เรียนนอกโรงเรียน


 

 

          บทความเรื่อง Studying outside school : A visit to learning centres, museums and exhibitionsโดย ปริยกร ปุสวิโร(Priyakorn Pusawiro)  ลงใน นสพ. เดอะ เนชั่น วันที่ ๘ ต.ค. ๕๕ น่าอ่านมาก เพราะนี่คือแนวทางจัดการเรียนรู้แบบที่ตรงกับจริตของเด็กยุคใหม่ ... ยุคศตวรรษที่ ๒๑

 

          การพาศิษย์ไปเรียนรู้ตามศูนย์การเรียนรู้นอกโรงเรียนนั้น   ครูต้องไม่ใช่แต่พาไป   แต่ต้องมีการเตรียมเด็ก ให้รู้จักใช้สถานที่นั้นเพื่อการเรียนรู้ของตน   และครูต้องมีวิธีตั้งคำถามท้าทายเด็ก เพื่อให้เด็กคิดในระดับที่ลึกและซับซ้อน   เกิดการเรียนรู้แบบที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง  

 

          บทความนี้ให้รายละเอียดที่น่าอ่าน น่าติดตามข้อเขียนของ ดร. ปริยกร ปุสวิโร อย่างยิ่ง   เพราะท่านเป็นผู้ที่เรียนมาด้านการเรียนรู้โดยตรง    และทำงานด้านนี้อย่างต่อเนื่องที่ มจธ. มหาวิทยาลัยที่ THE จัดอันดับให้เป็นที่ ๑ ของไทย ประจำปี ๒๕๕๕ ดังบันทึกนี้

 

 

          ผมอ่านบทความนี้แล้ว เกิดปิ๊งแว้บ ๔ เรื่อง คือ

 

๑. การที่ครูพาเด็กไปเรียนรู้นอกห้องเรียน/โรงเรียน นั้น   ต้องไม่ใช่พาเด็กไปเสพ   ต้องมีวิธีให้เด็กเตรียมกลับมาสร้างความรู้ภายในสมองของตนเอง    คือต้องมาทำรายงานส่วนบุคคล และทำรายงานของกลุ่ม   ตอบคำถามที่ช่วยกันตั้งขึ้น   เพื่อการเรียนรู้ในมิติที่ลึก   ตรงตามที่ ดร. ปริยกร เขียนว่า “…they have indirectly taught their students about knowledge seeking, planning, review, analysis, and presentation.”

 

๒. ครูต้องเตรียมเด็ก ให้ออกไปเรียนรู้ภายนอกอย่าง “มีเชิง”    โดยอ่านได้จากหนังสือ ครูนอกกรอบกับห้องเรียนนอกแบบบทที่๑๔ หน้า ๒๔๕  

 

๓. สสค. หรือหน่วยงานสนับสนุน learning resources ของครู/โรงเรียน    สนับสนุนให้มีการพัฒนาคู่มือใช้ Learning Centers ประกอบการเรียนรู้ของนักเรียนนักศึกษา    รวมทั้งจัดทำรายการแหล่งเรียนรู้ ที่เหมาะต่อเด็กต่างวัย และต่างสาระการเรียนรู้    โดยที่อาจใช้แหล่งเรียนรู้ได้ทั้งโดยเดินทางไปเรียนรู้ (real)   หรือเข้าไปเรียนรู้ผ่าน internet (virtual learning center)

 

๔. หน่วยงานตามข้อ ๓ ข้างบน   สนับสนุนให้มีโครงการพัฒนาภัณฑารักษ์ หรือนักวิชาการของพิพิธภัณฑ์ ให้มีทักษะการเป็น “คุณอำนวย” การเรียนรู้ของนักเรียน    และให้นักวิชาการเหล่านี้รวมตัวกัน ลปรร. การทำหน้าที่นี้ เป็น COP (Community of Practice)   หรือ PLC (Professional Learning Community)  ของนักวิชาการพิพิธภัณฑ์/แหล่งเรียนรู้

 

 

 

วิจารณ์​ พานิช

๘ ต.ค. ๕๕

บนเครื่องบินไปขอนแก่น

 

หมายเลขบันทึก: 507157เขียนเมื่อ 30 ตุลาคม 2012 10:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 17:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

นอกจากเด็กแล้ว วัยรุ่นและผู้ใหญ่ก็ชอบจริตแบบนี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท