ระบบกองเติมอากาศกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


การนำประโยชน์กลับคืนอย่างรู้คุณค่าย่อมสามารถที่จะกำจัดวัชพืชในแม่น้ำให้หมดไปอย่างแน่นอน

     หลังจากที่ผมได้ดำเนินการทำปุ๋ยหมักระบบกองเติมอากาศมาเป็นรุ่นที่ 2 ก็ได้ไปเห็นผักตบชวาในแม่น้ำปากพนังที่มีมากมายกำลังเป็นปัญหาที่ทางโครงการพัฒนาลุ่มน้ำปากพนังตามแนวพระราชดำริหาทางแก้ไขอยู่

     กลับมีปัญหาใหม่ที่น่าหนักใจกว่าคือผักกระเฉด ( เป็นชนิดที่ชาวบ้านไม่กินกัน ) แพร่พันธ์ได้เร็วพอๆกับผักตบชวา แล้วผมก็ได้พบกับคุณปิยะ จากสถาบันทรัพยากรชายฝั่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  (ซึ่งเป็นคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ประจำอยู่ที่นั้น) แล้วท่านก็ได้มาเห็นการทำปุ๋ยหมักระบบกองเติมอากาศที่กลุ่มผม ได้มีการปรึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในหลายๆด้าน จนเห็นว่ามีประโยชนน์ต่อสังคมและชุมชนจากศักยภาพของระบบฯที่สามารถกำจัดเศษพืชและวัชพืชได้มากถึง 10.5 ตันต่อเดือน ( 1 แห่ง=ปุ๋ย 10 กอง ) หากนำไปใช้กับการกำจัดวัชพืช ผักตบชวา ผักกระเฉด ในแม่น้ำปากพนัง โดยกำหนดการร่วมกันกับกลุ่มชาวบ้านหลายๆกลุ่มที่อยู่ใกล้แม่น้ำและกับกลุ่มชาวบ้านที่อยู่ในลำคลองสายเล็กๆที่ต่อเนื่องกับแม่น้ำปากพนัง ในด้านการร่วมกันสำรวจปริมาณ การกำจัดอย่างถูกวิธี การนำประโยชน์กลับคืนอย่างรู้คุณค่า ย่อมสามารถที่จะกำจัดวัชพืชในแม่น้ำให้หมดไปอย่างแน่นอน และยังเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นธรรมชาติ สร้างรายได้ให้กับชุมชนริมแม่น้ำได้เป็นอย่างดี ดีกว่าการกองทิ้งไว้ให้เน่าเหม็นหรือเผาทำลาย สิ่งนี้ผมคุยไว้ คิดไว้กับคุณปิยะนะครับ ลำพังผมไม่มีปัญญาทำขนาดนั้นหรอกครับ 

หมายเลขบันทึก: 50541เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2006 17:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 เมษายน 2012 10:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
            แค่คิดก็นึกภาพออกว่าถ้าสามารถกำจัดวัชพืชและสามารถนำไปใช้ประโยชน์และเกิคคุณค่าก็น่าทำพี่ไปเห็นผักกระเฉดชนิดที่ว่าที่ตำบลท่าพญา ใกล้กับโครงการพระราชดำริฯ แล้วจะแนะนำให้เขามาเรียนรู้วิธีกำจัดแล้วได้ประยชน์อย่างที่บอกนะ
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรพัฒนาบ้านมะขามเรียง

ตอบพี่พัช พอช. ครับ

     ที่ผมคิดไว้คือการนำวัชพืช และเศษพืชที่มีอยู่ภาคเกษตรกรรมในชุมชนมาทำปุ๋ยหมัก ดีกว่าการซื้อขุยมะพร้าวที่ตอนนี้ราคาอยู่ที่ 4000 บาทได้ผลตอบรับที่แตกต่างกันมากกว่าในด้านต้นทุน  เพิ่มรายรับ ลดรายจ่าย ด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมในแม่น้ำของชุมชนและที่สำคัญเป็นการร่วมกันระหว่างหน่วยงานกับชาวบ้านริมแม่น้ำในด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมธรรมชาติของแม่น้ำอย่างเกื้อกูลต่อกันในระยะยาว

ผมขออนุญาตตอบนะครับ

ที่เชียงใหม่เขาก็ใช้ผักตบชวาเป็นวัตถุดิบในการผลิตปุ๋ยหมักวิธีนี้กันครับ ได้ผลดีและไม่มีต้นทุนครับ

ขอแสดงความยินดีกับคุณวิศว์ที่เปิดบล็อกใหม่นะครับ

 

 

อ่านบันทึกทุกๆบันทึกแล้ว มีชีวิตชีวาดีครับ บันทึกได้สม่ำเสมอดีจัง เห็นว่าจะเป็นคลังความรู้ที่มีประโยชน์มาก และอยากจะบอกน้องติ่ง....ทุกๆวันที่ 28 ของเดือน เราจะมีการประชุมเครือข่ายเกษตรอินทรีย์อำเภอเมืองนครศรีฯ อยากจะให้น้องติ่งนำเพาเวอร์พอยต์ปุ๋ยหมักระบบกองเติมอากาศ ไปนำเสนอในวันประชุมด้วย คิดประเด็นเรียนรู้ร่วมกันด้วยก็จะดีนะครับ กลุ่มอื่นมีประเด็นเรียนรู้ใดนำเสนออีก จะได้รวบรวมทำวาระต่อไป

น้องติ่ง มีข่าวดีจะบอก ปุ๋ยหมักระบบกองเติมอากาศ ของ ผศ.ธระพงษ์ สว่างปัญญางกูง ม.แม่โจ้ ได้รับรางวัลระดับประเทศ นะ อาจารย์ส่งเมล์มาที่พี่ น้องลองอ่านดูนะ

From: 

teerapong sawang <[email protected]> Save to Address Book
To:  [email protected] Save to Address Book
Date:  24 Sep 2006, 06:52:40 AM
Subject:  ระบบกองเติมอากาศได้รับรางวัล

เรียน อาจารย์จำนงที่เคารพ
ผมขอส่งข่าวดีเกี่ยวกับการที่ระบบกองเติมอากาศได้รับรางวัลระดับประเทศครับ คือ เทคโนโลยีระบบกองเติมอากาศ ชนะการประกวดนวัตกรรมแห่งชาติ ปี 2549 ของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านสังคม โดยได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ซึ่งได้มีการแถลงข่าวอย่างเป็นทางการ ณ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด สำนักงานใหญ่ ถนนสีลม ในวันที่ 22 กันยายน 2549 ไปแล้ว และจะพิธีมอบรางวัลในวันที่ 5 ตุลาคม 2549 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิต ซึ่งเป็นวันนวัตกรรมแห่งชาติ ครับ
รายละเอียดเข้าไปดูได้ที่ http://www.nia.or.th/niaward/ ครับ
ขอบพระคุณครับ
ธีระพงษ์ สว่างปัญญางกูร

เครือข่ายฯของเราคงไปได้สวย น้องคิดว่าไง ?

 

     ขอตอบอาจารย์ธีระพงษ์และ อาจารย์จำนงครับ

     เป็นความภูมิใจอย่างยิ่งครับ ที่ท่านอาจารย์ทั้งสอง มีความกรุณาต่อกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรพัฒนาบ้านมะขามเรียงและหวังว่า คงจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม โดยที่กลุ่มฯมีแผนการดำเนินงานเพื่อเผยแพร่ความรู้สู่สังคมการเรียนรู้ในระดับที่กว้างต่อไปครับ  

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท