ปัญหาอิเล็กทรอนิกส์และแนวทางแก้ไขปัญหา เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในบริการอิเล็กทรอนิกส์ของรัฐ


ปัจจุบันการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้เติบโตขึ้นเป็นอย่างมาก และมีปัญหาเกิดขึ้นมากมาก ภาครัฐจะทำอย่างไรให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นในการใช้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ ?

     ปัจจุบันการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้เติบโตขึ้นเป็นอย่างมาก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกรรมด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีมูลค่าการทำธุรกรรมเพิ่มขึ้นทุกปี  แต่หากพิจารณาจากมูลค่าการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์  ได้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาและอุปสรรคซึ่งจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ยังมีปริมาณการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ไม่มากนัก  เมื่อเทียบกับประเทศอื่นในทวีปเอเชีย  ซึ่งปัญหาสำคัญของผู้บริโภคในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์  คือ

      1. ปัญหาความมั่นคงปลอดภัย  (Security)  เช่น  การเจาะระบบ  หรือแอบฝัง  Spyware  เพื่อขโมยข้อมูลบัตรเครดิต  เป็นต้น

      2. ปัญหาการละเมิดความเป็นส่วนตัวสำหรับข้อมูลส่วนบุคคล ( Personal  Lnformation ) เช่น  การเอาข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้หรือเปิดเผยโดยมิชอบ

      3. ปัญหาความเชื่อถือของผู้ประกอบธุรกิจ การบริการทางอิเล็กทรอนิกส์     ( Merchant  Reliability ) เช่น  ความไม่มีตัวตนของผู้ประกอบธุรกิจ  การโฆษณาสินค้าหรือบริการเกินจริง  ซื้อสินค้าแล้วไม่ได้ของ

      4. ปัญหาการระงับข้อพิพาก/เยี่ยวยาความเสียหาย ( Dispute Resoltion)

      5. ปัญหาการนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ  เป็นต้น

       ที่มา : http://www.etda.or.th/main/contents/display/596

     เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคหรือผู้ใช้บริการ  เพื่อป้องกันความเสียหายต่อสาธารณชนในกรณีที่ผู้ให้บริการไม่ได้ปฏิบัติตามมาตราฐานที่เหมาะสม  และเพื่อให้การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มีความมั่นคงปลอดภัยและมีความน่าเชื่อถือ  ผู้เขียนจึงขอนำเสนอวิธีสร้างความเชื่อมั่นในการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ของประชาชน  ดังนี้

      1. ต้องให้ความสำคัญกับการรักษาความมั่นคง  ปลอดภัยหรือความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้บริการ  

      2. ต้องมีความสะดวก  รวดเร็ว  ในการใช้บริการ  ควรใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลา

      3. สามารถตรวจสอบข้อมูลที่เป็นปัจจุบันได้ทันที

      4. ต้องมีศูนย์แจ้งเหตุเวลาเกิดปัญหาขึ้น  ตลอด  24  ชั่วโมง

      5. จะต้องพัฒนาโปรแกรม  แอพพลิชั่นให้ทันสมัย  เพื่อสร้างแรงจูงใจในการเลือกใช้บริการ

      6. ต้องมีการพัฒนาบุคลากรตลอดจนเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน  ให้มีความชำนาญ

      7. ไม่จำเป็นต้องให้ภาครัฐเป็นผู้ให้บริการเสมอไป  ควรให้เอกชนมีส่วนร่วมในการให้บริการด้วย  เพราะเอกชนมีการพัฒนาการให้บริการอยู่ตลอดเวลา แต่จะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐหรือมีรัฐกำกับดูแล

      8. ต้องมีกฎหมายรองรับเมื่อคนกระทำผิด

      9. มีการตรวจสอบการให้บริการอย่างสม่ำเสมอ

     สิ่งที่ได้กว่ามาข้างต้นเป็นส่วนหนึ่งในข้อคิดเห็นของผู้เขียนเอง  การที่จะทำให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นในการบริการอิเล็กทรอนิกส์ได้นั้นภาครัฐควรใส่ใจในการทำงานให้มากขึ้น  และนำปัญหาต่าง ๆ มาแก้ไขปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น  สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง  คือ  ผู้บริโภคจะต้องรักษาข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นความลับไม่ควรให้บุคคลใดรู้

หมายเลขบันทึก: 500105เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2012 01:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 ตุลาคม 2012 09:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • อาจารย์เพิ่งกลับจากช่วยงานศพที่ยโสธร แล้วไปส่งหลานสาวที่เป็นอาจารย์ที่กทม. ขึ้นเครื่องกลับเวลา 17.30 น. ปลอดภัยได้กลับมาตรวจงานนักศึกษาต่อ
  • บัญชรยังไม่ได้ใส่หมายเลขบันทึกที่เกี่ยวข้องนะคะ ให้ใส่หมายเลข 499079 และ 499416 ตัวเลขทั้งสองชุดให้พิมพ์ห่างกันโดยการเคาะ 2 ครั้ง

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆค่ะ ^__^

ขอขอบคุณ แสงแห่งความดี " Blank " และ03 ปดิวรัดา พรชัย " Blank " มากนะครับ ที่มาให้ดอกไม้ให้กำลังใจ

ขอบขอบคุณ ผศ. วิไล แพงศรี" Blank ", คุณ noktalay " Blank  ", 04 ภัทรวดี อินทา " Blank ", 02 ชฎารัตน์ ปุระมาปัด " Blank " , 04 จิรารัตน์ อินธิเดช " Blank "และ 04 พัณนิดา แก้ววิลัย " Blank " มากนะครับที่ให้ดอกไม้ให้กำลังใจ

ขอบคุณมากมากสำหรับข้อเสนอแนะนะครับ มีประเด็นดีดีเยอะเลยที่น่าพิจารณาต่อ ขอบคุณนะครับ

ขอขอบคุณ ดร. พลพิบูล สตางค์พุฒิ " Blank "มากนะครับที่มาให้ดอกไม้ให้กำลังใจ  และยังเอาข้อเสนอแนะของผู้เขียนไปพิจารณาต่อยอดขอขอบคุณมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท