงินจากผู้ลงทุน และนำมาจดทะเบียนเพื่อให้มีการซื้อขายในตลาดรอง ซึ่งปัจจุบันมี ตราสารทางการเงินที่ซื้อขายกันในตลาดรองมากกว่า 1,000 ชนิด ทำให้ผู้ลงทุนมีทางเลือกการลงทุนที่หลากหลาย ตลอดจนสามารถกระจายการลงทุนได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 ตราสารทางการเงินที่ทำการซื้อขายในปัจจุบันสามารถแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆ คือ..

1.ตราสารทุน (Equity) เป็นตราสารที่ให้สิทธิการเป็น “เจ้าของกิจการ” แก่ผู้ลงทุน ดังนั้น ในฐานะเจ้าของกิจการ ผู้ลงทุนจึงมีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนที่ดีถ้ากิจการมีผลการดำเนินงานดี และมีความเสี่ยงที่จะขาดทุนหรือไม่ได้ผลตอบแทนถ้าผลการ ดำเนินงานของกิจการไม่เป็นไปตามที่คาดหมาย 2.ตราสารหนี้ (Debt) เป็นตราสารที่ให้สิทธิการเป็น “เจ้าหนี้ของกิจการ” แก่ผู้ลงทุน ซึ่งในฐานะเจ้าหนี้ ผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนหรือ ผลประโยชน์อื่นๆ ตามที่ได้มีการกำหนดไว้ โดยผู้ออกตราสารหนี้จะระบุอัตราผลตอบแทน กำหนดวันจ่ายดอกเบี้ย และ วันครบอายุหรือกำหนดไถ่ถอนตราสารไว้อย่างชัดเจน 3.ตราสารลงทุน (Unit Trust) เป็นตราสารที่ออกจำหน่ายและบริหารการลงทุนโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุน (บลจ.) เพื่อระดมเงินเข้า “กองทุนรวม” ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อลงทุนตามวัตถุประสงค์และนโยบายการลงทุนที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน ผู้ลงทุนมีฐานะเป็น “เจ้าของร่วมในทรัพย์สินของกองทุนรวม” จึงมีส่วนได้ส่วนเสียและได้รับผลตอบแทนตามผลการดำเนินงานของกองทุน ซึ่งจุดเด่นของการลงทุนในกองทุนรวมก็คือ การมีบริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุนดูแลการลงทุนให้ จึงเหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ไม่มีเวลาดูแลการลงทุนด้วยตัวเอง 4.ตราสารอนุพันธ์ (Derivatives) เป็นสัญญาทางการเงินที่ทำขึ้นในปัจจุบัน เพื่อตกลงซื้อขายหรือให้สิทธิในการซื้อขายสินทรัพย์อ้างอิง (Underlying Asset) เช่น หุ้นสามัญ ดัชนีหลักทรัพย์ อัตราแลกเปลี่ยน ทองคำ น้ำมัน ฯลฯ ในอนาคต กล่าวคือ ทำสัญญาตกลงกันวันนี้ว่าจะซื้อหรือขายสินทรัพย์อ้างอิงจำนวนกี่หน่วย ที่ราคาเท่าใด แล้วจะส่งมอบและชำระราคากันเมื่อใด ลักษณะเฉพาะของตราสารอนุพันธ์ คือ “มีอายุสัญญาจำกัด” เมื่อครบอายุสัญญา มูลค่าของตราสารก็จะหมดลง นอกจากนี้ ราคา ตราสารอนุพันธ์ก็จะผันผวนไปตามราคาสินทรัพย์อ้างอิง ผู้ลงทุนจึงมักใช้ตราสารอนุพันธ์เป็นเครื่องมือเพื่อป้องกัน ความเสี่ยง

พันธบัตรรัฐบาล คือ ตราสารที่รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังเป็นผู้ออก ซึ่งสัญญาว่าจะจ่ายดอกเบี้ยพร้อมเงินต้นให้แก่ผู้ถือเมื่อครบกำหนดหรือจ่ายดอกเบี้ยเป็นงวดๆแล้วแต่จะตกลงกัน รัฐบาลจะออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อกู้ยืมเงินจากประชาชนและ ผู้ซื้อพันธบัตรจะมีฐานะเป็นเจ้าหนี้รัฐบาลตามกฎหมาย

หุ้นสามัญ (common stock) หลักทรัพย์ที่บริษัทออกจำหน่ายเพื่อระดมเงินทุนมาดำเนินกิจการ ผู้ถือหุ้นสามัญมีสิทธิร่วมเป็นเจ้าของบริษัท มีสิทธิออกเสียงลงมติในที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อเลือกตั้งกรรมการบริษัท ร่วมตัดสินใจในนโยบายการดำเนินงานของบริษัท และร่วมตัดสินใจในปัญหาสำคัญของบริษัทผู้ถือหุ้นสามัญจะได้รับผลตอบแทนในรูปเงินปันผล (dividend) เมื่อราคาหุ้นเพิ่มสูงขึ้นตามศักยภาพของบริษัท และมีโอกาสได้รับสิทธิจองซื้อหุ้นออกใหม่ (right) เมื่อบริษัทเพิ่มทุนขยายกิจการ หากบริษัทเลิกกิจการ ก็จะได้รับส่วนแบ่งในสินทรัพย์ของบริษัทจากยอดสุทธิหลังจากชำระคืนเจ้าหนี้และพันธะต่าง ๆ หมดแล้ว หุ้นสามัญมีอีกชื่อหนึ่งว่า ordinary share

ภาพตัวอย่างตราสารทางการเงิน

 

ตราสารหนี้ หรือ ตราสารแห่งหนี้(อังกฤษbond) คือ ตราสารทางการเงินที่ผู้ออกตราสาร ซึ่งเรียกว่า ผู้กู้ หรือ ลูกหนี้ มีข้อผูกพันทางกฎหมายว่าจะจ่ายผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยเป็นงวด ๆ และเงินต้น หรือ ผลประโยชน์อื่นๆ ตามกำหนดในตราสารให้แก่ผู้ซื้อ ซึ่งเรืยกว่า เจ้าหนี้ หรือ ผู้ให้กู้ เมื่อครบกำหนดที่ตกลงกันไว้ โดยทั่วไปตราสารหนี้ในตลาดทุนมักจะหมายถึง ตราสารหนี้ที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป

ตั๋วเงิน คือ เอกสารเครดิตที่ใช้แทนเงินในวงการธุรกิจ  ตั๋วเงินอาจถูกขายเปลี่ยนมือผู้ถือหรือโอนสลักหลัง

ตั๋วเงินแบ่งเป็น  3  ประเภท  ได้แก่

1. ตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory Note)

2. ตั๋วแลกเงิน  (Bill of Exchange)

3. เช็ค (Cheque)

 1.   ตั๋วสัญญาใช้เงิน  (Promissory Note)

ตั๋วสัญญาใช้เงิน คือ หนังสือตราสารที่บุคคลผู้หนึ่งที่เรียกว่าผู้ออกตั๋ว ให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่บุคคลอีกบุคคลหนึ่งหรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกบุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้รับเงิน 

ตั๋วสัญญาใช้เงินต้องมีข้อความต่อไปนี้

1. คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วสัญญาใช้เงิน

2. คำมั่นสัญญาโดยปราศจากเงื่อนไขว่าจะใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอน

3. วันถึงกำหนดใช้เงิน

4. สถานที่ใช้เงิน

5. ชื่อหรือยี่ห้อของผู้รับเงิน

6. วันและสถานที่ที่ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน

7. ลายมือชื่อผู้ออกตั๋ว

 2. ตั๋วแลกเงิน  (Bill of Exchange)

ตั๋วแลกเงิน  คือ  หนังสือตราสารที่บุคคลผู้หนึ่งที่เรียกว่าผู้สั่งจ่าย  สั่งบุคคลอีกผู้หนึ่ง เรียกว่าผู้จ่าย ให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลหนึ่งหรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งซึ่งเรียกว่าผู้รับเงิน 

ตั๋วแลกเงินต้องมีข้อความต่อไปนี้

1. คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วแลกเงิน

2. คำสั่งอันปราศจากเงื่อนไขให้จ่ายเงินจำนวนแน่นอน

3. ชื่อหรือยี่ห้อของผู้จ่าย

4. วันถึงกำหนดใช้เงิน

5. สถานที่ใช้เงิน

6. ชื่อหรือยี่ห้อของผู้รับเงินหรือจ่ายให้แก่ผู้ถือ

7. วันและสถานที่ที่ออกตั๋ว

8. ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย

 3.   เช็ค (cheque)

เช็ค  คือ  หนังสือตราสารที่บุคคลคนหนึ่งที่เรียกว่า  ผู้สั่งจ่าย  สั่งธนาคารให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อทวงถาม  ให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งหรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งซึ่งเรียกว่า 

ผู้รับเงิน เช็คต้องมีข้อความต่อไปนี้

1. คำบอกชื่อว่าเป็นเช็ค

2.  คำสั่งอันปราศจากเงื่อนไขให้จ่ายเงินจำนวนแน่นนอน

3. ชื่อหรือยี่ห้อของผู้รับเงินหรือจ่ายให้แก่ผู้ถือ

4. ชื่อหรือยี่ห้อและสำนักงานของธนาคาร

5. สถานที่ใช้เงิน

6. วันและสถานที่ออกเช็ค

7. ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย

 รายละเอียดต่างๆ  เกี่ยวกับตั๋วเงิน

1. เงินหน้าตั๋ว  (Face  Value)  คือ  จำนวนเงินที่ระบุไว้ในตั๋ว

2. วันถึงกำหนด   (Maturity  Date)   คือ  วันที่ผู้ออกตั๋วจะต้องจ่ายเงินให้แก่ผู้ถือตั๋วตามสัญญาใช้เงิน

3. เงินถึงกำหนด  (Maturity  Value)  คือ  เงินหน้าตั๋วบวกดอกเบี้ยตามตั๋วสัญญาใช้เงิน

4.เงินส่วนลด คือ  เงินที่ผู้ถือตั๋วถูกหักไว้เป็นค่าป่วยการ เนื่องจากนำตั๋วไปขายก่อนถึงวันกำหนด เงินที่ได้รับหลังจากหักเงินส่วนลดแล้วเรียกว่าเงินปัจจุบัน และวันที่นำตั๋วเงินไปขายเรียกว่าวันคิดลด และการนับจำนวนวันสำหรับคิดเงินส่วนลดให้เริ่มนับหลังจากวันคิดลด 1  วัน จนถึงวันกำหนด

 ดังนั้น  เงินส่วนลด        =         เงินถึงกำหนด  x  อัตราส่วนลด  x  เวลา 

 

  • พันธบัตรรัฐบาล เป็นตราสารหนี้ที่รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังเป็นผู้ออก เพื่อกู้เงินจากประชาชน ดังนั้น รัฐบาลจะอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้ ส่วนผู้ที่ถือพันธบัตร ได้แก่ ประชาชน สถาบันการเงิน หรือองค์กรใดๆที่ถือพันธบัตรก็จะมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของรัฐบาล สำหรับพันธบัตรที่ออกโดยหน่วยงานรัฐวิสาหกิจจะเรียกว่า  พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ 
  • ตั๋วเงินคลัง  เป็นตราสารหนี้ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ออกเช่นเดียวกัน แต่ที่แตกต่างจากพันธบัตรรัฐบาลก็คือ ตั๋วเงินคลังเป็นตราสารหนี้ระยะสั้น จะมีอายุไม่เกิน 1 ปีเท่านั้น
  • หุ้นกู้    ใช้เรียกตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทเอกชน  มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป   ถ้าเป็นหุ้นกู้อายุสั้นๆ  เช่นไม่เกิน 9 เดือน  จะเรียกว่า หุ้นกู้ระยะสั้น   หรือในกรณีที่เป็นตราสารหนี้ระยะสั้นที่ออกเพื่อการกู้ยืมระหว่างกันในวงแคบ  และมีลักษณะแตกต่างกันไปในแต่ละหน่วย   ไม่มีความเป็นมาตรฐานเหมือนหุ้นกู้  จะเรียกว่า ตั๋วเงิน หรือ ตั๋วบีอี  

 ตราสารทุน (Equity Instruments) เป็นตราสารที่กิจการออกให้แก่ผู้ถือ (Holder) เพื่อระดมเงินทุนไปใช้ในกิจการ โดยผู้ถือตราสารทุนจะมีฐานะเป็น “เจ้าของกิจการ” รวมทั้งมีส่วนได้เสียหรือมีสิทธิในทรัพย์สินและรายได้ของกิจการ และมีโอกาสจะได้รับผลตอบแทนเป็นเงินปันผล (Dividend) อย่างไรก็ตาม ไม่ได้มีข้อผูกพันว่ากิจการที่ออกตราสารทุนจะต้องจ่ายเงินปันผลเสมอไป ทั้งนี้ การตัดสินใจจ่ายเงินปันผลจะขึ้นอยู่กับผลกำไรและข้อตกลงของธุรกิจนั้นๆ

นักลงทุนสามารถซื้อขายตราสารทุนได้ในตลาดหลักทรัพย์ 2 แห่งคือ

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (The Stock Exchange of Thailand - SET)  และตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (Market for Alternative Investment - mai)

ทั้งนี้ จะขึ้นอยู่กับบริษัทจดทะเบียนว่าจะเลือกเข้ามาระดมทุนและจดทะเบียนซื้อขายในตลาดใด

ประเภทตราสารทุน

หุ้นสามัญ (Common Stock)เป็นตราสารประเภทหุ้นทุน ซึ่งออกโดยบริษัทมหาชนจำกัดที่ต้องการระดมเงินทุนจากประชาชน โดยผู้ถือหุ้นสามัญจะมีสิทธิร่วมเป็นเจ้าของบริษัท มีสิทธิในการออกเสียงลงมติในที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนของหุ้นที่ถือครองอยู่

หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) เป็นตราสารประเภทหุ้นทุนที่ผู้ถือมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกิจการเช่นเดียวกับหุ้นสามัญ มีข้อแตกต่างจากหุ้นสามัญคือ ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับสิทธิในการชำระคืนเงินทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญในกรณีที่บริษัทเลิกกิจการ

ใบสำคัญแสดงสิทธิ หรือวอแรนท์ (Warrant)เป็นตราสารที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือในการซื้อหลักทรัพย์ที่ใบสำคัญแสดงสิทธินั้นอ้างอิงอยู่ (Underlying Asset) ตามราคาใช้สิทธิ จำนวนที่ให้ใช้สิทธิ (นิยมใช้เป็นอัตราส่วน) และภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า

หน่วยลงทุน (Unit Trust) หลักทรัพย์ที่ออกขายโดยบริษัทจัดการลงทุนเพื่อระดมเงินเข้ากองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้น แล้วจัดสรรเงินในกองทุนนั้นลงทุนในตลาดการเงินตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน ผู้ถือหน่วยลงทุนมีฐานะร่วมเป็นเจ้าของกองทุนนั้น ๆ และมีสิทธิได้รับเงินปันผลตอบแทนจากผลกำไรที่เกิดขึ้น

ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย หรือ เอ็นวีดีอาร์ (Non - Voting Depositary Receipt : NVDR) เป็นตราสารที่ออกโดยบริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด มีสถานะเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนโดยอัตโนมัติและมีหลักทรัพย์อ้างอิง เป็นหุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ ใบสำคัญแสดงสิทธิ หรือใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ

ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง (Depository Receipt : DR)เป็นตราสารที่ออกและเสนอขายโดยบริษัท สยามดีอาร์ จำกัด เป็นหลักทรัพย์ที่ให้สิทธิอ้างอิงอาจเป็นได้ทั้งหุ้นสามัญ หุ้นกู้ หุ้นกู้แปลงสภาพ ผู้ลงทุนที่ถือ DR จะได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ เช่นเดียวกับผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนทุกประการ

นางสาวรัญญา  วงษ์สง่างาม  รหัส 55127326056  

เครื่องมือทางการเงิน (Financial Instruments) หมายถึง หนังสือสำคัญซึ่งเป็นเอกสารแสดงสิทธิต่าง ๆ เช่น สิทธิในการเป็นเจ้าของ สิทธิในการเป็นเจ้าหนี้ สิทธิที่จะซื้อหรือขายหลักทรัพย์ ฯลฯ ทั้งนี้ จะยกตัวอย่างตราสารทางการเงินชนิดต่าง ๆ ตามตาราง แสดงตัวอย่างของเครื่องมือทางการเงินชนิดต่าง ๆ ดังนี้ พันธบัตรรัฐบาล คือตราสารที่รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังเป็นผู้ออก ซึ่งสัญญาว่าจะจ่ายดอกเบี้ยพร้อมเงินต้นให้แก่ผู้ถือเมื่อครบกำหนดหรือจ่ายดอกเบี้ยเป็นงวดๆแล้วแต่จะตกลงกัน รัฐบาลจะออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อกู้ยืมเงินจากประชาชนและ ผู้ซื้อพันธบัตรจะมีฐานะเป็นเจ้าหนี้รัฐบาลตามกฎหมาย ประเภทของพันธบัตรรัฐบาลไทยที่ออกจำหน่าย พันธบัตรหรือหุ้นกู้จะให้ผลตอบแทนในรูปของ “อัตราดอกเบี้ย” ตั๋วเงิน คือเอกสารที่คู่สัญญาใช้เป็นหลักฐานทางการเงิน เป็นนิติกรรมสองฝ่ายขึ้นไป จัดเป็นสัญญาอย่างหนึ่งที่มีที่มาจากมูลหนี้เดิม มีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทน (Reciprocal contract) บุคคลที่จะเข้าเป็นคู่สัญญาตั๋วเงินได้ต้องมีความสามารถตามมาตรา ๑๕๓ และต้องแสดงเจตนาเข้ามาเป็นคู่สัญญาในตั๋วเงินด้วยความสมัครใจตามมาตรา ๑๔๙ ปราศจากความสำคัญผิด กลฉ้อฉล หรือการข่มขู่ เช่นเดียวกับการทำสัญญาทั่วไป ตราสารทุน (Equity Instruments) คือ ตราสารที่บริษัทออกให้แก่ผู้ถือเพื่อแสดงสิทธิของความเป็นเจ้าของในกิจการนั้น ประเภทของตราสารแห่งทุน 1. หุ้นสามัญ (Common Stocks หรือ Ordinary Shares) คือ ตราสารสิทธิที่แสดงความเป็นเจ้าของ กิจการและเมื่อกิจการมีกำไรจาการดำเนินงาน ผู้ถือหุ้นสามัญจะได้รับเงินปันผลใน อัตราที่จัดสรรโดยที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น โดยคำนวณตามสัดส่วนของจำนวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นนั้นถือครอง ทั้งนี้เงินปันผลอาจสูงขึ้นหรือลดต่ำลงก็ได้ ขึ้นอยู่กับผลกำไรจากการดำเนินงานประจำปี 2. หุ้นบุริมสิทธิ์ (Preferred Stocks) คือ ตราสารสิทธิที่แสดงความเป็นเจ้าของกิจการที่มีการจดบุริม สิทธิ์ไว้อย่างแจ้งชัดไม่สามารถยกเลิกได้ เมื่อกิจการมีกำไรจากการดำเนินงาน ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์จะได้รับเงินปันผลใน อัตราคงที่ ตามที่จดบุริมสิทธิ์ไว้ซึ่งอาจจะมากหรือน้อยกว่าผู้ถือหุ้นสามัญก็ได้ แต่หากกิจการนั้นมีอันต้องเลิกดำเนินการและมีการชำระบัญชีโดยการขายทรัพย์สิน ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์จะได้รับเงินคืนทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ 3. ใบสำคัญแสดงสิทธิในหุ้น (Stock Warrants) คือ ตราสารสิทธิที่กิจการออกให้แก่ผู้ลงทุนเพื่อให้สิทธิ ในการซื้อหุ้นออกใหม่ในราคา จำนวน และภายในระยะเวลาที่กำหนด ผู้ลงทุนจะมีสิทธิในความเป็นเจ้าของกิจการต่อเมื่อได้ใช้สิทธิในการซื้อหุ้นของกิจการนั้นแล้วเท่านั้น 4. หน่วยลงทุนในกองทุนตราสารแห่งทุน คือ ตราสารสิทธิในการเป็นเจ้าของหน่วยลงทุนของกองทุน รวมที่มีนโยบายลงทุนเฉพาะในตราสารแห่งทุน ผู้ลงทุนจะมีสิทธิความเป็นเจ้าของกิจการที่กองทุนรวมนั้นลงทุนไว้ ตามสิทธิที่เฉลี่ยระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งหมดในกองทุนรวมนั้นนั่นเอง 5. ตราสารแสดงสิทธิ์ในอนุพันธ์ที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้น (stock options & futures) คือ สัญญาที่ผู้ ลงทุนสองฝ่ายตกลงกันเพื่อซื้อหรือขายหุ้นในราคา จำนวน และภายในระยะเวลาที่กำหนด (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในตราสารเพื่อการลงทุนในทศวรรษหน้า

เครื่องมือทางการเงิน (Financial Instruments) หมายถึง หนังสือสำคัญซึ่งเป็นเอกสารแสดงสิทธิต่าง ๆ เช่น สิทธิในการเป็นเจ้าของ สิทธิในการเป็นเจ้าหนี้ สิทธิที่จะซื้อหรือขายหลักทรัพย์ ฯลฯ ทั้งนี้ จะยกตัวอย่างตราสารทางการเงินชนิดต่าง ๆ ตามตาราง แสดงตัวอย่างของเครื่องมือทางการเงินชนิดต่าง ๆ ดังนี้ พันธบัตรรัฐบาล คือตราสารที่รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังเป็นผู้ออก ซึ่งสัญญาว่าจะจ่ายดอกเบี้ยพร้อมเงินต้นให้แก่ผู้ถือเมื่อครบกำหนดหรือจ่ายดอกเบี้ยเป็นงวดๆแล้วแต่จะตกลงกัน รัฐบาลจะออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อกู้ยืมเงินจากประชาชนและ ผู้ซื้อพันธบัตรจะมีฐานะเป็นเจ้าหนี้รัฐบาลตามกฎหมาย ประเภทของพันธบัตรรัฐบาลไทยที่ออกจำหน่าย พันธบัตรหรือหุ้นกู้จะให้ผลตอบแทนในรูปของ “อัตราดอกเบี้ย” ตั๋วเงิน คือเอกสารที่คู่สัญญาใช้เป็นหลักฐานทางการเงิน เป็นนิติกรรมสองฝ่ายขึ้นไป จัดเป็นสัญญาอย่างหนึ่งที่มีที่มาจากมูลหนี้เดิม มีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทน (Reciprocal contract) บุคคลที่จะเข้าเป็นคู่สัญญาตั๋วเงินได้ต้องมีความสามารถตามมาตรา ๑๕๓ และต้องแสดงเจตนาเข้ามาเป็นคู่สัญญาในตั๋วเงินด้วยความสมัครใจตามมาตรา ๑๔๙ ปราศจากความสำคัญผิด กลฉ้อฉล หรือการข่มขู่ เช่นเดียวกับการทำสัญญาทั่วไป ตราสารทุน (Equity Instruments) คือ ตราสารที่บริษัทออกให้แก่ผู้ถือเพื่อแสดงสิทธิของความเป็นเจ้าของในกิจการนั้น ประเภทของตราสารแห่งทุน 1. หุ้นสามัญ (Common Stocks หรือ Ordinary Shares) คือ ตราสารสิทธิที่แสดงความเป็นเจ้าของ กิจการและเมื่อกิจการมีกำไรจาการดำเนินงาน ผู้ถือหุ้นสามัญจะได้รับเงินปันผลใน อัตราที่จัดสรรโดยที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น โดยคำนวณตามสัดส่วนของจำนวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นนั้นถือครอง ทั้งนี้เงินปันผลอาจสูงขึ้นหรือลดต่ำลงก็ได้ ขึ้นอยู่กับผลกำไรจากการดำเนินงานประจำปี 2. หุ้นบุริมสิทธิ์ (Preferred Stocks) คือ ตราสารสิทธิที่แสดงความเป็นเจ้าของกิจการที่มีการจดบุริม สิทธิ์ไว้อย่างแจ้งชัดไม่สามารถยกเลิกได้ เมื่อกิจการมีกำไรจากการดำเนินงาน ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์จะได้รับเงินปันผลใน อัตราคงที่ ตามที่จดบุริมสิทธิ์ไว้ซึ่งอาจจะมากหรือน้อยกว่าผู้ถือหุ้นสามัญก็ได้ แต่หากกิจการนั้นมีอันต้องเลิกดำเนินการและมีการชำระบัญชีโดยการขายทรัพย์สิน ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์จะได้รับเงินคืนทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ 3. ใบสำคัญแสดงสิทธิในหุ้น (Stock Warrants) คือ ตราสารสิทธิที่กิจการออกให้แก่ผู้ลงทุนเพื่อให้สิทธิ ในการซื้อหุ้นออกใหม่ในราคา จำนวน และภายในระยะเวลาที่กำหนด ผู้ลงทุนจะมีสิทธิในความเป็นเจ้าของกิจการต่อเมื่อได้ใช้สิทธิในการซื้อหุ้นของกิจการนั้นแล้วเท่านั้น 4. หน่วยลงทุนในกองทุนตราสารแห่งทุน คือ ตราสารสิทธิในการเป็นเจ้าของหน่วยลงทุนของกองทุน รวมที่มีนโยบายลงทุนเฉพาะในตราสารแห่งทุน ผู้ลงทุนจะมีสิทธิความเป็นเจ้าของกิจการที่กองทุนรวมนั้นลงทุนไว้ ตามสิทธิที่เฉลี่ยระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งหมดในกองทุนรวมนั้นนั่นเอง 5. ตราสารแสดงสิทธิ์ในอนุพันธ์ที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้น (stock options & futures) คือ สัญญาที่ผู้ ลงทุนสองฝ่ายตกลงกันเพื่อซื้อหรือขายหุ้นในราคา จำนวน และภายในระยะเวลาที่กำหนด (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในตราสารเพื่อการลงทุนในทศวรรษหน้า

นางสาวนิลาวัลย์ ทองทิพย์ รหัส 55127326064

เครื่องมือทางการเงิน (Financial Instruments) หมายถึง หนังสือสำคัญซึ่งเป็นเอกสารแสดงสิทธิต่าง ๆ เช่น สิทธิในการเป็นเจ้าของ สิทธิในการเป็นเจ้าหนี้ สิทธิที่จะซื้อหรือขายหลักทรัพย์ ฯลฯ ทั้งนี้จะยกตัวอย่างตราสารทางการเงินชนิดต่าง ๆ เช่น ตราสารหนี้ มี พันธบัตร หุ้นกู้ ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตราสารอนุพันธ์ ตราสารหุ้น มี หุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธ์

 ตราสารหนี้ หรือ ตราสารแห่งหนี้(อังกฤษ: bond) คือ ตราสารทางการเงินที่ผู้ออกตราสาร ซึ่งเรียกว่า ผู้กู้ หรือ ลูกหนี้ มีข้อผูกพันทางกฎหมายว่าจะจ่ายผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยเป็นงวด ๆ และเงินต้น หรือ ผลประโยชน์อื่นๆ ตามกำหนดในตราสารให้แก่ผู้ซื้อ ซึ่งเรืยกว่า เจ้าหนี้ หรือ ผู้ให้กู้ เมื่อครบกำหนดที่ตกลงกันไว้ โดยทั่วไปตราสารหนี้ในตลาดทุนมักจะหมายถึง ตราสารหนี้ที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป

พันธบัตร คือ ตราสารทางการเงินรูปแบบหนึ่งที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐบาล จุดประสงค์ในการออกพันธบัตรก็เพื่อระดมเงินทุนจากนักลงทุนสถาบันและประชาชนทั่วไป โดยถือว่าผู้ออกพันธบัตรนั้นมีฐานะเป็นลูกหนี้ที่จะต้องมีภาระในการจ่ายคืนหนี้ให้กับผู้ถือพันธบัตรซึ่งมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของผู้ออกพันธบัตรต่อไปในอนาคต โดยที่จำนวนเงินที่ต้องจ่ายคืน ระยะเวลา และ อัตราผลตอบแทน ขึ้นกับสัญญาที่ได้กำหนดเอาไว้

หุ้นกู้ (อังกฤษ: corporate bond หรือ debenture) คือ ตราสารหนี้ระยะยาว ที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียน หรือ บริษัท มหาชน จำกัด ตามกฎหมายไม่ได้กำหนดอายุของหุ้นกู้ไว้ แต่โดยทั่วไป บริษัทผู้ออก มักจะกำหนดอายุของหุ้นกู้ประมาณ 2 - 20 ปี

ตั๋วสัญญาใช้เงิน (อังกฤษ: promissory note) หมายถึง หนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า "ผู้ออกตั๋ว" (อังกฤษ: maker) ให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งหรือใช้ให้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า "ผู้รับเงิน" (อังกฤษ: payee)

ตราสารอนุพันธ์ (อังกฤษ: derivative บางตำราอาจเรียกว่า สัญญาอนุพันธ์) เป็นตราสารทางการเงินประเภทหนึ่ง ที่มูลค่าของตราสารจะขึ้นอยู่กับกระแสเงินของสินทรัพย์อ้างอิง ไม่ได้มีค่าจากกระแสเงินของตัวตราสารเองโดยตรง ตัวอย่างของตราสารอนุพันธ์ ได้แก่ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบมาตรฐาน (futures), สัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบไม่มาตรฐาน (forward), ตราสารแลกเปลี่ยน (swap), ตราสารสิทธิ (option) เป็นต้น และมีสินทรัพย์ที่สามารถอ้างอิงได้คือ เงินตราต่างประเทศ ตราสารหนี้ ตราสารทุน สินค้าโภคภัณฑ์ เช่น โลหะมีค่า สินค้าเกษตร น้ำมัน หรือสินค้าอื่นใดที่มีดัชนีแน่นอนรองรับการออกตราสารอนุพันธ์ได้

ตราสารทุน หรือ ตราสารแห่งทุน (อังกฤษ: equity instrument) เป็นตราสารทางการเงินที่แสดงถึงการจัดแหล่งเงินทุนจากการเป็นเจ้าของ ซึ่งจะมีความผูกผันในฐานะเจ้าของหุ้นส่วนกิจการ

 หุ้นสามัญ เป็นตราสารทุนที่บ่งชี้ถึงการมีส่วนในการเป็นเจ้าของกิจการนั้นๆ การถือหุ้นสามัญเป็นการมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของบริษัท มีสิทธิในการออกเสียงในที่ประชุม มีสิทธิในการได้รับเงินปันผล หรือประโยชน์ในรูปแบบอื่นๆ ตามที่ประชุมของผู้ถือหุ้นอนุมัติ อย่างไรก็ตามในทางทฤษฏี ผู้ถือหุ้นสามัญจะเป็นผู้มีสิทธิ์ในลำดับสุดท้าย ในการได้รับส่วนที่เหลือจากการลงทุน หากบริษัทล้มละลายหรือเลิกกิจการ

ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หุ้นสามัญที่จดทะเบียนจะมีชื่อย่อ เช่น ธนาคารกรุงเทพ ชื่อย่อคือ BBL หุ้นประเภทอื่นที่มีการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะมีเครื่องหมาย -(ขีด) ต่อจากชื่อย่อ แล้วตามด้วยประเภทของตราสารทุน

 หุ้นบุริมสิทธิ (preferred stock) เป็นตราสารประเภทหุ้นทุน คล้ายกับหุ้นสามัญ เพียงแต่ว่าไม่มีสิทธิออกเสียงในการบริหาร มีข้อแตกต่างจากหุ้นสามัญคือ ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับสิทธิในการชำระคืนเงินทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญในกรณีที่บริษัทเลิกกิจการ รายละเอียดของบุริมสิทธิที่พึงจะมีจะต้องดูในเอกสารของบริษัทนั้นๆ อีกครั้งหนึ่ง หุ้นประเภทนี้มีไม่มากนักในตลาดหลักทรัพย์ มีการซื้อขายกันน้อย หรือภาษาเทคนิคเรียกว่ามีสภาพคล่องต่ำ หุ้นบุริมสิทธิบนกระดานหุ้นสังเกตได้จากสัญลักษณ์ -P ท้ายอักษรย่อ ของหุ้นสามัญ

 ที่ชอบที่สุด คือ

    เช็ค ตามประมาลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 เอกเทศสัญญา ลักษณะ 21 หมวด 4 เช็ค มาตร 987 ได้ให้คำจำกัดความของเช็คไว้ว่า อันว่าเช็คนั้น คือหนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้สั่งจ่าย สั่งธนาคารให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อทวงถามให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่ง อันเรียกว่าผู้รับเงิน “
เครื่องมือทางการเงิน (Financial Instruments) หมายถึง หนังสือสำคัญซึ่งเป็นเอกสารแสดงสิทธิต่าง ๆ เช่น สิทธิในการเป็นเจ้าของ สิทธิในการเป็นเจ้าหนี้ สิทธิที่จะซื้อหรือขายหลักทรัพย์ ฯลฯ ทั้งนี้จะยกตัวอย่างตราสารทางการเงินชนิดต่าง ๆ เช่น ตราสารหนี้ มี พันธบัตร หุ้นกู้ ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตราสารอนุพันธ์ ตราสารหุ้น มี หุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธ์

 ตราสารหนี้ หรือ ตราสารแห่งหนี้(อังกฤษ: bond) คือ ตราสารทางการเงินที่ผู้ออกตราสาร ซึ่งเรียกว่า ผู้กู้ หรือ ลูกหนี้ มีข้อผูกพันทางกฎหมายว่าจะจ่ายผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยเป็นงวด ๆ และเงินต้น หรือ ผลประโยชน์อื่นๆ ตามกำหนดในตราสารให้แก่ผู้ซื้อ ซึ่งเรืยกว่า เจ้าหนี้ หรือ ผู้ให้กู้ เมื่อครบกำหนดที่ตกลงกันไว้ โดยทั่วไปตราสารหนี้ในตลาดทุนมักจะหมายถึง ตราสารหนี้ที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป

พันธบัตร คือ ตราสารทางการเงินรูปแบบหนึ่งที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐบาล จุดประสงค์ในการออกพันธบัตรก็เพื่อระดมเงินทุนจากนักลงทุนสถาบันและประชาชนทั่วไป โดยถือว่าผู้ออกพันธบัตรนั้นมีฐานะเป็นลูกหนี้ที่จะต้องมีภาระในการจ่ายคืนหนี้ให้กับผู้ถือพันธบัตรซึ่งมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของผู้ออกพันธบัตรต่อไปในอนาคต โดยที่จำนวนเงินที่ต้องจ่ายคืน ระยะเวลา และ อัตราผลตอบแทน ขึ้นกับสัญญาที่ได้กำหนดเอาไว้

หุ้นกู้ (อังกฤษ: corporate bond หรือ debenture) คือ ตราสารหนี้ระยะยาว ที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียน หรือ บริษัท มหาชน จำกัด ตามกฎหมายไม่ได้กำหนดอายุของหุ้นกู้ไว้ แต่โดยทั่วไป บริษัทผู้ออก มักจะกำหนดอายุของหุ้นกู้ประมาณ 2 - 20 ปี

ตั๋วสัญญาใช้เงิน (อังกฤษ: promissory note) หมายถึง หนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า "ผู้ออกตั๋ว" (อังกฤษ: maker) ให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งหรือใช้ให้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า "ผู้รับเงิน" (อังกฤษ: payee) 

ตราสารอนุพันธ์ (อังกฤษ: derivative บางตำราอาจเรียกว่า สัญญาอนุพันธ์) เป็นตราสารทางการเงินประเภทหนึ่ง ที่มูลค่าของตราสารจะขึ้นอยู่กับกระแสเงินของสินทรัพย์อ้างอิง ไม่ได้มีค่าจากกระแสเงินของตัวตราสารเองโดยตรง ตัวอย่างของตราสารอนุพันธ์ ได้แก่ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบมาตรฐาน (futures), สัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบไม่มาตรฐาน (forward), ตราสารแลกเปลี่ยน (swap), ตราสารสิทธิ (option) เป็นต้น และมีสินทรัพย์ที่สามารถอ้างอิงได้คือ เงินตราต่างประเทศ ตราสารหนี้ ตราสารทุน สินค้าโภคภัณฑ์ เช่น โลหะมีค่า สินค้าเกษตร น้ำมัน หรือสินค้าอื่นใดที่มีดัชนีแน่นอนรองรับการออกตราสารอนุพันธ์ได้

ตราสารทุน หรือ ตราสารแห่งทุน (อังกฤษ: equity instrument) เป็นตราสารทางการเงินที่แสดงถึงการจัดแหล่งเงินทุนจากการเป็นเจ้าของ ซึ่งจะมีความผูกผันในฐานะเจ้าของหุ้นส่วนกิจการ

 หุ้นสามัญ เป็นตราสารทุนที่บ่งชี้ถึงการมีส่วนในการเป็นเจ้าของกิจการนั้นๆ การถือหุ้นสามัญเป็นการมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของบริษัท มีสิทธิในการออกเสียงในที่ประชุม มีสิทธิในการได้รับเงินปันผล หรือประโยชน์ในรูปแบบอื่นๆ ตามที่ประชุมของผู้ถือหุ้นอนุมัติ อย่างไรก็ตามในทางทฤษฏี ผู้ถือหุ้นสามัญจะเป็นผู้มีสิทธิ์ในลำดับสุดท้าย ในการได้รับส่วนที่เหลือจากการลงทุน หากบริษัทล้มละลายหรือเลิกกิจการ

ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หุ้นสามัญที่จดทะเบียนจะมีชื่อย่อ เช่น ธนาคารกรุงเทพ ชื่อย่อคือ BBL หุ้นประเภทอื่นที่มีการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะมีเครื่องหมาย -(ขีด) ต่อจากชื่อย่อ แล้วตามด้วยประเภทของตราสารทุน

 หุ้นบุริมสิทธิ (preferred stock) เป็นตราสารประเภทหุ้นทุน คล้ายกับหุ้นสามัญ เพียงแต่ว่าไม่มีสิทธิออกเสียงในการบริหาร มีข้อแตกต่างจากหุ้นสามัญคือ ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับสิทธิในการชำระคืนเงินทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญในกรณีที่บริษัทเลิกกิจการ รายละเอียดของบุริมสิทธิที่พึงจะมีจะต้องดูในเอกสารของบริษัทนั้นๆ อีกครั้งหนึ่ง หุ้นประเภทนี้มีไม่มากนักในตลาดหลักทรัพย์ มีการซื้อขายกันน้อย หรือภาษาเทคนิคเรียกว่ามีสภาพคล่องต่ำ หุ้นบุริมสิทธิบนกระดานหุ้นสังเกตได้จากสัญลักษณ์ -P ท้ายอักษรย่อ ของหุ้นสามัญ

   ที่ชอบที่สุดคือ

  เช็ค ตามประมาลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 เอกเทศสัญญา ลักษณะ 21 หมวด 4 เช็ค มาตร 987 ได้ให้คำจำกัดความของเช็คไว้ว่า อันว่าเช็คนั้น คือหนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้สั่งจ่าย สั่งธนาคารให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อทวงถามให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่ง อันเรียกว่าผู้รับเงิน “
   เครื่องมือทางการเงิน (Financial Instruments) หมายถึง หนังสือสำคัญซึ่งเป็นเอกสารแสดงสิทธิต่าง ๆ เช่น สิทธิในการเป็นเจ้าของ สิทธิในการเป็นเจ้าหนี้ สิทธิที่จะซื้อหรือขายหลักทรัพย์ ฯลฯ   แสดงตัวอย่างของเครื่องมือทางการเงินชนิดต่าง ๆ ดังนี้

เช็ค คือ ตราสารซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าผู้สั่งจ่ายสั่งให้ธนาคารให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อทวงถามให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งหรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งอันเรียกว่า ผู้รับเงิน โดยเช็คเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการบริหารเงินสดครับ เราสามารถจำแนกคู่สัญญาออกได้ดังนี้ 1. ผู้สั่งจ่ายเช็ค (Drawer) คือเจ้าของบัญชีกระแสรายวันที่เปิดบัญชีไว้กับธนาคาร ผู้เขียนสั่งจ่ายหรือออกเช็ค 2. ธนาคาร(Banker) คือธนาคารผู้รับฝากเงินประเภทกระแสรายวันที่ผู้สั่งจ่ายเช็คเปิดบัญชีไว้ 3. ผู้รับเงิน(Payee) คือผู้มีสิทธิที่จะขึ้นเงินตามเช็คนั้นในฐานะผู้ทรง(Holder) ทั้งนี้ผู้ทรงอาจมีฐานะเป็นผู้มีชื่อเป็นผู้รับเงินตามที่ปรากฎในเช็คนั้น หรืออาจเป็นผู้รับเงินในฐานะ ผู้รับสลักหลัง หรือในฐานะผู้ถือได้ องค์ประกอบของเช็ค 1.คำบอกชื่อว่าเป็นเช็ค 2.คำสั่งปราศจากเงื่อนไขให้ใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอน 3. ชื่อหรือยี่ห้อและสำนักของธนาคาร 4.ชื่อ หรือยี่ห้อของผู้รับเงิน หรือคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ 5.สถานที่ใช้เงิน 6.วันและสถานที่ออกเช็ค 7.ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย ครับหลังจากทราบองค์ประกอบที่ต้องปรากฎอยู่บนเช็คแล้ว เรามาดูกันว่าเช็คในปัจจุบันมีกี่ประเภท

ประเภทของเช็ค 1.เช็คเงินสด หรือเช็คจ่ายผู้ถือ (Cash or bearer’s cheque) คือเช็คที่มีคำว่า เงินสด แทนชื่อผู้รับเงิน หรือเช็คที่ระบุชื่อผู้รับเงินแต่ไม่ได้ขีดฆ่าคำว่า “หรือผู้ถือ” ผู้ที่มีเช็คประเภทนี้สามารถนำเช็คไปเบิกเงินสดจากธนาคารได้ทันที ดังนั้นหากเจ้าของเช็คทำเช็คเงินสดสูญหาย ผู้ใดก็ตามที่เก็บเช็คเงินสดนั้นได้สามารถนำเช็คไปเบิกเงินสดกับธนาคารได้ เนื่องจากเช็คไม่ได้มีการขีดฆ่าคำว่า “หรือผู้ถือ” 2. เช็คที่ระบุชื่อผู้รับเงิน หรือเช็คจ่ายตามสั่ง (Order’s cheque) คือเช็คที่ระบุชื่อผู้รับเงินและขีดฆ่าคำว่า “หรือผู้ถือ” เช้คประเภทนี้ผู้ที่มีชื่อเป็นผู้รับเงินจะต้องนำเช็คนั้นไปเบิกธนาคารด้วยตัวเองและหากผู้รับเงินต้องการโอนเช็คให้ผู้อื่น ผู้รับเงินต้องทำการสลักหลังเช็คนั้นก่อน 3. แคชเชียร์เช็ค (Cashier’s cheque) คือเช็คที่บุคคลต้องนำเงินสดมาซื้อเช็คกับธนาคารแล้วธนาคารจะออกแคชเชียร์เช็คให้โดยคิดค่าธรรมเนียมด้วย และธนาคารจะเป็นผู้จ่ายเงินให้กับผู้รับเงินตามที่ระบุไว้ในเช็คนั้น แคชเชียร์เช็คต่างจากเช็คเงินสดที่เช็คเงินสดสั่งจ่ายจากบัญชีกระแสรายวันของผู้สั่งจ่ายซึ่งผู้รับเงินอาจจะไม่แน่ใจว่าในบัญชีของผู้สั่งจ่ายมีเงินพอจ่ายหรือไม่ แต่แคชเชียร์เช็คบุคคลจะนำเงินสดไปซื้อแคชเชียร์เช็คกับธนาคารก่อนและธนาคารเป็นผู้จ่ายเงินให้กับผู้รับเงิน ดังนั้นผู้รับแคชเชียร์เช็คจึงมั่นใจได้ว่าจะได้รับเงินแน่นอน 4. เช็คที่ธนาคารรับรอง คือเช็คที่บุคคลเขียนสั่งจ่ายแล้วให้ธนาคารรับรองการจ่ายเงินตามเช็คนั้น โดยธนาคารจะเขียนคำว่า “ใช้ได้” หรือ “รับรองจ่าย” หรือ “Good” ลงในเช็คพร้อมทั้งลงลายมือชื่อผู้มีอำนาจของธนาคาร และธนาคารจะหักเงินออกจากบัญชีของผู้สั่งจ่ายทันที ซึ่งทำให้ผู้รับมั่นใจได้ว่า จะได้รับเงินแน่นอน ทั้งนี้ธนาคารจะคิดค่าธรรมเนียมในการรับรองเช็คด้วย 5. เช็คเดินทาง เป็นเช็คที่ผู้เดินทางนำหลักฐานการเดินทางมาขอซื้อเช็คเดินทางกับธนาคาร เช็คเดินทางจะช่วยให้ผู้เดินทางไม่ต้องพกเงินสดเป็นจำนวนมาก เมื่อผู้เดินทางไปยังสถานที่ต่างๆสามารถใช้เช็คเดินทางขึ้นเงินสดจากธนาคารต่างๆ รวมทั้งสามารถใช้เช้คเดินทางชำระค่าสินค้าได้มนร้านค้าที่ยอมรับเช็คเดินทางนั้น พันธบัตรรัฐบาล เป็นตราสารหนี้ที่รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังเป็นผู้ออก เพื่อกู้เงินจากประชาชน ดังนั้น รัฐบาลจะอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้ ส่วนผู้ที่ถือพันธบัตร ได้แก่ ประชาชน สถาบันการเงิน หรือองค์กรใดๆที่ถือพันธบัตรก็จะมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของรัฐบาล สำหรับพันธบัตรที่ออกโดยหน่วยงานรัฐวิสาหกิจจะเรียกว่า พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ตราสารหนี้ หรือ ตราสารแห่งหนี้ (อังกฤษ: bond) คือ ตราสารทางการเงินที่ผู้ออกตราสาร ซึ่งเรียกว่า ผู้กู้ หรือ ลูกหนี้ มีข้อผูกพันทางกฎหมายว่าจะจ่ายผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยเป็นงวด ๆ และเงินต้น หรือ ผลประโยชน์อื่นๆ ตามกำหนดในตราสารให้แก่ผู้ซื้อ ซึ่งเรืยกว่า เจ้าหนี้ หรือ ผู้ให้กู้ เมื่อครบกำหนดที่ตกลงกันไว้ โดยทั่วไปตราสารหนี้ในตลาดทุนมักจะหมายถึง ตราสารหนี้ที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ตั๋วเงิน คือ เอกสารเครดิตที่ใช้แทนเงินในวงการธุรกิจ ตั๋วเงินอาจถูกขายเปลี่ยนมือผู้ถือหรือโอนสลักหลัง ตั๋วเงินแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1. ตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory Note) 2. ตั๋วแลกเงิน (Bill of Exchange) 3. เช็ค (Cheque) 1. ตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory Note) ตั๋วสัญญาใช้เงิน คือ หนังสือตราสารที่บุคคลผู้หนึ่งที่เรียกว่าผู้ออกตั๋ว ให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่บุคคลอีกบุคคลหนึ่งหรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกบุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้รับเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงินต้องมีข้อความต่อไปนี้ 1. คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วสัญญาใช้เงิน 2. คำมั่นสัญญาโดยปราศจากเงื่อนไขว่าจะใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอน 3. วันถึงกำหนดใช้เงิน 4. สถานที่ใช้เงิน 5. ชื่อหรือยี่ห้อของผู้รับเงิน 6. วันและสถานที่ที่ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน 7. ลายมือชื่อผู้ออกตั๋ว หุ้นกู้ (Bonds) คือ ตั๋วสัญญาใช้เงินระยะยาวประเภทหนึ่งที่ออกโดยผู้กู้ ซึ่งระบุว่าผู้กู้ ได้กู้ยืมเงินจำนวนหนึ่งจากผู้ซื้อ หรือผู้ถือหุ้นกู้โดยผู้กู้สัญญาว่าจะจ่ายคืนเงินจำนวนดังกล่าวในอนาคต และจ่ายดอกเบี้ยเป็นรายงวดตามวันที่กำหนดไว้ตลอดอายุหุ้นกู้ ผู้ถือหุ้นกู้จะมีสภาพ เป็นเจ้าหนี้ของบริษัทที่ออกหุ้นกู้นั้นหุ้นกู้ที่ออกจำหน่ายจะต้องระบุข้อมูล ดังนี้ ระยะเวลาครบกำหนดไถ่ถอน หรืออายุหุ้นกู้ มูลค่าที่ตราไว้ หรือ มูลค่าเมื่อครบกำหนดไถ่ถอน ซึ่งเป็นเงินต้นที่ผู้กู้ต้องชำระคืน ณ วันครบกำหนดไถ่ถอน โดยปกติจะเท่ากับ 1,000 บาท อัตราดอกเบี้ย ที่ระบุไว้บนใบหุ้นกู้ ซึ่งแสดงถึงร้อยละของมูลค่าที่ตราไว้ โดยมักจะจ่ายเป็นรายปีหรือรายครึ่งปี หุ้นกู้จัดเป็นหลักทรัพย์ที่ให้รายได้ประจำ เนื่องจากการจ่ายดอกเบี้ยและชำระคืนเงินต้นของหุ้นกู้ ได้ระบุไว้แน่นอน ณ เวลาที่ออกและกำหนดเป็นจำนวนเงินคงที่ ตลอดอายุหุ้นกู้ ดังนั้นผู้ซื้อหรือผู้ถือหุ้นกู้จะทราบถึงกระแสเงินสดในอนาคตที่จะได้รับนับจากวันที่ซื้อจนถึงวันครบกำหนดไถ่ถอน ส่วนหุ้นสามัญ (Common Stocks) หรือที่บางคนเรียกว่า หุ้นทุน คือ ตราสารทุนที่บอกถึงความมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของในบริษัท ซึ่งออกโดยบริษัทมหาชนจำกัด ที่ต้องการระดมเงินทุนจากประชาชน เพื่อให้ประชาชนได้เข้าไปมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของในธุรกิจนั้น ๆ โดยตรง เช่น การมีสิทธิเข้าประชุมและลงคะแนนเสียงในที่ประชุม มีสิทธิร่วมตัดสินในปัญหาสำคัญในที่ประชุมผู้ถือหุ้นคะ โดยผลตอบแทนที่ผู้ซื้อหุ้นสามัญจะได้โดยตรงก็คือ เงินปันผลจากกำไรในธุรกิจตามอัตราที่ที่ประชุมใหญ่กำหนด ซึ่งไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานของบริษัท และอาจไม่มีการจ่ายเงินปันผลเลยก็ได้เงินกำไรจากการขายหุ้นถ้าหุ้นปรับตัวขึ้น และสิทธิในการจองซื้อหุ้นใหม่ ในกรณีที่มีการเพิ่มทุนจดทะเบียน ฯลฯ แล้วก็ในตลาดหุ้นที่ซื้อขายกันอยู่ในทุกวันนี้ หุ้นสามัญเป็นหุ้นที่นักลงทุนส่วนใหญ่ซื้อขายกันอยู่ มากกว่า 80% ของหุ้นในตลาดทั้งหมด ความแตกต่างระหว่างหุ้นสองประเภทนี้จะเห็นได้ชัดตอนที่เลิกบริษัท คือ ผู้ถือหุ้นกู้จะมีสิทธิ์มาเรียกคืนเงินของตนเองก่อน เพราะว่าเป็นเงินกู้ยืม แต่ผู้ถือหุ้นสามัญ จะเป็นรายสุดท้ายที่จะได้เงินคืน หรืออาจไม่ได้คืนเลยก็ได้ ถ้าบริษัทไม่มีจ่าย เพราะว่าเป็นเจ้าของ

   เครื่องมือทางการเงิน (Financial Instruments) หมายถึง หนังสือสำคัญซึ่งเป็นเอกสารแสดงสิทธิต่าง ๆ เช่น สิทธิในการเป็นเจ้าของ สิทธิในการเป็นเจ้าหนี้ สิทธิที่จะซื้อหรือขายหลักทรัพย์ ฯลฯ  ทั้งนี้ จะ แสดงตัวอย่างของเครื่องมือทางการเงินชนิดต่าง ๆ ดังนี้

พันธบัตรรัฐบาล คือ ตราสารที่รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังเป็นผู้ออก ซึ่งสัญญาว่าจะจ่ายดอกเบี้ยพร้อมเงินต้นให้แก่ผู้ถือเมื่อครบกำหนดหรือจ่ายดอกเบี้ยเป็นงวดๆแล้วแต่จะตกลงกัน รัฐบาลจะออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อกู้ยืมเงินจากประชาชนและ ผู้ซื้อพันธบัตรจะมีฐานะเป็นเจ้าหนี้รัฐบาลตามกฎหมาย เช็ค คือ ตราสารซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าผู้สั่งจ่ายสั่งให้ธนาคารให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อทวงถามให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งหรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งอันเรียกว่า ผู้รับเงิน โดยเช็คเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการบริหารเงินสดครับ เราสามารถจำแนกคู่สัญญาออกได้ดังนี้ 1. ผู้สั่งจ่ายเช็ค (Drawer) คือเจ้าของบัญชีกระแสรายวันที่เปิดบัญชีไว้กับธนาคาร ผู้เขียนสั่งจ่ายหรือออกเช็ค 2. ธนาคาร(Banker) คือธนาคารผู้รับฝากเงินประเภทกระแสรายวันที่ผู้สั่งจ่ายเช็คเปิดบัญชีไว้ 3. ผู้รับเงิน(Payee) คือผู้มีสิทธิที่จะขึ้นเงินตามเช็คนั้นในฐานะผู้ทรง(Holder) ทั้งนี้ผู้ทรงอาจมีฐานะเป็นผู้มีชื่อเป็นผู้รับเงินตามที่ปรากฎในเช็คนั้น หรืออาจเป็นผู้รับเงินในฐานะ ผู้รับสลักหลัง หรือในฐานะผู้ถือได้ องค์ประกอบของเช็ค 1.คำบอกชื่อว่าเป็นเช็ค 2.คำสั่งปราศจากเงื่อนไขให้ใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอน 3. ชื่อหรือยี่ห้อและสำนักของธนาคาร 4.ชื่อ หรือยี่ห้อของผู้รับเงิน หรือคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ 5.สถานที่ใช้เงิน 6.วันและสถานที่ออกเช็ค 7.ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย ครับหลังจากทราบองค์ประกอบที่ต้องปรากฎอยู่บนเช็คแล้ว เรามาดูกันว่าเช็คในปัจจุบันมีกี่ประเภท

ประเภทของเช็ค 1.เช็คเงินสด หรือเช็คจ่ายผู้ถือ (Cash or bearer’s cheque) คือเช็คที่มีคำว่า เงินสด แทนชื่อผู้รับเงิน หรือเช็คที่ระบุชื่อผู้รับเงินแต่ไม่ได้ขีดฆ่าคำว่า “หรือผู้ถือ” ผู้ที่มีเช็คประเภทนี้สามารถนำเช็คไปเบิกเงินสดจากธนาคารได้ทันที ดังนั้นหากเจ้าของเช็คทำเช็คเงินสดสูญหาย ผู้ใดก็ตามที่เก็บเช็คเงินสดนั้นได้สามารถนำเช็คไปเบิกเงินสดกับธนาคารได้ เนื่องจากเช็คไม่ได้มีการขีดฆ่าคำว่า “หรือผู้ถือ” 2. เช็คที่ระบุชื่อผู้รับเงิน หรือเช็คจ่ายตามสั่ง (Order’s cheque) คือเช็คที่ระบุชื่อผู้รับเงินและขีดฆ่าคำว่า “หรือผู้ถือ” เช้คประเภทนี้ผู้ที่มีชื่อเป็นผู้รับเงินจะต้องนำเช็คนั้นไปเบิกธนาคารด้วยตัวเองและหากผู้รับเงินต้องการโอนเช็คให้ผู้อื่น ผู้รับเงินต้องทำการสลักหลังเช็คนั้นก่อน 3. แคชเชียร์เช็ค (Cashier’s cheque) คือเช็คที่บุคคลต้องนำเงินสดมาซื้อเช็คกับธนาคารแล้วธนาคารจะออกแคชเชียร์เช็คให้โดยคิดค่าธรรมเนียมด้วย และธนาคารจะเป็นผู้จ่ายเงินให้กับผู้รับเงินตามที่ระบุไว้ในเช็คนั้น แคชเชียร์เช็คต่างจากเช็คเงินสดที่เช็คเงินสดสั่งจ่ายจากบัญชีกระแสรายวันของผู้สั่งจ่ายซึ่งผู้รับเงินอาจจะไม่แน่ใจว่าในบัญชีของผู้สั่งจ่ายมีเงินพอจ่ายหรือไม่ แต่แคชเชียร์เช็คบุคคลจะนำเงินสดไปซื้อแคชเชียร์เช็คกับธนาคารก่อนและธนาคารเป็นผู้จ่ายเงินให้กับผู้รับเงิน ดังนั้นผู้รับแคชเชียร์เช็คจึงมั่นใจได้ว่าจะได้รับเงินแน่นอน 4. เช็คที่ธนาคารรับรอง คือเช็คที่บุคคลเขียนสั่งจ่ายแล้วให้ธนาคารรับรองการจ่ายเงินตามเช็คนั้น โดยธนาคารจะเขียนคำว่า “ใช้ได้” หรือ “รับรองจ่าย” หรือ “Good” ลงในเช็คพร้อมทั้งลงลายมือชื่อผู้มีอำนาจของธนาคาร และธนาคารจะหักเงินออกจากบัญชีของผู้สั่งจ่ายทันที ซึ่งทำให้ผู้รับมั่นใจได้ว่า จะได้รับเงินแน่นอน ทั้งนี้ธนาคารจะคิดค่าธรรมเนียมในการรับรองเช็คด้วย 5. เช็คเดินทาง เป็นเช็คที่ผู้เดินทางนำหลักฐานการเดินทางมาขอซื้อเช็คเดินทางกับธนาคาร เช็คเดินทางจะช่วยให้ผู้เดินทางไม่ต้องพกเงินสดเป็นจำนวนมาก เมื่อผู้เดินทางไปยังสถานที่ต่างๆสามารถใช้เช็คเดินทางขึ้นเงินสดจากธนาคารต่างๆ รวมทั้งสามารถใช้เช้คเดินทางชำระค่าสินค้าได้มนร้านค้าที่ยอมรับเช็คเดินทางนั้น

  1. ตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory Note) ตั๋วสัญญาใช้เงิน คือ หนังสือตราสารที่บุคคลผู้หนึ่งที่เรียกว่าผู้ออกตั๋ว ให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่บุคคลอีกบุคคลหนึ่งหรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกบุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้รับเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงินต้องมีข้อความต่อไปนี้
  2. คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วสัญญาใช้เงิน
  3. คำมั่นสัญญาโดยปราศจากเงื่อนไขว่าจะใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอน
  4. วันถึงกำหนดใช้เงิน
  5. สถานที่ใช้เงิน
  6. ชื่อหรือยี่ห้อของผู้รับเงิน
  7. วันและสถานที่ที่ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน
  8. ลายมือชื่อผู้ออกตั๋ว

ตราสารหนี้ คือ ตราสารทางการเงินที่แสดงความเป็นหนี้ระหว่างกัน โดยลักษณะของการเป็นตราสารเป็นสิ่งที่สามารถเปลี่ยนมือได้กล่าวอีกนัยหนึ่งตราสารหนี้ก็คือ การกู้ยืมเงินชนิดหนึ่งที่มีความเป็นมาตรฐาน ผู้ออกตราสารเป็นผู้กู้หรือลูกหนี้ ในขณะที่ผู้ให้กู้เป็นผู้ซื้อหรือเจ้าหนี้ โดยทั้งสองฝ่ายมีข้อผูกพันทางกฎหมายที่จะได้รับชำระเงินหรือผลประโยชน์อื่นใด เช่น ดอกเบี้ย เงินต้น ตามเวลาที่กำหนด ทั้งนี้ ตราสารหนี้มีคุณสมบัติที่สามารถแบ่งเป็นหน่วยย่อยๆที่เท่าๆกันโดยได้ผลประโยชน์หรืออัตราผลตอบแทนเท่ากันทุกหน่วย และมีคุณสมบัติที่สามารถซื้อขายเปลี่ยนมือกันได้จนกว่าจะหมดอายุของตราสารนั้น สำหรับการเรียกชื่อตราสารหนี้ มีความแตกต่างกันเล็กน้อยระหว่างในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยทั่วไปในต่างประเทศใช้คำว่า Bond สำหรับตราสารหนี้ที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน(Secured bond) และใช้คำว่า Debenture สำหรับตราสารหนี้ที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน(Unsecured bond) สำหรับในประเทศไทยนิยมเรียกตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาลหรือองค์กรของรัฐว่า พันธบัตร(Bond) ส่วนตราสารหนี้ที่ออกโดยภาคเอกชนจะเรียกว่า หุ้นกู้(Debenture)

ตราสารอนุพันธ์ (Derivatives) หมายถึง สินทรัพย์ทางการเงินชนิดหนึ่งที่มูลค่าของตัวเองขึ้นอยู่กับสิ่งอื่นที่เรียกว่า สินทรัพย์อ้างอิง (Underlying Asset) ตราสารอนุพันธ์มีหลายรูปแบบเช่น ในรูปแบบที่เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งจะเป็นการทำสัญญากันระหว่างบุคคล 2 ฝ่ายที่ทำการตกลงกัน ณ วันนี้ เพื่อซื้อสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่ง โดยมีการระบุประเภท จำนวน และเวลาส่งมอบสินค้ากัน ที่สำคัญคือตกลงราคากันไว้ ณ วันนี้ เพื่อนำมาใช้เป็นราคาที่ทำการซื้อขายเมื่อถึงเวลาที่ตกลงจะส่งมอบสินค้ากันในอนาคต โดยตราสารอนุพันธ์นั้นมีหลายประเภท แต่ที่มักซื้อขายในตลาดอนุพันธ์ได้แก่ Futures และ Options ตราสารทุน คือ ตราสารที่บริษัทออกให้แก่ผู้ถือเพื่อแสดงสิทธิของความเป็นเจ้าของในกิจการนั้น ประเภทของตราสารแห่งทุน 1. หุ้นสามัญ (Common Stocks หรือ Ordinary Shares) คือ ตราสารสิทธิที่แสดงความเป็นเจ้าของ กิจการและเมื่อกิจการมีกำไรจาการดำเนินงาน ผู้ถือหุ้นสามัญจะได้รับเงินปันผลใน อัตราที่จัดสรรโดยที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น โดยคำนวณตามสัดส่วนของจำนวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นนั้นถือครอง ทั้งนี้เงินปันผลอาจสูงขึ้นหรือลดต่ำลงก็ได้ ขึ้นอยู่กับผลกำไรจากการดำเนินงานประจำปี 2. หุ้นบุริมสิทธิ์ (Preferred Stocks) คือ ตราสารสิทธิที่แสดงความเป็นเจ้าของกิจการที่มีการจดบุริม สิทธิ์ไว้อย่างแจ้งชัดไม่สามารถยกเลิกได้ เมื่อกิจการมีกำไรจากการดำเนินงาน ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์จะได้รับเงินปันผลใน อัตราคงที่ ตามที่จดบุริมสิทธิ์ไว้ซึ่งอาจจะมากหรือน้อยกว่าผู้ถือหุ้นสามัญก็ได้ แต่หากกิจการนั้นมีอันต้องเลิกดำเนินการและมีการชำระบัญชีโดยการขายทรัพย์สิน ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์จะได้รับเงินคืนทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ 3. ใบสำคัญแสดงสิทธิในหุ้น (Stock Warrants) คือ ตราสารสิทธิที่กิจการออกให้แก่ผู้ลงทุนเพื่อให้สิทธิ ในการซื้อหุ้นออกใหม่ในราคา จำนวน และภายในระยะเวลาที่กำหนด ผู้ลงทุนจะมีสิทธิในความเป็นเจ้าของกิจการต่อเมื่อได้ใช้สิทธิในการซื้อหุ้นของกิจการนั้นแล้วเท่านั้น 4. หน่วยลงทุนในกองทุนตราสารแห่งทุน คือ ตราสารสิทธิในการเป็นเจ้าของหน่วยลงทุนของกองทุน รวมที่มีนโยบายลงทุนเฉพาะในตราสารแห่งทุน ผู้ลงทุนจะมีสิทธิความเป็นเจ้าของกิจการที่กองทุนรวมนั้นลงทุนไว้ ตามสิทธิที่เฉลี่ยระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งหมดในกองทุนรวมนั้นนั่นเอง 5. ตราสารแสดงสิทธิ์ในอนุพันธ์ที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้น (stock options & futures) คือ สัญญาที่ผู้ ลงทุนสองฝ่ายตกลงกันเพื่อซื้อหรือขายหุ้นในราคา จำนวน และภายในระยะเวลาที่กำหนด

เครื่องมือทางการเงิน (Financial Instruments) หมายถึง หนังสือสำคัญซึ่งเป็นเอกสารแสดงสิทธิต่าง ๆ เช่น สิทธิในการเป็นเจ้าของ สิทธิในการเป็นเจ้าหนี้ สิทธิที่จะซื้อหรือขายหลักทรัพย์ ฯลฯ ทั้งนี้ จะยกตัวอย่างตราสารทางการเงินชนิดต่าง ๆ ตามตาราง แสดงตัวอย่างของเครื่องมือทางการเงินชนิดต่าง ๆ ดังนี้ ตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory Note) ตั๋วสัญญาใช้เงิน คือ หนังสือตราสารที่บุคคลผู้หนึ่งที่เรียกว่าผู้ออกตั๋ว ให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่บุคคลอีกบุคคลหนึ่งหรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกบุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้รับเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงินต้องมีข้อความต่อไปนี้ 1. คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วสัญญาใช้เงิน 2. คำมั่นสัญญาโดยปราศจากเงื่อนไขว่าจะใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอน 3. วันถึงกำหนดใช้เงิน 4. สถานที่ใช้เงิน 5. ชื่อหรือยี่ห้อของผู้รับเงิน 6. วันและสถานที่ที่ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน 7. ลายมือชื่อผู้ออกตั๋ว ตัวอย่างตั๋วสัญญาใช้เงิน

ตั๋วแลกเงิน (Bill of Exchange) ตั๋วแลกเงิน คือ หนังสือตราสารที่บุคคลผู้หนึ่งที่เรียกว่าผู้สั่งจ่าย สั่งบุคคลอีกผู้หนึ่ง เรียกว่าผู้จ่าย ให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลหนึ่งหรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งซึ่งเรียกว่าผู้รับเงิน ตั๋วแลกเงินต้องมีข้อความต่อไปนี้ 1. คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วแลกเงิน 2. คำสั่งอันปราศจากเงื่อนไขให้จ่ายเงินจำนวนแน่นอน 3. ชื่อหรือยี่ห้อของผู้จ่าย 4. วันถึงกำหนดใช้เงิน 5. สถานที่ใช้เงิน 6. ชื่อหรือยี่ห้อของผู้รับเงินหรือจ่ายให้แก่ผู้ถือ 7. วันและสถานที่ที่ออกตั๋ว 8. ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย ตัวอย่างของตั๋วแลกเงิน

เช็ค (cheque) เช็ค คือ หนังสือตราสารที่บุคคลคนหนึ่งที่เรียกว่า ผู้สั่งจ่าย สั่งธนาคารให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อทวงถาม ให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งหรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งซึ่งเรียกว่า ผู้รับเงิน เช็คต้องมีข้อความต่อไปนี้ 1. คำบอกชื่อว่าเป็นเช็ค 2. คำสั่งอันปราศจากเงื่อนไขให้จ่ายเงินจำนวนแน่นนอน 3. ชื่อหรือยี่ห้อของผู้รับเงินหรือจ่ายให้แก่ผู้ถือ 4. ชื่อหรือยี่ห้อและสำนักงานของธนาคาร 5. สถานที่ใช้เงิน 6. วันและสถานที่ออกเช็ค 7. ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย ตัวอย่างของเช็ค

พันธบัตรรัฐบาล คือ ตราสารทางการเงินรูปแบบหนึ่งที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐบาล จุดประสงค์ในการออกพันธบัตรก็เพื่อระดมเงินทุนจากนักลงทุนสถาบันและประชาชนทั่วไป โดยถือว่าผู้ออกพันธบัตรนั้นมีฐานะเป็นลูกหนี้ที่จะต้องมีภาระในการจ่ายคืนหนี้ให้กับผู้ถือพันธบัตรซึ่งมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของผู้ออกพันธบัตรต่อไปในอนาคต โดยที่จำนวนเงินที่ต้องจ่ายคืน ระยะเวลา และ อัตราผลตอบแทน ขึ้นกับสัญญาที่ได้กำหนดเอาไว้ ตราสารทุนหรือหุ้นทุน (Share) คือ ส่วนของทุนของกิจการที่ถูกแบ่งออกเป็นหุ้น ซึ่งแต่ละหุ้นจะให้อำนาจผู้ถือหุ้นในการเป็นเจ้าของของกิจการตามสัดส่วนของหุ้นที่ถือ ซึ่งหมายความรวมถึงการได้สิทธิในการได้รับส่วนแบ่งกำไรและสิทธิในการบริหาร ในที่นี้จะยกตัวอย่างหุ้นทุน 2 ประเภท คื

หุ้นสามัญ ( Common Stock ) เป็นตราสารประเภทหุ้นทุน ซึ่งออกโดยบริษัทมหาชนจำกัดที่ต้องการระดมเงินทุนจากประชาชน โดยผู้ถือหุ้นสามัญจะมีสิทธิร่วมเป็นเจ้าของบริษัท มีสิทธิในการออกเสียงลงมติในที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนของหุ้นที่ถือครองอยู่ กล่าวคือ ร่วมเป็นผู้ตัดสินใจในปัญหาสำคัญในที่ประชุมผู้ถือหุ้น อาทิ การเพิ่มทุน การจ่ายเงินปันผล การควบรวมกิจการ นอกจากนี้ ผู้ถือหุ้นสามัญยังมีสิทธิได้รับเงินปันผลเมื่อบริษัทมีผลกำไร และมีโอกาสได้รับกำไรจากส่วนต่างของราคาเมื่อราคาหลักทรัพย์ปรับตัวสูงขึ้นตามศักยภาพของบริษัท รวมถึงมีโอกาสได้รับสิทธิในการจองซื้อหุ้นออกใหม่เมื่อบริษัทเพิ่มทุนหรือจัดสรรใบสำคัญแสดงสิทธิต่างๆ ให้แก่ผู้ถือหุ้น

หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) เป็นหุ้นที่มีลักษณะกึ่งหนี้สินและกึ่งหุ้นสามัญ (Hybrid) มีราคาหน้าตั๋ว (Par Value) และมีอัตราเงินปันผลกำหนดไว้ตายตัว ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับสิทธิพิเศษเหนือกว่าผู้ถือหุ้นสามัญ เช่น ได้รับเงินปันผลก่อนหรือมากกว่าผู้ถือหุ้นสามัญ และมีสิทธิในทรัพย์สินของบริษัทก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ (แต่หลังจากผู้เป็นเจ้าหนี้ของบริษัท) ในกรณีที่บริษัทจะต้องเลิกกิจการ อย่างไรก็ตาม ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิส่วนใหญ่มักจะไม่ได้รับสิทธิในการออกเสียง และการบริหารงานของบริษัท ตราสารอนุพันธุ์ (Derivatives) หมายถึง ตราสารทางการเงินประเภทที่มูลค่า หรือราคาของตราสารนั้นเกี่ยวเนื่องอยู่กับมูลค่าของสินทรัพย์ที่ตราสารนั้นอิงอยู่ เช่น ตราสารสิทธิที่จะซื้อหรือขายหุ้น (Stock Options) เป็นตราสารอนุพันธุ์ เพราะราคาของตราสาร ดังกล่าวจะเกี่ยวโยงกับราคา ของหุ้นที่จะใช้ตราสารสิทธินั้นไปซื้อหรือขายได้ สัญญาซื้อขายดัชนีราคาหุ้นล่วงหน้า (Stock Index Futures) เป็นตราสารอนุพันธ์ เพราะราคาของตราสารนี้สืบเนื่องมาจากดัชนีราคาหุ้นที่ตราสารอิงอยู่ การจัดให้มีการซื้อขายตราสารอนุพันธ์จะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้อง กับ ตลาดการเงินมีเครื่องมือไว้ปกป้อง และบริหารความเสี่ยงที่มีอยู่ และเป็นการเพิ่มช่องทางลงทุนซื้อขายที่หลากหลายยิ่งขึ้น หน่วยลงทุน (Unit trust) หมายถึง หลักทรัพย์ที่ออกขายโดยบริษัทจัดการลงทุน เพื่อระดมเงินเข้ากองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้น แล้วจัดสรรเงินในกองทุนนั้น ลงทุนในตลาดการเงินตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน เช่น ลงทุนซื้อหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ ลงทุนในตราสารการเงิน ต่าง ๆ และฝากไว้กับสถาบันการเงิน เป็นต้น ผู้ถือหน่วยลงทุนมีฐานะร่วมเป็นเจ้าของกองทุนนั้น ๆ และมีสิทธิได้รับเงินปันผลตอบแทนจากผลกำไรที่เกิดขึ้น หากถือไว้จนถึงกำหนดไถ่ถอนก็จะได้รับส่วนแบ่งคืนจากเงินกองทุนตามสัดส่วนของหน่วยลงทุนที่ถืออยู่

ประภาพร เหลือถนอม รหัส 55127326047

 

เครื่องมือทางการเงิน

เครื่องมือทางการเงิน (Financial Instruments) หมายถึง หนังสือสำคัญซึ่งเป็นเอกสารแสดงสิทธิต่าง ๆ เช่น สิทธิในการเป็นเจ้าของ สิทธิในการเป็นเจ้าหนี้ สิทธิที่จะซื้อหรือขายหลักทรัพย์ ฯลฯ ทั้งนี้จะยกตัวอย่างตราสารทางการเงินชนิดต่าง ๆ ตามตาราง แสดงตัวอย่างของเครื่องมือทางการเงินชนิดต่าง ๆ ดังนี้

ตราสารหนี้ หรือ ตราสารแห่งหนี้(อังกฤษ: bond) คือ ตราสารทางการเงินที่ผู้ออกตราสาร ซึ่งเรียกว่า ผู้กู้ หรือ ลูกหนี้ มีข้อผูกพันทางกฎหมายว่าจะจ่ายผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยเป็นงวด ๆ และเงินต้น หรือ ผลประโยชน์อื่นๆ ตามกำหนดในตราสารให้แก่ผู้ซื้อ ซึ่งเรืยกว่า เจ้าหนี้ หรือ ผู้ให้กู้ เมื่อครบกำหนดที่ตกลงกันไว้ โดยทั่วไปตราสารหนี้ในตลาดทุนมักจะหมายถึง ตราสารหนี้ที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป

พันธบัตร คือ ตราสารทางการเงินรูปแบบหนึ่งที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐบาล จุดประสงค์ในการออกพันธบัตรก็เพื่อระดมเงินทุนจากนักลงทุนสถาบันและประชาชนทั่วไป โดยถือว่าผู้ออกพันธบัตรนั้นมีฐานะเป็นลูกหนี้ที่จะต้องมีภาระในการจ่ายคืนหนี้ให้กับผู้ถือพันธบัตรซึ่งมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของผู้ออกพันธบัตรต่อไปในอนาคต โดยที่จำนวนเงินที่ต้องจ่ายคืน ระยะเวลา และ อัตราผลตอบแทน ขึ้นกับสัญญาที่ได้กำหนดเอาไว้

หุ้นกู้ (อังกฤษ: corporate bond หรือ debenture) คือ ตราสารหนี้ระยะยาว ที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียน หรือ บริษัท มหาชน จำกัด ตามกฎหมายไม่ได้กำหนดอายุของหุ้นกู้ไว้ แต่โดยทั่วไป บริษัทผู้ออก มักจะกำหนดอายุของหุ้นกู้ประมาณ 2 - 20 ปีในปัจจุบัน บริษัทผู้ออกหุ้นกู้ ได้ออกหุ้นกู้หลายหลายรูปแบบ ทั้งนี้เพื่อเป็นการดึงดูดนักลงทุนให้สนใจหุ้นกู้ของบริษัท และเพื่อให้บริษัทสามารถออกหุ้นกู้ได้ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ ตัวอย่างของหุ้นกู้ที่มีออกจำหน่ายในปัจจุบัน เช่น

หุ้นกู้ด้อยสิทธิ (มักออกโดยธนาคาร เพราะตามกฎหมายธนาคารต้องให้คำสำคัญการชำระหนี้กับผู้ฝากเงินก่อน หุ้นกู้ที่ออกมาจึงต้องเป็นหุ้นกู้ด้อยสิทธิ์)

หุ้นกู้แปลงสภาพ

หุ้นกู้ชนิดมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน

หุ้นกู้ชนิดทยอยจ่ายคืนเงินต้น

หุ้นกู้ชนิดที่ให้สิทธิในการไถ่ถอนคืนก่อนกำหนด (callable or putable)

ตั๋วเงิน คือ เอกสารเครดิตที่ใช้แทนเงินในวงการธุรกิจ  ตั๋วเงินอาจถูกขายเปลี่ยนมือผู้ถือหรือโอนสลักหลัง

ตั๋วเงินแบ่งเป็น  3  ประเภท  ได้แก่

1. ตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory Note)

2. ตั๋วแลกเงิน  (Bill of Exchange)

3. เช็ค (Cheque)

 

1.   ตั๋วสัญญาใช้เงิน  (Promissory Note)

ตั๋วสัญญาใช้เงิน คือ หนังสือตราสารที่บุคคลผู้หนึ่งที่เรียกว่าผู้ออกตั๋ว ให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่บุคคลอีกบุคคลหนึ่งหรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกบุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้รับเงิน 

ตั๋วสัญญาใช้เงินต้องมีข้อความต่อไปนี้

1. คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วสัญญาใช้เงิน

2. คำมั่นสัญญาโดยปราศจากเงื่อนไขว่าจะใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอน

3. วันถึงกำหนดใช้เงิน

4. สถานที่ใช้เงิน

5. ชื่อหรือยี่ห้อของผู้รับเงิน

6. วันและสถานที่ที่ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน

7. ลายมือชื่อผู้ออกตั๋ว

 

2. ตั๋วแลกเงิน  (Bill of Exchange)

ตั๋วแลกเงิน  คือ  หนังสือตราสารที่บุคคลผู้หนึ่งที่เรียกว่าผู้สั่งจ่าย  สั่งบุคคลอีกผู้หนึ่ง เรียกว่าผู้จ่าย ให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลหนึ่งหรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งซึ่งเรียกว่าผู้รับเงิน 

ตั๋วแลกเงินต้องมีข้อความต่อไปนี้

1. คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วแลกเงิน

2. คำสั่งอันปราศจากเงื่อนไขให้จ่ายเงินจำนวนแน่นอน

3. ชื่อหรือยี่ห้อของผู้จ่าย

4. วันถึงกำหนดใช้เงิน

5. สถานที่ใช้เงิน

6. ชื่อหรือยี่ห้อของผู้รับเงินหรือจ่ายให้แก่ผู้ถือ

7. วันและสถานที่ที่ออกตั๋ว

8. ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย

 

3.   เช็ค (cheque)

เช็ค  คือ  หนังสือตราสารที่บุคคลคนหนึ่งที่เรียกว่า  ผู้สั่งจ่าย  สั่งธนาคารให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อทวงถาม  ให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งหรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งซึ่งเรียกว่า 

ผู้รับเงิน เช็คต้องมีข้อความต่อไปนี้

1. คำบอกชื่อว่าเป็นเช็ค

2.  คำสั่งอันปราศจากเงื่อนไขให้จ่ายเงินจำนวนแน่นนอน

3. ชื่อหรือยี่ห้อของผู้รับเงินหรือจ่ายให้แก่ผู้ถือ

4. ชื่อหรือยี่ห้อและสำนักงานของธนาคาร

5. สถานที่ใช้เงิน

6. วันและสถานที่ออกเช็ค

7. ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย

 

รายละเอียดต่างๆ  เกี่ยวกับตั๋วเงิน

1. เงินหน้าตั๋ว  (Face  Value)  คือ  จำนวนเงินที่ระบุไว้ในตั๋ว

2. วันถึงกำหนด   (Maturity  Date)   คือ  วันที่ผู้ออกตั๋วจะต้องจ่ายเงินให้แก่ผู้ถือตั๋วตามสัญญาใช้เงิน

3. เงินถึงกำหนด  (Maturity  Value)  คือ  เงินหน้าตั๋วบวกดอกเบี้ยตามตั๋วสัญญาใช้เงิน

4.เงินส่วนลด คือ  เงินที่ผู้ถือตั๋วถูกหักไว้เป็นค่าป่วยการ เนื่องจากนำตั๋วไปขายก่อนถึงวันกำหนด เงินที่ได้รับหลังจากหักเงินส่วนลดแล้วเรียกว่าเงินปัจจุบัน และวันที่นำตั๋วเงินไปขายเรียกว่าวันคิดลด และการนับจำนวนวันสำหรับคิดเงินส่วนลดให้เริ่มนับหลังจากวันคิดลด 1  วัน จนถึงวันกำหนด

ตราสารอนุพันธ์ (อังกฤษ: derivative บางตำราอาจเรียกว่า สัญญาอนุพันธ์) เป็นตราสารทางการเงินประเภทหนึ่ง ที่มูลค่าของตราสารจะขึ้นอยู่กับกระแสเงินของสินทรัพย์อ้างอิง ไม่ได้มีค่าจากกระแสเงินของตัวตราสารเองโดยตรง ตัวอย่างของตราสารอนุพันธ์ ได้แก่ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบมาตรฐาน (futures), สัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบไม่มาตรฐาน (forward), ตราสารแลกเปลี่ยน (swap), ตราสารสิทธิ (option) เป็นต้น และมีสินทรัพย์ที่สามารถอ้างอิงได้คือ เงินตราต่างประเทศ ตราสารหนี้ ตราสารทุน สินค้าโภคภัณฑ์ เช่น โลหะมีค่า สินค้าเกษตร น้ำมัน หรือสินค้าอื่นใดที่มีดัชนีแน่นอนรองรับการออกตราสารอนุพันธ์ได้

น.ส. นฤมล  แก้วพันตา  เลขที่11 รหัส 55127326054

เครื่องมือทางการเงิน (Financial Instruments) หมายถึง หนังสือสำคัญซึ่งเป็นเอกสารแสดงสิทธิต่าง ๆ เช่น สิทธิในการเป็นเจ้าของ สิทธิในการเป็นเจ้าหนี้ สิทธิที่จะซื้อหรือขายหลักทรัพย์ ฯลฯ ทั้งนี้จะยกตัวอย่างตราสารทางการเงินชนิดต่าง ๆ

        ตราสารหนี้ หรือ Fixed Income Securities คือ ตราสารทางการเงิน ที่ผู้ออกตราสาร ซึ่งเรียกว่า ผู้กู้ หรือ ลูกหนี้ มีข้อผูกพันทางกฎหมายว่าจะจ่ายผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยเป็นงวด ๆ และเงินต้น หรือ ผลประโยชน์อื่นๆ ตามกำหนดในตราสารให้แก่ผู้ซื้อ ซึ่งเรืยกว่า เจ้าหนี้ หรือ ผู้ให้กู้ เมื่อครบกำหนดที่ตกลงกันไว้ โดยทั่วไปตราสารหนี้ในตลาดทุนมักจะหมายถึง ตราสารหนี้ที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป

       ตราสารหนี้ประเภทที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน (secured bond) เป็นตราสารหนี้ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นหุ้นกู้ที่บริษัทผู้ออกนำสินทรัพย์ของตนมาค้ำประกันการออกหุ้นกู้ นั้นและผู้ถือหุ้นกู้จะมีสิทธิในสินทรัพย์ที่วางเป็นประกันนั้นเหนือเจ้าหนี้สามัญรายอื่นๆ

        ตราสารอนุพันธ์ (อังกฤษ: derivative) เป็นสินทรัพย์ทางการเงินประเภทหนึ่ง ที่มูลค่าของตราสารจะขึ้นอยู่กับกระแสเงินของสินทรัพย์อ้างอิง ไม่ได้มีค่าจากกระแสเงินของตัวตราสารเองโดยตรง ตัวอย่างของตราสารอนุพันธ์ ได้แก่ futures, forward, swap, options เป็นต้น และมีสินทรัพย์ที่สามารถอ้างอิงได้คือ เงินตราต่างประเทศ พันธบัตร ตั๋วเงิน หุ้นสามัญ สินค้าโภคภัณฑ์ หรือทรัพย์สินใดๆ เป็นต้น

        พันธบัตร คือ ตราสารทางการเงินรูปแบบหนึ่งที่ออกโดยรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และ สถาบันการเงินที่มี กฎหมายจัดตั้งขึ้นมา จุดประสงค์ในการออกพันธบัตรก็เพื่อระดมเงินทุนจากนักลงทุนสถาบันและประชาชน ทั่วไป โดยถือว่าผู้ออกพันธบัตรนั้นมีฐานะเป็นลูกหนี้ที่จะต้องมีภาระในการจ่ายคืน หนี้ให้กับผู้ถือพันธบัตรซึ่งมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของผู้ออกพันธบัตรต่อไปในอนาคต โดยที่จำนวนเงินที่ต้องจ่ายคืน ระยะเวลา และ อัตราผลตอบแทน ขึ้นกับสัญญาที่ได้กำหนดเอาไว้

        สัญญาซื้อขายทองคำล่วงหน้า หรือ โกลด์ฟิวเจอร์ส (Gold Futures) เป็นตราสารอนุพันธ์ หรือเครื่องมือทางการเงินชนิดหนึ่งที่ผู้ลงทุนสามารถใช้เก็งกำไรจากการผันผวนของราคาทองคำ ทั้งในภาวะขาขึ้นและภาวะขาลงของราคาทองคำ คุณลักษณะเด่นของตราสารอนุพันธ์ชนิดนี้คือ เป็นตราสารที่สามารถซื้อก่อนขายหรือขายก่อนซื้อก็ได้ และที่สำคัญที่สุดของการลงทุนในตราสารอนุพันธ์ประเภทนี้คือ ใช้เงินลงทุนน้อยประกอบกับราคาทองคำมีการเคลื่อนไหวทุกวัน จะทำให้โอกาสในการรับผลตอบแทนนั้นมีความเป็นไปได้ค่อนข้างสูง แต่ผู้ลงทุนต้องไม่ลืมที่ว่า การลงทุนใดที่ให้ผลตอบแทนสูง โอกาสในการรับความเสี่ยงก็จะสูงด้วยเช่นเดียวกัน

        หุ้นบุริมสิทธิ (อังกฤษ: Preferred Stock) คือ ตราสารสิทธิที่แสดงความเป็นเจ้าของกิจการที่มีการจดบุริมสิทธิไว้อย่างชัดเจนไม่สามารถยกเลิกได้ โดยผู้ถือหุ้นมีสิทธิในการออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นแต่สิทธิในการออก เสียงอยู่ที่การกำหนดว่าจะให้กี่หุ้นเท่ากับ 1 เสียงยกตัวอย่างเช่น 2 หุ้นเท่ากับ 1 เสียงหมายความว่าถ้าเราถือหุ้นอยู่ 100หุ้น จะถือว่าเรามีสิทธิออกเสียง 50เสียง และมีสิทธิได้รับเงินปันผลเป็นจำนวนที่ระบุไว้เมื่อกิจการมีกำไรจากการ ดำเนินงาน ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับเงินปันผลในอัตราคงที่ตามที่จดบุริมสิทธิไว้ อาจจะมากหรือน้อยกว่าผู้ถือหุ้นสามัญก็ได้ แต่หากกิจการนั้นต้องเลิกดำเนินการและมีการชำระบัญชีโดยการขายทรัพย์สิน ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับเงินคืนทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ

อันนี้จะมีตัวอย่างด้วนนะค๊ะ

           ตราสารทางการเงิน  หมายถึง เอกสารที่แสดงสิทธิเรียกร้อง ที่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานทางการเงิน ทั้งที่เกี่ยวกับการออมและการลงทุน อาทิเช่น ตรา สารทางการเงินที่ ให้ผลตอบแทนเป็น “ดอกเบี้ย” หรือ “เงิน ปันผล” เช่น บัญชีเงินฝากประเภทต่าง ๆ หุ้นกู้ หุ้นทุน เป็นต้น หรือตรา สารทางการเงินที่ มูลค่าเพิ่มหรือลดได้ เช่น หุ้นทุน หุ้นกู้ เป็นต้น

            ตราสารทางการเงินสามารถแบ่งตามอายุของตราสารได้เป็น 2 ประเภท
  1. ตราสารการเงินในตลาดเงิน ได้แก่ ตราสารที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี เป็นตราสารหนี้ไม่มีหลักประกัน การซื้อขายส่วนใหญ่ทำ โดยการหักส่วนลด เช่น

  2. ตราสารหนี้ระยะสั้น ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง ตั๋วแลกเงินที่ธนาคารรับรองหรืออาวัล

  3. ตราสารประเภทเงินออม ได้แก่ ใบรับฝากเงิน (Certificates of Deposits) เงินฝากธนาคาร

2.ตราสารการเงินในตลาดทุน ได้แก่ ตราสารที่มีอายุเกิน 1 ปีขึ้นไป เช่น

  • ตราสารประเภทหนี้ระยะยาว เป็นตราสารที่อาจมีหลักประกัน หรือไม่มีก็ได้ ได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธุรกิจ หุ้นกู้
  • ตราสารประเภทกึ่งหนี้กึ่งทุน ได้แก่ หลักทรัพย์แปลงสภาพ (Convertible Security) ใบสำคัญแสดงสิทธิ์ในการซื้อหุ้น
  • ตราสารประเภทหุ้น เป็นตราสารทุนแสดงความเป็นเจ้าของในกิจการซึ่งไม่กำหนดอายุไถ่ถอน หรือ อาจมีกำหนดอายุไถ่ถอนก็ได้ ผู้ถือตราสารได้รับผลตอบแทนตามผลการดำเนินงานของกิจการในรูปของเงินปันผล ไดแก่ หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ์ หุ้นบุริมสิทธิ์ชนิดแปลงเป็นหุ้นทุน เอกสารสิทธิ์ในการซื้อหุ้น (Warrants)
  • หน่วยลงทุนได้แก่ หน่วยลงทุนของกองทุนประเภทต่างๆ

ภาพตัวอย่างเครื่องมือทางการเงิน - พันธบัตรรัฐบาล

        “ตราสารอนุพันธ์ (Derivative)” เป็นเครื่องมือทางการเงินประเภทหนึ่งที่มีมูลค่าเกี่ยวเนื่องกับมูลค่าของสินทรัพย์ที่ถูกนำมาใช้อ้างอิงในการซื้อขาย หรือที่เราเรียกกันว่า“สินทรัพย์อ้างอิง (Underlying Asset)” นั่นเอง โดยมูลค่าของตราสารอนุพันธ์จะได้รับอิทธิพลโดยตรงจากมูลค่าของสินทรัพย์อ้างอิงนั้นๆ ทั้งนี้ เมื่อมีปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่ออุปสงค์ และอุปทานของสินค้าอ้างอิงในอนาคต มูลค่าของตราสารอนุพันธ์ก็จะปรับตัวตามทันทีเปรียบเทียบเพื่อให้เห็นภาพได้ง่ายขึ้น ก็เหมือนกับการที่เราไปจองซื้อรถยนต์ในงานมหกรรมรถยนต์ ซึ่งย่อมได้รับข้อเสนอในราคาพิเศษสุดๆ แต่เนื่องจากรถที่จองรุ่นนี้เป็นที่ต้องการของตลาดมากๆ จึงทำให้ขาดตลาดในขณะนั้น และยังไม่มีรถสำหรับส่งมอบภายในงานได้ทันที ดังนั้น เพื่อเป็นการประกันว่า หากจองซื้อรถภายในงาน ผู้จองจะได้รับการส่งมอบรถยนต์ในอนาคตอันใกล้ บริษัทรถยนต์ ก็จะทำการออกใบจองซึ่งระบุรายละเอียดทั้งรุ่นรถ จำนวนที่จองซื้อ ราคาที่จองซื้อ และระยะเวลาที่คาดว่าจะได้รับรถให้แก่เราเป็นการล่วงหน้า สำหรับเป็นหลักฐานว่า เมื่อมีรถยนต์รุ่นนี้วางจำหน่าย ทางบริษัทจะดำเนินการส่งมอบให้แก่เราผู้ถือใบจองก่อนตามรายละเอียดที่ได้ระบุไว้ข้างต้น ซึ่งใบจองที่บริษัทออกให้นี้เปรียบเสมือนกับตราสารอนุพันธ์ประเภทหนึ่งนั่นเอง นอกจากนี้ ทางบริษัทก็จะขอเรียกเก็บเงินมัดจำจำนวนหนึ่งจากเราในฐานะผู้ซื้อเพื่อแลกกับใบจองนั้น เกิดเป็นข้อตกลง หรือภาระผูกพันซึ่งคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต้องปฎิบัติตามขึ้นในอนาคต โดยเมื่อมีรถ บริษัทก็ต้องดำเนินการส่งมอบรถยนต์ให้แก่เรา ในทางกลับกัน เมื่อได้รับรถ เราก็ต้องจ่ายเงินสำหรับชำระราคาค่ารถยนต์รุ่นที่เราได้จองซื้อไว้นั้น อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าสินทรัพย์ทุกชนิดมีราคาผันผวนเปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป หากสมมติว่า ภายหลังจากงานมหกรรมรถยนต์ ความต้องการรถยนต์รุ่นนี้ในตลาดยังคงสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาของรถรุ่นนี้ในตลาดสูงกว่าราคาจองซื้อในงาน ใบจองที่เราถือครองอยู่ก็ย่อมที่จะมีมูลค่าสูงขึ้นตามเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ก็เพราะ เราสามารถซื้อรถได้ในราคาพิเศษ (ตามที่ระบุไว้ในใบจอง) ถูกกว่าราคาตลาดนั่นเอง ในทางกลับกัน หากรถยนต์รุ่นนี้ไม่เป็นที่นิยมอีกต่อไป และราคาในตลาดลดต่ำลงกว่าราคาที่จองซื้อในงาน ใบจองซึ่งเราถือครองอยู่นั้นก็จะมีมูลค่าลดลงตามไปด้วย

ลักษณะที่สำคัญของตราสารอนุพันธ์ที่เราควรทราบได้ดังต่อไปนี้

1. เป็นการตกลงทำธุรกรรมซื้อขายกันล่วงหน้าระหว่างคู่สัญญาสองฝ่าย ซึ่งได้แก่ ผู้ซื้อล่วงหน้า และผู้ขายล่วงหน้า โดยมีการตกลงรายละเอียดกัน ณ เวลาปัจจุบัน แต่จะมีการส่งมอบ และชำระราคากันจริงในอนาคต กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การซื้อขายยังไม่เกิดขึ้น ณ เวลาปัจจุบัน แต่จะไปเกิดขึ้นจริงในอนาคตแทนนั่นเอง

2. มีค่าเกี่ยวเนื่อง หรือขึ้นอยู่กับสินทรัพย์ที่ถูกนำมาใช้อ้างอิงในการซื้อขายนั้น ซึ่งอาจเป็นสินทรัพย์ที่มีตัวตนจับต้องได้ (Physical Asset) เช่น ยางพารา ข้าว มันสำปะหลัง หรืออาจเป็นสินทรัพย์ทางการเงิน (Financial Asset) เช่น พันธบัตร หุ้นสามัญ ก็ได้ นอกจากนี้ ยังสามารถมีค่าเกี่ยวเนื่องกับตัวแปรอ้างอิง (Underlying Variable) ใดๆ ที่ถูกกำหนดขึ้นมา เช่น ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ และอัตราดอกเบี้ยได้เช่นเดียวกัน

3. มีการกำหนดระยะเวลาในการปฎิบัติตามภาระผูกพัน หรือใช้สิทธิของคู่สัญญา กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ตราสารอนุพันธ์มีอายุจำกัดนั่นเอง

4. มีการกำหนดพันธะผูกพัน (Obligation) หรือให้สิทธิ (Right) แก่คู่สัญญาในการซื้อ หรือขายสินทรัพย์อ้างอิง หรือตัวแปรอ้างอิง ณ เวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต โดยมีการระบุทั้งคุณภาพ จำนวน ราคาซื้อขาย รวมถึงวิธีการส่งมอบไว้เป็นการล่วงหน้า อย่างไรก็ตาม ลักษณะของตราสารอนุพันธ์ที่กล่าวถึงข้างต้น เป็นเพียงพื้นฐานเบื้องต้นที่สำคัญเท่านั้น ตราสารอนุพันธ์ยังมีความสลับซับซ้อนไม่น้อยไปกว่าเครื่องมือทางการเงินประเภทอื่นๆ ดังนั้น ตราสารอนุพันธ์ประเภทต่างๆ โดยทั่วไปแล้ว จะสามารถแบ่งตราสารอนุพันธ์ออกได้เป็น 3 ประเภทหลักๆ ดังต่อไปนี้

1. สัญญาซื้อขายล่วงหน้า หมายถึง ข้อตกลง หรือสัญญาซื้อขายสินทรัพย์อ้างอิงที่จัดทำขึ้น ณ เวลาปัจจุบันระหว่างผู้ซื้อ และผู้ขาย แต่จะมีการส่งมอบ และชำระราคาจริงในอนาคต ทั้งนี้ เมื่อคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายได้ตกลงทำสัญญากันแล้ว คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างมีพันธะผูกพันต้องปฎิบัติตามข้อตกลงที่ได้กำหนดขึ้น ไม่สามารถบิดพริ้วได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการชำระราคา หรือการส่งมอบสินทรัพย์ โดยผู้ซื้อต้องรับมอบสินทรัพย์ และชำระราคาเมื่อถึงวันครบกำหนดตามข้อตกลง ในขณะที่ผู้ขายก็มีหน้าที่ต้องส่งมอบ และรับชำระราคาสินทรัพย์อ้างอิงนั้น ซึ่งเราสามารถแบ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้าออกได้อีกเป็น 2 ประเภท คือ

           ฟอร์เวิร์ด (Forward Contract) หมายถึง ข้อตกลง หรือสัญญาซื้อขายสินทรัพย์อ้างอิงล่วงหน้าระหว่างผู้ซื้อ และ ผู้ขายเองเป็นการส่วนตัว หรืออาจดำเนินการผ่านสถาบันการเงินก็ได้ โดยผู้ซื้อตกลงที่จะซื้อสินทรัพย์อ้างอิงในราคาที่กำหนดขึ้น ณ เวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต หรือที่เรียกกันว่า “Forward Price” ในขณะที่ผู้ขายตกลงที่จะขายสินทรัพย์ให้ตามเงื่อนไขที่ได้ตกลงไว้กับผู้ซื้อ และมีการส่งมอบสินทรัพย์อ้างอิง ตลอดจนการชำระราคาให้แก่กันจริงตามที่ตกลงในสัญญานั้นๆ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากฟอร์เวิร์ดเกิดขึ้นจากการทำสัญญาส่วนตัวระหว่างคู่สัญญากันเอง เปรียบเสมือนดั่งเป็นสัญญาลูกผู้ชาย (Gentleman Agreement) ระหว่างกัน จึงไม่จำเป็นต้องมีการวางเงินประกัน หรือนำสินทรัพย์ใดๆ มาใช้ในการค้ำประกันสัญญาที่ได้จัดทำขึ้น การที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจจะไม่ปฎิบัติตามสัญญาย่อมมีโอกาสเป็นไปได้สูง โดยเฉพาะในกรณีที่ราคาสินทรัพย์อ้างอิงมีความผันผวนอย่างมากภายหลังจากที่ได้ทำสัญญาไปแล้ว ดังนั้นก่อนที่จะตกลงทำสัญญาขึ้น ต้องพิจารณาถึงความสามารถ และความน่าเชื่อถือของคู่สัญญาในการปฎิบัติตามสัญญาที่ได้ทำขึ้นนั้นด้วย นอกจากนี้ การที่รายละเอียดของสัญญามีความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย ทั้งในด้านคุณภาพของสินทรัพย์อ้างอิง ขนาดของสัญญา สถานที่ส่งมอบ วันครบกำหนดชำระราคา และกฎเกณฑ์ข้อบังคับต่างๆ ส่งผลให้การนำฟอร์เวิร์ดไปซื้อขายแลกเปลี่ยนมือในท้องตลาดเป็นไปได้ค่อนข้างยาก เรียกได้ว่า มีสภาพคล่องต่ำมาก หรือแทบไม่มีเลยก็ได้ ทั้งนี้ ฟอร์เวิร์ดมักถูกนิยมนำไปใช้กับการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities) เช่น ข้าวเจ้า ข้าวโพด ถั่ว ล่วงหน้า นอกจากนี้ ยังถูกสถาบันการเงินนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงทางด้านอัตราดอกเบี้ย และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราในอนาคตให้แก่ลูกค้าของตนด้วย

              ฟิวเจอร์ส (Futures Contract) หมายถึง ข้อตกลง หรือสัญญาซื้อขายสินทรัพย์ล่วงหน้าที่มีลักษณะลม้ายคล้ายคลึงกับฟอร์เวิร์ด แต่จะแตกต่างกันตรงที่ ประการแรก ตัวสัญญาฟิวเจอร์สจะมีความเป็นมาตรฐาน โดยมีการกำหนดรายละเอียด และเงื่อนไขไว้อย่างแน่นอน ทั้งในด้านคุณภาพของสินทรัพย์อ้างอิง ขนาดของสัญญา สถานที่ส่งมอบ และวันครบกำหนดชำระราคา ประการที่สอง การซื้อขายฟิวเจอร์สจะทำในตลาดล่วงหน้า (Futures Market) ที่มีการจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ (Organized Exchange) เท่านั้น โดยต้องซื้อขายผ่านนายหน้า (Broker) ที่เป็นบริษัทสมาชิกของตลาดล่วงหน้าแห่งนั้น และจากการที่เป็นสัญญามาตรฐาน และมีสถานที่ซื้อขายอย่างเป็นทางการนี้เอง จึงทำให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายสามารถนำฟิวเจอร์สไปซื้อขายแลกเปลี่ยนมือในท้องตลาดได้ง่าย ทำให้มีสภาพคล่องสูงกว่าฟอร์เวิร์ด ประการที่สาม ราคาที่ใช้สำหรับซื้อขายสินทรัพย์อ้างอิงตามที่กำหนดไว้ในสัญญา มีชื่อเรียกว่า “Futures Price” ประการที่สี่ มีการกำหนดบัญชีวงเงินประกัน (Margin Account) ของทั้งผู้ซื้อ และผู้ขาย รวมถึงมีการปรับมูลค่าทุกสิ้นวันทำการ (Daily Settlement) ทำให้สามารถรับรู้กำไร หรือขาดทุนได้ตลอดเวลาจนกว่าจะถึงวันที่ครบกำหนดตามข้อกตกลง ประการที่ห้า มีสำนักหักบัญชี (Clearing House) ดูแลในเรื่องการรับประกันการซื้อขายตามสัญญาที่ระบุไว้ โดยจะทำหน้าที่เป็นคู่สัญญาแทน (Central Counterparty)ให้กับทั้งผู้ซื้อ และผู้ขายด้วยครับ ประการที่หก มีองค์กรกำกับดูแลควบคุมให้การซื้อขายเป็นไปอย่างเป็นธรรม และโปร่งใส ทั้งนี้ สังเกตได้ว่า จากการที่ฟิวเจอร์สมีทั้งการกำหนดบัญชีวงเงินประกัน และมีสำนักหักบัญชี ตลอดจนองค์กรกำกับดูแลนี้เอง ที่ส่งผลให้ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการทำสัญญาฟิวเจอร์สมีน้อยกว่าฟอร์เวิร์ด และประการสุดท้าย การซื้อขายฟิวเจอร์สส่วนใหญ่จะไม่มีการส่งมอบสินทรัพย์จริงๆ เกิดขึ้นเหมือนกับกรณีของฟอร์เวิร์ด โดยคู่สัญญาสามารถล้าง หรือปิดฐานะ (Offset) ของตนเองลงได้ ไม่จำเป็นต้องมีพันธะผูกพันกันจนถึงวันครบกำหนดตามข้อตกลงแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม หากมีการถือครองจนถึงวันที่ครบกำหนดตามข้อตกลง ก็อาจใช้วิธีส่งมอบสินทรัพย์อ้างอิง และชำระราคาจริง (Physical Delivery) หรือจะใช้วิธีหักล้างกันด้วยเงินสด (Cash Settlement) แทนก็ได้ครับ

2. สัญญาสิทธิ หรือ ออปชัน (Option) หมายถึง ข้อตกลง หรือสัญญาที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือครองในการซื้อ หรือขายสินทรัพย์อ้างอิงที่ได้กำหนดไว้ตามจำนวน ราคา และระยะเวลาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า สัญญาประเภทนี้จะแตกต่างจากสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตรงที่ ประการแรก เป็นสัญญาที่ให้สิทธิที่แก่ผู้ซื้อ หรือผู้ถือครอง โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น สิทธิในการซื้อสินทรัพย์อ้างอิง หรือที่เรียกว่า “Call Option” และสิทธิในการขายสินทรัพย์อ้างอิง หรือที่เรียกกันว่า “Put Option” ประการที่สอง เนื่องจากเป็นเพียงการได้รับสิทธิ ดังนั้น ผู้ถือครองอาจเลือกที่จะใช้ หรือไม่ใช้สิทธินั้นก็ได้ ไม่ถือว่าเป็นภาระผูกพันที่ต้องซื้อ หรือ ขายสินทรัพย์อ้างอิงดังที่ระบุไว้ในข้อตกลงแต่อย่างใด ประการที่สาม เฉพาะในกรณีที่ผู้ถือครองเลือกใช้สิทธิตามสัญญาเท่านั้นที่ผู้ขายสัญญาจะมีภาระผูกพันต้องปฎิบัติตามสัญญาที่ตนเองเป็นผู้ออก ประการที่สี่ ราคาที่ใช้สำหรับซื้อ หรือ ขายสินทรัพย์อ้างอิงตามสิทธิที่กำหนดไว้ในสัญญา มีชื่อเรียกว่า “Exercise Price หรือ Strike Price” และประการสุดท้าย นอกเหนือจากราคาที่กำหนดให้ใช้สิทธิข้างต้น ผู้ถือครองยังต้องจ่ายค่าธรรมเนียม (Premium) ให้แก่ผู้ขายสัญญา เพื่อให้ได้สิทธิในการซื้อ หรือ ขายสินทรัพย์อ้างอิงตามที่สัญญานั้นได้กำหนดไว้

3. สัญญาสวอป (Swap) หมายถึง ข้อตกลง หรือสัญญาที่จัดทำขึ้นระหว่างคู่สัญญาสองฝ่าย ที่มีความต้องการที่จะแลกเปลี่ยนสินทรัพย์อ้างอิง หรือตัวแปรอ้างอิงระหว่างกันตามจำนวนที่ระบุไว้ในอนาคต เพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะของการดำเนินธุรกิจของตน โดยอาจมีสถาบันการเงินทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยน หรือเป็นคู่สัญญาอีกด้านหนึ่งให้แทนก็ได้

           นอกจากนี้ ตราสารอนุพันธ์ในแต่ละประเภทหลักที่กล่าวถึงข้างต้น ยังสามารถแบ่งย่อยออกตามประเภทของสินทรัพย์ หรือตัวแปรที่ถูกนำมาใช้อ้างอิงในการซื้อขายได้อีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น สัญญาซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า (Agricultural Futures) สัญญาซื้อขายดัชนี SET50 ล่วงหน้า (SET50 Index Futures) เป็นต้น

เครื่องมือทางการเงิน (Financial Instruments) หมายถึง หนังสือสำคัญซึ่งเป็นเอกสารแสดงสิทธิต่าง ๆ เช่น สิทธิในการเป็นเจ้าของ สิทธิในการเป็นเจ้าหนี้ สิทธิที่จะซื้อหรือขายหลักทรัพย์ ปัจจุบันมีผู้ให้ความสนใจเกี่ยวกับการบริหารการเงินส่วนบุคคลกันมากขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดีมากๆ ทั้งนี้นอกจากจะท่านจะมีสุขภาพร่างกายที่ดีแข็งแรงแล้ว การมีสุขภาพทางการเงินที่ดีก็เป็นสิงที่สำคัญไม่แพ้กัน ดังนั้นหากนักทุนท่านใด มีเครื่องมือทางการเงินที่ดีจะช่วยจัดการให้ท่านได้รับความสะสวกสบายและสามารถจัดทำได้อย่างง่าย เครื่องมือทางการเงินเช่น 1.ตราสารหนี้ หรือ ตราสารแห่งหนี้ คือ ตราสารทางการเงินที่ผู้ออกตราสาร ซึ่งเรียกว่า ผู้กู้ หรือ ลูกหนี้ มีข้อผูกพันทางกฎหมายว่าจะจ่ายผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยเป็นงวด ๆ และเงินต้น หรือ ผลประโยชน์อื่นๆ ตามกำหนดในตราสารให้แก่ผู้ซื้อ ซึ่งเรียกว่า เจ้าหนี้ หรือ ผู้ให้กู้ เมื่อครบกำหนดที่ตกลงกันไว้ โดยทั่วไปตราสารหนี้ในตลาดทุนมักจะหมายถึง ตราสารหนี้ที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป 2.ตราสารหุ้น

2.1 หุ้นสามัญ (Common Stock)

เป็นตราสารประเภทหุ้นทุน ซึ่งออกโดยบริษัทมหาชนจำกัดที่ต้องการระดมเงินทุนจากประชาชน โดยผู้ถือหุ้นสามัญจะมีสิทธิร่วมเป็นเจ้าของบริษัท มีสิทธิในการออกเสียงลงมติในที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนของหุ้นที่ถือครองอยู่

2.2 หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) 

เป็นตราสารประเภทหุ้นทุนที่ผู้ถือมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกิจการเช่นเดียวกับหุ้นสามัญ มีข้อแตกต่างจากหุ้นสามัญคือ ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับสิทธิในการชำระคืนเงินทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญในกรณีที่บริษัทเลิกกิจการ 3. ตราสารอนุพันธ์ (อังกฤษ: derivative บางตำราอาจเรียกว่า สัญญาอนุพันธ์) เป็นตราสารทางการเงินประเภทหนึ่ง ที่มูลค่าของตราสารจะขึ้นอยู่กับกระแสเงินของสินทรัพย์อ้างอิง ไม่ได้มีค่าจากกระแสเงินของตัวตราสารเองโดยตรง ตัวอย่างของตราสารอนุพันธ์ ได้แก่ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบมาตรฐาน (futures), สัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบไม่มาตรฐาน (forward), ตราสารแลกเปลี่ยน (swap), ตราสารสิทธิ (option) เป็นต้น และมีสินทรัพย์ที่สามารถอ้างอิงได้คือ เงินตราต่างประเทศ ตราสารหนี้ ตราสารทุน สินค้าโภคภัณฑ์ เช่น โลหะมีค่า สินค้าเกษตร น้ำมัน หรือสินค้าอื่นใดที่มีดัชนีแน่นอนรองรับการออกตราสารอนุพันธ์ได้ 4. หน่วยลงทุน คือ สินค้าทางการเงินของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ที่ได้จากการรวบรวมเงินทุนของนักลงทุน (เรียกว่า ผู้ถือหน่วยลงทุน) จำนวนมาก เพื่อนำเงินทุนไปลงทุนในหลักทรัพย์ต่างๆ เช่น ตราสารทุน ตราสารหนี้ หลักทรัพย์ในตลาดเงิน หรือ หลักทรัพย์เหล่านี้รวมกัน ซึ่งหลักทรัพย์เหล่านี้จะถูกบริหารจัดการโดยมืออาชีพแทนผู้ถือหน่วยลงทุน และ ผู้ถือหน่วยแต่ละคนจะถือครองสัดส่วนของเงินกองทุน และ ได้รับประโยชน์จาก มูลค่าทรัพย์สินของกองทุนที่เพิ่มขึ้น เงินปันผล ดอกเบี้ย และ สิทธิประโยชน์ต่างๆ แต่ผู้ถือหน่วยก็มีความเสี่ยงต่อการสูญเสียในมูลค่าของหน่วยลงทุนเช่นกัน

รูปภาพตัวอย่างของเครื่องมือทางการเงิน

พันธบัตร

เครื่องมือทางการเงิน (Financial Instruments) หมายถึง หนังสือสำคัญซึ่งเป็นเอกสารแสดงสิทธิต่าง ๆ เช่น สิทธิในการเป็นเจ้าของ สิทธิในการเป็นเจ้าหนี้ สิทธิที่จะซื้อหรือขายหลักทรัพย์ ฯลฯ ทั้งนี้ จะยกตัวอย่างตราสารทางการเงินชนิดต่าง ๆ ตามตาราง แสดงตัวอย่างของเครื่องมือทางการเงินชนิดต่าง ๆ ดังนี้ ตารางแสดงตัวอย่างของเครื่องมือทางการเงินชนิดต่าง ๆ เครื่องมือทางการเงิน ผลตอบแทน / สิทธิของผู้ถือ สถานะของผู้ถือ ตราสารหนี้ เช่น พันธบัตร หุ้นกู้ ตั๋วสัญญาใช้เงิน 1. ดอกเบี้ย 2. กำไรจากการขายเปลี่ยนมือ เจ้าหนี้กิจการ ตราสารหุ้น เช่น หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ
1. เงินปันผล 2. สิทธิในการบริหาร 3. กำไรจากการขายเปลี่ยนมือ 4. สิทธิจองหุ้นออกใหม่ เจ้าของกิจการ ตราสารอนุพันธ์ เช่น ใบสำคัญ แสดงสิทธิการซื้อหุ้น (Warrant)
กรณี (Warrant) 1. ผลต่างระหว่างราคาใช้สิทธิในการซื้อหุ้นกับราคาตลาด 2. กำไรจากการขายเปลี่ยนมือ กรณี (Warrant) ผู้ถือมีสิทธิในการจองซื้อหุ้น สามัญของบริษัท หน่วยลงทุน (Unit trust)
1. เงินปันผล 2. กำไรจากการขายเปลี่ยนมือหรือขายคืน เจ้าของกองทุนรวม

           สำหรับตราสารทางการเงินประเภทตราสารหนี้นั้น จะได้กล่าวถึงโดยละเอียดโดยแยกหัวข้อนำไปอธิบายในเรื่องถัด ๆ ไป เนื่องจากตราสารหนี้เป็นตราสารทางการเงินที่มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับเรื่องของอัตราดอกเบี้ย และการดำเนินนโยบายการเงิน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์การเงิน ส่วนตราสารอีก 3 ประเภท จะได้อธิบายโดยสังเขปเพิ่มเติมจากตารางสรุปข้างต้น ดังนี้
           1. ตราสารทุนหรือหุ้นทุน (Share) คือ ส่วนของทุนของกิจการที่ถูกแบ่งออกเป็นหุ้น ซึ่งแต่ละหุ้นจะให้อำนาจผู้ถือหุ้นในการเป็นเจ้าของของกิจการตามสัดส่วนของหุ้นที่ถือ ซึ่งหมายความรวมถึงการได้สิทธิในการได้รับส่วนแบ่งกำไรและสิทธิในการบริหาร ในที่นี้จะยกตัวอย่างหุ้นทุน 2 ประเภท คือ
               1.1 หุ้นสามัญ (Common Stock) คือ หลักทรัพย์ที่บริษัทออกจำหน่าย เพื่อให้สิทธิแก่ผู้ถือในการร่วมเป็นเจ้าของบริษัท ผู้ถือหุ้นสามัญมีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อร่วมตัดสินใจในการบริหาร การวางนโยบายการดำเนินการของบริษัท การเลือกตั้งกรรมการของบริษัท และเพื่อร่วมตัดสินใจในปัญหาสำคัญของบริษัท ผู้ถือหุ้นมีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนในรูปของเงินปันผล เมื่อบริษัทมีกำไรและอนุมัติให้มีการจ่ายเงินปันผล หรือเมื่อราคาหุ้นในตลาดรองสูงขึ้นก็สามารถนำไปขาย เพื่อรับส่วนต่างจากราคาหุ้นที่ซื้อมา (Capital Gain) นอกจากนี้ ผู้ถือหุ้นจะได้รับสิทธิจองหุ้นใหม่ (Right) เมื่อบริษัทต้องการจะเพิ่มทุนด้วย
               1.2 หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) เป็นหุ้นที่มีลักษณะกึ่งหนี้สินและกึ่งหุ้นสามัญ (Hybrid) มีราคาหน้าตั๋ว (Par Value) และมีอัตราเงินปันผลกำหนดไว้ตายตัว ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับสิทธิพิเศษเหนือกว่าผู้ถือหุ้นสามัญ เช่น ได้รับเงินปันผลก่อนหรือมากกว่าผู้ถือหุ้นสามัญ และมีสิทธิในทรัพย์สินของบริษัทก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ (แต่หลังจากผู้เป็นเจ้าหนี้ของบริษัท) ในกรณีที่บริษัทจะต้องเลิกกิจการ  อย่างไรก็ตาม ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิส่วนใหญ่มักจะไม่ได้รับสิทธิในการออกเสียง และการบริหารงานของบริษัท
           2. ตราสารอนุพันธุ์ (Derivatives) หมายถึง ตราสารทางการเงินประเภทที่มูลค่า หรือราคาของตราสารนั้นเกี่ยวเนื่องอยู่กับมูลค่าของสินทรัพย์ที่ตราสารนั้นอิงอยู่ เช่น ตราสารสิทธิที่จะซื้อหรือขายหุ้น (Stock Options) เป็นตราสารอนุพันธุ์ เพราะราคาของตราสาร ดังกล่าวจะเกี่ยวโยงกับราคา ของหุ้นที่จะใช้ตราสารสิทธินั้นไปซื้อหรือขายได้ สัญญาซื้อขายดัชนีราคาหุ้นล่วงหน้า (Stock Index Futures) เป็นตราสารอนุพันธ์ เพราะราคาของตราสารนี้สืบเนื่องมาจากดัชนีราคาหุ้นที่ตราสารอิงอยู่ การจัดให้มีการซื้อขายตราสารอนุพันธ์จะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้อง กับ ตลาดการเงินมีเครื่องมือไว้ปกป้อง และบริหารความเสี่ยงที่มีอยู่ และเป็นการเพิ่มช่องทางลงทุนซื้อขายที่หลากหลายยิ่งขึ้น
           3. หน่วยลงทุน (Unit trust) หมายถึง หลักทรัพย์ที่ออกขายโดยบริษัทจัดการลงทุน เพื่อระดมเงินเข้ากองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้น แล้วจัดสรรเงินในกองทุนนั้น ลงทุนในตลาดการเงินตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน เช่น ลงทุนซื้อหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ ลงทุนในตราสารการเงิน ต่าง ๆ และฝากไว้กับสถาบันการเงิน เป็นต้น ผู้ถือหน่วยลงทุนมีฐานะร่วมเป็นเจ้าของกองทุนนั้น ๆ และมีสิทธิได้รับเงินปันผลตอบแทนจากผลกำไรที่เกิดขึ้น หากถือไว้จนถึงกำหนดไถ่ถอนก็จะได้รับส่วนแบ่งคืนจากเงินกองทุนตามสัดส่วนของหน่วยลงทุนที่ถืออยู่
           อย่างไรก็ตาม มีกองทุนรวมอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งมิได้นำเงินไปลงทุนในหลักทรัพย์ต่าง ๆ เหมือนกองทุนรวมทั่วไป เช่น กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ซึ่งบริษัทจัดการกองทุนรวมจัดตั้งขึ้น เพื่อนำเงินที่ได้จากการขายหน่วยลงทุนไปซื้อ หรือเช่าอสังหาริมทรัพย์และจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว เป็นต้น 

ตราสารทางการเงินในตลาด ตราสารทางการเงิน (Financial Instruments) คือ หลักฐานแสดงการถือครองและสิทธิเรียกร้องต่างๆ ที่บริษัทผู้ออก หลักทรัพย์นำออกมาจำหน่ายเพื่อระดมเงินจากผู้ลงทุน และนำมาจดทะเบียนเพื่อให้มีการซื้อขายในตลาดรอง ซึ่งปัจจุบันมี ตราสารทางการเงินที่ซื้อขายกันในตลาดรองมากกว่า 1,000 ชนิด ทำให้ผู้ลงทุนมีทางเลือกการลงทุนที่หลากหลาย ตลอดจนสามารถกระจายการลงทุนได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเปลี่ยนเงินออมไปเป็นการลงทุนทั้งในรูปของการให้สินเชื่อ และการลงทุนในหลักทรัพย์ ตลาดการเงิน สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1. ตลาดเงิน (Money market) คือตลาดที่มีการระดมเงินจากประชาชนและการให้ สินเชื่อระยะสั้นไม่เกิน 1 ปี ทั้งแก่ภาครัฐและเอกชน ซึ่งรวมถึงนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา รวมทั้งการซื้อขายหลักทรัพย์ทางการเงินที่มีอายุ การไถ่ถอนระยะสั้น เช่น ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน และตั๋วเงินคลัง เป็นต้น 2. ตลาดทุน (Capital market) คือ แหล่งระดมเงินทุนได้โดยผ่านการกู้ยืมจากธนาคารและสถาบันการเงิน ซึ่งจะระดม เงินทุนจากผู้มีเงินออมในรูปของการรับฝากหรือกู้ยืมเงิน โดยมีผลตอบแทนเป็นการจูงใจคือดอกเบี้ย 2.1 ตลาดสินเชื่อทั่วไป สามารถระดมเงินทุนได้โดยผ่านการกู้ยืมจากธนาคารและสถาบันการเงิน ซึ่งจะระดมเงินจากผู้มีเงินออมในรูปของการรับฝากหรือกู้ยืมเงิน โดยมีผลตอบแทนเป็นการจูงใจคือดอกเบี้ย

            2.2   ตลาดหลักทรัพย์และตลาดตราสารหนี้  เป็นตลาดที่มีการออดตราสารทางการเงินหรือหลักทรัพย์ เช่น
           หุ้นสามัญ หุ้นกู้ และพันธบัตร เป็นต้น                นอกจากนั้น ทั้งสองตลาดนี้ ยังสามารถแบ่งออกเป็น
  1. ตลาดแรก (Primary market) คือ ตลาดที่ทำการซื้อขายเฉพาะหลักทรัพย์จากองค์กรหรือ บริษัทผู้ออกโดยตรง โดยไม่ผ่านสถาบันการเงิน บริษัท หลักทรัพย์ หรือกองทุนรวมใดๆ
  2. ตลาดรอง (Secondary market) คือตลาดที่ทำการซื้อขายหลักทรัพย์ที่เคยถูกทำการซื้อขาย มาแล้วในตลาดแรก ส่วนใหญ่มักจะซื้อผ่านคนกลาง เช่น สถาบันการเงิน ท่านอาจจะจำลักษณะ ของตลาดรองว่าคล้ายๆ กับตลาดขายของมือสอง ซึ่งเป็นตลาดที่มีไว้สำหรับเปลี่ยนมือ หลักทรัพย์เท่านั้น การจัดหาแหล่งเงินทุนระยะสั้น (Short-Term Financing)
         เงินทุนระยะสั้น  หมายถึง  เงินทุนที่ธุรกิจจัดหามาเพื่อใช้ในการดำเนินกิจการที่มีระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี 
    

    จำนวนและระยะเวลาของเงินทุนระยะสั้นที่ธุรกิจต้องจัดหามานั้น ได้จาการจัดทำงบประมาณเงินสดแหล่งเงินทุนระยะสั้นสินเชื่อทางการค้า (Trade Credit) • ผู้ขายมอบสินค้าให้ก่อนที่ผู้ซื้อจะชำระเงิน (เงินทุนที่เกิดโดยอัตโนมัติ) • เงื่อนไขของสินเชื่อการค้ามีรายละเอียดเกี่ยวกับ o การกำหนดเวลาเริ่มต้น (EOM หรือ วันที่ที่ปรากฏในใบกำกับสินค้า) o การกำหนดเวลาที่ได้รับส่วนลด o การกำหนดอัตราส่วนลด o การกำหนดเวลาชำระหนี้สิน o เช่น 2/10, n/30 EOM ตราสารพาณิชย์ (Commercial Paper) • ตั๋วสัญญาใช้เงินระยะสั้น ไม่ต้องมีหลักประกัน • ออกโดยบริษัทขนาดใหญ่ มีฐานะทางการเงินที่ดี • ต้นทุนต่ำกว่าการกู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์ เงินกู้ระยะสั้นจากธนาคารโดยไม่มีหลักประกันเงินกู้เฉพาะกรณี (Transaction Loan) • กู้เฉพาะโครงการใดโครงการหนึ่ง ที่ระบุระยะเวลาและอัตราดอกเบี้ย • พิจารณาเป็นโครงการไป แบบกำหนดวงเงินกู้ (Line of Credit) • เป็นข้อตกลงระหว่างธนาคารกับลูกค้าอย่างไม่เป็นทางการโดยธนาคารกำหนดวงเงินสูงสุดในการให้กู้ • ข้อตกลงดังกล่าวโดยทั่วไปอายุไม่เกิน 1 ปี เมื่อครบกำหนดอาจขอต่อสัญญาใหม่ เงินกู้ระยะสั้นจากธนาคารโดยไม่มีหลักประกันเงินกู้แบบหมุนเวียน (Revolving Credit) • เป็นข้อตกลงระหว่างธนาคารกับลูกค้าอย่างเป็นทางการ • ผู้กู้สามารถกู้เงินจากธนาคารจนครบวงเงินที่ตกลงไว้ • ธนาคารคิดค่าธรรมเนียมผูกพันเงินกู้ (Commitment Fee) ต้นทุนการกู้ยืม (Cost of Borrowing)อัตราดอกเบี้ย (Interest Rates) • คิดจากความน่าเชื่อถือของผู้กู้ และจำนวนเงินขอกู้ o Collect Basis - จ่ายดอกเบี้ยเมื่อถึงวันครบกำหนด o Discount Basis - หักดอกเบี้ยออกจากเงินต้นทันที • เช่น กู้เงิน 10,000 บาท ต้องจ่ายดอกเบี้ย 1,000 บาท ระยะเวลา 1 ปี หาอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Effective Rate) ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (Accruals) • ถือเป็นแหล่งเงินทุนอัตโนมัติ • ค่าแรงค้างจ่าย ค่าภาษีค้างจ่าย • ค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นแล้ว แต่กิจการยังไม่ได้จ่ายเงินสดออกไป แหล่งเงินทุนระยะสั้น 1. เครดิตการค้า ( Trade Credit )

  3. ตราสารพาณิชย์ ( Commercial Paper )
  4. เงินกู้จากธนาคารพาณิชย์ ( Short Term Loans)เครดิตการค้า มี 3 รูปแบบคือ
  5. บัญชีเงินเชื่อ ( Open Account ) หมายถึง ผู้ขายสินค้าส่งสินค้าให้กับผู้ซื้อพร้อมทั้งใบแจ้งหนี้ ซึ่งแสดงรายการต่าง ๆ เกี่ยวกับราคาสินค้า จำนวนสินค้า ยอดเงินที่ต้องชำระโดยผู้ซื้อไม่ต้องเซ็นหลักฐานใดๆที่แสดงความเป็นหนี้อย่างเป็นทางการ ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ขายจะมีการตรวจสอบฐานะทางการเงินของผู้ซื้อก่อน
  6. ตั๋วเงินจ่าย ( Note Payable ) ในกรณีนี้ผู้ขายจะขอให้ผู้ซื้อลงนามในตั๋วสัญญาใช้เงิน เพื่อรับรองสภาพการเป็นหนี้ ตั๋วสัญญาใช้เงินนี้จะระบุวันที่ที่ผู้ซื้อจะต้องชำระเงินไว้อย่างชัดเจน
  7. ตั๋วแลกเงิน ( Trade Acceptance ) เป็นวิธีการที่ผู้ซื้อต้องเซ็นรับรองการเป็นหนี้ไว้เป็นหลักฐาน ผู้ขายจะออกดราฟท์ให้ผู้ซื้อเซ็นรับรองว่าจะชำระหนี้ภายในกำหนด และเมื่อถึงกำหนดจะให้นำ ดราฟท์นั้นไปขึ้นเงินที่ธนาคารใด เมื่อผู้ซื้อเซ็นแล้วดราฟท์ก็จะกลายเป็นตั๋วแลกเงิน และตั๋วแลกเงินนี้สามารถนำไปขายลดในท้องตลาดเพื่อเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ทันทีการชำระเงินค่าสินค้าตามเครดิตการค้า มี 2 ลักษณะ ดังนี้
  8. การชำระเงินค่าสินค้าในวันครบกำหนดการค้า (Payment on the Final Due Date) กรณีเงื่อนไขไม่มีส่วนลดเงินสด ธุรกิจจะชำระเงินค่าสินค้าในวันครบกำหนดชำระแต่ถ้าเงื่อนไขการขายมีส่วนลดเงินสด ผู้ซื้ออาจชำระเงินภายใน กำหนดเวลาที่ให้ส่วนลดเงินสดโดยได้รับส่วนสดหรืออาจชำระเงินในวันครบกำหนดโดยไม่รับส่วนลดเงินสดก็ได้
  9. การยืดระยะเวลาชำระหนี้ (Streching Accounts Payable/ Leaning on the Trade) เป็นการ ยืดระยะเวลาชำระหนี้ หลังจากวันครบกำหนดชำระตามเงื่อนไขการขาย การกระทำเช่นนี้ธุรกิจจะต้องเสียต้นทุนค่าเสียโอกาสจากการ ไม่รับส่วนลดเงินสด ค่าธรรมเนียมหรือดอกเบี้ยเนื่องจากการชำระหนี้ช้ากว่ากำหนดชำระตามเงื่อนไขการขาย และที่สำคัญก็คืออาจทำให้เสียเครดิตในวงการค้า ข้อดีของเครดิตการค้า
  10. เป็นแหล่งเงินทุนที่มีอยู่ทั่วไปและหาได้ง่าย
  11. ไม่ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายใด ๆ
  12. การขอเครดิตการค้าไม่ต้องทำเป็นทางการ
  13. เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็กที่ไม่มีเครดิตพอที่จะหาเงินจากแหล่งอื่น
  14. มีความยืดหยุ่นสูง เช่นอาจจะเลื่อนเวลาการชำระเงินได้ ตราสารพาณิชย์ (Commercial Paper) ตราสารพาณิชย์ คือ ตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีอายุสั้นประมาณ 3 วัน - 9เดือน ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ออกโดยบริษัท ที่มีชื่อเสียง มีฐานะทางการเงินน่าเชื่อถือ และสัญญาว่าจะจ่ายเงินแก่ผู้ถือตั๋ว ตลาดตราสารพาณิชย์ แบ่งออกได้ 2ประเภทคือ
  15. ตลาดตราสารพาณิชย์ที่ขายผ่านผู้ค้าหลักทรัพย์ ( Dealer Market ) ซึ่งผู้ค้าหลักทรัพย์จะคิดค่านายหน้าจากผู้ออกตราสาร
    1. ตลาดตราสารพาณิชย์ที่ขายโดยผู้ออกโดยตรง ( Direct Placement Market ) วิธีนี้ผู้ออกตราสารจะขายให้นักลงทุนโดยตรง ผู้ซื้อตราสารอาจจะเป็นธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงิน หรือบริษัททั่วไป โดยซื้อไว้เพื่อเก็งกำไร หารายได้ ข้อดีและข้อเสียของตราสารพาณิชย์ ข้อดี
  16. อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าดอกเบี้ยเงินกู้ระยะสั้น
  17. ไม่ถูกจำกัดโดยกฎหมายเหมือนการกู้ยืมเงินจากธนาคาร
  18. ไม่ต้องมีหลักประกันข้อเสีย
  19. ผู้ซื้อตราสารมีเงินทุนจำกัดในบางช่วง ทำให้การขายตราสารไม่เป็นตามที่คาดไว้
  20. ผู้ออกตราสารพาณิชย์ที่มีปัญหาทางการเงิน จะขาดความน่าเชื่อถือทำให้ขายตราสารได้ยากเงินกู้จากธนาคารพาณิชย์ (Unsecured short-termloand) แบ่งเป็น 2 ประเภทดังนี้
  21. เงินกู้ชนิดไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ( Unsecured Loans ) คือ เงินกู้ประเภทที่สามารถชำระหนี้คืนในตัวมันเอง ( Self - liquidating ) ซึ่งหมายความว่าสินทรัพย์ที่จัดหามาโดยการใช้เงินกู้ยืมนี้ รายได้ที่ได้กลับมาเปลี่ยนเป็นเงินสด ไหลเข้ามาพอเพียงที่จะชำระหนี้เงินกู้ยืมดังกล่าวภายใน 1 ปี
  22. เงินกู้ชนิดมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ( Secured Loans ) กรณีที่ธนาคารเห็นว่าผู้กู้มีความสามารถในการจ่ายเงินคืน ไม่เพียงพอ จึงกำหนดให้มีหลักทรัพย์ค้ำประกันเพื่อลดความเสี่ยงภัยทางการเงิน ซึ่งพิจารณาจาก
  23. กระแสเงินสดที่เกิดขึ้นจากความสามารถในการดำเนินงานของธุรกิจ
  24. เงินที่ได้จากการขายหลักทรัพย์ที่ค้ำประกัน ประโยชน์ของการใช้แหล่งเงินทุนระยะสั้น
  25. ต้นทุนต่ำกว่า เพราะกิจการจะชำระดอกเบี้ยของทุนเฉพาะช่วงที่นำมาใช้เท่านั้น
  26. เกิดความสัมพันธ์กับธนาคารอย่าใกล้ชิด กู้ยืมเฉพาะเวลาที่ต้องการและชำระคืนทันทีเมื่อหมดความต้องการแหล่งเงินทุนระยะยาว (Long-Term Financing) เงินทุนระยะยาว หมายถึง เงินทุนที่ธุรกิจจัดหามาเพื่อใช้ในการดำเนินกิจการที่มีระยะเวลามากกว่า 1 ปี โดยทั่วไปธุรกิจจัดหาเงินทุนระยะยาวเพื่อนำไปลงทุนในสินทรัพย์ถาวร แหล่งที่มาของเงินทุนระยะยาว จากแหล่งเงินทุนภายในและเงินทุนระยะยาวจากแหล่งเงินทุนภายนอก เงินทุนระยะยาวจากแหล่งเงินทุน ภายในเป็นเงินทุนที่ได้จากการดำเนินงาน ได้แก่กำไรสะสม เงินทุนระยะยาวจากแหล่งเงินทุนภายนอก จัดหาได้หลายลักษณะ เช่น การกู้ยืมเงินทุนระยะยาวจากสถาบันการเงิน การออกหุ้นกู้ หุ้นบุริมสิทธ์และ หุ้นสามัญ เป็นต้น แหล่งเงินทุนระยะยาวการจัดหาเงินทุนจากแหล่งเงินทุนโดยมีระยะเวลากู้ยืมมากกว่า 1 ปี • การจัดหาแหล่งเงินทุนจากแหล่งเงินทุนภายใน o เงินลงทุนส่วนตัว o กำไรสะสมของกิจการ (retain profit) • การจัดหาแหล่งเงินทุนจากแหล่งเงินทุนภายนอก o การกู้ยืมเงินระยะยาวจากสถาบันการเงินหรือบุคคลทั่วไป o การออกหลักทรัพย์ชนิดต่าง ๆ แก่บุคคลหรือสถาบันการเงิน ได้แก่ การขายหุ้นให้มหาชน o การออกหุ้นกู้, ฯลฯ พันธบัตร หรือ หุ้นกู้ “สัญญา (ตราสาร) ที่แสดงการกู้ยืมเงิน ระหว่างผู้กู้ (บริษัทผู้ออกตราสารหนี้) กับผู้ให้กู้ (ผู้ลงทุน/ ถือตราสารหนี้) โดยในสัญญาระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการกู้ยืมนั้น”
    หุ้นสามัญ • เป็นการจัดหาเงินทุนจากส่วนของทุน (Equity) • โดยการออกจำหน่ายหุ้นสามัญ • ผู้ถือหุ้นสามัญมีสถานะเป็นเจ้าของบริษัทและมีสิทธิตามกฎหมายดังต่อไปนี้ o การควบคุมบริษัท o สิทธิในการซื้อหุ้นสามัญได้ก่อน หุ้นบุริมสิทธ์ • เป็นการจัดหาเงินทุนจากส่วนของทุน (Equity) • แต่มีลักษณะเป็นหลักทรัพย์ผสมกึ่งหนี้สินและกึ่งหุ้นสามัญ • ผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์ คือ เงินปันผล (แต่จะระบุไว้คงที่ เช่นเดียวกับดอกเบี้ยของหุ้นกู้หรือพันธบัตร) • ปกติจะอยู่กำหนดเป็นเปอร์เซ็นต์ของราคา Par ประโยชน์ของการใช้แหล่งเงินทุนระยะยาว
  27. ลดความเสี่ยง
  28. ให้ความมั่นคง
  29. เพิ่มสภาพคล่อง

รูปตั๋วแลกเงินและเช็ค

เครื่องมือทางการเงิน (Financial Instruments)

หมายถึง หนังสือสำคัญซึ่งเป็นเอกสารแสดงสิทธิต่าง ๆ เช่น สิทธิในการเป็นเจ้าของ สิทธิในการเป็นเจ้าหนี้ สิทธิที่จะซื้อหรือขายหลักทรัพย์ ฯลฯ ทั้งนี้ จะยกตัวอย่างตราสารทางการเงินชนิดต่าง ๆ ตามตาราง แสดงตัวอย่างของเครื่องมือทางการเงินชนิดต่าง ๆ ดังนี้

  1. ตราสารทุนหรือหุ้นทุน (Share) คือ ส่วนของทุนของกิจการที่ถูกแบ่งออกเป็นหุ้น ซึ่งแต่ละหุ้นจะให้อำนาจผู้ถือหุ้นในการเป็นเจ้าของของกิจการตามสัดส่วนของหุ้นที่ถือ ซึ่งหมายความรวมถึงการได้สิทธิในการได้รับส่วนแบ่งกำไรและสิทธิในการบริหาร ในที่นี้จะยกตัวอย่างหุ้นทุน 2 ประเภท คือ

               1.1 หุ้นสามัญ (Common Stock) คือ หลักทรัพย์ที่บริษัทออกจำหน่าย เพื่อให้สิทธิแก่ผู้ถือในการร่วมเป็นเจ้าของบริษัท ผู้ถือหุ้นสามัญมีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อร่วมตัดสินใจในการบริหาร การวางนโยบายการดำเนินการของบริษัท การเลือกตั้งกรรมการของบริษัท และเพื่อร่วมตัดสินใจในปัญหาสำคัญของบริษัท ผู้ถือหุ้นมีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนในรูปของเงินปันผล เมื่อบริษัทมีกำไรและอนุมัติให้มีการจ่ายเงินปันผล หรือเมื่อราคาหุ้นในตลาดรองสูงขึ้นก็สามารถนำไปขาย เพื่อรับส่วนต่างจากราคาหุ้นที่ซื้อมา (Capital Gain) นอกจากนี้ ผู้ถือหุ้นจะได้รับสิทธิจองหุ้นใหม่ (Right) เมื่อบริษัทต้องการจะเพิ่มทุนด้วย
    
               1.2 หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) เป็นหุ้นที่มีลักษณะกึ่งหนี้สินและกึ่งหุ้นสามัญ (Hybrid) มีราคาหน้าตั๋ว (Par Value) และมีอัตราเงินปันผลกำหนดไว้ตายตัว ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับสิทธิพิเศษเหนือกว่าผู้ถือหุ้นสามัญ เช่น ได้รับเงินปันผลก่อนหรือมากกว่าผู้ถือหุ้นสามัญ และมีสิทธิในทรัพย์สินของบริษัทก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ (แต่หลังจากผู้เป็นเจ้าหนี้ของบริษัท) ในกรณีที่บริษัทจะต้องเลิกกิจการ  อย่างไรก็ตาม ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิส่วนใหญ่มักจะไม่ได้รับสิทธิในการออกเสียง และการบริหารงานของบริษัท
    
           2. ตราสารอนุพันธุ์ (Derivatives) หมายถึง ตราสารทางการเงินประเภทที่มูลค่า หรือราคาของตราสารนั้นเกี่ยวเนื่องอยู่กับมูลค่าของสินทรัพย์ที่ตราสารนั้นอิงอยู่ เช่น ตราสารสิทธิที่จะซื้อหรือขายหุ้น (Stock Options) เป็นตราสารอนุพันธุ์ เพราะราคาของตราสาร ดังกล่าวจะเกี่ยวโยงกับราคา ของหุ้นที่จะใช้ตราสารสิทธินั้นไปซื้อหรือขายได้ สัญญาซื้อขายดัชนีราคาหุ้นล่วงหน้า (Stock Index Futures) เป็นตราสารอนุพันธ์ เพราะราคาของตราสารนี้สืบเนื่องมาจากดัชนีราคาหุ้นที่ตราสารอิงอยู่ การจัดให้มีการซื้อขายตราสารอนุพันธ์จะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้อง กับ ตลาดการเงินมีเครื่องมือไว้ปกป้อง และบริหารความเสี่ยงที่มีอยู่ และเป็นการเพิ่มช่องทางลงทุนซื้อขายที่หลากหลายยิ่งขึ้น
    
           3. หน่วยลงทุน (Unit trust) หมายถึง หลักทรัพย์ที่ออกขายโดยบริษัทจัดการลงทุน เพื่อระดมเงินเข้ากองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้น แล้วจัดสรรเงินในกองทุนนั้น ลงทุนในตลาดการเงินตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน เช่น ลงทุนซื้อหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ ลงทุนในตราสารการเงิน ต่าง ๆ และฝากไว้กับสถาบันการเงิน เป็นต้น ผู้ถือหน่วยลงทุนมีฐานะร่วมเป็นเจ้าของกองทุนนั้น ๆ และมีสิทธิได้รับเงินปันผลตอบแทนจากผลกำไรที่เกิดขึ้น หากถือไว้จนถึงกำหนดไถ่ถอนก็จะได้รับส่วนแบ่งคืนจากเงินกองทุนตามสัดส่วนของหน่วยลงทุนที่ถืออยู่
    

ตราสารทางการเงิน

1.ตราสารการลงทุน เป็นตราสารที่ให้สิทธิการเป็น “เจ้าของกิจการ” แก่ผู้ลงทุน ดังนั้น ในฐานะเจ้าของกิจการ ผู้ลงทุนจึงมีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนที่ดีถ้ากิจการมีผลการดำเนินงานดี และมีความเสี่ยงที่จะขาดทุนหรือไม่ได้ผลตอบแทนถ้าผลการดำเนินงานของกิจการไม่เป็นไปตามที่คาดหมาย 1.1 หุ้นสามัญ เป็นตราสารที่ออกโดยบริษัทมหาชนจำกัด (บมจ.) ที่ต้องการระดมเงินทุนจากประชาชน โดยผู้ถือหุ้นสามัญจะมีสิทธิร่วมเป็นเจ้าของบริษัท มีสิทธิในการออกเสียงลงมติในที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนของหุ้นที่ถือครองอยู่ กล่าวคือ ร่วมเป็นผู้ตัดสินใจในปัญหาสำคัญในที่ประชุมผู้ถือหุ้น เช่น การเพิ่มทุน การจ่ายเงินปันผล การควบรวมกิจการ ฯลฯ นอกจากนี้ ผู้ถือหุ้นสามัญยังมีสิทธิได้รับเงินปันผลเมื่อบริษัทมีผลกำไร และมีโอกาสได้รับกำไรจากส่วนต่างของราคาเมื่อราคาหลักทรัพย์ปรับตัวสูงขึ้นตามศักยภาพของบริษัท รวมถึงมีโอกาสได้รับสิทธิในการจองซื้อหุ้นออกใหม่เมื่อบริษัทเพิ่มทุนหรือจัดสรรใบสำคัญแสดงสิทธิต่างๆ ให้แก่ผู้ถือหุ้น 1.2หุ้นบุริมสิทธิเป็นตราสารที่ผู้ถือมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกิจการเช่นเดียวกับหุ้นสามัญ แม้จะไม่มีสิทธิในการออกเสียงลงมติในที่ประชุมผู้ถือหุ้น แต่เมื่อกิจการมีกำไรจากการดำเนินงาน ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับเงินปันผลในอัตราคงที่ ซึ่งอาจจะมากหรือน้อยกว่าผู้ถือหุ้นสามัญก็ได้ ขณะเดียวกัน หากกิจการนั้นต้องเลิกกิจการและมีการชำระบัญชีโดยการขายทรัพย์สิน ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิก็จะได้รับเงินคืนทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ 2.ตราสารหนี้ หรือ ตราสารแห่งหนี้(อังกฤษ: bond) เป็นตราสารที่ให้สิทธิการเป็น “เจ้าหนี้ของกิจการ” แก่ผู้ลงทุน ซึ่งในฐานะเจ้าหนี้ ผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนหรือผลประโยชน์อื่นๆ ตามที่ได้มีการกำหนดไว้ โดยผู้ออกตราสารหนี้จะระบุอัตราผลตอบแทน กำหนดวันจ่ายดอกเบี้ย และวันครบอายุหรือกำหนดไถ่ถอนตราสารไว้อย่างชัดเจน 3.หน่วยลงทุน เป็นตราสารที่ออกจำหน่ายและบริหารการลงทุนโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุน (บลจ.) เพื่อระดมเงินเข้า “กองทุนรวม” ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อลงทุนตามวัตถุประสงค์และนโยบายการลงทุนที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน ผู้ลงทุนมีฐานะเป็น “เจ้าของร่วมในทรัพย์สินของกองทุนรวม” จึงมีส่วนได้ส่วนเสียและได้รับผลตอบแทนตามผลการดำเนินงานของกองทุน ซึ่งจุดเด่นของการลงทุนในกองทุนรวมก็คือ การมีบริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุนดูแลการลงทุนให้ จึงเหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ไม่มีเวลาดูแลการลงทุนด้วยตัวเอง 4.ตราสารอนุพันธ์ เป็นสัญญาทางการเงินที่ทำขึ้นในปัจจุบัน เพื่อตกลงซื้อขายหรือให้สิทธิในการซื้อขายสินทรัพย์อ้างอิง (Underlying Asset) เช่น หุ้นสามัญ ดัชนีหลักทรัพย์ อัตราแลกเปลี่ยน ทองคำ น้ำมัน ฯลฯ ในอนาคต กล่าวคือ ทำสัญญาตกลงกันวันนี้ว่าจะซื้อหรือขายสินทรัพย์อ้างอิงจำนวนกี่หน่วย ที่ราคาเท่าใด แล้วจะส่งมอบและชำระราคากันเมื่อใด ลักษณะเฉพาะของตราสารอนุพันธ์ คือ “มีอายุสัญญาจำกัด” เมื่อครบอายุสัญญา มูลค่าของตราสารก็จะหมดลง นอกจากนี้ ราคาตราสารอนุพันธ์ก็จะผันผวนไปตามราคาสินทรัพย์อ้างอิง ผู้ลงทุนจึงมักใช้ตราสารอนุพันธ์เป็นเครื่องมือเพื่อป้องกันความเสี่ยง -พันธบัตรรัฐบาล เป็นตราสารหนี้ที่รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังเป็นผู้ออก เพื่อกู้เงินจากประชาชน ดังนั้น รัฐบาลจะอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้ ส่วนผู้ที่ถือพันธบัตร ได้แก่ ประชาชน สถาบันการเงิน หรือองค์กรใดๆที่ถือพันธบัตรก็จะมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของรัฐบาล สำหรับพันธบัตรที่ออกโดยหน่วยงานรัฐวิสาหกิจจะเรียกว่า พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ

         เครื่องมือทางการเงิน (Financial Instruments) หมายถึง หนังสือสำคัญซึ่งเป็นเอกสารแสดงสิทธิต่าง ๆ เช่น สิทธิในการเป็นเจ้าของ สิทธิในการเป็นเจ้าหนี้ สิทธิที่จะซื้อหรือขายหลักทรัพย์ ฯลฯ  

เครื่องมือทางการเงิน

1.   ตราสารหนี้ เช่น พันธบัตร หุ้นกู้ ตั๋วสัญญาใช้เงิน 

        ผลตอบแทน / สิทธิของผู้ถือ  1. ดอกเบี้ย   2. กำไรจากการขายเปลี่ยนมือ

         สถานะของผู้ถือ  เจ้าหนี้กิจการ

2.   ตราสารหุ้น เช่น  หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ 

        ผลตอบแทน / สิทธิของผู้ถือ  1. เงินปันผล   2. สิทธิในการบริหาร   3. กำไรจากการขายเปลี่ยนมือ   4. สิทธิจองหุ้นออกใหม่

        สถานะของผู้ถือ  เจ้าของกิจการ

3.   ตราสารอนุพันธ์ เช่น ใบสำคัญ  แสดงสิทธิการซื้อหุ้น (Warrant)

       ผลตอบแทน / สิทธิของผู้ถือ   กรณี (Warrant)   1. ผลต่างระหว่างราคาใช้สิทธิในการซื้อหุ้นกับราคาตลาด  2. กำไรจากการขายเปลี่ยนมือ

       สถานะของผู้ถือ   กรณี (Warrant) ผู้ถือมีสิทธิในการจองซื้อหุ้นสามัญของบริษัท

4.   หน่วยลงทุน (Unit trust) 

       ผลตอบแทน / สิทธิของผู้ถือ   1. เงินปันผล  2. กำไรจากการขายเปลี่ยนมือหรือขายคืน

       สถานะของผู้ถือ   เจ้าของกองทุนรวม

        สำหรับตราสารทางการเงินประเภทตราสารหนี้นั้น จะได้กล่าวถึงโดยละเอียดโดยแยกหัวข้อนำไปอธิบายในเรื่องถัด ๆ ไป เนื่องจากตราสารหนี้เป็นตราสารทางการเงินที่มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับเรื่องของอัตราดอกเบี้ย และการดำเนินนโยบายการเงิน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์การเงิน ส่วนตราสารอีก 3 ประเภท จะได้อธิบายโดยสังเขปเพิ่มเติมจากตารางสรุปข้างต้น ดังนี้

               1. ตราสารทุนหรือหุ้นทุน (Share) คือ ส่วนของทุนของกิจการที่ถูกแบ่งออกเป็นหุ้น ซึ่งแต่ละหุ้นจะให้อำนาจผู้ถือหุ้นในการเป็นเจ้าของของกิจการตามสัดส่วนของหุ้นที่ถือ ซึ่งหมายความรวมถึงการได้สิทธิในการได้รับส่วนแบ่งกำไรและสิทธิในการบริหาร ในที่นี้จะยกตัวอย่างหุ้นทุน 2 ประเภท คือ

                   1.1 หุ้นสามัญ (Common Stock) คือ หลักทรัพย์ที่บริษัทออกจำหน่าย เพื่อให้สิทธิแก่ผู้ถือในการร่วมเป็นเจ้าของบริษัท ผู้ถือหุ้นสามัญมีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อร่วมตัดสินใจในการบริหาร การวางนโยบายการดำเนินการของบริษัท การเลือกตั้งกรรมการของบริษัท และเพื่อร่วมตัดสินใจในปัญหาสำคัญของบริษัท ผู้ถือหุ้นมีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนในรูปของเงินปันผล เมื่อบริษัทมีกำไรและอนุมัติให้มีการจ่ายเงินปันผล หรือเมื่อราคาหุ้นในตลาดรองสูงขึ้นก็สามารถนำไปขาย เพื่อรับส่วนต่างจากราคาหุ้นที่ซื้อมา (Capital Gain) นอกจากนี้ ผู้ถือหุ้นจะได้รับสิทธิจองหุ้นใหม่ (Right) เมื่อบริษัทต้องการจะเพิ่มทุนด้วย

                   1.2 หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) เป็นหุ้นที่มีลักษณะกึ่งหนี้สินและกึ่งหุ้นสามัญ (Hybrid) มีราคาหน้าตั๋ว (Par Value) และมีอัตราเงินปันผลกำหนดไว้ตายตัว ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับสิทธิพิเศษเหนือกว่าผู้ถือหุ้นสามัญ เช่น ได้รับเงินปันผลก่อนหรือมากกว่าผู้ถือหุ้นสามัญ และมีสิทธิในทรัพย์สินของบริษัทก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ (แต่หลังจากผู้เป็นเจ้าหนี้ของบริษัท) ในกรณีที่บริษัทจะต้องเลิกกิจการ  อย่างไรก็ตาม ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิส่วนใหญ่มักจะไม่ได้รับสิทธิในการออกเสียง และการบริหารงานของบริษัท

               2. ตราสารอนุพันธุ์ (Derivatives) หมายถึง ตราสารทางการเงินประเภทที่มูลค่า หรือราคาของตราสารนั้นเกี่ยวเนื่องอยู่กับมูลค่าของสินทรัพย์ที่ตราสารนั้นอิงอยู่ เช่น ตราสารสิทธิที่จะซื้อหรือขายหุ้น (Stock Options) เป็นตราสารอนุพันธุ์ เพราะราคาของตราสาร ดังกล่าวจะเกี่ยวโยงกับราคา ของหุ้นที่จะใช้ตราสารสิทธินั้นไปซื้อหรือขายได้ สัญญาซื้อขายดัชนีราคาหุ้นล่วงหน้า (Stock Index Futures) เป็นตราสารอนุพันธ์ เพราะราคาของตราสารนี้สืบเนื่องมาจากดัชนีราคาหุ้นที่ตราสารอิงอยู่ การจัดให้มีการซื้อขายตราสารอนุพันธ์จะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้อง กับ ตลาดการเงินมีเครื่องมือไว้ปกป้อง และบริหารความเสี่ยงที่มีอยู่ และเป็นการเพิ่มช่องทางลงทุนซื้อขายที่หลากหลายยิ่งขึ้น

               3. หน่วยลงทุน (Unit trust) หมายถึง หลักทรัพย์ที่ออกขายโดยบริษัทจัดการลงทุน เพื่อระดมเงินเข้ากองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้น แล้วจัดสรรเงินในกองทุนนั้น ลงทุนในตลาดการเงินตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน เช่น ลงทุนซื้อหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ ลงทุนในตราสารการเงิน ต่าง ๆ และฝากไว้กับสถาบันการเงิน เป็นต้น ผู้ถือหน่วยลงทุนมีฐานะร่วมเป็นเจ้าของกองทุนนั้น ๆ และมีสิทธิได้รับเงินปันผลตอบแทนจากผลกำไรที่เกิดขึ้น หากถือไว้จนถึงกำหนดไถ่ถอนก็จะได้รับส่วนแบ่งคืนจากเงินกองทุนตามสัดส่วนของหน่วยลงทุนที่ถืออยู่

               อย่างไรก็ตาม มีกองทุนรวมอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งมิได้นำเงินไปลงทุนในหลักทรัพย์ต่าง ๆ เหมือนกองทุนรวมทั่วไป เช่น กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ซึ่งบริษัทจัดการกองทุนรวมจัดตั้งขึ้น เพื่อนำเงินที่ได้จากการขายหน่วยลงทุนไปซื้อ หรือเช่าอสังหาริมทรัพย์และจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว เป็นต้น

        ตราสารหนี้ (Bond) คือ ตราสารทางการเงินประเภทหนึ่ง ในรูปของสัญญาทางการเงินระหว่างผู้ออกตราสารหนี้ และ ผู้ถือตราสารหนี้ ตราสารหนี้ต้องมีกำหนดอายุและอัตราดอกเบี้ยหรือผลประโยชน์อื่นใดเป็นจำนวนที่แน่นอน โดยระบุวันที่ชำระดอกเบี้ยและเงินต้นล่วงหน้า ตั้งแต่เมื่อออกตราสารนั้น ซึ่งถ้าตราสารนั้นออกโดยภาครัฐก็เรียกว่า พันธบัตร แต่ถ้าออกโดยภาคเอกชน ที่คุ้นเคยกันดีก็คือ หุ้นกู้ 

      ผู้ออกตราสารหนี้ คือ ผู้ที่ต้องการระดมเงินทุน โดยขอกู้จากผู้ที่ซื้อตราสารหนี้ ดังนั้น ผู้ออกตราสารหนี้จะมีสถานะเป็น ลูกหนี้ ส่วนผู้ซื้อ จะมีสถานะเป็นผู้ให้กู้ หรือ เจ้าหนี้ นั่นเอง ซึ่งแตกต่างจากตราสารทุนหรือหุ้นสามัญที่ผู้ออกตราสารทุนนั้น ลงทุนในส่วนของผู้ถือหุ้น และมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกิจการนั้นๆ ไม่ใช่เจ้าหนี้

           ตราสารหนี้ที่ออกจำหน่ายในประเทศไทยแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ ตราสารหนี้ภาครัฐและตราสารหนี้ภาคเอกชน โดยตราสารหนี้ภาครัฐ ประกอบด้วยพันธบัตรรัฐบาลและพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ซึ่งปัจจุบันมีมูลค่ารวมประมาณร้อยละ 85 ของตลาดตราสารหนี้ในประเทศไทย

ตราสารหนี้ภาครัฐ

1. พันธบัตรรัฐบาล

พันธบัตรรัฐบาลเป็นตราสารหนี้ระยะกลางถึงระยะยาวที่ออกโดยกระทรวงการคลัง มีทั้งหมดสามประเภท ได้แก่ พันธบัตรเพื่อการลงทุน พันธบัตรเพื่อการกู้ยืม และพันธบัตรออมทรัพย์ ตั้งแต่ปี 2534 เป็นต้นมาไม่มีการออกพันธบัตรเพื่อการลงทุนอีก พันธบัตรในตลาดส่วนใหญ่จะเป็นพันธบัตรเพื่อการกู้ยืม ซึ่งออกมาเพื่อแก้ไขภาวะขาดดุลงบประมาณการเงิน  ส่วนพันธบัตรออมทรัพย์นั้นเพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกในการออมทรัพย์เพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่ง

2. พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ (SOE)

พันธบัตรรัฐวิสาหกิจเป็นตราสารหนี้ระยะกลางถึงระยะยาวที่ออกโดยรัฐวิสาหกิจ ส่วนใหญ่จะได้รับการค้ำประกันโดยกระทรวงการคลัง 

       ผลตอบแทนของพันธบัตรจะขึ้นอยู่กับอัตราดอกเบี้ยของตลาดเงินในขณะนั้น ระดับความเสี่ยง และระยะเวลาครบกำหนดไถ่ถอน  โดยปกติ พันธบัตรที่มีอายุคงเหลือยาวจะให้ผลตอบแทนสูงกว่าพันธบัตรรุ่นที่มีอายุคงเหลือสั้น และพันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกันจะมีผลตอบแทนสูงกว่าพันธบัตรที่กระทรวงการคลังค้ำประกันและพันธบัตรรัฐบาล

ตราสารหนี้ภาคเอกชน

การออกหุ้นกู้ค่อนข้างจะเป็นที่นิยมกันมาก และมักจะขายหมดภายในเวลาไม่กี่วัน เนื่องจากผู้ที่กู้เงินผ่านตลาดซื้อขายตราสารหนี้ คือบริษัท มิใช่ธนาคาร ดังนั้น ความมั่นคงของเงินกู้จำนวนนั้นจึงขึ้นอยู่กับความมั่งคงของบริษัท โดยไม่มีการประกันทั้งจากธนาคารและรัฐบาล ดังนั้น นักลงทุนจะพบว่าหุ้นกู้มีข้อได้เปรียบพันธบัตรรัฐบาลตรงที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่า เนื่องจากมีความเสี่ยงมากกว่า การลงทุนขั้นต่ำสุดในหุ้นกู้สำหรับนักลงทุนที่เป็นบุคคล ขึ้นอยู่กับว่าเป็นการเสนอขายแก่ประชาชน (Public Offering - P/O) หรือเป็นการเสนอขายแก่บุคคลในวงจำกัด (Private Placement - P/P) หุ้นกู้ที่เสนอขายแก่ประชาชน ท่านสามารถซื้อได้ตั้งแต่หนึ่งหน่วยขึ้นไป (โดยราคาที่ตราต่อหน่วยอาจเป็น 1,000 บาท 10,000 บาท หรือขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของผู้ออกหุ้นกู้) ส่วนการเสนอขายแก่บุคคลในวงจำกัด ต้องซื้อขั้นต่ำ 10 ล้านบาท หรือ 10,000 หน่วย บริษัทต่าง ๆ เริ่มออกตราสารหนี้ในปี 2535 หลังจากมีการตราพระราชบัญญัติคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขให้การออกหุ้นกู้ทำได้ง่ายขึ้น


ลักษณะและประเภทของเครื่องมือทางการเงิน เครื่องมือทางการเงิน (Financial Instruments) หมายถึง หนังสือสำคัญซึ่งเป็นเอกสารแสดงสิทธิต่าง ๆ เช่น สิทธิในการเป็นเจ้าของ สิทธิในการเป็นเจ้าหนี้ สิทธิที่จะซื้อหรือขายหลักทรัพย์ ฯลฯ สำหรับตราสารทางการเงินประเภทตราสารหนี้นั้นจะได้กล่าวถึงโดยละเอียดโดยแยกหัวข้อนำไปอธิบายในเรื่องถัด ๆ ไป เนื่องจากตราสารหนี้เป็นตราสารทางการเงินที่มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับเรื่องของอัตราดอกเบี้ยและการดำเนินนโยบายการเงินซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์การเงิน ส่วนตราสารอีก 3 ประเภทจะได้อธิบายโดยสังเขปเพิ่มเติมจากตารางสรุปข้างต้น ดังนี้ 1. ตราสารทุนหรือหุ้นทุน (Share) คือ ส่วนของทุนของกิจการที่ถูกแบ่งออกเป็นหุ้น ซึ่งแต่ละหุ้นจะให้อำนาจผู้ถือหุ้นในการเป็นเจ้าของของกิจการตามสัดส่วนของหุ้นที่ถือ ซึ่งหมายความรวมถึงการได้สิทธิในการได้รับส่วนแบ่งกำไรและสิทธิในการบริหาร ในที่นี้จะยกตัวอย่างหุ้นทุน 2 ประเภท คือ 1.1 หุ้นสามัญ (Common Stock) คือ หลักทรัพย์ที่บริษัทออกจำหน่ายเพื่อให้สิทธิแก่ผู้ถือในการร่วมเป็นเจ้าของบริษัท ผู้ถือหุ้นสามัญมีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อร่วมตัดสินใจในการบริหาร การวางนโยบายการดำเนินการของบริษัท การเลือกตั้งกรรมการของบริษัท และเพื่อร่วมตัดสินใจในปัญหาสำคัญของบริษัท ผู้ถือหุ้นมีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนในรูปของเงินปันผลเมื่อบริษัทมีกำไรและอนุมัติให้มีการจ่ายเงินปันผล หรือเมื่อราคาหุ้นในตลาดรองสูงขึ้นก็สามารถนำไปขายเพื่อรับส่วนต่างจากราคาหุ้นที่ซื้อมา (Capital Gain) นอกจากนี้ ผู้ถือหุ้นจะได้รับสิทธิจองหุ้นใหม่ (Right) เมื่อบริษัทต้องการจะเพิ่มทุนด้วย 1.2 หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) เป็นหุ้นที่มีลักษณะกึ่งหนี้สินและกึ่งหุ้นสามัญ (Hybrid) มีราคาหน้าตั๋ว (Par Value) และมีอัตราเงินปันผลกำหนดไว้ตายตัว ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับสิทธิพิเศษเหนือกว่าผู้ถือหุ้นสามัญ เช่น ได้รับเงินปันผลก่อนหรือมากกว่าผู้ถือหุ้นสามัญและมีสิทธิในทรัพย์สินของบริษัทก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ (แต่หลังจากผู้เป็นเจ้าหนี้ของบริษัท) ในกรณีที่บริษัทจะต้องเลิกกิจการ อย่างไรก็ตาม ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิส่วนใหญ่มักจะไม่ได้รับสิทธิในการออกเสียงและการบริหารงานของบริษัท 2. ตราสารอนุพันธ์ (Derivatives) หมายถึง ตราสารทางการเงินประเภทที่มูลค่าหรือราคาของตราสารนั้นเกี่ยวเนื่องอยู่กับมูลค่าของสินทรัพย์ที่ตราสารนั้นอิงอยู่ เช่น ตราสารสิทธิที่จะซื้อหรือขายหุ้น (Stock Options) เป็นตราสารอนุพันธ์ เพราะราคาของตราสาร ดังกล่าวจะเกี่ยวโยงกับราคา ของหุ้นที่จะใช้ตราสารสิทธินั้นไปซื้อหรือขายได้ สัญญาซื้อขายดัชนีราคาหุ้นล่วงหน้า (Stock Index Futures) เป็นตราสารอนุพันธ์ เพราะราคาของตราสารนี้สืบเนื่องมาจากดัชนีราคาหุ้นที่ตราสารอิงอยู่ การจัดให้มีการซื้อขายตราสารอนุพันธ์จะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้อง กับ ตลาดการเงินมีเครื่องมือไว้ปกป้องและบริหารความเสี่ยงที่มีอยู่และเป็นการเพิ่มช่องทางลงทุนซื้อขายที่หลากหลายยิ่งขึ้น 3. หน่วยลงทุน (Unit trust) หมายถึง หลักทรัพย์ที่ออกขายโดยบริษัทจัดการลงทุนเพื่อระดมเงินเข้ากองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้น แล้วจัดสรรเงินในกองทุนนั้น ลงทุนในตลาดการเงินตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน เช่น ลงทุนซื้อหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ ลงทุนในตราสารการเงิน ต่าง ๆ และฝากไว้กับสถาบันการเงิน เป็นต้น ผู้ถือหน่วยลงทุนมีฐานะร่วมเป็นเจ้าของกองทุนนั้น ๆ และมีสิทธิได้รับเงินปันผลตอบแทนจากผลกำไรที่เกิดขึ้น หากถือไว้จนถึงกำหนดไถ่ถอนก็จะได้รับส่วนแบ่งคืนจากเงินกองทุนตามสัดส่วนของหน่วยลงทุนที่ถืออยู่

เครื่องมือทางการเงิน (Financial Instruments)

หมายถึง หนังสือสำคัญซึ่งเป็นเอกสารแสดงสิทธิต่าง ๆ เช่น สิทธิในการเป็นเจ้าของ สิทธิในการเป็นเจ้าหนี้ สิทธิที่จะซื้อหรือขายหลักทรัพย์ ฯลฯ

ลักษณะและประเภทของเครื่องมือทางการเงิน เครื่องมือทางการเงิน (Financial Instruments) หมายถึง หนังสือสำคัญซึ่งเป็นเอกสารแสดงสิทธิต่าง ๆ เช่น สิทธิในการเป็นเจ้าของ สิทธิในการเป็นเจ้าหนี้ สิทธิที่จะซื้อหรือขายหลักทรัพย์ ฯลฯ สำหรับตราสารทางการเงินประเภทตราสารหนี้นั้นจะได้กล่าวถึงโดยละเอียดโดยแยกหัวข้อนำไปอธิบายในเรื่องถัด ๆ ไป เนื่องจากตราสารหนี้เป็นตราสารทางการเงินที่มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับเรื่องของอัตราดอกเบี้ยและการดำเนินนโยบายการเงินซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์การเงิน ส่วนตราสารอีก 3 ประเภทจะได้อธิบายโดยสังเขปเพิ่มเติมจากตารางสรุปข้างต้น ดังนี้ 1. ตราสารทุนหรือหุ้นทุน (Share) คือ ส่วนของทุนของกิจการที่ถูกแบ่งออกเป็นหุ้น ซึ่งแต่ละหุ้นจะให้อำนาจผู้ถือหุ้นในการเป็นเจ้าของของกิจการตามสัดส่วนของหุ้นที่ถือ ซึ่งหมายความรวมถึงการได้สิทธิในการได้รับส่วนแบ่งกำไรและสิทธิในการบริหาร ในที่นี้จะยกตัวอย่างหุ้นทุน 2 ประเภท คือ 1.1 หุ้นสามัญ (Common Stock) คือ หลักทรัพย์ที่บริษัทออกจำหน่ายเพื่อให้สิทธิแก่ผู้ถือในการร่วมเป็นเจ้าของบริษัท ผู้ถือหุ้นสามัญมีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อร่วมตัดสินใจในการบริหาร การวางนโยบายการดำเนินการของบริษัท การเลือกตั้งกรรมการของบริษัท และเพื่อร่วมตัดสินใจในปัญหาสำคัญของบริษัท ผู้ถือหุ้นมีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนในรูปของเงินปันผลเมื่อบริษัทมีกำไรและอนุมัติให้มีการจ่ายเงินปันผล หรือเมื่อราคาหุ้นในตลาดรองสูงขึ้นก็สามารถนำไปขายเพื่อรับส่วนต่างจากราคาหุ้นที่ซื้อมา (Capital Gain) นอกจากนี้ ผู้ถือหุ้นจะได้รับสิทธิจองหุ้นใหม่ (Right) เมื่อบริษัทต้องการจะเพิ่มทุนด้วย 1.2 หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) เป็นหุ้นที่มีลักษณะกึ่งหนี้สินและกึ่งหุ้นสามัญ (Hybrid) มีราคาหน้าตั๋ว (Par Value) และมีอัตราเงินปันผลกำหนดไว้ตายตัว ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับสิทธิพิเศษเหนือกว่าผู้ถือหุ้นสามัญ เช่น ได้รับเงินปันผลก่อนหรือมากกว่าผู้ถือหุ้นสามัญและมีสิทธิในทรัพย์สินของบริษัทก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ (แต่หลังจากผู้เป็นเจ้าหนี้ของบริษัท) ในกรณีที่บริษัทจะต้องเลิกกิจการ อย่างไรก็ตาม ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิส่วนใหญ่มักจะไม่ได้รับสิทธิในการออกเสียงและการบริหารงานของบริษัท 2. ตราสารอนุพันธ์ (Derivatives) หมายถึง ตราสารทางการเงินประเภทที่มูลค่าหรือราคาของตราสารนั้นเกี่ยวเนื่องอยู่กับมูลค่าของสินทรัพย์ที่ตราสารนั้นอิงอยู่ เช่น ตราสารสิทธิที่จะซื้อหรือขายหุ้น (Stock Options) เป็นตราสารอนุพันธ์ เพราะราคาของตราสาร ดังกล่าวจะเกี่ยวโยงกับราคา ของหุ้นที่จะใช้ตราสารสิทธินั้นไปซื้อหรือขายได้ สัญญาซื้อขายดัชนีราคาหุ้นล่วงหน้า (Stock Index Futures) เป็นตราสารอนุพันธ์ เพราะราคาของตราสารนี้สืบเนื่องมาจากดัชนีราคาหุ้นที่ตราสารอิงอยู่ การจัดให้มีการซื้อขายตราสารอนุพันธ์จะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้อง กับ ตลาดการเงินมีเครื่องมือไว้ปกป้องและบริหารความเสี่ยงที่มีอยู่และเป็นการเพิ่มช่องทางลงทุนซื้อขายที่หลากหลายยิ่งขึ้น 3. หน่วยลงทุน (Unit trust) หมายถึง หลักทรัพย์ที่ออกขายโดยบริษัทจัดการลงทุนเพื่อระดมเงินเข้ากองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้น แล้วจัดสรรเงินในกองทุนนั้น ลงทุนในตลาดการเงินตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน เช่น ลงทุนซื้อหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ ลงทุนในตราสารการเงิน ต่าง ๆ และฝากไว้กับสถาบันการเงิน เป็นต้น ผู้ถือหน่วยลงทุนมีฐานะร่วมเป็นเจ้าของกองทุนนั้น ๆ และมีสิทธิได้รับเงินปันผลตอบแทนจากผลกำไรที่เกิดขึ้น หากถือไว้จนถึงกำหนดไถ่ถอนก็จะได้รับส่วนแบ่งคืนจากเงินกองทุนตามสัดส่วนของหน่วยลงทุนที่ถืออยู่

เครื่องมือทางการเงิน (Financial Instruments) หมายถึง หนังสือสำคัญซึ่งเป็นเอกสารแสดงสิทธิต่าง ๆ เช่น สิทธิในการเป็นเจ้าของ สิทธิในการเป็นเจ้าหนี้ สิทธิที่จะซื้อหรือขายหลักทรัพย์ ฯลฯ ทั้งนี้ จะยกตัวอย่างตราสารทางการเงินชนิดต่าง ๆ ตามตาราง แสดงตัวอย่างของเครื่องมือทางการเงินชนิดต่าง ๆ ดังนี้

           สำหรับตราสารทางการเงินประเภทตราสารหนี้นั้น จะได้กล่าวถึงโดยละเอียดโดยแยกหัวข้อนำไปอธิบายในเรื่องถัด ๆ ไป เนื่องจากตราสารหนี้เป็นตราสารทางการเงินที่มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับเรื่องของอัตราดอกเบี้ย และการดำเนินนโยบายการเงิน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์การเงิน ส่วนตราสารอีก 3 ประเภท จะได้อธิบายโดยสังเขปเพิ่มเติมจากตารางสรุปข้างต้น ดังนี้ 

           1. ตราสารทุนหรือหุ้นทุน (Share) คือ ส่วนของทุนของกิจการที่ถูกแบ่งออกเป็นหุ้น ซึ่งแต่ละหุ้นจะให้อำนาจผู้ถือหุ้นในการเป็นเจ้าของของกิจการตามสัดส่วนของหุ้นที่ถือ ซึ่งหมายความรวมถึงการได้สิทธิในการได้รับส่วนแบ่งกำไรและสิทธิในการบริหาร ในที่นี้จะยกตัวอย่างหุ้นทุน 2 ประเภท คือ 

               1.1 หุ้นสามัญ (Common Stock) คือ หลักทรัพย์ที่บริษัทออกจำหน่าย เพื่อให้สิทธิแก่ผู้ถือในการร่วมเป็นเจ้าของบริษัท ผู้ถือหุ้นสามัญมีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อร่วมตัดสินใจในการบริหาร การวางนโยบายการดำเนินการของบริษัท การเลือกตั้งกรรมการของบริษัท และเพื่อร่วมตัดสินใจในปัญหาสำคัญของบริษัท ผู้ถือหุ้นมีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนในรูปของเงินปันผล เมื่อบริษัทมีกำไรและอนุมัติให้มีการจ่ายเงินปันผล หรือเมื่อราคาหุ้นในตลาดรองสูงขึ้นก็สามารถนำไปขาย เพื่อรับส่วนต่างจากราคาหุ้นที่ซื้อมา (Capital Gain) นอกจากนี้ ผู้ถือหุ้นจะได้รับสิทธิจองหุ้นใหม่ (Right) เมื่อบริษัทต้องการจะเพิ่มทุนด้วย 

               1.2 หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) เป็นหุ้นที่มีลักษณะกึ่งหนี้สินและกึ่งหุ้นสามัญ (Hybrid) มีราคาหน้าตั๋ว (Par Value) และมีอัตราเงินปันผลกำหนดไว้ตายตัว ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับสิทธิพิเศษเหนือกว่าผู้ถือหุ้นสามัญ เช่น ได้รับเงินปันผลก่อนหรือมากกว่าผู้ถือหุ้นสามัญ และมีสิทธิในทรัพย์สินของบริษัทก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ (แต่หลังจากผู้เป็นเจ้าหนี้ของบริษัท) ในกรณีที่บริษัทจะต้องเลิกกิจการ  อย่างไรก็ตาม ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิส่วนใหญ่มักจะไม่ได้รับสิทธิในการออกเสียง และการบริหารงานของบริษัท 

           2. ตราสารอนุพันธุ์ (Derivatives) หมายถึง ตราสารทางการเงินประเภทที่มูลค่า หรือราคาของตราสารนั้นเกี่ยวเนื่องอยู่กับมูลค่าของสินทรัพย์ที่ตราสารนั้นอิงอยู่ เช่น ตราสารสิทธิที่จะซื้อหรือขายหุ้น (Stock Options) เป็นตราสารอนุพันธุ์ เพราะราคาของตราสาร ดังกล่าวจะเกี่ยวโยงกับราคา ของหุ้นที่จะใช้ตราสารสิทธินั้นไปซื้อหรือขายได้ สัญญาซื้อขายดัชนีราคาหุ้นล่วงหน้า (Stock Index Futures) เป็นตราสารอนุพันธ์ เพราะราคาของตราสารนี้สืบเนื่องมาจากดัชนีราคาหุ้นที่ตราสารอิงอยู่ การจัดให้มีการซื้อขายตราสารอนุพันธ์จะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้อง กับ ตลาดการเงินมีเครื่องมือไว้ปกป้อง และบริหารความเสี่ยงที่มีอยู่ และเป็นการเพิ่มช่องทางลงทุนซื้อขายที่หลากหลายยิ่งขึ้น 

           3. หน่วยลงทุน (Unit trust) หมายถึง หลักทรัพย์ที่ออกขายโดยบริษัทจัดการลงทุน เพื่อระดมเงินเข้ากองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้น แล้วจัดสรรเงินในกองทุนนั้น ลงทุนในตลาดการเงินตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน เช่น ลงทุนซื้อหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ ลงทุนในตราสารการเงิน ต่าง ๆ และฝากไว้กับสถาบันการเงิน เป็นต้น ผู้ถือหน่วยลงทุนมีฐานะร่วมเป็นเจ้าของกองทุนนั้น ๆ และมีสิทธิได้รับเงินปันผลตอบแทนจากผลกำไรที่เกิดขึ้น หากถือไว้จนถึงกำหนดไถ่ถอนก็จะได้รับส่วนแบ่งคืนจากเงินกองทุนตามสัดส่วนของหน่วยลงทุนที่ถืออยู่ 

           อย่างไรก็ตาม มีกองทุนรวมอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งมิได้นำเงินไปลงทุนในหลักทรัพย์ต่าง ๆ เหมือนกองทุนรวมทั่วไป เช่น กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ซึ่งบริษัทจัดการกองทุนรวมจัดตั้งขึ้น เพื่อนำเงินที่ได้จากการขายหน่วยลงทุนไปซื้อ หรือเช่าอสังหาริมทรัพย์และจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว เป็นต้น 
                                                       เครื่องมือในการดำเนินนโยบายการเงิน
  1. การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง (Reserve Requirement)

  2. การดำเนินการผ่านตลาดการเงิน (Open Market Operations หรือ OMOs)

    2.1 การทำธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตร

    2.2 การทำธุรกรรมซื้อขาดขายขาดหลักทรัพย์รัฐบาล

    2.3 การออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย

    2.4 สวอปเงินตราต่างประเทศ

    2.5 หน้าต่างซื้อตราสารหนี้ ธปท.

  3. หน้าต่างตั้งรับ (Standing Facilities)

  4. การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง (Reserve Requirement)

  5. การดำเนินการผ่านตลาดการเงิน (Open Market Operations หรือ OMOs)

    2.1 การทำธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตร

    2.2 การทำธุรกรรมซื้อขาดขายขาดหลักทรัพย์รัฐบาล

    2.3 การออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย

    2.4 สวอปเงินตราต่างประเทศ

    2.5 หน้าต่างซื้อตราสารหนี้ ธปท.

  6. หน้าต่างตั้งรับ (Standing Facilities)

ภายใต้กรอบการดำเนินนโยบายการเงินแบบการกำหนดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ (Inflation Targeting) ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนดให้อัตราดอกเบี้ยธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน เป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Policy Rate) ซึ่งคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะส่งสัญญาณการเปลี่ยนแปลงในนโยบายการเงินผ่านอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว โดยในการดูแลรักษาระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้เป็นไปตามที่ กนง. กำหนด ธปท. จะดำเนินการผ่านเครื่องมือในการดำเนินนโยบายการเงิน (Monetary Policy Instruments) ต่าง ๆ

                                                เครื่องมือทางการเงิน (Financial Instruments)
เครื่องมือทางการเงิน (Financial Instruments) หมายถึง หนังสือสำคัญซึ่งเป็นเอกสารแสดงสิทธิต่าง ๆ เช่น สิทธิในการเป็นเจ้าของ สิทธิในการเป็นเจ้าหนี้ สิทธิที่จะซื้อหรือขายหลักทรัพย์ ฯลฯ ทั้งนี้จะยกตัวอย่างตราสารทางการเงินชนิดต่าง ๆ เช่น    
     -ตราสารหนี้ คือ  พันธบัตร หุ้นกู้ ตั๋วเงิน ตราสารอนุพันธ์ 
     -ตราสารหุ้น คือ  หุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธ์

1.ตราสารหนี้ หรือ ตราสารแห่งหนี้(อังกฤษ: bond) คือ ตราสารทางการเงินที่ผู้ออกตราสาร ซึ่งเรียกว่า ผู้กู้ หรือ ลูกหนี้ มีข้อผูกพันทางกฎหมายว่าจะจ่ายผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยเป็นงวด ๆ และเงินต้น หรือ ผลประโยชน์อื่นๆ ตามกำหนดในตราสารให้แก่ผู้ซื้อ ซึ่งเรืยกว่า เจ้าหนี้ หรือ ผู้ให้กู้ เมื่อครบกำหนดที่ตกลงกันไว้ โดยทั่วไปตราสารหนี้ในตลาดทุนมักจะหมายถึง ตราสารหนี้ที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป

1.1พันธบัตร คือ ตราสารทางการเงินรูปแบบหนึ่งที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐบาล จุดประสงค์ในการออกพันธบัตรก็เพื่อระดมเงินทุนจากนักลงทุนสถาบันและประชาชนทั่วไป โดยถือว่าผู้ออกพันธบัตรนั้นมีฐานะเป็นลูกหนี้ที่จะต้องมีภาระในการจ่ายคืนหนี้ให้กับผู้ถือพันธบัตรซึ่งมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของผู้ออกพันธบัตรต่อไปในอนาคต โดยที่จำนวนเงินที่ต้องจ่ายคืน ระยะเวลา และ อัตราผลตอบแทน ขึ้นกับสัญญาที่ได้กำหนดเอาไว้

1.2หุ้นกู้ (อังกฤษ: corporate bond หรือ debenture) คือ ตราสารหนี้ระยะยาว ที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียน หรือ บริษัท มหาชน จำกัด ตามกฎหมายไม่ได้กำหนดอายุของหุ้นกู้ไว้ แต่โดยทั่วไป บริษัทผู้ออก มักจะกำหนดอายุของหุ้นกู้ประมาณ 2 - 20 ปี
            1.3ตั๋วเงิน คือ เอกสารเครดิตที่ใช้แทนเงินในวงการธุรกิจ  ตั๋วเงินอาจถูกขายเปลี่ยนมือผู้ถือหรือโอนสลักหลัง

ตั๋วเงินแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1. ตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory Note) 2. ตั๋วแลกเงิน (Bill of Exchange) 3. เช็ค (Cheque) 1. ตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory Note) ตั๋วสัญญาใช้เงิน (อังกฤษ: promissory note) หมายถึง หนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า "ผู้ออกตั๋ว" (อังกฤษ: maker) ให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งหรือใช้ให้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า "ผู้รับเงิน" (อังกฤษ: payee) ตั๋วสัญญาใช้เงินต้องมีข้อความต่อไปนี้ -คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วสัญญาใช้เงิน -คำมั่นสัญญาโดยปราศจากเงื่อนไขว่าจะใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอน -วันถึงกำหนดใช้เงิน -สถานที่ใช้เงิน -ชื่อหรือยี่ห้อของผู้รับเงิน -วันและสถานที่ที่ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน -ลายมือชื่อผู้ออกตั๋ว

  1. ตั๋วแลกเงิน (Bill of Exchange) ตั๋วแลกเงิน คือ หนังสือตราสารที่บุคคลผู้หนึ่งที่เรียกว่าผู้สั่งจ่าย สั่งบุคคลอีกผู้หนึ่ง เรียกว่าผู้จ่าย ให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลหนึ่งหรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งซึ่งเรียกว่าผู้รับเงิน ตั๋วแลกเงินต้องมีข้อความต่อไปนี้
  2. คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วแลกเงิน
  3. คำสั่งอันปราศจากเงื่อนไขให้จ่ายเงินจำนวนแน่นอน
  4. ชื่อหรือยี่ห้อของผู้จ่าย
  5. วันถึงกำหนดใช้เงิน
  6. สถานที่ใช้เงิน
  7. ชื่อหรือยี่ห้อของผู้รับเงินหรือจ่ายให้แก่ผู้ถือ
  8. วันและสถานที่ที่ออกตั๋ว
  9. ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย
  10. เช็ค (cheque) เช็ค คือ หนังสือตราสารที่บุคคลคนหนึ่งที่เรียกว่า ผู้สั่งจ่าย สั่งธนาคารให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อทวงถาม ให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งหรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งซึ่งเรียกว่า ผู้รับเงิน เช็คต้องมีข้อความต่อไปนี้
  11. คำบอกชื่อว่าเป็นเช็ค
  12. คำสั่งอันปราศจากเงื่อนไขให้จ่ายเงินจำนวนแน่นนอน -ชื่อหรือยี่ห้อของผู้รับเงินหรือจ่ายให้แก่ผู้ถือ
  13. ชื่อหรือยี่ห้อและสำนักงานของธนาคาร
  14. สถานที่ใช้เงิน -วันและสถานที่ออกเช็ค
  15. ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย
            1.4ตราสารอนุพันธ์ (อังกฤษ: derivative บางตำราอาจเรียกว่า สัญญาอนุพันธ์) เป็นตราสารทางการเงินประเภทหนึ่ง ที่มูลค่าของตราสารจะขึ้นอยู่กับกระแสเงินของสินทรัพย์อ้างอิง ไม่ได้มีค่าจากกระแสเงินของตัวตราสารเองโดยตรง ตัวอย่างของตราสารอนุพันธ์ ได้แก่ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบมาตรฐาน (futures), สัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบไม่มาตรฐาน (forward), ตราสารแลกเปลี่ยน (swap), ตราสารสิทธิ (option) เป็นต้น และมีสินทรัพย์ที่สามารถอ้างอิงได้คือ เงินตราต่างประเทศ ตราสารหนี้ ตราสารทุน สินค้าโภคภัณฑ์ เช่น โลหะมีค่า สินค้าเกษตร น้ำมัน หรือสินค้าอื่นใดที่มีดัชนีแน่นอนรองรับการออกตราสารอนุพันธ์ได้
    

    2.ตราสารทุน หรือ ตราสารแห่งทุน (อังกฤษ: equity instrument) เป็นตราสารทางการเงินที่แสดงถึงการจัดแหล่งเงินทุนจากการเป็นเจ้าของ ซึ่งจะมีความผูกผันในฐานะเจ้าของหุ้นส่วนกิจการ

    2.1หุ้นสามัญ เป็นตราสารทุนที่บ่งชี้ถึงการมีส่วนในการเป็นเจ้าของกิจการนั้นๆ การถือหุ้นสามัญเป็นการมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของบริษัท มีสิทธิในการออกเสียงในที่ประชุม มีสิทธิในการได้รับเงินปันผล หรือประโยชน์ในรูปแบบอื่นๆ ตามที่ประชุมของผู้ถือหุ้นอนุมัติ อย่างไรก็ตามในทางทฤษฏี ผู้ถือหุ้นสามัญจะเป็นผู้มีสิทธิ์ในลำดับสุดท้าย ในการได้รับส่วนที่เหลือจากการลงทุน หากบริษัทล้มละลายหรือเลิกกิจการ

ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หุ้นสามัญที่จดทะเบียนจะมีชื่อย่อ เช่น ธนาคารกรุงเทพ ชื่อย่อคือ BBL หุ้นประเภทอื่นที่มีการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะมีเครื่องหมาย -(ขีด) ต่อจากชื่อย่อ แล้วตามด้วยประเภทของตราสารทุน

2.2หุ้นบุริมสิทธิ (preferred stock) เป็นตราสารประเภทหุ้นทุน คล้ายกับหุ้นสามัญ เพียงแต่ว่าไม่มีสิทธิออกเสียงในการบริหาร มีข้อแตกต่างจากหุ้นสามัญคือ ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับสิทธิในการชำระคืนเงินทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญในกรณีที่บริษัทเลิกกิจการ รายละเอียดของบุริมสิทธิที่พึงจะมีจะต้องดูในเอกสารของบริษัทนั้นๆ อีกครั้งหนึ่ง หุ้นประเภทนี้มีไม่มากนักในตลาดหลักทรัพย์ มีการซื้อขายกันน้อย หรือภาษาเทคนิคเรียกว่ามีสภาพคล่องต่ำ หุ้นบุริมสิทธิบนกระดานหุ้นสังเกตได้จากสัญลักษณ์ -P ท้ายอักษรย่อ ของหุ้นสามัญ

นางสาวหนึ่งฤทัย เวฬุวนารักษ์ รหัส 55127326071

เครื่องมือทางการเงิน (Financial Instruments) หมายถึง หนังสือสำคัญซึ่งเป็นเอกสารแสดงสิทธิต่าง ๆ เช่น สิทธิในการเป็นเจ้าของ สิทธิในการเป็นเจ้าหนี้ สิทธิที่จะซื้อหรือขายหลักทรัพย์ ฯลฯ ทั้งนี้ จะยกตัวอย่างตราสารทางการเงินชนิดต่าง ๆ ตามตาราง แสดงตัวอย่างของเครื่องมือทางการเงินชนิดต่าง ๆ ดังนี้ ตราสารทางการเงิน (Financial Instruments) คือ หลักฐานแสดงการถือครองและสิทธิเรียกร้องต่างๆ ที่บริษัทผู้ออก หลักทรัพย์นำออกมาจำหน่ายเพื่อระดมเงินจากผู้ลงทุน และนำมาจดทะเบียนเพื่อให้มีการซื้อขายตลาดรอง ซึ่งปัจจุบันมี ตราสารทางการเงินที่ซื้อขายกันในตลาดรองมากกว่า 1,000 ชนิด ทำให้ผู้ลงทุนมีทางเลือกการลงทุนที่หลากหลาย ตลอดจนสามารถกระจายการลงทุนได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตราสารทางการเงินที่ทำการซื้อขายในปัจจุบันสามารแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆ คือ 1.ตราสารทุน (Equity) เป็นตราสารที่ให้สิทธิการเป็น “เจ้าของกิจการ” แก่ผู้ลงทุน ดังนั้น ในฐานะเจ้าของกิจการ ผู้ลงทุนจึงมีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนที่ดีถ้ากิจการมีผลการดำเนินงานดี และมีความเสี่ยงที่จะขาดทุนหรือไม่ได้ผลตอบแทนถ้าผลการ ดำเนินงานของกิจการไม่เป็นไปตามที่คาดหมาย

1.1 หุ้นสามัญ (Common Stock) คือ หลักทรัพย์ที่บริษัทออกจำหน่าย เพื่อให้สิทธิแก่ผู้ถือในการร่วมเป็นเจ้าของบริษัท ผู้ถือหุ้นสามัญมีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อร่วมตัดสินใจในการบริหาร การวางนโยบายการดำเนินการของบริษัท การเลือกตั้งกรรมการของบริษัท และเพื่อร่วมตัดสินใจในปัญหาสำคัญของบริษัท ผู้ถือหุ้นมีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนในรูปของเงินปันผล เมื่อบริษัทมีกำไรและอนุมัติให้มีการจ่ายเงินปันผล หรือเมื่อราคาหุ้นในตลาดรองสูงขึ้นก็สามารถนำไปขาย เพื่อรับส่วนต่างจากราคาหุ้นที่ซื้อมา (Capital Gain) นอกจากนี้ ผู้ถือหุ้นจะได้รับสิทธิจองหุ้นใหม่ (Right) เมื่อบริษัทต้องการจะเพิ่มทุน 1.2 หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) เป็นหุ้นที่มีลักษณะกึ่งหนี้สินและกึ่งหุ้นสามัญ (Hybrid) มีราคาหน้าตั๋ว (Par Value) และมีอัตราเงินปันผลกำหนดไว้ตายตัว ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับสิทธิพิเศษเหนือกว่าผู้ถือหุ้นสามัญ เช่น ได้รับเงินปันผลก่อนหรือมากกว่าผู้ถือหุ้นสามัญ และมีสิทธิในทรัพย์สินของบริษัทก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ (แต่หลังจากผู้เป็นเจ้าหนี้ของบริษัท) ในกรณีที่บริษัทจะต้องเลิกกิจการ อย่างไรก็ตาม ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิส่วนใหญ่มักจะไม่ได้รับสิทธิในการออกเสียง และการบริหารงานของบริษัท 2.ตราสารหนี้ (Debt) เป็นตราสารที่ให้สิทธิการเป็น “เจ้าหนี้ของกิจการ” แก่ผู้ลงทุน ซึ่งในฐานะเจ้าหนี้ ผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนหรือ ผลประโยชน์อื่นๆ ตามที่ได้มีการกำหนดไว้ โดยผู้ออกตราสารหนี้จะระบุอัตราผลตอบแทน กำหนดวันจ่ายดอกเบี้ย และ วันครบอายุหรือกำหนดไถ่ถอนตราสารไว้อย่างชัดเจน 3.ตราสารลงทุน (Unit Trust) เป็นตราสารที่ออกจำหน่ายและบริหารการลงทุนโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุน (บลจ.) เพื่อระดมเงินเข้า “กองทุนรวม” ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อลงทุนตามวัตถุประสงค์และนโยบายการลงทุนที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน ผู้ลงทุนมีฐานะเป็น “เจ้าของร่วมในทรัพย์สินของกองทุนรวม” จึงมีส่วนได้ส่วนเสียและได้รับผลตอบแทนตามผลการดำเนินงานของกองทุน ซึ่งจุดเด่นของการลงทุนในกองทุนรวมก็คือ การมีบริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุนดูแลการลงทุนให้ จึงเหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ไม่มีเวลาดูแลการลงทุนด้วยตัวเอง 4.ตราสารอนุพันธ์ (Derivatives) เป็นสัญญาทางการเงินที่ทำขึ้นในปัจจุบัน เพื่อตกลงซื้อขายหรือให้สิทธิในการซื้อขายสินทรัพย์อ้างอิง (Underlying Asset) เช่น หุ้นสามัญ ดัชนีหลักทรัพย์ อัตราแลกเปลี่ยน ทองคำ น้ำมัน ฯลฯ ในอนาคต กล่าวคือ ทำสัญญาตกลงกันวันนี้ว่าจะซื้อหรือขายสินทรัพย์อ้างอิงจำนวนกี่หน่วย ที่ราคาเท่าใด แล้วจะส่งมอบและชำระราคากันเมื่อใด ลักษณะเฉพาะของตราสารอนุพันธ์ คือ “มีอายุสัญญาจำกัด” เมื่อครบอายุสัญญา มูลค่าของตราสารก็จะหมดลง นอกจากนี้ ราคา ตราสารอนุพันธ์ก็จะผันผวนไปตามราคาสินทรัพย์อ้างอิง ผู้ลงทุนจึงมักใช้ตราสารอนุพันธ์เป็นเครื่องมือเพื่อป้องกัน ความเสี่ยง

ภาพตัวอย่างเครื่องมือทางการเงิน

น.ส. ฐิตาพร ขันไกล้ รหัสนักศึกษา 55127326051 การเงิน 02

ตราสารทางการเงิน

 

 ตราสารทางการเงิน (Financial Instruments) คือ หลักฐานแสดงการถือครองและสิทธิเรียกร้องต่างๆ ที่บริษัทผู้ออก
หลักทรัพย์นำออกมาจำหน่ายเพื่อระดมเงินจากผู้ลงทุน และนำมาจดทะเบียนเพื่อให้มีการซื้อขายในตลาดรอง ซึ่งปัจจุบันมี
ตราสารทางการเงินที่ซื้อขายกันในตลาดรองมากกว่า 1,000 ชนิด ทำให้ผู้ลงทุนมีทางเลือกการลงทุนที่หลากหลาย ตลอดจนสามารถกระจายการลงทุนได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

     ตราสารทางการเงินที่ทำการซื้อขายในปัจจุบันสามารถแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆ คือ..

 

     เป็นตราสารที่ให้สิทธิการเป็น “เจ้าของกิจการ” แก่ผู้ลงทุน ดังนั้น ในฐานะเจ้าของกิจการ ผู้ลงทุนจึงมีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนที่ดีถ้ากิจการมีผลการดำเนินงานดี และมีความเสี่ยงที่จะขาดทุนหรือไม่ได้ผลตอบแทนถ้าผลการ
ดำเนินงานของกิจการไม่เป็นไปตามที่คาดหมาย

   
 

     เป็นตราสารที่ให้สิทธิการเป็น “เจ้าหนี้ของกิจการ” แก่ผู้ลงทุน ซึ่งในฐานะเจ้าหนี้ ผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนหรือ
ผลประโยชน์อื่นๆ ตามที่ได้มีการกำหนดไว้ โดยผู้ออกตราสารหนี้จะระบุอัตราผลตอบแทน กำหนดวันจ่ายดอกเบี้ย และ
วันครบอายุหรือกำหนดไถ่ถอนตราสารไว้อย่างชัดเจน

   
 

     เป็นตราสารที่ออกจำหน่ายและบริหารการลงทุนโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุน (บลจ.) เพื่อระดมเงินเข้า 
“กองทุนรวม” ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อลงทุนตามวัตถุประสงค์และนโยบายการลงทุนที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน ผู้ลงทุนมีฐานะเป็น “เจ้าของร่วมในทรัพย์สินของกองทุนรวม” จึงมีส่วนได้ส่วนเสียและได้รับผลตอบแทนตามผลการดำเนินงานของกองทุน ซึ่งจุดเด่นของการลงทุนในกองทุนรวมก็คือ การมีบริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุนดูแลการลงทุนให้ จึงเหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ไม่มีเวลาดูแลการลงทุนด้วยตัวเอง

   
 
     เป็นสัญญาทางการเงินที่ทำขึ้นในปัจจุบัน เพื่อตกลงซื้อขายหรือให้สิทธิในการซื้อขายสินทรัพย์อ้างอิง (Underlying Asset) เช่น หุ้นสามัญ ดัชนีหลักทรัพย์ อัตราแลกเปลี่ยน ทองคำ น้ำมัน ฯลฯ ในอนาคต กล่าวคือ ทำสัญญาตกลงกันวันนี้ว่าจะซื้อหรือขายสินทรัพย์อ้างอิงจำนวนกี่หน่วย ที่ราคาเท่าใด แล้วจะส่งมอบและชำระราคากันเมื่อใด ลักษณะเฉพาะของตราสารอนุพันธ์ คือ “มีอายุสัญญาจำกัด” เมื่อครบอายุสัญญา มูลค่าของตราสารก็จะหมดลง นอกจากนี้ ราคา
ตราสารอนุพันธ์ก็จะผันผวนไปตามราคาสินทรัพย์อ้างอิง ผู้ลงทุนจึงมักใช้ตราสารอนุพันธ์เป็นเครื่องมือเพื่อป้องกัน
ความเสี่ยง

 

   

 

เครื่องมือทางการเงิน (Financial Instruments) หมายถึง หนังสือสำคัญซึ่งเป็นเอกสารแสดงสิทธิต่าง ๆ เช่น สิทธิในการเป็นเจ้าของ สิทธิในการเป็นเจ้าหนี้ สิทธิที่จะซื้อหรือขายหลักทรัพย์ ฯลฯ

สำหรับตราสารทางการเงินประเภทตราสารหนี้นั้น จะได้กล่าวถึงโดยละเอียดโดยแยกหัวข้อนำไปอธิบายในเรื่องถัด ๆ ไป เนื่องจากตราสารหนี้เป็นตราสารทางการเงินที่มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับเรื่อง ของอัตราดอกเบี้ย และการดำเนินนโยบายการเงิน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์การเงิน ส่วนตราสารอีก 3 ประเภท จะได้อธิบายโดยสังเขปเพิ่มเติมจากตารางสรุปข้างต้น ดังนี้ 
           1. ตราสารทุนหรือหุ้นทุน (Share) คือ ส่วนของทุนของกิจการที่ถูกแบ่งออกเป็นหุ้น ซึ่งแต่ละหุ้นจะให้อำนาจผู้ถือหุ้นในการเป็นเจ้าของของกิจการตามสัดส่วนของ หุ้นที่ถือ ซึ่งหมายความรวมถึงการได้สิทธิในการได้รับส่วนแบ่งกำไรและสิทธิในการบริหาร ในที่นี้จะยกตัวอย่างหุ้นทุน 2 ประเภท คือ 
               1.1 หุ้นสามัญ (Common Stock) คือ หลักทรัพย์ที่บริษัทออกจำหน่าย เพื่อให้สิทธิแก่ผู้ถือในการร่วมเป็นเจ้าของบริษัท ผู้ถือหุ้นสามัญมีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อร่วมตัดสินใจในการบริหาร การวางนโยบายการดำเนินการของบริษัท การเลือกตั้งกรรมการของบริษัท และเพื่อร่วมตัดสินใจในปัญหาสำคัญของบริษัท ผู้ถือหุ้นมีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนในรูปของเงินปันผล เมื่อบริษัทมีกำไรและอนุมัติให้มีการจ่ายเงินปันผล หรือเมื่อราคาหุ้นในตลาดรองสูงขึ้นก็สามารถนำไปขาย เพื่อรับส่วนต่างจากราคาหุ้นที่ซื้อมา (Capital Gain) นอกจากนี้ ผู้ถือหุ้นจะได้รับสิทธิจองหุ้นใหม่ (Right) เมื่อบริษัทต้องการจะเพิ่มทุนด้วย 
               1.2 หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) เป็นหุ้นที่มีลักษณะกึ่งหนี้สินและกึ่งหุ้นสามัญ (Hybrid) มีราคาหน้าตั๋ว (Par Value) และมีอัตราเงินปันผลกำหนดไว้ตายตัว ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับสิทธิพิเศษเหนือกว่าผู้ถือหุ้นสามัญ เช่น ได้รับเงินปันผลก่อนหรือมากกว่าผู้ถือหุ้นสามัญ และมีสิทธิในทรัพย์สินของบริษัทก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ (แต่หลังจากผู้เป็นเจ้าหนี้ของบริษัท) ในกรณีที่บริษัทจะต้องเลิกกิจการ  อย่างไรก็ตาม ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิส่วนใหญ่มักจะไม่ได้รับสิทธิในการออกเสียง และการบริหารงานของบริษัท 
           2. ตราสารอนุพันธุ์ (Derivatives) หมายถึง ตราสารทางการเงินประเภทที่มูลค่า หรือราคาของตราสารนั้นเกี่ยวเนื่องอยู่กับมูลค่าของสินทรัพย์ที่ตราสารนั้นอิงอยู่ เช่น ตราสารสิทธิที่จะซื้อหรือขายหุ้น (Stock Options) เป็นตราสารอนุพันธุ์ เพราะราคาของตราสาร ดังกล่าวจะเกี่ยวโยงกับราคา ของหุ้นที่จะใช้ตราสารสิทธินั้นไปซื้อหรือขายได้ สัญญาซื้อขายดัชนีราคาหุ้นล่วงหน้า (Stock Index Futures) เป็นตราสารอนุพันธ์ เพราะราคาของตราสารนี้สืบเนื่องมาจากดัชนีราคาหุ้นที่ตราสารอิงอยู่ การจัดให้มีการซื้อขายตราสารอนุพันธ์จะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้อง กับ ตลาดการเงินมีเครื่องมือไว้ปกป้อง และบริหารความเสี่ยงที่มีอยู่ และเป็นการเพิ่มช่องทางลงทุนซื้อขายที่หลากหลายยิ่งขึ้น 
           3. หน่วยลงทุน (Unit trust) หมายถึง หลักทรัพย์ที่ออกขายโดยบริษัทจัดการลงทุน เพื่อระดมเงินเข้ากองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้น แล้วจัดสรรเงินในกองทุนนั้น ลงทุนในตลาดการเงินตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน เช่น ลงทุนซื้อหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ ลงทุนในตราสารการเงิน ต่าง ๆ และฝากไว้กับสถาบันการเงิน เป็นต้น ผู้ถือหน่วยลงทุนมีฐานะร่วมเป็นเจ้าของกองทุนนั้น ๆ และมีสิทธิได้รับเงินปันผลตอบแทนจากผลกำไรที่เกิดขึ้น หากถือไว้จนถึงกำหนดไถ่ถอนก็จะได้รับส่วนแบ่งคืนจากเงินกองทุนตามสัดส่วนของ หน่วยลงทุนที่ถืออยู่ 
           อย่างไรก็ตาม มีกองทุนรวมอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งมิได้นำเงินไปลงทุนในหลักทรัพย์ต่าง ๆ เหมือนกองทุนรวมทั่วไป เช่น กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ซึ่งบริษัทจัดการกองทุนรวมจัดตั้งขึ้น เพื่อนำเงินที่ได้จากการขายหน่วยลงทุนไปซื้อ หรือเช่าอสังหาริมทรัพย์และจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว เป็นต้น 

 เครื่องมือทางการเงิน (Financial Instruments) หมายถึง หนังสือสำคัญซึ่งเป็นเอกสารแสดงสิทธิต่าง ๆ สิทธิในการเป็นเจ้าของ สิทธิในการเป็นเจ้าหนี้ สิทธิที่จะซื้อหรือขายหลักทรัพย์ ฯลฯ 

 

ตราสารหนี้ เช่น  พันธบัตร หุ้นกู้ ตั๋วสัญญาใช้เงิน

ผลตอบแทน/สิทธิชองผู้ถือ

1. ดอกเบี้ย

 2. กำไรจากการขายเปลี่ยนมือ

  ตราสารหุ้น เช่น

  หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ

ผลตอบแทน/สิทธิชองผู้ถือ

1. เงินปันผล

   2. สิทธิในการบริหาร

   3. กำไรจากการขายเปลี่ยนมือ

   4. สิทธิจองหุ้นออกใหม่

 

ประเภทตราสารหนี้
 
หุ้นสามัญ (Common Stock)
เป็นตราสารประเภทหุ้นทุน ซึ่งออกโดยบริษัทมหาชนจำกัดที่ต้องการระดมเงินทุนจากประชาชน โดยผู้ถือหุ้นสามัญจะมีสิทธิร่วมเป็นเจ้าของบริษัท มีสิทธิในการออกเสียงลงมติในที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนของหุ้นที่ถือครองอยู่ 
 
 
- หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) 
เป็นตราสารประเภทหุ้นทุนที่ผู้ถือมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกิจการเช่นเดียวกับหุ้นสามัญ มีข้อแตกต่างจากหุ้นสามัญคือ ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับสิทธิในการชำระคืนเงินทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญในกรณีที่บริษัทเลิกกิจการ
 
 
- ใบสำคัญแสดงสิทธิ หรือวอแรนท์ (Warrant)
เป็นตราสารที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือในการซื้อหลักทรัพย์ที่ใบสำคัญแสดงสิทธินั้นอ้างอิงอยู่ (Underlying Asset) ตามราคาใช้สิทธิ ( Exercise Price) จำนวนที่ให้ใช้สิทธิ (นิยมใช้เป็นอัตราส่วน) และภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า
 
 
-

หน่วยลงทุน (Unit Trust) 
หลักทรัพย์ที่ออกขายโดยบริษัทจัดการลงทุนเพื่อระดมเงินเข้ากองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้น แล้วจัดสรรเงินในกองทุนนั้นลงทุนในตลาดการเงินตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน ผู้ถือหน่วยลงทุนมีฐานะร่วมเป็นเจ้าของกองทุนนั้น ๆ และมีสิทธิได้รับเงินปันผลตอบแทนจากผลกำไรที่เกิดขึ้น 

   
- ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย หรือ เอ็นวีดีอาร์ (Non - Voting Depositary Receipt : NVDR) 
เป็นตราสารที่ออกโดยบริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด มีสถานะเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนโดยอัตโนมัติ ( Automatic List) และมีหลักทรัพย์อ้างอิง ( Underlying Asset ) เป็นหุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ ใบสำคัญแสดงสิทธิ หรือใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
 
 
- ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง (Depository Receipt : DR)
เป็นตราสารที่ออกและเสนอขายโดยบริษัท สยามดีอาร์ จำกัด เป็นหลักทรัพย์ที่ให้สิทธิอ้างอิงอาจเป็นได้ทั้งหุ้นสามัญ หุ้นกู้ หุ้นกู้แปลงสภาพ ผู้ลงทุนที่ถือ DR จะได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ เช่นเดียวกับผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนทุกประการ
   


หลักทรัพย์ที่สามารถซื้อขายได้ในตลาดหลักทรัพย์ SET และ mai (ณ วันที่ 1 พ.ย. 2550)

 

 

 

ตราสารอนุพันธ์ เช่น ใบสำคัญแสดงสิทธิการซื้อหุ้น (Warrant)

ผลตอบแทน/สิทธิชองผู้ถือ

กรณี (Warrant)

 1. ผลต่างระหว่างราคาใช้สิทธิในการซื้อหุ้นกับราคาตลาด 2. กำไรจากการขายเปลี่ยนมือ

 

1.       สัญญาซื้อขายล่วงหน้า หมายถึง ข้อตกลง หรือสัญญาซื้อขายสินทรัพย์อ้างอิงที่จัดทำขึ้น ณ เวลาปัจจุบันระหว่างผู้ซื้อ และผู้ขาย แต่จะมีการส่งมอบ และชำระราคาจริงในอนาคต ทั้งนี้ เมื่อคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายได้ตกลงทำสัญญากันแล้ว คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างมีพันธะผูกพันต้องปฎิบัติตามข้อตกลงที่ได้กำหนดขึ้น ไม่สามารถบิดพริ้วได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการชำระราคา หรือการส่งมอบสินทรัพย์ โดยผู้ซื้อต้องรับมอบสินทรัพย์ และชำระราคาเมื่อถึงวันครบกำหนดตามข้อตกลง ในขณะที่ผู้ขายก็มีหน้าที่ต้องส่งมอบ และรับชำระราคาสินทรัพย์อ้างอิงนั้น 

2.  สัญญาสิทธิ หรือ ออปชัน (Option) หมายถึง ข้อตกลง หรือสัญญาที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือครองในการซื้อ หรือขายสินทรัพย์อ้างอิงที่ได้กำหนดไว้ตามจำนวน ราคา และระยะเวลาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า สัญญาประเภทนี้จะแตกต่างจากสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตรงที่ ประการแรก เป็นสัญญาที่ให้สิทธิที่แก่ผู้ซื้อ หรือผู้ถือครอง โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น สิทธิในการซื้อสินทรัพย์อ้างอิง หรือที่เรียกว่า “Call Option” และสิทธิในการขายสินทรัพย์อ้างอิง หรือที่เรียกกันว่า “Put Option” ประการที่สอง เนื่องจากเป็นเพียงการได้รับสิทธิ ดังนั้น ผู้ถือครองอาจเลือกที่จะใช้ หรือไม่ใช้สิทธินั้นก็ได้ ไม่ถือว่าเป็นภาระผูกพันที่ต้องซื้อ หรือ ขายสินทรัพย์อ้างอิงดังที่ระบุไว้ในข้อตกลงแต่อย่างใด ประการที่สาม เฉพาะในกรณีที่ผู้ถือครองเลือกใช้สิทธิตามสัญญาเท่านั้นที่ผู้ขายสัญญาจะมีภาระผูกพันต้องปฎิบัติตามสัญญาที่ตนเองเป็นผู้ออก ประการที่สี่ ราคาที่ใช้สำหรับซื้อ หรือ ขายสินทรัพย์อ้างอิงตามสิทธิที่กำหนดไว้ในสัญญา มีชื่อเรียกว่า “Exercise Price หรือ Strike Price” และประการสุดท้าย นอกเหนือจากราคาที่กำหนดให้ใช้สิทธิข้างต้น ผู้ถือครองยังต้องจ่ายค่าธรรมเนียม (Premium) ให้แก่ผู้ขายสัญญา เพื่อให้ได้สิทธิในการซื้อ หรือ ขายสินทรัพย์อ้างอิงตามที่สัญญานั้นได้กำหนดไว้

 

3.        สัญญาสวอป (Swap) หมายถึง ข้อตกลง หรือสัญญาที่จัดทำขึ้นระหว่างคู่สัญญาสองฝ่าย ที่มีความต้องการที่จะแลกเปลี่ยนสินทรัพย์อ้างอิง หรือตัวแปรอ้างอิงระหว่างกันตามจำนวนที่ระบุไว้ในอนาคต เพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะของการดำเนินธุรกิจของตน โดยอาจมีสถาบันการเงินทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยน หรือเป็นคู่สัญญาอีกด้านหนึ่งให้แทนก็ได้ากการขายเปลี่ยนมือ

หน่วยลงทุน (Unit trust)

 

ผลตอบแทน/สิทธิชองผู้ถือ

  1. เงินปันผล

   2. กำไรจากการขายเปลี่ยนมือหรือขายคืน

 

 

นางสาวญานิชา  คำตัน  55127326073

 

เครื่องมือทางการเงิน (Financial Instruments) หมายถึง หนังสือสำคัญซึ่งเป็นเอกสารแสดงสิทธิต่าง ๆ เช่น สิทธิในการเป็นเจ้าของ สิทธิในการเป็นเจ้าหนี้ สิทธิที่จะซื้อหรือขายหลักทรัพย์ ฯลฯ ทั้งนี้ จะยกตัวอย่างตราสารทางการเงินชนิดต่าง ๆ ตามตาราง แสดงตัวอย่างของเครื่องมือทางการเงินชนิดต่าง ๆ ดังนี้ 1. ตราสารทุนหรือหุ้นทุน (Share) คือ ส่วนของทุนของกิจการที่ถูกแบ่งออกเป็นหุ้น ซึ่งแต่ละหุ้นจะให้อำนาจผู้ถือหุ้นในการเป็นเจ้าของของกิจการตามสัดส่วนของหุ้นที่ถือ ซึ่งหมายความรวมถึงการได้สิทธิในการได้รับส่วนแบ่งกำไรและสิทธิในการบริหาร ในที่นี้จะยกตัวอย่างหุ้นทุน 2 ประเภท คือ

               1.1 หุ้นสามัญ (Common Stock) คือ หลักทรัพย์ที่บริษัทออกจำหน่าย เพื่อให้สิทธิแก่ผู้ถือในการร่วมเป็นเจ้าของบริษัท ผู้ถือหุ้นสามัญมีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อร่วมตัดสินใจในการบริหาร การวางนโยบายการดำเนินการของบริษัท การเลือกตั้งกรรมการของบริษัท และเพื่อร่วมตัดสินใจในปัญหาสำคัญของบริษัท ผู้ถือหุ้นมีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนในรูปของเงินปันผล เมื่อบริษัทมีกำไรและอนุมัติให้มีการจ่ายเงินปันผล หรือเมื่อราคาหุ้นในตลาดรองสูงขึ้นก็สามารถนำไปขาย เพื่อรับส่วนต่างจากราคาหุ้นที่ซื้อมา (Capital Gain) นอกจากนี้ ผู้ถือหุ้นจะได้รับสิทธิจองหุ้นใหม่ (Right) เมื่อบริษัทต้องการจะเพิ่มทุนด้วย

               1.2 หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) เป็นหุ้นที่มีลักษณะกึ่งหนี้สินและกึ่งหุ้นสามัญ (Hybrid) มีราคาหน้าตั๋ว (Par Value) และมีอัตราเงินปันผลกำหนดไว้ตายตัว ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับสิทธิพิเศษเหนือกว่าผู้ถือหุ้นสามัญ เช่น ได้รับเงินปันผลก่อนหรือมากกว่าผู้ถือหุ้นสามัญ และมีสิทธิในทรัพย์สินของบริษัทก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ (แต่หลังจากผู้เป็นเจ้าหนี้ของบริษัท) ในกรณีที่บริษัทจะต้องเลิกกิจการ  อย่างไรก็ตาม ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิส่วนใหญ่มักจะไม่ได้รับสิทธิในการออกเสียง และการบริหารงานของบริษัท

           2. ตราสารอนุพันธุ์ (Derivatives) หมายถึง ตราสารทางการเงินประเภทที่มูลค่า หรือราคาของตราสารนั้นเกี่ยวเนื่องอยู่กับมูลค่าของสินทรัพย์ที่ตราสารนั้นอิงอยู่ เช่น ตราสารสิทธิที่จะซื้อหรือขายหุ้น (Stock Options) เป็นตราสารอนุพันธุ์ เพราะราคาของตราสาร ดังกล่าวจะเกี่ยวโยงกับราคา ของหุ้นที่จะใช้ตราสารสิทธินั้นไปซื้อหรือขายได้ สัญญาซื้อขายดัชนีราคาหุ้นล่วงหน้า (Stock Index Futures) เป็นตราสารอนุพันธ์ เพราะราคาของตราสารนี้สืบเนื่องมาจากดัชนีราคาหุ้นที่ตราสารอิงอยู่ การจัดให้มีการซื้อขายตราสารอนุพันธ์จะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้อง กับ ตลาดการเงินมีเครื่องมือไว้ปกป้อง และบริหารความเสี่ยงที่มีอยู่ และเป็นการเพิ่มช่องทางลงทุนซื้อขายที่หลากหลายยิ่งขึ้น
  1. สัญญาซื้อขายล่วงหน้า หมายถึง ข้อตกลง หรือสัญญาซื้อขายสินทรัพย์อ้างอิงที่จัดทำขึ้น ณ เวลาปัจจุบันระหว่างผู้ซื้อ และผู้ขาย แต่จะมีการส่งมอบ และชำระราคาจริงในอนาคต ทั้งนี้ เมื่อคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายได้ตกลงทำสัญญากันแล้ว คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างมีพันธะผูกพันต้องปฎิบัติตามข้อตกลงที่ได้กำหนดขึ้น ไม่สามารถบิดพริ้วได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการชำระราคา หรือการส่งมอบสินทรัพย์ โดยผู้ซื้อต้องรับมอบสินทรัพย์ และชำระราคาเมื่อถึงวันครบกำหนดตามข้อตกลง ในขณะที่ผู้ขายก็มีหน้าที่ต้องส่งมอบ และรับชำระราคาสินทรัพย์อ้างอิงนั้น ซึ่งเราสามารถแบ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้าออกได้อีกเป็น 2 ประเภท คือ § ฟอร์เวิร์ด (Forward Contract) หมายถึง ข้อตกลง หรือสัญญาซื้อขายสินทรัพย์อ้างอิงล่วงหน้าระหว่างผู้ซื้อ และ ผู้ขายเองเป็นการส่วนตัว หรืออาจดำเนินการผ่านสถาบันการเงินก็ได้ โดยผู้ซื้อตกลงที่จะซื้อสินทรัพย์อ้างอิงในราคาที่กำหนดขึ้น ณ เวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต หรือที่เรียกกันว่า “Forward Price” ในขณะที่ผู้ขายตกลงที่จะขายสินทรัพย์ให้ตามเงื่อนไขที่ได้ตกลงไว้กับผู้ซื้อ และมีการส่งมอบสินทรัพย์อ้างอิง ตลอดจนการชำระราคาให้แก่กันจริงตามที่ตกลงในสัญญานั้นๆ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากฟอร์เวิร์ดเกิดขึ้นจากการทำสัญญาส่วนตัวระหว่างคู่สัญญากันเอง เปรียบเสมือนดั่งเป็นสัญญาลูกผู้ชาย (Gentleman Agreement) ระหว่างกัน จึงไม่จำเป็นต้องมีการวางเงินประกัน หรือนำสินทรัพย์ใดๆ มาใช้ในการค้ำประกันสัญญาที่ได้จัดทำขึ้น การที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจจะไม่ปฎิบัติตามสัญญาย่อมมีโอกาสเป็นไปได้สูง โดยเฉพาะในกรณีที่ราคาสินทรัพย์อ้างอิงมีความผันผวนอย่างมากภายหลังจากที่ได้ทำสัญญาไปแล้ว ดังนั้นก่อนที่จะตกลงทำสัญญาขึ้น ต้องพิจารณาถึงความสามารถ และความน่าเชื่อถือของคู่สัญญาในการปฎิบัติตามสัญญาที่ได้ทำขึ้นนั้นด้วย นอกจากนี้ การที่รายละเอียดของสัญญามีความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย ทั้งในด้านคุณภาพของสินทรัพย์อ้างอิง ขนาดของสัญญา สถานที่ส่งมอบ วันครบกำหนดชำระราคา และกฎเกณฑ์ข้อบังคับต่างๆ ส่งผลให้การนำฟอร์เวิร์ดไปซื้อขายแลกเปลี่ยนมือในท้องตลาดเป็นไปได้ค่อนข้างยาก เรียกได้ว่า มีสภาพคล่องต่ำมาก หรือแทบไม่มีเลยก็ได้ ทั้งนี้ ฟอร์เวิร์ดมักถูกนิยมนำไปใช้กับการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities) เช่น ข้าวเจ้า ข้าวโพด ถั่ว ล่วงหน้า นอกจากนี้ ยังถูกสถาบันการเงินนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงทางด้านอัตราดอกเบี้ย และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราในอนาคตให้แก่ลูกค้าของตนด้วยครับ § ฟิวเจอร์ส (Futures Contract) หมายถึง ข้อตกลง หรือสัญญาซื้อขายสินทรัพย์ล่วงหน้าที่มีลักษณะลม้ายคล้ายคลึงกับฟอร์เวิร์ด แต่จะแตกต่างกันตรงที่ ประการแรก ตัวสัญญาฟิวเจอร์สจะมีความเป็นมาตรฐาน โดยมีการกำหนดรายละเอียด และเงื่อนไขไว้อย่างแน่นอน ทั้งในด้านคุณภาพของสินทรัพย์อ้างอิง ขนาดของสัญญา สถานที่ส่งมอบ และวันครบกำหนดชำระราคา ประการที่สอง การซื้อขายฟิวเจอร์สจะทำในตลาดล่วงหน้า (Futures Market) ที่มีการจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ (Organized Exchange) เท่านั้น โดยต้องซื้อขายผ่านนายหน้า (Broker) ที่เป็นบริษัทสมาชิกของตลาดล่วงหน้าแห่งนั้น และจากการที่เป็นสัญญามาตรฐาน และมีสถานที่ซื้อขายอย่างเป็นทางการนี้เอง จึงทำให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายสามารถนำฟิวเจอร์สไปซื้อขายแลกเปลี่ยนมือในท้องตลาดได้ง่าย ทำให้มีสภาพคล่องสูงกว่าฟอร์เวิร์ด ประการที่สาม ราคาที่ใช้สำหรับซื้อขายสินทรัพย์อ้างอิงตามที่กำหนดไว้ในสัญญา มีชื่อเรียกว่า “Futures Price” ประการที่สี่ มีการกำหนดบัญชีวงเงินประกัน (Margin Account) ของทั้งผู้ซื้อ และผู้ขาย รวมถึงมีการปรับมูลค่าทุกสิ้นวันทำการ (Daily Settlement) ทำให้สามารถรับรู้กำไร หรือขาดทุนได้ตลอดเวลาจนกว่าจะถึงวันที่ครบกำหนดตามข้อกตกลง ประการที่ห้า มีสำนักหักบัญชี (Clearing House) ดูแลในเรื่องการรับประกันการซื้อขายตามสัญญาที่ระบุไว้ โดยจะทำหน้าที่เป็นคู่สัญญาแทน (Central Counterparty)ให้กับทั้งผู้ซื้อ และผู้ขายด้วยครับ ประการที่หก มีองค์กรกำกับดูแลควบคุมให้การซื้อขายเป็นไปอย่างเป็นธรรม และโปร่งใส ทั้งนี้ สังเกตได้ว่า จากการที่ฟิวเจอร์สมีทั้งการกำหนดบัญชีวงเงินประกัน และมีสำนักหักบัญชี ตลอดจนองค์กรกำกับดูแลนี้เอง ที่ส่งผลให้ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการทำสัญญาฟิวเจอร์สมีน้อยกว่าฟอร์เวิร์ด และประการสุดท้าย การซื้อขายฟิวเจอร์สส่วนใหญ่จะไม่มีการส่งมอบสินทรัพย์จริงๆ เกิดขึ้นเหมือนกับกรณีของฟอร์เวิร์ด โดยคู่สัญญาสามารถล้าง หรือปิดฐานะ (Offset) ของตนเองลงได้ ไม่จำเป็นต้องมีพันธะผูกพันกันจนถึงวันครบกำหนดตามข้อตกลงแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม หากมีการถือครองจนถึงวันที่ครบกำหนดตามข้อตกลง ก็อาจใช้วิธีส่งมอบสินทรัพย์อ้างอิง และชำระราคาจริง (Physical Delivery) หรือจะใช้วิธีหักล้างกันด้วยเงินสด (Cash Settlement) แทนก็ได้ครับ
  2. สัญญาสิทธิ หรือ ออปชัน (Option) หมายถึง ข้อตกลง หรือสัญญาที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือครองในการซื้อ หรือขายสินทรัพย์อ้างอิงที่ได้กำหนดไว้ตามจำนวน ราคา และระยะเวลาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า สัญญาประเภทนี้จะแตกต่างจากสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตรงที่ ประการแรก เป็นสัญญาที่ให้สิทธิที่แก่ผู้ซื้อ หรือผู้ถือครอง โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น สิทธิในการซื้อสินทรัพย์อ้างอิง หรือที่เรียกว่า “Call Option” และสิทธิในการขายสินทรัพย์อ้างอิง หรือที่เรียกกันว่า “Put Option” ประการที่สอง เนื่องจากเป็นเพียงการได้รับสิทธิ ดังนั้น ผู้ถือครองอาจเลือกที่จะใช้ หรือไม่ใช้สิทธินั้นก็ได้ ไม่ถือว่าเป็นภาระผูกพันที่ต้องซื้อ หรือ ขายสินทรัพย์อ้างอิงดังที่ระบุไว้ในข้อตกลงแต่อย่างใด ประการที่สาม เฉพาะในกรณีที่ผู้ถือครองเลือกใช้สิทธิตามสัญญาเท่านั้นที่ผู้ขายสัญญาจะมีภาระผูกพันต้องปฎิบัติตามสัญญาที่ตนเองเป็นผู้ออก ประการที่สี่ ราคาที่ใช้สำหรับซื้อ หรือ ขายสินทรัพย์อ้างอิงตามสิทธิที่กำหนดไว้ในสัญญา มีชื่อเรียกว่า “Exercise Price หรือ Strike Price” และประการสุดท้าย นอกเหนือจากราคาที่กำหนดให้ใช้สิทธิข้างต้น ผู้ถือครองยังต้องจ่ายค่าธรรมเนียม (Premium) ให้แก่ผู้ขายสัญญา เพื่อให้ได้สิทธิในการซื้อ หรือ ขายสินทรัพย์อ้างอิงตามที่สัญญานั้นได้กำหนดไว้
  3. สัญญาสวอป (Swap) หมายถึง ข้อตกลง หรือสัญญาที่จัดทำขึ้นระหว่างคู่สัญญาสองฝ่าย ที่มีความต้องการที่จะแลกเปลี่ยนสินทรัพย์อ้างอิง หรือตัวแปรอ้างอิงระหว่างกันตามจำนวนที่ระบุไว้ในอนาคต เพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะของการดำเนินธุรกิจของตน โดยอาจมีสถาบันการเงินทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยน หรือเป็นคู่สัญญาอีกด้านหนึ่งให้แทนก็ได้

  4. หน่วยลงทุน (Unit trust) หมายถึง หลักทรัพย์ที่ออกขายโดยบริษัทจัดการลงทุน เพื่อระดมเงินเข้ากองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้น แล้วจัดสรรเงินในกองทุนนั้น ลงทุนในตลาดการเงินตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน เช่น ลงทุนซื้อหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ ลงทุนในตราสารการเงิน ต่าง ๆ และฝากไว้กับสถาบันการเงิน เป็นต้น ผู้ถือหน่วยลงทุนมีฐานะร่วมเป็นเจ้าของกองทุนนั้น ๆ และมีสิทธิได้รับเงินปันผลตอบแทนจากผลกำไรที่เกิดขึ้น หากถือไว้จนถึงกำหนดไถ่ถอนก็จะได้รับส่วนแบ่งคืนจากเงินกองทุนตามสัดส่วนของหน่วยลงทุนที่ถืออยู่

นางสาวธนพร ชลูดดง 55127326057

ตราสารทางการเงิน (Financial Instruments) คือ หลักฐานแสดงการถือครองและสิทธิเรียกร้องต่างๆ ที่บริษัทผู้ออก หลักทรัพย์นำออกมาจำหน่ายเพื่อระดมเงินจากผู้ลงทุน และนำมาจดทะเบียนเพื่อให้มีการซื้อขายในตลาดรอง ซึ่งปัจจุบันมี ตราสารทางการเงินที่ซื้อขายกันในตลาดรองมากกว่า 1,000 ชนิด ทำให้ผู้ลงทุนมีทางเลือกการลงทุนที่หลากหลาย ตลอดจนสามารถกระจายการลงทุนได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 ตราสารทางการเงินที่ทำการซื้อขายในปัจจุบันสามารถแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆ คือ..

ตราสารทุน

  เป็นตราสารที่ให้สิทธิการเป็น “เจ้าของกิจการ” แก่ผู้ลงทุน ดังนั้น ในฐานะเจ้าของกิจการ ผู้ลงทุนจึงมีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนที่ดีถ้ากิจการมีผลการดำเนินงานดี และมีความเสี่ยงที่จะขาดทุนหรือไม่ได้ผลตอบแทนถ้าผลการ

ดำเนินงานของกิจการไม่เป็นไปตามที่คาดหมาย

ตราสารหนี้

  เป็นตราสารที่ให้สิทธิการเป็น “เจ้าหนี้ของกิจการ” แก่ผู้ลงทุน ซึ่งในฐานะเจ้าหนี้ ผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนหรือ

ผลประโยชน์อื่นๆ ตามที่ได้มีการกำหนดไว้ โดยผู้ออกตราสารหนี้จะระบุอัตราผลตอบแทน กำหนดวันจ่ายดอกเบี้ย และ วันครบอายุหรือกำหนดไถ่ถอนตราสารไว้อย่างชัดเจน

หน่วยการลงทุน

  เป็นตราสารที่ออกจำหน่ายและบริหารการลงทุนโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุน (บลจ.) เพื่อระดมเงินเข้า 

“กองทุนรวม” ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อลงทุนตามวัตถุประสงค์และนโยบายการลงทุนที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน ผู้ลงทุนมีฐานะเป็น “เจ้าของร่วมในทรัพย์สินของกองทุนรวม” จึงมีส่วนได้ส่วนเสียและได้รับผลตอบแทนตามผลการดำเนินงานของกองทุน ซึ่งจุดเด่นของการลงทุนในกองทุนรวมก็คือ การมีบริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุนดูแลการลงทุนให้ จึงเหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ไม่มีเวลาดูแลการลงทุนด้วยตัวเอง

ตราสารอนุพันธ์

  เป็นสัญญาทางการเงินที่ทำขึ้นในปัจจุบัน เพื่อตกลงซื้อขายหรือให้สิทธิในการซื้อขายสินทรัพย์อ้างอิง (Underlying Asset) เช่น หุ้นสามัญ ดัชนีหลักทรัพย์ อัตราแลกเปลี่ยน ทองคำ น้ำมัน ฯลฯ ในอนาคต กล่าวคือ ทำสัญญาตกลงกันวันนี้ว่าจะซื้อหรือขายสินทรัพย์อ้างอิงจำนวนกี่หน่วย ที่ราคาเท่าใด แล้วจะส่งมอบและชำระราคากันเมื่อใด ลักษณะเฉพาะของตราสารอนุพันธ์ คือ “มีอายุสัญญาจำกัด” เมื่อครบอายุสัญญา มูลค่าของตราสารก็จะหมดลง นอกจากนี้ ราคา

ตราสารอนุพันธ์ก็จะผันผวนไปตามราคาสินทรัพย์อ้างอิง ผู้ลงทุนจึงมักใช้ตราสารอนุพันธ์เป็นเครื่องมือเพื่อป้องกัน ความเสี่ยง

พันธบัตร (Bond) เป็นสัญญาที่ออกโดยผู้ขอกู้ยืม โดยจะมีสัญญาข้อผูกมัดที่ว่า ผู้ออกพันธบัตร (หรือผู้ขอกู้ยืม) จะต้องจ่ายผลตอบแทน (ดอกเบี้ย) ให้กับผู้ถือพันธบัตร (ผู้ให้กู้) ตามอัตราและระยะเวลาที่กำหนดไว้ในพันธบัตร พันธบัตรที่ไม่ระบุดอกเบี้ย (Zero Coupon Bond) : คือพันธบัตรที่ไม่มีการจ่ายผลตอบแทน หรือดอกเบี้ยให้กับผู้ถือเป็นงวดๆ หากแต่จะจ่ายในรูปของภารรับซื้อคืนในราคาที่สูงขึ้น จากราคาที่ผู้ออกขายให้ผู้ถือในตอนแรก ณ วันครบกำหนดไถ่ถอน พันธบัตรที่ระบุดอกเบี้ย (Coupon Bond) : คือพันธบัตรที่มีสัญญาข้อผูกมัดที่ว่า ผู้ออกพันธบัตรจะต้องจ่ายผลตอบแทน (ดอกเบี้ย) ให้กับผู้ถือพันธบัตรตามอัตราและ ระยะเวลาที่กำหนดไว้ในพันธบัตร และรับซื้อพันธบัตรคืนที่ราคาหน้าตั๋วที่วันครบกำหนดอายุไถ่ถอน พันธบัตรที่มีการจ่ายดอกเบี้ยในแบบอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (Floating rate bond) : คือพันธบัตรที่ลดอัตราเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยของผู้ถือพันธบัตรให้ต่ำที่สุด โดยอัตราดอกเบี้ยที่ผู้ออกพันธบัตรจะจ่ายให้กับผู้ถือนั้น จะเป็นอัตราที่สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยของตลาดขณะนั้น พันธบัตรที่สามารถเรียกคืนได้ (Collable bond) : คือ พันธบัตรที่ผู้ออกสามารถขอซื้อคืนตามราคาที่กำหนดไว้ก่อนวันครบกำหนดไถ่ถอน

เช็คคือ ตราสารซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าผู้สั่งจ่ายสั่งให้ธนาคารให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อทวงถามให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งหรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งอันเรียกว่า ผู้รับเงิน โดยเช็คเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการบริหารเงินสดครับ เราสามารถจำแนกคู่สัญญาออกได้ดังนี้ 1. ผู้สั่งจ่ายเช็ค (Drawer) คือเจ้าของบัญชีกระแสรายวันที่เปิดบัญชีไว้กับธนาคาร ผู้เขียนสั่งจ่ายหรือออกเช็ค 2. ธนาคาร(Banker) คือธนาคารผู้รับฝากเงินประเภทกระแสรายวันที่ผู้สั่งจ่ายเช็คเปิดบัญชีไว้ 3. ผู้รับเงิน(Payee) คือผู้มีสิทธิที่จะขึ้นเงินตามเช็คนั้นในฐานะผู้ทรง(Holder) ทั้งนี้ผู้ทรงอาจมีฐานะเป็นผู้มีชื่อเป็นผู้รับเงินตามที่ปรากฎในเช็คนั้น หรืออาจเป็นผู้รับเงินในฐานะ ผู้รับสลักหลัง หรือในฐานะผู้ถือได้

หุ้นสามัญ (Common Stocks หรือ Ordinary Shares) คือ ตราสารสิทธิที่แสดงความเป็นเจ้าของกิจการ และเมื่อกิจการมีกำไรจากการดำเนินงาน ผู้ถือหุ้นสามัญจะได้รับเงินปันผลในอัตราที่จัดสรรโดยที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น โดยคำนวณตามสัดส่วนของจำนวนหุ้นที่ถือครอง ทั้งนี้ เงินปันผลอาจมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับผลกำไรจากการดำเนินงานประจำปีของกิจการ

    หุ้นสามัญ ( Common Stock ) เป็นตราสารประเภทหุ้นทุน ซึ่งออกโดยบริษัทมหาชนจำกัดที่ต้องการระดมเงินทุนจากประชาชน โดยผู้ถือหุ้นสามัญจะมีสิทธิร่วมเป็นเจ้าของบริษัท มีสิทธิในการออกเสียงลงมติในที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนของหุ้นที่ถือครองอยู่ กล่าวคือ ร่วมเป็นผู้ตัดสินใจในปัญหาสำคัญในที่ประชุมผู้ถือหุ้น อาทิ การเพิ่มทุน การจ่ายเงินปันผล การควบรวมกิจการ นอกจากนี้ ผู้ถือหุ้นสามัญยังมีสิทธิได้รับเงินปันผลเมื่อบริษัทมีผลกำไร และมีโอกาสได้รับกำไรจากส่วนต่างของราคาเมื่อราคาหลักทรัพย์ปรับตัวสูงขึ้นตามศักยภาพของบริษัท รวมถึงมีโอกาสได้รับสิทธิในการจองซื้อหุ้นออกใหม่เมื่อบริษัทเพิ่มทุนหรือจัดสรรใบสำคัญแสดงสิทธิต่างๆ ให้แก่ผู้ถือหุ้น 

หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) เป็นตราสารประเภททุนชนิดหนึ่งที่มีลักษณะกึ่งหนี้และกึ่งเจ้าของลักษณะที่คล้ายหนี้สิน คือ เงินปันผลของหุ้นบุริมสิทธิเป็นอัตราตายตัวและถือเป็นค่าใช้จ่ายคงที่ของบริษัทแม้ว่าบริษัทอาจงดจ่ายเงินปันผลในปีที่ไม่มีกำไรหรือภาวะทางการเงินไม่อำนวย ส่วนลักษณะที่คล้ายเจ้าของ คือ ในกรณีที่บริษัทเลิกกิจการ ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิเรียกร้องในสินทรัพย์ของบริษัทภายหลังเจ้าหนี้แต่ก่อนหุ้นสามัญ แต่ถ้าไม่มีสินทรัพย์เหลือหลังการชำระคืนเจ้าหนี้แล้ว ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิก็จะไม่ได้รับทุนคืนเช่นเดียวกับหุ้นสามัญ ประเภทของหุ้นบุริมสิทธิ มีดังนี้

1) หุ้นบุริมสิทธิชนิดสะสม (Cumulative Preferred Stock) คือ หุ้นบุริมสิทธิชนิดที่ผู้ถือหุ้นมีสิทธิ์ได้รับเงินปันผลในปีที่ไม่ได้ประกาศจ่ายเงินปันผล 2) หุ้นบุริมสิทธิชนิดไม่สะสม (Non – Cumulative Preferred Stock) คือ หุ้นบุริมสิทธิชนิดที่หากปีใดไม่ได้จ่ายเงินปันผล จะไม่สามารถยกยอดไปจ่ายในปีถัดไป 3) หุ้นบุริมสิทธิชนิดร่วมรับ (Participating Preferred Stock) คือ หุ้นบุริมสิทธิที่ผู้ถือห้นมีสิทธิ์ได้รับเงินปันผลร่วมกับผู้ถือหุ้นสามัญอีก หลังจากที่ได้รับเงินปันผลในอัตราที่กำหนดแล้ว 4) หุ้นบุริมสิทธิชนิดไม่ร่วมรับ (Non – Participating Preferred Stock) คือ หุ้นบุริมสิทธิที่ได้รับเงินปันผลตามอัตราที่กำหนดเท่านั้น

ข้อดีของการจัดหาเงินทุนโดยการออกหุ้นบุริมสิทธิ 1. มีความคล่องตัวและความยืดหยุ่น กล่าวคือ เงินปันผลจ่ายหุ้นบุริมสิทธิไม่เป็นภาระผูกพันที่ต้องจ่ายประจำเมื่อเปรียบเทียบกับดอกเบี้ยจ่ายให้หุ้นกู้ซึ่งมีฐานะเป็นหนี้สินของกิจการ 2. ไม่มีกำหนดเวลาไถ่ถอนคืน ทำให้ธุรกิจไม่ต้องเตรียมจัดสรรเงินทุนไว้เพื่อไถ่ถอน 3. หุ้นบุริมสิทธิถือเป็นส่วนของเจ้าของ ดังนั้น การออกหุ้นบุริมสิทธิจึงยังทำให้บริษัทรักษาฐานะและอำนาจใกนารก่อหนี้ไว้ได้ ถ้ามีความจำเป็นต้องจัดหาเงินทุนเพิ่มเติมในอนาคต 4. การออกหุ้นบุริมสิทธิ ทำให้กิจการอาจไม่จำเป็นต้องออกหุ้นสามัญอีก ดังนั้น จึงไม่กระทบกระเทือนราคาหุ้นสามัญ 5. การออกหุ้นบุริมสิทธิไม่ต้องมีสินทรัพย์ค้ำประกัน ทำให้กิจการสามารถนำสินทรัพย์ที่มีอยู่ไปค้ำประกันหนี้ชนิดอื่นได้ .ข้อเสียของการจัดหาเงินทุนโดยวีการออกหุ้นบุริมสิทธิ 1. อัตราเงินปันผลจ่ายหุ้นบุริมสิทธิสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยของหุ้นกู้ 2. เงินปันผลของหุ้นบุริมสิทธิไม่ถือเป็นค่าใช้จ่ายที่นำไปหักภาษีในการคำนวณหากำไรสุทธิ 3. ค่าใช้จ่ายในการจัดหาเงินทุนโดยการออกหุ้นบุริมสิทธิ เช่น ค่าใช้จ่ายในการจัดจำหน่าย ค่านายหน้า มักสูงกว่าหุ้นกู้ 4. ความนิยมลงทุนในหุ้นบุริมสิทธิมีน้อย เนื่องจากข้อเสียเปรียบบางประการสำหรับผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ เช่น ไม่มีสิทธิออกเสียงในการบริหารงาน ดังนั้นการจัดหาเงินทุนโดยการออกหุ้นบุริมสิทธิจึงมีความเสี่ยงต่อการไม่สามารถจัดหาเงินทุนได้ครบตามจำนวนที่ต้องการเนื่องจากขายไม่ได้

About these ads

เครื่องมือทางการเงิน (Financial Instruments) หมายถึง หนังสือสำคัญซึ่งเป็นเอกสารแสดงสิทธิต่าง ๆ เช่น สิทธิในการเป็นเจ้าของ สิทธิในการเป็นเจ้าหนี้ สิทธิที่จะซื้อหรือขายหลักทรัพย์ ฯลฯ ทั้งนี้ จะยกตัวอย่างตราสารทางการเงินชนิดต่าง ๆ ตามตาราง แสดงตัวอย่างของเครื่องมือทางการเงินชนิดต่าง ๆ ดังนี้ 1. ตราสารทุนหรือหุ้นทุน (Share) คือ ส่วนของทุนของกิจการที่ถูกแบ่งออกเป็นหุ้น ซึ่งแต่ละหุ้นจะให้อำนาจผู้ถือหุ้นในการเป็นเจ้าของของกิจการตามสัดส่วนของหุ้นที่ถือ ซึ่งหมายความรวมถึงการได้สิทธิในการได้รับส่วนแบ่งกำไรและสิทธิในการบริหาร ในที่นี้จะยกตัวอย่างหุ้นทุน 2 ประเภท คือ

     1. ตราสารทุนหรือหุ้นทุน (Share) คือ ส่วนของทุนของกิจการที่ถูกแบ่งออกเป็นหุ้น ซึ่งแต่ละหุ้นจะให้อำนาจผู้ถือหุ้นในการเป็นเจ้าของของกิจการตามสัดส่วนของหุ้นที่ถือ ซึ่งหมายความรวมถึงการได้สิทธิในการได้รับส่วนแบ่งกำไรและสิทธิในการบริหาร ในที่นี้จะยกตัวอย่างหุ้นทุน 2 ประเภท คือ

               1.1 หุ้นสามัญ (Common Stock) คือ หลักทรัพย์ที่บริษัทออกจำหน่าย เพื่อให้สิทธิแก่ผู้ถือในการร่วมเป็นเจ้าของบริษัท ผู้ถือหุ้นสามัญมีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อร่วมตัดสินใจในการบริหาร การวางนโยบายการดำเนินการของบริษัท การเลือกตั้งกรรมการของบริษัท และเพื่อร่วมตัดสินใจในปัญหาสำคัญของบริษัท ผู้ถือหุ้นมีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนในรูปของเงินปันผล เมื่อบริษัทมีกำไรและอนุมัติให้มีการจ่ายเงินปันผล หรือเมื่อราคาหุ้นในตลาดรองสูงขึ้นก็สามารถนำไปขาย เพื่อรับส่วนต่างจากราคาหุ้นที่ซื้อมา (Capital Gain) นอกจากนี้ ผู้ถือหุ้นจะได้รับสิทธิจองหุ้นใหม่ (Right) เมื่อบริษัทต้องการจะเพิ่มทุนด้วย

               1.2 หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) เป็นหุ้นที่มีลักษณะกึ่งหนี้สินและกึ่งหุ้นสามัญ (Hybrid) มีราคาหน้าตั๋ว (Par Value) และมีอัตราเงินปันผลกำหนดไว้ตายตัว ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับสิทธิพิเศษเหนือกว่าผู้ถือหุ้นสามัญ เช่น ได้รับเงินปันผลก่อนหรือมากกว่าผู้ถือหุ้นสามัญ และมีสิทธิในทรัพย์สินของบริษัทก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ (แต่หลังจากผู้เป็นเจ้าหนี้ของบริษัท) ในกรณีที่บริษัทจะต้องเลิกกิจการ  อย่างไรก็ตาม ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิส่วนใหญ่มักจะไม่ได้รับสิทธิในการออกเสียง และการบริหารงานของบริษัท

           2. ตราสารอนุพันธุ์ (Derivatives) หมายถึง ตราสารทางการเงินประเภทที่มูลค่า หรือราคาของตราสารนั้นเกี่ยวเนื่องอยู่กับมูลค่าของสินทรัพย์ที่ตราสารนั้นอิงอยู่ เช่น ตราสารสิทธิที่จะซื้อหรือขายหุ้น (Stock Options) เป็นตราสารอนุพันธุ์ เพราะราคาของตราสาร ดังกล่าวจะเกี่ยวโยงกับราคา ของหุ้นที่จะใช้ตราสารสิทธินั้นไปซื้อหรือขายได้ สัญญาซื้อขายดัชนีราคาหุ้นล่วงหน้า (Stock Index Futures) เป็นตราสารอนุพันธ์ เพราะราคาของตราสารนี้สืบเนื่องมาจากดัชนีราคาหุ้นที่ตราสารอิงอยู่ การจัดให้มีการซื้อขายตราสารอนุพันธ์จะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้อง กับ ตลาดการเงินมีเครื่องมือไว้ปกป้อง และบริหารความเสี่ยงที่มีอยู่ และเป็นการเพิ่มช่องทางลงทุนซื้อขายที่หลากหลายยิ่งขึ้น

สรุปความสำคัญของตราสารอนุพันธุ์ 1. เป็นการตกลงทำธุรกรรมซื้อขายกันล่วงหน้าระหว่างคู่สัญญาสองฝ่าย ซึ่งได้แก่ ผู้ซื้อล่วงหน้า และผู้ขายล่วงหน้า โดยมีการตกลงรายละเอียดกัน ณ เวลาปัจจุบัน แต่จะมีการส่งมอบ และชำระราคากันจริงในอนาคต กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การซื้อขายยังไม่เกิดขึ้น ณ เวลาปัจจุบัน แต่จะไปเกิดขึ้นจริงในอนาคตแทนนั่นเอง 2. มีค่าเกี่ยวเนื่อง หรือขึ้นอยู่กับสินทรัพย์ที่ถูกนำมาใช้อ้างอิงในการซื้อขายนั้น ซึ่งอาจเป็นสินทรัพย์ที่มีตัวตนจับต้องได้ (Physical Asset) เช่น ยางพารา ข้าว มันสำปะหลัง หรืออาจเป็นสินทรัพย์ทางการเงิน (Financial Asset) เช่น พันธบัตร หุ้นสามัญ ก็ได้ นอกจากนี้ ยังสามารถมีค่าเกี่ยวเนื่องกับตัวแปรอ้างอิง (Underlying Variable) ใดๆ ที่ถูกกำหนดขึ้นมา เช่น ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ และอัตราดอกเบี้ยได้เช่นเดียวกัน 3. มีการกำหนดระยะเวลาในการปฎิบัติตามภาระผูกพัน หรือใช้สิทธิของคู่สัญญา กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ตราสารอนุพันธ์มีอายุจำกัดนั่นเอง 4. มีการกำหนดพันธะผูกพัน (Obligation) หรือให้สิทธิ (Right) แก่คู่สัญญาในการซื้อ หรือขายสินทรัพย์อ้างอิง หรือตัวแปรอ้างอิง ณ เวลาใด

           3. หน่วยลงทุน (Unit trust) หมายถึง หลักทรัพย์ที่ออกขายโดยบริษัทจัดการลงทุน เพื่อระดมเงินเข้ากองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้น แล้วจัดสรรเงินในกองทุนนั้น ลงทุนในตลาดการเงินตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน เช่น ลงทุนซื้อหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ ลงทุนในตราสารการเงิน ต่าง ๆ และฝากไว้กับสถาบันการเงิน เป็นต้น ผู้ถือหน่วยลงทุนมีฐานะร่วมเป็นเจ้าของกองทุนนั้น ๆ และมีสิทธิได้รับเงินปันผลตอบแทนจากผลกำไรที่เกิดขึ้น หากถือไว้จนถึงกำหนดไถ่ถอนก็จะได้รับส่วนแบ่งคืนจากเงินกองทุนตามสัดส่วนของหน่วยลงทุนที่ถืออยู่

นางสาวสุภาลักษณ์ นินทะสิงห์ 55127326067

ตราสารหนี้ เป็นตราสารการเงินที่เป็นสัญญาแสดงความเป็นหนี้ระหว่างผู้ออก และผู้ถือตราสารหนี้ (หรือที่เรียกว่า “ผู้ลงทุน” ) ตราสารหนี้ต้องมีกำหนดอายุและอัตราดอกเบี้ยหรือผลประโยชน์อื่นใดเป็นจำนวนที่แน่นอน โดยระบุวันที่ชำระดอกเบี้ยและเงินต้นล่วงหน้าตั้งแต่เมื่อออกตราสารนั้น และในระหว่างที่ยังไม่ครบกำหนดอายุ รวมถึงวันไถ่ถอน นอกจากนี้ ตราสารหนี้ยังสามารถซื้อขายโอนเปลี่ยนมือกันได้

ผู้ออกตราสารหนี้คือผู้กู้เงินจากผู้ที่ซื้อตราสารหนี้ ดังนั้น ผู้ออกจึงเป็น “ลูกหนี้” ในขณะที่ผู้ซื้อ คือ “ผู้ให้กู้” หรือ “ เจ้าหนี้” นั่นเอง ซึ่งแตกต่างจากตราสารทุนหรือหุ้นสามัญที่ผู้ถือตราสารทุนนั้นจะลงทุนในส่วนของผู้ถือหุ้น และมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกิจการนั้นๆ ไม่ใช่เป็นเจ้าหนี้

ตราสารหนี้ เป็นคำศัพท์กว้างๆ แต่ที่ท่านอาจคุ้นเคยมากกว่า คือ “พันธบัตร” และ “หุ้นกู้” โดยพันธบัตรมักใช้เรียกตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ ส่วนหุ้นกู้จะถูกเรียกใช้เมื่อออกโดยบริษัทเอกชน ในต่างประเทศจะใช้คำว่า “Bond” สำหรับตราสารหนี้ทั่วไปทั้งที่ออกโดยรัฐบาลและเอกชน แต่จะมีในบางกรณีที่อาจจะเรียกว่า “Debenture” เมื่อตราสารหนี้นั้นไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน

นักลงทุนสามารถซื้อขายตราสารหนี้ได้ที่ตลาดตราสารหนี้ ( Bond Electronic Exchange: BEX) ซึ่งเปิดให้บริการการซื้อขายแก่นักลงทุนทั่วไปตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 ที่ผ่านมา ด้วยระบบการซื้อขายแบบเรียลไทม์ นำเสนอข้อมูลที่โปร่งใส ตลอดจนถึงกระบวนการส่งมอบและชำระราคาที่เชื่อถือได้ เพื่อที่จะพัฒนาตลาดตราสารหนี้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งในด้านปริมาณการซื้อขาย คุณภาพของตราสารหนี้ ตัวกลางการซื้อขาย แหล่งข้อมูลอ้างอิง รวมถึงการขยายขอบเขตการพัฒนาให้กว้างขวางขึ้น และครอบคลุมการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศไทยทั้งหมด เพื่อให้รองรับต่อแนวนโยบายของภาครัฐในเรื่องตลาดพันธบัตรแห่งเอเชีย โดยมีเป้าหมายในการดำเนินการตลาดรองตราสารหนี้ที่สมบูรณ์แบบของประเทศไทย ซึ่งสามารถให้บริการครอบคลุมผู้ลงทุนและผู้ค้าตราสารหนี้ทั้งหมด

---หุ้นกู้ ( DEBENTURE , CORPORATE BOND ) คือ เอกสารที่แสดงสิทธิเป็นเจ้าหนี้ของบริษัท หรือ กิจการใดกิจการหนึ่ง

  บริษัทออกหุ้นกู้เพื่อระดมทุนขยายกิจการ  แต่ทำในรูปของการกู้ยืมประชาชนโดยกำหนดระยะเวลา  และอัตราดอกเบี้ยที่แน่นอน  (  ว่าเป็นคงที่หรือลอยตัวตามอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง  )  โดยทั่วไปหุ้นกู้จะมีอายุ  3-7  ปี  ดอกเบี้ยมักสูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร   แต่เป็นการกู้ที่ไม่มีหลักประกัน  การจ่ายดอกเบี้ยจะจ่ายเป็นงวดๆ   เมื่อครบกำหนดผู้ลงทุนจะได้รับเงินต้นคืน
  บริษัทเลือกจะกู้เงินจากประชาชนโดยตรง  เพราะอัตราดอกเบี้ยถูกกว่าการกู้เงินจากธนาคาร  ระยะเวลากู้ยาวนานกว่า  ทำให้บริหารเงินได้ง่าย  หรือ  อยู่ในภาวะที่ธนาคารอาจไม่ยอมปล่อยกู้เพิ่มเติมให้แล้ว  จึงต้องหาช่องทางกู้เงินจากประชาชนแทน
  ส่วนผู้ลงทุนซื้อหุ้นกู้  เพราะ  ต้องการผลตอบแทนที่สูงกว่าฝากธนาคาร  ,  มีผลตอบแทนคงที่  และยังสามารถทำกำไรได้จากการขายหุ้นกู้  ในกรณีที่อัตราดอกเบี้ยในตลาดมีแนวโน้มลดลง  หุ้นกู้จะมีราคาสูงขึ้น
 หุ้นกู้มีหลายประเภท  เช่น
 - หุ้นกู้แปลงสภาพ  คือ  หุ้นกู้ที่ได้รับสิทธิพิเศษสามารถเลือกแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้  หรือจะถือเป็นหุ้นกู้ต่อเพื่อรับดอกเบี้ยตามที่ระบุไว้  จนครบกำหนดก็ได้   ผู้ลงทุนจะใช้สิทธิแปลงสภาพก็ต่อเมื่อราคาหุ้นสามัญอยู่สูงกว่าราคาแปลงสภาพ
 - หุ้นกู้มีหลักประกัน  คือ  หุ้นกู้ที่มีสถาบันการเงิน  หรือ  บริษัทอื่นที่มั่นคงกว่ามาค้ำประกันหนี้สินให้  หรือ  บริษัทผู้ออกหุ้นกู้  อาจยินยอมให้เอาทรัพย์สิน  เช่น  ที่ดิน  ,ตัวโรงงาน  มาค้ำประกันหนี้สิน
 - หุ้นกู้ด้อยสิทธิ์  คือหุ้นกู้ที่กำหนดให้มีสิทธิเรียกร้องต่อบริษัทเป็นลำดับท้ายๆในกลุ่มหุ้นกู้ด้วยกันในกรณีที่บริษัทปิดกิจการลง  แต่มักให้ดอกเบี้ยสูงมาก
   หมายเหตุ  ลำดับสิทธิ์ในการเรียกร้องต่อสินทรัพย์ของบริษัท  ในกรณีที่บริษัทใดบริษัทหนึ่งปิดกิจการ  คือ รัฐบาล  (  กรมสรรพากร  ) , พนักงาน ลูกจ้าง  ,  เจ้าหนี้หรือผู้ถือหุ้นกู้มีหลักประกัน  , เจ้าหนี้การค้า  ,  เจ้าหนี้ทั่วไป  ,  ผู้ถือหุ้นกู้  ,  หุ้นกู้ด้อยสิทธิ์  ,  หุ้นบุริมสิทธิ์  และหุ้นสามัญ

---พันธบัตร ( GOVERNMENT BOND ) คือ หุ้นกู้ที่ออกโดยรัฐบาล หรือรัฐวิสาหกิจโดยมีรัฐบาลค้ำประกัน ความเสี่ยงจากการไม่ได้เงินลงทุนคืนจึงแทบไม่มี ดอกเบี้ยมักจะต่ำกว่าหุ้นกู้ทั่วไป แต่ยังคงสูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร เนื่องจากระยะถือครองยาวนานกว่า

ผู้ชายคนนี้เป็นคนที่ฉันรักที่สุดในโลก รักพ่อค่ะ

ความรู้สึกที่มีต่อพ่อ

คำว่า “ พ่อ ” มีความสำคัญต่อชีวิตของฉัน เพราะ พ่อเป็นทั้งผู้ให้กำเนิด เป็นผู้ให้ชีวิตและความรักที่งดงาม ฉันดีใจที่ได้เกิดมาเป็นลูกพ่อ เพราะ พ่อจะพูดให้ลูกได้คิด และ ใช้ชีวิตที่ได้จากคำพูดของท่านไปเป็นข้อคิดเตือนตัวเองในการดำเนินชีวิต ถึงจะไม่ได้คุยกันบ่อยแต่คำพูดของท่านช่างสำคัญ แม้จะไม่ร่ำรวยด้วยเงินแต่ฉันก็มีความสุขที่เรายังรวยด้วยรอยยิ้ม  ฉันอยากบอกพ่อว่า ลูกคนนี้ “ รัก “  พ่อเหมือนกันค่ะ.

ผู้ชาย ที่รักและดูแลเราเป็นอย่างดี ไม่เคยแคร์เเม้รูปร่างหน้าตาเราจะเปนอย่างไร HBD ผู้มีพระคุณที่สุดในชีวิต คุณพ่อที่รัก ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิสิทธิ์ทั่วทั้งสากลโลกจงดลบันดาลให้พ่อมีความสุขมากๆ สุขภาพแข็งแรง อย่าทำงานให้หนักพักบ้าง กานต์เปนห่วง วันที่ 5 ธค ปีที่แล้วมีเค้กเป็นของขวัญวันเกิด ปีนี้ต้องอยู่ไกลกันมีแต่คำว่า "พ่อเป็นผู้ชายที่กานต์รักที่สุด"

      คำๆเดียวที่อยากมอบให้และมีให้ตลอดมาคือ คำว่า "รัก" รักพ่อมากน่ะค่ะ ที่ผ่านมาอาจมีบางครั้งที่ทำอะไรโดยที่ไม่แคร์พ่อ แต่ไม่มีวันไหนที่หนูไม่รักพ่อน่ะค่ะ

หนูรักพ่อที่สุดในโลก :") .........

         วันที่ 5 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันพ่อแห่งชาติ  แต่สำหรับหนูทุกวันคือวันพ่อ  พ่อทำทุกอย่างเพื่อลูกเสมอ  แม้เหนื่อยก็ไม่เคยจะบ่น  หนูสัญญาว่าจะเป็นคนดีของพ่อ  จะตั้งใจเรียน  และจะไม่ทำให้พ่อเสียใจ  เหมือนที่พ่อทำเพื่อหนูมาตลอด  หนูดีใจที่ได้เกิดเป็นลูกพ่อค่ะ  หนูรักพ่อค่ะ

วันที่ 5 ธันวาคมคือวันพ่อแห่งชาติ แต่สำหรับหนูวันพ่อนั้นมีทุกวัน....หนูก็ไม่มีอะไรจะให้พ่อมากไปกว่าคำว่า "รัก" ได้ หนูรู้ว่าพ่อเองก็อยากได้ยินคำนี้จากหนูเช่นกัน...แต่ติดอยู่นิดเดียวที่หนูเขินไม่กล้าบอก แต่หนูก็ไม่เคยรักพ่อน้อยลงเลยน่ะค่ะ ไม่ว่าพ่อจะเป็นยังไง....หนูขอสัญญาว่าหนูจะอยู่เคียงข้างพ่อไปตลอด!! และหนูก็อยากจะขอบคุณพ่อที่เลี้ยงหนูมาตั้ง 19 ปี และพ่อยังเป็นคนที่พร้อมจะให้อภัยในทุกๆสิ่ง ถึงแม้หนูจะไม่ได้อยู่ใกล้พ่อ...แต่หนูก็ไม่เคยลืมน่ะค่ะ...ณ วันนี้หนูได้รับรู้แล้วว่า ไม่มีผู้ชายคนไหนในโลกที่เรารักหนูจริงและพร้อมจะอยู่เคียงข้างหนุได้เท่าผู้ชายคนนี้อีกแล้ว.. หนูรักและคิดถึงพ่อเสมอ

รักพ่อมากที่สุดในโลยเลย ขอให้พ่อมีสุขภาพแข็งแรง อยู่กับลูกไปนานๆ :)

      "พ่อ" ถึงแม้จะเป็นคำสั้นๆ  แต่หาคำพูดคำอธิบายใดๆเปรียบเทียบไม่ได้  พ่อมีพระคุณที่ยิ่งใหญ่สำหรับหนู  ทำให้หนูเติบโตมาจนถึงทุกวันนี้  ถึงแม้ว่าทุกวันนี้เราจะไม่ได้อยู่ด้วยกันแต่หนูก็ยังรักและเคารพพ่อเหมือนเดิมนะค่ะ  ทุกครั้งที่หนูมีโอกาสได้เจอพ่อหนูมีความสุขมากๆเลยค่ะ  ถึงแม้ว่ามันจะเป็นเวลาแค่น้อยนิดก็ตาม ... รักพ่อค่ะ

นางสาวหนึ่งฤทัย เวฬุวนารักษ์ รหัส 55127326071

วันพ่อที่ผ่านมานี้ หนูได้ไหว้พ่อเพื่อขอโทษสิ่งที่อาจทำไม่ดีกับพ่อบ้าง แต่หนูอยากบอกกับพ่อว่า หนูรักพ่อมากนะค่ะ

เพราะความฝันพาลูกมาไกลบ้าน วันพ่อปีนี้เลยไม่มีโอกาสได้กราบเท้าพ่อ...แต่จริงๆ แล้วไม่ว่าวันไหนๆ ก็คือวันพ่อ หนูดีใจที่ได้เกิดมาเป็นลูกของพ่อ รักพ่อที่สุดในโลกค่ะ

รัก"พ่อ"นะคร่า รักที่สุดในโลกความรัก รักนี้ไม่มีอะไรเปรียบได้ สุขสันต์วันพ่อคร่า

รัก"พ่อ"นะคร่า รักที่สุดในโลกความรัก รักนี้ไม่มีอะไรเปรียบได้ สุขสันต์วันพ่อคร่า

Happy father Day... #รักพ่อนะคะ #รูปคู่รูปแรกและรูปเดียว #พ่อยังคงเก็บไว้ในโทสับ #ถึงพ่อจะไม่แสดงออก....หนูก็รู้ว่าพ่อรักหนู #หนูก็รักพ่อนะ#ถึงไม่ได้แสดงออกมากมายหนัก #อยู่กับหนูไปนานๆนะ 051212

ที่พ่อไม่พูดไม่ได้แปลว่าพ่อไม่สนใจ แต่บางครั้งพ่ออาจไม่รู้จะพูดมันออกไปอย่างไรต่างหาก..

รู้ซึ้งในบทเรียนแล้วว่า สุดท้ายแล้ว ผู้ชาย ที่รักและเป็นห่วงเราจริงๆ ก็คือ "พ่อ" "รักพ่อนะ"

คิดถึงพ่อ ก่อเกิด กำเนิดลูก รักพันผูก หยูกยา คราเจ็บไข้ ปรนนิบัติ ขจัดทุกข์ ปลุกปลอบใจ จะหาใคร ปานเปรียบ เทียบพระคุณ

ขอกุศลผลบุญหนุนนำส่ง รักบรรจงจากจิตประดิษฐ์สุนทร์ ประกอบพรกลอนกานท์วานเจือจุน พระพุทธคุณ ปกปัก รักษ์บิดา <3 รักป๊าน่ะ <3

ถึงผมกับพ่อจะไม่ค่อยได้คุยกันสักเท่าไร แต่ผมก็รักพ่อของผม

ถึงตัวห่างไกล เเต่ใจไม่เคยห่างกัน รักพ่อนะค่ะ

หนูไหว้ขอขมาพ่อในบางสิ่งที่หนูทำไม่ดี และหนูอยากบอกว่าหนูรักพ่อ อยากให้พ่อดูแลสุขภาพตัวเองด้วย

วันพ่อปีนี้ หนูก็ขอให้คุณพ่อสุขภาพแข็งแรง มีความสุขมากๆนะคะ รักและคิดถึงคุณพ่อนะคะ

ถึงไม่เคยเห็นหน้า ไม่เคยได้พูดคำว่ารักให้พ่อได้ฟังสักครั้ง แต่ลูกคนนี้ก็อยากบอกพ่อนะว่าหนูรักพ่อค่ะ

มีเพียงคำเดียวคือ คำว่า รัก ที่อยากบอกพ่อให้รู้ ว่า หนูรักพ่อคนนี้ ที่หนึ่งในใจ

อาจมีบางครั้งที่หนูทำตัวไม่น่ารัก แต่ก้ไม่เคยมีสักครั้งที่ไม่รัก รักพ่อนะค่ะ

วันพ่อเป็นวันที่พิเศษเป็นวันที่คิดถึงพ่อ นึกถึงพระคุณของพ่อที่ทำทุกสิ่งทำทุกอย่างให้เรา แต่สำหรับดิฉันแล้ว ฉันคิดถึงพ่อทุกวัน รักพ่อทุกวัน พ่อก็เป็นกำลังใจอย่างหนึ่งที่ทำให้ฉันมีความอดทนในการหมั่นเรียนหนังสือ เมื่อฉันรู้สึกท้อแท้ก็จะนึกถึงพ่อแม่ ว่าท่านทั้งสองต้องเหนื่อยแค่ไหนกว่าจะหาเงินมาส่งเราเรียนหนังสือ เลยทำให้ฉันมีกำลังใจมากขึ้นอีกเยอะ อยากบอกว่า "หนูรักพ่อทุกวัน" และจะตั้งใจเรียนหนังสือเพื่อพ่อค่ะ

ไม่ต้องมีคำบรรยายใดใด ซักคำให้ลึกซึ้ง ไม้ต้องบรรยายอะไรให้สวยเลิศเลอ..... "รักพ่อนะค่ะ"

"พ่อ" เป็นคำที่หนูเองใช้เรียกบุคคลที่เรียกว่าพ่อครั้งล่าสุดเมื่อ 13ปีก่อน...ตั้งแต่พ่อได้จากหนูไปคำๆนี้ยังมีความหมายเสมอแม้จะเป็นเพียงคำพูดที่ไม่มีตัวตนแล้วก็ตาม "หนูรักพ่อค่ะ"

"พ่อ" เป็นคำที่หนูเองใช้เรียกบุคคลที่เรียกว่าพ่อครั้งล่าสุดเมื่อ*สิบสามปีก่อน...ตั้งแต่พ่อได้จากหนูไปคำๆนี้ยังมีความหมายเสมอแม้จะเป็นเพียงคำพูดที่ไม่มีตัวตนแล้วก็ตาม "หนูรักพ่อค่ะ"

รักพ่อที่สุดในโลก ขอบคุณทุกสิ่งทุกอย่างที่พ่อทำให้และให้บอสเสมอมา <3

"ไม่มีผู้ชายคนไหนรักเราได้มากมายเท่าพ่อ" หนูรักพ่อน้าาาาาาาาาาา หนูจะรักและดูแลพ่อให้ดีที่สุด :)

ขอให้คุณพ่อมีสุขภาพแข็งแรงนะคะ รักคุณพ่อที่สุดในโลกเลยค่ะ ( รูปภาพอาจจะเบลอๆ หน่อยนะคะ )

ยังอยู่ในช่วงเทศกาลวันพ่อ เกือบประจำทุกปีอยู่แล้วที่ดิฉันไม่ได้ไหว้พ่อเหมือนคนอื่นๆ เพราะพ่อไม่ค่อยมีเวลาว่างซักเท่าไหร่ พ่อทำงานหนักมาก แต่ฉันรู้ว่าเค้าทำเพื่อใคร ฉันรักพ่อ เพราะพ่อเปรียบเสมือนฮีโร่ของฉัน จำได้พ่อบอกว่าพ่ออยากได้ลูกผู้ชายพ่อสอนให้ฉันมีนิสัยที่เข้มแข็งเหมือนผู้ชาย สอนฉันให้ฉันให้ฉันซ่อมรถ ขับรถคันใหญ่ สอนฉันร้องเพลงอัสนี-วสันต์ เหมือนอย่างเขาอยากให้ขยันเหมือนเขา พอฉันโตขึ้นมาฉันจึงมีนิสัยที่ห้าวแก่น เค้าสอนให้ฉันรู้จักเรียนรู้ด้วยตัวเอง ฉันไม่เหมือนเด็กคนอื่นที่โตมาด้วยกันเค้าจะมีพ่อมีแม่ไปส่งที่โรงเรียนแต่ฉันพ่อสอนให้นั่งรถเมล์ไปเรียนเองไม่มีการไปส่งเพราะลำพังเวลาทำงานก็แทบที่จะไม่พอแล้ว ต้องขอขอบคุณพ่อที่เลี้ยงฉันมาแบบนี้ ทำให้ฉันกล้าที่จะต่อสู้กับโลกภายนอก รู้ทันโลก รู้ทันผู้ชาย ขอบคุณพ่อ My Dad my hero. The most handsome man in my world.


ถึงพ่อจะไม่ได้อยู่กับหนูแล้ว แต่หนูรู้ หนูสัมผัสได้ ว่าพ่อคิดถึงหนู พ่อเป็นห่วงหนู พ่อยังคอยมองหนูอยู่ 

หนูก็เหมือนกันหนูคิดถึง "พ่อ" นะ รักพ่อมากด้วย

จาก ข้อที่ 1 เส้นผลตอบแทนมีลักษณะใดบ้างแต่ลักษณะแตกต่างกันอย่างไร

ตอบ   เส้นผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ( ascending yield curve )   เส้นผลตอบแทนลดลง ( descending yied curve )เส้นผลตอบแทนคงที่ ( flat yield curve )   เส้นผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นแล้วลดลง ( humped yield curve ) ลักษณะตามชื่อของตัวมันเอง คือ เส้นผลตอบแทนเพิ่มขึ้นก็คือ เพิ่มขึ้น เส้นผลตอบแทน ลดก็คือลดลง คงที่ ก็คือคงที่ เพิ่มขึ้นแล้วลดก็คือเพิ่มขึ้นแล้วลด

จากข้อ 2 ท่านคิดว่าผู้ลงทุนในธุรกิจไม่ควรลงทุนเพราะเหตุใด

ตอบ เพราะ การลงทุนที่ไม่คุ้มกับผลตอบแทนหรือกำไรที่ได้กลับมา การทำธุรกิจหรือลงทุนใดๆ ควรได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า เป็นต้น

1.เส้นผลตอบแทนมีลักษณะใดบ้าง แต่ละลักษณะอธิบายผลตอบแทนที่ต่างกันอย่างไรบ้าง

- เส้นผลตอบแทนเพิ่มขึ้น คือ ค่าเฉลี่ยของอัตราปัจจุบันกับอัตราระยะสั้นในอนาคตจะอยู่เหนืออัตราปัจจุบัน

- เส้นผลตอบแทนลดลง คือ อัตราผลตอบแทนระยะยาวจะอยู่ต่ำกว่าอัตราระยะสั้นของปัจจุบัน

- เส้นผลตอบแทนคงที่ คือ อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในอนาคตไม่เปลี่ยนแปลง

- เส้นผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นแล้วลดลง คือ อัตราผลตอบแทนระยะสั้นในอนาคตจะสูงขึ้นก่อนและลดลงเป็นอย่างมากภายหลัง

2.ท่านคิดว่าผู้ลงทุนในธุรกิจไม่ควรขยายการลงทุนเพราะเหตุใดบ้าง

- อยู่ในช่วงภาวะเศรษฐกิจ เช่น เงินเฟ้อ เงินฝืด

- product ไม่มีจุดแข็ง

- อัตราการแข่งขันกับคู่แข่งสูงเกินไป

- feedback ยังไม่ดีพอ

- มองไม่เห็นกำไรหรือจุดคุ้มทุนที่ชัดเจน

คำถามประจำบทที่ 4

9. เส้นผลตอบแทนมีลักษณะใดบ้าง แต่ละลักษณะอธิบายผลตอบแทนที่ต่างกันอย่างไร

ตอบ  1. เส้นผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ( ascending yield curve )  มีอัตราค่าเฉลี่ยปัจจุบันที่สูงกว่า อัตราระยะสั้นทำให้เส้นผลตอบแทนเพิ่มขึ้น   2.  เส้นผลตอบแทนลดลง ( descending yield curve )  มีอัตราค่าเฉลี่ยปัจจุบันที่ต่ำกว่า อัตราระยะสั้นทำให้เส้นผลตอบแทนลดลง        3. เส้นผลตอบแทนคงที่ ( flat yield curve )    ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าเฉลี่ยปัจจุบันและ อัตราระยะสั้นทำให้เส้นผลตอบแทนยังคงที่      4. เส้นผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นแล้วลดลง      ( humped yield curve )   อัตราผลตอบแทนระยะสั้นในอนาคตจะสูงขึ้นก่อนและลดลงเป็นอย่างมากภายหลัง ทำให้ผลตอบแทนขึ้นแล้วลดลง                                                                                             

10. ท่านคิดว่าผู้ลงทุนในธุรกิจไม่ควรขยายการลงทุนเพราะเหตุใด

ตอบ ไม่ควรขยายการลงทุนเพราะสภาวะเศรษฐกิจกำลังถดถอย และที่สำคัญ ผลกำไรที่จะได้รับต่ำ สภาพคล่องต่ำ และความเสี่ยงสูงกล่าวคือ

ความเสี่ยงทางธุรกิจ (Business Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงความสามารถในทำกำไรของบริษัท อันเป็นเหตุให้ผู้ลงทุนต้องสูญเสียรายได้ หรือเงินลงทุน ประกอบด้วย ความเสี่ยงทางการเงิน ความเสี่ยงด้านการบริหารจัดการ และความเสี่ยงในระดับอุตสาหกรรม

ความเสี่ยงทางตลาด (Market Risk) คือ การสูญเสียเงินลงทุนอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงราคาของหลักทรัพย์ที่ลงทุน ซึ่งเป็นไปตามอุปสงค์ และอุปทานของตลาด

ความเสี่ยงในอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงในอัตราดอกเบี้ยในตลาด

ความเสี่ยงจากอำนาจซื้อ (Purchasing Power Risk) คือ ความเสี่ยงทีเกิดจากอำนาจซื้อของเงินที่ลดลง ซึ่งสาเหตุสำคัญที่ส่งผลต่ออำนาจซื้อ คือ ภาวะเงินเฟ้อ

นางสาวปัณณพร  แก้ววัฒน์ รหัส 55127326053 เอก การเงินการธนาคาร 02

9. เส้นผลตอบแทนมีลักษณะใดบ้าง แต่ละลักษณะอธิบายผลตอบแทนที่แตกต่างกันอย่างไรบ้าง                                                      

1. เส้นผลตอบแทนเพิ่มขึ้น (ascending yield curve) จะมีลักษณะโค้งขึ้น (Upward sloping) ซึ่งแสดงให้เห็นว่า อัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ระยะยาวจะสูงกว่าอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ระยะสั้น Yield Curve ในลักษณะนี้เป็นแบบที่พบบ่อย                                                                                                                                                  2. เส้นผลตอบแทนลดลง (descending  yield curve) มีลักษณะลาดลงจากซ้ายไปขวา ( Downward sloping) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ระยะสั้นจะสูงกว่าอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ระยะยาว Yield Curve ในลักษณะนี้จะพบในภาวะที่ตลาดคาดการณ์ว่าอัตราผลตอบแทนมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ                                                             3. เส้นผลตอบแทนคงที่ (flat yield curve) แสดงถึงอัตราผลตอบแทนที่เท่ากันในทุกช่วงอายุคงเหลือของตราสารหนี้                                                                                                                                                                        4. เส้นผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นแล้วลดลง (Humped Yield Curve) แสดงถึงอัตราผลตอบแทนจะเพิ่มขึ้นตามอายุคงเหลือของตราสารหนี้จนถึงระดับหนึ่ง จากนั้นจะลดลงเมื่ออายุของตราสารหนี้เพิ่มขึ้น

10. ท่านคิดว่าผู้ลงทุนในธุรกิจไม่ควรขยายการลงทุนเพราะเหตุใด

เพราะ ความเสี่ยงในการลงทุนที่เกิดจาก ความเสี่ยงจากลักษณะการดําเนินธุรกิจของผู้ออกตราสาร  ความผันผวนของราคาหลักทรัพย์ ความเสี่ยงจากการที่ไม่สามารถขายตราสารได้ทันทีในราคาที่เป็นธรรมและเหมาะสม ความเสี่ยงจากการที่ผู้ออกตราสารไม่ชําระคืนเงินต้นและดอกเบี้ย ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย  ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการที่ผลตอบแทนที่ได้รับตํ่ากว่าอัตราเงินเฟ้อ  สภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ ค่าครองชีพสูง รายได้น้อย  การว่างงาน  ซึ่งอาจทำให้ประชาชนไม่มีอำนาจซื้อ หรือซื้อแค่สิ่งที่จำเป็น ดั้งนั้น  ผู้ลงทุนควรจะมีความระมัดระวังในการตัดสินใจในการลงทุนเสมอ               

9.เส้นผลตอบแทนมีลักษณะใดบ้าง แต่ละลักษณะอธิบายผลตอบแทนที่แตกต่างกันอย่างไรบ้าง
ตอบ  1.เส้นผลตอบแทนเพิ่มขึ้น (ascending yield curve) คือเส้นของอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในอนาคตจะสูง  แต่ในระยะยาวเส้นอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันจะต่ำกว่าในอนาคต
2.เส้นผลตอบแทนลดลง (descending  yield curve)  คือเส้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในอนาคตจะต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบัน
3.เส้นผลตอบแทนคงที่ (flat yield curve)  คือเส้นของอัตราดอกเบี้ยในระยะสั้นและในระยะยาวจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือคงที่นั้นเอง
4. เส้นผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นแล้วลดลง
 (Humped Yield Curve)  คือเส้นของผลตอบแทนในระยะสั้นในอนาคตจะสูงขึ้นและจะลดลงในเวลาต่อมา  และเส้นของผลตอบแทนในระยะยาวจะสูงขึ้นในเวลาต่อมา

10. ท่านคิดว่าผู้ลงทุนในธุรกิจไม่ควรขยายการลงทุนเพราะเหตุใด
ตอบ   การจะเริ่มต้นทำธุรกิจใดผู้ลงทุนจะต้องใช้ความพยายามในการศึกษาหารายละเอียดเกี่ยวกับการลงทุนให้รอบครอบเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการตัดสินใจลงทุน การลงทุนโดยไม่ทำการศึกษาเรื่องที่จะลงทุนให้ละเอียดรอบครอบก็อาจเกิดความผิดพลาดขึ้นได้ ซึ่งหากเกิดขึ้นก็ยากที่จะแก้ไข บางรายไม่ศึกษาให้ดีลงทุนไปแล้วก่อให้เกิดผลกระทบต่อธุรกิจที่ทำอยู่แล้วก็มี เพราะเมื่อลงทุนไปแล้วจะเลิกก็เสียดายเงินที่ลงทุนไป จึงต้องพยายามดำเนินการต่อไปโดยการนำเงินจากธุรกิจในเครือมาช่วยหรือนำเงินที่เก็บสะสมไว้มาใช้เพื่อพยุงธุรกิจด้วยความหวังว่าในที่สุดจะดีขึ้น ซึ่งกว่าจะตัดสินใจว่าไปไม่ไหวแล้ว ต้องเลิกกิจการที่ลงทุนไป ก็ทำเอาธุรกิจที่ทำอยู่มีอันต้องประสบปัญหา ซึ่งมีอยู่ไม่น้อย

ข้อ 9. เส้นผลตอบแทนมีลักษณะใดบ้างแต่ละลักษณะอธิบายผลตอบแทนที่แตกต่างกันอย่างไรบ้าง

ตอบ ลักษณะเส้นผลตอบแทน(common shapes of yield curves)มีลักษณะ ดังนี้

1.เส้นผลตอบแทนเพิ่มขึ้น(asending yield curves)คือค่าเฉลี่ยของอัตราปัจจุบันกับอัตราระยะสั้นในอนาคตจะอยู่เหนืออัตราปัจจุบัน

2.เส้นผลตอบแทนลดลง(descending yield curves)คืออัตราผลตอบแทนระยะยาวจะอยู่ต่ำกว่าอัตราระยะสั้นของปัจจุบัน

3.เส้นผลตอบแทนคงที่(flat yield curves)คืออัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในอนาคตไม่เปลี่ยนแปลง

4.เส้นผลตอบแทนเพิ่มขึ้นแล้วลดลง (humped yield curves)คืออัตราผลตอบแทนระยะสั้นในอนาคตจะสูงขึ้นก่อนและลดลงเป็นอย่างมากภายหลัง

ข้อ 10.ท่านคิดว่าผู้ลงทุนในธุรกิจไม่ควรขยายการลงทุนเพราะเหตุใด

ตอบ เพราะต้องปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจ เช่น สภาพเศรษฐกิจ  การเมืองรัฐบาล ตลาดหลักทรัพย์ ความผันผวนของเงินตราต่างประเทศ ประชากร สภาพแวดล้อมค่าครองชีพสูง รายได้น้อย  การว่างงาน เป็นต้น ซึ่งอาจทำให้ประชาชนไม่มีอำนาจซื้อหรือซื้อแค่สิ่งที่จำเป็น หากเป็นเช่นนั้น กิจการอาจมีกำไรเลยก็เป็นได้.

นางสาวนิสาชล สิงหะ รหัส 55127326079

9.เส้นผลตอบแทนมีลักษณะใดบ้าง แต่ละลักษณะอธิบายผลตอบแทนที่แตกต่างกันอย่างไรบ้าง

1. เส้นผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ( ascending yield curve )  มีอัตราค่าเฉลี่ยปัจจุบันที่สูงกว่า อัตราระยะสั้นทำให้เส้นผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 

2. เส้นผลตอบแทนลดลง (descending  yield curve) คือเส้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในอนาคตจะต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบัน
3.เส้นผลตอบแทนคงที่ (flat yield curve)  คือเส้นของอัตราดอกเบี้ยในระยะสั้นและในระยะยาวจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือคงที่นั้นเอง

4. เส้นผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นแล้วลดลง (Humped Yield Curve)  คือเส้นของผลตอบแทนในระยะสั้นในอนาคตจะสูงขึ้นและจะลดลงในเวลาต่อมา  และเส้นของผลตอบแทนในระยะยาวจะสูงขึ้นในเวลาต่อมา

10. ท่านคิดว่าผู้ลงทุนในธุรกิจไม่ควรขยายการลงทุนเพราะเหตุใด

 เพราะ  หากผู้ลงทุนในธุรกิจไม่มีพื้นฐานความรู้ด้านการจัดการความเสี่ยงก็จะส่งผลต่อธุรกิจซึ่งอาจจะส่งผลในระยะยาว หรือ ระยะสั้นก็ได้ เราสามารถแบ่งความเสี่ยงออกได้เป็น 4 ประเภท คือความเสี่ยงทางธุรกิจ (Business Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงความสามารถในทำกำไรของบริษัท อันเป็นเหตุให้ผู้ลงทุนต้องสูญเสียรายได้ หรือเงินลงทุน ประกอบด้วย ความเสี่ยงทางการเงิน ความเสี่ยงด้านการบริหารจัดการ และความเสี่ยงในระดับอุตสาหกรรมความเสี่ยงทางตลาด (Market Risk) คือ การสูญเสียเงินลงทุนอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงราคาของหลักทรัพย์ที่ลงทุน ซึ่งเป็นไปตามอุปสงค์ และอุปทานของตลาดความเสี่ยงในอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงในอัตราดอกเบี้ยในตลาดความเสี่ยงจากอำนาจซื้อ (Purchasing Power Risk) คือ ความเสี่ยงทีเกิดจากอำนาจซื้อของเงินที่ลดลง ซึ่งสาเหตุสำคัญที่ส่งผลต่ออำนาจซื้อ คือ ภาวะเงินเฟ้อ ความเสี่ยง สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ ความเสี่ยงที่เป็นระบบ และความเสี่ยงที่ไม่เป็นระบบความเสี่ยงที่เป็นระบบ (Systematic Risk) - เป็นความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อตลาดทั้งระบบ มักจะเรียกอีกชื่อว่า Market Risk หรือ Undiversificable Risk เป็นความเสี่ยงที่ไม่สามารถทำให้ลดลงได้จากการกระจายการลงทุน

แบบฝึกหัดบทที่ 4 

9. เส้นผลตอบแทนมีลักษณะใดบ้าง แต่ละลักษณะอธิบายผลตอบแทนที่แตกต่างกันอย่างไรบ้าง

    ตอบ  เส้นผลตอบแทนมี 4 ลักษณะ มีดังนี้

    1. เส้นผลตอบแทนเพิ่มขึ้น(ascending yield curve)  มีลักษณะเป็นเส้นลาดชันขึ้นจากซ้ายไปขวา  คือ Yield ของพันธบัตรที่มีอายุคงเหลือสั้นจะต่ำกว่า Yield ของพันธบัตรที่มีอายุคงเหลือยาว  แสดงให้เห็นว่า ผู้ลงทุนต้องการผลตอบแทนที่สูงขึ้นเมื่อลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอายุยาวขึ้น

    2. เส้นผลตอบแทนลดลง(descending yield curve)  มีลักษณะเป็นเส้นกราฟลาดลงจากซ้ายไปขวา พันธบัตรที่มีอายุคงเหลือยาวจะมีอัตราผลตอบแทนต่ำกว่าพันธบัตรที่มีอายุสั้น ซึ่ง Yield curve ลักษณะนี้จะพบเมื่อตลาดคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยในตลาดมีแนวโน้มลดลง

    3. เส้นผลตอบแทนคงที่(flat yield curve)  มีลักษณะเป็นเส้นราบขนานกับแกนนอน คาดคะเนว่าอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในอนาคตไม่เปลี่ยนแปลงหรือคงที่

    4. เส้นผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นแล้วลดลง(humped yield curve)  มีลักษณะเป็นเส้นโป่งขึ้นในระยะแรกและจะทอดลงในเวลาต่อมา คาดคะเนว่าอัตราผลตอบแทนระยะสั้นในอนาคตจะสูงขึ้นก่อนและลดลงมาเป็นอย่างมากภายหลัง

10. ท่านคิดว่าผู้ลงทุนในธุรกิจไม่ควรขยายการลงทุนเพราะเหตุใดบ้าง

      ตอบ 1.  ปัญหาเรื่องแรงงาน   ขาดแคลนแรงงาน  แรงงานไม่มีคุณภาพ ปัญหาแรงงานต่างด้าว

              2. ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม  มลพิษของฝุ่นละออง ทะเลเสื่อมโทรม ควรมีมาตรการในการควบคุมการใช้ทรัพยากรในพื้นที่ หรือการปลูกจิตสำนึกช่วยกันดูแลสิ่งแวดล้อม ให้สถานประกอบการใช้เทคโนโลยีสะอาด

              3. การบริการของหน่วยงานภาครัฐ  ความล่าช้าในการให้บริการ มีขั้นตอนมาก บริการไม่ทั่วถึงc]tแหล่งเงินทุนของภาครัฐให้วงเงินกู้น้อย และเข้มงวดกับผู้ประกอบการธุรกิจรายใหม่

              4. การแข่งขันของผู้ประกอบการในธุรกิจเดียวกัน   มีภาวการณ์แข่งขันทางธุรกิจสูง ผู้ประกอบการขาดความรู้ทักษะการประกอบธุรกิจ

ข้อ 9. เส้นผลตอบแทนมีลักษณะใดบ้างแต่ละลักษณะอธิบายผลตอบแทนที่แตกต่างกันอย่างไรบ้าง

ลักษณะเส้นผลตอบแทน(common shapes of yield curves)มีลักษณะ 
1.เส้นผลตอบแทนเพิ่มขึ้น(asending yield curves)  คือค่าเฉลี่ยของอัตราปัจจุบันกับอัตราระยะสั้นในอนาคตจะอยู่เหนืออัตราปัจจุบัน เป็นเส้นลาดชันขึ้นจากซ้ายไปขวา 
2.เส้นผลตอบแทนลดลง(descending yield curves)  คืออัตราผลตอบแทนระยะยาวจะอยู่ต่ำกว่าอัตราระยะสั้นของปัจจุบัน  เป็นเส้นกราฟลาดลงจากซ้ายไปขวา
3.เส้นผลตอบแทนคงที่(flat yield curves)  คืออัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในอนาคตไม่เปลี่ยนแปลง หรือ  เป็นลักษณะของอัตราผลตอบแทนที่เท่ากันทุกช่วง ดังนั้น จะเป็นเส้นราบขนานกับแกนนอน
4.เส้นผลตอบแทนเพิ่มขึ้นแล้วลดลง (humped yield curves)  คืออัตราผลตอบแทนระยะสั้นในอนาคตจะสูงขึ้นก่อนและลดลงเป็นอย่างมากภายหลัง เป็นเส้นโป่งในระยะแรกและจะทอดลงมา

ข้อ 10.ท่านคิดว่าผู้ลงทุนในธุรกิจไม่ควรขยายการลงทุนเพราะเหตุใด
ตอบ เพราะ ถ้าหากผู้ลงทุนต้องการขยายการลงทุน ถือว่าความเสี่ยงของเงินทุนหรือหลักทรัพย์ต่างๆของผู้ลงทุนก็ยิ่งมีมากขึ้น เนื่องมาจาก ความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องของการซื้อขาย                                 ความเสี่ยงทางตลาด การสูญเสียเงินลงทุนอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงราคาของหลักทรัพย์ที่ลงทุน ซึ่งเป็นไปตามอุปสงค์ และอุปทานของตลาด และความเสี่ยงทางธุรกิจ  เกิดจากการเปลี่ยนแปลงความสามารถในทำกำไรของบริษัท เป็นเหตุให้ผู้ลงทุนต้องสูญเสียรายได้ หรือเงินลงทุน ประกอบด้วย ความเสี่ยงทางการเงิน ความเสี่ยงด้านการบริหารจัดการ จึงเป็นเหตุผลผู้ลงทุนในธุรกิจไม่ควรขยายการลงทุน
ประภาพร เหลือถนอม 55127326047

แบบฝึกหักบทที่4

 9. เส้นผลตอบแทนมีลักษณะใดบ้าง แต่ละลักษณะอธิบายผลตอบแทนที่แตกต่างกันอย่างไรบ้าง

ตอบมี 4 ลักษณะ ได้แก่

1.เส้นผลตอบแทนเพิ่มขึ้น Ascending yield curve มีลักษณะเป็นเส้นลาดชันขึ้นจากซ้ายไปขวา  คือ Yield ของพันธบัตรที่มีอายุคงเหลือสั้นจะต่ำกว่า Yield ของพันธบัตรที่มีอายุคงเหลือยาว  แสดงให้เห็นว่า ผู้ลงทุนต้องการผลตอบแทนที่สูงขึ้นเมื่อลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอายุยาวขึ้น 

2. เส้นผลตอบแทนลดลง Descending yield curve เป็นเส้นกราฟลาดลงจากซ้ายไปขวา พันธบัตรที่มีอายุคงเหลือยาวจะมีอัตราผลตอบแทนต่ำกว่าพันธบัตรที่มีอายุสั้น ซึ่ง Yield curve ลักษณะนี้จะพบเมื่อตลาดคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยในตลาดมีแนวโน้มลดลง 

3. เส้นผลตอบแทนคงที่ Flat yield curve เป็นลักษณะของอัตราผลตอบแทนที่เท่ากันทุกช่วงอายุของตราสารหนี้ 

4.เส้นผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นและลดลง Humped yield curve เส้นจะลาดชันขึ้นจากซ้ายไปขวาและวกต่ำลงเมื่ออายุคงเหลือของตราสารหนี้เพิ่มขึ้น 

10. ท่านคิดว่าผู้ลงทุนในธุรกิจไม่ควรขยายการลงทุนเพราะเหตุใดบ้าง

ตอบเพราะถ้าผู้ลงทุนในธุรกิจไม่มีแผนการที่จะจัดการกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นก็จะทำให้ส่งผลกระทบในการลงทุนระยะยาวความเสี่ยงต่อการขาดทุนก็คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากไม่สามารถชำระดอกเบี้ยและเงินต้นตามเวลาที่กำหนด  ความเสี่ยงทางการตลาด ความเสี่ยงในลักษณะนี้เกิดจากอัตราดอกเบี้ยในตลาดสูงขึ้นหรือลดลงมีผลทำให้มูลค่าของหลักทรัพย์เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางตรงกันข้าม ต้องคำนึงถึงสภาพคล่องของหลักทรัพย์เพราะมีส่วนในการกำหนดอัตราดอกเบี้ยอย่างมาก

ทีปกา ชวาลวิทย์ 55127326075

9. เส้นผลตอบแทนมีลักษณะใดบ้าง แต่ละลักษณะอธิบายผลตอบแทนที่ต่างกันอย่างไร

ตอบ 

1. เส้นผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ( ascending yield curve )  มีอัตราค่าเฉลี่ยปัจจุบันที่สูงกว่า อัตราระยะสั้นทำให้เส้นผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 

 2.  เส้นผลตอบแทนลดลง ( descending yield curve )  มีอัตราค่าเฉลี่ยปัจจุบันที่ต่ำกว่า อัตราระยะสั้นทำให้เส้นผลตอบแทนลดลง       

 3. เส้นผลตอบแทนคงที่ ( flat yield curve )    ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าเฉลี่ยปัจจุบันและ อัตราระยะสั้นทำให้เส้นผลตอบแทนยังคงที่     

 4. เส้นผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นแล้วลดลง      ( humped yield curve )   อัตราผลตอบแทนระยะสั้นในอนาคตจะสูงขึ้นก่อนและลดลงเป็นอย่างมากภายหลัง ทำให้ผลตอบแทนขึ้นแล้วลดลง       

                   

ลักษณะเท่าไปของเส้นผลตอบแทน                                                                  

10. ท่านคิดว่าผู้ลงทุนในธุรกิจไม่ควรขยายการลงทุนเพราะเหตุใด

ตอบ 

ไม่ควรขยายการลงทุนเพราะสภาวะเศรษฐกิจกำลังถดถอย และที่สำคัญ ผลกำไรที่จะได้รับต่ำ สภาพคล่องต่ำ และความเสี่ยงสูงกล่าวคือ

ความเสี่ยงทางธุรกิจ (Business Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงความสามารถในทำกำไรของบริษัท อันเป็นเหตุให้ผู้ลงทุนต้องสูญเสียรายได้ หรือเงินลงทุน ประกอบด้วย ความเสี่ยงทางการเงิน ความเสี่ยงด้านการบริหารจัดการ และความเสี่ยงในระดับอุตสาหกรรม

ความเสี่ยงทางตลาด (Market Risk) คือ การสูญเสียเงินลงทุนอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงราคาของหลักทรัพย์ที่ลงทุน ซึ่งเป็นไปตามอุปสงค์ และอุปทานของตลาด

ความเสี่ยงในอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงในอัตราดอกเบี้ยในตลาด

ความเสี่ยงจากอำนาจซื้อ (Purchasing Power Risk) คือ ความเสี่ยงทีเกิดจากอำนาจซื้อของเงินที่ลดลง ซึ่งสาเหตุสำคัญที่ส่งผลต่ออำนาจซื้อ คือ ภาวะเงินเฟ้อ


นายโยธิน  ตาคำ  รหัสนักศึกษา 55127326081  การเงินการธนาคาร หมู่เรียน 02

9.เส้นผลตอบแทนมีลักษณะใดบ้าง แต่ละลักษณะอธิบายผลตอบแทนที่ต่างกันอย่างไรบ้าง

ตอบ  1)เส้นผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น (ascending yield curve) อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในอนาคตจะสูงขึ้น อัตราผลตอบแทนระยะยาวคือค่าเฉลี่ยของอัตราปัจจุบันกับอัตราระยะสั้นในอนาคตนั้นจะอยู่เหนืออัตราปัจจุบัน ทำให้เส้นผลตอบแทนทอดขึ้นจากซ้ายไปขวา

        2)เส้นผลตอบแทนลดลง (descending yield curve) อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในอนาคตลดลง อัตราผลตอบแทนระยะยาวจะอยู่ต่ำกว่าอัตราระยะสั้นปัจจุบัน ทำให้เส้นผลตอบแทนทอดลงจากซ้ายไปขวา

        3)เส้นผลตอบแทนคงที่ (flat yield curve) อัตราดอกเบี้ยในระยะสั้นไม่เปลี่ยนแปลง ทำให้เส้นผลตอบแทนขนานกับแกนนอน

        4)เส้นผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นแล้วลดลง (humped yield curve) อัตราผลตอบแทนในระยะสั้นจะสูงขึ้นก่อนและลดลงอย่างมากภายหลัง ทำให้เส้นผลตอบเป็นเส้นโป่งขึ้นในระยะแรกและทอดลงมาในเวลาต่อมา

10.ท่านคิดว่าผู้ลงทุนในธุรกิจไม่ควรขยายการลงทุนเพราะเหตุใด

ตอบ เพราะการลงทุนนั้นอาจต้องมีความเสี่ยงสูงทั้งความเสี่ยงทางการเงิน ความเสี่ยงทางด้านการบริหารจัดการและความเสี่ยงในระดับอุตสาหกรรม นอกจากจะมีความเสี่ยงต่างๆแล้ว ยังมีในส่วนของอุปสงค์และอุปทานของตลาดด้วย ซึ่งทั้งอุปสงค์และอุปทานของตลาดก็สามารถทำให้ผู้ที่ลงทุนทำธุรกิจมีความเสี่ยงต่อการลงทุนและยังต้องคำนึงถึงว่าลงทุนแล้วจะได้ผลตอบแทนเป็นกำไรหรือขาดทุน ถ้าขาดทุนแน่นอนว่าธุรกิจที่ทำอยุ่ย่อมขยายกิจการไม่ได้แน่ๆ

 9. เส้นผลตอบแทนมีลักษณะใดบ้าง แต่ละลักษณะอธิบายผลตอบแทนที่แตกต่างกันอย่างไรบ้า'

ตอบ

1. เส้นผลตอบแทนเพิ่มขึ้น (ascending yield curve) จะมีลักษณะโค้งขึ้น (Upward sloping) ซึ่งแสดงให้เห็นว่า อัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ระยะยาวจะสูงกว่าอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ระยะสั้น Yield Curve ในลักษณะนี้เป็นแบบที่พบบ่อย

2. เส้นผลตอบแทนลดลง (descending yield curve) มีลักษณะลาดลงจากซ้ายไปขวา ( Downward sloping) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ระยะสั้นจะสูงกว่าอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ระยะยาว Yield Curve ในลักษณะนี้จะพบในภาวะที่ตลาดคาดการณ์ว่าอัตราผลตอบแทนมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ

3. เส้นผลตอบแทนคงที่ (flat yield curve) แสดงถึงอัตราผลตอบแทนที่เท่ากันในทุกช่วงอายุคงเหลือของตราสารหนี้

4. เส้นผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นแล้วลดลง (Humped Yield Curve) แสดงถึงอัตราผลตอบแทนจะเพิ่มขึ้นตามอายุคงเหลือของตราสารหนี้จนถึงระดับหนึ่ง จากนั้นจะลดลงเมื่ออายุของตราสารหนี้เพิ่มขึ้น

10.ท่านคิดว่าผู้ลงทุนในธุรกิจไม่ควรขยายการลงทุนเพราะเหตุใด

ตอบ อันนี้ต้องขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยต่างๆของสภาวะเศรษฐกิจในช่วงเวลาต่าง ปัจจัยต่างๆประกอบด้วย

1.ความเสี่ยงทางธุรกิจ (Business Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงความสามารถในทำกำไรของบริษัท อันเป็นเหตุให้ผู้ลงทุนต้องสูญเสียรายได้ หรือเงินลงทุน ประกอบด้วย ความเสี่ยงทางการเงิน ความเสี่ยงด้านการบริหารจัดการ และความเสี่ยงในระดับอุตสาหกรรม

2.ความเสี่ยงทางตลาด (Market Risk) คือ การสูญเสียเงินลงทุนอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงราคาของหลักทรัพย์ที่ลงทุน ซึ่งเป็นไปตามอุปสงค์ และอุปทานของตลาด

3.ความเสี่ยงในอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงในอัตราดอกเบี้ยในตลาด

4.ความเสี่ยงจากอำนาจซื้อ (Purchasing Power Risk) คือ ความเสี่ยงทีเกิดจากอำนาจซื้อของเงินที่ลดลง ซึ่งสาเหตุสำคัญที่ส่งผลต่ออำนาจซื้อ คือ ภาวะเงินเฟ้อ

คำถามประจำบทที่ 4


9. เส้นผลตอบแทนมีลักษณะใดบ้าง
แต่ละลักษณะอธิบายผลตอบแทนที่ต่างกันอย่างไร




  1. แบบปกติ
         หรือ Normal Yield Curve
    จะมีลักษณะโค้งขึ้นแสดงถึงอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ระยะยาวสูงกว่าตราสารหนี้ระยะสั้นซึ่งเส้นอัตราผลตอบแทนแบบนี้เป็นแบบที่พบบ่อยที่สุด

  2. แบบลาดลง
         หรือ Downward Sloping Yield Curve
    จะมีลักษณะลาดลงจากซ้ายไปขวาแสดงถึงอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ระยะยาวต่ำกว่าอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ระยะสั้นเส้นอัตราผลตอบแทนลักษณะนี้จะพบในสภาวะที่ตลาดคาดการณ์ว่าอัตราผลตอบแทนมีแนวโน้มลดลงเรื่อย
         ๆ

  3. แบบหลังเขา
         หรือ Hump Yield Curve
    แสดงถึง อัตราผลตอบแทนจะเพิ่มขึ้นตามอายุคงเหลือของตราสารหนี้จนถึงระดับหนึ่งนะครับ
         และจากนั้นก็จะลดลงเมื่ออายุของตราสารหนี้เพิ่มขึ้น

  4. แบบราบ
         หรือ Flat Yield Curve
    แสดงถึงอัตราผลตอบแทนที่เท่ากันในทุกช่วงอายุคงเหลือของตราสารหนี้


10. ท่านคิดว่าผู้ลงทุนในธุรกิจไม่ควรขยายการลงทุนเพราะเหตุใด



ความเสี่ยงของเงินทุนหรือหลักทรัพย์ต่างๆของผู้ลงทุนก็ยิ่งมีมากขึ้น
เนื่องมาจาก ความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องของการซื้อขาย ความเสี่ยงทางตลาด
การสูญเสียเงินลงทุนอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงราคาของหลักทรัพย์ที่ลงทุนปัญหาเรื่องแรงงาน  ขาดแคลนแรงงาน  แรงงานไม่มีคุณภาพ ปัญหาแรงงานต่างด้าวเพราะต้องปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจ
เช่น สภาพเศรษฐกิจ  การเมืองรัฐบาล
ตลาดหลักทรัพย์ ความผันผวนของเงินตราต่างประเทศ ประชากร สภาพแวดล้อมค่าครองชีพสูง
รายได้น้อย  การว่างงาน เป็นต้น





คำถามประจำบทที่ 4


9. เส้นผลตอบแทนมีลักษณะใดบ้าง
แต่ละลักษณะอธิบายผลตอบแทนที่ต่างกันอย่างไร



แบบปกติ หรือ
Normal Yield Curve
จะมีลักษณะโค้งขึ้นแสดงถึงอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ระยะยาวสูงกว่าตราสารหนี้ระยะสั้นซึ่งเส้นอัตราผลตอบแทนแบบนี้เป็นแบบที่พบบ่อยที่สุด



แบบลาดลง หรือ
Downward Sloping Yield Curve
จะมีลักษณะลาดลงจากซ้ายไปขวาแสดงถึงอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ระยะยาวต่ำกว่าอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ระยะสั้นเส้นอัตราผลตอบแทนลักษณะนี้จะพบในสภาวะที่ตลาดคาดการณ์ว่าอัตราผลตอบแทนมีแนวโน้มลดลงเรื่อย



แบบหลังเขา
หรือ Hump Yield Curve
แสดงถึง อัตราผลตอบแทนจะเพิ่มขึ้นตามอายุคงเหลือของตราสารหนี้จนถึงระดับหนึ่งนะครับ
และจากนั้นก็จะลดลงเมื่ออายุของตราสารหนี้เพิ่มขึ้น



แบบราบ หรือ
Flat Yield Curve
แสดงถึงอัตราผลตอบแทนที่เท่ากันในทุกช่วงอายุคงเหลือของตราสารหนี้


10. ท่านคิดว่าผู้ลงทุนในธุรกิจไม่ควรขยายการลงทุนเพราะเหตุใด



ความเสี่ยงของเงินทุนหรือหลักทรัพย์ต่างๆของผู้ลงทุนก็ยิ่งมีมากขึ้น
เนื่องมาจาก ความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องของการซื้อขาย ความเสี่ยงทางตลาด
การสูญเสียเงินลงทุนอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงราคาของหลักทรัพย์ที่ลงทุนปัญหาเรื่องแรงงาน  ขาดแคลนแรงงาน  แรงงานไม่มีคุณภาพ ปัญหาแรงงานต่างด้าวเพราะต้องปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจ
เช่น สภาพเศรษฐกิจ  การเมืองรัฐบาล
ตลาดหลักทรัพย์ ความผันผวนของเงินตราต่างประเทศ ประชากร สภาพแวดล้อมค่าครองชีพสูง
รายได้น้อย  การว่างงาน เป็นต้น



ข้อ 9 เส้นอัตราผลตอบแทนมีลักษณะใดบ้าง แต่ละลักษณะอธิบายผลตอบแทนที่แตกต่างกันอย่างไร

มี 4 ลักษณะดังนี้  1.เส้นผลตอบแทนเพิ่มขึ้น Ascending yield curve 2. เส้นผลตอบแทนลดลง Descending yield curve 3. เส้นผลตอบแทนคงที่ Flat yield curve  4.เส้นผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นและลดลง Humped yield curve 

1)เส้นผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น (ascending yield curve) อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในอนาคตจะสูงขึ้น อัตราผลตอบแทนระยะยาวคือค่าเฉลี่ยของอัตราปัจจุบันกับอัตราระยะสั้นในอนาคตนั้นจะอยู่เหนืออัตราปัจจุบัน ทำให้เส้นผลตอบแทนทอดขึ้นจากซ้ายไปขวา

 2)เส้นผลตอบแทนลดลง (descending yield curve) อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในอนาคตลดลง อัตราผลตอบแทนระยะยาวจะอยู่ต่ำกว่าอัตราระยะสั้นปัจจุบัน ทำให้เส้นผลตอบแทนทอดลงจากซ้ายไปขวา

  3)เส้นผลตอบแทนคงที่ (flat yield curve) อัตราดอกเบี้ยในระยะสั้นไม่เปลี่ยนแปลง ทำให้เส้นผลตอบแทนขนานกับแกนนอน

  4)เส้นผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นแล้วลดลง (humped yield curve) อัตราผลตอบแทนในระยะสั้นจะสูงขึ้นก่อนและลดลงอย่างมากภายหลัง ทำให้เส้นผลตอบเป็นเส้นโป่งขึ้นในระยะแรกและทอดลงมาในเวลาต่อมา

ข้อ 10 ท่านคิดว่าผู้ลงทุนในธุรกิจไม่ควรขยายการลงทุนเพราะเหตุใดบ้าง

1.ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ

2.ภาวะที่เงินสดขาดสภาพคล่อง

3.อัตราผลตอบแทนที่ไม่คุ้มค่าแก่การลงทุน

4.กำลังอยู่ในช่วงภัยภิบัติทางธรรมชาติ

5.ประเทศกำลังเกิดปัญหาทางด้านการเมือง

นางสาวสุภาลักษณ์  นินทะสิงห์ 55127326067

 9. เส้นผลตอบแทนมีลักษณะใดบ้าง แต่ละลักษณะอธิบายผลตอบแทนที่ต่างกันอย่างไร

ตอบ

1. ส้นผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ( ascending yield curve )  มีอัตราค่าเฉลี่ยปัจจุบันที่สูงกว่า อัตราระยะสั้นทำให้เส้นผลตอบแทนเพิ่มขึ้น

  2.  เส้นผลตอบแทนลดลง ( descending yield curve )  มีอัตราค่าเฉลี่ยปัจจุบันที่ต่ำกว่า อัตราระยะสั้นทำให้เส้นผลตอบแทนลดลง     

  3. เส้นผลตอบแทนคงที่ ( flat yield curve )    ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าเฉลี่ยปัจจุบันและ อัตราระยะสั้นทำให้เส้นผลตอบแทนยังคงที่     

4. เส้นผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นแล้วลดลง      ( humped yield curve )   อัตราผลตอบแทนระยะสั้นในอนาคตจะสูงขึ้นก่อนและลดลงเป็นอย่างมากภายหลัง ทำให้ผลตอบแทนขึ้นแล้วลดลง              

 

10. ท่านคิดว่าผู้ลงทุนในธุรกิจไม่ควรขยายการลงทุนเพราะเหตุใด
ตอบ

1.ความเสี่ยงทางธุรกิจ (Business Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงความสามารถในทำกำไรของบริษัท อันเป็นเหตุให้ผู้ลงทุนต้องสูญเสียรายได้ หรือเงินลงทุน ประกอบด้วย ความเสี่ยงทางการเงิน ความเสี่ยงด้านการบริหารจัดการ และความเสี่ยงในระดับอุตสาหกรรม

2.ความเสี่ยงทางตลาด (Market Risk) คือ การสูญเสียเงินลงทุนอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงราคาของหลักทรัพย์ที่ลงทุน ซึ่งเป็นไปตามอุปสงค์ และอุปทานของตลาด

3.ความเสี่ยงในอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงในอัตราดอกเบี้ยในตลาด

4.ความเสี่ยงจากอำนาจซื้อ (Purchasing Power Risk) คือ ความเสี่ยงทีเกิดจากอำนาจซื้อของเงินที่ลดลง ซึ่งสาเหตุสำคัญที่ส่งผลต่ออำนาจซื้อ คือ ภาวะเงินเฟ้อ

                                                                          

9. เส้นผลตอบแทนมีลักษณะใดบ้าง แต่ละลักษณะอธิบายผลตอบแทนที่ต่างกันอย่างไร

ตอบ  เส้นผลตอบแทนมี 4 ลักษณะ ดังนี้

  1. เส้นผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ( ascending yield curve )มีอัตราค่าเฉลี่ยปัจจุบันที่สูงกว่า อัตราระยะสั้นทำให้เส้นผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 

  2.  เส้นผลตอบแทนลดลง ( descending yield curve )มีอัตราค่าเฉลี่ยปัจจุบันที่ต่ำกว่า อัตราระยะสั้นทำให้เส้นผลตอบแทนลดลง 

   3. เส้นผลตอบแทนคงที่ ( flat yield curve )ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าเฉลี่ยปัจจุบันและ อัตราระยะสั้นทำให้เส้นผลตอบแทนยังคงที่  

   4. เส้นผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นแล้วลดลง( humped yield curve )อัตราผลตอบแทนระยะสั้นในอนาคตจะสูงขึ้นก่อนและลดลงเป็นอย่างมากภายหลัง ทำให้ผลตอบแทนขึ้นแล้วลดลง 

10.ท่านคิดว่าผู้ลงทุนในธุรกิจไม่ควรขยายการลงทุนเพราะเหตุใด

ตอบ เพราะอาจจะทำให้โอกาสหรือผลตอบแทนที่จะได้รับเบี่ยงเบนไปตามที่คาดหวังได้

โดยมีความเสี่ยงหลายๆด้าน ดังนี้

  - ความเสี่ยงทางธุรกิจ (Business Risk)คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงความสามารถในทำกำไรของบริษัท อันเป็นเหตุให้ผู้ลงทุนต้องสูญเสียรายได้ หรือเงินลงทุน ประกอบด้วย ความเสี่ยงทางการเงิน ความเสี่ยงด้านการบริหารจัดการ และความเสี่ยงในระดับอุตสาหกรรม

  -ความเสี่ยงทางตลาด(Market Risk)คือ การสูญเสียเงินลงทุนอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงราคาของหลักทรัพย์ที่ลงทุน ซึ่งเป็นไปตามอุปสงค์ และอุปทานของตลาด

  -ความเสี่ยงในอัตราดอกเบี้ย(Interest Rate Risk)คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงในอัตราดอกเบี้ยในตลาด

  -ความเสี่ยงจากอำนาจซื้อ(Purchasing Power Risk)คือ ความเสี่ยงทีเกิดจากอำนาจซื้อของเงินที่ลดลง ซึ่งสาเหตุสำคัญที่ส่งผลต่ออำนาจซื้อ คือ ภาวะเการแข่งขันในเชิง  -การตลาดของคู่แข่ง ที่มีผลกระทบต่อปริมาณการขาย และรายได้ของกิจการ

  -ความนิยมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป และมีผลกระทบต่อปริมาณการขายและรายได้ของกิจการ

  -ความเสียหายจากภัยพิบัติ ทำให้ขบวนการผลิตและการจัดการหยุดชะงัก และกระทบต่อกระแสรายได้ของกิจการ

9. เส้นผลตอบแทนมีลักษณะใดบ้าง แต่ละลักษณะอธิบายผลตบแทนที่ต่างกันอย่างไรบ้าง ?

1. เส้นผลตอบแทนเพิ่มขึ้น (ascending yield curve) คือเส้นของอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในอนาคตจะสูง แต่ในระยะยาวเส้นอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันจะต่ำกว่าในอนาคต
2. เส้นผลตอบแทนลดลง (descending  yield curve) คือเส้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในอนาคตจะต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบัน
3. เส้นผลตอบแทนคงที่ (flat yield curve)  คือเส้นของอัตราดอกเบี้ยในระยะสั้นและในระยะยาวจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือคงที่นั้นเอง
4. เส้นผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นแล้วลดลง (Humped Yield Curve)  คือเส้นของผลตอบแทนในระยะสั้นในอนาคตจะสูงขึ้นและจะลดลงในเวลาต่อมา  และเส้นของผลตอบแทนในระยะยาวจะสูงขึ้นในเวลาต่อมา

20. ท่านคิดว่าผู้ลงทุนในธุรกิจไม่ควรขยายการลงทุนเพราะเหตุใดบ้าง ?

  ผู้ลงทุนไม่ควรขยายการลงทุน เพราะอาจทำให้เกิดความเสี่ยงเนื่องจาก ภาวะทางด้านการค้า การลงทุน ทางด้านเศรษฐกิจ ฯลฯ ไม่ดี สิ่งเหล่านี้อาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการลงทุนของผู้ลงทุนในเศรษฐกิจได้ และสิ่งที่ผู้ลงทุนไม่ควรที่จะขยายการลงทุนเลยก็คือ บริษัทของผู้ลงทุนนั้นเกิดภาวะตกต่ำลง ยิ่งถ้าผู้ลงทุนยังขยายธุรกิจไปโดยไม่ดูภาวะการเงินของบริษัทตนเองจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการถูกปิดธุรกิจได้

 9. เส้นผลตอบแทนมีลักษณะใดบ้าง แต่ละลักษณะอธิบายผลตอบแทนที่แตกต่างกันอย่างไรบ้าง

ตอบ 1.เส้นผลตอบแทนเพิ่มขึ้น (ascending yield curve) จะมีลักษณะโค้งขึ้น (Upward sloping) ซึ่งแสดงให้เห็นว่า อัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ระยะยาวจะสูงกว่าอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ระยะสั้น Yield Curve ในลักษณะนี้เป็นแบบที่พบบ่อย

2.เส้นผลตอบแทนลดลง (descending yield curve)   มีลักษณะลาดลงจากซ้ายไปขวา ( ((999-0--( ( (Downward sloping) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ระยะสั้นจะสูงกว่าอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ระยะยาว Yield Curve ในลักษณะนี้จะพบในภาวะที่ตลาดคาดการณ์ว่าอัตราผลตอบแทนมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ

3. เส้นผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นแล้วลดลง  (Humped Yield Curve) แสดงถึงอัตราผลตอบแทนจะเพิ่มขึ้นตามอายุคงเหลือของตราสารหนี้จนถึงระดับหนึ่ง จากนั้นจะลดลงเมื่ออายุของตราสารหนี้เพิ่มขึ้น

4.เส้นผลตอบแทนคงที่( Flat Yield Curve) แสดงถึงอัตราผลตอบแทนที่เท่ากันในทุกช่วงอายุคงเหลือของตราสารหนี้

10.ท่านคิดว่าผู้ลงทุนในธุรกิจไม่ควรขยายการลงทุนเพราะเหตุใด

ตอบ  ยังไม่ควรขยายการลงทุนเพราะสภาวะเศรษฐกิจกำลังถดถอย ผลกำไรที่จะได้รับต่ำ สภาพคล่องต่ำ ความเสี่ยงสูง  และความเสี่ยงยังมีความเสี่ยงทางธุรกิจ (Business Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงความสามารถในทำกำไรของบริษัท อันเป็นเหตุให้ผู้ลงทุนต้องสูญเสียรายได้ หรือเงินลงทุน ประกอบด้วย ความเสี่ยงทางการเงิน ความเสี่ยงด้านการบริหารจัดการ และความเสี่ยงในระดับอุตสาหกรรม

ความเสี่ยงทางตลาด (Market Risk) คือ การสูญเสียเงินลงทุนอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงราคาของหลักทรัพย์ที่ลงทุน ซึ่งเป็นไปตามอุปสงค์ และอุปทานของตลาด

ความเสี่ยงในอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงในอัตราดอกเบี้ยในตลาด

ความเสี่ยงจากอำนาจซื้อ (Purchasing Power Risk) คือ ความเสี่ยงทีเกิดจากอำนาจซื้อของเงินที่ลดลง  

9. เส้นผลตอบแทนมีลักษณะใดบ้าง แต่ละลักษณะอธิบายผลตอบแทนที่ต่างกันอย่างไรบ้าง

ตอบ

1)เส้นผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น (ascending yield curve)  ลักษณะนี้เป็นลักษณะพื้นฐานของเส้นอัตราผลตอบแทน ที่สามารถพบได้เป็นส่วนใหญ่ใน Growth phase (ภาวะที่เศรษฐกิจมีการเติบโตสูง) โครงสร้างลักษณะนี้จะชี้ว่าตลาดกำหนดอัตราผลตอบแทนให้แก่ตราสารที่มีอายุคงเหลือน้อยในระดับต่ำ และสูงขึ้นเมื่อตราสารมีอายุคงเหลือยาวนานขึ้น กล่าวคือ ผู้ลงทุนคาดหวังอัตราดอกเบี้ยที่สูงมากยิ่งขึ้นในอนาคต (Implied forward rate)

2)เส้นผลตอบแทนลดลง (descending yield curve) โครงสร้างลักษณะนี้พบได้ไม่บ่อยนัก กล่าวคืออัตราผลตอบแทนสำหรับตราสารที่มีอายุคงเหลือน้อยอยู่ในระดับที่สูงกว่าอัตราผลตอบแทนของตราสารที่มีอายุคงเหลือที่ยาวกว่า สาเหตุหลักมักเกิดจากการที่ผู้ออกตราสารประสบกับสภาวะการขาดสภาพคล่องนระยะสั้น ทำให้ความสามารถในการการทำกำไร และการ refinance ภาระหนี้ เป็นไปด้วยความยากลำบาก ส่งผลให้ปัจจัยความเสี่ยงในการลงทุนระยะสั้นสูงกว่าในระยะยาว ดังจะเห็นได้จากลักษณะที่ความชันของเส้นอัตราผลตอบแทน มีความชันลดลงจาก ซ้ายไปขวา

3)เส้นผลตอบแทนคงที่ (flat yield curve)เป็นโครงสร้างลักษณะแบนราบเกือบขนานไปกับแกนนอน กล่าวคือ อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรซึ่งมีอายุคงเหลือต่างๆ อยู่ในอัตราใกล้เคียงกันหรือเท่ากัน ลักษณะของเส้นอัตราผลตอบแทนลักษณะนี้มักเป็นผลมาจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (อัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตร 14วัน ในกรณีของประเทศไทย) อย่างต่อเนื่องโดยธนาคารกลาง (Tightening bias) นักลงทุนในตลาดตราสารหนี้จึงปรับเปลี่ยนการลงทุนจากตราสารระยะสั้นเป็นตราสารระยะยาวเพื่อหลีกเลี่ยง capital loss จากดอกเบี้ยที่ปรับตัวขึ้นอย่างรุนแรง (เนื่องจากดอกเบี้ยรับไม่มากพอที่จะชดเชย capital loss จากดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว)

4)เส้นผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นแล้วลดลง (humped yield curve)  เป็นโครงสร้างแบบโหนก กล่าวคืออัตราผลตอบแทนของพันธบัตรสูงขึ้นตามอายุคงเหลือ จนถึงระดับหนึ่ง (ประมาณ 2ปี) จากนั้นแม้อายุตราสารจะเพิ่มขึ้น อัตราผลตอบแทนจะลดลงเรื่อยๆ จนปรับตัวเข้าสู่ความลาดชันปรกติเมื่ออายุคงเหลือยาวขึ้น


10. ท่านคิดว่าผู้ลงทุนในธุรกิจไม่ควรขยายการลงทุนเพราะเหตุใดบ้าง

ตอบ

1.การขยายกิจการยังไม่ใช่เหตุผลเดียวที่จะทำให้กิจการประสบความสำเร็จมากขึ้น เพราะยังขึ้นอยู่กับตลาดที่เราเลือกด้วยว่ามีโอกาสทางธุรกิจที่มากพอที่เราจะเข้าไปแข่งขันหรือไม่

2.ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ทำให้นักธุรกิจหลายคนใช้การขยายกิจการเป็นตัวแก้ปัญหายอดขายที่คงที่ ซึ่งเป็นการแก้ไขที่ปลายเหตุ อีกทั้งการเริ่มต้นขยายกิจการจากรากฐานเดิมที่ไม่มั่นคงอาจส่งผลให้กิจการพังครืนลงมาด้วยปัญหาทั้งเก่าและใหม่ต่างทับถมกันเอง ดังนั้นเราควรแก้ปัญหาที่มีอยู่ให้หมดสิ้นเสียก่อน แล้วจึงค่อยพิจารณาว่าควรจะขยายกิจการดีหรือไม่

3.การส่งเสริมการตลาดวิธีต่างๆ ส่งผลให้ผู้นำตลาดส่วนใหญ่ได้กำไรไม่มากเท่าที่ควร

4.คิดล่วงหน้าก่อนว่าหากแผนธุรกิจที่วางไว้เกิดช้าหรือไม่เป็นไปตามแผนในเวลาที่คาดการณ์ไว้ เราจะสามารถประคองตัวให้อยู่รอดได้หรือไม่

5.ธุรกิจที่เติบโตขึ้นยังนำมาซึ่งค่าใช้จ่ายอีกมากมาย เช่น ค่าเครื่องจักร ค่าวัตถุดิบ ค่าแรงงาน ค่าสวัสดิการพนักงานต่างๆ และค่าสาธารณูปโภคที่เพิ่มมากขึ้นอย่าง ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าอินเตอร์เน็ต ค่าขนส่ง และการบริการอื่นๆ ซึ่งจำเป็นสำหรับกิจการ เราจึงไม่แน่ใจว่าผลกำไรที่จะได้รับจากการขยายกิจการสามารถครอบคลุมค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเหล่านี้ได้อย่างครบถ้วน


9.เส้นผลตอบแทนมีลักษณะใดบ้าง แต่ละลักษณะอธิบายผลตอบแทนที่ต่างกันอย่างไรบ้าง

1.เส้นผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในอนาคตจะสูงขึ้น อัตราผลตอบแทนระยะยาวคือ ค่าเฉลี่ยของอัตราปัจจุบันกับอัตราระยะสั้นในอนาคต นั้นจะอยู่เหนืออัตราปัจจุบัน

2.เส้นผลตอบแทนลดลง  อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในอนาคตจะลดลง อัตราผลตอบแทนระยะยาวจะอยู่ต่ำกว่าอัตราระยะสั้นของปัจจุบัน 

3.เส้นผลตอบแทนคงที่  อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในอนาคตไม่เปลี่ยนแปลงหรือคงที่ 

4.เส้นผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นแล้วลดลง อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในอนาคตจะสูงขึ้นก่อนและลดลงเป็นอย่างมากในภายหลัง

10. ท่านคิดว่าผู้ลงทุนในธุรกิจไม่ควรขยายการลงทุนเพราะเหตุใด

ต้องดูด้วยว่าในการที่้เราทำธุรกิจอยู่นั้นผลตอบแทน ณจุดนั้นมันเป็นเช่นไร ถ้าคิดว่าธุรกิจอาจจะเติบโตก็ควรขยาย แต่ถ้ายอดขาย ณ ตอนนั้นไม่เป็นไปตามตามเป้าหมายก็ควรหยุดความคิดไว้ก่อนรอให้พร้อมจริงๆแล้วถึงขยาย ในความคิดของดิฉันคืดว่าควรจะเสี่ยงเพราะยึดคติที่ว่าอยากได้ลูกเสือต้องเข้าถ้ำเสือ แล้วเราก็วางแผนกับการขยายให้รัดกุมที่สุดเพราะถ้าวันหนึ่งการที่เราลงทุนไปแล้วไม่เป็นไปตามที่เราคาดหวังก็จะได้ไม่ขาดทุนมากหรือขาดทุนน้อยที่สุดเท่าที่กิจการจะรับไหว การทำธุรกิก็เหมือนการเสี่ยงอย่างหนึ่งถ้าเรามีโอกาสแล้วไม่ทำ เป็นจะเป็นสิ่งที่น่าเสียดายที่สุด 

9. เส้นผลตอบแทนมีลักษณะใดบ้าง  แต่ละลักษณะอธิบายผลตอบแทนที่ต่างกันอย่างไรบ้าง

- เส้นผลตอบแทนเพิ่มขึ้น  ( ascending  yield  curve ) =  มีอัตราค่าเฉลี่ยปัจจุบันที่สูงกว่า  อัตราระยะสั้นทำให้เส้นผลตอบแทนเพิ่มขึ้น

-  เส้นผลตอบแทนลดลง  ( descending  yield curve ) =  เส้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในอนาคตจะต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบัน

-  เส้นผลตอบแทนคงที่  ( flat  yield  curve ) = เส้นผลตอบแทนในระยะสั้นและในระยะยาวจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง 

-  เส้นผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นแล้วลดลง ( humped  yield  curve ) = อัตราผลตอบแทนระยะสั้นในอนาคตจะสูงขึ้นก่อนและลดลงมาก  ทำให้เส้นผลตอบแทนขึ้นแล้วลดลง

10. ท่านคิดว่าผู้ลงทุนในธุรกิจไม่ควรขยายการลงทุนเพราะเหตุใดบ้าง

1. ปัญหาการปรับขึ้นค่าแรงงาน  ส่งผลให้ราคาวัตถุดิบและราคาพลังงานเพิ่มสูงขึ้น  แต่ไม่สามรถปรับราคาสินค้าขึ้นได้

2.  ปัญหาการแข่งขันของธุรกิจแบบเดียวกัน

3. ภาวะเศรษฐกิจโลก  เนื่องจากสถานการณ์การเงินในปัจจุบันมีการเปิดเสรีมากขึ้น มีความเชื่อมโยงถึงกันมากขึ้น ภาวะเศรษฐกิจการเงินในประเทศอื่น สามารถส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินและการลงทุนภายในประเทศได้ 


นางสาว ญานิชา  คำตัน  55127326073

คำถามประจำบทที่ 4  

9.เส้นผลตอบแทนมีลักษณะใดบ้าง แต่ละลักษณะอธิบายผลตอบแทนที่ต่างกันอย่างไรบ้าง

ตอบ เส้นผลตอบแทนมี 4 ลักษณะ ดังนี้

1. เส้นผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ( ascending yield curve )มีอัตราค่าเฉลี่ยปัจจุบันที่สูงกว่า อัตราระยะสั้นทำให้เส้นผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 

2. เส้นผลตอบแทนลดลง ( descending yield curve )มีอัตราค่าเฉลี่ยปัจจุบันที่ต่ำกว่า อัตราระยะสั้นทำให้เส้นผลตอบแทนลดลง 

3. เส้นผลตอบแทนคงที่ ( flat yield curve )ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าเฉลี่ยปัจจุบันและ อัตราระยะสั้นทำให้เส้นผลตอบแทนยังคงที่ 

4. เส้นผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นแล้วลดลง (humped yield curve )อัตราผลตอบแทนระยะสั้นในอนาคตจะสูงขึ้นก่อนและลดลงเป็นอย่างมากภายหลัง ทำให้ผลตอบแทนขึ้นแล้วลดลง 

10.ท่านคิดว่าผู้ลงทุนในธุรกิจไม่ควรขยายการลงทุนเพราะเหตุใดบ้าง

ตอบ เพราะตอนนี้ภาวะเศรษฐกิจไม่ค่อยดีไม่ควรจะขยายการลงทุนเพราะเศรษฐกิจกำลังถดถอยและที่สำคัญเกิดภาวะเงินเฟ้อ เงินฝืด และกำไรก็ต่ำลง และสภาพคล่องต่ำอีกด้วย ถ้าเราต้องการจะลงทุนอะไรก็ตามเราก็อยากได้ผลกำไรที่คุ้มค่าไม่ใช่การลงทุนที่ไม่คุ้มค่า

คำถามประจำบทที่ 4

ข้อ 9. เส้นผลตอบแทนมีลักษณะใดบ้างแต่ละลักษณะอธิบายผลตอบแทนที่ต่างกันอย่างไรบ้าง

ตอบ1. เส้นผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น (ascending yield curve) อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในอนาคตจะสูงขึ้น อัตราผลตอบแทนระยะยาวคือค่าเฉลี่ยของอัตราปัจจุบันกับอัตราระยะสั้นในอนาคตนั้นจะอยู่เหนืออัตราปัจจุบัน ทำให้เส้นผลตอบแทนทอดขึ้นจากซ้ายไปขวา

 2. เส้นผลตอบแทนลดลง (descending yield curve) อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในอนาคตลดลง อัตราผลตอบแทนระยะยาวจะอยู่ต่ำกว่าอัตราระยะสั้นปัจจุบัน ทำให้เส้นผลตอบแทนทอดลงจากซ้ายไปขวา

  3. เส้นผลตอบแทนคงที่ (flat yield curve) อัตราดอกเบี้ยในระยะสั้นไม่เปลี่ยนแปลง ทำให้เส้นผลตอบแทนขนานกับแกนนอน
  4. เส้นผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นแล้วลดลง (humped yield curve) อัตราผลตอบแทนในระยะสั้นจะสูงขึ้นก่อนและลดลงอย่างมากภายหลัง ทำให้เส้นผลตอบเป็นเส้นโป่งขึ้นในระยะแรกและทอดลงมาในเวลาต่อมา


ข้อ 10. ท่านคิดว่าผู้ลงทุนในธุรกิจไม่ควรขยายการลงทุนเพราะเหตุใดบ้าง

ตอบ ความเสี่ยงทางธุรกิจ (Business Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงความสามารถในทำกำไรของบริษัท อันเป็นเหตุให้ผู้ลงทุนต้องสูญเสียรายได้ หรือเงินลงทุน ประกอบด้วย ความเสี่ยงทางการเงิน ความเสี่ยงด้านการบริหารจัดการ และความเสี่ยงในระดับอุตสาหกรรม ความเสี่ยงทางตลาด (Market Risk) คือ การสูญเสียเงินลงทุนอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงราคาของหลักทรัพย์ที่ลงทุน ซึ่งเป็นไปตามอุปสงค์ และอุปทานของตลาด ความเสี่ยงในอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงในอัตราดอกเบี้ยในตลาด ความเสี่ยงจากอำนาจซื้อ (Purchasing Power Risk) คือ ความเสี่ยงทีเกิดจากอำนาจซื้อของเงินที่ลดลง ซึ่งสาเหตุสำคัญที่ส่งผลต่ออำนาจซื้อ คือ ภาวะเงินเฟ้อ ความเสี่ยงที่เป็นระบบ (Systematic Risk) เป็นความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อตลาดทั้งระบบ มักจะเรียกอีกชื่อว่า Market Risk หรือUndiversificable Risk เป็นความเสี่ยงที่ไม่สามารถทำให้ลดลงได้จากการกระจายการลงทุน ความเสี่ยงไม่เป็นระบบ (Unsystematic Risk) - เป็นความเสี่ยงที่เกิดเฉพาะตัวกับธุรกิจ หรือ หลักทรัพย์นั้น ๆ นักลงทุนสามารถลดความเสี่ยงนี้ลงได้ด้วยการจัดพอร์ตลงทุนของตนเองให้มีการกระจายการลงทุนที่เหมาะสม

นางสาวหนึ่งฤทัย เวฬุวนารักษ์ รหัส 55127326071

 9. เส้นผลตอบแทนมีลักษณะใดบ้าง แต่ละลักษณะอธิบายผลตอบแทนที่แตกต่างกันอย่างไรบ้าง

ตอบ 1.เส้นผลตอบแทนเพิ่มขึ้น (ascending yield curve) จะมีลักษณะโค้งขึ้น (Upward sloping) ซึ่งแสดงให้เห็นว่า อัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ระยะยาวจะสูงกว่าอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ระยะสั้น Yield Curve ในลักษณะนี้เป็นแบบที่พบบ่อย

2.เส้นผลตอบแทนลดลง (descending yield curve)   มีลักษณะลาดลงจากซ้ายไปขวา ( ((999-0--( ( (Downward sloping) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ระยะสั้นจะสูงกว่าอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ระยะยาว Yield Curve ในลักษณะนี้จะพบในภาวะที่ตลาดคาดการณ์ว่าอัตราผลตอบแทนมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ

3. เส้นผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นแล้วลดลง (Humped Yield Curve) แสดงถึงอัตราผลตอบแทนจะเพิ่มขึ้นตามอายุคงเหลือของตราสารหนี้จนถึงระดับหนึ่ง จากนั้นจะลดลงเมื่ออายุของตราสารหนี้เพิ่มขึ้น

4.เส้นผลตอบแทนคงที่( Flat Yield Curve) แสดงถึงอัตราผลตอบแทนที่เท่ากันในทุกช่วงอายุคงเหลือของตราสารหนี้

10.ท่านคิดว่าผู้ลงทุนในธุรกิจไม่ควรขยายการลงทุนเพราะเหตุใด

ตอบ ควร เพราะ 

ปัจจัยทางเศรษฐกิจ
ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนในหลักทรัพย์ ปัญหาทางเศรษฐกิจอาจส่ง ผลกระทบต่อปัญหาอื่น ๆ ได้อีกมากมาย และก่อให้เกิดผลกระทบทางจิตวิทยาต่อผู้ลงทุนได้มากที่สุด ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ที่ผู้ลงทุนควรคำนึงถึงได้แก่ 
•สภาพคล่องทางการเงิน เมื่อใดก็ตามที่เกิดปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน หมายความว่าธุรกิจหรือกิจการทั้งหลาย ขาดเงินหมุนเวียนที่จะใช้ในการดำเนินงาน ย่อมก่อให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา 
•อัตราดอกเ บี้ย เมื่อเกิดปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน อัตราดอกเบี้ยจะขยับตัวสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตขอ ง กิจการ หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ สูงขึ้นตามไปด้วย ในทางตรงกันข้าม หากสภาพคล่องทางการเงินมีมาก อัตรา ดอกเบี้ยจะลดต่ำลง ผู้คนในสังคมจะมีกำลังซื้อมากขึ้น ส่งผลให้อุตสาหกรรมขยายตัว ธุรกิจต่าง ๆ รวมถึงการลงทุน ในหลักทรัพย์ก็จะได้รับผลดีตามไปด้วย 
•อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศหรือค่าเงิน ปัญหาอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ จะเกิดขึ้นเฉพาะอุตสาหกรรม ที่ต้องพึ่งพาวัตถุดิบจากต่างประเทศ หากค่าของเงินบาทอ่อนตัวลง ย่อมทำให้ ค่าใช้จ่าย ในการสั่งสินค้าเข้ามาผลิตหรือจำหน่ายสูงขึ้นตามไปด้วย แต่สำหรับกิจการที่ส่งออกสินค้า หรือบริการ อาจได้รับผลดี อย่างไรก็ตาม สำหรับประเทศไทยซึ่งอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ต้องพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบ และมี ภาระหนี้สินต่างประเทศค่อนข้างมาก ค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง จะส่งผลในทางลบแก่ธุรกิจ 
•การผลิต ซึ่งภาพโดยกว้างอาจหมายรวมไปถึงตลาดการค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันคือ ตลาดต่างประเทศ หากอุตสาหกรรมภาคการผลิต และบริการของเรา สามารถผลิตและจำหน่ายสินค้า ที่ตรงตามความต้องการ ของประเทศคู่ค้าได้ ทั้งยังมีราคาและคุณภาพเหมาะสมหรือดีกว่าสินค้า จากประเทศคู่แข่ง มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ ได้รับการสนับสนุนที่เข้มแข็งจากภาครัฐ ปัจจัยเหล่านี้ ก็จะส่งผลให้สามารถจำหน่ายสินค้าหรือบริการได้ดีขึ้น นำเงินตราจากต่างประเทศเข้ามาเสริมสร้างสภาพคล่องได้มากขึ้น และกำลังซื้อของประชาชนที่มีมากขึ้น จะกระจายผลดีไปยังกิจการอื่น ๆ ภายในประเทศได้ 
•ภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า หากอยู่ในสภาพดี ความต้องการ สินค้าย่อมมีมากขึ้น ส่งผลดีต่อยอดขายและเม็ดเงินที่กลับเข้ามาในประเทศไทยในทางตรงข้าม หากเศรษฐกิจของ ประเทศคู่ค้าประสบปัญหา จะทำให้ยอดจำหน่ายสินค้า และบริการของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ของประเทศลดน้อยลง ซึ่งจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม  
2.ปัจจัยทางการเมือง
เป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อราคาหุ้นได้อย่างรวดเร็วและรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัจจัย การเมืองในประเทศ เนื่องจากรัฐบาลเป็นผู้กำหนดนโยบายต่าง ๆ ที่มีผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็น การกำหนดอัตราภาษี การส่งเสริมการลงทุน การหาตลาดต่างประเทศ เป็นต้น 
3.ปัจจัยอื่น ๆ
เช่น ปัจจัยจากธรรมชาติอันได้แก่ ฝนแล้ง น้ำท่วม แผ่นดินไหว หรือภัยพิบัติต่าง ๆ รวมทั้งความไม่สงบ ภายในประเทศหรือบริเวณชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อภาวะทางเศรษฐกิจด้านอื่น ๆ 
4.ปัจจัยเกี่ยวกับตลาดหลักทรัพย์หรือตัวหลักทรัพย์
เช่น การเกิดข่าวลือการเก็งกำไรที่มากเกินไป จนปัจจัยพื้นฐาน รองรับไม่ไหว กฎระเบียบที่เข้มงวดหรือหย่อนยานจนเกินไป อัตรามาร์จิน (Margin) และดอกเบี้ยที่ไม่เอื้อต่อนักลงทุน เหล่านี้คือปัจจัยทางลบของตลาด ส่วนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับตัวหลักทรัพย์ เช่น ผลกำไร ฐานะการเงินของบริษัทจดทะเบียน การประกาศเพิ่มทุน การประกาศจ่ายเงินปันผล หรือแม้แต่ข่าว เกี่ยวกับผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียน ก็อาจส่งผลกระทบ ต่อราคาหลักทรัพย์ได้ทั้งสิ้น 
การวิเคราะห์การลงทุนในหลักทรัพย์โดยอาศัยปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าว มาข้างต้น เรียกว่า "การวิเคราะห์โดยใช้ปัจจัย พื้นฐาน" (Fundamental Analysis) อย่างไรก็ตาม ผู้ลงทุนอาจเคยได้ยินคำว่า "การวิเคราะห์ทางเทคนิค" (Technical Analysis) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์หุ้นโดยอาศัยข้อมูลตัวเลข การเคลื่อนไหวของราคาหุ้น และมูลค่าการ ซื้อขายหุ้นในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆ มาคาดคะเนแนวโน้มของหุ้น ในอนาคต การวิเคราะห์ในลักษณะนี้ มีรายละเอียดและ วิธีการที่ซับซ้อน ผู้สนใจต้องศึกษาเพิ่มเติม จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

แบบฝึกหักบทที่4

9. เส้นผลตอบแทนมีลักษณะใดบ้าง แต่ละลักษณะอธิบายผลตอบแทนที่แตกต่างกันอย่างไรบ้าง

มี 4 ลักษณะ ได้แก่

1.เส้นผลตอบแทนเพิ่มขึ้น Ascending yield curveมีลักษณะเป็นเส้นลาดชันขึ้นจากซ้ายไปขวา  คือ Yieldของพันธบัตรที่มีอายุคงเหลือสั้นจะต่ำกว่า Yieldของพันธบัตรที่มีอายุคงเหลือยาว  แสดงให้เห็นว่า ผู้ลงทุนต้องการผลตอบแทนที่สูงขึ้นเมื่อลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอายุยาวขึ้น

2. เส้นผลตอบแทนลดลง Descending yield curveเป็นเส้นกราฟลาดลงจากซ้ายไปขวา พันธบัตรที่มีอายุคงเหลือยาวจะมีอัตราผลตอบแทนต่ำกว่าพันธบัตรที่มีอายุสั้น ซึ่ง Yield curveลักษณะนี้จะพบเมื่อตลาดคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยในตลาดมีแนวโน้มลดลง

3. เส้นผลตอบแทนคงที่ Flat yield curveเป็นลักษณะของอัตราผลตอบแทนที่เท่ากันทุกช่วงอายุของตราสารหนี้

4.เส้นผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นและลดลง Humped yield curveเส้นจะลาดชันขึ้นจากซ้ายไปขวาและวกต่ำลงเมื่ออายุคงเหลือของตราสารหนี้เพิ่มขึ้น

10.ท่านคิดว่าผู้ลงทุนในธุรกิจไม่ควรขยายการลงทุนเพราะเหตุใด

1)ความเสี่ยงทางธุรกิจ (Business Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงความสามารถในทำกำไรของบริษัท อันเป็นเหตุให้ผู้ลงทุนต้องสูญเสียรายได้ หรือเงินลงทุน ประกอบด้วย ความเสี่ยงทางการเงิน ความเสี่ยงด้านการบริหารจัดการ และความเสี่ยงในระดับอุตสาหกรรม

2)ความเสี่ยงทางตลาด (Market Risk) คือ การสูญเสียเงินลงทุนอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงราคาของหลักทรัพย์ที่ลงทุน ซึ่งเป็นไปตามอุปสงค์ และอุปทานของตลาด

3)ความเสี่ยงในอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Risk)คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงในอัตราดอกเบี้ยในตลาด

4)ความเสี่ยงจากอำนาจซื้อ (Purchasing Power Risk)คือ ความเสี่ยงทีเกิดจากอำนาจซื้อของเงินที่ลดลง ซึ่งสาเหตุสำคัญที่ส่งผลต่ออำนาจซื้อ คือ ภาวะเงินเฟ้อ

 

คำถามประจำบทที่ 4  

 9. เส้นผลตอบแทนมีลักษณะใดบ้าง แต่ละลักษณะอธิบายผลตอบแทนที่แตกต่างกันอย่างไรบ้าง

ตอบ 1.เส้นผลตอบแทนเพิ่มขึ้น (ascending yield curve) จะมีลักษณะโค้งขึ้น (Upward sloping) ซึ่งแสดงให้เห็นว่า อัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ระยะยาวจะสูงกว่าอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ระยะสั้น Yield Curve ในลักษณะนี้เป็นแบบที่พบบ่อย

2.เส้นผลตอบแทนลดลง (descending yield curve)   มีลักษณะลาดลงจากซ้ายไปขวา ( ((999-0--( ( (Downward sloping) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ระยะสั้นจะสูงกว่าอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ระยะยาว Yield Curve ในลักษณะนี้จะพบในภาวะที่ตลาดคาดการณ์ว่าอัตราผลตอบแทนมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ

3. เส้นผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นแล้วลดลง (Humped Yield Curve) แสดงถึงอัตราผลตอบแทนจะเพิ่มขึ้นตามอายุคงเหลือของตราสารหนี้จนถึงระดับหนึ่ง จากนั้นจะลดลงเมื่ออายุของตราสารหนี้เพิ่มขึ้น

4.เส้นผลตอบแทนคงที่( Flat Yield Curve) แสดงถึงอัตราผลตอบแทนที่เท่ากันในทุกช่วงอายุคงเหลือของตราสารหนี้

10.ท่านคิดว่าผู้ลงทุนในธุรกิจไม่ควรขยายการลงทุนเพราะเหตุใด

ตอบ ควรขยายการลงทุน เพราะ การลงทุนคือการขยายธุรกิจ ถ้าตลาดหุ้นหรือฐานกำลังการซื้อขายหรือพวกปัญหาทางการเมืองเกิดขึ้นในประเทศที่เราจะลงทุน มันก็จะส่งผลเสียต่อเรา ทำให้ขาดทุน หุ้นตก ขยายออกไปมากๆๆเข้า แต่ไม่ได้กำไร หรือกำไรน้อยกว่าที่ควร เราจะอยู่ยาก บริหารงานไม่คล่อง สภาวะการบริหารฝืดเคือง การลงทุนต้องมีความมั่นคงสูง เพื่อไม่ให้สูญเสียผลกำไรเกินกว่าที่กำหนด

ข้อ 9 เส้นอัตราผลตอบแทนมีลักษณะใดบ้าง แต่ละลักษณะอธิบายผลตอบแทนที่แตกต่างกันอย่างไร

1. เส้นผลตอบแทนเพิ่มขึ้น (ascending yield curve) จะมีลักษณะโค้งขึ้น (Upward sloping) ซึ่งแสดงให้เห็นว่า อัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ระยะยาวจะสูงกว่าอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ระยะสั้น Yield Curve ในลักษณะนี้เป็นแบบที่พบบ่อย

2. เส้นผลตอบแทนลดลง (descending yield curve) มีลักษณะลาดลงจากซ้ายไปขวา ( Downward sloping) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ระยะสั้นจะสูงกว่าอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ระยะยาว Yield Curve ในลักษณะนี้จะพบในภาวะที่ตลาดคาดการณ์ว่าอัตราผลตอบแทนมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ

3. เส้นผลตอบแทนคงที่ (flat yield curve) แสดงถึงอัตราผลตอบแทนที่เท่ากันในทุกช่วงอายุคงเหลือของตราสารหนี้

4. เส้นผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นแล้วลดลง (Humped Yield Curve) แสดงถึงอัตราผลตอบแทนจะเพิ่มขึ้นตามอายุคงเหลือของตราสารหนี้จนถึงระดับหนึ่ง จากนั้นจะลดลงเมื่ออายุของตราสารหนี้เพิ่มขึ้น

10.ท่านคิดว่าผู้ลงทุนในธุรกิจไม่ควรขยายการลงทุนเพราะเหตุใด

เพราะ ถ้าหากผู้ลงทุนต้องการขยายการลงทุน ถือว่าความเสี่ยงของเงินทุนหรือหลักทรัพย์ต่างๆของผู้ลงทุนก็ยิ่งมีมากขึ้น เนื่องมาจาก ความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องของการซื้อขาย ความเสี่ยงทางตลาด การสูญเสียเงินลงทุนอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงราคาของหลักทรัพย์ที่ลงทุน ซึ่งเป็นไปตามอุปสงค์ และอุปทานของตลาด และความเสี่ยงทางธุรกิจ  เกิดจากการเปลี่ยนแปลงความสามารถในทำกำไรของบริษัท เป็นเหตุให้ผู้ลงทุนต้องสูญเสียรายได้ หรือเงินลงทุน ประกอบด้วย ความเสี่ยงทางการเงิน ความเสี่ยงด้านการบริหารจัดการ จึงเป็นเหตุผลผู้ลงทุนในธุรกิจไม่ควรขยายการลงทุน

คำถามประจำบทที่ 4  

ข้อ 9. เส้นผลตอบแทนมีลักษณะใดบ้างแต่ละลักษณะอธิบายผลตอบแทนที่ต่างกันอย่างไรบ้าง

ตอบ1. เส้นผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น (ascending yield curve) อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในอนาคตจะสูงขึ้น อัตราผลตอบแทนระยะยาวคือค่าเฉลี่ยของอัตราปัจจุบันกับอัตราระยะสั้นในอนาคตนั้นจะอยู่เหนืออัตราปัจจุบัน ทำให้เส้นผลตอบแทนทอดขึ้นจากซ้ายไปขวา

 2. เส้นผลตอบแทนลดลง (descending yield curve) อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในอนาคตลดลง อัตราผลตอบแทนระยะยาวจะอยู่ต่ำกว่าอัตราระยะสั้นปัจจุบัน ทำให้เส้นผลตอบแทนทอดลงจากซ้ายไปขวา

3. เส้นผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นแล้วลดลง (Humped Yield Curve) แสดงถึงอัตราผลตอบแทนจะเพิ่มขึ้นตามอายุคงเหลือของตราสารหนี้จนถึงระดับหนึ่ง จากนั้นจะลดลงเมื่ออายุของตราสารหนี้เพิ่มขึ้น

4.เส้นผลตอบแทนคงที่( Flat Yield Curve) แสดงถึงอัตราผลตอบแทนที่เท่ากันในทุกช่วงอายุคงเหลือของตราสารหนี้

10.ท่านคิดว่าผู้ลงทุนในธุรกิจไม่ควรขยายการลงทุนเพราะเหตุใด

ตอบ เพราะ ผู้ลงทุนต้องศึกษาองค์ประกอบของธุรกิจนั้น ๆว่าจะสมควรลงทุนต่อหรือไม่ อย่างละเอียดถี่ถ้วน และสิ่งที่ขาดไม่ได้คือ ต้องถามตัวเองว่าทำไมถึงคิดจะลงทุนในธุรกิจนี้เพิ่ม โดยพิจารณาจากประสบการณ์ตั้งแต่เปิดธุรกิจ สภาพแวดล้อมต่างๆ การศึกษา และที่สำคัญคือเงินทุน ประกอบด้วย และควรจะประเมินจากเส้นผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น เส้นผลตอบแทนลดลง  เส้นผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นแล้วลดลง เส้นผลตอบแทนคง เป็นหลัก

รหัส 55127326054

คำถามประจำบทที่ 4  

ข้อ 9. เส้นผลตอบแทนมีลักษณะใดบ้างแต่ละลักษณะอธิบายผลตอบแทนที่ต่างกันอย่างไรบ้าง

ตอบ เส้นอัตราผลตอบแทน หรือ ที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า Yield curve คือ เส้นที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างอัตราผลตอบแทนกับอายุคงเหลือ(Time to maturity) ของตราสารหนี้แต่ละจุดบน Yield curve จะบอกให้เราทราบว่า อัตราผลตอบแทหรือ Yield ที่ตลาดต้องการสำหรับตราสารหนี้แต่ละช่วงอายุเป็นเท่าไรโดยปกติเราจะใช้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาล ณ ช่วงอายุต่างๆ มาสร้างเป็น เส้นอัตราผลตอบแทนที่ปราศจากความเสี่ยงของการผิดนัดชำระหนี้ที่เรียกว่า Risk-free yield curve ซึ่งเป็นอัตราผลตอบแทนพื้นฐานที่สามารถนำไปใช้คำนวณอัตราผลตอบแทนสำหรับตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงต่างๆได้เส้นอัตราผลตอบแทนที่ ThaiBMA จัดทำและเผยแพร่ คือ ThaiBMA Government bond yield curve โดยจะเผยแพร่ในเวลาประมาณ 16.00 น. ของทุกวันทำการ และถือเป็นข้อมูลพื้นฐานที่ตลาดตราสารหนี้นำไปใช้อ้างอิงและใช้กันอย่างแพร่หลายโดยสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานต่างๆ เช่น การกำหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรและหุ้นกู้เพื่อจำหน่ายในตลาดแรกการใช้เป็นเครื่องมือการคำนวณเพื่อหามูลค่ายุติธรรมในการบันทึกบัญชี รวมทั้งเพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจดำเนินนโยบายและกลยุทธ์การลงทุน
รูปร่างของเส้นอัตราผลตอบแทน ปัจจัยทางเศรษฐกิจต่างๆ เช่น ภาวะเงินเฟ้อนโยบายทางการเงินของรัฐบาล สภาพคล่องในระบบการเงินมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของเส้น Yield curve และจะทำให้Yield curve มีรูปร่างที่แตกต่างกันไปในแต่ละช่วงเวลา โดยรูปร่างของYield curve สามารถแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบดังนี้
1. แบบปกติ (Normal yield curve or Upward slopingyield curve) มีลักษณะเป็นเส้นลาดชันขึ้นจากซ้ายไปขวา คือ Yieldของพันธบัตรที่มีอายุคงเหลือสั้นจะต่ำกว่า Yield ของพันธบัตรที่มีอายุคงเหลือยาว แสดงให้เห็นว่า ผู้ลงทุนต้องการผลตอบแทนที่สูงขึ้นเมื่อลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอายุยาวขึ้นซึ่งเป็นเรื่องปกติ เราจึงเรียกว่าเส้นอัตราผลตอบแทนแบบนี้ว่า แบบปกติ
2. แบบลาดลง (Inverted yield curve or Downward sloping yield curve) มีลักษณะตรงข้ามกับแบบปกติ
คือ เป็นเส้นกราฟลาดลงจากซ้ายไปขวา พันธบัตรที่มีอายุคงเหลือยาวจะมีอัตราผลตอบแทนต่ำกว่าพันธบัตรที่มีอายุสั้นซึ่ง Yield curve ลักษณะนี้จะพบเมื่อตลาดคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยในตลาดมีแนวโน้มลดลง
3. แบบหลังเขา (Humped yield curve) เส้นจะลาดชันขึ้นจากซ้ายไปขวาและวกต่ำลงเมื่ออายุคงเหลือของตราสารหนี้เพิ่มขึ้น
4. แบบแบนราบ (Flatted yield curve) เป็นลักษณะของอัตราผลตอบแทนที่เท่ากันทุกช่วงอายุของตราสารหนี้

ข้อ 10 .ท่านคิดว่าผู้ลงทุนในธุรกิจไม่ควรขยายการลงทุนเพราะเหตุใด
ตอบ ไม่ควร เพราะ
ความเสี่ยงทางธุรกิจ (Business Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงความสามารถในทำกำไรของบริษัท อันเป็นเหตุให้ผู้ลงทุนต้องสูญเสียรายได้ หรือเงินลงทุน ประกอบด้วย ความเสี่ยงทางการเงิน ความเสี่ยงด้านการบริหารจัดการ และความเสี่ยงในระดับอุตสาหกรรม
ความเสี่ยงทางตลาด (Market Risk) คือ การสูญเสียเงินลงทุนอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงราคาของหลักทรัพย์ที่ลงทุน ซึ่งเป็นไปตามอุปสงค์ และอุปทานของตลาด
ความเสี่ยงในอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงในอัตราดอกเบี้ยในตลาด
ความเสี่ยงจากอำนาจซื้อ (Purchasing Power Risk) คือ ความเสี่ยงทีเกิดจากอำนาจซื้อของเงินที่ลดลง ซึ่งสาเหตุสำคัญที่ส่งผลต่ออำนาจซื้อ คือ ภาวะเงินเฟ้อ

คำถามประจำบทที่ 4  

ข้อ 9. เส้นผลตอบแทนมีลักษณะใดบ้างแต่ละลักษณะอธิบายผลตอบแทนที่ต่างกันอย่างไรบ้าง

เส้นอัตราผลตอบแทน (Yield Curve)

  การวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการลงทุนในตราสารหนี้  เนื่องจากอัตราผลตอบแทนและราคาของตราสารหนี้นั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบ เมื่ออัตราผลตอบแทนหรือ Yield ในตลาดมีการเปลี่ยนแปลงก็จะส่งผลให้เกิดความผันผวนของราคา ซึ่งจะส่งผลต่อการตัดสินใจและการวางกลยุทธ์ในการลงทุน ในขณะที่ผู้ออกตราสารหนี้ก็สามารถใช้ประโยชน์จากเส้นอัตราผลตอบแทน ในการพิจารณาต้นทุนการออกตราสารหนี้ของตนเปรียบเทียบกับเส้นอัตราผลตอบแทน 

  • เส้นอัตราผลตอบแทน (Yield Curve) คืออะไร 

  เส้นอัตราผลตอบแทน หรือ ที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า Yield curve คือ เส้นที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างอัตราผลตอบแทนกับอายุคงเหลือ (Time to maturity)  ของตราสารหนี้  แต่ละจุดบน Yield curve จะบอกให้เราทราบว่า  อัตราผลตอบแทน หรือ Yield ที่ตลาดต้องการสำหรับตราสารหนี้แต่ละช่วงอายุเป็นเท่าไร  โดยปกติเราจะใช้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาล ณ ช่วงอายุต่างๆ มาสร้างเป็น เส้นอัตราผลตอบแทนที่ปราศจากความเสี่ยงของการผิดนัดชำระหนี้ ที่เรียกว่า Risk-free yield curve ซึ่งเป็นอัตราผลตอบแทนพื้นฐานที่สามารถนำไปใช้คำนวณอัตราผลตอบแทนสำหรับตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงต่างๆได้ 

  เส้นอัตราผลตอบแทนที่ ThaiBMA จัดทำและเผยแพร่ คือ ThaiBMA Government bond yield curve โดยจะเผยแพร่ในเวลาประมาณ 16.00 น. ของทุกวันทำการ และถือเป็นข้อมูลพื้นฐานที่ตลาดตราสารหนี้นำไปใช้อ้างอิงและใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานต่างๆ เช่น การกำหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรและหุ้นกู้เพื่อจำหน่ายในตลาดแรก การใช้เป็นเครื่องมือการคำนวณเพื่อหามูลค่ายุติธรรมในการบันทึกบัญชี  รวมทั้งเพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจดำเนินนโยบายและกลยุทธ์การลงทุน 

  • รูปร่างของเส้นอัตราผลตอบแทน 

  ปัจจัยทางเศรษฐกิจต่างๆ  เช่น ภาวะเงินเฟ้อ นโยบายทางการเงินของรัฐบาล สภาพคล่องในระบบการเงิน มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของเส้น Yield curve และจะทำให้ Yield curve มีรูปร่างที่แตกต่างกันไปในแต่ละช่วงเวลา โดยรูปร่างของ Yield curve สามารถแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบดังนี้ 

1. แบบปกติ (Normal yield curve or Upward sloping yield curve) มีลักษณะเป็นเส้นลาดชันขึ้นจากซ้ายไปขวา  คือ Yield ของพันธบัตรที่มีอายุคงเหลือสั้นจะต่ำกว่า Yield ของพันธบัตรที่มีอายุคงเหลือยาว  แสดงให้เห็นว่า ผู้ลงทุนต้องการผลตอบแทนที่สูงขึ้นเมื่อลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอายุยาวขึ้น  ซึ่งเป็นเรื่องปกติ  เราจึงเรียกว่าเส้นอัตราผลตอบแทนแบบนี้ว่า  แบบปกติ 

2. แบบลาดลง (Inverted yield curve or Downward sloping yield curve) มีลักษณะตรงข้ามกับแบบปกติ คือ เป็นเส้นกราฟลาดลงจากซ้ายไปขวา พันธบัตรที่มีอายุคงเหลือยาวจะมีอัตราผลตอบแทนต่ำกว่าพันธบัตรที่มีอายุสั้น ซึ่ง Yield curve ลักษณะนี้จะพบเมื่อตลาดคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยในตลาดมีแนวโน้มลดลง  2. แบบลาดลง (Inverted yield curve or Downward sloping yield curve) มีลักษณะตรงข้ามกับแบบปกติ คือ เป็นเส้นกราฟลาดลงจากซ้ายไปขวา พันธบัตรที่มีอายุคงเหลือยาวจะมีอัตราผลตอบแทนต่ำกว่าพันธบัตรที่มีอายุสั้น ซึ่ง Yield curve ลักษณะนี้จะพบเมื่อตลาดคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยในตลาดมีแนวโน้มลดลง 

3. แบบหลังเขา (Humped yield curve)  เส้นจะลาดชันขึ้นจากซ้ายไปขวาและวกต่ำลงเมื่ออายุคงเหลือของตราสารหนี้เพิ่มขึ้น 

4. แบบแบนราบ (Flatted yield curve) เป็นลักษณะของอัตราผลตอบแทนที่เท่ากันทุกช่วงอายุของตราสารหนี้ 

ข้อ 10 .ท่านคิดว่าผู้ลงทุนในธุรกิจไม่ควรขยายการลงทุนเพราะเหตุใด

ทำให้เกิดความเสี่ยงต่างๆที่เกิดจากการลงทุนในเศรษฐกิจนั้น ๆ อาจจะเกิดได้จาก

1. ความเสี่ยงของการเปลี่ยนแปลงราคาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยในตลาด (Interest Rate Risk หรือ Price Risk หรือ Market Risk)

เนื่องจากราคาของตราสารหนี้จะเปลี่ยนแปลงในทิศทางตรงกันข้ามกับอัตราดอกเบี้ยในตลาด ดังนั้น เมื่อนักลงทุนต้องการขายตราสารหนี้ก่อนครบกำหนด หากอัตราดอกเบี้ยในตลาดในขณะที่จะขาย สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยของตราสารหนี้ที่ถืออยู่ นักลงทุนอาจจะต้องยอมขายในราคาที่ต่ำกว่าราคาตรา

2. ความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้หรือไม่สามารถชำระหนี้เมื่อครบกำหนดไถ่ถอน (Credit Risk หรือ Default Risk)

เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในกรณีที่ผู้ออกตราสารหนี้ผิดนัดชำระหรือไม่สามารถชำระหนี้ได้ ซึ่งรวมถึงความเสี่ยงจากการถูกลดความน่าเชื่อถือในระหว่างที่ตราสารหนี้ยังไม่ครบกำหนดไถ่ถอน ตราสารหนี้ภาครัฐถือได้ว่าเป็นตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงชนิดนี้ต่ำมาก ดังนั้นอัตราผลตอบแทนที่ได้รับจึงมักต่ำกว่าตราสารหนี้ภาคเอกชน

3. ความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่อง (Liquidity Risk)

คือ ความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องของการซื้อขายตราสารหนี้ ทำให้ไม่สามารถซื้อขายตราสารหนี้ในจังหวะเวลาและราคาที่เหมาะสมได้ หรือหากต้องการจะซื้อขายจริงอาจจะต้องมีการเพิ่มหรือลดราคา เพื่อดึงดูดให้มีการตกลงซื้อขายเกิดขึ้น แต่ถ้าผู้ลงทุนถือตราสารหนี้ไปจนถึงวันครบกำหนดไถ่ถอนก็จะไม่มีความเสี่ยงชนิดนี้เกิดขึ้น

4. ความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อ (Inflation Risk)

คือ ความเสี่ยงอันเนื่องมาจากการลดลงของอำนาจซื้อ โดยปกติอัตราดอกเบี้ยส่วนใหญ่มีการกำหนดเอาไว้คงที่ ซึ่งผลของเงินเฟ้อจะลดค่าของเงินลงทั้งดอกเบี้ยที่ได้รับในแต่ละงวดและเงินต้นที่จะได้รับคืนในงวดสุดท้าย 

นโยบายเศรษฐกิจรัฐบาลนายกยิ่งลักษณ์ ที่เตรียมแถลงต่อสภาในวันที่ 23 สิงหาคม 2554

โดย Friends of Yingluck เมื่อ 19 สิงหาคม 2011 เวลา 14:28 น. ·

หมายเหตุ -ส่วนหนึ่งของนโยบายด้าน เศรษฐกิจของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่จะแถลงต่อรัฐสภา ในการประชุมรัฐสภา วันที่ 23 สิงหาคม 2554

นโยบายเศรษฐกิจมหภาค

1.ดำเนิน การให้มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ และให้เศรษฐกิจสามารถเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม และก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มีการจ้างงานเต็มที่ ระดับราคามีเสถียรภาพ ระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ

2.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

3.พัฒนา ระบบสถาบันการเงินในประเทศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหญ่และผู้ด้อยโอกาส สามารถให้บริการที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมการเงินและความ ต้องการที่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคมด้วยค่าบริการที่ต่ำและการ บริการที่มีประสิทธิภาพ

4.ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างฐานรายได้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ทั้งจากภาษีและที่มิใช่ภาษี

5.ส่ง เสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงองค์ประกอบและโครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ

6.ปรับปรุง โครงสร้างของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน

7.บริหารสินทรัพย์ ของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพิจารณาการจัดตั้งกองทุนที่สามารถใช้ในการบริหารสินทรัพย์ของชาติให้ เป็นประโยชน์ เช่น กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองแห่งชาติ และกองทุนความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

นโยบายสร้างรายได้

1.ส่ง เสริมการท่องเที่ยวจากทั้งภายนอกและภายในประเทศ จัดให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว ให้มีรายได้จากนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวในเวลา 5 ปี

2.ขยาย บทบาทให้ธุรกิจการเกษตรและอาหารซึ่งเป็นแหล่งรายได้และการจ้างงานในประเทศมา เป็นเวลานานให้ก้าวข้ามไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหารคุณภาพ สูง เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่มีฐานะและรสนิยมเฉพาะตัว การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและอาหาร จะทำให้เป้าหมายการเป็นครัวที่มีคุณภาพของโลกสัมฤทธิผลรวดเร็วยิ่งขึ้น

3.ส่ง เสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมพลังงานปิโตรเลียมและพลังงานทดแทนสามารถสร้าง รายได้จากความต้องการภายในประเทศ รวมทั้งสร้างการจ้างงานให้แก่ประเทศโดยถือเป็นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ใหม่

4.ยก ระดับความสามารถในการแข่งขันและขยายช่องทางการตลาดของธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจบริการในประเทศ และธุรกิจวิสาหกิจชุมชนให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการผลิตสินค้าและ บริการที่มีคุณค่าและคุณภาพสูง

5.ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขยายการ ลงทุนไปประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีความพร้อมทางด้านแรงงานและวัตถุดิบเพื่อสร้าง ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศและภูมิภาค

6.ดึงดูดการลงทุน เข้าสู่ประเทศในสาขาที่เป็นการผลิตสินค้าและบริการที่มีพื้นฐานทางเทคโนโลยี มีมูลค่าสูง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการลงทุนในการสร้างเมืองใหม่ในพื้นที่ที่เหมาะสม และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ

7.เสริมสร้างกระบวนการสร้างอาชีพ สร้างงานที่มีคุณภาพและมีรายได้สูงให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง

8.ส่งเสริมการขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุน และการเงิน ภายใต้ประโยชน์ร่วมกันของกรอบความร่วมมือและข้อตกลงทางการค้า

นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

ภาคเกษตร

1.ส่ง เสริมสนับสนุนให้สภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นกลไกของเกษตรกรในการสื่อสารกับ รัฐบาลและร่วมกันพัฒนาเกษตรกรด้วยตนเองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

2.เพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิตพืช โดยการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช ใช้ปุ๋ยตามคุณสมบัติของดินแต่ละชนิด เพื่อลดต้นทุนการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิต

3.เพิ่มศักยภาพกระบวนการ ผลิตด้านปศุสัตว์ให้ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศและการส่งออก

4.พัฒนาการประมง ทั้งในการเพาะเลี้ยงและในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการฟื้นฟูทรัพยากรประมงและจัดระเบียบการทำประมงให้สมดุลกับศักยภาพการ ผลิตตามธรรมชาติ ขยายพื้นที่อนุรักษ์เพื่อการประมงทะเลพื้นบ้าน ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แสวงหาลู่ทางการทำประมงในน่านน้ำต่างประเทศที่ไม่ขัดต่อระเบียบขององค์การ ระหว่างประเทศและประเทศที่นำเข้า

5.เสริมสร้างฐานรากของครัวเรือน เกษตรกรให้เข้มแข็งโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก ลดต้นทุนการผลิต พัฒนาระบบการผลิตที่เป็นขั้นตอน

6.จัดทำระบบทะเบียนครัวเรือน เกษตรกรที่มีข้อมูลการเกษตรของครัวเรือนครบถ้วน สามารถเชื่อมโยงกับบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกรและมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่ เสมอ

7.เร่งรัดพัฒนาธุรกิจการเกษตร โดยการพัฒนาสถาบันเกษตรกรในด้านธุรกิจ สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่จากโครงการกองทุนตั้งตัวได้

8.พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรมูลค่าเพิ่มเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก

9.ส่ง เสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ ดำเนินการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม สร้างความเข้มแข็งภาคเกษตรและสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อเผชิญกับวิกฤต อาหารโลก

ภาคอุตสาหกรรม

1.ยกระดับความสามารถในการ แข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในประเทศด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนของผู้ประกอบการ และยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ตลอดจนส่งเสริมให้มีการสร้างตราสินค้าไทย

2.ยกระดับภาคอุตสาหกรรม เข้าสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ใช้ปัญญา ใช้เทคโนโลยี และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทดแทนอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลัก

3.พัฒนา และส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปบนฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าและยกระดับสินค้าให้มีคุณภาพ มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล และมีโอกาสในการขยายตลาด

4.สร้างความเข้มแข็งให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยสนับสนุนช่องทางการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อผ่านสถาบันการเงินต่างๆ

5.กำหนดมาตรฐานและคุณภาพขั้นพื้นฐานของสินค้าอุตสาหกรรมเมื่อมีการเปิดเสรีการค้ามากขึ้น เพื่อป้องกันสินค้านำเข้าที่ไม่ได้คุณภาพ

6.พัฒนา พื้นที่อุตสาหกรรมแห่งใหม่ รวมทั้งการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจระหว่างฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทยสำหรับ รองรับอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อมลพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน

7.เร่งพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และอยู่ร่วมกับชุมชนได้

8.ส่ง เสริมและจัดให้มีมาตรการทางภาษีและมาตรการอื่นที่เกี่ยวข้องในการพัฒนา อุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน และการใช้พลังงานจากภาคเกษตร

9.สนับสนุนให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกสาขาการผลิตเข้าประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม

10.เร่งรัด สำรวจและแสวงหาแหล่งแร่สำคัญ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และพัฒนาอุตสาหกรรมต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มโดยให้ความสำคัญกับการกำกับ ดูแลผลกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชน

การตลาด การค้า และการลงทุน

1.ส่ง เสริมนโยบายการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม เพื่อป้องกันการผูกขาดตัดตอน ส่งเสริมและพัฒนาบทบาทขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคทั้ง ภาครัฐและเอกชน แก้ไขปรับปรุงกฎหมาย มาตรการต่างๆ เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้บริโภค

2.สร้างความเชื่อมั่นให้นัก ลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยปรับปรุงพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบที่ส่งเสริมการค้าการลงทุนที่ครอบคลุม การลงทุนด้านเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ และปรับปรุงมาตรการบริหารการนำเข้าเพื่อป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม

3.สนับสนุน การลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ ส่งเสริมและสนับสนุนการเปิดร้านอาหารไทยของคนไทยตามนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก และนโยบายไทยเป็นครัวอาหารโลก

4.ปรับปรุงมาตรการการส่งเสริมการ ลงทุนให้ครอบคลุมการให้สิทธิประโยชน์แก่ธุรกิจในภาคเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การกีฬา และบริการ

5.ส่งเสริมการขยายตลาดเชิงรุก เพื่อรักษาตลาดเดิมและสร้างตลาดใหม่ เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกไปตลาดหลัก โดยส่งเสริมการส่งออกสินค้าและบริการในตลาดใหม่ ได้แก่ จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันออก

6.พัฒนาสินค้าและบริการที่สร้างโอกาสใหม่ในการหารายได้ การผลิตสินค้าและบริการอันเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในตลาดโลก

7.ขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุน และการตลาดภายใต้กรอบความร่วมมือและข้อตกลงการค้าเสรีในระบบพหุภาคีและทวิภาคี

8.เร่งรัด จัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษบริเวณพื้นที่ที่มีศักยภาพ โดยให้ความสำคัญต่อจังหวัดชายแดน เพื่อส่งเสริมการค้า การตลาด การลงทุน การจ้างงาน และการใช้วัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้าน

จากจุดเริ่มต้นด้านความเหลื่อมล้ำในสังคมและวัตถุประสงค์ในการดำเนินนโยบายที่มีเป้าหมายแตกต่างกันระหว่างรัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) " นโยบายการเงินและความเป็นอิสระของธนาคารกลาง" ถือเป็นประเด็นร้อนที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดคุยเสมอไม่ว่ารัฐบาลยุคไหนสมัยไหน  เพราะนโยบายทั้ง 2 ส่วนถือเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างเสถียรภาพและผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี)

  มาถึงรัฐบาลยุคนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรก " ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" ความร้อนแรงได้ปะทุอีกระลอก ตั้งแต่อดีตรัฐมนตรี (รมว.) ว่าการกระทรวงการคลัง "ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล" ที่ยื่นการบ้าน 4 ข้อให้กับ "ประสาร ไตรรัตน์วรกุล" ผู้ว่าการ ธปท. ประเด็นการตั้งกองทุนความมั่งคั่ง ตามด้วยการแก้ปัญหาหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (เอฟไอดีเอฟ) การเข้าไปกำกับดูแลการออกตั๋วสัญญาใช้เงินระยะสั้น บี/อี ของธนาคารพาณิชย์ รวมถึงการสั่งให้ทบทวนกรอบเงินเฟ้อ

         กิตติรัตน์ ณ ระนอง  กระทั่ง "กิตติรัตน์ ณ ระนอง" ขึ้นควบรองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง จึงสัมฤทธิผลด้วยการมัดมือธนาคารพาณิชย์ร่วมวงแก้หนี้เอฟไอดีเอฟจนสำเร็จ  โดยเพิ่มเก็บเงินนำส่งในอัตรา  0.47% จากระดับ 0.4% แถมครอบคลุมตั๋วแลกเงินหรือตั๋วบี/อี ด้วย  แม้จะแลกด้วยการเก็บผ่านทางธนาคารเฉพาะกิจของรัฐก็ตาม 
   ถัดมาเมื่อ "วีรพงษ์ รามางกูร" เข้ารับตำแหน่งประธานคณะกรรมการ ธปท. (กุนซือของรัฐบาล)ที่ออกมาทิ้งระเบิด ด้วยการวิพากษ์นโยบายการเงิน โดยเฉพาะกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ (Inflation Targeting)นั้น "ใช้ไม่ได้แล้ว" เพราะความเชื่อมโยงกันทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศมีมากขึ้น ราคาสินค้าในโลกถูกกำหนดด้วยอุปสงค์และอุปทานของโลก ไม่ใช่นโยบายการเงินของประเทศเล็กๆ อย่างประเทศไทย และประเทศไทยน่าจะเหมาะกับการดำเนินนโยบายการเงินแบบเป้าหมายอัตราแลกเปลี่ยน (Exchange rate targeting) มากกว่า และนโยบายการเงินมีหน้าที่สนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ไม่ใช่ดูแลเงินเฟ้ออีกต่อไป  รวมถึงความพยายามในการเข้าไปแตะเงินสำรองระหว่างประเทศ โดยอ้างเป็นเงินออมของคนไทย
    วิวาทะบนหน้าสื่อที่โต้ตอบนั้น สะท้อนแนวคิดที่แตกต่างระหว่างทางของการบริหารประเทศ แต่หากพิจารณาจุดมุ่งหมายหลักแล้ว ค่อนข้างมีความคล้ายคลึงคือ เน้นความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนหวังลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มศักยภาพการแข่งขันภาคเอกชน และการเติบโตของเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน  โดยนโยบายด้านการคลังยังเน้นจุดยืนเพื่อปรับสมดุลเศรษฐกิจประเทศ สังคม สิ่งแวดล้อม พร้อมเพิ่มศักยภาพเพื่อสร้างมูลค่ารองรับการเปลี่ยนแปลงของโลก
   ทั้งนี้การดำเนินนโยบายการคลังปี 2556 มียุทธศาสตร์ 3 ด้าน คือ  ด้านแรก การลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม ด้วยการเพิ่มโอกาสให้กับคนฐานรากและการสร้างระบบสวัสดิการพื้นฐานอย่างทั่วถึง การกระจายรายได้ รวมถึงการถือครองทรัพย์สินเพื่อทำกินอย่างเป็นธรรม
   ด้านที่สอง สนับสนุนศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน ผ่านการสนับสนุนในการจัดตั้งธุรกิจ การพัฒนาศักยภาพเอกชนให้เกิดมูลค่าเพิ่ม การเชื่อมโยงธุรกิจเพื่อก้าวสู่เศรษฐกิจระดับภูมิภาคและระดับโลก รวมทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเพิ่มการแข่งขันให้แก่ภาคเอกชน และด้านที่สาม การรักษาความยั่งยืนทางการคลัง ด้วยการเสริมสร้างความมั่นคงทางการคลัง การส่งเสริมความโปร่งใสในการดำเนินงานของภาครัฐและการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
   ขณะเดียวกันยังเดินหน้าปรับฐานะการคลังเข้าสู่สมดุลในปี 2560 โดยงบประมาณปี 2556 กำหนดจะขาดดุล 3 แสนล้านบาทลดลงจากปี 2555 ที่ขาดดุล 4 แสนล้านบาท และถัดไปในปี 2557 หวังลดยอดขาดดุลให้เหลือที่ 2.25 แสนล้านบาท ถือว่าอยู่ในระดับน้อยกว่า 2% ของจีดีพีหรือลดลง 1 ใน4 จากปี 2556  ซึ่งเน้นการใช้จ่ายภายในประเทศ เดินหน้าลงทุนโครงสร้างพื้นฐานตามพ.ร.บ. 2 ล้านล้านบาท และจัดเก็บภาษีให้ได้ตามเป้า
   สำหรับฟากนโยบายการเงินร่ายยาวยุทธศาสตร์ 5 ปี (2555-2559) กำหนดทิศโดยมุ่งเน้นการสร้างความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืนของคนไทย และหวังให้ประเทศหลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลาง โดยจะร่วมมือกับภาครัฐ ซึ่งยุทธศาสตร์ปี 2556 กำหนดไว้ 4 ด้าน ประกอบด้วยด้านแรก การเชื่อมโยงระบบเศรษฐกิจการเงินกับต่างประเทศ (Connectivity) เพื่อสร้างโอกาสในการเติบโตจากภายนอก โดยเฉพาะเวทีอาเซียน+6 และกลุ่มประเทศCLMV (กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม)
   ด้านที่สอง การยกระดับศักยภาพการแข่งขัน (High Value-added economy) เพื่อสร้างโอกาสการเติบโตจากภายใน ทั้งการร่วมมือกับภาครัฐในการสร้างความเข้มแข็งให้เอสเอ็มอีทั่วประเทศ ปรับระบบการติดตามผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน ด้านที่สาม สนับสนุนการเข้าถึงบริการทางการเงินพื้นฐานอย่างทั่วถึง เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ (Financial Inclusion) โดยธปท.ยังคงเดินหน้าโครงการไมโครไฟแนนซ์ เพื่อให้บริการทางการเงินกับประชาชนในระดับรากหญ้า และเพิ่มบทบาทศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศศง.) เพื่อดูแลผู้บริโภคจากการคิดค่าธรรมเนียมและดอกเบี้ยโหด รวมทั้งมีนโยบายสนับสนุนให้คนไทยหันมาใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น เพื่อลดต้นทุนในการจัดการเงินสด
   สุดท้ายคือ การสร้างเสถียรภาพระบบเศรษฐกิจการเงิน (Economic/Financial Stability) เพื่อเตรียมตัวรองรับความเสี่ยงที่มาพร้อมกับการเติบโตในอนาคต โดย ธปท.จะดำเนินการปรับระบบการติดตามของการไหลเข้า-ออกเงินตราต่างประเทศ โดยถือเป็นเรื่องท้าทายที่ต้องผสมผสานเครื่องมือในการดูแลค่าเงินบาท ในจังหวะเวลาที่เหมาะสม
   ขณะที่ "กิตติรัตน์" ระบุว่า แม้หน้าที่หลักธปท.ต้องดูแลอัตราแลกเปลี่ยนให้มีเสถียรภาพและสร้างฐานะทางการเงินให้แข็งแกร่ง แต่การกำหนดอัตราดอกเบี้ยต้องสะท้อนความเป็นจริง  ซึ่งผลขาดทุนสะสมของธปท.เป็นผลพวงจากที่ต้องออกพันธบัตรมากทะลุ 5 แสนล้านบาทแล้ว สุดท้ายจะกระทบต่องบประมาณแผ่นดินในอนาคต  ซึ่งรัฐบาลอาจจะต้องตั้งงบขาดดุลเพื่อช่วยเหลือ  เพราะธปท.ไม่มีสิทธิ์ที่จะพิมพ์เงินออกมาใช้ตามใจชอบ
   อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรี(ครม.)มีมติคงกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อพื้นฐานไว้ที่ 0.5-3.0%ตามที่กระทรวงการคลังได้ตกลงร่วมกับธปท.  ดังนั้นความเสี่ยงทางการเติบโตของเศรษฐกิจจึงมีมากกว่าเงินเฟ้อ ซึ่งการดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายจึงต้องมีต่อเนื่อง และอัตราดอกเบี้ยนโยบายยังสามารถปรับลดลงจากปัจจุบันจากระดับ 2.75% 
   ส่วน "ประสาร" แสดงความเห็นว่า  ส่วนตัวเข้าใจเป้าหมายภาคการเมืองที่ต้องการเห็นความคึกคักในระบบเศรษฐกิจ ประชาชนพึงพอใจในระยะสั้น แต่ ธปท.นั้นอยากเห็นเศรษฐกิจมีเสถียรภาพในระยะยาว ดังนั้น การสร้างวิสัยทัศน์ การสื่อสาร การอธิบาย การเปิดเผยข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญ  ถ้าคนส่วนใหญ่เชื่อและเข้าใจจะทำให้ประเทศไทยเดินต่อไปได้
   "ตลอดปี 2555 ผมต้องให้เวลากับภารกิจนี้ค่อนข้างมาก เวลาที่มีโอกาสได้คุยกับนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ซึ่งเห็นว่าการใช้จ่ายของรัฐบาลมีประโยชน์ แต่มีการใช้จ่าย 2 แบบ แบบที่ 1 ทำให้ประเทศเข้มแข็ง แบบที่ 2 ทำให้ประเทศอ่อนแอ แต่สุดท้ายก็ต้องทำต่อไป อย่าคิดท้อถอยว่ารัฐบาลจะฟังหรือไม่ เพราะคงฟังบ้าง ดีกว่า ธปท.ไม่พูดเสียเลย"
   "ผู้ว่าการธปท." ขยายความให้ฟังอีกว่า  ที่ผ่านมาได้เห็นถึงความพยายามในการรักษาวินัยการคลังของรัฐบาล ที่พยายามลดการขาดดุลทางการคลังผ่านการตั้งเป้างบประมาณสมดุล  ซึ่งถ้านโยบายการคลังทำได้ตามเป้า เชื่อว่าจะแบ่งเบาภาระออกจากทางนโยบายการเงิน และไม่ต้องห่วงว่าอัตราดอกเบี้ยจะสูง หรือห่วงเรื่องเงินเฟ้อ ในทางกลับกันถ้านโยบายการคลังทุ่มลงไปมากคงหนีไม่พ้นนโยบายการเงินที่ต้องเข้มงวดและในที่สุดจะสร้างภาระข้างเคียงได้


 

คณะรัฐมนตรีพิจารณาเป้าหมายของนโยบายการเงินประจำปี 2556 แล้วมีมติอนุมัติเป้าหมายของนโยบายการเงินประจำปี 2556 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ทั้งนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (กค.) รายงานว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและคณะคณะกรรมการนโยบายการเงินได้เห็นชอบร่วมกันในการเสนอเป้าหมายของนโยบายการเงินประจำปี 2556 ต่อคณะรัฐมนตรี โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

1. กำหนดเป้าหมายของนโยบายการเงินประจำปี 2556 ไว้ที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยรายไตรมาสระหว่างร้อยละ 0.5 — 3.0 ต่อปี เช่นเดียวกับเป้าหมายของนโยบายการเงินประจำปี 2555 ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2555

2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายการเงินได้ลงนามในข้อตกลงร่วมกันในการกำหนดเป้าหมายของนโยบายการเงินประจำปี 2556 โดยข้อตกลงดังกล่าวมีสาระสำคัญ ดังนี้

2.1 เป้าหมายของนโยบายการเงิน ประจำปี 25556   อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยรายไตรมาสระหว่างร้อยละ 0.5 — 3.0 ต่อปี

2.2 การติดตามความเคลื่อนไหวของเป้าหมายของนโยบายการเงิน

เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายของนโยบายการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ กค. และธนาคารแห่งประเทศไทยจะจัดให้มีการหารือร่วมกันเป็นประจำทุกไตรมาส และเมื่อมีเหตุจำเป็นอันใดตามที่ทั้งสองหน่วยงานจะเห็นสมควร

2.3 การเคลื่อนไหวของอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานออกนอกเป้าหมาย

กรณีอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเคลื่อนไหวออกนอกช่วงเป้าหมายตามที่ตกลงร่วมกันไว้ ให้คณะกรรมการนโยบายการเงินชี้แจงสาเหตุ แนวทางแก้ไขและระยะเวลาที่คาดว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะกลับเข้าสู่ช่วงที่กำหนดไว้โดยเร็ว รวมทั้งให้รายงานความคืบหน้าของการแก้ไขปัญหาเป็นระยะตามสมควร

2.4 การแก้ไขเป้าหมายของนโยบายการเงิน

ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรหรือจำเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและคณะกรรมการนโยบายการเงินอาจตกลงร่วมกันเพื่อแก้ไขเป้าหมายของนโยบายการเงินได้ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา

 

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์  ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 11 ธันวาคม 2555

รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แถลงนโยบายต่อรัฐสภา เมื่อวันอังคารที่ 23 สิงหาคม 2554

ถึงวันนี้ ขาดเพียงหนึ่งเดือนก็จะครบขวบปี เห็นหน้าเห็นหลัง เพียงพอที่จะประเมินการทำหน้าที่ของรัฐบาลว่าเป็นไปตามนโยบายที่ตนเองเคยแถลงไว้ต่อรัฐสภามากน้อยเพียงใด

พิจารณาเฉพาะนโยบายที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์แถลงว่าเป็นเรื่องเร่งด่วน จะดำเนินการภายใน 1 ปีแรก

ปรากฏว่า มีอย่างน้อย 10 เรื่อง ดังต่อไปนี้

1) ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน เงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาทต่อเดือน

ใช้หลอกล่อเอาคะแนนเสียงจากประชาชน ทั้งๆ ที่ เป็นนโยบายที่ไม่ควรทำ ถูกเตือนว่าทำไม่ได้และจะเกิดผลเสียมีปัญหาทางปฏิบัติมากมาย

หาเสียงไว้อย่าง แถลงในรัฐสภาพยายามกลบเกลื่อนบิดเบือนไปอีกอย่าง

วันแถลงต่อรัฐสภา อ้างว่า “ดำเนินการให้แรงงานมีรายได้เป็นวันละไม่น้อยกว่า 300 บาท และผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า 15,000 บาท อย่างสอดคล้องกับผลิตภาพและประสิทธิภาพของบุคลากร”

เปลี่ยนคำว่า “ค่าแรงขั้นต่ำ” และ “เงินเดือน” เป็นรายได้

แต่ถึงกระนั้น ประชาชนก็ยังไม่ได้รับผลประโยชน์ตามคำมั่นสัญญา

ค่าแรง 300 บาท ได้ไม่กี่จังหวัด ส่วนเงินเดือนปริญญาตรีจบใหม่ 15,000 บาท ก็ได้เฉพาะภาครัฐที่จัดสรรเงินเพิ่มพิเศษมาสมทบให้ (ไม่ใช่เงินเดือนจริงๆ)

เหมือนขายผ้าเอาหน้ารอดไปเรื่อยๆ

2) กระชากค่าครองชีพ

ประกาศกลางสภาว่า “จะแก้ไขปัญหาค่าครองชีพโดยการดูแลราคาสินค้าและการมีรายได้เพื่อเพิ่มกำลังซื้อสุทธิของประชาชนโดยป้องกันและแก้ไขการผูกขาดทั้งทางตรงและทางอ้อม”

ถึงวันนี้ ของแพงทั้งแผ่นดิน

รัฐบาลแก้ไข โดยอ้างว่า ประชาชนคิดไปเอง

ยิ่งกว่านั้น ยังเน้นการสร้างภาพมากกว่าจะไปแก้ปัญหาราคาสินค้า โดยการเปิดร้านถูกใจ เอาเงินภาษีประชาชนไปอุดหนุนให้ดำเนินการขายของราคาถูกกว่าท้องตลาด โดยที่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศไม่ได้รับประโยชน์จากร้าน
ถูกใจเลย

3) ยกเลิกกองทุนน้ำมัน

เคยประกาศหาเสียงชัดเจนว่า จะยกเลิกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ด้วยความเขลา ไม่รู้จริงว่าถ้ายกเลิกแล้วจะมีผลกระทบ
ตามมาอย่างไร

แต่ถึงวันแถลงนโยบายต่อสภา พยายามพลิกลิ้น บอกว่า “ชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงบางประเภทชั่วคราวเพื่อให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงทันที และปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบให้มุ่งสู่การสะท้อนราคาต้นทุนพลังงาน”

แต่ถึงกระนั้น ประชาชนก็ยังไม่ได้รับผลประโยชน์ตามคำมั่นสัญญา

ราคาน้ำมันขึ้นเอาๆ เฉพาะในเดือนก.ค. ยังไม่สิ้นเดือน ขึ้นไปแล้ว 6 ครั้ง!

ยิ่งกว่านั้น ที่คุยโม้ว่าจะปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบก็ทำไม่ได้จริง ซ้ำร้าย กลับยิ่งทำให้โครงสร้างราคาพลังงานถูกบิดเบือนไปในทางที่ทำร้ายประชาชนผู้บริโภคยิ่งกว่าเดิม ทำลายพลังงานเอทานอลที่สามารถผลิตได้ในประเทศ

4) ยกระดับราคาสินค้าเกษตร

รัฐบาลยิ่งลักษณ์แถลงคุยโม้กลางสภาว่า “ยกระดับราคาสินค้าเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยดูแลราคาสินค้าเกษตรให้มีเสถียรภาพที่เหมาะสม คำนึงถึงกลไกราคาตลาดโลก โดยใช้วิธีบริหารจัดการทางการตลาดและกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้า”

ถึงวันนี้ ราคาพืชผลการเกษตรตกต่ำอย่างหนัก ชาวสวนผลไม้ ชาวไร่ยางพารา สับปะรด เกษตรกรรายย่อยเดือดร้อนหนัก ต้องออกมาเทผลผลิตประท้วงในหลายพื้นที่

ยางพารา เคยขาย กก.ละ 200 บาท ตกลงมาเหลือไม่ถึง 100 บาท

ในขณะเดียวกัน การใช้นโยบายรับจำนำข้าวราคาแพงกว่าตลาดโลกก็ทำลายกลไกราคาอย่างพินาศ ทำลายระบบ
การค้า ระบบการผลิตและการส่งออกข้าวไทยอย่างย่อยยับ ทำให้ไทยเสียแชมป์ส่งออกข้าวในตลาดโลก และรอเวลาขายข้าวในสต๊อกของรัฐที่จะขาดทุนมหาศาล

5) แจกแท็บเลตเด็กนักเรียน

พรรคเพื่อไทยเคยหาเสียงว่า จะแจกแท็บเลตแก่เด็กนักเรียนทั่วประเทศ ต่อมาก็พยายามกลบเกลื่อนโดยอ้างว่าจะแจกเฉพาะเด็กชั้น ป.1 ก่อน

วันแถลงนโยบาย รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ก็กลบเกลื่อนบิดเบือนกลายเป็น “จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเลตให้แก่โรงเรียน โดยเริ่มทดลองดำเนินการในโรงเรียนนำร่องสำหรับระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา พ.ศ.2555”

ปรากฏว่า ถึงวันนี้ การดำเนินการก็เป็นไปได้เพียงไม่กี่จังหวัด

แถมคุณภาพแท็บเลตยังคงมีปัญหาอื้อฉาวในขั้นตอนตรวจรับ เลื่อนแล้วเลื่อนอีก กระทั่งปรากฏแท็บเลตด้อยคุณภาพบางส่วนก็ยังเร่งรีบตรวจรับของเพื่อนำมาแจกสร้างภาพ

6) ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ

รัฐบาลยิ่งลักษณ์แถลงต่อสภาว่าการป้องกันและปราบปราม การทุจริตเป็นเรื่องด่วนภายในปีแรก บอกว่า “ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐอย่างจริงจัง โดยยึดหลักความโปร่งใสและมีธรรมาภิบาลที่เป็นสากลเพื่อให้การใช้ทรัพยากรเพื่อการพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อประเทศโดยรวมอย่างแท้จริง”

ขวบปีผ่านไป ไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน

ตรงกันข้าม หอการค้าไทยได้ทำการสำรวจพบว่า มีการจ่ายเงินใต้โต๊ะในการทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐเพิ่มสูงขึ้นเป็น 30-35 เปอร์เซ็นต์ ของมูลค่าโครงการ!

นอกจากนี้ รัฐบาลยังใช้วิธีจัดซื้อจัดจ้างแบบพิเศษในหลายโครงการที่มีมูลค่ามหาศาล ทำให้ขาดความโปร่งใส รวมไปถึงการใช้เงินนอกงบประมาณ และใช้เงินธนาคารของรัฐดำเนินนโยบายที่ส่อว่าจะมีปัญหาการขาดทุนแน่นอน

7) สร้างคุณธรรม จริยธรรม

แถลงต่อรัฐสภาว่า “ขยายการบังคับใช้บทบัญญัติเรื่องการห้ามการกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ให้ครอบคลุมผู้ใช้อำนาจรัฐในตำแหน่งสำคัญและตำแหน่งระดับสูงอย่างทั่วถึง เข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ เสริมสร้างมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลของบุคลากรภาครัฐ ตลอดจนปลูกฝังจิตสำนึกและค่านิยมของสังคมให้ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริตและถูกต้องชอบธรรม”

ขวบปีผ่านไป ปรากฏว่า รัฐบาลยิ่งลักษณ์แต่งตั้งบุคคลที่มีปัญหาด้านจริยธรรมคุณธรรมเข้ามาดำรงตำแหน่งในรัฐบาลมากมาย ไม่ว่าจะตำแหน่งรัฐมนตรี อย่างกรณีนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ นางนลินี ทวีสิน รวมไปถึงตำแหน่งทางการเมืองอื่นๆ ที่ปูนบำเหน็จรางวัลแก่แกนนำเสื้อแดงที่มีคดีร้ายแรงติดตัว เช่น นายเจ๋ง ดอกจิก นายอารี ไกรนรา ฯลฯ

ยิ่งกว่านั้น ตัวนายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และคนในตระกูลชินวัตรบางคน ก็ยังมีผลประโยชน์ทับซ้อนโดยตรงกับการผลักดันการออกกฎหมายเพื่อให้มีผลล้มล้างความผิดในคดีทุจริตโกงกินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

8) โครงการบริหารจัดการน้ำ

เคยแถลงต่อรัฐสภาว่าจะทำภายในปีแรก “ส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการและเร่งรัดขยายเขตพื้นที่ชลประทาน โดยเร่งให้มีการบริหารจัดการน้ำในระดับประเทศอย่างมีประสิทธิภาพให้สามารถป้องกันปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งได้ รวมทั้งสนับสนุนภาคการเกษตรด้วยการก่อสร้างระบบชลประทานขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ฟื้นฟูการขุดลอกคูคลอง และแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีอยู่เดิม ขยายเขตการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า จัดสร้างคลองส่งน้ำขนาดเล็กเข้าสู่ไร่นา และขยายเขตการจัดรูปที่ดิน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำและการผลิต ส่งเสริมการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเหมาะสมกับชนิดพืช และจัดหาแหล่งน้ำในระดับไร่นาและชุมชนอย่างทั่วถึง

รัฐบาลยิ่งลักษณ์เร่งรีบรวบรัด อ้างสถานการณ์เร่งด่วน ออก พ.ร.ก.เพื่อขอกู้เงินมูลค่ากว่า 3 แสนล้านบาท คุยโม้จะรีบไปทำโครงการแก้ปัญหาน้ำท่วม

แต่จนบัดนี้ เงินกู้ที่ออกเป็น พ.ร.ก.ดังกล่าว ก็มีการเบิกจ่ายไปเพียงไม่ถึงครึ่ง

แถมโครงการที่เหลือ ก็ยังไม่ปรากฏรายละเอียด ไม่มีการเสนอการประเมินความคุ้มค่าของโครงการ หรือนำเสนอผลการศึกษาผลกระทบใดๆ ทั้งสิ้น

ถึงวันนี้ โครงการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการยังมีแต่อากาศ

ไม่มีผลสำเร็จเป็นรูปธรรม

แต่ภาระหนี้สินของประเทศที่เกิดจากการกู้ของรัฐบาลปัจจุบัน และเตรียมจะกู้อีกกว่า 2 ล้านล้านบาทนับว่ามากมายมหาศาลเกินกว่าตัวนายกรัฐมนตรีจะรับผิดชอบไหว

ดีแต่กู้ตัวจริง!

9) หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

รัฐบาลยิ่งลักษณ์แถลงคุยโม้ว่า “เพิ่มประสิทธิภาพของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาทรักษาทุกโรคเพื่อให้ประชาชนทุกคนได้รับบริการอย่างมีคุณภาพ สะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรม”

ปรากฏว่า รัฐบาลกลับปรับลดงบเหมาจ่ายรายหัวที่จะนำไปใช้ดูแลประชาชนลง 141 บาทต่อหัว หรือลดลง 4.9% และลดงบส่งเสริมป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง 6.3% 

นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบทถึงกับออกมาวิพากษ์วิจารณ์ “เป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปีของระบบบัตรทองที่งบเหมาจ่ายรายหัวลดลง จะสร้างปัญหาให้กับหน่วยบริการและทำให้เป็นระบบสำหรับผู้ป่วยอนาถาเหมือนในอดีตสวนทางกับนโยบายรัฐบาล”

10) ปัญหาความปรองดองสมานฉันท์

แทบไม่ต้องพูดถึงกรณีปัญหาสถานการณ์ความแตกแยก ความวุ่นวายทางการเมือง ที่เกิดขึ้นจากการใช้อำนาจรัฐผลักดันวาระทางการเมืองเพื่อนิรโทษกรรมและลบล้างความผิดแก่ทักษิณ ชินวัตร

ขัดแย้งกับที่สัญญาว่าจะสร้างความปรองดองสมานฉันท์

รัฐบาลยิ่งลักษณ์เคยแถลงต่อรัฐสภาว่า “สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย โดยการเสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันของประชาชนในชาติให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”

กลับพยายามออกกฎหมายล้างผิดให้คนโกง คนฆ่าทหาร-ฆ่าประชาชน

ให้ท้ายขบวนการอันธพาลทางการเมืองเสื้อแดง ไล่ล่า ขัดขวางการแสดงออกของคนที่คิดต่าง

ส่งเสริมการจัดตั้งหมู่บ้านเสื้อแดงที่เป็นการสร้างความแตกแยก เพิ่มรอยร้าวในระดับชุมชน

ปล่อยให้มีการจาบจ้วง ล่วงละเมิด ดูหมิ่นสถาบันเบื้องสูง ละเว้นไม่ดำเนินคดีกับคนในเครือข่ายการเมืองของรัฐบาล มีการสั่งไม่ฟ้องนายจักรภพ เพ็ญแข นายจตุพร พรหมพันธุ์ เป็นต้น

ก้าวที่สองรัฐบาล'ยิ่งลักษณ์'

ก้าวที่สองรัฐบาล'ยิ่งลักษณ์' ลดประชานิยม-เดินนโยบายบนโลกความจริง : คอลัมน์สัมภาษณ์พิเศษ : โดย...ณัฐฎ์ชิตา เกิดแดง

 ในวันที่ 23 สิงหาคมนี้ รัฐบาลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะแถลงผลงานที่นั่งเก้าอี้มาครบ 1 ปี ซึ่งส่วนใหญ่เน้นไปที่นโยบายเร่งด่วน หรือนโยบายประชานิยมเป็นหลัก ขณะที่กระทรวงการคลังนั้น ถือได้ว่ามีบทบาทสำคัญในการผลักดันหลายๆ นโยบายในช่วงที่ผ่านมา โดย "ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย" รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ชี้แจงและประเมินผลการดำเนินงานในรอบปีว่า ส่วนใหญ่ล้วนเป็นไปตามเป้าหมายที่รัฐบาลวางไว้

  "นโยบายเร่งด่วน 10 ด้าน รัฐบาลทำได้ทั้งหมด ส่วนนโยบายจำเป็นที่ประชาชนต้องการเราก็ทำได้ แม้ว่ารัฐบาลจะเริ่มงานจริงๆ ได้ล่าช้า เพราะติดปัญหาน้ำท่วมช่วงปลายปีก่อน จึงถือได้ว่าปีแรกของรัฐบาลนายกฯ ยิ่งลักษณ์มีปัญหาอุปสรรคมากมาย แต่เราก็ผ่านมาได้ด้วยดี เชื่อว่าในช่วงเวลาที่เหลือต่อไปการทำงานจะยิ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้น"

  นายทนุศักดิ์กล่าวว่า ได้รับมอบหมายให้เข้ามาดูแลรับผิดชอบนโยบายของพรรคที่เกี่ยวข้องกับประชาชนส่วนใหญ่ หรือรากหญ้า ซึ่งรากหญ้าก็ต้องยอมรับว่ามีหลายระดับ ส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะตนเป็นตัวแทนมาจากต่างจังหวัด มีความเข้าใจชาวบ้าน ผู้มีรายได้น้อย เมื่อเข้ามาจึงตั้งใจมาผลักดันโครงการต่างๆ อย่างเต็มที่ เพื่อให้สอดรับกับสโลแกนของพรรคที่ว่า "ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ขยายโอกาส"

ผลักดันลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังระบุว่า จริงๆ แล้วรัฐบาลเริ่มดำเนินการกับคนกลุ่มบนก่อน คือ การลดภาษีต่างๆ เพื่อลดรายจ่าย เช่น การปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 30% เหลือ 23% ในปีนี้ และเหลือ 20% ในปีหน้า การให้ค่าลดหย่อนทางภาษีเพิ่มเติม เช่น การซื้อบ้านหลังแรก ล่าสุดอยู่ระหว่างพิจารณาเรื่องการแยกยื่นภาษีระหว่างสามีภรรยา และในอนาคตก็จะนำไปสู่การปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

  ทั้งนี้ กรมสรรพากรได้เสนอมาแล้วในเบื้องต้น เกี่ยวกับการปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพื่อให้มีความเป็นธรรมมากขึ้น โดยอาจจะมีการซอยอัตราภาษีให้ถี่มากขึ้น และขยายฐานรายได้ขั้นสุดท้ายที่ได้รับการยกเว้นภาษีมากขึ้น เช่น จากเดิมผู้มีรายได้ 1.5 แสนบาทต่อปี จะได้รับการยกเว้นภาษี ก็อาจจะขยับเป็นรายได้ไม่เกิน 2 แสนบาทไม่ต้องเสียภาษี  ซึ่งจะทำให้มนุษย์เงินเดือนที่ไม่ต้องเสียภาษีมีจำนวนมากขึ้น

  จากนั้นก็ซอยขั้นรายได้และอัตราภาษีให้ถี่ขึ้นจากปัจจุบันแต่ละขั้นห่างกันที่ 10% ก็จะห่างกันแค่ 5% จนกระทั่งสูงสุดจะปรับลดจาก 37% เหลือ 35% เพราะอยากให้รางวัลคนกลุ่มนี้ ซึ่งเป็นผู้เสียภาษีรายใหญ่ โดยปีหน้าอาจจะมีการผลักดันเรื่องนี้ชัดเจนขึ้น เพราะนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังไม่ต้องการเพิ่มภาระให้แก่ประชาชน แต่หากเป็นการลดภาระก็ไม่น่าจะมีปัญหา ซึ่งแน่นอนว่าอาจทำให้รายได้ของกรมสรรพากรหายไปในช่วงแรก ส่วนในระยะยาวเชื่อว่ารายได้ของกรมจะกลับคืนมา

  นายทนุศักดิ์ระบุว่า เหตุที่มองว่ารายได้ของรัฐจะกลับคืนมา เนื่องจากก่อนหน้านี้ตนสั่งการให้ 3 กรมภาษีทำงานอย่างบูรณาการมากขึ้น เพื่อให้มีรายได้เข้ามาเต็มเม็ดเต็มหน่วย แต่ไม่ได้หมายความว่าไปไล่บี้รีดภาษีจากกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง โดยจะเน้นไปกลุ่มที่ยังเสียภาษีไม่ถูกต้อง และขยายไปยังธุรกิจใหม่ๆ ที่ยังอยู่นอกระบบมากกว่า ซึ่งกรมสรรพากรก็มีแผนพัฒนาการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บอยู่แล้วและของบประมาณลงทุนด้านระบบ บุคลากรเข้ามา ซึ่งกระทรวงการคลังไม่ขัดข้อง แต่ขอให้จัดทำแผนเสนอมาให้ชัดเจนอีกครั้ง หากสรรพากรทำได้ตามที่วางแผนไว้ก็จะทำให้สามารถเก็บรายได้เพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว หรือจากที่ปัจจุบันจัดเก็บได้ 1.6 ล้านล้านบาท อาจเพิ่มเป็น 2-3 ล้านล้านบาท ในอนาคต ก็จะทำให้รัฐไม่ต้องขาดดุลงบประมาณ เป็นต้น

ก้าวที่สองเน้นช่วยเหลือผ่านกองทุน

  "รัฐบาลให้ความสำคัญกับประชาชนระดับรองลงมา หรือกลุ่มรากหญ้าผ่านโครงการพักหนี้ บัตรเครดิตชาวนาที่ถือเป็นโครงการที่ประกาศไว้และต้องทำเร่งด่วน แต่ต่อไปการทำงานของรัฐบาลจะเน้นให้ความช่วยเหลือด้านเงินทุนผ่านไปยังกองทุนต่างๆ โดยที่ประชาชน รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องร่วมมือกัน ซึ่งจะไม่ใช่เงินให้เปล่า หรือทำในลักษณะ ลด แลก แจก แถม เหมือนในปีแรกที่รัฐบาลต้องออกตัว แต่ปีต่อไปที่ทำอะไรต้องอยู่บนโลกของความเป็นจริง เช่น กองทุนตั้งตัวที่กำลังเดินหน้าอยู่ในขณะนี้"

  นายทนุศักดิ์ชี้แจงว่า แม้รัฐบาลจะเน้นนโยบายประชานิยม แต่ถือเป็นประชานิยมแบบสร้างสรรค์ อย่างการดำเนินนโยบายผ่านกองทุนต่างๆ เช่น การเพิ่มเงินให้กองทุนหมู่บ้านจาก 1 ล้านเป็น 2 ล้าน กองทุนสตรี จนมาถึงกองทุนตั้งตัว ล้วนไม่ใช่การแจกเงินฟรี และตัวกองทุนจะคงอยู่มีเงินทุนหมุนเวียนต่อไปโดยที่ไม่ได้ใช้เงินจากภาครัฐเพิ่ม อย่างเช่นกองทุนตั้งตัวก็จะดึงธนาคารกรุงไทยเข้ามาร่วมสมทบปล่อยเงินกู้ให้นักศึกษาจบใหม่ที่ต้องการเป็นเจ้าของธุรกิจด้วยในอัตรา 50% จึงต้องมีการคัดเลือกโครงการที่เหมาะสม การพิจารณาสินเชื่อต้องค่อนข้างรัดกุม ทำให้มั่นใจว่าจะไม่กลายเป็นหนี้เสียในอนาคต และยังเป็นช่องทางที่สร้างโอกาสให้เด็กไทยได้มีโอกาสเป็นเถ้าแก่น้อยได้มากขึ้น

สานต่อโครงการเดิมเพิ่มประสิทธิภาพ

  นอกจากการดำเนินงานภายใต้หลักความเป็นจริงที่ต้องพิจารณาความจำเป็นความเหมาะสมและภาระงบประมาณของภาครัฐแล้ว ในปีต่อไปรัฐบาลก็ยังต้องสานต่อนโยบายเดิม แต่อาจมีการปรับปรุงแก้ปัญหาหรือติดตามความสำเร็จของโครงการเป็นระยะๆ ทั้งโครงการรถคันแรก การรับจำนำข้าว การพักหนี้ดีและบัตรเครดิตชาวนา

  สำหรับโครงการรถคันแรกนั้น จนถึงวันนี้นายทนุศักดิ์ยืนยันว่า ประสบความสำเร็จอย่างดี มียอดขอคืนภาษีเข้ามาแล้วกว่าแสนคัน และจากข้อมูลของกรมขนส่งทางบกมีรถยนต์รอจดทะเบียนอีกกว่า 2 แสนคัน รวมแล้วน่าจะเกือบ 4 แสนคัน ที่เข้าข่ายได้สิทธิคืนภาษี และหลังจากรัฐบาลขยายสิทธิในส่วนของการส่งมอบรถออกไปไม่มีกำหนด ซึ่งอาจจะเป็นปี 2556 หรือปี 2557 แต่ยังต้องจองภายในสิ้นปีนี้ก็น่าจะทำให้มีจำนวนรถเข้าโครงการมากกว่า 5 แสนคัน และใช้เงินคืนภาษีมากกว่า 3 หมื่นล้านบาท

  "ถ้าโครงการประสบความสำเร็จด้วยดี รัฐพร้อมจะจ่ายเพิ่ม เพราะเป็นการทยอยจ่ายตามการถือครองครบ 1 ปี ไม่ได้ใช้เงินภายในปีเดียว ซึ่งการขยายสิทธิรับรถก็เพื่อเป็นการชดเชยในช่วงเวลาน้ำท่วมปลายปีก่อนที่อาจทำให้บริษัทรถยนต์ส่งมอบไม่ทันปีนี้ โดยยืนยันว่า หลังจากนี้จะไม่มีการขยายเวลาการจองรถออกไปอีกอย่างแน่นอน"

  นายทนุศักดิ์กล่าวถึงโครงการพักหนี้ส่วนของลูกหนี้ที่ดีด้วยว่า ขณะนี้อาจจะมีปัญหาอยู่บ้างในส่วนของธนาคารออมสินที่มีลูกหนี้มาแสดงความจำนงเข้าโครงการน้อยจากผู้มีสิทธิ 3.8 แสนกว่าราย แต่มียื่นขอเข้าโครงการประมาณหมื่นกว่ารายเท่านั้น จึงเกรงว่าหลังปิดโครงการจะไม่สามารถเดินไปสู่เป้าหมายได้เหมือนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การกษตร (ธ.ก.ส.) ที่มีลูกค้าเป้าหมาย 2.7 ล้านราย และเข้าโครงการแล้ว 2.1 ล้านราย ซึ่งที่เหลือเชื่อว่าน่าจะเข้าโครงการทั้งหมด

  ทั้งนี้ จากการประชุมของผู้บริหารกระทรวงการคลัง พร้อมด้วยนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน มีแนวคิดว่า การพักหนี้มี 2 แนวทางคือ พักเงินต้นและลดดอกเบี้ยกับไม่พักเงินต้นแต่ลดดอกเบี้ย ดังนั้น เพื่อประโยชน์ของประชาชนหรือลูกหนี้ทุกราย หากไม่เลือกพักเงินต้นก็ควรให้สิทธิได้รับดอกเบี้ยอัตโนมัติทุกราย โดยขณะนี้กระทรวงการคลังกำลังดูในแง่ระเบียบกฎเกณฑ์และมติครม.ก่อนหน้านี้ว่า หากปรับเปลี่ยนแล้วจะมีปัญหาหรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้จะมีการหารือกันอีกครั้งในวันที่ 20 สิงหาคมนี้ หลังปิดโครงการ

เชื่อไม่สร้างหนี้เสียให้แบงก์รัฐเพิ่ม

  "มั่นใจว่าการพักหนี้ให้ลูกหนี้ที่ดีรวมแล้วเกือบ 3 ล้านคนนี้ ไม่น่าจะทำให้เกิดหนี้เสียของแบงก์รัฐมากขึ้น เพราะในปี 2544-2545 ที่รัฐบาลเคยพักหนี้ให้เกษตรกรก็มีหนี้เสียเพียงแค่ 1% เท่านั้น ทั้งที่ตอนนั้นเราไม่พร้อมทำโครงการ แต่ตอนนี้เรามีความพร้อม มีประสบการณ์ จึงมั่นใจว่าจะไม่เกิดความเสียหาย เพราะไม่ได้เป็นการพักหนี้เฉยๆ แต่มีการฝึกอบรม สอนทำบัญชี ฝึกอาชีพ ติดตามอย่างใกล้ชิด อีกทั้งคนต่างจังหวัด ชาวนาชาวไร่ส่วนใหญ่มีวินัยทางการเงินค่อนข้างดี"

  นอกจากนี้ ในส่วนของบัตรเครดิตชาวนาก็ต้องเดินหน้าต่อไปและต้องปรับปรุงให้ดีขึ้น รวมถึงขยายบัตรให้ครอบคลุมไปสู่กลุ่มอื่นมากขึ้น จากที่ก่อนหน้านี้ได้ผลักดันการใช้บัตรสินเชื่อเกษตรกรให้สามารถรูดซื้อสินค้าจำเป็น เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช และขยายไปสู่น้ำมันได้ โดยเกษตรกรจะได้รับประโยชน์จากการปลอดดอกเบี้ยนานถึง 5 เดือน ขณะนี้ธ.ก.ส.อยู่ระหว่างเร่งแจกจ่ายบัตรให้ถึงมือชาวนาจำนวน 2 ล้านใบ ภายในสิ้นเดือนสิงหาคมนี้ และหลังจากนั้นจะขยายไปสู่มือของเกษตรกรผู้ปลูกพืชชนิดอื่นต่อไป โดย ธ.ก.ส.ประเมินว่า หากทำเต็มที่จะมียอดของบัตรรวมทั้งสิ้น 4 ล้านใบ

 ส่วนของกลุ่มอื่นทราบมาว่า ธนาคารออมสินก็พร้อมทำบัตรเครดิตเจาะกลุ่มคนมีรายได้น้อยหรือไม่ได้มีรายได้ประจำในเร็วๆ นี้ ถือเป็นนโยบายที่ดีมาเสริมต่อสวนนี้ได้ เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มได้รับประโยชน์ โดยยืนยันว่านโยบายของรัฐบาลไม่ได้ส่งเสริมให้ประชาชนเป็นหนี้เพิ่มขึ้น เพราะจะมีการควบคุมและจำกัดการใช้วงเงิน

............................................................
(ก้าวที่สองรัฐบาล'ยิ่งลักษณ์' ลดประชานิยม-เดินนโยบายบนโลกความจริง : คอลัมน์สัมภาษณ์พิเศษ : โดย...ณัฐฎ์ชิตา เกิดแดง)


ยิ่งลักษณ์ชี้เพิ่มค่าแรงไม่กระทบการเงิน

นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าที่นายกรัฐมนตรี กล่าวถึง นโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ว่า นโยบายนี้ไม่ได้หายไปจากเรื่องเร่งด่วนของพรรคเพื่อไทย แต่อยู่ในขั้นตอนการศึกษารายละเอียด ที่อาจจะต้องเริ่ม ในวันที่ 1 มกราคม ปี 2555 เนื่องจากต้องเชื่อมกับนโยบายลดภาษีส่วนบุคคล รวมทั้งต้องหารือระหว่างไตรภาคี ทั้งนี้ ภาษีนิติบุคคลที่ลดลงไป จะมีเงินมาเพิ่มในส่วนของค่าจ้างขั้นต่ำ แต่หากทำเพียงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จะเป็นการผลักภาระให้กับบริษัท 

นางสาวยิ่งลักษณ์ ยืนยันด้วยว่า นโยบายทั้งหมดของพรรคเพื่อไทยจะไม่ทำให้เสียวินัยการเงินการคลัง ส่วนนโยบายการยกเลิกการเก็บกองทุนน้ำมันนั้น นางสาวยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ในหลักการ จะยกเลิกการจัดเก็บเฉพาะ 3 ตัว คือ เบนซิน 95 เบนซิน 91 และ ดีเซล แต่ในส่วนอื่นยังปกติอยู่ ทั้งนี้ แนวนโยบายดังกล่าว จะไม่เป็นการผลักภาระให้กับประชาชน แต่ระยะยาว จะมีการพิจารณาเป็นช่วงๆ ซึ่งหากเศรษฐกิจดีขึ้น อาจจะขอปรับให้มีการเก็บคือเหมือนเดิม ขณะที่นโยบายทั้งหมด จะดำเนินการทันที แต่คงต้องรอให้ทีมเศรษฐกิจพิจารณา ศึกษาถึงความเป็นไปได้ทั้งหมด ก่อนจะนำไปบรรจุในแผนงบประมาณ


นโยบายเศรษฐกิจ ของคณะรัฐมนตรี (นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)

นโยบายเศรษฐกิจมหภาค

1.ดำเนิน การให้มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ และให้เศรษฐกิจสามารถเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม และก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มีการจ้างงานเต็มที่ ระดับราคามีเสถียรภาพ ระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ

2.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

3.พัฒนา ระบบสถาบันการเงินในประเทศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหญ่และผู้ด้อยโอกาส สามารถให้บริการที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมการเงินและความ ต้องการที่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคมด้วยค่าบริการที่ต่ำและการ บริการที่มีประสิทธิภาพ

4.ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างฐานรายได้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ทั้งจากภาษีและที่มิใช่ภาษี

5.ส่ง เสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงองค์ประกอบและโครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ

6.ปรับปรุง โครงสร้างของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน

7.บริหารสินทรัพย์ ของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพิจารณาการจัดตั้งกองทุนที่สามารถใช้ในการบริหารสินทรัพย์ของชาติให้ เป็นประโยชน์ เช่น กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองแห่งชาติ และกองทุนความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

นโยบายสร้างรายได้

1.ส่ง เสริมการท่องเที่ยวจากทั้งภายนอกและภายในประเทศ จัดให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว ให้มีรายได้จากนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวในเวลา 5 ปี

2.ขยาย บทบาทให้ธุรกิจการเกษตรและอาหารซึ่งเป็นแหล่งรายได้และการจ้างงานในประเทศมา เป็นเวลานานให้ก้าวข้ามไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหารคุณภาพ สูง เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่มีฐานะและรสนิยมเฉพาะตัว การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและอาหาร จะทำให้เป้าหมายการเป็นครัวที่มีคุณภาพของโลกสัมฤทธิผลรวดเร็วยิ่งขึ้น

3.ส่ง เสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมพลังงานปิโตรเลียมและพลังงานทดแทนสามารถสร้าง รายได้จากความต้องการภายในประเทศ รวมทั้งสร้างการจ้างงานให้แก่ประเทศโดยถือเป็นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ใหม่

4.ยก ระดับความสามารถในการแข่งขันและขยายช่องทางการตลาดของธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจบริการในประเทศ และธุรกิจวิสาหกิจชุมชนให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการผลิตสินค้าและ บริการที่มีคุณค่าและคุณภาพสูง

5.ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขยายการ ลงทุนไปประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีความพร้อมทางด้านแรงงานและวัตถุดิบเพื่อสร้าง ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศและภูมิภาค

6.ดึงดูดการลงทุน เข้าสู่ประเทศในสาขาที่เป็นการผลิตสินค้าและบริการที่มีพื้นฐานทางเทคโนโลยี มีมูลค่าสูง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการลงทุนในการสร้างเมืองใหม่ในพื้นที่ที่เหมาะสม และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ

7.เสริมสร้างกระบวนการสร้างอาชีพ สร้างงานที่มีคุณภาพและมีรายได้สูงให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง

8.ส่งเสริมการขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุน และการเงิน ภายใต้ประโยชน์ร่วมกันของกรอบความร่วมมือและข้อตกลงทางการค้า

นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

ภาคเกษตร

1.ส่ง เสริมสนับสนุนให้สภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นกลไกของเกษตรกรในการสื่อสารกับ รัฐบาลและร่วมกันพัฒนาเกษตรกรด้วยตนเองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

2.เพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิตพืช โดยการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช ใช้ปุ๋ยตามคุณสมบัติของดินแต่ละชนิด เพื่อลดต้นทุนการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิต

3.เพิ่มศักยภาพกระบวนการ ผลิตด้านปศุสัตว์ให้ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศและการส่งออก

4.พัฒนาการประมง ทั้งในการเพาะเลี้ยงและในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการฟื้นฟูทรัพยากรประมงและจัดระเบียบการทำประมงให้สมดุลกับศักยภาพการ ผลิตตามธรรมชาติ ขยายพื้นที่อนุรักษ์เพื่อการประมงทะเลพื้นบ้าน ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แสวงหาลู่ทางการทำประมงในน่านน้ำต่างประเทศที่ไม่ขัดต่อระเบียบขององค์การ ระหว่างประเทศและประเทศที่นำเข้า

5.เสริมสร้างฐานรากของครัวเรือน เกษตรกรให้เข้มแข็งโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก ลดต้นทุนการผลิต พัฒนาระบบการผลิตที่เป็นขั้นตอน

6.จัดทำระบบทะเบียนครัวเรือน เกษตรกรที่มีข้อมูลการเกษตรของครัวเรือนครบถ้วน สามารถเชื่อมโยงกับบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกรและมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่ เสมอ

7.เร่งรัดพัฒนาธุรกิจการเกษตร โดยการพัฒนาสถาบันเกษตรกรในด้านธุรกิจ สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่จากโครงการกองทุนตั้งตัวได้

8.พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรมูลค่าเพิ่มเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก

9.ส่ง เสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ ดำเนินการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม สร้างความเข้มแข็งภาคเกษตรและสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อเผชิญกับวิกฤต อาหารโลก

ภาคอุตสาหกรรม

1.ยกระดับความสามารถในการ แข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในประเทศด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนของผู้ประกอบการ และยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ตลอดจนส่งเสริมให้มีการสร้างตราสินค้าไทย

2.ยกระดับภาคอุตสาหกรรม เข้าสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ใช้ปัญญา ใช้เทคโนโลยี และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทดแทนอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลัก

3.พัฒนา และส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปบนฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าและยกระดับสินค้าให้มีคุณภาพ มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล และมีโอกาสในการขยายตลาด

4.สร้างความเข้มแข็งให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยสนับสนุนช่องทางการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อผ่านสถาบันการเงินต่างๆ

5.กำหนดมาตรฐานและคุณภาพขั้นพื้นฐานของสินค้าอุตสาหกรรมเมื่อมีการเปิดเสรีการค้ามากขึ้น เพื่อป้องกันสินค้านำเข้าที่ไม่ได้คุณภาพ

6.พัฒนา พื้นที่อุตสาหกรรมแห่งใหม่ รวมทั้งการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจระหว่างฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทยสำหรับ รองรับอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อมลพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน

7.เร่งพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และอยู่ร่วมกับชุมชนได้

8.ส่ง เสริมและจัดให้มีมาตรการทางภาษีและมาตรการอื่นที่เกี่ยวข้องในการพัฒนา อุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน และการใช้พลังงานจากภาคเกษตร

9.สนับสนุนให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกสาขาการผลิตเข้าประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม

10.เร่งรัด สำรวจและแสวงหาแหล่งแร่สำคัญ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และพัฒนาอุตสาหกรรมต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มโดยให้ความสำคัญกับการกำกับ ดูแลผลกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชน

การตลาด การค้า และการลงทุน

1.ส่ง เสริมนโยบายการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม เพื่อป้องกันการผูกขาดตัดตอน ส่งเสริมและพัฒนาบทบาทขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคทั้ง ภาครัฐและเอกชน แก้ไขปรับปรุงกฎหมาย มาตรการต่างๆ เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้บริโภค

2.สร้างความเชื่อมั่นให้นัก ลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยปรับปรุงพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบที่ส่งเสริมการค้าการลงทุนที่ครอบคลุม การลงทุนด้านเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ และปรับปรุงมาตรการบริหารการนำเข้าเพื่อป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม

3.สนับสนุน การลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ ส่งเสริมและสนับสนุนการเปิดร้านอาหารไทยของคนไทยตามนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก และนโยบายไทยเป็นครัวอาหารโลก

4.ปรับปรุงมาตรการการส่งเสริมการ ลงทุนให้ครอบคลุมการให้สิทธิประโยชน์แก่ธุรกิจในภาคเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การกีฬา และบริการ

5.ส่งเสริมการขยายตลาดเชิงรุก เพื่อรักษาตลาดเดิมและสร้างตลาดใหม่ เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกไปตลาดหลัก โดยส่งเสริมการส่งออกสินค้าและบริการในตลาดใหม่ ได้แก่ จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันออก

6.พัฒนาสินค้าและบริการที่สร้างโอกาสใหม่ในการหารายได้ การผลิตสินค้าและบริการอันเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในตลาดโลก

7.ขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุน และการตลาดภายใต้กรอบความร่วมมือและข้อตกลงการค้าเสรีในระบบพหุภาคีและทวิภาคี

8.เร่งรัด จัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษบริเวณพื้นที่ที่มีศักยภาพ โดยให้ความสำคัญต่อจังหวัดชายแดน เพื่อส่งเสริมการค้า การตลาด การลงทุน การจ้างงาน และการใช้วัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้าน


นายกแถลงนโยบาย








  นโยบายเศรษฐกิจ

.๑  นโยบายเศรษฐกิจมหภาค

๑  ดำเนินการใหม่การกระจายรายได้ที่เป็นธรรมให้แก่ คนส่วนใหญ่ของประเทศและใหเศรษฐกิจสามารถเจริญเติบโตในอัตราส่งอย่างมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมและก่อให้เกิด

การขยายตัวทางเศรษฐิกจอย่างยั่งยืนมีการจ้างงานเต็มที่ระดับราคามเสถียรภาพ ระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินุทนระหว่างประเทศ โดยการสร้างความเข้มแข็งและมีประสิทธภาพของตลาดเงินและตลาดทุนในประเทศรวมถึง การสร้างความร่วมมือในภูมิภาคเพื่อรองรับความผันผวนที่อาจเกิดขึ้น

๒  ส่งเสริมใหประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สามารถ

ตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรมโดยให้เป็นทั้งแหล่ง เงินทุนแก่ผู้ประกอบการและเป็นช่องทางการออมของประชาชนโดยเฉพาะในกลุ่ม ผู้มีรายได้น้อย รวมถึงการพัฒนาขีดความสามารถในการดำเนินงานขององค์กรทางการเงิน ชุมชนกลุ่มเกษตรกร กลุ่มอาชีพต่าง ๆ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน และสหกรณ์ทุกระดับ พร้อมกับ การพัฒนาความรู้พื้นฐานทางการเงินแก่ประชาชน

๓  พัฒนาระบบสถาบันการเงินในประเทศให้รับผิดชอบ ต่อคนส่วนใหญ่และผู้ด้อยโอกาสสามารถใหบริการที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของ นวัตกรรมการเงินและความต้องการที่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคมด้วยค่าบริการที่ต่ำและการบริการที่่มีประสิทธิภาพการสร้างเสถียรภาพและความมั่นคง โดยการออกมาตรการที่จำเป็นและปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบรวมถึงส่งเสริม หลักธรรมาภิบาลในระบบการเงิน ปรับปรุงระบบกำกับดูแลให้ได้มาตรฐานสากลเพื่อป้องกัน ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นต่อระบบการเงินและระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม

๔  ปรับโครงสร้างภาษีอากรทัั้งระบบเพื่อสนับสนุน การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสร้างความเป็นธรรมในสังคมส่งเสริม การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างฐานรายได้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาวรวมทั้ง เพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ทั้งจากภาษีและที่มิใช่ภาษี

๕  ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลังโดยปรับปรุง องค์ประกอบและโครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสมมีระบบบริหารความเสี่ยงทางการคลัง ที่มีประสิทธิภาพจัดลำดับความสำคัญของงบประมาณรายจ่ายให้สอดคล้องกับทิศทาง การพัฒนาและให้เป็นพื้นฐานของการพัฒนาในอนาคต  ส่งเสริมบทบาทภาคเอกชนในการ ร่วมลงทุนและดำเนินการในกิจการของรัฐตลอดจนส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้มีประสิทธิภาพในการบริหารและจัดการรายได้ในท้องถิ่นเพื่อลดการพึ่งพาเงินอุดหนุน จากส่วนกลาง

๖  ปรับปรุงโครงสร้างของรัฐวิสาหกิจโดยมุ่งเน้น ประสิทธิภาพการให้บริการการบริหารทรัพย์สินใหเกิดประโยชน์สูงสุดและเร่งฟื้นฟู รัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงินรวมทั้งปฏิรูประบบการกำกับดูแลการลงทุนและ

การดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจโดยเฉพาะรัฐวสาหกิจที่มีสถานะเป็นบริษัทมหาชน เพื่อให้ รัฐวิสาหกิจเป็นกลไกที่สามารถสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาและการลงทุน ของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพและทนต่อความเปลี่ยนแปลง

๗  บริหารสินทรัพย์ของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ และความมั่นคงทางเศรษฐกิจทั่งสินทรัพย์ของภาครัฐตลอดจนทุนในท้องถิ่นที่รวมถึง ภูมิปัญญาท้องถิ่นวิถีชีวิตวัฒนธรรมรวมทั้งพิจารณาการจัดตั้งกองทุนที่สามารถใช้ ในการบริหารสินทรัพย์ของชาติให้เป็นประโยชน์เช่นกองทุนมั่งคงแห่งชาติ  กองทุนน้ำมัน เชื้อเพลิงสำรองแห่งชาติและกองทุนความมั่นคงทางอาหารเป็นต้น


      นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังนายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังนายวิรุฬ เตชะไพบูลย์รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังนายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลังนายสมชัย สัจจพงษ์ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังในฐานะโฆษกกระทรวงการคลังร่วมด้วยผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงการคลังได้ร่วมกันแถลงผลงานของกระทรวงการคลังตามนโยบายรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในรอบ 1 ปี เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2555 เวลา 12.00 น. ณ ห้องประชุม 401 กระทรวงการคลังโดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

     นายกิตติรัตน์ฯ กล่าวว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยได้เผชิญกับความท้าทายทางเศรษฐกิจในหลายด้าน ทั้งจากภาวะของเศรษฐกิจโลกที่เปราะบางจากปัญหาหนี้สาธารณะของยูโรโซนและผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจไทยในช่วงก่อนที่รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงและอัตราเงินเฟ้อเริ่มปรับเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องรัฐบาลโดยกระทรวงการคลังจึงได้มีมาตรการเร่งด่วนเพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจดังกล่าวรัฐบาลได้เน้น 4 นโยบายหลักดังนี้

1. นโยบายแก้ไขปัญหาอุทกภัย เพื่อบรรเทา เยียวยา และป้องกันอุทกภัยในอนาคตโดยในระยะสั้นกระทรวงการคลังได้ขยายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินดำเนินมาตรการช่วยเหลือทางการเงินผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจ มาตรการช่วยเหลือด้านภาษี รวมทั้งจัดตั้งกองทุนส่งเสริมประกันภัยพิบัติ และในระยะปานกลางถึงยาวกระทรวงการคลังได้สนับสนุนการลงทุนเพื่อวางระบบการบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ 350,000 ล้านบาท

2. นโยบายลดรายจ่ายเพื่อบรรเทาภาระของประชาชนจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ด้วยโครงการพักหนี้เกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อย การลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล การต่ออายุมาตรการค่าครองชีพ และบัตรเครดิตพลังงาน

3. นโยบายเพิ่มรายได้ เพื่อเสริมสร้างกำลังซื้อและความเป็นอยู่ของประชาชน ด้วยการปรับเพิ่มขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท/วัน และโครงการขึ้นเงินเดือนข้าราชการที่จบปริญญาตรีเป็น 15,000 บาท/เดือน และโครงการจำนำข้าวของ ธ.ก.ส. และ

4. นโยบายขยายโอกาส เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของประชาชน ผู้ประกอบการ และประเทศ ด้วยการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลจากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 23 ในปี 2555 และร้อยละ 20 ในปี 2556 โครงการรถคันแรก โครงการบ้านหลังแรก และกองทุนตั้งตัวได้

การดำเนินงานตาม 4 นโยบายดังกล่าว ได้ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยกลับมาขยายตัวในอัตราที่สูงขึ้น และอัตราเงินเฟ้อปรับลดลงตามลำดับทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลสามารถรักษาวินัยทางการคลังภายใต้กรอบความยั่งยืนทางการคลัง (สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีต่ำกว่าร้อยละ 60) และสามารถสร้างกลไกการบริหารจัดการหนี้กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินได้อย่างชัดเจน

นายทนุศักดิ์ฯ ได้กล่าวถึงผลงานของกรมจัดเก็บและรัฐวิสาหกิจที่ตนกำกับว่า ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา สามารถดำเนินนโยบายของรัฐบาลได้ดีโดยในส่วนของการกระตุ้นการบริโภคภาคเอกชน จากข้อมูลล่าสุด โครงการบัตรสินเชื่อเกษตรกรที่ได้อนุมัติแล้วทั้งสิ้น 844,347 ราย มียอดเงินใช้จ่ายผ่านบัตรทั้งสิ้น 621 ล้านบาท การคงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ที่ร้อยละ 7 เป็นส่วนสำคัญที่ได้ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการบริโภคภาคเอกชน โครงการพักหนี้ลูกหนี้ที่มีหนี้ค้างชำระ มีผู้ได้รับอนุมัติ 428,415 ราย คิดเป็นมูลหนี้ 52,304 ล้านบาท โครงการพักหนี้ลูกหนี้ที่มีภาระปกติ มีผู้สนใจมาลงทะเบียน 2,468,367 ราย คิดเป็นมูลหนี้ 281,089 ล้านบาท และโครงการรถคันแรกมีผู้ขอใช้สิทธิ์ 169,861คัน คิดเป็นยอดขอคืนเงินภาษีจำนวน12,191ล้านบาท

ในส่วนของการกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชนกระทรวงการคลังได้ปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 23 ในปี 2555 และร้อยละ 20 ในปี 2556 อันเป็นการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชนเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 และโครงการบ้านหลังแรกมีผู้ใช้สิทธิ์ 9,600 ราย คิดเป็นมูลค่าภาษี 224 ล้านบาท

ในส่วนของการดูแลอัตราเงินเฟ้อกระทรวงการคลังได้ขยายเวลาปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลที่ 0.005 บาท/ลิตร ซึ่งสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายของประชาชนและภาคธุรกิจในช่วงปีที่ผ่านมากว่า 108,000 ล้านบาทและ

ในส่วนของการส่งเสริมการแข่งขันเสรีกระทรวงการคลังได้ดำเนินโครงการจัดตั้งการให้บริการระบบเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (National Single Window) เพื่ออำนวยความสะดวกในการค้าระหว่างประเทศ โดยคาดว่าจะสามารถเชื่อมโยงข้อมูลเสร็จสมบูรณ์ปลายปี 2556 และจะสามารถเชื่อมโยงระบบกับประเทศอาเซียนอื่นๆ ได้ในปี 2557

นอกจากนี้กระทรวงการคลังได้ดำเนินโครงการ “รวมแรงไทย รักษาน้ำใสทุกคูคลอง” อันเป็นการสร้างความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนในการดูแลคูคลองของตนเอง และโครงการ “รัฐบาลพบประชาชน ทุนเพื่อคุณภาพชีวิต” เพื่อสร้างโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งทุนและผลประโยชน์จากนโยบายของรัฐ

นายวิรุฬฯ ได้กล่าวถึงผลงานของหน่วยงานที่อยู่ในการกำกับดูแลใน 1 ปีที่ผ่านมา โดยแยกตามหน่วยงาน ดังนี้

กรมบัญชีกลางนอกจากแก้ไขปัญหาอุทกภัยด้วยการขยายวงเงินทดรองราชการ ในส่วนของนโยบายเพิ่มรายได้เพื่อกระตุ้นการบริโภคและส่งเสริมความเป็นอยู่ของประชาชน ยังได้ปรับค่าตอบแทนบุคลากรภาครัฐระดับปริญญาตรี 15,000 บาท และต่ำกว่าปริญญาตรี 9,000 บาทแล้วตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 อันเป็นการยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิต และส่งผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวม นอกจากนี้ คณะผู้บริหารการคลังประจำจังหวัดและสถาบันการเงินเฉพาะกิจได้ร่วมกันติดตามการใช้จ่ายเงินที่ประหยัดได้จากโครงการพักหนี้เกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อยผ่านระบบฐานข้อมูลลูกหนี้ของกระทรวงการคลังและพัฒนาต้นแบบการดำเนินธุรกิจ (Business Model) จากเงินที่ประหยัดได้ดังกล่าว

ในส่วนของกรมธนารักษ์ในช่วงเวลาที่รัฐบาลเข้ามาทำงานในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ได้มีโอกาสมหามงคลที่สำคัญถึง 3 วาระ ซึ่งกระทรวงการคลังโดยกรมธนารักษ์ได้จัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกและเหรียญที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2555  เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกและเหรียญที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 12 สิงหาคม 2555 และเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 28 กรกฎาคม 2555 เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติและจัดจำหน่ายจ่ายแลกให้ประชาชนทั่วไปเพื่อมีไว้เป็นที่ระลึก นอกจากนี้ กรมธนารักษ์ได้นำที่ราชพัสดุที่ไม่ได้มีการใช้ประโยชน์ให้ผู้มีรายได้น้อยเช่าเพื่ออยู่อาศัยและทำกิน ตามโครงการรัฐเอื้อราษฎร์ ซึ่งปีที่ผ่านมาสามารถจัดให้เช่าได้จำนวนกว่า 6,200 ราย ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายถึงเท่าตัว หรือคิดเป็นเนื้อที่กว่า 16,000 ไร่ และยังมีการนำที่ราชพัสดุไปสนับสนุนด้านพลังงานของประเทศ ด้วยการให้เกษตรกรเช่าทำการเกษตรและปลูกพืชทดแทน โดยในปีที่ผ่านมา ได้ดำเนินการแล้วกว่า 3,200 ราย ครอบคลุมเนื้อที่ 39,000 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 92 ของเป้าหมายนอกจากนี้ ยังได้นำที่ราชพัสดุให้เช่าเพื่อเป็นสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ NGV โดยได้ดำเนินการแล้ว 1 แห่ง และจะดำเนินการอีก 3 แห่งภายในปีนี้ รวมไปถึงการกิจในการยกระดับความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตได้จัดให้เช่าที่ราชพัสดุเพื่อสร้างสนามกีฬา เช่น สนามบาสเกตบอลชุมชนในเขตพระโขนง เป็นต้น

สำหรับสถาบันการเงินเฉพาะกิจในปีที่ผ่านมาสนับสนุนนโยบายของภาครัฐในการแก้ไขปัญหาอุทกภัย ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และขยายโอกาสกระทรวงการคลังได้มีมาตรการต่าง ๆ ในการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อย่างทั่วถึงและเพียงพอผ่านทางสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โดยในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2555 สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้อนุมัติสินเชื่ออยู่ในเกณฑ์ดีและสูงกว่าเป้าหมาย โดยอนุมัติสินเชื่อรายใหม่กว่า 6 ล้านราย คิดเป็นเงินจำนวน 1.17 ล้านล้านบาท อีกทั้ง  ในรอบปีที่ผ่านมา สถาบันการเงินเฉพาะกิจยังได้มีส่วนในการ (1) ยกระดับขีดความสามารถของประเทศ ผ่านมาตรการด้านสินเชื่อเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของ SMEs ในวงเงิน 54,000 ล้านบาท (2) ยกระดับความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตประชาชน ผ่านทางโครงการต่างๆของภาครัฐ เช่น โครงการบ้านธนาคารอาคารสงเคราะห์เพื่อที่อยู่อาศัยแห่งแรกร้อยละ 0 เป็นระยะเวลา 3 ปี โครงการยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนและชุมชนในพื้นที่พิเศษ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และมาตรการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยปี 2554 เป็นต้น และ (3) พัฒนาระบบตลาดการเงินไทย ผ่านทางโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตราสารหนี้เพื่อการระดมเงินจากตลาดทุน

ในส่วนของภาคการประกันภัย การจัดตั้งกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติในวงเงิน 50,000 ล้านบาท ซึ่งประสบความสำเร็จในการฟื้นฟูระบบประกันวินาศภัยและสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้รับประกันภัย และผลักดันให้เบี้ยประกันภัยพิบัติลดลงอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายแก้ไขปัญหาอุทกภัยของภาครัฐ ในด้านการขยายโอกาสและยกระดับคุณภาพชีวิต นับตั้งแต่ วันที่ 1 สิงหาคม 2555 ได้มีการนำระบบการจ่ายค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉินกรณีประสบภัยจากรถผ่านระบบออนไลน์ (E-Claim) ทำให้ประชาชนสามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลทุกแห่งทั่วประเทศ โดยไม่ต้องสำรองค่ารักษาพยาบาลไปก่อน สุดท้ายเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตโดยลดอุบัติเหตุทางรถ ได้ส่งเสริมให้มีการจัดทำกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ปลอดแอลกอฮอล์ขึ้นซึ่งมีเบี้ยประกันลดจากอัตราปกติร้อยละ 10 เพื่อเป็นรางวัลให้ผู้ขับขี่ที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งจะเป็นทางเลือกใหม่ให้กับประชาชนที่ไม่ดื่มสุรา และจะนำไปสู่การลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุทางรถในที่สุด

นายกิตติรัตน์ฯ กล่าวว่า ในระยะต่อไป เพื่อรองรับกระบวนทัศน์ใหม่ของการพัฒนาประเทศ ทั้งในด้านการสร้างมูลค่า การปรับสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจในประเทศและภูมิภาคกระทรวงการคลังได้วางเป้าหมายยุทธศาสตร์ 3 ประการ ได้แก่

1. การลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม ด้วยการเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจให้แก่คนฐานราก การสร้างระบบสวัสดิการพื้นฐานให้ทั่วถึงและมีคุณภาพ และการกระจายรายได้และการถือครองทรัพย์สินอย่างเป็นธรรม

2. การสนับสนุนศักยภาพและเพิ่มความสามารถการแข่งขัน ด้วยการสนับสนุนการจัดตั้งธุรกิจ การพัฒนาภาคเอกชนให้เกิดการสร้างมูลค่า การเชื่อมโยงธุรกิจเพื่อก้าวสู่เศรษฐกิจระดับภูมิภาคและระดับโลก และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน และ

3. การรักษาความยั่งยืนทางการคลัง ด้วยการเสริมสร้างความมั่นคงทางการคลัง การส่งเสริมความโปร่งใสในการดำเนินงานของภาครัฐ และการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของกระทรวงการคลัง

ในส่วนของความยั่งยืนทางการคลัง นายกิตติรัตน์ฯ กล่าวว่ากระทรวงการคลังวางแผนที่จะปรับฐานะทางการคลังให้เข้าสู่สมดุลภายในปี 2560 โดยในปีงบประมาณ 2556 จะขาดดุลการคลังที่ 3 แสนล้านบาท ต่ำกว่าปีงบประมาณ 2555 ซึ่งขาดดุลที่ 4 แสนล้านบาท

นอกจากนี้ ในส่วนของการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน นายกิตติรัตน์ฯ กล่าวว่าประเทศไทยจำเป็นต้องลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้ โดยล่าสุดสถาบันการจัดการนานาชาติ (International Institute for Management Development: IMD) ได้จัดอันดับโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทยที่ 49 จาก 59 ประเทศ และเวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรั่ม (World Economic Forum: WEF) ได้จัดอันดับโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทยที่ 46 จาก 144 ประเทศ ในเรื่องนี้กระทรวงการคลังมีนโยบายที่จะออก พ.ร.บ.เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานมูลค่า 2.2 ล้านล้านบาท ซึ่งครอบคลุมการขนส่งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ พลังงาน การสื่อสาร และสาธารณูปการ


  • สรุปนโยบายของคณะรัฐมนตรีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

ที่จะแถลงต่อรัฐสภาในระหว่างวันที่ 23-24 ส.ค.2554 โดยแบ่งเป็นนโยบาย 8 ด้าน คือ 

1.นโยบายเร่งด่วนที่จะดำเนินการในปีแรก 

2.นโยบายความมั่นคงแห่งรัฐ 

3.นโยบายเศรษฐกิจ

4.นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต 

5.นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

6.นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีการวิจัย และนวัตกรรม 

7.นโยบายการต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และ

8.นโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

   สำหรับนโยบายเร่งด่วนที่จะดำเนินการในปีแรก มี 16 เรื่อง ดังนี้ 

  1.สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย ได้แก่ 

1.1 เสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันของคนในชาติให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและยึดมั่นใจการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

1.2 เยียวยาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องแก่บุคคลทุกฝ่าย เช่น ประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐ และผู้ประกอบการภาคเอกชน ที่ได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากความเห็นที่แตกต่างและความรุนแรงที่ก่อตัวขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายของการใช้รัฐธรรมนูญปี 2540 

1.3 สนับสนุนให้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ(คอป.) ดำเนินการอย่างเป็นอิสระและได้ รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างเต็มที่ในการตรวจสอบและค้นหาความจริงจากกรณีความรุนแรงทางการเมือง การละเมิดสิทธิมนุษยชน การสูญเสียชีวิต บาดเจ็บทางร่างกายและจิตใจรวมทั้งความเสียหายทางทรัพย์สิน

2.กำหนดให้ การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็น “วาระแห่งชาติ” 

3.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐอย่างจริงจัง 

4.ส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการและเร่งรัดขยายพื้นที่ชลประทาน 

5.เร่งนำสันติสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนกลับมาสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 

6.เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ 

7.แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง 

8.ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ สร้างสมดุลและความเข้มแข็งอย่างมีคุณภาพให้แก่ระบบเศรษฐกิจมหภาค 

9.ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล 

10.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน

11.ยกระดับราคาสินค้าเกษตรกรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน 

12.เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศ โดยจะประกาศให้ปี 2554-55 เป็นปี“มหัศจรรย์ไทยแลนด์” Miracle Thailand Year 

13.สนับสนุนการพัฒนางานศิลปหัตถกรรมและผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการสร้างเอกลักษณ์และการผลิตสินค้าในท้องถิ่น 

14.พัฒนาระบบประกันสุขภาพ

15.จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท๊บเล็ตให้แก่โรงเรียน โดยเริ่มทดลองด าเนินการในโรงเรียนนำร่องสำหรับเด็กระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา พ.ศ.2554 

16.เร่งรัดและผลักดันการปฎิรูปการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง โดยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นอิสระยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยให้ประชาชนเห็นชอบผ่านการออกเสียงประชามติ.

  ส่วนนโยบายที่ต้องดำเนินการ 4 ปี มี 7 ข้อ คือ 

1.นโยบายความมั่นคง อาทิ เทิดทูนสถาบัน พัฒนากองทัพให้มีศักยภาพ 

2.นโยบายด้านเศรษฐกิจ แบ่งเป็นขยายเศรษฐกิจมหาภาค สร้างรายได้ ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรม และภาคเกษตร ส่งเสริมระบบมวลชนพื้นฐาน 

3. นโยบายปฏิรูปการศึกษา แรงงาน พัฒนาสุขภาพประชาชน 

4. นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 

5.นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวตกรรม 

6.นโยบายการต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และ

7.นโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

หมายเหตุ - ส่วนหนึ่งของนโยบายด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่จะแถลงต่อรัฐสภา ในการประชุมรัฐสภา วันที่ 23 สิงหาคม 2554

นโยบายเศรษฐกิจมหภาค

  1.ดำเนินการให้มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ และให้เศรษฐกิจสามารถเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ โดยด าเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม และก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มีการจ้างงานเต็มที่ ระดับราคามีเสถียรภาพ ระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ 

  2.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม 

  3.พัฒนาระบบสถาบันการเงินในประเทศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหญ่และผู้ด้อยโอกาส สามารถให้บริการที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมการเงินและความต้องการที่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคมด้วยค่าบริการที่ต่ำและการบริการที่มีประสิทธิภาพ

  4.ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างฐานรายได้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ทั้งจากภาษีและที่มิใช่ภาษี 

  5.ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงองค์ประกอบและโครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ 

  6.ปรับปรุงโครงสร้างของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน 

  7.บริหารสินทรัพย์ของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพิจารณาการจัดตั้งกองทุนที่สามารถใช้ในการบริหารสินทรัพย์ของชาติให้เป็นประโยชน์ เช่น กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองแห่งชาติ และกองทุนความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

นโยบายสร้างรายได้

  1.ส่งเสริมการท่องเที่ยวจากทั้งภายนอกและภายในประเทศ จัดให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว ให้มีรายได้จากนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวในเวลา 5 ปี

  2.ขยายบทบาทให้ธุรกิจการเกษตรและอาหารซึ่งเป็นแหล่งรายได้และการจ้างงานในประเทศมาเป็นเวลานานให้ก้าวข้ามไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหารคุณภาพสูง เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่มีฐานะและรสนิยมเฉพาะตัว การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและอาหาร จะทำให้เป้าหมายการเป็นครัวที่มีคุณภาพของโลกสัมฤทธิผลรวดเร็วยิ่งขึ้น

  3.ส่งเสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมพลังงานปิโตรเลียมและพลังงานทดแทนสามารถสร้างรายได้จากความต้องการภายในประเทศ รวมทั้งสร้างการจ้างงานให้แก่ประเทศโดยถือเป็นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ใหม่

  4.ยกระดับความสามารถในการแข่งขันและขยายช่องทางการตลาดของธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจบริการในประเทศ และธุรกิจวิสาหกิจชุมชนให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณค่าและคุณภาพสูง

  5.ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขยายการลงทุนไปประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีความพร้อมทางด้านแรงงานและวัตถุดิบเพื่อสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศและภูมิภาค

  6.ดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ประเทศในสาขาที่เป็นการผลิตสินค้าและบริการที่มีพื้นฐานทางเทคโนโลยีมีมูลค่าสูง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการลงทุนในการสร้างเมืองใหม่ในพื้นที่ที่เหมาะสมและโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ 

  7.เสริมสร้างกระบวนการสร้างอาชีพ สร้างงานที่มีคุณภาพและมีรายได้สูงให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง 

  8.ส่งเสริมการขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุน และการเงิน ภายใต้ประโยชน์ร่วมกันของกรอบความร่วมมือและข้อตกลงทางการค้า

นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

ภาคเกษตร

  1.ส่งเสริมสนับสนุนให้สภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นกลไกของเกษตรกรในการสื่อสารกับรัฐบาลและร่วมกันพัฒนาเกษตรกรด้วยตนเองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

  2.เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืช โดยการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ต้ านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช ใช้ ปุ๋ยตามคุณสมบัติของดินแต่ละชนิด เพื่อลดต้นทุนการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิต

  3.เพิ่มศักยภาพกระบวนการผลิตด้านปศุสัตว์ให้ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพียงพอกับความต้องการภายในประเทศและการส่งออก 

  4.พัฒนาการประมง ทั้งในการเพาะเลี้ยงและในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการฟื้นฟูทรัพยากรประมงและจัดระเบียบการท าประมงให้สมดุลกับศักยภาพการผลิตตามธรรมชาติ ขยายพื้นที่อนุรักษ์เพื่อการประมงทะเลพื้นบ้าน ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แสวงหาลู่ทางการทำประมงในน่านน้ำต่างประเทศที่ไม่ขัดต่อระเบียบขององค์การระหว่างประเทศและประเทศที่นำเข้า 

  5.เสริมสร้างฐานรากของครัวเรือนเกษตรกรให้เข้มแข็งโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกลดต้นทุนการผลิต พัฒนาระบบการผลิตที่เป็นขั้นตอน 

  6.จัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรที่มีข้อมูลการเกษตรของครัวเรือนครบถ้วน สามารถเชื่อมโยงกับบัตรเครดิตส าหรับเกษตรกรและมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ

  7.เร่งรัดพัฒนาธุรกิจการเกษตร โดยการพัฒนาสถาบันเกษตรกรในด้านธุรกิจ สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่จากโครงการกองทุนตั้งตัวได้

  8.พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรมูลค่าเพิ่มเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก

  9.ส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ ด าเนินการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมสร้างความเข้มแข็งภาคเกษตรและสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อเผชิญกับวิกฤตอาหารโลก 

ภาคอุตสาหกรรม

  1.ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในประเทศด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนของผู้ประกอบการ และยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ตลอดจนส่งเสริมให้มีการสร้างตราสินค้าไทย

  2.ยกระดับภาคอุตสาหกรรมเข้าสู่อุตสาหกรรมสร้ างสรรค์ ที่ใช้ ปัญญา ใช้เทคโนโลยี และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทดแทนอุตสาหกรรมที่ใช้ แรงงานเป็นหลัก

  3.พัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปบนฐานความรู้  ความคิดสร้างสรรค์  ภูมิปัญญาท้องถิ่น และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าและยกระดับสินค้าให้มีคุณภาพ มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล และมีโอกาสในการขยายตลาด 

  4.สร้างความเข้มแข็งให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยสนับสนุนช่องทางการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อผ่านสถาบันการเงินต่างๆ 

  5.กำหนดมาตรฐานและคุณภาพขั้นพื้นฐานของสินค้าอุตสาหกรรมเมื่อมีการเปิดเสรีการค้ามากขึ้น เพื่อป้องกันสินค้านำเข้าที่ไม่ได้ คุณภาพ

  6.พัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมแห่งใหม่ รวมทั้ งการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจระหว่างฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทยสำหรับรองรับอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อมลพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน

  7.เร่งพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และอยู่ร่วมกับชุมชนได้ 

  8.ส่งเสริมและจัดให้มีมาตรการทางภาษีและมาตรการอื่นที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน และการใช้พลังงานจากภาคเกษตร 

  9.สนับสนุนให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกสาขาการผลิตเข้าประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม

  10.เร่งรัดสำรวจและแสวงหาแหล่งแร่สำคัญ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และพัฒนาอุตสาหกรรมต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มโดยให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลผลกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชน

การตลาด การค้า และการลงทุน

  1.ส่งเสริมนโยบายการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม เพื่อป้องกันการผูกขาดตัดตอน ส่งเสริมและพัฒนาบทบาทขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคทั้งภาครัฐและเอกชน แก้ไขปรับปรุงกฎหมาย มาตรการต่างๆ เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้บริโภค 

  2.สร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยปรับปรุงพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบที่ส่งเสริมการค้าการลงทุนที่ครอบคลุมการลงทุนด้านเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ และปรับปรุงมาตรการบริหารการน าเข้ าเพื่อป้องกันการค้ าที่ไม่เป็นธรรม 

  3.สนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ ส่งเสริมและสนับสนุนการเปิดร้านอาหารไทยของคนไทยตามนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก และนโยบายไทยเป็นครัวอาหารโลก

  4.ปรับปรุงมาตรการการส่งเสริมการลงทุนให้ครอบคลุมการให้สิทธิประโยชน์แก่ธุรกิจในภาคเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การกีฬา และบริการ 

  5.ส่งเสริมการขยายตลาดเชิงรุกเพื่อรักษาตลาดเดิมและสร้างตลาดใหม่ เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกไปตลาดหลัก โดยส่งเสริมการส่งออกสินค้าและบริการในตลาดใหม่ ได้แก่ จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันออก

  6.พัฒนาสินค้าและบริการที่สร้างโอกาสใหม่ในการหารายได้ การผลิตสินค้าและบริการอันเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในตลาดโลก 

  7.ขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุน และการตลาดภายใต้กรอบความร่วมมือและข้อตกลงการค้าเสรีในระบบพหุภาคีและทวิภาคี 

  8.เร่งรัดจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษบริเวณพื้นที่ที่มีศักยภาพ โดยให้ความส าคัญต่อจังหวัดชายแดน เพื่อส่งเสริมการค้า การตลาด การลงทุน การจ้างงาน และการใช้วัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้าน


นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังนายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง นายวิรุฬ เตชะไพบูลย์รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลังนายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง ร่วมด้วยผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงการคลัง ได้ร่วมกันแถลงผลงานของกระทรวงการคลังตามนโยบายรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในรอบ 1 ปี เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2555 เวลา 12.00 น. ณ ห้องประชุม 401 กระทรวงการคลัง โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

นายกิตติรัตน์ฯ กล่าวว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยได้เผชิญกับความท้าทายทางเศรษฐกิจในหลายด้าน ทั้งจากภาวะของเศรษฐกิจโลกที่เปราะบางจากปัญหาหนี้สาธารณะของยูโรโซนและผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจไทยในช่วงก่อนที่รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงและอัตราเงินเฟ้อเริ่มปรับเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องรัฐบาลโดยกระทรวงการคลังจึงได้มีมาตรการเร่งด่วนเพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจดังกล่าวรัฐบาลได้เน้น 4 นโยบายหลักดังนี้
1. นโยบายแก้ไขปัญหาอุทกภัย เพื่อบรรเทา เยียวยา และป้องกันอุทกภัยในอนาคตโดยในระยะสั้น กระทรวงการคลังได้ขยายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินดำเนินมาตรการช่วยเหลือทางการเงินผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจ มาตรการช่วยเหลือด้านภาษี รวมทั้งจัดตั้งกองทุนส่งเสริมประกันภัยพิบัติ และในระยะปานกลางถึงยาว กระทรวงการคลังได้สนับสนุนการลงทุนเพื่อวางระบบการบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ 350,000 ล้านบาท
2. นโยบายลดรายจ่ายเพื่อบรรเทาภาระของประชาชนจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ด้วยโครงการพักหนี้เกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อย การลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล การต่ออายุมาตรการค่าครองชีพ และบัตรเครดิตพลังงาน
3. นโยบายเพิ่มรายได้ เพื่อเสริมสร้างกำลังซื้อและความเป็นอยู่ของประชาชน ด้วยการปรับเพิ่มขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท/วัน และโครงการขึ้นเงินเดือนข้าราชการที่จบปริญญาตรีเป็น 15,000 บาท/เดือน และโครงการจำนำข้าวของ ธ.ก.ส. และ
4. นโยบายขยายโอกาส เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของประชาชน ผู้ประกอบการ และประเทศ ด้วยการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลจากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 23 ในปี 2555 และร้อยละ 20 ในปี 2556 โครงการรถคันแรก โครงการบ้านหลังแรก และกองทุนตั้งตัวได้

การดำเนินงานตาม 4 นโยบายดังกล่าว ได้ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยกลับมาขยายตัวในอัตราที่สูงขึ้น และอัตราเงินเฟ้อปรับลดลงตามลำดับทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลสามารถรักษาวินัยทางการคลังภายใต้กรอบความยั่งยืนทางการคลัง (สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีต่ำกว่าร้อยละ 60) และสามารถสร้างกลไกการบริหารจัดการหนี้กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินได้อย่างชัดเจน นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย ได้กล่าวถึงผลงานของกรมจัดเก็บและรัฐวิสาหกิจที่ตนกำกับว่า ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา สามารถดำเนินนโยบายของรัฐบาลได้ดีโดยในส่วนของการกระตุ้นการบริโภคภาคเอกชน จากข้อมูลล่าสุด โครงการบัตรสินเชื่อเกษตรกรที่ได้อนุมัติแล้วทั้งสิ้น 844,347 ราย มียอดเงินใช้จ่ายผ่านบัตรทั้งสิ้น 621 ล้านบาท การคงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ที่ร้อยละ 7 เป็นส่วนสำคัญที่ได้ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการบริโภคภาคเอกชน โครงการพักหนี้ลูกหนี้ที่มีหนี้ค้างชำระ มีผู้ได้รับอนุมัติ 428,415 ราย คิดเป็นมูลหนี้ 52,304 ล้านบาท โครงการพักหนี้ลูกหนี้ที่มีภาระปกติ มีผู้สนใจมาลงทะเบียน 2,468,367 ราย คิดเป็นมูลหนี้ 281,089 ล้านบาท และโครงการรถคันแรกมีผู้ขอใช้สิทธิ์ 169,861คัน คิดเป็นยอดขอคืนเงินภาษีจำนวน12,191ล้านบาท

ในส่วนของการกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชน กระทรวงการคลังได้ปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 23 ในปี 2555 และร้อยละ 20 ในปี 2556 อันเป็นการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชนเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 และโครงการบ้านหลังแรกมีผู้ใช้สิทธิ์ 9,600 ราย คิดเป็นมูลค่าภาษี 224 ล้านบาท

ในส่วนของการดูแลอัตราเงินเฟ้อ กระทรวงการคลังได้ขยายเวลาปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลที่ 0.005 บาท/ลิตร ซึ่งสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายของประชาชนและภาคธุรกิจในช่วงปีที่ผ่านมากว่า 108,000 ล้านบาทและในส่วนของการส่งเสริมการแข่งขันเสรี กระทรวงการคลังได้ดำเนินโครงการจัดตั้งการให้บริการระบบเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (National Single Window) เพื่ออำนวยความสะดวกในการค้าระหว่างประเทศ โดยคาดว่าจะสามารถเชื่อมโยงข้อมูลเสร็จสมบูรณ์ปลายปี 2556 และจะสามารถเชื่อมโยงระบบกับประเทศอาเซียนอื่นๆ ได้ในปี 2557

นอกจากนี้ กระทรวงการคลังได้ดำเนินโครงการ “รวมแรงไทย รักษาน้ำใสทุกคูคลอง” อันเป็นการสร้างความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนในการดูแลคูคลองของตนเอง และโครงการ “รัฐบาลพบประชาชน ทุนเพื่อคุณภาพชีวิต” เพื่อสร้างโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งทุนและผลประโยชน์จากนโยบายของรัฐ

นายวิรุฬ เตซะไพบูลย์ ได้กล่าวถึงผลงานของหน่วยงานที่อยู่ในการกำกับดูแลใน 1 ปีที่ผ่านมา โดยแยกตามหน่วยงาน ดังนี้

กรมบัญชีกลางนอกจากแก้ไขปัญหาอุทกภัยด้วยการขยายวงเงินทดรองราชการ ในส่วนของนโยบายเพิ่มรายได้เพื่อกระตุ้นการบริโภคและส่งเสริมความเป็นอยู่ของประชาชน ยังได้ปรับค่าตอบแทนบุคลากรภาครัฐระดับปริญญาตรี 15,000 บาท และต่ำกว่าปริญญาตรี 9,000 บาทแล้วตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 อันเป็นการยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิต และส่งผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวม นอกจากนี้ คณะผู้บริหารการคลังประจำจังหวัดและสถาบันการเงินเฉพาะกิจได้ร่วมกันติดตามการใช้จ่ายเงินที่ประหยัดได้จากโครงการพักหนี้เกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อยผ่านระบบฐานข้อมูลลูกหนี้ของกระทรวงการคลัง และพัฒนาต้นแบบการดำเนินธุรกิจ (Business Model) จากเงินที่ประหยัดได้ดังกล่าว

ในส่วนของกรมธนารักษ์ในช่วงเวลาที่รัฐบาลเข้ามาทำงานในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ได้มีโอกาสมหามงคลที่สำคัญถึง 3 วาระ ซึ่งกระทรวงการคลังโดยกรมธนารักษ์ได้จัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกและเหรียญที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2555 เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกและเหรียญที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 12 สิงหาคม 2555 และเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 28 กรกฎาคม 2555 เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติและจัดจำหน่ายจ่ายแลกให้ประชาชนทั่วไปเพื่อมีไว้เป็นที่ระลึก นอกจากนี้ กรมธนารักษ์ได้นำที่ราชพัสดุที่ไม่ได้มีการใช้ประโยชน์ให้ผู้มีรายได้น้อยเช่าเพื่ออยู่อาศัยและทำกิน ตามโครงการรัฐเอื้อราษฎร์ ซึ่งปีที่ผ่านมาสามารถจัดให้เช่าได้จำนวนกว่า 6,200 ราย ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายถึงเท่าตัว หรือคิดเป็นเนื้อที่กว่า 16,000 ไร่ และยังมีการนำที่ราชพัสดุไปสนับสนุนด้านพลังงานของประเทศ ด้วยการให้เกษตรกรเช่าทำการเกษตรและปลูกพืชทดแทน โดยในปีที่ผ่านมา ได้ดำเนินการแล้วกว่า 3,200 ราย ครอบคลุมเนื้อที่ 39,000 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 92 ของเป้าหมายนอกจากนี้ ยังได้นำที่ราชพัสดุให้เช่าเพื่อเป็นสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ NGV โดยได้ดำเนินการแล้ว 1 แห่ง และจะดำเนินการอีก 3 แห่งภายในปีนี้ รวมไปถึงการกิจในการยกระดับความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตได้จัดให้เช่าที่ราชพัสดุเพื่อสร้างสนามกีฬา เช่น สนามบาสเกตบอลชุมชนในเขตพระโขนง เป็นต้น

สำหรับสถาบันการเงินเฉพาะกิจในปีที่ผ่านมาสนับสนุนนโยบายของภาครัฐในการแก้ไขปัญหาอุทกภัย ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และขยายโอกาส กระทรวงการคลังได้มีมาตรการต่าง ๆ ในการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อย่างทั่วถึงและเพียงพอผ่านทางสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โดยในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2555 สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้อนุมัติสินเชื่ออยู่ในเกณฑ์ดีและสูงกว่าเป้าหมาย โดยอนุมัติสินเชื่อรายใหม่กว่า 6 ล้านราย คิดเป็นเงินจำนวน 1.17 ล้านล้านบาท อีกทั้ง  ในรอบปีที่ผ่านมา สถาบันการเงินเฉพาะกิจยังได้มีส่วนในการ (1) ยกระดับขีดความสามารถของประเทศ ผ่านมาตรการด้านสินเชื่อเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของ SMEs ในวงเงิน 54,000 ล้านบาท (2) ยกระดับความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตประชาชน ผ่านทางโครงการต่างๆของภาครัฐ เช่น โครงการบ้านธนาคารอาคารสงเคราะห์เพื่อที่อยู่อาศัยแห่งแรกร้อยละ 0 เป็นระยะเวลา 3 ปี โครงการยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนและชุมชนในพื้นที่พิเศษ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และมาตรการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยปี 2554 เป็นต้น และ (3) พัฒนาระบบตลาดการเงินไทย ผ่านทางโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตราสารหนี้เพื่อการระดมเงินจากตลาดทุน
ในส่วนของภาคการประกันภัย การจัดตั้งกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติในวงเงิน 50,000 ล้านบาท ซึ่งประสบความสำเร็จในการฟื้นฟูระบบประกันวินาศภัยและสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้รับประกันภัย และผลักดันให้เบี้ยประกันภัยพิบัติลดลงอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายแก้ไขปัญหาอุทกภัยของภาครัฐ ในด้านการขยายโอกาสและยกระดับคุณภาพชีวิต นับตั้งแต่ วันที่ 1 สิงหาคม 2555 ได้มีการนำระบบการจ่ายค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉินกรณีประสบภัยจากรถผ่านระบบออนไลน์ (E-Claim) ทำให้ประชาชนสามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลทุกแห่งทั่วประเทศ โดยไม่ต้องสำรองค่ารักษาพยาบาลไปก่อน สุดท้ายเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตโดยลดอุบัติเหตุทางรถ ได้ส่งเสริมให้มีการจัดทำกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ปลอดแอลกอฮอล์ขึ้นซึ่งมีเบี้ยประกันลดจากอัตราปกติร้อยละ 10 เพื่อเป็นรางวัลให้ผู้ขับขี่ที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งจะเป็นทางเลือกใหม่ให้กับประชาชนที่ไม่ดื่มสุรา และจะนำไปสู่การลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุทางรถในที่สุด
นายกิตติรัตน์ฯ กล่าวว่า ในระยะต่อไป เพื่อรองรับกระบวนทัศน์ใหม่ของการพัฒนาประเทศ ทั้งในด้านการสร้างมูลค่า การปรับสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจในประเทศและภูมิภาคกระทรวงการคลังได้วางเป้าหมายยุทธศาสตร์ 3 ประการ ได้แก่
1. การลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม ด้วยการเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจให้แก่คนฐานราก การสร้างระบบสวัสดิการพื้นฐานให้ทั่วถึงและมีคุณภาพ และการกระจายรายได้และการถือครองทรัพย์สินอย่างเป็นธรรม
2. การสนับสนุนศักยภาพและเพิ่มความสามารถการแข่งขัน ด้วยการสนับสนุนการจัดตั้งธุรกิจ การพัฒนาภาคเอกชนให้เกิดการสร้างมูลค่า การเชื่อมโยงธุรกิจเพื่อก้าวสู่เศรษฐกิจระดับภูมิภาคและระดับโลก และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน และ
3. การรักษาความยั่งยืนทางการคลัง ด้วยการเสริมสร้างความมั่นคงทางการคลัง การส่งเสริมความโปร่งใสในการดำเนินงานของภาครัฐ และการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของกระทรวงการคลัง
ในส่วนของความยั่งยืนทางการคลัง นายกิตติรัตน์ฯ กล่าวว่า กระทรวงการคลังวางแผนที่จะปรับฐานะทางการคลังให้เข้าสู่สมดุลภายในปี 2560 โดยในปีงบประมาณ 2556 จะขาดดุลการคลังที่ 3 แสนล้านบาท ต่ำกว่าปีงบประมาณ 2555 ซึ่งขาดดุลที่ 4 แสนล้านบาท
นอกจากนี้ ในส่วนของการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง กล่าวว่าประเทศไทยจำเป็นต้องลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้ โดยล่าสุดสถาบันการจัดการนานาชาติ (International Institute for Management Development: IMD) ได้จัดอันดับโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทยที่ 49 จาก 59 ประเทศ และเวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรั่ม (World Economic Forum: WEF) ได้จัดอันดับโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทยที่ 46 จาก 144 ประเทศ ในเรื่องนี้ กระทรวงการคลังมีนโยบายที่จะออก พ.ร.บ.เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานมูลค่า 2.2 ล้านล้านบาท ซึ่งครอบคลุมการขนส่งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ พลังงาน การสื่อสาร และสาธารณูปการ

การแถลงผลงานของกระทรวงการคลังตามนโยบายรัฐบาลในรอบ 1 ปี

ข่าวเศรษฐกิจ กระทรวงการคลัง -- อังคารที่ 11 กันยายน 2555 08:55:14 น.

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง นายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง ร่วมด้วยผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงการคลัง ได้ร่วมกันแถลงผลงานของกระทรวงการคลังตามนโยบายรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในรอบ 1 ปี เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2555 เวลา 12.00 น. ณ ห้องประชุม 401 กระทรวงการคลัง โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

นายกิตติรัตน์ฯ กล่าวว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยได้เผชิญกับความท้าทายทางเศรษฐกิจในหลายด้าน ทั้งจากภาวะของเศรษฐกิจโลกที่เปราะบางจากปัญหาหนี้สาธารณะของยูโรโซนและผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจไทยในช่วงก่อนที่รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงและอัตราเงินเฟ้อเริ่มปรับเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องรัฐบาลโดยกระทรวงการคลังจึงได้มีมาตรการเร่งด่วนเพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจดังกล่าวรัฐบาลได้เน้น 4 นโยบายหลักดังนี้

1. นโยบายแก้ไขปัญหาอุทกภัย เพื่อบรรเทา เยียวยา และป้องกันอุทกภัยในอนาคตโดยในระยะสั้น กระทรวงการคลังได้ขยายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินดำเนินมาตรการช่วยเหลือทางการเงินผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจ มาตรการช่วยเหลือด้านภาษี รวมทั้งจัดตั้งกองทุนส่งเสริมประกันภัยพิบัติ และในระยะปานกลางถึงยาว กระทรวงการคลังได้สนับสนุนการลงทุนเพื่อวางระบบการบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ 350,000 ล้านบาท

2. นโยบายลดรายจ่ายเพื่อบรรเทาภาระของประชาชนจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ด้วยโครงการพักหนี้เกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อย การลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล การต่ออายุมาตรการค่าครองชีพ และบัตรเครดิตพลังงาน

3. นโยบายเพิ่มรายได้ เพื่อเสริมสร้างกำลังซื้อและความเป็นอยู่ของประชาชน ด้วยการปรับเพิ่มขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท/วัน และโครงการขึ้นเงินเดือนข้าราชการที่จบปริญญาตรีเป็น 15,000 บาท/เดือน และโครงการจำนำข้าวของ ธ.ก.ส. และ

4. นโยบายขยายโอกาส เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของประชาชน ผู้ประกอบการ และประเทศ ด้วยการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลจากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 23 ในปี 2555 และร้อยละ 20 ในปี 2556 โครงการรถคันแรก โครงการบ้านหลังแรก และกองทุนตั้งตัวได้

นายกิตติรัตน์ฯ กล่าวว่า ในระยะต่อไป เพื่อรองรับกระบวนทัศน์ใหม่ของการพัฒนาประเทศ ทั้งในด้านการสร้างมูลค่า การปรับสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจในประเทศและภูมิภาค กระทรวงการคลังได้วางเป้าหมายยุทธศาสตร์ 3 ประการ ได้แก่

1. การลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม ด้วยการเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจให้แก่คนฐานราก การสร้างระบบสวัสดิการพื้นฐานให้ทั่วถึงและมีคุณภาพ และการกระจายรายได้และการถือครองทรัพย์สินอย่างเป็นธรรม

2. การสนับสนุนศักยภาพและเพิ่มความสามารถการแข่งขัน ด้วยการสนับสนุนการจัดตั้งธุรกิจ การพัฒนาภาคเอกชนให้เกิดการสร้างมูลค่า การเชื่อมโยงธุรกิจเพื่อก้าวสู่เศรษฐกิจระดับภูมิภาคและระดับโลก และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน และ

3. การรักษาความยั่งยืนทางการคลัง ด้วยการเสริมสร้างความมั่นคงทางการคลัง การส่งเสริมความโปร่งใสในการดำเนินงานของภาครัฐ และการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของกระทรวงการคลัง

นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

แถลงต่อรัฐสภา วันอังคารที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔

๑. นโยบายเร่งด่วนที่จะดำเนินการในปีแรก

๒. นโยบายความมั่นคงแห่งรัฐ

๓. นโยบายเศรษฐกิจ

๔. นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต

๕. นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

๖. นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัย และนวัตกรรม

๗. นโยบายการต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

๘. นโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

ส่วนหนึ่งของนโยบายด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่จะแถลงต่อรัฐสภา ในการประชุมรัฐสภา วันที่ 23 สิงหาคม 2554

นโยบายเศรษฐกิจมหภาค

1.ดำเนินการให้มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ และให้เศรษฐกิจสามารถเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม และก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มีการจ้างงานเต็มที่ ระดับราคามีเสถียรภาพ ระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ

2.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

3.พัฒนาระบบสถาบันการเงินในประเทศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหญ่และผู้ด้อยโอกาส สามารถให้บริการที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมการเงินและความต้องการที่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคมด้วยค่าบริการที่ต่ำและการบริการที่มีประสิทธิภาพ

4.ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างฐานรายได้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ทั้งจากภาษีและที่มิใช่ภาษี

5.ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงองค์ประกอบและโครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ

6.ปรับปรุงโครงสร้างของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน

7.บริหารสินทรัพย์ของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพิจารณาการจัดตั้งกองทุนที่สามารถใช้ในการบริหารสินทรัพย์ของชาติให้เป็นประโยชน์ เช่น กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองแห่งชาติ และกองทุนความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

นโยบายสร้างรายได้

1.ส่งเสริมการท่องเที่ยวจากทั้งภายนอกและภายในประเทศ จัดให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว ให้มีรายได้จากนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวในเวลา 5 ปี

2.ขยายบทบาทให้ธุรกิจการเกษตรและอาหารซึ่งเป็นแหล่งรายได้และการจ้างงานในประเทศมาเป็นเวลานานให้ก้าวข้ามไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหารคุณภาพสูง เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่มีฐานะและรสนิยมเฉพาะตัว การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและอาหาร จะทำให้เป้าหมายการเป็นครัวที่มีคุณภาพของโลกสัมฤทธิผลรวดเร็วยิ่งขึ้น

3.ส่งเสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมพลังงานปิโตรเลียมและพลังงานทดแทนสามารถสร้างรายได้จากความต้องการภายในประเทศ รวมทั้งสร้างการจ้างงานให้แก่ประเทศโดยถือเป็นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ใหม่

4.ยกระดับความสามารถในการแข่งขันและขยายช่องทางการตลาดของธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจบริการในประเทศ และธุรกิจวิสาหกิจชุมชนให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณค่าและคุณภาพสูง

5.ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขยายการลงทุนไปประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีความพร้อมทางด้านแรงงานและวัตถุดิบเพื่อสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศและภูมิภาค

6.ดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ประเทศในสาขาที่เป็นการผลิตสินค้าและบริการที่มีพื้นฐานทางเทคโนโลยีมีมูลค่าสูง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการลงทุนในการสร้างเมืองใหม่ในพื้นที่ที่เหมาะสม และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ

7.เสริมสร้างกระบวนการสร้างอาชีพ สร้างงานที่มีคุณภาพและมีรายได้สูงให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง

8.ส่งเสริมการขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุน และการเงิน ภายใต้ประโยชน์ร่วมกันของกรอบความร่วมมือและข้อตกลงทางการค้า

นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

ภาคเกษตร

1.ส่งเสริมสนับสนุนให้สภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นกลไกของเกษตรกรในการสื่อสารกับรัฐบาลและร่วมกันพัฒนาเกษตรกรด้วยตนเองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

2.เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืช โดยการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช ใช้ปุ๋ยตามคุณสมบัติของดินแต่ละชนิด เพื่อลดต้นทุนการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิต

3.เพิ่มศักยภาพกระบวนการผลิตด้านปศุสัตว์ให้ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศและการส่งออก

4.พัฒนาการประมง ทั้งในการเพาะเลี้ยงและในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการฟื้นฟูทรัพยากรประมงและจัดระเบียบการทำประมงให้สมดุลกับศักยภาพการผลิตตามธรรมชาติ ขยายพื้นที่อนุรักษ์เพื่อการประมงทะเลพื้นบ้าน ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แสวงหาลู่ทางการทำประมงในน่านน้ำต่างประเทศที่ไม่ขัดต่อระเบียบขององค์การระหว่างประเทศและประเทศที่นำเข้า

5.เสริมสร้างฐานรากของครัวเรือนเกษตรกรให้เข้มแข็งโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก ลดต้นทุนการผลิต พัฒนาระบบการผลิตที่เป็นขั้นตอน

6.จัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรที่มีข้อมูลการเกษตรของครัวเรือนครบถ้วน สามารถเชื่อมโยงกับบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกรและมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ

7.เร่งรัดพัฒนาธุรกิจการเกษตร โดยการพัฒนาสถาบันเกษตรกรในด้านธุรกิจ สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่จากโครงการกองทุนตั้งตัวได้

8.พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรมูลค่าเพิ่มเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก

9.ส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ ดำเนินการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม สร้างความเข้มแข็งภาคเกษตรและสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อเผชิญกับวิกฤตอาหารโลก

ภาคอุตสาหกรรม

1.ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในประเทศด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนของผู้ประกอบการ และยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ตลอดจนส่งเสริมให้มีการสร้างตราสินค้าไทย

2.ยกระดับภาคอุตสาหกรรมเข้าสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ใช้ปัญญา ใช้เทคโนโลยี และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทดแทนอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลัก

3.พัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปบนฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าและยกระดับสินค้าให้มีคุณภาพ มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล และมีโอกาสในการขยายตลาด

4.สร้างความเข้มแข็งให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยสนับสนุนช่องทางการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อผ่านสถาบันการเงินต่างๆ

5.กำหนดมาตรฐานและคุณภาพขั้นพื้นฐานของสินค้าอุตสาหกรรมเมื่อมีการเปิดเสรีการค้ามากขึ้น เพื่อป้องกันสินค้านำเข้าที่ไม่ได้คุณภาพ

6.พัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมแห่งใหม่ รวมทั้งการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจระหว่างฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทยสำหรับรองรับอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อมลพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน

7.เร่งพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และอยู่ร่วมกับชุมชนได้

8.ส่งเสริมและจัดให้มีมาตรการทางภาษีและมาตรการอื่นที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน และการใช้พลังงานจากภาคเกษตร

9.สนับสนุนให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกสาขาการผลิตเข้าประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม

10.เร่งรัดสำรวจและแสวงหาแหล่งแร่สำคัญ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และพัฒนาอุตสาหกรรมต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มโดยให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลผลกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชน

การตลาด การค้า และการลงทุน

1.ส่งเสริมนโยบายการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม เพื่อป้องกันการผูกขาดตัดตอน ส่งเสริมและพัฒนาบทบาทขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคทั้งภาครัฐและเอกชน แก้ไขปรับปรุงกฎหมาย มาตรการต่างๆ เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้บริโภค

2.สร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยปรับปรุงพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบที่ส่งเสริมการค้าการลงทุนที่ครอบคลุมการลงทุนด้านเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ และปรับปรุงมาตรการบริหารการนำเข้าเพื่อป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม

3.สนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ ส่งเสริมและสนับสนุนการเปิดร้านอาหารไทยของคนไทยตามนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก และนโยบายไทยเป็นครัวอาหารโลก

4.ปรับปรุงมาตรการการส่งเสริมการลงทุนให้ครอบคลุมการให้สิทธิประโยชน์แก่ธุรกิจในภาคเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การกีฬา และบริการ

5.ส่งเสริมการขยายตลาดเชิงรุกเพื่อรักษาตลาดเดิมและสร้างตลาดใหม่ เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกไปตลาดหลัก โดยส่งเสริมการส่งออกสินค้าและบริการในตลาดใหม่ ได้แก่ จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันออก

6.พัฒนาสินค้าและบริการที่สร้างโอกาสใหม่ในการหารายได้ การผลิตสินค้าและบริการอันเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในตลาดโลก

7.ขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุน และการตลาดภายใต้กรอบความร่วมมือและข้อตกลงการค้าเสรีในระบบพหุภาคีและทวิภาคี

8.เร่งรัดจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษบริเวณพื้นที่ที่มีศักยภาพ โดยให้ความสำคัญต่อจังหวัดชายแดน เพื่อส่งเสริมการค้า การตลาด การลงทุน การจ้างงาน และการใช้วัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้าน


  นโยบายนายกยิ่งลักษณ์  ชินวัตร

นโยบายเศรษฐกิจมหภาค

1.ดำเนินการให้มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ และให้เศรษฐกิจสามารถเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม และก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มีการจ้างงานเต็มที่ ระดับราคามีเสถียรภาพ ระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ

2.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

3.พัฒนาระบบสถาบันการเงินในประเทศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหญ่และผู้ด้อยโอกาส สามารถให้บริการที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมการเงินและความต้องการที่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคมด้วยค่าบริการที่ต่ำและการบริการที่มีประสิทธิภาพ

4.ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างฐานรายได้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ทั้งจากภาษีและที่มิใช่ภาษี

5.ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงองค์ประกอบและโครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ

6.ปรับปรุงโครงสร้างของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน

7.บริหารสินทรัพย์ของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพิจารณาการจัดตั้งกองทุนที่สามารถใช้ในการบริหารสินทรัพย์ของชาติให้เป็นประโยชน์ เช่น กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองแห่งชาติ และกองทุนความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

นโยบายสร้างรายได้

1.ส่งเสริมการท่องเที่ยวจากทั้งภายนอกและภายในประเทศ จัดให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว ให้มีรายได้จากนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวในเวลา 5 ปี

2.ขยายบทบาทให้ธุรกิจการเกษตรและอาหารซึ่งเป็นแหล่งรายได้และการจ้างงานในประเทศมาเป็นเวลานานให้ก้าวข้ามไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหารคุณภาพสูง เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่มีฐานะและรสนิยมเฉพาะตัว การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและอาหาร จะทำให้เป้าหมายการเป็นครัวที่มีคุณภาพของโลกสัมฤทธิผลรวดเร็วยิ่งขึ้น

3.ส่งเสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมพลังงานปิโตรเลียมและพลังงานทดแทนสามารถสร้างรายได้จากความต้องการภายในประเทศ รวมทั้งสร้างการจ้างงานให้แก่ประเทศโดยถือเป็นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ใหม่

4.ยกระดับความสามารถในการแข่งขันและขยายช่องทางการตลาดของธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจบริการในประเทศ และธุรกิจวิสาหกิจชุมชนให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณค่าและคุณภาพสูง

5.ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขยายการลงทุนไปประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีความพร้อมทางด้านแรงงานและวัตถุดิบเพื่อสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศและภูมิภาค

6.ดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ประเทศในสาขาที่เป็นการผลิตสินค้าและบริการที่มีพื้นฐานทางเทคโนโลยีมีมูลค่าสูง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการลงทุนในการสร้างเมืองใหม่ในพื้นที่ที่เหมาะสม และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ

7.เสริมสร้างกระบวนการสร้างอาชีพ สร้างงานที่มีคุณภาพและมีรายได้สูงให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง

8.ส่งเสริมการขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุน และการเงิน ภายใต้ประโยชน์ร่วมกันของกรอบความร่วมมือและข้อตกลงทางการค้า

นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

ภาคเกษตร

1.ส่งเสริมสนับสนุนให้สภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นกลไกของเกษตรกรในการสื่อสารกับรัฐบาลและร่วมกันพัฒนาเกษตรกรด้วยตนเองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

2.เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืช โดยการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช ใช้ปุ๋ยตามคุณสมบัติของดินแต่ละชนิด เพื่อลดต้นทุนการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิต

3.เพิ่มศักยภาพกระบวนการผลิตด้านปศุสัตว์ให้ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศและการส่งออก

4.พัฒนาการประมง ทั้งในการเพาะเลี้ยงและในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการฟื้นฟูทรัพยากรประมงและจัดระเบียบการทำประมงให้สมดุลกับศักยภาพการผลิตตามธรรมชาติ ขยายพื้นที่อนุรักษ์เพื่อการประมงทะเลพื้นบ้าน ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แสวงหาลู่ทางการทำประมงในน่านน้ำต่างประเทศที่ไม่ขัดต่อระเบียบขององค์การระหว่างประเทศและประเทศที่นำเข้า

 

5.เสริมสร้างฐานรากของครัวเรือนเกษตรกรให้เข้มแข็งโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก ลดต้นทุนการผลิต พัฒนาระบบการผลิตที่เป็นขั้นตอน

6.จัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรที่มีข้อมูลการเกษตรของครัวเรือนครบถ้วน สามารถเชื่อมโยงกับบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกรและมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ

7.เร่งรัดพัฒนาธุรกิจการเกษตร โดยการพัฒนาสถาบันเกษตรกรในด้านธุรกิจ สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่จากโครงการกองทุนตั้งตัวได้

8.พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรมูลค่าเพิ่มเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก

9.ส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ ดำเนินการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม สร้างความเข้มแข็งภาคเกษตรและสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อเผชิญกับวิกฤตอาหารโลก

ภาคอุตสาหกรรม

1.ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในประเทศด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนของผู้ประกอบการ และยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ตลอดจนส่งเสริมให้มีการสร้างตราสินค้าไทย

2.ยกระดับภาคอุตสาหกรรมเข้าสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ใช้ปัญญา ใช้เทคโนโลยี และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทดแทนอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลัก

3.พัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปบนฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าและยกระดับสินค้าให้มีคุณภาพ มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล และมีโอกาสในการขยายตลาด

4.สร้างความเข้มแข็งให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยสนับสนุนช่องทางการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อผ่านสถาบันการเงินต่างๆ

5.กำหนดมาตรฐานและคุณภาพขั้นพื้นฐานของสินค้าอุตสาหกรรมเมื่อมีการเปิดเสรีการค้ามากขึ้น เพื่อป้องกันสินค้านำเข้าที่ไม่ได้คุณภาพ

6.พัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมแห่งใหม่ รวมทั้งการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจระหว่างฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทยสำหรับรองรับอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อมลพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน

7.เร่งพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และอยู่ร่วมกับชุมชนได้

8.ส่งเสริมและจัดให้มีมาตรการทางภาษีและมาตรการอื่นที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน และการใช้พลังงานจากภาคเกษตร

9.สนับสนุนให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกสาขาการผลิตเข้าประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม

10.เร่งรัดสำรวจและแสวงหาแหล่งแร่สำคัญ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และพัฒนาอุตสาหกรรมต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มโดยให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลผลกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชน

การตลาด การค้า และการลงทุน

1.ส่งเสริมนโยบายการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม เพื่อป้องกันการผูกขาดตัดตอน ส่งเสริมและพัฒนาบทบาทขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคทั้งภาครัฐและเอกชน แก้ไขปรับปรุงกฎหมาย มาตรการต่างๆ เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้บริโภค

2.สร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยปรับปรุงพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบที่ส่งเสริมการค้าการลงทุนที่ครอบคลุมการลงทุนด้านเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ และปรับปรุงมาตรการบริหารการนำเข้าเพื่อป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม

3.สนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ ส่งเสริมและสนับสนุนการเปิดร้านอาหารไทยของคนไทยตามนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก และนโยบายไทยเป็นครัวอาหารโลก

4.ปรับปรุงมาตรการการส่งเสริมการลงทุนให้ครอบคลุมการให้สิทธิประโยชน์แก่ธุรกิจในภาคเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การกีฬา และบริการ

5.ส่งเสริมการขยายตลาดเชิงรุกเพื่อรักษาตลาดเดิมและสร้างตลาดใหม่ เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกไปตลาดหลัก โดยส่งเสริมการส่งออกสินค้าและบริการในตลาดใหม่ ได้แก่ จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันออก

6.พัฒนาสินค้าและบริการที่สร้างโอกาสใหม่ในการหารายได้ การผลิตสินค้าและบริการอันเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในตลาดโลก

7.ขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุน และการตลาดภายใต้กรอบความร่วมมือและข้อตกลงการค้าเสรีในระบบพหุภาคีและทวิภาคี

8.เร่งรัดจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษบริเวณพื้นที่ที่มีศักยภาพ โดยให้ความสำคัญต่อจังหวัดชายแดน เพื่อส่งเสริมการค้า การตลาด การลงทุน การจ้างงาน และการใช้วัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้าน

 

นโยบายนายกยิ่งลักษณ์  ชินวัตร

นโยบายเศรษฐกิจมหภาค

1.ดำเนิน การให้มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ และให้เศรษฐกิจสามารถเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม และก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มีการจ้างงานเต็มที่ ระดับราคามีเสถียรภาพ ระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ

 

2.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

 

3.พัฒนา ระบบสถาบันการเงินในประเทศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหญ่และผู้ด้อยโอกาส สามารถให้บริการที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมการเงินและความ ต้องการที่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคมด้วยค่าบริการที่ต่ำและการ บริการที่มีประสิทธิภาพ

 

4.ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างฐานรายได้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ทั้งจากภาษีและที่มิใช่ภาษี

 

5.ส่ง เสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงองค์ประกอบและโครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ

 

6.ปรับปรุง โครงสร้างของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน

 

7.บริหารสินทรัพย์ ของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพิจารณาการจัดตั้งกองทุนที่สามารถใช้ในการบริหารสินทรัพย์ของชาติให้ เป็นประโยชน์ เช่น กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองแห่งชาติ และกองทุนความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

 

นโยบายสร้างรายได้

 

1.ส่ง เสริมการท่องเที่ยวจากทั้งภายนอกและภายในประเทศ จัดให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว ให้มีรายได้จากนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวในเวลา 5 ปี

 

2.ขยาย บทบาทให้ธุรกิจการเกษตรและอาหารซึ่งเป็นแหล่งรายได้และการจ้างงานในประเทศมา เป็นเวลานานให้ก้าวข้ามไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหารคุณภาพ สูง เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่มีฐานะและรสนิยมเฉพาะตัว การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและอาหาร จะทำให้เป้าหมายการเป็นครัวที่มีคุณภาพของโลกสัมฤทธิผลรวดเร็วยิ่งขึ้น

 

3.ส่ง เสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมพลังงานปิโตรเลียมและพลังงานทดแทนสามารถสร้าง รายได้จากความต้องการภายในประเทศ รวมทั้งสร้างการจ้างงานให้แก่ประเทศโดยถือเป็นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ใหม่

 

4.ยก ระดับความสามารถในการแข่งขันและขยายช่องทางการตลาดของธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจบริการในประเทศ และธุรกิจวิสาหกิจชุมชนให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการผลิตสินค้าและ บริการที่มีคุณค่าและคุณภาพสูง

 

5.ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขยายการ ลงทุนไปประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีความพร้อมทางด้านแรงงานและวัตถุดิบเพื่อสร้าง ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศและภูมิภาค

 

6.ดึงดูดการลงทุน เข้าสู่ประเทศในสาขาที่เป็นการผลิตสินค้าและบริการที่มีพื้นฐานทางเทคโนโลยี มีมูลค่าสูง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการลงทุนในการสร้างเมืองใหม่ในพื้นที่ที่เหมาะสม และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ

 

7.เสริมสร้างกระบวนการสร้างอาชีพ สร้างงานที่มีคุณภาพและมีรายได้สูงให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง

 

8.ส่งเสริมการขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุน และการเงิน ภายใต้ประโยชน์ร่วมกันของกรอบความร่วมมือและข้อตกลงทางการค้า

 

นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

 

ภาคเกษตร

 

1.ส่ง เสริมสนับสนุนให้สภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นกลไกของเกษตรกรในการสื่อสารกับ รัฐบาลและร่วมกันพัฒนาเกษตรกรด้วยตนเองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

 

2.เพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิตพืช โดยการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช ใช้ปุ๋ยตามคุณสมบัติของดินแต่ละชนิด เพื่อลดต้นทุนการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิต

 

3.เพิ่มศักยภาพกระบวนการ ผลิตด้านปศุสัตว์ให้ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศและการส่งออก

 

4.พัฒนาการประมง ทั้งในการเพาะเลี้ยงและในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการฟื้นฟูทรัพยากรประมงและจัดระเบียบการทำประมงให้สมดุลกับศักยภาพการ ผลิตตามธรรมชาติ ขยายพื้นที่อนุรักษ์เพื่อการประมงทะเลพื้นบ้าน ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แสวงหาลู่ทางการทำประมงในน่านน้ำต่างประเทศที่ไม่ขัดต่อระเบียบขององค์การ ระหว่างประเทศและประเทศที่นำเข้า

 

5.เสริมสร้างฐานรากของครัวเรือน เกษตรกรให้เข้มแข็งโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก ลดต้นทุนการผลิต พัฒนาระบบการผลิตที่เป็นขั้นตอน

 

6.จัดทำระบบทะเบียนครัวเรือน เกษตรกรที่มีข้อมูลการเกษตรของครัวเรือนครบถ้วน สามารถเชื่อมโยงกับบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกรและมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่ เสมอ

 

7.เร่งรัดพัฒนาธุรกิจการเกษตร โดยการพัฒนาสถาบันเกษตรกรในด้านธุรกิจ สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่จากโครงการกองทุนตั้งตัวได้

 

8.พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรมูลค่าเพิ่มเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก

 

9.ส่ง เสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ ดำเนินการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม สร้างความเข้มแข็งภาคเกษตรและสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อเผชิญกับวิกฤต อาหารโลก

 

ภาคอุตสาหกรรม

 

1.ยกระดับความสามารถในการ แข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในประเทศด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนของผู้ประกอบการ และยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ตลอดจนส่งเสริมให้มีการสร้างตราสินค้าไทย

 

2.ยกระดับภาคอุตสาหกรรม เข้าสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ใช้ปัญญา ใช้เทคโนโลยี และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทดแทนอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลัก

 

3.พัฒนา และส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปบนฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าและยกระดับสินค้าให้มีคุณภาพ มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล และมีโอกาสในการขยายตลาด

 

4.สร้างความเข้มแข็งให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยสนับสนุนช่องทางการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อผ่านสถาบันการเงินต่างๆ

 

5.กำหนดมาตรฐานและคุณภาพขั้นพื้นฐานของสินค้าอุตสาหกรรมเมื่อมีการเปิดเสรีการค้ามากขึ้น เพื่อป้องกันสินค้านำเข้าที่ไม่ได้คุณภาพ

 

6.พัฒนา พื้นที่อุตสาหกรรมแห่งใหม่ รวมทั้งการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจระหว่างฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทยสำหรับ รองรับอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อมลพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน

 

7.เร่งพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และอยู่ร่วมกับชุมชนได้

 

8.ส่ง เสริมและจัดให้มีมาตรการทางภาษีและมาตรการอื่นที่เกี่ยวข้องในการพัฒนา อุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน และการใช้พลังงานจากภาคเกษตร

 

9.สนับสนุนให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกสาขาการผลิตเข้าประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม

 

10.เร่งรัด สำรวจและแสวงหาแหล่งแร่สำคัญ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และพัฒนาอุตสาหกรรมต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มโดยให้ความสำคัญกับการกำกับ ดูแลผลกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชน

 

การตลาด การค้า และการลงทุน

 

1.ส่ง เสริมนโยบายการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม เพื่อป้องกันการผูกขาดตัดตอน ส่งเสริมและพัฒนาบทบาทขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคทั้ง ภาครัฐและเอกชน แก้ไขปรับปรุงกฎหมาย มาตรการต่างๆ เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้บริโภค

 

2.สร้างความเชื่อมั่นให้นัก ลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยปรับปรุงพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบที่ส่งเสริมการค้าการลงทุนที่ครอบคลุม การลงทุนด้านเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ และปรับปรุงมาตรการบริหารการนำเข้าเพื่อป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม

 

3.สนับสนุน การลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ ส่งเสริมและสนับสนุนการเปิดร้านอาหารไทยของคนไทยตามนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก และนโยบายไทยเป็นครัวอาหารโลก

 

4.ปรับปรุงมาตรการการส่งเสริมการ ลงทุนให้ครอบคลุมการให้สิทธิประโยชน์แก่ธุรกิจในภาคเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การกีฬา และบริการ

 

5.ส่งเสริมการขยายตลาดเชิงรุก เพื่อรักษาตลาดเดิมและสร้างตลาดใหม่ เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกไปตลาดหลัก โดยส่งเสริมการส่งออกสินค้าและบริการในตลาดใหม่ ได้แก่ จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันออก

 

6.พัฒนาสินค้าและบริการที่สร้างโอกาสใหม่ในการหารายได้ การผลิตสินค้าและบริการอันเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในตลาดโลก

 

7.ขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุน และการตลาดภายใต้กรอบความร่วมมือและข้อตกลงการค้าเสรีในระบบพหุภาคีและทวิภาคี

 

8.เร่งรัด จัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษบริเวณพื้นที่ที่มีศักยภาพ โดยให้ความสำคัญต่อจังหวัดชายแดน เพื่อส่งเสริมการค้า การตลาด การลงทุน การจ้างงาน และการใช้วัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้าน

     นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง ร่วมด้วยผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงการคลัง ได้ร่วมกันแถลงผลงานของกระทรวงการคลังตามนโยบายรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในรอบ 1 ปีวันนี้(10ก.ย.55)

 

 

นายกิตติรัตน์ฯ กล่าวว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยได้เผชิญกับความท้าทายทางเศรษฐกิจในหลายด้าน ทั้งจากภาวะของเศรษฐกิจโลกที่เปราะบางจากปัญหาหนี้สาธารณะของยูโรโซนและผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจไทยในช่วงก่อนที่รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงและอัตราเงินเฟ้อเริ่มปรับเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องรัฐบาลโดยกระทรวงการคลังจึงได้มีมาตรการเร่งด่วนเพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจดังกล่าวรัฐบาลได้เน้น 4 นโยบายหลักดังนี้

 

 

1. นโยบายแก้ไขปัญหาอุทกภัย เพื่อบรรเทา เยียวยา และป้องกันอุทกภัยในอนาคตโดยในระยะสั้น กระทรวงการคลังได้ขยายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินดำเนินมาตรการช่วยเหลือทางการเงินผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจ มาตรการช่วยเหลือด้านภาษี รวมทั้งจัดตั้งกองทุนส่งเสริมประกันภัยพิบัติ และในระยะปานกลางถึงยาว กระทรวงการคลังได้สนับสนุนการลงทุนเพื่อวางระบบการบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ 350,000 ล้านบาท

 

 

2. นโยบายลดรายจ่ายเพื่อบรรเทาภาระของประชาชนจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ด้วยโครงการพักหนี้เกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อย การลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล การต่ออายุมาตรการค่าครองชีพ และบัตรเครดิตพลังงาน

 

 

3. นโยบายเพิ่มรายได้ เพื่อเสริมสร้างกำลังซื้อและความเป็นอยู่ของประชาชน ด้วยการปรับเพิ่มขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท/วัน และโครงการขึ้นเงินเดือนข้าราชการที่จบปริญญาตรีเป็น 15,000 บาท/เดือน และโครงการจำนำข้าวของ ธ.ก.ส. และ

 

4. นโยบายขยายโอกาส เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของประชาชน ผู้ประกอบการ และประเทศ ด้วยการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลจากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 23 ในปี 2555 และร้อยละ 20 ในปี 2556 โครงการรถคันแรก โครงการบ้านหลังแรก และกองทุนตั้งตัวได้

 

 

การดำเนินงานตาม 4 นโยบายดังกล่าว ได้ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยกลับมาขยายตัวในอัตราที่สูงขึ้น และอัตราเงินเฟ้อปรับลดลงตามลำดับทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลสามารถรักษาวินัยทางการคลังภายใต้กรอบความยั่งยืนทางการคลัง (สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีต่ำกว่าร้อยละ 60) และสามารถสร้างกลไกการบริหารจัดการหนี้กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินได้อย่างชัดเจน

 

 

นายกิตติรัตน์ ได้กล่าวถึงผลงานของกรมจัดเก็บและรัฐวิสาหกิจที่ตนกำกับว่า ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา สามารถดำเนินนโยบายของรัฐบาลได้ดีโดยในส่วนของการกระตุ้นการบริโภคภาคเอกชน จากข้อมูลล่าสุด โครงการบัตรสินเชื่อเกษตรกรที่ได้อนุมัติแล้วทั้งสิ้น 844,347 ราย มียอดเงินใช้จ่ายผ่านบัตรทั้งสิ้น 621 ล้านบาท การคงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ที่ร้อยละ 7 เป็นส่วนสำคัญที่ได้ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการบริโภคภาคเอกชน โครงการพักหนี้ลูกหนี้ที่มีหนี้ค้างชำระ มีผู้ได้รับอนุมัติ 428,415 ราย คิดเป็นมูลหนี้ 52,304 ล้านบาท โครงการพักหนี้ลูกหนี้ที่มีภาระปกติ มีผู้สนใจมาลงทะเบียน 2,468,367 ราย คิดเป็นมูลหนี้ 281,089 ล้านบาท และโครงการรถคันแรกมีผู้ขอใช้สิทธิ์ 169,861คัน คิดเป็นยอดขอคืนเงินภาษีจำนวน12,191ล้านบาท

 

 

ในส่วนของการกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชน กระทรวงการคลังได้ปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 23 ในปี 2555 และร้อยละ 20 ในปี 2556 อันเป็นการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชนเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 และโครงการบ้านหลังแรกมีผู้ใช้สิทธิ์ 9,600 ราย คิดเป็นมูลค่าภาษี 224 ล้านบาท

 

 

ในส่วนของการดูแลอัตราเงินเฟ้อ กระทรวงการคลังได้ขยายเวลาปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลที่ 0.005 บาท/ลิตร ซึ่งสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายของประชาชนและภาคธุรกิจในช่วงปีที่ผ่านมากว่า 108,000 ล้านบาทและ

ในส่วนของการส่งเสริมการแข่งขันเสรี กระทรวงการคลังได้ดำเนินโครงการจัดตั้งการให้บริการระบบเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (National Single Window) เพื่ออำนวยความสะดวกในการค้าระหว่างประเทศ โดยคาดว่าจะสามารถเชื่อมโยงข้อมูลเสร็จสมบูรณ์ปลายปี 2556 และจะสามารถเชื่อมโยงระบบกับประเทศอาเซียนอื่นๆ ได้ในปี 2557

 

 

นายวิรุฬฯ ได้กล่าวถึงผลงานของหน่วยงานที่อยู่ในการกำกับดูแลใน 1 ปีที่ผ่านมา โดยกรมบัญชีกลางนอกจากแก้ไขปัญหาอุทกภัยด้วยการขยายวงเงินทดรองราชการ ในส่วนของนโยบายเพิ่มรายได้เพื่อกระตุ้นการบริโภคและส่งเสริมความเป็นอยู่ของประชาชน ยังได้ปรับค่าตอบแทนบุคลากรภาครัฐระดับปริญญาตรี 15,000 บาท และต่ำกว่าปริญญาตรี 9,000 บาทแล้วตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 อันเป็นการยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิต และส่งผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวม

 

 

นอกจากนี้ คณะผู้บริหารการคลังประจำจังหวัดและสถาบันการเงินเฉพาะกิจได้ร่วมกันติดตามการใช้จ่ายเงินที่ประหยัดได้จากโครงการพักหนี้เกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อยผ่านระบบฐานข้อมูลลูกหนี้ของกระทรวงการคลัง และพัฒนาต้นแบบการดำเนินธุรกิจ (Business Model) จากเงินที่ประหยัดได้ดังกล่าว

 

 

ในส่วนของกรมธนารักษ์ได้นำที่ราชพัสดุที่ไม่ได้มีการใช้ประโยชน์ให้ผู้มีรายได้น้อยเช่าเพื่ออยู่อาศัยและทำกิน ตามโครงการรัฐเอื้อราษฎร์ ซึ่งปีที่ผ่านมาสามารถจัดให้เช่าได้จำนวนกว่า 6,200 ราย ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายถึงเท่าตัว หรือคิดเป็นเนื้อที่กว่า 16,000 ไร่ และยังมีการนำที่ราชพัสดุไปสนับสนุนด้านพลังงานของประเทศ ด้วยการให้เกษตรกรเช่าทำการเกษตรและปลูกพืชทดแทน โดยในปีที่ผ่านมา ได้ดำเนินการแล้วกว่า 3,200 ราย ครอบคลุมเนื้อที่ 39,000 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 92 ของเป้าหมาย

 

 

นอกจากนี้ ยังได้นำที่ราชพัสดุให้เช่าเพื่อเป็นสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ NGV โดยได้ดำเนินการแล้ว 1 แห่ง และจะดำเนินการอีก 3 แห่งภายในปีนี้ รวมไปถึงการกิจในการยกระดับความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตได้จัดให้เช่าที่ราชพัสดุเพื่อสร้างสนามกีฬา เช่น สนามบาสเกตบอลชุมชนในเขตพระโขนง เป็นต้น

 

 

สำหรับสถาบันการเงินเฉพาะกิจในปีที่ผ่านมาสนับสนุนนโยบายของภาครัฐในการแก้ไขปัญหาอุทกภัย ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และขยายโอกาส กระทรวงการคลังได้มีมาตรการต่าง ๆ ในการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อย่างทั่วถึงและเพียงพอผ่านทางสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โดยในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2555 สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้อนุมัติสินเชื่ออยู่ในเกณฑ์ดีและสูงกว่าเป้าหมาย โดยอนุมัติสินเชื่อรายใหม่กว่า 6 ล้านราย คิดเป็นเงินจำนวน 1.17 ล้านล้านบาท


อีกทั้ง ในรอบปีที่ผ่านมา สถาบันการเงินเฉพาะกิจยังได้มีส่วนในการ (1) ยกระดับขีดความสามารถของประเทศ ผ่านมาตรการด้านสินเชื่อเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของ SMEs ในวงเงิน 54,000 ล้านบาท (2) ยกระดับความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตประชาชน ผ่านทางโครงการต่างๆของภาครัฐ เช่น โครงการบ้านธนาคารอาคารสงเคราะห์เพื่อที่อยู่อาศัยแห่งแรกร้อยละ 0 เป็นระยะเวลา 3 ปี โครงการยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนและชุมชนในพื้นที่พิเศษ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และมาตรการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยปี 2554 เป็นต้น และ (3) พัฒนาระบบตลาดการเงินไทย ผ่านทางโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตราสารหนี้เพื่อการระดมเงินจากตลาดทุน

 

 

ในส่วนของภาคการประกันภัย การจัดตั้งกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติในวงเงิน 50,000 ล้านบาท ซึ่งประสบความสำเร็จในการฟื้นฟูระบบประกันวินาศภัยและสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้รับประกันภัย และผลักดันให้เบี้ยประกันภัยพิบัติลดลงอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายแก้ไขปัญหาอุทกภัยของภาครัฐ ในด้านการขยายโอกาสและยกระดับคุณภาพชีวิต นับตั้งแต่ วันที่ 1 สิงหาคม 2555 ได้มีการนำระบบการจ่ายค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉิน

กรณีประสบภัยจากรถผ่านระบบออนไลน์ (E-Claim) ทำให้ประชาชนสามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลทุกแห่งทั่วประเทศ โดยไม่ต้องสำรองค่ารักษาพยาบาลไปก่อน

 

 

สุดท้ายเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตโดยลดอุบัติเหตุทางรถ ได้ส่งเสริมให้มีการจัดทำกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ปลอดแอลกอฮอล์ขึ้นซึ่งมีเบี้ยประกันลดจากอัตราปกติร้อยละ 10 เพื่อเป็นรางวัลให้ผู้ขับขี่ที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งจะเป็นทางเลือกใหม่ให้กับประชาชนที่ไม่ดื่มสุรา และจะนำไปสู่การลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุทางรถในที่สุด

 

 

นายกิตติรัตน์ฯ กล่าวว่า ในระยะต่อไป เพื่อรองรับกระบวนทัศน์ใหม่ของการพัฒนาประเทศ ทั้งในด้านการสร้างมูลค่า การปรับสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจในประเทศและภูมิภาค กระทรวงการคลังได้วางเป้าหมายยุทธศาสตร์ 3 ประการ ได้แก่

 

 

1. การลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม ด้วยการเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจให้แก่คนฐานราก การสร้างระบบสวัสดิการพื้นฐานให้ทั่วถึงและมีคุณภาพ และการกระจายรายได้และการถือครองทรัพย์สินอย่างเป็นธรรม

 

 

2. การสนับสนุนศักยภาพและเพิ่มความสามารถการแข่งขัน ด้วยการสนับสนุนการจัดตั้งธุรกิจ การพัฒนาภาคเอกชนให้เกิดการสร้างมูลค่า การเชื่อมโยงธุรกิจเพื่อก้าวสู่เศรษฐกิจระดับภูมิภาคและระดับโลก และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน และ

 

 

3. การรักษาความยั่งยืนทางการคลัง ด้วยการเสริมสร้างความมั่นคงทางการคลัง การส่งเสริมความโปร่งใสในการดำเนินงานของภาครัฐ และการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของกระทรวงการคลัง

 

 

ในส่วนของความยั่งยืนทางการคลัง นายกิตติรัตน์ฯ กล่าวว่า กระทรวงการคลังวางแผนที่จะปรับฐานะทางการคลังให้เข้าสู่สมดุลภายในปี 2560 โดยในปีงบประมาณ 2556 จะขาดดุลการคลังที่ 3 แสนล้านบาท ต่ำกว่าปีงบประมาณ 2555 ซึ่งขาดดุลที่ 4 แสนล้านบาท

 

 

นอกจากนี้ ในส่วนของการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน นายกิตติรัตน์ฯ กล่าวว่าประเทศไทยจำเป็นต้องลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้ โดยล่าสุดสถาบันการจัดการนานาชาติ (International Institute for Management Development: IMD) ได้จัดอันดับโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทยที่ 49 จาก 59 ประเทศ และเวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรั่ม (World Economic Forum: WEF) ได้จัดอันดับโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทยที่ 46 จาก 144 ประเทศ ในเรื่องนี้ กระทรวงการคลังมีนโยบายที่จะออก พ.ร.บ.เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานมูลค่า 2.2 ล้านล้านบาท ซึ่งครอบคลุมการขนส่งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ พลังงาน การสื่อสาร และสาธารณูปการ

 

 

 

 

นโบายการเงิน ของ นายกยิ่งลักษณ์  ชินวัตร

1. พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า 5 แสนบาท อย่างน้อย 3 ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน 5 แสนบาท
2. เพิ่มรายได้รายวันสำหรับแรงงานเป็นวันละ 300 บาท และรายเดือนของผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีเป็น 15,000 บาท
3. จัดให้มีเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุ
4. ให้มีมาตรการภาษีเพื่อลดภาระการลงทุนสำหรับสิ่งจำเป็นในชีวิตของประชาชนทั่วไป ได้แก่บ้านหลังแรก
5. ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลให้เหลือร้อยละ 23 ในปี 2555 และลดลงร้อยละ 20 ในปี 2556 เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ขยายฐานภาษีและรองรับเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558
6. ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนสนับสนุนสินเชื่อรายย่อย
7. เพิ่มกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง 1 ล้านบาท
8. จัดตั้งกองทุนพัฒนาศักยภาพสตรีเฉลี่ยจังหวัดละ 100 ล้านบาท
9. จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้วงเงินประมาณ 1 พันล้านต่อสถาบันอุดมศึกษา

รัฐบาลนำคำแถลงนโยบายที่ผ่านการพิจารณาของครม. แจกสื่อมวลชน มีเนื้อหาโดยสรุประบุว่า นโยบายของรัฐบาลชุดนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีจุดมุ่งหมาย 3 ประการ ประกอบด้วย

1.นำประเทศไทยไปสู่โครงสร้างเศรษฐกิจที่สมดุล มีความเข้มแข็งของเศรษฐกิจภายในประเทศมากขึ้น

2.นำประเทศไทยสู่สังคมที่มีความปรองดองสมานฉันท์ และ

3.นำประเทศไทยไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 อย่างสมบูรณ์ โดยกำหนดนโยบายเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก และระยะการบริหารราชการ 4 ปี

 นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก คือ

  1) สร้างความปรองดองสมานฉันท์ เยียวยาและฟื้นฟูทุกฝ่าย เช่น ประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐ และผู้ประกอบการภาคเอกชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุรุนแรงตั้งแต่ช่วงปลายการใช้รัฐธรรมนูญ 2540 สนับสนุนให้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ดำเนินการอย่างเป็นอิสระ

  2) กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็น “วาระแห่งชาติ”

  3) ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐอย่างจริงจัง

  4) ส่งเสริมการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการและเร่งรัดขยายเขตพื้นที่ชลประทาน

  5) เร่งนำสันติสุขและความปลอดภัยกลับมาสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยน้อมนำกระแสพระราชดำรัส “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เป็นหลักปฏิบัติ

  6) เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ

  7) แก้ไขความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง โดยชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงชั่วคราวเพื่อให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงทันที ปรับโครงสร้างราคาพลังงาน จัดให้มีบัตรเครดิตพลังงานสำหรับผู้ประกอบอาชีพรถรับจ้างขนส่งผู้โดยสารสาธารณะ ดูแลราคาสินค้าและการมีรายได้ ป้องกันและแก้ไขการผูกขาดทั้งทางตรงและทางอ้อม

  8) ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อย และผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า 500,000 บาท อย่างน้อย 3 ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน 500,000 บาท ทำให้แรงงานมีรายได้เป็นวันละไม่น้อยกว่า 300 บาท ผู้จบปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า 15,000 บาท จ่ายเบี้ยสูงอายุแบบขั้นบันได อายุ 60-69 ปี 600 บาท, อายุ 70-79 ปี 700บาท, อายุ 80-89 ปี 800บาท และอายุ 90 ปีขึ้นไป ได้รับ 1,000 บาท ลดภาษีบ้านหลังแรกและรถยนต์คันแรก

  9) ลดภาษีเงินได้นิติบุคคล เหลือร้อยละ 23 ในปี 2555 และเหลือร้อยละ 20 ในปี 2556

  10) ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยเพิ่มเงินทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอีกแห่งละ1 ล้านบาท จัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี วงเงินเฉลี่ยจังหวัดละ100 ล้านบาท จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้วงเงิน 1,000ล้านบาท ต่อสถาบันอุดมศึกษาที่ร่วมโครงการ จัดสรรงบประมาณเข้ากองทุนเอสเอ็มแอล 300,000 400,000 และ 500,000 บาทตามขนาดหมู่บ้าน

  11) ยกระดับราคาสินค้าเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน เริ่มจากการรับจำนำข้าวเปลือกเจ้าและข้าวเปลือกหอมมะลิ เกวียนละ 15,000 บาท และ 20,000 บาท จัดทำทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรและการออกบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกร

  12) เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศ โดยประกาศให้ปี 2554-2555 เป็นปี “มหัศจรรย์ไทยแลนด์” และประชาสัมพันธ์เชิญชวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าร่วมเฉลิมฉลองในพระราชพิธีมหามงคลที่จะมีขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2554-2555

  13) สนับสนุนการพัฒนางานศิลปหัตถกรรมและผลิตภัณฑ์ชุมชน

  14) พัฒนาระบบประกันสุขภาพ เพิ่มประสิทธิภาพระบบ 30 บาทรักษาทุกโรค ให้ทุกคนได้รับบริการอย่างมีคุณภาพ สะดวก รวดเร็วและเป็นธรรม

  15) จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้แก่โรงเรียน เริ่มในโรงเรียนนำร่องแก่นักเรียน ป. 1ปีการศึกษา 2555 และ

  16) เร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วม โดยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ที่เป็นอิสระยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยให้ประธานเห็นชอบผ่านการออกเสียงประชามติ

 ส่วนนโยบายที่จะดำเนินการภายในช่วงระยะ 4 ปี จะดำเนินนโยบายหลักจากข้อ 2-8 ดังนี้

  2.นโยบายความมั่นคงแห่งรัฐ ที่สำคัญคือ เทิดทูนและพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ ดำรงไว้ซึ่งพระบรมเดชานุภาพแห่งองค์พระมหากษัตริย์ น้อมนำพระราชดำริทั้งปวงไว้เหนือ  เกล้าเหนือกระหม่อม พร้อมทั้งอัญเชิญไปปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม

  3.นโยบายเศรษฐกิจ กระจายรายได้ที่เป็นธรรม ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ มีนโยบายสร้างรายได้จากการส่งเสริมการท่องเที่ยว เพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวในเวลา 5 ปี ผลักดันไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหาร มีนโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ส่วนนโยบายโครงสร้างพื้นฐาน จะพัฒนาระบบขนส่ง ประปา ไฟฟ้าให้กระจายไปสู่ภูมิภาคอย่างทั่วถึง เพียงพอ ขยายการให้บริการน้ำสะอาดให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ พัฒนาระบบรถ  ไฟทางคู่เชื่อมชานเมือง+หัวเมืองหลัก พัฒนารถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯเชียงใหม่ กรุงเทพฯ-นครราชสีมา กรุงเทพฯ-หัวหิน และเส้นทางเชื่อมต่อกับเพื่อนบ้าน ศึกษาและพัฒนาขยายทางรถไฟสายแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ต่อจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไปยังชลบุรีและพัฒนา เร่งรัดโครงสร้างรถไฟฟ้า 10 สายทางในกทม.และปริมณฑล ให้เริ่มก่อสร้างได้ครบใน 4 ปี ค่าบริการ 20 บาทตลอดสาย

  4.นโยบายด้านสังคมและคุณภาพชีวิต กระจายโอกาสทางการศึกษาให้เข้าถึงทุกกลุ่ม จัดโครงการเงินกู้เพื่อการศึกษาที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคต ส่งเสริมให้แรงงานเข้าถึงข้อมูลข่าวสารตำแหน่งว่างงานโดยสะดวก เพิ่มประสิทธิภาพประกันสังคม พัฒนาคุณภาพชีวิตตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์ จนถึงวัยชรา และผู้พิการ สร้างหลักประกันความมั่นคงในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติและการละเมิดสิทธิมนุษยชนทุกรูปแบบ

  5.นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ ทรัพยากรทางทะเล สร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ

  6.นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม เร่งสร้างนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย และครูวิทยาศาสตร์ให้เพียงพอ ส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา ส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศมุสลิม และองค์กรอิสลามระหว่างประเทศ

  7.นโยบายการต่างประเทศ และเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เร่งส่งเสริมและพัฒนาความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน ส่งเสริมผลประโยชน์ของชาติในองค์กรระหว่างประเทศ

  8.นโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พัฒนาระบบราชการ สร้างเสริมมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม และธรรมา  ภิบาล รวมถึงปฏิรูประบบกฎหมายและพัฒนากระบวนการยุติธรรม ให้ทันสมัย สอดคล้องหลักการประชาธิปไตย เร่งรัดจัดตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติรรมที่ดำเนินการโดยอิสระ และปรับปรุงระบบการช่วยเหลือประชาชนให้เข้าถึงความเป็นธรรมโดยง่าย ส่งเสริมให้ประชาชนมีโอกาสได้รับรู้ข่าวสารจากทางราชการ สื่อสารมวลชนและสื่อสาธารณะ


นโยบายของนายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 

1.นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มทำในปีแรก แบ่งเป็น 1.1 สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย 1.1.1 สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย โดยการเสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันของประชาชนในชาติให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 1.1.2 เยียวยาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องแก่บุคคลทุกฝ่าย เช่น ประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐและผู้ประกอบการภาคเอกชน ซึ่งได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางความคิด ทางการเมืองและความรุนแรงที่ก่อตัวขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายของการใช้รัฐธรรมนูญปี 2540 1.1.3 สนับสนุนให้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อแนวทางปรองดองแห่งชาติ(คอป.) ดำเนินการอย่างอิสระและได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างเต็มที่ในการตรวจสอบหาความจริงกรณีความรุนแรงทางการเมือง การละเมิดสิทธิมนุษยชน การสูญเสียชีวิต บาดเจ็บทางร่างกายและจิตใจ ความเสียหายทางทรัพย์สิน 1.2 กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติ 1.3 ป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นในภาครัฐอย่างจริงจัง1.4 เร่งแก้ไขปัญหาความไม่สงบและนำสันติสุขกลับสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเร็ว 1.5 เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ 1.6 แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง 1.7 ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน 1.7.1 พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า 5 แสนบาท อย่างน้อย 3 ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน 5 แสนบาท 1.7.2 เพิ่มรายได้รายวันสำหรับแรงงานเป็นวันละ 300 บาท และรายเดือนของผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีเป็น 15,000 บาท 1.7.3 จัดให้มีเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุ 1.7.4 ให้มีมาตรการภาษีเพื่อลดภาระการลงทุนสำหรับสิ่งจำเป็นในชีวิตของประชาชนทั่วไป ได้แก่บ้านหลังแรก 1.8 ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลให้เหลือร้อยละ 23 ในปี 2555 และลดลงร้อยละ 20 ในปี 2556 เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ขยายฐานภาษีและรองรับเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 1.9 ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนสนับสนุนสินเชื่อรายย่อย 1.9.1 เพิ่มกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง 1 ล้านบาท 1.9.2จัดตั้งกองทุนพัฒนาศักยภาพสตรีเฉลี่ยจังหวัดละ 100 ล้านบาท 1.9.3จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้วงเงินประมาณ 1 พันล้านต่อสถาบันอุดมศึกษา 1.10 ยกระดับสินค้าการเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยให้มีการประกันภัยพืชผลและนำระบบรับจำนำสินค้าการเกษตรมาใช้ รวมถึงการออกบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกร 1.11 ส่งเสริมให้มีการจัดการน้ำอย่างบูรณาการด้วยการสร้างระบบชลประทานขนาดใหญ่-กลาง-เล็ก 1.12 เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวโดยได้ปี 2554 - 2555 เป็นปีมหัศจรรย์ไทยแลนด์ (มิลาเคิลไทยแลนด์ เยียร์) และประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวร่วมเฉลิมฉลองในพระราชพิธีมหามงคลในช่วงปี 2554-2555 1.13 สนับสนุนงานศิลปหัตถกรรมเพื่อสร้างเอกลักษณ์และผลิตสินค้าในท้องถิ่น 1.13.1 สนับสนุนมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ 1.13.2บริหารโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ให้มีศักยภาพ 1.14 พัฒนาระบบประกันสุขภาพ 30 บาทรักษาทุกโรค 1.15จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แทปเล็ตให้โรงเรียน โดยเริ่มทดลองดำเนินการในโรงเรียนนำร่อง สำหรับระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2554 ควบคู่กับการพัฒนาเนื้อหาที่เหมาะสมตามหลักสูตรบรรจุลงในแทปเล็ต รวมถึงทำอินเตอร์เน็ตไร้สายในระดับการให้บริหารและในพื้นที่สาธารณะ รวมถึงสถานศึกษาที่กำหนดฟรี 1.16 เร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมือง ที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขว้าง โดยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยให้ประชาชนเห็นชอบโดยการออกเสียงประชามติ 2. นโยบายความมั่นคงแห่งรัฐ เช่น เทิดทูนและพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์, พัฒนาและเสริมสร้างระบบป้องกันประเทศของกองทัพให้มีความมั่นคง 3.นโยบายเศรษฐกิจ 4.นโยบายคุณภาพชีวิต 5.นโยบายที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 6.นโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การวิจัย และนวัตกรรม 7.นโยบายการต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ 8.นโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี รัฐบาลได้เน้น 4 นโยบายหลัก 1. นโยบายแก้ไขปัญหาอุทกภัย เพื่อบรรเทา เยียวยา และป้องกันอุทกภัยในอนาคตโดยในระยะสั้น กระทรวงการคลังได้ขยายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินดำเนินมาตรการช่วยเหลือทางการเงินผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจ มาตรการช่วยเหลือด้านภาษี รวมทั้งจัดตั้งกองทุนส่งเสริมประกันภัยพิบัติ และในระยะปานกลางถึงยาว กระทรวงการคลังได้สนับสนุนการลงทุนเพื่อวางระบบการบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ 350,000 ล้านบาท 2. นโยบายลดรายจ่ายเพื่อบรรเทาภาระของประชาชนจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ด้วยโครงการพักหนี้เกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อย การลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล การต่ออายุมาตรการค่าครองชีพ และบัตรเครดิตพลังงาน 3. นโยบายเพิ่มรายได้ เพื่อเสริมสร้างกำลังซื้อและความเป็นอยู่ของประชาชน ด้วยการปรับเพิ่มขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท/วัน และโครงการขึ้นเงินเดือนข้าราชการที่จบปริญญาตรีเป็น 15,000 บาท/เดือน และโครงการจำนำข้าวของ ธ.ก.ส. และ 4. นโยบายขยายโอกาส เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของประชาชน ผู้ประกอบการ และประเทศ ด้วยการลดภาษีเงินได้นิติบุคคลจากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 23 ในปี 2555 และร้อยละ 20 ในปี 2556 โครงการรถคันแรก โครงการบ้านหลังแรก และกองทุนตั้งตัวได้ 

นโยบายของรัฐบาลยิ่งลักษณ์จะแบ่งออกเป็น 8 ข้อใหญ่ แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ข้อหนึ่งเป็น “นโยบายเร่งด่วนที่จะดำเนินการในปีแรก” ส่วนอีกเจ็ดข้อที่เหลือคือนโยบายระยะยาว 4 ปี แบ่งออกเป็นนโยบายตามด้านต่างๆ

  1. นโยบายเร่งด่วนที่จะดำเนินการในปีแรก
  2. นโยบายความมั่นคงแห่งรัฐ
  3. นโยบายเศรษฐกิจ
  4. นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต
  5. นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  6. นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัย และนวัตกรรม
  7. นโยบายการต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
  8. นโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

1) นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก

แบ่งออกเป็น 16 ข้อย่อย โดยส่วนมากคือนโยบายที่พรรคเพื่อไทยหาเสียงเอาไว้ช่วงก่อนการเลือกตั้ง

๑.๑ สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย
๑.๑.๑ สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย โดยการเสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันของประชาชนในชาติให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
๑.๑.๒ เยียวยาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องแก่บุคคลทุกฝ่าย เช่น ประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐ และผู้ประกอบการภาคเอกชน ซึ่งได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากความเห็นที่แตกต่าง และความรุนแรงที่ก่อตัวขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายของการใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐
๑.๑.๓ สนับสนุนให้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ดำเนินการอย่างเป็นอิสระและได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างเต็มที่ในการตรวจสอบและค้นหาความจริงจากกรณีความรุนแรงทางการเมือง การละเมิดสิทธิมนุษยชน การสูญเสียชีวิต บาดเจ็บทางร่างกายและจิตใจ รวมทั้งความเสียหายทางทรัพย์สิน

๑.๒ กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็น “วาระแห่งชาติ” โดยยึดหลักนิติธรรมในการปราบปรามลงโทษผู้ผลิต ผู้ค้า ผู้มีอิทธิพล และผู้ประพฤติมิชอบ โดยบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ยึดหลักผู้เสพคือผู้ป่วยที่ต้องได้รับการบำบัดรักษาให้กลับมาเป็นคนดีของสังคม พร้อมทั้งมีกลไกติดตามช่วยเหลืออย่างเป็นระบบดำเนินการอย่างจริงจังในการป้องกันปัญหาด้วยการแสวงหาความร่วมมือเชิงรุกกับต่างประเทศในการควบคุมและสกัดกั้นยาเสพติด สารเคมี และสารตั้งต้นในการผลิตยาเสพติดที่ลักลอบเข้าสู่ประเทศภายใต้การบริหารจัดการอย่างบูรณาการและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งดำเนินการป้องกันกลุ่มเสี่ยงและประชาชนทั่วไปไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ด้วยการรวมพลังทุกภาคส่วนเป็นพลังแผ่นดินในการต่อสู้กับยาเสพติด

๑.๕ เร่งนำสันติสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนกลับมาสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ควบคู่ไปกับการขจัดความยากจน ยาเสพติด และอิทธิพลอำนาจมืด โดยน้อมนำกระแสพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เป็นหลักปฏิบัติในแนวทางสันติวิธี โดยเน้นการส่งเสริมความร่วมมือในทุกภาคส่วนกับประชาชนในพื้นที่ อำ นวยความยุติธรรมอย่างทั่วถึง เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและคุณภาพชีวิต สร้างโอกาสและความเสมอภาค พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ เคารพอัตลักษณ์ ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น ส่งเสริมการกระจายอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบที่สอดคล้องกับลักษณะพื้นที่โดยไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ จะมีการบูรณาการการบริหารจัดการทุกภาคส่วนให้มีเอกภาพทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ รวมทั้งปรับปรุง พัฒนากฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้อง ทันสมัยกับสภาพความเป็นจริงของปัญหาที่เกิดขึ้น ตลอดจนเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบอย่างเป็นธรรม

๑.๖ เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ เพื่อสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคร่วมกัน โดยเฉพาะการเร่งแก้ไขปัญหากระทบกระทั่งตามแนวพรมแดน ผ่านกระบวนการทางการทูตบนพื้นฐานของสนธิสัญญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และเร่งดำเนินการตามข้อผูกพันในการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘ ทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคง ตลอดจนการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมขนส่งภายในและภายนอกภูมิภาค

๑.๗ แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง

๑.๗.๑ ชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงบางประเภทชั่วคราวเพื่อให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงทันที และปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบให้มุ่งสู่การสะท้อนราคาต้นทุนพลังงาน

๑.๗.๒ จัดให้มีบัตรเครดิตพลังงานสำหรับผู้ประกอบอาชีพรถรับจ้างขนส่งผู้โดยสารสาธารณะในวงเงินที่เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้จริงต่อเดือน

๑.๗.๓ ดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาพลังงานให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ผลิต

๑.๗.๔ แก้ไขปัญหาค่าครองชีพโดยการดูแลราคาสินค้าและการมีรายได้เพื่อเพิ่มกำลังซื้อสุทธิของประชาชนโดยป้องกันและแก้ไขการผูกขาดทั้งทางตรงและทางอ้อม

๑.๘ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ สร้างสมดุลและความเข้มแข็งอย่างมีคุณภาพให้แก่ระบบเศรษฐกิจมหภาค

๑.๘.๑ พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า ๕๐๐,๐๐๐ บาท อย่างน้อย ๓ ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท รวมทั้งจัดทำแผนฟื้นฟูอาชีพและแผนการปรับโครงสร้างการผลิตอย่างครบวงจร เพื่อสร้างโอกาสในการยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยการมีรายได้ที่มั่นคงและสามารถใช้หนี้คืน

๑.๘.๒ ดำเนินการให้แรงงานมีรายได้เป็นวันละไม่น้อยกว่า ๓๐๐ บาท และผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า ๑๕,๐๐๐ บาท อย่างสอดคล้องกับผลิตภาพและประสิทธิภาพของบุคลากร รวมทั้งมีมาตรการเพื่อลดภาระแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบเพื่อให้แรงงานและบุคลากรสามารถดำรงชีพได้อย่างมีศักดิ์ศรีและคุณภาพชีวิตที่ดี

๑.๘.๓ จัดให้มีเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุ โดยผู้ที่มีอายุ ๖๐-๖๙ ปี จะได้รับ ๖๐๐ บาท อายุ ๗๐-๗๙ ปี จะได้รับ ๗๐๐ บาท อายุ ๘๐-๘๙ ปี จะได้รับ ๘๐๐ บาท และอายุ ๙๐ ปีขึ้นไป จะได้รับ ๑,๐๐๐ บาท

๑.๘.๔ ให้มีมาตรการภาษีเพื่อลดภาระการลงทุนสำหรับสิ่งจำเป็นในชีวิตของประชาชนทั่วไป ได้แก่ บ้านหลังแรกและรถยนต์คันแรก

๑.๙ ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้เหลือร้อยละ ๒๓ ในปีพ.ศ. ๒๕๕๕ และลดลงเหลือร้อยละ ๒๐ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ขยายฐานภาษี และรองรับการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๕๘

๑.๑๐ ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน สนับสนุนสินเชื่อรายย่อย โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย รวมถึงเพิ่มสวัสดิการของรัฐเพื่อเป็นการดูแลสังคมในชุมชน จัดหาแหล่งเงินทุนให้แก่ผู้ประกอบการและประชาชน โดย

๑.๑๐.๑ เพิ่มเงินทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอีกแห่งละ ๑ ล้านบาท

๑.๑๐.๒ จัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี โดยมีวงเงินเฉลี่ยจังหวัดละ ๑๐๐ ล้านบาท

๑.๑๐.๓ จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้ในวงเงินประมาณ ๑,๐๐๐ ล้านบาท ต่อสถาบันอุดมศึกษาที่ร่วมโครงการ สนับสนุนการสร้างผู้ประกอบการรายย่อย เพื่อให้สามารถกู้ยืมเพื่อการสร้างอาชีพ ผนวกกับกลไกของ “หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ” ในสถานศึกษาโดยมุ่งให้เกิดวิสาหกิจนวัตกรรมใหม่ที่จะเป็นกลไกใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

๑.๑๐.๔ จัดสรรงบประมาณเข้ากองทุนพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นจำนวนเงิน ๓๐๐,๐๐๐ ๔๐๐,๐๐๐ และ ๕๐๐,๐๐๐ บาทตามลำดับขนาดของหมู่บ้าน เพื่อให้หมู่บ้านบริหารจัดการกองทุนเพื่อการพัฒนาชุมชนด้วยตนเอง

๑.๑๑ ยกระดับราคาสินค้าเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยดูแลราคาสินค้าเกษตรให้มีเสถียรภาพที่เหมาะสม คำนึงถึงกลไกราคาตลาดโลก โดยใช้วิธีบริหารจัดการทางการตลาดและกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้า รวมทั้งผลักดันให้เกษตรกรสามารถขายสินค้าเกษตรได้ในราคาสูงเพียงพอเมื่อเทียบกับต้นทุน และนำระบบรับจำนำสินค้าเกษตรมาใช้ในการสร้างความมั่นคงด้านรายได้ให้แก่เกษตรกร เริ่มต้นจากการรับจำนำข้าวเปลือกเจ้าและข้าวเปลือกหอมมะลิ ความชื้นไม่เกินร้อยละ ๑๕ ที่ราคาเกวียนละ ๑๕,๐๐๐ บาท และ ๒๐,๐๐๐ บาทตามลำดับ พร้อมทั้งจัดให้มีการเยียวยาความเสียหายของพืชผลจากภัยธรรมชาติให้แก่เกษตรกร การจัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรให้สมบูรณ์ และการออกบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกร

๑.๑๒ เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศโดยประกาศให้ปี พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๕ เป็นปี“มหัศจรรย์ไทยแลนด์” (“Miracle Thailand” Year) และประชาสัมพันธ์เชิญชวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าร่วมเฉลิมฉลองในพระราชพิธีมหามงคลที่จะมีขึ้นในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๕

๑.๑๖ เร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง โดยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นอิสระยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อวางกลไกการใช้อำนาจอธิปไตยที่ยึดหลักนิติธรรม และองค์กรที่ใช้อำนาจรัฐที่มีความรับผิดชอบต่อประชาชนและพร้อมรับการตรวจสอบ ทั้งนี้ ให้ประชาชนเห็นชอบผ่านการออกเสียงประชามติ

2) นโยบายความมั่นคงแห่งรัฐ

ส่วนของนโยบายระยะยาวเริ่มต้นที่ข้อที่ 2 เรื่องนโยบายความมั่นคงของประเทศ นโยบายที่น่าสนใจได้แก่

พัฒนาและเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ ส่งเสริมให้กองทัพพัฒนาความสัมพันธ์ทางทหารกับมิตรประเทศ และมีความพร้อมในการปฏิบัติการเพื่อสันติภาพในกรอบสหประชาชาติ พัฒนาความสัมพันธ์ของหน่วยงานด้านความมั่นคงและกองทัพกับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งจะแก้ไขปัญหาต่าง ๆ กับประเทศเพื่อนบ้านบนพื้นฐานของการสร้างบรรยากาศความไว้เนื้อเชื่อใจทั้งภาครัฐและภาคประชาชน ดำเนินการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนตามหลักฐานพื้นฐานของกฎหมายและสนธิสัญญาที่มีอยู่เพื่อมิให้เป็นเงื่อนไขของความขัดแย้ง รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อระงับยับยั้งและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติและยาเสพติดให้หมดไป

 พัฒนาระบบการเตรียมพร้อมแห่งชาติ โดยเน้นการบริหารวิกฤตการณ์เพื่อรับมือภัยคุกคามด้านต่าง ๆ ทั้งที่เกิดจากภัยธรรมชาติและภัยที่มนุษย์สร้างขึ้นที่มากขึ้น โดยมุ่งระดมสรรพกำลังจากทุกภาคส่วนให้สามารถดำเนินงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกัน แก้ไข บรรเทา และฟื้นฟูความเสียหายของชาติที่เกิดจากภัยต่าง ๆ รวมถึงให้ความสำคัญในการเตรียมพร้อมเพื่อเผชิญกับปัญหาความมั่นคงในรูปแบบใหม่ในทุกด้าน ได้แก่ ด้านพลังงาน ด้านสิ่งแวดล้อม ความมั่นคงของมนุษย์ อาชญากรรมข้ามชาติ การก่อการร้าย และอุบัติภัย ทั้งนี้ เพื่อให้มีความพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของประเด็นปัญหาด้านความมั่นคงในยุคโลกาภิวัตน์

3) นโยบายเศรษฐกิจ

แบ่งเป็นข้อย่อยหลายข้อ เริ่มจาก

๓.๑ นโยบายเศรษฐกิจมหภาค

ดำเนินการให้มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ และให้เศรษฐกิจสามารถเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม และก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มีการจ้างงานเต็มที่ ระดับราคามีเสถียรภาพระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ โดยการสร้างความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพของตลาดเงินและตลาดทุนในประเทศ รวมถึงการสร้างความร่วมมือในภูมิภาคเพื่อรองรับความผันผวนที่อาจเกิดขึ้น

ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบเพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างฐานรายได้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ทั้งจากภาษีและที่มิใช่ภาษี

บริหารสินทรัพย์ของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ทั้งสินทรัพย์ของภาครัฐ ตลอดจนทุนในท้องถิ่นที่รวมถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น วิถีชีวิต วัฒนธรรม รวมทั้งพิจารณาการจัดตั้งกองทุนที่สามารถใช้ในการบริหารสินทรัพย์ของชาติให้เป็นประโยชน์ เช่น กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ กองทุนนํ้ามัน เชื้อเพลิงสำรองแห่งชาติ และกองทุนความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

๓.๓ นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

๓.๓.๑ ภาคเกษตรกรรม

๖) จัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรที่มีข้อมูลการเกษตรของครัวเรือนครบถ้วน สามารถเชื่อมโยงกับบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกร และมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอเพื่อความสะดวกในการสนับสนุนช่วยเหลือและพัฒนาเกษตรกร สร้างหลักประกันความมั่นคงในการประกอบอาชีพให้แก่เกษตรกร จัดให้มีอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านเพื่อสนับสนุนการทำงานของภาครัฐ ตลอดจนจัดให้มีรายการโทรทัศน์เพื่อการเกษตรเพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการผลิตและการตลาดแก่เกษตรกรทั่วไป

๓.๓.๒ ภาคอุตสาหกรรม

๖) พัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมแห่งใหม่ โดยพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมใหม่ในทุกภูมิภาคที่เหมาะสมเพื่อรองรับการลงทุนด้านอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อมลพิษ และพัฒนาเส้นทางการขนส่งเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่อุตสาหกรรมดังกล่าวกับท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังและท่าเรือมาบตาพุด รวมทั้งการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจระหว่างฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทยสำหรับรองรับอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อมลพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน

๓.๓.๔ การตลาด การค้า และการลงทุน

๕) ส่งเสริมการขยายตลาดเชิงรุกเพื่อรักษาตลาดเดิมและสร้างตลาดใหม่เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกไปตลาดหลัก โดยส่งเสริมการส่งออกสินค้าและบริการในตลาดใหม่ ได้แก่ จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันออก พร้อมทั้งรักษาส่วนแบ่งในตลาดหลักไม่ให้ลดลง ตลอดจนการเตรียมความพร้อมในเชิงของทักษะเทคโนโลยี และวิทยาการที่จำเป็นในการแข่งขันระดับโลกเพื่อการขยายตัวอย่างยั่งยืนของประเทศในอนาคต และเป็นการส่งเสริมให้สินค้าและบริการของไทยเป็นที่รู้จักและยอมรับอย่างแพร่หลายจากผู้บริโภคในประเทศต่าง ๆ

๓.๔ นโยบายโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาระบบรางเพื่อขนส่งมวลชน และการบริหารจัดการระบบขนส่งสินค้าและบริการ

๓.๔.๔ พัฒนาระบบคมนาคมขนส่งทางราง โดยเชื่อมโยงโครงข่ายและการบริหารจัดการขนส่งผู้โดยสาร และสินค้าและบริการที่สะดวกและปลอดภัยทั้งในพื้นที่ชนบท พื้นที่เมือง และระหว่างประเทศ รวมทั้งสนับสนุนการขยายฐานการผลิตตามแนวเส้นทางรถไฟ

๑) พัฒนาระบบรถไฟทางคู่เชื่อมชานเมืองและหัวเมืองหลักในเส้นทางที่มีความสำคัญ
๒) ศึกษาและพัฒนารถไฟความเร็วสูงสาย กรุงเทพฯ–เชียงใหม่ กรุงเทพฯ–นครราชสีมา กรุงเทพฯ–หัวหิน และเส้นทางอื่นเพื่อเตรียมการเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน
๓) ศึกษาและพัฒนาขยายทางรถไฟสายแอร์พอร์ตเรลลิงค์ ต่อจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไปยังชลบุรีและพัทยา

๓.๕ นโยบายพลังงาน

๓.๕.๓ กำกับราคาพลังงานให้มีราคาเหมาะสม เป็นธรรมและมุ่งสู่การสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง โดยปรับบทบาทกองทุนน้ำมันให้เป็นกองทุนสำหรับรักษาเสถียรภาพราคา ส่วนการชดเชยราคานั้นจะดำเนินการอุดหนุนเฉพาะกลุ่ม ส่งเสริมให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติมากขึ้นในภาคขนส่ง และส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอล์และไบโอดีเซลในภาคครัวเรือน

๓.๖ นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ

๓.๖.๒ ส่งเสริมการเข้าถึงการใช้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสาธารณะที่มีการใช้งานตามความเหมาะสมโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ผลักดันให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ใช้กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ จัดให้มีบริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตตามมาตรฐานการให้บริการในพื้นที่สาธารณะ สถานที่ราชการ และสถานศึกษาที่กำหนดโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย หรือกำหนดเป็นเงื่อนไขให้ผู้ประกอบการจัดให้บริการโทรคมนาคมอย่างทั่วถึง

4) นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต

แบ่งเป็นหลายข้อย่อยเช่นกัน

๔.๑ นโยบายการศึกษา

๔.๑.๒ สร้างโอกาสทางการศึกษา กระจายโอกาสทางการศึกษาในสังคมไทย โดยคำนึงถึงการสร้างความเสมอภาคและความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นแก่ประชากรทุกกลุ่ม ซึ่งรวมถึงผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ ผู้บกพร่องทางกายและการเรียนรู้ รวมทั้ง ชนกลุ่มน้อย โดยส่งเสริมการให้ความรู้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาถึงแรกเกิดให้ได้รับการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพทั้งแม่และเด็ก สนับสนุนการจัดการศึกษาตามวัยและพัฒนาการอย่างมีคุณภาพตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยจัดให้มีการเทียบโอนวุฒิการศึกษาสำหรับกลุ่มที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง เช่น กลุ่มแม่บ้าน จัดให้มีระบบสะสมผลการศึกษาและการเทียบโอนเพื่อขยายโอกาสให้กว้างขวางและลดปัญหาคนออกจากระบบการศึกษา

๔.๒ นโยบายแรงงาน

เตรียมการรองรับการเปิดการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีภายใต้ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยเน้นระบบบริหารจัดการเพื่อจัดระเบียบแรงงานข้ามชาติ จัดระบบอำนวยความสะดวก และมาตรการการกำกับดูแล ติดตามการเข้าออกของแรงงานทุกประเภทเพื่อดึงดูดแรงงานที่มีฝีมือเข้าประเทศควบคู่กับการป้องกันผลกระทบจากการเข้าประเทศของแรงงานไร้ฝีมือ

๔.๓ นโยบายสุขภาพ

ขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเป็นเลิศในผลิตภัณฑ์และการบริการด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาลในภูมิภาคเอเชีย โดยประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการสร้างความก้าวหน้าในทางวิชาการ และไม่ก่อให้เกิดผลกระทบกับบริการสุขภาพโดยรวมของคนไทย สนับสนุนเอกชนให้จัดบริการศูนย์พักฟื้นผู้ป่วยที่มีมาตรฐาน รวมทั้งแก้ไขปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีการใช้บุคลากรทางการแพทย์ร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนให้เอื้ออำนวยต่อการดำเนินงาน

5) นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

สร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในการใช้ประโยชน์ที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ โดยการปฏิรูปการจัดการที่ดินโดยให้มีการกระจายสิทธิที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืนโดยใช้มาตรการทางภาษีและจัดตั้งธนาคารที่ดินให้แก่คนจนและเกษตรกรรายย่อย พิจารณาให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ที่ดินทิ้งร้างทางราชการ ปกป้องที่สาธารณประโยชน์ ที่ดินทุ่งเลี้ยงสัตว์ ห้ามการปิดกั้นชายหาดสาธารณะ ผลักดันกฎหมายในการรับรองสิทธิของชุมชนในการจัดการทรัพยากร ที่ดิน น้ำ ป่าไม้ และทะเล ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แก้ไขปัญหาการดำเนินคดีโลกร้อนกับคนจน

 สร้างภูมิคุ้มกันและเตรียมความพร้อมในการรองรับและปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและพิบัติภัยธรรมชาติ โดยการพัฒนาองค์ความรู้และระบบฐานข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพิ่มขีดความสามารถในการพยากรณ์และคาดการณ์ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยธรรมชาติในระดับประเทศและระดับพื้นที่ จัดทำยุทธศาสตร์รองรับพิบัติภัยระยะยาว ส่งเสริมและเร่งรัดการเตือนภัย และการเตรียมความพร้อมในการรับมือความแปรปรวนในปัจจุบัน เพื่อให้เป็นฐานกับการรับมือความเปลี่ยนแปลงในระยะยาว ป้องกันภัยพิบัติโดยเฉพาะน้ำท่วม สึนามิ แผ่นดินไหว และดินถล่ม สร้างกลไกส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูลระดับชุมชน ท้องถิ่น เพิ่มขีดความสามารถในระดับชุมชนให้เข้มแข็งพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติต่าง ๆ ดำเนินการศึกษาอย่างรอบคอบในเรื่องของความจำเป็นของโครงการพัฒนาเขื่อนและเกาะเพื่อป้องกันกรุงเทพฯ และภาคกลางให้ปลอดภัยจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล และจากการละลายของน้ำแข็งขั้วโลกตามสภาวะโลกร้อนที่กำลังเกิดขึ้น

6) นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัย และนวัตกรรม

นโยบายด้านวิทยาศาสตร์และการวิจัยเป็นสิ่งที่พูดกันมานานแล้วอีกเช่นกัน แต่ประเทศไทยยังประสบปัญหาในการพัฒนาเทคโนโลยีไม่เปลี่ยนแปลง

ส่งเสริมการใช้ข้อมูลเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การวางแผนการผลิตด้านการเกษตร การป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ ยกระดับคุณภาพชีวิต และเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

7) นโยบายการต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

นโยบายเรื่องต่างประเทศเป็นสิ่งที่น่าจับตามอง เพราะปัจจัยทั้งจากความสัมพันธ์กับกัมพูชา และเส้นตายการรวมประชาคมอาเซียน 2015 ที่ใกล้เข้ามาเรื่อยๆ

๗.๑ เร่งส่งเสริมและพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน โดยส่งเสริมความร่วมมือทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาชน และสื่อมวลชน เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดีและความใกล้ชิดระหว่างกัน อันจะนำไปสู่การขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การส่งเสริมการท่องเที่ยว การขยายการคมนาคมขนส่ง และความร่วมมือด้านอื่น ๆ ภายใต้กรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคเพื่อส่งเสริมความเป็นเพื่อนบ้านที่ดีต่อกัน

๗.๒ สร้างความสามัคคีและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศอาเซียน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการจัดตั้งประชาคมอาเซียนและส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศอื่น ๆ ในเอเชียภายใต้กรอบความร่วมมือด้านต่าง ๆ และเตรียมความพร้อมของทุกภาคส่วนในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และความมั่นคง

8) นโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

นโยบายข้อสุดท้ายพูดถึงการขับเคลื่อนนโยบายทั้งหมดที่ว่ามา ผ่านการบริหารราชการแผ่นดินด้วยกลไกลภาครัฐต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยราชการ หรือองค์กรอื่นๆ อย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใส

๘.๑ ประสิทธิภาพการบริหารราชการแผ่นดิน

 สนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีระบบที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และสามารถให้บริการสาธารณะตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ตามความคาดหวัง รวมทั้งส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลาย ๆ แห่งร่วมกันจัดบริการสาธารณะบางอย่าง ซึ่งโดยสภาพหรือเพื่อประสิทธิภาพ ควรที่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นต้องร่วมกันทำ โดยคำนึงถึงความจำเป็นและความเหมาะสมตามศักยภาพของท้องถิ่น ให้มีการเชื่อมโยงและบูรณาการภารกิจกับแผนชุมชนและแผนระดับต่าง ๆ ในพื้นที่ เพื่อเป็นฐานสำคัญในการส่งเสริมและพัฒนาประชาธิปไตยในท้องถิ่นให้เข้มแข็ง ปรับปรุงการจัดระบบความสัมพันธ์ของราชการบริหารส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่นให้มีความเหมาะสม ตลอดจนเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการงบประมาณและบุคลากรของท้องถิ่น ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายได้ที่เหมาะสม และมีระบบบริหารงานบุคคลที่มีประสิทธิภาพพร้อมรองรับภารกิจและให้บริการที่ดีแก่ประชาชน ตลอดจนเสนอกฎหมายเกี่ยวกับการสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามที่บัญญัติเป็นหลักการไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวด ๑๔ การปกครองส่วนท้องถิ่น

๘.๒ กฎหมายและการยุติธรรม

 ปฏิรูประบบกฎหมายและพัฒนากระบวนการยุติธรรมทั้งระบบให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงและสอดคล้องกับหลักนิติธรรม เร่งรัดจัดตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมที่ดำเนินการโดยอิสระตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ รวมถึงสนับสนุนคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายและองค์กรเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมให้สามารถดำเนินการตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญได้อย่างเป็นรูปธรรม



นโยบายเศรษฐกิจ ของคณะรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

นโยบายเศรษฐกิจมหภาค

1.ดำเนิน การให้มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ และให้เศรษฐกิจสามารถเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม และก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มีการจ้างงานเต็มที่ ระดับราคามีเสถียรภาพ ระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ

2.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

3.พัฒนา ระบบสถาบันการเงินในประเทศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหญ่และผู้ด้อยโอกาส สามารถให้บริการที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมการเงินและความ ต้องการที่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคมด้วยค่าบริการที่ต่ำและการ บริการที่มีประสิทธิภาพ

4.ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างฐานรายได้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ทั้งจากภาษีและที่มิใช่ภาษี

5.ส่ง เสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงองค์ประกอบและโครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ

6.ปรับปรุง โครงสร้างของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน

7.บริหารสินทรัพย์ ของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพิจารณาการจัดตั้งกองทุนที่สามารถใช้ในการบริหารสินทรัพย์ของชาติให้ เป็นประโยชน์ เช่น กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองแห่งชาติ และกองทุนความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

นโยบายสร้างรายได้

1.ส่ง เสริมการท่องเที่ยวจากทั้งภายนอกและภายในประเทศ จัดให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว ให้มีรายได้จากนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวในเวลา 5 ปี

2.ขยาย บทบาทให้ธุรกิจการเกษตรและอาหารซึ่งเป็นแหล่งรายได้และการจ้างงานในประเทศมา เป็นเวลานานให้ก้าวข้ามไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหารคุณภาพ สูง เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่มีฐานะและรสนิยมเฉพาะตัว การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและอาหาร จะทำให้เป้าหมายการเป็นครัวที่มีคุณภาพของโลกสัมฤทธิผลรวดเร็วยิ่งขึ้น

3.ส่ง เสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมพลังงานปิโตรเลียมและพลังงานทดแทนสามารถสร้าง รายได้จากความต้องการภายในประเทศ รวมทั้งสร้างการจ้างงานให้แก่ประเทศโดยถือเป็นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ใหม่

4.ยก ระดับความสามารถในการแข่งขันและขยายช่องทางการตลาดของธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจบริการในประเทศ และธุรกิจวิสาหกิจชุมชนให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการผลิตสินค้าและ บริการที่มีคุณค่าและคุณภาพสูง

5.ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขยายการ ลงทุนไปประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีความพร้อมทางด้านแรงงานและวัตถุดิบเพื่อสร้าง ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศและภูมิภาค

6.ดึงดูดการลงทุน เข้าสู่ประเทศในสาขาที่เป็นการผลิตสินค้าและบริการที่มีพื้นฐานทางเทคโนโลยี มีมูลค่าสูง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการลงทุนในการสร้างเมืองใหม่ในพื้นที่ที่เหมาะสม และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ

7.เสริมสร้างกระบวนการสร้างอาชีพ สร้างงานที่มีคุณภาพและมีรายได้สูงให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง

8.ส่งเสริมการขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุน และการเงิน ภายใต้ประโยชน์ร่วมกันของกรอบความร่วมมือและข้อตกลงทางการค้า

นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

ภาคเกษตร

1.ส่ง เสริมสนับสนุนให้สภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นกลไกของเกษตรกรในการสื่อสารกับ รัฐบาลและร่วมกันพัฒนาเกษตรกรด้วยตนเองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

2.เพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิตพืช โดยการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช ใช้ปุ๋ยตามคุณสมบัติของดินแต่ละชนิด เพื่อลดต้นทุนการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิต

3.เพิ่มศักยภาพกระบวนการ ผลิตด้านปศุสัตว์ให้ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศและการส่งออก

4.พัฒนาการประมง ทั้งในการเพาะเลี้ยงและในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการฟื้นฟูทรัพยากรประมงและจัดระเบียบการทำประมงให้สมดุลกับศักยภาพการ ผลิตตามธรรมชาติ ขยายพื้นที่อนุรักษ์เพื่อการประมงทะเลพื้นบ้าน ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แสวงหาลู่ทางการทำประมงในน่านน้ำต่างประเทศที่ไม่ขัดต่อระเบียบขององค์การ ระหว่างประเทศและประเทศที่นำเข้า

5.เสริมสร้างฐานรากของครัวเรือน เกษตรกรให้เข้มแข็งโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก ลดต้นทุนการผลิต พัฒนาระบบการผลิตที่เป็นขั้นตอน

6.จัดทำระบบทะเบียนครัวเรือน เกษตรกรที่มีข้อมูลการเกษตรของครัวเรือนครบถ้วน สามารถเชื่อมโยงกับบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกรและมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่ เสมอ

7.เร่งรัดพัฒนาธุรกิจการเกษตร โดยการพัฒนาสถาบันเกษตรกรในด้านธุรกิจ สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่จากโครงการกองทุนตั้งตัวได้

8.พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรมูลค่าเพิ่มเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก

9.ส่ง เสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ ดำเนินการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม สร้างความเข้มแข็งภาคเกษตรและสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อเผชิญกับวิกฤต อาหารโลก

ภาคอุตสาหกรรม

1.ยกระดับความสามารถในการ แข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในประเทศด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนของผู้ประกอบการ และยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ตลอดจนส่งเสริมให้มีการสร้างตราสินค้าไทย

2.ยกระดับภาคอุตสาหกรรม เข้าสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ใช้ปัญญา ใช้เทคโนโลยี และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทดแทนอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลัก

3.พัฒนา และส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปบนฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าและยกระดับสินค้าให้มีคุณภาพ มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล และมีโอกาสในการขยายตลาด

4.สร้างความเข้มแข็งให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยสนับสนุนช่องทางการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อผ่านสถาบันการเงินต่างๆ

5.กำหนดมาตรฐานและคุณภาพขั้นพื้นฐานของสินค้าอุตสาหกรรมเมื่อมีการเปิดเสรีการค้ามากขึ้น เพื่อป้องกันสินค้านำเข้าที่ไม่ได้คุณภาพ

6.พัฒนา พื้นที่อุตสาหกรรมแห่งใหม่ รวมทั้งการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจระหว่างฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทยสำหรับ รองรับอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อมลพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน

7.เร่งพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และอยู่ร่วมกับชุมชนได้

8.ส่ง เสริมและจัดให้มีมาตรการทางภาษีและมาตรการอื่นที่เกี่ยวข้องในการพัฒนา อุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน และการใช้พลังงานจากภาคเกษตร

9.สนับสนุนให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกสาขาการผลิตเข้าประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม

10.เร่งรัด สำรวจและแสวงหาแหล่งแร่สำคัญ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และพัฒนาอุตสาหกรรมต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มโดยให้ความสำคัญกับการกำกับ ดูแลผลกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชน

การตลาด การค้า และการลงทุน

1.ส่ง เสริมนโยบายการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม เพื่อป้องกันการผูกขาดตัดตอน ส่งเสริมและพัฒนาบทบาทขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคทั้ง ภาครัฐและเอกชน แก้ไขปรับปรุงกฎหมาย มาตรการต่างๆ เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้บริโภค

2.สร้างความเชื่อมั่นให้นัก ลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยปรับปรุงพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบที่ส่งเสริมการค้าการลงทุนที่ครอบคลุม การลงทุนด้านเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ และปรับปรุงมาตรการบริหารการนำเข้าเพื่อป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม

3.สนับสนุน การลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ ส่งเสริมและสนับสนุนการเปิดร้านอาหารไทยของคนไทยตามนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก และนโยบายไทยเป็นครัวอาหารโลก

4.ปรับปรุงมาตรการการส่งเสริมการ ลงทุนให้ครอบคลุมการให้สิทธิประโยชน์แก่ธุรกิจในภาคเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การกีฬา และบริการ

5.ส่งเสริมการขยายตลาดเชิงรุก เพื่อรักษาตลาดเดิมและสร้างตลาดใหม่ เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกไปตลาดหลัก โดยส่งเสริมการส่งออกสินค้าและบริการในตลาดใหม่ ได้แก่ จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันออก

6.พัฒนาสินค้าและบริการที่สร้างโอกาสใหม่ในการหารายได้ การผลิตสินค้าและบริการอันเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในตลาดโลก

7.ขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุน และการตลาดภายใต้กรอบความร่วมมือและข้อตกลงการค้าเสรีในระบบพหุภาคีและทวิภาคี

8.เร่งรัด จัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษบริเวณพื้นที่ที่มีศักยภาพ โดยให้ความสำคัญต่อจังหวัดชายแดน เพื่อส่งเสริมการค้า การตลาด การลงทุน การจ้างงาน และการใช้วัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้าน

นโยบายทางการเงิน  นางสาวยิ่งลักษณ์  ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี)

นโยบายของรัฐบาลชุดนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีจุดมุ่งหมาย 3 ประการ ประกอบด้วย 1.นำประเทศไทยไปสู่โครงสร้างเศรษฐกิจที่สมดุล มีความเข้มแข็งของเศรษฐกิจภายในประเทศมากขึ้น 2.นำประเทศไทยสู่สังคมที่มีความปรองดองสมานฉันท์ และ 3.นำประเทศไทยไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 อย่างสมบูรณ์ โดยกำหนดนโยบายเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก และระยะการบริหารราชการ 4 ปี
1.นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก คือ
1) สร้างความปรองดองสมานฉันท์ เยียวยาและฟื้นฟูทุกฝ่าย เช่น ประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐ และผู้ประกอบการภาคเอกชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุรุนแรงตั้งแต่ช่วงปลายการใช้รัฐธรรมนูญ 2540 สนับสนุนให้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ดำเนินการอย่างเป็นอิสระ
 2) กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็น “วาระแห่งชาติ”
 3) ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐอย่างจริงจัง
 4) ส่งเสริมการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการและเร่งรัดขยายเขตพื้นที่ชลประทาน
 5) เร่งนำสันติสุขและความปลอดภัยกลับมาสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยน้อมนำกระแสพระราชดำรัส “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เป็นหลักปฏิบัติ
 6) เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ
7) แก้ไขความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง โดยชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงชั่วคราวเพื่อให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงทันที ปรับโครงสร้างราคาพลังงาน จัดให้มีบัตรเครดิตพลังงานสำหรับผู้ประกอบอาชีพรถรับจ้างขนส่งผู้โดยสารสาธารณะ ดูแลราคาสินค้าและการมีรายได้ ป้องกันและแก้ไขการผูกขาดทั้งทางตรงและทางอ้อม
8) ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อย และผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า 500,000 บาท อย่างน้อย 3 ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน 500,000 บาท ทำให้แรงงานมีรายได้เป็นวันละไม่น้อยกว่า 300 บาท ผู้จบปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า 15,000 บาท จ่ายเบี้ยสูงอายุแบบขั้นบันได อายุ 60-69 ปี 600 บาท, อายุ 70-79 ปี 700 บาท, อายุ 80-89 ปี 800 บาท และอายุ 90 ปีขึ้นไป ได้รับ 1,000 บาท ลดภาษีบ้านหลังแรกและรถยนต์คันแรก
9) ลดภาษีเงินได้นิติบุคคล เหลือร้อยละ 23 ในปี 2555 และเหลือร้อยละ 20 ในปี 2556
10) ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยเพิ่มเงินทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอีกแห่งละ 1 ล้านบาท จัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี วงเงินเฉลี่ยจังหวัดละ 100 ล้านบาท จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้วงเงิน 1,000 ล้านบาท ต่อสถาบันอุดมศึกษาที่ร่วมโครงการ จัดสรรงบประมาณเข้ากองทุนเอสเอ็มแอล 300,000 400,000 และ 500,000 บาทตามขนาดหมู่บ้าน
11) ยกระดับราคาสินค้าเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน เริ่มจากการรับจำนำข้าวเปลือกเจ้าและข้าวเปลือกหอมมะลิ เกวียนละ 15,000 บาท และ 20,000 บาท จัดทำทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรและการออกบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกร
 12) เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศ โดยประกาศให้ปี 2554-2555 เป็นปี “มหัศจรรย์ไทยแลนด์” และประชาสัมพันธ์เชิญชวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าร่วมเฉลิมฉลองในพระราชพิธีมหามงคลที่จะมีขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2554-2555
13) สนับสนุนการพัฒนางานศิลปหัตถกรรมและผลิตภัณฑ์ชุมชน
14) พัฒนาระบบประกันสุขภาพ เพิ่มประสิทธิภาพระบบ 30 บาทรักษาทุกโรค ให้ทุกคนได้รับบริการอย่างมีคุณภาพ สะดวก รวดเร็วและเป็นธรรม
15) จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้แก่โรงเรียน เริ่มในโรงเรียนนำร่องแก่นักเรียน ป. 1 ปีการศึกษา 2555 และ
16) เร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วม โดยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ที่เป็นอิสระยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยให้ประธานเห็นชอบผ่านการออกเสียงประชามติ

 ส่วนนโยบายที่จะดำเนินการภายในช่วงระยะ 4 ปี จะดำเนินนโยบายหลักจากข้อ 2-8 ดังนี้
2.นโยบายความมั่นคงแห่งรัฐ ที่สำคัญคือ เทิดทูนและพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ ดำรงไว้ซึ่งพระบรมเดชานุภาพแห่งองค์พระมหากษัตริย์ น้อมนำพระราชดำริทั้งปวงไว้เหนือ  เกล้าเหนือกระหม่อม พร้อมทั้งอัญเชิญไปปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม
3.นโยบายเศรษฐกิจ กระจายรายได้ที่เป็นธรรม ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ มีนโยบายสร้างรายได้จากการส่งเสริมการท่องเที่ยว เพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวในเวลา 5 ปี ผลักดันไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหาร มีนโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ส่วนนโยบายโครงสร้างพื้นฐาน จะพัฒนาระบบขนส่ง ประปา ไฟฟ้าให้กระจายไปสู่ภูมิภาคอย่างทั่วถึง เพียงพอ ขยายการให้บริการน้ำสะอาดให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ พัฒนาระบบรถไฟทางคู่เชื่อมชานเมือง+หัวเมืองหลัก พัฒนารถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯเชียงใหม่ กรุงเทพฯ-นครราชสีมา กรุงเทพฯ-หัวหิน และเส้นทางเชื่อมต่อกับเพื่อนบ้าน ศึกษาและพัฒนาขยายทางรถไฟสายแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ต่อจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไปยังชลบุรีและพัฒนา เร่งรัดโครงสร้างรถไฟฟ้า 10 สายทางในกทม.และปริมณฑล ให้เริ่มก่อสร้างได้ครบใน 4 ปี ค่าบริการ 20 บาทตลอดสาย
4.นโยบายด้านสังคมและคุณภาพชีวิต กระจายโอกาสทางการศึกษาให้เข้าถึงทุกกลุ่ม จัดโครงการเงินกู้เพื่อการศึกษาที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคต ส่งเสริมให้แรงงานเข้าถึงข้อมูลข่าวสารตำแหน่งว่างงานโดยสะดวก เพิ่มประสิทธิภาพประกันสังคม พัฒนาคุณภาพชีวิตตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์ จนถึงวัยชรา และผู้พิการ สร้างหลักประกันความมั่นคงในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติและการละเมิดสิทธิมนุษยชนทุกรูปแบบ
 5.นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ ทรัพยากรทางทะเล สร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
6.นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม เร่งสร้างนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย และครูวิทยาศาสตร์ให้เพียงพอ ส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา ส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศมุสลิม และองค์กรอิสลามระหว่างประเทศ
 7.นโยบายการต่างประเทศ และเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เร่งส่งเสริมและพัฒนาความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน ส่งเสริมผลประโยชน์ของชาติในองค์กรระหว่างประเทศ
 8.นโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พัฒนาระบบราชการ สร้างเสริมมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม และธรรมา  ภิบาล รวมถึงปฏิรูประบบกฎหมายและพัฒนากระบวนการยุติธรรม ให้ทันสมัย สอดคล้องหลักการประชาธิปไตย เร่งรัดจัดตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติรรมที่ดำเนินการโดยอิสระ และปรับปรุงระบบการช่วยเหลือประชาชนให้เข้าถึงความเป็นธรรมโดยง่าย ส่งเสริมให้ประชาชนมีโอกาสได้รับรู้ข่าวสารจากทางราชการ สื่อสารมวลชนและสื่อสาธารณะ  

นโยบายเศรษฐกิจมหภาค

  1.ดำเนินการให้มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ และให้เศรษฐกิจสามารถเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ โดยด าเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม และก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มีการจ้างงานเต็มที่ ระดับราคามีเสถียรภาพ ระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ 

  2.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม 

  3.พัฒนาระบบสถาบันการเงินในประเทศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหญ่และผู้ด้อยโอกาส สามารถให้บริการที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมการเงินและความต้องการที่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคมด้วยค่าบริการที่ต่ำและการบริการที่มีประสิทธิภาพ

  4.ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างฐานรายได้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ทั้งจากภาษีและที่มิใช่ภาษี 

  5.ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงองค์ประกอบและโครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ 

  6.ปรับปรุงโครงสร้างของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน 

  7.บริหารสินทรัพย์ของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพิจารณาการจัดตั้งกองทุนที่สามารถใช้ในการบริหารสินทรัพย์ของชาติให้เป็นประโยชน์ เช่น กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองแห่งชาติ และกองทุนความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

นโยบายสร้างรายได้

  1.ส่งเสริมการท่องเที่ยวจากทั้งภายนอกและภายในประเทศ จัดให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว ให้มีรายได้จากนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวในเวลา 5 ปี

  2.ขยายบทบาทให้ธุรกิจการเกษตรและอาหารซึ่งเป็นแหล่งรายได้และการจ้างงานในประเทศมาเป็นเวลานานให้ก้าวข้ามไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหารคุณภาพสูง เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่มีฐานะและรสนิยมเฉพาะตัว การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและอาหาร จะทำให้เป้าหมายการเป็นครัวที่มีคุณภาพของโลกสัมฤทธิผลรวดเร็วยิ่งขึ้น

  3.ส่งเสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมพลังงานปิโตรเลียมและพลังงานทดแทนสามารถสร้างรายได้จากความต้องการภายในประเทศ รวมทั้งสร้างการจ้างงานให้แก่ประเทศโดยถือเป็นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ใหม่

  4.ยกระดับความสามารถในการแข่งขันและขยายช่องทางการตลาดของธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจบริการในประเทศ และธุรกิจวิสาหกิจชุมชนให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณค่าและคุณภาพสูง

  5.ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขยายการลงทุนไปประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีความพร้อมทางด้านแรงงานและวัตถุดิบเพื่อสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศและภูมิภาค

  6.ดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ประเทศในสาขาที่เป็นการผลิตสินค้าและบริการที่มีพื้นฐานทางเทคโนโลยีมีมูลค่าสูง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการลงทุนในการสร้างเมืองใหม่ในพื้นที่ที่เหมาะสมและโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ 

  7.เสริมสร้างกระบวนการสร้างอาชีพ สร้างงานที่มีคุณภาพและมีรายได้สูงให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง 

  8.ส่งเสริมการขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุน และการเงิน ภายใต้ประโยชน์ร่วมกันของกรอบความร่วมมือและข้อตกลงทางการค้า

นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

ภาคเกษตร

  1.ส่งเสริมสนับสนุนให้สภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นกลไกของเกษตรกรในการสื่อสารกับรัฐบาลและร่วมกันพัฒนาเกษตรกรด้วยตนเองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

  2.เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืช โดยการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ต้ านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช ใช้ ปุ๋ยตามคุณสมบัติของดินแต่ละชนิด เพื่อลดต้นทุนการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิต

  3.เพิ่มศักยภาพกระบวนการผลิตด้านปศุสัตว์ให้ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพียงพอกับความต้องการภายในประเทศและการส่งออก 

  4.พัฒนาการประมง ทั้งในการเพาะเลี้ยงและในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการฟื้นฟูทรัพยากรประมงและจัดระเบียบการท าประมงให้สมดุลกับศักยภาพการผลิตตามธรรมชาติ ขยายพื้นที่อนุรักษ์เพื่อการประมงทะเลพื้นบ้าน ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แสวงหาลู่ทางการทำประมงในน่านน้ำต่างประเทศที่ไม่ขัดต่อระเบียบขององค์การระหว่างประเทศและประเทศที่นำเข้า 

  5.เสริมสร้างฐานรากของครัวเรือนเกษตรกรให้เข้มแข็งโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกลดต้นทุนการผลิต พัฒนาระบบการผลิตที่เป็นขั้นตอน 

  6.จัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรที่มีข้อมูลการเกษตรของครัวเรือนครบถ้วน สามารถเชื่อมโยงกับบัตรเครดิตส าหรับเกษตรกรและมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ

  7.เร่งรัดพัฒนาธุรกิจการเกษตร โดยการพัฒนาสถาบันเกษตรกรในด้านธุรกิจ สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่จากโครงการกองทุนตั้งตัวได้

  8.พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรมูลค่าเพิ่มเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก

  9.ส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ ด าเนินการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมสร้างความเข้มแข็งภาคเกษตรและสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อเผชิญกับวิกฤตอาหารโลก 

ภาคอุตสาหกรรม

  1.ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในประเทศด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนของผู้ประกอบการ และยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ตลอดจนส่งเสริมให้มีการสร้างตราสินค้าไทย

  2.ยกระดับภาคอุตสาหกรรมเข้าสู่อุตสาหกรรมสร้ างสรรค์ ที่ใช้ ปัญญา ใช้เทคโนโลยี และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทดแทนอุตสาหกรรมที่ใช้ แรงงานเป็นหลัก

  3.พัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปบนฐานความรู้  ความคิดสร้างสรรค์  ภูมิปัญญาท้องถิ่น และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าและยกระดับสินค้าให้มีคุณภาพ มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล และมีโอกาสในการขยายตลาด 

  4.สร้างความเข้มแข็งให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยสนับสนุนช่องทางการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อผ่านสถาบันการเงินต่างๆ 

  5.กำหนดมาตรฐานและคุณภาพขั้นพื้นฐานของสินค้าอุตสาหกรรมเมื่อมีการเปิดเสรีการค้ามากขึ้น เพื่อป้องกันสินค้านำเข้าที่ไม่ได้ คุณภาพ

  6.พัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมแห่งใหม่ รวมทั้ งการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจระหว่างฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทยสำหรับรองรับอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อมลพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน

  7.เร่งพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และอยู่ร่วมกับชุมชนได้ 

  8.ส่งเสริมและจัดให้มีมาตรการทางภาษีและมาตรการอื่นที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน และการใช้พลังงานจากภาคเกษตร 

  9.สนับสนุนให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกสาขาการผลิตเข้าประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม

  10.เร่งรัดสำรวจและแสวงหาแหล่งแร่สำคัญ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และพัฒนาอุตสาหกรรมต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มโดยให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลผลกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชน

การตลาด การค้า และการลงทุน

  1.ส่งเสริมนโยบายการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม เพื่อป้องกันการผูกขาดตัดตอน ส่งเสริมและพัฒนาบทบาทขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคทั้งภาครัฐและเอกชน แก้ไขปรับปรุงกฎหมาย มาตรการต่างๆ เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้บริโภค 

  2.สร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยปรับปรุงพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบที่ส่งเสริมการค้าการลงทุนที่ครอบคลุมการลงทุนด้านเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ และปรับปรุงมาตรการบริหารการน าเข้ าเพื่อป้องกันการค้ าที่ไม่เป็นธรรม 

  3.สนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ ส่งเสริมและสนับสนุนการเปิดร้านอาหารไทยของคนไทยตามนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก และนโยบายไทยเป็นครัวอาหารโลก

  4.ปรับปรุงมาตรการการส่งเสริมการลงทุนให้ครอบคลุมการให้สิทธิประโยชน์แก่ธุรกิจในภาคเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การกีฬา และบริการ 

  5.ส่งเสริมการขยายตลาดเชิงรุกเพื่อรักษาตลาดเดิมและสร้างตลาดใหม่ เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกไปตลาดหลัก โดยส่งเสริมการส่งออกสินค้าและบริการในตลาดใหม่ ได้แก่ จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันออก

  6.พัฒนาสินค้าและบริการที่สร้างโอกาสใหม่ในการหารายได้ การผลิตสินค้าและบริการอันเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในตลาดโลก 

  7.ขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุน และการตลาดภายใต้กรอบความร่วมมือและข้อตกลงการค้าเสรีในระบบพหุภาคีและทวิภาคี 

  8.เร่งรัดจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษบริเวณพื้นที่ที่มีศักยภาพ โดยให้ความส าคัญต่อจังหวัดชายแดน เพื่อส่งเสริมการค้า การตลาด การลงทุน การจ้างงาน และการใช้วัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้าน

คณะรัฐมนตรีพิจารณาเป้าหมายของนโยบายการเงินประจำปี 2556 แล้วมีมติอนุมัติเป้าหมายของนโยบายการเงินประจำปี 2556 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ  ทั้งนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (กค.) รายงานว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและคณะคณะกรรมการนโยบายการเงินได้เห็นชอบร่วมกันในการเสนอเป้าหมายของนโยบายการเงินประจำปี 2556 ต่อคณะรัฐมนตรี โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

1. กำหนดเป้าหมายของนโยบายการเงินประจำปี 2556 ไว้ที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยรายไตรมาสระหว่างร้อยละ 0.5 — 3.0 ต่อปี เช่นเดียวกับเป้าหมายของนโยบายการเงินประจำปี 2555 ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2555

2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายการเงินได้ลงนามในข้อตกลงร่วมกันในการกำหนดเป้าหมายของนโยบายการเงินประจำปี 2556 โดยข้อตกลงดังกล่าวมีสาระสำคัญ ดังนี้

2.1 เป้าหมายของนโยบายการเงิน ประจำปี 25556

อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยรายไตรมาสระหว่างร้อยละ 0.5 — 3.0 ต่อปี

2.2 การติดตามความเคลื่อนไหวของเป้าหมายของนโยบายการเงิน

เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายของนโยบายการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ กค. และธนาคารแห่งประเทศไทยจะจัดให้มีการหารือร่วมกันเป็นประจำทุกไตรมาส และเมื่อมีเหตุจำเป็นอันใดตามที่ทั้งสองหน่วยงานจะเห็นสมควร

2.3 การเคลื่อนไหวของอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานออกนอกเป้าหมาย

กรณีอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเคลื่อนไหวออกนอกช่วงเป้าหมายตามที่ตกลงร่วมกันไว้ ให้คณะกรรมการนโยบายการเงินชี้แจงสาเหตุ แนวทางแก้ไขและระยะเวลาที่คาดว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะกลับเข้าสู่ช่วงที่กำหนดไว้โดยเร็ว รวมทั้งให้รายงานความคืบหน้าของการแก้ไขปัญหาเป็นระยะตามสมควร

2.4 การแก้ไขเป้าหมายของนโยบายการเงิน

ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรหรือจำเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและคณะกรรมการนโยบายการเงินอาจตกลงร่วมกันเพื่อแก้ไขเป้าหมายของนโยบายการเงินได้ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา


สรุป  นโยบายของคณะรัฐมนตรีของ  น.ส.  ยิ่งลักษณ์  ชินวัตร

เปิดงบ 3 แสนล้าน 20นโยบายเร่งด่วนสำหรับงบ ประมาณรายจ่ายประจำปี 2555 ตามนโยบายรัฐบาลวงเงิน 3 แสนล้านบาท ที่กระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณร่วมกันประเมินเบื้องต้น ส่วนใหญ่จะเป็นงบประมาณที่จะนำไปใช้ในนโยบายเร่งด่วนที่รัฐบาลจะดำเนินการ ภายใน 1 ปีประกอบด้วย
1.นโยบายแก้ไขปัญหาพักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกร รายย่อยและผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า 500,000 บาท เป็นระยะเวลา 3 ปี ด้วยการพักชำระหนี้ลูกหนี้ในสถาบันการเงินของรัฐที่มีปัญหาการชำระหนี้และ อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้ มูลหนี้รวมประมาณ 7.8 หมื่นล้านบาท โดยกระทรวงการคลังจะตั้งงบประมาณเพื่อชดเชยดอกเบี้ยให้กับสถาบันการเงินแทน ลูกหนี้ประมาณ 6,000 ล้านบาท


2.การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท คาดว่าจะใช้งบประมาณสำหรับฝึกอบรมเพื่อพัฒนาฝีมือแรงงานจำนวน 1,600 ล้านบาท

3. เงินเดือนผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี 15,000 บาท คาดว่าจะใช้งบประมาณ 18,000 ล้านบาท

4.การปรับเพิ่มเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุ โดยผู้ที่มีอายุ 60-69 ปี ได้รับ 600 บาท อายุ 70-79 ปี ได้รับ 700 บาท อายุ 80-89 ปี ได้รับ 800 บาท และอายุ 90 ปีขึ้นไป จะได้รับ 1,000 บาทคาดว่าจะใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 1.4 หมื่นล้านบาท จึงคาดว่าจะต้องตั้งงบประมาณสำหรับนโยบายนี้ประมาณ 5.8 หมื่นล้านบาท เพราะตามนโยบายเดิมรัฐบาลจะจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุให้แก่คนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปในอัตรา 500 บาทเท่ากันทุกคน ซึ่งใช้งบประมาณปีละ 4.7 หมื่นล้านบาท

กู้ 7.7 หมื่นล้านให้กองทุนหมู่บ้าน
5.โครงการ เพิ่มเงินทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอีกแห่งละ 1 ล้านบาท โครงการนี้รัฐบาลจะกู้เงินจากสถาบันการเงินของรัฐจำนวน 77,000 ล้านบาท ไปจัดสรรให้แก่หมู่บ้านทั่วประเทศ จากนั้นก็ทยอยตั้งงบชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่สถาบันการเงินของรัฐให้ ครบภายใน 5 ปี โดยคาดว่าในปีงบประมาณ 2555 จะต้องตั้งงบเพื่อชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยประมาณ 1 หมื่นล้านบาท


6.การจัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี วงเงินเฉลี่ยจังหวัดละ 100 ล้านบาท ซึ่งในปีแรกคาดว่าจะตั้งงบประมาณให้แก่จังหวัดนำร่อง 2,000 ล้านบาท

7.โครงการกองทุนตั้งตัวได้ 1,000 ล้านบาทต่อสถาบันอุดมศึกษาเพื่อสร้างผู้ประกอบการรายย่อย คาดว่าจะต้องตั้งงบประมาณในปี 2555 สำหรับมหาวิทยาลัยจำนวน 1,800 ล้านบาท

8.โครงการกองทุนพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML)ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่จะจัดสรรงบประมาณให้หมู่บ้านขนาดเล็กจำนวน 300,000 บาท หมู่บ้านขนาดกลาง 400,000 บาท และหมู่บ้านขนาดใหญ่ 500,000 บาท คาดว่าจะใช้งบประมาณทั้งสิ้น 21,000 ล้านบาท

9.โครงการรับจำนำข้าวเปลือกเจ้าความชื้นไม่เกินร้อยละ 15% ตันละ 15,000 บาทและข้าวเปลือกหอมมะลิ ที่ราคา 20,000 บาท โครงการนี้รัฐบาลจะกู้เงินจากสถาบันการเงินของรัฐมาให้โรงสีใช้ในการรับจำนำ และจะตั้งงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายดำเนินงานและชำระดอกเบี้ยเงินกู้ ประมาณ 13,000 ล้านบาท

30 บาทรักษาทุกโรคใช้มากสุด 1.15 แสนล้าน
10.โครงการ สนับสนุนการพัฒนางานศิลปหัตถกรรมและผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการสร้างเอกลักษณ์ และการผลิตสินค้าในท้องถิ่น และโครงการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ คาดว่าจะต้องตั้งงบประมาณจำนวน 1,900 ล้านบาท

11.โครงการพัฒนาระบบประกันสุขภาพ 30 บาทรักษาทุกโรค คาดว่าจะใช้งบประมาณ 115,000 ล้านบาท

12.การจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แทบเล็ตให้แก่นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในปีการศึกษา 2555 คาดว่าจะใช้งบประมาณ 4,000 ล้านบาท

13.โครงการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ คาดว่าจะใช้งบประมาณในปี 2555 จำนวน 1.9 หมื่นล้านบาท

14.โครงการบัตรเครดิตเกษตรกรคาดว่าจะต้องตั้งงบประมาณสำหรับค่าบริหารจัดการและค่าดอกเบี้ยแทนเกษตรกรจำนวน 2,100 ล้านบาท

15.การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 1.7 หมื่นล้านบาท
สร้างความปรองดอง 100 ล้าน

16.การสร้างความปรองดองสมานฉันท์และฟื้นฟูประชาธิปไตย จำนวน 100 ล้านบาท

17.การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติด 7,300 ล้านบาท

18.การป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ จำนวน 100 ล้านบาท

19.การฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาชาติ จำนวน 300 ล้านบาท

20.การเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว ประกาศให้ปี 2552-2555 เป็นปี “มหัศจรรย์ไทยแลนด์” (“Miracle Thailand” Year) จำนวน 1,300 ล้านบาท

นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แถลงถึงแผนงาน ธปท.เกี่ยวกับนโยบายการเงินในปี 2555 เพื่อเดินหน้าสร้างเสถียรภาพเศรษฐกิจ รองรับความผันผวนของเศรษฐกิจโลก

นโยบายการเงินในปี 2555 ธปท.จะเน้นการดูแลรักษาเสถียรภาพทางด้านเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับวัฏจักรโลก จากปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกเป็นประเด็นที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะอาจจะกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ขณะเดียวกันที่แรงกดดันต่อเงินเฟ้อที่จะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทยน้อยลงเมื่อเทียบกับปี 2554 ดังนั้นแนวนโยบายการเงินของ ธปท.ก็จะเน้นทำให้ธุรกิจไทยเติบโตและรับมือความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้

"เมื่อมองไปข้างหน้าหนทางสู่อนาคตไม่ได้เป็นถนนที่ราบเรียบ ระหว่างทางยังเต็มไปด้วยสิ่งกีดขวาง ทั้งสิ่งกีดขวางเดิมๆ ที่ไม่เคยออกพ้นจากเส้นทาง และสิ่งกีดขวางใหม่ๆ ที่เติมเข้ามาเพิ่มอุปสรรคให้กับเศรษฐกิจไทยมากขึ้น"

สำหรับการดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน จะบริหารอัตราแลกเปลี่ยน โดยยึดหลักการให้ค่าเงินปรับเปลี่ยนได้ตามปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจเพราะการดำเนินนโยบายของ ธปท.เองก็มีข้อจำกัด ซึ่งทุกครั้งที่แทรกแซงจะเกิดผลข้างเคียงตามมา ขณะนี้แนวโน้มชัดเจนว่าเศรษฐกิจประเทศในเอเชียจะขยายตัวมากกว่าเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาและยุโรป หากอุตสาหกรรมไทยต้องเติบโตได้อย่างเข้มแข็ง จะอาศัยเพียงค่าเงินบาทอ่อนอย่างเดียวไม่ได้ ต้องปรับปรุงประสิทธิภาพและความสามารถในการแข่งขันด้วย

"หากเป็นไปได้เราจะลดการแทรกแซง จะเข้าไปดูแลค่าเงินเท่าที่จำเป็นเพราะหากไม่ดูแลเลยก็จะเกิดผลข้างเคียงมากกว่า เพราะความสามารถด้านการแข่งขันส่งออกไทยลดลง แต่ก็อยากเห็นธุรกิจพัฒนาในระยะยาวมากกว่าว่าอุตสาหกรรมส่งออกของไทยจะเข้มแข็งไม่ได้หากยังอาศัยการอ่อนค่าของเงินบาทเทียบดอลลาร์สหรัฐต่อไป ดังนั้นต้องปรับเปลี่ยนและพัฒนาประสิทธิภาพเพื่อการแข่งขัน เพราะการขายของถูกไม่ได้ทำให้ธุรกิจปรับตัวได้ กลับกันเป็นผลเสียต่อประเทศมากกว่า ขณะนี้ลาว พม่า เวียดนามได้เข้ามาแข่งขันในตลาดเดียวกับไทย ดังนั้น ธปท.จะทำให้บาทอ่อนตลอดชีวิตคงไม่ได้"

แนวนโยบายที่ตั้งใจจะดำเนินการในปีนี้จะเป็นการสานต่อปณิธานจุดยืนของ ธปท.ที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตลอด 70 ปีที่ผ่านมาที่หวังจะเห็นเศรษฐกิจไทยเข้มแข็ง และประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืน แม้ขณะนี้ดูเหมือนปัญหาต่างๆ จะประดังเข้าใกล้ตัวมากขึ้น แต่ความท้าทายโดยรวมยังคงไม่เปลี่ยนแปลง สิ่งที่ควรจะเปลี่ยนแปลง คือ จะนิ่งอยู่เฉยไม่ได้ เพราะการนิ่งอยู่เฉยท่ามกลางกระแสการแข่งขันอาจทำให้เราตกขบวนรถไฟได้

ดังนั้นทุกภาคส่วนควรเร่งปรับตัวมุ่งไปข้างหน้าแสวงหาการพัฒนา และเตรียมรองรับกับความผันผวนที่จะเข้ามาปะทะในอนาคต ธปท.เองก็ไม่ได้นิ่งนอนใจแต่มีการปรับกลยุทธ์ให้เหมาะกับสถานการณ์ และพร้อมยื่นมือประสานทำงานร่วมกับทุกฝ่ายเพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตตามศักยภาพอย่างต่อเนื่อง

ขณะเดียวกัน ธปท.เตรียมผลักดัน "แผนแม่บทการเปิดเสรีเงินทุนเคลื่อนย้ายและเงินตราต่างประเทศ" เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับคนไทยในการลงทุนในต่างประเทศเรื่องต้นทุนที่ถูกลง และเสริมความยืดหยุ่นให้กับระบบเศรษฐกิจด้วยการพัฒนาตลาดการเงิน เช่น การขยายประเภทนักลงทุนและวงเงินลงทุน การลดขั้นตอนและกฎระเบียบ ตลอดจนการบริหารความเสี่ยงที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น

"ธปท.ได้เตรียมกลไก หรือ Valve เพื่อรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งระดับความเข้มงวดจะแตกต่างกันตามสถานการณ์ ทั้งนี้ กระบวนการจัดทำแผนแม่บทการเปิดเสรีเงินทุนเคลื่อนย้ายฯ อยู่ระหว่างการจัดทำประชาพิจารณ์ (Public hearing) เพื่อรับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง"


นโยบายเศรษฐกิจรัฐบาลนายกยิ่งลักษณ์

นโยบายเศรษฐกิจมหภาค

1.ดำเนิน การให้มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ และให้เศรษฐกิจสามารถเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม และก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มีการจ้างงานเต็มที่ ระดับราคามีเสถียรภาพ ระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ

2.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

3.พัฒนา ระบบสถาบันการเงินในประเทศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหญ่และผู้ด้อยโอกาส สามารถให้บริการที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมการเงินและความ ต้องการที่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคมด้วยค่าบริการที่ต่ำและการ บริการที่มีประสิทธิภาพ

4.ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างฐานรายได้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ทั้งจากภาษีและที่มิใช่ภาษี

5.ส่ง เสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงองค์ประกอบและโครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ

6.ปรับปรุง โครงสร้างของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน

7.บริหารสินทรัพย์ ของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพิจารณาการจัดตั้งกองทุนที่สามารถใช้ในการบริหารสินทรัพย์ของชาติให้ เป็นประโยชน์ เช่น กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองแห่งชาติ และกองทุนความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

นโยบายสร้างรายได้

1.ส่ง เสริมการท่องเที่ยวจากทั้งภายนอกและภายในประเทศ จัดให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว ให้มีรายได้จากนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น

 2 เท่าตัวในเวลา 5 ปี2.ขยาย บทบาทให้ธุรกิจการเกษตรและอาหารซึ่งเป็นแหล่งรายได้และการจ้างงานในประเทศมา เป็นเวลานานให้ก้าวข้ามไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหารคุณภาพ สูง เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่มีฐานะและรสนิยมเฉพาะตัว การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและอาหาร จะทำให้เป้าหมายการเป็นครัวที่มีคุณภาพของโลกสัมฤทธิผลรวดเร็วยิ่งขึ้น

3.ส่ง เสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมพลังงานปิโตรเลียมและพลังงานทดแทนสามารถสร้าง รายได้จากความต้องการภายในประเทศ รวมทั้งสร้างการจ้างงานให้แก่ประเทศโดยถือเป็นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ใหม่

4.ยก ระดับความสามารถในการแข่งขันและขยายช่องทางการตลาดของธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจบริการในประเทศ และธุรกิจวิสาหกิจชุมชนให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการผลิตสินค้าและ บริการที่มีคุณค่าและคุณภาพสู

5.ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขยายการ ลงทุนไปประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีความพร้อมทางด้านแรงงานและวัตถุดิบเพื่อสร้าง ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศและภูมิภาค

6.ดึงดูดการลงทุน เข้าสู่ประเทศในสาขาที่เป็นการผลิตสินค้าและบริการที่มีพื้นฐานทางเทคโนโลยี มีมูลค่าสูง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการลงทุนในการสร้างเมืองใหม่ในพื้นที่ที่เหมาะสม และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ

7.เสริมสร้างกระบวนการสร้างอาชีพ สร้างงานที่มีคุณภาพและมีรายได้สูงให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง

8.ส่งเสริมการขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุน และการเงิน ภายใต้ประโยชน์ร่วมกันของกรอบความร่วมมือและข้อตกลงทางการค้า

นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภาคเกษตร

1.ส่ง เสริมสนับสนุนให้สภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นกลไกของเกษตรกรในการสื่อสารกับ รัฐบาลและร่วมกันพัฒนาเกษตรกรด้วยตนเองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

2.เพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิตพืช โดยการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช ใช้ปุ๋ยตามคุณสมบัติของดินแต่ละชนิด เพื่อลดต้นทุนการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิต

3.เพิ่มศักยภาพกระบวนการ ผลิตด้านปศุสัตว์ให้ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศและการส่งออก

4.พัฒนาการประมง ทั้งในการเพาะเลี้ยงและในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการฟื้นฟูทรัพยากรประมงและจัดระเบียบการทำประมงให้สมดุลกับศักยภาพการ ผลิตตามธรรมชาติ ขยายพื้นที่อนุรักษ์เพื่อการประมงทะเลพื้นบ้าน ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แสวงหาลู่ทางการทำประมงในน่านน้ำต่างประเทศที่ไม่ขัดต่อระเบียบขององค์การ ระหว่างประเทศและประเทศที่นำเข้า

5.เสริมสร้างฐานรากของครัวเรือน เกษตรกรให้เข้มแข็งโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก ลดต้นทุนการผลิต พัฒนาระบบการผลิตที่เป็นขั้นตอน

6.จัดทำระบบทะเบียนครัวเรือน เกษตรกรที่มีข้อมูลการเกษตรของครัวเรือนครบถ้วน สามารถเชื่อมโยงกับบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกรและมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่ เสมอ

7.เร่งรัดพัฒนาธุรกิจการเกษตร โดยการพัฒนาสถาบันเกษตรกรในด้านธุรกิจ สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่จากโครงการกองทุนตั้งตัวได้

8.พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรมูลค่าเพิ่มเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก

9.ส่ง เสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ ดำเนินการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม สร้างความเข้มแข็งภาคเกษตรและสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อเผชิญกับวิกฤต อาหารโลก

ภาคอุตสาหกรรม

1.ยกระดับความสามารถในการ แข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในประเทศด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนของผู้ประกอบการ และยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ตลอดจนส่งเสริมให้มีการสร้างตราสินค้าไทย

2.ยกระดับภาคอุตสาหกรรม เข้าสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ใช้ปัญญา ใช้เทคโนโลยี และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทดแทนอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลัก

3.พัฒนา และส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปบนฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าและยกระดับสินค้าให้มีคุณภาพ มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล และมีโอกาสในการขยายตลา

4.สร้างความเข้มแข็งให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยสนับสนุนช่องทางการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อผ่านสถาบันการเงินต่างๆ

5.กำหนดมาตรฐานและคุณภาพขั้นพื้นฐานของสินค้าอุตสาหกรรมเมื่อมีการเปิดเสรีการค้ามากขึ้น เพื่อป้องกันสินค้านำเข้าที่ไม่ได้คุณภาพ

6.พัฒนา พื้นที่อุตสาหกรรมแห่งใหม่ รวมทั้งการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจระหว่างฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทยสำหรับ รองรับอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อมลพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน

7.เร่งพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และอยู่ร่วมกับชุมชนได้

8.ส่ง เสริมและจัดให้มีมาตรการทางภาษีและมาตรการอื่นที่เกี่ยวข้องในการพัฒนา อุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน และการใช้พลังงานจากภาคเกษตร

9.สนับสนุนให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกสาขาการผลิตเข้าประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม

10.เร่งรัด สำรวจและแสวงหาแหล่งแร่สำคัญ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และพัฒนาอุตสาหกรรมต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มโดยให้ความสำคัญกับการกำกับ ดูแลผลกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชน

การตลาด การค้า และการลงทุน

1.ส่ง เสริมนโยบายการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม เพื่อป้องกันการผูกขาดตัดตอน ส่งเสริมและพัฒนาบทบาทขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคทั้ง ภาครัฐและเอกชน แก้ไขปรับปรุงกฎหมาย มาตรการต่างๆ เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้บริโภค

2.สร้างความเชื่อมั่นให้นัก ลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยปรับปรุงพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบที่ส่งเสริมการค้าการลงทุนที่ครอบคลุม การลงทุนด้านเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ และปรับปรุงมาตรการบริหารการนำเข้าเพื่อป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม

3.สนับสนุน การลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ ส่งเสริมและสนับสนุนการเปิดร้านอาหารไทยของคนไทยตามนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก และนโยบายไทยเป็นครัวอาหารโลก

4.ปรับปรุงมาตรการการส่งเสริมการ ลงทุนให้ครอบคลุมการให้สิทธิประโยชน์แก่ธุรกิจในภาคเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การกีฬา และบริการ

5.ส่งเสริมการขยายตลาดเชิงรุก เพื่อรักษาตลาดเดิมและสร้างตลาดใหม่ เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกไปตลาดหลัก โดยส่งเสริมการส่งออกสินค้าและบริการในตลาดใหม่ ได้แก่ จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันออก

6.พัฒนาสินค้าและบริการที่สร้างโอกาสใหม่ในการหารายได้ การผลิตสินค้าและบริการอันเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในตลาดโลก

7.ขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุน และการตลาดภายใต้กรอบความร่วมมือและข้อตกลงการค้าเสรีในระบบพหุภาคีและทวิภาคี

8.เร่งรัด จัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษบริเวณพื้นที่ที่มีศักยภาพ โดยให้ความสำคัญต่อจังหวัดชายแดน เพื่อส่งเสริมการค้า การตลาด การลงทุน การจ้างงาน และการใช้วัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้าน


นโยบายการเงินของนายกยิ่งลักษณ์  ชินวัตร

  คณะรัฐมนตรีพิจารณาเป้าหมายของนโยบายการเงินประจำปี 2556 แล้วมีมติอนุมัติเป้าหมายของนโยบายการเงินประจำปี 2556 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ทั้งนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง(กค.) รายงานว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและคณะคณะกรรมการนโยบายการเงินได้เห็นชอบร่วมกันในการเสนอเป้าหมายของนโยบายการเงินประจำปี 2556 ต่อคณะรัฐมนตรี โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

1. กำหนดเป้าหมายของนโยบายการเงินประจำปี 2556 ไว้ที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยรายไตรมาสระหว่างร้อยละ 0.5 — 3.0 ต่อปี เช่นเดียวกับเป้าหมายของนโยบายการเงินประจำปี 2555 ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2555

2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายการเงินได้ลงนามในข้อตกลงร่วมกันในการกำหนดเป้าหมายของนโยบายการเงินประจำปี 2556 โดยข้อตกลงดังกล่าวมีสาระสำคัญ ดังนี้

2.1 เป้าหมายของนโยบายการเงิน ประจำปี 25556 อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยรายไตรมาสระหว่างร้อยละ 0.5 — 3.0 ต่อปี

2.2 การติดตามความเคลื่อนไหวของเป้าหมายของนโยบายการเงิน เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายของนโยบายการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ กค. และธนาคารแห่งประเทศไทยจะจัดให้มีการหารือร่วมกันเป็นประจำทุกไตรมาส และเมื่อมีเหตุจำเป็นอันใดตามที่ทั้งสองหน่วยงานจะเห็นสมควร

2.3 การเคลื่อนไหวของอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานออกนอกเป้าหมาย กรณีอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเคลื่อนไหวออกนอกช่วงเป้าหมายตามที่ตกลงร่วมกันไว้ ให้คณะกรรมการนโยบายการเงินชี้แจงสาเหตุ แนวทางแก้ไขและระยะเวลาที่คาดว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะกลับเข้าสู่ช่วงที่กำหนดไว้โดยเร็ว รวมทั้งให้รายงานความคืบหน้าของการแก้ไขปัญหาเป็นระยะตามสมควร

2.4 การแก้ไขเป้าหมายของนโยบายการเงิน  ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรหรือจำเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและคณะกรรมการนโยบายการเงินอาจตกลงร่วมกันเพื่อแก้ไขเป้าหมายของนโยบายการเงินได้ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา

นโยบายเศรษฐกิจของนายกยิ่งลักษณ์  ชินวัตร

  1.ดำเนินการให้มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ และให้เศรษฐกิจสามารถเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม และก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มีการจ้างงานเต็มที่ ระดับราคามีเสถียรภาพ ระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ


2.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม


3.พัฒนาระบบสถาบันการเงินในประเทศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหญ่และผู้ด้อยโอกาส สามารถให้บริการที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมการเงินและความต้องการที่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคมด้วยค่าบริการที่ต่ำและการบริการที่มีประสิทธิภาพ


4.ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างฐานรายได้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ทั้งจากภาษีและที่มิใช่ภาษี


5.ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงองค์ประกอบและโครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ


6.ปรับปรุงโครงสร้างของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน

7.บริหารสินทรัพย์ของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพิจารณาการจัดตั้งกองทุนที่สามารถใช้ในการบริหารสินทรัพย์ของชาติให้เป็นประโยชน์ เช่น กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองแห่งชาติ และกองทุนความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

นโยบายการตลาด การค้า และการลงทุน

  1.ส่งเสริมนโยบายการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม เพื่อป้องกันการผูกขาดตัดตอน ส่งเสริมและพัฒนาบทบาทขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคทั้งภาครัฐและเอกชน แก้ไขปรับปรุงกฎหมาย มาตรการต่างๆ เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้บริโภค

2.สร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยปรับปรุงพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบที่ส่งเสริมการค้าการลงทุนที่ครอบคลุมการลงทุนด้านเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ และปรับปรุงมาตรการบริหารการนำเข้าเพื่อป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม

3.สนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ ส่งเสริมและสนับสนุนการเปิดร้านอาหารไทยของคนไทยตามนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก และนโยบายไทยเป็นครัวอาหารโลก

4.ปรับปรุงมาตรการการส่งเสริมการลงทุนให้ครอบคลุมการให้สิทธิประโยชน์แก่ธุรกิจในภาคเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การกีฬา และบริการ

5.ส่งเสริมการขยายตลาดเชิงรุกเพื่อรักษาตลาดเดิมและสร้างตลาดใหม่ เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกไปตลาดหลัก โดยส่งเสริมการส่งออกสินค้าและบริการในตลาดใหม่ ได้แก่ จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันออก

6.พัฒนาสินค้าและบริการที่สร้างโอกาสใหม่ในการหารายได้ การผลิตสินค้าและบริการอันเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในตลาดโลก

7.ขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุน และการตลาดภายใต้กรอบความร่วมมือและข้อตกลงการค้าเสรีในระบบพหุภาคีและทวิภาคี

8.เร่งรัดจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษบริเวณพื้นที่ที่มีศักยภาพ โดยให้ความสำคัญต่อจังหวัดชายแดน เพื่อส่งเสริมการค้า การตลาด การลงทุน การจ้างงาน และการใช้วัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้าน


นโยบายเศรษฐกิจมหภาค


1.ดำเนินการให้มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ และให้เศรษฐกิจสามารถเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม และก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มีการจ้างงานเต็มที่ ระดับราคามีเสถียรภาพ ระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ

2.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

3.พัฒนาระบบสถาบันการเงินในประเทศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหญ่และผู้ด้อยโอกาส สามารถให้บริการที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมการเงินและความต้องการที่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคมด้วยค่าบริการที่ต่ำและการบริการที่มีประสิทธิภาพ

4.ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างฐานรายได้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ทั้งจากภาษีและที่มิใช่ภาษี

5.ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงองค์ประกอบและโครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ

6.ปรับปรุงโครงสร้างของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน

7.บริหารสินทรัพย์ของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพิจารณาการจัดตั้งกองทุนที่สามารถใช้ในการบริหารสินทรัพย์ของชาติให้เป็นประโยชน์ เช่น กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองแห่งชาติ และกองทุนความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

นโยบายสร้างรายได้

1.ส่งเสริมการท่องเที่ยวจากทั้งภายนอกและภายในประเทศ จัดให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว ให้มีรายได้จากนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวในเวลา 5 ปี

2.ขยายบทบาทให้ธุรกิจการเกษตรและอาหารซึ่งเป็นแหล่งรายได้และการจ้างงานในประเทศมาเป็นเวลานานให้ก้าวข้ามไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหารคุณภาพสูง เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่มีฐานะและรสนิยมเฉพาะตัว การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและอาหาร จะทำให้เป้าหมายการเป็นครัวที่มีคุณภาพของโลกสัมฤทธิผลรวดเร็วยิ่งขึ้น

3.ส่งเสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมพลังงานปิโตรเลียมและพลังงานทดแทนสามารถสร้างรายได้จากความต้องการภายในประเทศ รวมทั้งสร้างการจ้างงานให้แก่ประเทศโดยถือเป็นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ใหม่

4.ยกระดับความสามารถในการแข่งขันและขยายช่องทางการตลาดของธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจบริการในประเทศ และธุรกิจวิสาหกิจชุมชนให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณค่าและคุณภาพสูง

5.ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขยายการลงทุนไปประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีความพร้อมทางด้านแรงงานและวัตถุดิบเพื่อสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศและภูมิภาค

6.ดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ประเทศในสาขาที่เป็นการผลิตสินค้าและบริการที่มีพื้นฐานทางเทคโนโลยีมีมูลค่าสูง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการลงทุนในการสร้างเมืองใหม่ในพื้นที่ที่เหมาะสม และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ

7.เสริมสร้างกระบวนการสร้างอาชีพ สร้างงานที่มีคุณภาพและมีรายได้สูงให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง

8.ส่งเสริมการขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุน และการเงิน ภายใต้ประโยชน์ร่วมกันของกรอบความร่วมมือและข้อตกลงทางการค้า

นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

ภาคเกษตร

1.ส่งเสริมสนับสนุนให้สภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นกลไกของเกษตรกรในการสื่อสารกับรัฐบาลและร่วมกันพัฒนาเกษตรกรด้วยตนเองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

2.เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืช โดยการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช ใช้ปุ๋ยตามคุณสมบัติของดินแต่ละชนิด เพื่อลดต้นทุนการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิต

3.เพิ่มศักยภาพกระบวนการผลิตด้านปศุสัตว์ให้ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศและการส่งออก

4.พัฒนาการประมง ทั้งในการเพาะเลี้ยงและในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการฟื้นฟูทรัพยากรประมงและจัดระเบียบการทำประมงให้สมดุลกับศักยภาพการผลิตตามธรรมชาติ ขยายพื้นที่อนุรักษ์เพื่อการประมงทะเลพื้นบ้าน ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แสวงหาลู่ทางการทำประมงในน่านน้ำต่างประเทศที่ไม่ขัดต่อระเบียบขององค์การระหว่างประเทศและประเทศที่นำเข้า

5.เสริมสร้างฐานรากของครัวเรือนเกษตรกรให้เข้มแข็งโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก ลดต้นทุนการผลิต พัฒนาระบบการผลิตที่เป็นขั้นตอน

6.จัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรที่มีข้อมูลการเกษตรของครัวเรือนครบถ้วน สามารถเชื่อมโยงกับบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกรและมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ

7.เร่งรัดพัฒนาธุรกิจการเกษตร โดยการพัฒนาสถาบันเกษตรกรในด้านธุรกิจ สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่จากโครงการกองทุนตั้งตัวได้

8.พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรมูลค่าเพิ่มเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก

9.ส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ ดำเนินการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม สร้างความเข้มแข็งภาคเกษตรและสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อเผชิญกับวิกฤตอาหารโลก

ภาคอุตสาหกรรม

1.ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในประเทศด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนของผู้ประกอบการ และยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ตลอดจนส่งเสริมให้มีการสร้างตราสินค้าไทย

2.ยกระดับภาคอุตสาหกรรมเข้าสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ใช้ปัญญา ใช้เทคโนโลยี และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทดแทนอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลัก

3.พัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปบนฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าและยกระดับสินค้าให้มีคุณภาพ มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล และมีโอกาสในการขยายตลาด

4.สร้างความเข้มแข็งให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยสนับสนุนช่องทางการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อผ่านสถาบันการเงินต่างๆ

5.กำหนดมาตรฐานและคุณภาพขั้นพื้นฐานของสินค้าอุตสาหกรรมเมื่อมีการเปิดเสรีการค้ามากขึ้น เพื่อป้องกันสินค้านำเข้าที่ไม่ได้คุณภาพ

6.พัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมแห่งใหม่ รวมทั้งการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจระหว่างฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทยสำหรับรองรับอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อมลพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน

7.เร่งพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และอยู่ร่วมกับชุมชนได้

8.ส่งเสริมและจัดให้มีมาตรการทางภาษีและมาตรการอื่นที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน และการใช้พลังงานจากภาคเกษตร

9.สนับสนุนให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกสาขาการผลิตเข้าประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม

10.เร่งรัดสำรวจและแสวงหาแหล่งแร่สำคัญ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และพัฒนาอุตสาหกรรมต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มโดยให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลผลกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชน

การตลาด การค้า และการลงทุน

1.ส่งเสริมนโยบายการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม เพื่อป้องกันการผูกขาดตัดตอน ส่งเสริมและพัฒนาบทบาทขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคทั้งภาครัฐและเอกชน แก้ไขปรับปรุงกฎหมาย มาตรการต่างๆ เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้บริโภค

2.สร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยปรับปรุงพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบที่ส่งเสริมการค้าการลงทุนที่ครอบคลุมการลงทุนด้านเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ และปรับปรุงมาตรการบริหารการนำเข้าเพื่อป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม

3.สนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ ส่งเสริมและสนับสนุนการเปิดร้านอาหารไทยของคนไทยตามนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก และนโยบายไทยเป็นครัวอาหารโลก

4.ปรับปรุงมาตรการการส่งเสริมการลงทุนให้ครอบคลุมการให้สิทธิประโยชน์แก่ธุรกิจในภาคเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การกีฬา และบริการ

5.ส่งเสริมการขยายตลาดเชิงรุกเพื่อรักษาตลาดเดิมและสร้างตลาดใหม่ เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกไปตลาดหลัก โดยส่งเสริมการส่งออกสินค้าและบริการในตลาดใหม่ ได้แก่ จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันออก

6.พัฒนาสินค้าและบริการที่สร้างโอกาสใหม่ในการหารายได้ การผลิตสินค้าและบริการอันเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในตลาดโลก

7.ขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุน และการตลาดภายใต้กรอบความร่วมมือและข้อตกลงการค้าเสรีในระบบพหุภาคีและทวิภาคี

8.เร่งรัดจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษบริเวณพื้นที่ที่มีศักยภาพ โดยให้ความสำคัญต่อจังหวัดชายแดน เพื่อส่งเสริมการค้า การตลาด การลงทุน การจ้างงาน และการใช้วัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้าน

นโยบายนายกยิ่งลักษณ์  ชินวัตร

นโยบายเศรษฐกิจมหภาค

1.ดำเนิน การให้มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ และให้เศรษฐกิจสามารถเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม และก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มีการจ้างงานเต็มที่ ระดับราคามีเสถียรภาพ ระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ

2.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

3.พัฒนา ระบบสถาบันการเงินในประเทศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหญ่และผู้ด้อยโอกาส สามารถให้บริการที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมการเงินและความ ต้องการที่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคมด้วยค่าบริการที่ต่ำและการ บริการที่มีประสิทธิภาพ

4.ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างฐานรายได้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ทั้งจากภาษีและที่มิใช่ภาษี

5.ส่ง เสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงองค์ประกอบและโครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ

6.ปรับปรุง โครงสร้างของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน

7.บริหารสินทรัพย์ ของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพิจารณาการจัดตั้งกองทุนที่สามารถใช้ในการบริหารสินทรัพย์ของชาติให้ เป็นประโยชน์ เช่น กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองแห่งชาติ และกองทุนความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

 

นโยบายสร้างรายได้

 

1.ส่ง เสริมการท่องเที่ยวจากทั้งภายนอกและภายในประเทศ จัดให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว ให้มีรายได้จากนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวในเวลา 5 ปี

2.ขยาย บทบาทให้ธุรกิจการเกษตรและอาหารซึ่งเป็นแหล่งรายได้และการจ้างงานในประเทศมา เป็นเวลานานให้ก้าวข้ามไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหารคุณภาพ สูง เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่มีฐานะและรสนิยมเฉพาะตัว การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและอาหาร จะทำให้เป้าหมายการเป็นครัวที่มีคุณภาพของโลกสัมฤทธิผลรวดเร็วยิ่งขึ้น

3.ส่ง เสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมพลังงานปิโตรเลียมและพลังงานทดแทนสามารถสร้าง รายได้จากความต้องการภายในประเทศ รวมทั้งสร้างการจ้างงานให้แก่ประเทศโดยถือเป็นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ใหม่

4.ยก ระดับความสามารถในการแข่งขันและขยายช่องทางการตลาดของธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจบริการในประเทศ ละธุรกิจวิสาหกิจชุมชนให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการผลิตสินค้าและ บริการที่มีคุณค่าและคุณภาพสูง

5.ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขยายการ ลงทุนไปประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีความพร้อมทางด้านแรงงานและวัตถุดิบเพื่อสร้าง ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศและภูมิภาค

6.ดึงดูดการลงทุน เข้าสู่ประเทศในสาขาที่เป็นการผลิตสินค้าและบริการที่มีพื้นฐานทางเทคโนโลยี มีมูลค่าสูง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการลงทุนในการสร้างเมืองใหม่ในพื้นที่ที่เหมาะสม และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ

7.เสริมสร้างกระบวนการสร้างอาชีพ สร้างงานที่มีคุณภาพและมีรายได้สูงให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง

8.ส่งเสริมการขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุน และการเงิน ภายใต้ประโยชน์ร่วมกันของกรอบความร่วมมือและข้อตกลงทางการค้า

 

นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

 

ภาคเกษตร

 

1.ส่ง เสริมสนับสนุนให้สภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นกลไกของเกษตรกรในการสื่อสารกับ รัฐบาลและร่วมกันพัฒนาเกษตรกรด้วยตนเองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

2.เพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิตพืช โดยการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช ใช้ปุ๋ยตามคุณสมบัติของดินแต่ละชนิด เพื่อลดต้นทุนการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิต

3.เพิ่มศักยภาพกระบวนการ ผลิตด้านปศุสัตว์ให้ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศและการส่งออก

4.พัฒนาการประมง ทั้งในการเพาะเลี้ยงและในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการฟื้นฟูทรัพยากรประมงและจัดระเบียบการทำประมงให้สมดุลกับศักยภาพการ ผลิตตามธรรมชาติ ขยายพื้นที่อนุรักษ์เพื่อการประมงทะเลพื้นบ้าน ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แสวงหาลู่ทางการทำประมงในน่านน้ำต่างประเทศที่ไม่ขัดต่อระเบียบขององค์การ ระหว่างประเทศและประเทศที่นำเข้า

5.เสริมสร้างฐานรากของครัวเรือน เกษตรกรให้เข้มแข็งโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก ลดต้นทุนการผลิต พัฒนาระบบการผลิตที่เป็นขั้นตอน

6.จัดทำระบบทะเบียนครัวเรือน เกษตรกรที่มีข้อมูลการเกษตรของครัวเรือนครบถ้วน สามารถเชื่อมโยงกับบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกรและมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่ เสมอ

7.เร่งรัดพัฒนาธุรกิจการเกษตร โดยการพัฒนาสถาบันเกษตรกรในด้านธุรกิจ สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่จากโครงการกองทุนตั้งตัวได้

8.พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรมูลค่าเพิ่มเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก

9.ส่ง เสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ ดำเนินการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม สร้างความเข้มแข็งภาคเกษตรและสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อเผชิญกับวิกฤต อาหารโลก

 

ภาคอุตสาหกรรม

1.ยกระดับความสามารถในการ แข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในประเทศด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนของผู้ประกอบการ และยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ตลอดจนส่งเสริมให้มีการสร้างตราสินค้าไทย

2.ยกะดับภาคอุตสาหกรรม เข้าสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ใช้ปัญญา ใช้เทคโนโลยี และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทดแทนอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลัก

3.พัฒนา และส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปบนฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าและยกระดับสินค้าให้มีคุณภาพ มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล และมีโอกาสในการขยายตลาด

4.สร้างความเข้มแข็งให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยสนับสนุนช่องทางการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อผ่านสถาบันการเงินต่างๆ

5.กำหนดมาตรฐานและคุณภาพขั้นพื้นฐานของสินค้าอุตสาหกรรมเมื่อมีการเปิดเสรีการค้ามากขึ้น เพื่อป้องกันสินค้านำเข้าที่ไม่ได้คุณภาพ

6.พัฒนา พื้นที่อุตสาหกรรมแห่งใหม่ รวมทั้งการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจระหว่างฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทยสำหรับ รองรับอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อมลพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน

7.เร่งพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และอยู่ร่วมกับชุมชนได้

8.ส่ง เสริมและจัดให้มีมาตรการทางภาษีและมาตรการอื่นที่เกี่ยวข้องในการพัฒนา อุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน และการใช้พลังงานจากภาคเกษตร

9.สนับสนุนให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกสาขาการผลิตเข้าประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม

10.เร่งรัด สำรวจและแสวงหาแหล่งแร่สำคัญ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และพัฒนาอุตสาหกรรมต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มโดยให้ความสำคัญกับการกำกับ ดูแลผลกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชน

 

การตลาด การค้า และการลงทุน

1.ส่ง เสริมนโยบายการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม เพื่อป้องกันการผูกขาดตัดตอน ส่งเสริมและพัฒนาบทบาทขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคทั้ง ภาครัฐและเอกชน แก้ไขปรับปรุงกฎหมาย มาตรการต่างๆ เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้บริโภค

2.สร้างความเชื่อมั่นให้นัก ลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยปรับปรุงพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบที่ส่งเสริมการค้าการลงทุนที่ครอบคลุม การลงทุนด้านเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ และปรับปรุงมาตรการบริหารการนำเข้าเพื่อป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม

3.สนับสนุน การลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ ส่งเสริมและสนับสนุนการเปิดร้านอาหารไทยของคนไทยตามนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก และนโยบายไทยเป็นครัวอาหารโลก

4.ปรับปรุงมาตรการการส่งเสริมการ ลงทุนให้ครอบคลุมการให้สิทธิประโยชน์แก่ธุรกิจในภาคเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การกีฬา และบริการ

5.ส่งเสริมการขยายตลาดเชิงรุก เพื่อรักษาตลาดเดิมและสร้างตลาดใหม่ เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกไปตลาดหลัก โดยส่งเสริมการส่งออกสินค้าและบริการในตลาดใหม่ ได้แก่ จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันออก

6.พัฒนาสินค้าและบริการที่สร้างโอกาสใหม่ในการหารายได้ การผลิตสินค้าและบริการอันเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในตลาดโลก

7.ขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุน และการตลาดภายใต้กรอบความร่วมมือและข้อตกลงการค้าเสรีในระบบพหุภาคีและทวิภาคี

8.เร่งรัด จัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษบริเวณพื้นที่ที่มีศักยภาพ โดยให้ความสำคัญต่อจังหวัดชายแดน เพื่อส่งเสริมการค้า การตลาด การลงทุน การจ้างงาน และการใช้วัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้าน


นโยบายเศรษฐกิจมหภาค 

1.ดำเนิน การให้มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ และให้เศรษฐกิจสามารถเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม และก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มีการจ้างงานเต็มที่ ระดับราคามีเสถียรภาพ ระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ

2.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

3.พัฒนา ระบบสถาบันการเงินในประเทศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหญ่และผู้ด้อยโอกาส สามารถให้บริการที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมการเงินและความ ต้องการที่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคมด้วยค่าบริการที่ต่ำและการ บริการที่มีประสิทธิภาพ

4.ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างฐานรายได้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ทั้งจากภาษีและที่มิใช่ภาษี

5.ส่ง เสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงองค์ประกอบและโครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ

6.ปรับปรุง โครงสร้างของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน

7.บริหารสินทรัพย์ ของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพิจารณาการจัดตั้งกองทุนที่สามารถใช้ในการบริหารสินทรัพย์ของชาติให้ เป็นประโยชน์ เช่น กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองแห่งชาติ และกองทุนความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

นโยบายสร้างรายได้

1.ส่ง เสริมการท่องเที่ยวจากทั้งภายนอกและภายในประเทศ จัดให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว ให้มีรายได้จากนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวในเวลา 5 ปี

2.ขยาย บทบาทให้ธุรกิจการเกษตรและอาหารซึ่งเป็นแหล่งรายได้และการจ้างงานในประเทศมา เป็นเวลานานให้ก้าวข้ามไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหารคุณภาพ สูง เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่มีฐานะและรสนิยมเฉพาะตัว การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและอาหาร จะทำให้เป้าหมายการเป็นครัวที่มีคุณภาพของโลกสัมฤทธิผลรวดเร็วยิ่งขึ้น

3.ส่ง เสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมพลังงานปิโตรเลียมและพลังงานทดแทนสามารถสร้าง รายได้จากความต้องการภายในประเทศ รวมทั้งสร้างการจ้างงานให้แก่ประเทศโดยถือเป็นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ใหม่

4.ยก ระดับความสามารถในการแข่งขันและขยายช่องทางการตลาดของธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจบริการในประเทศ และธุรกิจวิสาหกิจชุมชนให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการผลิตสินค้าและ บริการที่มีคุณค่าและคุณภาพสูง

5.ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขยายการ ลงทุนไปประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีความพร้อมทางด้านแรงงานและวัตถุดิบเพื่อสร้าง ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศและภูมิภาค

6.ดึงดูดการลงทุน เข้าสู่ประเทศในสาขาที่เป็นการผลิตสินค้าและบริการที่มีพื้นฐานทางเทคโนโลยี มีมูลค่าสูง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการลงทุนในการสร้างเมืองใหม่ในพื้นที่ที่เหมาะสม และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ

7.เสริมสร้างกระบวนการสร้างอาชีพ สร้างงานที่มีคุณภาพและมีรายได้สูงให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง

8.ส่งเสริมการขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุน และการเงิน ภายใต้ประโยชน์ร่วมกันของกรอบความร่วมมือและข้อตกลงทางการค้า


นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

ภาคเกษตร

1.ส่ง เสริมสนับสนุนให้สภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นกลไกของเกษตรกรในการสื่อสารกับ รัฐบาลและร่วมกันพัฒนาเกษตรกรด้วยตนเองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

2.เพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิตพืช โดยการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช ใช้ปุ๋ยตามคุณสมบัติของดินแต่ละชนิด เพื่อลดต้นทุนการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิต

3.เพิ่มศักยภาพกระบวนการ ผลิตด้านปศุสัตว์ให้ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศและการส่งออก

4.พัฒนาการประมง ทั้งในการเพาะเลี้ยงและในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการฟื้นฟูทรัพยากรประมงและจัดระเบียบการทำประมงให้สมดุลกับศักยภาพการ ผลิตตามธรรมชาติ ขยายพื้นที่อนุรักษ์เพื่อการประมงทะเลพื้นบ้าน ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แสวงหาลู่ทางการทำประมงในน่านน้ำต่างประเทศที่ไม่ขัดต่อระเบียบขององค์การ ระหว่างประเทศและประเทศที่นำเข้า

5.เสริมสร้างฐานรากของครัวเรือน เกษตรกรให้เข้มแข็งโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก ลดต้นทุนการผลิต พัฒนาระบบการผลิตที่เป็นขั้นตอน

6.จัดทำระบบทะเบียนครัวเรือน เกษตรกรที่มีข้อมูลการเกษตรของครัวเรือนครบถ้วน สามารถเชื่อมโยงกับบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกรและมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่ เสมอ

7.เร่งรัดพัฒนาธุรกิจการเกษตร โดยการพัฒนาสถาบันเกษตรกรในด้านธุรกิจ สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่จากโครงการกองทุนตั้งตัวได้

8.พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรมูลค่าเพิ่มเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก

9.ส่ง เสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ ดำเนินการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม สร้างความเข้มแข็งภาคเกษตรและสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อเผชิญกับวิกฤต อาหารโลก

ภาคอุตสาหกรรม

1.ยกระดับความสามารถในการ แข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในประเทศด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนของผู้ประกอบการ และยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ตลอดจนส่งเสริมให้มีการสร้างตราสินค้าไทย

2.ยกระดับภาคอุตสาหกรรม เข้าสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ใช้ปัญญา ใช้เทคโนโลยี และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทดแทนอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลัก

3.พัฒนา และส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปบนฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าและยกระดับสินค้าให้มีคุณภาพ มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล และมีโอกาสในการขยายตลาด

4.สร้างความเข้มแข็งให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยสนับสนุนช่องทางการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อผ่านสถาบันการเงินต่างๆ

5.กำหนดมาตรฐานและคุณภาพขั้นพื้นฐานของสินค้าอุตสาหกรรมเมื่อมีการเปิดเสรีการค้ามากขึ้น เพื่อป้องกันสินค้านำเข้าที่ไม่ได้คุณภาพ

6.พัฒนา พื้นที่อุตสาหกรรมแห่งใหม่ รวมทั้งการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจระหว่างฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทยสำหรับ รองรับอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อมลพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน

7.เร่งพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และอยู่ร่วมกับชุมชนได้

8.ส่ง เสริมและจัดให้มีมาตรการทางภาษีและมาตรการอื่นที่เกี่ยวข้องในการพัฒนา อุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน และการใช้พลังงานจากภาคเกษตร

9.สนับสนุนให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกสาขาการผลิตเข้าประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม

10.เร่งรัด สำรวจและแสวงหาแหล่งแร่สำคัญ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และพัฒนาอุตสาหกรรมต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มโดยให้ความสำคัญกับการกำกับ ดูแลผลกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชน

การตลาด การค้า และการลงทุน

1.ส่ง เสริมนโยบายการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม เพื่อป้องกันการผูกขาดตัดตอน ส่งเสริมและพัฒนาบทบาทขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคทั้ง ภาครัฐและเอกชน แก้ไขปรับปรุงกฎหมาย มาตรการต่างๆ เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้บริโภค

2.สร้างความเชื่อมั่นให้นัก ลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยปรับปรุงพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบที่ส่งเสริมการค้าการลงทุนที่ครอบคลุม การลงทุนด้านเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ และปรับปรุงมาตรการบริหารการนำเข้าเพื่อป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม

3.สนับสนุน การลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ ส่งเสริมและสนับสนุนการเปิดร้านอาหารไทยของคนไทยตามนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก และนโยบายไทยเป็นครัวอาหารโลก

4.ปรับปรุงมาตรการการส่งเสริมการ ลงทุนให้ครอบคลุมการให้สิทธิประโยชน์แก่ธุรกิจในภาคเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การกีฬา และบริการ

5.ส่งเสริมการขยายตลาดเชิงรุก เพื่อรักษาตลาดเดิมและสร้างตลาดใหม่ เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกไปตลาดหลัก โดยส่งเสริมการส่งออกสินค้าและบริการในตลาดใหม่ ได้แก่ จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันออก

6.พัฒนาสินค้าและบริการที่สร้างโอกาสใหม่ในการหารายได้ การผลิตสินค้าและบริการอันเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในตลาดโลก

7.ขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุน และการตลาดภายใต้กรอบความร่วมมือและข้อตกลงการค้าเสรีในระบบพหุภาคีและทวิภาคี

8.เร่งรัด จัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษบริเวณพื้นที่ที่มีศักยภาพ โดยให้ความสำคัญต่อจังหวัดชายแดน เพื่อส่งเสริมการค้า การตลาด การลงทุน การจ้างงาน และการใช้วัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้าน


นโยบายเศรษฐกิจมหภาค

1.ดำเนินการให้มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ และให้เศรษฐกิจสามารถเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม และก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มีการจ้างงานเต็มที่ ระดับราคามีเสถียรภาพ ระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ 

2.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม 

3.พัฒนาระบบสถาบันการเงินในประเทศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหญ่และผู้ด้อยโอกาส สามารถให้บริการที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมการเงินและความต้องการที่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคมด้วยค่าบริการที่ต่ำและการบริการที่มีประสิทธิภาพ

4.ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างฐานรายได้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ทั้งจากภาษีและที่มิใช่ภาษี

5.ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงองค์ประกอบและโครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ 

6.ปรับปรุงโครงสร้างของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน

7.บริหารสินทรัพย์ของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพิจารณาการจัดตั้งกองทุนที่สามารถใช้ในการบริหารสินทรัพย์ของชาติให้เป็นประโยชน์ เช่น กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองแห่งชาติ และกองทุนความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

นโยบายสร้างรายได้

1.ส่งเสริมการท่องเที่ยวจากทั้งภายนอกและภายในประเทศ จัดให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว ให้มีรายได้จากนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวในเวลา 5 ปี

2.ขยายบทบาทให้ธุรกิจการเกษตรและอาหารซึ่งเป็นแหล่งรายได้และการจ้างงานในประเทศมาเป็นเวลานานให้ก้าวข้ามไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหารคุณภาพสูง เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่มีฐานะและรสนิยมเฉพาะตัว การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและอาหาร จะทำให้เป้าหมายการเป็นครัวที่มีคุณภาพของโลกสัมฤทธิผลรวดเร็วยิ่งขึ้น

3.ส่งเสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมพลังงานปิโตรเลียมและพลังงานทดแทนสามารถสร้างรายได้จากความต้องการภายในประเทศ รวมทั้งสร้างการจ้างงานให้แก่ประเทศโดยถือเป็นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ใหม่

4.ยกระดับความสามารถในการแข่งขันและขยายช่องทางการตลาดของธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจบริการในประเทศ และธุรกิจวิสาหกิจชุมชนให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณค่าและคุณภาพสูง

5.ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขยายการลงทุนไปประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีความพร้อมทางด้านแรงงานและวัตถุดิบเพื่อสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศและภูมิภาค

6.ดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ประเทศในสาขาที่เป็นการผลิตสินค้าและบริการที่มีพื้นฐานทางเทคโนโลยีมีมูลค่าสูง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการลงทุนในการสร้างเมืองใหม่ในพื้นที่ที่เหมาะสม และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ 

7.เสริมสร้างกระบวนการสร้างอาชีพ สร้างงานที่มีคุณภาพและมีรายได้สูงให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง 

8.ส่งเสริมการขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุน และการเงิน ภายใต้ประโยชน์ร่วมกันของกรอบความร่วมมือและข้อตกลงทางการค้า

นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

ภาคเกษตร

1.ส่งเสริมสนับสนุนให้สภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นกลไกของเกษตรกรในการสื่อสารกับรัฐบาลและร่วมกันพัฒนาเกษตรกรด้วยตนเองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

2.เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืช โดยการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช ใช้ปุ๋ยตามคุณสมบัติของดินแต่ละชนิด เพื่อลดต้นทุนการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิต

3.เพิ่มศักยภาพกระบวนการผลิตด้านปศุสัตว์ให้ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศและการส่งออก 

4.พัฒนาการประมง ทั้งในการเพาะเลี้ยงและในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการฟื้นฟูทรัพยากรประมงและจัดระเบียบการทำประมงให้สมดุลกับศักยภาพการผลิตตามธรรมชาติ ขยายพื้นที่อนุรักษ์เพื่อการประมงทะเลพื้นบ้าน ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แสวงหาลู่ทางการทำประมงในน่านน้ำต่างประเทศที่ไม่ขัดต่อระเบียบขององค์การระหว่างประเทศและประเทศที่นำเข้า 

5.เสริมสร้างฐานรากของครัวเรือนเกษตรกรให้เข้มแข็งโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก ลดต้นทุนการผลิต พัฒนาระบบการผลิตที่เป็นขั้นตอน 

6.จัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรที่มีข้อมูลการเกษตรของครัวเรือนครบถ้วน สามารถเชื่อมโยงกับบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกรและมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ

7.เร่งรัดพัฒนาธุรกิจการเกษตร โดยการพัฒนาสถาบันเกษตรกรในด้านธุรกิจ สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่จากโครงการกองทุนตั้งตัวได้

8.พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรมูลค่าเพิ่มเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก

9.ส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ ดำเนินการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม สร้างความเข้มแข็งภาคเกษตรและสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อเผชิญกับวิกฤตอาหารโลก 

นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลนายกยิ่งลักษณ์

นโยบายเศรษฐกิจมหภาค

1.ดำเนิน การให้มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ และให้เศรษฐกิจสามารถเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม และก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มีการจ้างงานเต็มที่ ระดับราคามีเสถียรภาพ ระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ

2.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

3.พัฒนา ระบบสถาบันการเงินในประเทศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหญ่และผู้ด้อยโอกาส สามารถให้บริการที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมการเงินและความ ต้องการที่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคมด้วยค่าบริการที่ต่ำและการ บริการที่มีประสิทธิภาพ

4.ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างฐานรายได้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ทั้งจากภาษีและที่มิใช่ภาษี

5.ส่ง เสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงองค์ประกอบและโครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ

6.ปรับปรุง โครงสร้างของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน

7.บริหารสินทรัพย์ ของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพิจารณาการจัดตั้งกองทุนที่สามารถใช้ในการบริหารสินทรัพย์ของชาติให้ เป็นประโยชน์ เช่น กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองแห่งชาติ และกองทุนความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

นโยบายสร้างรายได้

1.ส่ง เสริมการท่องเที่ยวจากทั้งภายนอกและภายในประเทศ จัดให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว ให้มีรายได้จากนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น

 2 เท่าตัวในเวลา 5 ปี2.ขยาย บทบาทให้ธุรกิจการเกษตรและอาหารซึ่งเป็นแหล่งรายได้และการจ้างงานในประเทศมา เป็นเวลานานให้ก้าวข้ามไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหารคุณภาพ สูง เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่มีฐานะและรสนิยมเฉพาะตัว การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและอาหาร จะทำให้เป้าหมายการเป็นครัวที่มีคุณภาพของโลกสัมฤทธิผลรวดเร็วยิ่งขึ้น

3.ส่ง เสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมพลังงานปิโตรเลียมและพลังงานทดแทนสามารถสร้าง รายได้จากความต้องการภายในประเทศ รวมทั้งสร้างการจ้างงานให้แก่ประเทศโดยถือเป็นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ใหม่

4.ยก ระดับความสามารถในการแข่งขันและขยายช่องทางการตลาดของธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจบริการในประเทศ และธุรกิจวิสาหกิจชุมชนให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการผลิตสินค้าและ บริการที่มีคุณค่าและคุณภาพสูง

5.ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขยายการ ลงทุนไปประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีความพร้อมทางด้านแรงงานและวัตถุดิบเพื่อสร้าง ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศและภูมิภาค

6.ดึงดูดการลงทุน เข้าสู่ประเทศในสาขาที่เป็นการผลิตสินค้าและบริการที่มีพื้นฐานทางเทคโนโลยี มีมูลค่าสูง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการลงทุนในการสร้างเมืองใหม่ในพื้นที่ที่เหมาะสม และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ

7.เสริมสร้างกระบวนการสร้างอาชีพ สร้างงานที่มีคุณภาพและมีรายได้สูงให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง

8.ส่งเสริมการขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุน และการเงิน ภายใต้ประโยชน์ร่วมกันของกรอบความร่วมมือและข้อตกลงทางการค้า

นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภาคเกษตร

1.ส่ง เสริมสนับสนุนให้สภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นกลไกของเกษตรกรในการสื่อสารกับ รัฐบาลและร่วมกันพัฒนาเกษตรกรด้วยตนเองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย

2.เพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิตพืช โดยการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช ใช้ปุ๋ยตามคุณสมบัติของดินแต่ละชนิด เพื่อลดต้นทุนการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิต

3.เพิ่มศักยภาพกระบวนการ ผลิตด้านปศุสัตว์ให้ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศและการส่งออก

4.พัฒนาการประมง ทั้งในการเพาะเลี้ยงและในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการฟื้นฟูทรัพยากรประมงและจัดระเบียบการทำประมงให้สมดุลกับศักยภาพการ ผลิตตามธรรมชาติ ขยายพื้นที่อนุรักษ์เพื่อการประมงทะเลพื้นบ้าน ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แสวงหาลู่ทางการทำประมงในน่านน้ำต่างประเทศที่ไม่ขัดต่อระเบียบขององค์การ ระหว่างประเทศและประเทศที่นำเข้า

5.เสริมสร้างฐานรากของครัวเรือน เกษตรกรให้เข้มแข็งโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก ลดต้นทุนการผลิต พัฒนาระบบการผลิตที่เป็นขั้นตอน

6.จัดทำระบบทะเบียนครัวเรือน เกษตรกรที่มีข้อมูลการเกษตรของครัวเรือนครบถ้วน สามารถเชื่อมโยงกับบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกรและมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่ เสมอ

7.เร่งรัดพัฒนาธุรกิจการเกษตร โดยการพัฒนาสถาบันเกษตรกรในด้านธุรกิจ สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่จากโครงการกองทุนตั้งตัวได้

8.พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรมูลค่าเพิ่มเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก

9.ส่ง เสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ ดำเนินการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม สร้างความเข้มแข็งภาคเกษตรและสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อเผชิญกับวิกฤต อาหารโลก

ภาคอุตสาหกรรม

1.ยกระดับความสามารถในการ แข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในประเทศด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนของผู้ประกอบการ และยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ตลอดจนส่งเสริมให้มีการสร้างตราสินค้าไทย

2.ยกระดับภาคอุตสาหกรรม เข้าสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ใช้ปัญญา ใช้เทคโนโลยี และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทดแทนอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลัก

3.พัฒนา และส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปบนฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าและยกระดับสินค้าให้มีคุณภาพ มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล และมีโอกาสในการขยายตลาด

4.สร้างความเข้มแข็งให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยสนับสนุนช่องทางการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อผ่านสถาบันการเงินต่างๆ

5.กำหนดมาตรฐานและคุณภาพขั้นพื้นฐานของสินค้าอุตสาหกรรมเมื่อมีการเปิดเสรีการค้ามากขึ้น เพื่อป้องกันสินค้านำเข้าที่ไม่ได้คุณภาพ

6.พัฒนา พื้นที่อุตสาหกรรมแห่งใหม่ รวมทั้งการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจระหว่างฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทยสำหรับ รองรับอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อมลพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน

7.เร่งพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และอยู่ร่วมกับชุมชนได้

8.ส่ง เสริมและจัดให้มีมาตรการทางภาษีและมาตรการอื่นที่เกี่ยวข้องในการพัฒนา อุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน และการใช้พลังงานจากภาคเกษตร

9.สนับสนุนให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกสาขาการผลิตเข้าประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม

10.เร่งรัด สำรวจและแสวงหาแหล่งแร่สำคัญ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และพัฒนาอุตสาหกรรมต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มโดยให้ความสำคัญกับการกำกับ ดูแลผลกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชน

การตลาด การค้า และการลงทุน

1.ส่ง เสริมนโยบายการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม เพื่อป้องกันการผูกขาดตัดตอน ส่งเสริมและพัฒนาบทบาทขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคทั้ง ภาครัฐและเอกชน แก้ไขปรับปรุงกฎหมาย มาตรการต่างๆ เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้บริโภค

2.สร้างความเชื่อมั่นให้นัก ลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยปรับปรุงพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบที่ส่งเสริมการค้าการลงทุนที่ครอบคลุม การลงทุนด้านเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ และปรับปรุงมาตรการบริหารการนำเข้าเพื่อป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม

3.สนับสนุน การลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ ส่งเสริมและสนับสนุนการเปิดร้านอาหารไทยของคนไทยตามนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก และนโยบายไทยเป็นครัวอาหารโลก

4.ปรับปรุงมาตรการการส่งเสริมการ ลงทุนให้ครอบคลุมการให้สิทธิประโยชน์แก่ธุรกิจในภาคเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การกีฬา และบริการ

5.ส่งเสริมการขยายตลาดเชิงรุก เพื่อรักษาตลาดเดิมและสร้างตลาดใหม่ เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกไปตลาดหลัก โดยส่งเสริมการส่งออกสินค้าและบริการในตลาดใหม่ ได้แก่ จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันออก

6.พัฒนาสินค้าและบริการที่สร้างโอกาสใหม่ในการหารายได้ การผลิตสินค้าและบริการอันเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในตลาดโลก

7.ขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุน และการตลาดภายใต้กรอบความร่วมมือและข้อตกลงการค้าเสรีในระบบพหุภาคีและทวิภาคี

8.เร่งรัด จัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษบริเวณพื้นที่ที่มีศักยภาพ โดยให้ความสำคัญต่อจังหวัดชายแดน เพื่อส่งเสริมการค้า การตลาด การลงทุน การจ้างงาน และการใช้วัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้าน


และคณะรัฐมนตรีพิจารณาเป้าหมายของนโยบายการเงินประจำปี 2556 แล้วมีมติอนุมัติเป้าหมายของนโยบายการเงินประจำปี 2556 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ทั้งนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (กค.) รายงานว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและคณะคณะกรรมการนโยบายการเงินได้เห็นชอบร่วมกันในการเสนอเป้าหมายของนโยบายการเงินประจำปี 2556 ต่อคณะรัฐมนตรี โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

1. กำหนดเป้าหมายของนโยบายการเงินประจำปี 2556 ไว้ที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยรายไตรมาสระหว่างร้อยละ 0.5 — 3.0 ต่อปี เช่นเดียวกับเป้าหมายของนโยบายการเงินประจำปี 2555 ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2555

2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายการเงินได้ลงนามในข้อตกลงร่วมกันในการกำหนดเป้าหมายของนโยบายการเงินประจำปี 2556 โดยข้อตกลงดังกล่าวมีสาระสำคัญ ดังนี้

2.1 เป้าหมายของนโยบายการเงิน ประจำปี 25556  อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยรายไตรมาสระหว่างร้อยละ 0.5 — 3.0 ต่อปี

2.2 การติดตามความเคลื่อนไหวของเป้าหมายของนโยบายการเงิน

เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายของนโยบายการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ กค. และธนาคารแห่งประเทศไทยจะจัดให้มีการหารือร่วมกันเป็นประจำทุกไตรมาส และเมื่อมีเหตุจำเป็นอันใดตามที่ทั้งสองหน่วยงานจะเห็นสมควร

2.3 การเคลื่อนไหวของอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานออกนอกเป้าหมาย

กรณีอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเคลื่อนไหวออกนอกช่วงเป้าหมายตามที่ตกลงร่วมกันไว้ ให้คณะกรรมการนโยบายการเงินชี้แจงสาเหตุ แนวทางแก้ไขและระยะเวลาที่คาดว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะกลับเข้าสู่ช่วงที่กำหนดไว้โดยเร็ว รวมทั้งให้รายงานความคืบหน้าของการแก้ไขปัญหาเป็นระยะตามสมควร

2.4 การแก้ไขเป้าหมายของนโยบายการเงิน

ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรหรือจำเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและคณะกรรมการนโยบายการเงินอาจตกลงร่วมกันเพื่อแก้ไขเป้าหมายของนโยบายการเงินได้ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์  ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 11 ธันวาคม 2555


เงินนอกทะลักทำบาทแข็งค่า ฉุดส่งออกหวั่นเศรษฐกิจร่วง

วันจันทร์ที่ 28 มกราคม 2556 เวลา 00:00 น.

  ต้องยอมรับว่า ระยะนี้ “เงินบาทแข็งค่า” กลายเป็นกระแสข่าวที่สร้างความหงุดหงิดใจให้หลายฝ่ายในประเทศ ด้วยหวั่นเกรงว่า ประเทศมหาอำนาจตะวันตก กำลังเริ่มตั้งทัพใหญ่ เปิดศึกทำ “สงครามค่าเงิน” เพื่อกอบกู้เศรษฐกิจของตนเอง ซึ่งจะมีผลทำให้เหล่านักธุรกิจตาน้ำข้าว ระดมอาวุธครบมือ ขนเงินมหาศาลเข้ามาลงทุนในประเทศแถบเอเชียมากขึ้นทุกประเทศ แน่นอนว่าเงินบาทจึงแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง และหากไทยไม่ตั้งสติรับมือแล้วละก็ อาจเพลี่ยงพล้ำทางเศรษฐกิจได้ง่าย ๆ

“ธนาคารแห่งประเทศไทย” ในฐานะ “ทัพหน้า” เฝ้าประตูเมือง เมื่อเงินทุนไหลผ่านเข้ามาผิดปกติ มือหนึ่งต้องรีบหยิบอาวุธป้องกัน เพื่อประคองสถานการณ์ให้เงินบาทอยู่ในระดับที่เรียกว่า “สมดุล” อีกมือหนึ่งต้องรีบแจ้งข่าวเตือนคนในประเทศ

อาวุธหนึ่งที่ ธปท. มักนิยมนำมาใช้เป็นด่านแรก คือ การเข้าไปแทรกแซงค่าเงินบาท แต่ขณะเดียวกันก็ยังมีมาตรการผ่อนคลายเกณฑ์ทางการเงิน ให้นักลงทุนออกไปลงทุนยังต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เกิดความสมดุลของค่าเงินทั้งขาเข้าและออก แต่อย่างไรก็ดี มองว่า บรรดาผู้ประกอบการส่วนใหญ่ ไม่ได้ต้องการออกไปลงทุนต่างชาติเท่าใดนัก เพียงแต่ต้องการให้เงินบาทอยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อที่จะวางแผนขับเคลื่อนธุรกิจให้อยู่รอดปลอดภัยได้กับสภาพการเงินที่ผันผวนเช่นนี้

ย้อนไปดูสถานการณ์เงินบาทปี 55 ที่ผ่านมา เคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 30.50-31.90 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยแข็งค่าขึ้นไปสูงสุดที่ 30.60 บาทต่อดอลลาร์ และอ่อนค่าสุดที่ 31.78 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งถือว่ามีความสมดุล และตลอดทั้งปี เงินบาทเคลื่อนไหว 2 ทิศทาง คือแข็งค่าสลับอ่อนค่าทั้งปี

แต่ทันทีที่ก้าวเข้าสู่ปี 56 เงินบาท และเงินสกุลหลัก ต่างพุ่งแข็งค่าขึ้นรวดเร็ว เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ จนหลุดกรอบ 30 บาทไปที่ 29.75 บาท แข็งค่าที่สุดในรอบ 17 เดือน จากความเชื่อมั่นในตลาดการเงินโลกปรับดีขึ้น หลังสหรัฐหาข้อยุติเพื่อเลี่ยงปัญหาฐานะทางการคลังได้ในระดับหนึ่ง ขณะที่เงินทุนไหลเข้า เริ่มทะลักสู่ภูมิภาคเอเชียมากขึ้นเช่นกัน ทั้งในตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตร ประกอบกับนักลงทุนเริ่มหวังเข้าเก็งกำไร กินส่วนต่างดอกเบี้ยและค่าเงินไปพร้อม ๆ กันด้วย

ส่งผลให้ช่วงเพียง 22 วันที่ผ่านมา เงินบาทแข็งค่าไปแล้ว 3.13% โดยแข็งค่ากว่าสกุลเงินอื่น ๆ ในเอเชีย มาเลเซียแข็งค่า 2.2% อินโดนีเซียแข็งค่า 0.05%  นี่จึงกลายเป็นประเด็นหลัก ที่ทำให้ผู้ประกอบการต่างกังวล !!

ด้วยเกรงว่า หากทิศทางเงินบาทยังแข็งค่าต่อเนื่อง จะส่งผลกระทบต่อศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก โดยเฉพาะสินค้าส่งออกต่าง ๆ มียอดการส่งออกลดลงเรื่อย ๆ สวนทางกับต้นทุนการผลิตที่ทะยานเพิ่มขึ้น โดยคาดการณ์ว่า ถ้าเงินบาทแข็งค่ามาถึง 29-29.50 บาทในไตรมาสแรกนี้ ผลกระทบก็จะทวีความรุนแรงขึ้นเป็นเงาตามตัว ส่วนเงินบาทที่ผู้ประกอบการรับมือได้ คือที่ 31 บาท และขอให้ ธปท.ดูแลไม่ให้เงินบาทแข็งค่าเร็วเกินไป รวมถึงแข็งค่ามากกว่าประเทศคู่แข่งเท่านั้น จึงจะประคองการส่งออกไม่ให้สะดุดลงได้

หลายฝ่ายจึงเริ่มจับตาดูว่าทัพหน้าอย่าง ธปท. จะแทรกแซงค่าเงินบาทหรือไม่ อย่างไร หรือปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด โดยไม่ฟังเสียงเรียกร้องจากผู้ประกอบการ กรณีเลวร้ายที่สุด อาจเดินซ้ำรอย “โจมตีค่าเงินเมื่อปี 40”

จนแม่ทัพใหญ่ “ประสาร ไตรรัตน์วรกุล” ผู้ว่าการ ธปท. รับว่า เงินบาทแข็งค่าขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมา แต่ก็เป็นไปในทิศทางเดียวกับสกุลเงินอื่นในภูมิภาค ทั้งนี้ จะดูแลให้เคลื่อนไหวไปตามกลไกตลาดเหมือนเดิม แต่ไม่ได้หมายความว่า จะไม่ทำอะไร ในภาวะที่เกิดความผิดปกติ หรือจำเป็นต้องเข้าไปดูแล

“ยืนยันว่า ธปท.ติดตามสถานการณ์อัตราแลกเปลี่ยนอย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษ พร้อมทั้งเตรียมเครื่องมือต่าง ๆ ไว้แล้ว หากจำเป็นต้องใช้ จะไม่ลังเล แม้ว่าผลการดำเนินงานของ ธปท.จะขาดทุน แต่ก็ไม่ได้เป็นอุปสรรค หรือมีผลให้ ธปท.ไม่เข้าไปดูแลอัตราแลกเปลี่ยนตามความเหมาะสมแต่อย่างใด”

กระทรวงพาณิชย์เตรียมช่วยประคอง

แม้จะยืนยันหนักแน่น แต่ภาคเอกชนก็ไม่ค่อยไว้วางใจมากนัก โดยเฉพาะกับผู้ประกอบการส่งออก ที่เกลียดความผันผวนของค่าเงิน ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ประเมินเบื้องต้น แล้วก็หนักอกหนักใจ หวั่นว่า การส่งออกปีนี้ อาจไม่ถึงฝั่งฝันอีกครั้ง แม้จะตั้งเป้าหมายเติบโตไว้เพียง 8.9% ด้วยมูลค่า 250,175 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 7.7 ล้านล้านบาทก็ตาม

โดยมองว่า “เอสเอ็มอี” เป็นกลุ่มที่น่าเป็นห่วงสุด เพราะบริหารจัดการค่าเงินไม่ได้ดีเท่าผู้ส่งออกรายใหญ่ ขณะที่การแข่งขันด้านราคาก็สู้คู่แข่งขันไม่ได้ โดยเฉพาะจีน เวียดนาม ที่ค่าเงินอ่อนกว่าไทย ดังนั้น คงต้องเป็นภาระของภาครัฐที่ต้องเข้าไปช่วยเหลือ พร้อมส่งสัญญาณไปยังแม่ทัพใหญ่ ให้แทรกแซงค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่าเกิน 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

ขณะเดียวกันจะเร่งจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์แนวทางการสู้วิกฤติค่าเงินบาทผันผวน พร้อมแนะกลยุทธ์การทำตลาดช่วงเงินบาทแข็งให้เอสเอ็มอีรับรู้ หลังพบว่าผู้ประกอบการไทยยังทำประกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนกันน้อยอยู่

นอกจากนี้ จะตั้งศูนย์ติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลก และการส่งออกไทย เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ แล้วนำผลข้อมูลมาเตือนภัย วางแผนทำการค้าได้ล่วงหน้า รวมถึงข้อมูลสำคัญจากทั้งทูตพาณิชย์ทั่วโลก รายงานสถานการณ์ โอกาส ความได้เปรียบเสียเปรียบของสินค้าไทยกับคู่แข่ง ให้ติดตามเป็นระยะ ๆ ด้วย
 
และเดือนพ.ค.นี้ จะเรียกประชุมทูตพาณิชย์ทั่วโลก เพื่อทบทวนเป้าหมายการส่งออกใหม่ โดยจะนำปัจจัยเสี่ยง ทั้งค่าแรงที่ปรับขึ้นวันละ 300 บาท อัตราดอกเบี้ย และค่าเงินบาท เข้ามารวมไว้ด้วย

อุตสาหกรรมส่งออกรับเละ

ด้านภาคอุตสาหกรรมนั้น มีทั้งกลุ่มที่ได้ประโยชน์ และกลุ่มที่สูญเสียอย่างหนัก  ตามเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นทุก ๆ 1 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จะทำให้เงินในกระเป๋าของผู้ส่งออกหายไป 20,000 ล้านบาท ตามค่าเฉลี่ยการส่งออกแต่ละเดือน แน่นอนว่า เอสเอ็มอีอุตสาหกรรมอาหาร, สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม, รองเท้า, เกษตรแปรรูป, ผลไม้กระป๋อง ล้วนเป็นกลุ่มที่รับเละ! เพราะใช้วัตถุดิบในประเทศจำนวนมาก ต่างจากพวกอุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์, ผู้ค้าน้ำมัน ที่ได้รับอานิสงส์จากการนำเข้า ชดเชยรายได้ที่หายไประดับหนึ่ง

ทั้งนี้ ยอมรับว่าการทำประกันความเสี่ยง ยังเป็นเครื่องมือเดียวของผู้ประกอบการที่ใช้ปกป้องค่าเงินผันผวนขณะนี้ แต่ปัจจุบันพบว่า ผู้ส่งออกทำประกันความเสี่ยงไว้เพียง 40% เท่านั้น ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ จึงน่าเป็นห่วงเอสเอ็มอี ที่ไม่ได้ทำประกันความเสี่ยง จึงรับผลกระทบเต็ม ๆ เพราะส่วนหนึ่ง นอกจากไม่อยากเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มแล้ว ยังไม่ต้องการทำเรื่องยุ่งยาก เพราะมูลค่าส่งออกไม่สูงนัก โดยเฉพาะเอสเอ็มอีต่างจังหวัด ขณะที่บางส่วนรักสนุกด้วยการลุ้นวัดดวง หรือเสี่ยงโชคอีกต่อ เช่น หากรับคำสั่งผลิตสินค้ามูลค่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ อัตราแลกเปลี่ยน 29.50 บาทต่อดอลลาร์ เมื่อช่วงส่งมอบสินค้าอีก 5-6 เดือนข้างหน้า อาจอยู่ที่ 30.50 บาท ก็จะทำให้มีเงินในกระเป๋าเพิ่มขึ้น

แต่อย่างไรก็ตาม ถือว่ามีความเสี่ยงสูงอยู่ดี เพราะหากช่วงใด โชคไม่เข้าข้าง จาก 29.50 อาจมาอยู่ที่ 28 บาทต่อดอลลาร์  เมื่อนั้น อาจจะขาดทุนมหาศาล และกรณีเลวร้ายที่สุด ถึงขั้นปิดกิจการไปเลย

โดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) จึงได้เร่งระดมผู้ประกอบการ 25 กลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบ ส่ง 7 มาตรการไม่ให้เงินบาทแข็งค่ากว่าภูมิภาคอื่น ๆ เสนอให้ ธปท.สัปดาห์นี้ โดยประเด็นสำคัญ ๆ เช่น ให้ ธปท. ยกเลิกการเปรียบเทียบค่าเงินบาทกับประเทศที่ไม่ใช่คู่แข่งขันทางการค้า เพื่อจะได้แก้ปัญหาให้ตรงจุด ปลดล็อกการถือครองเงินตราต่างประเทศ  ให้เอสเอ็มอีเข้าถึงกลไกและมาตรการต่าง ๆ มากขึ้น แยกเงินที่ไหลเข้ามาเป็นเงินต่างประเทศแปลงเป็นเงินบาท สนับสนุนการลงทุนภาครัฐและเอกชนโดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานมากขึ้น เป็นต้น

ชี้หมดยุคแทรกแซงค่าเงินบาท

ด้าน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ระบุว่า ปัจจุบันหมดยุคที่จะมาแทรกแซงค่าเงินบาทกันแล้ว ปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาดดีที่สุด โดยแทรกแซงแต่น้อย เพื่อประคองไม่ให้ผันผวนมากก็พอ ขณะเดียวกัน ควรมุ่งปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภายในให้ดีขึ้น ไม่ให้ภาวะค่าเงินบาทแข็งค่า มาทำให้เดือดร้อนทั่วหน้า เช่น ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต โครงการลงทุน ที่สำคัญ ผู้ประกอบการอย่าเอาค่าเงินบาทไปเป็นตัวกำหนดแผนการทำธุรกิจ 

เช่นเดียวกับ “กิตติรัตน์ ณ ระนอง” รองนายกฯ และ รมว.คลัง ที่ยืนยันหนักแน่นว่า การบริหารงานด้านนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลนั้น ต้องเดินหน้าตามแนวทางที่ตั้งไว้แต่ต้น คือ ปรับสมดุลและกระตุ้นกำลังซื้อภายในประเทศ เพื่อลดพึ่งพาการส่งออก โดยหวังให้กำลังซื้อของประชาชนเป็นอาวุธใหม่ ในการดันเศรษฐกิจให้เติบโต โดยเฉพาะนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ พร้อมสนับสนุนภาคธุรกิจให้มาลงทุนในประเทศมากขึ้น

นอกจากนี้ยังเร่งดำเนินโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ที่ประเทศว่างเว้นมานานหลายปี ด้วยเชื่อว่า เมื่อโครงการเหล่านี้ชัดเจน จะมีเงินอัดฉีดเข้าระบบได้ 500,000 ล้านบาท ดันจีดีพีโตถึง 5% โดยไม่จำเป็นต้องอัดนโยบายประชานิยมใด ๆ อีก

ขณะที่ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลก ประจำประเทศไทย ยืนยันว่า เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเร็วช่วงนี้ ไม่น่าจะเกิดจากการโจมตีค่าเงิน แต่มาจากเงินทุนต่างชาติ ที่ไหลเข้ามามาก โดยเฉพาะ ซึ่งเงินบาทมีทิศทางแข็งค่าต่อเนื่องมาหลายปีแล้วเพราะสภาพคล่องในระบบการเงินโลกมีสูงมาก จากมาตรการอัดฉีดเงินแก้วิกฤติการเงินของประเทศขนาดใหญ่

อย่างไรก็ตาม ต้องการให้รัฐบาลจัดทำ “กันชนทางการคลัง” ไว้รองรับ หากเกิดวิกฤติเศรษฐกิจขึ้นอีกครั้ง ด้วยการลดนโยบายประชานิยม หรือการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น เพื่อเก็บเงินสำรองไว้ใช้ยามฉุกเฉิน เพราะกังวลว่าหนี้สาธารณะของไทยในปีก่อนที่ 45% อาจเพิ่มเป็น 50% ของจีดีพีในปีนี้ และมีบางส่วนที่ถูกย้ายเข้าไปให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐรับภาระแทน ซึ่งมีผลทำให้แบงก์รัฐมีสถานะทางการเงินอ่อนแอลง และเป็นภาระหนี้ผูกพันของรัฐบาล

จะใช่สงครามค่าเงินหรือไม่ก็ตาม แต่มองโดยภาพรวมในขณะนี้แล้ว เห็นได้ชัดเจนว่า ทุกครั้งที่เงินบาทแข็งค่าขึ้น ผู้ส่งออกก็เดี้ยงทุกครั้งไป เรียกร้องขอยาแก้ไข้ตลอดเวลา ขณะที่รัฐบาล ไม่ได้จริงจังที่จะแก้ปัญหาระยะยาวอย่างครบวงจร ถ้าวันนี้ยังขนาดนี้ หากเกิดสงครามค่าเงินขึ้นจริง ๆ ทั้งรัฐทั้งเอกชน เคยลองถามตัวเองดูหรือยังว่า พร้อมรับมือแค่ไหน.

สอท.เข้าพบแบงก์ชาติแก้บาทแข็งอุ้มส่งออก

  นายพยุงศุักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) เตรียมเข้าพบนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในช่วงเวลา 15.30 น.ของวันนี้ (29 ม.ค.) เสนอมาตรการแก้ปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่า เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการส่งอออก 

ก่อนหน้านี้ ส.อ.ท.หารือถึงมาตรการในการดูแลค่าเงินบาทที่แข็งค่า โดยเตรียมเสนอต่อ ธปท.ใน 7 มาตรการ ประกอบด้วย 1.ดูแลค่าเงินบาทไม่ให้มีความผันผวน โดยแนะให้แบงค์ชาติเข้ามาดูแลให้เป็นพิเศษในช่วงนี้ 2.ดูแลเงินบาทไม่ให้แข็งค่าเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่ง เช่น อินโดนีเซีย 3.เร่งแก้เงื่อนไขการถือครองเงินตราต่างประเทศ 4.ช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEsให้เข้าถึงมาตราการการดูแลค่าเงิน โดยให้ธนาคารพาณิชย์ หรือ Exim Bank ลดวงเงินในการทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงของค่าเงิน 

5.แยกบัญชีวงเงินสินเชื่อไม่ให้เงินส่วนนี้มีผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ผันผวนในช่วงนี้ 6.ส่งเสริมการลงทุนของผู้ประกอบการใน-ต่างประเทศ โดยเร่งแก้ พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน และให้ BOI กำหนดมาตรการส่งเสริมดังกล่าวมีแรงจูงใจมากขึ้น 7.เร่งการลงทุนของภาครัฐ และเอกชน เนื่องจากช่วงที่เงินบาทแข็ง เป็นช่วงที่เหมาะสมมากที่สุด

ครม.ผ่าน 3 มาตรการ แก้ไขค่าเงินบาทแข็ง (ไอเอ็นเอ็น)

  ครม. อนุมัติ 3 มาตรการ แก้ไขค่าเงินบาทแข็งค่า เก็บภาษีต่างชาติถือบอนด์ ร้อยละ 15 ยันไม่ได้แทรกแซงการทำงานของ ธปท.
 นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลัง การประชุมคณะรัฐมนตรี ในวันนี้ (12 ตุลาคม) ว่า ที่ประชุมได้อนุมัติ 3 มาตรการ ในการดูแลผู้ประกอบการส่งรายย่อย หรือ SME หลังได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว 
 - มาตรการแรกจะเป็นการยกเลิกมาตรการ การยกเว้นการหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับผู้ถือพันธบัตรของรัฐที่เป็นชาวต่างชาติ
 - มาตรการที่สองจะเป็นมาตรการส่งเสริมในการลงทุนในต่างประเทศ
  ซึ่งทั้งมาตรการที่ 1 และ มาตรการที่ 2 นี้ จะช่วยลดแรงกดดันที่ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น 
   - มาตรการที่สามจะเป็นการให้ความช่วยเหลือสภาพคล่อง กับ SME วงเงินประมาณ 10,000 ล้านบาท ผ่านทางธนาคารของรัฐ โดยจะให้กู้รายละไม่เกิน 5,000,000 บาท ในอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 
  นายกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า มาตรการข้างต้น เป็นการวางแนวทางในการช่วยเหลือและลดแรงกดดันของค่าเงินบาท ซึ่งไม่ถือเป็นการแทรกแซงการทำงานของทางธนาคารแห่งประเทศไทย ในการดูแลอัตราแลกเปลี่ยน พร้อมกับมองว่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องอีก 


 รายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (ฉบับย่อ)

ครั้งที่ 1/2556 วันที่ 9 มกราคม 2556 ธนาคารแห่งประเทศไทย

เผยแพร่ ณ วันที่ 23 มกราคม 2556

คณะกรรมการที่เข้าร่วมประชุม

นายประสาร  ไตรรัตน์วรกุล (ประธาน) นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ (รองประธาน) นางทองอุไร ลิ้มปิติ 

นายอำพน กิตติอำพน นายศิริ การเจริญดี นายณรงค์ชัย อัครเศรณี และนายอัศวิน คงสิริ

  • ภาวะตลาดการเงิน

ความเชื่อมั่นในตลาดการเงินโลกปรับดีขึ้นหลังสหรัฐฯสามารถหาข้อยุติเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาฐานะการคลัง (Fiscal Cliff) ได้ในระดับหนึ่ง ส่งผลให้เงินสกุลหลักส่วนใหญ่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ. ยกเว้น

เงินเยนที่อ่อนค่าลงจากการคาดการณ์มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมของรัฐบาลใหม่ ขณะที่เงินทุนไหลเข้าในภูมิภาคกลับมาเร่งขึ้นจากเงินลงทุนในตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตร ตามสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ดีขึ้น สำหรับเงินบาทแข็งค่าขึ้นค่อนข้างเร็วหลังจากได้รับปัจจัยบวกตามการเจรจา Fiscal Cliff แต่โดยรวมยังสอดคล้องกับทิศทางค่าเงินของภูมิภาค 

อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงินทรงตัวใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับเพิ่มขึ้นทุกระยะหลังการประชุมครั้งก่อน สะท้อนมุมมองต่อเศรษฐกิจที่ดีขึ้นและ การคาดการณ์ของตลาดว่า กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งนี้ 

  • ภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศ

เศรษฐกิจโลกในภาพรวมฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป และมีสัญญาณที่ดีขึ้นจากการประชุมครั้งก่อนโดยเศรษฐกิจสหรัฐฯได้รับแรงสนับสนุนจากภาคการจ้างงานและภาคที่อยู่อาศัยที่ค่อยๆปรับดีขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงภาคธุรกิจมีความพร้อมที่จะกลับมาลงทุนหลังนโยบายการคลังมีความชัดเจนมากขึ้น อย่างไรก็ดีความไม่แน่นอนในการปรับเพิ่มเพดานหนี้และการปรับลดรายจ่าย  (Sequestration) ซึ่งต้องเจรจาให้แล้วเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ยังคงเป็นความเสี่ยงสำคัญที่อาจกระทบความเชื่อมั่นในระยะสั้น สำหรับเศรษฐกิจจีนปรับดีขึ้นต่อเนื่อง โดยมีอุปสงค์ภายในประเทศเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญ เช่นเดียวกับ เศรษฐกิจเอเชียส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม กรรมการบางท่านเห็นว่าปัญหาข้อพิพาทเขตแดนระหว่างจีนและญี่ปุ่นยังเป็นความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจภูมิภาคที่ต้องติดตามต่อไป ในอีกด้านหนึ่ง เศรษฐกิจกลุ่มประเทศยูโร มีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่อง แต่คาดว่าจะค่อยๆฟื้นตัวในปีนี้ตามแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกหลักโดยเฉพาะเยอรมนี ส่วนหนึ่งจากความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาหนี้สาธารณะในกรีซซึ่งช่วยลดความเสี่ยงได้มาก สำหรับเศรษฐกิจญี่ปุ่นยังคงอ่อนแอทั้งจากการส่งออกและอุปสงค์ภายในประเทศ ขณะที่นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่คาดว่าจะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้จำกัด

เสถียรภาพด้านราคายังอยู่ในเกณฑ์ดี แรงกดดันเงินเฟ้อทรงตัวอยู่ในระดับต่ า ธนาคารกลางส่วนใหญ่จึงยังคง

อัตราดอกเบี้ยนโยบายหลังผ่อนคลายลงในช่วงก่อนหน้า เพื่อรอประเมินความชัดเจนของพัฒนาการของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจภายในประเทศในระยะต่อไป

  • ภาวะเศรษฐกิจในประเทศ

ประมาณการเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ขยายตัวดีกว่าที่ประเมินในการประชุมครั้งก่อน จากปสงค์ภายในประเทศที่ขยายตัวสูงกว่าคาด ทั้งการบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนภาคเอกชน มองไปข้างหน้าการใช้สิทธิในโครงการรถคันแรกและความสามารถในการเร่งผลิตของบริษัทผลิตรถยนต์ที่มากเกินคาดและการปรับโครงสร้างอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปี  2556 เป็นปัจจัยสนับสนุนอุปสงค์ในประเทศที่เพิ่มขึ้นมาจากการประชุมครั้งก่อน ขณะที่การส่งออกคาดว่าได้ผ่านจุดต่่าสุดมาแล้ว และเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวในสินค้าและตลาดส่วนใหญ่ สอดคล้องกับแนวโน้มการส่งออกของประเทศอื่นในภูมิภาค สำหรับภาคบริการและการท่องเที่ยวขยายตัวดีตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่สูงมากในช่วงก่อนหน้า 

ในภาพรวมผลกระทบจากการปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่่ารอบแรกต่อ profit margin ของธุรกิจ การจ้างงานและระดับราคามีไม่มาก เหตุผลหลักเนื่องจาก 1)  ธุรกิจมีการปรับตัว เช่น ใช้เครื่องจักรมากขึ้น  2) ตลาดแรงงานตึงตัวสูงและมีความยืดหยุ่นในการเคลื่อนย้ายแรงงาน และ 3) การแข่งขันในประเทศที่สูงทำให้การปรับขึ้นราคาสินค้าทำได้ยาก ซึ่งท่าให้คาดว่าการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่่ารอบสองจะส่งผลกระทบไม่มาก เช่นกัน อย่างไรก็ดี คณะกรรมการฯ จะติดตามผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้ในระยะข้างหน้า 

คณะกรรมการฯ ประเมินว่าแรงส่งของเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ที่ดีกว่าคาด และปัจจัยสนับสนุนอุปสงค์ในประเทศที่มีมากขึ้นในระยะข้างหน้า ส่งผลให้การคาดการณ์เศรษฐกิจส่าหรับทั้งปี 2555 ละ ปี 2556 ปรับสูงขึ้นเล็กน้อยจากการประชุมครั้งก่อน มาอยู่ที่ร้อยละ 5.9 และร้อยละ 4.9 ต่อปี ตามลำดับโดยการส่งออกจะทยอยกลับมามีบทบาทต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจมากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2556 ควบคู่ไปกับอุปสงค์ในประเทศ ตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ค่อยๆปรับดีขึ้น สำหรับความเสี่ยงด้านต่ำต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจปรับลดลงชัดเจนจากความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลกที่ลดลง แต่ยังคงมากกว่าความเสี่ยงด้านสูง ในส่วนของแนวโน้มเงินเฟ้อในระยะต่อไป ยังทรงตัวอยู่ในระดับต่่าใกล้เคียงกับการประชุม ครั้งก่อน 

  • การพิจารณานโยบายการเงินที่เหมาะสม

คณะกรรมการฯ ประเมินว่า ตลอดปีที่ผ่านมานโยบายการเงินที่ผ่อนปรนมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยจากอุทกภัยและรองรับผลกระทบของเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอได้อย่างน่าพอใจภายใต้ภาวะที่เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปและยังคงมีความไม่แน่นอน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังทรงตัวอยู่ในกรอบเป้าหมาย นโยบายการเงินที่ผ่อนปรนยังเป็นนโยบายที่เหมาะสมในการสนับสนุนให้การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้าเป็นไปอย่างต่อเนื่อง

  คณะกรรมการฯ ได้หารือเกี่ยวกับทางเลือกที่เหมาะสมในการด าเนินนโยบายการเงิน และมีข้อสรุปดังนี้

(1)  เศรษฐกิจโลกในภาพรวมมีเสถียรภาพมากขึ้น จากเศรษฐกิจสหรัฐฯและจีนที่เริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวชัดเจน และเศรษฐกิจเอเชียที่ขยายตัวดีจากแรงส่งของอุปสงค์ในประเทศ แม้คาดว่าปัญหาหนี้สาธารณะในกลุ่มประเทศยูโรและปัญหาฐานะการคลังของสหรัฐฯจะยังคงเป็นความเสี่ยงสำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในระยะต่อไป แต่แนวทางการแก้ปัญหาดังกล่าวมีแนวโน้มคืบหน้าเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ความเสี่ยง Tail risk ของเศรษฐกิจโลกลดลงชัดเจน

(2)  เศรษฐกิจไทยขยายตัวในเกณฑ์ดี จากการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน ประกอบกับมีแรงสนับสนุนจากมาตรการภาครัฐ ซึ่งจะทำให้แรงส่งของเศรษฐกิจในประเทศเป็นไปได้อย่างต่อเนื่องอย่างน้อยถึงกลางปี 2556 ขณะที่การส่งออกเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวในเกือบทุกหมวดสินค้าและตลาด 

(3)  ภาวะการเงินในปัจจุบันอยู่ในระดับผ่อนปรนเพียงพอที่จะรองรับความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศที่ยังเหลืออยู่ สะท้อนจากอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงที่ยังติดลบเล็กน้อย และสินเชื่อภาคเอกชนที่ยังขยายตัวในอัตราสูงต่อเนื่อง ขณะที่การเร่งตัวของสินเชื่อภาคเอกชนโดยเฉพาะสินเชื่อภาคครัวเรือน บางประเภทอาจก่อให้เกิดการเร่งตัวของหนี้ครัวเรือน และนำไปสู่การสะสมความไม่สมดุลในระบบการเงินได้ 

คณะกรรมการฯ จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 2.75 ต่อปี 

ทั้งนี้ คณะกรรมการบางท่านให้ข้อสังเกตว่า แม้ระดับอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันมีความเหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจการเงินของประเทศ แต่จำเป็นต้องระมัดระวังและติดตามประเด็นความเสี่ยงที่อาจกระทบเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินของประเทศในระยะข้างหน้าด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเร่งตัวของสินเชื่อและหนี้ภาคครัวเรือน  ความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้ายในภาวะที่ประเทศหลักยังดำเนินนโยบายการเงินผ่อนปรนต่อเนื่อง และระดับหนี้สาธารณะของภาครัฐที่แม้ปัจจุบันยังอยู่ในกรอบความยั่งยืนทางการคลังแต่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น

   สายนโยบายการเงิน

  23  มกราคม 2556

" />

" />

"โกร่ง"จวกธปท.ไร้กึ๋น-ค่าเงินบาทแข็ง ดีแต่คิดขึ้นดอกเบี้ย-ชี้ต้นตอดูดเงินไหลเข้าไทย

  นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง เปิดเผยภายหลังการประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อติดตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งผลกระทบจากนโยบายการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท และการแข็งค่าของเงินบาท โดยมีน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เมื่อวันที่ 30 ม.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาลว่า นายกฯ ได้มอบหมายให้ตนในฐานะรมว.คลัง ไปประชุมร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) รวมทั้งนักเศรษฐศาสตร์ที่ไม่ได้อยู่ในธปท.และกนง. เพื่อหาทางแก้ปัญหาค่าเงินผันผวน

  "มีการตั้งข้อสังเกตในที่ประชุมว่า มาตรการที่มีอยู่เป็นการทวนกระแสการแข็งค่าของเงิน เป็นการทวนการไหลเข้าของเงินในระยะสั้น อาจไม่ได้เป็นมาตรการที่พอดิบพอดีกัน ซึ่งในการหารือก็มีนายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการ ธปท. นายพันศักดิ์ วิญญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาด้านนโยบายของนายกรัฐมนตรี และผู้ว่าการ ธปท. ด้วย แต่ยืนยันว่าจะไม่มีมาตรการควบคุมการไหลเข้าออกของเงินเด็ดขาด และจะไม่ใช้มาตรการเก็บภาษีจากผลตอบแทนต่างๆ" นายกิตติรัตน์กล่าว

  นายกิตติรัตน์กล่าวว่า ในระหว่างการประชุม นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้รายงานว่า ภายหลังที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม  (เอสเอ็มอี) ที่ได้รับผลกระทบจากการปรับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ซึ่งเอสเอ็มอีที่ส่งออกก็ได้รับผลกระทบจากเงินบาทแข็งค่าด้วย จึงต้องหามาตรการช่วยเหลือ ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้จะทำงานร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) สภาหอการค้าไทย และสถาบันการเงิน อีกทั้งจะตั้งรมว.อุตสาหกรรม และรมว.พาณิชย์ เพิ่มเติมในคณะกรรมการชุดนี้ด้วย

  วันเดียวกัน นายวีรพงษ์กล่าวปาฐกถาพิเศษหัวข้อ "Thailand"s Economic Outlook 2013" จัดโดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ที่โรงแรมเชอราตัน สุขุมวิท ว่า ขณะนี้มาตรการกระตุ้นและอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจจากสหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่น สร้างความกังวลต่อปัญหาเงินร้อนที่เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้ของไทยอย่างร้อนแรง ทั้งที่ปัจจัยพื้นฐานในประเทศ ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนไม่เปลี่ยนแปลง แต่หุ้นปรับตัวขึ้นสูง สะท้อนเงินทุนต่างชาติที่ไหลเข้ามาการเก็งกำไร ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นและอาจเกิดปัญหาฟองสบู่ในตลาดเงิน จนอาจลุกลามเข้าไปในภาคอสังหาริมทรัพย์

  ทั้งนี้ เงินทุนที่ไหลเข้าเกิดจากดอกเบี้ยนโยบายของไทยอยู่ที่ 2.75% ที่สูงกว่าของสหรัฐอยู่ที่ 0.25% ซึ่งส่วนตัวเห็นว่าธปท.ควรปรับลดดอกเบี้ยลงเพื่อลดมูลเหตุจูงใจการไหลเข้าของเงิน พร้อมกับมีมาตรการสกัดกั้นการไหลเข้าของเงินทุนระยะสั้น และต้องไม่ใช่การใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ โดยมองว่าหากเงินบาทแข็งค่าในกรอบ 28 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ภาคธุรกิจจะอยู่ไม่ได้

  "สิ่งสำคัญคือ ผู้บริหารนโยบายการเงินไม่เข้าใจเรื่องการเชื่อมโยงกันระหว่างส่วนต่างดอกเบี้ยกับเงินทุนเคลื่อนย้ายที่น่าเป็นห่วงอย่างมาก เพราะธปท.มีความคิดแต่จะขึ้นดอกเบี้ย ยิ่งทำให้สถานการณ์เลวร้าย แม้ผมเป็นประธานธปท.ก็ยังพูดกันไม่ได้ ซึ่งการปล่อยให้ดอกเบี้ยของไทยสูงกว่าของสหรัฐนานเกินไป ทำให้การปรับลดส่วนต่างดอกเบี้ยลงมาอยู่ในระดับเดียวกันหรือต่ำกว่าต้นทุนของเงินไหลเข้าที่ระดับ 0.75-1% เพื่อช่วยให้เงินบาทอ่อนค่าลงถือว่าเหมาะสม แต่คงเป็นเรื่องที่ทำได้ยากแล้ว เพราะขณะนี้สินเชื่อและราคาอสังหาริมทรัพย์สูงขึ้นกลับจะยิ่งซ้ำเติมให้สินเชื่อขยายตัวสูงขึ้น อาจซ้ำรอยวิกฤตต้มยำกุ้งเมื่อปี 2540" นายวีรพงษ์กล่าว

  นอกจากนี้ จากการหารือถึงผลกระทบการแข็งค่าของเงินบาทที่มีต่อผู้ส่งออกนั้น ในที่ประชุมก็ไม่เห็นมีใครเสนอวิธีที่ทำให้เงินบาทอ่อนค่าลง มีแต่แนวทางสนับสนุนให้เงินออกไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งวิธีเหล่านั้นเป็นเพียงแค่ยาแดง ยาดม ยาลม ยาหม่อง เท่านั้น

  นายบัณฑิต นิจถาวร กรรมการผู้อำนวยการ IOD กล่าวว่า ในภาวะนี้ไม่ควรกดดันให้ลดดอกเบี้ยนโยบายเพื่อสกัดเงินทุนไหลเข้า เพราะสาเหตุที่ทำให้เงินทุนไหลเข้ามีหลายปัจจัยมากกว่าที่คิด โดยเฉพาะปัจจัยจากต่างประเทศ

  ด้านนายศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวิจัย บริษัท หลักทรัพย์ภัทร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เบื้องต้นประเมินว่าเงินทุนเคลื่อนย้ายจะยังคงไหลเข้ามาลงทุนในไทยต่อเนื่องไปอีก 2 ปีแน่นอน

  นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) กล่าวว่า สศค.ติดตามภาวะค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในขณะนี้ พบว่ายังอยู่ในระดับที่สศค.คาดการณ์ไว้ว่าปีนี้ค่าเงินบาทอยู่ที่ 30.7 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ สศค.ยังคาดการณ์ว่าไตรมาส 4/2555 เศรษฐกิจจะขยายตัว 15.9% ผลักดันให้ทั้งปี 2555 ขยายตัวได้ 5.7% การส่งออกอยู่ในระดับ 3.1% ต่ำกว่าคาดการณ์ที่ 3.9% ส่วนในปี 2556 คาดว่าจะขยายตัวได้ 5% มูลค่าการส่งออกขยายตัวได้ 10% อย่างไรก็ตาม สศค.จะปรับประมาณการเศรษฐกิจปีนี้ใหม่ในช่วงเดือนมี.ค.2556


                                    

นายกฯสั่ง "โต้ง" จับเข่าคุยแบงก์ชาติแก้ปัญหาค่าเงินบาท

วันพุธที่ 30 มกราคม 2556 เวลา 21:47 น.

วันนี้ ( 30 ม.ค.) นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง  เปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อติดตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ว่า นายกฯได้มอบหมายให้ตนเองในฐานะรมว.คลัง ไปหารือร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) รวมทั้งนักเศรษฐศาสตร์ที่ไม่ได้อยู่ในธปท.และกนง. เพื่อหาทางแก้ปัญหาค่าเงินผันผวนต่อไป  โดยยืนยันว่าสิทธิและหน้าที่ในการกำกับดูแลนโยบายการเงินยังเป็นของ ธปท.และ กนง.เช่นเดิม

ทั้งนี้มีการตั้งข้อสังเกตในที่ประชุมว่า มาตรการที่มีอยู่เป็นการทวนกระแสการแข็งค่าของเงินบาทซึ่งเป็นการทวนการไหลเข้าของเงินในระยะสั้น อาจไม่ได้เป็นมาตรการที่พอดิบพอดีกัน ซึ่งในการหารือมีทั้งนายวีรพงษ์ รามางกูร  ประธานคณะกรรมการธปท. นายพันศักดิ์ วิญญรัตน์  ประธานที่ปรึกษาด้านนโยบายของนายกรัฐมนตรี ผู้ว่าการธปท. ซึ่งเฉพาะในส่วนของนักเศรษฐศาสตร์  นักการเงิน เห็นว่ามีความจำเป็นต้องดำเนินนโยบายการเงิน ที่ดูแลการไหลเข้าของเงินทุนที่มีความเสี่ยงว่าเป็นเงินทุนระยะสั้น

นอกจากนี้นายกรัฐมนตรีได้แสดงความเป็นห่วงสถานการณ์ค่าเงินบาทที่ผันผวนและแข็งค่าขึ้น ซึ่งทางธปท.ได้รายงานว่า ในช่วงสั้น ๆ มีเงินทุนไหลเข้ามา  บางส่วนเข้ามาลงทุนในตราสาร บางส่วนเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ โดยอาจถือการลงทุนยาวก็ได้ แต่เกิดขึ้นในช่วงสั้นและมีความเสี่ยง เพราะฉะนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่เงินทุนไหลเข้าได้ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น  ขณะที่แนวทางหรือมาตรการในการดูแลค่าเงินบาท จะเป็นมาตรการระยะกลางและระยะยาว เช่น การส่งเสริมนักธุรกิจไทยไปลงทุนต่างประเทศ

อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าจะไม่มีมาตรการที่ควบคุมการไหลเข้าออกของเงินเด็ดขาด เพราะต้องยอมรับว่าไทยเป็นประเทศเปิด แต่ใช้กลไกทำงานที่เป็นทิศทางของการบริหารนโยบายการเงิน และจะไม่ใช้นโยบายควบคุมและไม่ใช้มาตรการเก็บภาษีจากผลตอบแทน ไม่ว่า ภาษีมูลค่าเพิ่มจากกำไรของการลงทุน ภาษีผลตอบแทนดอกเบี้ยและเงินปันผล เพราะไม่ใช่นโยบายการเงิน

นายกิตติรัตน์  กล่าวด้วยว่า ในระหว่างการประชุม นายนิวัฒน์ธำรง  บุญทรงไพศาล  รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้รายงานว่าหลังจากที่ครม.เห็นชอบให้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาให้ความช่วยเหลือเอสเอ็มอีแล้ว จะเร่งทำงานร่วมกับภาคเอกชนโดยจะนำรูปแบบของสถาบันการเงินและวิธีการขององค์กรขนาดใหญ่มาช่วยเหลือ โดยเตรียมแต่งตั้งรมว.อุตสาหกรรมและรมว.พาณิชย์เข้ามาเพิ่มเติมด้วย

 

แบงก์ชาติลั่นพร้อมออกมาตรการสกัดบาทแข็ง

 

       นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ช่วง 1-2 วันนี้ ธปท.ยอมรับว่า ค่าเงินบาทไทยแข็งค่าขึ้นค่อนข้างเร็วเมื่อเทียบกับเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ สาเหตุส่วนหนึ่งเป็นผลจากเงินทุนต่างประเทศที่ไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้ไทยจำนวนมาก อีกทั้งเงินที่เข้ามาส่วนใหญ่เป็นการลงทุนระยะสั้น ซึ่งเป็นสัญญาณของการเก็งกำไรในส่วนของอัตราแลกเปลี่ยน โดยเรื่องนี้ทางธปท.เองก็กำลังติดตามดูอยู่อย่างใกล้ชิด

"อัตราแลกเปลี่ยนโดยรวมๆ ก็เคลื่อนไหวไปทิศทางเดียวกับสกุลเงินอื่นในภูมิภาค เพียงแต่สลับกันบ้าง อย่างปีที่แล้วเราแข็งค่าน้อยกว่าสกุลอื่น มาปีนี้เราก็แข็งค่ากว่าเขาบ้าง ก็เป็นธรรมชาติ แต่สำหรับผู้ที่อยู่ในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเวลานี้คงต้องระมัดระวังให้มาก เพราะเริ่มเห็นสัญญาณการเก็งกำไรระยะสั้น และการที่เงินบาทเคลื่อนไหวในทิศทางแบบนี้ก็เหมือนว่ามีการมองข้ามปัจจัยเสี่ยงในตลาดการเงินระหว่างประเทศไป"นายประสารกล่าว

สำหรับมาตรการดูแลการเก็งกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนนั้น เขากล่าวว่า เรื่องนี้ธปท.ได้เตรียมเครื่องไม้เครื่องมือในการดูแลไว้พร้อมอยู่แล้ว และธปท.จะไม่ผูกมัดตัวเองว่าจะไม่มีการใช้มาตรการเหล่านี้ เพราะหากเห็นว่าถ้าใช้แล้วส่งผลดีต่อประเทศชาติ ทางธปท.ก็พร้อมนำมาตรการที่มีอยู่เหล่านี้มาใช้

อย่างไรก็ตาม นายประสาร ปฎิเสธที่จะให้ความเห็นว่า ธปท.จะเข้าแทรกแซงในตลาดการเงินหรือไม่ โดยระบุว่า การแทรกแซงในตลาดการเงินนั้นมีต้นทุนในการดำเนินการ และอย่างที่ธปท.มีการชี้แจงมาตลอดว่า ธปท.ต้องการให้การเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนเป็นไปตามกลไกตลาดและตามพื้นฐานของเศรษฐกิจ ยกเว้นแต่ว่าการเคลื่อนไหวจะไม่เป็นไปตามนั้น

 

"ไม่คิดว่าการแข็งค่าของอัตราแลกเปลี่ยนจะเป็นในลักษณะของ one way bet เพราะเงินที่เข้ามา เป็นลักษณะของการลงทุนระยะสั้น ซึ่งพวกนี้เขาพร้อมจะปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นหากข่าวต่างๆ ที่มีผลต่อการลงทุนมีการเปลี่ยนแปลง ก็อาจทำให้อัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวนได้ ดังนั้นใครที่อยู่ในตลาดเงินเวลานี้ก็ต้องระมัดระวังไว้บ้าง"นายประสารกล่าว

สำหรับผลกระทบของผู้ประกอบการภาคส่งออกนั้น เขายอมรับว่า ช่วงนี้ถือเป็นความท้าทายของผู้ประกอบการกลุ่มดังกล่าว โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายเล็กที่มีกำไรขั้นต้นน้อยและไม่สามารถต่อรองกับลูกค้าได้ แต่สำหรับผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มีกำไรขั้นต้นสูง มีอำนาจในการต่อรองมากก็ไม่น่าจะมีปัญหาเท่าไร

นายประสาร กล่าวด้วยว่า ปกติ ธปท.จะมีการพบปะหารือกับตัวแทนผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมต่างๆ อยู่แล้ว และในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้านี้ เข้าใจว่า ธปท. จะมีการพบปะกับทางสภาหอการค้าไทย ซึ่งเป็นการหารือตามวาระปกติที่มีเป็นประจำทุกปี

ส่วนคำถามที่ว่าการไหลเข้าของเงินทุนต่างประเทศจำนวนมากนี้ เป็นเพราะเขาผิดหวังจากการโจมตีค่าเงินดอลลาร์ฮ่องกงที่ไม่สำเร็จ จึงหันมาเก็งกำไรในอัตราแลกเปลี่ยนสกุลต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียรวมทั้งค่าเงินบาทไทยแทนใช่หรือไม่ ซึ่งนายประสาร กล่าวว่า เงินที่ไหลเข้าฮ่องกงกับไทยนั้น มีความแตกต่างกันในการดูแล โดยฮ่องกงธนาคารกลางเป็นผู้เข้าดูแลตลาดการเงิน ในขณะที่ของไทยนั้น กลไกตลาดเป็นตัวดูแล เพราะถ้าเงินไหลเข้ามาทำให้ค่าเงินแข็งขึ้น นักลงทุนแลกเงินได้น้อยลง อย่างนี้โอกาสที่จะไหลเข้ามาเพิ่มก็อาจจะน้อยลงได้

"มันต่างกัน อย่างของฮ่องกงเป็นอีกระบบ ของเขาใช้วิธีตรึงค่าเงินไว้กับที่ เมื่อเงินไหลเข้ามา ของเขาก็จะเหมือนกับการ bet กับเจ้ามือว่า เจ้ามือจะยืนได้แค่ไหน แต่ของเรามันผ่อนเอา แทนที่จะเข้ามาปะทะ ของเราก็ปล่อยให้กลไกตลาดเป็นตัวช่วยปรับเปลี่ยน เรายังคอยหลบหลีกไม่เข้าปะทะได้"นายประสารกล่าว

สำหรับทิศทางเงินทุนเคลื่อนย้ายนั้น เขากล่าวว่า ปีนี้ก็มีโอกาสที่เงินทุนต่างชาติยังเป็นทิศทางไหลเข้าได้อยู่ เพราะถ้าดูภาพรวมเศรษฐกิจไทยรวมถึงเศรษฐกิจในกลุ่มภูมิภาคเอเชียยังถือว่าเติบโตได้ดี เพียงแต่เราก็มีมาตรการสนับสนุนให้นักลงทุนไทยออกไปลงทุนต่างประเทศ อย่างปีที่ผ่านมานักลงทุนไทยออกไปลงทุนต่างประเทศรวมกันกว่า 1.9 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่เงินทุนไหลเข้ามามีประมาณ 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ สัดส่วนจึงถือว่าใกล้เคียงกัน

 

สอท.เสนอ 7มาตรการแก้ปัญหาบาทแข็ง

นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลงการณ์การประชุมหารือระหว่าง ส.อ.ท. และสมาคมภาคการค้าเรื่อง “ท่าทีภาคเอกชนต่อนโยบายด้านอัตราดอกเบี้ยกับสภาวะการแข็งค่าของเงินบาท” ว่า ที่ประชุมเสนอแนวทางการแก้ปัญหาค่าเงินบาท 7 ข้อ ได้แก่

1. ขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ซึ่งจะประชุมในวันที่ 20 ตุลาคม 2553 ลดดอกเบี้ยนโยบายให้เหลือร้อยละ 1.25 เป็นอย่างน้อย จนถึงไตรมาส 1 ปี 2554 เป็นอย่างน้อย เนื่องจากดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่ในอัตราร้อยละ 1.25 - 1.75 ไม่เป็นปัจจัยที่จะทำให้เงินเฟ้อขยายตัวอย่างเป็นนัยสำคัญ เห็นได้จากดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ก็ไม่ได้มีการปรับตัวตามอัตราดอกเบี้ย ของ ธปท. อยู่แล้ว ประกอบกับ อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมระหว่างธนาคาร (Interbank) ก็มีอัตราต่ำกว่าดอกเบี้ยนโยบาย จึงไม่มีเหตุผลให้สถาบันการเงินเร่งการปล่อยกู้ หรือ ทำให้เกิดการใช้จ่ายจนเป็นปัญหาของฟองสบู่เหมือนในอดีต

นายพยุงศักดิ์ กล่าวต่อว่า ธปท.อย่าปรับดอกเบี้ยโดยใช้เหตุผลของเรื่องเงินเฟ้อ เนื่องจากปัจจุบันประมาณการเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 3.4 ซึ่งต่ำมาก นอกจากนี้ยังคาดว่าเงินเฟ้อทั่วไปปี 2554 จะอยู่ที่ร้อยละ 3.2 แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยอาจจะมีการติดลบบ้างก็ไม่ได้เป็นปัจจัยที่เป็นนัยสำคัญต่อเศรษฐกิจประเทศไทย

"ภายใต้ความแปรปรวนของระบบการเงินโลก ธปท. ไม่ควรใช้นโยบายการเงินในการควบคุมเงินเฟ้อ ขณะเดียวกันภายใต้วิกฤติ Currencies War Crisis ธปท. ไม่ควรใช้ดอกเบี้ยนโยบายสูง และไม่สามารถปล่อยระบบการเงินและอัตราแลกเปลี่ยนไปตามกลไกตลาด เพราะมีปัจจัยตัวแปร จากการเข้ามาเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยน และการปั่นเงินผ่านตลาดทุนและตราสารหนี้"

 

2. มาตรการต่างๆ ทั้งของกระทรวงการคลัง และ ธปท. ที่ออกมาแล้ว ขอให้ผลักดันให้มีผลในทางปฏิบัติ การตั้งคณะกรรมการทำงานร่วมกับภาคเอกชนในการขับเคลื่อนมาตรการต่างๆ ไปสู่การปฏิบัติที่เป็นจริง ซึ่งต่างชาติจะเห็นช่องโหว่และเร่งเข้ามาเก็งกำไร เช่น การชำระค่าระวางเรือและค่าสินค้า ซึ่งยังติดปัญหาด้านเทคนิคกับกรมสรรพากร รวมถึงการปล่อยสินเชื่อภายใต้โครงการ Packing Loan และ Soft Loan ขอให้มีการกำหนดการพิจารณาหลักประกันในลักษณะผ่อนปรนหลักประกันหรือ PSA ฯลฯ

3. ธปท. ต้องส่งสัญญาณอย่างจริงจังในการดูแลไม่ให้เงินผันผวนไปตามการเก็งกำไร

4. ขอให้ ธปท. เข้มงวดเงินที่เข้ามาในลักษณะเก็งกำไรทั้งในตลาดทุน และตลาดตราสารหนี้ โดยอาจจัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจขึ้นมาตรวจสอบติดตามและควบคุมเงินเข้าและออกซึ่ง มีลักษณะเก็งกำไร โดยเฉพาะควรต้องเพิ่มแบบฟอร์มให้นักลงทุนต่างชาติต้องระบุว่าจะนำมาเงินมา ใช้ในกิจกรรมใด ในธุรกิจประเภทใด และเมื่อมีการนำเงินออก แหล่งที่มาของรายได้นั้นมาจากใด เป็นต้น ซึ่งจะทำให้การทำธุรกรรมมีความเข้มงวด รัดกุม

5.ขอให้ ธปท. ออกกฎเกณฑ์ควบคุมและจำกัดจำนวนเงินกู้ยืม และ แลกเปลี่ยนเงินบาท ของสถาบันการเงิน และ/หรือ ผู้ประกอบการธุรกิจด้านการเงิน รวมถึง บริษัทในเครือ ในการจำกัดการกู้เงินบาทไปแลกดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเป็นการจำกัดการเก็งกำไรเงินในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนที่ซื้อขายในต่าง ประเทศ

6. ขอให้ ธปท. และกระทรวงการคลัง ร่วมมือในการหามาตรการที่เข้มข้นเพิ่มขึ้นกว่าที่ออกมาแล้ว โดยใช้นโยบายทั้งการเงิน และการคลัง สอดประสานในการสกัดกดดัน เพื่อลดการนำเงินเข้ามาเก็งกำไรในระยะสั้น

และ 7. ขอให้พิจารณาดำเนินการออกมาตรการชั่วคราวในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมของเงิน ทุนระยะสั้น ที่ไหลเข้ามาในประเทศ ในอัตราร้อยละ 2.0-4.0 ซึ่งปัจจุบันมีหลายประเทศที่ทำอยู่ เพื่อลดการไหลเข้าของเงินจนกว่าจะอยู่ในสภาวะปกติ

SCBEIC ประเมินเศรษฐกิจ Q1/2556 ดีปานกลาง คาด ธปท. ลดดอกเบี้ยเหลือ 2.25% ในกลางปีนี้

1 กุมภาพันธ์ 2013

info1

ศูนย์วิจัยฯ ไทยพาณิชย์ ประเมินเศรษฐกิจไตรมาส 1/2013 ยังเติบโตได้จากแรงหนุนการใช้จ่ายในประเทศ จับตาเงินทุนยังไหลเข้าต่อเนื่อง กดดันเงินบาทแข็งยืนระดับ 29.5 บาทต่อดอลลาร์ และลุ้น ธปท.ลดดอกเบี้ยนโยบายเหลือ 2.25% ในกลางปีนี้

วันที่ 31 มกราคม 2556 ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCBEIC) ประเมินภาพรวมเศรษฐกิจไตรมาส 1 ปี 2013 ในภาพว่า เศรษฐกิจไทยจะมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ 4.9% ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับดีปานกลาง โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนจากเศรษฐกิจภายในประเทศที่เติบโตค่อนข้างดี ทั้งจากการใช้จ่ายภายในประเทศ และการลงทุนในภาครัฐ

ในส่วนของภาคครัวเรือนยังได้แรงสนับสนุนจากนโยบายการคืนภาษีรถคันแรกของรัฐบาล ทำให้การบริโภคขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะมีการส่งมอบจำนวนรถยนต์ประมาณ 600,000 คัน ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2013 อีกทั้งมีการทยอยคืนเงินภาษีรถยนต์ในปี 2013 ให้กับผู้ขอใช้สิทธิประมาณ 40,000-50,000 ล้านบาท ที่บางส่วนจะนำไปสู่การบริโภค

ขณะที่ภาครัฐนั้น การลงทุนทั้งในและนอกงบประมาณรวมถึงรัฐวิสาหกิจ คาดว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 800,000 ล้านบาท หรือมากกว่าปีก่อนราว 18% โดยปัจจัยหลักจะมาจากการลงทุนเพื่อการบริหารจัดการน้ำ

สำหรับการลงทุนของภาคเอกชนนั้น น่าจะได้รับอานิสงส์จากการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศหรือ FDI ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะจากญี่ปุ่น ซึ่ง SCBEIC ประเมินว่า ในปี 2013 FDI ในไทยจะเพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 4 แสนล้านบาท โดยปัจจัยสำคัญที่จะทำให้นักลงทุนญี่ปุ่นลงทุนนอกประเทศมากขึ้นคือการขาดแคลนประชากรวัยทำงานในญี่ปุ่น และค่าเงินเยนที่ส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก อีกทั้งการที่นักลงทุนญี่ปุ่นชะลอการลงทุนในจีนและขยายโอกาสโดยเพิ่มการลงทุนในอาเซียนมากขึ้น โดยไทยยังคงเป็นจุดหมายการลงทุนหลักในอาเซียนของนักลงทุนญี่ปุ่นในปัจจุบัน

ส่วนการส่งออกปีนี้จะขยายตัวได้ในระดับต่ำราว 7.5% เนื่องจากกำลังซื้อจากประเทศคู่ค้าหลักยังมีแนวโน้มชะลอตัวในช่วงครึ่งปีแรก โดยสินค้าที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นชัดเจนจากปีก่อนหน้า ได้แก่ สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร และสินค้าอุตสาหกรรมในกลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วน

ขณะที่สินค้าอุตสาหกรรมกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์น่าจะมีการปรับตัวดีขึ้นบ้าง แต่อาจใช้เวลาพอสมควรในการปรับตัว ดังนั้น ธุรกิจจึงควรหันมาให้ความสนใจกับตลาดเพื่อนบ้านมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่ม CLMV (กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม) เนื่องจากเป็นตลาดที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง โดยในช่วงปี 2006-2011 การส่งออกของไทยไปกลุ่ม CLMV ขยายตัวเฉลี่ย 20% ต่อปี

ในส่วนของภาคการเงินนั้น ในปี 2013 จะมีสภาพคล่องจำนวนมากเข้าสู่ตลาดการเงินของโลกจากมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลัก ซึ่งมีแนวโน้มว่าสภาพคล่องจำนวนหนึ่งจะไหลเข้ามาในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่รวมถึงประเทศไทย และอาจส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเงินหากอัตราแลกเปลี่ยนมีการปรับตัวแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว

info_002

ทาง SCBEIC คาดว่า ธปท. จะมีมาตรการผ่อนคลายเงินทุนเคลื่อนย้ายเพิ่มเติม เพื่อสนับสนุนเงินทุนออกไปนอกประเทศมากขึ้น และแทรกแซงค่าเงินบาทเพื่อลดความผันผวนและรักษาระดับค่าเงินบาท ไม่ให้เคลื่อนไหวต่างจากค่าเงินต่างๆ ในภูมิภาคมากนัก รวมไปถึงอาจมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 2 ครั้ง ให้เหลือ 2.25% ภายในกลางปีนี้ เพื่อลดส่วนต่างอัตราผลตอบแทนในและนอกประเทศ ซึ่ง ธปท. สามารถทำได้เนื่องจากอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่ไม่น่ากังวล โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2013 น่าจะอยู่ที่ราว 3% ทั้งนี้ SCBEIC ประเมินว่า ค่าเงินบาทมีแนวโน้มจะแข็งค่าไปอยู่ที่ระดับ 29.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ณ สิ้นปี 2013

ด้านเศรษฐกิจโลก ยังคงอยู่ในภาวะชะลอตัวในครึ่งแรกของปี 2013 ก่อนจะปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี โดยเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2013 ยังคงถูกชี้นำโดยความไม่แน่นอนเกี่ยวกับนโยบายการคลัง ซึ่งสหรัฐฯ จะต้องพบกับแรงฉุดจากมาตรการขึ้นภาษี และความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการตัดลดค่าใช้จ่ายภาครัฐในช่วงต้นปี 2013

ขณะเดียวกัน นโยบายผ่อนคลายทางการเงินที่มีทั้งการคงดอกเบี้ยนโยบายในระดับต่ำที่ 0-0.25% และมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (Quantitative Easing: QE) จะช่วยชดเชยแรงฉุดดังกล่าว โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 2013 จะเติบโตประมาณ 1.5-2% และอัตราการว่างงานจะอยู่ที่ระดับ 7.5-8% นอกจากนี้ในช่วงครึ่งแรกของปี 2013 ยังต้องจับตาดูการเจรจาเรื่องนโยบายการคลังในส่วนของการตัดลดค่าใช้จ่ายและการขยายเพดานหนี้ แต่คาดว่าผลกระทบต่อรายจ่ายของรัฐในปี 2013 จะมีไม่มากนัก

ในส่วนของเศรษฐกิจยุโรปนั้น SCBEIC ประเมินว่ายังอ่อนแอและจะยังอยู่ในภาวะถดถอยในช่วงครึ่งแรกของปี 2013 เนื่องมาจากการหดตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจยุโรปเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวดีขึ้นบ้างทั้งจากดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ และเสถียรภาพทางการเงินที่ได้รับความช่วยเหลือจากมาตรการ Outright Monetary Transactions (OMTs) จึงมีความเป็นไปได้ที่ยุโรปจะเริ่มฟื้นตัวในช่วงปลายปี 2013 โดยรวม SCBEIC คาดว่า เศรษฐกิจยุโรปจะหดตัวประมาณ 0.3% ในปี 2013

สำหรับเศรษฐกิจญี่ปุ่นนั้น SCBEIC ประเมินว่า ปีนี้น่าจะขยายตัวราว 1.5% จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐโดยเฉพาะในส่วนของการใช้จ่ายผ่านโครงการลงทุนต่างๆ และการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจผ่านมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ อย่างไรก็ตาม มีความเสี่ยงในเรื่องของความล่าช้าในการเบิกจ่ายงบประมาณ ที่อาจจะทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโตต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ได้

ด้านเศรษฐกิจจีน จะปรับตัวดีขึ้นในไตรมาสสุดท้ายของปี 2012 หลังจากชะลอตัว 7 ไตรมาสติดต่อกัน การผลัดเปลี่ยนผู้นำจีนชุดใหม่ซึ่งจะเข้าดำรงตำแหน่งอย่างเป็นทางการในเดือนมีนาคมนี้ น่าจะทำให้มีมาตรการสนับสนุนภาคเศรษฐกิจเพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งมีแนวโน้มจะขยายตัวขึ้นมากในปีนี้ตามวัฏจักรการเปลี่ยนผ่านในพรรคคอมมิวนิสต์จีน โดยเศรษฐกิจจีนน่าจะเติบโตได้ที่ 8.1% ในปี 2013

จับตาธปท.รับมือ 'บาทแข็ง'จี้'คุมทุนไหลเข้า-ลดอาร์/พี'

ค่อยหายใจเต็มปอดขึ้นบ้าง เมื่อสถานการณ์บาทแข็งค่าผ่อนแรงกดดันลงจากก่อนหน้า โดยกลับอ่อนค่าคงปิดที่อัตรา 29.98 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อสุดสัปดาห์ก่อน ต่อเนื่องถึงต้นสัปดาห์นี้ ที่บางช่วงค่าบาทอ่อนกลับไปที่ 30 บาทเล็กน้อยต่อดอลลาร์สหรัฐฯ

alt   

กระนั้นความวิตกถึงสถานการณ์บาทแข็งยังมีอยู่ และรวมศูนย์การเรียกร้องไปที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ผู้กำกับดูแลนโยบายการเงิน ของสองสถาบันเอกชนจากภาคผลิตจริง ทั้งสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) หรือสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
   ซึ่งยังคงมีข้อเสนอให้ธปท.ใช้ 2 มาตรการหลัก ที่เป็นยาแรงและส่งผลกระทบในวงกว้าง คือ ออกมาตรการควบคุมเงินทุนไหลเข้า (Capital Control) และลดอัตราดอกเบี้ยทางการ (อาร์/พี) ซึ่งก่อกระแสการแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง ทั้งในทางสนับสนุนและคัดค้านอยู่ในเวลานี้ 
-ภาคผลิตจี้คุมเงินร้อน
   ทั้งนี้ ในสถานการณ์บาทแข็งนั้น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือส.อ.ท. เป็นสถาบันภาคเอกชนแรก ในกลุ่มภาคผลิตจริง ที่ได้เรียกประชุมกลุ่มอุตสาหกรรม เพื่อประเมินผลกระทบ และรวบรวม 7 ข้อเสนอยื่นธปท. และรัฐบาล เพื่อพิจารณาช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 25 มกราคม 2556 ประกอบด้วย
   1.ธปท.ควรดูแลค่าเงินบาทไม่ให้เกิดความผันผวน 2.อย่าให้เงินบาทไทยแข็งค่ากว่าคู่แข่ง เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย  3.อยากให้ปลดล็อกเรื่องการถือเงินตราต่างประเทศให้นานขึ้น โดยไม่บังคับผู้ส่งออกให้รีบขายเงินที่ถือ 4.ลดวงเงินค่าธรรมเนียมการทำประกันความเสี่ยงการส่งออกให้กับผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) 5.ขอให้ธปท.นำมาตรการออกมาควบคุมเงินต่างประเทศเข้ามาเก็งกำไร เช่น มาตรการสำรอง 30% ในช่วง 6 เดือนถึง 1  ปีเช่นในอดีต หรือการเก็บภาษีจากกำไรจากการขายหุ้น เป็นต้น 6.ขอให้คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) เร่งออกมาตรการส่งเสริมการลงทุนไทยไปต่างประเทศ  ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการแก้ไขกฎหมายมานานพอสมควร และ 7.ให้ภาครัฐเร่งลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ในช่วงที่เงินบาทแข็งค่า เพื่อให้ค่าเงินอ่อนตัวลง
   ข้อเรียกร้องของภาคผลิตนั้นสะท้อนถึงความเข้าใจการบริหารค่าเงินของธปท.มากขึ้น คือ ไม่เรียกร้องให้สู้ค่าเงิน ไม่กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเป้าหมาย ว่าต้องเป็นเท่าไหร่ เช่นการเรียกร้องในอดีต ซึ่งหากมีการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเป้าหมายอย่างชัดเจน จะยิ่งเปิดช่องให้มีการโจมตีค่าเงินทันที
   กระนั้น ส.อ.ท.ก็มีข้อเรียกร้องที่เป็น"ยาแรง"  คือ ข้อเสนอที่ 5 .การใช้มาตรการคุมเงินลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งแม้จะมีหลายมาตรการให้เลือกใช้ในกลุ่มนี้ แต่ก็จะส่งผลทางลบต่อบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นหรือตลาดตราสารหนี้ทันที
   ทั้งนี้ นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานส.อ.ท. นำทีมกรรมการ เข้าหารือนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธปท. ในบ่ายวันอังคารที่ 29 มกราคมนี้ โดยก่อนหน้านี้ผู้ว่าการประสาร ย้ำว่า ธปท.มีมาตรการเตรียมไว้พร้อมแล้ว ไม่กลัวที่จะใช้ แต่จะเลือกใช้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ 
   ขณะที่เย็นวันเดียวกัน สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ก็เปิดแถลงผลกระทบและเสนอมาตรการให้รัฐบาลดูแลผลกระทบ โดยเรื่องหลักยังคงอยู่ที่"ยาแรง"เพื่อลดผลกระทบจากค่าบาทแข็งที่เกิดกับผู้ส่งออกเช่นกัน
-ใช้ยาแรงหวั่นตลาดช็อก
   ต่อกรณีที่ผู้ประกอบการส่งออกเสนอให้ธปท.ออกมาตรการควบคุมเงินไหลเข้า หรือCapital Control เพื่อสกัดการแข็งค่าของเงินบาทนั้น นายสมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนา ทีดีอาร์ไอ มองว่า ภาวะเงินบาทแข็งจะมีโอกาสขยายวงกว้างนานตลอดทั้งปี และมีความผันผวนมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแต่ละจังหวะที่มีปริมาณเงินไหลเข้ามา  โดยระยะปานกลางธปท.จำเป็นต้องมีมาตรการดูแล เพื่อลดความผันผวนหรือกำหนดทิศทางค่าเงิน แต่ไม่ควรใช้มาตรการแทรกแซงให้เงินอ่อนค่า หรือมาตรการเพื่อกำหนดทิศทางชัดเจนเช่นอดีต ไม่เช่นนั้นตลาดจะช็อกหรือหุ้นตกแรง และกรณีค่าเงินผันผวนรุนแรงเกิน 5% จึงใช้มาตรการดังกล่าว
   สอดคล้อง  " นิวัฒน์ กาญจนภูมินทร์" กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย กล่าวว่า  หาก ธปท.จะออกมาตรการอะไร ต้องมีประกาศที่ชัดเจนไม่ใช่เป็นมาตรการชั่วครว เพื่อไม่ให้นักลงทุนไม่กล้าเข้ามาในระยะยาว  พร้อมเสนอแนะธปท. ใช้แนวทางเดียวกับประเทศมาเลเซียที่ดำเนินการอยู่ คือ ให้นักลงทุนต่างชาติลงทะเบียนก่อนเข้ามาลงทุน และหากพบว่านักลงทุนรายใดมีแนวโน้มที่จะลงทุนเพื่อโจมตีค่าเงิน หรือลงทุนผิดปกติ  ก็ให้ระงับการลงทุนในประเทศไป
   ขณะที่ นางสาวอริยา ติรณะประกิจ  ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย ระบุว่า  ตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา มีเงินไหลเข้าตลาดตราสารหนี้ถึง 1 แสนล้านบาท โดย 90% เป็นตราสารหนี้ระยะสั้น และมีแนวโน้มที่จะไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง  การป้องกันการลงทุนระยะสั้น อาจใช้มาตรการแบบอินโดนีเซีย คือ การลงทุนซื้อพันธบัตรต้องถือจนครบอายุ ห้ามซื้อขายก่อนครบกำหนด จะช่วยลดการเก็งกำไรระยะสั้น
   การใช้มาตรการคุมเงินไหลเข้านี้ นายประสารกล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่อยากให้ความเห็นเกี่ยวกับมาตรการนี้มากนัก แต่ธปท.ติดตามดูสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพราะมีหน้าที่ดูแลเสถียรภาพการเงินของประเทศ ยอมรับเวลานี้มีความไม่แน่นอนอยู่มาก การใช้เครื่องมือต้องยืดหยุ่นพอสมควร สอดคล้องกับความเป็นจริงและเป็นประโยชน์กับประเทศ
alt

เปิดวิวาทะ"ลดอาร์/พี"
   นอกจากมาตรการคุมทุนไหลเข้าแล้ว ประเด็นลดดอกเบี้ยทางการ หรืออาร์/พีก็เป็นอีกหนึ่งหัวข้อร้อนของข้อถกเถียงที่มองคนละมุม
   วัลลภ จิตนากร รองประธานส.อ.ท.กล่าวว่า เข้าพบผู้ว่าการ ธปท. เพื่อยื่นข้อเสนอ 7 มาตรการแล้ว จะหารือถึงนโยบายอัตราดอกเบี้ยด้วย เพราะของไทยที่ระดับ 2.75% สูงมากเพื่อเทียบกับอัตราดอกเบี้ยในภูมิภาค เช่น ญี่ปุ่น มีอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 0.1%  จึงเป็นตัวดึงดูดทุนไหลเข้าที่กดดันบาทให้แข็งค่าเวลานี้
   มุมมองนี้ฝ่ายการเมืองโดย"ขุนคลังโต้ง"กิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯและรัฐมนตรีคลัง แม้จะพยายาม"ไม่คอมเมนต์"ตลอดช่วงภาวะบาทแข็งที่ผ่านมา เพื่อไม่ให้เกิดภาพว่า ฝ่ายการเมืองเข้าไปก้าวก่ายแทรกแซงงานของแบงก์ชาติ  แต่ท้ายสุดก็อดแสดงจุดยืนไม่ได้ว่า
   "ค่าเงินบาทที่แข็งในขณะนี้เพราะเกินดุล ทั้งดุลการค้า ดุลบริการ ดุลการชำระเงิน ส่วนตัวพยายามมองและเตือนมาตั้งแต่แรก ๆ แล้ว ว่าการเกินดุลมากจะส่งผลไม่ดีต่อเศรษฐกิจ แต่บางฝ่ายไม่เชื่อและปรับดอกเบี้ยให้สูงขึ้น จึงเป็นแรงดึงดูดเงินมากขึ้น หากให้ความเห็นมากก็อาจจะเป็นการก้าวก่ายการทำงานของแบงก์ชาติ"
   อย่างไรก็ตามในเรื่องนี้ นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธปท.ก็ชี้แจงทันทีเช่นกันว่า การพิจารณาอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ธปท.ไม่สามารถพิจารณาปัจจัยหนึ่งปัจจัยเดียว อย่างที่เอกชนพูดมาเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งแต่ไม่ใช่ปัจจัยหลักหรือปัจจัยเดียว ทางคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) จะต้องพิจารณาทั้งการขยายตัวเศรษฐกิจ เสถียรภาพเศรษฐกิจ และเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน ควบคู่กันไป 
   และที่สำคัญอัตราดอกเบี้ยไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่จะกำหนดการไหลเข้าของเงินทุน เพราะขณะนี้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของฮ่องกงที่ต่ำมากอยู่ใกล้ศูนย์ แต่ก็มีเงินไหลเข้าฮ่องกงพอสมควร
-ขีดทนทาน"ค่าบาท"
   บาทแข็งครั้งนี้ ฝ่ายต่าง ๆ ประเมินความร้อนแรงและขีดความอึดในการรับแรงกดดันแตกต่างกันไป โดยกลุ่มผู้ส่งออกจากการสำรวจของศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทยนั้น ผู้ประกอบการเห็นว่า ค่าเงินบาทแข็งค่าที่สุดที่สามารถยอมรับได้ อยู่ที่ 29.40 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ และจะรับแรงกดดันนี้ไปได้ 45 วัน
   ด้าน ส.อ.ท.ชี้ว่า ผู้ประกอบการหวั่นวิตกว่า สถานการณ์บาทแข็งค่าครั้งนี้ อาจทำให้อัตราแลกเปลี่ยนหลุดกรอบ 29 บาทได้  ขณะที่ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ บมจ.ไทยพาณิชย์ รายงานว่า ปลายไตรมาสแรกปีนี้มีโอกาสจะเกิดความผันผวนในตลาดเงิน ซึ่งมีโอกาสที่ธปท.จะใช้มาตรการลดดอกเบี้ยอาร์/พีได้อีก 0.50% ในครึ่งแรกปีนี้ ขณะที่สิ้นปีศูนย์ฯยังคาดการณ์เงินบาทจะแข็งค่าที่ระดับ 29.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ
   ขณะที่ขีดความทนทานการรับแรงกดดันค่าบาทของ"สมชัย จิตสุชน" ที่ชี้ว่า ถ้าบาทแข็งเกิน 5% ถึงค่อยเข้าแทรกแซง ก็คือบาทที่แข็งค่าขึ้นในอัตราแลกเปลี่ยนที่เปลี่ยนไป 1.50 บาท  หรือจากอัตราแลกเปลี่ยนระดับ 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งเป็น 28.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ
   เป็นหลักหมาย"ค่าบาท"ที่แต่ละคนเฝ้าจับตา
   ปัญหาค่าเงินผันผวนเป็นที่คาดหมายว่าจะปะทุเป็นระลอกตลอดปีนี้ ในคลื่นความผันผวนของค่าเงิน แรงกดดันทั้งหลายไม่พ้นจะรวมศูนย์สู่วังบางขุนพรหม เพื่อทดสอบการนำของ"ประสาร ไตรรัตน์วรกุล" แม่ทัพหลักของสงครามค่าเงินอย่างแท้จริง

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,814
วันที่  31 มกราคม - 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


ธปท.รับฟังความเห็น ส.อ.ท.ยืนยันมีมาตรการดูแลค่าเงินบาท

                           

     

 กรุงเทพฯ 29 ม.ค. - นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย  (ธปท.) กล่าวถึงผลการหารือระหว่างนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. กับนายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ ส.อ.ท. และสมาชิก ส.อ.ท.เป็นเวลากว่า 1.30 ชั่วโมงถึงข้อเสนอ 7 ข้อของ ส.อ.ท.ในการดูแลค่าเงินบาท ว่า ได้มีการทำความเข้าใจกับ ส.อ.ท.ถึงการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่าบ้างแล้ว ตามเงินสกุลในภูมิภาค ซึ่งทิศทางบาทสามารถอ่อนและแข็งได้ในหลายช่วง โดย ส.อ.ท.ขอให้ ธปท.ติดตามธุรกรรมต่างๆ อย่างใกล้ชิด และมีความเข้าใจว่า หาก ธปท.ต้องใช้มาตรการในภาวะจำเป็นก็ไว้ใจ ธปท.ว่าจะใช้มาตรการในระดับ และจังหวะเวลาที่เหมาะสม ซึ่ง ธปท.ได้ยืนยันว่ามีมาตรการดูแลเงินบาทหลายมาตรการ โดยจะพิจารณาใช้ตามความเหมาะสมของสถานการณ์
อย่างไรก็ตาม ส.อ.ท.ขอให้ ธปท.เทียบค่าเงินบาทกับสกุลเงินต่างๆ ในอาเซียน 9 ประเทศ รวมทั้ง ไทย และ เงินสกุลของประเทศคู่แข่ง คือ จีน อินเดีย บังกลาเทศ และ ศรีลังกา รวมเป็น 14 ประเทศ นอกเหนือจากเงินบาทเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ เพื่อให้สามารถเทียบเคียงกับราคาสินค้าของประเทศคู่แข่งได้ โดย ธปท.พร้อมพิจารณา
นอกจากนี้ ธปท.จะช่วยประสานกับธนาคารพาณิชย์ให้เอสเอ็มอีสามารถซื้อประกันความเสี่ยงในขนาดธุรกรรมที่เล็กลง และเร่งประชาสัมพันธ์ให้เอสเอ็มอี ซื้อสัญญาซื้อขายเงินดอลลาร์สหรัฐล่วงหน้าในตลาดTfex ซึ่ง 1 สัญญามีมูลค่า 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 30,000 บาท ซึ่งเป็นการป้องกันความเสี่ยงที่เอสเอ็มอีสามารถเข้าถึงได้ และขอให้ ส.อ.ท.ย้ำให้สมาชิกซื้อประกันความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดทอนกระทบในช่วงที่อัตราแลกเปลี่ยนผันผวน รวมทั้งการสนับสนุนการใช้เงินสกุลท้องถิ่น เพื่อการผ่อนชำระ และซื้อสินค้ามากขึ้น

พร้อมกันนี้ขอให้ ส.อ.ท.ทำความเข้าใจกับสมาชิกว่า ผู้ส่งออกสามารถที่จะถือครองดอลลาร์สหรัฐที่ได้จากการค้าขายเป็นระยะเวลา 1 ปี ซึ่งถือเป็นระยะเวลาที่เหมาะสม

"เราก็มีความเข้าใจที่ตรงกันที่จะบรรเทาผลกระทบต่อผู้ส่งออก และเข้าใจตรงกันว่าในช่วงงินบาทแข็งถือเป็นโอกาสที่จะเพิ่มการลงทุนทั้งในโครงการภาครัฐและเอกชน หากช่วยสนับสนุนก็จะมีความต้องการใช้เงินตราต่างประเทศ ช่วยรักษาสมดุลของปริมาณเงินไหลเข้า - ออก จะมีการประสานงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง พร้อมขอให้ใช้ประโยชน์ช่วงเงินบาทแข็งค่าเร่งการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน"นางผ่องเพ็ญ กล่าว
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธาน ส.อ.ท. กล่าว ว่า ได้ฟังข้อมูลจาก ธปท.ก็สบายใจขึ้น เพราะค่าเงินบาทเริ่มทรงตัว และมั่นใจว่าจะค่าเงินบาทจะไม่แข็งค่าถึง 28 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐอย่างที่กังวลใจ แต่ต้องติดตามสถานการณ์อีกระยะ พร้อมกันนี้จะเร่งให้ข้อมูลกับสมาชิกโดยเฉพาะเอสเอ็มอีให้ซื้อสัญญาซื้อขายเงินดอลลาร์สหรัฐล่วง เพื่อประกันความเสี่ยงจากค่าเงินบาท
ส่วนการแยกบัญชีเงินที่จะเข้ามาเก็งกำไรกับบัญชีเงินต่างประเทศที่เข้ามาลงทุน ส.อ.ท.เข้าใจว่ามีทั้งผลดีและผลเสีย เนื่องจากอาจเป็นการส่งสัญญาณการควบคุมการไหลเข้าของเงินทุน ดังนั้น ส.อ.ท.และที่ผ่านมา ธปท.ดำเนินการได้ดี โดยดูจากข้อมูลสิ้นปี 2555 มีเงินทุนไหลเข้า 21,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีเงินไหลออก 19,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งถือว่ามีความสมดุล
นักบริหารเงินจากธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 29.83 -29.85 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวแข็งค่าต่อเนื่องจากเปิดตลาดช่วงเช้าที่ระดับ 29.85 -29.87 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับค่าเงินในภูมิภาค และแรงเทขายของผู้ส่งออก.- สำนักข่าวไทย



   แนะ ธปท.ใช้นโยบายดอกเบี้ยเป็นมาตรการ 

                      สุดท้ายสกัดเงินบาท


                              ม.หอการค้าไทย แนะ ธปท.ดูแลค่าเงินไม่ให้แข็งค่าเกินกว่า 29.5 ดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงระยะเวลา 2-3 เดือนนี้

           กรุงเทพฯ 31 ม.ค. - นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการ ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ประเมินว่าผลพวงจากเศรษฐกิจสหรัฐและยุโรปยังไม่ฟื้นตัวอย่างชัดเจน ประกอบกับการที่ญี่ปุ่นออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมทั้งความขัดแย้งกับจีนที่เริ่มรุนแรงขึ้น จะส่งผลให้เงินทุนไหลทะลักเข้ามาในเอเชีย โดยเฉพาะประเทศไทยซึ่งขณะนี้เงินบาทแข็งค่าขึ้นแล้วประมาณร้อยละ 3 ซึ่งเป็นอัตราที่แข็งค่ากว่าประเทศคู่แข็งสำคัญทั้งมาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงค์โปร์ และเวียดนาม ที่เงินแข็งค่าขึ้นประมาณร้อยละ 1 ปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลให้นักท่องเที่ยวหันไปท่องเที่ยวในประเทศที่มีค่าใช้จ่ายถูกกว่า ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จึงจำเป็นต้องเข้ามาดูแลค่าเงินไม่ให้แข็งค่าเกินกว่า 29.5 ดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงระยะเวลา 2-3 เดือนนี้ ส่วนผู้ประกอบการไทยควรทำประกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อป้องกันความผันผวนของค่าเงิน

นายธนวรรธน์ กล่าวว่า รัฐบาลควรใช้โอกาสนี้นำเข้าสินค้าที่จำเป็น ขณะที่หน่วยงานภาครัฐและรัฐวิสาหกิจควรจะเร่งชำระหนี้ต่างประเทศ พร้อมกับส่งเสริมให้นักลงทุนไทยลงทุนในต่างประเทศมากขึ้นซึ่งจะเป็นหนทางช่วยบรรเทาภาวะเงินบาทแข็งค่าได้ ส่วนมาตรการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายควรใช้เป็นมาตรการสุดท้าย แม้จะเป็นการแก้ปัญหาที่ตรงจุด เพื่อสกัดการเก็งกำไรส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยได้ก็จริง แต่การไหลทะลักเข้ามาของสกุลเงินต่างชาติจะส่งผลกระทบ เนื่องจากเป็นตัวเร่งอัตราเงินเฟ้อจากอำนาจซื้อที่มีมากขึ้น ทั้งนี้ ธปท.จะใช้แนวทางการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจริงก็จะสามารถลดได้สูงสุดจนถึงสิ้นปีนี้ ไม่เกินร้อยละ 0.75 อย่างไรก็ตาม คาดว่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นต่อไปอีกระยะ เนื่องจากการเข้ามาเก็งกำไรในประเทศไทยเป็นช่องทางในการแสวงหาการเก็งกำไรได้ในอัตราที่สูง

นายไพบูลย์ พลสุวรรณา ประธานสภาผู้ส่งออกสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นร้อยละ 2.9 ระยะ 3 เดือนแรกของปี 2556 ส่งผลให้กลุ่มผู้ประกอบการส่งสินค้าออกต้องขอเวลา 3 เดือนว่าจะสามารถส่งออกสินค้าได้ 9,000 ล้านบาทตามเป้าที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดหรือไม่ เนื่องจากค่าเงินบาทไทยแข็งกว่าค่าเงินประเทศคู่แข่ง โดยเงินบาทไทยแข็งค่าขึ้นถึงร้องละ 2.9 ขณะที่ค่าเงินประเทศสิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ค่าเงินแข็งค่าขึ้นเฉลี่ยเพียงร้อยละ 1 เท่านั้น พร้อมกันนี้เรียกร้องให้รัฐบาลนำข้อเสนอ 7 ข้อของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ส่งสินค้าออกแห่งประเทศไทยไปพิจารณาเนื่องจากสมาชิกในทั้ง 2 องค์กรก็เป็นกลุ่มผู้ประกอบการกลุ่มเดียวกัน

นายไพบูลย์ กล่าวแสดงทรรศนะเกี่ยวกับทิศทางการไหลเข้าของเงินสกุลต่างๆ ที่เข้ามาในประเทศไทย เป็นกระแสเงินที่ไหลเข้าไปโจมตีประเทศเกาหลีใต้ มาก่อนแต่ไม่ประสบความสำเร็จ จึงไหลเข้ามาในประเทศไทย จึงต้องการเรียกร้องให้ผู้เกี่ยวข้องให้ความสำคัญกับการติดตามกระแสเงินเหล่านี้.- สำนักข่าวไทย

นายกฯสั่ง 'กิตติรัตน์' ถกร่วมแบงก์ชาติ-กนง. แก้บาทแข็ง

 

นายกฯ สั่ง “กิตติรัตน์” ประชุมร่วมกับ ธปท.และ กนง. หารือมาตรการแก้ปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่า หลัง “ดร.โกร่ง-พันศักดิ์” ทักมาตรการที่ใช้อยู่ยังไม่ดีพอ 

เมื่อวันที่ 31 ม.ค. นายกิตติรัตน์  ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง  เปิดเผยภายหลังการประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศโดยมี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานว่า นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ตนเองในฐานะ รมว.คลัง ไปประชุมร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) รวมทั้งนักเศรษฐศาสตร์ที่ไม่ได้อยู่ใน ธปท.และ กนง.เพื่อหาทางแก้ปัญหาค่าเงินผันผวนอย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า สิทธิ์และหน้าที่ในการกำกับดูแลนโยบายการเงินยังเป็นของ ธปท.และ กนง.เช่นเดิม

“มีการตั้งข้อสังเกตในที่ประชุมว่ามาตรการที่มีอยู่เป็นการทวนกระแสการแข็งค่าของเงิน เป็นการทวนการไหลเข้าของเงินในระยะสั้นอาจไม่ได้เป็นมาตรการที่พอดิบพอดีกัน ซึ่งในการหารือก็มีนายวีรพงษ์ รามางกูรประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยนายพันศักดิ์ วิญญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาด้านนโยบายของนายกรัฐมนตรี ต้องตลอดจนผู้ว่าการ ธปท. ซึ่งเฉพาะในส่วนของนักเศรษฐศาสตร์นักการเงิน เห็นว่ามีความจำเป็นต้องดำเนินนโยบายการเงินที่ดูแลการไหลเข้าของเงินทุนที่มีความเสี่ยงว่าเป็นเงินทุนระยะสั้น”

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้แสดงความเป็นห่วงสถานการณ์ค่าเงินบาทที่ผันผวนและแข็งค่าขึ้น ซึ่งทาง ธปท. ได้รายงานว่า ในช่วงสั้นๆ มีเงินทุนไหลเข้ามา ซึ่งบางส่วนมาลงทุนในตราสาร บางส่วนมาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งอาจจะถือการลงทุนยาวก็ได้ แต่เกิดขึ้นในช่วงสั้นๆ 1 เดือนที่ผ่านมา และมีความเสี่ยงเพราะฉะนั้น จึงมีความเป็นไปได้ที่เงินทุนไหลเข้าได้ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นขณะที่แนวทางหรือมาตรการในการดูแลค่าเงินบาทของไทย จะเป็นมาตรการระยะกลางและระยะยาว เช่นการส่งเสริมนักธุรกิจไทยไปลงทุนต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าจะไม่มีมาตรการที่ควบคุมการไหลเข้าออกของเงินเด็ดขาด เพราะต้องยอมรับว่าเราเป็นประเทศเปิดแต่จะใช้กลไกทำงานที่เป็นทิศทางของการ บริหารนโยบายการเงินและจะไม่ใช้นโยบายควบคุมและไม่ใช้มาตรการเก็บภาษีจากผลตอบแทน ไม่ว่าภาษีมูลค่าเพิ่มจากกำไรของการลงทุน ภาษีผลตอบแทนดอกเบี้ยและเงินปันผลเพราะไม่ใช่นโยบายการเงิน

นายกิตติรัตน์ กล่าวด้วยว่า ในระหว่างกาประชุม นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้รายงานว่าภายหลังที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่ได้รับผลกระทบจากการปรับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ซึ่งเอสเอ็มอีที่ส่งออกก็ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็งค่าด้วย จึงต้องหามาตรการมาช่วยเหลือ ซึ่งจากตั้งคณะกรรมการชุดนี้จะทำงานร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  สภาหอการค้าไทย และสถาบันการเงิน ซึ่งจะได้นำรูปแบบของสถาบันการเงิน และวิธีการขององค์กรขนาดใหญ่มาช่วยเหลืออีกทั้งจะมีการตั้ง รมว.อุตสาหกรรม และ รมว.พาณิชย์ เพิ่มเติมในคณะกรรมการชุดนี้ด้วย.


ธปท.รับฟังความเห็น ส.อ.ท.ปัญหาบาทแข็ง ยันมีมาตรการพร้อมดูแลตามสถานการณ์


ข่าวเศรษฐกิจสำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 29 มกราคม 2556 18:33:32 น.

นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวภายหลังการมาก็ยังมีการเคลื่อนไหวในลักษณะทั้งแข็งค่าและอ่อนค่า เหมือนกับค่าเงินหลายสกุลในภูมิภาค ที่บางช่วงก็มีทั้งแข็งค่าหารือกับตัวแทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.)ว่า ได้ชี้แจงว่าค่าเงินบาทในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาแข็งค่าค่อนข้างเร็ว แต่ช่วงที่ผ่านและอ่อนค่า


" />


ทั้งนี้ ส.อ.ท.เสนอแนะให้ ธปท.ดูแลค่าเงินบาทด้วยการเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่ง คือ 9 ประเทศในอาเซียน รวมถึงจีน อินเดีย บังคลาเทศ และศรีลังกา ซึ่ง ธปท.ก็พร้อมจะดูแลค่าเงินตามข้อเสนอแนะ โดยปัจจุบันมีการดูแลในลักษณะตระกร้าเงินอยู่แล้ว ไม่ได้เปรียบเทียบเฉพาะค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ และเป็นการดูในหลายมิติทั้งดัชนีค่าเงินบาท(NEER)และดัชนีค่าเงินบาทที่แท้จริง(REER) รวมถึงดูแลให้สะท้อนพื้นฐานของประเทศ แต่การที่จะให้ค่าเงินบาทอยู่ในระดับเดียวกับค่าเงินของภูมิภาคคงเป็นไปไม่ได้ เพราะพื้นฐานเศรษฐกิจแต่ละประเทศแตกต่างกัน

"การที่สกุลเงินบาทอาจจะมี overshoot ในช่วงสั้น ๆ ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก ต้องดูระยะยาว ขณะเดียวกันหากผู้ส่งออกดูแลตัวเองอย่างสม่ำเสมอ มีการบริหารจัดการ ไม่ใช่คาดการณ์ค่าเงินเองล่วงหน้าว่าจะอยู่ในระดับไหน ก็จะไม่เกิดปัญหา เรามีมาตรการอยู่ในมือ จะนำมาใช้ในสถานการณ์ที่เหมาะสม เพราะการใช้มาตรการที่มี effect มีข้อดีข้อเสีย ต้องใช้ให้ถูกโรค"นางผ่องเพ็ญ กล่าว

อย่างไรก็ตาม ธปท.เห็นว่ายังมีประเด็นที่ต้องประชาสัมพันธ์และให้ความรู้กับผู้ส่งออกมาขึ้น เช่น หลักเกณฑ์การถือครองเงินตราต่างประเทศของผู้ส่งออก ซึ่งไม่จำเป็นต้องขยายระยะเวลาเพิ่มเติม โดยปัจจุบันผู้ส่งออกสามารถให้เครดิตเทอมกับคู่ค้าต่างประเทศได้ไม่เกิน 360 วัน และเมื่อได้รับเงินตราต่างประเทศต้องนำเข้าประเทศทันทีและสามารถขายเป็นเงินบาทหรือฝากกับธนาคารพาณิชย์ภายใน 360 วัน ดังนั้น รวมกันแล้วมีระยะเวลาถึง 2 ปี หรือผู้ส่งออกสามารถนำเงินรายได้จากต่างประเทศสามารถฝากไว้เป็นบัญชี FCD ในประเทศได้ เท่ากับยอดส่งออก โดยไม่จำกัดระยะเวลา

นอกจากนั้น ยังมีเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงให้กับผู้ส่งออก โดยเฉพาะ currency futures ที่กำหนดมูลค่า 1 พันดอลลาร์ต่อสัญญา สามารถให้ SME ใช้ป้องกันความเสี่ยงของธุรกรรมขนาดเล็กได้ เพียงแต่ต้องให้ความรู้กับ SME มากขึ้น รวมทั้ง เห็นว่าควรสนับสนุนให้ผู้ส่งออกใช้เงินสกุลท้องถิ่นในการชำระค่าสินค้าและบริการมากขึ้น เรื่องดังกล่าวอาจเห็นผลในระยะยาว ซึ่ง ส.อ.ท.อาจจะต้องทำความเข้าใจกับสมาชิกด้วย เครื่องมือทั้งหมดอาจะช่วยผลกระทบจากเงินบาทแข็งค่าเร็วได้

ธปท.ยังเห็นว่าควรส่งเสริมให้มีการลงทุนต่างประเทศในช่วงที่เงินบาทแข็งค่า เร่งโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานให้มีการนำเข้าสินค้าและเครื่องจักรอุปกรณ์ในระยะนี้ เนื่องจากประเทศไทยมีโครงการลงทุนจำนวนมากทั้งภาครัฐและเอกชน หากสามารถสนับสนุนได้ดีจะทำให้เกิดความสมดุลระหว่างเงินไหลเข้า-ออก

ด้านนายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธาน ส.อ.ท. กล่าวภายหลังการหารือว่า มีความเข้าใจมากขึ้นหลังได้รับทราบข้อมูลจาก ธปท.โดยเห็นว่าในช่วง 6 เดือนถึง 1 ปีที่ผ่านมา ธปท.สามารถดูแลค่าเงินบาทได้ดี ไม่ให้มีความผันผวน สามารถสร้างความสมดุลระหว่างเงินทุนไหลออก-เข้า เพียงแต่ช่วง 1 เดือนที่ผ่านมามีความกังวลเนื่องจากเงินบาทแข็งค่าเร็วมาก และขณะนี้เงินบาทเริ่มนิ่งแล้ว ซึ่งภาคเอกชนไม่ต้องการให้เงินบาทผันผวนยาวนานเกินไป

อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าต้องการเห็นเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่บริเวณ 30 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับที่ภาคเอกชนจะคลายความกังวลได้ เพราะตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันเงินบาทแข็งค่า 3% จากสิ้นปี 55 เงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 30.93 บาท/ดอลลาร์ แต่อย่างไรก็ตาม หลังการแลกเปลี่ยนข้อมูลทำให้สบายใจขึ้นมาว่าเงินบาทเริ่มทรงตัวและคงไม่แข็งค่าไปถึง 28 บาท/ดอลลาร์

ทั้งนี้ ภาคเอกชนจะติดตามค่าเงินบาทในช่วง 2-3 สัปดาห์ต่อจากนี้ จากนั้นอาจจะมีการหารือกันอีกครั้ง


นางสาวกาญจนา  วิชานงค์   รหัส 55127326078


รัฐบาลไทยใช้มาตรการอะไรในการรับมือกับปัญหาค่าเงินบาทแข็งตัวในช่วงตัวปีนี้

จากการที่รัฐบาลได้ประชุมร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย โดยมี นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ไปประชุมร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) รวมทั้งนักเศรษฐศาสตร์ที่ไม่ได้อยู่ในธปท.และกนง. เพื่อหาทางแก้ปัญหาค่าเงินผันผวน

จากการหารือถึงผลกระทบการแข็งค่าของเงินบาทที่มีต่อผู้ส่งออกนั้น ในที่ประชุมก็ไม่เห็นมีใครเสนอวิธีที่ทำให้เงินบาทอ่อนค่าลง มีแต่แนวทางสนับสนุนให้เงินออกไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น

            ด้านนายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการ ธปท. กล่าวว่า การไหลเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศอาจสร้างปัญหาฟองสบู่ในหลายๆ ตลาด โดยเงินทุนที่เข้ามานั้นเป็นผลจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของไทยที่สูงกว่าดอกเบี้ยต่างประเทศ ดังนั้นวิธีที่จะลดการไหลเข้าของเงินทุนได้ดีที่สุดคือ การลดดอกเบี้ยนโยบายลงแต่ที่กังวลคือเกรงว่า ธปท.จะเห็นสัญญาณเศรษฐกิจเติบโตร้อนแรงแล้วยิ่งไปปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย หากทำแบบนั้นจะยิ่งทำให้สถานการณ์เลวร้ายมากขึ้น

            ขณะที่นายบัณฑิต นิจถาวร ประธานคณะกรรมการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย กล่าวว่า การลดดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินทุนไหลเข้านั้น อาจไปสร้างปัจจัยเสี่ยงในอีกด้าน โดยเป็นการกระตุ้นการใช้จ่ายให้มากขึ้น ดังนั้นเครื่องมือในการดูแลจึงควรต้องใช้เครื่องมือต่างๆ ที่ผสมผสานกัน ซึ่งแบงก์ชาติเคยผ่านเรื่องนี้มาแล้วหลายครั้ง จึงเชื่อว่าครั้งนี้ก็น่าจะผ่านไปได้เช่นกัน

            นายไพบูลย์ พลสุวรรณา ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวว่า เงินบาทที่แข็งค่าส่งผลกระทบต่อการส่งออกอย่างมาก เป้าหมายของกระทรวงพาณิชย์ 8.9 นั้น สรท.มองไว้ที่ระดับ 6.9% หากค่าเงินยังแข็งต่อเนื่องก็ยิ่งทำให้การส่งออกไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้

             นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในขณะนี้ยังอยู่ในช่วงของการคาดการณ์ที่ระดับ 29.731.7 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ หรือเฉลี่ยทั้งปีที่ 30.7 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เทียบกับปีก่อนที่อยู่ในระดับ 31.1 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยสศค.ประเมินว่าหากเงินบาทแข็งค่าขึ้น 1% จะกระทบกับการส่งออก 0.4% กระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ 2.3% แต่ส่งผลดีให้เงินเฟ้อลดลง 0.2% ซึ่งขณะนี้มองว่ายังไม่กระทบกับจีดีพีปีนี้ที่คาดไว้ขยายตัวในระดับ 5% ส่วนไตรมาส 4 ปีก่อนเชื่อว่าขยายตัวไม่น้อยกว่า 15.9% ส่งผลให้ทั้งปี 2555 น่าจะขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 5.7%

             สิ่งที่จะช่วยได้ คือ รัฐบาลควรต้องตัดงบรายจ่ายประจำออก โดยเฉพาะรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับประชานิยม เพราะทำให้งบที่เหลือไปใช้เพื่อการลงทุนมีน้อยลง การลดดอกเบี้ยน่าจะสามารถทำควบคู่ไปกับมาตรการลดแรงกดดันเงินบาทแข็งค่าของ ธปท. เพราะแรงกดดันเงินเฟ้อในปีนี้น่าจะไม่รุนแรง หากเป็นไปตามกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อที่ ธปท.คาดว่าเงินเฟ้อในปีนี้จะอยู่ที่ 2.8% การลดดอกเบี้ยไม่น่าจะมีให้เงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นมากนัก”

            นอกจากนี้ ธปท. ควรเข้าไปดูแลความผันผวนของค่าเงินบาท เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการส่งออก เพราะต้องยอมรับว่าตั้งแต่ต้นปีค่าเงินบาทแข็งค่ามากเมื่อเทียบกับคู่แข่ง โดยตั้งแต่ต้นปีค่าเงินบาทแข็งค่าประมาณ 2-3% ขณะที่คู่แข่งแข็งค่าไม่ถึง 1% ซึ่งทำให้ความสารถการแข่งขันส่งออกของไทยเสียเปรียบ

           ทั้งนี้ เงินทุนที่ไหลเข้าเกิดจากดอกเบี้ยนโยบายของไทยอยู่ที่ 2.75% ที่สูงกว่าของสหรัฐอยู่ที่ 0.25% ซึ่งส่วนตัวเห็นว่าธปท.ควรปรับลดดอกเบี้ยลงเพื่อลดมูลเหตุจูงใจการไหลเข้าของเงิน พร้อมกับมีมาตรการสกัดกั้นการไหลเข้าของเงินทุนระยะสั้น และต้องไม่ใช่การใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ โดยมองว่าหากเงินบาทแข็งค่าในกรอบ 28 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ภาคธุรกิจจะอยู่ไม่ได้

นางสาวทีปกา ชวาลวิทย์ 55127326075

                                                    พาณิชย์นัดถก สอท.-หอการค้า

หามาตรการรับมือบาทแข็ง

ไม่มั่นใจส่งออกโตตามเป้า9%

บุญทรงยอมรับกังวล บาทแข็ง” กระทบการค้ากับต่างประเทศ นัดสภาหอการค้า-สภาอุตฯหารือสัมปดาห์หน้า ด้าน สถาบันอาหาร จับตาเงินบาทแข็ง ค่าแรง 300 บาท  มากระทบต้นทุน

นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ หารือกับ สภาหอการค้าแห่งประเทศ และ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เพื่อรับฟังปัญหา และแนวทางการบรรเทาผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็งค่าในขณะนี้ โดยจากการหารือเบื้องต้นร่วมกับผู้ส่งออกในแต่ละอุตสาหกรรม พบว่าผู้ส่งออกรายใหญ่ยังทำธุรกิจได้ตามปกติ และยังไม่ได้รับกระทบ เพราะได้ซื้อความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนไว้ล่วงหน้าแล้ว แต่รายเล็กอาจได้รับผลกระทบ ซึ่งหลังจากหารือจะเสนอรัฐบาลหามาตรการช่วยเหลือให้ตรงตามความต้องการของภาคเอกชนต่อไป เพราะมาตรการช่วยเหลือจะเกี่ยวข้องกับหน่วยงานอื่นๆ เช่น กระทรวงการคลัง กระทรวงแรงงาน เป็นต้น

"เป้าหมายการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกสินค้าไทยในปีนี้ ยังคงไว้ที่ 8-9% ซึ่งเป็นเป้าหมายการทำงาน ซึ่งตอนที่เราจัดทำเป้าหมาย ยังไม่ได้ประเมินค่าเงินบาทแข็งอย่างปัจจุบันเข้าไปด้วย แต่ได้สั่งการให้กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ รวบรวมปัจจัยที่จะมีผลกระทบต่อการส่งออก เพื่อดูว่าต้องมีการทบทวนตัวเลขการส่งออกหรือไม่ คาดว่าน่าจะประเมินสถานการณ์ส่งออกก่อนเดือนพ.ค.นี้"นายบุญทรง กล่าว

ขณะที่ นางวัชรี วิมุกตายน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า จะหารือกับทัง 2 สภาฯได้ราวสัปดาห์หน้า ซึ่งคงต้องฟังภาคเอกชนก่อนว่าได้รับผลกระทบอย่างไร และต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลืออย่างไร จากนั้นจึงจะรายงานให้นายกรัฐมนตรีได้รับทราบก่อนออกมาตรการช่วยเหลือต่อไป

ด้าน นายวิฑูรย์  สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการสถาบันอาหาร ได้ประชุมกับ คณะกรรมการสถาบันอาหาร โดบยอมรับว่า  แนวโน้มอุตสาหกรรมไทยปีนี้มีปัญหาที่กระทบขีดความสามารถในการแข่งขันมาก  โดยเฉพาะต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นและเงินบาทแข็งค่าแต่ก็เชื่อว่าผู้ประกอบการไทยจะปรับตัวได้  และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องมีมาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอีให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันระยะยาว  ซึ่งต้องส่งเสริมให้ผู้ประกอบการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการผลิต พัฒนาบุคคลากรและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าจากความต้องการของตลาดโลก

ทั้งนี้  สถาบันอาหาร คาดว่าการส่งออกสินค้าอาหารปี 2556 จะมีมูลค่า 1.05 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 7.2 % โดยมีปัจจัยบวกจากเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มขยายตัว และส่งผลดีกับการส่งออกสินค้าอาหารทุกกลุ่ม  ซึ่งเศรษฐกิจโลกปีนี้คาดว่าจะขยายตัว 3.5 % เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่ขยายตัว 3.3% และเศรษฐกิจเอเชียจะเป็นแรงขับเคลื่อนหลัก  รวมทั้งได้รับปัจจัยบวกจากการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ที่ช่วยให้การค้าภายในภูมิภาคขยายตัว เช่น อาเซียน บวก 6

อย่างไรก็ตามต้องดูปัจจัยเสี่ยง 2 เรื่อง คือ 1.แนวโน้มการแข็งค่าเงินบาท  โดยเมื่อวันที่ 24 มกราคม2556 ค่าเงินบาทอยู่ที่ 29.58 บาท แข็งค่าขึ้น 2.67 % เมื่อเทียบกับสัปดาห์สุดท้ายของปี 2555  รวมทั้งเงินบาทยังแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยน ยูโร ปอนด์ และดอลลาร์ออสเตรเลีย

ทั้งนี้เงินบาทแข็งค่าขึ้นส่งผลให้ราคาสินค้าไทยสูงกว่าคู่แข่งและทำให้แข่งขันลำบาก เช่น ข้าว กุ้ง มันสำปะหลัง น้ำตาล ผักผลไม้สดและแปรรูป  โดยเมื่อเทียบกับจีนแล้วไทยจะแข่งขันลำบากในสินค้าไก่ และอาหารทะเลหอการค้าไทย เผยภาคเอกชนต้องการให้ ธปท.ดูแลค่าเงินบาทเป็นพิเศษ เนื่องจากการแข็งค่าของเงินบาทในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เชื่อว่าการแข็งค่าของเงินบาทเป็นสถานการณ์ระยะสั้น พร้อมแนะให้ผู้ส่งออกรับมือกับสถานการณ์ ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์ธนาคารโลกประจำประเทศไทย เชื่อว่า ค่าเงินบาทในขณะนี้ ไม่มีผลต่อการส่งออกของไทยเทียบเท่ากับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก

ดูวีดีโอข่าว คลิก "ที่นี้"







นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงสถานการณ์เงินบาทแข็งค่าในขณะนี้ว่า ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าจะส่งผลกระทบต่อภาพรวมของการส่งออกหรือไม่ เพราะจะต้องพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ  และสถานการณ์ตลอดทั้งปีด้วย

เพราะการแข็งค่าของเงินบาทในขณะนี้  เป็นผลมาจากการออกมาตรการ QE4 ของสหรัฐอเมริกา เพื่อนำมาบริหารจัดการการเงินของประเทศ ทำให้เงินดอลลาร์ทะลักเข้าไทยเป็นจำนวนมาก ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นสถานการณ์ชั่วคราว และจากการติดตามสถานการณ์ ทางกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย ก็อยู่ระหว่างการปรับแผนการบริหารจัดการ เพื่อแก้ไขปัญหา ซึ่งผู้ส่งออกจะต้องเตรียมความพร้อมรับมือกับความเสี่ยงจากสถานการณ์ดังกล่าวด้วย

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ค่าเงินบาทที่เหมาะสมไม่ควรต่ำกว่าระดับ 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เพราะจะทำให้การส่งออกได้รับผลกระทบ ซึ่งขณะนี้เงินบาทแข็งค่ามาอยู่ที่ระดับ 29 บาท 30 สตางค์ ถึง 29 บาท 50 สตางค์ต่อดอลลาร์สหรัฐฯแล้ว

ด้านนางสาวกิริฎา เภาพิจิตร นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลก สำนักงานประเทศไทย กล่าวว่า เงินบาทที่แข็งค่าในขณะนี้  ยังอยู่ในทิศทางเดียวกับภูมิภาค  และไม่ใช่ปัจจัยหลักที่จะกระทบการส่งออกของไทย  แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าเงินบาทจะแข็งค่าอีกนานเพียงใด

เพราะต้องขึ้นอยู่กับปริมาณเงินที่ไหลเข้ามาในประเทศ หากเงินไหลเข้าในปริมาณมาก อาจทำให้ค่าเงินบาทมีความผันผวน  แต่เชื่อว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะนำเครื่องมือที่เตรียมไว้มาบริหารจัดการได้ทันท่วงที แต่ต้องป้องกันปัญหาการเก็งกำไรค่าเงินด้วย

ทั้งนี้ เงินบาทที่แข็งค่ามีทั้งผลดีและผลเสีย โดยในส่วนของผลดี คือ เป็นโอกาสที่ผู้ประกอบการไทยจะนำเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบในการผลิตสินค้า ได้ในราคาที่ถูกลง ขณะเดียวกันก็เป็นโอกาสให้ผู้ส่งออกปรับตัวและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้มากขึ้น  

ทั้งนี้ที่ผ่านมาเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่ามาระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งผู้ประกอบการทราบดีและเตรียมมาตรการรองรับความเสี่ยง หรือ เฮดจิ้ง ไว้แล้วเช่นกัน  

นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลก กล่าวว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งออกมากกว่าเงินบาทแข็งค่า คือ ความต้องการสินค้าจากต่างประเทศที่ลดลง เพราะภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว โดยเฉพาะประเทศส่งออกหลักของไทย ทั้งสหรัฐและสหภาพยุโรปที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวเท่าที่ควร

ธนาคารโลกยังได้คาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย หรือ จีดีพี ในปี 2555 จะอยู่ที่ร้อยละ 4.7 โดยการส่งออกขยายตัวที่ร้อยละ 3.6 การนำเข้าขยายตัวที่ร้อยละ 8 ส่วนในปี 2556 จีดีพีจะขยายตัวที่ ร้อยละ 5 การส่งออกขยายตัวที่ร้อยละ 5.5 การนำเข้าขยายตัวลดลงเหลือร้อยละ 6  ภายใต้ปัจจัยเสี่ยงหลายประการ ได้แก่ 

- ความเสี่ยงจากการขยายตัวแบบค่อยเป็นค่อยไปและเปราะบางของเศรษฐกิจโลก 

- ราคาสินค้าเกษตร เช่น ยางพารา ข้าว ที่มีอัตราลดลง 

- การเบิกจ่ายงบประมาณในโครงการบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลที่ล่าช้าไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ 

- การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ 

- ความไม่แน่นอนทางการเมือง

ส่วนปัจจัยบวกที่มีผลต่อจีดีพีในปี 2556 ได้แก่ ราคาพลังงานในตลาดโลกที่ปรับขึ้นในอัตราที่ช้าลง , การเคลื่อนย้ายการลงทุนมาในภูมิภาคเอเชียมากขึ้น , การนำเข้ากลับเข้าสู่ภาวะปกติ และ อัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในระดับต่ำ



                                    

"ประสาร" ย้ำหน้าที่แบงก์ชาติส่งรัฐนาวาเศรษฐกิจไทยให้ขึ้นฝั่งอย่างปลอดภัยโดยเร็วที่สุด ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอและไม่แน่นอน พร้อมชี้เป็นความท้าทาย 2 ด้านสำหรับผู้บริหารนโยบายการเงินในปี 2556 คือ ความท้าทายแรกที่จะรักษาสมดุลระหว่างการขยายตัวทางเศรษฐกิจและเสถียรภาพทางการเงิน กับความท้าทายที่สองในการดูแลเงินทุนเคลื่อนย้ายที่มีความผันผวนขึ้น ทำให้ต้องติดตามและประเมินผลกระทบของค่าเงินบาทต่อภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง รวมถึงสัญญาณฟองสบู่ในสินทรัพย์ทางการเงิน 
ดร. ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวสุนทรพจน์ประจำปีต่อผู้สื่อข่าวในวันนี้ (22 ม.ค.) เรื่อง “ทิศทางการดำเนินนโยบายของ ธปท.ในปี 2556” ว่า เป็นความท้าทายในการดำเนินงานของผู้ดูแลนโยบายเศรษฐกิจทั้งหลาย รวมถึงแบงก์ชาติในปีนี้ จึงอยู่ที่การรักษาสมดุลของนโยบายในด้านต่าง ๆ ซึ่งต้องอาศัยการประสานงานจากทั้งภายในองค์กรและระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจการเงินไทยสามารถเติบโต 
ได้อย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ และดูแลคนไทยให้มีความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืน 
ดร.ประสาร กล่าวว่า หากเปรียบเศรษฐกิจไทยในปีที่ผ่านมา เป็นเรือที่กำลังลอยลำอยู่ท่ามกลางมรสุม ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอและมีความเสี่ยงสูง เศรษฐกิจในประเทศที่อยู่ในช่วงฟื้นตัวหลังเหตุการณ์มหาอุทกภัย และภาวะเงินทุนเคลื่อนย้ายที่มีความผันผวน ความท้าทายของผู้ดูแลนโยบายเศรษฐกิจ จึงอยู่ที่จะประคับประคองเรือให้แล่นไปยังจุดหมายอย่างปลอดภัยได้อย่างไร ซึ่งตลอดช่วง 1 ปี 
โดยที่ผ่านมาก็เป็นเครื่องพิสูจน์แล้วว่า เศรษฐกิจไทยเข้มแข็งและมีความยืดหยุ่นเพียงพอในการรองรับความเสี่ยงและความผันผวนต่าง ๆ โดยอุปสงค์ภายในประเทศเปรียบได้กับเสากระโดงเรือที่แข็งแรง และเป็นแรงขับเคลื่อนหลักให้กับเศรษฐกิจในช่วงที่เศรษฐกิจโลกยังคงซบเซา และเมื่อได้รับแรงสนับสนุนจากภาครัฐ จึงทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศโดยรวมสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่นตลอดช่วงมรสุมดังกล่าว ซึ่งผมขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องจากทุกภาคส่วนที่ร่วมด้วยช่วยกัน 
อย่างดีตลอดทั้งปีที่ผ่านมา 
สำหรับการดำเนินนโยบายการเงินในปีที่ผ่านมา ได้ให้ความสำคัญกับความเสี่ยงด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นหลัก จะเห็นได้ว่านโยบายการเงินตลอดทั้งปี 2555 ผ่อนปรนต่อเนื่อง โดยคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 0.5% ต่อปี โดยปรับลดครั้งแรกในช่วงต้นปีเพื่อช่วยสนับสนุนกระบวนการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังเหตุการณ์มหาอุทกภัยให้กลับเข้าสู่ระดับปกติได้เร็วขึ้น และปรับลดลงอีกครั้งในช่วงปลายปี เพื่อช่วยรองรับความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลก และรักษาแรงส่งของอุปสงค์ในประเทศให้สามารถประคับประคองเศรษฐกิจไทยได้อย่างตลอดรอดฝั่ง 
ขณะเดียวกันก็ดูแลเงินเฟ้อให้อยู่ในกรอบเป้าหมายที่กำหนด และรักษาเสถียรภาพระบบการเงินโดยรวมให้อยู่ในเกณฑ์ดี ซึ่งในปีที่ผ่านมา ได้ริเริ่มให้มีการจัดประชุมหารือร่วมกันระหว่าง กนง. และคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน (กนส.) เป็นครั้งแรก เพื่อเป็นช่องทางในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากมุมมองที่หลากหลาย เพื่อประโยชน์ในการติดตามและประเมินความเสี่ยงเชิงระบบที่อาจเกิดขึ้นจากความเชื่อมโยงของภาคส่วนต่าง ๆ ของเศรษฐกิจและการเงิน 
นอกจากนี้ เพื่อขยายโอกาสให้นักลงทุนไทยสามารถลงทุนในต่างประเทศได้อย่างสะดวกและกว้างขวางขึ้น 
แบงก์ชาติได้ทยอยผ่อนคลายกฎเกณฑ์ด้านเงินทุนเคลื่อนย้าย ต่อเนื่องจากที่ได้ดำเนินการมาในช่วงก่อนหน้า และกระทรวงการคลังก็จะร่วมดำเนินการในส่วนที่อยู่ภายใต้การดูแลด้วย 
จากประสบการณ์ของหลายประเทศ โดยเฉพาะในช่วงวิกฤติการเงินโลกครั้งล่าสุด แสดงให้เห็นแล้วว่า นโยบายการเงินเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอสำหรับการดูแลเสถียรภาพระบบการเงินได่ แบงก์ชาติทั่วโลกจึงมุ่งเน้นให้ความสำคัญต่อการกำกับดูแลสถาบันการเงินให้มีความมั่นคงและมีการบริหารความเสี่ยงที่ดี ตลอดจนคำนึงถึงความเสี่ยงเชิงระบบมากขึ้น ซึ่งในปีที่ผ่านมา แบงก์ชาติได้ออกหลักเกณฑ์กำกับดูแลการดำรงเงินกองทุนตามแนวทาง Basel III โดยเน้นเรื่องคุณภาพของเงินกองทุนมากขึ้น และกำหนดให้ดำรงเงินกองทุนเพิ่มเติมเพื่อรองรับความเสี่ยงในยามวิกฤติ รวมทั้งปรับปรุงหลักเกณฑ์การบริหารความเสี่ยง โดยเฉพาะความเสี่ยงด้านเครดิตให้รัดกุมยิ่งขึ้น เพื่อช่วยสร้างเสริมเสถียรภาพในระบบสถาบันการเงินอันจะเป็นผลดีต่อระบบการเงินและภาคเศรษฐกิจในระยะยาว

ทิศทางเศรษฐกิจในปี 2556 
ดร.ประสาร กล่าวถึงความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจในอนาคตข้างหน้า ดูโดยรวมลดลงไปบ้าง จากเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชัดเจนขึ้นว่าจะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ขณะที่อุปสงค์ภายในประเทศยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนได้รับแรงสนับสนุนจากมาตรการคืนภาษีรถยนต์คันแรกที่มีผลต่อเนื่องจากปีก่อนหน้า รวมทั้งการปรับโครงสร้างอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่จะบังคับใช้ในปีภาษี 2556 นอกจากนี้ การลงทุนภาคเอกชนยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ดี จากการลงทุนเพื่อรองรับความต้องการในประเทศที่ยังแข็งแกร่ง การซ่อมสร้างในบางอุตสาหกรรม รวมทั้งการลงทุนที่สืบเนื่องจากโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ 
ขณะที่ภาคการส่งออกจะเริ่มทยอยฟื้นตัวจนกลับมามีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจมากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี ทั้งหมดนี้จะช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ต่อเนื่องหลังจากที่แรงกระตุ้นจากมาตรการภาครัฐบางส่วนทยอยสิ้นสุดลง ขณะที่แรงกดดันเงินเฟ้อมีแนวโน้มทรงตัวต่อเนื่อง 
แม้ว่าการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในรอบที่ 2 อาจไม่ได้ส่งผลต่อแรงกดดันเงินเฟ้อมากนัก เนื่องจากผู้ประกอบการส่วนใหญ่สามารถบริหารจัดการต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้ผนวกกับการปรับราคาสินค้ายังทำได้ยากในภาวะที่การแข่งขันทางธุรกิจสูง แต่ก็ยังต้องติดตามผลกระทบจากประเด็นดังกล่าวอย่างใกล้ชิดต่อไป 
ผู้ว่าแบงก์ชาติ บอกว่า เศรษฐกิจปัจจุบันเปรียบเหมือนเรือที่ได้แล่นผ่านพ้นมรสุมใหญ่ไปแล้ว แต่คลื่นลมก็ยังแรง 
และมีเค้าลางของเมฆที่อาจก่อตัวเป็นพายุในน่านน้ำข้างหน้าได้อีกครั้ง โจทย์สำคัญของผู้ดำเนินนโยบายเศรษฐกิจภายใต้ความเสี่ยงที่อาจแอบแฝงก่อตัวอยู่ในเวลานี้ คือ ทำอย่างไรให้เรือแล่นไปสู่จุดหมายได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัยที่สุด การดำเนินนโยบายที่มองไปข้างหน้าและมีลักษณะ proactive เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นต่อไปจึงเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง 
"ความท้าทายในเวลานี้อยู่ที่การรักษาสมดุลของการดำเนินนโยบายด้านต่างๆ เพื่อให้การสร้างประสิทธิผลสูงสุดของนโยบายนั้นๆ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของประโยชน์ที่ยั่งยืนของประชาชน คือความมั่นคงปลอดภัย และความมีเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจการเงิน" 
ดังนั้น ในปีนี้ความท้าทายแรกจะอยู่ที่การรักษาสมดุลระหว่างการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการรักษาเสถียรภาพทางการเงิน เพราะหากต้องการให้เศรษฐกิจขยายตัวได้อย่างราบรื่นและต่อเนื่อง การกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งเป็นต้นทุนในการกู้ยืมไว้ในระดับต่ำนานเกินไปอาจจูงใจให้ภาคเอกชนก่อหนี้สินมากเกินควร หรือกระตุ้นให้ผู้ฝากเงินหันไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่ามากขึ้น และอาจนำไปสู่การสะสมความไม่สมดุลในระบบการเงินหรือภาวะฟองสบู่ได้ในอนาคต การดำเนินนโยบายการเงินในปัจจุบันจึงต้องทำควบคู่กับการดูแลเสถียรภาพของระบบการเงิน 
ความท้าทายที่สองอยู่ที่การดูแลเงินทุนเคลื่อนย้ายที่มีความผันผวนขึ้น รวมทั้งติดตามและประเมินผลกระทบของค่าเงินบาทต่อภาคเศรษฐกิจจริง ซึ่งแบงก์ชาติได้เตรียมแผนรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ (policy options) โดยจะพิจารณาเลือกใช้ตามความเหมาะสม ที่สำคัญคือการวางโครงสร้างและเตรียมความพร้อมแก่ภาคเอกชน เช่น มาตรการรองรับความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้าย โดยจะผ่อนคลายหลักเกณฑ์ด้านเงินทุนขาออกตามแผนแม่บทเงินทุนเคลื่อนย้าย 
ระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่ทยอยปรับปรุงตั้งแต่ในช่วงปลายปีที่ผ่านมา 
ในขณะเดียวกัน ในแง่ของความเข้มแข็งมั่นคงของสถาบันการเงิน ก็จำเป็นต้องเสริมสร้างเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงินให้สามารถรองรับความเสี่ยงในทุกสถานการณ์ โดยดูแลให้สถาบันการเงินมีเงินกองทุนที่แข็งแกร่งและมีระบบการบริหารความเสี่ยงที่รัดกุม นอกจากนี้ ในปีนี้ จะมีการกำหนดกรอบการให้ใบอนุญาตแก่แบงก์พาณิชย์ต่างประเทศที่จะเข้ามาดำเนินการในประเทศไทย ตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่ 2 อีกทั้งจะมีการกำหนดกรอบเจรจาเพื่อเอื้อให้แบงก์พาณิชย์ไทยสามารถขยายธุรกิจตามการเปิดเสรี ภายใต้ AEC ซึ่งเป็นโอกาสดีที่แบงก์พาณิชย์ไทยจะเร่งปรับตัวและเสริมสร้างจุดแข็งให้ชัดเจนขึ้นเพื่อรองรับการแข่งขันที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้นในอนาคต ตลอดจนเพิ่มโอกาสให้รายที่มีศักยภาพสูงออกไปลงทุนในต่างประเทศเพิ่มเติมเพื่อขยายฐานธุรกิจและกระจายความเสี่ยงอีกด้วย 
ทั้งหมดนี้ จึงนำมาสู่ความท้าทายของการรักษาสมดุลระหว่างการเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการทางการเงิน ได้แก่ การขยายขอบข่ายการให้บริการทางการเงินเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน ได้แก่ การรักษาไว้ซึ่งความเข้มแข็งมั่นคง และการคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ได้แก่ การรักษาสิทธิและดูแลความปลอดภัย 
"ผมจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ความร่วมมือและการประสานเชิงนโยบายของทุกฝ่าย อย่างใกล้ชิดมากขึ้น จะช่วยส่งเสริมการมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน ตลอดจนการมีส่วนร่วมในการพัฒนา และแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์"


รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง คาดการณ์ เงินบาทแข็งค่าเป็นเพียงช่วงระยะสั้นพร้อมระบุ รัฐควรวางมาตรการรักษาความปลอดภัยนักท่องเที่ยวอย่างจริงจัง



นายกิตตัรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวภายหลังการปาฐกถาพิเศษหัวข้อ ภาพรวมและนโยบายด้านเศรษฐกิจต่อการท่องเที่ยวไทย สู่เป้าหมาย 2 ล้านล้านบาท ในงานประชุมร่วมระหว่างสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (แอตต้า)และสมาคมโรงแรมไทย (ทีเอชเอ) ว่า งบประมาณการลงทุนของรัฐบาลจำนวน 2,200,000 ล้านบาท จะนำมาช่วยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบโลจิสติกส์ ประมาณร้อยละ 3 - 4 เพื่อช่วยพัฒนาระบบการขนส่งให้คล่องตัว พัฒนาระบบรถไฟรางคู่ สร้างรางรถไฟใหม่ให้มีความทันสมัย และเพิ่มความเร็ว เชื่อมต่อการเดินทางทั้งอากาศ บก และน้ำ ให้เชื่อมโยงมากขึ้น ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้กับนักท่องเที่ยวในการเดินทางมาเที่ยวประเทศไทย

นายกิตติรัตน์ กล่าวอีกว่า สำหรับรายได้จากการท่องเที่ยว 3 ใน 4 มาจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งจำเป็นต้องให้ความสำคัญ เพื่อดึงนักท่องเที่ยว นอกจากนี้ควรมีการพัฒนาอาคารสถานที่สวยงามของไทย คาดว่าจะสามารถขอความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการช่วยพัฒนาบูรณาการได้ ส่วนเป้าหมายนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทย จำนวน 22 ล้านคน ของสมาคมทั้งสอง ในปี 2558 มองว่าเป็นไปได้ เนื่องจากไทยเป็นเป้าหมายของนักท่องเที่ยว โดยนักท่องเที่ยวอันดับหนึ่งที่เดินทางเข้ามา ได้แก่ นักท่องเที่ยวจีน นอกจากนี้ได้แสดงความเป็นห่วงเกี่ยวกับปัญหาความปลอดภัย ซึ่งไทยได้รับความไว้วางใจจากต่างชาติในระดับต่ำ ดังนั้นภาครัฐจะต้องจัดการดูแลอย่างจริงจัง
สำหรับค่าเงินบาทแข็ง มองว่า อาจส่งผลต่อนักท่องเที่ยวที่มีค่าใช้จ่ายมากกว่าปกติ ซึ่งจำเป็นต้องรีบแก้ไขให้ค่าเงินกลับสู่ภาวะปกติให้เร็วที่สุด อย่างไรก็ตามเชื่อว่า เป็นการแข็งค่าในระยะสั้นเท่านั้น

นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)แถลงการณ์การประชุมหารือระหว่าง ส.อ.ท. และสมาคมภาคการค้าเรื่อง “ท่าทีภาคเอกชนต่อนโยบายด้านอัตราดอกเบี้ยกับสภาวะการแข็งค่าของเงินบาท” ว่า ที่ประชุมเสนอแนวทางการแก้ปัญหาค่าเงินบาท 7 ข้อ ได้แก่

1. ขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ซึ่งจะประชุมในวันที่ 20 ตุลาคม 2553 ลดดอกเบี้ยนโยบายให้เหลือร้อยละ 1.25 เป็นอย่างน้อย จนถึงไตรมาส 1 ปี 2554 เป็นอย่างน้อย เนื่องจากดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่ในอัตราร้อยละ 1.25 - 1.75 ไม่เป็นปัจจัยที่จะทำให้เงินเฟ้อขยายตัวอย่างเป็นนัยสำคัญ เห็นได้จากดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ก็ไม่ได้มีการปรับตัวตามอัตราดอกเบี้ย ของ ธปท. อยู่แล้ว ประกอบกับ อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมระหว่างธนาคาร (Interbank) ก็มีอัตราต่ำกว่าดอกเบี้ยนโยบาย จึงไม่มีเหตุผลให้สถาบันการเงินเร่งการปล่อยกู้ หรือ ทำให้เกิดการใช้จ่ายจนเป็นปัญหาของฟองสบู่เหมือนในอดีต

นายพยุงศักดิ์ กล่าวต่อว่า ธปท.อย่าปรับดอกเบี้ยโดยใช้เหตุผลของเรื่องเงินเฟ้อ เนื่องจากปัจจุบันประมาณการเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 3.4 ซึ่งต่ำมาก นอกจากนี้ยังคาดว่าเงินเฟ้อทั่วไปปี 2554 จะอยู่ที่ร้อยละ 3.2 แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยอาจจะมีการติดลบบ้างก็ไม่ได้เป็นปัจจัยที่เป็นนัยสำคัญต่อเศรษฐกิจประเทศไทย

"ภายใต้ความแปรปรวนของระบบการเงินโลก ธปท. ไม่ควรใช้นโยบายการเงินในการควบคุมเงินเฟ้อ ขณะเดียวกันภายใต้วิกฤติ Currencies War Crisis ธปท. ไม่ควรใช้ดอกเบี้ยนโยบายสูง และไม่สามารถปล่อยระบบการเงินและอัตราแลกเปลี่ยนไปตามกลไกตลาด เพราะมีปัจจัยตัวแปร จากการเข้ามาเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยน และการปั่นเงินผ่านตลาดทุนและตราสารหนี้"

2. มาตรการต่างๆ ทั้งของกระทรวงการคลัง และ ธปท. ที่ออกมาแล้ว ขอให้ผลักดันให้มีผลในทางปฏิบัติ การตั้งคณะกรรมการทำงานร่วมกับภาคเอกชนในการขับเคลื่อนมาตรการต่างๆ ไปสู่การปฏิบัติที่เป็นจริง ซึ่งต่างชาติจะเห็นช่องโหว่และเร่งเข้ามาเก็งกำไร เช่น การชำระค่าระวางเรือและค่าสินค้า ซึ่งยังติดปัญหาด้านเทคนิคกับกรมสรรพากร รวมถึงการปล่อยสินเชื่อภายใต้โครงการ Packing Loan และ Soft Loan ขอให้มีการกำหนดการพิจารณาหลักประกันในลักษณะผ่อนปรนหลักประกันหรือ PSA ฯลฯ

3. ธปท. ต้องส่งสัญญาณอย่างจริงจังในการดูแลไม่ให้เงินผันผวนไปตามการเก็งกำไร

4. ขอให้ ธปท. เข้มงวดเงินที่เข้ามาในลักษณะเก็งกำไรทั้งในตลาดทุน และตลาดตราสารหนี้ โดยอาจจัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจขึ้นมาตรวจสอบติดตามและควบคุมเงินเข้าและออกซึ่ง มีลักษณะเก็งกำไร โดยเฉพาะควรต้องเพิ่มแบบฟอร์มให้นักลงทุนต่างชาติต้องระบุว่าจะนำมาเงินมา ใช้ในกิจกรรมใด ในธุรกิจประเภทใด และเมื่อมีการนำเงินออก แหล่งที่มาของรายได้นั้นมาจากใด เป็นต้น ซึ่งจะทำให้การทำธุรกรรมมีความเข้มงวด รัดกุม

5.ขอให้ ธปท. ออกกฎเกณฑ์ควบคุมและจำกัดจำนวนเงินกู้ยืม และ แลกเปลี่ยนเงินบาท ของสถาบันการเงิน และ/หรือ ผู้ประกอบการธุรกิจด้านการเงิน รวมถึง บริษัทในเครือ ในการจำกัดการกู้เงินบาทไปแลกดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเป็นการจำกัดการเก็งกำไรเงินในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนที่ซื้อขายในต่าง ประเทศ

6. ขอให้ ธปท. และกระทรวงการคลัง ร่วมมือในการหามาตรการที่เข้มข้นเพิ่มขึ้นกว่าที่ออกมาแล้ว โดยใช้นโยบายทั้งการเงิน และการคลัง สอดประสานในการสกัดกดดัน เพื่อลดการนำเงินเข้ามาเก็งกำไรในระยะสั้น

และ 7. ขอให้พิจารณาดำเนินการออกมาตรการชั่วคราวในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมของเงิน ทุนระยะสั้น ที่ไหลเข้ามาในประเทศ ในอัตราร้อยละ 2.0-4.0 ซึ่งปัจจุบันมีหลายประเทศที่ทำอยู่ เพื่อลดการไหลเข้าของเงินจนกว่าจะอยู่ในสภาวะปกติ

หารือส่งออกแก้ “บาทแข็ง”

 ธปท.ชี้เงินทุนนอกเริ่มไหลเข้าออก 2 ทาง

นายบุญทรง  เตริยาภิรมย์  รมว.พาณิชย์  เปิดเผยว่า  ได้สั่งให้ปลัดกระทรวงพาณิชย์  หารือกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย  และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  (ส.อ.ท.)  เพื่อรับฟังผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็งค่า  ซึ่งเบื้องต้นพบว่า  ผู้ส่งออกรายใหญ่ยังทำธุรกิจได้ตามปกติ  เพราะได้ซื้อความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนไว้ล่วงหน้าไว้  แต่รายเล็กอาจได้รับผลกระทบ  ซึ่งหลังจากหารือจะเสนอรัฐบาลหามาตรการช่วยเหลือให้ตรงตามความต้องการของภาคเอกชนต่อไป

“เป้าหมายของการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกสินค้าไทยในปีนี้ยังคงไว้ที่ 8-9%  ซึ่งยังไม่ได้ประเมินค่าเงินบาทแข็งอย่างปัจจุบันเข้าไปด้วย  แต่ได้สั่งการในกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ  รวบรวมปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการส่งออก  เพื่อดูว่า  ต้องมีการทบทวนตัวเลขการส่งออกหรือไม่  คาดว่าน่าจะประเทินได้ก่อนเดือน  พ.ค.นี้”

 ด้านนางวัชรี  วิมุกตายน  ปลัดกระทรวงพาณิชย์  กล่าวว่า  คาดว่าจะหารือกับทั้ง  2  สภาได้ราวสัปดาห์หน้า  จากนั้นจึงรายงานให้นายกรัฐมนตรีได้ทราบก่อนออกมาตรการช่วยเหลือต่อไป

  ขณะที่นายประสาร  ไตรรัตน์วรกุล  ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย  (ธปท.)  กล่าวว่าการไหลเข้าของเงินทุนต่างชาติในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา  เริ่มมี 2 ทิศทาง  คือ  เงินออกและเงินเข้า  เห็นได้จากตลาดหุ้นที่มีทั้งการขายสุทธิและซื้อสุทธิของต่างชาติสลับกันไป  และเริ่มเห็นทิศทางการไหลเข้าออกเงินที่สมดุลมากขึ้น  แต่  ธปท.  จะยังคงระมัดระวังและติดตามสถานการณ์ต่อเนื่อง  โดยในเดือน  ม.ค.  ที่ผ่านมา  พบว่ามีเงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้ามาสุทธิ  2,000  กว่าล้านเหรียญสหรัฐ ฯ  โดยเป็นการไหลเข้าสุทธิในช่วง  2  สัปดาห์แรกมากถึง  2,000  ล้านเหรียญ ฯ

น.ส.หนึ่งฤทัย   เวฬุวนารักษ์    รหัส  55127326071

มาตรการการดูและค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นในช่วง 2 เดือนนี้ ของธนาคารแห่งประเทศไทย

หนึ่งในเป้าหมายสำคัญของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คือ การรักษาเสถียรภาพ
ของระดับอัตราแลกเปลี่ยน และดูแลให้ความผันผวน (volatility) อยู่ในระดับที่เหมาะสมและสอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ซึ่งโดยปกติแล้ว วิธีการแทรกแซงของธนาคารแห่งประเทศไทยก็คือ การเข้าไปซื้อเงินดอลลาร์สรอ. ในตลาด ซึ่งทำให้เกิดการปล่อยสภาพคล่องเงินบาทเข้าไปสู่ระบบ หรืออธิบายง่ายๆ คือ "ดูดดอลลาร์ ปล่อยบาท" ซึ่งหลักฐานของการแทรกแซงดังกล่าว จะสะท้อนออกมาในรูปของทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง

  นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) พร้อมด้วยสมาชิก ส.อ.ท. เดินทางเข้าพบนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เพื่อนำข้อเสนอของส.อ.ท.ทั้ง 7 ข้อเกี่ยวกับการดูแลค่าเงินบาท เนื่องจากมองว่าแนวโน้มค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นโดยอาจจะถึงระดับ 28 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม(SME) ที่ใช้วัตถุดิบในประเทศเป็นหลัก

ซึ่งนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)กล่าวว่า 7 มาตรการที่เสนอมานั้นทาง ธปท. ได้ดำเนินการเรื่องนั้นอยู่แล้ว มีเพียงข้อที่ สรอ. ต้องการให้แยกระหว่างบัญชีต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนกับบัญชีเก็งกำไร ที่ ธปท. ไม่สามารถได้ชัดเจนว่า เป็นการเข้ามาเพื่อเก็งกำไร หรือเข้ามาลงทุนระยะสั้น ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ยังไม่เห็นการนำเงินเข้ามาซื้อขายในรูปการเก็งกำไร ทั้งในตลาดทุนและตลาดตราสารหนี้ ในขณะที่รัฐบาลช่วยในเรื่องการสร้างสมดุลเงินเข้าออก โดยขอให้รัฐวิสาหกิจมีหนี้สินต่างประเทศบริหารเวลาให้เหมาะสม และช่วยสร้างเสถียรภาพของค่าเงิน ในขณะเดียวกันภาคเอกชนก็ต้องปรับตัวรองรับการผันผวนที่จะเกิดด้วย

  ภาคเอกชนเสนอ 7 มาตรการดูแลค่าเงินบาท แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ดังนี้

1.  ดูแลค่าเงินบาทไม่ให้มีความผันผวนเร็วเกินไป

2.  ดูแลเงินบาทไม่ให้แข็งค่ากว่าภูมิภาค โดยเฉพาะอินโดนีเซีย และมาเลเซีย

3.  ควรมีการผ่อนคลายกฎเกณฑ์การถือครองเงินตราต่างประเทศ

4.  การลดวงเงินการทำธุรกรรมในการป้องกันความเสี่ยง และลดค่าใช้จ่ายให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เพื่อให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก(SME)สามารถเข้าถึงมาตรการป้องกันความเสี่ยงมากขึ้น

5.  ควรมีการแยกระหว่างบัญชีต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนกับบัญชีเก็งกำไร

6.  ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการออกไปลงทุนต่างประเทศ โดยเร่งแก้  พ.ร.บ. ส่งเสริมการลงทุน และ

7.  ให้ภาครัฐและเอกชนโครงการ โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ

เอกชนต้องให้  ธปท.  ดูแลดูแลค่าเงินบาทเป็นพิเศษ เพราะการแข็งค่าของเงินบาทเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมาก ปัจจุบันเกิดการไหลเวียนข้าวของเงินเยนและยูโร ที่ออกมาแสวงหาผลตอบแทน โดยเฉพาะไทย ที่ให้ผลตอบแทนดอกเบี้ยพันธบัตรระยะสั้นสูงถึง 2.75 % ในระยะสั้น 2-3 เดือนนี้ เงินบาทยังมีความผันผวน  การแข็งค่าของเงินบาท 1 บาท ต่อเหรียญสหรัฐ จะทำให้เงินในกระเป๋าผู้ส่งออกหายไปประมาร 18,000 ล้านบาทต่อเดือน หรือ 216,000 ล้านบาทต่อปี

อ้างอิงจาก หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับประจำวันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ.2556 


น.ส.นิสาชล  สิงหะ   รหัส  55127326079

         ณ วันที่ 30 ม.ค.การเคลื่อนไหวเงินบาทประมาณ 29.75 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่า 2.89%นับตั้งแต่ปลายปี 55 จนถึงปัจจุบัน ถือเป็นอันดับสองรองจากสกุลเงินรูปีแข็งค่า 2.95% ขณะที่การเคลื่อนไหวระหว่างวัน (วันที่ 30 ม.ค.เทียบกับวันที่ 29 ม.ค.) เงินบาทแข็งค่า 0.30% เป็นรองรูปีเช่นกันที่แข็งค่าสูงสุดถึง 0.65%
        ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การเคลื่อนย้ายเงินทุนจะเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจและยังไม่เห็นสัญญาณการโจมตีค่าเงินหรือเข้ามาในลักษณะทุบราคาชี้นำไปทิศทางใดทิศทางหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ตลาดการเงินต่างคาดการณ์ว่าปี 56 เศรษฐกิจภูมิภาคเอเชียเติบโตค่อนข้างดี ทำให้มีเงินทุนไหลเข้ามา แต่เงินบาทยังเคลื่อนไหวตามพื้นฐานเศรษฐกิจ จึงไม่มีเจตนาเข้าไปแทรกแซง แต่จะทำต่อเมื่อเงินบาทไม่สอดคล้องพื้นฐานเศรษฐกิจ
 อีกทั้งปัจจุบันไทยก็มีมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาทอยู่บ้าง อาทิ ต่างชาติลงทุนเป็นเงินบาท ถ้าไม่มี Underlying รองรับ เราจะมีข้อห้าม ทำให้นักลงทุนต่างชาติทำได้เล็กน้อยเท่านั้น และการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อดูแลเฉพาะด้านเดียวของเงินทุนไหลเข้าคงไม่ได้เห็นได้จากฮ่องกงมีดอกเบี้ยต่ำเท่ากับสหรัฐ แต่เงินไหลเข้าอยู่ จึงควรใช้อัตราดอกเบี้ย เพื่อดูแลเสถียรภาพระบบการเงินและควรผสมผสานเครื่องมือให้เหมาะสถานการณ์ดีกว่า

        ผลพวงจากธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาดำเนินนโยบายผ่อนคลายการเงินเชิงปริมาณ หรือ คิวอี และล่าสุด ธนาคารกลางญี่ปุ่น ประกาศมาตรการผ่อนคลายทางการเงิน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้ เงินทุนต่างชาติอาจไหลเข้าตลาดเงินของไทยมากขึ้น         

นักการเงินธนาคารพาณิชย์หลายแห่งเห็นตรงกันว่า ปัญหาดังกล่าว ทำให้ค่าเงินบาทผันผวนในทิศทางแข็งค่า ในกรอบดอลลาร์สหรัฐละ 29.50 บาท - 29.80 บาท

โดย นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ยอมรับว่า เงินบาทแข็งค่าเร็วกว่าประเทศคู่แข่ง แต่สอดคล้องกับภูมิภาค และหากมีความจำเป็น ก็พร้อมออกมาตรการพิเศษ เพื่อแทรกแซงค่าเงิน

ขณะที่นายธนิต โสรัตน์ เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เรียกร้องให้แบงก์ชาติ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง จากปัจจุบันร้อยละ 2.75 เพื่อลดเงินทุนไหลเข้า พร้อมประเมิน หากแบงก์ชาติ ไม่ออกมาตรการใดๆ เงินบาทอาจแข็งค่าดอลลาร์สหรัฐละ 28 บาท ซึ่งซ้ำเติมผู้ประกอบการจากนโยบายขึ้นค่าจ้างอยู่แล้ว

และขณะที่นายพยุง ศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภา อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ในการหารือนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อนำเสนอแนวทาง 7 ข้อ เพื่อลดผลกระทบต่อการแข็งค่าของเงินบาท โดยต้องการให้ ธปท.เข้ามาดูแลค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นขณะนี้ เพราะได้สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้ส่งออก โดยเฉพาะผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เพราะเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในปัจจุบันแข็งค่าขึ้นมากกว่าคู่แข่ง

ผู้ว่า ธปท. แนะเอกชนควรใช้โอกาสช่วงเงินบาทแข็งค่า นำเข้าสินค้าทุน เพื่อลดต้นทุนการผลิตของภาคเอกชน และการปรับปรุงพัฒนาแรงงาน

นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าว เอกชนควรใช้โอกาสช่วงเงินบาทแข็งค่า นำเข้าสินค้าทุน เพื่อลดต้นทุนการผลิตของภาคเอกชน และการปรับปรุงพัฒนาแรงงาน เพื่อให้การผลิตสินค้ามีประสิทธิภาพ แม้จะต้องทยอยปรับเพิ่มค่าแรงงานก็ตาม ทั้งนี้ งบการวิจัยมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 0.2 ของจีดีพีเท่านั้น

 

          นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย  (ธปท.) กล่าวถึงผลการหารือระหว่างนายประสาร ไตรรัตน์วรกุลผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. กับนายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผลประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ ส.อ.ท. และสมาชิก ส.อ.ท.เป็นเวลากว่า 1.30 ชั่วโมงถึงข้อเสนอ 7 ข้อของ ส.อ.ท.ในการดูแลค่าเงินบาท ว่า ได้มีการทำความเข้าใจกับส.อ.ท.ถึงการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่าบ้างแล้วตามเงินสกุลในภูมิภาค ซึ่งทิศทางบาทสามารถอ่อนและแข็งได้ในหลายช่วง โดย ส.อ.ท.ขอให้ธปท.ติดตามธุรกรรมต่างๆ อย่างใกล้ชิด และมีความเข้าใจว่า หากธปท.ต้องใช้มาตรการในภาวะจำเป็นก็ไว้ใจ ธปท.ว่าจะใช้มาตรการในระดับและจังหวะเวลาที่เหมาะสม ซึ่ง ธปท.ได้ยืนยันว่ามีมาตรการดูแลเงินบาทหลายมาตรการโดยจะพิจารณาใช้ตามความเหมาะสมของสถานการณ์
อย่างไรก็ตาม ส.อ.ท.ขอให้ธปท.เทียบค่าเงินบาทกับสกุลเงินต่างๆ ในอาเซียน 9 ประเทศ รวมทั้ง ไทย และเงินสกุลของประเทศคู่แข่ง คือ จีน อินเดีย บังกลาเทศ และ ศรีลังกา รวมเป็น 14 ประเทศ นอกเหนือจากเงินบาทเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐเพื่อให้สามารถเทียบเคียงกับราคาสินค้าของประเทศคู่แข่งได้ โดยธปท.พร้อมพิจารณา
นอกจากนี้ธปท.จะช่วยประสานกับธนาคารพาณิชย์ให้เอสเอ็มอีสามารถซื้อประกันความเสี่ยงในขนาดธุรกรรมที่เล็กลงและเร่งประชาสัมพันธ์ให้เอสเอ็มอีซื้อสัญญาซื้อขายเงินดอลลาร์สหรัฐล่วงหน้าในตลาดTfex ซึ่ง 1 สัญญามีมูลค่า 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 30,000 บาทซึ่งเป็นการป้องกันความเสี่ยงที่เอสเอ็มอีสามารถเข้าถึงได้ และขอให้ส.อ.ท.ย้ำให้สมาชิกซื้อประกันความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอเพื่อลดทอนกระทบในช่วงที่อัตราแลกเปลี่ยนผันผวนรวมทั้งการสนับสนุนการใช้เงินสกุลท้องถิ่น เพื่อการผ่อนชำระและซื้อสินค้ามากขึ้น

พร้อมกันนี้ขอให้ ส.อ.ท.ทำความเข้าใจกับสมาชิกว่าผู้ส่งออกสามารถที่จะถือครองดอลลาร์สหรัฐที่ได้จากการค้าขายเป็นระยะเวลา 1 ปีซึ่งถือเป็นระยะเวลาที่เหมาะสม

"เราก็มีความเข้าใจที่ตรงกันที่จะบรรเทาผลกระทบต่อผู้ส่งออกและเข้าใจตรงกันว่าในช่วงงินบาทแข็งถือเป็นโอกาสที่จะเพิ่มการลงทุนทั้งในโครงการภาครัฐและเอกชนหากช่วยสนับสนุนก็จะมีความต้องการใช้เงินตราต่างประเทศช่วยรักษาสมดุลของปริมาณเงินไหลเข้า - ออก จะมีการประสานงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องพร้อมขอให้ใช้ประโยชน์ช่วงเงินบาทแข็งค่าเร่งการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน"นางผ่องเพ็ญกล่าว
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธาน ส.อ.ท. กล่าว ว่า ได้ฟังข้อมูลจากธปท.ก็สบายใจขึ้น เพราะค่าเงินบาทเริ่มทรงตัวและมั่นใจว่าจะค่าเงินบาทจะไม่แข็งค่าถึง 28 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐอย่างที่กังวลใจแต่ต้องติดตามสถานการณ์อีกระยะพร้อมกันนี้จะเร่งให้ข้อมูลกับสมาชิกโดยเฉพาะเอสเอ็มอีให้ซื้อสัญญาซื้อขายเงินดอลลาร์สหรัฐล่วงเพื่อประกันความเสี่ยงจากค่าเงินบาท
ส่วนการแยกบัญชีเงินที่จะเข้ามาเก็งกำไรกับบัญชีเงินต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนส.อ.ท.เข้าใจว่ามีทั้งผลดีและผลเสียเนื่องจากอาจเป็นการส่งสัญญาณการควบคุมการไหลเข้าของเงินทุน ดังนั้นส.อ.ท.และที่ผ่านมา ธปท.ดำเนินการได้ดี โดยดูจากข้อมูลสิ้นปี 2555 มีเงินทุนไหลเข้า 21,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีเงินไหลออก 19,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งถือว่ามีความสมดุล


 

"ดร.โกร่ง" จวกธปท.ไร้กึ๋น-ค่าเงินบาทแข็ง ดีแต่คิดขึ้นดอกเบี้ย

เศรษฐกิจ ข่าวสด

นาย กิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง เปิดเผยภายหลังการประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อติดตามภาวะเศรษฐกิจของ ประเทศ ทั้งผลกระทบจากนโยบายการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท และการแข็งค่าของเงินบาท โดยมีน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เมื่อวันที่ 30 ม.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาลว่า นายกฯ ได้มอบหมายให้ตนในฐานะรมว.คลัง ไปประชุมร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) รวมทั้งนักเศรษฐศาสตร์ที่ไม่ได้อยู่ในธปท.และกนง. เพื่อหาทางแก้ปัญหาค่าเงินผันผวน 

"มีการตั้งข้อสังเกตในที่ประชุม ว่า มาตรการที่มีอยู่เป็นการทวนกระแสการแข็งค่าของเงิน เป็นการทวนการไหลเข้าของเงินในระยะสั้น อาจไม่ได้เป็นมาตรการที่พอดิบพอดีกัน ซึ่งในการหารือก็มีนายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการ ธปท. นายพันศักดิ์ วิญญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาด้านนโยบายของนายกรัฐมนตรี และผู้ว่าการ ธปท. ด้วย แต่ยืนยันว่าจะไม่มีมาตรการควบคุมการไหลเข้าออกของเงินเด็ดขาด และจะไม่ใช้มาตรการเก็บภาษีจากผลตอบแทนต่างๆ" นายกิตติรัตน์กล่าว 

นาย กิตติรัตน์กล่าวว่า ในระหว่างการประชุม นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้รายงานว่า ภายหลังที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่ได้รับผลกระทบจากการปรับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ซึ่งเอสเอ็มอีที่ส่งออกก็ได้รับผลกระทบจากเงินบาทแข็งค่าด้วย จึงต้องหามาตรการช่วยเหลือ ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้จะทำงานร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) สภาหอการค้าไทย และสถาบันการเงิน อีกทั้งจะตั้งรมว.อุตสาหกรรม และรมว.พาณิชย์ เพิ่มเติมในคณะกรรมการชุดนี้ด้วย

วันเดียวกัน นายวีรพงษ์ กล่าวปาฐกถาพิเศษหัวข้อ "Thailand"s Economic Outlook 2013" จัดโดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ที่โรงแรมเชอราตัน สุขุมวิท ว่า ขณะนี้มาตรการกระตุ้นและอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจจากสหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่น สร้างความกังวลต่อปัญหาเงินร้อนที่เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้ ของไทยอย่างร้อนแรง ทั้งที่ปัจจัยพื้นฐานในประเทศ ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนไม่เปลี่ยนแปลง แต่หุ้นปรับตัวขึ้นสูง สะท้อนเงินทุนต่างชาติที่ไหลเข้ามาการเก็งกำไร ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นและอาจเกิดปัญหาฟองสบู่ในตลาดเงิน จนอาจลุกลามเข้าไปในภาคอสังหาริมทรัพย์

ทั้งนี้ เงินทุนที่ไหลเข้าเกิดจากดอกเบี้ยนโยบายของไทยอยู่ที่ 2.75% ที่สูงกว่าของสหรัฐอยู่ที่ 0.25% ซึ่งส่วนตัวเห็นว่าธปท.ควรปรับลดดอกเบี้ยลงเพื่อลดมูลเหตุจูงใจการไหลเข้า ของเงิน พร้อมกับมีมาตรการสกัดกั้นการไหลเข้าของเงินทุนระยะสั้น และต้องไม่ใช่การใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ โดยมองว่าหากเงินบาทแข็งค่าในกรอบ 28 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ภาคธุรกิจจะอยู่ไม่ได้

"สิ่งสำคัญคือ ผู้บริหารนโยบายการเงินไม่เข้าใจเรื่องการเชื่อมโยงกันระหว่างส่วนต่าง ดอกเบี้ยกับเงินทุนเคลื่อนย้ายที่น่าเป็นห่วงอย่างมาก เพราะธปท.มีความคิดแต่จะขึ้นดอกเบี้ย ยิ่งทำให้สถานการณ์เลวร้าย แม้ผมเป็นประธานธปท.ก็ยังพูดกันไม่ได้ ซึ่งการปล่อยให้ดอกเบี้ยของไทยสูงกว่าของสหรัฐนานเกินไป ทำให้การปรับลดส่วนต่างดอกเบี้ยลงมาอยู่ในระดับเดียวกันหรือต่ำกว่าต้นทุน ของเงินไหลเข้าที่ระดับ 0.75-1% เพื่อช่วยให้เงินบาทอ่อนค่าลงถือว่าเหมาะสม แต่คงเป็นเรื่องที่ทำได้ยากแล้ว เพราะขณะนี้สินเชื่อและราคาอสังหาริมทรัพย์สูงขึ้นกลับจะยิ่งซ้ำเติมให้สิน เชื่อขยายตัวสูงขึ้น อาจซ้ำรอยวิกฤตต้มยำกุ้งเมื่อปี 2540" นายวีรพงษ์กล่าว

นอก จากนี้ จากการหารือถึงผลกระทบการแข็งค่าของเงินบาทที่มีต่อผู้ส่งออกนั้น ในที่ประชุมก็ไม่เห็นมีใครเสนอวิธีที่ทำให้เงินบาทอ่อนค่าลง มีแต่แนวทางสนับสนุนให้เงินออกไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งวิธีเหล่านั้นเป็นเพียงแค่ยาแดง ยาดม ยาลม ยาหม่อง เท่านั้น

นาย บัณฑิต นิจถาวร กรรมการผู้อำนวยการ IOD กล่าวว่า ในภาวะนี้ไม่ควรกดดันให้ลดดอกเบี้ยนโยบายเพื่อสกัดเงินทุนไหลเข้า เพราะสาเหตุที่ทำให้เงินทุนไหลเข้ามีหลายปัจจัยมากกว่าที่คิด โดยเฉพาะปัจจัยจากต่างประเทศ

ด้านนายศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวิจัย บริษัท หลักทรัพย์ภัทร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เบื้องต้นประเมินว่าเงินทุนเคลื่อนย้ายจะยังคงไหลเข้ามาลงทุนในไทยต่อเนื่อง ไปอีก 2 ปีแน่นอน

นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) กล่าวว่า สศค.ติดตามภาวะค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในขณะนี้ พบว่ายังอยู่ในระดับที่สศค.คาดการณ์ไว้ว่าปีนี้ค่าเงินบาทอยู่ที่ 30.7 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ สศค.ยังคาดการณ์ว่าไตรมาส 4/2555 เศรษฐกิจจะขยายตัว 15.9% ผลักดันให้ทั้งปี 2555 ขยายตัวได้ 5.7% การส่งออกอยู่ในระดับ 3.1% ต่ำกว่าคาดการณ์ที่ 3.9% ส่วนในปี 2556 คาดว่าจะขยายตัวได้ 5% มูลค่าการส่งออกขยายตัวได้ 10% อย่างไรก็ตาม สศค.จะปรับประมาณการเศรษฐกิจปีนี้ใหม่ในช่วงเดือนมี.ค.2556

พณ.เร่งแก้ปัญหาค่าครองชีพสูง คุมเงินเฟ้อ

รายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์ พบประชาชน ประจำวันเสาร์ที่ 18 ก.พ. 2555

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี งดจัดรายการและมอบหมายและให้ นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ มาจัดรายการแทน เพื่อนำเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาความเป็นอยู่ของประชาชน โดยเฉพาะเรื่องของราคาสินค้าอุปโภคบริโภค ที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีนายธีรัตถ์ รัตนเสวี รับหน้าที่เป็นผู้ดำเนินรายการ

โดยนายบุญทรง กล่าวถึง นโยบายในการดูแลปัญหาค่าครองชีพให้แก่ประชาชนว่า เป้าหมายของกระทรวงพาณิชย์ในปีนี้ ตั้งเป้าคุมเงินเฟ้อไม่ให้เกิน 3.5-3.8 % ดังนั้นค่าครองชีพก็ควรจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบนี้

ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะดูราคาปลายทาง สิ่งที่พี่น้องประชาชนต้องจับจ่ายใช้สอย ดูให้อยู่ในราคาที่เหมาะสม คือผู้มีรายได้ขั้นต่ำต้องสามารถซื้อหามาอุปโภคบริโภคได้ เช่น เรื่องอาหารการกิน ถ้าไม่เหมาะสมสูงเกินไป ก็จะเช็คต้นทุนราคาสินค้า ดูละเอียดมากขึ้นจากปลายน้ำถึงต้นน้ำ เช็คไปถึงราคาวัตถุดิบ เมื่อเราต้องไปดูละเอียดขนาดนั้น ก็เพื่อดูแลความเป็นอยู่ของประชาชน 60 กว่าล้านคน เพราะนโยบายของรัฐบาลคือ ยกระดับรายได้ของคนไทย เช่น ปรับเงินเดือนขั้นต่ำปริญญาตรี 15,000บาท และค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท เพื่อให้เขาอยู่ได้ในอัตราค่าแรงที่เขาได้รับ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่กระทรวงพาณิชย์กำลังดูละเอียด เพราะถ้าเราดูขึ้นค่าแรง แต่ไม่ไปดูค่าใช้จ่าย ขึ้นค่าแรงเท่าไรก็ไม่พอใช้ เพราะค่าครองชีพขึ้นในอัตราสูงกว่าค่าแรง

สำหรับคำถามที่ว่าจะคุมได้ไหมในราคาทุน ก็เป็นปัญหาโลกแตก เช่น หมูราคาแพงก็ต้องดูว่ามาจากอะไร ต้นทุนมาจากอาหารหรือไม่ เพราะสุดท้ายกระทรวงพาณิชย์ต้องมาแก้ปัญหาราคาหมูแพง ไข่แพง ก็มาเดินขบวนกัน ซึ่งตนก็ได้ให้นโยบายหน่วยงานว่าต่อไปทำงานเชิงรุก บูรณาการหน่วยงาน ทำงานข้ามกระทรวงให้ได้ โดยเฉพาะกระทรวงที่อยู่ในซีกรัฐบาล พรรคเดียวกันก็น่าจะทำงานได้ง่ายขึ้น สำคัญที่สุดคือ คุมราคาให้ผู้บริโภคให้ได้รับความเป็นธรรม ไม่ให้มีการค้ากำไรเกินควร แต่การค้าในไทยเป็นการค้าเสรี จะบอกว่าไม่ให้มีกำไรก็คงไม่ได้ แต่ก็ต้องอยู่ในระดับที่เหมาะสม

ส่วนนโยบายการเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ก็เป็นสิ่งที่เรากำลังพยายามทำ มีวิธีการที่ทำได้แต่ก็ต้องเจ็บปวดบ้างในระหว่างทำ ความเจ็บปวดคือผู้ผลิตที่เป็นนายจ้างต้องแบกรับภาระ ส่วนหนึ่งกระทรวงคลังก็ต้องช่วยดูในเรื่องต้นทุน ถึงมีนโยบายลดภาษีเงินได้จาก 30 % เหลือ 23 % และยกระดับชีวิตคน เช่นเดียวกันคือพยายามยกระดับสินค้าเกษตร และยกระดับเกษตรกรให้ดีขึ้น ปลูกข้าวมามีเงินคืนเงินกู้ และมีเงินเหลือพอที้จะอยู่ได้

. นโยบายลดรายจ่ายเพื่อบรรเทาภาระของประชาชนจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ด้วยโครงการพักหนี้เกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อย การลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล การต่ออายุมาตรการค่าครองชีพ และบัตรเครดิตพลังงาน

ศรษฐกิจไทยกลับมาขยายตัวในอัตราที่สูงขึ้น และอัตราเงินเฟ้อปรับลดลงตามลำดับทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลสามารถรักษาวินัยทางการคลังภายใต้กรอบความยั่งยืนทางการคลัง (สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีต่ำกว่าร้อยละ 60) และสามารถสร้างกลไกการบริหารจัดการหนี้กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินได้อย่างชัดเจน

นายกิตติรัตน์ ได้กล่าวถึงผลงานของกรมจัดเก็บและรัฐวิสาหกิจที่ตนกำกับว่า ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา สามารถดำเนินนโยบายของรัฐบาลได้ดีโดยในส่วนของการกระตุ้นการบริโภคภาคเอกชน จากข้อมูลล่าสุด โครงการบัตรสินเชื่อเกษตรกรที่ได้อนุมัติแล้วทั้งสิ้น 844,347 ราย มียอดเงินใช้จ่ายผ่านบัตรทั้งสิ้น 621 ล้านบาท การคงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ที่ร้อยละ 7 เป็นส่วนสำคัญที่ได้ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการบริโภคภาคเอกชน โครงการพักหนี้ลูกหนี้ที่มีหนี้ค้างชำระ มีผู้ได้รับอนุมัติ 428,415 ราย คิดเป็นมูลหนี้ 52,304 ล้านบาท โครงการพักหนี้ลูกหนี้ที่มีภาระปกติ มีผู้สนใจมาลงทะเบียน 2,468,367 ราย คิดเป็นมูลหนี้ 281,089 ล้านบาท และโครงการรถคันแรกมีผู้ขอใช้สิทธิ์ 169,861คัน คิดเป็นยอดขอคืนเงินภาษีจำนวน12,191ล้านบาท

ในส่วนของการกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชน กระทรวงการคลังได้ปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 23 ในปี 2555 และร้อยละ 20 ในปี 2556 อันเป็นการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชนเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 และโครงการบ้านหลังแรกมีผู้ใช้สิทธิ์ 9,600 ราย คิดเป็นมูลค่าภาษี 224 ล้านบาท

ในส่วนของการดูแลอัตราเงินเฟ้อ กระทรวงการคลังได้ขยายเวลาปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลที่ 0.005 บาท/ลิตร ซึ่งสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายของประชาชนและภาคธุรกิจในช่วงปีที่ผ่านมากว่า 108,000 ล้านบาทและในส่วนของการส่งเสริมการแข่งขันเสรี กระทรวงการคลังได้ดำเนินโครงการจัดตั้งการให้บริการระบบเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (National Single Window) เพื่ออำนวยความสะดวกในการค้าระหว่างประเทศ โดยคาดว่าจะสามารถเชื่อมโยงข้อมูลเสร็จสมบูรณ์ปลายปี 2556 และจะสามารถเชื่อมโยงระบบกับประเทศอาเซียนอื่นๆ ได้ในปี 2557

'นายกฯ' เรียกประชุมครม.วาระพิเศษ แก้ปัญหาเงินเฟ้อและสินค้าราคาสูง ด้าน 'กิตติรัตน์' ยันรัฐบาลไม่มีแผนขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม-เพิ่มภาษีร้อยละ1

  1 พ.ค.55 น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เรียกประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจวาระพิเศษที่ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า โดยมีวาระการประชุมคือเรื่องของสินค้าราคาสินค้าที่พุ่งขึ้นสูง โดยมีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายโอฬาร ไชยประวัติ ประธานผู้แทนการค้าไทย นายวีระพงษ์ รามางกูล ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจ นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านเศรษฐกิจเข้าร่วม

  นางสาวยิ่งลักษณ์ กล่าวขณะเริ่มประชุมว่า การประชุมครั้งนี้จะวิเคราะห์ถึงภาคอุตสาหกรรมและเอสเอ็มอี เพื่อหามาตรการเสริมโดยปัญหาเร่งด่วนวันนี้คือเรื่องเงินเฟ้อที่เกิดจากราคาพลังงานที่มี่แนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงการแก้ไขปัญหาราคาแพง ที่ขณะนี้มีปัญหาสองส่วนคือปัญหาวัตถุดิบที่มี่ต้นทุนราคาถูก แต่หลังจากทำเป็นสินค้าสำเร็จรูปหรืออาหารจะเป็นราคาแพง ดังนั้นขอให้กระทรวงพาณิชย์วิเคราะห์ต้นทุน ในส่วนประกอบทุกส่วน พร้อมกันนี้ให้ดูว่าสินค้าชนิดใดมีราคาสูงและสินค้าใดที่มีราคาปรับลดลง

'กิตรัตน์' ยันรัฐไม่มีแผนขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม-เพิ่มภาษี

  วันเดียวกัน นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวแถลงหลังการประชุมครม.เศรษฐกิจวาระพิเศษ  พร้อมด้วย นายบุญทรง นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และนายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ว่า ที่ประชุมมีความเห็นตรงกันในเรื่องของราคาสินค้าที่ขึ้นสูง เพราะแสดงได้จากอัตราเงินเฟ้อที่เป็นบวก ซึ่งก็หมายถึงราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นซึ่งก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะถ้าหากตัวเลขแสดงเป็นลบแล้วก็จะส่งถึงสัญญาณที่ไม่ดีเหมือนกัน โดยรัฐบาลได้จับตาดูกรอบอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในภาวะปกติที่ร้อยละ 2 ร้อยละ 3.5 โดยหลังจากภาวะวิกฤตน้ำท่วมทำให้มีปัญหาในเรื่องของอุปทาน ทำให้ราคาสินค้ามีปัญหา และในช่วงไตรมาสที่หนึ่งของปีราคาพลังงานในตลาดโลกสูงขึ้น ราคาน้ำมันต่อบาร์เรลจากที่เคยอยู่ที่ 80 เหรียญฯ ก็ขยับขึ้นไปเป็น 120 เหรียญฯ ในช่วงหนึ่ง ทางรัฐบาลเองก็ได้ดำเนินมาตารการประครองไม่ให้สินค้าเพิ่มขึ้นจากภาวการณ์เปลี่ยนแปลงดังกล่าว ซึ่งก็ถือว่าได้ผลในระดับหนึ่ง จากการติดตามราคาสินค้าสำคัญหลายรายการรวมทั้งส่วนที่เป็นสาเหตุทำให้สินค้าและเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นก็เริ่มแสดงความผ่อนคลาย จากการเปรียบเทียบในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

  นายกิตติรัตน์ ยังได้ชี้แจงถึงการเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 1 ว่ารัฐบาลไม่เคยมีแผนการในการปรับอัตราภาษีใดๆทั้งสิ้น นอกจากนี้กระทรวงพลังงานจะไม่มีการปรับราคาก๊าซหุงต้มครัวเรือนเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด แม้ว่าประเทศไทยจะจำหน่ายในราคาที่ต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้านก็ตาม ส่วนการลอยตัวก๊าซ LPG ในภาคอุตสาหกรรมนั้นก็ยังคงดำเนินต่อไป ซึ่งมั่นใจว่าภาคอุตสาหกรรมนั้นจะสามารถรับได้

  ด้านนายบุญทรง กล่าวว่า ตัวเลขค่าเงินเฟ้อในปัจจุบันถือว่าแรงจูงใจในการผลิตสินค้าของผู้ประกอบการในการที่พอปรับราคาได้บ้าง แต่ต้องไม่สูงจนเกินไปจนเป็นปัญหา ส่วนหลังจากภาวะน้ำท่วมนั้นตัวเลขเศรษฐกิจก็ยังอยู่ในภาวะฟื้นตัวอย่างเป็นลำดับ โดยตั้งแต่เดือนเม.ย.กำลังอุตสาหกรรมนั้นก็กำลังกลับมาอยู่ในขั้น 80 ถึง 90 เปอร์เซ็นต์

  นายยรรยง กล่าวว่า ถ้าดูจากดัชนีแนวโน้มผู้บริโภค (CPI) นั้นมีแนวโน้มลดลง ที่น่าดีใจคือในหมวดของอาหารโดยรวมทั้งอาหารสด และสำเร็จรูป นั้นมีแนวโน้มลดลง แต่ผลไม้นั้นมีแนวโน้มสูงขึ้น ตอนนี้ทางนายกรัฐมนตรีเองได้กำชับให้ดูแลประชาชนในเรื่องของอาหาร โดยกระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการในการดูแลในหมวดของอาหารที่สำคัญให้มีการปรับราคาที่เป็นธรรม


              คุณพงษ์ศักดิ์  อัสสกุล รองประธานกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยว่า สถานการณ์ในปัจจุบัน ค่าเงินบาทของไทย ถือว่าเป็นปัจจัยลบต่อการส่งออกของประเทศไทย เนื่องจากในปัจจุบันอัตราแลกเปลี่ยนของไทยแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องและแข็งกว่าคู่แข่งในภูมิภาค โดยมีอัตราแลกเปลี่ยนในปัจจุบันต่ำกว่า 30 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ทำให้สถานการณ์การส่งออกของประเทศไทยเริ่มที่จะมีปัญหา เนื่องจากความสามารถในการแข่งขันของไทยเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะในภูมิภาคนั้นเริ่มแย่ลง เพราะหากเปรียบเทียบการแข็งค่าขึ้นของค่าเงินบาทกับเงินสกุลอื่นๆ ในภูมิภาคนับตั้งแต่ปลายปี 2008- ปัจจุบัน พบว่า ค่าเงินบาทมีค่าแข็งขึ้น 13.6% เทียบกับเงินสกุลอื่นในภูมิภาคอาเซียนแล้วไทยสูงที่สุด รองลงมาได้แก่ มาเลเซียแข็งค่า 10.5% สิงคโปร์ 9.1% และฟิลิปินส์ 8.4% และประเทศไทยยังมีการแข็งค่าที่สุดในเอเซียด้วยเช่นกัน ซึ่งจากสถานการณ์ดังกล่าวนั้นจะเห็นได้ว่าประเทศไทยนั้น ประสบปัญหาในด้านของการแข่งขันในเชิงเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่งในหลายประเทศในภูมิภาคเอเซีย และอาเซียน
            ซี่งสาเหตุของการแข็งค่าขึ้นของเงินบาทในปัจจุบันนั้น จะมีด้วยกัน 2 สาเหตุ ได้แก่ การไหลเข้ามาจากดุลบัญชีเดินสะพัด(Current Account) ซึ่งเป็นบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการค้าและการบริการระหว่างประเทศ  และอีกสาเหตุก็คือ การไหลเข้าสุทธิของเงินทุนต่างประเทศในดุลบัญชีทุน (Capital Account) ซึ่งเป็นการโอนย้ายทางด้านของเงินทุนจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทย ทั้งมาในเรื่องของการลงทุนทั้งทางตรงและทางอ้อม  การที่ค่าเงินบาทแข็งขึ้น อันเนื่องมาจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ซึ่งเป็นการได้มาจากความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดโลก ดังนั้น การแข็งค่าของเงินบาทในลักษณะนี้ธุรกิจจะปรับตัวเพื่อการแข่งขันอยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าการแข็งค่าของเงินมาจากการไหลเข้าสุทธิของเงินลงทุนจากต่างประเทศที่ได้มามากเกินไป จะเป็นการแข็งค่าของเงินที่ไม่ได้มาจากศักยภาพพื้นฐาน ของ ธุรกิจ หรือภาคเศรษฐกิจจริง ของไทย ดังนั้น การแข็งค่าของเงินบาทอย่างรวดเร็ว จะเป็นการทำลายขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจไทย ในตลาดโลก ซึ่งในปัจจุบันนี้ประเทศไทยได้เผชิญอยู่ 
ดังนั้นในการแก้ไขปัญหาค่าเงินบาทในปัจจุบันของประเทศไทยนั้น หอการค้าไทยจึงเห็นว่ารัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทยควรดำเนินการเป็น 2 ระยะ ได้แก่

 1.  การแก้ไขปัญหาระยะสั้น       

1.1  ธนาคารแห่งประเทศไทยควรปรับเปลี่ยนนโยบายทางการเงินโดยให้ความสำคัญเป็นอันดับ 1 กับการดูแลอัตราแลกเปลี่ยนในระยะสั้น (3-6 เดือน) โดยให้ความสำคัญกับเป้าหมายเงินเฟ้อ (Inflation Targeting) เป็นอันดับรองลงไป
1.2  ธนาคารแห่งประเทศไทยควรเข้ามาแทรกแซงตลาดอย่างเต็มที่ ด้วยวิธีการที่มีประสิทธิภาพและได้ผลมากกว่าในปัจจุบัน
1.3  ควรดำเนินการขะลอการไหลเข้าของเงินลงทุน ที่จะเข้ามาหาผลกำไรจากส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ย โดยที่รัฐบาลควรออกมาตรการเก็บภาษีจากส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยไทยกับอัตราดอกเบี้ยของต่างประเทศ (ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องดำเนินการ)
1.4  ควรลดหรือชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเชิงนโยบาย (R/P 1 วัน) เพื่อชะลอการแข็งค่าของเงิน


2.  การแก้ไขปัญหาในระยะยาว               
2.1  สนับสนุนให้รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนไทยไปลงทุนในต่างประเทศ
2.2  ส่งเสริมให้มีการนำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศ ผ่านการลดภาษีการนำเข้าเครื่องจักรเพื่อการปรับปรุงคุณภาพสินค้า และศักยภาพของการผลิตของประเทศ 

            และสุดท้ายเพื่อให้การดูแล และแก้ไขปัญหาอัตราแลกเปลี่ยน และการแข็งค่าของค่าเงิน เป็นไปในทิศทางเดียวกันและทันต่อเหตุการณ์ หอการค้าไทย เห็นว่า รัฐบาลควรกำหนดให้เรื่องนี้เป็นวาระสำคัญเร่งด่วนของไทยในขณะนี้ เพราะการแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วของค่าเงินบาทในลักษณะนี้จะเป็นปัจจัยลบ ที่จะทำร้ายขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยทุกระดับในตลาดโลก และอาจส่งผลให้ผู้ประกอบการไทยขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรงซึ่งอาจทำให้เศรษฐกิจไทยชะลอตัวอย่างรวดเร็วในปีหน้า โดย ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี หรือ ผู้ที่ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี มอบหมาย มาเป็นประธานและเป็นผู้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ทั้งหมด


อย่ากลัวบาทแข็ง ธปท.ชี้ระยะสั้น! กล่อมผู้ส่งออกปรับตัว

ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ -เปิดรับศักราชใหม่ ปรากฏการณ์สกุลเงินภูมิภาคเอเชียปรับตัวแข็งค่าขึ้น รวมถึงเงินบาทไทยเกิดขึ้นจากภาวะนักลงทุนกล้าลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น (Risk on) ในประเทศเกิดใหม่ที่มีการเติบโตที่ดีกว่า ถือเป็นเรื่องธรรมชาติที่ต่างชาติจะโยกเงินมาลงทุนในแหล่งที่ให้ผลตอบแทนที่ดีและมีศักยภาพ

 เงินบาทแข็งค่าขึ้นตามกระแสกลุ่มประเทศในภูมิภาคตั้งแต่ปีใหม่ พอเข้าช่วงกลางเดือน ม.ค.เงินบาทแข็งค่าเร็วขึ้น หลังจากนั้นเงินบาทคงสถานะไว้ที่อันดับ 2 ของเอเชีย ซึ่งอันดับแรกสลับกันไปมาระหว่างรูปีของอินเดียกับริงกิตของมาเลเซีย

 ณ วันที่ 30 ม.ค.การเคลื่อนไหวเงินบาทประมาณ 29.75 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่า 2.89%นับตั้งแต่ปลายปี 55 จนถึงปัจจุบัน ถือเป็นอันดับสองรองจากสกุลเงินรูปีแข็งค่า 2.95% ขณะที่การเคลื่อนไหวระหว่างวัน (วันที่ 30 ม.ค.เทียบกับวันที่ 29 ม.ค.) เงินบาทแข็งค่า 0.30% เป็นรองรูปีเช่นกันที่แข็งค่าสูงสุดถึง 0.65%

ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การเคลื่อนย้ายเงินทุนจะเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจและยังไม่เห็นสัญญาณการโจมตีค่าเงินหรือเข้ามาในลักษณะทุบราคาชี้นำไปทิศทางใดทิศทางหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ตลาดการเงินต่างคาดการณ์ว่าปี 56 เศรษฐกิจภูมิภาคเอเชียเติบโตค่อนข้างดี ทำให้มีเงินทุนไหลเข้ามา แต่เงินบาทยังเคลื่อนไหวตามพื้นฐานเศรษฐกิจ จึงไม่มีเจตนาเข้าไปแทรกแซง แต่จะทำต่อเมื่อเงินบาทไม่สอดคล้องพื้นฐานเศรษฐกิจ

 อีกทั้งปัจจุบันไทยก็มีมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาทอยู่บ้าง อาทิ ต่างชาติลงทุนเป็นเงินบาท ถ้าไม่มี Underlying รองรับ เราจะมีข้อห้าม ทำให้นักลงทุนต่างชาติทำได้เล็กน้อยเท่านั้น และการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อดูแลเฉพาะด้านเดียวของเงินทุนไหลเข้าคงไม่ได้เห็นได้จากฮ่องกงมีดอกเบี้ยต่ำเท่ากับสหรัฐ แต่เงินไหลเข้าอยู่ จึงควรใช้อัตราดอกเบี้ย เพื่อดูแลเสถียรภาพระบบการเงินและควรผสมผสานเครื่องมือให้เหมาะสถานการณ์ดีกว่า

ผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน แบงก์ชาติ ยืนยัน ไม่ใช่เรื่องแปลกที่เงินบาทจะดีดตัวในระยะสั้นๆ แต่สิ่งเหล่านี้ต้องดูระยะยาว ขณะเดียวกันการทำงานของแบงก์ชาติก็มีการเปรียบเทียบเงินบาทกับสกุลเงินอื่นหลากหลายมิติ ไม่เฉพาะสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอย่างเดียว อีกทั้งต้องดูปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจประเทศนั้นๆ ประกอบด้วย เพราะเศรษฐกิจดีสกุลเงินแข็งค่าเป็นเรื่องปกติ

 “ขณะนี้แบงก์ชาติยังไม่มีการใช้มาตรการอะไรมาดูแลค่าเงินบาท แต่เราก็มีมาตรการในมือ ซึ่งดูความเหมาะสมตามสถานการณ์ เพราะการใช้ยาพวกนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย รวมถึงต้องให้ถูกกับโรค โดยหากใช้ยาแรงเกินไปอาจได้รับผลกระทบได้หรือยาอ่อนเกินไปก็อาจจะไม่ได้ผลเลย ฉะนั้น เราต้องมั่นใจว่าเป็นช่วงเวลาที่จำเป็นและขนาดที่เหมาะสม”

 อย่างไรก็ตาม แม้ปัจจุบันแบงก์ชาติก็มีผลขาดทุน แต่ในส่วนของผู้ว่าการแบงก์ชาติพยายามพูดเสมอว่าไม่ได้เป็นอุปสรรคในการดูแลค่าเงินบาท เพราะการทำหน้าที่ของธนาคารกลางไม่ใช่บริษัทที่คิดแง่ผลกำไรอย่างเดียว ดังนั้น ปรากฏการณ์อัตราแลกเปลี่ยนแข็งค่าสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาเป็นเรื่องธรรมชาติไปแล้ว และการทำหน้าที่ของแบงก์ชาติด้วยการต้านกระแสเงินทุนมหาศาลก็เป็นเรื่องที่ยากในยุคนี้ ขณะเดียวกันตอนนี้ภาคธุรกิจไทยก็มีการปรับตัวต่อปรากฏการณ์เช่นนี้ค่อนข้างดีทีเดียว

 จึงเริ่มความพยายามแบงก์ชาติที่ทำหน้าที่หลากหลายบทบาทมากขึ้นแทนที่จะมุ่งเป้าหมายไปดูแลค่าเงินบาทเพียงอย่างเดียว ตอนนี้จะเห็นพยายามเป็นตัวกลางประสานธนาคารพาณิชย์เพิ่มเติม เพื่อช่วยให้ภาคธุรกิจสามารถเข้าถึงเครื่องมือบริหารความเสี่ยงมากขึ้นและทราบถึงกลไกการทำงานและให้รู้ว่าค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไม่แพง อาทิ ขอลดขนาดธุรกรรมให้เล็กลงให้ธุรกิจขนาดเล็กเข้าถึงง่ายขึ้น หรือสนับสนุนให้ทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า ซึ่งขนาดของสัญญาเล็กมาก 1,000 เหรียญสหรัฐ เป็นต้น

“ภาคธุรกิจควรทำอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงภาคธุรกิจก็ควรหันมาใช้สกุลเงินท้องถิ่นในการจ่ายหรือรับชำระสินค้ามากขึ้น เพื่อลดความผันผวนจากค่าเงินได้อีกทางหนึ่ง”

 การสร้างเข้าใจให้แก่ภาคธุรกิจถึงหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่มีอยู่ใช้ในปัจจุบัน ซึ่งภาคธุรกิจยังไม่เข้าใจอีกมากเป็นอีกแนวทางหนึ่งแบงก์ชาติพยายามจะย้ำเสมอ

 อาทิ เรื่องผู้ส่งออกสามารถถือครองเงินตราต่างประเทศได้ประมาณ 2 ปี กล่าวคือ ผู้ส่งออกมีระยะเวลาในการรับเงินจากคู่ค้าต่างประเทศได้ภายใน 360 วัน และเมื่อได้รับเงินแล้วต้องนำรายได้ดังกล่าวเข้าไทยทันที แต่สามารถขายรับเป็นเงินบาทหรือเลือกฝากเงินตราต่างประเทศนี้ไว้ในบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศของบุคคลไทย(FCD)ได้อีก 360 วัน ซึ่งบัญชีนี้สามารถฝากเงินได้เท่ากับจำนวนรายได้รับมาจากการส่งออกสินค้า โดยไม่จำกัดระยะเวลา เป็นต้น

 นอกจากนี้ การออกแผนแม่บทเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ ระยะแรกของปี 55-56 ของแบงก์ชาติก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยผ่อนคลายให้การเคลื่อนย้ายเงินทุนสมดุลและลดแรงกดดันเงินบาทแข็งค่าได้ และอีกมุมหนึ่งก็เป็นเปิดทางและเป็นพี่เลี้ยงให้ภาคธุรกิจไทยออกไปสยายปีกในต่างแดนได้ของที่ดีราคาถูก รวมถึงยังได้กระจายการลงทุนหลากหลาย เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ดีขึ้น

 อย่างไรก็ตาม แม้เงินบาทแข็งค่าก็ใช่ว่ามีแต่ผลเสีย แต่ประโยชน์ที่ได้รับจากเงินบาทแข็งค่าก็มีไม่น้อย โดยเฉพาะการซื้อของจากต่างประเทศถูกลงไม่ว่าจะเป็นการซื้อน้ำมัน ซึ่งปีๆ หนึ่งประเทศไทยพึ่งพาส่วนนี้ค่อนข้างมากและระยะหลังราคาค่อนข้างสูง หรือการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานประเทศ ซึ่งตอนนี้มีความจำเป็นและมีนโยบายที่จะดำเนินการ ฉะนั้นการสั่งซื้อเครื่องจักร อุปกรณ์ต่างๆ จากต่างประเทศในราคาถูกเป็นจังหวะที่ดีในช่วงนี้

 ในยุคค่าจ้างแรงงานแพงขึ้นจากการที่รัฐประกาศขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันทั่วไปประเทศก็ใช้โอกาสนี้สั่งซื้อเครื่องจักรจากต่างประเทศเข้ามา เพื่อช่วยลดปัญหาการใช้แรงงานจากคนได้อีกวิธีหนึ่ง ด้านภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี)เองก็สามารถสั่งซื้อวัตถุดิบจากต่างประเทศในราคาถูกเช่นกัน

สิ่งสำคัญในตอนนี้มองเรื่องเงินบาทแข็งเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องตื่นมาปรับตัวเอง เพราะโลกมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ดังนั้น กลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลจากเงินบาทแข็งค่าก็ควรมีมาตรการภาษีหรือแนวทางช่วยเหลือเฉพาะกลุ่มออกมาดูแลมากกว่าที่จะใช้แนวทางเดิมๆ ให้บาทแข็งกลับมาอ่อนค่า จึงต้องเข้าใจความผันผวนสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ฉะนั้นการดูแลแค่ด้านเดียวจะได้ไม่คุ้มเสียเปล่าๆ

สำหรับ 7 มาตรการ ประกอบด้วย 1.การดูแลค่าเงินบาทไม่ให้มีความผันผวนเร็วเกินไป 2.ดูแลไม่ให้เงินบาทแข็งค่ากว่าคู่แข่งในภูมิภาค โดยเฉพาะอินโดนีเซียและมาเลเซีย 3.ผ่อนคลายกฎเกณฑ์การถือครองเงินตราต่างประเทศ 4.ลดวงเงินการทำธุรกรรมในการป้องกันความเสี่ยงและลดค่าใช้จ่ายให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เพื่อให้เอสเอ็มอีสามารถเข้าถึงมาตรการป้องกันความเสี่ยงมากขึ้น 5.แยกบัญชีต่างประเทศระหว่างบัญชีที่เข้ามาลงทุนและบัญชีเก็งกำไร 6.ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการออกไปลงทุนในต่างประเทศ โดยเร่งแก้ พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน และ 7.ให้ภาครัฐและเอกชนเร่งลงทุนโครงการโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 21 ธ.ค.55-17 ม.ค.56 เงินบาทของไทยแข็งค่าขึ้น 3.13% เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเมื่อเทียบกับคู่แข่ง โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ไทยแข่งกับอินโดนีเซีย เงินบาทของไทยแข็งค่ามากกว่า 3% เพราะอินโดนีเซียแข็งค่าขึ้นเพียง 0.05% เท่านั้น และมีกลุ่มอุตสาหกรรมจำนวน 10 กลุ่ม ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คิดเป็น 40% ของอุตสาหกรรมทั้งหมด เนื่องจากใช้วัตถุดิบภายในประเทศเป็นหลัก เช่น กลุ่มเครื่องสำอาง เซรามิค รองเท้า โรงเลื่อย อาหาร อัญมณีและเครื่องประดับ ยานยนต์ เครื่องนุ่งห่ม และน้ำตาล เป็นต้น

โดยได้เสนอให้แบงก์ชาติยกเลิกการเปรียบเทียบค่าเงินบาทของไทยกับประเทศที่ไม่ใช่คู่แข่งทางการค้า เช่น จีน เกาหลี ญี่ปุ่น แต่ให้เปรียบเทียบในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อการแก้ปัญหาที่ตรงจุด และเชื่อว่าในช่วง 2-3 เดือน ค่าเงินจะมีความผันผวนแต่แนวโน้มที่จะที่ค่าเงินจะแข็งค่าขึ้นจะมากกว่านี้

ด้าน นายวัลลภ วิตนากร รองประธาน ส.อ.ท. กล่าวว่า ต้องการให้ ธปท. ดูแลค่าเงินบาทเป็นพิเศษ เนื่องจากการแข็งค่าของเงินบาทในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตที่เกิดจากการไหลเข้าของเงินดอลลาร์สหรัฐเพียงสกุลเดียว แต่ปัจจุบันเกิดจากการไหลเข้าของเงินเยนและยูโร ที่ออกมาแสวงหาผลตอบแทนในภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะไทย ที่ให้ผลตอบแทนอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรระยะสั้นสูงถึงประมาณ 2.75%

นายมนตรี โสคติยานุรักษ์ ผู้อำนวยการหลักสูตร MPA สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวว่า ภาวะค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นขณะนี้จะส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจไทยมากกว่าจะไปกังวลกับตัวเลขการส่งออก เนื่องจากในช่วงนี้ถือเป็นช่วงที่ประเทศไทยอยู่ระหว่างขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ ด้วยการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่รัฐบาลอัดฉีดเม็ดเงินลงทุนกว่า 2.27 ล้านล้านบาท จึงถือเป็นโอกาสดีที่ภาครัฐต้องเร่งลงทุน และเป็นจังหวะเหมาะในการนำเข้าสินค้าทุนจากต่างประเทศมาใช้ก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งจะนำเข้าได้ในราคาที่ต่ำลง ขณะเดียวกัน ภาคเอกชนที่มีหนี้สกุลเงินตราต่างประเทศสามารถเร่งรัดนำเงินไปชำระหนี้เพื่อลดเงินต้นและภาระดอกเบี้ยได้อีกด้วย

"ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลทั้งแง่บวกและลบ อยู่ที่จะมองมุมไหน และบริหารจัดการอย่างไรเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศจำเป็นต้องลงทุนจำนวนมากเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การที่เงินบาทแข็งค่าถือเป็นช่วงที่เหมาะสม เพราะสามารถนำเข้าสินค้าทุนในราคาที่ถูกลง เช่น นำเข้ารถไฟฟ้าได้ในราคาที่ถูก หรือสินค้าที่จำเป็นต้องนำเข้าจำนวนมาก เช่น น้ำมัน ที่เมื่อเงินบาทแข็งค่า ต้นทุนพลังงานก็ไม่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยกดตัวเลขเงินเฟ้อไม่ให้สูงอีกด้วย" นายมนตรี กล่าว

สำหรับภาคเอกชนที่มีความจำเป็นต้องลงทุนนั้น ช่วงนี้ถือเป็นโอกาสดีที่จะลงทุนพัฒนาด้านเทคโนโลยีด้านการผลิต โดยสั่งซื้อเครื่องจักรที่ทันสมัยจากต่างประเทศเข้ามาใช้ เพื่อลดใช้แรงงานคน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิตให้ต้นทุนต่อหน่วยต่ำที่สุด หรือจะเลือกใช้ลงทุนขยายกิจการด้วยรูปแบบการร่วมทุนหรือซื้อกิจการ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขัน รองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ปี 2558 อย่างไรก็ตาม ส่วนกรณีที่มีความกังวลว่าหากเงินบาทแข็งค่า สินค้าไทยจะส่งออกไม่ได้ นายมนตรี กล่าวว่า ไม่เป็นความจริงทั้งหมด เพราะสินค้าส่งออกของไทยมีหลายประเภท จึงจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์เป็นรายอุตสาหกรรม หากเป็นสินค้าที่นำเข้าวัตถุดิบมาผลิตในประเทศ เช่น กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ หรือกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่ต้องนำเข้าวัตถุดิบกว่า 50-70% เพื่อใช้ผลิตและส่งออก ถือเป็นกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากเงินบาทแข็งค่า


เงินบาทแข็งค่า สาเหตุมาจากการที่มีเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งคงจะเป็นกลุ่มเฮดฟันจ์(hedge fund)หรือกองทุนป้องกันความเสี่ยง กองทุนนี้จะเน้นระดมเงินทุนจากมหาเศรษฐีทั่วโลก แล้วกองทุนพวกนี้จะเน้นเข้ามาเก็งกำไร ประเทศที่เขาคิดว่าระบบการเงินอ่อนแอ

ปัจจัยที่ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น

 เงินบาทนั้นแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องนับจากช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีพ.ศ. 2549 จากระดับ 42 บาทต่อ 1 ดอลลาร์มาเป็น 37 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ในขณะนี้คือแข็งค่าขึ้นมากถึง 12% หรือเกือบ 1% ต่อเดือน ซึ่งในระยะหลังนี้จะไปโทษว่าเงินดอลลาร์อ่อนก็จะไม่ถูกนัก เพราะค่าเงินดอลลาร์นั้นมีเสถียรภาพหรือปรับตัวขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักอื่นๆ คือเงินเยนและเงินยูโร

 ดังนั้น จึงต้องมองได้ว่าค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้น น่าจะสืบเนื่องมาจาก ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยเป็นหลักมากกว่า ทั้งนี้ อาจมีปัจจัยภายนอกปัจจัยหนึ่งคือ การแข็งค่าของเงินหยวนซึ่งเป็นผลมาจากการที่จีนเกินดุลการค้าอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกับสหรัฐอเมริกาประกอบกับการที่จีนค่อยๆ ปล่อยให้เงินหยวนถูกกำหนดค่าโดยกลไกตลาดมากขึ้นเรื่อยๆ

 เมื่อเงินหยวนแข็งค่าขึ้นเงินบาทและเงินสกุลอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียเป็นคู่แข่งกับจีนจึงแข็งค่าขึ้นตามเงินหยวนไปด้วย ทั้งนี้ เงินหยวนนั้นมีนัยว่าจะแข็งค่าขึ้นไปได้อีก 3-5% ภายใน 6-12 เดือนข้างหน้าตามการคาดการณ์ของเมอร์ริล ลินช์ ดังนั้น เงินบาทจึงมีโอกาสที่จะแข็งค่าขึ้นตามไปด้วย

ปัจจัยภายในประเทศไทย

1.การส่งออกที่ขยายตัวดีเกินคาดกล่าวคือการส่งออกปีนี้ยังขยายตัวได้ในอัตราสูงเกือบ 17% ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา และตัวเลขล่าสุดคือเดือนกันยายนนั้น การส่งออกขยายตัวสูงถึง 15% ทั้งๆ ที่เศรษฐกิจสหรัฐเริ่มชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัดแล้ว โดยภัทรได้เคยคาดการณ์ว่าการส่งออกของไทยในครึ่งหลังของปีนี้น่าจะขยายตัวไม่เกิน 10% เมื่อการส่งออกขยายตัวดีเกินคาดไปประมาณ 5-6% ก็หมายความว่าประเทศไทยมีรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศ เพิ่มขึ้นอีกเดือนละ 1,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่มากพอที่จะทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง

2.การนำเข้าที่ขยายตัวต่ำกว่าคาดคือแทนที่การนำเข้าจะขยายตัวประมาณ 15-20% ในปีนี้ การนำเข้าขยายตัวเพียง 5-10% เท่านั้น ส่วนต่างดังกล่าวคิดเป็นมูลค่าการใช้เงินตราต่างประเทศของไทยต่ำกว่า "เป้า" เดือนละ 1,000-1,500 ล้านดอลลาร์ สาเหตุที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าการนำเข้าจะขยายตัวมากก็สืบเนื่องมาจากราคาน้ำมันที่คาดว่าจะอยู่ระดับสูง แต่ในช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมากลับปรับลดลงถึง 25%

3.ดุลบริการที่เกินดุลการท่องเที่ยวของไทยในปีนี้โดยรวมนั้นเป็นไปด้วยดี ทำให้มูลค่าการเกินดุลบริการนั้นมีความต่อเนื่อง และการเกินดุลบริการนั้นมีมูลค่าเฉลี่ยต่อเดือนถึง 300-400 ล้านดอลลาร์ ซึ่งมีส่วนช่วยให้ประเทศไทย เกินดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลา 3 ไตรมาสติดต่อกันแล้ว

4.เงินทุนไหลเข้าประเทศสุทธิ ติดต่อกันมาเกือบ 10 ไตรมาส(หรือ 2 ปีครึ่ง) แล้ว ซึ่งการไหลเข้าสุทธินั้นอยู่ในระดับเกือบ 2,000 ล้านดอลลาร์ในช่วง 15 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งผมเชื่อว่าสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เม็ดเงินไหลเข้ามาประเทศไทยนั้น ก็คืออัตราดอกเบี้ยของไทยที่อยู่ที่ระดับสูงโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับอัตราเงินเฟ้อที่ปรับลดลงอย่างมากในช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมา คือเมื่อกลางปีเงินเฟ้อสูงกว่า 6% แต่ในเดือนกันยายนนั้นลดลงเหลือต่ำกว่า 3%

5.ธนาคารแห่งประเทศไทยยังเข้าไปแทรกแซงค่าเงินบาท อย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันมิให้เงินบาทแข็งค่าเร็วเกินไป เห็นได้จากการที่ประเทศไทยมีทุนสำรองเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้ เพราะธนาคารแห่งประเทศไทยจะเข้าไปแทรกแซงโดยการขายเงินบาทเข้าไปในตลาดเพื่อซื้อเงินดอลลาร์มากักตุนเอาไว้ ทั้งนี้ การขายบาทย่อมจะทำให้ปริมาณบาทในระบบเพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยทำให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงนั่นเอง แต่การเข้าไปแทรกแซงดังกล่าวย่อมทำให้เชื่อได้ว่าหากธนาคารแห่งประเทศไทยไม่เข้าไปแทรกแซงเงินบาทจะแข็งค่ามากขึ้นไปอีก จึงทำให้เกิดความต้องการที่จะเก็งกำไรค่าเงินบาท

 กล่าวคือหากนักเก็งกำไรเห็นว่าธนาคารแห่งประเทศไทย ยังพยายามกดค่าเงินบาทอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับการส่งออกที่ขยายตัวได้ดีขณะที่การนำเข้าขยายตัวต่ำและมีการตรึงดอกเบี้ยเอาไว้ที่ระดับสูง ก็จะทำให้รู้สึกว่ามีการเข้ามาลงทุนในเงินบาทนั้น มีความเสี่ยงต่ำที่เงินจะเสื่อมค่าลง แต่มีเหตุผลที่จะเชื่อได้ว่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้น

 แต่ในที่สุดแล้ว ก็จะมีความเป็นไปได้สูงว่าการไหลเข้าของเงินทุน จะเสริมให้เงินบาทแข็งค่ามากเกินไป (overshoot) ซึ่งจะส่งผลให้การส่งออกเริ่มฝืดเคือง แต่การนำเข้าขยายตัวสูงขึ้น ส่งผลให้การส่งออกเริ่มฝืดเคือง แต่การนำเข้าขยายตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ประเทศไทยเกินดุลการค้า และดุลบัญชีเดินสะพัดน้อยลง และในที่สุด เงินบาทก็จะอ่อนค่าอย่างไรก็ตาม สภาวะนี้น่าจะยังไม่เกิดขึ้นในเร็ววันนี้

ผลสะท้อนของเงินบาทแข็งค่า

 การแข็งค่าของเงินบาทในช่วงที่ผ่านมานี้ ส่วนหนึ่งน่าจะสะท้อนถึงความเชื่อมั่นต่อแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในภูมิภาค ทั้งนี้ ในวัฏจักรเศรษฐกิจขาขึ้นนั้น การแข็งค่าของเงินบาทน่าจะถือได้ว่าเป็นปรากฏการณ์ที่ปรกติ

 โดยค่าเงินที่แข็งขึ้น จะช่วยลดความร้อนแรงของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ รวมทั้งช่วยให้รักษาเสถียรภาพของอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยในประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ทางการจะต้องดูแลคือ การป้องกันมิให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วเกินไป จนทำให้เกิดการเก็งกำไรทั้งในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนและในตลาดทุน (เช่น หากนักลงทุนต่างชาติคาดว่า ทั้งเงินบาทและดัชนีหุ้นไทยจะยังปรับตัวขึ้นได้อีก ก็อาจจะนำเงินลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาเพิ่มขึ้น ซึ่งก็จะทำให้ทั้งค่าเงินและดัชนีหุ้นปรับตัวสูงขึ้นไปอีกอย่างรวดเร็ว แต่เมื่อมีข่าวหรือปัจจัยลบมากระทบ หรือเมื่อเกิดการขายทำกำไร นักลงทุนก็อาจจะตื่นตระหนกและเทขายทั้งหุ้นและเงินบาทออกมาอย่างรวดเร็ว จนนำมาสู่ความผันผวนอย่างรุนแรงได้)

 ดังนั้น แม้ว่าการแข็งค่าของเงินบาท จะถือได้ว่าเป็นสันญาณบวกสำคัญอย่างหนึ่งของเศรษฐกิจ ที่สะท้อนถึงความเชื่อมั่นที่สดใสของนักลงทุน แต่การรักษาเสถียรภาพของค่าเงินมิให้ปรับตัวรวดเร็วเกินไปก็ยังคงเป็นสิ่งที่เหมาะสม เนื่องจากหากปล่อยไว้ก็อาจนำมาสู่การเก็งกำไรและภาวะฟองสบู่ที่ขาดเสถียรภาพได้

เงินบาทแข็งค่า มีผลดีและผลเสียต่อผู้ประกอบการอย่างไร

 กรณีผู้ส่งออก

 ผลเสียคือ ขาดทุน หรือขาดทุนกำไร ยกตัวอย่างเช่น คุณต้องการส่งออกปากกา 1 แท่ง ในราคาแท่งละ 35 บาท ซึ่งเมื่อเทียบเป็นเงินดอลล่าห์ ในขณะคำนวณจะเท่ากับ 1 ดอลล่าห์ ก็คือ คุณจะขายปากกาแท่งนั้นในราคา 1 ดอลล่าห์ (สมมติว่าเป็น CIF คือราคารวมประกันและขนส่งแล้ว) กำหนดการชำระเงิน 90 วัน ดังนั้น หลังจากที่คุณส่งปากกาออกไปในราคา 1 เหรียญดอลล่าห์วันนี้ อีก 90 วันถัดมา หลังจากคุณได้รับชำระเงินมา 1 เหรียญ แต่ดอลร่าห์อ่อน บาทแข็งอยู่ที่ 32 บาทต่อดอลล่าห์ เท่ากับคุณได้รับเงินค่าปากกาในราคา 32 บาทต่อด้ามเท่านั้นเอง ขาดทุนเห็น ๆ 3 บาท ถ้าคุณส่งออกไปมูลค่า 1 แสนเหรียญ คุณจะขาดทุนเห็น ๆ 3 แสนบาท

กรณีผู้นำเข้า

 ก็จะกลับกันกับด้านผู้ส่งออก คือ คุณจะได้กำไรจากการนำเข้าแทน คือคุณจะใช้เงินบาทน้อยลงในการแลกเปลี่ยนเป็นดอลล่าห์เพื่อชำระค่าสินค้า หรือเครื่องจักรที่นำเข้าจากต่างประเทศ

 ซึ่งทั้งสองกรณีมีผลต่อต้นทุนการประกอบการ และหากคุณเป็นผู้ส่งออกและต้องการป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว ก็อาจจะทำได้ หลายวิธีเช่น ซื้อ Option ทำ forward หรือแม้แต่การการซื้อขายเป็นเงินบาท แต่ข้อดีข้อเสียคงต้องปรึกษา exim bank

ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการแก้ปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่า

1.ลดดอกเบี้ยลงสัก 1.0 ถึง 1.5 เปอร์เซ็นต์โดยการลดดอกเบี้ยนโยบายและควรจะลดทีเดียวไม่ควรจะลดทีละ 0.25 เปอร์เซ็นต์ เพราะการค่อยๆ ลดจะทำให้ไม่เกิดผล และเกิดการคาดการณ์ต่อไปและต้องใช้เวลานานกว่าจะถึงอัตราเป้าหมาย เหตุการณ์ก็เปลี่ยนไปอีกแล้ว

2. พร้อมๆ กับการลดดอกเบี้ยทางการก็เข้าแทรกแซงตลาดและต้องทำให้พอจนเงินบาทอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ ถ้าทำครึ่งๆ กลางๆ เงินบาทแข็งต่อไป ธปท.ก็จะขาดทุน ถ้าทำจนบาทอ่อนตัวลงได้ ธปท.ก็จะกำไร ถ้าอ่อนตัวลงได้ถึง 38 บาทต่อดอลลาร์ ก็จะล้างขาดทุนเก่าออกได้หมด

3.การออกพันธบัตรเมื่อออกมาแทรกแซงตลาด เงินบาทในตลาดก็จะเพิ่มขึ้นมากเกิน ธปท.ก็ดูดซับเงินบาทกลับไปโดย ถ้าดอกเบี้ยเงินบาทต่ำ กว่าดอกเบี้ยดอลลาร์ ธปท.ก็ไม่ขาดทุน ดอกเบี้ยเท่ากัน ธปท.เปลี่ยนดอลลาร์ในทุนสำรองเป็นพันธบัตรซึ่งตลาดยังรับได้ แล้วถ้าตลาดพันธบัตรเกิดขึ้นได้ ก็จะเป็นผลดีกับการพัฒนาการลงทุนอีกโสตหนึ่งด้วยการลดดอกเบี้ยอย่างแรงคงจะทำให้ราคาพันธบัตรในท้องตลาดที่มีอยู่แล้วขึ้นราคา แต่ก็ไม่น่าเป็นห่วงการดำเนินการดังกล่าวไม่น่าจะพาบ้านเมืองเข้าไปเสี่ยงกับอะไร เพราะเป็นการซื้อดอลลาร์ เอามาเก็บไว้ ทำให้ทุนสำรองเพิ่ม

4.จัดการบริหารหนี้ต่างประเทศของภาครัฐอันได้แก่หนี้ของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ โดยออกพันธบัตรเอาเงินบาท ใช้เงินบาทซื้อเงินดอลลาร์แล้วไปใช้หนี้คืนก่อนกำหนดอย่างน้อยสักครึ่งหนึ่ง

5. ในส่วนของเอกชน ถ้าผ่อนคลายกฎของ ธปท.ที่จะทำให้ภาคเอกชนสามารถยืมเงินบาทจากธนาคารพาณิชย์ไปใช้คืนหนี้ดอลลาร์ได้เพราะหนี้เงินต่างประเทศเป็นหนี้ของเอกชนเสียตั้งกว่า 4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ถ้า ธปท.ผ่อนคลายได้ เอกชนคงรีบเปลี่ยนหนี้ดอลลลาร์มาเป็นหนี้เงินบาทแทน เพราะจะได้กำไร เพราะตอนได้มาเงินบาทมีราคากว่า 40 บาทต่อเหรียญ ถ้าคืนหนี้ตอนนี้เงินบาทมีราคา 33 บาทต่อเหรียญ เป็นการช่วยธุรกิจเอกชนด้วย ส่วนธนาคารพาณิชย์ให้สามารถปล่อยเงินที่เหลือกองอยู่ในธนาคารด้วย เพราะ สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ขณะนี้มีอยู่เพียง 85 เปอร์เซ็นต์ของยอดเงินฝากเท่านั้น ที่เอกชนถูกบังคับให้ไปกู้ต่างประเทศ เพราะกฎ ธปท.ที่ให้นับสินเชื่อของบริษัทในกลุ่มเดียวกันเป็นสินเชื่อที่ต้องจำกัดปริมาณเพื่อความมั่นคงของธนาคาร ให้สินเชื่อไม่กระจุกตัวในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมากจนเกินไป

6. สุดท้ายเร่งโครงการพัฒนาต่างๆ ให้เร็วขึ้นโดยใช้เงินกู้เป็นเงินบาทในประเทศให้มากขึ้น แม้จะไม่เกิดผลทันที แต่ก็น่าจะมีผลทางจิตวิทยาว่า ประเทศยังต้องใช้เงินดอลลาร์อย่างมาก ที่สำคัญนโยบายให้คนไทยเก็บเงินดอลลาร์ได้ ให้เอาเงินออกไปซื้อหุ้นเมืองนอกได้ ไม่ควรทำตอนนี้ ไม่มีผล เพราะผู้คนกำลังคาดการณ์ว่า เงินบาทกำลังจะแข็งต่อไป มีแต่คนอยากเก็บเงินบาท จะมีผลก็ตอนที่คนคาดว่าเงินบาทจะอ่อน คนก็จะเปลี่ยนเงินบาทเป็นดอลลาร์ ถึงตอนนั้นก็จะกลายเป็นปัญหาอีก ต้องสั่งยกเลิกอีก กลายเป็นตัวทำให้บาทไม่มีเสถียรภาพมากขึ้นในอนาคต ถึงตอนสถานการณ์พลิกกลับอาจจะมีปัญหาได้


นายนิวัฒน์ธำรง

"เผยจับตาค่าเงินบาทแข็งใกล้ชิด เผยถึงเวลาจำเป็นจะต้องมีการดำเนินการ



ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในช่วงหนึ่งของรายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน ทางช่อง 11 ได้มีการกล่าวถึงประเด็นสถานการณ์ค่าเงินบาท โดยนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ได้กล่าวว่า สถานการณ์ค่าเงินเป็นเรื่องที่รัฐบาลก็จับตาดูตลอดเวลา

ถ้าเมื่อถึงจังหวะที่จำเป็นจะต้องมีการดำเนินการใด ๆ ก็คงต้องมีการดำเนินการ จริง ๆ มีการประชุมกันกับผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ได้คุยกันเรื่องนี้ ซึ่งท่านก็ได้ดูอย่างละเอียดตลอดเวลาและพิจารณาถ้ามีความจำเป็นก็ต้องมีการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ฐานะการเงินของประเทศดีมาก ตรงนั้นไม่มีปัญหาแต่เรามองระยะยาว การแก้ปัญหาช่วงสั้นอย่างเดียวไม่ได้ เพราะฉะนั้นต้องดูตัวประกอบต่าง ๆ ในการตัดสินใจ ตอนนี้ดูอย่างใกล้ชิด

"โต้ง"ยังไม่พอใจภาพรวมแก้ค่าบาทแข็ง ย้ำดอกเบี้ยนโยบาย"ธปท."สูงเกินไป

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า ยังไม่พอใจกับภาพรวมการแก้ไขปัญหาเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในปัจจุบัน และย้ำว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ในขณะนี้ ยังคงอยู่ในระดับสูงเกินไป แม้ระดับอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันจะมีข้อดี แต่ทุกมาตรการก็มีข้อเสียเช่นกัน ซึ่งแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกำหนดนโยบายด้านต่าง ๆ จะต้องพิจารณาชั่งน้ำหนักในการดำเนินการย่างละเอียดรอบคอบก่อน ไม่ใช่ใครคนใดคนหนึ่งจะออกมาชี้ชัดว่า จะต้องดำเนินการเช่นไร การดำเนินการต้องใช้กลไกเศรษฐกิจของประเทศปรับให้ระดับค่าเงินอยู่ในระดับที่เหมาะสมมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

“ขอให้ทุกฝ่ายอย่าตื่นตระหนกจนเกินไป เพราะเรื่องนี้ นายกรัฐมนตรีมีความเป็นห่วงและมอบนโยบายให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลปัญหาเงินบาทแข็งค่าที่ส่งผลกระทบในหลายด้านและเร่งแก้ไขผลกระทบอยู่แล้ว จึงขอให้สบายใจได้ว่า ได้รับการดูแล”นายกิตติรัตน์

 ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การเคลื่อนย้ายเงินทุนจะเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจและยังไม่เห็นสัญญาณการโจมตีค่าเงินหรือเข้ามาในลักษณะทุบราคาชี้นำไปทิศทางใดทิศทางหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ตลาดการเงินต่างคาดการณ์ว่าปี 56 เศรษฐกิจภูมิภาคเอเชียเติบโตค่อนข้างดี ทำให้มีเงินทุนไหลเข้ามา แต่เงินบาทยังเคลื่อนไหวตามพื้นฐานเศรษฐกิจ จึงไม่มีเจตนาเข้าไปแทรกแซง แต่จะทำต่อเมื่อเงินบาทไม่สอดคล้องพื้นฐานเศรษฐกิจ

'กิตติรัตน์'จ่อปรึกษาธปท.ดูแลค่าเงินบาทแข็ง



"รองนายกฯ กิตติรัตน์" ลั่น เตรียมปรึกษาธนาคารแห่งประเทศไทย หามาตรการดูแลค่าเงินบาทแข็ง ยัน ไม่คุมการไหลเข้าไหลออกเงิน

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ระบุว่า นายกรัฐมนตรี ได้แสดงความเป็นห่วง กรณีค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นในขณะนี้ รวมไปถึงคณะกรรมการทุกคน ก็ไม่มีใครอยากให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นและต้องการเห็นค่าเงินบาทที่มีเสถียรภาพ ซึ่งที่ประชุมได้มอบหมายให้ตนเอง ไปปรึกษาหารือกับทางธนาคารแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการนโยบายการเงิน ในการหามาตรการดูแลค่าเงินบาท

ซึ่ง นายกิตติรัตน์ ยืนยันด้วยว่า จะไม่ใช้มาตรการในการควบคุมการไหลเข้าไหลออกของเงินโดยเด็ดขาด และไม่ใช้มาตรการทางภาษีที่อาจส่งผลกระทบต่อผลตอบแทนของเงินลงทุน แต่จะใช้กลไกการบริหารตามแนวนโยบายทางการเงิน ในส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นนั้น นายกิตติรัตน์ กล่าวว่า ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ได้รายงานในที่ประชุมว่า เกิดจากมีเงินทุนไหลเข้าในช่วงระยะสั้นๆ เข้ามาลงทุนในตราสารระยะยาว หรือในพันธบัตร ซึ่งยังมีความเสี่ยง เพราะยังไม่มีหลักประกันว่าเงินทุนที่ไหลเข้ามา จะอยู่ในระยะยาวหรือไม่


"ดร.โกร่ง" จวกธปท.ไร้กึ๋น-ค่าเงินบาทแข็ง ดีแต่คิดขึ้นดอกเบี้ย

เศรษฐกิจ ข่าวสด

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง เปิดเผยภายหลังการประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อติดตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งผลกระทบจากนโยบายการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท และการแข็งค่าของเงินบาท โดยมีน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เมื่อวันที่ 30 ม.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาลว่า นายกฯ ได้มอบหมายให้ตนในฐานะรมว.คลัง ไปประชุมร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) รวมทั้งนักเศรษฐศาสตร์ที่ไม่ได้อยู่ในธปท.และกนง. เพื่อหาทางแก้ปัญหาค่าเงินผันผวน 

"มีการตั้งข้อสังเกตในที่ประชุมว่า มาตรการที่มีอยู่เป็นการทวนกระแสการแข็งค่าของเงิน เป็นการทวนการไหลเข้าของเงินในระยะสั้น อาจไม่ได้เป็นมาตรการที่พอดิบพอดีกัน ซึ่งในการหารือก็มีนายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการ ธปท. นายพันศักดิ์ วิญญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาด้านนโยบายของนายกรัฐมนตรี และผู้ว่าการ ธปท. ด้วย แต่ยืนยันว่าจะไม่มีมาตรการควบคุมการไหลเข้าออกของเงินเด็ดขาด และจะไม่ใช้มาตรการเก็บภาษีจากผลตอบแทนต่างๆ" นายกิตติรัตน์กล่าว 

นายกิตติรัตน์กล่าวว่า ในระหว่างการประชุม นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้รายงานว่า ภายหลังที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่ได้รับผลกระทบจากการปรับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ซึ่งเอสเอ็มอีที่ส่งออกก็ได้รับผลกระทบจากเงินบาทแข็งค่าด้วย จึงต้องหามาตรการช่วยเหลือ ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้จะทำงานร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) สภาหอการค้าไทย และสถาบันการเงิน อีกทั้งจะตั้งรมว.อุตสาหกรรม และรมว.พาณิชย์ เพิ่มเติมในคณะกรรมการชุดนี้ด้วย

วันเดียวกัน นายวีรพงษ์ กล่าวปาฐกถาพิเศษหัวข้อ "Thailand"s Economic Outlook 2013" จัดโดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ที่โรงแรมเชอราตัน สุขุมวิท ว่า ขณะนี้มาตรการกระตุ้นและอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจจากสหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่น สร้างความกังวลต่อปัญหาเงินร้อนที่เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้ของไทยอย่างร้อนแรง ทั้งที่ปัจจัยพื้นฐานในประเทศ ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนไม่เปลี่ยนแปลง แต่หุ้นปรับตัวขึ้นสูง สะท้อนเงินทุนต่างชาติที่ไหลเข้ามาการเก็งกำไร ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นและอาจเกิดปัญหาฟองสบู่ในตลาดเงิน จนอาจลุกลามเข้าไปในภาคอสังหาริมทรัพย์

ทั้งนี้ เงินทุนที่ไหลเข้าเกิดจากดอกเบี้ยนโยบายของไทยอยู่ที่ 2.75% ที่สูงกว่าของสหรัฐอยู่ที่ 0.25% ซึ่งส่วนตัวเห็นว่าธปท.ควรปรับลดดอกเบี้ยลงเพื่อลดมูลเหตุจูงใจการไหลเข้าของเงิน พร้อมกับมีมาตรการสกัดกั้นการไหลเข้าของเงินทุนระยะสั้น และต้องไม่ใช่การใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ โดยมองว่าหากเงินบาทแข็งค่าในกรอบ 28 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ภาคธุรกิจจะอยู่ไม่ได้

"สิ่งสำคัญคือ ผู้บริหารนโยบายการเงินไม่เข้าใจเรื่องการเชื่อมโยงกันระหว่างส่วนต่างดอกเบี้ยกับเงินทุนเคลื่อนย้ายที่น่าเป็นห่วงอย่างมาก เพราะธปท.มีความคิดแต่จะขึ้นดอกเบี้ย ยิ่งทำให้สถานการณ์เลวร้าย แม้ผมเป็นประธานธปท.ก็ยังพูดกันไม่ได้ ซึ่งการปล่อยให้ดอกเบี้ยของไทยสูงกว่าของสหรัฐนานเกินไป ทำให้การปรับลดส่วนต่างดอกเบี้ยลงมาอยู่ในระดับเดียวกันหรือต่ำกว่าต้นทุนของเงินไหลเข้าที่ระดับ 0.75-1% เพื่อช่วยให้เงินบาทอ่อนค่าลงถือว่าเหมาะสม แต่คงเป็นเรื่องที่ทำได้ยากแล้ว เพราะขณะนี้สินเชื่อและราคาอสังหาริมทรัพย์สูงขึ้นกลับจะยิ่งซ้ำเติมให้สินเชื่อขยายตัวสูงขึ้น อาจซ้ำรอยวิกฤตต้มยำกุ้งเมื่อปี 2540" นายวีรพงษ์กล่าว

นอกจากนี้ จากการหารือถึงผลกระทบการแข็งค่าของเงินบาทที่มีต่อผู้ส่งออกนั้น ในที่ประชุมก็ไม่เห็นมีใครเสนอวิธีที่ทำให้เงินบาทอ่อนค่าลง มีแต่แนวทางสนับสนุนให้เงินออกไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งวิธีเหล่านั้นเป็นเพียงแค่ยาแดง ยาดม ยาลม ยาหม่อง เท่านั้น

นายบัณฑิต นิจถาวร กรรมการผู้อำนวยการ IOD กล่าวว่า ในภาวะนี้ไม่ควรกดดันให้ลดดอกเบี้ยนโยบายเพื่อสกัดเงินทุนไหลเข้า เพราะสาเหตุที่ทำให้เงินทุนไหลเข้ามีหลายปัจจัยมากกว่าที่คิด โดยเฉพาะปัจจัยจากต่างประเทศ

ด้านนายศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวิจัย บริษัท หลักทรัพย์ภัทร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เบื้องต้นประเมินว่าเงินทุนเคลื่อนย้ายจะยังคงไหลเข้ามาลงทุนในไทยต่อเนื่องไปอีก 2 ปีแน่นอน

นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) กล่าวว่า สศค.ติดตามภาวะค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในขณะนี้ พบว่ายังอยู่ในระดับที่สศค.คาดการณ์ไว้ว่าปีนี้ค่าเงินบาทอยู่ที่ 30.7 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ สศค.ยังคาดการณ์ว่าไตรมาส 4/2555 เศรษฐกิจจะขยายตัว 15.9% ผลักดันให้ทั้งปี 2555 ขยายตัวได้ 5.7% การส่งออกอยู่ในระดับ 3.1% ต่ำกว่าคาดการณ์ที่ 3.9% ส่วนในปี 2556 คาดว่าจะขยายตัวได้ 5% มูลค่าการส่งออกขยายตัวได้ 10% อย่างไรก็ตาม สศค.จะปรับประมาณการเศรษฐกิจปีนี้ใหม่ในช่วงเดือนมี.ค.2556



น.ส. นฤมล แก้วพันตา เลขที่11 รหัส55127326054 การเงินปี1 ห้อง2

นายกฯสั่ง ' กิตติรัตน์ '  ถูกร่วมแบงก์ชาติ-กนง. แก้บาทแข็ง


                             

นายกฯ สั่ง “กิตติรัตน์”  ประชุมร่วมกับ ธปท.และ กนง. หารือมาตรการแก้ปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่า หลัง “ดร.โกร่ง-พันศักดิ์” ทักมาตรการที่ใช้อยู่ยังไม่ดีพอ 

เมื่อวันที่ 31 ม.ค. นายกิตติรัตน์  ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง  เปิดเผยภายหลังการประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศโดยมี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานว่า นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ตนเองในฐานะ รมว.คลัง ไปประชุมร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) รวมทั้งนักเศรษฐศาสตร์ที่ไม่ได้อยู่ใน ธปท.และ กนง.เพื่อหาทางแก้ปัญหาค่าเงินผันผวนอย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า สิทธิ์และหน้าที่ในการกำกับดูแลนโยบายการเงินยังเป็นของ ธปท.และ กนง.เช่นเดิม

“มีการตั้งข้อสังเกตในที่ประชุมว่ามาตรการที่มีอยู่เป็นการทวนกระแสการแข็งค่าของเงิน เป็นการทวนการไหลเข้าของเงินในระยะสั้นอาจไม่ได้เป็นมาตรการที่พอดิบพอดีกัน ซึ่งในการหารือก็มีนายวีรพงษ์ รามางกูรประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยนายพันศักดิ์ วิญญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาด้านนโยบายของนายกรัฐมนตรี ต้องตลอดจนผู้ว่าการ ธปท. ซึ่งเฉพาะในส่วนของนักเศรษฐศาสตร์นักการเงิน เห็นว่ามีความจำเป็นต้องดำเนินนโยบายการเงินที่ดูแลการไหลเข้าของเงินทุนที่มีความเสี่ยงว่าเป็นเงินทุนระยะสั้น”

ทั้งนี้  นายกรัฐมนตรีได้แสดงความเป็นห่วงสถานการณ์ค่าเงินบาทที่ผันผวนและแข็งค่าขึ้น ซึ่งทาง ธปท. ได้รายงานว่า ในช่วงสั้นๆ มีเงินทุนไหลเข้ามา ซึ่งบางส่วนมาลงทุนในตราสาร บางส่วนมาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งอาจจะถือการลงทุนยาวก็ได้ แต่เกิดขึ้นในช่วงสั้นๆ 1 เดือนที่ผ่านมา และมีความเสี่ยงเพราะฉะนั้น จึงมีความเป็นไปได้ที่เงินทุนไหลเข้าได้ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นขณะที่แนวทางหรือมาตรการในการดูแลค่าเงินบาทของไทย จะเป็นมาตรการระยะกลางและระยะยาว เช่นการส่งเสริมนักธุรกิจไทยไปลงทุนต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าจะไม่มีมาตรการที่ควบคุมการไหลเข้าออกของเงินเด็ดขาด เพราะต้องยอมรับว่าเราเป็นประเทศเปิดแต่จะใช้กลไกทำงานที่เป็นทิศทางของการ บริหารนโยบายการเงินและจะไม่ใช้นโยบายควบคุมและไม่ใช้มาตรการเก็บภาษีจากผลตอบแทน ไม่ว่าภาษีมูลค่าเพิ่มจากกำไรของการลงทุน ภาษีผลตอบแทนดอกเบี้ยและเงินปันผลเพราะไม่ใช่นโยบายการเงิน

นายกิตติรัตน์ กล่าวด้วยว่า ในระหว่างกาประชุม นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้รายงานว่าภายหลังที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่ได้รับผลกระทบจากการปรับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ซึ่งเอสเอ็มอีที่ส่งออกก็ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็งค่าด้วย จึงต้องหามาตรการมาช่วยเหลือ ซึ่งจากตั้งคณะกรรมการชุดนี้จะทำงานร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  สภาหอการค้าไทย และสถาบันการเงิน ซึ่งจะได้นำรูปแบบของสถาบันการเงิน และวิธีการขององค์กรขนาดใหญ่มาช่วยเหลืออีกทั้งจะมีการตั้ง รมว.อุตสาหกรรม และ รมว.พาณิชย์ เพิ่มเติมในคณะกรรมการชุดนี้ด้วย.


"โต้ง" ยันรัฐบาลไม่มีมาตรการภาษี-มาตรการควบคุมเงินไหลเข้า-ออก สกัดเงินบาทแข็งค่าแน่นอน ระบุปล่อยไปตามกลไกการบริหารการเงิน เผย นายกฯ "ปู" ห่วงสถานการณ์เงินบาทแข็งโป๊ก สั่งคลังหารือด่วน ธปท.-กนง.-นักการเงิน ด้าน สศค. เผย ศก.ไทยไตรมาส 4/55 โตดีต่อเนื่อง คาดปี 55 โต 5.7% ส่วนปี 56 โต 5% จ่อปรับอีกครั้ง มี.ค.นี้

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการพิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้แสดงความเป็นห่วงต่อสถานการณ์เงินบาทแข็งค่าอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน รวมทั้งที่ประชุมทุกคนต่างมีความเป็นห่วงในเรื่องนี้ และต้องการเห็นเงินบาทที่มีเสถียรภาพ ดังนั้น ที่ประชุมจึงมอบหมายให้ตนไปหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ร่วมกับนักเศรษฐศาสตร์และนักการเงิน

"นายกรัฐมนตรียังได้มอบหมายให้กระทรวงการคลัง ไปหารือร่วมกับ ธปท. รวมถึง กนง.และนักเศรษฐศาสตร์ ว่าจำเป็นจะต้องดำเนินนโยบายทางการเงินอะไรหรือไม่ เพื่อดูแลเงินทุนเคลื่อนย้ายในระยะสั้น โดยยังไม่ได้กำหนดวันเวลาที่แน่นอน แต่จะพยายามหารือให้ได้ในเร็วๆ นี้" นายกิตติรัตน์ กล่าว

นายกิตติรัตน์ กล่าวอีกว่า รัฐบาลยืนยันว่าจะไม่ใช้วิธีควบคุมการไหลเข้า-ออกของเงินตราต่างประเทศ เพื่อแก้ปัญหาเงินบาทแข็งโดยเด็ดขาด แต่จะใช้กลไกบริหารนโยบายการเงิน และยืนยัน ว่าไม่มีแนวทางจะใช้มาตรการภาษีที่จะมีผลกระทบกับผลตอบแทนการลงทุนด้วย

"จะไม่มีการใช้มาตรการควบคุมการไหลเข้าออกของเงินทุน เพราะเราเป็นประเทศเปิด จะใช้มาตรการที่เป็นนโยบายการเงินตามปกติ ซึ่งก็มีอยู่ไม่กี่อย่าง และจะไม่ใช้มาตรการทางด้านภาษี ที่ไปกระทบกับกำไรจากการลงทุน" นายกิตติรัตน์ กล่าว

นอกจากนั้น ธปท. ได้รายงานต่อที่ประชุมในเรื่องการแข็งค่าของเงินบาท พบว่าเป็นช่วงสั้นๆ ที่เกิดจากเงินทุนไหลเข้ามาลงทุนในตราสารหนี้หรือพันธบัตรระยะสั้น แต่มองว่ายังมีความเสี่ยง เพราะเงินทุนที่ไหลเข้ามาดังกล่าวยังไม่มีหลักประกัน ว่าจะเป็นการเข้ามาลงทุนในระยะยาว ซึ่งเกรงว่า อาจจะมีผลกระทบในภาพรวมได้ ส่วนกระทรวงแรงงานได้รายงานว่า ขณะนี้มีผู้ประกอบการบางรายได้หยุดกิจการไปก่อนที่จะเริ่มปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ หรือขยายกำลังการผลิต ซึ่งถือว่ายังไม่มีอะไรผิดปกติ

"เชื่อว่าผู้ประกอบการบางส่วนจะสามารถแก้ไขผลกระทบที่เกิดขึ้นได้ด้วยตัวเอง และในฐานะที่เป็นหนึ่งในห่วงโซ่อุปทานขององค์กร ก็จะเข้ามาช่วยเหลือดูแลกันเอง หรือไปปรึกษาหารือกับสถาบันการเงินที่ปล่อยสินเชื่อให้ เพื่อขอขยายเวลาชำระหนี้หรือปรับอัตราดอกเบี้ย" นายกิตติรัตน์ กล่าว

ด้านนายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า สศค. ยังคงประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 56 ขยายตัวที่ 5% การส่งออกขยายตัว 10% ภายใต้สมมุติฐานที่เงินบาทเฉลี่ยที่ 30.70 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ โดยเคลื่อนไหวในช่วง 29.70-31.70 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

ทั้งนี้ เงินบาทแข็งค่าและมีความผันผวนตั้งแต่ต้นปี แต่ยังเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบที่ตั้งสมมุติฐานไว้ อย่างไรก็ตาม สศค.จะยังติดตามการแข็งค่าของเงินบาท ว่าจะส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออก และการขยายตัวทางเศรษฐกิจหรือไม่ โดย สศค.จะมีการทบทวนประมาณการอีกครั้งในเดือน มี.ค.56

"จีดีพีปี 56 ก็ยังมองที่ 5% แม้ว่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น แต่ก็ยังไม่ได้มากกว่าที่ประมาณการไว้ โดยปีนี้เรามองว่า บาทต่อดอลลาร์ จะอยู่ที่ 29.70-31.70 ทำให้ยังไม่ได้ปรับประมาณการจีดีพี" นายเอกนิติ กล่าว

อย่างไรก็ตาม ภายใต้สมมุติฐานเงินบาทแข็งค่า 1% สศค.เชื่อว่าจะกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ 0.3% ส่งผลต่อปริมาณการส่งออกลดลง 0.4% แต่จะทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลง 0.2%

"เงินบาทค่อนข้างผันผวน แต่ยังเคลื่อนไหวตามภูมิภาค เพราะเศรษฐกิจโลก ทั้งสหรัฐและยุโรปมีปัญหาพื้นฐานของยุโรปสหรัฐ ยังไม่ดี ก็ยังทำให้มีเงินไหลเข้ามาลงทุนในเอเชีย รวมถึงไทย ดั้งนั้น ก็ต้องมีการเตรียมการรองรับ เพราะเศรษฐกิจเอเชีย รวมถึงไทยเติบโตได้แข็งแกร่ง เงินบาทที่แข็งค่าเป็นไปตามพื้นฐานเศรษฐกิจ ทำให้ต้องมีการเร่งโครงการลงทุน เพื่อผ่อนคลายผลกระทบ" นายเอกนิติ กล่าว

นายเอกนิติ กล่าวต่อว่า เศรษฐกิจไทยไตรมาส 4 ปี 55 จะขยายตัวได้ 15.9% จากฐานช่วงเดียวกันปีก่อนหน้าที่ต่ำขยายตัวติดลบ 8.9% ทั้งนี้ เมื่อนำการขยายตัวเศรษฐกิจไทยไตรมาสสุดท้ายของปี 55 ไปรวมกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ 3 ไตรมาสแรก ที่ขยายตัวได้ 2.6% จะทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจทั้งปี 55 ได้ 5.7% ต่อปี

  ขอบคุณที่มาจาก  http://www.ryt9.com/s/bmnd/1579827


"กิตติรัตน์" เผยนายกฯห่วงเงินบาทแข็งค่ากระทบการส่งออก เตรียมหารือผู้ว่าธปท.หามาตรการรับมือเงินทุนไหลเข้าระยะสั้น ยืนยันไม่ใช้มาตรการควบคุมเงินไหล"เข้า-ออก"

วันนี้ ( 29 ม.ค.) นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวภายหลังการประชุมร่วมกับหน่วยงานด้านเศรษฐกิจว่า ในการประชุมคณะกรรมการพิจารณาช่วยเหลือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายปรับขึ้นค่าแรง 300 บาท และการรับมือเงินบาทแข็งค่านัดแรกวานนี้ ว่า อาจมีผู้ประกอบบการที่มีผลกระทบมากกว่ารายอื่นที่ต้องได้รับการช่วยเหลือเพิ่มเติมหลังจากที่ในช่วงก่อนหน้านี้รัฐบาลได้ออกมาตรการทั่วไปในการบรรเทาผลกระทบไปแล้ว อาทิ มาตรการด้านภาษี การเพิ่มสภาพคล่อง

นายกิตติรัตน์ ยังระบุว่า นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และประธานคณะกรรมการชุดดังกล่าวได้เตรียมเชิญผู้ทรงคุณวุฒิร่วมเป็นกรรมการเพิ่มเติม อาทิ นายประเสริฐ บุญชัยสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ สภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้า และสถาบันการเงินต่าง ๆที่เป็นสมาชิกสภาธนาคารไทย ธนาคารต่างประเทศที่เปิดกิจการในไทย และการให้สำนักงานส่งเสริมวิาสหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ สสว.เป็นหน่วยงานกลางในการรับเรื่องราวจากผู้ประกอบการเพื่อหาแนวทางแก้ไขต่อไป

นายกิตติรัตน์ ยังระบุว่า ได้มีการหารือถึงกรณีที่อัตราแลกเปลี่ยนแข็งค่าขึ้นที่ทำให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ส่งออกได้รับผลกระทบ โดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้รายงานว่า การแข็งค่าขึ้นจากเงินทุนไหลเข้าในช่วงระยะสั้นและอาจมีความเสี่ยงเนื่องจากทำให้ค่าเงินแข็ง และเงินที่ไหลเข้าเข้าเหล่านี้ซึ่ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีก็แสดงความเป็นห่วงถึงเรื่องดังกล่าว

นอกจากนี้ ยังได้เตรียมหารือกับ นายประสารไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ถึงแนวทางในการดำเนินนโยบายทางการเงินอย่างไรที่จะดูแลการไหลเข้า-ออกของเงินทุนที่ไหลเข้าในระยะสั้นในช่วงนี้ และยืนยันว่ายังไม่มีมาตรการควบคุมการไหลเข้า-ออกของทุน เนื่องจากเป็นประเทศที่เปิดและจะใช้นโยบายตามที่ใช้ปกติ รวมถึงการเชิญผู้ที่มีความรู้เข้าหารือด้วย

"สิทธิและหน้าที่ในการจัดทำนโยบายเป็นเรื่องของธนาคารแห่งประเทศไทยและหน้าที่ของกรรมการนโยบายการเงิน และยืนยันว่า ไม่ใช้นโยบายควบคุมเงินไหลเข้า-ออกแน่นอน รวมถึงมาตรการภาษีที่ไปกระทบกับเรื่องของอัตราผลตอบแทน อาทิ ภาษีมูลค่าเพิ่มจากกำไรการลงทุน ภาษีจากอัตราผลดอกเบี้ยหรือเงินปันผล" นายกิติรัตน์ ระบุ

เงินบาทแข็งค่าผ่านระดับ 30 บาทต่อดอลลาร์ฯ ทุบสถิติแข็งค่าสุดในรอบ 17 เดือนใกล้ 29.70 บาทต่อดอลลาร์ฯ

 โดยเงินบาทแข็งค่าขึ้นแล้ว 2.8% นับจากต้นปี 2556 นำมาเป็นอันดับ 1 ของสกุลเงินเอเชีย ทั้งนี้ เงินบาทได้รับแรงหนุนสำคัญจากกระแสเงินทุนไหลเข้าของนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งเป็นไปทั้งภูมิภาค ขณะที่ ยังคงมีอีกหลายตัวแปรที่อาจมีผลต่อมุมมองการลงทุน และการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในระยะข้างหน้า

การปรับตัวแข็งค่าของเงินบาท มีผลต่อความสามารถทางการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมไทยในภาพกว้าง อย่างไรก็ดี ขอบเขตของผลกระทบ คงมีความแตกต่างกันในรายประเภทอุตสาหกรรม ขึ้นอยู่กับหลากหลายปัจจัย อันรวมถึงความสามารถในการปรับตัว/บริหารจัดการของผู้ประกอบการ ทั้งนี้ ธุรกิจที่มีสัดส่วนการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ (Import Content) ค่อนข้างน้อย และประสบกับปัญหาการสูญเสียความสามารถทางการแข่งขันอยู่แล้ว จะได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก โดยเฉพาะเมื่อคู่แข่งหลักอย่างเวียดนามและอินโดนีเซียได้เปรียบจากการปรับตัวของค่าเงิน 

ดังนั้น ผู้ประกอบการกลุ่มนี้คงจำเป็นต้องปรับตัวด้วยการเน้นพัฒนาคุณภาพเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง ขณะที่ ธุรกิจที่มีสายการผลิตยาว มีสัดส่วนการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศค่อนข้างสูง อาจได้รับผลกระทบในขอบเขตที่ค่อนข้างจำกัด รวมถึงอาจได้รับอานิสงส์บางส่วนจากต้นทุนนำเข้าที่ต่ำลง 

ด้านธุรกิจบริการในประเทศที่มีจุดแข็งด้านคุณภาพสูงและตลาดมีความหลากหลาย ก็น่าจะสามารถปรับตัวทั้งในด้านคุณภาพและราคาเพื่อรักษาความสามารถทางการแข่งขันไว้ได้ ส่วนธุรกิจที่พึ่งพาตลาดในประเทศเป็นหลัก คงจะไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากประเด็นนี้มากนัก  

         

มองไปข้างหน้าในภาวะที่เงินบาทยังมีโอกาสปรับตัวผันผวนในทิศทางที่แข็งค่า ประกอบกับการรับมือกับความท้าทายด้านต้นทุนที่ยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นนั้น นอกจากการปรับตัวในระยะสั้น ผ่านการกระจายตลาดส่งออก การนำเข้าวัตถุดิบจากแหล่งที่มีต้นทุนถูกกว่า การใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงด้านต่างๆ และการบริหารจัดการต้นทุนและสายการผลิต ควบคู่กับการพัฒนาคุณภาพและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องแล้ว

 การแสวงหาโอกาสขยายกิจการ/การลงทุนไปยังต่างประเทศท่ามกลางกระแส AEC ที่จะมาถึง คงจะเป็นหนึ่งในแนวทางที่เอื้อให้ผู้ประกอบการไทยที่มีศักยภาพและความพร้อม สามารถตอบโจทย์การรักษาความสามารถทางการแข่งขันไว้ได้ในระยะยาว


ขอบคุณแหล่งที่มา http://news.thaipbs.or.th

เงินบาท ... แข็งค่าสุดในรอบกว่า 2 ปี หนึ่งในประเด็นร้อนที่คงจะอยู่ในความสนใจของท่านผู้อ่านจำนวนไม่น้อย คือ "การแข็งค่าของเงินบาทและแนวโน้มในระยะต่อไป" โดยนับตั้งแต่ช่วงต้นปี 2553 จนถึงปัจจุบัน เงินบาทได้แข็งค่าขึ้นไปแล้วประมาณ 5% ซึ่งนับเป็นการแข็งค่ามากที่สุดในรอบ 28 เดือนอีกด้วย การแข็งค่าขึ้นดังกล่าว เป็นผลมาจากปัจจัยหลายประการ ทั้งปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ อาทิ แรงเทขายเงินดอลลาร์จากนักลงทุนและผู้ส่งออก กระแสเงินทุนจากต่างประเทศที่ยังคงไหลเข้าไทยและภูมิภาคเอเชียอย่างต่อเนื่อง ทั้งในตลาดทุน ตลาดพันธบัตร และเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) การอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สรอ.จากความกังวลใจเกี่ยวกับแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ รวมไปถึงการเก็งกำไรค่าเงินบาทจากนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ ล้วนมีส่วนช่วยหนุนให้ค่าเงินบาทปรับตัวในทิศทางที่แข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ก็ยังนับว่าโชคดีที่การแข็งค่าของเงินบาทในช่วงที่ผ่านมา เป็นการเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกันกับค่าเงินสกุลต่างๆ ในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งช่วยให้ผู้ส่งออกไทยยังคงความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกได้ แล้วธนาคารแห่งประเทศไทย มีการบริหารจัดการเพื่อดูแลเสถียรภาพของค่าเงินบาทอย่างไรบ้าง ? เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า หนึ่งในเป้าหมายสำคัญของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คือ การรักษาเสถียรภาพ ของระดับอัตราแลกเปลี่ยน และดูแลให้ความผันผวน (volatility) อยู่ในระดับที่เหมาะสมและสอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ซึ่งโดยปกติแล้ว วิธีการแทรกแซงของธนาคารแห่งประเทศไทยก็คือ การเข้าไปซื้อเงินดอลลาร์สรอ. ในตลาด ซึ่งทำให้เกิดการปล่อยสภาพคล่องเงินบาทเข้าไปสู่ระบบ หรืออธิบายง่ายๆ คือ "ดูดดอลลาร์ ปล่อยบาท" ซึ่งหลักฐานของการแทรกแซงดังกล่าว จะสะท้อนออกมาในรูปของทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง ... มาถึงตอนนี้ ผู้อ่านหลายท่านอาจจะเกิดคำถามขึ้นในใจว่า แล้วแบงก์ชาติจะเอาเงินบาทจากที่ไหนไปซื้อดอลลาร์คืนจากระบบ? คำตอบก็คือ การให้โรงพิมพ์ธนบัตร ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้กำกับดูแลของ ธปท. พิมพ์ธนบัตรออกมาซื้อดอลลาร์นั่นเอง ซึ่งกลไกดังกล่าวจะเพิ่มปริมาณเงินบาทในระบบ ซึ่งจะทำให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาดังกล่าว ธปท. จึงจำเป็นต้องมีกลไกในการดูดซับสภาพคล่องเงินบาทส่วนเกินกลับออกจากระบบ เพื่อปรับสภาพคล่องในระบบการเงินให้มีความสมดุล ซึ่งการเข้าทำธุรกรรมดังกล่าวนี้ถูกเรียกว่า การทำ "currency sterilization"
เครื่องมือในการทำ Sterilization ของแบงก์ชาติมีกี่วิธี? โดยปกติแล้ว แบงก์ชาติจะทำ sterilization ผ่านการดำเนินการในตลาดการเงิน (Open Market Operations: OMOs) ผ่านเครื่องมือหลัก 5 ช่องทาง ได้แก่
(1) การทำธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตรแบบทวิภาคี (bilateral RP) เป็นการปรับสภาพคล่องในระบบแบบชั่วคราว โดย ธปท. จะขายตราสารหนี้ในประเทศให้กับ primary dealers (กลุ่มสถาบันการเงินที่ได้รับการแต่งตั้งจาก ธปท. ให้ ทำหน้าที่เป็นคู่ค้าหรือตัวกลางในการทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตร) ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการทำธุรกรรมระยะ 1 วัน โดยใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (policy rate) เป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ซึ่งการที่ ธปท. ขายตราสารหนี้ให้กับกลุ่มสถาบันการเงินดังกล่าว ก็เท่ากับเป็นการดูดสภาพคล่องเงินบาทออกจากระบบเป็นเวลา 1 วันนั่นเอง (2) การทำธุรกรรมซื้อขาดขายขาดหลักทรัพย์รัฐบาล (outright sale of securities) เป็นการปรับสภาพคล่องในระบบแบบถาวร โดย ธปท. จะซื้อขาดขายขาดหลักทรัพย์รัฐบาลกับ primary dealers ซึ่งโดยปกติแล้ว ธปท. จะปล่อยสภาพคล่องผ่านช่องทางนี้ด้วยการซื้อขาดหลักทรัพย์เพื่อเพิ่มสภาพคล่องในระบบให้เพียงพอกับการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ ดังนั้น ธปท. ก็สามารถใช้ช่องทางเดียวกันนี้ในการดูดซับสภาพคล่องด้วยการขายขาดหลักทรัพย์ด้วย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการซื้อขายพันธบัตรรัฐบาล เนื่องจากเป็นตลาดที่มีสภาพคล่องสูงสุด (3) การออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT bond issuance) เป็นเครื่องมือที่สำคัญเครื่องมือหนึ่งในการปรับสภาพคล่องในระบบ ซึ่งการที่สถาบันการเงินหรือประชาชนนำเงินมาซื้อพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ก็เท่ากับเป็นการดูดสภาพคล่องออกจากระบบเช่นเดียวกัน (4) การสวอปเงินตราต่างประเทศ (Sell-Buy FX swaps) เป็นการปรับสภาพคล่องในตลาดการเงินที่ใช้เสริมกันได้ดีกับเครื่องมือ OMOs อื่นๆ ซึ่ง FX swaps จะมีลักษณะคล้ายกับธุรกรรมซื้อคืนพันธบัตร แต่ต่างกันตรงที่เงินบาทจะถูกแลกเปลี่ยนกับดอลลาร์สรอ. แทนที่จะเป็นการแลกกับตราสารหนี้ในประเทศ ซึ่งธุรกรรม swaps มักจะเป็นระยะสั้นอายุ ไม่เกิน 3 เดือน ซึ่งจากการศึกษาพบว่า วิธีนี้เป็นวิธีเดียวที่ช่วยสร้างสภาพคล่องเงินดอลลาร์สรอ. ในระบบเศรษฐกิจ และมีต้นทุนในการทำ sterilization ต่ำที่สุด (5) หน้าต่างซื้อตราสารหนี้ ธปท. เป็นการดูดซับสภาพคล่องออกจากระบบที่ช่วยรักษาระดับอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น โดยจะมีลักษณะเหมือนกับการรับฝากเงิน และแบงก์ชาติจะออกตั๋วเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-PN) ให้เป็นหลักฐาน ซึ่งสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกและต้องการทำธุรกรรมสามารถแจ้งคำเสนอซื้อตราสารหนี้โดยระบุวงเงินและอัตราผลตอบแทนใน แต่ละประเภทอายุ และจะต้องชำระเงินผ่านการหักบัญชีเงินฝากกระแสรายวันภายในวันที่ตกลงทำธุรกรรม แนวโน้มค่าเงินบาทจะแข็งค่าต่ออีกหรือไม่ ? เรามองว่า เงินบาทยังมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องในปีนี้และปีหน้า ปัจจัยหลักมาจากแนวโน้มการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สรอ. เทียบกับสกุลเงินต่างๆ รวมทั้งบาท จากปัญหาการขาดดุลการคลังที่ยังอยู่ในระดับสูงและแผนการกลับเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ (Quantitative Easing: QE) ของ Fed ซึ่งจะเป็นการเพิ่มปริมาณเงินดอลลาร์ในตลาด นอกจากนี้ ยังมีแรงสนับสนุนให้เงินบาทแข็งค่า จากการไหลเข้าของเงินตราต่างประเทศ เช่น การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดตามการส่งออกที่ขยายตัวสูง และการไหลเข้าของเงินทุนมายังภูมิภาค ประกอบกับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในภูมิภาคที่น่าจะปรับขึ้นเร็วกว่าอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการคงจะไม่สามารถหวังพึ่งแบงก์ชาติในการแทรกแซงค่าเงินบาทได้มากนัก เพราะแม้ ธปท. จะแทรกแซงค่าเงินบาทมากน้อยเพียงใดก็ตาม แต่เงินบาทก็ยังคงแข็งค่าขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ในช่วงเดือนมีนาคม 2550-มีนาคม 2551 แบงก์ชาติได้เข้าแทรกแซงค่าเงิน จนทุนสำรองฯ เพิ่มขึ้นมาเกือบ 40,000 ล้านดอลลาร์สรอ. แต่ปรากฏว่าเงินบาทยังคงแข็งค่าขึ้นกว่า 10% จาก 35 มาเป็น 31 บาทต่อดอลลาร์สรอ. ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องมีการปรับตัว และประกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อรองรับความผันผวนของค่าเงินบาทในอนาคต รวมทั้งจะต้องมีการวางกลยุทธ์ด้านการค้าและเพิ่มมูลค่าเพิ่มของสินค้า เพื่อให้การแข่งขันไม่ได้ถูกกำหนดจากอานิสงค์ของอัตราแลกเปลี่ยนที่มีความได้เปรียบแต่เพียงด้านเดียว

นักเศรษฐศาสตร์ชี้หมดยุค "บาทอ่อน" เงินทะลักอย่างน้อย2ปี-แนะรัฐบาลเร่งลงทุนเมกะโปรเจค

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพจำกัด (มหาชน)(BBL) กล่าวว่า แนวโน้มค่าเงินบาทจะยังแข็งค่าต่อเนื่องในระยะยาว เนื่องจากภาพรวมเศรษฐกิจในประเทศมีทิศทางที่ดี สภาพคล่องล้น โดยนักลงทุนต้องแสวงหาการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่สูง ซึ่งไทยยังน่าสนใจ และการที่เงินบาทแข็งค่าในรอบนี้จะมีความแตกต่างจากอดีต โดยปกติค่าเงินไทยจะแข็งค่าตามประเทศภูมิภาคเอเชีย แต่รอบนี้ ไทยกลับแข็งค่าขึ้นมาก่อนประเทศอื่นๆ ซึ่งเมื่อถึงจุดหนึ่งสถานการณ์ก็จะคลี่คลาย จึงไม่ควรกังวล "เงินบาทขณะนี้มีความผันผวนในระยะสั้น อย่าตื่นตกใจการที่แข็งค่าไปจนถึงระดับ 29.67 บาทต่อดอลลาร์ เกิดจากค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่า และเมื่อเงินบาทแข็งค่าผู้ส่งออกไทย ก็ต้องปิดความเสี่ยงโดยเฉพาะช่วงที่ทะลุ 30 บาท พอทุกคนแห่ไปปิดความเสี่ยงพร้อมๆ กัน ก็ทำให้ค่าขึ้นแข็งค่าขึ้นไปอีก ดังนั้นแนวโน้มค่าเงินบาท ก็ยังแข็งค่าต่อไป เพราะสภาพคล่องล้น นักลงทุนนำเงินเข้ามาเก็งกำไรกัน จึงเชื่อว่าค่าเงินบาทที่ระดับ 31-32 บาทต่อดอลลาร์ คงไม่ได้เห็นกันแล้ว" นายกอบศักดิ์ กล่าวว่า เมื่อเงินบาทแข็งค่า ธปท.คงต้องติดตามดูแลใกล้ชิด และการใช้นโยบายขึ้นดอกเบี้ย คงไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ในเร็ววันนี้ เพราะสาเหตุของเงินบาทแข็งค่า เกิดจากมีเงินไหลเข้ามาลงทุนจำนวนมาก ส่วนภาพรวมเศรษฐกิจปีนี้ปัจจัยที่สำคัญในการผลักดันให้เติบโตได้ดี เป็นเรื่องของการลงทุนในประเทศทั้งภาครัฐและเอกชน ขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจของโลกเริ่มมีทิศทางที่ดีเช่นกันทั้งยุโรปและสหรัฐ มีความเสี่ยงลดลงหากเทียบกับปีก่อน @"ศุภวุฒิ"คาดเงินไหลเข้าอย่างน้อย2ปี ด้าน นายศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายงานวิจัย บล.ภัทร กล่าวว่า ดอกเบี้ยอาจไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่เป็นตัวดึงดูดให้เงินทุนไหลเข้าในประเทศก็จริง แต่ก็มีปัจจัยอื่นๆ ที่ดึงดูดด้วย เช่น เศรษฐกิจที่มีแนวโน้มการเติบโตดี โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว รวมถึงบรรยากาศการลงทุนในขณะนี้ที่ถูกผลักดันให้นักลงทุนกล้าที่จะลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงขึ้น (Risk on) ตลอดจนการเกิดดุลบัญชีเดินสะพัดที่ยังมีอยู่พอประมาณ ปัจจัยเหล่านี้น่าจะเป็นตัวกดดันให้มีเงินทุนต่างประเทศไหลเข้ามาในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง หรืออย่างน้อยใน 2 ปีข้างหน้า ซึ่งเรื่องนี้ทาง บล.เมอร์ริล ลินช์ ที่เป็นพันธมิตรของ บล.ภัทร ประเมินว่า ค่าเงินบาทไทยมีโอกาสที่จะแข็งค่าขึ้นแตะระดับ 28 บาทต่อดอลลาร์ได้ในปลายปีนี้ และอาจเห็นเงินบาทแตะระดับ 27 บาทต่อดอลลาร์ได้ในปีหน้า "เวลานี้ที่ธนาคารกลางทั่วโลกทำ คือ กดดอกเบี้ยต่ำ แล้วพิมพ์เงินออกมาเยอะๆ คำถาม คือ เราจะตั้งดอกเบี้ยให้สูงกว่าเขาได้หรือไม่ และทำไปแล้วจะมีความเสี่ยงว่าจะมีเงินทุนไหลเข้ามาหรือไม่ เพราะเราเป็นประเทศเศรษฐกิจเล็กและเปิด มันมีความเสี่ยงตลอดเวลา ถ้าเขามองเศรษฐกิจเราดี ดอกเบี้ยน่าสนใจ เงินก็จะยิ่งไหลเข้ามามาก"นายศุภวุฒิ กล่าว @สวค.เผยบาทแข็งไม่เกิน3%ไม่น่าห่วง ด้าน นายคณิศ แสงสุพรรณ ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง (สวค.) กล่าวว่าการที่เงินบาทแข็งค่า น่าจะทำให้บริษัทส่งออกได้รับผลกระทบระยะสั้น แต่ระยะยาวคงต้องพิจารณาอีกครั้ง และเชื่อว่า ธปท.หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถดูแลได้ โดยมองหากค่าเงินบาทแข็งค่าไม่เกินระดับ 3% ก็มองว่าไม่น่าเป็นห่วง "ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปีนี้คาดว่าจะมีอัตราเติบโต 5-5.5% และอัตราเงินเฟ้อก็น่าจะอยู่ที่ระดับ 3% ขณะที่ตัวเลขการส่งออกจะเติบโต 6-7% และการค้าแถบชายแดนเป็นกำลังซื้อแฝงที่จะช่วยผลักดันให้เติบโตได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามหากรัฐ มีการลงทุนขนาดใหญ่ 2 ล้านล้านบาทเกิดขึ้นอาจทำให้ตัวเลขดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลจำนวนมากแต่ไม่อยากให้ตื่นตระหนกเพราะต่อไปเมื่อทุกอย่างเข้าที่ การลงทุนครั้งนี้จะสามารถผลักดันให้จีดีพีโตได้ถึง 6%" นายคณิศ กล่าว @แนะรัฐเร่งลงทุน-หั่นประชานิยม นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ประธานกรรมการบริหาร มูลนิธิสถาบันอนาคตไทยศึกษา กล่าวว่า ประเทศไทยคงหนีปัญหาเรื่องเงินทุนไหลเข้าไม่พ้นอย่างแน่นอน เพราะเวลานี้ธนาคารกลางประเทศหลักทั่วโลกพิมพ์เงินออกมารวมๆ กันแล้วสูงกว่า 10 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งการจัดการปัญหาในขณะนี้ยังเป็นเพียงการตามแก้ปัญหาเท่านั้น ยังขาดการดำเนินการในการแก้ปัญหาแบบบูรณาการ "จะเห็นว่าตอนนี้มีหลายเรื่องเข้ามากระทบผู้ประกอบการของไทยค่อนข้างมาก ทั้งเรื่องค่าแรง 300 บาท ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น แต่การแก้ปัญหาของเราก็เป็นแบบการตามแก้ ยังไม่เห็นการจัดการแบบบูรณาการ" นายเศรษฐพุฒิ กล่าว สิ่งที่เป็นห่วงมากสุดในเวลานี้ คือ งบในการลงทุนของภาครัฐมีน้อยมาก ซึ่งส่วนใหญ่หมดไปกับโครงการประชานิยม และถ้าดูตัวเลขการลงทุนของประเทศไทย ยังเป็นเพียงประเทศเดียวที่สัดส่วนการลงทุนต่อจีดีพีต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ โดยในปี 2540 ประเทศไทยเคยมีสัดส่วนการลงทุนสูงถึง 70% ของจีดีพี "สิ่งที่จะช่วยได้ คือ รัฐบาลควรต้องตัดงบรายจ่ายประจำออก โดยเฉพาะรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับประชานิยม เพราะทำให้งบที่เหลือไปใช้เพื่อการลงทุนมีน้อยลง"นายเศรษฐพุฒิ กล่าว @คาดบาทปีนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 30.7 นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2555 ขยายตัวในอัตราเร่งขึ้น จากปัจจัยฐานในปีที่แล้วขยายตัวในอัตราต่ำ ซึ่งเป็นผลจากปัญหาอุทกภัย ประกอบกับการผลิตในภาคอุตสาหกรรมที่ส่งสัญญาณขยายตัวต่อเนื่อง ทั้งการใช้จ่ายภายในประเทศและการส่งออก รวมทั้งภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวสูงมาก ทั้งนี้ สศค.ประเมินว่า ในไตรมาส 4 ดังกล่าว เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่า 15.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขยายตัวติดลบ 8.9% และเมื่อรวมกับ 3 ไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวได้ 2.6% จะทำให้อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจไทยทั้งปีอยู่ที่เป้าหมายเดิม คือ 5.7% การขยายตัวเศรษฐกิจปี 2556 นั้น สศค.ยังประเมินที่ 5% ภายใต้สมมติฐานที่มูลค่าการส่งออกขยายตัว 10% ขณะที่มองการแข็งค่าของเงินบาทในช่วงต้นปีนี้ ยังไม่กระทบต่อมุมมองการเติบโตของเศรษฐกิจ เพราะเงินบาทยังเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบที่ สศค.ประเมินไว้ สศค.จะประเมินการขยายตัวเศรษฐกิจทั้งปีอีกครั้งในเดือนมี.ค. นี้ "จีดีพีในปีนี้ สศค.ยังมองที่ 5% แม้ว่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น แต่ก็ยังไม่ได้มากกว่าที่ประมาณการไว้ โดยปีนี้เรามองว่าบาทต่อดอลลาร์จะเฉลี่ยอยู่ที่ 30.7 หรือ มีช่วงคาดการณ์ที่ 29.70- 31.70 ทำให้ยังไม่ได้ปรับประมาณการจีดีพี" นายเอกนิติ กล่าว ทั้งนี้ เหตุที่ประเมินว่า การส่งออกยังสามารถขยายตัวได้ดี เพราะการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่ประเมินว่า ยังมีการเติบโตที่ 3.7% สำหรับค่าเงินบาทในขณะนี้ค่อนข้างผันผวน แต่ยังเคลื่อนไหวตามภูมิภาค เพราะเศรษฐกิจโลก ทั้งสหรัฐและยุโรปยังมีปัญหา และทำให้มีเงินไหลเข้ามาลงทุนในเอเชีย รวมทั้งไทยด้วย แต่เมื่อใดที่ความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศดังกล่าวมีมากขึ้น เงินทุนก็พร้อมที่จะไหลกลับ ดังนั้น ทิศทางสถานการณ์เงินบาทก็ค่อนข้างจะผันผวน ดังนั้น จึงต้องเตรียมพร้อมที่จะรองรับ โดยแนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดแรงกดดัน คือ การเร่งลงทุน ทั้งนี้ โมเดลที่ สศค.นำมาคำนวณผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจ คือ กรณีเงินบาทแข็งค่า 1% จะกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ 0.3% ส่งผลต่อปริมาณการส่งออกลดลง 0.4% แต่จะทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลง 0.2%

ได้รับเงินกู้วันนี้ในอัตราที่ต่ำสมัครวันนี้สินเชื่อจะได้รับในอัตรา 3% สมัครวันนี้นี้สามารถเพิ่มธุรกิจของคุณให้สูงมากขึ้น เราจะนำเสนอเงินให้กู้ยืมแก่ธุรกิจและผู้คนส่วนบุคคลหากคุณต้องการสินเชื่อที่จะเริ่มขึ้นธุรกิจหรือสินเชื่อเพื่อชำระค่าใช้จ่ายจะติดต่อเราผ่านทาง ([email protected]) ในขณะนี้และได้รับเงินกู้จาก บริษัท ของเรา ... ผมจะทำให้ดีที่สุดในการให้บริการสินเชื่อ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท