Falling forward -ล้มไปข้างหน้า


สิ่งที่เรามีเหมือนกันคือ ไม่มีอะไรสมหวังไปเสียทุกอย่าง..
แต่สิ่งที่ทำให้ต่างกันคือ..เราตอบสนองอย่างไรต่อความไม่สมหวังนั้น
...

การเยี่ยมชม โรงเรียนแพทย์ ณ เหวินโจว ( Wenzhou medical collage - WMC )
ข้าพเจ้าได้พบกับ นักศึกษาจากประเทศไทยที่กำลังศึกษา สองคน
คนหนึ่ง จบด้านแพทย์แผนไทยประยุกต์จากมหิดล เกียรตินิยม
มาเรียนคณะแพทยศาสตร์ด้วยทุนตนเองตามที่เธอใฝ่ฝัน
และได้ทุนเรียนในปีสอง ปีสาม เพราะมีผลการเรียนดี
อีกคนหนึ่ง จบชั้นมัธยมหก โรงเรียนชื่อดังในประเทศไทย
ตั้งเป้าหมายหนึ่งเดียวคือ คณะทันตแพทยศาสตร์ 
เมื่อประตู entrance ในประเทศไทยแคบเกินไป
เธอจึงหาข้อมูลแล้วตัดสินใจเลือกมาเรียนเหวินโจว
ซึ่งเปิดรับนักศึกษาต่างชาติเข้าเรียนคณะทันตแพทย์ 
ชีวิตในต่างแดน ต่างภาษา ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย
แต่เพื่อไปให้ถึงฝัน อุปสรรคต่างๆ ก็กลายเป็นเรื่องเล็กน้อย
 

###

ทั้งนี้ ข้าพเจ้าไม่อาจสรุปได้ว่า การไปเรียนแพทย์ที่ประเทศจีนดีหรือไม่  
จึงขอให้ข้อมูลที่สรุปจาก คำเตือนสำหรับผู้มีความประสงค์ไปศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ในจีน
จาก เวบไซต์ของแพทยสภา
 ร่วมกับข้อมูลที่รับทราบเพิ่มเติมมาดังนี้

1. ปัจจุบันมีผู้ไปศึกษาแพทย์ ในโครงการนานาชาติ ประมาณ 350 คน ซึ่งจากจำนวนนี้ มี 12 คนที่อยู่ในชั้นคลินิก (ปี 4-6)  

2. การจบหลักสูตรในประเทศจีนที่แพทยสภารับรอง ไม่ได้หมายความว่า แพทยสภาอนุมัติใบประกอบเวชกรรมในประเทศไทยโดยอัตโนมัติ ต้องกลับมาสอบในประเทศไทยอีกครั้ง   
    การสอบเพื่อรับใบประกอบเวชกรรม (ศ.ร.ว) ปัจจุบันนี้มีสามขั้นตอน : ขั้นแรก ก่อนขึ้นชั้นปี 4, ขั้้นสอง สอบตอน ปี 5 และขั้นตอนสุดท้าย สอบตอนก่อนจบปี 6 
พบว่า ผลการสอบขั้นแรก นักศึกษาที่ขึ้นชั้นคลินิก 12 คน ไม่มีใครสอบผ่าน ศ.ร.ว. ของไทย

3. ค่าใช้จ่ายในการเข้าศึกษา นักศึกษาต่างชาติต้องชำระเองทั้งหมด แต่มหาวิทยาลัยมีทุนให้สำหรับผู้มีผลการเรียนดีเด่น

4. การรับเข้าศึกษา (admission) นักศึกษาต่างชาติ โดยมากเป็นการยื่นผลการเรียนกับสัมภาษณ์ ไม่มีการสอบคัดเลือก ใช้ผลสอบภาษาอังกฤษ ไม่ต้องการพื้นฐานภาษาจีน แต่ การรู้ภาษาจีน "ในระดับอ่านออก เขียนได้ พูด ฟังคล่อง" จำเป็นต้องใช้ในชั้นปีคลินิกซึ่งผู้ป่วย เพื่อนร่วมงาน ต่างใช้ภาษาจีนในการพูด เขียน

###

แต่สิ่งที่ข้าพเจ้าชื่นชม และเก็บมาเป็นแรงบันดาลใจจากนักศึกษาไทยสองท่าน
คือคำว่า "Falling forward" 

ในการตัดสินใจเลือก อาจนำไปสู่ความสำเร็จ หรือล้มเหลว

แต่ชีวิตมนุษย์เติบโตได้ ก็เพราะบทเรียนจากการตัดสินใจ 
ตั้งแต่เด็ก เราเรียนรู้ที่จะเดินด้วยการล้ม

ดัง John C Maxwell กล่าวถึง " Rule of being humans"

Rule #1 : You will learn lessons.
Rule #2 : There are no mistake - only lessons.
Rule #3 : A lesson is repeated untill it is learned.
Rule #4 : If you don't learn the easy lessons, they get harder. - Pain gets your attention before you get harm.
Rule #5 : You'll know you've learned a lesson when your actions change.

ตราบใดที่ชีวิตยังไม่หยุดเดิน ไม่แปลกที่จะล้ม
ขอเพียงล้ม..ไปข้างหน้า..

Falling forward

 

 

หมายเลขบันทึก: 506348เขียนเมื่อ 21 ตุลาคม 2012 07:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 ตุลาคม 2012 18:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

สังเกตได้ว่าถ้าคุณหมออยู่ต่างประเทศที่ไร  มีเรื่องสนุกๆมาเล่าให้ฟังเสมอ

คิดถึงสมัยคุณหมออยู่อเมริกา มีเรื่องมาเล่าเกือบทุกอาทิตย์

แต่พอกลับเมืองไทย  เดียวก็เงียบหาย เดียวก็เงียบหาย

อยู่เมืองจีนนานๆนะครับ 

นอกจากคนทางเมืองไทยจะได้ยินสิ่งใหม่ๆ แล้ว

คุณหมออาจจะพูดภาษาจีนได้อีกด้วย.......

นอกจากการไปเรียนแพทย์ที่จีน ลูกของเพื่อนหลายๆ คนที่นี่ก็ส่งลูกสาว ลูกชายไปเรียนแพทย์ที่รัสเซียด้วยค่ะ ตอนแรกได้ยินก็รู้สึกแปลก แต่ทว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นค่อนข้างเยอะโดยเฉพาะคนจากมาเลเซีย

คุณหมอเดินทางไปจีนนี่เอง เลยไม่ค่อยได้เขียนบันทึกให้เราอ่าน

มีเวลาพักผ่อนบ้างนะคะ

สวัสดีค่ะ

คิดถึงอยู่ว่าคุณหมอ ป. หายไปไหน สงสัยงานยุ่ง

ขอบคุณเรื่องราวที่แสนดี...

ชอบๆๆๆๆ

ส่วนตัวก็มีคำที่ชอบพูดบ่อยๆ ว่า  "ล้มเพราะก้าวไปข้างหน้า ดีกว่ายืนเต๊ะท่าอยู่กับที่" ปลอบใจตัวเองตอนที่ต้องทำบางเรื่องราวที่ไม่สันทัดไม่ชอบไม่แน่ใจค่ะ

ก็เพราะล้มนั่นแหละ จึงยืนได้อย่างมั่นคง... 

งานมาก เดินทางบ่อยๆ รักษาสุขภาพมากๆ ค่ะ :)

ชอบมากครับ....คิดถึงอาจารย์ครับ....มีความสุขและเรียนรู้...กับการเดินทางที่แสนพิเศษนะครับ

ยังชื่นชอบงานเขียนของคุณหมอบางเวลาเช่นเดิมครับ ;)...

ล้มก็ยังล้มไปข้างหน้า ... ดีกว่าถลาแล้วล้มไปข้างหลัง

ชื่นชมเด็กไทย 2 คนที่คุณหมอป.เล่าให้ทราบ ไม่ว่าใคร เรียนที่ไหนก็ได้นะคะ ความตั้งใจ ความพยายาม ฯ สำเร็จจบได้ เมื่อจบแล้วเป็นคนดี ใช้ความรู้ให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ด้วยกันฯลฯ ในสิ่งที่เรียนรู้มา เราก็ชื่นชมในการทำงานของแต่ละคนเสมอ  ขอบคุณมากค่ะ

  • เป็นการเรียนรู้ที่น่าสนใจมาก
  • เข้าใจว่าการเรียนแพทย์แผนตะวันออก
  • คงมีบริบทต่างจากแผนตะวันตก
  • ขอบคุณมากครับ
  • จากข้อมูล "1) ปัจจุบันมีผู้ไปศึกษาแพทย์ ในโครงการนานาชาติ ประมาณ 350 คน ซึ่งจากจำนวนนี้ มี 12 คนที่อยู่ในชั้นคลินิก (ปี4-6) 2) การจบหลักสูตรในประเทศจีนที่แพทยสภารับรอง ไม่ได้หมายความว่า แพทยสภาอนุมัติใบประกอบเวชกรรมในประเทศไทยโดยอัตโนมัติ ต้องกลับมาสอบในประเทศไทยอีกครั้ง การสอบเพื่อรับใบประกอบเวชกรรม (ศ.ร.ว) ปัจจุบันนี้มีสามขั้นตอน : ขั้นแรก ก่อนขึ้นชั้นปี 4, ขั้้นสอง สอบตอน ปี 5 และขั้นตอนสุดท้าย สอบตอนก่อนจบปี 6 พบว่า ผลการสอบขั้นแรก นักศึกษาที่ขึ้นชั้นคลินิก 12 คน ไม่มีใครสอบผ่าน ศ.ร.ว. ของไทย
  • ใน "การสอบเพื่อรับใบประกอบเวชกรรม (ศ.ร.ว)" นั้น เข้าใจว่า ผู้ออกข้อสอบต้องออกตามบริบทของการศึกษาแพทยศาสตร์ในเมืองไทย และการเรียนแพทย์ในต่างประเทศคงมีบริบทที่แตกต่าง เหตุดังกล่าว น่าจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้นักศึกษาแพทย์ในโครงการนานาชาติไม่มีใครสอบผ่านศ.ร.ว.ของไทย
  • ขอฝากคำถามที่ไม่รู้จะถามใครนะคะ ว่า "ปัญหาดังกล่าวจะปล่อยให้ผู้เรียนแก้เอง หรือทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะร่วมกันหาทางแก้ไข"

คิดถึงคุณหมอ ป. นะคะ ไปอยู่เมืองจีนคงจะหนาวแล้วนะคะ

  • เรียนอาจารย์วิไลคะ ข้อสังเกตของอาจารย์สำคัญยิ่งคะ เป็นความจริงว่าการสอบใดๆ มิใช่วัดความรู้ความเข้าใจวิชาการอย่างเดียว แต่วัดความสามารถในการจับ "แนวข้อสอบ" ด้วย
  • แม้นักศักษาแพทย์ไทยเราเอง เมื่อครั้ง ศรว. เริ่มใหม่ๆ มหาวิทยาลัยที่ไม่ได้ติว "แนวข้อสอบ" ก็ประสบปัญหาเด็กไม่ผ่านเกณฑ์จำนวนมาก
  • วิธีแก้  คิดว่านักศึกษาที่ไปเรียนประเทศจีน น่าจะหาโอกาสมาติวในมหาวิทยาลัยไทย ช่วง elective คะ 
  • สำหรับท่านอื่่นๆ ได้อ่านแล้วขอบคุณทุกความเห็นที่อบอุ่นและกระตุ้นให้คิดเช่นเคย..แต่ยังไม่มีสามารถตอบรายท่านได้ดังเคยและช่วงนี้คงหายหน้าไปเป็นพักๆ เพื่อทำภารกิจสำคัญ (อีกครั้ง) หลัง พฤษภาคม จะกลับมาลัลล้าใหม่คะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท