จบบทเรียน "การจัดการความรู้ กับ งานที่ทำ"


เมื่อทำ KM เห็นผล การพัฒนาบุคลากรก็เห็นผลด้วยเช่นกัน

     เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2547 ในงานตลาดนัดการจัดการความรู้ “Food Safety” ของกรมส่งเสริมการเกษตร ได้ทำหน้าที่ คือ 1) ประมวลข้อมูลและสรุปบทเรียนจากที่แต่ละกลุ่มนำเสนอเนื้อหาสาระจากนิทรรศการของแต่ละจังหวัดที่ตนเองไปดู  และ 2) ดำเนินรายการสัมภาษณ์เจ้าของเนื้อหาแต่ละจังหวัดที่มานำเสนอนิทรรศการของ 18 จังหวัดนำร่อง

     จากการทำหน้าที่ดังกล่าวทำให้ดิฉันเกิดข้อสรุปของตนเองในเนื้องานของ การพัฒนาบุคลากร จากคำตอบที่มาจากการเล่าและการซักถามเนื้อหาสาระ โดยเฉพาะทุกจังหวัดมีกลุ่มเป้าหมายในการจัดการความรู้ที่เป็นเกษตรกร 100 % ซึ่งเป็นคำตอบของการให้บริการและดูแลลูกค้าหลักให้กับองค์กรที่มาจากอาชีพการเกษตรตามชนิดพืชต่าง ๆ เช่น ข้าว  ลองกอง  ผัก มะม่วง อื่น ๆ แต่การจัดการความรู้ของตนเองที่เป็นเจ้าหน้าที่นั้นมีค่อนข้างต่ำ จึงเป็นสิ่งที่เราจะต้องมุ่งเน้นและกระทำให้มีเพิ่มขึ้น เพราะมิฉะนั้น เราจะได้จากเกษตรกร มากกว่าเกษตรกรได้จากเรา  และเราจะไม่มีอะไรไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเกษตรกร

     ส่วนการดำเนินการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ที่เป็นนักส่งเสริมการเกษตรและเป็นเจ้าของเนื้อหาสาระที่จัดการความรู้และนำผลงานดังกล่าวมาจัดสถานีหรือเป็นร้านค้าต่าง ๆ ให้ผู้สนใจได้จับจ่ายใช้สอยกันอยู่นั้นทำให้ดิฉันได้ข้อสรุปในการพัฒนาเจ้าหน้าที่ในการทำงานส่งเสริมกับเกษตรกรที่ว่า 

          1)  ขณะนี้นักส่งเสริมการเกษตรกลุ่มนี้ รู้วิธีการค้นหาองค์ความรู้และประสบการณ์จริงที่สั่งสมมาในการทำอาชีพการเกษตรของเกษตรกร 

          2)  นักส่งเสริมการเกษตรกลุ่มดังกล่าวรู้ช่องทางของการได้มา  การใช้ประโยชน์  และการคืนองค์ความรู้ที่ได้มาจากเกษตรกรสู่ชุมชนแล้วว่าควรจะทำอย่างไร 

          3)  นักส่งเสริมการเกษตรมีทักษะเกี่ยวกับ การจัดเวทีแลกเปลี่ยนองค์ความรู้การเกษตรที่เป็นกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ซึ่งเป็นฐานในการทำงานส่งเสริมการเกษตรได้ 

          4) นักส่งเสริมการเกษตรมีเครือข่ายตัวอย่างเกษตรกรที่ประสบผลสำเร็จในอาชีพการเกษตร และตนเองสามารถนำมาใช้เป็น Best Practice เพื่อขยายการเรียนรู้สู่ชนิดพืชต่าง ๆ ได้  

          5) องค์กรมีเครือข่ายตัวอย่างเจ้าหน้าที่ในการทำงานส่งเสริมการเกษตรที่เป็น Best Practice ในการพัฒนาบุคลากรตามสมรรถนะต่าง ๆ ได้เห็นเป็นรูปธรรม   

     ฉะนั้น  จากข้อมูลดังกล่าวทำให้ การจัดการความรู้เป็นทางลัดในการพัฒนาบุคลากรที่เกิดขึ้นจริง ตามตัวแบบต่าง ๆ ที่มีอยู่และสัมผัสได้  และส่วนหนึ่งกำลังพลของเรามีฐานในการทำงานส่งเสริมการเกษตรที่แบ่งระดับความยาก-ง่าย ได้   การจัดงานและการจัดคนที่เหมาะสมสามารถทำได้  ตลอดจนการยกระดับสมรรถนะของบุคลากร (เจ้าหน้าที่และเกษตรกร) ก็จะเร็วขึ้น ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับการวางเป้าหมายงานว่า ต้องการอะไร? จริง ๆ และ ต้องการคนที่ทำอะไรเป็นบ้าง? จำนวนเท่าไหร่  เท่านั้นเอง.
หมายเลขบันทึก: 50313เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2006 08:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
อยากกินเอ็มเค.อ่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท