โครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อย_06 : แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์กับครูอนุบาลในพื้นที่


วันที่ 26 ตุลาคม 2555 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของครูอนุบาลกลุ่มเป้าหมาย ในโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อย ซึ่งได้ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการไปตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา

ผมนำกิจกรรมต่างๆ ที่เพิ่งจะได้เรียนรู้จากเวที PLC ครูสอนดี ที่ผมบันทึกไว้ที่นี่ มาปรับใช้ ได้ผลไม่เลวเลยทีเดียวครับ 

กลุ่มเป้าหมายมากันครบทุกโรงเรียน มีการสลับหน้ากันมาบ้างแต่ก็เพราะติดธุระสิำคัญ และยิ่งไปกว่านั้น ท่านที่มาเพิ่ม มาด้วยใจจริงๆ ครับ ..... เช่น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ต.หนองเหล็ก มาทั้งผู้บริหาร และครูประจำศูนย์มากันตั้ง 4 คน ..... แค่นี้เราก็มีกำลังใจและความสุขมากโขแล้วครับ 

เริ่มที่การเดินทักทาย สบายๆ.....  ผมบอกว่า ให้ทุกท่านเดินไปภายในพื้นที่ "วง" และบอกวัตถุประสงค์ว่า อยากให้ทุกท่านรู้จักกันให้มากขึ้น ..... เท่านี้เองครับ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เกิดการสนทนากัน แนะนำตัว เล่าประสบการณ์ของตนเอง ..... แทบจะหยุดไม่ได้ทีเดียว 

จากนั้นก็แบ่งกลุ่มกันคุยต่อ ไม่มีรูปแบบครับ แค่เรามาคุยกัน 

จากนั้นก็มาผลัดกันเล่าประสบการณ์ แลกเปลี่่ยน แบ่งปัน กันครับ 

 

ผมทำ AAR หลังกิจกรรมอย่างมีความสุข มีประเด็นสำคัญดังนี้ครับ 

  • โรงเรียนหรือศูนย์เด็กเล็กส่วนใหญ่ เริ่มนำกิจกรรมการทดลองที่อบรมครั้งที่แล้วบ้างแล้ว แต่หลายโรงเรียนนำไปใช้เพียง 1 หรือ  2 การทดลอง บางโรงเรียนยังไม่เริ่ม มีโรงเรียนหนึ่งที่ทำครบแล้วทั้ง 10 การทดลองคือ โรงเรียนอนุบาลกิตติยา มหาสารคาม .....
  • แม้ว่าจะยังไม่เริ่ม แต่หลายโรงเรียนได้นำไปขยายต่อให้ครูในโรงเรียนได้ลองทำแล้ว และทุกโรงเรียนจะเริ่มใช้กับนักเรียนในเทอมหน้านี้ 
  • ไม่เฉพาะครูมัธยมหรือประถมเท่านั้น ที่งานยุ่ง อบรมเยอะ กิจกรรมเยอะ จนไม่มีเวลา แต่ ครูอนุบาลก็ด้วย...   ปัญหาอันน่าเป็นห่วงของระบบ
  • ครูอนุบาลทุกท่าน มีกระบวนทัศน์ ที่แตกต่างจากครูระดับอื่นๆ (ผมจะขยายความทีหลังครับ)
  • ครูหลายคนเข้าใจว่าใน "กล่อง" จะมีวัสดุอุปกรณ์ ให้ครบ แต่พอเปิดกล่องแล้ว เหมือนรู้สึกโดนหลอก เพราะมีแต่เพียง "กระดาษ" ที่บอกความรู้เท่านั้น 
  • เด็กๆ สนใจ เปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด จากที่ไม่ค่อยสนใจเรียน แต่พอครูบอกว่า "วันนี้เราจะทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์อีก.."  เสียง "..เฮ.." ดังสนั่น เป็นวันที่เด็กๆ รอคอย .....ตอนที่ครูสาธิต เงียบกริบ สนใจ สังเกต.....

(ขอบคุณภาพขาก รองนายก อบต.หนองเหล็กครับ)

 

แนวปฏิบัติที่ดีมีดังนี้ครับ

  • ศูนย์เด็กเล็ก ให้เขียนโครงการของบประมาณจาก อบต. ในชื่อโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อย ของบประมาณ 10,000 บาท 
  • วัสดุอุปกรณ์ในการทดลองต้องหาซื้อเอง เช่น กาละมัง ถ้วยโถพลาสติก จากร้านวางขาย (จะได้ของถูก) สารเคมีอาจต้องซื้อจากร้านขายยา หลายอย่างซื้อได้จากศึกษาภัณฑ์หรือร้ายเครื่องเขียน 
  • ครูใช้คำถาม ครูออกแบบ ครูกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น กระตุ้นแรงจูงใจ 

เป็นต้นครับ 

หมายเลขบันทึก: 507154เขียนเมื่อ 30 ตุลาคม 2012 09:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 17:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • ชอบกิจกรรมแบบนี้ครับอาจารย์
  • ดูแล้วครูมีความสุขและได้ความรู้มากกว่าการบรรยายอย่างเดียว
  • ขอบคุณมากครับ

ขอบคุณท่านอาจารย์ขจิต ที่มาให้กำลังใจครับ .... คนนำกระบวนการก็มีความสุขครับ

อยากไปร่วมจัง เห็นครูจากพระกุมารมาด้วยโรงเรียนเก่าเคยทำงานคะ

น่่าสนุกจังเลยค่ะอาจารย์ หนูอยากมีส่วนร่วมจังเลย

ได้ซิวราภรณ์ กิจกรรมต่อไปคือวันที่ 29-30 พฤศจิกายน นี้ครับ เป็นการฝึกอบรมรอบที่ 2 มาเรียนรู้ก่อนครับ

ง่ายๆ สบายๆ แต่ได้เนื้อๆ ล้วนๆ ชื่นชมอาจารย์ค่ะ อยากทำเวทีดีๆ อย่างนี้ที่จันทบุรีค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท