ค่ายพัฒนาผู้นำเยาวชนเราจะเป็นคนดี ครั้งที่ 1


สวัสดีชาว Blog และลูกศิษย์ทุกท่าน

วันเสาร์ที่ 20 ตุลาคม  2555  ผมในนามกรรมการมูลนิธิเราจะเป็นคนดี โดยคณะทำงานกิจกรรมฯ ร่วมกับโรงเรียนสมาชิกในเครือข่ายของมูลนิธิฯทั้ง 17 โรงเรียน กำหนดให้มีโครงการพัฒนาผู้นำเยาวชน เราจะเป็นคนดี กิจกรรม Knowledge Camping Good Man 1st (ค่ายพัฒนาผู้นำเยาวชนเราจะเป็นคนดี ครั้งที่ 1) เพื่อพัฒนาคุณภาพความรู้ความสามารถในด้านต่างๆของเยาวชนจากโรงเรียนในเครือข่ายทั้ง 17 โรงเรียน ในวันที 20-23 ตุลาคม 2555

 

กำหนดการกิจกรรม Goodman Knowledge Camping 1st

“อันชาติใดไร้รักสมัครสมาน !.?.!.?.!.? บุคคลจะสุขอยู่อย่างไร”

ระหว่างวันที่ ๒๐-๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๕

ณ โรงเรียนเทพศิรินทร์ และ ฐานทัพเรือสัตหีบ จ.ชลบุรี

 

 

วันเสาร์ที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๕

 

 ๐๗.๐๐-๐๘.๐๐ น.

 ลงทะเบียน ณ โรงเรียนเทพศิรินทร์

 

ห้องประชุมเทิดพระเกียรติ

๐๘.๑๕-๐๘.๓๐ น.         

พิธีเปิด โดย  ฯพณฯ นายอำพล  เสนาณรงค์ องคมนตรี ประธานพิธี

กล่าวต้อนรับโดย ดร.ปรเมษฐ์  โมลี (ผอ.โรงเรียนเทพศิรินทร์)

กล่าวรายงานโดย พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส

ห้องประชุมเทิดพระเกียรติ

๐๘.๓๐-๐๙.๐๐ น.

ปาฐกถาพิเศษ “พระราชดำริและหลักการทรงงานของในหลวง”

     โดย  ฯพณฯ นายอำพล  เสนาณรงค์   องคมนตรี

ห้องประชุมเทิดพระเกียรติ

๐๙.๐๐-๐๙.๓๐ น.

 

๐๙.๓๐-๐๙.๔๕ น.

๐๙.๔๕-๑๑.๓๐ น.

ปาฐกถา  “หลักคิดจากมูลนิธิเราจะเป็นคนดี”

     โดย  พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส

Coffee break

บรรยาย “เยาวชนไทยกับวัฒนธรรมการเรียนรู้”

Workshop :  “ทักษะ และกระบวนการเรียนรู้”    

     โดย  ศาสตราจารย์ ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

ห้องประชุมเทิดพระเกียรติ

 

ห้องประชุมเทิดพระเกียรติ

ห้องประชุมเทิดพระเกียรติ

๑๑.๓๐-๑๒.๓๐  น.

รับประทานอาหารกลางวัน

โรงอาหาร

๑๒.๓๐-๑๔.๓๐  น.

บรรยาย “เยาวชนกับสื่อมวลชน: การคิด วิเคราะห์ และรู้เท่าทัน” Workshop :  “เยาวชนไทย กับ การบริโภคสื่อ”        

ห้องประชุมเทิดพระเกียรติ

 

     โดย  อาจารย์มานพ  แย้มอุทัย

 

๑๔.๓๐-๑๕.๓๐  น.

 

๑๕.๓๐-๑๘.๓๐  น.

บรรยาย “ภาวะผู้นำกับอนาคตเยาวชนไทย”  

     โดย  คุณสมชาย  สาโรวาท (เลขาธิการมูลนิธิฯ)

เดินทางไป ฐานทัพเรือสัตหีบ  จ.ชลบุรี     

ห้องประชุมเทิดพระเกียรติ

 

รถบัสทหารเรือ

๑๘.๓๐-๑๙.๓๐  น.

ถึงที่พัก ภาระกิจส่วนตัว และรับประทานอาหารเย็น

หอประชุม................

๑๙.๓๐-๒๑.๓๐  น

Workshop :  “วิเคราะห์ภาพยนตร์”  

หอประชุม................

๒๑.๓๐-๒๒.๓๐  น.

Presentation  : สรุป Workshop “วิเคราะห์ภาพยนตร์”       

หอประชุม................

 

๒๒.๓๐ น.      

      โดย  สมาชิกกลุ่มภาพยนตร์ ๔ เรื่อง

เข้านอน         

 

ที่พัก

 วันอาทิตย์ที่  ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๕

 

 

๐๕.๓๐-๐๗.๐๐ น.

๐๖.๐๐-๐๗.๐๐ น.

ตื่นนอน กิจกรรมยามเช้า

ภาระกิจส่วนตัว

สนาม

๐๗.๐๐-๐๘.๐๐ น.

๐๘.๐๐-๑๒.๐๐ น.

รับประทานอาหารเช้า และเคารพธงชาติ

กิจกรรม TEAM BUILDING Episode 1

 

สนาม

๑๒.๐๐-๑๓.๐๐ น.

๑๓.๐๐-๑๗.๐๐ น.

รับประทานอาหารกลางวัน

กิจกรรม TEAM BUILDING Episode 2

 

สนาม

๑๗.๓๐-๑๘.๓๐ น.

ภารกิจส่วนตัว / รับประทานอาหารเย็น

 

๑๘.๓๐-๒๒.๓๐ น.

Workshop : ทักษะการประชุมภายในองค์กร

     โดย ผศ.พงษ์ศักดิ์  กรรณล้วน และคุณกฤช  สินอุดม

หอประชุม................

๒๒.๓๐-๒๓.๐๐ น.

กิจกรรมสันทนาการ

 

๒๓.๐๐ น.      

สรุปกิจกรรม นัดหมาย และเข้านอน

 

 

วันจันทร์ที่  ๒๒  ตุลาคม ๒๕๕๕

 

 

๐๕.๓๐-๐๖.๐๐ น.

๐๖.๐๐-๐๗.๐๐ น.

กิจกรรมยามเช้า : ออกกำลังกาย และกิจกรรมสันทนาการ

ภาระกิจส่วนตัว

 

๐๗.๐๐-๐๘.๐๐ น.

๐๘.๐๐-๐๙.๓๐ น.

๐๙.๓๐-๑๐.๓๐ น.

รับประทานอาหารเช้า และเคารพธงชาติ

Workshop :  “วิเคราะห์หนังสือ”

Presentation  : สรุป Workshop “วิเคราะห์หนังสือ”   

  โดย  สมาชิกกลุ่มหนังสือ ๔ เล่ม

 

หอประชุม................

หอประชุม................

๑๐.๓๐-๑๐.๔๕ น.

พัก    

 

๑๐.๔๕-๑๒.๐๐ น.

 

 

๑๒.๐๐-๑๓.๐๐ น.

บรรยาย“การเมืองการปกครองไทย: แตกต่าง กับ แตกแยก”

Workshop :  “วิถีประชาธิปไตยกับเยาวชนไทย”               

   โดย  รศ.อัษฏางค์ ปาณิกบุตร

รับประทานอาหารกลางวัน

หอประชุม................

 

 

๑๓.๐๐-๑๔.๓๐ น.

บรรยาย “เราดูแลสุขภาพด้วย ความรู้? หรือ ความรู้สึก?”

     โดย  ผศ.พงษ์ศักดิ์  กรรณล้วน

หอประชุม................

๑๔.๓๐-๑๔.๔๕ น.

๑๔.๔๕-๑๖.๐๐ น.

 

๑๖.๐๐-๑๗.๓๐ น.

 

๑๗.๓๐-๑๘.๓๐ น.

พัก

บรรยาย “AEC เสรีการค้า : กำแพงหรือพรมแดนเศรษฐกิจ”

     โดย  คุณบุญเกื้อ   ตั้งศรีตระกูล

Workshop:  “กำหนดวิสัยทัศน์ประเทศไทย”  

     โดย ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ภารกิจส่วนตัว

 

หอประชุม................

 

หอประชุม................

๑๘.๓๐-๒๑.๓๐ น.

รับประทานอาหารเย็น Party on the Beach Hawaii Night”

On the Beach

๒๑.๓๐-๒๒.๓๐ น.

กิจกรรม จากพี่สู่น้อง คล้องสายใย เทิดไท้องค์ราชัน

 

๒๒.๓๐ น.      

เข้านอน

 

วันอังคารที่  ๒๓  ตุลาคม ๒๕๕๕

 

 

๐๕.๓๐-๐๖.๓๐ น.

กิจกรรมยามเช้า : ออกกำลังกาย และกิจกรรมสันทนาการ

 

๐๖.๓๐-๐๘.๐๐ น.

กิจวัตรส่วนตัว และรับประทานอาหารเช้า

 

๐๘.๐๐-๐๘.๓๐ น.

เคารพธงชาติ และถวายราชสดุดี ๑๐๒ ปี วันปิยมหาราช

 

๐๘.๓๐-๑๒.๐๐ น.

Workshop & สรุปและนำเสนอ “วิสัยทัศน์ประเทศไทย”       โดย         รศ.อัษฏางค์ ปาณิกบุตร

                ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

             ผศ.พงษ์ศักดิ์  กรรณล้วน

             คุณบุญเกื้อ   ตั้งศรีตระกูล

             คุณกฤช   สินอุดม

หอประชุม................

๑๒.๐๐-๑๓.๐๐ น.

รับประทานอาหารกลางวัน    กิจกรรมอำลา

 

๑๓.๐๐-๑๔.๐๐ น.

 

พิธีปิดและมอบวุฒิบัตร

     โดย  ผู้บัญชาการทหารเรือ

หอประชุม................

๑๔.๐๐ น.

 

ทัศนา เรือรบหลวง และเดินทางกลับภูมิลำเนา โดยสวัสดิภาพ

 

เรือจักรีนฤเบศร์

 

 

         

.........................................................

หมายเหตุ  กำหนดการนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

 

ภาพกิจกรรมการเรียนรู้

 

 

หมายเลขบันทึก: 506080เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2012 15:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2012 15:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (45)

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อฟังรายละเอียดเกี่ยวกับมูลนิธิเราจะเป็นคนดี

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/840/938/original_goodmanfoundationbackgroudvdo.WAV

 

กล่าวต้อนรับ

โดย

ดร.ปรเมษฐ์ โมลี

ผู้อำนวยการโรงเรียนเทพศิรินทร์

Knowledge Camping Good Man 1st

ค่ายพัฒนาผู้นำเยาวชนเราจะเป็นคนดี ครั้งที่ 1

วันที่ 20 ตุลาคม 2555

ณ ห้องประชุมเทิดพระเกียรติ โรงเรียนเทพศิรินทร์

          ทางโรงเรียนเทพศิรินทร์ขอต้อนรับทุกท่านด้วยความยินดียิ่ง รู้สึกเป็นเกียรติที่ท่านองคมนตรีมาเยี่ยมและใช้สถานที่โรงเรียนจัดงาน

          ทางโรงเรียนยินดีต้อนรับและดูแลทุกท่าน

          ขอเป็นตัวแทนกล่าวต้อนรับและขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้

ปาฐกถาพิเศษ “พระราชดำริและหลักการทรงงานของในหลวง”

     โดย  ฯพณฯ นายอำพล  เสนาณรงค์   องคมนตรี

ผมเป็นองคมนตรีฝ่ายเกษตรมา 50 ปี

ได้เรียนรู้แนวทางปฏิบัติ(การเกษตร) ตามรอยพระยุคลบาทมาดังนี้

1. เกษตรกร และประชาชนทั่วไป

    1.1 เศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่

            -การพึ่งตนเอง ซึ่งในหลวงทรงเน้นมาก

            -พอเพียง

            -ยึดสายกลาง

            -มีเหตุผล

            -มีภูมิคุ้มกัน

-เป็นคนดี ซึ่งในหลวงทรงเน้นมาก

-ความสามัคคีในหมู่คณะ ที่เรายังขาด

    1.2 เกษตรยั่งยืน อย่าปลูกข้าวมากเกินไป ควรปลูกพืชหมุนเวียน

    1.3 ลดภาวะโลกร้อน ปลูกต้นไม้มากขึ้น ลดการใช้รถยนต์ ใช้จักรยานและรถไฟฟ้ามากขึ้น ในหลวงมีรับสั่งเรื่องภาวะโลกร้อนก่อนสหรัฐอมริกาจะประกาศ 10 ปีคือ เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2534

    1.4 รักษ์ธรรมชาติ ป่า น้ำ ดินและสิ่งมีชีวิตในป่าและทะเล

2. นโยบายของประเทศ ควรยึดตามแนวเกษตรทฤษฎีใหม่ แบ่งพื้นที่

    การเกษตรออกเป็น 4 ส่วน  แหล่งน้ำ 30%   ปลูกข้าว 30%

    ปลูกพืชผสมผสาน 30%  และที่อยู่อาศัย 10%  ควรปลูกยางพาราและยูคาลิปตัสในนาข้าวเป็นพืชหมุนเวียน ควรปลูกข้าวเฉพาะในพื้นที่ที่มีน้ำมาก ถ้าไม่ใช่พื้นที่ที่มีน้ำมาก ควรปลูกพืชชนิดอื่นที่ทนทานและราคาดีกว่าข้าว

หลักการของโครงการพระราชดำริ

1.การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า รับแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน

2. การพัฒนาต้องเป็นไปตามขั้นตอน ตามลำดับความสำคัญและประหยัด

3. การพึ่งตนเอง อย่ารอพึ่งรัฐบาลอย่างเดียว

4. ภูมิสังคม ทำงานให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม

5. เรียบง่ายและประหยัด

6. การส่งเสริมความรู้ และเทคนิควิชาการสมัยใหม่ที่เหมาะสม

7. การอนุรักษ์ และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน

ทศพิธราชธรรม                                                                                             

1.ทานคือการให้

2. ศีลคือการรักษากายวาจาใจให้เรียบร้อย

3. บริจาคะคือความเสียสละ

4. อาชชวะคือความซื่อตรง

5. มัททวะคือความอ่อนโยน

6. ตะบะคือการข่มกิเลส

7. อักโกธะคือความไม่โกรธ

8. อวิหิงสาคือความไม่เบียดเบียน

9. ขันติคือความอดทน

10.อวิโรธนะคือความไม่คลาดจากธรรม

พระราชดำรัสวันปีใหม่ ที่ได้พระราชทานแก่ปวงชนชาวไทย 55 ปี
(2494
2549)

1.บำเพ็ญกรณีกิจ ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ซื่อตรงต่อหน้าที่

2. ยึดมั่นในศีลธรรม และความยุติธรรม

3. ถือเอาความรัก ความสามัคคี ปรองดอง หันหน้าเข้าหากัน มองกันในแง่ดี

4. เสียสละส่วนตัว เพื่อประโยชน์อันยิ่งใหญ่ของประเทศชาติ

5. บำเพ็ญความดี ด้วยน้ำใจอันบริสุทธิ์

6. ขยันหมั่นเพียร ใฝ่หาความรู้ตลอดชีวิต

7. ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท

8. ใช้จ่ายโดยประหยัด อดออม พึ่งตนเอง

9. รู้จักอดกลั้น อดทน

10. ทำจิตใจให้สงบ แจ่มใส หนักแน่น ไม่วู่วาม เผชิญปัญหาด้วยความอดทน

 

คำกล่าวรายงาน

โดย

พลตำรวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส

ประธานมูลนิธิเราจะเป็นคนดี

พิธีเปิด

Knowledge Camping Good Man 1st

ค่ายพัฒนาผู้นำเยาวชนเราจะเป็นคนดี ครั้งที่ 1

วันที่ 20 ตุลาคม 2555

ณ ห้องประชุมเทิดพระเกียรติ โรงเรียนเทพศิรินทร์

ฯพณฯ นาย อำพล เสนาณรงค์ องคมนตรีและกรรมการมูลนิธิชัยพัฒนา

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ รองประธานมูลนิธิเราจะเป็นคนดี

คณะกรรมการมูลนิธิเราจะเป็นคนดี

ผู้อำนวยการ 17 โรงเรียน

คณาจารย์

และผู้เข้าร่วมโครงการทุกท่าน

มูลนิธิเราจะเป็นคนดีรู้สึกเป็นเกียรติและมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ท่านองคมนตรีให้เกียรติตอบรับคำเชิญมาเป็นประธานพิธีเปิดค่ายพัฒนาผู้นำเยาวชนเราจะเป็นคนดี ครั้งที่ 1

มูลนิธิเราจะเป็นคนดี  และคณะทำงานโครงการฯ ด้วยความร่วมมือของเครือข่ายโรงเรียนที่เป็นสมาชิกของมูลนิธิเราจะเป็นคนดี ทั้ง ๑๗ โรงเรียน  จัดค่ายพัฒนาผู้นำเยาวชนเราจะเป็นคนดี ครั้งที่ 1 เพื่อการพัฒนาศักยภาพ คุณภาพ ความรู้ ความสามารถ ในด้านต่างๆ ตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิฯ ให้กับเยาวชนไทยตระหนักในสำนึกที่ดี มีความขยันหมั่นเพียร ประหยัดมัธยัสถ์ ตั้งอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต รู้จักพึ่งพาตนเอง มีความร่วมมือร่วมใจกันเป็นหนึ่งเดียว และมีจิตสาธารณะ อีกทั้งเป็นการสนองเจตนารมณ์ของภาครัฐ ในการน้อมนำแนวพระราชดำริ มาในการเตรียมเยาวชนไทย  ให้พรั่งพร้อมด้วยคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทุกประการ มีประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดีได้ด้วยตนเอง เทิดทูนสถาบัน เสริมสร้างความสามัคคี ปรองดอง ขจัดความขัดแย้ง พร้อมที่จะเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ  ที่มีการเปลี่ยนแปลงและเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาในอนาคตได้อย่างองอาจเข้มแข็ง  และยืนหยัดอยู่บนโลกผืนนี้ได้อย่างมั่นคงสืบไป

โครงการนี้มีร่วมผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้นประมาณ 195 คน มีกิจกรรมพิธีเปิดที่ห้องประชุมโรงเรียนเทพศิรินทร์ และกิจกรรมภาคสนามที่ฐานทัพเรือสัตหีบ จ.ชลบุรี

ทางมูลนิธิฯได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากทั้ง 17 โรงเรียนในเครือข่าย และการอนุเคราะห์คณะทำงานจากศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และการสนับสนุนจากคุณหญิงศรีศิริ กฤ
ษณจันทร์ รองประธานมูลนิธิเราจะเป็นคนดีในการประสานงานกับฐานทัพเรือสัตหีบ

สุดท้ายนี้ มูลนิธิเราจะเป็นคนดีใคร่ขอขอบพระคุณท่านองคมนตรีที่กรุณาสละเวลาอันมีค่าของท่านมาเป็นประธานพิธีเปิดโครงการนี้พร้อมทั้งแสดงปาฐกถาพิเศษ “ความคิดและหลักการทรงงานของในหลวง” ในวันนี้ และขอขอบพระคุณมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ คณะทำงานโครงการฯ ค่ายพัฒนาผู้นำเยาวชนเทพศิรินทร์ ฝ่ายงานกิจกรรม โรงเรียนในเครือข่ายของมูลนิธิฯ ทั้ง 17 โรงเรียนและทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ให้การสนับสนุนการดำเนินโครงการนี้ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

ขอเรียนเชิญท่านองคมนตรีให้โอวาทและกล่าวเปิดโครงการ

 

คำกล่าวเปิดงาน

โดย

ฯพณฯ นาย อำพล เสนาณรงค์

องคมนตรีและกรรมการมูลนิธิชัยพัฒนา

Knowledge Camping Good Man 1st

ค่ายพัฒนาผู้นำเยาวชนเราจะเป็นคนดี ครั้งที่ 1

วันที่ 20 ตุลาคม 2555

ณ ห้องประชุมเทิดพระเกียรติ โรงเรียนเทพศิรินทร์

ขอบคุณครับ

พลตำรวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ประธานมูลนิธิเราจะเป็นคนดี

คณะกรรมการมูลนิธิเราจะเป็นคนดี

ผู้อำนวยการ 17 โรงเรียน

คณาจารย์

และผู้เข้าร่วมโครงการทุกท่าน

ผมรู้สึกเป็นเกียรติและมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับเชิญมาเป็นประธานพิธีเปิดค่ายพัฒนาผู้นำเยาวชนเราจะเป็นคนดี ครั้งที่ 1

ด้วยกระแสความเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยต่างๆเช่น เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมและ AEC ทุกภาคส่วนต้องมีการตื่นตัวที่จะปรับยุทธศาสตร์และยุทธวิธีเพื่อเตรียมความพร้อมให้ครบวงจรโดยเฉพาะการพัฒนาทุนมนุษย์ให้เป็นคนดีและมีคุณธรรมจริยธรรมที่สำคัญมากของประเทศไทยเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนโดยมีแนวทาง และมียุทธศาสตร์ที่เหมาะสม เพราะการทำงานเพื่อพัฒนา “ทุนมนุษย์” ให้มีคุณภาพนั้น เป็นเรื่องที่จะต้องทำตั้งแต่วัยเยาว์ เพราะเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยเวลาและความต่อเนื่อง และจะต้องช่วยกันทำทุก ๆ ฝ่าย ทั้งตนเอง ครอบครัว โรงเรียน ชุมชน หน่วยงาน รวมไปถึงภาพใหญ่ระดับชาติ เพราะการมี “ทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ” จะทำให้ประเทศไทย พัฒนาไปได้บนพื้นฐานของความยั่งยืน ความสุข และความสมดุลของคนในสังคม พร้อมที่จะแข่งขันกับโลกภายนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อนึ่งเป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่งว่ามูลนิธิเราจะเป็นคนดี โดยการนำของพลตำรวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ประธานมูลนิธิเราจะเป็นคนดี และคณะทำงานโครงการค่ายพัฒนาผู้นำเยาวชน เราจะเป็นคนดีร่วมกับโรงเรียนสมาชิกในเครือข่ายของมูลนิธิฯทั้ง 17 โรงเรียน จัดโครงการกิจกรรมพัฒนาผู้นำเยาวชน เราจะเป็นคนดี กิจกรรม Knowledge Camping Good Man 1st (ค่ายพัฒนาผู้นำเยาวชนเราจะเป็นคนดี ครั้งที่ 1) เพราะจะช่วยให้เยาวชนไทยได้เรียนรู้โครงการต่างๆในพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รู้สึกซาบซึ้ง เทิดทูน และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ได้รับการพัฒนาภาวะผู้นำเพื่อดำเนินกิจกรรมต่างๆได้ตามแนวพระราชดำริได้ ทราบวิธีการศึกษาหาความรู้ในมุมมองที่กว้าง และนำมาเชื่อมโยงกันได้ทุกศาสตร์ ได้รับการพัฒนาระบบความคิด รู้จักการคิดเป็น ก้าวเป็น ทำเป็น รู้จักหน้าที่พลเมืองที่ดี มีทัศนคติ ค่านิยม และพฤติกรรมที่ดีงาม มีความรักสามัคคี รู้จักการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ รู้จักการแลกเปลี่ยน ยอมรับความคิดเห็น และสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างดี มีความเป็นไทย และสามารถประยุกต์ใช้ความเป็นไทยสู่สากลได้ เป็นคนมีคุณภาพ สามารถพัฒนาสังคม ประเทศชาติ ได้ในอนาคต

ผมขอเสนอให้เยาวชนน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ยึดหลัก 7 ประการคือ พึ่งตนเอง พอประมาณ มีเหตุผล เดินสายกลาง  มีคุณธรรมและความรู้ มีความสามัคคีทั้งครอบครัวและหมู่คณะไปปฏิบัติ

“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 30 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางด้านเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ

ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอนและขณะเดียวกันจะต้องมีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต  และมีความรอบรู้ที่เหมาะสม  ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน  ความเพียร  มีสติ ปัญญา  และความรอบคอบเพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ  สังคม  สิ่งแวดล้อม  และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

สุดท้าย ผมขออำนวยพรให้โครงการครั้งนี้ประสบความสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี และใคร่ขอเปิดกิจกรรมค่ายพัฒนาผู้นำเยาวชนเราจะเป็นคนดี ครั้งที่ 1 ณ บัดนี้

ปาฐกถา  “หลักคิดจากมูลนิธิเราจะเป็นคนดี”

โดย  พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส

  • สมัยที่รับราชการใหม่ๆ มีผู้ก่อการร้าย ตำรวจ ทหารตายมาก
  • ผมคิดจะช่วยชาติจึงสมัครเป็นตำรวจ แล้วได้เป็นหัวหน้าหน่วยปฏิบัติการพิเศษปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ที่อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม
  • ด้วยความตั้งใจช่วยเหลือบ้านเมือง จึงทุ่มเทปราบคอมมิวนิสต์จนสถานการณ์สงบ และได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญกล้าหาญจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
  • ได้รับฉายาจากประชาชนว่า วีรบุรุษนาแก
  • ถ้าเป็นสิ่งที่ดีและถูกต้องก็ทำตลอด จนสำเร็จ ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคเพราะอุปสรรคทำให้รู้จักประสิทธิภาพ
  • พ่อ แม่ ครูสอนเรา ก็ต้องการให้เป็นคนดีในอนาคต ต้องนำสิ่งที่ดีไปปฏิบัติ ต่อสู้กับอุปสรรคแล้วจะได้ดี

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อฟังรายละเอียดเพิ่มเติม 

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/840/939/original_seripisutvdoprofile.WAV

 

บรรยาย “เยาวชนไทยกับวัฒนธรรมการเรียนรู้”

Workshop:  “ทักษะและกระบวนการเรียนรู้”   

โดย  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

  • อย่าเรียนไปเพื่อเก่ง เอาเปรียบและเห็นแก่ตัว
  • การเรียนยุคใหม่คือการเรียนที่นำไปใช้กับสภาพความเป็นจริง โดยเริ่มจากการคิดเป็น วิเคราะห์เป็น
  • วัฒนธรรมการเรียนรู้คือการแสวงหาเบ็ดตกปลา เป็นการแวงหาเครื่องมือการเรียนรู้
  • เรียนแล้วต้องมี Network จึงประสบความสำเร็จ
  • Knowledge Camping สอนให้ฟังเพื่อนและอาจารย์แล้วนำมาค้นหาตนเองว่าชีวิตต้องการอะไร
  • ผมไม่ได้เรียนอย่างเดียว แต่เล่นฟุตบอลด้วยเป็นการสร้างผู้นำ ตอนอยู่ม.5 ไปออกรายการโทรทัศน์คุยกับฝรั่ง เวลาไปสอบแข่งกับคนอื่นก็ชนะ วันนี้ก็ยังใฝ่รู้เท่าๆกับคนสอบเข้ามหาวิทยาลัย
  • การเรียนพิเศษไม่สำคัญเท่าเรียนด้วยตนเอง
  • เป้าหมายของการมาอยู่ร่วมกันครั้งนี้คือนำความหลากหลายของโรงเรียนมาร่วมมือกัน
  • ควรมีค่านิยมเพื่อแผ่นดินและประโยชน์ของประเทศ
  • เราต้องใฝ่รู้เพราะโลกเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
  • ต้องให้พื้นฐานดีเช่นภาษาอังกฤษและคณิตศาสตร์ แล้วสร้างความคิดใหม่ๆขึ้นมา
  • โรงเรียนต้องเป็นโรงเรียนที่ใฝ่รู้ ทำให้คนอยากรู้ อยากเห็น หาความรู้ แลกเปลี่ยนความรู้
  • ต้องมีความคิดสร้างสรรค์คิดนอกกรอบเหมือน Facebook และ Microsoft ที่สร้างมูลค่าเพิ่มจากความคิด
  • ต้องเรียนเป็นทีม คุยกับคนต่างสาขา
  • ความรู้มาจากประสบการณ์ การวิจัยและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
  • ควรมีความร่วมมือ 17 โรงเรียนพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ จีน เขมรและภาษาอื่นๆ
  • ต้องรู้จักทำงานกับความหลากหลาย เช่น เด็กทำงานกับผู้ใหญ่ให้ได้

Workshop

สิ่งที่คาดไม่ถึง 3 เรื่องคืออะไร

จะนำไปใช้อย่างไร

  • สิ่งที่คาดไม่ถึงคือการพัฒนามนุษย์สำคัญแต่คนยังไม่ให้ความสำคัญ ควรจะมีการเรียนนอกห้องเรียนบ้าง
  • การนำไปใช้จะเน้นประโยชน์ส่วนรวมมากขึ้น

 

 

 

บรรยาย “เยาวชนกับสื่อมวลชน: การคิด วิเคราะห์ และรู้เท่าทัน”  

โดย  อาจารย์มานพ  แย้มอุทัย

หน้าที่ของสื่อมวลชน

1.ให้ข่าวสาร ข้อเท็จจริงเท่านั้น สถานีวิทยุที่เปิดแต่เพลงไม่เป็นสื่อมวลชน

2.ให้ความคิดเห็น

3.ให้ความรู้ ถ้าไม่ให้ สังคมก็อยู่ไม่ได้

4.ให้ความบันเทิง

5.เป็นสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ ทำให้ลดเวลาหาข้อมูลซื้อสินค้า และเป็นรายได้ของสื่อ แต่โฆษณาก็มีส่วนบิดเบือนบทบาทและหน้าที่สื่อ

บทบาทที่สังคมคาดหวังจากสื่อ

1.การเป็นนายทวารข่าวสาร ในโลกมีข่าวมาก แต่จะเลือกอะไรให้คนอ่าน ก็ต้องมีการคัดกรองก่อนนำเสนอ ปัญหาคือสื่อนำเสนอเรื่องเลวร้ายทุกวัน

2.เป็นผู้แจ้งข่าวสาร

3.เป็นสุนัขเฝ้าบ้าน เตือน เฝ้าระวังสิ่งที่ไม่ดี แต่อย่ากัด แล้วประชาชนจะพิจารณาเอง

4.รับเรื่องราวร้องทุกข์

5.เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี          

องค์ประกอบข่าว

  • ข่าว หรือ News มาจาก
  • North
  • East
  • West
  • South
  • สรุปแล้วเป็นเหตุการณ์ที่มาจากทุกสารทิศ
  • ข่าวจะต้องเป็นเหตุการณ์ ข้อเท็จจริงที่มีความสำคัญและน่าสนใจสำหรับผู้รับ

เกณฑ์การคัดเลือกข่าว

1.เป็นสิ่งที่ปุถุชนสนใจ เช่นเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับอารมณ์

2.ความสด เป็นเรื่องที่เกิดเดี๋ยวนี้หรือเร็วๆนี้ ใช้ความเร็วในการออกอากาศเป็นความได้เปรียบ

3.ความใกล้ตัวทั้งทางกายภาพและจิตใจ ทางจิตใจเช่น ข่าวคนไทยถูกฆ่าตายในสหรัฐทำให้คนในในประเทศเกิดความรู้สึกร่วมเพราะเป็นคนไทยเหมือนกัน

4.ความมีเชื่อเสียง เช่น คนหรือสถานที่มีชื่อเสียง

5.ความขัดแย้งที่นำมาซึ่งความรุนแรง แต่ความขัดแย้งก็เกิดจากสื่อถือข้าง

6.ความมีเงื่อนงำ ทำให้คนอยากรู้

7.ความแปลก

8.ความก้าวหน้า การคิดค้นสิ่งใหม่ๆ

9.ผลกระทบที่ตามมา ถ้ามีมาก สื่อก็สนใจ

10.องค์ประกอบทางเพศ บทบาททางเพศ เช่นข่าวนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย

11.จังหวะเวลา ตรงกับเหตุการณ์ที่สำคัญ เช่น ฟุตบอลโลก

ปัจจัยที่มีผลต่อเนื้อหาหนังสือพิมพ์

1.นโยบายหนังสือพิมพ์

2.บุคลากรหนังสือพิมพ์ เพราะคนมีกิเลส ลำเอียง เราต้องรู้เท่าทัน

3.เวลา แข่งกันทำงาน ทำให้ตัดข่าว

4.ธุรกิจ ข่าวที่กระทบสปอนเซอร์มักไม่ออก

5.สภาวะแวดล้อม ข่าวที่กระทบรัฐบาลก็ไม่ออก

ข่าวต้องตอบ 5W+1H คือ Who, What, Where, When, Why และ How ได้

คุณสมบัติข่าวที่ดีคือ

1.ถูกต้อง

2.สมดุล

3.เป็นกลาง

4.กะทัดรัด

5.ใหม่สด

ปัจจุบันมีแต่ความกะทัดรัดและใหม่สดเท่านั้น

แนวคิดเกี่ยวกับการคัดเลือกข่าว

1.สื่อมวลชนกำหนดวาระสำคัญให้ข่าวสาร สร้างข่าวแล้วให้สื่อติดตาม เช่น จัดงานกินไก่ที่สนามหลวงเพื่อกลับข่าวไก่ตายระบาด

2.แนวคิดการกำหนดกรอบ เช่นใช้คำและฉายาแสดงความคิดเห็น จัดลำดับการนำเสนอ ถ่ายภาพ มีหลายประเด็นแต่เลือกเสนอแค่บางประเด็น ทำให้หลายคนกลายเป็นวีรบุรุษหรือคนร้ายก็ได้

การรู้เท่าทันสื่อ

ต้องเปิดรับมัน โดยใช้กาลามสูตรของพระพุทธเจ้า

1.อย่าเพิ่งเชื่อตามที่ฟังๆ กันมา

2.อย่าเพิ่งเชื่อตามที่ทำต่อๆ กันมา

3.อย่าเพิ่งเชื่อตามคำเล่าลือ

4.อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างตำรา

5.อย่าเพิ่งเชื่อโดยนึกเดา

6.อย่าเพิ่งเชื่อโดยคาดคะเนเอา

7.อย่าเพิ่งเชื่อโดยนึกคิดตามแนวเหตุผล

8.อย่าเพิ่งเชื่อเพราะถูกกับทฤษฎีของตน

9.อย่าเพิ่งเชื่อเพราะมีรูปลักษณ์ที่ควรเชื่อได้

10.อย่าเพิ่งเชื่อเพราะผู้พูดเป็นครูบาอาจารย์ของตน

  • แต่ต้องพิสูจน์ด้วยตนเอง
  • สื่อคือสิ่งที่คนสร้างขึ้น มีเป้าหมายทางธุรกิจโฆษณา จำเป็นต้องตัวรอด
  • สื่อสร้างค่านิยมและอุดมคติ ทำให้มีผลตามมาทางการเมืองและสังคมถ้าถูกแทรกแซง
  • สื่อแต่ละชนิดมีเอกลักษณ์และข้อจำกัด
  • สื่อต้องทำหน้าที่อย่างดี แล้วกลุ่มการเมือง กลุ่มผลประโยชน์และกลุ่มข้าราชการก็ไม่กล้าทำอะไรผิด

 

บรรยาย ภาวะผู้นำกับอนาคตเยาวชนไทย” 

โดย  คุณสมชาย  สาโรวาท เลขาธิการมูลนิธิเราจะเป็นคนดี

  • การมีประสบการณ์นำไปสู่การเป็นผู้นำในอนาคต
  • มูลนิธิเราจะเป็นคนดีฝึกการเป็นผู้นำโดยการทำกิจกรรม
  • เรามีกิจกรรม 9 ความดี โดยทางมูลนิธิฯให้ทุนแก่ 17 โรงเรียนในเครือ โรงเรียนละ 1 แสนบาท เพื่อทำกิจกรรมต่อไปนี้ โดยเริ่มจากที่โรงเรียนแล้วขยายไปรอบโรงเรียน

1.ละเว้นยาเสพติด

2.ละเว้นการพนัน

3.ละเว้นอบายมุข

4.ทำความดีในโอกาสต่างๆ

5.เสริมสุขภาพ

6.ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

7.ศาสนา ศีลธรรม

8.ประพฤติตนเป็นคนดี

9.ความดีทางเลือก เป็นการให้โรงเรียนทำกิจกรรมว่ามีอะไรที่เป็นทางเลือกในการทำความดีได้

  • ผู้นำในอุดมคติมีคุณสมบัติ 10 ข้อ

          1.มีบุคลิกภาพที่เหมาะสม

          2.มีความสามารถในงานที่ทำ

          3.มีสติปัญญาและมีเหตุผล

         4.มีความเป็นธรรม มีจิตใจยุติธรรม คิดอย่างเป็นกลางเสมอ

         5.มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

         6.เชื่อมั่นในตนเองและกล้าตัดสินใจ

         7.มีความสามารถในการวิเคราะห์ วินิจฉัย มีวิสัยทัศน์

         8.มีความสามารถในการสื่อสารที่ดี

         9.เสียสละอุทิศตนเพื่อส่วนรวม ต้องทำให้ลุกน้องหรือองค์กรรอดก่อน

        10.วิริยะอุตสาหะ

สรุปกิจกรรม วิเคราะห์หนังสือ

กลุ่ม 1 การตามรอยพระยุคลบาท โดยทศพิธราชธรรม โดยพระพุทธทาสภิกขุ

มีทักษะในแต่ละข้อ  สร้างคุณค่าให้แก่ตนเองได้  ต้องเรียนรู้ทักษะในแต่ละข้อ

ธรรมะข้อ 1.ทาน

หมายถึง พระราชทานพัสดุสิ่งของ หรือปัจจัยที่จำเป็นในการดำรงค์ชีวิต แก่ผู้สมควรได้รับ ได้แก่ พระภิกษุสงฆ์ และราษฎรผู้ยากไร้ เป็นต้น นอกจากนี้ยังรวมถึงการพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์ แก่พระราชวงศานุวงค์ และข้าทูลละอองธุลีพระบาท ตามสมควรแก่ฐานะ.

ธรรมะข้อ 2.ศีล

หมายถึง การทรงศีล หรือการที่ทรงตั้งสังวรรักษาพระอาการ กาย วาจา ให้สะอาดปราศจากโทษอันควรครหา พระองค์ทรงมีพระราชศัทธาในบวรพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ได้เสด็จออกทรงผนวช เพื่อทรงศึกษาและปฎิบัติพระธรรมวินัย อุทิศพระราชกุศลพระราชทานแก่ปวงชนชาวไทย.

ธรรมะข้อ 3.บริจาค

หมายถึง การพระองค์พระราชบริจาคไทยธรรม หรือสิ่งของที่พระราชทานให้เป็นประโยชน์ทั้งแก่พระราชวงศานุวงค์ และทูลข้าละอองธุลีพระบาท ตามฐานะที่ราชการฉลองพระเดชพระคุณ รวมทั้งพระราชทานแก่ประชาชนผู้ยากไร้ได้อาศัยเลี้ยงชีวิต.

ธรรมะข้อ 4.อาชวะ

หมายถึง ความซื่อตรง ทรงมีพระราชอัฌชาสัย อันประกอบด้วยความซื่อตรง ดำรงในสัตย์สุจริต ซื่อตรงต่อพระราชสัมพันธมิตรและพระราชวงศ์ ข้าทูลละอองธุลีพระบาททั้งปวง ไม่ทรงคิดลวง ประทุษร้ายโดยอุบายผิดยุติธรรม.

ธรรมะข้อ 5.มัททวะ

หมายถึง ความอ่อนโยน ทรงมีพระราชอัฌชาสัยอ่อนโยน ไม่ดื้อดึงถือพระองค์แม้มีผู้ตักเตือนในบางอย่าง ด้วยความมีเหตุผลก็จะทรงพิจารณาโดยถี่ถ้วน ถ้าถูกต้องดีชอบก็ทรงอนุโมทนา และปฎิบัติตาม ทรงสัมมาคารวะอ่อนน้อมแก่ท่านผู้เจริญโดยวัยและโดยคุณ ไม่ทรงดูหมิ่น.

ธรรมะข้อ 6.ตบะ

หมายถึง ความเพียร ทรงสมาทานกุศลวัตร ด้วยการเอาพระราชหฤทัยใส่ ในการปกครองพระราชอาณาเขต และประชาชนให้มีความสุขปราศจากภยันตราย ตลอดถึงการที่ทรงมีพระอุตสาหะอันแรงกล้าในกุศลสมาทาน ระวังบาปที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น และเพื่อจะกำจัดบาปกุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้เสื่อมสูญ ไม่ตั้งอยู่ในพระสันดาน.

ธรรมะข้อ 7.อักโกธะ

หมายถึง ความไม่โกรธ ทรงมีพระกริยาที่ไม่โกรธโดยวิสัย มิใช่เหตุที่ควรโกรธ แม้มีเหตุที่ให้ทรงพระพิโรธ แต่ทรงข่มเสียให้อันตรธานสงบระงับไป ด้วยทรงมีพระเมตตาอยู่เสมอ ไม่ทรงปรารถนาจะก่อภัย ก่อเวรแก่ผู้ใด.

ธรรมะข้อ 8.อวิหิงสา

หมายถึง ความไม่เบียดบียน ด้วยทรงมีพระราชอัฌชาสัยกอปรด้วยพระราชกรุณา ไม่ทรงปรารถนาจะก่อทุกข์แก่ผู้ใดแม้กระทั้งสัตว์ ไม่ทรงเบียดเบียนพระราชวงศ์ ข้าทูลละอองธุลีพระบาท และอาณาประชาราษฎร์ ให้ลำบากด้วยเหตุอันไม่ควรกระทำ.

ธรรมะข้อ 9.ขันติ

หมายถึง ความอดทน ทรงมีพระราชหฤทัยดำรงมั่นในขันติ มีความอดทนต่อสิ่งที่ควรอดทน เช่น อดทนต่อทุกข์ อดทนต่อเวทนาอันเกิดขึ้นในพระกาย และทรงมีพระขันติเมตตากรุณาธิคุณ งดโทษผู้มีความประมาท กระทำผิดล่วงพระอาญา และควรจะลงราชทัณฑ์ แต่ก็ทรงระงับด้วยความอดทนไว้ได้.

ธรรมะข้อ 10.อวิโรธนะ

หมายถึง ความเที่ยงธรรม ทรงรักษาความยุติธรรมไม่ให้แปรผันจากสิ่งที่ตรง และดำรงพระอาการไม่ยินดี ยินร้าย ต่ออำนาจคติทั้งปวง หรืออีกนัยหนึ่ง คือความไม่ประพฤติผิดในขัตติยราชประเพณี ทรงดำรงอยู่ในพระราชจริยาวัตรของพระมหากษัตริย์อย่างแท้จริง.

กลุ่ม 2  The grand design

            เป็นหนังสือที่เกี่ยวกับทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ที่น่าสนใจ ว่าด้วยการกำเนิดของเอกภพ ประวัติย่อของเอกภพ เช่น ทฤษฎีควอนตัม  ที่ว่าเอกภพไม่ได้มีเพียงประวัติศาสตร์เดียว  แต่มีประวัติศาสตร์หลายอย่างที่เป็นไปได้ที่ดำรงอยู่ในชาวงเวลาเดียววัน

กลุ่ม 3 ประวัติศาสตร์โลกใน 6 แก้ว

          ในหนังสือเล่าถึงที่มาและประวัติของเครื่องดื่มหกประเภท อันประกอบด้วยไวน์ เหล้า กาแฟ ชา รวมถึงโคคาโคล่า บอกเล่าเรื่องราวของมนุษยชาตินับตั้งแต่ยุคหินถึงศตวรรษที่ 21 ผ่านมุมมองของเบียร์ ไวน์ เหล้า กาแฟ ชา และโคลา…เครื่่องดื่มแต่ละประเภทก็ไม่ต่างกับเทคโนโลยี ที่มีส่วนกระตุ้นให้เกิดความก้าวหน้าทางวัฒนธรรม

กลุ่ม 4 Post Modern & Economics

          เป็นเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่ เศรษฐศาสตร์ หมายถึง การจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด นกเศรษฐศาสตร์รุ่นใหม่ จะไม่ส่งถึงผู้บริโภค

            ประโยชน์ที่ได้รับจากการอ่านหนังสือเล่มนี้ สามารถใช้กับชีวิตประจำวันได้ ต้องคิดแตกต่าง คิดวิเคราะห์ และใช้เหตุผล ต้องเลือกประโยชน์และสิ่งที่ดีที่สุด หนังสือเล่มนี้ศึกษาถึงนัยของแนวคิดหลัง สมัยใหม่ (Postmodern) ที่มีต่อเศรษฐศาสตร์ (Economics) โดยมุ่งประเด็นไปที่การนำแนวคิดหลังสมัยใหม่เข้าไปวิพากษ์และท้าทายสมมติฐาน ความมีเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์ เพื่อชี้ให้เห็นถึงปัญหาของสมมติฐานดังกล่าวอันจะนำไปสู่การเปิดมุมมองใหม่ๆ ทั้งทางด้านวิธีวิทยาและองค์ความรู้ให้แก่วงวิชาการทางด้านเศรษฐศาสตร์ต่อไป ในสายตาของนักเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่ รสนิยมและความต้องการบริโภคไม่ได้ออกมาจากอัตลักษณ์ของผู้บริโภค ในทางตรงกันข้ามผู้บริโภคซื้อสินค้าเพื่อสร้างอัตลักษณ์ให้ตัวเองต่างหาก เราจะไม่มีทางรู้เลยว่าเราต้องการซื้ออะไร จนกว่าเราจะเริ่มซื้อของสักชิ้น และเมื่อเราซื้อของชิ้นนั้นไปแล้ว อัตลักษณ์ในตัวเราจะเกิดขึ้นมา และดลให้เราซื้อของชิ้นอื่นต่อจากนั้น (ยกตัวอย่าง คนที่ติดช่อง True ก็จะเริ่มดู AF และอาจนำไปสู่การดูละครที่เด็ก AF เล่น และไปดูมิวสิคคอลที่ M Theatre) นักหลังสมัยใหม่เรียกพฤติกรรมแบบนี้ว่า "การบริโภคสัญญะ" เราไม่ได้ซื้อยาสีฟันเพราะเราต้องการสุขภาพปากที่ดี แต่เราต้องการสร้างอัตลักษณ์ในตัวเอง

 

 

 

สรุปการบรรยาย“การเมืองการปกครองไทย: แตกต่าง กับ แตกแยก”

รศ.อัษฏางค์ ปาณิกบุตร

 

สังคมไทยต้องรู้จักวิธีการดังต่อไปนี้

1. รู้จักการประนีประนอม       

2. รู้จักระเบียบวินัย กติกาของสังคม ระบอบประชาธิปไตย ต้องมีกติกา เรียกว่า Social Control

3. สิทธิส่วนรวม

ปัญหาประเทศไทยที่แก้ปัญหาไม่ได้คือ การไม่พูดความจริง ระบบอุปถัมภ์ ที่ไม่สร้างความเป็นธรรมสังคม เป็นระบบพรรคพวก

สิ่งที่ควรจะทำ คือ ต้องพัฒนาภาษาอังกฤษ ภาษาจีน และคอมพิวเตอร์

ต้องส่งเสริมพัฒนาครูให้มีคุณภาพ เพื่อพัฒนาคุณภาพของเด็กด้วย

คนไทยทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ต้องมีความใฝ่รู้ ใฝ่ทำในสิ่งที่ดี  ทำในจิตสำนึกของเราเอง

สังคมไทยเกิดปัญหา การไม่ยอมรับ ในการคิดแตกต่าง แต่หากแตกต่างแบบมีเหตุผล ก็จะไม่เกิดการแตกแยก ต้องใช้สติ วิจารณญาณให้ดี

ปัญหาหลายอย่าง ทั้งเรื่องการศึกษา ระบบอุปถัมภ์  แต่การแตกแยกของประเทศเรา เกิดขึ้นจากคนบางกลุ่มเท่านั้น ดังนั้น ควรเริ่มจากตัวเรา ที่สามารถไปเผยแพร่ ความรู้ สิ่งที่ได้รับจากการอบรมในกิจกรรมนี้  เรียกว่า ระบบแตกเซลล์ สิ่งที่สำคัญ คือ ต้องมีการเริ่มต้น

คำถาม  

กลุ่ม 1  หากประเทศไทยแตกแยก เราจะมีวิธีแก้ไขอย่างไร

รศ.อัษฏางค์ ปาณิกบุตร : เริ่มต้นจากตัวเรา ต้องใช้สติ วิจารณญาณให้ดี

กลุ่ม 2 ปัญหาบ้านเมือง เรายังเป็นนักเรียน จะมีส่วนร่วมอย่างไร

รศ.อัษฏางค์ ปาณิกบุตร : เรื่องการเมือง ต้องถือว่าตั้งแต่เกิด ก็ถือว่ามีส่วนร่วมทันที

แต่ควรคิดว่า เราจะเริ่มยังไง เป็นสิ่งที่สำคัญกว่า ต้องอ่านเป็น คิดเป็น  และวิเคราะห์เป็น   ต้องอ่านหนังสือจากหลายฉบับ หลายสื่อ และควรอ่านหนังสือจากสำนักข่าวต่างประเทศด้วย  และนักเรียนควรรวมตัวกันศึกษาวิเคราะห์ข่าวแต่ละประเด็น โดยช่วยกันคิด และวิเคราะห์

กลุ่ม 3: หากคนเราไม่แตกต่าง แต่แตกแยก เกิดจากอะไร

รศ.อัษฏางค์ ปาณิกบุตร : เพราะไม่มีความเป็นประชาธิปไตย   และไม่ยอมรับซึ่งกันและกัน   

 

           

สรุปการบรรยาย กำหนดวิสัยทัศน์ประเทศไทย

โดย ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วัตถุประสงค์

  1. ปลูกฝังกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ การคิดเชิงวิสัยทัศน์ สามารถเข้าใจถึงสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง รวมความถึงสามารถวิเคราะห์ ประยุกต์ และบูรณาการความคิดบนพื้นฐานแห่งความเป็นจริงได้อย่างเหมาะสม
  2. ปลูกฝังวิธีการเรียนรู้ ให้คิดเป็น วิเคราะห์เป็น และมีวัฒนธรรมในการสนใจแสวงหาความรู้
  3. ปลูกฝังการมีจิตสาธารณะ และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ

วิสัยทัศน์ประเทศไทย

พวกเราทุกคนที่นี่ในฐานะเยาวชนที่เป็นกำลังสำคัญของชาติ จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศไทยของอย่างไร? เราน่าจะถามคำถามว่าประเทศไทยจะไปในทิศทางใด?

 ถ้าตัวเรามีส่วนร่วม – ไม่ว่ารัฐบาลหรือระบบราชการจะทำอะไรก็ถือว่า..เรามีส่วนร่วม

ข้อเสียของประเทศไทย คือ การเมืองและระบบราชการทำให้เรามองอะไรที่สั้น ไม่ได้มองเรื่องระยะยาว เรื่องที่สร้างความยั่งยืนให้กับสังคมไทย  

วิธีการต้องย้อนไปดูว่าประเทศไทยผิดพลาด และมีจุดอ่อนอะไร

            ศึกษาสภาพแวดล้อมภายนอกที่กระทบต่อประเทศไทย การเปลี่ยนแปลงที่เป็นบวก (+)           และลบ (–) ทั้งเรื่องเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

ประเทศไทยต้องสร้างการศึกษาให้เข้มแข็ง เพื่อต่อสู้กับระบบราชการที่อ่อนแอ เยาวชนต้องคิดเป็น วิเคราะห์เป็น

โลกและการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคต่าง ๆ ถึงปัจจุบัน

จากยุคที่ 1 ยุคเกษตรกรรม สู่ยุคอุตสาหกรรม สู่ยุค Information Technology ปัจจุบันเรากำลังก้าวสู่ยุคที่ 4 หรือ Forth Wave ซึ่งในอนาคตเราจะต้องเน้น

sustainability+

wisdom+

creativity+ การมีความคิดสร้างสรรค์ คิดนอกกรอบ

Innovation+ หลังจากมีความคิดสร้างสรรค์ แล้วจึงมีนวัตกรรม

intellectual capital

สังคมโลก วิกฤตต่าง ๆ และผลกระทบต่อสังคมไทย

1. วิกฤตทางเศรษฐกิจ

2. วิกฤตจากภัยธรรมชาติและภาวะโลกร้อน

3. วิกฤตทางการเมือง

4. วิกฤตทางสังคมและวัฒนธรรม

5.  วิกฤตทางการศึกษา

ลองวิเคราะห์ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นหรือสภาพแวดล้อมภายในประเทศไทยของเราวันนี้

  1. สภาพเศรษฐกิจเป็นอย่างไร
  2. คุณภาพของการศึกษา
  3. คุณภาพคนเป็นอย่างไร
  4. ปัจจัยทางเทคโนโลยี
  5. สภาพสังคม และวัฒนธรรมเป็นอย่างไร
  6. ปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำ
  7. และที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดตอนนี้ ก็คือ “การเมืองไทยซึ่งส่งผลถึงความปรองดองในชาติ

ปัจจุบันคนไทยต้อง Back to basic

โจทย์ Workshop

  1. วิเคราะห์ สภาพแวดล้อม

          - เศรษฐกิจ

          - สังคม

          - การเมือง

          - วัฒนธรรม

          - เทคโนโลยี/สภาพแวดล้อม (ภาวะโลกร้อน)

          ว่ากระทบทั้งทาง + และ – ต่อประเทศไทยอย่างไร

2. วิเคราะห์ผลกระทบในประเทศ

          - ค่านิยม

          - โครงสร้างประชากร

          - การเมือง

          - คุณภาพทรัพยากรมนุษย์

3. ประเทศไทยเก่งอะไร

4. กำหนดว่าวิสัยทัศน์ประเทศไทย อีก 20 ปีควรจะเป็นอะไร

5. ยุทธศาสตร์ที่ทำให้วิสัยทัศน์ประสบความสำเร็จ 3 เรื่อง ที่ทำไปควบคู่ความสำเร็จ  คืออะไร

 

 

Workshop วิสัยทัศน์ประเทศไทย

1. กำหนดว่าวิสัยทัศน์ประเทศไทย อีก 20 ปีควรจะเป็นอะไร

2. ยุทธศาสตร์ที่ทำให้วิสัยทัศน์ประสบความสำเร็จ 3 เรื่อง ที่ทำไปควบคู่ความสำเร็จ  คืออะไร

กลุ่ม 1  

วิสัยทัศน์

ประเทศที่ส่งออกผลผลิตทางเกษตร

ยุทธศาสตร์

-การจัดตั้งศูนย์วิจัย และศูนย์ความรู้

- ทำการ Workshop กับต่างประเทศเรื่องสินค้าการเกษตร

- ให้เกษตรกรหันมาใช้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง

เช่น ข้าวที่ปลูกได้น้อยกว่าเวียดนาม ต้องเร่งหันมาสนับสนุนชาวนา เพื่อให้ประเทศไทยเป็นอันดับหนึ่ง

Comment

รศ.อัษฏางค์ ปาณิกบุตร: เน้นเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ปลูกพืชหมุนเวียน

เน้นเรื่องการชลประทาน ศึกษาต่อว่าอัตราการผลิตต่อไร่จะสูงขึ้น

ศึกษาการตลาดว่า ทำไมเกษตรกรถึงจน

 ผศ.พงษ์ศักดิ์  กรรณล้วน: การทำการเกษตรต้องไม่ใช่ยาฆ่าแมลง เพื่อสุขภาพที่ดี

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์:  เรื่องค่านิยมไทย ไม่นิยมเรียนเกษตร

เกษตรมักจะเกี่ยวข้องกับการเมือง  การจำนำข้าวผิดหลักการสหกรณ์ เพราะไม่ทำให้เกษตรกรพึ่งตัวเอง

ต้องสร้างค่านิยมใหม่ เยาวชนต้องถามตัวเองว่า ค่านิยมที่ถูกต้องสำหรับเยาวชนคืออะไร

กลุ่ม 2   

วิสัยทัศน์  การนำวัฒนธรรมของต่างประเทศเข้ามาใช้ในประเทศไทย

ยุทธศาสตร์

ประเทศไทยมีวัฒนธรรมของเราเอง  แต่เราควรนำเอาวัฒนธรรมดีๆของต่างประเทศนำมาประยุกต์ใช้ด้วยข้อเสีย  คือ ทำให้วัฒนธรรมเสื่อมลง

จึงอยากให้ทุกคนร่วมกันอนุรักษ์ความเป็นไทย และปลูกฝังให้เยาวชนไทยรู้จักวัฒนธรรมไทย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

            การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เป็นสิ่งที่ควรทำในวันนี้ เพราะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจได้ด้วย

            ตัวอย่างที่ดี คือ ประเทศเกาหลีที่สร้างวัฒนธรรมได้อย่างดี

            กลุ่มนี้ต้องปรับว่าสร้างจุดแข็งของวัฒนธรรม เพื่อเข้าสู่ประเทศอาเซียน  มากกว่าการรับวัฒนธรรมต่างประเทศ แล้วปรับตัว

            ต้องคิดต่อว่าทำอย่างไรจึงจะปรับตัวเข้าสู่อาเซียนได้

ผศ.พงษ์ศักดิ์  กรรณล้วน: วัฒนธรรมการกิน ไหลเข้ามาในประเทศไทยเยอะมาก คนกินมัน ก็ทำให้คนเป็นโรคอ้วน  แต่ต่างประทศฉลาด เพราะ เขาผลิตยาลดความอ้วน ลดไขมัน มาขายประเทศเรา

กลุ่ม 3

วิสัยทัศน์  แหล่งผลิตอาหารและทรัพยากรธรรมชาติ

ยุทธศาสตร์

  • พัฒนาแรงงานของประเทศ  สร้างในบุคลากรมีความคิดเป็นของตัวเอง ให้เป็นผู้นำ
  • แลกเปลี่ยนความรู้กับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน เพราะมีความคล้ายคลึงกัน
  • ปลุกฝังวัฒนธรรมไทยให้คนไทย และต่างชาติ  วัฒนธรรมไทย ต้องมีการปลุกฝังตั้งแต่เด็ก
  • การเจาะตลาดโลก

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์:   กลุ่มนี้เน้นการพัฒนาบุคลากรในภาคการเกษตร เป็นสิ่งที่สำคัญมาก การจัดแคมป์ในปีหน้าควรจะเชิญ ภาคอีสานมาร่วมด้วย เพราะเก่งทางด้านเกษตร

            - ต้องใฝ่รู้ ให้มีความรู้ทางด้านเกษตร ต้องไม่ติดกับค่านิยมของประเทศไทย ที่ไม่นิยมการเกษตร

            - ปัญหาของไทย คือ ไม่มีใครทำในเรื่องนี้

            - ปลูกฝังให้เยาวชนไทยเรียนเรื่องเกษตร

ผศ.พงษ์ศักดิ์  กรรณล้วน: การพัฒนาบุคลกรเป็นสิ่งสำคัญ  การแข่งกับต่างชาติ ต้องใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การอาหาร  

รศ.อัษฏางค์ ปาณิกบุตร:  กลุ่มนี้ยุทธศาสตร์ยังขาดเป้าหมายที่ชัดเจน 

กลุ่ม 4

วิสัยทัศน์  ให้ประเทศไทยมีบุคลากรที่มีความสามารถมาทำงานในประเทศ

ยุทธศาสตร์

  •  ลดปัญหาการว่างงาน เพราะจะมีปัญหาอาชญากรรมตามมา
  • ต้องใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง นำมาปรับใช้ในประเทศไทย
  • ส่งเริมให้คนไทยส่งเสริมด้านสายอาชีพ และอาชีวะ ไม่ต้องเน้นปริญญามากเกินไป
  • ส่งเสริมเศรษฐกิจ ว่ามีอะไรเด่น  ประเทศไทยมีจุดเด่นเรื่องเกษตรกรรม ควรส่งเสริมให้กว้างไกลมากขึ้น ส่งเสริมประชากรให้พัฒนามีความรู้ในเรื่องเกษตรให้มากขึ้น

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์:   อีก 20 ปีข้างหน้า เปิดโอกาสให้คนในอาเซียนทำงานในประเทศไทย ต้องระวังเรื่องความเลื่อมล้ำ เพราะฉะนั้นต้องยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง

การจ้างงานต้องมีความหลากหลาย  คำถาม คือ คนเหล่านั้น จะได้ประโยชน์ให้กับประเทศไทยหรือ ไม่ เพราะต้องมีโครงสร้างภาษี   

ระบบการศึกษาต้องไม่เน้นเฉพาะปริมาณ  แต่ต้องเน้นความรู้มากขึ้น

การนำความคิดไปปะทะกับความจริง  ต้องค้นหาตัวเองว่าจะทำอะไรให้เกิดกับประเทศของเรา

ขอชมเชยเรื่องเป้าหมายของกลุ่มนี้

รศ.อัษฏางค์ ปาณิกบุตร:  ต้องรู้ว่าต้องทำอย่างไร ทุนมนุษย์ความสามารถคน มีองค์ประกอบอะไรบ้าง การศึกษา วัฒนธรรม  ระบบอุปถัมภ์

ผศ.พงษ์ศักดิ์  กรรณล้วน:  คุณภาพของมนุษย์เป็นเรื่องสำคัญ และต้องมีจิตใจดี  หรือ เรียกว่า ความรู้ต้องคู่คุณธรรม 

คุณกฤช   สินอุดม        สรุปได้ 2 ประเด็น   ประเด็นแรก คือ มีคนเก่งแต่ไม่สามารถนำคนเก่งมานำประเทศได้

ประเด็นที่ 2  กระบวนการพัฒนาทุนมนุษย์ ไม่ว่าสายการเรียนไหน ขาดการเรียนแบบคิดอย่างสร้างสรรค์   สิ่งที่สำคัญ คือเรื่องการสร้างมูลค่าเพิ่ม   การคิดนอกกรอบ ที่ทำหลังจากที่รู้อย่างดีแล้วว่าในกรอบมีอะไรบ้าง 

กลุ่ม 5

วิสัยทัศน์   เรื่องการแพทย์ของประเทศไทย

เนื่องจากการแพทย์มีการพัฒนาไปอย่างมาก ควรเน้นเรื่องการแพทย์แผนไทย

ยุทธศาสตร์

  • ให้รัฐบาลสนับสนุนเรื่องการศึกษาการแพทย์
  • กระจายความรู้เรื่องสมุนไพรไทย และเป็นศูนย์กลางการแพทย์ของโลก
  • เผยแพร่และพัฒนา แพทย์แผนปัจจุบัน และแพทย์แผนไทย

ผศ.พงษ์ศักดิ์  กรรณล้วน:  ต้องระวังเรื่องเทคโนโลยี ทางการแพทย์ เนื่องจากสู้ต่างประเทศไม่ได้ ในแง่ของกาแพทย์แผนปัจจุบัน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์:   เรื่องการแพทย์เป็นเรื่องที่ดีมาก ต้องตัดสินใจว่าจะเป็นแพทย์แผนปัจจุบัน หรือ แพทย์แผนไทย หรือ อาจะกึ่งผสมกัน ให้เข้ากับวัฒนธรรมไทย เรื่องสปา เรื่องการนวดแผนไทย  เรื่องวิจัยและพัฒนาเป็นเรื่องที่สำคัญ  ที่ต้องเน้นเรื่องการลดต้นทุน

รศ.อัษฏางค์ ปาณิกบุตร:   รพ.ศิริราช มีแพทย์ที่มีความสามารถมาก  ควรดูเรื่องความเสมอภาคของการรักษา ต้องมีความละเอียดพอ ที่จะทำเรื่องนี้ ต้องศึกษาว่ามีปัจจัยอะไรที่เกี่ยวข้อง

คุณกฤช   สินอุดม:  ชาวต่างชาติเข้ารักษาในประเทศไทยอย่างมก เนื่องจากมีการบริการที่ดีมาก มีService Mind ทีดีมาก เน้นเรื่องคุณภาพทางด้านบริการ ไม่ต้องเน้นเทคโนโลยีสูง  เนื่องจากประเทศไทยได้เป็นประเทศการผลิต

  ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์:   โครงสร้างประชากร เป็นเรื่องที่ต้องระวัง  และต้องวางแผนให้ดี  

กลุ่ม 6

วิสัยทัศน์   พัฒนาระบบการศึกษาของประเทศไทย

ยุทธศาสตร์

  • การปรับระบบการเรียน จากสถานที่จริง  ทีไม่ใช่แค่ห้องเรียน เนื่องจากไม่ได้เรียนรู้จริง
  • ระบบแอดมิชชั่น  ควรมีระบบที่แน่นอน และต้องมีการทดลองมาก่อน แต่ไม่ใช่ทอดลองกับทั้งประเทศ
  • การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ความมีวินัยของผู้เรียน ต้องมีจิตอาสา ขัดเกลาจิตใจให้ดีขึ้น  

  ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์:    เรื่องนี้ควรทำเป็นวาระแห่งชาติเร่งด่วน  การเรียนให้ประสบความสำเร็จ  ต้องติดตามข้อมูลข่าวสารให้ทันเหตุการณ์  ต้องปลูก และเก็บเกี่ยว ต้องมีความอยากที่จะทำงาน ครูต้องมีความสุขในการทำงาน 

รศ.อัษฏางค์ ปาณิกบุตร:   ต้องเรียนรู่ว่า การอ่านเป็นสิ่งสำคัญ ทำให้ วิเคราะห์เป็น คิดได้ จุดสำคัญของกลุ่มนี้ คือ การศึกษาต้องมองทั้งระบบ มองทั้งประเทศ  แล้วจะมีทางแก้อย่างไร

ข้อบกพร่อง คือ การศึกษาไม่มีความเสมอภาค

เด็กที่ไม่มีอันจะกิน ก็ไม่สามารถเรียนหนังสือ อย่างมีประสิทธิภาพได้

ผศ.พงษ์ศักดิ์  กรรณล้วน:  เห็นด้วยกับอาจารย์จีระ ที่การศึกษาไทย ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน ปัจจุบันนี้ไทยตามหลังเวียดนาม  มหาวิทยาลัยโฮจิมิน พัฒนาไปอย่างมาก  ใช้ทีมงานจากมหาวิทยาลัยฮาร์เวิด เพื่อศึกษาและพัฒนา วางแผน การพัฒนาอุดมศึกษาของชาติ ประเทศสิงค์โปร์  เราสู้ไม่ได้ เพราะมีสมองที่คิดได้ไม่จำกัด

คุณกฤช   สินอุดม:  กลุ่มนี้มองกระบวนการและแนวทางศึกษาที่ใกล้ตัว ขอฝากมุมมองว่ากระบวนการคัดเลือกใช้วิธีอะไรก็ไม่สำคัญ แต่สิ่งสำคัญอยู่ที่ตัวเรา ว่าเราอยากเป็นอะไร รู้เป้าหมายของเราเป็นสิ่งสำคัญที่สุด

กลุ่ม 7  

วิสัยทัศน์    อาหารไทยไปครัวโลก

ยุทธศาสตร์

  • ส่งเสริมให้ความรู้กับประชาชน ในเรื่องการเกษตร
  • ส่งเสริมการตลาด เพื่อการกระจายสินค้าให้มากขึ้น

ผศ.พงษ์ศักดิ์  กรรณล้วน:  เน้นเรื่องการพัฒนาเทคโนยีด้านอาหาร  พัฒนาเรื่องบรรจุภัณฑ์

รศ.อัษฏางค์ ปาณิกบุตร:   ควรเน้นเรื่องการบริหารจัดการ

กลุ่ม 8

วิสัยทัศน์    การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

ยุทธศาสตร์  การมีระเบียบในตัวเอง ปลูกฝังให้คนในชาติมีระเบียบวินัย

การพัฒนาการศึกษาของคนในชาติ

รศ.อัษฏางค์ ปาณิกบุตร:   ประเทศไทยได้อันดับหนึ่งของรถติดที่สุดในโลก ความเป็นระเบียบของคนสังคม อ่อนมาก

 

ให้สรุปประเด็นว่าได้อะไรจากการทำ Workshop

  • คิดเพื่อส่วนรวม
  • ฝึกความเป็นประชาธิปไตยในความคิดของคนในกลุ่ม
  • ให้ทุกคนได้ระดมเสนอความคิด
  • การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
  • การวางแผนในอนาคตและปัจจุบัน
  • ความสามัคคีในการทำงาน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท