ครูเพื่อศิษย์ส่งเสริมให้ศิษย์สนุกกับการเรียน : 34. เทคนิคดึงความสนใจ นศ. (14) สโมสรหนังสือ


เป็นเครื่องมือฝึก นศ. ให้มีทักษะด้าน การอ่าน การอภิปราย และการนำเสนอ โดยการเลือกอ่านหนังสือที่ครูกำหนด แล้วนำมาอภิปรายกับเพื่อนๆ ในทีม (สโมสร) ตามคำถามที่ครูกำหนด หรือจะให้ นศ. ร่วมกันกำหนดประเด็นคำถามก็ได้ การอภิปรายอาจทำในเวลาเรียน นอกชั้นเรียน หรือ online ก็ได้

 

ครูเพื่อศิษย์ส่งเสริมให้ศิษย์สนุกกับการเรียน  : 34. เทคนิคดึงความสนใจ นศ.  (14) สโมสรหนังสือ

บันทึกชุดนี้ ได้จากการถอดความ ตีความ และสะท้อนความคิด    จากการอ่านหนังสือ Student Engagement Techniques : A Handbook for College Faculty เขียนโดย ศาสตราจารย์ Elizabeth F. Barkley    ในตอนที่ ๓๔ นี้ ได้จาก Chapter 13  ชื่อ Analysis and Critical Thinking    และเป็นเรื่องของ SET 14 : Book Club  

บทที่ ๑๓ ว่าด้วยเรื่องการวิเคราะห์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ   ประกอบด้วย ๘ เทคนิค  คือ SET 8 – 15   จะนำมาบันทึก ลรร. ตอนละ ๑ เทคนิค

 

SET 14  สโมสรหนังสือ

จุดเน้น  :  ความร่วมมือ

กิจกรรมหลัก :    อ่าน, อภิปราย, นำเสนอ

ระยะเวลา  :  หลายคาบ

โอกาสเรียน online  :  สูง

 

เป็นเครื่องมือฝึก นศ. ให้มีทักษะด้าน การอ่าน การอภิปราย และการนำเสนอ   โดยการเลือกอ่านหนังสือที่ครูกำหนด   แล้วนำมาอภิปรายกับเพื่อนๆ ในทีม (สโมสร)   ตามคำถามที่ครูกำหนด  หรือจะให้ นศ. ร่วมกันกำหนดประเด็นคำถามก็ได้    การอภิปรายอาจทำในเวลาเรียน  นอกชั้นเรียน  หรือ online ก็ได้

เมื่อจบ แต่ละสโมสรนำเสนออย่างเป็นทางการต่อเพื่อร่วมชั้น   เพื่อเสนอผลการสังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้ตามประเด็นที่กำหนด

 

 ขั้นตอนดำเนินการ

  1. ครูหาหนังสือ ๓ - ๕ เล่ม ที่ให้มุมมองที่แตกต่างกันตามเนื้อหาในรายวิชา    และกำหนดคำถามเป็นแนวทางอภิปราย
  2. กำหนดปฏิทิน เพื่อแบ่งเวลาเป็นช่วงๆ สำหรับการอ่านและการอภิปราย ในแต่ละ “สโมสร”  
  3. เขียนแนวทางดำเนินการสโมสรหนังสือ   และกำหนดการต่างๆ   แจก นศ.
  4. เขียนสรุปย่อสาระของหนังสือแต่ละเล่ม  ระบุว่ามีประโยชน์ต่อเป้าหมายการเรียนรู้ในรายวิชานั้นอย่างไร   มีความน่าสนใจต่อ นศ. อย่างไร    และทำใบลงชื่อสมัครเพื่อให้ได้สมาชิกของสโมสรนั้น ๕ - ๗ คน    โดยอาจมีมากกว่า ๑ สโมสร ที่อ่านหนังสือเล่มเดียวกัน
  5. ดำเนินการลงทะเบียนสมาชิกของแต่ละสโมสร  
  6. นศ. สมาชิกอ่านและนัดพบกันเพื่ออภิปราย ลปรร.   และเมื่อจบก็เตรียมนำเสนอด้วยวาจาต่อชั้น      

 

ตัวอย่าง

วิชารัฐบาลและการเมืองอเมริกันเบื้องต้น

ศาสตราจารย์ผู้สอนวิชานี้ต้องการให้ นศ. มีความเข้าใจในมิติที่ลึก และมิติชีวิตส่วนตัวของประธษนาธิบดีอเมริกัน   จึงเลือกหนังสือชีวประวัติของ ปธน. อเมริกัน ในช่วงต่างๆ กัน   แล้วเขียนแนวทางการอ่าน เพื่อให้ นศ. พุ่งเป้าไปที่ความสัมพันธ์ระหว่างชีวิตส่วนตัวของ ปธน. (เช่น ครอบครัว การศึกษา ความสัมพันธ์กับผู้คน ฯลฯ) กับนโยบาย และการออกกฎหมายในช่วงที่ผู้นั้นเป็น ปธน.   กับผลกระทบต่อตัว ปธน. ที่ต้องอดทนต่อแรงกดดันด้านต่างๆ   นศ. จะเป็นสมาชิกของสโมสรใด เป็นเรื่องของใครสมัครก่อนได้ก่อน   เมื่อเต็มจำนวนก็ปิดรับ  

ครูจัดเวลาเรียนคาบแรกเพื่อการจัดการให้เกิดสโมสร   และให้แต่ละสโมสรกำหนดเวลาอภิปรายกันนอกเวลาเรียน   โดยให้เวลาสัปดาห์ละ ๑๐ นาทีในการปรึกษาเพื่อแก้ปัญหาของการดำเนินการสโมสร

ในสัปดาห์สุดท้ายของภาคเรียน   แต่ละสโมสรนำเสนอต่อชั้น โดยใช้เวลา ๑๕ นาที  นำเสนอข้อสังเคราะห์ตอบคำถามที่กำหนด   

 

การปรับใช้กับการเรียน online

ใช้ได้สะดวกมาก คล้าย online group discussion ใน SET ก่อนๆ

 

การขยายวิธีการ หรือประโยชน์

·      แทนที่จะให้ต่างสโมสรอ่าหนังสือต่างเล่ม   อาจให้ นศ. โหวดเลือกหนังสือ ๑ เล่ม   ทุกสโมสรอ่านและอภิปรายหนังสือเล่มเดียวกัน

·      อาจใช้เรียนภาษาต่างประเทศ   ให้อ่านหนังสือตามระดับความยากที่พอเหมาะ

·      อาจใช้ บล็อก เป็นเครื่องมือ ลปรร. ของแต่ละสโมสร

 

คำแนะนำ

ในการเลือกหนังสือ ให้เลือกหนังสือที่อยู่ในแนวเดียวกัน   โดยอาจเน้นประเภท (เช่น ชีวประวัติ, นวนิยายอิงประวัติศาสตร์, เป็นต้น)   หรือเน้นนำเสนอมุมมองที่หลากหลายในเรื่องเดียวกัน (เช่น เพื่อพัฒนาขีดความสามารถหลายวัฒนธรรม)

บางวิทยาลัยใน สรอ. มีโปรแกรมหนังสือน่าอ่าน   หรือมีรายการหนังสือที่ได้รับการบริจาคสนับสนุน   หากเลือกหนังสืออ่านจากรายการเหล่านี้   ก็อาจเป็นแนวทางเชื่อมโยง นศ. เข้ากับขบวนการส่งเสริมการอ่านของวิทยาลัย   หรือของสังคมวงกว้างได้

นศ. อาจหมุนเวียนกันทำหน้าที่ในสโมสร เช่น เป็น “คุณอำนวย” (facilitator),  “คุณลิขิต” (recorder), “คุณประสานแผน” (planning coordinator),  เป็นต้น

 

เอกสารค้นคว้าเพิ่มเติม

www.literaturecircles.com

วิจารณ์ พานิช

๒๐ ต.ค. ๕๕

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 506346เขียนเมื่อ 21 ตุลาคม 2012 06:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 16:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท