อนาคตของการตีพิมพ์ผลงานวิชาการ


 

        นิตยสาร TheScientist ตีพิมพ์ความเห็นเรื่องการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการในอนาคต มองหลากหลายแง่มุม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การตีพิมพ์แบบ open access ซึ่งขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว    โดยเวลานี้มีเกือบ ๘,๐๐๐ วารสารแล้วอ่านได้ ที่นี่   ขอขอบคุณ ศ. ดร. ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ที่กรุณาส่งมาให้

 

          ผมเคยลงบันทึกเรื่อง Open-Access Journal ไว้ ที่นี่

 

         ผมชอบวิธีการของนิตยสาร TheScientist ที่ตั้งคำถาม แล้วเชื้อเชิญให้ผู้รู้จำนวนหนึ่งเข้ามาช่วยกันตอบ แบบมองหลายมุม   ทำให้เรา คนอ่าน เห็นหลายมุมมอง   

 

          ผมมองว่าความก้าวหน้าของ ICT น่าจะช่วยเอื้ออำนวยให้การตีพิมพ์เพื่อเผยแพร่ผลงานที่มีคุณภาพทำได้รวดเร็วขึ้น และมีความโปร่งใสมากขึ้น   สามารถสร้างนวัตกรรมของการตีพิมพ์และกระบวนการ peer review ได้ง่ายขึ้น   โดยต้องสร้างวัฒนธรรมวิชาการว่าด้วยการตรวจสอบ ก่อนจะเชื่อถือ   การพิถีพิถันระมัดระวังต่อการเผยแพร่ผลงานว่าจะเผยแพร่ต่อเมื่อมีความมั่นใจในคุณภาพความน่าเชื่อถือเท่านั้น   รวมทั้งการมีระบบ peer review หลายระบบหลายชั้น เพื่อค้นหาและยกย่องผลงานวิจัยที่มีคุณภาพสูงจริงๆ

 

          ท่านที่สนใจแนวทางใหม่ๆ เกี่ยวกับการตีพิมพ์ผลงานวิจัย อ่านได้ ที่นี่   จะเห็นว่าข้อคิดเห็นอยู่ในบริบทของสหรัฐอเมริกา    ประเทศไทยเราต้องคิดเองภายใต้บริบทของเราเอง

 

          แต่ปัจจุบัน การตีพิมพ์ผลงานวิชาการของโลกตกอยู่ใต้อิทธิพลของบริษัทธุรกิจจัดทำวารสาร   และบริษัทธุรกิจจัด ranking สถาบันอุดมศึกษา    เรามองเฉพาะประเด็นทางวิชาการจะมองไม่รอบด้าน  

 

          สำหรับประเทศไทย เรื่องปัญหาค่าใช้จ่ายให้แก่วารสารเป็นค่าตีพิมพ์ไม่ใช่ปัญหาใหญ่    เพราะเราไม่มีธุรกิจการจัดทำวารสารอย่างในต่างประเทศ    แต่เรามีปัญหาเรื่องขาดหลักการและทักษะในการจัดทำวารสารวิชาการคุณภาพสูง    อนาคตในการจัดทำวารสารวิชาการของไทยจึงต้องการการร่วมกันคิดภายใต้บริบทไทย

 

          ศ. ดร. ยอดหทัย เทพธรานนท์ อ่านบทความใน TheScientist แล้ว ลงความเห็นว่า    จุดสำคัญคือนักวิจัยต้องรู้จักเลือกวารสาร OA ที่มีคุณภาพ   โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องเลือกวารสารที่มีการประเมินต้นฉบับอย่างเข้มงวด   ซึ่งบทความก็เสนอไว้ ที่นี่

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒ ส.ค. ๕๕

หมายเลขบันทึก: 500667เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2012 11:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 สิงหาคม 2012 11:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท