ทำงานชุมชน แต่ไม่รู้จักชุมชน ได้ยังไง?


แผนที่เดินดิน ความสำคัญมิได้อยู่ที่การเขียนแผนที่ทางกายภาพให้สมบูรณ์ครบถ้วนลงในกระดาษ แต่สำคัญที่การไปดูให้เห็น และเข้าใจความหมาย และ "หน้าที่ทางสังคม " (Social meaning และ social function) ของ "พื้นที่ทางกายภาพ"(Physical space) เหล่านั้น

วันที่ ๑๕ ช่วงบ่าย

ผมได้นำเสนอข้อมูลพื้นฐานบ้านแม่ปิง และบ้านห้วยแก้ว ที่โบสถ์คริสต์กลางหมู่บ้าน...

บรรยากาศที่พรั่งพร้อมด้วยชาวบ้าน กรรมการหมู่้บ้าน และกลุ่มต่างๆที่อยู่ในชุมชน  นักศึกษาปริญญาโทส่งเสริมสุขภาพ มช.

การนำเสนอข้อมูลเป็นข้อมูลพื้นฐาน และแผนชุมชนที่ทางชุมชนได้จัดทำไว้เป็นเบื้องต้น เป็นข้อมูลในการดำเนินงานต่อของนักศึกษาในช่วง ๒ - ๓ วันนี้

หลังจากแดดร่มลมตก...นักศึกษาได้แบ่งกลุ่ม เพื่อลงไปจัดทำแผนที่เดินดิน กับพี่น้องกระเหรี่ยงที่ช่วยนำทางในหมู่บ้าน เห็นภาพการหยอกล้อ ระหว่างนักศึกษา กับชาวบ้านด้วยท่าทีที่เป็นมิตรอย่างเป็นธรรมชาติ ก็รู้สึกชื่นใจ ...คิดต่อไปว่า กระบวนการทำงาน ในวันสองวันนี้ คงจะประสบความสำเร็จตามที่เราตั้งวัตถุประสงค์ไว้

ว่ากันต่อเรื่อง..การทำแผนที่เดินดิน 

ปัญหาที่เราพบในการทำงานชุมชน เราพบว่า...นักพัฒนาชุมชน

  • รู้จักชุมชนทั่วถึงต้องใช้ระยะเวลานาน
  • รู้จักชุมชนไม่ทั่วถึง รู้จักเฉพาะบ้านที่เราไปติดต่อด้วยบ่อยๆ เช่น บ้าน ผญบ. บ้าน อสม. เป็นต้น
  • รู้จักชุมชนไม่ทั่วถึง ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นศึกษาชุมชนอย่างไร จึงจะครอบคลุมในระยะเวลาอันสั้น

แสดงให้เห็น "ทำงานชุมชน แต่ไม่รู้จักชุมชนอย่างแท้จริง"

การทำงานชุมชนให้ง่ายนั้น อาจเริ่มจากการทำ "แผนที่เดินดิน" เพราะการทำแผนที่เดินดินเปรียบเสมือนบันใดขั้นแรกที่สำคัญที่สุด ที่นำไปสู่ความเข้าใจชุมชน ด้วยวิธีการง่ายๆและใช้เวลาไม่มากนัก

เป้าหมายสำคัญของ "แผนที่เดินดิน" ๓ ประการ

  • ทำให้เห็นภาพรวมของชุมชนครบถ้วนที่สุด
  • ทำให้ได้ข้อมูลในระยะเวลาสั้นที่สุด
  • ข้อมูลมีความเชื่อถือมากที่สุด เพราะได้จากการสังเกตของตนเอง

แผนที่เดินดิน ความสำคัญมิได้อยู่ที่การเขียนแผนที่ทางกายภาพให้สมบูรณ์ครบถ้วนลงในกระดาษ แต่สำคัญที่การไปดูให้เห็น และเข้าใจความหมาย และ "หน้าที่ทางสังคม " (Social meaning และ social function) ของ "พื้นที่ทางกายภาพ"(Physical space) เหล่านั้น

 

พื้นที่เดินดิน จึงเป็น แผนที่ที่มีชีวิต เห็นภาพรวมของ "วิถีชีวิต" คนในชุมชนมากกว่าเห็นภาพบ้าน และจำนวนหลังคาเรือน นำไปสู่การเข้าใจมิติอื่นๆของชุมชน มองปรากฏการณ์ต่างๆได้อย่าวลึกซึ้ง

แผนที่เดินดินจึงต้องลงไปเดินเท้า เพื่อสำรวจสิ่งเล็กๆน้อยๆ ที่เป็นรายละเอียดของชุมชน บันทึกลงไปในแผนที่ด้วย

 


นักศึกษา แบ่งกลุ่มอย่างสนุกสนาน และแยกย้ายกันเดิน ตามซอกซอย พร้อมด้วยไกด์นำทางซึ่งเป็น บรรดาพี่น้องชาวกระเหรี่ยงเจ้าบ้าน เป็นความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในระยะเวลาที่รวดเร็ว…ที่ผมเห็น <p> </p><h3>แดดค่อนข้างร้อน </h3><p>นักศึกษาค่อนข้างเหนื่อยพอสมควร </p><p style="background-color: #ffff00">แม้ผมจะเห็นว่า น้องนักศึกษาสาวสวย ชุดสีสดใส กางร่ม สวมแว่นตากันแดด ทาครีมกันแดดกันหนาเต๊อะ ….ดูจะขัดๆกับ วิถีนักพัฒนาที่ลุยในชุมชน</p><p>แต่ก็ ไม่เป็นไรครับ!!! </p><p>“นักพัฒนา” ที่รักสวยรักงาม บ้าง ก็ไม่แปลก อย่างน้อย ก็เจริญหูเจริญตาดีครับ!!! </p><p> </p><hr width="100%" size="2">รายละเอียด การทำแผนที่เดินดินบางส่วน จาก อาจารย์ หมอ ดร.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ <p> </p><p>ภาพจาก http://mylesson.swu.ac.th </p><p> </p><p> </p>

หมายเลขบันทึก: 50311เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2006 07:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)
อ่านแล้วรู้สึกว่าการทำงานกับชุมชนนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ  ต้องอาศัยความอดทน   ความเข้าใจ  ตลอดจนวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น    เห็นทำงานกันเหน็ดเหนื่อยขนาดนี้  เอาใจช่วยครับ....พี่ชาย
ท่าทางสนุกน่ะครับพี่ ปีที่แล้วเราไปกันที่หมู่บ้านสันติชล หลังจากเหตุการณ์น้ำหลากจากดอยลงมาได้ไม่กี่เดือน เราได้อะไรกลับมาคิดเยอะมาก และปีนี้น้อง ๆ คงได้ประสบการณ์ที่ดีกลับมาอีกเช่นกัน เรื่องที่พี่เล่ามาไม่ต่างกับปีที่ผ่านมาครับ บางคนลุย บางคนไฮโซนิดนึง บางคนไปด้วยใจ บางคนไปด้วยบังคับ (ใจ) แต่ประสบการณ์เช่นนี้ไม่ได้หาได้ง่าย ๆ เลยครับ สำหรับการทำงานพัฒนาระดับพื้นที่เช่นนี้ แต่หากนักวิชาการได้มีโอกาสลงไปสัมผัส และรู้จักเชื่อมโยงความสลับซับซ้อนภายใต้บริบทชุมชนที่แตกต่างและมีความสลับซับซ้อน และขณะคิดว่าน้อง ๆ ส่งเสริมสุขภาพของเราคนกำลังสนุกและคิดกันอย่างเข้มข้น ณ พื้นที่จริง รวมทั้งฝากสวัสดี รศ.มนัส ยอดคำ ที่ลุยนำน้อง ๆ เราไปด้วยน่ะครับ สุภัทร

กะปุ๋มคนหนึ่งล่ะคะ...ที่เป็นนักทฤษฎี...มาตลอด...แลเพิ่งมาลงสู่การปฏิบัติ...คลุกกับงานและพื้นที่...ในช่วงปีหลังนี่เอง...ยังคงเป็นน้องใหม่สำหรับการทำงานกับชุมชน...และมีพี่เลี้ยงคอยดูแลด้วยความห่วงใย...หากแต่เราไปด้วยความเป็นตัวตนของเรา...อย่างจริงใจ...จึงค่อนข้างเข้ากับชุมชนได้...และอีกอย่างเป็นคนลุยๆ อยู่แล้ว...อย่างไรก็ตามก็จะแอบมาแบบเปิดเผย...การเรียนรู้วิถีสู่ชุมชนจากคุณเอกนี่แหละคะ...

*^__^*

ขอบคุณคะ

กะปุ๋ม

 

chah ก็ได้อ่านหนังสือของ หมอโกมาตร (วิถีชุมชน)ซึ่งหนังสือที่ทำให้การเข้าหาชุมชนได้ดีมาก อ่านหลายรอบไม่น่าเบื่อเลยค่ะ

แผนที่เดินดินเป็นเส้นทางบอกผู้ที่ไม่รู้จักชุมชนนั้นได้ดี เป็นบันไดขั้นแรกอย่างที่อาจารย์บอกค่ะ

(อ่านบทความแล้วรู้สึกเหมือนตัวเองได้ไปร่วมอยู่ตรงนั้นเหมือนกัน..นึกถึงที่ตัวเองได้ลงพื้นที่ครั้งแรก)

ให้กำลังใจอาจารย์และนักศึกษาทุกคนค่ะ

  • ขออนุญาตแวะเข้ามาเยี่ยมชม : ดีมากเลยที่มีกระบวนการของอาจารย์ หมอ ดร.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์เป็นต้นแบบ
  • การดูแลชุมชนแบบการทำงานกับชุมชนนั้นจะว่ายากก็ยากจะว่าง่ายก็ง่าย มันขึ้นอยู่กับบริบท และการฝังตัว สัมพันธภาพ ของตัวผู้ที่จะเข้าไปในชุมชนว่าต้องการอะไรจากชุมชน ????ชุมชนเมืองก็แบบหนึ่ง กึ่งเมืองก็แบบหนึ่ง ชนบทก็อีกแบบหนึ่ง....ใช่มั๊ย!!!!
  • การเข้าไปเพื่อศึกษาวิถีชีวิต วิถีชุมชน นั้นเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ประชาชนส่วนใหญ่เขาคิดว่าพวกเราเข้าไปเพื่อเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ด้านข้อมูลจากพวกเขามากกว่าที่จะเข้าไปด้วยใจ ต้องการให้พวกเขาเข้าร่วมกิจกรรมจนบางครั้งพวกเขาพูดว่าจะให้ทำแต่กิจกรรมที่พวกเราขออย่างเดียวนั้นคงไม่ได้เพราะปากท้องมันหิว เงินทองต้องหาไม่มีเวลาๆๆๆ....
  • ดีใจด้วย...ที่น้องๆนักศึกษาได้ผู้ดูแลที่เข้าใจวิถีชุมชนและสิ่งที่สำคัญต้องเข้าใจวัฒนธรรมชุมชนด้วยน่ะ!!!!!!!
  • การศึกษาชุมชน ถ้าจะให้ได้ผลที่ดีนั้นต้องรับฟังในสิ่งที่เขาบอกเราแล้วนำมาใส่สมองของเรา แล้วสังเคราะห์เมื่อสังเคราะห์ได้แล้วต้องนำไปใส่ในเท้าของคนในชุมชนให้ได้เพื่อให้เขาก้าวเดินไปในเส้นทางที่ถูกต้อง

ผมเพิ่งกลับจากการประชุมร่วมกับนักศึกษาหลังจากงานเสร็จในแต่ละวัน เหนื่อยแต่สนุกสนานครับ

เวลามีคุณค่ามาก...บรรยากาศแห่งการเรียนรู้ทั้งในชุมชนและกลุ่มนักศึกษาเอง

กลับมาถึงบ้านตอนเกือบสี่ทุ่ม ...พบพัสดุวางบนโ๊ต๊ีะทำงาน จากมิตรที่น่ารักใน Gotoknow หายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้งครับ

ผม...ขอขอบคุณจากใจ สำหรับเจ้าของพัสดุชิ้นนี้ครับ

"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""" 

น้องชาย : สิทธิเดช กนกแก้ว

การทำงานชุมชนเป็นเรื่องง่ายหากเปิดใจ...เข้าใจ เข้าถึง  แต่หากทำงานชุมชนด้วยใจอคติ ...ทำงานยากและลำบากมากครับ

ขอบคุณครับ น้องชายของผม 

..........................................................

 สุภัทร

ในการสนทนาหลายครั้ง เรามีชื่อของ "สุภัทร" เข้ามาในวงสนทนาด้วยครับ.. 

ปีนี้น้องๆดุสนุกสนานครับ...แดดแรงหน่อยแต่ก็สู้ไม่ถอยด้วย Anti UV  50 ครับ...

ผมพาคณะไปทานอาหารค่ำที่ "สันติชล" ด้วยครับ จากนั้นก็พาเดินเที่ยวในชุมชนก่อนที่จะกลับไปที่พัก อิ่มอาหารและสนุกกับการพักผ่อนด้วยครับ

ผมแนะนำเรื่อง "Blog" ด้วย แน่นอนว่า เราคุยเรื่องของ "สุภัทร" ด้วยครับ

อีกไม่นานเราจะมี Weblog ที่เป็น "ส่งเสริมสุขภาพ มช." เป็นชุมชนใหญ่ครับ 

ช่วยกันนะครับ "สุภัทร" 

............................................................

Dr.Ka-Poom

ในการทำเวทีชุมชน เราได้ประเด็นที่น่าสนใจเรื่อง "สุขภาพจิต" ด้วย  ...ทำให้ผมนึกถึง Dr.ka-poom โดยทันทีครับ

งานชุมชนสนุกและได้เรียนรู้ พัฒนาตนเองเสมอครับ

................................................................

คุณ Chah 

หนังสือของอาจารย์หมอโกมาตร เป็นแนวทางในการเข้าใจชุมชน สำหรับเรียนรู้ชุมชนให้ทำให้งานชุมชนง่าย ได้ผล ที่สำคัญสนุกด้วยครับ

ขอบคุณครับที่ติดตามและให้ข้อคิดเห็นเสมอครับ

.......................................................................

คุณ Kead

รุ่นน้องที่เป็นพยาบาล ทำบทบาทวิทยากรกระบวนการได้ดีมากครับ... ผมทึ่งมาก

อย่างที่บอกไปครับว่า "ทัศนคติ" ของคนทำงานชุมชนสำคัญครับคุณ kead หากมีทัศนคติที่ดีต่อชุมชน ก็จะรู้สึกสนุก และเรียนรู้ร่วมกัน...สนุกและได้ผลด้วยครับ

 การทำงานกับชุมชนต้องยึดหยุ่นครับ เรื่องเวลาสำคัญ เราต้องยึดหยุ่นตามชาวบ้านครับ การเข้าหาข้อมูล คือ การเยี่ยมเยียนด้วยมิตรไมตรี

 ทั้งหมดคือการเรียนรู้ร่วมกันระหว่าง นศ. กับ ชุมชน เราอยากให้เกิดการเรียนรู้ระหว่างกัน เรียนรู้กระบวนการ และ สานสัมพันธ์ระหว่า่งกัน

งานนี้ได้กับได้ครับ Win Win ครับ

ขอบคุณที่มาเยี่ยมและให้ข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์

ติดตามกันต่อไปครับ พันธมิตรทางปัญญา... 

 

  • ขอบคุณสำหรับการถ่ายทอดวิธีทำ แผนที่เดินดิน ชุมชน ที่เป็นฐานสำคัญสำหรับการทำงานในชุมชนที่ดี

ได้นำเสนอเพียงส่วนหนึ่งเองครับอาจารย์ Panda ครับ

แผนที่เดินดิน เป็นแผนที่ที่มีชีวิต และใช้ในการทำงานได้มากกว่าแผนที่ครับ

ขอบคุณอาจารย์ Panda ครับ 

เข้ามาชื่นชม คนหนุ่มรุ่นใหม่ทีมีไฟแห่งศรัทธา เพื่อคนที่ด้อยโอกาสกว่า

ตนเองอยู่ในเมือง อยู่ในที่ที่เขาเรียกว่าหอคอยงาช้าง ได้รับรู้เรื่องราวที่มีคุณค่าแบบนี้จากคนรุ่นใหม่ ซึ่งคนใน generation นี้ มีสิ่งยั่วยวนมากมาย แต่ก็ยังศรัทธาในวิถีแห่งคุณค่า  เป็นสิ่งที่ช่วยเติมพลังใจพลังกายที่จะทำเพื่อคนอื่นมากยิ่งขึ้น  ขอบคุณค่ะ

ได้กำลังใจเติมเต็มจากอาจารย์หมอปารมี...ในเช้าวันแห่งพลังใจวันนี้ครับ ...ศรัทธารังสรรค์พลังให้ก่อเกิด ทำสิ่งหนึ่งยิ่งใหญ่เพื่อสังคม(ในความรู้สึกตัวเอง)

ผมเปรียบเสมือนตัวเอง เป็นคนเก็บปลาดาวเล็ก ริมหาดในเช้าอันสดใสคาดว่าน่าจะเป็นวันแดดร้อน

วันนี้ แดดร้อนจริงๆครับอาจารย์!!! ปลาดาวที่ผมเพียรโยนลงในทะเล..อาจได้ไม่กี่ตัว แต่ผมดีใจที่ปลาดาวเหล่านั้นมีชีวิตรอด

ขอบคุณอาจารย์หมอมากครับ ...สำหรับกำลังใจที่ดีครับ 

โชติรักษ เพ็งเอี่ยม

ผมกำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 1 ครับ

สาขา การพัฒนาชุมชน

แล้วอาจารย์

ให้ทำแผนที่เดินดินครับ

แต่ผมเริ่มไม่ถูกครับ ผมต้องเริ่มยังไงดีครับ

ช่วยตอบทีครับ

ตอบมาทางเมลผมก็ได้ครับ

[email protected]

ศุภัสรา ชูร่ม น้องอาร์ค่ะ

สวัสดีค่ะอ.เอก น้องอาร์เองค่ะจากรพ.คลองท่อมที่เคยได้มีโอกาสร่วมทำกิจกรรมด้านการพัฒนาถอดบทเรียนต่างๆ พอดีได้ไปบรรจุที่รพสต.ก็เลยได้มาศึกษาด้านชุมชน รู้สึกดีใจค่ะที่ได้มาเจอบทความดีๆจากอาจารย์อีกครั้งค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท