ลปรร. เรื่องการจัดการความรู้ ของกองทันตฯ (2) ... KM กับงานกลุ่มเด็กปฐมวัย ... บันทึกการทำงานกลุ่มเด็กเล็ก


แม่ลูกฟันดี 102 ปี สมเด็จย่าขึ้น โดยโครงการนี้มีแนวคิดที่ว่า จะให้มีระบบการดูแลเด็กอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่หญิงตั้งครรภ์ ไปจนถึงเด็กอายุ 3 ปี

 

หมอศรี (ทพญ.ศรีสุดา ลีละศิธร) หยิบยกเรื่องราวที่จะมาคุยเรื่องงาน KM กันในเรื่อง การทบทวน ... บันทึกเรื่องราวการทำงานของกลุ่มเด็กเล็กค่ะ

กลุ่มเด็กเล็กทำงานในเรื่องของการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในแม่และเด็ก เริ่มต้นชัดเจนในปี 2535 มีแผนลงทำในงานแม่และเด็ก ทำใน 3 ส่วน คือ

  1. ในหญิงตั้งครรภ์
  2. เด็ก 0-2 ปี ... WBC
  3. เด็ก 3-5 ปี … ศูนย์เด็กเล็ก

ในหญิงตั้งครรภ์นั้นมีกิจกรรมหลักๆ ก็คือ

  • การตรวจสุขภาพในช่องปาก
  • การให้คำแนะนำการดูแลสุขภาพช่องปาก การแปรงฟัน (ตอนหลังจะมีเรื่องของ Palque control เข้าไปด้วย) และ
  • การให้บริการรักษาตามความจำเป็น
    โดยยึดระบบ ANC ... การฝากครรภ์ในสถานพยาบาลเป็นหลัก

ในเด็กเล็ก 0-2 ปี ยึดสถานบริการที่เป็น setting ของ WBC – Well Baby Clinic หรือคลินิกเด็กดี
งานบริการที่ให้ ได้แก่

  • เรื่องของการตรวจช่องปากเด็กเล็ก
  • ให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพช่องปาก การแปรงฟัน การบริโภค
  • การฝึกแปรงฟัน ซึ่งปัจจุบันกำหนดว่า เวลาที่เด็กมาฉีดวัคซีน ให้ฝึกให้ผู้ปกครองแปรงฟันให้เด็กด้วย ... เพราะเราได้พบว่า เด็กได้รับการแปรงฟันน้อยมาก และตรงนี้เป็นตัวหลักที่ทำให้เกิดฟันผุในเด็ก และ
  • เรื่องของบริการทันตกรรมป้องกัน ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่องของฟลูออไรด์

ในเด็ก 3-5 ปี เราทำที่ศูนย์เด็กเล็ก มีกิจกรรม 2 อย่าง คือ

  • การจัดกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน
  • การควบคุมการบริโภคอาหารในกลุ่มเด็ก

หลังจากที่ได้ดำเนินการไประยะหนึ่ง ก็มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ในช่วงปี 2536-2548 ได้จัดทำกิจกรรม แม่ลูกฟันดี 102 ปี สมเด็จย่าขึ้น โดยโครงการนี้มีแนวคิดที่ว่า จะให้มีระบบการดูแลเด็กอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่หญิงตั้งครรภ์ ไปจนถึงเด็กอายุ 3 ปี ด้วยมองว่า ที่ผ่านมาเด็กที่มา WBC มารับวัคซีน จะได้รับบริการส่งเสริมสุขภาพช่องปากเป็นครั้งๆ ไป และไม่ได้รับบริการอย่างต่อเนื่อง ทำให้เรื่องของระบบการดูแลตรงนี้ไม่ดี จึงมีการมาคิดว่า ในโครงการแม่ลูกฟันดี เราจะสามารถทำให้เกิดระบบการบริการอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มตั้งแต่หญิงตั้งครรภ์มาฝากท้อง มีระบบการลงทะเบียน และตามเด็กไปจนถึงอายุ 3 ปี

และอีกประการหนึ่ง ต้องการให้เกิดความมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ที่ทำงานเกี่ยวกับเด็ก ไม่ว่าจะเป็น ทีมทันตฯ เจ้าหน้าที่ฝ่ายอื่นๆ และเครือข่ายข้างนอกด้วย

สิ่งที่เป็นข้อกำหนดเสริม ที่ได้เกิดขึ้นอีกอย่างหนึ่งพร้อมๆ กันนี้คือ เมื่อกรมอนามัยกำหนดเกณฑ์ขั้นพื้นฐานของศูนย์เด็กเล็ก ว่า จะต้องมีกิจกรรมการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันทุกวัน ในหลังปี 2547 จึงพบว่า ที่ศูนย์เด็กเล็กมีกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันสูงขึ้นมากด้วย

จาก 3 ปีที่ได้ทำโครงการแม่ลูกฟันดี พบว่า เด็กเล็กได้รับบริการเพิ่มมากขึ้นในเรื่องของการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก เด็กได้รับการตรวจ ทันตกรรมป้องกันเพิ่มมากขึ้น

นี่เป็นภาพกว้างๆ และอีกส่วนหนึ่งที่ได้พบคือ เราพบว่า ... จากผลพวงแนวคิดของโครงการแม่ลูกฟันดี

  1. มีการดูแลอย่างต่อเนื่อง และการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายนี้ มีการพัฒนาให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมขึ้น ในหลายๆ พื้นที่
  2. มีการขยายไปถึงศูนย์เด็กด้วย และมีบางจังหวัด เขาก็ทำเรื่องของการรณรงค์ให้สอดคล้องกับเรื่องนี้ เป็นกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง และต่อยอดโครงการแม่ลูกฟันดี

นี่เป็นประเด็นนำของกลุ่มเด็กเล็ก ที่จะระดมกลุ่มผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่มาคุยกันต่อละค่ะ (ติดตามตอนต่อไปนะคะ)

 

หมายเลขบันทึก: 50312เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2006 07:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 09:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท