ระบบการเมือง เพื่อประชาชน (ตอนที่ ๑)


ดุสิตธานี ล้มเหลวจริงหรือ???? หรือเราไม่เข้าใจรหัส ที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่๖ ทรง “สื่อสาร” ถึงกลุ่ม “หัวก้าวหน้า” ทั้งหลายว่าระบบการเมืองของประชาชนสยาม ในยุคนั้นและอนาคต ควรเป็นเช่นไรกันแน่???

         ระบบพรรคการเมือง สำหรับประชาชน ควรเป็นอย่างไร ????

            นี่คือคำถามยอดฮิตที่นักการเมืองและนักปกครองมักถามใครต่อใครอยู่เสมอ (แต่จะถามตนเองด้วยหรือไม่...ข้อนี้ไม่แน่ใจ..) และด้วยแนวคิดพื้นฐานที่แตกต่างกัน ระบบการเมืองจึงแยกย่อยออกไปมากมายตามความคิดที่แต่ละคน เห็นว่าเป็นคำตอบที่ถูกและเหมาะสมกับบ้านเมืองของแต่ละคน

          แต่นักสื่อสารการเมือง ควรใช้คำถามนี้หรือไม่??? และควรตอบด้วยคำตอบเดียวกันกับนักการเมืองหรือเปล่า ??? และควรสื่อสารไปถึงประชาชนอย่างไร ???

          เราเห็นว่า เป็นคำถาม-คำตอบที่ท้าทายนักสื่อสารการเมืองอย่างยิ่ง  แม้โดยส่วนตัว เรายังไม่เห็นสถาบันเกี่ยวกับการเมือง ทั้งของรัฐ หรือหน่วยงานของเอกชน หน่วยงานภาคประชาชน หรือองค์กรอิสระใด ๆ จะสนใจตั้งคำถามและมีคำตอบเหล่านี้อย่างจริงจัง  (เช่น สถาบันพระปกเกล้าฯ / กกต. / สถาบันพัฒนาการเมือง องค์กรพิทักษ์สยาม กลุ่มเสื้อหลากสี เป็นต้น) แม้อาจมีบ้าง แต่ก็เป็นการตั้งคำถามถึงระบบการเมือง แบบผู้ปกครองมากกว่าจะเป็นคำถามของผู้ถูกปกครอง

คำเรียกประชาธิปไตย เกิดขึ้นในกรีก  ระบบรัฐสภาเกิดในอาณาจักรโรมัน ระบบราชาธิปไตย โดดเด่นในจีน ระบบมูลนายโดดเด่นในอังกฤษ ระบบสาธารณรัฐโดดเด่นในโลกอิสลาม  ระบบชนชั้นวรรณะโดดเด่นในอินเดีย ระบบสิทธิเสรีภาพโดดเด่นในสหรัฐอเมริกา  ระบบสิทธิหน้าที่โดดเด่นในญี่ปุ่น ระบบธรรมิกราชโดดเด่นในชนชาติมอญ-รามัญ ทั้งหมดเกิดขึ้น ปรับตัว และเปลี่ยนแปลง หลายระบบหายไป หลายระบบเติบใหญ่และหลายระบบเกิดแตกหน่อเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

          การบอกเล่าเรื่องการเมือง ก็เปลี่ยนแปลงไปมาก จากผู้รู้ระบบสู่ผู้ไม่รู้ ก็เปลี่ยนไปเป็น จากเรื่องที่เข้าใจเดิมไปสู่เรื่องซับซ้อนที่ต้องเข้าใจมากขึ้น  และค่อยๆ พัฒนาไปสู่ความสัมพันธ์ในองคาพยพของระบบ  และขณะนี้เรากำลังสื่อสารเรื่อง ความเท่าเทียมกันขององคาพยพในระบบแต่ละระบบ

          อีกทั้ง ทุกวันนี้ การเมืองขับเคลื่อนไปเร็วกว่าที่เราทั้งหลายคาดคิดไว้ จึงแทบไม่ต้องถามต่อว่า คำตอบจะเป็นเช่นไร เมื่อถึงยุคสมัยของการ “ร่วมกัน” ปกครองว่าระบบการเมืองควรเป็นเช่นไร และเราจะสื่อสารอะไร และอย่างไร เพื่อให้เข้าใจระบบ “ร่วมกัน” ของการเมืองแบบอนาคตที่จะมาถึงในเร็ววันนี้

          นับแต่การทดลองใช้ ดุสิตธานี เป็นนครประชาธิปไตยทดลองของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ถือเป็นต้นแบบการสื่อสารการเมืองทีสำคัญอย่างยิ่ง ครั้งหนึ่งของเมืองไทย (ขอบันทึกไว้เป็นคนแรกเลยละกัน..)  สำหรับเราแล้ว ดุสิตธานี ถือเป็นงานวิจัยเชิงทดลองอันยิ่งใหญ่ ที่เหมาะสมกับเรื่องใหญ่ๆ พลิกฟ้าพลิกดิน เปลี่ยนอนาคตประเทศ ทัดเทียมกับการค้นพบ E=MC2  การค้นพบ Semi-conductor/IC

          ดุสิตธานี ล้มเหลวจริงหรือ???? หรือเราไม่เข้าใจรหัส ที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่๖ ทรง “สื่อสาร” ถึงกลุ่ม “หัวก้าวหน้า” ทั้งหลายว่าระบบการเมืองของประชาชนสยาม ในยุคนั้นและอนาคต ควรเป็นเช่นไรกันแน่???  หรือการสื่อสารครั้งนั้น มีปัจจัยตัวแปรมากมายทำให้การสื่อสารไม่เป็นผล หรือระบบการเมืองแบบประชาธิปไตย เป็นของใหม่จนยากจะมีชาวสยามคนใดเข้าใจได้..????

บทสรุปความล้มเหลวของ ดุสิตธานี  และคำกล่าวลอย ๆ ที่ว่า “เมืองของเล่น” เป็นบทสรุปที่คนรุ่นหลังไม่เข้าใจความสับสนของคนรุ่นก่อนหรือไม่??) และด้วยเพราะเหตุที่ไม่เข้าใจซ้อนถึงสองชั้นนี้หรือเปล่า จึงทำให้ อีก ๗๐ ปีต่อมา เราทำประเทศเป็นของเล่น เละเทะเสียยิ่งกว่า “เมืองของเล่น” ของพระราชาดังคำกล่าวนั้น อย่างมากมาย

เราทราบว่ามีเพื่อนรักคนหนึ่ง กำลังจะทำวิจัยเรื่อง ดุสิตธานีให้สถาบันการศึกษาแห่งหนึ่ง เราสนับสนุนมาก และขอร่วมแสดงความรู้-ความคิดในกระบวนนี้ด้วย เราอยากศึกษาเรื่อง ดุสิตธานี ต้นแบบของการสื่อสารการเมือง จริง ๆ    ซึ่งคงต้องใช้ทุนวิจัยก้อนใหญ่มากโขทีเดียว (หน่วยงานใดมีทุนให้เปล่าแลกความรู้ โปรดแนะนำกันด้วยนะ...(อิอิอิ)

          ประโยคเด็ด ที่เราคิดว่าเป็นหนึ่งในคำตอบของคำถามนี้ คือ “ไม่ว่าแมวดำหรือแมวขาว ขอให้จับหนูได้ก็พอ..” “ หนึ่งประเทศ สองระบบ”  ของเติ้งเสี่ยวผิง ซึ่งกล่าวจากประสบการณ์การต่อสู้ทางการเมือง การสงคราม ผ่านซากศพ-ความเจ็บป่วย ความพลัดพรากและความตาย  การเดินทางทั่วประเทศร่วมกับเมาเซตุงและสหายร่วมอุดมการณ์คอมมิวนิสต์จีน

          ในครั้งที่คุณเติ้งเสียวผิง เอ่ยประโยคนี้ ผู้คนทั้งโลกต่างก็แอบนินทาเล็ก ๆ ว่า กล่าวเพื่อเอาใจอังกฤษ  เพราะอยากจะรับคืนเกาะฮ่องกงเต็มแก่แต่ก็เกรงความวุ่นวายจะเกิดขึ้นจากระบบการเมืองการปกครองและเศรษฐกิจ ที่แตกต่างกัน

ปัจจุบัน คำกล่าวนี้เริ่มสะท้อนความจริงให้เห็นว่า มันมีความหมายอย่างไร และชี้ให้เห็นว่า การเมืองของประชาชนนั้น มีความหมายที่ลึกซึ้งเพียงใด  ผู้ที่กล่าวคำนี้ละเอียดลึกซึ้งกับระบบการเมืองเพื่อรประชาชนแค่ไหน ???  

ฉันคือพรรคที่คนส่วนใหญ่เลือก กับฉันคือพรรคที่ทำเพื่อคนส่วนใหญ่

ฉันคือพรรคที่ได้เสียงข้างมาก  กับฉันคือพรรคที่ฟังเสียงข้างน้อย

ฉันคือพรรคที่ทำตามมติพรรค กับฉันคือพรรคที่ทำตามมติมหาชน

ฉันคือพรรคที่สร้างความเจริญก้าวหน้า กับฉันคือพรรคที่สร้างความสงบสุขร่มเย็น

การเมืองของประชาชนนั้น มีความหมายที่ลึกซึ้งเพียงใด   การสื่อสารเรื่องการเมืองก็มีความลึกซึ้งเพียงนั้น...

                   เอวัง  ตอนที่๑ ก็มีด้วยประการ ฉะนี้......

 

 

หมายเลขบันทึก: 507152เขียนเมื่อ 30 ตุลาคม 2012 09:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 17:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ประเด็นคำถามที่น่าสนใจ ที่ต้องช่วยกันค้นคำตอบ

ขอบคุณ คุณ วอญ๋่า ฯ ที่ร่วมแบ่งปันความคิด...

ขอบคุณ คุณ Jamlong NFE ด้วยเช่นกัน...

  • ชอบมากค่ะกับ ท่อนนี้ "...ผู้ที่กล่าวคำนี้ละเอียดลึกซึ้งกับระบบการเมืองเพื่อประชาชนแค่ไหน???

          ฉันคือพรรคที่คนส่วนใหญ่เลือก กับฉันคือ พรรคที่ทำเพื่อคนส่วนใหญ่

          ฉันคือพรรคที่ได้เสียงข้างมาก กับฉันคือ พรรคที่ฟังเสียงข้างน้อย...

  • ขอบคุณสำหรับบันทึกที่แสดงแนวคิดได้ลึกซึ้ง เช่นเคยค่ะ     

ขอบคุณ ผศ.วิไล ที่กรุณาติดตาม และให้กำลังใจตลอดครับ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท