ทุนทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของกลุ่มยุทธศาสตร์ภาคเหนือตอนล่าง กลุ่มที่ 1


ทุนทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และธรรมชาติ

ที่เขียนมานี้อยากจะบอกว่าตอนนี้ (วันที่13 16 กันยายน 2549)มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามพิษณุโลกกำลังจัดการศึกษาเพื่อการท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์เชิงอนุรักษ์ขึ้นที่โรงแรมไพลิน จังหวัดพิษณุโลก โดยศึกษาค้นคว้าทุนทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของกลุ่มยุทธศาสตร์ภาคเหนือตอนล่าง กลุ่มที่ 1ประกอบไปด้วยจังหวัดตาก สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และอุตรดิตถ์ เพื่อช่วยกันเติมเต็มข้อมูลหลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้นทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ตลอดจนแหล่งทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการท่องเที่ยวประวัติศาสตร์เชิงอนุรักษ์ โดยใช้ชื่อเรื่องว่า "ทุนทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และธรรมชาติ"

 ซึ่งผู้ที่เข้าร่วมประชุมประกอบไปด้วยประชาชน ผู้รู้ ปราชญ์ชาวบ้าน ข้าราชการ นักวิชาการ จำนวนจังหวัดละ 50 คนของเจ้าบ้านพิษณุโลกเอง 250 คน รวม 5 จังหวัดได้ 450 คน โดยมีทีมวิทยากรจากมหาวิทยาลัยนเรศวร และมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามเป็นแกนหลัก

 

โดยมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับ สถานการณ์การท่องเที่ยวโดยชุมชนในประเทศไทยและทิศทางการดำเนินงานของชุมชน  ทุนทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมต่อการท่องเที่ยวในชุมชน  การเปรียบเทียบและการพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว  การพัฒนาเครือข่าย

  • โดยทีมวิทยากรที่มีคุณภาพคับแก้วและมีการประชุมกลุ่มย่อยเพื่อเติมเต็มข้อมูลทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของกลุ่มจังหวัด 5 จังหวัดด้วย......

 

 

  • บรรยากาศในการทำกลุ่มสนุกสนานมากได้ข้อมูลเพิ่มเติมจากเดิมที่มีอยู่ในหลักสูตรอีกมากมาย และยังได้ทราบว่าองค์ประกอบสำคัญของการท่องเที่ยวนั้นจะต้องมีสิ่งดึงดูดใจทั้งเหตุการณ์ สถานที่ และกิจกรรม มีความสะดวก มีการขนส่งเข้าถึง มีของแปลก ใหม่ โดดเด่น เป็นเอกลักษณ์ น่าซื้อ น่าใช้ ประทับใจ มีศักดิ์ศรีของความเป็นคนไทย และแหล่งท่องเที่ยวจะมีแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์  แหล่งท่องเที่ยวทางศาสนสถาน  แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์  แหล่งท่องเที่ยวเชิงกีฬา  แหล่งท่องเที่ยวทางเกษตร  แหล่งท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิตของชุมชน โดยให้ความหมายของคำในที่นี้ไว้ดังนี้.........ความหมายของวัฒนธรรม(ตามหลักการส่งเสริมและพัฒนาวัฒนธรรม พ.ศ.2539)
  •   วัฒนธรรม คือ วิถีชีวิตของมนุษย์ ที่มีการสั่งสมเลือกสรร ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง ใช้เป็นเครื่องมือและแนวทางแก้ปัญหา รวมทั้งเพิ่มสุขในสังคม
  • วัฒนธรรม คือ มรดกของสังคม ที่บรรดาสมาชิกยอมรับนำมาปรับให้เป็นแบบแผนของวัฒนธรรมของสังคมนั้นๆ
  • วัฒนธรรม คือ สิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลงปรับปรุง หรือสร้างขึ้นมาเพื่อความเจริญงอกงาม ตอบสนองความต้องการของสังคมที่ดีกว่าเพื่อให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพตามยุคสมัย

     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานไว้เมื่อ พ.ศ.2513 ว่า การรักษาวัฒนธรรม คือ การรักษาชาติ” ดังนั้นคนไทยทุกคนจึงมีวัฒนธรรมไทยเป็นสมบัติร่วมของชาติ ที่ทำให้คนไทยมีชีวิตที่มีคุณภาพ มีคุณค่า และมีความสุข ทุกคนต้องร่วมมือกันดำเนินการปลูกฝังและสร้างเสริมการอนุรักษ์หนทางวัฒนธรรมของพวกเราไว้” <table border="0" cellspacing="0" cellpadding="0" width="100%"><tbody><tr><td style="background-color: transparent; border: #ece9d8"><div class="shape" style="padding-right: 7.2pt; padding-left: 7.2pt; padding-bottom: 3.6pt; padding-top: 3.6pt"> <table border="0" cellspacing="0" cellpadding="0" width="100%" class="MsoNormalTable" style="width: 100%"><tbody><tr><td style="background-color: transparent; border: #ece9d8; padding: 0cm"><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p></td></tr></tbody></table>   </div></td></tr></tbody></table>  <ul><li><div class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt">  ปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นในสังคมไทยนั้นเกิดจากการที่ทุกภาคส่วนไม่ปฏิบัติตามบทบาท สิทธิ หน้าที่ การมีส่วนร่วม และความรับผิดชอบร่วมกันอย่างถูกต้องและครบถ้วน นั่นเอง </div></li></ul>           วิธีการรณรงค์เพื่อปลูกฝังให้ทุกภาคส่วนร่วมกันปฏิบัติได้แก่ <ol> <li class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt"> สร้างปัญญาให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในคุณค่าความสำคัญของการปฏิบัติหน้าที่ ตามบทบาท ความรับผิดชอบของตนเองอย่างถูกต้อง และครบถ้วนสมบูรณ์ </li> <li class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt"> สร้างจิตสำนึก ให้เกิดความพร้อมความพึงพอใจ และความเต็มใจ ที่จะปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทความรับผิดชอบของตนอย่างถูกต้องและครบถ้วนสมบูรณ์ </li> <li class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt"> สร้างพฤติกรรม ด้วยการลงมือประพฤติปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทความรับผิดชอบของตนจนเป็นวิถีชีวิตปรกติ </li> </ol><p> ในวันสุดท้ายคือวันนี้ก็มีการเดินทางไปชมเขาสมอแคลงแหล่งประวัติศาสตร์อีกที่หนึ่งของจังหวัดพิษณุโลกด้วย  </p><ul><li>และยังมีการสรุปสั้นๆว่า การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมนั้นเป็นการท่องเที่ยวเพื่อชมสิ่งต่างๆที่แสดงความเป็นวัฒนธรรม ได้แก่ วิธีการดำเนินชีวิต ประเพณี ศิลปะทุกแขนง วัดวาอาราม ปราสาทราชวัง และสิ่งที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองที่มีการพัฒนาให้เหมาะสมกับวิถีการดำเนินชีวิต เป็นการนำความสง่างามของวัฒนธรรมซึ่งเป็นรากเหง้าของแต่ละท้องถิ่นขึ้นมาอนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนา และเผยแพร่ให้แก่รุ่นหลังและผู้มาเยี่ยมเยียน ได้รู้จักมรดกวัฒนธรรมที่มีคุณค่าทำให้เกิดความภาคภูมิใจและธำรงรักษาศิลปวัฒนธรรม และยังสามารถพัฒนาไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มในทางเศรษฐกิจชุมชนด้านการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในอนาคตได้ด้วย</li></ul><p align="center"></p><p align="center"></p>

คำสำคัญ (Tags): #วัฒนธรรม
หมายเลขบันทึก: 50308เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2006 02:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท