แพทย์ Set ผ่าตัด


หลายวันก่อนได้รับโทรศัพท์จาก “น้องสุ’วิสัญญีพยาบาล”

พี่อ๋อย.. คุณหมอช้าจะ Set Ruptured Ovarian Cyst (ซีสที่รังไข่แตก) แต่คนไข้ Hct.(ความเข้มข้นของเลือด) =20%, Vital sign (สัญญาณชีพ) ปกติ เพิ่งมาตรวจวันนี้ ยังไม่ได้ Admit ตอนนี้อยู่ที่ ER (ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน)

kunrapee เข้าไปดูคนไข้ กำลังรอผลตรวจเลือด จองเลือด อาการทั่วไปปกติดี สัญญาณชีพปกติ

จึงโทรศัพท์ประสานสูติ-นรีแพทย์ แล้วแจ้งว่าขอไม่รับ Set case ผ่าตัด เนื่องจากผลเลือดไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะรับได้ ถ้าส่งต่อไปผ่าตัดที่รพ.มหาราช นม. น่าจะทันและปลอดภัยสำหรับคนไข้มากกว่า แพทย์จึงพิจารณาส่งต่อ (แต่แพทย์ก็มีอาการหงุดหงิดเล็กน้อยถึงปานกลาง แต่ก็เข้าใจเหตุของเรา)

3 วันต่อมาคนไข้ ได้รับการส่งต่อกลับมารักษาต่อที่รพ.สูงเนิน แพทย์ผ่าตัดเอาปีกมดลูกข้างขวาออก ในห้องผ่าตัดได้ให้เลือด 3 ถุง Hct.แรกรับที่สูงเนิน =26%

รพ.สูงเนินห่างจาก รพ.มหาราช นม.เพียง ๓๐ กิโลเมตร เราเลือกที่จะผ่องถ่ายความเสี่ยง เนื่องจากเลือดที่จองไว้ ยังตรวจไม่เสร็จไม่แน่ใจว่าจะมีเลือดพร้อมใช้หรือไม่ วันนั้นเรามีเลือก PRC gr.B เพียง 2 u เท่านั้น, ไม่มี Colloid สำหรับ Hold Volume ซึ่งดีกว่าสารน้ำทั่วๆไป ซึ่งเป็น Crystalloid

เกณฑ์การรับ Set ผ่าตัด คือ

- คนไข้ ASA Class 1-2 คือคนไข้ปกติทั่วไป ไม่มีโรคประจำตัว หรือมีโรคประจำตัวที่อยู่ในระยะที่ควบคุมได้

- ผลการตรวจชันสูตรต่างๆ (ผลเลือด, X-ray, EKG) อยู่ในเกณฑ์ปกติ (เรามีเกณฑ์การส่งตรวจแยกตามระดับอายุ ว่าต้องตรวจอะไรบ้าง)

- Hct ≥30% ถ้าเป็นโรคซีด เช่น Thalassemia รับได้ที่ Hct ≥25%

- NPO time (งดน้ำและอาหารก่อนผ่าตัด) ≥ 4-6 ชม.

อย่างไรก็ต้องทำตามเกณฑ์.. เพื่อป้องกันและลดอุบัติการณ์ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้.. เราเลือกช่วยคนไข้ แต่ต้องดูความสามารถของตนเองด้วย.. บางกรณี ที่จำเป็นจริงๆ เราจะอนุโลมเป็นรายๆไป เลือกช่วยเหลือเพื่อความปลอดภัยของคนไข้

สมัยก่อนตั้งแต่ kunrapee ยังไม่ได้ไปเรียนเป็นวิสัญญีพยาบาล.. มีเรื่องเล่าว่าเราเคยผ่าตัดคลอดให้คนไข้ โดยที่ไม่มีเลือดอยู่ในรพ. ขณะผ่าตัดเสียเลือดมาก ต้องวิ่งหาเลือดกันทั้งกับจนท.รพ.และรพ.ข้างเคียง เครียดไปตามๆกัน เราจึงต้องกำหนดเกณฑ์การรับ Set ผ่าตัดขึ้น

 

อาจจะมีความคิดเห็นแตกต่างกันไปบ้าง แต่สุดท้ายก็เพื่อความปลอดภับของคนไข้ค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 506349เขียนเมื่อ 21 ตุลาคม 2012 08:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 16:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เกณฑ์การรับ Set ผ่าตัด   เพื่อคุณภาพจริงๆๆ  เห็นด้วยกับการป้องกันและบริหาร ความเสี่ยง (Risk Management) เพื่อทุกๆๆคน นะคะ

 

ขอบคุณมากนะคะ

เราเป็นรพ.ชุมชนเล็กๆค่ะ ต้องทำตามศักยภาพที่มี

ไม่งั้นคงต้อง ทบทวนความเสี่ยงกันบ่อยๆค่ะ

การผ่องถ่ายความเสี่ยง เป็นสิ่งสำคัญมาก

อาจารย์วิสัญญีแพทย์บอกว่า.. ถ้ารู้สึกว่าเสี่ยง ให้ส่งต่อมาเลยค่ะ

ขอบคุณ P'Ple มากค่ะ

จึงโทรศัพท์ประสานสูติ-นรีแพทย์ แล้วแจ้งว่าขอไม่รับ Set case ผ่าตัด เนื่องจากผลเลือดไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะรับได้ ถ้าส่งต่อไปผ่าตัดที่รพ.มหาราช นม. น่าจะทันและปลอดภัยสำหรับคนไข้มากกว่า แพทย์จึงพิจารณาส่งต่อ (แต่แพทย์ก็มีอาการหงุดหงิดเล็กน้อยถึงปานกลาง แต่ก็เข้าใจเหตุของเรา)

อันนี้ซิ ที่เรียกว่าศักยภาพของพยาบาลในการประเมิน Case และตัดสินใจในการมีส่วนรร่วมในการดูแลผู้ป่วย อย่างมืออาชีพ

แหม.. พี่เอ๋พูดซะดูดี เชียวนะคะ.. ขอบคุณมากค่ะสำหรับคำว่า "มืออาชีพ"

อย่างน้อยเราต้องรู้ค่ะว่าสามารถแค่ไหน ไม่ใช้ทำแล้วเกิดข้อผิดพลาดขึ้น

วิชาชีพพยาบาลเรา เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ไม่อาจใช้คำว่า ทดลองได้

เป็นอีกวิชาชีพที่สง่างาม ความเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ มันไม่ง่ายคะ ถ้าไม่เรียนรู้ และไม่เข้าใจ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท