ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง


ชาวบ้านจะขึ้นไปชม ความมหรรศจรรย์ ของธรรมชาติกับ ตัวปราสาท คือ พระอาทิตย์ จะโผล่ขึ้น สามารถมองเห็นทะลุตรงช่องประตู ทั้ง ๑๕ ช่อง ของปราสาท

ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง

 

 

            “เมืองปราสาทหิน ถิ่นภูเขาไฟ ผ้าไหมสวย รวย วัฒนธรรม”   

          เมืองบุรีรัมย์ ดินแดนแห่งความรื่นรมย์ ตราประจำจังหวัดบุรีรัมย์ รูปเทวดา รำบนปราสาท จำได้ดี เพราะ ใช้ติดผ้าพันคอ ลูกเสือ ที่แสด ต้นไม้ประจำเมือง บุรีรัมย์ คือต้นแปะ เมืองบุรีรัมย์ จึงมีชื่อเรียกแต่ ดั้งเดิมว่า เมือง แปะ ที่บ้านผู้เขียน นำมาปลูกเป็นไม้กระถาง ๑ ต้น

            ผู้เขียนเป็นคนบุรีรัมย์ แต่ไม่มีโอกาสไปเที่ยวงานประเพณี “ขึ้นเขา พนมรุ้ง”  ซึ่งเป็นประเพณีที่มีชื่อเสียงของบุรีรัมย์ ปีนี้ได้ไปโดยไม่ได้ตั้งใจ โชคดี เพราะ ตรงวันที่เข้าจัดพิธีเปิด งานขึ้นเขาพนมรุ้ง ที่มีผู้หลักผู้ใหญ่ มาเป็นประธานในพิธีเปิด  

            การเดินทางไปพนมรุ้ง จากตัวอำเภอบุรีรัมย์ สามารถใช้ได้สองเส้นทาง คือบุรีรัมย์-ประโคนชัย และ บุรีรัมย์ - นางรอง ประมาณ ๗๖-๗๗ กิโลเมตร การไปครั้งนี้ ใช้เส้นทาง นางรอง

           ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งของจังหวัดบุรีรัมย์ จะจัดขึ้นทุกปี ในเดือนเมษายน แต่ผู้เขียนไม่มีโอกาสได้ไป เพราะไม่สะดวก ยังไม่มีรถส่วนตัว ระยะทาง ไปกลับเกือบ ๓๐๐  กว่ากิโลเมตร อีกประการ ก็เพราะ เคยไปเที่ยวหลายครั้ง แต่ไปวันธรรมดาที่ไม่มีประเพณี ตั้งแต่ยังไม่เก็บค่าชม ยังไม่มีร้านค้า เป็นพนมรุ้ง แบบพนมรุ้ง ของเดิม มาทราบในเร็ว ๆ นี้ว่าประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง เข้าจะจัดใน วัน เสาร์-อาทิตย์ แรกของเดือน เมษายน ของทุกปี สืบเนื่องมาจาก สมัยก่อน จะมีรูปจำลองพระพุทธบาท ชาวบ้านในละแวกนั้นจะขึ้นมาบูชา ในวันขึ้น ๑๕ คำ และชาวบ้านจะขึ้นไปชม ความมหรรศจรรย์ ของธรรมชาติกับ ตัวปราสาท คือ พระอาทิตย์ จะโผล่ขึ้น สามารถมองเห็นทะลุตรงช่องประตู ทั้ง ๑๕ ช่อง ของปราสาท ตัวปราสาท จะหันหน้าไปทางด้านทิศตะวันออก (วันที่ ๓-๕เมษายน และ๘-๑๐ กันยายน ของทุกปี ขึ้นตรงทะลุ ๑๕ ช่องประตู  กับ ๖-๘ มีนาคม แล ๖-๘ ตุลาคม ของทุกปีตกตรง ทะลุ ๑๕ ช่องประตู"http://th.wikipedia.org/w/index.php?title=อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง&oldid=4192429".)

 

          ภาพพระอาทิตย์ขึ้น สามารถมองทะลุ ๑๕ ช่องประตูของปราสาท

    (ผู้เขียนถ่ายจากภาพ ที่เขานำมาจัดนิทรรศการในงานประเพณีอีกครั้งหนึ่ง)

 

             มาทราบว่าเขาจัดประเพณีขึ้นเขาในวัน เสาร์-อาทิตย์ แรกของเดือนเมษายน ของทุกปีครั้งที่ไปเที่ยวล่าสุดเมื่อวัน ๑๒ สิงหาคม วันแม่ที่ผ่านมา พาญาติ ๆ ไปเที่ยว

 

          แต่ก่อนไม่เสียค่าผ่านประตู เดี๋ยวนี้เขาเก็บ คนละ ๒๐ บาท แต่ผู้สูงอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป ลดครึ่งราคา แต่ที่สวนสยาม ผู้สูงอายุ ฟรี ทั้งพนมรุ้ง และ ปราสาทเมืองต่ำ เจ้าหน้าที่ไม่เชื่อ ว่าผู้เขียน อายุไม่ถึง ก็แอบภูมิใจนิด ๆ อิอิ แม่ค้าที่ตลาดที่บ้านก็ไม่เชื่อว่าผู้เขียนเกษียณ เห็นหน้าที่ไร หาว่าผู้เขียน โดดสอน “ครูไม่ไปโรงเรียนอีกแล้ว...โดดอีกแล้ว...

 

            เมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๕๕  ผู้เขียนได้ร่วมพิธีเปิดงานโดยบังเอิญ เพราะงานมีมาหลายวัน จวนปิด แต่มาทำพิธีเปิดวันหลัง เพราะ คนที่เป็นประธาน ไม่ว่าง จึงเลื่อนไปให้ตรงวันว่าง หากประธานเปิด ว่างวันสุดท้ายก็จะดี นะ เพราะทั้งปิดเปิดพร้อมกันเลย  ได้ยินมาว่าเชิญนายก แต่นายกไม่ว่าง เลยส่งตัวแทน นัยว่าเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ ในกระทรวงสาธาฯ จำชื่อไม่ได้ว่าเป็นใคร เพราะวันนั้น พิธีกร พูดไม่ชัด ระบบเสียง ไม่รู้ว่าดี หรือไม่ดี เสียงดังมาก ฟังในที่ โล่ง แต่งเสียง(แอ๊กโค) ด้วยครับ ไม่รู้เรื่อง  ความดังใช่ว่าจะ ฟังชัด ต้องพอเหมาะ

            นับว่าเป็นบุญตา เขาจัดได้ยิ่งใหญ่อลังการณ์ จริง ๆ  ที่บอกว่า โดยบังเอิญ เพราะไม่ได้ตั้งใจ ไปเที่ยว ที่จริงแล้ว จะไปทานข้าวเที่ยงที่ อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม กับลูกหลาน  เสร็จ จึงไปเที่ยว ต่อที่อำเภอสตึก ไปซื้อปลา ผู้เขียนชอบทานปลาเป็นพิเศษ ที่ ปากทางจะไป อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ก่อนจะถึงสตึก มีตลาดปลา วันนั้นได้ปลาดุก ที่แม่ค้า ทำแล้ว เนื้อเหลือง ปลาดุกนา ก็เลยให้แม่ค้า ใส่เกลือให้ จะทำปลาแดดเดียว กำชับอย่าทำเค็ม ปรากฏว่า เค็มมากครับ ทานไม่ได้ ทำปลาร้าก็ไม่ได้ เพราะ ทำไม่เป็น ในที่สุดก็ โยนทิ้ง เพราะ สุนัข ไม่กิน จากตลาดปลาไม่กี่นาทีก็ถึงสตึก ก่อนที่จะถึงสตึก มีแผงขายของชาวบ้านข้างทาง โดยมากเป็นผลไม้ แตงโม ข้าวโพด แตงไทย มะละกอสุก ฯลฯ แนะนำว่าอย่าแวะเลยครับ ของแพงมาก  เหมือนแถวบ้านดงเค็ง คูเมือง แต่ก่อนแวะซื้อเดี๋ยวนี้ไม่แวะ เพราะแพงกว่า ศูนย์การค้า     

           อำเภอสตึก เป็น อำเภอหนึ่งของจังหวัดบุรีรัมย์ ขับรถไปเรื่อย ๆ ข้างทาง เลยแวะไปวัด ไปนมัสการพระเจดีย์ ที่ระเจดีย์ มีศพพระครูเขมคุณโสภณ (หลวงปู่จันทร์แรม เขมสิริ) ที่อยู่ในโลงแก้ว ชื่อวัดระหาร(เกาะแก้วธุดงคสถาน) พระเจดีย์คล้ายเจดีย์ วัดชัยมงคล ที่ ผาน้ำย้อย จังหวัดร้อยเอ็ด แต่ขาดการประชาสัมพันธ์ เลยไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวเหมือน ร้อยเอ็ด วัดนี้อยู่ระหว่าง อำเภอสตึก กับ อำเภอบ้านด่าน ก่อนถึง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ แต่อยู่ในเขต อำเภอบ้านด่าน ติดถนนสายสตึก-บุรีรัมย์ สงบ ร่มรื่น น่าไปทำบุญ

           ไหว้พระเสร็จ ไม่รู้อย่างไร ไปจนถึงพนมรุ้ง ได้ร่วมพิธีเปิดงาน  ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง ในตอนบ่าย ๆ พอดี ไม่ต้องรอนาน เพราะไปถึง เขากำลังเตรียมขบวน ผู้เขียน จำภูมิประเทศบริเวณนั้นไม่ได้ไม่ได้ไปนาน จำได้ว่า ไปครั้งสุดท้ายเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๓๑ เดี๋ยวนี้ ทำใหม่ทุกอย่าง มีที่จอดรถ สำหรับนักท่องเที่ยว ทางขึ้นเขาสะดวก เมื่อครั้งผู้เขียน ไปเที่ยวครั้งแรก  ปีพ.ศ. ๒๕๑๖ บรรจุใหม่ ๆ   ทางขึ้นลำบาก อันตราย ร้านค้าไม่มี ต้องขนสำภาระ ขึ้นไป ทานบนเขา ก็ได้บรรยากาศอีกแบบ เดี๋ยวนี้ จนจำไม่ได้

            ต้องถาม พ่อค้า ก่อนว่า บันได้ทางขึ้นอยู่ด้านไหน มาเห็นเสานางเรียง หรือเสานางจรัญ จำได้ เสานางเรียง ตั้งเป็นช่วง ๆ สองข้าง ยาวไปจนถึง บันไดนาคราชชั้นที่ ๑ (แผนผังเป็นรูปกากบาท ที่ชั้นพักราวบันไดเป็นรูปนาคราช) เสานางเรียงมีรูปร่าง คล้ายดอกบัวตูม  มีทั้งหมด ๓๕ คู่ คือ ๗๐ ต้น  เชื่อมต่อกับ บันไดนาคราช ทำเป็นรูปนาคราช ๕ เศียร แต่ละช่วง จะทำเป็นที่พัก เป็นช่วง ๆ บริเวณที่พักจะแกะภาพเป็นลายเส้นรูปดอกบัวแปดกลีบ อาจหมายถึงเทพประจำทิศ

 

                              (เสานางเรียง หรือเสานางจรัญ)

 

                ที่สะพานนาคราช แต่ละชั้น จะมีการฟ้อนรำ ที่สวยงาม ยิ่งที่ชั้นที่ ๒ เหมือนนางอัปสร ร่ายรำบนวิมาน ตื่นตาตื่นใจ เขาจะแต่งกายเลียนแบบ เทพอัปสร ทั้งเครื่องทรง การนุ่งผ้า ที่ภูมิใจ เขาใช้ผ้าไหมที่เรียกว่า ผ้าซิ่นตีนแดงของชาวพุทไธสง บ้านผู้เขียนเอง

 

         

  

 

         "...สะพานนาคราชชั้นที่ ๒ ที่หน้าซุ้มประตูระเบียงคดทิศตะวันออก มีสะพานนาคราชชั้นที่ 2 ระเบียงคดก่อเป็นห้องยาวต่อเนื่องกัน เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ารอบลานปราสาทแต่ไม่สามารถเดินทะลุถึงกันได้ เพราะมีผนังกั้นอยู่เป็นช่วง ๆ มีซุ้มประตูกึ่งกลางของแต่ละด้าน ที่มุมระเบียงคดทำเป็นซุ้มกากบาท ที่หน้าบันของระเบียงคดทิศตะวันออกด้านนอก มีภาพจำหลักรูปฤๅษีซึงหมายถึงพระศิวะในปางที่เป็นผู้รักษาโรคภัยไข้เจ็บ และอาจรวมหมายถึง นเรนทราทิตย์ ผู้ก่อสร้างปราสาทประธานแห่งนี้ด้วย..."

( http://th.wikipedia.org/w/index.php?title=อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง&oldid=4192429. )

            ผูเขียนขึ้นนยอดเขาก่อนเพื่อไปชมปราสาท เดี๋ยวนี้บูรณะ สมบูรณ์แล้ว ไปครั้งแรก ยังเป็นก้อนหิน ระเกะระกะ ที่มี อักษร กำกับไว้บอกตำแหน่งเวลานำไปก่อใหม่ เพื่อให้คงสภาพเดิมมากที่สุดวิธีที่ทำแบบนี้เรียกเป็นภาษาทางการว่า  อนัสติโลซิส ได้เห็นทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ ที่โด่งดัง จากการที่ตกไปอยู่ที่ต่างชาติกลับคืนมา ไว้ที่เดิม ซึ่งเป็นสมบัติของชาติที่ชาวไทยภาคภูมิใจทุกคน ที่ได้กลับคืนมา จำได้ไหมครับ  “ เอาไมเคิลแจ็คสันคืนไป เอาพระนารายณ์คืนมา” เพลงของ แอ๊ด คาราบราว

          (ภาพแกะสลักนารายณ์บรรทมสินธุ์ที่โด่งดัง)

 

 

           เมื่อชมทัศนียภาพบนยอดเขาที่ตั้งปราสาท  ชมความมหรรศจรรย์ ของปราสาท เรารอที่ชั้นบนสุด เพราะต้องการภาพ มุมกว้าง ๆ  แต่ละ ช่วงที่พักขั้นบันได จะมีนางรำ ฟ้อนรำ ในชุด ไหมผ้าซิ่นตีนแดง ผู้เขียนภาคภูมิใจยิ่ง เพราะผ้าซิ่นตีนแดงเป็นเอกลักษณ์ ชาวพุทไธสง สวยมากครับ ใช้ตัดเสื้อทรงไทย ได้สวยงามสำหรับบุรุษ สตรีจะนิยมนุ่งเป็นผ้าถุง ถ้าใครได้สวม จะสง่างามมากครับ

            ขบวนแห่ในประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง จัดเป็น  ขบวน ๆ แต่ละขบวน แห่จะทำเป็นหุ่นรูปสัตว์ ต่าง ๆ ที่เป็นสัตว์ สำคัญในความเชื่อเกี่ยวกับพนมรุ้ง

            เมื่อขบวนขึ้นเขาหมด เรา ลงไปพื้นราบ ชมร้านค้า โดยมากเป็นสินค้า OTOP ของแต่ละอำเภอ จึงไม่ค่อยชมนาน เพราะ เห็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โซนผ้าไหม เจอลูกศิษย์ ที่นั่น ร้าน ผ้าไหมนาโพธิ์ ผ้าไหมสวย แต่ก่อนนาโพธิ์ ขึ้นกับ อำเภอพุทไธสง ผ้าไหมพุทไธสง มีชื่อเสียง จนใช้เป็นคำขวัญของ บุรีรัมย์ “บุรีรัมย์ถิ่นภูเขาไฟ ผ้าไหมสวย รวยวัฒนธรรม”  ปราสาทพนมรุ้งตั้งอยู่บนยอดภิเขาไฟ มีปล่องภูเขาไฟที่เย็นแล้ว

                          (ประธานเปิดงาน)

            ผู้เขียนเดินชม งานศิลปะ ที่ชนะการประกวด จึงเดินทางกลับ อำเภอพุทไธสง ออกจาก พนมรุ้ง ถึงพุทไธสง เวลาประมาณ ๒๐ นาฬิกา โดยสวัสดิภาพ...สวัสดีครับ

 

                        สมาชิกร่วมเที่ยวงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง

 

 

หมายเลขบันทึก: 500669เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2012 11:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กันยายน 2012 09:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

 

ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง..น่าสนุกนะคะ

 

  • ไม่ได้ไปที่นี่นานแล้ว
  • แต่มีเหตให้ไปไม่น้อยกว่าสองครั้ง
  • ชอบตอนแดดทะลุปราสาทครับ

อยากไปเที่ยวบ้างครับ...อิอิ

สวัสดีค่ะ เคยไปชมปราสาทพนมรุ้ง พาเพื่อนชาวอิตาลีไปด้วยสองคน ตอนไม่มีงานก็ยังตื่นตาในความงาม ในความคิดของผู้สร้าง หากได้มาเห็นตอนมีงานอย่างนี้คงได้บรรยากาศอีกมากโขค่ะ

ขอบคุณที่นำเรื่องราวและภาพมาให้ชมค่ะ

ขอบคุณครับที่แวะมาเยือน ในประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง และขอบคุณทุกกำลังใจ...สวัสดีครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท