โครงการพัฒนาผู้นำสหกรณ์ หลักสูตร ผู้นำสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนขั้นสูงรุ่นที่ 2


สวัสดีครับชาว Blog และลูกศิษย์ผู้นำสหกรณ์ รุ่นที่2 ทุกท่าน

วันนี้ (วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม2555) เป็นวันปฐมนิเทศ เพื่อชี้แจงความเป็นมา  วิธีการศึกษา และกติกาของโครงการพัฒนาผู้นำสหกรณ์ หลักสูตร ผู้นำสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนขั้นสูงรุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 23สิงหาคม - 24 พฤศจิกายน 2555 ณ  ชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย จำกัด

วัตถุประสงค์ของหลักสูตรนี้ คือ

1. เพื่อให้ผู้นำสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนได้เสริมสร้างและพัฒนาภาวะผู้นำและสามารถนำความรู้  ประสบการณ์ในด้านต่างๆ ไปใช้ในการพัฒนาสหกรณ์ได้อย่างเหมาะสม

2. เพื่อสร้างความรู้  ความเข้าใจ  ทัศนคติ และทักษะด้านการบริหารจัดการสหกรณ์ขั้นสูงแก่ผู้นำสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน

3. เพื่อให้ผู้นำสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนแนวคิดและทิศทางการพัฒนาสหกรณ์ร่วมกัน

4. เพื่อเสริมสร้างสัมพันธ์ภาพ  เอกภาพ และเครือข่ายความร่วมมือของผู้นำสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนในการพัฒนาสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน และขบวนการสหกรณ์

ผมจึงขอใช้ Blog นี้เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันครับ

ภาพบรรยากาศการเรียนรู้


ภาพบรรยากาศวันที่ 14 และวันที่ 15 กันยายน 2555

 



ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร

               รศ.ดร. ไชยา  ยิ้มวิไล / อาจารย์ประพล  มิลินทจินดา ร่วมถ่ายภาพหมู่กับผู้เข้าอบรม

วันนี้เป็นการนำเสนอโครงการพัฒนาสหกรณ์ โดยมีท่านดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร และผศ.ดร.รังสรรค์ ปิติปัญญา เป็นผู้ร่วมให้ข้อเสนอแนะ และคำแนะนำเพิ่มเติมในการดำเนินโครงการ


 

หมายเลขบันทึก: 499751เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2012 13:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 ธันวาคม 2012 21:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (91)

โครงการพัฒนาผู้นำสหกรณ์

หลักสูตร ผู้นำสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนขั้นสูงรุ่นที่ 2

(The Diploma on Advanced Credit Union Leaders)

ณ  ชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย จำกัด

ชี้แจงความเป็นมา / วิธีการศึกษา / กติกาของโครงการโดย ศ.ดร.จีระ   หงส์ลดารมภ์

ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับสหกรณ์ตั้งแต่สันนิบาต โดยจัดอบรมทั้งหมด 5 รุ่น และมาทำโครงการเครดิตยูเนี่ยน รุ่นที่ 1 ประมาณ 5 ที่แล้ว  

            หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรเพิ่มมูลค่า เป็นหลักสูตรที่สมบูรณ์ มีคุณภาพสูงมาก และมีที่ปรึกษาโครงการที่ดี

            ประโยชน์ของหลักสูตรนี้ คือ

1. ค้นหาตัวเอง  ว่าเราคือใคร เป็นสหกรณ์เพื่ออะไร โดยแต่ละหลักสูตร จะขอให้ผู้อบรมสรุปว่าได้รับประโยชน์อะไรจากการเรียนในวันนี้ เพื่อลงBlog  www.chiraacademy.com ทุกวัน

2. แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เพื่อให้เกิดทฤษฎีกระเด้ง ทุกวันต้องนำเอาความรู้มาแชร์กัน และผนึกกำลังร่วมกัน

3. ฝึกการเรียนโดยคิดให้เป็น (Learning how to learn)

            - คนส่วนใหญ่จะมองชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนดี  และจะต้องทำให้คนยอมรับในแบรนด์นี้มากขึ้น

            - ต้องมีการใฝ่รู้มากขึ้น

ทฤษฎี 3 V

            Value added  สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตัวเอง

            Value Creation  การอ่านจะช่วยประเทืองปัญญา สร้างสรรค์ความคิดใหม่ๆ

            Value Diversity  สร้างความหลากหลาย โดยเอาความหลากหลายมาเป็นพลัง

            Protocol  คือ มารยาทขั้นตอนในการพูด

            ภาวะผู้นำยุคต่อไปเป็นโลกที่อันตรายเพราะเป็นโลกของการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเครดิตยูเนี่ยนจะอยู่เฉยไม่ได้ ด้วยภาวะโลกร้อน และภาวะเศรษฐกิจของโลก

            เครดิตยูเนี่ยน ต้องมอง คน คือ ทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามากที่สุดขององค์กร

            ข้อเสีย ของการพัฒนาคน คือ ต้องใช้เวลา  

            การเป็นผู้นำต้องรู้ภาพกว้างทั้งเรื่องเศรษฐกิจ การเมือง สังคม วัฒนธรรม ปัญหาของประเทศไทยคือ ประชากรลดลง แต่คุณภาพของคนที่เข้ามาสู่ตลาดแรงงานแย่ลง ดังนั้น เครดิตยูเนี่ยน ต้องใส่ใจเรื่องการพัฒนาคนด้วย

            การพัฒนาทุนมนุษย์ด้วย 8K’s + 5K’s และการบริหารทุนมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพจะนำไปสู่สิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญของการปรับตัวสู่ประชาคมอาเซียน คือ     

-           มีมาตรฐาน

-           มีคุณภาพ

-           มีความเป็นเลิศ

-           เทียบเคียงกับคู่แข่งได้

-          เป็นแบบอย่างการปฏิบัติที่ดีที่สุด

หลักการและเหตุผล

-          จัดการกับความไม่แน่นอน

-          ความเสี่ยงหลายรูปแบบ

-          ต้องหาความรู้ร่วมกันเพื่อป้องกันความเสี่ยง

วัตถุประสงค์

-          เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้ที่เข้าร่วมโครงการฯ ให้มีวิสัยทัศน์ มีความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ภาวะผู้นำ บุคลิกภาพ และพร้อมสำหรับการทำงานเชิงรุก

-          เพื่อสร้างโอกาสจากการเรียนรู้ (Learning Opportunities) เมื่อผู้เข้าร่วมโครงการฯ มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนมุมมอง ความคิดเห็น และการปะทะกันทางปัญญา

-          เพื่อฝึกการคิดโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างสรรค์และพัฒนางานของกรมฯ ให้ก้าวไกล เป็นที่ยอมรับของประชาชนและสังคม

-          เพื่อส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมโครงการฯ เห็นความสำคัญของการมีวัฒนธรรมในการเรียนรู้ ผลักดันการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) และสังคมแห่งการเรียนรู้ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญที่จะพัฒนาองค์กรและประเทศไทยไปสู่ความเป็นเลิศได้อย่างยั่งยืน

 

รุ่นนี้ ผมขอเน้นโปรเจคที่มีผลประโยชน์ต่อสังคม

 

วิธีการเรียนรู้ด้วยทฤษฎี 4L’s

Learning Methodology มีวิธีการเรียนรู้ที่ดี

Learning Environment สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้

Learning Opportunities สร้าง/เกิดโอกาสจากการเรียนรู้

Learning Communities  สร้าง/เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้

ทฤษฎี 2 R’s

Reality - มองความจริง

Relevance – ตรงประเด็น

วิธีการเรียน

การเรียนเป็นทีม (Teamwork)

การทำ Workshop

อ่านบทความดี ๆ ทุกวัน

การทำการบ้าน (Assignment) ผ่าน Blog  www.chiraacademy.com

การร่วมวิเคราะห์แลกเปลี่ยนความคิดเห็น (Brain storming) จากกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริง (Case study& Best Practice) เช่นที่ผ่านมามีการศึกษา เรื่อง Social Innovation, Change Management ฯลฯ

มีการวัดและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง (Evaluating) ตลอดโครงการฯ

ทุกวันจะมีการเขียนรายงานสรุปว่า “วันนี้ได้รับประโยชน์อะไรบ้างจากการเรียนรู้ – Lesson learn ของเรา คืออะไร?”  ผ่าน Blog  www.chiraacademy.com

 

            คาดหวังอะไรจากหลักสูตรนี้ 3 เรื่อง

กลุ่ม 1  ความคาดหวังของตัวเองที่จะเอาหลักสูตรนี้ไปบอกต่อให้สมาชิกทั่วประเทศ

            มีความคาดหวังที่จะเอาความรู้แล้วส่งผลไปสู่การพัฒนาชาติสู่การเข้าสู่ AEC

            พัฒนาองค์กรเครดิตยูเนี่ยน เป็นต้นแบบให้องค์กรเครือข่าย

อ.จีระ สรุปว่า ควรวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน และในส่วนภูมิภาค มองกว้างและให้องค์กรมีประโยชน์ต่อประเทศ

กลุ่ม 2  ความคาดหวังให้มีเป้าหมายร่วมกัน

            ขยายให้สมาชิกได้ออม ไปสู่ธุรกิจให้มีการกู้ และเพิ่มธุรกิจให้สหกรณ์

มีความมั่นคงให้สมาชิก

อ.จีระ  ควรเน้นวินัยในชนบท อย่าพึ่งนักการเมือง ให้พึ่งตัวเอง

กลุ่ม 3 คิดเป็นทำเป็น

พัฒนาตนเอง

อยากเป็นครูรุ่น 1 และครูของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนให้เป็นอนาคตของประเทศ

กลุ่ม 4 คาดหวังว่าอาจารย์จีระนำพาให้สหกรณ์ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นทั้งภายใน และภายนอกสหกรณ์

            อยากได้แนวความคิดบริหารสหกรณ์ที่มีคุณภาพมากกว่าเดิม

            นำเอาความรู้ไปปฏิบัติจริง

            อ.จีระ  เสริมว่า หลังจากจบหลักสูตรแล้ว  มีการกลับมามีงานเลี้ยงรุ่น แล้วสรุปว่า ผ่านไปมีการทำอะไรบ้าง

            เรื่อง AEC ยังมีความรู้ด้อยอยู่มาก

            อ.จีระ เสริมว่า ให้อ่านหนังสือ8K 5K

กลุ่ม 5 นำความรู้ไปถ่ายทอดให้กับผู้นำสหกรณ์

            ถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้ที่เข้ามาเป็นคณะกรรมการ

            นำไปสร้างเครือข่ายความร่วมมือ เพื่อให้มีแนวทางปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกัน

กลุ่ม 6  เรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้ประสบความสำเร็จ

เรียนรู้ภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลง

พฤติกรรมความคิด กลัวความล้มเหลว ให้เป็นความกล้า เพื่อให้สหกรณ์นำไปสู่ความสำเร็จ

            อ.จีระกล่าวว่าถ้ามีงบประมาณปีหน้า จะไปบุรีรัมย์ ภูเก็ต ชลบุรี กาญจนบุรี เชียงราย และทำวิจัยร่วมกันว่าจุดแข็งของเครดิตยูเนี่ยนกับ AEC คืออะไร

กลุ่ม 7  รูปแบบการพัฒนาสหกรณ์ที่นำไปสามารถพัฒนาในท้องถิ่นได้

            การจัดสวัสดิการเงินกู้ สหกรณ์อเนกประสงค์ ดอกเบี้ยอัตราถูก ทำได้จริงหรือไม่ และให้องค์กรระหว่างประเทศ สนับสนุนช่วยเหลือได้หรือไม่

            สร้างเครือข่าย หารูปแบบให้สมาชิกสหกรณ์ ในการดูงานต่างประเทศ

            อ.จีระ  ต้องข้ามเครือข่าย และไปต่างประเทศ และASEAN ได้เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ซึ่งผมจะไปคิดต่อ และหาวิธีการเชื่อมโยงกับเรื่องอื่นๆที่สำคัญเพื่อเกิดมูลค่าเพิ่ม   คือ 1.เชื่อมเครดิตยูเนี่ยน กับ AEC โดยของบประมาณจากกรมเจรจาการค้า เครดิตยูเนี่ยนต้องมีการปรับตัวเข้าสู่กระแสโลกาภิวัตน์ 2.ศึกษาแหล่งเงินทุนว่ามีที่ไหนบ้าง แต่ต้องพึ่งตนเองก่อน 3. ต้องเชื่อมโยงกับสหกรณ์ประเภทอื่นให้ได้

 

           

           

 

 

แชร์ประสบการณ์จากรุ่นที่ 1

คุณดาบชัย ใจสู้ศึก   กว่าวว่า รุ่นที่ 1 เป็นรุ่นบุกเบิกและทดลอง ซึ่งมาจากฝ่ายจัดการเป็นส่วนใหญ่ เป็นรุ่นที่ลองผิดลองถูก  คำว่าผู้นำ ซึ่งเครดิตยูเนี่ยนเป็นผู้นำที่ได้รับการยอมรับจากชุมชนอยู่แล้ว เกิดมาจากการยอมรับจากสมาชิก ชุมชน และประชาชน ไม่มองเรื่องผลประโยชน์ จึงมีความมั่นใจในการพัฒนาตนเอง ผู้นำเครดิตยูเนี่ยนมีพรสวรรค์ในการถ่ายทอดจากการปฏิบัติ และไม่มีความกลัว และก้าวพ้นก่อนที่จะมาสู่จุดนี้แล้ว  เครดิตยูเนี่ยนทำงานแบบเดิม ไม่จำเป็นต้องกลัวเรื่องความผิดพลาด แต่มีการเรียกร้องจากสมาชิกว่าทำไมจึงไม่ทำอย่างอื่นบ้าง จึงมีการฝึกอบรมในโครงการนี้เพื่อเป็นการบูรนาการเกิดขึ้น ฝ่ายจัดการ กับฝ่ายนโยบายก็จึงมีการแลกเปลี่ยนกัน ได้ดูงานที่ธนาคารกสิกรไทย สำนักงานใหญ่ ซึ่งเป็นธนาคารที่มีระบบการบริหารงานที่ดีมาก มีการนำเสนอ มีสื่อ มีผลิตภัณฑ์ใหม่ออกมา จึงสามารถนำแนวคิดมาประยุกต์ใช้ได้ และดูงานต่างประเทศที่เกาหลี รับประทานอาหารมังสวิรัติ และเห็นความเป็นระเบียบวินัยของคนเกาหลี เห็นเวลาการทำงานที่ทำอย่างเต็มที่ และเวลาพักก็พักเต็มที่เช่นกัน และได้ดูเครดิตยูเนี่ยนที่เกาหลี ซึ่งเป็นธนาคารที่เชื่อมโยงกับธนาคารทั่วประเทศ มีการตรวจสอบจากชุมนุมสหกรณ์ประเทศเกาหลี มีการประกาศอัตราดอกเบี้ย ซึ่งเป็นอัตราเดียวกันทั่วประเทศ

            มีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล หลังจากนั้นยุบแล้วเป็นสาขา กลายเป็นชุมนุมสาขา และมี Training Center ที่มีการพัฒนาบุคลากรโดยเฉพาะ

อ.ทำนอง  การอบรมดูงานทำให้เรามีประสบการณ์ ซึ่งกล่าวถึงการมีวินัยของคน  มีการถือหลัก ทุกอย่างทำได้

คุณเกียงเฮง แซ่ตั้ง  จ.อุดรธานี กล่าวว่า การมาอบรมรุ่นที่ 1 ซึ่งเป็นรุ่นแรก เครดิตยูเนี่ยน ยึดกับการไม่มีนวัตกรรมใหม่ ติดอยู่กับการทำธุรกรรมเดิม ถูกปลูกฝังให้อยู่ในกรอบ ซึ่งมาเปลี่ยนเป็นประเภทอเนกประสงค์ ซึ่งถือว่า อยู่ในช่วงกำลังหัดเดิน ไม่เข้มแข็ง ปี 2552 ได้รับเกียรติให้เป็นประธาน และเอาความรู้มาต่อยอด และมีการคิดนอกกรอบ และขับเคลื่อนให้มวลสมาชิกมีการกินดีอยู่ดี  ซี่งอันดับแรกทำธุรกิจปุ๋ย และข้าว ถือเป็นช่วงแรกเริ่ม ถ้าไปศึกษาว่าขาดอะไร ก็ไปช่วยส่วนที่ขาด ก็สนับสนุนเรื่องเงิน หลังจากผ่านการอบรม  มีความมั่นใจว่าเราต้องเรียนรู้ วิเคราะห์สังเคราะห์ กล้าตัดสินใจ  แก้อุปสรรคทีหลังหลัง ขับเคลื่อนไปก่อน หลังจากนั้นทำธุรกิจยาง ให้บริการสมาชิกกู้ 700-800 ล้าน  หลังจากนั้นมีเงินเหลือ ก็นำไปธุรกิจเอง คือ ทำเรื่อง ข้าว ปุ๋ย ยาง และมัน  ศึกษาระเบียบข้อบังคับ ในพ.ร.บ. ปรึกษากับข้าราชการทีเกี่ยวข้อง  เขาก็บอกว่าไม่น่าจะทำได้ แต่ก็มีการตั้งทีมงานด้านกฎหมาย ว่าช่องไหนทำได้ เพื่อความไม่ประมาท ก็ต้องมีหลักประกัน  ซึ่งได้มาจากการอบรมขั้นสูงใน รุ่นที่ 1

อ.ทำนอง  ดีมากเนื่องจากมีการเปลี่ยนปรัชญา ที่กล้าทำ ถึงแม้จะมีความเสี่ยงแต่ก็สำเร็จ คิดบริการจากความต้องการของลูกค้า

คุณพงษ์ศักดิ์  ศรีวานิชภูมิ  กล่าวว่า  ทำบริษัทเกี่ยวกับชิ้นส่วนรถยนต์ ทำชิ้นส่วนอิเล็กโทรนิกส์ มีลูกค้ารายใหญ่คือ NHK และ ซีเกท ซึ่งปัจจุบันมีส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย ในช่วงแรกเป็นประธานคนแรกที่ขอออกมานอกบริษัท ที่ผลักดันให้เกิดประโยชน์กับกรรมการได้ จึงออกมาและมีโอกาสเข้าร่วมกับการอบรมรุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 6 ของสันนิบาต ได้ไปเกาหลี และอินเดีย ซึ่งเป็นหลักสูตรผู้นำที่ดีมาก เนื่องจากผลักดันนโยบายต่างๆได้ เป็นเรื่องที่ถูกต้องเพื่อให้ได้คนที่ขับเคลื่อนองค์กรอย่างแท้จริง ได้รับประโยชน์ ได้รับความรู้หลังจากการอบรม ได้ประโยชน์คือ  1. ได้เข้าใจเป้าหมายร่วมกันว่าเพื่อความเป็นอยู่สมาชิก  2. การใช้เครื่องมือของการขับเคลื่อน 3. เครี่องมือใหม่ๆที่จะได้รับจากสมาชิก 4. เครื่องมือเหล่านั้นจะได้รับประโยชน์สูงสุดจากการสร้างเครือข่าย  หลังจากอบรมก็มีการติดต่อกับสมาชิกเพื่อสร้างเครือข่ายด้วย

            การอบรมครั้งนี้อยากให้ผู้เข้าอบรม ตั้งเป้าหมาย และทบทวนว่าได้จริงหรือไม่ หากได้แล้วเราจะทำอะไร เพื่อใคร

อ.ทำนอง ขอให้ผู้เข้าอบรมรุ่น 2 ถามรุ่นพี่ ในสิ่งที่อยากทราบ  

คำถาม  หลังจากเรียนไปแล้ว นอกเหนือจาการทำงานแล้วนำไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นได้หรือไม่

คุณดาบชัย ใจสู้ศึก   สิ่งที่นอกเหนือจากการดำรงชีวิต ก็ได้แนวคิดในการประพฤติปฏิบัติในการฝึกฝนตนเอง ทำให้เรามีความมั่นใจมากขึ้นในการตัดสินใจ สามารถแยกบทบาทของเราให้ชัดเจนมากขึ้น หากกลับไปบ้านแล้ว ก็มีบทบาทครอบครัวที่ชัดเจน ทั้งสามี และ พ่อของลูก หลังจากนั้นได้ทำโครงการ Training Center ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคพื้นอินโดจีน ซึ่งเริ่มเป็นจริง และจะเปิดในปี 2556 ซึ่งวางฐานในลาว 3 แห่ง แล้วมีการฝึกภาษา ลาว พม่า จีน มีการฝึกอบรมบุคลากร และมีการเรียนภาษาอังกฤษ  

คำถาม ได้นำความรู้ไปใช้ในด้านความคิดสร้างสรรค์ หรือ นวัตกรรมในระดับสหกรณ์มีอะไรบ้าง

คุณเกียงเฮง แซ่ตั้ง  นำความรู้มาพัฒนาตนเอง ได้เรื่องภาวะผู้นำ นำข้อมูลมาสังเคราะห์ วิเคราะห์ และเดินหน้า มีการแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องการเปลี่ยนวิสัยทัศน์ซึ่งกันและกัน

คุณพงษ์ศักดิ์  ศรีวานิชภูมิ  หลังจากอบรม ได้รับความรู้จากสมาชิกที่มาจากต่างที่กัน  ต้องกลับมาดูตัวเองว่า มีจุดแข็งอะไร และกลับมาทบทวนว่าทำได้จริงหรือไม่

คำถาม ผลที่สัมฤทธิ์ที่ผ่านมามีอะไรบ้าง

คุณดาบชัย ใจสู้ศึก   มองได้ด้านของงาน คือการพัฒนางานให้มีการเปลี่ยนแปลง เรื่องของการทำงาน โดยเฉพาะเรื่องของการวางระบบ ด้วยการสร้างระบบ IT จากการไปดานที่เกาหลี ข้อมูลจะต้องส่งมาส่วนกลาง และมีการเฝ้าระวัง ตรวจสอบอยู่เสมอ ซึ่งจะมีการแก้ปัญหาอย่างทันท้วงที ซึ่งต่างจากเครดิตยูเนี่ยนของไทย ซึ่งไม่มีความมั่นคง โดยได้รับคำร้อง ว่าการออกใบเสร็จยังออกด้วยมือ แต่ปัจจุบัน ได้ออกใบเสร็จด้วยคอมพิวเตอร์แล้ว และมีแผนโปรแกรมพัฒนาบัญชี ให้เป็นระบบเดียวกัน เพื่อให้ง่ายต่อการเชื่อมโยง ปี 2556 หวังว่าโปรแกรมระบบจะสมบูรณ์ อีกเรื่องหนึ่ง คือ เรื่องการบริหรจัดการ ซึ่งมีการทำ Flow chart  ทำงานอย่างบูรนาการด้วยแผนกลยุทธ์ ซึ่งมีการแบ่งขั้นตอนอย่างชัดเจน และมีการทำงานอย่างร่วมมือกันด้วย

คำถาม หลังจากอบรม จะเกิดความห้าวหาญ แต่หลังจากผ่านระยะเวลาไปช่วงหนึ่ง มีทฤษฎีเสริมแรงจูงใจอย่างไร

คุณพงษ์ศักดิ์  ศรีวานิชภูมิ   ต้องพยายามค้นหา และหาความมุ่งมั่นที่จะทำอยู่ตลอดเวลา และโยงเรื่องงาน และครอบครัว หลังจากได้รับความรู้จากการอบรม ซึ่งมีโอกาสเติมไฟได้จากหลายที่ ซึ่งตัวผมเติมจากครอบครัว โดยให้ครอบครัวอยู่ดีมีสุข ต้องทำอย่างไร และมีการตั้งเป้าหมาย และต้องการยอมรับ และตรวจสอบว่าแนวคิดนี้ใช้ได้หรือไม่ จากเพื่อร่วมงานด้วย  ได้ความรู้จากการไปประเทศเกาหลี ให้เพื่อนร่วมงานญี่ปุ่น ซึ่งญี่ปุ่นยังนำเกาหลีอยู่มาก ในแง่ของการสร้างชาติ และค่านิยม ทำอย่างไรให้คนไทย คือสมาชิกสหกรณ์ เพื่อถ่ายทอดวิธีคิด ให้สังคมไทยให้ดีขึ้นในเรื่องของวินัยซึ่งสามารถสร้างชาติได้

คุณเกียงเฮง แซ่ตั้ง  ต้องย้อนกลับมาเมื่อเกิดเครดิตยูเนี่ยนครั้งแรก ในการปลูกฝังจิตตารมย์คุณธรรม ให้รู้หลักการวิธีการเลื่อมใสศรัทธา มีจิตวิญญาณ มีอุดมการณ์อย่างถ่องแท้ ซึ่งต้องหมันปลูกฝังอย่างสม่ำเสมอ ทำงานด้วยใจรัก ทำงานให้บรรลุเป้าหมาย  

คุณดาบชัย ใจสู้ศึก   ต้องมองเรื่องความยั่งยืน ทำงานอย่างมีความสุข และทำงานอย่างไรให้มีคนยอมรับ  ทำงานแล้วให้มีคุณค่าสำหรับตนเองและคนอื่น  สมาชิกเครดิตยูเนี่ยน ต้องมองอะไรให้มั่นคง และให้ทุกท่านรู้สึกว่าไม่สามารถขาดกันได้ ซึ่งจะเกิดขึ้นเป็นขบวนการ เข้มแข็ง และสมบูรณ์

กระผมนายสมเดช เจริญชัย วันนี้ต้องขอบอกว่ามีความยินดีที่ได้เป็นลูกศิษย์ของอาจารย์ และมีความคาดหวังจากการเข้าร่วมโครงการนี้ว่า

     1. ตนเองจะได้มีกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ   การนำเสนอข้อมูลแบบกระชับ  ผู้รับฟังเข้าใจ
     2. การบริหารงานบุคคลในบทบาท "ภาวะของผู้นำ"  การทำงานเป็นทีม   การทำงานเป็นเครือข่าย
     3. สามารถนำความรู้ที่เป็นระบบ  ความเป็นภาวะของผู้นำและการเปลี่ยแปลง  สู่การสร้างสังคมที่ดีโดยผ่านระบบสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนได้

ดีใจครับที่มีโอกาสมาเข้ารับการอบรมในครั้งนี้ ทำให้ความมุ่งหวังในการพัฒนาองค์กรให้มีความเป็นเลิศ มีความหวังที่จะเป็นจริงมากขึ้น การพบอาจารจีระ ในวันนี้ ทำให้ความกลัวอยุ่ในใจ หายไปมาก มีความกว้าที่จะทำ ต่อไป ขอบคุณมากครับ ที่ทำให้ความหวัง มีความหวังมากขึ้น

กระผมนายคำไพร แก้วพรม มีความกังวลเรื่องการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ฉะนั้นจึงเห็นควรให้วิทยากรบางครั้งช่วยแปลเป็นไทยด้วย เพราะผมขาดพื้นฐานภาษาอังกฤษจริง ภาษาต่างประเทศที่ผมถนัดคือภาษา ลาวเท่านั้นครับ

วันนี้เป็นวันแรกที่ได้มาฟังอาจารย์พูด จึงเป็นนิมิตรหมายที่ดีมากที่จะได้รับความรู้ที่ดีจากอาจารย์ เพราะในต่างจังหวัดจะหารายการอบรมที่ดีอย่างนี้ไม่มี จึงขอขอบพระคุณอาจารย์และและคณะผู้เป็นอย่างยิ่ง.

วันนี้ดีใจมากคะที่มีโอกาสได้เป็นส่วนหนึ่งของการสัมมนา ได้ฟังปฐมนิเทศจากอาจารย์จีระ ที่ได้เปิดโลกทัศน์ใหม่ มุมมองที่กว้างขึ้น รวมถึงกระตุกต่อมการเรียนรู้ให้กลับมาทำงานอีกครั้ง และเมื่อได้ฟังความเห็นของพี่ๆเพื่อนๆที่เข้าอบรมแล้ว ก็รู้เลยว่าเป็นผู้นำตัวจริง เสียงจริง ที่ทรงพลังคะ.. ผู้นำมือใหม่ก็ต้องขอคำแนะนำจากทุกท่านด้วยนะคะ และหวังว่าจะได้เรียนรู้ แลกเปลี่ยน และต่อยอดความรู้กันคะ…   

หัวข้อ การบริหารทีมเพื่อประสิทธิภาพ โดย ดร.เฉลิมพล เกิดมณี

ท่านค้นพบคุณค่าของตัวท่านแล้วหรือยัง ? • จุดแข็งของท่าน • สิ่งที่ท่านมีความสุขกับการทำ • ความสามารถพิเศษของท่าน • ความสามารถรอบด้านของท่าน • พรสวรรค์ของท่าน • ความเก่งของท่าน • ความชำนาญของท่าน • สิ่งที่บุคคลรอบด้านชื่นชมท่าน

 หยิบสิ่งดีๆมาใส่ในยีนส์ของเราให้ได้ จะทำให้บรรยากาศของทีมดีขึ้นได้  บริหารคนให้ถูกกับงาน  การสร้างทีมด้วยการสร้างใจก่อน ก็ต้องดูแล เอาใจใจใส่ซักถาม ต้องมีมิตรภาพก่อน
 การรวมดวงใจ เพื่อให้สภาพทีมอยู่รอด บุคลิกภาพของคน Thinking กระบวนการคิด C นักทฤษฎี • ชัดเจน ถูกต้อง ตามกฎ มีเหตุผล ระมัดระวัง เป็นทางการมีหลักการ ยึดติดกับรายละเอียด ไม่ชอบเสี่ยง D นักผจนภัย • กล้าตัดสินใจ เข้มแข็ง มุ่งมั่น ชอบการแข่งขัน มีข้อเรียกร้องสูง เป็นอิสระ มั่นใจในตัวเอง ดุดัน ผ่าซาก เอาตัวเองเป็นหลัก ใช้อำนาจ S นักปฏิบัติ • สงบนิ่ง ระมัดระวัง อดทน เป็นผู้ฟังที่ดีถ่อมตน เชื่อถือได้ ไม่รับแนวคิดใหม่ ไม่แสดงออก ดื้อเงียบ ไม่แสวงหาการเปลี่ยนแปลง I นักกิจกรรม • ชอบเข้าสังคม ช่างคุย เปิดเผย กระตือรือร้น มีพลัง ชักจูงใจผู้อื่น ร่าเริง โวยวายเสียงดัง ไม่ระมัดระวัง ตื่นเต้น รีบร้อน ไม่สนใจเรื่องเวลา คุณค่าของความเป็นมนุษย์ 1.เผื่อแผ่ความสำเร็จที่ตนเองมีสู่การช่วยเหลือสังคมรอบข้าง 2.ได้รับการยอมรับทางสังคม มีเกรียติ มีชื่อเสียง 3.ต้องการประสบความสำเร็จด้วยความสามารถของตนเอง 4.ความปลอดภัยและความมั่นคง ดูแลและเคารพในคุณค่าของคนในองค์กร
5.ร่างกาย ต้องร่างกายพร้อมก่อน สังคมต้องเริ่มแบ่งและให้กัน รักโอบอ้อมอารีซึ่งกันและกัน ความพอใจในงานจะเกิดขึ้นเมื่อ 1.คุณค่า 2.แรงจูงใจ/แรงบันดาลใจ 3.ความน่าสนใจ (interesting) ความน่าตื่นเต้น (Exciting) ความท่าทาย (Challenging)

คุณจะทำอย่างไรให้คุณมีชีวิตที่สนุกกับการทำงานและการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในงาน  ความปรารถนา  ลงมือกระทำ  ภูมิใจกับความสำเร็จ (ความสุข)  ใจมีพลังที่พร้อมจะทำหน้าที่ที่ดีขึ้น  ใจมีพลังที่พร้อมที่จะเผื่อแผ่ แบ่งปันความสุข ประสบการณ์กับคนรอบข้าง และสังคม  สภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมความปรารถนาพร้อมไปด้วยความรักและความหวังดี

ลักษณะของคนเก่งที่มีความสุขกับชีวิต • เป้าหมายที่ชัดเจน • ไม่ยอมแพ้ต่อวัฒนธรรมเก่าในองค์กร มีแนวคิดเป็นผู้นำ • เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ กล้าได้กล้าเสียในการปฏิบัติงานเชิงบวก • ต้องการโอกาสการพัฒนาความสามารถและการเติบโต • ความไว้วางใจในการแสดงคุณค่าของเขาต่อองค์กรที่ท้าทาย • สภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยกับการทำงาน ความเป็นส่วนตัว และมีความอิสระ • การมีส่วนร่วม การสนับสนุน และคำแนะนำ • การยอมรับ ยกย่อง ชื่นชม เข้าใจถึงคุณค่า เฝ้าดูความก้าวหน้า และแบ่งปันความสำเร็จ บุคลิกภาพของผู้นำ Leadership  การหาทีม ต้องรวมตัวกันถึงจะอยู่รอด ใจเดียวกัน พิสูจน์เป้าหมายเดียวกัน  เวลาทำอะไรแล้วต้องทำให้เต็มที่  ภูมิใจในสิ่งที่ทำ  ทำด้วยความเชื่อมั่น สิ่งที่ออกมาจะดีกว่าที่คิด สิ่งนั้นจะสำเร็จ การตัดสินใจ  Thinking IQ  Sensing MQ  Intuition SQ  Feeling EQ การสร้างทีม Team  คุณค่าที่ได้ประโยชน์ร่วมกัน (Win Win) ของการเป็นทีมคืออะไร  เป็นผู้ให้ที่ถูกที่ ถูกเวลา และถูกคน  มีกติกาการอยู่ร่วมกันอย่างโปร่งใสยุติธรรม  ปล่อยวางตัวตน และประโยชน์ของตน ต้องทำตัวให้เล็ก ถือตัวตนให้น้อยที่สุด มีพื้นที่ให้คนอื่นๆด้วย ทีมถึงจะอยู่ได้ รับผิดชอบร่วมกัน ทำความจริงให้ปรากฏ
การสื่อสาร ความชอบไม่เหมือนกัน การสื่อสารแตกต่าง มีการทำการสื่อสาร 2 ทาง ต้องให้เข้าใจตรงกันก่อน ทบทวนคำถามซึ่งกันและกัน เพื่อลดปัญหาที่แตกต่างกัน ความสำเร็จของทีม ทำที่ด่วนและสำคัญก่อน เลือกให้ดี เพราะสำคัญมีหลายแบบ ถ้าเลือกผิดก็จะเกิดปัญหาได้ การเลือก ดูว่า ประสิทธิภาพสัมพันธภาพ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

คุณมีความสมดุลหรือยังกับการจัดสรรชีวิต? หากมีความสำเร็จ ก็ควรมีรางวัลแห่งความสำเร็จ เช่น หยุดเพื่อไปเที่ยวกับครอบครัว มีของฝากให้กับตัวเอง มีการบริหารเวลา ถ้าทำงานเยอะเกินกว่าที่จะทำได้ ต้องพยายามให้คนอื่นช่วย เราไม่จำเป็นต้องทำทุกอย่าง แต่สามารถให้คนอื่นช่วยได้ในสิ่งที่เราไม่สามารถทำได้

ถ้าจะทำก็ต้องทำให้ดีที่สุด แล้วสิ่งต่างๆก็จะดีเอง

แรงจูงใจกับแรงบันดาลใจ เกิดขึ้นมาจาก คุณค่า เพื่อจะสร้างแรงจูงใจและแรงบันดาลใจ ตรงกับแรงปรารถนา

วันที่ 25 สิงหาคม 2555 หัวข้อ การบริหารการเปลี่ยนแปลง โดย อาจารย์ประกาย ชลหาญ

ขอแสดงความยินดีกับประธานรุ่นที่ 2

คุณสำราญ อุ่นยวง

ประธานกรรมการดำเนินการ

สหกรณ์ฟรีเทรด จำกัด

 

สรุปการบรรยายหัวข้อ

ภาวะผู้นำกับการบริหารการเปลี่ยนแปลง

                                                โดย  อ.ประกาย ชลหาญ

25 สิงหาคม 2555

หนังสือเรื่อง Six thinking hats  โดย Edward de Bono ซึ่งกล่าวถึงวิธีการคิด หรือ Mindset ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมาก และคนเรามักจะเป็นไปตามที่เราคิด  

            ความคิดคน ต้องมีการจัดการ และฝืนความคิด ต้องพยามยามคิดที่ไม่เหมือนเดิม โดยการเปลี่ยน Mindset จึงจะได้ผลลัพธ์ที่แตกต่าง

            ผู้นำ สามารถเปลี่ยนสิ่งต่างๆได้ภายในองค์กร เพราะฉะนั้น ผู้นำมีความสำคัญมาก

          Jack Welch in WINNING จากบริษัท GE กล่าวว่า “Business is about people.  In fact life is only people – family, friends, colleagues, bosses, teachers, coaches, neighbors.  At the end of the day, it’s only people that matter.”  “ธุรกิจเกี่ยวข้องกับคน  ที่จริงแล้ว ชีวิตเราอยู่ในแวดวงของคน ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว เพื่อน ครู เจ้านาย เพื่อนบ้าน ในที่สุดแล้ว คนเท่านั้นที่สำคัญ”

            เครดิตยูเนี่ยน มีหนี้เสียน้อยมาก เมื่อเทียบกับสถาบันการเงินอื่นๆ เพราะ มีการเอาคนเป็นที่ตั้ง โดยมีความรับผิดชอบสูง คนที่กู้มีความเชื่อว่า เมื่อกู้เงินไปแล้ว เมื่อได้ดอกผล ก็มาใช้คืนเพื่อให้คนอื่นได้กู้ต่อไป

            ฐานะผู้นำ หน้าที่หลักของท่านคืออะไร

            -นำพาองค์กรไปสู่เป้าหมาย

            - คิดวางแผนเพื่อให้งานบรรลุผล

            - กำหนดทิศทางขององค์กรเพื่อความสำเร็จ

            - ผู้นำต้องเป็นตัวอย่างที่ดี เพื่อให้ลูกน้องปฏิบัติตาม และเกิดความสัมฤทธิ์ผล

            - มีอุดมการณ์เพื่อผลักดันให้องค์กรมุ่งสู่ความสำเร็จ

สรุปแล้วคือ It is the job of every manager to manage employees’ performance  

ผลสำเร็จของเครดิตยูเนี่ยน

-          เพื่อให้สมาชิกได้อยู่ดีกินดี มีความสุข

-          ช่วยเหลือสังคม

-          สมาชิกมีสิทธิเท่าเทียม

ผู้นำ ต้องมี 4 บทบาท คือ

1. Pathfinder   ผู้หาทางให้ลูกน้องเดิน เป็นผู้วางแผนกลยุทธ์ วางเป้าหมาย ปรับไปตามสถานการณ์  ผู้วางนโยบาย

2. Align    ทำให้เดินไปทิศทางเดียวกันได้ มีเป้าหมายเดียวกัน

3. Empower   การกระจายอำนาจให้คนอื่นช่วยทำและตัดสินใจ

4. Role Model ต้องมีการสอนงาน

การเป็นผู้นำ ต้องมีความเสี่ยงในการกระจายอำนาจ หากไม่ได้ดั่งใจ ก็ต้องยอมรับ และฝึกลูกน้องไปเรื่อยๆ

งานมีทั้งเรื่องที่สำคัญและไม่สำคัญ ตามกฎ 20:80 ต้องมีการจัดลำดับความสำคัญก่อน แล้วจึงทำเรื่องย่อย

คนจะมีสมรรถนะต้องมีองค์ประกอบ 3 ตัว คือ

1. มีความรู้

2. ทักษะ หรือ ประสบการณ์

3. ทัศนคติที่ดีกับองค์กร

แรงจูงใจเป็นสิ่งทีสำคัญในการทำงาน

การบริหารจัดการต้องคำนึงถึง 3 เรื่อง

1. Leadership ความเป็นผู้นำ 

2. Follower ผู้ตาม

3. Environment บรรยากาศ สิ่งแวดล้อม และสถานการณ์

Performance Cycle (วงจรของผลงาน)

สิ่งที่จะวัดว่าลูกน้องมีผลงานหรือไม่ อันดับแรกต้องวางเป้าหมาย เพื่อให้มีการบริหารจัดการที่ง่ายขึ้น โดยควบคุมการก้าวหน้า โดยมีการตรวจสอบอยู่เป็นประจำ  

หากทำได้ตามเป้าหมายก็ถือว่าประสบความสำเร็จ  และต้องมีการยกย่องชมเชย ให้รางวัลกับลูกน้อง เป็นสิ่งที่สำคัญห้ามลืมเด็ดขาด (Reinforcements)

การตั้งเป้าบางครั้งเกิดความแตกต่าง คือ ลูกน้องทำไม่ได้ตามเป้าหมาย หน้าที่ คือ ต้องเข้าไปสอน และแนะนำงาน เพื่อให้ลูกน้องได้บรรลุเป้าหมาย (Coaching)

Change Management  (การบริหารการเปลี่ยนแปลง)

อะไรเป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลง

-          เวลา

-          สถานการณ์

-          คน

-          กฎ ระเบียบ

-          ความแตกต่าง การแข่งขัน สิ่งแวดล้อม ภาวะโลกร้อน

-          เทคโนโลยี

-          วิกฤติเศรษฐกิจ

ทำไมจึงไม่มีความเชี่ยวชาญการเปลี่ยนแปลง คือ การไม่มีการบริหารการเปลี่ยนแปลง อย่าให้เกิดมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นโดยการไม่จัดการ

Jack Welch  กล่าวว่า ต้องรู้จักเปลี่ยน ก่อนที่จะถูกบังคับให้เปลี่ยน ไม่เช่นนั้นจะสายเกินไป     

      เราต้องมีการเรียนรู้ หาแนวทาง หาวิสัยทัศน์ วางนโยบาย คนที่สามารถประเมิน  (Estimate) รู้จักการคาดคะเน  หากคาดได้แม่นกว่าคนอื่น ก็จะเป็นคนที่พร้อมกว่าคนอื่น โดยการหาข้อมูล มีการเรียนรู้ ค้นคว้าการวิจัย และการศึกษา                    

      สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ต้องมีการปรับเปลี่ยน โดยต้องมีวิธีคิด  สาเหตุและแนวคิดที่สำคัญ ดังนี้

-          ต้องมีการป้องกันจากการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจของโลก ควรมีการคาดคะเน และหาวิธีป้องกันเสมอ

-          เงินสำรองระหว่างประเทศของไทยมีมาก เมื่อเปรียบเทียบกับวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง         

อะไรสำคัญที่สุดในเรื่องการบริหารการเปลี่ยนแปลง     

-          ต้องยอมรับในฐานะผู้นำว่า องค์กรซับซ้อน เพราะทำงานเกี่ยวกับคน

-          ต้องเข้าใจว่าองค์กร ถูกผลักดันด้วยกระบวนการมากกว่าโครงสร้างขององค์กร  ต้องกลับไปดูกระบวนการการทำงานว่าชัดเจน และมีการตรวจสอบหรือไม่  ปัจจุบันองค์กรส่วนใหญ่เป็น Flat Structure

-          เข้าใจระหว่างการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ แล้วจึงเกิดความสำคัญลำดับรองลงมา เช่น การเปลี่ยนกฎระเบียบของทางการ

-          เวลาเปลี่ยนแปลง ต้องเปลี่ยนแปลงระบบด้วยเช่น ระบบการอนุมัติเงินกู้ ต่อไปจะเปลี่ยนให้สั้นลง ก็ต้องไปเปลี่ยนระบบด้วย

-          การยอมรับว่ามีหลายอย่างเกิดขึ้นแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น การเกิด แก่ เจ็บ ตาย คือ ต้องมีการเตรียมพร้อมเสมอ ต้องมีแผนสำรอง

-          การยอมรับความเป็นมืออาชีพของผู้นำ   ควรเคารพและเชื่อฟังในฐานะที่เขาเป็นผู้นำ

การบริหารการเปลี่ยนแปลง: องค์ประกอบที่ทำให้เกิดความสำเร็จ

-          ต้องกำจัดแนวคิดที่เป็นความพอใจในผลสำเร็จขององค์กร ในการคิดว่าไม่สามารถพัฒนาได้อีกแล้ว หากไม่เปลี่ยนทัศนคติแบบนี้ก็จะเกิดความล้มเหลว  คือ เป็นเหยื่อของความสำเร็จของตนเอง “อย่านิ่งดูดาย ต้องเร่งปรับปรุง อย่าหยุดการพัฒนา”

-          ต้องสนับสนุนและทำเพื่อลูกค้า 

-          การที่สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในองค์กร

-          สนับสนุนเรื่องที่ทำสำเร็จง่าย ควรทำเสียก่อน

-          ต้องมีแผนการเปลี่ยนแปลงให้ชัดเจน

-          การปรับพัฒนาองค์กร (Organization Development)

 

ตามภาพเป็นหัวข้อเกี่ยวกับ การเร่งเพื่อทำให้เกิดกระบวนการ

Current State             สถานภาพก่อนการเปลี่ยนแปลง

Transition State        ช่วงของการเปลี่ยนแปลง คือ เวลาระหว่างก่อนเกิด และหลังเกิด สามารถจัดการการเปลี่ยนแปลงผลลัพธ์ที่จะเกิดได้ให้ดีขึ้น หรือ แย่ลงได้จากช่วงนี้

Improved                   สถานภาพหลังการเปลี่ยนแปลง เช่น ระเบียบใหม่

หากการเปลี่ยนแปลงไม่ดี  ก็ควรทำให้แย่ลงน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ อะไรที่ดี ก็ควรจะทำให้ดีขึ้นมากๆ

หากการเปลี่ยนแปลงไม่ดี  ก็ควรทำให้แย่ลงน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ อะไรที่ดี ก็ควรจะทำให้ดีขึ้นมากๆ

สิ่งที่สำคัญในการเปลี่ยนแปลงที่ต้องมี คือ

ผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Leading Change)  

-          สร้างความต้องการร่วมกัน

-          สร้างวิสัยทัศน์(Vision) ว่าเปลี่ยนแล้วได้อะไร

-          ต้องผลักดันให้เกิดความร่วมมือกันภายในองค์กร  

-          การเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน (Making Change Last)  ต้องควบคู่กับการพัฒนาองค์กร เปลี่ยนระบบที่ไม่เอื้ออำนวย

 

                                                                                                       

 

           

           

 

 

                                               

 

 

 

8 บทเรียนผู้นำของ Mandela สิ่งที่ได้จุดประกายความเป็นผู้นำของท่าน คือ รู้ปัญหา และแนวทางแก้ไขปัญหา ซึ่งตลอด 27 ปีที่อยู่ในคุก Mandela มองการณ์ไกลถึงปัญหาและผลกระทบ และคิดมุมต่างด้วยความรอบคอบโดยลดแรงเสียดทานภายในประเทศให้น้อยที่สุด Mandela ในความเห็นส่วนตัวของผม ผมชอบในมุมมองมิติทางอารมณ์ของ Mandela เค้าได้ใช้ภาวะทางอารมณ์เป็นประโยชน์ต่อสถานะการณ์แก้ไขปัญหาแก่สันติภายภายในชาติ การยอมรับในสังคม ที่สำคัญคือการอยู่ร่วมกันของเชื้อชาติ สถานการณ์เช่นนี้อาจนะบทเรียนของ Mandela มาปรับใช้กับสหกรณ์ได้ เช่น การสร้างเครือข่ายพันธมิตรต่างองค์กร เพื่อแลกเปลี่ยนการบริหารงานมาประยุกต์ให้สอดคล้องกับระบบของสหกรณ์ การสร้างทีมงาน และบุคลากรให้มีความเป็นผู้นำ การสร้างแรงจูงใจให้มีความจงรักภักดีต่อองค์กร การยึดมั่นในหลักการซึ่งอยู่ภายใต้กรอบของคุณธรรม และการทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมนับว่าเป็นสิ่งที่ผมชื่นชมในตัว Mandela

กรณีศึกษาคุณยรรยง ที่ ครม. : ผมมองถึง 3 ประเด็น จากคำถามว่าทำไมจึงเกิดเหตุการณ์ที่ ครม. วันที่ 13

  1. คุณยรรยงยังขาดข้อมูลเชิงลึกจึงทำให้พลาดในการชี้แจงที่น่าเชื่อถือ   ต่อนายก และ ครม.บางท่าน
  2. คุณยรรยงขาดการความคุมอารมณ์  จึงทำให้เกิดแรงเสียดทานที่จะนำไปสู่ความขัดแย้ง
  3. คุณยรรยงขาดประสบการณ์ทำงานที่เป็นทีม หรือการเชื่อมโยงที่ให้ความสนับสนุน  ขาดการติดตามผล

จึงทำให้มามองย้อนถึงการทำงานสหกรณ์  ซึ่งคิดดูแล้วเหตุการณ์ลักษณะนี้ก็สามารถเกิดขึ้นภายในสหกรณ์ของเราได้  หากขาดในสิ่งที่ผมได้เอ่ยขึ้นมาข้อมูลเชิงลึก หรือข้อมูลเชิงปฏิบัติงานเป็นสิ่งสำคัญที่ในฐานะผู้นำองค์กรความมี  เพื่อกำหนดทิศทางของสหกรณ์ได้อีกด้วย  และการสร้างความสัมพันธ์โดยไม่คำนึงว่าใครจะเป็นคู่แข็งหรือศัตรู ดังแนวคิดของ Mandela การควบคุมภาวะของอารมณ์เป็นจุดเด่นสำคัญที่ผู้นำความมี  ให้ประกอบกับบุคลิกที่น่าเชื่อถือต่อการนำเสนอ รายงาน แสดงความคิดเห็น  แต่การทำงานเราไม่สามารถทำงานได้เพียงผู้เดียว  ดังนั้นจึงต้องมีทีมขึ้นมาเพื่อช่วยให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพ  พร้อมกับการควบคุมติดตามผลงาน  แต่สิ่งที่จะขาดไม่ได้เลยของการทำงาน คือการทำงานที่มีหลักการมุ่งเน้นให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยรวมภายใต้คุณธรรม  จริยธรรม และจิตตารมณ์ของสหกรณ์  จึงจะถือว่าเป็นการทำงานด้วยความยั่งยืน

test

ถึงอาจารย์ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพ กระผมนายคำไพร แก้วพรม เป็นนักเรียนโครงการหลักสูตรผู้นำสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนขั้นสูงรุ่น 2 ต้องขอบคุณอาจารย์เป็นอย่างสูงที่ได้จัดโครงการดีๆอย่างนี้และวิทยากรที่มาให้ความรู้นั้นล้วนเป็นวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถทั้งสิ้น โดยเฉพาะวิชา การสร้างทีมเพื่อประสิทธิภาพ มีดร.เฉลิมพล เกิดมณี เป็นวิทยากร ท่านได้ถ่ายทอดประสบการให้กับนักเรียนได้ดีมากครับ ผมเป็นคนที่โชคดีที่สุดคนหนึ่งที่ได้เข้ามาเรียนในหลักสูตรนี้ โดยมีอาจารย์จีระเป็นครูใหญ่ในโครงการนี้ครับ

ภัณธิรา กลิ่นศิริกุล

สวัสดีค่ะอาจารย์ ดิฉันดีใจมากที่ได้เข้าร่วมโครงการนี้ เพราะได้รับทั้งความรู้ที่กว้างขี้นจากเดิม ได้รับรู้แนวคิดใหม่ๆ เหมือนได้เปิดโลกของตัวเองให้กว้างขึ้น และสามารถนำไปใช้ได้กับการทำงาน และชีวิตส่วนตัว ส่วนวิทยากรที่มาไห้ความรู้แต่ละท่านล้วนมีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ให้เข้าใจง่ายและน่าสนใจ ยกเว้นเรื่องภาษาอังกฤษที่ดิฉันไม่ค่อยได้อะไรเนื้อหาไม่ชัดเจนว่าจะให้ความรู้กับผู้เข้าอบรมเรื่องอะไรแน่ สำหรับบทความที่อาจารย์ให้มาอ่าน อ่านอยู่หลายรอบมากเลยค่ะยิ่งอ่านก็ยิ่งชอบได้ความรู้เพิ่มขึ้น ได้ข้อคิดดีๆหลายเรื่อง แต่ก็คิดไม่ได้ว่าการเป็นผู้นำไม่ใช่เรื่องง่ายเลยและถ้าเป็นผู้นำที่ดีมีคุณธรรมก็เป็นอะไรที่ยากยิ่งขึ้นและจะหาผู้นำที่ดีพร้อมในทุกๆด้านในโลกปัจจุบันยากแสนยาก ดังกรณีศึกษาของคุณยรรยง ในความคิดของดิฉันคือคุณยรรยงโชคร้ายที่เป็นข้าราชการที่ทำงานร่วมกับนักการเมืองที่ไม่คุณธรรมหวังแต่ผลประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประโยชน์ของประเทศชาติ อยากได้ความถูกใจมากกว่าความถูกต้อง ถ้านักการเมืองไทยเป็นแบบ Mandela คูณยรรยง คงไม่ต้องเจอกับปัญหาแบบนี้ หลังจากอ่านบทความผู้นำของ Mandela จบ ดิฉันก็รับรู้ได้ทันทีว่าคนแบบนี้แหละที่เหมาะที่จะเป็นผู้นำเป็นอย่างยิ่ง ต้องขอขอบคุณอาจารย์มากๆนะคะที่นำบทความดีๆอย้างนี้มาให้อ่านค่ะ

      ผลจากการได้เข้าเรียนรู้หลักสูตร ผู้นำสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนขั้นสูง รุ่น 2 
        ผมรู้สึกว่าการได้เข้าอบรมหลักสูตรนี้ เพียง 3  วันแรก ก็รู้สึกว่าเหมือนได้เริ่มเรียน  ก. ข . ของนักบริหารงาน /บริหารคน /บริหารตนเอง  ที่ผ่านมาผมได้เริ่มทำงานหลังจากเรียนจบระดับอนุปริญญา  โดยเข้ารับราชการเป็นเวลา 4 ปี ก็ลาออกจากราชการด้วยความฝันว่า  ถ้าจะมีชีวิตที่เรากำหนดได้เอง จะต้องหาธุรกิจส่วนตัวทำ   
          ผมทำธุรกิจจนประสบความสำเร็จถึงระดับหนึ่งที่พออยู่ได้   และวันหนึ่งคิดทำสหกรณ์โดยคิดว่าจะได้เป็นโอกาสหนึ่งในการช่วยเหลือผู้คนให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่สามารถพึ่งพาตนเองและพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันได้  แต่ทั้ง 2 อย่างนับว่าผมและเพื่อน ๆ ก็ทำแบบมวยวัดมาตลอด ทำไปคิดไป (แบบช่างซ่อมมอเตอร์ไซด์ปากซอย) โดยการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เข้ามาตลอดเวลา  จนวันนี้ได้เรียนรู้หลักการที่จะต้องนำไปใช้  ประกอบกับประสบการณ์ที่มีอยู่  คิดว่าคงจะทำให้ประสบความสำเร็จยิ่ง ๆ ขึ้นไป ( เริ่มเป็นวิศวกรที่เปิดอู่ซ่อมรถ ) น่าจะมีอนาคตที่ดีกว่า
          แต่ผมก็มีข้อสงสัยบางอย่างว่า  วิทยากรทุกท่าน รวมทั้งอาจารย์จีระ  มีความรอบรู้ในการถ่ายทอดทุก ๆ สิ่ง ทุก ๆ อย่างที่มากมายหลากหลายได้ทุกเรื่อง   ไม่ทราบว่าการจะพัฒนาทักษะแบบอาจารย์  จำเป็นมั๊ยว่า จะต้องฝึกฝนตั้งแต่อายุยังน้อย    หรืออย่างผมอายุมากแล้วจะช้าไปหรือเปล่าครับ
         วันที่ 14-15 ก.ย. 55 ทึ่จะมีการอบรมครั้งที่ 2  คิดว่าคงได้รับประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้นำสหกรณ์   และในวันรุ่งขึ้นผมเดินทางไปสัมมนาผู้นำนักธุรกิจแอมเวย์ที่ลาสเวกัส/ลอสแองเจลิสเป็นเวลา   8 วัน   กลับมาวันที่ 26 ก.ย. 55   แล้วเข้าอบรมครั้งที่ 3 ( 28-29 ก.ย. 55 )  คิดว่าคงจะมีประสบการณ์ดี ๆ มาบอกเล่าให้เพื่อน ๆ ฟังกันแน่นอนครับ 
                                                           สำราญ  อุ่นยวง     
                                            ประธานรุ่นผู้นำสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน รุ่น 2
ณัฐวัฒน์ ทรัพย์มีมา

ศึกษากรณีที่ครม.

จากบทความข้างต้น หากข้าราชการไทยยังทำงานภายใต้นักการเมือง ก็จะขาดศักดิ์ศรีความเป็นข้าราชการมีผลต่อการบริหารจัดการกิจการบ้านเมือง  ต้องมีจุดยืนเป็นของตนเอง ไม่ว่าจะทำงานในองค์กรใดก็ตาม ต้องแยกแยะถูกผิด ถูกใจไม่ถูกใจและสิ่งสำคัญคือการมีวิจารณญาณที่รอบคอบมองรอบด้าน ยิ่งมีตำแหน่งสูงยิ่งต้องใช้ความสุขุมคัมภีรภาพทั้งความคิดและบทบาทที่แสดงออกมา
บทความนี้สามารถนำมาใช้ในการทำงานหรือการปฏิบัติตนในฐานะที่เป็นผู้บริหารหรือผู้ปฏิบัติได้ดังหนังสือ  Think again ที่ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ยกตัวอย่างมา เช่น หากขาดประสบการณ์ต้องหาข้อมูลให้ครบถ้วน หากขาดความรอบคอบในการใช้วิจารณญาณ ต้องปรึกษาหารือให้ละเอียดรอบคอบกับทีมงาน หากมีผลประโยชน์ทับซ้อน ต้องเน้นธรรมาภิบาล และหากมีการเล่นพวกหรือมีความสัมพันธ์ส่วนตัว ต้องติดตามประเมินผลอย่างใกล้ชิด

8 บทเรียนผู้นำของ Mandela

จากบทความที่สอง จะเห็นได้ว่าการเป็นผู้นำที่ดีไม่จำเป็นต้องประสบความสำเร็จทุกอย่างหรือมีเส้นทางเดินที่สวยงาม แต่ต้องความมีความอดทนอย่างเหมาะสมและพร้อมจะเดินหน้าเต็มที่เมื่อโอกาสมาถึง รักษาสมดุลตามธรรมชาติ และนำหลัก 8 ประการของการเป็นผู้นำของ Mandela มาปรับใช้ในทุกสถานการณ์อย่างเหมาะสม
นายอภิชาติ พรหมจินดา
        จากบทความทั้งสองนั้น ในกรณี ที่ครม. ชี้ให้เห็นถึงการวางตัวในฐานะผู้บริหารระดับสูงที่ผิดพลาดขาดการประเมินสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ที่มีผลกระทบจากการชี้แจง  และขาดความรอบคอบที่จะใช้ประสบการณ์จากการเป็นข้าราชการที่ดีที่ผ่านมาเป็นแนวป้องกันการชักนำหรือเป็นเครื่องมือทำให้เกิดความไม่โปร่งใสของตนเอง เปรียบเสมือนการโยนหินลงน้ำแม้เพียงก้อนเล็กแต่ก็แผ่ออกไปเป็นวงกว้าง เช่นกันการทำงานทุกองค์กรควรคำนึงถึงสถานะหน้าที่ของตนในองค์กรว่าอยู่จุดไหนต้องรักษาเกียรติความเป็นตัวตนของตนเองในการทำงาน ไม่ควรทำตัวเป็นผ้าขาวเพราะสามารถย้อมเป็นสีอะไรก็ได้ สุดท้ายก็อาจเป็นได้แค่ผ้าขี้ริ้ว

ส่วนบทความที่สอง สอนว่าการเป็นผู้นำต้องละทิ้งว่าทุกคนต้องทำตามแต่ต้องคำนึงว่าสิ่งที่ทำก่อประโยชน์ให้สังคมหรือองค์กรได้อย่างไร และเมื่อตัดสินใจแล้วต้องมั่นใจว่าทำได้ จะต้องเรียนรู้ที่จะเป็นผู้ตามที่ดี จึงจะเป็นผู้นำที่ดีได้ ผู้นำที่ดีต้องรู้จักการบริหารปัญหา ไม่ว่าจะตกอยู่ในสถานการณ์ใดก็ตามต้องเป็นผู้แก้ปัญหาไม่ใช่สร้างปัญหาซะเอง และพร้อมที่จะประสบความสำเร็จไปพร้อมๆ กันไม่ใช่เพียงคนเดียว

บทเรียนจากความเป็นจริง โดย ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

            จากหนังสือพิมพ์แนวหน้าประจำวันเสาร์ ที่ 16 พฤษภาคม 2555
            เรื่อง ศึกษากรณี คุณยรรยง พวงราช ที่ ครม.
มีเรื่องที่น่าสนใจคือ อำนาจเป็นของผู้ที่ครอบครอง ความถูกต้องมักมาทีหลัง ความถูกใจ ความเป็นจริง อำนาจแฝงทางการเมือง มีทุกยุคทุกสมัยจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับผู้ครองอำนาจในช่วงเวลานั้นๆ
เรื่องนี้ให้ข้อคิดว่า การกระทำใดๆจะถูกหรือผิดอยู่ที่เจตนา บางเรื่องอาจจะต้องใช้เวลาจึงจะชำระมลทินชีวิตให้ตนเองได้

บทเรียนจากความเป็นจริง โดย ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

            จากหนังสือพิมพ์แนวหน้าประจำวันเสาร์ ที่ 16 พฤษภาคม 2555 ปีที่ 3 ฉบับที่ 20
            เรื่อง 8 บทเรียนผู้นำ Mandela
แนวคิด 2 เรื่อง Coaching และ Creativity ผู้นำต้องมีทั้ง 2 เรื่อง Coaching คือทักษะที่ผู้นำทุกคนต้องมี

คือ ต้องรู้ปัญหาต่างๆของลูกน้องหรือเพื่อนร่วมงาน Creativity ผู้นำต้องมีแนวคิดใหม่ๆเพื่อสร้างสรรค์งานไม่ยึดแบบเดิม คืองาน Routine เพราะถ้ามี Creativity ทุกคนจะมีพลัง องค์กรนั้นๆจะมี Energize

เกร็ดชีวิตท่านประธานาธิบดี Mandela เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก เพราะท่านได้พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสในระหว่างเวลาที่ติดคุก 27 ปี ท่านคิดหาวิธีปรองดองระหว่างคนผิวขาวและคนผิวดำและสามารถเกิดสันติภาพอย่างยั่งยืนและถาวร
อาจารย์ จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้สรุปประเด็นที่น่าสนใจของท่าน Mandela ไว้ 8 ประการ
  1. ความกล้าหาญ สามารถจุดประการความคิดจนเป็น Role Model ได้รับการเรียนรู้จากความเจ็บปวดและล้มเหลวผิดหวัง
  2. เป็นผู้นำที่พร้อมทั้งรุกและรับ เป็นผู้นำที่อยู่เบื้องหน้าคนทั้งปวง
  3. เป็นผู้นำที่วางแผล วิธีการ แต่อยู่ในแนวหลัง
  4. การบริหารศัตรูเหมือนที่ ซุนหลู่ กล่าวไว้ว่า เมื่อรู้จักศัตรูแล้ว รบร้อยครั้ง ก็ชนะร้อยครั้ง
  5. ผู้นำต้องใกล้ชิดกับเพื่อน แต่กับคนที่เราไม่ชอบต้องใกล้ชิดมากกว่า เพื่อประเมินกำลังของศัตรูได้
  6. เป็นผู้นำต้องมีภาพลักษณ์ที่ดี ต้องปรากฏกายอย่างสง่า พูดจาฉะฉาน มีความรู้สึก รู้จริง
  7. Mandela ใช้วิธีประนีประนอมมากกว่าสร้างความขัดแย้ง
  8. การเป็นผู้นำต้องรู้จังหวะการดำเนินการรู้รุก หรือ ถอย ไม่ใช่ยอมหักไม่ยอมงอและสามารถวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆแบบ 360 องศา ไม่เชื่อแต่คำบอกเล่า แต่ฟังแล้วรู้จักคิดวิเคราะห์หาเหตุผล

กรณีศึกษา คุณยรรยงที่ครม. ผมได้อ่านกรณีศึกษา คุณยรรยงที่ครม. แล้ว สิ่งที่เป็นบทเรียนสำคัญที่สามารถนำมาใช้ในการทำงาน หรือดำเนินชีวิต คือ เราต้องมีอุดมการณ์ในการทำงาน และการทำงานต้องมีความซื่อสัตย์ ยึดหลักการทำงานเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ หรือเพื่อประชาชนเป็นหลัก เช่นเดียวกับการทำงานสหกรณ์ ผมทำงานด้วยความซื่อสัตย์ เสียสละ รับผิดชอบ แม้นว่าบางครั้งมีสมาชิกมายื่นข้อเสนออะไรให้ ก็ไม่ยอมรับ เพื่อแลกกับการที่ให้ผมอนุมัติสิ่งที่ผิดระเบียบของสหกรณ์ ผมยึดหลักการทำงานที่มีคุณธรรม และจิตตารมณ์ที่เข้มแข็ง บางครั้งไม่ถูกใจสมาชิกบางคน แต่มันถูกต้อง และจึงจำเป็นต้องทำ พร้อมนำหลัก win win ที่ท่านอาจารย์ชีระ เขียนไว้ในกรณีศึกษาคุณยรรยง มาปรับใช้กับการทำงานด้วย

ผิดพลาด ทางป้องกัน - ขาดประสบการณ์ - ขาดความรอบคอบในการใช้วิจารณญาณ - ผลประโยชน์ทับซ้อน - เล่นพวกหรือมีความสัมพันธ์ส่วนตัว - หาข้อมูลให้ครบถ้วน - ปรึกษาหารือให้ละเอียดรอบคอบกับทีมงาน - ต้องเน้นธรรมาภิบาล - ต้องติดตามประเมินผลอย่างใกล้ชิด

ตารางในหนังสือ Think again ผมชอบมากเช่นเดียวกัน ซึ่งจะนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน และการทำงาน

8 บทเรียนผู้นำของ Mandela ก่อนอื่นผมขอขอบคุณอาจารย์จีระ ที่กรุณาให้บทความนี้มาอ่าน อ่านแล้วประทับใจสุดๆ 8 บทเรียนผู้นำของ Mandela มีประโยชน์สำหรับการทำงานสหกรณ์มาก แนวคิดการเป็นผู้นำที่ดีนั้น ไม่จำเป็นต้องอยู่ข้างหน้าเพียงอย่างเดียว แต่สามารถอยู่ข้างหลังได้ โดยผู้นำที่เราสร้างขึ้นมา เขาต้องเป็นผู้นำที่ดี และมีความภูมิใจ ในการเป็นผู้นำ ไม่ใช่ นำแบบนกแก้วนกขุนทอง ต้องคิดเองทำเองเป็น รู้จักคิดวิเคราะห์ หรือใช้คนให้เหมาะกับงาน ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบัน และผู้นำต้องรู้จักพอ รู้จักถอย และที่สำคัญผู้นำต้องมีภาพลักษณ์ที่ดีตลอดเวลา ไม่ว่าเวลางานหรือเวลาส่วนตัว ผู้นำต้องรู้จักสร้างคุณค่าให้ตัวเอง และผู้ใต้บังคับบัญชา ให้เขาเกิดความภาคภูมิใจ มีขวัญกำลังใจในการทำงาน

นายสุริยา เพชรสุข ลูกศิษย์ ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์

                                         บทเรียนผู้นำ  ของ Mandela
      ได้แนวคิดที่ผมพยายามทำอยู่และทำมาตลอดคือ  พยายามศึกษาหาความรู้ใหม่ๆที่จะนำมาพัฒนาองค์กรของเราให้มีความเจริญก้าวหน้า  และการศึกษาหาความรู้ก็เป็นประโยชน์แก่ตัวเราเองด้วย
      ส่วนมากเจ้าหน้าที่ในสหกรณ์ชอบทำงานในแบบ Routine  ไม่ค่อยจะคิดหาสิ่งใหม่ๆที่จะหาแนวทางมาใช้ในองค์กรให้เกิดความคามเจริญก้าวหน้า  นั้นคณะกรรมการจะต้องหาความรู้และสิ่งใหม่ๆมาใช้ในการบริหารงานสหกรณ์ให้เจริญก้าวหน้า  เพราะสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนหนองห้างจำกัด  ทำธุระกรรมอย่างเดียวคือการปล่อยเงินกู้ให้สมาชิกเท่านั้น  นั่นคือรายได้หลักของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนหนองห้าง

การหาธุรกิจใหม่ๆมาทำเพื่อให้เกิดรายได้จึงเป็นสิ่งจำเป็นของสหกรณ์ในอนาคต

      ผู้นำจะต้องมีสิ่งต่อไปนี้

๑. เป็นคนที่คิดไปข้างหน้า ๒. วางกลยุทธ์ในการบริหารงานองค์กร ๓. สร้างเครือข่ายและหาแนวร่วมในการบริหารงาน ๔. สร้างแรงบันดานใจให้กับเพื่อนร่วมงาน

   เมื่อได้ศึกษาแนวทางของ  Mandela  ทำให้ได้แนวคิดหลายอย่างที่ทำองค์กรเจริญก้าวหน้าได้เป็นอย่างดี  และสามารถนำตัวอย่างมาใช้กับตัวเองและนำไปใช้ได้  ทั้งความอดทน  การเรียนรู้สามารถนำไปใช้กับตัวเองและองค์กรได้.

ศึกษากรณีคุณยรรยงที่ ครม.

         .ในสงคมปัจจุบันการบริหารงานขององค์กรหรืองานบริหารทั่วไป  เราจะต้องคำนึงถึงคนรอบข้างที่เราทำงานด้วย  ว่าเขามีความคิดหรือแนวทางอย่างไรในการทำงาน  การจะทำอะไรหรือนำเสนออะไร  เราจะต้องศึกษาก่อนว่าแนวคิดของจะถูกต้องหรือไม่  ไม่ใช่เมื่อใครให้มาก็นำเสนอต่อโดยไม่มีการศึกษาเสียก่อน  เพื่อจะได้รู้ว่าเป็นงานที่เรารับผิดชอบหรือไม่  เพื่อความถูกต้องและเหมาะสม
            จริงอยู่งานบางอย่างเราคิดว่าถูกต้องแล้ว  แต่ในสถานการณ์บางอย่างอาจจะไม่เหมาะสมที่จะนำเสนอก็ได้
            การทำงานอะไรก็ตาม  ผู้นำจะต้องศึกษาใฝ่หาความรู้ให้มาก  เพื่อนำความความรู้และประสพการที่ได้รับ  มาปรับแต่งเพื่อให้เข้ากับงานที่เราทำ  จะได้เจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้นไป
        งานอะไรก็ตามเมื่อทำไปแล้วจะต้องมีการประเมินผลการทำงาน  ว่าถูกต้องหรือเหมาะสมหรือไม่ ประการใด  เพื่อให้ผลงานที่ทำดีที่สุด.

น.ส.ภัทรมน    สุธรรม

 

8  บทเรียนผู้นำของ  Mandela

ดิฉันได้อ่านและมีความรู้สึกว่า  ไม่คิดเลยว่า นักกฎหมายอย่าง   Mandela  จะมีความเมตตา  โดยทั่วไป ดิฉันคิดว่านักกฎหมายจะมีแต่  แพ้ กับ ชนะ (ไม่รู้คิดไปเองหรือเปล่า)  คุณ  Mandela  คุณ Mandela  มีความรู้ทั้ง  7  ด้าน ในคุณสมบัติผู้นำ

1. รู้หลักการ   ตั้งตนอยู่ในหลักการให้ได้ชุมชน  สังคม องค์กร หรือกิจการอะไรก็ตาม ก็ต้องมีหลักการ  มีกฎ  มีกติกา  ที่ผู้นำจะต้องรู้  ต้องชัด  แล้วก็ตั้งมั่นอยู่ในหลักการนั้น

2. รู้จุดหมาย   จะต้องมีความแน่วแน่มุ่งมั่นที่จะไปให้ถึงจุดหมายด้วย  ข้อนี้เป็นคุณสมบัติที่สำคัญมาก  ใครจะพูดจาว่าด่าเหน็บแนม  ไม่เก็บเป็นอารมณ์  ไม่ยุ่งกับเรื่องจุกจิกไม่เป็นเรื่อง ใจมุ่งสู่เป้าหมาย อย่างชัดเจนและมุ่งมั่นแน่วแน่

3. รู้ตน  ต้องรู้ว่าตนเองคือใคร มีภาวะเป็นอะไร  อยู่ในสถานะใด มีคุณสมบัติ  มีความพร้อม  มีความถนัด สติปัญญาความสามารถอย่างไร  จุดอ่อน จุดแข็งอย่างไร  และเตือนตนเองอยู่เสมอ

4. รู้ประมาณ  รู้จักความพอดี  หมายความว่าต้องรู้จัดขอบเขตที่ขีดขั้นความพอเหมาะที่จะจัดทำในเรื่องต่าง ๆ 

5. รู้กาล  คือ  รู้จักเวลา  เช่น  รู้ลำดับ  ระยะ  จังหวะ  ปริมาณ  ความเหมาะสมของเวลาว่า เรื่องนี้จะลงมือตอนไหน  เวลาไหนจะทำอะไรอย่างไรจึงจะเหมาะ  การพูดจาก็ต้องรู้จักกาลเวลา

6. รู้ชุมชน   รู้สังคมของประเทศชาติว่าอยู่ในสถานการณ์อย่างไร  เราก็ต้องรู้ความต้องการของเขาเพื่อสนองความต้องการได้ถูกต้อง

7. รู้บุคคล  เพื่อปฏิบัติต่อเขาได้ถูกต้องเหมาะสมและได้ผล  ตลอดจนสามารถทำบริการให้ความช่วยเหลือได้ตรงตามความต้องการ  รู้ว่าจะใช้วิธีสัมพันธ์พูดจาแนะนำติชมหรือจะให้เขายอมรับได้อย่างไร

ปัจจัยสำคัญยิ่งอย่างหนึ่งแห่งความสำเร็จของการทำหน้าที่ผู้นำของ Mandela คือ การปรับเปลี่ยนความต้องการของคน ดิฉันคิดว่า “ความต้องการ” เป็นตัวกำหนดเป้าหมายและทิศทาง

การตัดสินใจของคน ถ้าเปลี่ยนความต้องการของคนได้ ก็เปลี่ยนวิธีการหาความสุขของเขาได้ด้วย

*จากเหตุการณ์นี้สามารถนำมาปรับใช้ในสหกรณ์ได้ ก็คือ ประสปการณ์ที่ Mandela ประสบมา  นำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานสหกรณ์

กรณีศึกษาคุณยรรยง

ทำไมจึงเกิดเหตุการณ์ที่  ครม. วันที่  13

            1. คุณยรรยง ขาดความเป็นตัวของตัวเอง

            2. คุณยรรยง  ขาดความเชื่อมั่น

            3. คุณยรรยง  ถูกครอบขำจากนักการเมือง

3  ข้อ นี้  สามารถนำมาเป็น สิ่งย้ำเตือน สำหรับผู้บริหารงานในสหกรณ์  จะบริหารงานสหกรณ์อย่างไร ที่จะไม่ได้เกิด กรณีเช่นที่คุณยรรยงได้ประสบเมื่อวันที่  13  ได้

            

8 บทเรียนผู้นำของ Mandela 1. ความกล้าหาญ กล้าที่จะจุดประกายและเป็นต้นแบบให้คนอื่นๆเป็นเลิศ 2. การเป็นผู้นำอยู่ข้างหน้า ต้องรุกได้ แต่ต้องตั้งรับและไม่ประมาท 3. การนำอยู่ข้างหลัง ยกย่องให้เขามีความรู้สึกว่าเขาเป็นผู้นำจริง ไม่ใช่ “นอมินี” 4. การจัดการศัตรู ต้องรู้จักเขาดีว่าเขาชอบอะไร 5. ต้องใกล้ชิดคู่แข่งหรือคนที่เราไม่ชอบมากกว่าเพื่อน 6. ผู้นำต้องมีภาพลักษณ์ที่ดี มีเกียรติและสง่างามเสมอ ยิ้มและมีความเป็นกันเอง 7. ไม่เน้น ถูกหรือผิด 100% อาจพบกันครึ่งทาง การประนีประนอมที่เหมาะสม แต่รักษาหลักการไว้ และหาทางตกลงกันได้แบบ Win - Win 8. ต้องรู้จังหวะ “พอ” หรือ “ถอย” สามารถวิเคราะห์แบบ 360 องศา(รอบด้าน)เพื่อปรับวิธีคิดและวิธีการทำงาน

ความคิดและทัศนคติการเป็นมนุษย์ที่ดี ย่อมสร้างคุณค่าให้เกิดขึ้นกับตนเองและมีคนสดุดีถึงตอนตาย

ศึกษากรณี คุณยรรยงที่ครม.

กรณีขออนุมัติครม.ประมูลข้าวโพด  โดยแนวคิดของหนังสือ Think again มาวิเคราะห์  ดังนี้
  1. อ่อนประสบการณ์
  2. ขาดความรอบคอบในการใช้วิจารณญานที่เหมาะสม
  3. อาจจะถูกการเมืองนำไปสู่ความไม่โปร่งใส ทางรอดของคุณยรรยงในอนาคต คือ ถ้าบางเรื่องถูกต้อง การเมืองไม่พอใจ ก็ต้องยอมถูกย้าย หรือ เน้นแบบกลางๆ แบบ Win – Win ควรฝึกวิเคราะห์และประเมินอำนาจแฝงทางการเมืองให้เข้าใจ

ควรเอาประวัติของMandelaเป็นแบบอย่างในการทำงานเชิงรุก และเอาประวัติของคุณยรรยงเป็นแนวทางชั่งใจยั้งคิดยั้งทำ

นายพงศ์พันธ์ แก้วหาวงศ์

การบ้าน 1. อ่านแล้วได้อะไร - มีความเชื่อมั่นในตนเองมากเกินไป - เรื่องการประสานงานและการปฏิสัมพันธ์ที่เกิดความขัดแย้ง 2. การนำมาปรับใช้ในองค์กร - การปฏิสัมพันธ์ต้องมีความหนักแน่นและมั่นคง - การทำงานต้องมีความโปร่งใส ชัดเจน และยุติธรรม - การพิจารณางานหรือโครงการต่าง ๆ ต้องมีข้อมูลที่ชัดเจน

นางวาสนา แก้วหาวงศ์

อ่านแล้วได้อะไร - ทำให้มองเห็นว่าไม่มีการประสานงานที่ดีจึงทำให้งานเกิดความขัดแย้ง - การยึดถือและมีความเชื่อมั่นในตนเองมากเกินไป การนำมาปรับใช้ในองค์กร - ก่อนจะอนุมัติหรือพิจารณางานโครงการต่าง ๆ ต้องมีการหาข้อมูลที่ชัดเจนหาผลดีและผลเสียที่จะได้รับว่าถึงจุดคุ้มทุนหรือไม่ - การปฏิสัมพันธ์กับคน หน่วยงาน และองค์กรต้องมีความหนักแน่นและมั่นคง - การทำงานหรือโครงการแต่ละโครงการต้องมีความโปร่งใส ชัดเจน และยุติธรรม

บทเรียนจากความเป็นจริง โดย ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

            จากหนังสือพิมพ์แนวหน้าประจำวันเสาร์ ที่ 16 พฤษภาคม 2555
            เรื่อง ศึกษากรณี คุณยรรยง พวงราช ที่ ครม.
มีเรื่องที่น่าสนใจคือ อำนาจเป็นของผู้ที่ครอบครอง ความถูกต้องมักมาทีหลัง ความถูกใจ ความเป็นจริง อำนาจแฝงทางการเมือง มีทุกยุคทุกสมัยจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับผู้ครองอำนาจในช่วงเวลานั้นๆ
เรื่องนี้ให้ข้อคิดว่า การกระทำใดๆจะถูกหรือผิดอยู่ที่เจตนา บางเรื่องอาจจะต้องใช้เวลาจึงจะชำระมลทินชีวิตให้ตนเองได้

บทเรียนจากความเป็นจริง โดย ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

            จากหนังสือพิมพ์แนวหน้าประจำวันเสาร์ ที่ 16 พฤษภาคม 2555 ปีที่ 3 ฉบับที่ 20
            เรื่อง 8 บทเรียนผู้นำ Mandela
แนวคิด 2 เรื่อง Coaching และ Creativity ผู้นำต้องมีทั้ง 2 เรื่อง Coaching คือทักษะที่ผู้นำทุกคนต้องมี

คือ ต้องรู้ปัญหาต่างๆของลูกน้องหรือเพื่อนร่วมงาน Creativity ผู้นำต้องมีแนวคิดใหม่ๆเพื่อสร้างสรรค์งานไม่ยึดแบบเดิม คืองาน Routine เพราะถ้ามี Creativity ทุกคนจะมีพลัง องค์กรนั้นๆจะมี Energize

เกร็ดชีวิตท่านประธานาธิบดี Mandela เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก เพราะท่านได้พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสในระหว่างเวลาที่ติดคุก 27 ปี ท่านคิดหาวิธีปรองดองระหว่างคนผิวขาวและคนผิวดำและสามารถเกิดสันติภาพอย่างยั่งยืนและถาวร
อาจารย์ จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้สรุปประเด็นที่น่าสนใจของท่าน Mandela ไว้ 8 ประการ
  1. ความกล้าหาญ สามารถจุดประการความคิดจนเป็น Role Model ได้รับการเรียนรู้จากความเจ็บปวดและล้มเหลวผิดหวัง
  2. เป็นผู้นำที่พร้อมทั้งรุกและรับ เป็นผู้นำที่อยู่เบื้องหน้าคนทั้งปวง
  3. เป็นผู้นำที่วางแผล วิธีการ แต่อยู่ในแนวหลัง
  4. การบริหารศัตรูเหมือนที่ ซุนหลู่ กล่าวไว้ว่า เมื่อรู้จักศัตรูแล้ว รบร้อยครั้ง ก็ชนะร้อยครั้ง
  5. ผู้นำต้องใกล้ชิดกับเพื่อน แต่กับคนที่เราไม่ชอบต้องใกล้ชิดมากกว่า เพื่อประเมินกำลังของศัตรูได้
  6. เป็นผู้นำต้องมีภาพลักษณ์ที่ดี ต้องปรากฏกายอย่างสง่า พูดจาฉะฉาน มีความรู้สึก รู้จริง
  7. Mandela ใช้วิธีประนีประนอมมากกว่าสร้างความขัดแย้ง
  8. การเป็นผู้นำต้องรู้จังหวะการดำเนินการรู้รุก หรือ ถอย ไม่ใช่ยอมหักไม่ยอมงอและสามารถวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆแบบ 360 องศา ไม่เชื่อแต่คำบอกเล่า แต่ฟังแล้วรู้จักคิดวิเคราะห์หาเหตุผล

จากการได้อ่านหนังสือ ชื่อ 8 K’s + 5 K’s โดย ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ข้าพเจ้าได้ข้อคิดและความรู้ในเรื่องราวต่างๆมากมาย พอสรุปและนำเรียนให้ทราบ ดังนี้ 1. เรื่องทุนมนุษย์ เสียดายเวลาผ่านมาตั้งมากมายในชีวิตไม่เคยได้คิดถึงเรื่องนี้ เพราะทุนมนุษย์ทั้ง 8 ข้อ รวม อีก 5 ข้อ ล้วนเป็นเรื่องธรรมดาที่ไม่ธรรมดา ทำไมเราจึงไม่เคยมองคุณค่าของมนุษย์ แต่ต่อเมื่อได้ศึกษาอย่างลึกซึ้งคิดวิเคราะห์แล้วจึงพบความจริงว่าเราได้เพิกเฉยต่อภาระหน้าที่ที่ควรจะต้องต่อเพื่อนมนุษย์ มองภาพตรงๆที่ฉายอยู่เบื้องหน้า คือ ความไม่รู้ ความไม่มี โอกาสทางการศึกษา ไม่มีความสุขในชีวิตครอบครัว ความไม่ทัดเทียมในสังคม การพัฒนาที่หน่วยงานราชการลงไปถึงประชาชนรวดเร็วเหมือนไฟไหม้ฟางแล้วสิ่งที่ได้เรียนรู้ก็มอดไหม้ไม่ยั่งยืน ความไม่รู้ทางเทคโนโลยีใช้ไม่ถูก เช่น เด็กๆใช้เครื่องมือสื่อสารราคาแพงเพียงเพื่อเอาไว้คุยกัน เอาไว้ถ่ายภาพ ฯลฯ ซึ่งไม่ถูกต้องตามประโยชน์ที่พึงได้รับ เราในฐานะที่มีโอกาสได้มาเรียนหลักสูตรผู้นำจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำความรู้ไปเผยแพร่ต่อผู้อื่นได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งทุนด้านจริยธรรมเป็นผู้นำต้องเป็นแบบอย่างที่ดีมีความซื่อสัตย์สุจริตและยึดมั่นความถูกต้องเป็นสำคัญ ด้านทุนทางปัญญาเราให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากความรู้ 20% ส่วนอีก 80% ต้องเรียนจากความจริง เช่น สอนเรื่องการทำนา ทำการเกษตร การแปรรูปอาหาร การค้าขาย การประหยัดอดออม เป็นต้น 2. คนไทยต้องรู้เรื่องอะไรอีกบ้าง เพื่อเตรียมตัวเข้าสู่ระบบประชาคมอาเซียน ท่าน Peter Drucker ชาวอเมริกัน ที่ท่าน ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้กล่าวถึง ท่านได้กล่าวถึงคุณสมบัติของคนมีอยู่ 3 ประการ 1. ความถูกต้อง 2. จินตนาการ 3. นวัตกรรม ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้กล่าวถึงทุนทางสังคมได้มาจากการแสวงหาคนเก่ง การเจรจาต่อรอง การรับฟังเหตุผล ทั้ง 2 ฝ่าย บางครั้ง ต้องชนะทั้ง win / win ท่านมีวิธีการแสวงหาทุนทางสังคม 8 ข้อ ได้แก่ 1. คบหากับคนหลายกลุ่ม 2. เปิดโลกทัศน์พร้อมที่จะเรียนรู้ 3. มีบุคลิกที่เข้ากับคนง่าย 4. ศึกษาบุคคล หาจุดอ่อน จุดแข็ง 5. มีการติดตาม Follow Up สร้างเครือข่ายให้ได้ผลสูงสุด 6. ทำงานเป็นทีม เล่นเป็นทีม 7. มีทัศนคติที่เป็นบวก Positive Thinking 8. เข้าใจความหลากหลายในความคิดและวิถีชีวิตที่ต่างกัน เมื่อเป็นผู้นำแล้ว 1. อย่าเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวหรือประโยชน์ระยะสั้น 2. ต้องเน้น Trust ความไว้เนื้อเชื่อใจ การยอมรับนับถือ คือ Respect 3. รู้ถึงความแตกต่าง ทักษะ ความรู้ความเข้าใจ อย่าให้เกิดช่องว่าง Gap ในด้านเศรษฐศาสตร์ต้นทุนที่ทำให้มี Networking 1. ต้นทุนในการหาข้อมูลข่าวสาร Information Cost 2. ต้นทุนในการเจรจาต่อรอง ใน Asean คนต้องมีความรู้ความเข้าใจในวัฒนธรรมที่หลากหลาย ต้องมองการอยู่รอดในระยะยาวและความยั่งยืน Sustainability Capital เป็นที่มาของ K6 คือมีศักยภาพในการมองอนาคตว่าจะอยู่ได้ยั่งยืนเพียงใดเทียบเคียงกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  พอประมาณ  มีเหตุผล  มีภูมิคุ้มกัน ปัจจัยของความยั่งยืน 1. พัฒนาอย่างยั่งยืน 2. พัฒนาอย่างสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติต้องไม่ถูกทำลาย Green Development 3. ต้องมีคุณภาพ 4. ต้องเป็นวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ เป็นการหาความรู้อย่างต่อเนื่อง 5. ต้องให้ประชาชน สังคม ชุมชน เจริญเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 6. ต้องเป็นการพัฒนาที่พึ่งตัวเอง ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่ง คือ ความคิดเชิงบวก ได้แก่ 1. ความกล้าหาญ 2. ความเอื้ออาทร 3. การมองโลกในแง่ดี 4. การควบคุมตนเอง 5. การติดต่อสัมพันธ์ ในท้ายของหนังสือของท่านมีบุคคลต่างๆได้เขียนบทความที่น่าสนใจสำหรับข้าพเจ้า คือของ ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท ได้กล่าวถึงเรื่องการท่องเที่ยวว่า ทุนแห่งความยั่งยืนกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนให้ความเห็นว่า การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนนั้นยังไม่ถูกวิธี มนุษย์ได้ใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง โดยลืมไปว่าทุกอย่างมีอย่างขีดจำกัด มี Limit การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ วิถีชีวิตเชิงวัฒนธรรมเป็นสิ่งสำคัญ คนไทยต้องมีความคิดเชิงสร้างสรรค์ เชิงนวัตกรรม เพื่อให้การท่องเที่ยวมีความแปลกใหม่ไม่ใช่นำเสนอแต่สิ่งเก่าๆควรมีความคิดสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมไปถึงจริยธรรม “ผมว่าประเทศไทยค่อนข้างแปลก เราไม่เคยคำนวณถึงต้นทุน นักท่องเที่ยวไม่เคยมองในเรื่องความคุ้มค่าหรือความยั่งยืน ทุกคนคิดแต่เรื่องการตลาดและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ” และอีกท่านหนึ่ง คือ รัชดา เจียมสกุล ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านประชาคมอาเซียนมีกฎ 6 ข้อ เพื่อการแข่งขันใน AEC. ท่านผู้ใดสนใจต้องไปหาอ่านหนังสือของท่าน ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เพิ่มเติม อีกตอนหนึ่งของทฤษฎีทุนมนุษย์ของท่าน ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้มาจากครอบครัวของท่านที่มีคุณพ่อ คุณแม่ เป็นต้นแบบ และท้านได้เรียนรู้จากของจริง เรื่องจริง ในชีวิตทำให้ท่านเป็นบุคคลที่ทำคุณให้ชาติอย่างประเมินค่าไม่ได้ จากความใฝ่รู้ของท่าน ท่านกล่าวว่า “การเรียนรู้ไม่มีวันสิ้นสุด ความใฝ่รู้คือพื้นฐาน ที่สำคัญของการมีความคิดสร้างสรรค์และสร้างนวัตกรรมได้”

อ่านบทความแล้ว ได้แนวคิดของผู้นำ ก็คือ  

Coaching =>  เราต้องฝึกฝนลูกน้องสู่ความสำเร็จ ต้องพัฒนาลูกน้อง เพื่อสร้างผู้สืบทอดตำแหน่ง เราจะได้ก้าวไปสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น

Creativity => เราต้องสร้างบรรยากาศให้มีแนวคิดใหม่ๆ ในการทำงาน ปรับเปลี่ยนให้ดีขึ้นอยู่เสมอ (Kaizen) งานประจำต้องจัดทำมาตรฐานการทำงาน เพื่อลดเวลา เพิ่มประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกันก็ปรับปรุงให้ดียิ่งๆขึ้น

ส่วนประเด็นผู้นำของ Mandela สามารถให้แนวคิดการบริหาร เช่น ในข้อ 3.การนำอยู่ข้างหลัง เพราะแนวคิดผู้นำส่วนใหญ่ต้องอยู่ข้างหน้า

ซึ่งนับเป็นการก้าวข้ามแนวคิดเป็นเดิมๆ กลายเป็นผู้นำแบบผู้รับใช้ หรือผู้ให้บริการ (Servant Leadership) ที่เน้นไปที่คน ผู้นำมีบุคลิกที่

อ่อนน้อมถ่อมตน สร้างสมบารมี ไม่จำเป็นต้องแสดงอำนาจ แต่มีพลังในตนเอง ส่วนข้อ 7.การเป็นผู้นำที่มีแนวคิดไม่เน้นถูกหรือผิด 100% ใช้หลักการประนีประนอม ทุกฝ่าย Win-Win น่าจะทำให้ทุกคนทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข แต่ยังคงต้องมีจุดยืนของตนเองด้วย

เพื่อเป็นผู้นำที่เป็นแบบอย่างที่ดี (Role Model) เพราะผู้นำที่ดีวัดผลได้จาก เมื่อเราออกหรือจากไปแล้ว เราได้สร้างหรือทิ้งสิ่งใดไว้ให้คนข้างหลังให้กล่าวถึง นั่นแหละจะเป็นตัววัด ความเป็นผู้นำของเราคะ

 

กรณีศึกษาคุณยรรยงที่ ครม.

            เป็นกรณีศึกษาของข้าราชการกับนักการเมือง นักการเมืองเปลี่ยนตลอด แต่ข้าราชการประจำ อยู่ยาว ดังนั้น ข้าราชการที่ดีน่าจะต้องมีจุดยืนของตนเอง มุ่งมั่นที่จะทำสิ่งที่มีคุณค่าอย่างกล้าหาญ (อาจจะหายาก แต่น่าจะมีอยู่) เน้นที่ผลประโยชน์ของประเทศชาติและ ประชาชน ไม่ใช่ตอบสนองผลประโยชน์ทางการเมือง ต้องชัดเจนในบทบาทของตน เมื่อไม่ชัดเจนกลายเป็นถูกใจเจ้านาย แต่ไม่ถูกใจครม. ทั้งคณะ  

          การเป็นผู้นำ นอกเหนือจากความเก่งแล้ว ต้องมี Connection ที่ดี เป็นนักประสานสิบทิศ หากเทียบกับระบบการบริหารแบบญี่ปุ่น ก็จะเน้นการทำงานเป็นทีม การนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมเพื่ออนุมัตินั้น แสดงว่าเรื่องนี้ ได้ผ่านการพูดคุยนอกรอบ และทุกคนเห็นพ้องในเรื่องที่นำเสนอแล้ว การเข้าสู่ที่ประชุมเป็นเพียงรูปแบบการทำให้ถูกต้องตามขั้นตอนการบริหารเท่านั้น การพูดคุยนอกรอบ ทำให้เราทราบแนวคิดของทุกคน และนำสิ่งที่ทุกคนให้คำแนะนำไปแก้ไข จะได้ไม่พลาด เมื่อเข้าประชุม

            จากหนังสือ Think again ความผิดพลาดจากการขาดประสบการณ์ ขาดความรอบคอบ มีผลประโยชน์ทับซ้อน เล่นพวก ไม่สามารถทำให้เราประสบความสำเร็จได้ในบริบทของสภาพการแข่งขันในปัจจุบัน ดังนั้น เราต้องฝึกฝน เรียนรู้ หาข้อมูล หาเพื่อน หาทีม และติดตามงานอย่างใกล้ชิด

            สิ่งสำคัญในการทำงาน คือ จะต้องโปร่งใส ตรวจสอบได้ และผู้นำทุกคนควรมุ่งทำงานไปสู่จุดนี้ ให้ได้ โดยต้องประสานประโยชน์ให้เกิดความรู้สึก Win-Win กับทุกฝ่ายคะ.....

กัณฑ์กานต์ แดนเกตุ

เรียนท่านอาจารย์ ดร.จีระ ดิฉัน กัณฑ์กานต์ แดนเกตุ สค.เอ็มบีซี จำกัด เป็นลูกศิษย์อาจารย์รุ่นผู้นำสหกรณ์รุ่นที่ 2 รู้สึกเป็นเกียรติและยินดีที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของท่านอาจารย์ สุภาษิตกล่าวว่า คนเก่งมักเรียนรู้จากประสบการณ์ของตนเอง แต่คนฉลาดจะเรียนรู้จากประสบการณ์คนอื่น ดิฉันได้อ่านบทความที่ท่านอาจารย์มอบให้แล้ว รู้สึกชอบมาก ๆ เกี่ยวกับแนวความคิด เพราะคนเราถ้าจะเป็นผู้นำที่ดีและยิ่งใหญ่นั้น ต้องเริ่มจากแนวความคิดก่อน ส่วนวิธีการจะตามมา ปัจจุบันดิฉันมีผู้ที่อยู่ภายใต้ปกครองไม่มากนัก ทำให้ดูแลได้ทั่วถึง เอาใจเขามาใส่ใจเรา ยินดีเมื่อเขาทำสำเร็จและแนะนำเมื่อเขาแก้ปัญหาไม่ได้ จึงทำให้ สค.ของดิฉันมีปัญหาเกี่ยวกับการทำงานค่อนข้างน้อย ส่วนกับผู้บริหาร คณะกรรมการนั้นดิฉันก็ปรับตัวเปลี่ยนแปลงตัวเองเป็นอย่างมาก ในเรืองของข้อมูลต่าง ๆ จะต้องเตรียมพร้อมเสมอสำหรับคำถามต่าง ๆ ที่จะตามมา ค่อย ๆ เริ่มศึกษาผู้คนและกรรมการแต่ละคนว่าเป็นยังงัย และก็ปรับการทำงานให้เข้ากับเขาได้ทุกคน

 ขอขอบพระคุณสำหรับบทความดี ๆ ที่อาจารย์มอบให้ในครั้งนี้ ในวันที่ 14-15 ที่จะถึงนี้ ดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความรู้เพิ่มเติม เพื่อที่จะได้นำมาปรับประยุกต์ใช้กับองค์กรของดิฉัน การเข้าอบรมในครั้งนี้ เกินคุ้มค่ะ ^_^

กรณีศึกษาของยรรยง พวงราช

       มีประเด็นอยู่ที่ว่า การทำงานระหว่างผู้ใต้บังคับบัญชา กับ ผู้บังคับบัญชา ผู้บังคับบัญชามักจะต้องการความถูกใจมากกว่าความถูกต้อง    เมื่อผู้ใต้บังคับบัญชาทำสิ่งที่ถูกต้องแต่อาจจะไม่ถูกใจก็อาจจะอยู่ลำบาก     ซึ่งปัจจุบัน  มักมีคำกล่าวในสภากาแฟเสมอว่า  คนที่สนองความถูกใจเจ้านายมักได้ดี ทั้งๆที่ทำงานไม่ดี     “ ดีครับนาย ใช่ครับผม เหมาะสมครับท่าน “  อาจจะมีชีวิตการงานก้าวหน้ากว่าก็ได้

8 บทเรียนผู้นำ Mandela

      พบว่าการต่อสู้ไม่จำเป็นต้องเอาชนะแบบสะใจ  และบนความชนะของผู้ชนะก็ไม่จำเป็นต้องมีผู้แพ้เสมอไป  และสิ่งที่ยิ่งใหญ่ของ Mandela คือสามารถทำให้ประชาชนของแอฟริกาใต้ทุกคนเป็นผู้ชนะ   และชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ คือการชนะใจตนเอง ไม่มีตัวตน  ไม่มีการล้างแค้น  และรู้จักการยุติ  ปล่อยวาง “ อยากให้ผู้นำการเมืองไทยยึดถือเป็นแบบอย่าง  ประเทศเราจะได้ร่มเย็นแน่นอน “

สรุปบทความบทเรียนจากความจริง เปรียบเทียบระหว่างบุคคลสำคัญในต่างประเทศและในประเทศไทย โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ให้สรุปหาข้อเปรียบเทียบแนวคิดของผู้นำระหว่าง Mr. Nelson Mandela กับ คุณยรรยงที่ ครม.

ได้อ่านบทความของ Mr. Nelson  Mandela  ทั้ง  2  เรื่องเป็นประเด็นที่สำคัญดังนี้
  1. Coaching คือทักษะที่ผู้นำทุกคนต้องมี คือการที่คนๆหนึ่งช่วยให้ใครก็ตามพัฒนาความสามารถในการทำงานไปสู่จุดที่ประสบผลสำเร็จ
  2. Creativity คือเรื่องความคิดสร้างสรรค์ คือความสามารถที่จะจินตนาการหรือประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆไปสู่ความโดดเด่นและนำไปปฎิบัติ
          ทั้งสองข้อนี้ก็เป็นใน 8 ประเด็นที่จะโยงเข้าสู่การสรุปเปรียบเทียบของผู้นำในต่างประเทศและผู้นำในประเทศไทยในประเด็นดังนี้
                               ได้อ่านบทความกรณีศึกษาของคุณยรรยงที่ ครม.
    
    โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ให้สรุปเป็นประเด็นที่สำคัญข้าพเจ้าสรุปได้ดังนี้
           การทำงานกับการตัดสินใจพูดต่อสาธารณชนถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดควรคิดพิจารณาก่อนที่จะพูดหรือจะกระทำการใดๆเพราะถ้าพูดหรือกระทำออกไปแล้วไม่สามารถจะแก้ไขอะไรได้ก็จะทำให้เกิดภาพลักษณ์ ที่ไม่ดีต่อตนเองทำให้ค่านิยมและความศรัทธาหมดไปจากความรู้สึกของผู้พบเห็นผลออกมาก็จะทำให้คนฟังหมดความศรัทธาต่อผู้พูดได้แต่การพูดตามหน้าที่ด้วยความเป็นจริงก็ลำบากการจะพูดเพื่อให้ตนเองอยู่รอดก็ลำบากคนที่อยู่ตรงกลางระหว่างสองฝ่ายที่มีอำนาจมากกว่าตนเองทำให้การตัดสินใจของผู้พูดมีผลต่อตนเองทั้งสิ้นดังนั้นดิฉันเข้าใจคุณยรรยงว่าต้องตัดสินใจเลือกพูดที่ต้องทำให้ตนเองเจ็บน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้เพราะมันเลือกตัดสินใจไม่ได้ในเมื่อมันจำเป็นต้องตัดสินใจพูดตามหน้าที่ที่ตนเองรับผิดชอบอยู่แต่เมื่อพูดออกไปแล้วผลที่ตามมาจะทำให้ฝ่ายไหนพึงพอใจมากน้อยเพียงไรก็สุดแล้วแต่จะคิดแต่สำหรับตนเองต้องเจ็บปวดใจที่ทำให้คนที่ชื่นชมตนเองมาตลอดหมดศรัทธากับคำพูดที่ตนต้องตัดสินใจพูดอย่างนั้นก็เหมือนกับประเด็นของความเป็นผู้นำของ Mandela กล่าวถึง 8 ข้อดังนี้
    
  3. ความกล้าหาญ ไม่ใช่ไม่มีความกลัวแต่ต้องการจุดประกายให้คนอื่นสามารถไปสู่จุดหมายของความเป็นเลิศได้อะไรจะเกิดก็ต้องยอมรับ
  4. การเป็นผู้นำอยู่ข้างหน้า ถ้าจำเป็นก็อย่าเปิดแนวหลังให้มีความอ่อนแอเพราะจะทำให้ตนเองลำบาก
  5. การเป็นผู้นำอยู่ข้างหลัง ต้องไม่ทำแบบ “นอมินี”ให้คนข้างหน้ารู้สึกว่าตนเองไม่มีเกียรติไม่มีศักดิ์ศรีไม่มีความภาคภูมิใจในบทบาทหน้าที่ของตนเองที่ได้รับเลย
                                                            1                                          นางทัศนีย์    สมธิ       13/9/55
    
  6. ถ้าจะจัดการบริหารศัตรูต้องรู้จักเขาดีพอก่อนที่จะดำเนินการ
  7. การจะอยู่อย่างผู้นำควรใกล้ชิดกับเพื่อนซึ่งเป็นที่แน่นอนอยู่แล้วแต่หากเป็นศัตรูหรือกับคนที่เราไม่ชอบต้องอยู่ใกล้ชิดมากกว่าเพื่อนสนิทจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด
  8. ผู้นำต้องมีภาพลักษณ์ที่ดี สง่างามสามารถทำให้ผู้พบเห็นรู้สึกชื่นชมและชอบเป็นที่พึงพอใจและรักใคร่ของคนทั่วไป
  9. การเป็นผู้นำอย่าไปเน้นถูกหรือผิดแบบ 100 % ทุกปัญหามีทางออกหาทางประนีประนอมตามความเหมาะสมแต่ทุกอย่างต้องอยู่ในกฎเกณฑ์และหลักการควรจะตกลงกันแบบ Win Win แบบบัวไม่ให้ช้ำน้ำไม่ให้ขุ่นก็จะเป็นทางออกที่ดี
  10. การเป็นผู้นำที่ดีต้องรู้จังหวะไหนจะ “พอ” หรือ จังหวะไหนจะ “ถอย” คนเราต้องรู้การจะเป็นผู้นำที่ดีต้องมีสติและปํญญาที่ชาญฉลาดมากกว่าคนอื่นๆในการตัดสินใจเพราะการตัดสินใจของผู้นำนั่นหมายถึงความประสบผลสำเร็จหรือความล้มเหลวอยู่ที่การตัดสินใจของผู้นำที่จะดำเนินการหรือตัดสินใจเรื่องนั้น

                                                                   2                                        นางทัศนีย์   สมธิ    13/9/55
                       ข้าพเจ้ามีแนวคิดที่จะนำเอาเทคนิคความรู้ที่ได้อ่านไปปรับใช้
                                        ในการบริหารคนและงานในองค์กรดังนี้
    
  11. เปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชาแสดงความคิดเห็นตามความเป็นจริง “ ยามที่ผู้ใต้บังคับบังชาไม่พูดถึงปัญหาของเขากับเรา นั่นก็หมายความว่าเขาไม่ได้อยู่ใต้บังคับบัญชาของเราอีกต่อไป” ก็คือผู้นำต้องเปิดโอกาสให้ลูกน้องได้ใกล้ชิด และพูดคุยถึงความคิดเห็นของตนโดยไม่ต้องกังวลว่าจะถูกลงโทษ

  12. อย่ามัวแต่รอรับคำสั่ง
       “หากไม่ลองลงมือทำ เราจะไม่มีวันรู้ว่าอะไรที่เราทำได้”  เราพบว่าความแตกต่างของคนไม่ได้อยู่ที่ประสบการณ์และการศึกษา แต่อยู่ที่เจตนารมณ์อันแน่วแน่ที่จะทำงานให้ได้ผลดีที่สุด ผู้จัดการในกลุ่ม “ธรรมดา”จะทำงานตามคำสั่งที่ได้รับมาหลังจากภาระกิจสำเร็จลุล่วงแล้วก็คอยรับคำสั่งใหม่ต่อไป แต่ผู้จัดการกลุ่ม “พิเศษ”จะไม่เสนอขอให้ผู้บังคับบัญชาของตนให้ลองวิธีการใหม่ๆและจะเป็นกลุ่มที่มีความรับผิดชอบและรับคำสั่งและมักจะมองข้ามเรื่องหยุมๆ หยิมๆไปเพื่อให้ภารกิจลุล่วงไปด้วยดี
    
  13. อย่าเชื่อผู้เชี่ยวชาญไปเสียทั้งหมด
         “ต้องมองให้เห็นถึงเนื้อแท้ของเรื่องราว อย่าถอยหนีเพียงเพราะไม่ชอบข้อเท็จจริง”
    

    การที่ผู้นำมีความคิดเห็นที่แตกต่างจากผู้เชี่ยวชาญ ไม่ได้แสดงว่าเรากำลังแสดงอำนาจ บาตรใหญ่ และก็ไม่ใช่เป็นการจับผิดที่ไร้เหตุผล แต่เป็นการช่วยเหลือองค์กรให้บรรลุถึงเป้าหมายมากกว่า

  14. เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน “ยามที่เราได้รับคำสั่งให้ปฏิบัติภารกิจใหม่ สมาชิกทุกคนในองค์กร ต้องเข้าใจเหมือนกัน” พวกเราต้องเลือกงานที่เชื่อมั่นว่าจะสามารถดำเนินการให้สำเร็จลุล่วงไปได้ โดยตั้งเป้า หมายที่ไม่ยากและซับซ้อนเกินไป เพื่อให้สมาชิกทุกคนในองค์กรเข้าใจและพร้อมจะปฏิบัติตามที่ได้รับมอบหมาย
  15. ให้ความสนใจกับรายละเอียด “เราจะสำเร็จการใหญ่ได้ ก่อนออื่นต้องเริ่มบ่มเพาะจากเรื่องเล็กๆ ความสำเร็จไม่ได้มาด้วยโชค แต่เป็นผลมากจากความพยายามมานะบากบั่น” ผู้นำองค์กรมักมีงานการรัดตัว จึงให้ความสำคัญกับภาพรวมโดยละเลยรายละเอียดปลีกย่อย เรากำลังลืมไปว่าภาพรวมนั้นเกิดขึ้นจากรายละเอียดปลีกย่อยที่มารวมตัวกัน ถึงกระนั้นเราก็ไม่สามารถปวดหัวรักษาหัว เจ็บเท้ารักษาเท้า หรือสนใจแต่สิ่งเล็กๆน้อยๆโดยละเลยสิ่งที่สำคัญในองค์รวมเราต้องเข้าใจในรายละเอียดว่าจะช่วยในการวางแผนงานที่ดีและมีประสิทธิภาพ
                                                     3                          นางทัศนีย์   สมธิ        13/9/55
    
  16. ปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ “เราจะไม่วางกรอบให้ตัวเอง ไม่เดินตามวิธีบริหารแบบสมัยนิยม วิธีการที่จะทำให้ภารกิจสำเร็จลุล่วงไปได้นั้น เราต้องกำหนดตามสถานการณ์เฉพาะ” “สามารถรู้แจ้งในสถาน การณ์อย่างแม่นยำ จึงจะสามารถนำคนอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ สภาพการณ์สามารถเปลี่ยนแปลงได้ทุกเวลา ดังนั้นผู้นำที่ดีจะต้องเตรียมพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนยุทธการให้เข้ากับเหตุการณ์เสมอ”หรือทำทุกอย่างเพื่อให้บรรลุผลถึงเป้าหมายโดยไม่เลือกวิธีการ
  17. เชื่อมั่นในผู้ลงมือปฏิบัติการ “เราผู้ที่ลงมือปฏิบัติการจะเป็นผู้ที่เข้าใจปัญหามากที่สุด มองสถานการณ์ได้ชัดเจนที่สุด ดังนั้นจึงมักเป็นผู้ที่รู้ซึ้งและมีข้อคิดเห็นที่เฉียบแหลมที่สุด” การทลายฝ่ากรอบการทำงานแบบเก่าๆได้นั้นมักไม่ได้เกิดจากหน่วยงานกลางขององค์กร หน่วยกลางขององค์กรสามารถให้การสนับสนุนให้เกิดการปฏิรูป แต่ไม่สามารถนำมาซึ่งการปฏิรูปที่จะนำพาองค์กรไปสู่ความก้าวหน้าได้ โดยปกติแล้วเราในหน่วยงานที่เป็นผู้ลงมือปฏิบัติตากหากเป็นผู้กำหนดให้เกิดผลสำเร็จ
  18. มองโลกในแง่ดี “เราจงขจัดปัจจัยที่ไม่เอื้อประโยชน์ออกไป เพื่อลดอุปสรรคต่อแผนงาน และจงอย่าท้อแท้เป็นอันขาด” บางครั้งผู้นำที่มองโลกในแง่ดีอาจจะไม่อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง อาจจะประเมินค่าความสามรถของตนสูงเกินความเป็นจริงทว่ายามที่ต้องเผชิญกับอุปสรรค เราก็สามารถรับมือได้อย่างทรหดมั่นคง ไม่สับสนว้าวุ่น ส่วนผู้นำที่มองโลกในแง่ร้ายมักจะยอมแพ้กับอุปสรรคและเลิกราไปโดยง่าย ยิ่งเป็นศึกที่หนักไหร่ เราก็ยิ่งต้องเผชิญหน้ากับมันด้วยการมองโลกในแง่ดีเท่านั้น ผู้นำที่ประสบความสำเร็จแม้จะตกอยู่ในสภาวะที่ยากลำบากก็ยังสามารถปลุกความหวังและความเชื่อมั่นของตนเองขึ้นมาได้ และนี่ก็คือเหตุผลที่ทำให้เราต้องการผู้นำที่ประสบความสำเร็จการมองโลกในแง่ดีสามารถช่วยเพิ่มพูนพละกำลังคือความหวังและความเชื่อมั่นของผู้นำสามารถแพร่ขยายติดต่อไปยังผู้คนในองค์กรได้ทำให้ทุกคนมีความหวังและความเชื่อมั่นแบบเดียวกันหากเราเป็นผู้นำประสบกับปัญหายุ่งยากจงพยายามเผชิญกับมันด้วยมุมมองที่ดีโดยเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาสอย่ายอมแพ้เราก็จะเป็นผู้นำที่ประสบผลสำเร็จแน่นอน

                                                4                                   นางทัศนีย์   สมธิ      13/9/55
    

4 กันยายน  2555

การพัฒนาขบวนการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนในเอเชีย และประเทศไทย

โดย  Mr. Ranjith Hettiarachchi

ผู้อำนวยการสมาคมสมาพันธ์สหกรณ์และเครดิตในเอเชีย (ACCU)

แปลโดย

ดร.พงศ์เทพ อันตะริกานนท์

กรรมการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

 

  • หลักการมีมาแล้ว 157 ปี เครดิตยูเนี่ยนไม่ใช่แค่ให้เงิน แต่ทำให้การใช้เงินเป็นไปอย่างถูกต้องรวมถึงมีการพัฒนาคุณภาพชีวิต ทำให้ประชาชนมีขวัญกำลังใจ และมีสิ่งต่างๆโดยให้การศึกษาเขา
  • เครดิตยูเนี่ยนในเอเชียแบ่งเป็น 5 กลุ่ม

1.เพิ่งเริ่ม เช่น ภูฏาน

2.เปิดเขตใหม่  เช่นลาว กัมพูชา

3.กำลังพัฒนา เช่นอินเดีย ศรีลังกา

4.พัฒนาแล้ว ไต้หวัน เกาหลี

5.รวมตัวอย่างเข้มแข็งเช่น ไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย

  • กลยุทธ์ทำให้เครดิตยูเนี่ยนในเอเชียยั่งยืน
  • การสร้างแบรนด์
  • การเปรียบเทียบ Benchmarking
  • บริหารความเสี่ยง
  • การทำให้กองทุนมีความมั่นคง
  • ต้องสร้างให้เกิดวิสัยทัศน์ พันธกิจ
  • สร้างความสำคัญ 4 เรื่อง คือโครงสร้างการเงิน การดูแลสมาชิก ดูแลกระบวนการธุรกิจระหว่างประเทศ ให้ความรู้
  • เครดิตยูเนี่ยนเป็นสหกรณ์เกี่ยวกับการเงินที่สมาชิกเป็นเจ้าของและควบคุมการทำงานให้สินเชื่อแก่สมาชิกเพื่อให้เขามีอิสรภาพทางการเงิน สมาชิกมีสิทธิ์ตัดสินใจเรื่องธุรกิจ
  • ในพันธกิจของเครดิตยูเนี่ยน คือการทำงานของสมาชิก ช่วยกันโปรโมทให้เข้มแข็งให้มีความยั่งยืนทางเศรษฐกิจและสังคม
  • การสร้างความยั่งยืนต้อง
  1. การเงินพร้อมเสมอ
  2. สมาชิก เราต้องมองความต้องการลูกค้าเป็นหลัก
  3. ช่วยให้สินค้าขายได้
  4. ช่วยดำเนินงานของลูกค้า
  5. ให้ความรู้
  6. ทำให้พนักงานพึงพอใจและประสิทธิภาพในการทำงานสูง
  7. ทำให้สมาชิกมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

คำถาม

สามารถแข่งขันขององค์กรอื่นได้หมายถึงเรื่องอะไร กับองค์กรไหน ACCU จะช่วยเหลืออะไรเราได้แหล่งเงินที่ได้มาควรมีอัตราดอกเบี้ยต่ำ ช.ส.ค.กำลังหาแหล่งสนับสนุน

ตอบ

จะไม่ให้การช่วยเหลือการเงินอย่างเดียว แต่จะช่วยเหลือวิชาการและการกระตุ้นต่างๆ

เนื้อหา

  • มีการส่งเสริมผู้นำเครดิตยูเนี่ยนให้มีความรู้ในการจัดการ
  • มีการจัดการสอนสำหรับผู้อำนวยการกลุ่มต่างๆให้เหมาะสมกับงานของตน ทำให้เข้าใจเรื่องความยากจนของประชาชน
  • กรรมการมีหน้าที่บริหารจัดการวางกฎ ก็ต้องได้รับการอบรมจาก ACCU แล้วการบริหารด้านอื่นๆก็จะดีขึ้น
  • การบริหารจัดการที่ดี ต้องวัดที่แบรนด์ ทำให้คนเข้าใจและศรัทธาในองค์กร ต้องสร้างกฎที่เหมาะสม
  • ถ้าเป็นเครดิตยูเนี่ยนเข้มแข็ง แต่ชุมชนรอบข้างล้มเหลว ก็มีผลกระทบ ต้องดูแลชุมชนรอบข้างด้วย
  • ถ้าเครดิตยูเนี่ยนล้มลงก็กระทบแห่งอื่น ก็มีกองทุนช่วยเหลือความมั่นคง ต้องช่วยซึ่งกันและกันไม่ให้ล้ม ต้องมีการอบรมเพื่อสร้างความเข้มแข็ง
  • แก้ปัญหาในปัจจุบัน อย่ามองไปข้างหน้ามากนัก แล้วจะดีขึ้น
  • ปรัชญาที่สำคัญ 3 ข้อคือ
  1. ต้องให้อิสรภาพ ประชาธิปไตยในโครงสร้าง เช่น เปิดโอกาสให้สมาชิกมามีส่วนร่วม
  2. ดูแลประชาธิปไตย  มองทุกคนเท่าเทียมกัน
  3. ให้บริการสมาชิก  เช่น การให้บริการแก่สมาชิกและกระจายสมาชิกให้สมาชิก สร้างความมั่นคงให้สมาชิก
  • มองเป้าหมายสังคม เช่นการให้การศึกษา ร่วมมือกันทำงานระหว่างสหกรณ์ มีความรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกัน ทำให้ประชาชนกินดีอยู่ดีขึ้น
  • ทั้ง 3 ข้อนี้ ทำให้เครดิตยูเนี่ยนแตกต่างจากธนาคาร
  • ในด้านกรรมการบริหารก็ดูแลเรื่องปฏิบัติการ กฎระเบียบ
  • กรรมการที่ปรึกษาดูแลเงินสมาชิก ดูแลผลประโยชน์ตกอยู่ที่สมาชิก
  • กรรมการทั้งสองประเภททำงานในระดับเดียวกันโดยร่วมมือกัน
    • อนุกรรมการดูแลสินเชื่อต่างๆและให้การศึกษาแก่สมาชิก
    • ลาว พม่ามองโกเลีย มีจุดมุ่งหมายทำงานปีสหกรณ์สากล
    • จุดประสงค์คือ ลดความยากจน เกิดการจ้างงาน รวมตัวอยู่ร่วมกันในสังคม
    • เป้าหมายคือทำให้ทุกคนตระหนักเรื่องเครดิตยูเนี่ยน การขยายงานให้เติบโต นโยบาย
    • ถ้าเราไม่ร่วมมือกันก็ไม่สามารถยกระดับตนเองได้

ขบวนการสหกรณ์ในประเทศไทย

  • ขบวนการสหกรณ์ในประเทศไทยเริ่มปี 1915
  • โครงสร้างบริหาร
  • มีกรมส่งเสริมสหกรณ์ มีกรรมการบริหารระดับชาติ และที่นี่ ชสค
  • มีกรอบต่างๆอยู่ มีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์
  • องค์กรในการบริหาร มีรัฐมนตรีเป็นประธาน มีเลขาธิการ สมาชิก ส่วนมากเป็นองค์กรระดับกรมและสำนักงาน
  • สถิติการพัฒนาสหกรณ์ในประเทศไทย 31ธันวาคม 2508 มีสมาชิก 8 ล้านคน 5000 กว่าสหกรณ์
  • มีสมาชิก 2 แบบ ชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทยและ ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย
  • ประเทศไทยน่าจะดำเนินการเครดิตยูเนี่ยนได้ประสบความสำเร็จ

การพัฒนาขบวนการสหกรณ์ในประเทศไทย

โดย นายถาวร สุภณาวรรณ์

ผู้เชี่ยวชาญกรมส่งเสริมสหกรณ์

  • เครดิตยูเนี่ยนมีอัตราโต 9.50%
  • สหกรณ์ร้านค้าโตลดลง
  • เครดิตยูเนี่ยนมีสมาชิกหญิง 54% ชาย 46% เป็นแห่งเดียวที่มีสมาชิกหญิงมากกว่า
  • เครดิตยูเนี่ยนผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 82% รองจากสหกรณ์ออมทรัพย์ที่ผ่าน 96%
  • สหกรณ์ไทยมี 7 ประเภท ในภาคเกษตร 3 ประเภท นอกภาคเกษตร 4 ประเภท (เอกสงค์) จริงๆแล้วทำกิจได้ทุกอย่างอเนกประสงค์ตามพ.ร.บ.
  • แต่ปัญหาอยู่ที่ข้อบังคับของตัวสหกรณ์เอง
  • สหกรณ์ไม่ใช่คณะบุคคล ถ้าช่วยเหลือตนเองได้ ก็ไม่รวมตัวกันเป็นสหกรณ์
  • สหกรณ์ไม่ควรได้รับการยกเว้นภาษี เพราะตอนนี้นำกำไรไปแบ่งสมาชิกผู้ถือหุ้น ก็เหมือนธุรกิจ
  • สหกรณ์ช่วยลดรายจ่ายสมาชิก เช่น ขายแก่สมาชิกถูกลง
  • สหกรณ์ช่วยเพิ่มรายได้ เช่นให้กู้โดยคิดดอกเบี้ยต่ำกว่า และรับซื้อผลผลิตจากสมาชิกในราคาที่สูงกว่า
  • เครดิตยูเนี่ยนต้องดูแลประโยชน์ผู้ฝากเงินและกู้เงินให้สมดุลกัน
  • วิสัยทัศน์สหกรณ์ต้องเป็นรูปธรรม
  • มาตรา 46 อำนาจกระทำการ กำหนดว่า อำนาจกระทำการของสหกรณ์อยู่ภายได้วัตถุประสงค์ โดยดูข้อ1 เป็นหลักคือเพื่อประโยชน์ของสมาชิก
  • ถ้าซื้อจากสหกรณ์หนึ่งแล้วไปขายอีกสหกรณ์ถือว่าไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของสมาชิก
  • มาตรา62 เงินที่เหลือจากการกระทำของสมาชิกนำไปลงทุนได้ต้องอยู่ในวัตถุประสงค์ของสหกรณ์
  • สหกรณ์ยังไม่มีเป้าหมาย จริงๆต้องมีเป้าหมายเพื่อสมาชิก เช่นลดหนี้ ปลดหนี้และมีเงินออมพอเพียง
  • สหกรณ์ต้องการกำไรสุทธิเท่าที่จำเป็น แต่ต้องคุ้มครองสมาชิกด้านสมาชิกและเศรษฐกิจด้วย
  • สหกรณ์ประเทศไทยยังไม่มีกลไกช่วยสมาชิกทำให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างสมาชิกกับรัฐบาล
  • สหกรณ์ต้องเข้มแข็ง จัดเงินทุนสำรองให้เพียงพอ
  • ต้องแก้ปัญหาเงินเดือนสหกรณ์ที่ต่ำ ทำให้คนเก่งหนีไปทำงานที่อื่น
  • การจ้างผู้จัดการสหกรณ์มักไม่มีระยะเวลา และไม่มีระบบ ต้องมีทั้งระบบจูงใจและกดดัน
  • สหกรณ์เลือกคนจากการสอบคัดเลือก อาจจะได้คนมีความรู้มากแต่ความสามารถต่ำ ต้องพิสูจน์ความรู้ความสามารถ เช่น ให้ทำแผนธุรกิจแล้วมีการประเมินสิ้นปี  ต้องให้เงินเดือนสูงแก่คนมีความสามารถด้วย เมื่อประเมินผ่าน ก็จ้างตลอด
  • ปัจจัยความสำเร็จของสหกรณ์ขึ้นอยู่กับฝ่ายจัดการ แรงจูงใจมีความสำคัญพอๆกับความเก่งถ้าขาดแรงจูงใจ ก็ไม่ทำงานที่ยาก

 แนวทางการพัฒนา

  • สหกรณ์ควรใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงขับเคลื่อนพัฒนาสหกรณ์ เช่น สร้างองค์ความรู้ให้ตัดสินใจอย่างมีเหตุผล ตั้งสวัสดิการ ทุนรักษาราคาสินค้า
  • ต้องมีเป้าหมาย
  • วิสัยทัศน์สหกรณ์ คือ สหกรณ์เข้มแข็ง
  • ขบวนการสหกรณ์คือระบบสหกรณ์ต้องเชื่อมโยงกัน

 

การเขียนโครงการพัฒนาสหกรณ์

โดย  ผศ.ดร.รังสรรค์  ปิติปัญญา

คำว่าผลประโยชน์เป็นจุดเริ่มต้นของความเสียหาย

การเขียนโครงการต้องตอบคำถามเหล่านี้ให้ได้

1.จะทำอะไร ต้องทำเรื่องที่มีประโยชน์

  • ต้องวิเคราะห์ตนเอง SWOT ดูเงื่อนไขภายนอกและเงื่อนไขภายใน

เงื่อนไขภายใน (เราสามารถจัดการได้) เช่น คน ทุน เครื่องมือ ระบบการจัดการ

คนประกอบด้วย

  • สมาชิก แบ่งตามรายได้และความเข้าใจเรื่องสหกรณ์
  • มีเงินและเข้าใจสหกรณ์ดีถือว่ามีคุณค่าออมเพื่อให้ความช่วยเหลือเพื่อนที่เดือดร้อนอยู่
  • มีเงินแต่ไม่เข้าใจเรื่องสหกรณ์  มีเงินและจะหาผลประโยชน์จากสหกรณ์ เรียกร้องให้เพิ่มเงินปันผล ถ้าไม่ได้ตามที่เรียกร้องก็ถอน
  • มีเงินน้อยแต่เข้าใจสหกรณ์ดี ช่วยกันแก้ปัญหาเพื่อช่วยให้หลุดพ้นจากปัญหา
  • มีเงินน้อยและไม่เข้าใจเรื่องสหกรณ์  เน้นกู้สม่ำเสมอ เรียกร้องสวัสดิการแบบไม่สมเหตุสมผล ระบบของสหกรณ์ 1 คน 1 คะแนนเสียงทำให้เป็นปัญหา ถ้าใช้กับคนไม่เข้าใจ ก็ไม่มีประโยชน์ ตอนนี้มีการประกันภัยผู้ค้ำ โดยให้มีผู้ค้ำ 2 คน ทำให้เป็นปัญหา
  • กรรมการ
  • ต้องเสียสละเข้ามาทำงาน
  • กรรมการยังไม่ยกระดับตนเองเพื่อทำงานระดับบริหาร ทำงานที่ใหญ่ขึ้น 
  • กรรมการจำนวนมากบริหารการเมืองมากกว่าธุรกิจ จึงให้บริการเพื่ออยากได้คะแนนนิยมจากสมาชิกมากๆ
  • เจ้าหน้าที่
  • จำนวนขึ้นอยู่กับปริมาณธุรกิจ
  • ความสามารถต้องมีการพัฒนาตลอด ซึ่งของเครดิตยูเนี่ยนก็พัฒนาตลอด
  • สมาชิกจะด่าหรือไม่ด่าสหกรณ์ขึ้นอยู่กับเจ้าหน้าที่
  • จริยธรรมเป็นเรื่องสำคัญ บริหารจัดการมีธรรมะจะทำให้ไม่มีปัญหา

เงินทุน

  • สหกรณ์ไม่มีปัญหาปริมาณเงิน โดยรวมเงิน 80% มาจากหุ้นและเงินฝาก
  • ปัญหาคือการจัดการกับเงินที่เหลืออยู่ ต้องเตรียมในทุกระดับ
  • คุณภาพเงินต้องดูแหล่งที่มาของเงินและเงื่อนไขด้วย เช่นอัตราดอกเบี้ย ระยะเวลาชำระคืน งวดชำระคืน

เครื่องมือ

  • สถานที่
  • เรามีพัฒนาการด้านสถานที่ และจะมีมากเกิน
  • เครื่องมือ
  • ทันสมัย มีคอมพิวเตอร์ ทำ E-commerce ได้
  • Software
  • สำคัญ
  • ที่เกาหลีใช้เหมือนธนาคารเชื่อมโยงกันหมด เราควรทำตามอย่าง แต่เรายังถกเถียงกันและไม่เชื่อกัน
  • สหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ใช้บัตรไปกดเงินธนาคารไทยพาณิชย์ได้แล้วตัดเงินในบัญชีสมาชิกสหกรณ์ เร็วๆนี้ก็จะมีตู้เอทีเอ็มสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

การจัดการ

  • มีโครงสร้างแนวดิ่ง ต้องรอสั่งการก่อนตัดสินใจ มีการคานอำนาจกันและกัน
  • ควรจะเป็นโครงสร้างแนวราบสำหรับวิธีการทำงาน
  • บริหารด้วยการประชุมและมติ บางทีรอมติเพื่อที่จะทำงาน

เงื่อนไขภายนอก (เราไม่สามารถจัดการได้) เช่น เศรษฐกิจ กฎหมาย เทคโนโลยี คู่แข่ง

เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม

  • กลุ่ม 3 จี (ยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น) มีปัญหา มีผลไปต่อจีน เพราะจีนพึ่งการส่งออกไปประเทศเหล่านี้
  • จีนและอินเดียมีอัตราเจริญเติบโตสูง อีกกี่ปี จีนจะเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก
  • แอฟริกาใต้เป็นอีกประเทศที่น่าสนใจและจะขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก
  • ถ้ารายได้เรามาก ค่าครองชีพจะไม่สูง
  • อำนาจซื้อลดลง
  • คุณธรรมต่ำลง
  • มีความเสื่อมโทรมของธรรมชาติ
  • ภัยธรรมชาติมากขึ้น

กฎหมายและการเมือง

  • กฎหมายสหกรณ์ยังมีปัญหา
  • ในเรื่องสมาชิกสมทบ สหกรณ์เคยรับเด็กเป็นสมาชิกได้แต่กรมบอกให้เลิกแต่ไม่มีใครเลิก
  • มหาวิทยาลัยก็เป็นสมาชิกสมทบนำเงินมาฝากสหกรณ์
  • นโยบายรัฐประกาศสหกรณ์วาระแห่งชาติ ปีสหกรณ์สากลมีการประกาศตัวพรรคพลังสหกรณ์ ต่อมาเป็นพรรคประชามติแล้วหายไปแล้ว

เทคโนโลยี

  • ยังต้องพัฒนาอีกมาก

คู่แข่ง คู่ค้า เครือข่าย

  • คู่แข่ง มีมากขึ้นเพราะเราขยายบริการให้ใหญ่ขึ้น ส่วนเขาลงมาตลาดล่าง จึงมีการแข่งขันทุกมิติ
  • ควรเปลี่ยนคู่แข่งเป็นคู่ค้า
  • ควรมีพิมพ์เขียวอาณาจักรธุรกิจสหกรณ์ โดยเริ่มจากบุกธุรกิจธนาคาร ร่วมมือกับธนาคารขยายสาขาเพิ่ม
  • การวิเคราะห์ SWOT ทำให้ทราบประเด็นที่ควรจะปรับปรุง
  • การกำหนดโครงการพัฒนา
  • มีหลายสิ่งที่สหกรณ์ทำไม่ได้ แต่การร่วมมือกับธนาคารจะทำให้โอกาสเปิด
  • รัฐบาลเสนอโอกาสให้ แต่สหกรณ์มีจุดอ่อนคือไม่รู้จัก ต้องแก้โดยหาความรู้และทำทางอ้อม
  • แม้ไม่มีโอกาสจากรัฐบาล เราก็ทำได้โดยเจรจาต่อรองบวกกับจุดแข็งทางการเงินของสหกรณ์
  • ถ้าเราเป็นจุดอ่อนและอุปสรรคก็มี ก็แย่เห็นได้จากร้านสหกรณ์มีปัญหามาก และรัฐบาลก็ไม่ได้สนับสนุนอีกทั้งมีคู่แข่งอีกมาก
  • การตัดสินใจในการทำโครงการต้องดูความสำคัญและความเร่งด่วน
  • สำคัญและเร่งด่วนต้องรีบทำ
  • สำคัญแต่ไม่ด่วน มักถูกละเลย ควรทำมิฉะนั้นจะเกิดปัญหาในอนาคต
  • ไม่สำคัญแต่ด่วน คนมักชอบทำ
  • ไม่สำคัญและไม่ด่วนก็ไม่ต้องทำ
  • การกำหนดวัตถุประสงค์
  • ต้องมีตัวชี้วัดและเป้าหมาย เช่นให้การศึกษาแก่สมาชิกจำนวน...

2. ทำอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ

ปัจจัยกำหนดวิธีที่จะทำ

  • เรื่องที่จะทำ
  • ทรัพยากรที่มี อยู่ทั้งในและนอกองค์กร บริษัทซีพีมีวิธีคิดคือมองว่า ตลาดคือทั้งโลก ไม่ใช่แค่ประเทศไทย ซีพีคิดว่าคนเก่งทั้งโลกเป็นของซีพี เพราะพร้อมที่จะดึงมาทำงานด้วย สหกรณ์ต้องเปลี่ยนมุมมอง ถ้าเราแยกหุ้นเป็นหุ้นที่เราถือและหุ้นกู้ หุ้นกู้สามารถเปลี่ยนมือได้ ควรจะหาช่องทาง
  • อื่นๆ

วิธีจัดการ

  • ทำเอง
  • ให้คนอื่นทำ
  • ทำทั้ง 2 แบบ

3. จะใช้เงินเท่าไร

  • ค่าจ้างคนทำงาน
  • ค่าตอบแทน เช่นค่าล่วงเวลา
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์
  • ค่าใช้สอย ไม่เกี่ยวกับค่าตอบแทน วัสดุอุปกรณ์
  • ครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง

4. ประเมินผลอย่างไร ได้ประโยชน์ไหม

  • นำผลกับแผนมาประเมินเปรียบเทียบกัน ก่อนเริ่มโครงการ ระหว่างดำเนินโครงการจำเป็นเพราะจะได้แก้ปัญหาแล้วดำเนินการให้เป็นไปตามแผนและหลังการดำเนินงานประเมินแล้วสรุปผลที่เกิดขึ้น

5. เขียนโครงการอย่างไร

  • หัวข้อที่ต้องมีในการเขียนโครงการ
  • ชื่อโครงการ
  • ปัญหาและความสำคัญของโครงการ
  • วัตถุประสงค์
  • วิธีดำเนินการและแผนงาน
  • งบประมาณ
  • ผู้รับผิดชอบ
  • เขียนประโยชน์เริ่มจากภาพเล็กไปภาพใหญ่
  • เขียนความสำคัญของโครงการเริ่มจากภาพใหญ่ไปสู่ภาพเล็ก
  • ต้องเน้นว่าเป็นปัญหาที่มีผลกระทบรุนแรงจริง

คำถาม

1.จากการฟัง ก็ถือเป็นเคล็ดที่เสริมมา อาจารย์บอกว่า ต้องเป็นปัญหาจึงทำโครงการ แต่บางสหกรณ์ไม่มีปัญหาแต่อยากทำโครงการได้ไหม ท่านผู้เชี่ยวชาญกรมส่งเสริมสหกรณ์บอกว่า ถ้ากฎหมายไม่ได้ห้าม ก็ทำได้

ตอบ โครงการทำได้หลายแบบ

1) ปรับโครงสร้าง

2) ปรับปรุงเครื่องมือ เทคโนโลยี ระบบงาน

- อุปกรณ์การทำงาน ระบบICT อื่นๆ

3) ปรับปรุงและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

- ผู้บริหาร/ เจ้าหน้าที่/ สมาชิก

4) ปรับปรุงสินค้า/บริการที่ให้แก่สมาชิก

5) อื่นๆ

  • ปัญหาคือสภาพความเป็นจริงกับเป้าหมายไม่ตรงกัน
  • การลงทุนต้องคิดสวนทางกับคนอื่น เพราะยังไม่มีใครทำ จะมีโอกาสมากกว่า

2. ในอนาคต สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนควรจะทำโครงการอะไรรองรับ AECสมาชิกสหกรณ์จะได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์

ตอบ AEC คือโอกาสที่เราจะรุก เราควรเสริมสร้างจุดอ่อนแล้วบุกไปข้างหน้า

เราไม่ใช่ธุรกิจใหญ่ เราทำในวงของเราเองต้องสร้างจิตตารมย์ให้เข้มแข็งสร้างประโยชน์จากความร่วมมือกันให้ดี รวมถึงเครือข่ายร่วมมือกับสหกรณ์ประเภทอื่นแล้วจะไม่มีปัญหาเมื่อมี AEC การเงินเปิดเสรี แต่เรามีสมาชิกสัมพันธ์ ควรสร้างความสัมพันธ์ให้เข้มแข็ง ธนาคารออมสินสร้างผลกระทบให้สหกรณ์มากกว่า AEC

3. ผมแสวงโอกาสจากวิกฤติ เมื่อ 4-5 ปีก่อน หุ้นตก ชสค. ขาดทุน เงินเหลือ200 ล้าน ผมเสนอให้ซื้อหุ้น เพื่อนกรรมการตกใจ ในฐานะนักธุรกิจ ผมเก็งกำไรสินค้าตอนราคาตก ถ้าหุ้นตก ถ้าต่ำกว่า 400 ติดพื้นแล้ว ต้องซื้อ แต่ต้องเป็นหุ้นพื้นฐานดี มีผลประกอการกำไรอยู่ ตอนนี้วิกฤติยางตก  ผมแนะนำชุมนุมอุตสาหกรรมยางนำยางมาผลิตเป็นสายพาน ผลิตไม่ทัน ขายไม่พออุตสาหกรรมยางน่าสนใจในช่วงวิกฤตินี้ อยากให้นักธุรกิจนำเงินเราไปทำธุรกิจตอบสนองความต้องการสมาชิก เช่น เรื่องปุ๋ย ข้าว มัน ยาง ถ้าศึกษาให้ดี ก็จะเสี่ยงน้อย

ตอบ นักธุรกิจกับชาวบ้านมองต่างกัน เพื่อนผมบอกว่าตอนหุ้นตก 100 กว่าจุด หาเงินซื้อหุ้นไม่ได้ เพราะถ้าซื้อจะได้กำไรมาก

 

 

 

สวัสดีครับ

วันนี้ ผมแวะมาทักทายที่นี่ตอนเช้า คลิกฟังได้ที่ลิ้งค์นี้

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/833/301/original_chiracreditunionmorningtalk15september2012.WAV

15 กันยายน 2555

ผู้นำกับการสร้างวัฒนธรรมองค์กร

โดย อาจารย์ชวลิต จิตภักดี

 

  • ผู้นำคือ บุคคลที่มีศิลปะ บุคลิกภาพความสามารถเหนือผู้อื่น สามารถชักจูงให้ผู้อื่นปฏิบัติตามที่ต้องการได้
  • ผู้นำมุ่งคน บางครั้งก็มีผลต่อการขับเคลื่อนองค์กร ต้องเอาใจคนจำนวนมาก แต่ต้องผสมผสาน
  • ผู้นำมุ่งงาน อาจไม่ได้ความร่วมมือจากคน
  • ผู้นำต้องผสมผสานการมุ่งคนและงานให้เหมาะสม
  • ผู้นำตามสายบังคับบัญชาแต่อาจไม่ใช่ผู้นำที่แท้จริง
  • ผู้นำอัจฉริยะไม่มีขีดจำกัด
  • วัฒนธรรมองค์กรคือความเชื่อหรือพฤติกรรมที่คนส่วนใหญ่ในองค์กรยึดถือปฏิบัติต่อๆกันมา ซึ่งเป็นตัวกำหนดความคิด พฤติกรรม ค่านิยม ทัศนคติของคนในองค์กร
  • ครั้งแรกจะทำยากเพราะมีความสำคัญในการดำเนินธุรกิจขององค์กร
  • ความสำคัญของวัฒนธรรมองค์กร ถ้าใช้เป็น มันจะกำหนดสิ่งอื่นๆต่อมา เช่น วัฒนธรรมองค์กรคือการติดต่อต่างประเทศ ก็ต้องหาคนรู้ภาษาต่างประเทศมาทำงาน
  • วัฒนธรรมองค์กรมาจากคน โดยเฉพาะผู้นำ คนในทำ คนนอกตัดสิน
  • ต้องสร้างความเชื่อถือในสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน
    • คุณสมบัติผู้นำในการสร้างวัฒนธรรมองค์กร
    • รู้วิสัยทัศน์ วิสัยทัศน์ชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน คือ เป็นสถาบันกลางของเครดิตยูเนี่ยนที่ให้บริการครบวงจร ทำให้ต้องมีระบบสนับสนุนต่างๆ และคนในองค์กรต้องทำตามวิสัยทัศน์ ต้องคัดคนให้เหมาะสมกับวิสัยทัศน์องค์กรวิสัยทัศน์ไม่ควรทำยาวและยาก
    • การทำให้คนมีวิสัยทัศน์ร่วมกับเรา ต้องให้คนในองค์กรร่วมกันคิด แล้วขับเคลื่อนองค์กรให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ และต้องทำให้ทุกคนรับรู้  บางคนไม่ใช่ผู้นำแต่สามารถจูงใจ
    • ผู้นำต้องปรับตนเอง ลูกน้องจะค่อยๆปรับเปลี่ยน ปรับบทบาทเป็นผู้นำและผู้ตามในบางโอกาส อาจะรับฟังแล้วสนับสนุนให้ทำถ้าเป็นเรื่องดี แต่ถ้ายังไม่ดี ต้องคอยประคอง
    • ผู้นำต้องรู้จักถ่ายทอดความรู้แก่คนในองค์กรเช่น เล่าให้ฟังแล้วแจกเอกสาร
      • วัฒนธรรมองค์กรมักสร้างมาจากเรื่องเล่าและประวัติศาสตร์องค์กร คนสหฟาร์มได้เงิน้อยกว่าแต่ภูมิใจที่ได้ทำงานที่สหฟาร์ม เพราะเขาได้รับทราบตำนานดร.ปัญญา โชติเทวัญทำงานที่ทหารเรือเก็บเงินเริ่มจากไม่กี่ร้อยบาทแล้วมาสมัครงานสาธารณสุข กทม.เก็บเงินสะสมได้ 500 บาท ได้พบกับชาวญี่ปุ่น เล่นแชร์ ได้เงินไปเลี้ยงไก่รุ่นแรก มีทั้งตายและอยู่พัฒนาเป็นฟาร์มไก่ที่ยิ่งใหญ่ในไทย เป็นการปลูกฝังความอดทนและรอคอยความสำเร็จ มีเป้าหมายให้บริษัทยิ่งใหญ่
      • วัฒนธรรมองค์กรสร้างจากพิธีการ เช่น การตอบแทนบุญคุณคนต้องทำให้ดีที่สุด ดร.ปัญญา โชติเทวัญเดินมาต้อนรับลูกค้าที่ประตู พนักงานมาตั้งแถวต้อนรับ
      • วัฒนธรรมองค์กรสร้างจากสัญลักษณ์ เช่น สัญลักษณ์ชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ถือโลกไว้ทั้งใบสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ คือ เป็นสถาบันกลางของเครดิตยูเนี่ยนที่ให้บริการครบวงจร
      • วัฒนธรรมองค์กรสร้างจากภาษาองค์กร เช่น ธนาคารกรุงเทพมีคำขวัญ คือ เพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน

กิจกรรม

เขียนส่วนดีและส่วนไม่ดีของวัฒนธรรมองค์กรของท่าน

คนที่ 1

ข้อดี

  • รักองค์กร
  • พนักงานร่าเริง
  • มารยาทดี

ข้อเสีย

  • ไม่ตรงเวลา
  • เวลาทำงานนอกเวลา ไม่ค่อยเสียสละ

วัฒนธรรม

  • Is ours ทุกอย่างของเรา บวกจิตตารมย์

คนที่ 2

ข้อดี

  • รักกัน
  • ช่วยกัน
  • กรรมการเสียสละ

ข้อเสีย

  • ไม่ตรงเวลา

คนที่ 3

ข้อดี

  • อดทน
  • มีความร่วมมือจากทุกฝ่าย
  • รักองค์กร

ข้อเสีย

  • ขาดความรู้
  • ขาดความชำนาญ
  • ไม่ค่อยพัฒนาความรู้

เนื้อหา

  • ขอให้นำมาเปรียบเทียบทิศทางองค์กร
  • นำข้อดีมาเป็นวัฒนธรรมองค์กรและแก้ไขข้อไม่ดี
  • การฝึกให้คนมาตรงเวลา ต้องทำให้เขารู้ว่าถ้าไม่ตรงเวลาจะเสียโอกาสอะไร
  • หาช่องว่างวัฒนธรรมที่ต้องการกับวัฒนธรรมที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
  • ต้องฝึกให้เป็นองค์กรการเรียนรู้ ครูใหญ่กำกับทิศทาง ครูน้อยมานั่งฟัง การให้ความรู้ไม่จำเป็นต้องส่งเขาไปเรียน แต่แค่เล่าสู่กันฟังก็ได้
  • การสร้างวัฒนธรรมองค์กรควรทำแบบค่อยเป็นค่อยไป เพราะมีสมาชิกสหกรณ์  จะไปสั่งเขาไม่ได้
  • การสื่อสารระหว่างพนักงานระดับเดียวกัน ให้ตัวแทนแต่ละฝ่ายมาคุยกัน เรากำกับไม่ให้นอกเรื่อง ฝรั่งให้มีการสื่อสารไขว้กัน ลูกน้องฝ่ายนี้ ไปฟังหัวหน้าอีกฝ่าย
  • ตัวอย่าง ร้านขายรองเท้า ZAPPOS สร้างวัฒนธรรมการขายรองเท้าให้สนุกสนาน ส่งมอบความสุขให้คนทั้งโลก ค่านิยมนำมาจากการทำงานแล้วมาสร้างวัฒนธรรมองค์กร
  • สายการบินสิงคโปร์ยิ้มดีที่สุดในโลก เพราะยิ้มให้ทุกคน และแบบมี KPI แต่การบินไทยยิ้มจากใจ ยิ้มตามอารมณ์
  • โรงแรมโอเรียนเต็ลบริการลูกค้าดีเหมือนกันทุกคน อย่าแปลกใจว่าพนักงานจะพูดว่า ยินดีต้อนรับกลับสู่โอเรียนเต็ล แทนที่จะว่า ยินดีต้อนรับสู่โอเรียนเต็ล เหมือนครั้งแรก พนักงานสามารถเรียกชื่อลูกค้าถูกต้อง กดลิฟต์ให้ลูกค้าถูกต้องโดยที่ลูกค้าไม่ได้บอก เพราะโรงแรมโอเรียนเต็ลมีพนักงานสาย Front Office เข้มแข็งมาก ใช้ระบบกระซิบต่อกัน ลูกค้าหน้าตาอย่างไร ใส่เสื้อสีอะไร พนักงานต้อนรับถูก มีข้อมูลว่าลูกค้ามากี่ครั้งแล้ว ชอบนอนห้องไหน เขาทำให้พนักงานมีความสุขแล้วสะท้อนความสุขไปยังลูกค้า
  • ผู้นำต้องทำให้คนในองค์กรมีความสุข เพื่อที่เขาจะได้เผื่อแผ่ความสุขแก่ลูกค้า ต้องสร้างวัฒนธรรมให้คนอยู่ในองค์กรอย่างมีความสุข โรงแรมโอเรียนเต็ลมี Hall of Fame นำรูปพนักงานที่ควรค่าแก่การยกย่องมาติด ทำให้พนักงานมองว่า ทำดีแล้วมีคนเห็น มีพื้นที่สร้างความสุขให้พนักงาน เรียกว่า โอโซน เรียกพนักงานว่าเพื่อนร่วมงาน
  • บริษัทปูนซีเมนต์ไทย มีวัฒนธรรมองค์กร เป็นธรรม เป็นเลิศ เชื่อมั่นในคุณค่าของคน รับผิดชอบต่อสังคม เน้นคุณภาพและเป็นธรรมควบคู่นวัตกรรม
  • สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนต้องรักษาคนมีคุณภาพไว้ ต้องมีการถ่ายทอดความรู้
  • วัฒนธรรมองค์กรสะท้อนเอกลักษณ์แห่งตัวตน
  • สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนต้องสื่อสารว่า ไม่มีกำแพงกีดกั้นกับชุมชน เพราะเพื่อชุมชน ต้องไปร่วมงานชุมชนมากขึ้น
  • ต้องสื่อสารภายในองค์กรให้ดี ให้เข้าใจตรงกัน

1.ได้รู้หลักการเป็นผู้นำองค์กร ผู้นำองค์กรต้องมีวิสัยทัศน์ รู้จักจูงใจ รู้จักปรับบทบาท

และรู้จักถ่ายทอดความรู้

2.ได้รู้หลักการพูดต่อหน้าสาธารณชน ผู้พูดต้องสร้างความมั่นใจ ต้องสร้างเนื้อหา

 ต้องมีบทสรุป

3.ได้รู้เรื่อง The Volue of Organizatin ประกอบด้วย ปัญหา  วิธีแก้ปัญหา พระเอกที่แก้

ปัญหาได้

ผู้นำกับการพูดต่อหน้าสาธารณชน

โดย อาจารย์จิตรสุมาลย์ อมาตยกุล

เราต้องมีความฝัน ตัวมิกกี้เม้าส์เกิดจากความฝันของวอลซ์ ดิสนีย์

กิจกรรม 1 ปิ๊ง แว้บ มองอะไรแล้วเกิดจินตนาการเป็นความฝันของเรา

คนที่ 1

อยากเป็นซุปเปอร์แมน อยากช่วยผู้ด้อยโอกาส

คนที่ 2

อยากเป็นครู

คนที่ 3

อยากเป็นทหาร

คนที่ 4

อยากเป็นนายอำเภอ ช่วยเหลือชาวบ้านที่เดือดร้อน

กิจกรรมที่ 2 ร้อยเรียงเรื่องราวเป็น 1 เรื่องราว

คนที่ 1

ถ้าเป็นซุปเปอร์แมน จะยกชุมชนออกจากน้ำท่วม

คนที่ 2

อยากเป็นครูช่วยพัฒนาชาติให้เจริญ

คนที่ 3

ทหารช่วยให้ประเทศเจริญได้หลายด้าน ทหารช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมขนทราย

คนที่ 4

นายอำเภอก็ต้องช่วยขนทรายร่วมกับทหารด้วย

คนที่ 1

ซุปเปอร์แมนสามารถเนรมิตได้ทุกอยาก นำของดีๆมาให้ทุกคนทำให้ชาติอยู่อย่างมีความสุข

บทเรียนจากกิจกรรม

  • ได้ระบายสิ่งต่างๆที่ไม่เคยบอกใคร
  • กลับไปเป็นเด็กอีกครั้งหนึ่ง
  • เกี่ยวข้องกับสมอง สมองแบ่งเป็น 2 ข้าง
  • ทักษะการนำเสนอ ต้องใช้สมองทั้ง 2 ข้าง
  • สมองซีกซ้ายเป็นการคิดแบบเหตุผล
  • สมองซีกขวาคือความคิดสร้างสรรค์และจิตวิญญาณ
  • ปัญหาคือคนใช้สมองซีกซ้ายเป็นหลัก

กิจกรรม บริหารสมองให้สมดุลกัน

  • ต้องจิบน้ำทั้งวัน สมองต้องหล่อเลี้ยงด้วยน้ำ
  • สลับการใช้ด้านซ้ายขวา
  • ต้องบริหารพุง หมุนเป็นเลข 8 แนวนอน จะได้ผลิตเสียงให้มีพลัง พูดไม่เหนื่อย

เนื้อหา

  • การสื่อสารประกอบด้วย 3V
  • Verbal คำพูด
  • Voice เสียง
  • Visual ท่าทาง เร้าใจเพราะเป็นภาพ ดังนั้น ถ้าทำให้มองเห็นก่อน จะเร้าใจที่สุด
  • ความสำคัญแบ่งได้ตามแผนภูมิ

 

 

  • ถ้าเราสามารถออกแบบให้ผู้ฟังมีการเคลื่อนไหว หัวใจเขาก็ตามเราไปด้วย
  • การพูดโดยไม่ได้เตรียมตัวมา ส่งเสริมการคิดแบบสร้างสรรค์ ในชีวิตเราก็อาจมีการเชิญเราขึ้นมาพูด

กิจกรรม 3 เตรียมการพูดไม่เกิน 1 นาที

บทเรียนจากกิจกรรม

  • ควรพูดไม่เกิน 3 นาที จะได้เนื้อหา และกระชับ
  • เวทีที่พูดถือเป็นโซนผู้นำ ต้องเป็นแบบอย่างของผู้ฟัง ดูได้จากนาทีแรกอาจเกิดและดับได้
  • จะทำให้เป็นซุปเปอร์สตาร์ได้ ต้องนำทุกอย่างมาประสานกัน ใช้สมองให้สมดุล + 3V
  • ผู้ฟังก็ประเมินผู้พูดในหลายด้าน

 

กิจกรรม 4 ผู้ฟังประเมินอะไรผู้พูด

บทเรียนจากกิจกรรม

  • สิ่งสำคัญคือ เนื้อหา+Presenter
  • เนื้อหา ทุกคนมี
  • แต่ผู้นำเสนอ Presenter ต้องเฉิดฉายเป็นซุปเปอร์สตาร์

เนื้อหา

  • เวลาได้รับหัวข้อ ต้องมีการเตรียมตัว
  • ต้องมีการถ่ายทอดแบบมีระบบ
  • จัดระบบโดย Power of 3

1. ปัญหา ประเด็นร้อน

2. ทางออก

3. ประโยชน์

  • ควรคิดเป็นภาพจะจำง่ายกว่า แล้วนำไปทำสไลด์นำเสนอเป็นภาพให้เข้าใจง่ายกว่า
  • ต้องนำ Voice+Visual มารวมกัน ทำให้ครองเวทีได้เป็น Comfort Zone เดียวกับผู้ฟัง

กิจกรรม 5 ฝึก Eye Contacts Exercise

บทเรียนจากกิจกรรม

  • ควรจ้อง 1 คน 5 วินาที เป็นการลำดับความคิดเรา และมองทุกคน ทำให้ผู้ฟังมีส่วนร่วม เป็นการสื่อใจถึงใจ
  • Connect ด้วย Eye Contacts เชื่อมโยงด้วยการมองผู้ฟัง จะกลายเป็นด่านแรก แล้วใช้ท่าทางประกอบให้เร้าใจ ทำให้เกิดแรงบันดาลใจ
  • Connect, Change and Contribute ต้องนำมาใช้ในการพูด

เนื้อหา

  • เสียงขึ้นลง มีท่าทางประกอบจะทำให้การพูดน่าสนใจมากขึ้น
  • สคริป (Script) เขียนเพื่อลำดับขั้นตอนการพูดไม่ให้บานปลายเกินไป เป็นแผนไปสู่ความสำเร็จ สามารถเพิ่มเติมลูกเล่นเน้นอารมณ์ เน้นคำมากขึ้น
  • ทุกๆการพูดและนำเสนอต้องการชีวิตชีวาและพลัง
  • ความยาวเนื้อหา 80% และช่วงเปิดและปิดช่วงละ 20%
  • ในการเพิ่มพลังในการนำเสนอต้องมีการเคลื่อนไหว ทำให้ทุกคนมีส่วนร่วม

 

 

หลังจากอ่านบทความ 2 ฉบับที่ท่าน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ทำให้เห็นว่า ผู้นำที่ดีต้อง มีคุณสมบัติดังนี้

   ต้องมีความกล้าหาญ ไม่จำเป็นต้องนำอยู่ข้างหน้าแต่อาจจะนำอยู่เบื้องหลังและต้องยกย่องและไว้ใจคนที่เราส่งไปเป็นผู้นำข้างหน้า ผู้นำที่ดีต้องรู้คู่แข่งหรือศัตรูให้มากต้องพยายามเข้าหาปัญหา อย่าหนี้ปัญหา  ต้องเป็นตัวอย่างที่ดี ต้องมีความประนีประนอมบ้างในบางครั้ง รู้จักรุก รู้จักหยุดเพื่อตั้งหลัก ทำให้สิ่งที่ถูกต้องไม่ใช่ถูกใจ หรือความต้องการของคนใดคนหนึ่ง

ซึ่งคิดว่าตนเองสามารถนำไปปรับใช้ในองค์กรได้ดังนี้

   แสดงความภาวะความเป็นผู้นำของตนเองในทางสร้างสรรค์ เช่น เป็นแบบอย่างที่ดี แสดงความเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร  สร้างแรงบันดาลใจให้กับตนเองและทีมงาน ในการทำงานเพื่อพัฒนาองค์กร ศึกษาหาความรู้และศึกษาข้อมูลในงานที่ทำขององค์กรเพื่อคิดค้น หรือทบทวนและพัฒนางานเดิมที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพและสอดกับความต้องการของสมาชิกให้มากยิ่งขึ้น ที่สำคัญคือสร้างความมีส่วนร่วมในเกิดการทำงานเป็นทีม

ผลที่ได้รับจากการอบรมระหว่างวันที่ 14-15 กันยายน 2555 มีดังนี้ 1.ได้ update ข้อมูลที่เกี่ยวกับ ACCU ทราบว่าปัจจุบันมีสมาชิกสามัญองค์กร 12 องค์กร จาก 10 ประเทศ และมีสมาชิกประเภทอื่นอีกมากมาย รวมทั้งสิ้น 80 องค์กร 2.ทราบถึงบทบาทของสมาคมสมาพันธ์สหกรณ์ออมทรัพย์ และเครดิตยูเนี่ยนในเอเชีย (ACCU) ที่มีต่อเครดิตยูเนี่ยนในเอเชีย ว่ามีหน้าที่ในการส่งเสริม และให้ความรู้โดยกำหนดเป็นเครื่องมือต่างๆ เพื่อให้ชุมนุมสหกรณ์ที่เป็นประเทศสมาชิกในแต่ละประเทศ นำไปส่งเสริมและพัฒนาในประเทศของตนเอง โดยเน้นมุมมอง 4 ด้าน ด้านสมาชิก ด้านการเงิน ด้านบริหารจัดการ ด้านการเรียนรู้ 3.รับทราบนโยบายการส่งเสริมสหกรณ์จากภาครัฐ ตลอดจนเป้าหมายสูงสุดของสหกรณ์สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญไม่ใช่เรื่องกำไรหรือปริมาณธุรกิจ แต่คือการทำธุรกิจที่เป็นประโยชน์และช่วยเหลือสมาชิกอย่าแท้จริง รวมถึงการนำกำไรจัดสรรคืนสู่สมาชิกและสังคมอย่างเหมาะสมนั่นเอง 4.รับทราบถึงเทคนิคการเขียนโครงการที่ต้องมีองค์ประกอบ คือ ชื่อโครงการ ปัญหาและความสำคัญ วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการและแผนงาน งบประมาณ ผู้รับผิดชอบ ซึ่งการเขียนโครงการพัฒนาองค์กรที่ดี ควรเลือกเขียนในเรื่องที่สำคัญและเร่งด่วนเป็นอันดับแรก 5.ทราบถึงความหมายของผู้นำ ว่าไม่จำเป็นต้องเป็นมีตำแหน่งสูงตามหน้าที่แต่อาจจะเป็นผู้นำทางสังคมที่สามารถเป็นแบบ อย่าง และมีผู้คนยอมรับและเป็นผู้ตามที่ดีได้ ผู้นำที่ดีต้องเปิดโอกาสให้ทีมงานมีส่วนในการแสดงความเห็น 6.ทราบถึงกระบวนการในการเรียนรู้และสร้างวัฒธรรมขององค์กร 7.ได้เรียนรู้ถึงเทคนิคการพูดของผู้นำต่อชุมชนหรือต่อเพื่อนร่วมงาน และการนำเสนอ ซึ่งการพูดที่ดีต้องมี 3 V คือ Verbal เนื้อหา (7 %) Voice น้ำเสียง 38 % Visual ท่าทาง 55 % เพื่อนำไปสู่ 3 C คือ Contact Change Contribution ซึ่งคิดว่าตนเองจะนำผลที่ได้จากการเรียนรู้ไปใช้ในองค์กรได้ดังนี้ 1.ถ่ายทอดสู่เพื่อนร่วมงานและสมาชิกให้เทราบถึงข้อมูลเครือข่ายเครดิตยูเนี่ยนในเอเชีย 2.ประสานความร่วมมือกับ ACCU ในการนำเครื่องมือต่างๆ ที่ ACCU มีนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาองค์กร 3.กลั่นกรองการทำธุรกรรมของสหกรณ์เพื่อไม่ให้เป็นไปนอกกรอบเป้าหมายของสหกรณ์ ซึ่งเป้าหมายสูงสุดคือการพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิกสหกรณ์ 4.จะพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำของตนเอง โดยเป็นแบบอย่างที่ดี พัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่อง พัฒนาทีมงาน โดยสร้างแรงจูงใจ สร้างความสุขในการทำงาน 5.จะกลับสำรวจพฤติกรรมขององค์กร และสร้างวัฒนธรรมขององค์กร โดยเริ่มจากทีมงานในฝ่ายที่ตนเองรับผิดชอบ 6.จะฝึกการพูดของตนเองตามเทคนิคการพูดที่ดี และถ่ายทอดทักษะให้เพื่อนร่วมงานในองค์กร ตลอดจนสมาชิกสหกรณ์

การเรียนรู้ครั้งที่ 2 อีก 2 วัน ยิ่งเข้มข้นขึ้นทั้งเนื้อหาและสาระ

            ความรู้ที่ลึกและกว้างขึ้นไปอีกขั้น  ซึ่งผมคิดว่าผู้นำในขบวนการเครดิตยูเนี่ยน  จำเป็นต้องยกระดับและพัฒนาความเป็นผู้นำขึ้นไปอีก  เพื่อนำพาองค์กรของตนเองไปสู่ความเป็นเลิศให้ได้
            กระผมขอขอบพระคุณ  อาจารย์ จีระ  หงส์ลดารมภ์   เป็นอย่างมากที่ได้เชิญวิทยากรแต่ละท่านที่นับว่าเป็นกูรูในหัวข้อที่นำมาถ่ายทอด ทุก ๆ คน

 คุณรันจิต เอลติราชิ เป็นผู้ที่ทำให้รู้ขบวนการเครดิตยูเนี่ยนในระดับสากล และในประเทศ ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร

                                ทำให้พวกเราภูมิใจในการเป็นส่วนหนึ่งใน ขบวนการเครดิตยูเนี่ยน

 อ. ชวลิต จิตภักดี เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ได้อย่างชัดเจนมากและนำประสบการณ์การสร้างวัฒนธรรมองค์กร

                              ขององค์กรต่าง ๆ มาบอกเล่าได้อย่างละเอียดชัดเจน    ทำให้เรารู้ว่าเราจะต่อยอดความคิดใน 
                               การพัฒนาองค์กรของเราได้อย่างไร

 ดร. รังสรรค์ ปิติปัญญา เรื่องการนำเสนอโครงการพัฒนาสหกรณ์

                                 ตอกย้ำขั้นตอน การนำเสนอโครงการให้ชัดเจนอีกครั้ง ซึ่งปกติ พวกเรานำเสนอกัน บ่อย ๆ 
                                อยู่แล้ว  และวันเขียนจริง อาจารย์จะมาเป็นพี่เลี้ยงอีกครั้ง

 อ. จิตรสุมาลย์ อมาตยกุล ผู้นำกับการพูดต่อหน้าสาธารณชน

                                    สามารถ ถ่ายทอดได้ยอดเยี่ยมมาก / สนุกมาก ทำให้ผู้นำทุกคน      ต้องกลับไปพัฒนา
                                    ตนเองกันยกใหญ่

สิ่งที่ได้รับจากการอบรมในวันที่ 14-15 กันยายน 2555

1.ได้รับรู้การเป็นผู้นำองค์กร

  • มีวิสัยทัศน์
  • มีแรงจูงใจ
  • รู้จักปรับบทบาท
  • รู้จักถ่ายทอดความรู้

2.ได้หลักการพูดในที่สาธารณะ

                1.สร้างความสนใจ --> การปรากฏ เฉิดฉาย

                2.สร้างเนื้อหาคำพูด --> Content is king.

                3.มีบทสรุป --> Sharp, Short, Got to the point

3. The Value of Organization

บทสรุปบทเรียน 2 วัน

14-15 ก.ย.55

อาจารย์  Mr. Ranjith Hettiarachchi

1.สาระของวิชาทำให้เข้าใจเรื่องของความตั้งใจ ความจริงใจ จิตตารมณ์ ของ CU ในประเทศต่างๆ

2.ความเจริญก้าวหน้าในแต่ละประเทศ

3.CU ช่วยผู้ยากไร้จริง

การพัฒนาขบวนการสหกรณ์ในประเทศไทย

ยังไม่ชัดเจนเท่าที่ควร

จะกลับไปศึกษาซ้ำจากเนื้อหาที่แจกให้

การเขียนโครงการของ ผศ.ดร.รังสรรค์ ปิติปัญญา

1.เป็นต้นแบบที่จะสามารถนำไปปรับปรุงใช้กับโครงการที่จะเขียนในเร็วๆนี้

2.ก่อให้เกิดความคิดเชิงประจักษ์ทำให้เป็นจริงได้

3.มีตัวอย่างให้เห็น

ฟังอาจารย์ชวลิต จิตภักดี

1.ได้ต้นแบบของการเป็นผู้นำ

2.มีความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ดีขึ้น

3.มีความคิดที่จะนำไปปรับปรุงองค์กรของตนเอง

4.เรียนรู้จิตวิทยาการครองใจคน

5.เรียนรู้การเป็นผู้นำ ผู้ตาม การให้บริการ

6.วัฒนธรรมองค์กรจะต้องเป็นที่ถูกใจของผู้รับบริการ

อาจารย์ชวลิต จิตภักดีเป็นสุดยอดของการให้ความรู้ในเรื่องวัฒนธรรมองค์กรในครั้งนี้

อาจารย์ จิตรสุมาลย์

ทำให้ได้รู้จักคุณค่าของมนุษย์ เรียนรู้เรื่องจิตวิทยา ความสุข จินตนาการ เพื่อนำไปใช้ในชีวิตการทำงานได้ เลียนแบบของบุคลิกอาจารย์ได้บ้าง มีความสุขที่ได้เรียน

นางสาวภัณธิรา กลิ่นศิริกุล

สวัสดีค่ะอาจารย์สิ่งที่ได้จากการเข้าอบรมในวันที่ 14 - 15 ก.ย. 55 คือ 1.การพัฒนาขบวนการสหกรณ์ในประเทศไทยควรใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหาร ต้องเพิ่มรายได้และลดรายจ่ายของสมาชิก ให้ความรู้ในการประกอบอาชีพ สร้างทัศนคติในการดำรงชีวิต ใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าแก่ครอบครัวและสังคม มีความสุขจากคุณค่าของตนเองมากกว่าจากคุณค่าจากวัตถุ 2.การเขียนโครงการพัฒนาสหกรณ์ท่านวิทยากร ได้ให้คำแนะนำในการเขียนโครงการซึ่งเข้าใจง่ายและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง โดยนำหลักสำคัญหรือหัวข้อที่ต้องมีใบการเขียนโครงการไว้เป็นแนวทางให้ด้วยและให้ทุกสหกรณ์ที่เข้าอบรมเขียนโครงการ 1 สหกรณ์ ต่อ 1 โครงการ จึงได้นำไปใช้งานจริงด้วย 3.ผู้นำกับการสร้างวัฒนธรรมองค์กร สิ่งที่ได้จากเรื่องนี้ คือ ผู้นำเป็นอย่างไร วัฒนธรรมในองค์กรก็จะเป็นอย่างนั้น คุณสมบัติผู้นำในการสร้างวัฒนธรรมองค์กร คือรู้วิสัยทัศน์ รู้จักจูงใจ รู้จักปรับบทบาท รู้จักถ่ายทอดความรู้วัฒนธรรมขององค์กร จะเป็นศูนย์กลางในการควบคุมและจัดการว่าองค์กรจะดำเนินการทำงาน เพื่อมุ่งไปสู่ผลประโยชน์สูงสุดได้อย่างไร เพราะวัฒนธรรมองค์กรสะท้อนเอกลักษณ์แห่งตัวตน 4.ผู้นำกับการพูดต่อหน้าสาธารณชน สิ่งที่ได้คือได้ผึกพูดต่อหน้าคนจำนวนมาก รู้วิธีการเตรียมการพูด การใช้น้ำเสียง รวมถึงการใช้ภาษาท่าทางเวลาพูดเพื่อให้ดูน่าสนใจ ขอต่อท้ายนิดหนึ่งค่ะ หนังสือที่อาจารย์เขียนเรื่อง ทุนมนุษย์ของคนไทยรองรับประชาคมอาเซียน อ่านจบแล้วนะคะและได้นำบางเรื่องไปใช้ด้วยค่ะ

กมลพันธ์ ภัทรเวชวงศ์

สรุปผลที่ได้รับจากการเรียน ในวีนที่ 14-15 กันยายนที่ผ่านมา

       ต้องยอมรับว่า  ที่ผ่านมากระผมก็รู้เรื่องบ้างไม่รู้บ้าง แต่ก็ไม่สนใจมากมายนัก เพราะสะภาวะแวดล้อมรอบค้าง ไม่กดดันหรือ

ผลักดันหรือมีข้อมูลส่งถึงมากพอ ที่จะสนในปฎิบัติในหลักการหรือวิธีการที่ได้รับจากประสพการณ์ที่ได้เรียนรู้มาปฎิบัติอย่างถูกหลักการหรือมีวิธีการที่เหมาะสมในแต่ละเรื่องแต่ละเหตุการณ์

      หลังจากกระผมเช้าร่วมใน หลักสูตรผู้นำสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนชั้นสูงรุ่่นที่ 2 ท่านอาจารย์ทุกท่านนำความรู้ในด้านต่างๆ มาให้ลูกศิษย์ กระผมได้มองถึงการเป็นผู้นำฯ ของตัวเองว่าเป็นอย่างที่กล่าวมาข้างต้นที่จะต้องทำอย่างไรถึงจะสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปฎิบัติในหลักการหรือวิธีการได้อย้างมีประสิทธิภาพ จึงจะส่่งผลต่อการเป็นผู้นำขององค์โดยเฉพาะสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน โดยเริ่มในสิ่งที่ได้ในกับอาจารย์คือ
       1 การพูดในที่ต่างต้องมีวิธีการเรียบเรียงเนื้อหาให้เหมาะสมกับเวลาและสถานที่ ต้องมีการสร้างรูปสีต่างๆมาเป็นหลักในการจำเพื่อเป็นแนวทางในการพูด จากเมื่อก่อนพูดตามใจอยากพูดอะไรก็พูด สรุปว่าการพูดต่อไปนี้ต้องเตรียมตัวอย้างมีกลักการและวิธีการตามทีได้รับมาใน คร้งนี้
       2 การเขียนโครงการต่างๆ จากเมือ่ก่อนให้ผู้ทำให้ หลังจากนี้จะต้องเขียนเองให้ได้ ถ้ามีลูกน้องหรือทีมงานเขียนให้ก็นำมาตรวจสอบให้ถูกต้องให้เรียบร้อยเสียก่อน ก่อนส่งถึงหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพราะทำไปไม่สอดคล้องกับวิธีการงบประมาณของหน่วยงานแล้วจะไม่ประสพความสำเร็จในการเขียนโครงการ สรุป ดูให้ละเอียดมากขึ้น
       3 การพัฒนาธุรกิจของสหกรณ์ ต้องรวมตัวกันเป็นเครือข่่ายเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จากเมื่อก่อนสหกรณ์ของเราเป็นสหกรณ์เล็กเพิ่งก่อตั้ง ต่างที่ต่างก็พัฒนาตัวเอง จนปัจจูบันวันสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนของพวกเรายืนอยู่ในจุดที่เรียกว่าพร้อมที่ก้าวหน้าไปเพื่อสร้างกิจกรรมใหม่ๆให้กับสหรณ์ฯ ส่วนใหญมีทุนมากเหลือพอที่จะทำได้  แต่การรวมตัวเพื่อทำบางสิ่งบ่างอย่างต้องอาศัยความไว้วางใจกัน ซึงขบวนการเครดิตยูเนี่ยนส่วนมีพร้อมอยู่แล้ว ซึงได้เกิดแล้วที ชุมนุมสหกรณ์อุตสาหกรรมยางพาราภาคใต้ จำกัด ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนในภาคใต้ 15 สหกรณ์ ร่วมกันทำธุรกิจโรงงานผลิตยางคอมปาวด์และผลิตสินค้าสำเร็จรูปทีมียางพาราเป็นส่วนผสม อย่างเช่น สายพานลำเลียงตามโรงงาน โรงไม่หิน ต่างๆ เพื่อช่วยสมาชิกซึ่งส่วนใหญ่ก็มีสวนยางพารากัน แต่เพียงได้เป็นสมาชิก สกย (ส่วนน้อยที่เป็นสมาชิก สกย ) ซึ่งทั้งหมดถ้าไม่มีเครดิตยูเนี่ยนอยู่ในหัวใจของทุกที่แล้วละก็คงจะเกิดเป็นชุมนุมสหกรณ์อุตสาหกรรมยางพาราภาคใต้ จำกัด ไม่ได้  สรุปว่า ใครหลายคนมองว่าคงทำไม่ได้ในเรื่องธุรกิจสำหรับขบวนการเครติตแต่เป็นไปได้แล้วที่สุราษฎร์ อีกหนึ่ง 
                                                                                            กมลพันธ์  ภัทรเวชวงศ์

1.กรณีศึกษาคุณยรรยงที่ ครม.

           ในแนวคิดของผมคิดว่าคุณยรรยง ต้องนำเสนอ ครม. ตามที่ รมต.มอบหมาย แต่ไม่ได้ทำการบ้านมาก่อน  เพราะโครงการนี้เคยเสนอมาก่อนนี้แล้ว ในสมัย ครม.ยุคก่อน    คุณยรรยง จึงได้เสนอว่า  1.) ครม.ชุดที่แล้วอนุมัติไปแล้ว   2.) ขอให้ ครม.เห็นชอบตามมติเดิม
              ซึ่ง ครม.ชุดนี้อาจจะไม่ทราบที่มาที่ไปของโครงการดังกล่าว   การที่คุณยรรยงไม่มีบทนำที่มาที่ไป  จึงทำให้ยากแก่การตัดสินใจ  ดังนั้นคุณยรรยงควรทำการบ้านมาก่อน (ทางป้องกัน)  ซักถามอะไร- ตอบได้  อย่างน้อยเพื่อเป็นการให้เกีรติ ครม.ชุดนี้
  1. กรณี MANDELA
         ความเป็นหผ้นำของ Mandela เป็นผู้นำที่ประเมินสถานการณ์  คาดการได้ดี  สามารถเอาตัวรอดในภาระการณ์ต่างๆได้ จนได้ได้รับการยอมรับจากสมาชิกส่วนใหญ่  สร้างความหวังในอนาคตให้กับสมาชิก  สมาชิกจึงเกิดการรวมพลังต่อสู้เพื่อเป้าหมายเดียวกัน  ซึ่งในขณะเดียวกันภาระความเป็นผ้นำของ Mandela  ก็ได้รับการยอมรับตามคุณสมบัติ 8 ข้อของผู้นำที่ควรมี  นี้คือภาวะผู้นำที่ประเมินตามสถานการณ์
    

ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาขบวนการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนในเอเชียและประเทศไทย เข้าใจระบบของสหกรณ์ในภาพกว้างมากขึ้น เข้าใจคุณค่าที่แท้จริงของระบบสหกรณ์ที่ก้าวข้ามความยากจนของคนในระบบ เข้าใจแนวคิดที่จะทำให้เกิดความยั่งยืนในระบบ สหกรณ์ ทำให้มั่นใจขึ้นว่า สิ่งที่ทำอยู่ เดินถูกทางแล้ว ที่เข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนระบบสหกรณ์คะ และได้เรียนรู้ แนวทางการจัดทำโครงการ ที่สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการเขียนโครงการเพื่อพัฒนาสหกรณ์ของตนเอง จุดประกายให้ เห็นภาพที่จะเป็นการบ้านสุดท้ายมากขึ้นคะ …เพื่อนๆ ที่ได้ฝึกพูดกันน่าจะนำไปใช้ในงานสหกรณ์ได้ดี ทุกท่านเก่งๆ กันอยู่แล้ว และมีความเป็นผู้นำกันทุกคน แต่จะเป็นผู้นำแบบไหนก็คงแล้วแต่สไตล์ของแต่ละท่าน สำคัญว่าคนเป็นผู้นำต้องสร้างวัฒนธรรมที่ดี ให้กับองค์กรได้จะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีก่อน และสร้างอนุสรณ์ความดีของตัวเองไว้ให้กับคนรุ่นหลังคะ❤❤❤

วันศุกร์ที่ 29 กันยายน 2555 ได้รับเกียรติจากอาจารย์วรเทพ ไวทยาวิโรจน์ มาบรรยายหัวข้อ การบริหารงานและการลงทุนในสหกรณ์

เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

สรุปการบรรยายโดยทีมงาน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

การบริหารการเงิน และการลงทุนในสหกรณ์

โดย อาจารย์วรเทพ  ไวทยาวิโรจน์

 

เราจะทำอย่างไรให้เงินอยู่ในกรอบ ในวินัยที่ควบคุม กำกับดูแลได้

  • เงิน – ตราสารอะไรก็ได้ที่ทำให้เกิดมูลค่าแล้วเราแลกเปลี่ยนเป็นที่ยอมรับได้
  • ชื่อเสียง-เกียรติภูมิ คือการขายปัญญา ขายความคิด เราจะควบคุมดูแลแต่ละอย่าง
  • ตัวแรกที่เจอคือ งบดุล มีช่องสินทรัพย์ หนี้สิน ทุน
  • เงินของสหกรณ์ มีเงินภายใน กับเงินภายนอก

เงินภายใน – สหกรณ์ มีเงินฝากของธนาคารของสมาชิก ที่นำมาฝากกับเรา   เงินฝากมีความเคลื่อนไหวสูง เงินค่าหุ้นมีความเคลื่อนไหวบ้าง ค่าใช้จ่ายของหุ้น คือปันผล ค่าใช้จ่ายของเงินฝากคือดอกเบี้ย  เวลากำไร จะจัดสรรกำไรเป็นเงินสำรอง กฎหมายบังคับไม่ต่ำกว่า 10% เงินสะสม –เช่นทุนรักษาพยาบาลต่าง ๆ เป็นเงินเก็บ และไม่มีค่าใช้จ่าย

แบ่งเป็นกลุ่มมีความเคลื่อนไหวน้อย และเคลื่อนไหวมาก เสียค่าใช้จ่าย และไม่เสียค่าใช้จ่าย

เงินภายนอก

  1. เงินที่รับฝากจากสหกรณ์สมาชิก หรือเงินกู้จากที่อื่น ๆ มีความเคลื่อนไหว แต่ช้าหรือเร็วแล้วแต่ข้อตกลง

จำเป็นต้องมี เพราะ เงินภายในมีไม่มากพอที่จะนำมาบริหารจัดการสหกรณ์ของเรา  เราต้องจัดการให้ดี เพราะมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวข้อง 3 ชั้น

-          ค่าใช้จ่ายในการหาแหล่งเงินบาท

-          ค่าดอกเบี้ยที่เขาคิดกับเรา

-          ค่าใช้จ่ายที่ตัวสหกรณ์มีแล้วบริการให้สมาชิก

ทั้ง 3 ตัวเมื่อรวมกันเป็นค่าใช้จ่ายเงินภายนอกที่เราต้องบริการให้สมาชิก

การวัดค่าภายนอก อยากให้สหกรณ์บริหารโดยใช้เงินฝากเยอะ ๆ ให้ค่าหุ้นต่ำ เพื่อลดต้นทุน เพราะเงินฝากมีค่าใช้จ่ายที่ใหญ่  เงินฝากมีความอ่อนไหวสูงมาก ในขณะที่เครดิตยูเนียน เอาไปใช้เป็นเงินระยะยาว

การเอาเงินฝากไปบริหารเป็นเงินระยะสั้น เงินกู้ที่ให้กับสมาชิก มีอัตราการชำระคืนยาวมาก ถ้าเป็นรอบของเงินฝาก

งบกระแสเงินสด เป็น ตัวที่มีประสิทธิภาพควบคุมดูแลจัดการ ซึ่งถือเป็นหัวใจของการบริหารการเงินทุกสถานประกอบการ   เป็นการแสดงงบประมาณในแง่ปกติ  บอกที่มาที่ไปของเงินในยามปกติ จะช่วยเราในแง่ที่ว่า

  1. เราจะรู้ว่าเราต้องใช้เงินเมื่อไร
  2. เราจะออกเท่าไหร่
  3. เงินจะออกเมื่อไร

เมื่อรู้แล้วทำให้เราหาเงินมาทัน รู้ว่าได้เงินเมื่อไร เท่าไหร่ วันไหน สามารถเทียบเงินเข้ากับเงินออก อันไหนมากกว่ากัน  แล้วเราจะทำอย่างไร สำหรับในบางกรณีที่ เงินเข้าน้อยกว่าเงินออก ถ้าเป็นผู้บริหารการเงินต้องแม่นยำใน 3 ข้อนี้

  1. นักบริหารการเงิน ต้องพยากรณ์ที่ไปที่มาของเงินนั้น

      เรารู้จากงบกระแสเงินสด การเป็นผู้บริหารต้องเรียกงบกระแสเงินสดมาดูเป็นประจำ จะได้รู้ว่า เมื่อไร เท่าไหร่ ต้องรู้ล่วงหน้า จะได้เตรียมเงินได้ทันท่วงที

  1. ต้องรู้ว่าแหล่งเงินอยู่ที่ใดและมาจากไหน จะได้รู้ว่าเมื่อเราต้องใช้เงิน เราจะเอามาจากที่ใด เท่าไหร่ ง่าย หรือสะดวกไหม เงินมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง เวลาที่เกิดอุบัติเหตุทางการเงิน  เวลาพยากรณ์การเงิน หรือเตรียมแหล่งเงินก็ตาม ต้องดูในเรื่องความไม่คาดคิดเกิดขึ้นด้วย  ถ้าเกิดเรื่องสุดวิสัย ทำอย่างไร หาเงินจากไหน เราไม่ต้องกลัว     ถ้าจำเป็น
  • เป็นสมาชิกสหกรณ์ ต้องทราบว่าวงเงินกู้ตามกระแสสิทธิ์ของท่านได้เท่าไหร่
  • MRR ลูกค้ารายย่อย เขาจะจ่ายเงินดอกเบี้ยเงินกู้เท่าไหร่ แต่การกำหนดของธนาคารเป็นการกำหนดดอกเบี้ยอัตราต่ำสุด
  • สหกรณ์เป็นอัตราดอกเบี้ยขั้นสูง บอกว่าเท่าไหร่ ต้องคิดเท่านั้น  ถ้าโชคดีได้กู้ จะต้องชำระดอกเบี้ยแน่นอนเท่าไหร่
  • เราไม่สามารถยืนยันระยะเวลาผ่อนชำระหนี้ได้  เวลายืมเงิน จะกู้เงิน เขาจะให้ชำระเท่าไหร่ และเดือนละเท่าไหร่  แม้กู้เงินเท่ากันบางครั้งระยะเวลา และดอกเบี้ยต่างกัน  แต่เวลากู้เงินสหกรณ์จะรู้ได้เลยว่าเรามีสิทธิ์ชำระเท่าไหร่ ตามระเบียบและเงื่อนไข  ดังนั้น สหกรณ์จึงกำหนดเงื่อนไขเงินกู้จากสถานที่ต่าง ๆ แตกต่างจากสถาบันการเงิน
  1. ท่านต้องรู้ว่าเงินที่นำมานั้นไปก่อให้เกิดประโยชน์คุ้มค่าอย่างไรบ้าง ต้องรู้ว่าเอาเงินไปทำอะไร ถึงจะนำเข้ามา เช่นระดมเงินฝาก ค่าหุ้น  เพราะเงินมีค่าใช้จ่ายอยู่ตลอดเวลา  ดังนั้นเวลาท่านดำเนินการทางการเงิน

-          ต้องเอาเข้าและถ่ายเทออกไป เข้าและถ่ายเทออกในระยะเวลาที่รับกัน ถ้าไม่รับกันจะขาดทุนและเสียค่าใช้จ่าย  ถ้าเงินปริมาณสูงยิ่งแพงมาก

-          เวลาที่เอามาต้องรู้ว่าค่าใช้จ่ายคุ้มหรือไม่ในการที่เอาไปทำประโยชน์ อย่ามองว่าสหกรณ์เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร  เราต้องทำให้เงินมีรายรับคุ้มกับค่าใช้จ่ายอย่างน้อยที่สุด

-          กำไรสุทธิ ถูกหักต่อไปอีกหรือไม่  กำไรไม่ได้ถูกใช้ในสหกรณ์ สหกรณ์ไม่ใช้ Profit แต่ใช้ Earning มีส่วนหักค่าใช้จ่ายเบื้องต้น

-          มีสมาชิกจากประเภทที่เขาอยากรู้ว่า ทำไมไม่จ่ายคืนมาให้หมดหลังจากที่หักสุทธิแล้ว

-          กำไรก่อนหักรายการสำคัญ ถ้าเราไม่แสวงหากำไรจากสมาชิก ไม่เคยคิดเลยว่าจะเอากำไรมาก ๆ จากสมาชิก

-          หลักของสหกรณ์มีตัวที่ช่วยให้บริหารการเงินกับสมาชิกยุติธรรม ตัวอย่างเช่นฝากเข้าเป็นเงินสำรองทั้งหมด หรือเป็นเงินเฉลี่ยคืนให้สมาชิกก็ได้

-          เงินถ้าเก็บไว้เฉย ๆ ก็เหมือน

-          อยู่กับที่ไม่ได้ทำอะไรเลย วิธีง่ายสุดคือเอาเงินไปฝากสหกรณ์

สรุปคือ เราต้องรู้ว่าเมื่อไร ต้องการเงินเท่าไหร่ ต้องพร้อมและเตรียมตัว

การบริหารการเงิน ต้องครบถ้วน

  1. ดูวัตถุประสงค์การเงินว่าคืออะไร เช่นในสหกรณ์เกษตรฯ ทำเรื่องตั๋วปุ๋ย ในสหกรณ์ออมทรัพย์ทำเรื่องสลากกินแบ่ง เราต้องตั้งทุนใหม่

-          เราตั้งสหกรณ์ขึ้นมาเพื่อทำธุรกรรมทางด้านการเสี่ยงภัย เช่น ล็อตเตอรี่เป็นธุรกรรมตามพระราชบัญญัติการพนัน  เมื่อไรก็ตามที่ผลประโยชน์มาเบียดบังจนลืมหลักการ จะเกิดการเสียหาย และหายนะแน่นอน เมื่อเป็นสมาชิกสหกรณ์ สิ่งหนึ่งที่แตกต่างจากสมาชิกอื่น ๆ คือ Human Dignity คือการคงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ คือการเป็นตัวของตัวเอง ไม่ถูกครอบงำ ไม่ถูกชักจูง  มนุษย์ต้องคิดเป็น ทำเองเป็น ตัดสินใจเป็น มนุษย์ต้องรู้ว่าอะไรถูกผิดดีชั่ว ความเป็นกลางคือการไม่มีอคติในการเลือกข้าง จึงรู้ว่าอะไรใช่หรือไม่ เราต้องไม่เป็นคนที่ถูกเขาใช้เหมือนเป็นตุ๊กตา ไม่มีชีวิตจิตใจ ถ้าเมื่อไรเป็นตุ๊กตา เราถูกไขลาน ถูกยกมือ ยกขา ยกแขน แสดงว่าเราไม่ใช่มนุษย์   มนุษย์ต้องรู้ว่าสถานการณ์ใดเป็นอย่างไร ไม่ใช่เป็นหุ่นยนต์คือไม่มีสมอง เอาสมองของเขามาใส่ของเรา  เรียกว่าไม่มี Human Dignity ไม่มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ไม่ใช่คนอยู่ในเครดิตยูเนี่ยน  เวลาบริหารเงินเราต้องดู ต้องรู้ว่าตรงตามวัตถุประสงค์ของสหกรณ์ใช่หรือไม่  เราคิดนอกกรอบไม่ได้ อย่าคิดนอกลู่นอกทาง

  1. เงินต้องได้รับความปลอดภัย ได้ประโยชน์คุ้มกับค่าใช้จ่าย
  2. ต้องมีสภาพคล่อง หมายความว่าอยากใช้เงินเมื่อไหร่ต้องมี มีให้ใช้ อยากถอนได้เมื่อไรต้องได้ อยากได้คืนต้องมีให้ได้คืน ต้องครบถ้วน ให้มีความสะดวกรวดเร็วในการฝากถอน

-          เราต้องรู้ว่าเงินอยู่กับเรากี่มากน้อย  

-          เวลาลงทุน ต้องรู้ว่าสิ่งที่ลงทุนมีกฎว่า ผลได้รับคู่กับความเสี่ยง เสี่ยงมากได้รับผลประโยชน์มาก เสี่ยงน้อยได้รับผลประโยชน์น้อย

-          เวลาลงทุนต้องตระหนักเสมอว่าเงินไม่ใช่ของเรา เป็นของส่วนรวม สิ่งที่ต้องระมัดระวังคือเวลาเอาลงสิ่งที่ลงทุนต้องทันเวลา และใช้ประโยชน์คุ้มค่าด้วย

-          ยิ่งดอกเบี้ยสูง ความเสี่ยงสูง การลงทุนต้องได้ความปลอดภัย ได้สภาพคล่อง

            ตัวอย่าง รถไฟ เลิกกิจการได้ไหม ไม่จ่ายคืนเงินได้ไหม

-          การเล่นแร่แปรธาตุเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น

-          เงินอยู่ที่ความเชื่อ บางประเทศจะไม่ยอมให้มีเงินตราอื่นมาแข่งขันกับเขา ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเอาอัตราแลกเปลี่ยนของใคร

  1. เงินของเราที่มีอยู่ เรา Back up อย่างไร ถ้าเอาอัตราแลกเปลี่ยนมา กองทุนสำรองต้องได้รับความกระทบกระเทือนไปด้วย การค้าขาย ไม่ใช่อยู่ดี ๆ จะมีเงินเพิ่มโดยทันที

การเป็นเจ้าของสหกรณ์ต้องรู้ว่า

-          เงินของสหกรณ์มีเท่าไหร่

-          หนี้สินเป็นเท่าไหร่

-          หลักสูตรฝึกอบรมต้องถามว่าทุนเรือนหุ้นของสหกรณ์มีเท่าไหร่

การเอาเงินไปลงทุน หรือประกอบกิจการ

  1. ต้องคิดแผนการเดินทาง
  2. แผนที่ไม่ได้เตรียมไว้ แผนที่ (Road Map) ในการบริหารเงินจะทำอย่างไร

-          กำหนดระยะเวลา ระยะสั้น(ไม่เกิน 1 ปี) ระยะกลาง (1- 5 ปี) ระยะยาว (5 ปีขึ้นไป) เงื่อนเวลาจะเป็นตัวกำกับให้ทราบว่าปริมาณเงินที่จะกลับมาเป็นเท่าไหร่ Rate of Return ต้องรู้เวลา  เราสามารถรู้ได้จากการพยากรณ์งบกระแสเงินสด (Cash Flow)  เป็นเรื่องของระยะเวลา และปริมาณเงิน การลงทุนมีความเสี่ยงมากน้อย การลงทุนมีความเสี่ยงอยู่เสมอ ต้องป้องกันให้ความเสี่ยงนั้นเกิดขึ้นยาก หรือเกิดแล้วก็ให้เกิดน้อย เสียหายน้อย เกิดช้าเป็นต้น

-          เราป้องกันไม่ให้มีความเสี่ยงอย่างรุนแรง หรือมากเกินไป หรือมีความเสียหายจำนวนสูง ๆ ดังนั้นการลงทุนต้องคำนึงถึงเสถียรภาพและความเป็นไป  

-          เราต้องรู้สัดส่วนของเงิน  เราแบ่งสัดส่วนการลงทุนอย่างไรบ้าง เงินที่เข้ามาเป็นเงินชำระเงินกู้ เงินฝาก เงินชำระค่าหุ้น ฯลฯ กี่เปอร์เซ็นต์  มีค่าธรรมเนียมหรือไม่ องค์ประกอบเป็นอย่างไร สิ่งนี้คือการแบ่งตระกร้าเงิน สรุปคือต้องเข้าใจว่าเงินที่เข้ามาเป็นอย่างไร  เพื่อทำให้สามารถจัดสรรเงินง่าย เงินระยะสั้น ไปปล่อยระยะสั้น เงินระยะยาวไปปล่อยระยะยาว ถ้าไปปล่อยผิดประเภทจะเสียหาย

-          ต้องคำนึงถึงสถานการณ์ สภาพแวดล้อม  ซึ่งมีเงื่อนไข ต่อปัญหา และอิทธิพลในการไปทำประโยชน์  ถ้าสถานการณ์ปัจจุบันไม่รู้ลงทุนอะไรที่ได้รับประโยชน์อย่างนี้ วิธีการเลือกคือจะเสียมากหรือลดผลประโยชน์ต่อสมาชิกให้น้อยลง เป็นต้น ต้องเดาว่า 3.5 ในตลาดมีหรือไม่  ลดค่าใช้จ่ายและการขาดทุน  ถ้ากัดฟันไม่ลด ต้องยอมรับค่าใช้จ่าย ต้องทำใจ แม้สมาชิกถอนเงิน แต่อาจเป็นประโยชน์กับเราได้ เช่นสมาชิกไปไหนได้บ้าง แล้วเราลดค่าใช้จ่ายได้หรือไม่ ดูว่าเป็นเงินเย็น หรือเงินร้อน เงินเย็น ไม่ได้ซื้อเดี๋ยวนี้แล้วขายทันที ต้องดูว่าในอนาคตดีหรือไม่แล้วทวีค่าขึ้นมา เราสามารถวางไปถึงปีหน้าได้หรือไม่ การดำเนินทิศทางและนโยบายการเงิน คำนึงถึงความละเอียดอ่อน นโยบายทิศทางการเงิน  การผลักภาระ ความรับผิดชอบ ต้องมี ดูว่ามีใครสามารถรับช่วงได้หรือไม่ ถ้ามีส่งต่อไป เรียกว่า Diversify แยกขอบเขตความรับผิดชอบออกจากกัน ข้อสำคัญที่สุดคือ ต้องถือหลักว่าเราสามารถมองตัวอย่างจากคนอื่น ๆ ได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าเราทำตามอย่างของเขา เช่นต้นทุน พฤติกรรม ลักษณะงาน ความรู้สึก ความเข้าใจของสมาชิกแตกต่างกัน แต่สามารถดูตัวอย่างได้ ต้องใช้การวินิจฉัยที่ละเอียดอ่อน ชั่วโมงบินต้องสำคัญ

คำถาม

ขยายความเรื่องงบกระแสเงินสด งบดุล งบบัญชีเดินสะพัดต่างกันอย่างไร

ตอบ

งบการเงิน ขยายออกมาจะเห็นงบดุล คือเท่ากัน เงินเท่ากันในกรณีไหน

-          ทุนเรือนหุ้น และหนี้สินต้องสมดุลกัน เมื่อไรก็ตามทุนคุ้มครองหนี้ได้จะไม่เจ๊ง

-          ทุนคือทุนเรือนหุ้น รวมเงินสำรอง เงินสะสมทั้งหมด รวมกันแล้วเทียบหนี้สิน ถ้ารวมแล้วมากกว่าหนี้สินแสดงว่าเราได้เปรียบ แต่ถ้ารวมแล้วหนี้มากกว่าทุน ต้องดูว่าหนี้ภายในหรือภายนอก

-          หนี้ภายใน คือเงินฝากจากสมาชิก ไม่ค่อยน่ากลัว

-          แต่ถ้าเป็นหนี้ภายนอกคือไปกู้เขามา

งบกระแสเงินสด เป็นงบทำนายทายทักการใช้เงินของท่าน เงินรับเข้าได้มาจากไหน เมื่อไร วันที่เท่าไหร่ พอเพียงต่อการคุ้มครองเงินออกหรือไม่  งบที่แสดงที่มาที่ไปของเงิน จะแสดงรายละเอียดงบกระแสเงินสด

งบกำไรขาดทุน แสดงให้เห็นรายรับของสหกรณ์ได้จากไหนเป็นหลักแล้วค่าใช้จ่ายมีอะไรบ้าง ถ้าสร้างรายได้ไม่ได้ ต้องลดค่าใช้จ่ายเพื่อให้สหกรณ์ไม่กระทบต่อส่วนรวมและทำมาหากิน

ช่วงบ่าย วันศุกร์ที่ 28 กันยายน 2555 ได้รับเกียรติจาก อ.เพทาย ปทุมจันทรัตน์ มาบรรยายหัวข้อ จิตตารมณ์ในสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน

 

เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

สรุปการบรรยาย โดย ทีมงาน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

บรรยายเรื่อง จิตตารมณ์สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน

โดย  อาจารย์เพทาย ปทุมจันทรัตน์

 

ประวัติที่ทำให้เกิดจิตตารมณ์

  • สหกรณ์ พระราชบัญญัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระองค์ท่านจารึกในใจของสหกรณ์ตลอด สหกรณ์ต้องอยู่กับเราตลอดกาลในการทำงานเพื่อพี่น้องการอยู่ดีมีสุขของคนไทยเรา
  • ประวัติศูนย์กลางเทวา ตรงดินแดง คือสลัมกองขยะสูง 40 เมตร ประวัติศาสตร์ก่อนปี 2500 ประชาชนภาคกลางและภาคอีสานอยู่กันรอบกองขยะ และปลูกที่พักสูงกว่า 1000 ที่ พี่น้องในสลัมอยู่แบบตามมีตามเกิด ทุกข์ยาก หวาดระแวง คนภายนอกมองแบบว่าคนเหล่านี้ไม่ดี  คนในสลัมเก็บขยะขาย ต้นตระกูลการล้างถุงพลาสติกขายอยู่ตรงนี้  อาหารจากการเทขยะที่ทิ้งลงมา
  • คนในสลัมถูกคนข้างนอกมอง มองเป็นคนกองขยะ กองสลัม อยู่แบบสภาพไร้มนุษย์
  • จิตตารมณ์คือบุพการีของศูนย์กลางเทวาในยุคแรก  คุณพ่อบอนแบงค์ ได้เชิญเพื่อน ๆ ไปดูสลัม กองขยะ  ได้แบ่งงานกันทำว่าจะทำอะไรก่อน  มีคณะหมอชวลิต เข้ามาช่วยงานทางด้านนี้  คุณวิชัย ทรรทานนท์ เป็นคนบริจาคยา  ผศ.ดร.วีณา เป็นนายกฯ ศูนย์กลางเทวา ระยะหนึ่งแล้วนำนักศึกษามาช่วยด้วย  อาจารย์ประคิณ ชุมสาย ณ อยุธยา ทุ่มเทกับศูนย์กลางเทวามาก มีการพับถุงกระดาษทำพรมเช็ดเท้าจากกระสอบ 

สิ่งที่สืบทอดมาจากคนกลุ่มนี้คือประธานสหกรณ์ศูนย์กลางชุมชนเทวา

บุพการี ของศูนย์กลางเทวา ในอดีตที่ช่วยเหลือคนสลัมยาวนาน บางท่านกว่า 30 ปี ของศูนย์กลางเทวามีจำนวนมากมาย ทุกท่านล้วนอุดมไปด้วย จิตตารมณ์ เริ่มด้วย

  1. ให้ความสนใจ คนกลุ่มนี้ให้ความสนใจเพื่อนมนุษย์ร่วมโลก ค้นหา วิเคราะห์ รู้เหตุรู้ผล ทุกข์ยากจน ทุกข์ขาดโอกาส ทุกข์ขาดการสร้างภูมิคุ้มกัน ทุกข์ไร้ศักดิ์ศรี ฯลฯ
  2. มีความห่วงใย ความเป็นอยู่ในปัจจุบันทุกด้าน อนาคตที่มืดมนจึงเริ่มกิจกรรมรวมกลุ่มคน ผลคือ เมื่อถูกใส่ชื่อ ส่วนหนึ่งได้สิทธิ์ขึ้นแฟลตการเคหะดินแดง  ต้องมีเงินถึง 5,000 บาทต่อครอบครัว กว่า 2,000 ครอบครัวได้ขึ้นแฟลต แล้วคนในอดีตยุคนี้ได้เข้าสหกรณ์แล้วยืนหยัดด้วยขาตนเอง
  3. ให้การแบ่งปัน คนที่เป็นครอบครัวใหญ่ อยากได้บ้าน การรับใช้ ดูแลต่อเนื่อง ส่งเด็กเรียนหนังสือ มีการระดมทุน ดูแลต่อเนื่องจนเครดิตยูเนี่ยนมั่นคงแล้ว จิตตารมณ์ลงมาสู่ผู้นำธรรมชาติ

-          ปัญหาเกิดที่ไหน คนตรงนั้นต้องแก้ เพราะเป็นเจ้าของปัญหา นี่คือความศักดิ์สิทธิ์ของสหกรณ์

-          สังคมของคนทั่วไป คิดถึงตัวเอง  

-          สภาพสังคมไทย คนจนถูกเอาเปรียบ

-          สังคมไทยยิ่งนับวัน ยิ่งหนักหนาขึ้น

-          ทางออกของคนขัดสน ด้อยโอกาส เช่น เล่นแชร์ ซื้อหวย เสี่ยงโชค สินค้าเงินผ่อน บัตรเครดิต (ผู้ใช้เงินล่วงหน้า)

-          สิ่งที่อยากให้เห็นจากเงินทุน 360 บาท  ก่อให้เกิดการร่วมมือกันเป็นศูนย์กลางสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย

-          เครดิตคือการให้คนพัฒนาตนเอง

-          สังคมเครดิตยูเนี่ยนเป็นสังคมที่ได้ประโยชน์มหาศาล เพื่อนในชุมชนโดยรอบเป็นรั้วให้

-          ศูนย์กลางเทวาใช้วิธีขอบคุณ เช่นเวลาสัมมนาเมื่อไปงาน อนุญาตให้กรรมการเอาครอบครัวไปด้วย โดยขอค่าใช้จ่ายครึ่งหนึ่ง

  1. ให้สิ่งที่ฉันมีแก่เพื่อน

-          แรงจำนวน แรงกาย แรงปัญญา แรงน้ำใจ

มนุษย์ทุกคน เกิดมาต้องการ

-          ความสุข ความสมบูรณ์ในชีวิต เกียรติ ศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์

-          วิธีสร้างความเข้มแข็งในชุมชน ต้องทำแผนชีวิต แผนอาชีพ แผนการเงิน แผนสุขภาพ เป็นแผนให้ชุมชนหรือพื้นที่ต่าง ๆ

-          การคาดการณ์อนาคตข้างหน้ายากมาก สังคมเป็นอย่างไร คนอารมณ์ร้อนทุกที

-          ศาล ทนายความ เจ้ากรม กรมคุ้มครองสิทธิ์ แพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ สิ่งที่พบ ๆ ถึงปัญหาสังคมที่ลุกลามขึ้นทุกวัน เช่น คดีเด็กถูกล่วงละเมินทางเพศตั้งแต่ 2 ขวบขึ้นไป

-          สิ่งที่ทำให้เครียด และทุกข์คือ ศิลธรรม คุณธรรม หาย  คนอารมณ์ร้อนอย่างไม่น่าเชื่อ ถ้าไม่เตรียมความพร้อมจะอยู่ยาก

การเตรียมความพร้อมของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน

  1.  ดังภูมิคุ้มกันของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เรื่องการออมเงินไว้ใช้ตอนสูงอายุ  ดังนั้น เครดิตยูเนี่ยน ต้องเน้นเรื่องนี้  คนเรามีกำลังในวัยทำงานให้เร่งทำงานเพื่อเก็บเงินให้สุดขีด คนในวัยเกษียณควรมีเงินรักษาตัวเองถึง 3,000,000 บาท
  2. หัวใจของเครดิตยูเนี่ยนคือการศึกษาอบรม มีสหกรณ์ท่านใดที่เลิก แล้วอบรมก่อนถึงรับเป็นสมาชิกสหกรณ์  ถ้าเครดิตยูเนี่ยนรอด สหกรณ์เทวาต้องรอด  การคิดสวัสดิการเพราะเจอปัญหาเหล่านี้  ต้องทำงานผสมผสาน ทั้งงานสงเคราะห์ศูนย์กลางเทวา จึงเกิดมาเพราะจุดนี้การศึกษาอบรมต้องครบ ใครไม่ครบให้มารอบหน้า อย่าพึ่งกู้

4.การแลกเปลี่ยน (ให้การศึกษา)    

                  - หลักเศรษฐกิจพอเพียง

                  - ทบทวนวังวนเดิม กู้นอกระบบ

                  - การจัดระบบเศรษฐกิจตนเอง ครอบครัว  เช่นการประหยัดสะสม ทวนกระแส,การตั้งเป้าหมายประหยัดได้ /วินัย/ช่วยเพื่อน/มีหลักประกันในอนาคต

                  - การสร้างเศรษฐกิจครอบครัว

                  ** ชีวิตที่มีคุณค่าคือ การมีความรู้ คู่คุณธรรม

5.การรวมกลุ่มแก้ปัญหา

6.เป้าหมายของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนต้องชัด

 

จิตตารมณ์เครดิตยูเนี่ยน

  1. ให้ความสนใจ กับบุคคลและสังคมรวม
  2. ให้ความห่วงใย เพื่อนมนุษย์และสังคม
  3. ให้การแบ่งปัน เอื้ออาทร ต่อเพื่อนมนุษย์
  4. ให้การรับใช้ เท่าที่สามารถให้แก่ผู้ด้อยโอกาสให้ได้ศึกษาเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง

 

การรำลึกคุณ “บุพการี” ศูนย์กลางเทวา ให้ประโยชน์มหาศาล

-          เราเน้นการสร้างคนทำเงิน ไม่ใช่สร้างเงิน จูงคน อย่าเอาเงินมานำคน

-          สิ่งที่เห็นชัดเจนคือให้ปันผล 2 ปี ยกเงินปันผลให้เป็นทุนการศึกษาเด็ก

-          ผลงานที่ทำมาไม่ใช่เรื่องการค้า กำไร แต่เป็นเรื่องการสร้างสังคม

-          คุณธรรม วัฒนธรรม คุณธรรมนำชีวิต

-          การดำรงชีพประจำวันต้องมีครบ ทั้งครอบครัวสังคม

-          คนเป็นผู้นำต้องให้คนอื่นไหว้โดยสนิทใจ ไม่มีแผลทั้งข้างหน้า ข้างหลัง ที่ลับ ที่แจ้ง

-          คนเป็นผู้นำต้องปลอดเรื่องการเงิน และเรื่องเพศ ไม่เช่นนั้นแล้วงานทำไม่ได้ คนอยู่ข้างหลังเป็นห่วง

-          เครดิตยูเนี่ยนขอให้ประหยัด งด ละ สิ่งฟุ่มเฟือย เงินสะสมนี้ มีค่ามหาศาล เพราะเป็นเงินที่ทวนกระแส เป็นเงินที่เราอด

-          เงินที่อดมีคุณค่ามหาศาล ทำให้เราสามารถจัดระบบการเงินได้ เพื่อนช่วยเหลือได้

คำถาม

-          ปรัชญาที่เป็นแรงดลใจในการทำงานเรื่องนี้แต่ต้นคืออะไร

คำตอบ

-          วิธีสหกรณ์เลิศกว่าทุกอย่าง

-          เห็นสิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทุ่มเทตลอดชีวิต ให้ใช้ชีวิตที่เหลือเพื่อพ่อและแผ่นดิน

-          คนไทยทำไมไม่ทะนุถนอม ไม่รักษา

-          หาเพื่อนปราชญ์สหกรณ์  ดูแลให้ทั่วถึง

คำถาม

-          อาจารย์เป็นอย่างเดียวกันหรือไม่คือ กลัวคนอื่นทำไม่ดีเท่าที่ตัวเองทำ ไม่เชื่อใจใคร ไม่ยอมทิ้ง

คำตอบ

-          เกือบถูก ในยุคหนึ่งมีอย่างนั้นจริง ๆ แต่ตอนนี้ใช้คำพระคุณเจ้าบุญเรื่องบอกว่าการทำงานพัฒนาสังคมถ้ามีคนเดินตามไม่ได้ถือว่าล้มเหลว

คำถาม

-          ในความเห็นของอาจารย์ที่ออกข้อบังคับเป็นกรรมการ 2 วาระแล้วเป็นผู้ตรวจสอบไม่ได้ ทำไมถึงมีระเบียบเหล่านี้ขึ้นมาและมีความคิดเห็นอย่างไร

คำตอบ

-          มีสหกรณ์ไม่ใช่เครดิตยูเนี่ยนมีการทุจริตกัน มีประธานคนเดิมเป็นกรรมการและผู้ตรวจสอบ ก็จะหมกไว้

-          แก้ตรงผู้สอบบัญชีภาพลักษณ์ทั้งหมดไม่ให้สอบทุจริตกัน

 

วันเสาร์ที่ 29 กันยายน 2555 เช้านี้ได้รับเกียรติจาก ดร.ธันวา จิตต์สงวน มาบรรยายหัวข้อหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการประยุกต์ใช้กับงานสหกรณ์

เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

สรุปการบรรยายโดยทีมงาน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

 

การบรรยายเรื่อง หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการประยุกต์ใช้กับงานสหกรณ์

โดย ดร.ธันวา จิตต์สงวน

 

  • ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องที่อยู่ในสายเลือดคนไทยอยู่แล้ว แต่บางเรื่องอาจละเลยหรือประมาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระองค์ท่านได้กระตุกแนวคิดคนไทยให้กลับคืนมา
  • ความคิดของคนเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด  สังเกตได้ว่าการให้ที่ไม่ฉลาดที่สุดเป็นการให้ ATM หรือเช็คแล้วไปเบิกเอา สรุปคือถ้าฉลาดให้ให้ความคิด พาไปพบปะ พูดคุย กับสังคม ให้เขาได้โตในสังคม
  • การทำบาป บุญ ขึ้นอยู่กับการคิดและการทำงานของเรา
  • ปรัชญา คล้ายเกราะกำบัง แนวคิดของคน ระวังในส่วนที่ตัวท่านเป็นผู้มีอิทธิพล เพราะคนอื่นจะทำตาม
  • การพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ระวังเรื่องการใช้เงิน เพราะเงินเป็นตัวกลางที่นำไปสู่อะไรบางอย่าง นำไปสู่ความดี ความชั่ว ส่งเสริมอธิปไตย ความเท่าเทียมของมนุษย์ สิ่งแวดล้อม  โลกาภิวัตน์จึงเน้นเรื่องสิทธิมนุษยธรรม
  • เราต้องส่งเสริมประชาธิปไตย แม้ว่ามีทั้งสิ่งดีและไม่ดี
  • การค้าเสรีต้องแข่งกันดี ๆ
  • โลกาภิวัตน์บางทีเป็นเรื่องดี บางทีเป็นเรื่องไม่ดี
  • โลกาภิวัตน์ทำให้เราปรับปรุงตนเอง หารายได้ตนเองมากขึ้น ผู้ประกอบการที่เก่งจะชอบในการเปิดตลาด แต่ผู้ประกอบการไม่เก่งจะไม่ชอบในการบล็อกตลาด จะรู้สึกว่าคุณไม่มีที่อยู่ในที่ใดในโลก
  • ข้อดี คือตลาดใหญ่ขึ้น  ถ้าเจ๊งจริงให้ไปสมัครตลาดต่างประเทศเลย

 

 

 

โลก 4 มิติของเราในปัจจุบัน

  • โลกเล็ก – ความเชื่อมโยงของผลกระทบต่อกับทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมของทุกประเทศ ทำอย่างไรให้เรามีชื่อใน Google จะแสดงว่าเรามีผลงาน มีบารมี เป็นที่รู้จัก สามารถหาข้อมูลให้ได้
  • โลกเร็ว – การส่งผ่านทุนและข่าวสารข้อมูลถึงกันโดยทันทีผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทุกอย่างต้องเรียนรู้ได้
  • โลกร้อน - การเปลี่ยนแปลงโดยทั่วไปของทุกประเทศจากแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมลง อุณหภูมิสูงขึ้น น้ำท่วม ไฟไหม้ แผ่นดินไหว โรคระบาด
  • โลกร้าย - โรคบิดใหม่ โรคระบาดสายพันธุ์ใหม่ เชื้อโรคใหม่ และภัยจากการก่อการร้ายแบบใหม่

 

ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมที่มีอยู่ในปัจจุบัน

  • ปัญหาระบบนิเวศน์และสภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม
  • ปัญหาผลิตภาพตกต่ำและต้นทุนสูง
  • ปัญหาขาดเทคโนโลยีที่เหมาะสม ปลอดภัย และแข่งขันได้
  • ปัญหาสุขภาพผู้ผลิต ผู้บริโภค และของสังคม
  • ปัญหาหนี้สินมากขึ้นและการกระจายรายได้เลวลง
  • ปัญหาการจัดการองค์ความรู้ที่มีอยู่ไม่มีประสิทธิภาพ
  • ปัญหาคตินิยมของสังคมไทยรุ่นใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไป

 

สรุป คือ ทำอย่างไรถึงต้องพัฒนาคนให้เป็นคนดี

 

สังคมไทยคือสังคมที่มีพัฒนาแบบความสมดุล

  • ปัญหาระบบนิเวศน์และสภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม
  • ปัญหาผลิตภาพตกต่ำและต้นทุนสูง
  • ปัญหาขาดเทคโนโลยีที่เหมาะสม ปลอดภัย และแข่งขันได้
  • ปัญหาสุขภาพผู้ผลิต ผู้บริโภค และของสังคม
  • ปัญหาหนี้สินมากขึ้นและการกระจายรายได้เลวลง
  • ปัญหาการจัดการองค์ความรู้ที่มีอยู่ไม่มีประสิทธิภาพ
  • ปัญหาคตินิยมของสังคมไทยรุ่นใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไป

 

สิ่งที่เราต้องทำคือ จะทำอย่างไรให้มีการพัฒนาแบบสมดุลไม่เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยกับคนจน ให้สังเกตต่างประเทศ  สำหรับประเทศที่เจริญแล้ว เราไม่สามารถทราบได้เลยว่า คนไหน รวย และจน ดังนั้นไทยต้องทำให้ได้

 

“เขา”  ว่า  “เรา” จริงหรือไม่

  • ขี้โม้- ชอบสร้างภาพ ไม่เน้นความจริง
  • ขี้เกียจ- ไม่อดทน ไม่ชอบเรียนรู้ ไม่ยอมปรับปรุง
  • ขี้อิจฉา- ทำงานเชิงบูรณาการไม่เป็น  ควรมีการแบ่งงานชัดเจน  เราเป็นผู้นำชุมชน
  • ขี้โกง- ทุจริต คอรัปชั่น รั่วไหล

สรุปคือ เราต้องพยายามดูตนเองเยอะ ๆ ว่าจุดแข็ง หรือจุดอ่อนของตนเองคืออะไร

 

เรียนรู้จุดแข็งของประเทศไทย: ภูมิสังคม

  • ภูมิ-ทุนสิ่งแวดล้อม: ทรัพยากร ภูมิประเทศ ทิวทัศน์ แสงแดด ดิน น้ำ ป่าไม้ ความหลากหลายของพันธุ์พืช สัตว์ เกษตรกรรม อาหาร จุลินทรีย์
  • สังคม-ทุนสังคม: ภูมิปัญญา ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม คุณค่า กริยามารยาท หัตถศิลป์ การมีน้ำใจและเกรงใจต่อกัน เอกลักษณ์ของชาติ

สรุปคือ เราต้องรู้ว่าอะไรดี แล้วมีการวิเคราะห์ วิจัยอะไรที่เด่น ๆ ตัวอย่าง เช่น  มีการทำวิจัย หมามุ่ย ว่ามีดีอย่างไร ทำให้จริงจัง  อย่างอาหารไทย เนื่องจากสิ่งแวดล้อมดี เราต้องรู้ว่ามีคนเก่งด้านใดด้วย ตัวอย่างทุนทางสังคมเช่น การตำน้ำพริกโดยใช้ครก มาตั้งแต่บรรพบุรุษ

ข้อคิดในการพัฒนาประเทศไทย…ก้าวต่อไป

  • แสวงหาศักยภาพที่แท้จริงจากฐานทรัพยากรและภูมิปัญญา
  • สร้างสมดุลจากการพัฒนาทุนเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
  • เพิ่มทัศนคติแห่งการเรียนรู้เพื่อพึ่งพาตนเอง
  • หาทางลดและป้องกันภัยคุกคามจากกระแสโลกาภิวัตน์
  • เชื่อมั่นในการผสมผสานที่ลงตัวจากความหลากหลายที่มี

 

คำตอบคือ....ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง(Sufficiency Economy Philosophy)

  • คือ แนวทางที่ประเทศไทยสมควรนำมาเป็นกรอบแนวคิดและแนวปฏิบัติ ในการพัฒนาชีวิต  ครอบครัว ชุมชน เศรษฐกิจ สังคมในทุกภาคส่วน
  • คือ แนวทางสายกลางบนพื้นฐานวิถีสังคมไทย ที่จะทำให้สังคมดำรงอยู่ได้ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงและความเสี่ยงภัยในทุกระดับ

สรุปคือ พอเพียง คือ ความพอเพียงในทุกระดับ

 

เนื้อหาสาระ เงื่อนไข และเป้าหมายของปรัชญา

“…เศรษฐกิจพอเพียง เป็นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั่นเอง สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ ก็อยู่ที่เสาเข็ม แต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็ม และลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไป…”

พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

 

สรุป   กรอบแนวคิดเสมือนเสาเข็มที่เราไม่รู้

 

พัฒนาการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

  • 2517 หลังวิกฤติการณ์เดือนตุลาคม พระราชดำรัสเน้น ความพออยู่พอกิน พอดีพอประมาณ
  • 2538 กำเนิดแนวคิดทฤษฎีใหม่ เป็นแนวทางพัฒนาการเกษตร
  • 2540 พระราชดำรัสอธิบายเรื่อง ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
  • 2542 เผยแพร่หนึ่งหน้ากระดาษของเนื้อหาใจความปรัชญา
  • 2547 จุดประกายขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงอย่างจริงจัง
  • 2548 ศึกษาวิจัย สร้างเครือข่าย ทุกภาคส่วนในสังคมไทย
  • 2549 ขยายผลสู่ภาคปฏิบัติเป็นรูปธรรมอย่างกว้างขวาง มากกว่า 3000โครงการในพระราชดำริ กว่า 30 ปี
  • 2550 สรุปผลการขับเคลื่อนเทิดพระเกียรติ ในวโรกาส 80 พระชันษา

 

3 คุณลักษณะของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง:

  • ความพอประมาณ (Moderation)- ประเมินอัตภาพและความเหมาะสมของตนเอง ครอบครัว ชุมชน และประเทศ ในการดำเนินการใดๆ
  • ความมีเหตุผล (Reasonableness)- วิเคราะห์ศักยภาพและความสอดคล้องในการดำเนินการนั้นๆกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และกฎหมาย ที่มีอยู่
  • การมีภูมิคุ้มกันตนเอง (Self Immunity)- สร้างระบบลดความเสี่ยงและความไม่แน่นอนในทุกด้านที่อาจเกิดขึ้นให้น้อยลง อาจหมายถึงการออมทรัพย์ ประกันภัย การมีเพื่อน

 

2 เงื่อนไขของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง:

  • เงื่อนไขความรู้ (Knowledge) – ใฝ่หาความรู้ รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง ใช้เหตุผลวิทยาศาสตร์ ไม่งมงาย
  • เงื่อนไขคุณธรรม (Integrity) - มีคุณสมบัติแห่งความซื่อสัตย์ สุจริต อดทน ความเพียร ไม่โลภเกินไป

 

3 เป้าหมายของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง:

  • ความพอประมาณ       à ความสมดุล (Equilibrium)
  • ความมีเหตุผล            à ความมั่นคง (Stability)
  • การมีภูมิคุ้มกันตนเอง  àความยั่งยืน (Sustainability) ถ้าเราไม่ประมาทก็จะยั่งยืน และปลอดภัย

      เป้าหมายของการพัฒนาชีวิตบุคคล ชุมชน และประเทศ คือ การสร้างแนวทางพัฒนาที่นำไปสู่ความสมดุล มั่นคง และยั่งยืน

 

สรุป คือพอเพียง คือสกัดมาจากประสบการณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มากว่า 35 ปี

มี 8 คำคือ

  1. ความพอประมาณ
  2. ความมีเหตุผล
  3. การมีภูมิคุ้มกันตนเอง
  4. ความรู้
  5. คุณธรรม
  6. ความสมดุล
  7. ความมั่นคง
  8. ความยั่งยืน

 

คำหลักในปรัชญาที่ควรตระหนัก

  • ความพอประมาณ คือ ทำเท่าที่เหมาะสมในอัตภาพที่เป็นอยู่ของแต่ละช่วงเวลา
  • ความมีเหตุผล คือ เพราะสอดคล้องกับศักยภาพ และวัฒนธรรมประเพณี กฏหมาย
  • การมีภูมิคุ้มกันตนเอง คือ มีระบบจัดการลดความเสี่ยงภัยในทุกระดับที่อาจจะเกิดขึ้น

 

เศรษฐกิจพอเพียงในปัจเจกชน (พูดถึงระบบที่ปกติ)

  • แบ่งเงิน แบ่งเวลาให้เป็น

บุคคล ครัวเรือน พึ่งพาตนเอง มีคุณภาพชีวิตที่เหมาะสมตามอัตภาพ การใช้จ่าย แบ่งสรรเวลา มีหนี้สิน สิ่งฟุ่มเฟือย ไม่มากเกินไป

  • ทำอาชีพให้เหมาะสมกับตนเอง มีกระจกที่พอเพียง คือเห็นภาพรวมเป็นอะไร ดูศักยภาพตนเอง

ประกอบสัมมาอาชีพตามสภาพทรัพยากร สิ่งแวดล้อม ทักษะ ความสามารถ มีแนวทางชีวิตสอดคล้องวัฒนธรรมประเพณีและกฎหมาย พัฒนาตนเองตามศักยภาพ ไม่งมงายตามกระแส

  • การรักษาสมดุลเชิงระบบ ถ้าผิดระบบคือมะเร็ง เข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มการผลิต ระบบสุขภาพ ประกันภัย ออมทรัพย์ มีครอบครัวอบอุ่นเข้มแข็ง สภาพแวดล้อมน่าอยู่อาศัย ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

อะไรก็ตามที่เสียจากระบบจะมีปัญหาชีวิต

 

การพัฒนาแบบทฤษฎีใหม่: 3 ขั้นตอนรูปธรรม ในการประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียงขั้นพื้นฐาน

  • - ทฤษฎีใหม่ขั้นหนึ่ง ระดับปัจเจกชน ครัวเรือน ไร่นา บริษัท ธุรกิจ หรือสร้างความพอดีระดับจุลภาค (Optimization)

เศรษฐกิจพอเพียงขั้นก้าวหน้า

  • - ทฤษฎีใหม่ขั้นสอง ระดับกลุ่ม องค์กร สหกรณ์ สมาคม การรวมตัวทางธุรกิจ เพื่อประหยัดต้นทุน (Economy of Scale)
  • - ทฤษฎีใหม่ขั้นสาม ระดับสังคม ภูมิภาค เครือข่าย ระดับประเทศ นานาชาติ เพื่อขยายขอบเขตการดำเนินงาน (Economy of Scope)

 

ระบบเกษตรกรรม: ตัวอย่างรูปธรรมของทฤษฎีใหม่

  • ทฤษฎีใหม่ (๑) ระดับไร่นา- เน้นจัดสรรที่ดินให้เกิดความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม ความหลากหลาย และลดความเสี่ยง- ฟาร์ม
  • ทฤษฎีใหม่ (๒) ระดับกลุ่ม- เน้นการรวมพลังเพื่อลดต้นทุน ขยายการผลิตและแลกเปลี่ยนประสบการณ์- กลุ่ม สหกรณ์
  • ทฤษฎีใหม่ (๓) ระดับสังคม- เน้นการสร้างเครือข่ายหนุนเสริมระหว่างกลุ่มต่างๆเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กว้างขึ้น- สมาคมชุมนุมสหกรณ์ สมาคมผู้ผลิตและผู้ส่งออก
  • แนวคิดทฤษฎีใหม่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในทุกภาคส่วน

 

หลักการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน    เน้นหลักความก้าวหน้า

  • ร่วมมือกัน เพื่อช่วยเหลือกัน เอื้ออาทรต่อกัน
  • เท่าเทียมกัน เสมอภาคต่อกัน
  • พัฒนาคุณภาพชีวิตซึ่งกันและกัน ไม่ใช่แค่ทำธุรกิจ

 

สหกรณ์ คือ หลักการพื้นฐานของมนุษย์

  • ร่วมมือกันช่วยเหลือตนเอง มากกว่า จะรอองค์กรภายนอกมาช่วย
  • ให้เกียรติแก่ศักดิ์ศรีในตัวมนุษย์ มากกว่า ทุนในมือมนุษย์
  • บริหารทุนเพื่อการพัฒนาชีวิต มากกว่า เพื่อกำไรสูงสุด

 

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในหลักสหกรณ์

  • พอประมาณ- ดำเนินงานจากเล็กไปหาใหญ่ ยึดจำนวนสมาชิก เท่าเทียมกัน ไม่เร่งระดมทุนก้าวกระโดดแต่ไม่มีคุณภาพ รู้จักอัตภาพตนเองว่ามีกิจกรรมใดที่เหมาะสม
  • มีเหตุผล- ยึดการช่วยเหลือกันและกัน พัฒนาสมาชิกไปสู่พัฒนาธุรกิจ ให้การศึกษาเรียนรู้เพื่อความเข้าใจตนเอง องค์กร และโลก
  • สร้างภูมิคุ้มกันตนเอง- มีระบบกลุ่มที่เข้มแข็ง ครอบคลุมวงจรชีวิต ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น  เช่น สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเน้นการลดความเสี่ยง จัดกิจกรรม

ให้สมาชิกช่วยกันออกแบบ ภูมิคุ้มกันตนเอง เป็นจุดเด่นมาก ๆ

 

สหกรณ์เครติดยูเนียน คือ.... เศรษฐกิจพอเพียงขั้นก้าวหน้า

  • เป็นตัวอย่างที่ดีของการประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในขั้นก้าวหน้า หรือทฤษฎีใหม่ขั้นที่สองหรือสาม
  • สามารถสอดคล้องกับหลักสามประการของปรัชญาเป็นอย่างดี แต่จุดเด่นที่สุดคือ เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีแก่สังคม ในยุดแห่งการเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัฒน์
  • ให้การศึกษาเรียนรู้และส่งเสริมคุณธรรมแก่สมาชิก เป็นเงื่อนไขสำคัญของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

 

จุดเด่นของระบบสหกรณ์เครติดยูเนียนในแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

  • การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีแก่สมาชิก ถือเป็นหลักคิดที่สำคัญที่สุดของปรัชญาในยามที่สังคมต้องเผชิญกับวิกฤติหรือการเปลี่ยนแปลงใดๆที่รวดเร็วจากภายนอก
  • การสร้างความรู้และคุณธรรมแก่สมาชิก คือ พื้นฐานของความเข้าใจในปรัชญาและเข้าใจในหลักสหกรณ์เครติดยูเนียน ให้มีความรอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง ซื่อสัตย์ สุจริตต่อกัน ลดมิจฉาทิฐิ ไม่หลงงมงาย มีความโลภเกินเหตุ

 

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคือ กรอบทุนนิยมสหกรณ์คือ ระบบทุนนิยมเพื่อสังคม

  • ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ได้ขัดแย้งกับหลักทุนนิยม แต่ส่งเสริมความเจริญเติบโตร่ำรวย แต่บนกรอบความมีเหตุผลและมีคุณธรรม ไม่ใช่ฉุดรั้งเศรษฐกิจให้ถอยหลังเข้าคลอง แต่เติบโตอย่างเป็นขั้นตอน พอประมาณ และไม่เสี่ยงภัยเกินไป
  • ระบบสหกรณ์ ไม่ได้ขัดแย้งกับหลักการของระบบทุนนิยม แต่เป็นแนวทางของทุนนิยมเพื่อความสุขและระบบสวัสดิการของสังคมซึ่งมากกว่าการสร้างผลกำไรสูงสุดเป็นตัวเงิน เท่านั้น
  • คือ ทุนนิยมเพื่อสังคม (Social Capitalism)  รวยแบบมีคุณธรรม รวยแล้วอย่าสร้างความแตกแยก  ไม่ได้เงิน แต่เน้นความสุข

 

CSR ที่แท้ของทุนนิยม อะไรก็ตามซึ่งเกิดจากบริษัทใด บริษัทหนึ่ง

  • Corporate Social Responsibility (CSR) คือ ความร่วมรับผิดชอบต่อสังคมของทุนนิยม
  • ทุนนิยมสร้างผลกำไรสูงสุด(Max Profit) บนต้นทุนสังคม(Social Cost) ที่ยังไม่ได้รวมไว้ในต้นทุนการผลิตโดยปกติ
  • ต้นทุนสังคมที่ทุนนิยมสร้างขึ้น อาทิ สร้างมลพิษ ทำลายสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมอุบัติเหตุ ทำลายสุขภาพ สร้างค่านิยมไม่ถูกต้อง วัฒนธรรมเสื่อมโทรม และความรู้ความเข้าใจของประชาชน ฯลฯ

 

CSR ของสหกรณ์เครดิตยูเนียน

  • การแบ่งปันผลกำไร เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และคุณธรรมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมที่ดีและยั่งยืน เช่น การรณรงค์เรื่องการออม
  • เป็นการพัฒนาด้านทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งสำคัญต่อสังคมยิ่งกว่าการพัฒนาด้านถาวรวัตถุใดๆ
  • เป็นความรับผิดต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิกและของสังคมส่วนรวมโดยตรงในระยะยาว

 

ความล่มสลายของทุนนิยมที่ตกขอบ

  • ระบบทุนนิยมที่เน้นสร้างกำไรสูงสุด ไม่แบ่งปัน ทำให้เกิดช่องว่างในสังคม จนเกิดเป็นภาวะเสื่อมถอยในปัจจุบัน
  • อาทิ ขบวนการยึดครองวอลสตรีท การลุกขึ้นของประชาชนอาหรับ การประท้วงตามท้องถนน การก่อการร้าย ไปจนถึงสงครามเพื่อเปลี่ยนแปลง
  • ผู้ที่ร่ำรวยที่สุดในโลกทุนนิยม จะรู้จักการแบ่งปันทั้งสิ้น อาทิ บิลล์เกตต์ วอร์เร็น บัฟเฟ็ต สตีฟ จ็อบส์ มาร์ค ซักเคอร์เบิร์ค

 

การรับผิดชอบต่อสังคมกับภาพลวงตา

  • การรับผิดชอบต่อสังคมของทุนนิยมภาคเอกชน เป็นภาพลวงตากับการโฆษณาประชาสัมพันธ์เพื่อเพิ่มยอดขายสินค้า
  • เน้นการสร้างภาพลักษณ์องค์กรให้โดดเด่น ได้รางวัล ไม่ใช่การรับผิดชอบต่อสังคมตามหลักการ
  • สินค้าที่ควรมีการทำ CSR ให้ถูกต้อง เช่น เหล้า บุหรี่ กระดาษ น้ำมันเชื้อเพลิง โรงงานอุตสาหกรรม แฟชั่น ธนาคาร การเงิน ฯลฯสรุปแล้วคือ ทุกสินค้าควรมองเห็นและเข้าใจ CSR ของตนเองให้ถูกต้อง

 

บางประเด็นที่ถกเถียงเรื่อง “ไม่ใช่”  ในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

  • ประยุกต์ใช้กับทุกคน ทุกระดับ ทุกภาคส่วนไม่ใช่เฉพาะการเกษตร เกษตรกร คนจน หรือ เศรษฐกิจฐานล่าง
  • ไม่ใช่การอดออม ประหยัดจนเกินควร ไม่ลงทุน และไม่เสี่ยงใดๆ แต่ขยายตัวอย่างมีสติ รอบคอบ ระมัดระวัง ร่ำรวยอย่างมีคุณธรรม
  • ไม่ใช่ ต้องถอยกลับเทคโนโลยีสู่วิถีธรรมชาติดั้งเดิม ต้องพิจารณาจากความเหมาะสมของสภาพแวดล้อมด้านต่างๆ
  • พฤติกรรมการบริโภค ไม่ใช่ จะใช้สิ่งของราคาแพงไม่ได้ แต่ต้องเหมาะสมกับฐานะ ไม่เดือดร้อนต่อตนเองและผู้อื่น
  • 25% ของการกระทำทุกคน ไม่ใช่ จากจำนวนคน

 

สามเสาหลักของของประชาคมอาเซียน (ASEAN Community-AC)

  1. เสาประชาคมความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community- APSC) เพื่อให้ประเทศสมาชิกอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข แก้ไขปัญหาภายในภูมิภาคโดยสันติวิธี และยึดมั่นในหลักความมั่นคงรอบด้าน
    2. เสาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community-AEC) มีเพื่อสร้างความมั่นคง และมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ ให้ประเทศสมาชิกสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้
    3. เสาประชาสังคมและวัฒนธรรม (ASEAN Socio-Cultural Community-ASCC) เพื่อให้ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี ได้รับการพัฒนาในทุกด้าน และมีความมั่นคงทางสังคมแบบเอื้ออาทร

 

การเตรียมพร้อมในการเข้าสู่ระบบการค้าเสรี

  • การสำรวจโครงสร้างการผลิตและการบริโภคของประชาชน
  • การวิเคราะห์ความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบของสินค้าและบริการที่มีอยู่
  • การหาทางลดผลกระทบจากการเข้ามาของสินค้าและบริการจากต่างประเทศ
  • การปรับตัวของผู้ผลิตและผู้บริโภคจากการเกิดทางเลือกของสินค้าและบริการที่มากขึ้น
  • การแทรกแซงของนโยบายรัฐในกรณีที่จำเป็นอาจเกิดความเสียหายแก่ประเทศชาติ

 

บางตัวอย่างของการค้าเสรีที่มองเห็นอยู่แล้ว

ปัจจุบัน....

  • แรงงานก่อสร้าง สวนยาง งานบ้าน เสิร์ฟอาหาร ล้างบ้านน้ำท่วม
  • ผัก ผลไม้ ปลา เสื้อผ้า เนื้อไม้ อัญมณี

อนาคตอันใกล้....

  • พนักงานธนาคาร พนักงานโรงแรม ครูสอนภาษา
  • ผัก ผลไม้ อาหารสำเร็จรูป เฟอร์นิเจอร์ กาแฟ แฟชั่น เครื่องสำอาง

 

สินค้าและบริการของไทยที่น่าจะมีผลกระทบทางลบ

  • สินค้า (Goods) ที่มีต้นทุนสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน หรือมีผลิตภาพที่ต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้าน- ข้าว มะพร้าว ปาล์มน้ำมัน กาแฟ ชา สัตว์น้ำ และผลไม้
  • บริการ(Services) ที่น่าจะมีคู่แข่งขันมากขึ้นจากความสามารถด้านภาษาและวัฒนธรรม- ครูสอนภาษา พยาบาล พนักงานโรงแรม นักร้อง และนักดนตรี

 

แนวคิดเชิงรุกในการเข้าสู่ AEC

  • ใช้ประโยชน์ทำเลที่ตั้งของไทยในฐานะเป็นศูนย์กลางคมนาคมและระบบโลกจิสติดส์ของภูมิภาค
  • เตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างปัจจัยพื้นฐาน ระบบขนส่ง ระบบเก็บรักษา และระบบการกระจายสินค้าในระดับภูมิภาค
  • เร่งส่งเสริมการผลิตสินค้าและบริการที่ไทยมีความได้เปรียบ อาทิ อาหาร สินค้าเกษตร สินค้าอุตสาหกรรม โรงพยาบาล การศึกษา การท่องเที่ยว การฝึกอบรม โดยพิจารณาจากรสนิยมของลูกค้าระดับภูมิภาค

 

แนวคิดเชิงรับในการเข้าสู่ AEC

  • รณรงค์การอนุรักษ์ ค่านิยมไทย ประเพณีไทย การใช้สินค้าและบริการของไทยที่ดี สร้างระบบเศรษฐกิจที่มีเหตุผล เหมาะสมกับสังคมไทยไม่ให้ถูกทุนนิยมจากภายนอกเข้าทำลาย
  • ใช้ประโยชน์ระบบเศรษฐกิจเสรีมาผลักดันให้เกิดการพัฒนาใหม่ๆในระบบของไทย- การศึกษา การผลิต การแปรรูป การสร้างมูลค่าเพิ่ม
  • เตรียมพัฒนาเครื่องมือในการสื่อสารระดับภูมิภาค อาทิ ความเข้าใจภาษา ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี และสร้างข้อตกลงร่วมกันที่เป็นธรรมระหว่างประเทศ

 

การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสถานการณ์เศรษฐกิจเสรี (๑)- พอประมาณ

  • ต้องมีการปรับเปลี่ยนประเทศให้เกิดความสมดุลใหม่ในแทบทุกระบบ ตามอัตภาพใหม่ที่จะเกิดขึ้น
  • ส่งเสริมปกป้องการผลิตและบริโภคสินค้าที่มีความได้เปรียบ ต้นทุนต่ำ และคุณภาพดีอยู่แล้วในประเทศ
  • ลดการผลิตสินค้าที่มีต้นทุนสูงเกินไป นำเข้าสินค้าที่มีคุณภาพและราคาถูกกว่าเข้ามาบริโภคทดแทน

 

การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสถานการณ์เศรษฐกิจเสรี (๒)- มีเหตุผล

  • เข้าใจและยอมรับความได้เปรียบเสียเปรียบของศักยภาพทางการผลิตที่มีอยู่จากต้นทุนที่แตกต่าง
  • ไม่แข่งขันในสินค้าและบริการที่ไม่มีความถนัดและมีต้นทุนสูงเกินไป
  • มีมาตรการช่วยเหลือภาคส่วนสังคมที่จะได้รับผลกระทบจากการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตตามตลาดแบบเสรี
  • คำนึงถึงความมั่นคงของประเทศ วัฒนธรรมที่ดีงามของไทย

 

การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสถานการณ์เศรษฐกิจเสรี (๓)- มีภูมิคุ้มกันตนเอง

  • รณรงค์สินค้า บริการ ค่านิยมไทย ภูมิปัญญาไทย และรักษาวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามของไทย ไม่ให้เลือนหายไปจากระบบตลาดที่มีการแข่งขันสูงในทุกมิติ
  • สร้างระบบกลุ่ม เครือข่าย เศรษฐกิจชุมชน สหกรณ์ เพื่อเป็นเกราะคุ้มกันความมั่นคงให้สังคมไทยในกระแสเศรษฐกิจเสรี
  • ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในการเข้าสู่ AEC ทั้งในแง่บวกและแง่ลบ เพื่อกำหนดบทบาทที่ถูกต้องเหมาะสมของตนเองและประเทศชาติ ไม่ดูถูกเพื่อนบ้าน มีทัศนคติที่ดี

 

การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสถานการณ์เศรษฐกิจเสรี (๔)- ใช้ความรู้

  • สร้าง พัฒนา และเผยแพร่องค์ความรู้ด้านอาเซียนในประเทศให้มากขึ้น เพื่อ “รู้เขา รู้เรา” อย่างแท้จริง
  • ไม่กีดกันหรือหลบหนีจากระบบสังคมนานาชาติ แต่ทำความเข้าใจ เรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมจากเพื่อนบ้าน เพื่อกำหนดบทบาทท่าทีของไทยให้ถูกต้อง
  • มีความระมัดระวังรอบคอบในการเรียนรู้จากทุกมิติ ทั้งแง่บวกและแง่ลบของประเทศต่างๆที่มีอยู่ เปรียบเทียบกับประเทศไทย

 

การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสถานการณ์เศรษฐกิจเสรี (๕)- มีคุณธรรม

  • มีความจริงใจ ซื่อสัตย์ ในการเป็นพันธมิตรกับเพื่อนบ้านประชาคมอาเซียน
  • ไม่ดูถูก เหยียดหยาม เอาเปรียบจากความแตกต่างที่มองเห็นได้จากประเทศอื่นๆ ไม่ยกประวัติศาสตร์มาโอ้อวดกัน
  • ไม่หวังหาผลประโยชน์จากความไม่สมบูรณ์ของความรู้และการศึกษาของผู้คนที่มีน้อยกว่า ฐานะทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน

 

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง:ภูมิคุ้มกันประเทศในการเข้าสู่ AEC

  • ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจึงเป็นเสมือน “ภูมิคุ้มกันทางความคิด”ของคนไทยในการเข้าสู่ AEC อย่างรู้เท่าทัน
  • การตั้งสติ ไม่ประมาท และดำเนินการแบบค่อยเป็นค่อยไป อย่างมั่นคง ตามเส้นทางของ AEC เป็นสิ่งจำเป็นต้องมี แต่ไม่ตาโต ไม่โลภเกินเหตุ ไม่มองแง่ดีเกินไป
  • หากคนไทยมีสติยั้งคิดในทุกระดับถึง ความพอประมาณ มีเหตุผล และคิดสร้างภูมิคุ้มกันตนเอง จากการใช้ความรู้และการมีคุณธรรม จะทำให้การเข้าสู่AEC เป็นสิ่งที่ดี
  • สหกรณ์เครติดยูเนียน เป็นตัวอย่างที่ดีของการประยุกต์ปรัชญาเป็นภูมิคุ้มกันสังคมไทย

 

เติบโตอย่างพอเพียงในประชาคมอาเซียน

  • พอประมาณ-วิเคราะห์สถานภาพของประเทศที่แท้จริงของไทยในประชาคมอาเซียน ไม่หลอกตัวเอง ไม่หลงตัวเอง ไม่ติดภาพในอดีต
  • มีเหตุผล-พัฒนาการค้าเสรีตามศักยภาพที่มีอย่างแท้จริง พยายามให้เท่าทันหรือนำหน้าสมาชิกอย่างมีลำดับ ขั้นตอน ไม่ก้าวกระโดดแต่เสี่ยงภัย
  • มีภูมิคุ้มกัน-สร้างความสัมพันธ์ที่ดีทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมือง กับสมาชิกประชาคมอาเซียน พร้อมให้พร้อมรับ ไม่เอาเปรียบ ยึดหลักธรรมาภิบาลระหว่างประเทศ

 

การเรียนรู้ คือ หัวใจของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่ AEC

  • การขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เริ่มจากการมีศรัทธา รับรู้ เข้าใจ และนำไปปฏิบัติจริง ตามลำดับ
  • การศึกษา  ดูงาน และการเรียนรู้ถึงทุกบริบทของอาเซียน เป็นหัวใจของการขับเคลื่อนปรัชญาเพื่อแปลงให้เป็นการปฏิบัติที่ถูกต้องยิ่งขึ้น
  • ประเทศไทยต้องเชื่อมั่นและมีความเข้าใจในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและหลักสหกรณ์เครติดยูเนียนว่า จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการเตรียมพร้อมเข้าสู่ AEC ได้เป็นอย่างดี
  • การศึกษาในระบบและการศึกษานอกระบบของคนไทยมีผลอย่างมากต่อในการขับเคลื่อนปรัชญาเข้าสู่ AEC

 

 

 

 

 

 

 

 

ช่วงบ่ายวันเสาร์ที่ 29 กันยายน 2555

ได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ บรรยายหัวข้อ เศรษฐศาสตร์การเมืองกับสหรกรณ์ และอาเซียนเสรี

 

 
 
เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

สรุปการบรรยายโดยทีมงาน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การบรรยายเรื่อง เศรษฐศาสตร์การเมืองกับสหกรณ์

โดย รศ.ดร.สมชาย  ภคภาสน์วิวัฒน์

 

 

AEC Blueprint เป้าหมายและพันธกรณี

  • เริ่มจากกรมเจรจาการค้า เวลานักวิชาการมาพูดจะใช้แผนนี้
  1. เป็นตลาดและฐานการผลิตร่วม
  2. สร้างเสริมขีดความสามารถทางการแข่งขัน
  3. การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค
  4. การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก

 

  1. 1.      การเป็นตลาดและฐานการผลิตร่วม

เปิดเสรีสินค้า บริการ แรงงานมีฝีมือ เงินทุน มีมากขึ้น   ประเทศไทย มีข้อจำกัด มะพร้าว ดอกไม้ กาแฟ มันฝรั่ง

  1. เปิดเสรีการค้าสินค้า
  • ประเทศใหม่ 4 ประเทศที่เข้า AC  พม่า เวียดนาม ลาว กัมพูชา สินค้านำเข้าอัตราภาษีเหลือ 0 % ในปี 2015
  • จะมีการแก้ไขอุปสรรคที่ไม่ใช่ภาษี

2. เปิดเสรีการบริการ

  • ปี 2015 บริการ 5 ประเภทให้คนอาเซียนถือครอง 70 % คือ IT สุขภาพ ท่องเที่ยว Logistics การบิน (Aviation) ทั้ง 4 ประเทศเปิดหมดแล้วยกเว้น Logistics ในปี 2015
  • มีอาชีพ 7 อาชีพที่เข้าออกโดยเสรี ได้แก่ นักบัญชี วิศวกร แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล สถาปนิก นักสำรวจ

3. เปิดเสรีการลงทุน

  • 7 ประเภทเกี่ยวกับเกษตร ป่าไม้ ค้าปลีก  ดังนั้นในปี 2015 ที่บอกว่ายังไม่ครบเนื่องจากมีบางประเทศกำลังแก้ไขกฎหมายอยู่

4.เคลื่อนย้ายเงินทุนเสรีมากขึ้น

 

2. การสร้างเสริมขีดความสามารถทางการแข่งขัน

3. ปรับปรุงความเท่าเทียมกัน

          - ประเทศเก่าช่วยประเทศใหม่

          - อาเซียน + 3 และอาเซียน + 6

 

AEC คืออะไร กระทบอย่างไร และปรับตัวอย่างไร

  • ประชาคมยุโรป มีประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC)เป็นที่มาของ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC
  • การเข้าใจอะไรสักอย่างต้องรู้จริง  ต้องตระหนักถึงขั้นสามารถอธิบายเห็นสิ่งเดียวกันภายใต้ความแตกต่างที่เยอะมาก
  • AEC คือกระบวนการต้องรู้ที่มาที่ไปว่าไปอย่างไร

AEC คืออะไร

  • ก่อนจบปี 1992 มีการรวมกฎบัตรอาเซียน (คือการรวมกฎเกณฑ์ทั้งหมดเหมือนรัฐธรรมนูญอาเซียน)
  • เป็นศัพท์ที่มาจากประชาคมเศรษฐกิจยุโรป
  • ประชาคมเศรษฐกิจในทางวิชาการเรียกว่าตลาดร่วม ที่คนลอกเลียนแบบมาจากยุโรป เวลาเรียกตลาดร่วมเรียกว่าประชาคมเศรษฐกิจ
  • ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป ได้บรรลุการเป็นตลาดร่วมในปี 1992 เรียกลักษณะบรรลุว่ายุโรปตลาดเดียว จึงก่อให้เกิดศัพ์

1.ตลาดร่วม

2.ประชาคมเศรษฐกิจ

3.ตลาดเดียว

ตลาดร่วม หรือประชาคมเศรษฐกิจคืออะไร 

  1. หมายถึงสินค้า บริการ  เงินทุนและแรงงาน เคลื่อนย้ายโดยเสรี
  2. คือการรวมตัวทางเศรษฐกิจอย่างลึกซึ้งถึง ปัจจัยการบริการเคลื่อนย้ายโดยเสรี
  3. ตัวที่เปิดเคลื่อนย้ายโดยเสรีก่อนคือ สินค้า

การรวมกลุ่มเศรษฐกิจของประเทศ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม

  1. การรวมกลุ่มอย่างหลวม ๆ เรียกว่าการรวมกลุ่มแบบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ เรียก Economic Cooperation
  2. การบูรณาการทางเศรษฐกิจ Economic Integration  หมายถึงการรวมกลุ่มที่เข้มข้นแบ่งเป็น 5 ระดับ 1. FTA (เขตการค้าเสรี Free Trade Area) 2.สหภาพศุลกากร (Custom Union) 3.ตลาดร่วมหรือประชาคมเศรษฐกิจ 4.สหภาพทางเศรษฐกิจ (Economic Union) 5. Total Economic Union นำสู่การรวมตัวทางการเมือง

หลังปี 2015 รัฐบาลของอาเซียนต้องทำอะไรต่อ  ตัดเสรีออก เพราะว่าหลัง 2015 เป็นต้นไปจะรวมแรงงานที่ไม่มีฝีมือในนั้น

 

อุปสรรคที่ทำให้การเคลื่อนย้ายสินค้า บริการไม่เสรี มี 2 ตัวคือ

  1. TB คือภาษีนำเข้าลดลง  แต่ถ้ารวมกลุ่มถึงขั้นแต่งงาน ภาษีนำเข้าเหลือ 0 และ 0 คือองค์ประกอบของเขตการค้าเสรี
  2. NTB คือ โควต้า การเปิดเสรีคือขยายโควต้า แต่ถ้ารวมกลุ่มถึงขั้นแต่งงาน โควต้าต้องเหลือ 0

องค์ประกอบนี้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของ AEC และเป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบของ AFTA

AFTA แบ่งสินค้าเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งเคลื่อนไหวสินค้ามากหน่อย อีกกลุ่ม เคลื่อนไหวสินค้าน้อยหน่อย เมื่อถึงจุดหนึ่งแล้วสินค้าทุกประเภทต้องเหลือ 0

กลุ่ม Fast Track

  • เป็นกลุ่มที่ลดกำแพงภาษีเหลือ 0 เร็วที่สุด ในปี 2011
  • ที่เหลืออีก 9 ปี สินค้ากำแพงภาษีต้องเหลือ 0
  • เมื่อเราทำเขตการค้าเสรี ต้องทำให้สินค้าระหว่างเราเลื่อนไหล

ปี 2015

  • สินค้าเกษตรที่เวียดนาม นำเข้าที่ไทยต้องเหลือ 0

ปี 1993  

  • AFTA เริ่มมีผลบังคับ
  • บุหรี่ทั่วโลกเข้ามาเมืองไทยเราเก็บภาษี 60%

การบอกว่ากำแพงภาษีเหลือ 0

-          Rule of origin ใช้สัดส่วน 40% มีสัญชาติเป็นอาเซียน ในปี 2019 จะเหลือ 0%

-          สัญชาติแปลงได้ เช่นเป็นสินค้าอเมริกา แต่ส่งบุหรี่  แปลงสัญชาติโดยตั้งโรงงานในอาเซียน ใช้วัตถุดิบ และแรงงานครบ 40 % ภาษีนำเข้าจะเหลือ 0 ในปี 2019

-          ปี 1993  ถ้าสินค้ามาจากทั่วโลกแต่ไม่เป็นสมาชิกอาเซียนจะเสียเท่าเดิมหรือถูกกว่าเดิม  แต่ถ้าแปลงเป็นอาเซียน สินค้าเข้ามาเมืองไทยเหลือ 0

-          ปี 1993 สัญญาเปิดเสรีรอบอุรุกวัย รัฐบาลไม่ทำอะไรเลยแต่เป็นที่รู้ว่าค้าปลีกจะมาจากทั่วโลก

-          ปี 1995 ถ้าเป็นรัฐบาล จะต้องบอกชาวนาถึงข้าวที่จะนำเข้ามา ในปี 2015 ข้าวจากเวียดนามจะถูกนำเข้าโดยไม่ต้องเสียภาษี

 

องค์ประกอบที่ 2  เปิดเสรีบริการ เริ่มตั้งแต่ 1995  ดังนั้นตั้งแต่ 2538 เป็นต้นมา รัฐบาลจะมีการปรับระหว่างประเทศสมาชิก มี 12 ประเภท HealthCare ท่องเที่ยว การบิน โลจิสติกส์ เกษตร ป่าไม้ ...

การลงทุน คือ 7 ประเภทที่เหลือ  

อังกฤษอยู่ในยุโรปแต่ไม่เคลื่อนย้ายคนเสรีโดยเชงเก้น

เมื่อวันหนึ่งแรงงานไม่มีฝีมือก็จะเปิดเสรี

ทุกวันนี้ให้เข้าเพราะว่าถ้าไม่มีแรงงานเหล่านี้ ก็จะงานไม่เดินเช่น ก่อสร้าง ประมง

งบประมาณที่ให้ในวันนี้ ถ้าไม่ช่วยรากหญ้า จะมีปัญหา วิกฤตทางการคลังจะเกิดขึ้นโดยทันที เพียงแต่แรงงานมีฝีมือเป็นเรื่องที่อ่อนไหวมาก แต่เขายังไม่พูดชัด ๆ

การเปิดเสรีด้านการลงทุน

  • Asean ก่อน 1993 ยังเป็นเพื่อนกันอยู่ แต่หลัง 1993 มีการบูรณาการร่วมกัน ทำงานร่วมกัน เหมือนแต่งงานกันแล้ว
  • MFN เป็นหลักการความเป็นเพื่อน แต่ถ้าแต่งงานกัน ต้องเป็นลักษณะของการปฏิบัติเยี่ยงชาติ ดุจเป็นครอบครัวเดียวกัน  ต้องมีการคุ้มครอง อำนวยความสะดวก
  • ในปี 2015 สิ่งที่จะเกิดกับการเปิดเสรีในวันนี้ แต่ละประเทศอนุญาตให้เอาเงินออกโดยไม่อั้น แปลงเป็นเงินสกุลโดยไม่อั้น  แบงค์ชาติเปิดเสรีให้เรานำเงินออกมากขึ้นทีละรุ่น ๆ TDRI จะส่งเสริมให้เกิดการย้ายฐาน
  • วันที่ 15 ต.ค. ตลาดหุ้นไทยจะมีการเชื่อมโยงกับตลาดของสิงคโปร์ ประชาคมยุโรป กรณีศึกษาสำหรับอาเซียน เพราะเหตุใดอาเซียนจึงกลายเป็นเขตการค้าเสรี  มีการรวมตัวเขตการค้าเสรี กับ จีน และญี่ปุ่น
  • การมีเงินสกุลเดียวกันของยุโรปใช้เวลา 50 ปี มี 27 ประเทศเข้าได้ อันดับแรก ต้องพัฒนาเงินอ้างอิงคือ พ่อของยูโร  ให้เงินของเยอรมัน และเงินของฝรั่งเศสห่างกัน 2.5
  • แต่สำหรับอาเซียนเงินสิงคโปร์ กับพม่าให้มีช่องว่างห่างกันเหลือ 0 เป็นไปได้หรือไม่ ให้ดูตัวอย่างเศรษฐกิจของกรีซ และสเปนล่ม เยอรมันไม่ยอมช่วย ยกเว้นการยอมเสียอธิปไตย
  • สิ่งที่เป็นไปได้คือ เงินของไทย จะไหลออกเยอะ สิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคตคือ
  1. คนสิงคโปร์ซื้อของไทยใช้เงินบาท เราใช้เงินสิงคโปร์
  2. ตลาดหุ้นไทยและสิงคโปร์จะรวมกันในอนาคต
  • สิ่งที่ประเทศไทยยังช้ามากคือ การรวมกลุ่มของ APEC ที่ไทยยังไม่เข้าจะก่อให้เกิดผลกระทบอะไรบ้าง เช่นสิงคโปร์เข้าอเมริกา ภาษีเหลือ 0 แต่ไทยต้องเสียภาษี

สรุป AEC คือ

  • สินค้า บริการ เงินทุนและแรงงานคือ การเคลื่อนย้ายโดยเสรี
  • ต้องผลิตในสิ่งที่ชำนาญ และมีการปรับตัวแข่งขันกับคู่แข่งตลอดเวลา
  • ประเด็นคือจะปรับตัวอย่างไร  เช่นสิ่งทอ เมื่อสู้เขาไม่ได้ ย้ายฐานจากโคราชไปลาว หรือปรับไปเป็นสินค้าระดับกลาง เช่น FN
  • คนซื้อของค้าปลีก คือคนผ่านแถวนั้น อย่าเอาชนะ 7-eleven ถ้าจะทำให้ดูตัวอย่างของ Supership ที่ภูเก็ต ขายตามประเภทสินค้าที่มีชื่อของท้องถิ่นและราคาถูกกว่า ซึ่ง 7-eleven ไม่สามารถขายได้  

 

นางสาวภัณธิรา กลิ่นศิริกุล

สวัสดีค่ะท่านอาจารย์ จากการได้เข้าอบรมในวันที่ 28 และ 29 ก.ย. 2555 สิ่งที่ได้คือ การตอกย้ำถึงจุดยืนที่แ้ท้จริงของชาวเครดิตยูเนี่ยนและหลักเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง ซึ่งทั้ง 2 เรื่องนี้พวกเราได้รับรู้รับฟังมานานหลายปีแน่นอนถ้าใครรู้และเข้าใจอย่างแท้จริงก็จะไ้ด้ประโยชน์มหาศาล เมื่อก่อนฟัง 2 เรื่องนี้แล้วก็แค่รู้สึกว่าดีนะชอบนะแต่ตอนนี้ได้เข้าใจลึกซึ้งขึ้นมากกว่าสำคัญและจำเป็นต่อการทำงานและการใช้ชีวิตในวันข้างหน้าเป็นอย่างมาก และประโยคหนึ่งที่ชอบมากคือ "เงินไม่ได้ตกจากฟ้า" ซึ่งทำให้เราได้ตระหนักมากขึ้นว่าเงินไม่หามาได้ง่าย ๆ และเราดูแลเงินของสมาชิก ฉะนั้นจะทำอะไรต้องรอบคอบต้องคิดให้เยอะต้องใช้หลักคุณธรรม ให้หลักคนนำเงิน ไม่ใช่เงินนำคน

เป็นการเข้าเรียนอีก 2 วันที่มีประโยชน์อย่างมากอีกครั้งหนึ่งของวันที่ 28-29 ก.ย. ที่ผ่านมา  อ. วรเทพ ไวทยาวิโรจน์ นำเสนอ Road Map of Investment ว่าสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ซึ่งเป็นสถาบันการเงินของชุมชนขององค์กร จำเป็นที่จะต้องตระหนักอย่างยิ่งในการบริหารจัดการทางการเงินให้เกิดความโปร่งใสและรัดกุมที่สุด เสี่ยงน้อยที่สุด และเกิดความคุ้มค่าที่สุดแก่องค์กรสมาชิกและตัวสหกรณ์เอง คณะผู้บริหารทุกคนจะต้องมีวิสัยทัศน์ในการทำงานให้ตัวสถาบันมีความมั่นคงยั่งยืนสืบไป  อ. เพทาย ปทุมจันทรัตน์ ปราชญ์สหกรณ์ หนึ่งใน 84 คนของประเทศปีนี้ ยอมรับจากใจเลยครับว่านี่คือ ปราชญ์โดยแท้จริง ท่านมีความลึกซึ้งถึงกระบวนการทางสังคมที่เป็นสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน อาจารย์เข้าถึงทั้ง ความรู้ ความคิด และจิตวิญญาณของสหกรณ์อย่างแท้จริง และได้เป็นผู้ปฏิบัติจริงอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตของท่านเลยทีเดียว เลยทำให้รู้ เข้าใจ เข้าถึงในการทำอะไรสักอย่างจะสำเร็จได้ต้องทุ่มเทเสียสละทั้งชีวิตลงไปในสิ่งนั้นก็จะสำเร็จแน่นอน

 พวกเราเป็นนักสหกรณ์ทั้งมือใหม่ และมือเก่า  จะพยายามนำแนวคิดแนวปฏิบัติที่อาจารย์ถ่ายทอดนำไปใช้กับองค์กรสมาชิกให้ดีที่สุด  ตามที่อาจารย์ได้ทำเป็นต้นแบบไว้แล้ว   ขอคารวะครับอาจารย์

 อาจารย์ดร. ธันวา จิตต์สงวน ถ่ายทอดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ตลอดระยะนับสิบปี  เราได้ยินได้ฟังเรื่องนี้มาจากสื่อต่าง ๆ บุคคลต่าง ๆ มากมาย 

วันนี้ได้ฟังบทสรุปแบบง่ายๆ เป็นประเด็นสำคัญว่า ทุกคน / ทุกองค์กร สามารถนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ได้กับทุก ๆ คน เพราะว่าความพอเพียงนั้นหมายถึงประโยค 8 ประโยชน์ ที่จะสรุปได้ คือ

              พอประมาณ -> สมดุล
              มีเหตุผล       -> ยั่งยืน             มีความรู้  มีคุณธรรม  
              มีภูมิคุ้มกัน   -> มั่นคง  

ทำให้รู้ว่าหลักเศรษฐกิจพอเพียงมีได้ถึง 2 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 ขั้นพื้นฐาน คือ ปัจเจกชน / ครัวเรือน / บริษัท / ส่วนบุคล ฯลฯ ขั้นที่ 2 ขั้นก้าวหน้า คือ ขั้นระดับกลุ่ม / องค์กร / สหกรณ์ / สหคม ฯลฯ และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ซึ่งโดยหลักการจิตตาภิรมย์แล้ว จริง ๆ เราเป็นองค์กรที่ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงที่ชัดเจนที่สุดในระดับขั้นก้าวหน้า อย่างเด่นชัดแล้วครับ  รศ. ดร. สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ถือว่าเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจ และเป็นผู้ที่สรุปประเด็นการรวมกลุ่มประชาคม / ประเทศ ให้เราเข้าใจสั้น ๆ ว่า การรวมกลุ่มประชาคม มีที่มาที่ไปเพื่ออะไร มีกระบวนการอย่างไร มีผลกระทบต่อเราอย่างไร ฉะนั้นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC ( Asian Economic Community ) ที่จะเกิดขึ้นอีก 3 ปีข้างหน้า( 2558 ) ว่า หมายถึง การรวมกันเพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกันโดยมี 5 เรื่องหลัก ๆ คือ 1. เกิดการเคลื่อนย้ายสินค้าอย่างเสรีต่อกันโดยไม่มีภาษี 2. เกิดการเคลื่อนย้ายบริการอย่างเสรีด้าน IT/การบิน / โลจิสติค / ท่องเที่ยว /สุขภาพ 3. เกิดการเคลื่อนย้ายการลงทุนอย่างเสรีในกลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญ เช่น เกษตร ฯลฯ 4. เกิดการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรี ผ่อนคลายการเข้าออกของเงินอย่างเสรี 5. เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรี เช่น แพทย์ / ฑันตแพทย์/ วิศวะ

                                                สถาปนิก / พยาบาล / นักสำรวจ  

เพราะฉะนั้นทำให้เรารู้ว่าเราควรรับมืออย่างไร

ขอบพระคุณอาจารย์ทุกท่านที่ได้ตั้งใจถ่ายทอดเรื่องดี ๆ ให้กับพวกเราทุกคน  พวกเราจะนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด  ขอขอบพระคุณจากใจจริงครับ

จากการอบรมโครงการผู้นำสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนขั้นสูงวันที่ 28-29 กันยายน พ.ศ. 2555

ได้เกล็ดความรู้ โดยความรู้เหล่านี้เราอาจได้เรียนรู้จากห้องเรียน หรือการสัมมนามาบ้างแล้ว แต่สิ่งหนึ่งที่ผมได้จากการเรียนรู้คือการตอกย้ำของจิตตารมณ์ หรือคุณธรรมของเครดิตยูเนี่ยน จากคุณป้าเพทาย ปทุมจันทรัตน์ ซึ่งทำให้เกิด power ในการทำงานได้มาก ทำให้เรามีจุดยืนความเป็นเครดิตยูเนี่ยน ว่าทำเพื่ออะไร ? ทำเพื่อใคร ? และทำให้เรารู้จักวัฒนธรรมของสหกรณ์ที่เกิดขึ้นในสลัม ทำให้มีมุมมองใหม่ๆๆ ในการพัฒนาต่อไป

เกล็ดความรู้ต่อไปของ อ.วรเทพ ไวทยาวิโรจน์ ก็คงเหมือนการบริหารเงินในชีวิตประจำวันของเรา อ.ได้ยกตัวอย่างที่ง่ายให้เราเข้าใจมากขึ้น เช่นเรื่องของค่าเงิน เหมือนเงินที่เรานำฝังในไห เปรียบเสมือนเงินเรายืนอยู่กับที่ แต่เงินขอคืนอื่นที่อาจจะเก็บฝากในสหกรณ์จะนำหน้าค่าเงินของเรา เราก็อาจจะล้าหลังเค้าก็เป็นได้ ฯลฯ หรือการสร้างตะกร้าเงิน ว่าเงินในแต่ละวันที่เรารับเข้ามา เป็นเงินประเภทใด แล้วจะบริหารอย่างไร ? สามารถนำมาตัดสินใจของผู้บริหารได้ ว่าสหกรณ์ ฯ ควรจะลงทุนอย่างไรจึงจะคุ้มค่า

เกล็ดความรู้ของ อ.ธันวา จิตต์สงวน ซึ่งผมดูจากวิชาที่เรียนคงจะน่าเบื่อมาก แตวิธีการบรรยายของท่านไม่น่าเบื่ออย่างที่คิด สามารถทำให้เราตื่นตัวจากการโดนเรียกชื่อ และถาม เราได้เรียนรู้จากความพอเพียงคืออะไร (ชัดเจนมาก) และควรใช้ความพอเพียงอย่างน้อย 1 ใน 4 (25%) ของชีวิตเรา สิ่งที่ได้จากวิชานี้คือนอกจากความพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในงานสหกรณ์ เราได้รวมกลุ่มกันใน Facebook

ส่วนของ รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ผมได้ติดภาระกิจอยู่ไม่ครบ แต่จะติดตามในบอร์ดเพื่อให้รับความรู้ให้มากที่สุด

วันพุธ ที่ 10 ตุลาคม 2555

บรรยากาศการศึกษาดูงานที่สหกรณ์บางน้ำเปรี้ยว จังหวัด ฉะเชิงเทรา

 

10 ตุลาคม 2555

การศึกษาดูงาน ณ สหกรณ์การเกษตรบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา

  • สหกรณ์เคยจะล้มลง แต่มีสหกรณ์อำเภอมาช่วยคิดให้สมาชิกส่งเงินได้ ตอนแรกเก็บอายุหนี้ก่อน ออกประชุมกลุ่มทำอย่างไรจึงจะส่งหนี้สหกรณ์ได้ เขาก็บอกว่าต้องเอาของไปให้เขาทำนา เราคัดทั้งอำเภอ ไปหาเงินปล่อยรอบแรก 20 คน เอาไปแล้วเอาเงินมาคืนเรา
  • สหกรณ์เราบอกสมาชิกว่า ถ้าทำนาให้พ่อค้า เขาเหมือนเป็นลูกจ้างพ่อค้า
  • ปัญหาคือคนรู้จักแต่โรงสี ไม่รู้จักตลาดกลาง เกษตรกร ไม่มั่นใจตาชั่ง ราคา และเรื่องอื่นๆ
  • ตลาดกลางมาช่วยแก้ปัญหาตาชั่ง ราคาขายข้าว เปลี่ยนเป็นตีราคาตั้งแต่รถมาจอด ทุกคนที่ซื้อต้องจ่ายสดให้เงินสหกรณ์ก่อน
  • การค้าสหกรณ์ ตอนนี้ สหกรณ์จ่ายของลงทุนในนาเป็นของ ขายเสร็จเอาเงินมาคืนแล้วนำของใหม่ไป
  • ตลาดกลางเปิดซื้อในช่วงที่มีมากๆ
  • สินค้าที่สหกรณ์เราขาย เป็นสิ่งที่สมาชิกต้องการ
  • สหกรณ์มีการขายโน้ตบุ๊ค
  • ปีที่แล้ว มีเงินปันผลร้อยละ 6 จ่ายคืนสมาชิกร้อยละ 2 ซึ่งไม่คุ้ม
  • สหกรณ์เราเน้นประโยชน์สมาชิกก่อน
  • ปัญหาตลาดกลาง คือ พ่อค้าฮั้วราคากัน ตัดราคา คนบริหารตลาดกลางต้องพูดแล้วพ่อค้าฟัง ต้องลดการเอาเปรียบกันและกัน
  • สหกรณ์เราไม่เป็นศัตรูใคร เราไม่ฆ่าร้านเล็ก เราช่วยกันดูแล ให้คนซื้อตัดสินใจเลือก เราบริการด้วยความรักคือแนะนำสิ่งที่ดีที่สุดและด้วยความรู้ว่า อะไรใช้อย่างไร
  • สหกรณ์เรากำหนดไว้ว่า คนค้ำประกันไม่เกิน 150,000 บาทถ้าที่ดินไม่เกิน 1 ล้าน
  • สมาชิกสหกรณ์เราไม่นิยมปุ๋ยอินทรีย์ เพราะเพาะปลูกประมาณปีละ 3 ครั้ง แต่นิยมใช้ปุ๋ยเคมีเพราะให้สารอาหาร N-P-Kครบ ปุ๋ยอินทรีย์ใช้ดีแต่ต้องใช้คู่ปุ๋ยเคมี จะได้สารอาหารครบ
  • ปกติสหกรณ์เราค้ากับบริษัทใหญ่ที่มั่นคงและดี เพราะไม่ต้องกลัวขาดทุน
  • สหกรณ์เรามีเจ้าหน้าที่ 11 คนไม่รวมคนงานแบกหาม เราให้ค่าจ้างแพง ให้เขาเลี้ยงดูครอบครัวได้เพราะเขาไม่ได้เกิดมาเพื่อการกุศล แต่คนไม่ทำงานที่นี่เพราะงานมาก เราเชื่อว่าคนมีศักยภาพมาก ขึ้นอยู่กับผู้จัดการ กระตุ้นให้เขาใช้ศักยภาพ และทำเป็นตัวอย่าง ต้องทำให้เป็นก่อนแล้วค่อยสั่งเขา
  • คนใฝ่รู้จะรู้โดยอัตโนมัติ เพราะเวลาทำงานก็ต้องศึกษาตำรา
  • จ่ายเงินเดือนแพงให้ได้ แต่ต้องเอางานให้พนักงานทำให้เกิดผลงาน
  • มีโบนัสให้ แต่ต้องขึ้นกับผลงาน สวัสดิการอื่นไม่มีเพราะถือว่าให้เงินเดือนแพงแล้วสามารถนำไปซื้อสิ่งต่างๆที่ต้องการได้
  • ทุกคนต้องช่วยกันคิดแก้ปัญหาตลอด
  • กลับบ้านเมื่อทำงานเสร็จแล้ว งานทำต่อวันรุ่งขึ้นไม่ได้ เพราะเป็นระบบ
  • สหกรณ์เราเช็คสต๊อกทุกวันโดยระบบของเรา
  • เช่น การเช็คสต๊อกปุ๋ย เวลามีคนมาซื้อปุ๋ย เราจะเขียนใบเบิก ถ้ารอบนี้ เรามีพนักงานขาย 2 คน เขียนใบเบิกแล้วนำไปลงในคอมพิวเตอร์ ถามที่อยู่ในการส่งปุ๋ย ถ้าจ่ายเงินและรับปุ๋ยทันที ก็จะเขียนตั๋วเล็กให้ ซึ่งทำให้ทราบจำนวนปุ๋ยเข้าออก มีเจ้าหน้าที่ออกไปนับกองปุ๋ย
  • สหกรณ์เราพยายามจะฝึกให้สมาชิกจ่ายเงินตรงเวลา แต่บางคนมีเรื่องเดือดร้อนและไม่สามารถจ่ายได้ สหกรณ์เราก็ช่วยเหลือ
  • สหกรณ์เรามีบริการหลังการขายและบริการนอกเหนือจากการขาย เช่น นำความรู้วิชาการมาให้สมาชิกทีละน้อย
  • สหกรณ์เราทำธุรกิจการค้าทั่วไปด้วย มีทั้งขายเงินสดและเงินเชื่อ ถ้าใครไม่น่าเชื่อถือ ก็ขายเงินสดให้เขา สหกรณ์เราก็ให้ร้านที่มั่นคงสามารถซื้อเงินเชื่อได้ในบางรายสินค้า
  • สหกรณ์เราปิดการขายหุ้นมาหลายปีแล้ว นอกจากคนที่กู้แล้วหักเข้าสหกรณ์เรา แต่รับแต่เงินฝากอย่างเดียว
  • สหกรณ์เราใช้เงินกู้จากกรมส่งเสริมสหกรณ์ซึ่งเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการซื้อขาย
  • ในการส่งคนไปรับการฝึกอบรม ต้องดูว่าได้ประโยชน์หรือไม่ โดยส่งไปคนเดียวแล้วกับมาถ่ายทอดความรู้ให้กับคนอื่นๆ
  • กรรมการและผู้จัดการต้องมีจรรยาบรรณเพื่อเป็นตัวอย่างแก่พนักงาน
  • สหกรณ์เราช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมในระดับหนึ่ง ตัวยาบางตัวที่มีสารตกค้าง ก็หลีกเลี่ยงไปขายอย่างอื่น แต่จะหลีกเลี่ยงไม่ขายสารเคมีเลยก็เป็นไปไม่ได้
  • สหกรณ์เรานำความรู้จากทุกประเทศที่มีการพัฒนามาใช้ให้เหมาะสมกับสหกรณ์
  • สหกรณ์เราใช้นักวิชาการบริษัทซีพีและโครงการพระราชดำริต่างๆมาช่วยแนะนำ

 

 

 

วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม มีการศึกษาดูงานในประเทศ ซึ่งช่วงเช้าได้มีการศึกษาดูงานที่ สวนสมุนไพรสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา จ.ระยอง

ช่วงบ่ายคณะชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทยได้เข้าศึกษาดูงานและพบปะกลุ่มเครดิตยูเนี่ยนชาวเลปากน้ำบ้านเรา และเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารทะเลที่ทางกลุ่มร่วมมือกันทำขึ้น

11 ตุลาคม 2555

การศึกษาดูงาน ณ สวนสมุนไพรฯ ปตท. จังหวัดระยอง

  • กลุ่มบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กำหนดวิสัยทัศน์ที่จะเป็นองค์กรที่ดำเนินธุรกิจทางด้านพลังงานและปิโตรเคมีที่ดีเลิศ มีการบริหารจัดการที่ดี มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพ และความรับผิดชอบต่อสังคม และมีขีดความสามารถในการแข่งขันกับธุรกิจข้ามชาติได้อย่างเต็มที่
  • โครงการต่างที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานของกลุ่มปตท.มาจากความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะมีส่วนร่วมในการสร้างสังคม ชุมชนให้เติบโตอย่างยั่งยืน
  • กลุ่มปตท.ตระหนักในภูมิปัญญาไทยด้านศาสตร์สมุนไพรและสุขภาพซึ่งเป็นมรดกจากบรรพบุรุษสืบทอดจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ด้วยคุณค่าของสมุนไพรไทยที่ได้มีการเสาะแสวงหาคุณค่ามานานนับศตวรรษจนเกิดความรอบรู้ และได้รับการสนับสนุน ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นสามารถนำมาใช้รักษาโรคได้มานาน มีส่วนพัฒนาคุณภาพชีวิตเพิ่มพูนพลานามัยเพื่อมนุษยชาติและเป็นแหล่งอาหารที่มีคุณค่า
  • ด้วยเจตนารมณ์ที่จะสืบสานคุณค่าของสมุนไพร กลุ่มบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้ก่อสร้างศูนย์สมุนไพร
  • ในศูนย์บำรุงรักษาบริเวณบ้านพักพนักงานแล้วน้อมถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และได้รับพระราชทานนามว่า สวนสมุนไพรสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
  • วันที่ 18 เมษายน 2528 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดสวนสมุนไพร
  • สวนสมุนไพรเป็นการสนับสนุนกิจกรรมท่องเที่ยวและชุมชนจังหวัดระยอง
  • เนื่องในวโรกาสมหามิ่งมงคลที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเจริญพระชนมายุ 50 พรรษาในปี 2548 กลุ่มปตท. ได้ดำเนินการพัฒนาสวนสมุนไพร โดยปรับแต่งพื้นที่ตามประโยชน์ใช้สอย มีการแบ่งกลุ่มทดลองพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยาที่หลากหลายสำหรับเยาวชนและบุคคลทั่วไป และเป็นสวนสาธารณะพักผ่อนสำหรับประชาชน ประกอบด้วย
  • อาคารเฉลิมพระเกียรติ ภายในมีการจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติแสดงพระจริยาวัตรในฐานะเจ้าฟ้านักอนุรักษ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และนิทรรศการที่ให้ความรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพร
  • ห้องสมุด E-learning สมุนไพรไร้พรมแดนเพื่อให้บุคลทั่วไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม
  • อาคารอเนกประสงค์เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนความคิดและทำงานร่วมกันด้านกิจกรรมและการจำหน่ายสินค้าชุมชน รวมถึงการพัฒนายุวมัคคุเทศก์สวนสมุนไพรร่วมกับโรงเรียนในพื้นที่ชุมชนที่มีศักยภาพ ทำให้เกิดความภาคภูมิใจในตนเองและท้องถิ่นของตน
  • กิจกรรมชมสวนสมุนไพรโดยรถเอ็นจีวี จัดเส้นทางเดินให้มีการชมธรรมชาติอย่างใกล้ชิด มีการปรับภูมิทัศน์รอบศูนย์เป็นแหล่งภูมิปัญญาอเนกประสงค์ที่ร่มรื่นสวยงามให้แก่ประชาชนทั่วไป เป็นการเพิ่มคุณค่าแหล่งมรดกทางปัญญาและแหล่งท่องเที่ยวที่พัฒนาคุณภาพชีวิต ชุมชน สังคม
  • ปัจจุบันสวนสมุนไพรนี้มีพื้นที่ 60 ไร่ มีพรรณไม้สมุนไพรกว่า 260 ชนิด ประมาณ 20,000 ต้น แบ่งเป็น 20 กลุ่มสรรพคุณ
  • สวนสมุนไพรนี้เป็นห้องวิจัยทางธรรมชาติเพื่อค้นหาสรรพคุณสมุนไพรสำหรับหน่วยราชการ เป็นแหล่งเรียนรู้ของเยาวชน เป็นตลาดนัดภูมิปัญญาสำหรับคนในท้องถิ่นที่หลอมรวมความร่วมมือในการฟื้นฟูและพัฒนาภูมิปัญญาในท้องถิ่น
  • ตลอดระยะเวลาการดำเนินธุรกิจ กลุ่มปตท. ยึดมั่นในหลักการการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อความเป็นดุลยภาพระหว่างการดำเนินธุรกิจ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการตอบแทนต่อสังคมให้อยู่รอดได้อย่างเกื้อกูลกัน สร้างชุมชนให้เข้มแข็งยืนหยัดพึ่งตนเองได้ก่อให้เกิดผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมของประเทศในระยะยาว

การชมนิทรรศการในอาคารเฉลิมพระเกียรติ

ส่วนการรักษาของแพทย์ภาคต่างๆ

  • ที่จังหวัดเชียงราย มีคุณหมอสำราญ ตาปูน รักษาผู้มีอาการอัมพฤกษ์ อัมพาตหรืออาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อต่างๆด้วยวิธีการย้ำผาง ใช้ใบผางหรือใบผานไถ มีไพลกับขมิ้นมาผสมเพื่อลดอาการอักเสบ ปวดบวม ใช้น้ำมันมะพร้าวทาก่อนย้ำผาง จะช่วยลดความร้อนได้ ความร้อนที่ใช้จะอยู่ในระดับที่ทำให้เลือดไหลเวียนได้

ส่วนตรวจธาตุเจ้าเรือนของตนเอง

  • ผู้ที่มีธาตุไฟเป็นธาตุเจ้าเรือน คือ คนที่เกิดในเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม ควรรับประทานผักรสขม รสเย็น รสจืด
  • ผู้ที่มีธาตุลมป็นธาตุเจ้าเรือน คือ คนที่เกิดในเดือนเมษายน พฤษภาคม มิถุนายน ควรรับประทานผักและผลไม้พื้นบ้านที่มีรสเผ็ด
  • ผู้ที่มีธาตุน้ำเป็นธาตุเจ้าเรือน คือ คนที่เกิดในเดือนกรกฎาคม สิงหาคม กันยายน ควรรับประทานผักและผลไม้พื้นบ้านที่มีรสเปรี้ยว
  • ผู้ที่มีธาตุดินเป็นธาตุเจ้าเรือน คือ คนที่เกิดในเดือนตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม ควรรับประทานผักและผลไม้พื้นบ้านที่มีรสฝาด หวาน มัน เค็ม

กิจกรรมชมสวนสมุนไพรโดยรถเอ็นจีวี

  • แบ่งพื้นที่ตามสรรพคุณของสมุนไพรเป็น 20 กลุ่ม
  • มีรายละเอียดในลิ้งค์นี้

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/839/084/original_pttbotanicinsidemap.jpg

  • ในสวนสมุนไพรมีต้นจันทน์เทศเป็นต้นไม้มงคลอนุสรณ์ของสวนสมุนไพร
  • ต้นจันทน์เทศเป็นต้นไม้ที่มีเนื้อไม้ ดอก ผล มีกลิ่นหอม นำมาผสมเครื่องปรุงยาหอม สารบำรุงหัวใจ แก้ลมวิงเวียน
  • กลุ่มสมุนไพรที่มีกลิ่นหอมได้แก่ ต้นจำปา จำปูน จำปีสิรินธร กุหลาบมอญ พิมเสนต้น กระดังงาไทย
  • ส่วนใหญ่ พืชที่มีความหอม จะนำดอกไปกลั่นน้ำมันหอมระเหย เป็นเครื่องปรุงในเครื่องสำอาง และแต่งกลิ่นในอาหาร
  • กลุ่มสมุนไพรแก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง ได้แก่ มะลิลา น้ำแดง กฤษณา
  • เนื้อไม้ของกฤษณามีสรรพคุณบำรุงกำลัง ตับ ปอดและหัวใจ
  • น้ำมะพร้าวอ่อนสามารถบำรุงครรภ์ หัวใจและแก้พิษยาสลบได้
  • จันทน์บำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย
  • กลุ่มสมุนไพรถอนพิษ แมลง สัตว์กัดต่อย ได้แก่ ผักชีล้อม เสลดพังพอนตัวเมียหรือพญายอที่สามารถนำใบผงไปรับประทานได้เลย เขยตาย
  • ชองระอา เสลดพังพอนตัวผู้ ดอกสีเหลือง ใช้รากตำผสมสุรา ดื่มและทาแก้พิษงูและแมลงสัตว์กัดต่อย
  • กลุ่มสมุนไพรแก้ไข้ มีรสขม ใช้รากเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ พะยอม มะฮอกกานีใบเล็ก มะคำดีควายที่ผลนิยมนำมาทำเป็นแชมพูรักษาโรคชันนะตุบนหนังศรีษะและป้องกันรังแค
  • มะฮอกกานีใบใหญ่ใช้แก้ไข้ ช่วยให้เจริญอาหาร นิยมนำเนื้อไม้มาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์
  • กลุ่มสมุนไพรขับน้ำนมได้แก่ ผักเป็นแดง กุ้ยช่าย นำมาเป็นยาแก้เจ็บหน้าอกได้อีกด้วย
  • กานพลู เปลือกต้นใช้ขับน้ำนม ดอกใช้ดับกลิ่นปากและแก้ปวดฟัน
  • กลุ่มสมุนไพรแก้ไอขับเสมหะให้รสเปรี้ยว ได้แก่มะขามป้อม ผลดิบและผลแห้งช่วยขับเสมหะทำให้ชุ่มคอ มีวิตามินซีสูง ป้องกันโรคหวัดได้ดีและเป็นยาอายุวัฒนะ ส้มเสี้ยว มะแว้งต้น มะแว้งพวง มะเม่า ชะเอมไทยให้รสหวาน
  • ชะมวงมีใบรสเปรี้ยวและเป็นส่วนประกอบสำคัญของอาหารประจำจังหวัดระยองคือ แกงหมูชะมวง
  • กลุ่มสมุนไพรถ่ายพยาธิ ได้แก่ ทับทิม แก้ว มะเกลือ
  • ต้นเลี่ยน ใช้ใบนำมาต้มน้ำดื่มถ่ายพยาธิตัวกลม
  • ใช้ดอกมะเฟืองมาถ่ายพยาธิ
  • กลุ่มยาบำรุงหัวใจ ได้แก่ มะพร้าว พะยอม กฤษณา เตยหอม จันทน์ชะมด
  • จันทน์ชะมดเมื่อยืนต้นตาย ไม้จะมีกลิ่นหอม เรียกว่า ไม้จันทน์หอม นิยมนำไปไม้จันทน์
  • มะตูม สามารถนำผลดิบแห้งไปปรุงเป็นยาธาตุ น้ำมะตูมช่วยแก้อาการท้องเสียและบำรุงหัวใจ
  • มะเดื่อชุมพร สามารถนำรากมาแก้พิษไข้ ต้นแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
  • กลุ่มสมุนไพรขับประจำเดือนและมดลูก ส่วนใหญ่มีรสร้อน ไม่เหมาะกับหญิงมีครรภ์เพราะอาจจะทำให้แท้งบุตรได้ ได้แก่ ว่านชักมดลูก เจตมูลเพลิงขาว เจตมูลเพลิงแดง
  • ยอมีแคลเซียมสูงป้องกันกระดูกพรุน ผลเป็นยาอายุวัฒนะ
  • ขี้เหล็กเลือดมีรสขมจัดใช้ขับระดูเน่าเสีย
  • กระบือเจ็ดตัว ใบสีแดงสลับเขียว นำมาตำผสมเหล้าขาว คั้นเอาน้ำมาดื่มเพื่อขับน้ำคาวปลา บรรเทาอาการมดลูกอักเสบ
  • กลุ่มสมุนไพรแก้อักเสบ แก้ปวดบวม ได้แก่ ผักคราดหัวแหวน ต้นเนียมหูเสือ ไพล
  • เทียนบ้านสามารถนำใบมาตำและพอกบริเวณเล็บขบ ช่วยแก้อาการอักเสบและปวดบวม
  • กลุ่มสมุนไพรแก้มะเร็ง ได้แก่ หญ้าปักกิ่ง สามารถนำมาใช้ได้ทั้งต้นหรือคั้นสดได้ ช่วยไม่ให้เซลล์มะเร็งกระจายตัว ทองพันชั่ง เหงือกปลาหมอ ใช้ได้ทั้งต้น
  • กลุ่มสมุนไพรบำรุงเลือด ได้แก่ คำเงาะใช้ดอกมาบำรุงเลือด ใบแก้โรคบิด
  • ฝาง นำแก่นมาต้มน้ำให้สีชมพูอมแดง เป็นส่วนผสมของน้ำยาอุทัยทิพย์ ช่วยแก้ร้อนใน กระหายน้ำ
  • กลุ่มสมุนไพรรักษาริดสีดวงทวาร ได้แก่ พญาไร้ใบ ยางใช้กัดหูดและทาริดสีดวงได้ อัคคีทวาร เพชรสังฆาต ดอกสีขาวรักษาริดสีดวงทวารหนักได้
  • กลุ่มสมุนไพรขับปัสสาวะ เช่นหน่อไม้ โด่ไม่รู้ล้ม มะเฟือง มะตูม ขลู่ มะละกอ อ้อยแดง สับปะรด
  • หญ้าหนวดแมวไม่เหมาะกับผู้เป็นโรคหัวใจหรือความดันต่ำ รับประทานมากอาจทำให้เสียชีวิตได้
  • อินทนิลบก อินทนิลน้ำ ใช้ใบนำมาต้มหรือชงดื่มแก้โรคเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด ขับปัสสาวะได้ดี
  • กลุ่มยาเจริญอาหารได้แก่ พริก ขิง ข่า ตะไคร้ ใบกระเพรา แก้อาการคัดจมูก วิงเวียนและช่วยขับลมบำรุงธาตุ
  • กลุ่มยารักษาโรคบิด ท้องเดิน กระเพาะ ได้แก่ ต้นไข่เน่า ฟ้าทะลายโจร มะนาวไม่รู้โห่ ต้นแคบ้าน ต้นทับทิม เข็มแดงใช้ที่รากแก้โรคบิด กล้วย กระท้อน มังคุดและเงาะ นิยมใช้ส่วนเปลือกผง
  • กลุ่มยาถ่าย ยาระบาย ได้แก่ ส้มเช้า น้ำยางมีรสเปรี้ยวในตอนเช้า ตอนสาย ความเปรี้ยวของน้ำยางก็จะจางหายไป ยางมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ
  • ยางของรงทองมีฤทธิ์เป็นยาถ่ายอย่างแรง เช่นเดียวกับสลอด
  • แก้พิษรงทองและสลอดด้วยการดื่มน้ำมะพร้าวอ่อนตามไปมากๆ
  • ต้นสลัดไดป่า ยอดสดใช้กัดหูดได้เป็นยาระบายอย่างแรง ต้องระวังอย่าให้ยางเข้าตาเพราะอาจทำให้ตาบอดได้
  • กลุ่มยารักษาโรคผิวหนังและกลากเกลื้อน ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน ชุมเห็ดเทศ ทองพันชั่ง กระเบาใช้น้ำมันจากเมล็ดรักษาโรคเรื้อนและเชื้อราบนหนังศรีษะ
  • อบเชย ใบและต้นใช้บำรุงหัวใจ ลดน้ำตาลในเลือด,
  • การบูร ใบใช้บำรุงหัวใจ ขับลมในลำไส้ เปลือกต้นที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปใช้สกัดเกล็ดการบูร

การศึกษาดูงาน ณ กลุ่มเครดิตยูเนี่ยนชาวเลปากน้ำบ้านเรา จังหวัดระยอง

  • กลุ่มเครดิตยูเนี่ยนใช้ศาลาชุมชนเป็นสถานที่ทำการ ตั้งกลุ่มมา 2 ปีแล้ว
  • กลุ่มเครดิตยูเนี่ยนมีแผนที่จะขยายสถานที่เพิ่มเติมเมื่อเป็นสหกรณ์
  • คณะกรรมการก็ร่วมแรงร่วมใจกันทำให้สหกรณ์เข้มแข็งขึ้น
  • กลุ่มเครดิตยูเนี่ยนกำลังหาสมาชิกเพิ่มให้มากขึ้น
  • กลุ่มเครดิตยูเนี่ยนล้มลุกคลุกคลานหลายรอบ ตอนนี้ดีขึ้น เพราะชาวบ้านเชื่อถือไว้ใจกัน ทำให้กลุ่มเครดิตยูเนี่ยนเป็นปึกแผ่นขึ้นเรื่อยๆ
  • ตอนนี้มีสมาชิก 318 คน สมาชิกส่วนใหญ่เป็นร้านค้ากิจการ
  • กลุ่มเครดิตยูเนี่ยนมีหุ้น 1.5 ล้านบาท
  • กลุ่มเครดิตยูเนี่ยนมีเงินกู้ 3 แสนบาทกว่าต่อเดือน แต่ละรายกู้เดือนละ 2-3 หมื่นบาทกว่า
  • กลุ่มเครดิตยูเนี่ยนยังไม่มีหน่วยราชการมาช่วยเหลือ ทำให้ต้องดูแลตนเอง แต่มีพี่เลี้ยงจากมาบตาพุดมาช่วยดูแลด้วย

12 ตุลาคม 2555

บรรยายโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • ความหลากหลายคือ Value Diversity เช่นความหลากหลายทางภูมิศาสตร์
  • Credit Union คือ Savings at Community Level
  • การเรียนรู้สำคัญกว่าความรู้
  • การเชื่อมโยงขึ้นกับวัฒนธรรมการใฝ่รู้และวัฒนธรรมความรัก
  • อย่าให้ฝ่ายการเงินเป็นใหญ่ในองค์กร
  • ผู้นำควรจะรู้จักหาทางออก
  • ผู้นำต้องรู้จักค้นหาตนเองว่ามีจุดแข็งอะไร อย่าใช้จุดอ่อนของตนเอง
  • ผู้นำต้องบริหารเวลาได้ดี วางแผน 24 ชั่วโมงทุกวัน ควรจะมีสมุดบันทึก กำหนดตารางเวลา ทำอะไรก่อนหลัง ต้องมองระยะยาวว่า ควรทำอะไร
  • สิ่งที่คุณอยากทำกับสิ่งที่คุณทำสำเร็จไม่เหมือนกัน
  • อย่าประชุมมากเกินไป ต้องแยกการประชุมที่มีประโยชน์และไร้สาระ อย่าประชุมเกิน 2 ชั่วโมง
  • ต้องทำเรื่องเล็กก่อนแล้วไปสู่ความสำเร็จที่ใหญ่ขึ้น

Workshop

กลุ่ม 1

อุปสรรคการทำงาน พบว่า คนเราลำดับความสำคัญไม่ถูกต้อง ทำให้การบริหารเวลาไม่ถูกต้อง ทำสิ่งใกล้ตัวก่อนที่ไม่มีความสำคัญ

ดร.จีระ

โควี่บอก คนทำงานที่เร่งด่วนก่อนที่จะทำเรื่องสำคัญ

ต้องบริหารจัดการอารมณ์

กลุ่ม 1

เรามักเลือกทำสิ่งจำเป็นและเร่งด่วนก่อน แต่ละเลยสิ่งไม่เร่งด่วนแต่จำเป็นในอนาคต

กลุ่ม 2

ค้นหาจุดแข็งของตัวเรา จะใช้ความเก่งออย่างไร

ต้องเรียนเพื่อพัฒนาความรู้ในเรื่องที่เราไม่รู้

จะต้องเรียงลำดับความสำคัญให้ดี

กลุ่ม 3

เมื่อวานนี้ การดูงาน เขาพาไปดูกลุ่มเครดิตยูเนี่ยนให้เห็นศักยภาพเข้มแข็ง เขาใช้เวลาเล็กน้อยขายของได้เป็นแสน

กลุ่ม 4

ในตัวเราเองจะทราบจุดแข็งและจุดอ่อน ต้องแสดงจุดเด่นและแก้จุดด้อย

การบริหารเวลา และลำดับความสำคัญ เราวางแผนต้นเดือนถึงปลายเดือน ทุกวันที่เท่าไรทำอะไร ต้องมีการลำดับความสำคัญในงานด้วย

บางทีมีงานนอกแผน ก็ต้องบริหารประสานไปในส่วนที่เกี่ยวข้อง

ดร.จีระ

เราต้องใช้จุดแข็งก่อน ถ้าเราใช้เป็นก็ต้องรอด

ต้องปรับปรุงการควบคุมอารมณ์ให้พอดี เพราะผู้นำพังเวลาโกรธ

กลุ่ม 5

ผมให้ความสำคัญการลำดับความสำคัญเรื่องเวลา แล้วจะสามารถค้นหาตนเองได้

กลุ่ม 6

ค้นหาจุดแข็งแล้วต้องดูจุดอ่อน จะได้นำจุดแข็งไปกลบจุดอ่อน

บริหารเวลาต้องบริหารคนด้วย

ต้องมองงานตามความสำคัญก่อน

ผู้นำต้องมีคุณธรรม จิตตารมย์และสัจจะ

ดร.จีระ

ต้องทำให้องค์กรโปร่งใส มีประโยชน์

หลักสูตรนี้ควรช่วยกันคิดที่จะนำไปใช้ประโยชน์ให้เกิดประโยชน์ต่อขบวนการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน

ทฤษฎี 3V

V คือ คุณค่าและมูลค่า

อยากให้แต่ละกลุ่มคิดโครงการที่ใช้ 3V และบรรจุไว้ในแผนปีหน้า ควรนำรุ่นที่ 1 มาร่วมทำด้วย

ก่อนที่มาพบผม คุณมีคุณค่าของตนเองอยู่แล้ว เพื่อมารับการอบรม คุณค่าก็สูงขึ้นเรียกว่า มูลค่าเพิ่ม

ตอนนี้ต้องสร้างมูลค่าใหม่ๆให้องค์กรเรา

ขบวนการสหกรณ์อาจจะมีกิจกรรมใหม่ๆหรือความคิดนอกกรอบ นำความลูกค้ามาประกอบการคิด อาจให้การกู้และการออมร่วมกันมากขึ้น เรียกว่าเป็น Value Creation การสร้างมูลค่าใหม่ๆ

ต้องนำความหลากหลายของคนในห้องนี้มาเป็นพลัง เรียกว่า Value Diversity ความหลากหลายกำลังเกิดขึ้นเพราะจะมี AEC ความหลากหลายระหว่างคนรุ่นใหม่รุ่นเก่า ความหลากหลายทางความคิดอันตรายที่สุด คนต้องหาทางออกร่วมกัน สร้างเป็นมูลค่าเพิ่ม

Workshop

เสนอโครงการ

Value Added

Value Creation

และ

Value Diversity

อย่างละ 1 โครงการ

กลุ่ม 1

โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเครดิต มีห้องแล็บวิจัยพืช มีแปลงสาธิต อุตสาหกรรมการเกษตร

พื้นที่ 400 ไร่ของชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนที่ปราจีนบุรี

ดร.จีระ

พูดถูก

ใช้ภาษาไทยดี

ความคิดและความหลากหลายเป็นมูลค่าเพิ่มมหาศาล

ต้องเปลี่ยนความคิดเป็นการกระทำและความสำคัญ

ต้องเป็นพันธมิตรกับชุมชนและอบต.

พลังงานก็จะเป็นเรื่องสำคัญ จะมีการผลิตพลังงานระดับชุมชนย่อยๆ เครดิตยูเนี่ยนควรลงทุนพัฒนาพลังงานทดแทน

ต้องนำกรณีศึกษาเครดิตยูเนี่ยนมาสร้างให้เกิด Value Creation

ต้องมี Network เครือข่าย

กลุ่ม 2

โครงการแปรรูปสินค้าให้มีมูลค่าเพิ่ม

สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน 80-89% เป็นเกษตรกร

โครงการสร้างโรงเรียนอนุบาล

ดร.จีระ

20% ถือเป็น Value Diversity

กลุ่ม 3

โครงการเครดิตยูเนี่ยนช็อปปิ้งออนไลน์

โครงการแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างสหกรณ์

จีระ

ดีใจที่เครดิตยูเนี่ยนจะมีสารสนเทศ

กลุ่ม 4

Value Diversity โครงการสัมมนาผู้นำเครดิตยูเนี่ยนระดับประเทศ จะเน้นเรื่องคุณธรรมซึ่งเป็นรากฐานสำคัญ

Value Added ศูนย์สัมมนาผู้นำเครดิตยูเนี่ยน เชิญผู้ผลิตและผู้บริโภคมาหารือกัน

Value Creation โครงการบรรจุภัณฑ์เครดิตยูเนี่ยน กระจายสินค้าทุกสาขา

ดร.จีระ

เครดิตยูเนี่ยนต้องช่วยดูแลคุณธรรม วินัย ความรักชาติ

กลุ่ม 5

โครงการนำแอมเวย์มารวมกับเครดิตยูเนี่ยน ธุรกิจ+สวัสดิการ

โครงการบริการจัดสวัสดิการสินค้าแก่สมาชิก การคืนกำไรสู่สมาชิกเป็นสวัสดิการ ต้องมีการรวมตัวขายสินค้าให้สมาชิก

เครดิตยูเนี่ยนใหญ่ๆควรจะเป็นศูนย์กลางกระจายสินค้า

ดร.จีระ

ควรดึงกลุ่มบริษัทอื่นๆเข้ามา เช่น เทสโก เซเว่นอีเลฟเว่น และควรรู้จักต่อรอง

อ.ทำนอง

Contribution คนที่รู้ต้องเผื่อแผ่คนอื่นด้วย

ผู้นำต้องตัดสินใจเป็น และรับผิดชอบคำตัดสินใจนั้น 100%

ผมให้คะแนนทุกท่านเต็ม 10

สำราญ

การเดินทางมาดูงานเหมือนประชุมค.ร.ม.สัญจร ต้องกลับไปดูและประเทศเล็กๆ (เครดิตยูเนี่ยนของเรา)

การออกมาดูงานทำให้เราได้ความคิดใหม่

ไปธปท.ทำให้เรารู้สิ่งใหม่ๆ และเกิดความคิดใหม่แล้วนำมาประยุกต์

เรามักคิดว่าสหกรณ์ทำได้อย่างเดียว แต่สหกรณ์บางน้ำเปรี้ยวทำ 3V ได้ครบแล้วโดยเน้นประโยชน์ของสมาชิกเป็นหลัก

เมื่อวานไปสวนสมุนไพร ได้เห็นภาพลักษณ์ปตท. ทำเพื่อสิ่งแวดล้อม แต่ก็ทำธุรกิจรายได้มาก

สหกรณ์เราทำงานเพื่อสังคม และต้องสร้างผลประกอบการให้มีกำไรเลี้ยงดูตนเอง

ทฤษฎี 3V และภาวะผู้นำ

การมาอยู่ร่วมกันทำให้สนิทและไว้ใจกัน

ควรสร้างปฏิสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างสมาชิกสหกรณ์ ก็จะได้จะแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน

อยากให้อาจารย์จีระเป็นโค้ชให้เราด้วย เราเป็นผู้ปฏิบัติและมองไม่เห็นจุดอ่อน คิดไม่ออกจะต่อยอดอย่างไร ต้องมีโค้ช

ผมจะประสานงานการพบกันของพวกเราทุก 3 เดือน

ควรนำความรู้ไปใช้พัฒนาองค์กรเรา เป็นจุดเล็กที่นำไปสู่ความสำเร็จในระดับที่สูงขึ้น

ดร.จีระ

วันนี้ สิ่งที่เกิดขึ้น เป็นประโยชน์ต่อทุกคน

ต้องเน้นต่อเนื่อง ต่อเนื่องและต่อเนื่อง

สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนต้องก้าวไปสู่ความเป็นเลิศมากขึ้น

ผมจะทำแบบสอบถามหลังจากผ่านไปแล้ว 3-4 เดือน ได้อะไร

การบ้าน

ได้ความรู้อะไรจากการดูงาน ณ ธนาคารแห่งประเทศไทย

นำความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ไปสร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างไร

 

ผมรัตนะ ทับทิมงาม จาก สค.เมืองจันท์ จก. ลูกศิษย์ผู้นำ cu รุ่น 2 ของ ดร.จีระครับ สำหรับการบ้านระหว่างวันที่ 10-12 ต.ค. 2555 (ศึกษาดูงานในประเทศ) ได้รับความรู้จากการดูงานแบงค์ชาติ

  • ได้รู้ว่าเงินที่เราเห็นว่ามีค่า มีราคา ก็ไม่ได้มีประโยชน์เสมอไป ถ้าเราไม่รู้่จักการใช้เงินให้เป็น

  • การตั้งโจทย์สำหรับองค์กรอย่างสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ว่า "ทำอย่างไรให้คนในชาติรู้จักนิสัยของออมเงินอย่างยั่งยืน" เพราะทุกวันนี้การออมเงินของแต่ละคนมุ่งเน้นไปที่ผลตอบแทนมากกว่าการเก็บหอมรอมริบ โดยสามารถต่อยอดโดยมุ่งเน้นให้สมาชิกสหกรณ์ และสถาบันองค์กรต่างๆ รวมทั้งบุคคลภายนอกรักการออม และรู้จักออมกับสหกรณ์ รวมถึงการพัฒนาความรู้ให้แก่สมาชิก บุคคลภายในชุมชน องค์กรหน่วยงานใกล้เคียง แล้วค่อยขยายโซนพื่นที่ให้ครอบคลุม

  • ความน่าจะเป็นที่สหกรณ์ ฯ ควรน่าจะเป็นสถาบันการเงินที่มีความทัดเทียมกับธนาคาร หรือมีศักยภาพของความเป็นเอนกประสงค์อย่างสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน มากกว่าสถาบันการเงินอื่น

  • ความเชื่อมโยงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเงินของแบงค์ชาติ สามารถกำหนดทิศทาง และความรอบคอบให้กับสหกรณ์อีกทางหนึ่ง ซึ่งสร้างมูลค่าเพิ่มจากข้อมูลที่ได้รับมาตั้งรุกและรับของสหกรณ์ ความน่าจะเป็นในการลงทุน

  • ได้มีโอกาสทราบถึงประวัติความเป็นมาเงิน

การศึกษาดูงานที่แบงค์ชาติในครั้งนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนได้จากการนำข้อมูลต่างๆๆในเวปไซด์ของแบงค์ชาติมาคาดการล่วงหน้า การรวบรวมสินค้าเกษตรของแต่ละสหกรณ์ ซึ่งสามารถเชื่อมโยงระหว่างสหกรณ์ กับสหกรณ์ ทั้งเครดิตยูเนี่ยนและประเภทอื่นที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้อง ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่มวลสมาชิก การสร้างความเป็นผู้นำในการต่อรองราคาสินค้า หรืออุตสาหกรรมก็เป็นได้ และในอนาคตอาจจะเป็นที่พึ่งของประชาชนในเรื่องราคาสินค้าอุปโภค บริโภคในประเทศไทย ที่ถูกก็ไม่ใช่เรื่องยาก

Test

แรงบันดาลใจและข้อคิดเห็น 1. จากการไปศึกษาดูงานที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ทราบถึง 1.1 ประวัติความเป็นมาของการก่อตั้ง 1.2 ธนบัตรสมัยต่างๆบอกได้ถึงรากเหง้าของชาติของเราจวบจนปัจจุบันได้เห็นวิวัฒนาการให้เหมาะแก่กาลสมัย 1.3 ความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือเสถียรภาพของเศรษฐกิจของประเทศ 2. สหกรณ์บางน้ำเปรี้ยว 2.1 เป็นการทำงานร่วมกันภายใต้ข้อตกลงที่เข้มแข็งและเด็ดขาด 2.2 สร้างความมั่นคงให้สมาชิก 3. สวนสมุนไพร 3.1 ได้รับความรู้เรื่องคุณประโยชน์ของสมุนไพรไทยซึ่งต่างชาติจ้องศึกษาและอยากเป็นเจ้าของ 3.2 ความเป็นธรรมชาติและไมตรีของผู้ต้อนรับ 3.3 เป็นการคืนกำไรสู้ชาติของ ป.ต.ท 4. สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนปากอ่าวชาวเล 4.1 ความสมัครสมานสามัคคีของทุกคนในกลุ่ม 4.2 มิตรภาพที่บริสุทธิ์ (แววตา สีหน้า การพูดคุย) 4.3 ความศรัทธาและความหวังจากการมีสหกรณ์เป็นที่รวมใจ 4.4 เป็นสหกรณ์ที่เล็กแต่ยิ่งใหญ่ในความเป็นสหกรณ์

บทเรียนจากความจริง

หนังสือพิมพ์แนวหน้า                   โดย ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์

ฉบับที่ 25 8-14 กันยายน 2555

เรื่องที่ 1 นโยบาย 3 แสน 5 หมื่นล้านแก้น้ำท่วม ไปถึงไหนแล้ว เพราะข้อเท็จจริงคนภาคเหนือหากไม่ได้สื่อสารกับคนที่ประสบเหตุอุทกภัยก็จะไม่รู้ อย่างไรก็ตาม ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ มุ่งหวังให้คนไทยที่รักชาติได้เฝ้าติดตาม เรื่องที่ 2 เรื่องการจำนำข้าว ถ้าจำนำให้ราคาสูงคนก็จะไม่ไถ่ถอนเหมือนสิ่งของอื่นๆโดยทั่วไปที่ติดกองอยู่ในโรงรับจำนำ เรื่องที่ 3 นโยบายรถคันแรก 1. ความจริงทุกคนอยากได้รถราคาที่ลดให้ถึง 7 หมื่น ถึง 1 แสน บาท 2. ซื้อรถมากทำให้ธุรกิจหมุนเวียนดีแต่รถติดมาก บางคนขับไม่เป็นเลย ขับอยู่ช่องขวาสุด และตัดหน้าผู้อื่นพรวดพลาดออกไปช่องซ้าย นอกจากจะทำให้คนไทยใช้จ่ายเกินตัวแล้วยังทำให้เกิดปัญหาอื่นๆอีกมากมาย (ถ้าจะเถียงว่าเงินกูกูอยากซื้อก็ไม่ว่ากัน)

ทฤษฎี 8K’S จะขอนำเผยแพร่ทีละข้อบน Facebook เช่นเดียวกับ ทฤษฎี 5K’S ด้วย ถ้าไม่ได้ไปเรียนจะไม่มีโอกาสรู้เลย แต่ได้นำไปเล่าสู่สมาชิกในสโมสรฝึกการพูดแห่งลานนาไทยเชียงใหม่ไปแล้ว

 

แรงบันดาลใจและข้อคิดเห็น

  1. จากการไปศึกษาดูงานที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ทราบถึง
    1. ประวัติความเป็นมาของการก่อตั้ง
    2. ธนบัตรสมัยต่างๆบอกได้ถึงรากเหง้าของชาติของเราจวบจนปัจจุบันได้เห็นวิวัฒนาการให้เหมาะแก่กาลสมัย
    3. ความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือเสถียรภาพของเศรษฐกิจของประเทศ
  2. สหกรณ์บางน้ำเปรี้ยว
    1. เป็นการทำงานร่วมกันภายใต้ข้อตกลงที่เข้มแข็งและเด็ดขาด
    2. สร้างความมั่นคงให้สมาชิก
  3. สวนสมุนไพร
    1. ได้รับความรู้เรื่องคุณประโยชน์ของสมุนไพรไทยซึ่งต่างชาติจ้องศึกษาและอยากเป็นเจ้าของ
    2. ความเป็นธรรมชาติและไมตรีของผู้ต้อนรับ
    3. เป็นการคืนกำไรสู้ชาติของ ป.ต.ท
  4. สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนปากอ่าวชาวเล
    1. ความสมัครสมานสามัคคีของทุกคนในกลุ่ม
    2. มิตรภาพที่บริสุทธิ์ (แววตา สีหน้า การพูดคุย)
    3. ความศรัทธาและความหวังจากการมีสหกรณ์เป็นที่รวมใจ
    4. เป็นสหกรณ์ที่เล็กแต่ยิ่งใหญ่ในความเป็นสหกรณ์

 

 

 

 

 

 

 

 

บทเรียนจากความจริง

        หนังสือพิมพ์แนวหน้า                                      โดย ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์

ฉบับที่ 25 8-14 กันยายน 2555

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

เรื่องที่ 1   นโยบาย 3 แสน 5 หมื่นล้านแก้น้ำท่วม

ไปถึงไหนแล้ว เพราะข้อเท็จจริงคนภาคเหนือหากไม่ได้สื่อสารกับคนที่ประสบเหตุอุทกภัยก็จะไม่รู้ อย่างไรก็ตาม ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ มุ่งหวังให้คนไทยที่รักชาติได้เฝ้าติดตาม

เรื่องที่ 2           เรื่องการจำนำข้าว

ถ้าจำนำให้ราคาสูงคนก็จะไม่ไถ่ถอนเหมือนสิ่งของอื่นๆโดยทั่วไปที่ติดกองอยู่ในโรงรับจำนำ

เรื่องที่ 3   นโยบายรถคันแรก

  1. ความจริงทุกคนอยากได้รถราคาที่ลดให้ถึง 7 หมื่น ถึง 1 แสน บาท
  2. ซื้อรถมากทำให้ธุรกิจหมุนเวียนดีแต่รถติดมาก บางคนขับไม่เป็นเลย ขับอยู่ช่องขวาสุด และตัดหน้าผู้อื่นพรวดพลาดออกไปช่องซ้าย

นอกจากจะทำให้คนไทยใช้จ่ายเกินตัวแล้วยังทำให้เกิดปัญหาอื่นๆอีกมากมาย (ถ้าจะเถียงว่าเงินกูกูอยากซื้อก็ไม่ว่ากัน)

        ทฤษฎี 8K’S จะขอนำเผยแพร่ทีละข้อบน Facebook เช่นเดียวกับ ทฤษฎี 5K’S ด้วย ถ้าไม่ได้ไปเรียนจะไม่มีโอกาสรู้เลย แต่ได้นำไปเล่าสู่สมาชิกในสโมสรฝึกการพูดแห่งลานนาไทยเชียงใหม่ไปแล้ว

 

แรงบันดาลใจและข้อคิดเห็น

  1. จากการไปศึกษาดูงานที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ทราบถึง
    1. ประวัติความเป็นมาของการก่อตั้ง
    2. ธนบัตรสมัยต่างๆบอกได้ถึงรากเหง้าของชาติของเราจวบจนปัจจุบันได้เห็นวิวัฒนาการให้เหมาะแก่กาลสมัย
    3. ความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือเสถียรภาพของเศรษฐกิจของประเทศ
  2. สหกรณ์บางน้ำเปรี้ยว
    1. เป็นการทำงานร่วมกันภายใต้ข้อตกลงที่เข้มแข็งและเด็ดขาด
    2. สร้างความมั่นคงให้สมาชิก
  3. สวนสมุนไพร
    1. ได้รับความรู้เรื่องคุณประโยชน์ของสมุนไพรไทยซึ่งต่างชาติจ้องศึกษาและอยากเป็นเจ้าของ
    2. ความเป็นธรรมชาติและไมตรีของผู้ต้อนรับ
    3. เป็นการคืนกำไรสู่ชาติของ ป.ต.ท
  4. สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนปากอ่าวชาวเล
    1. ความสมัครสมานสามัคคีของทุกคนในกลุ่ม
    2. มิตรภาพที่บริสุทธิ์ (แววตา สีหน้า การพูดคุย)
    3. ความศรัทธาและความหวังจากการมีสหกรณ์เป็นที่รวมใจ
    4. เป็นสหกรณ์ที่เล็กแต่ยิ่งใหญ่ในความเป็นสหกรณ์

 

 

 

 

 

 

 

 

บทเรียนจากความจริง

                หนังสือพิมพ์แนวหน้า                                                                      โดย ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์

ฉบับที่ 25 8-14 กันยายน 2555

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

เรื่องที่ 1                นโยบาย 3 แสน 5 หมื่นล้านแก้น้ำท่วม

ไปถึงไหนแล้ว เพราะข้อเท็จจริงคนภาคเหนือหากไม่ได้สื่อสารกับคนที่ประสบเหตุอุทกภัยก็จะไม่รู้ อย่างไรก็ตาม ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ มุ่งหวังให้คนไทยที่รักชาติได้เฝ้าติดตาม

เรื่องที่ 2                 เรื่องการจำนำข้าว

ถ้าจำนำให้ราคาสูงคนก็จะไม่ไถ่ถอนเหมือนสิ่งของอื่นๆโดยทั่วไปที่ติดกองอยู่ในโรงรับจำนำ

เรื่องที่ 3                นโยบายรถคันแรก

  1. ความจริงทุกคนอยากได้รถราคาที่ลดให้ถึง 7 หมื่น ถึง 1 แสน บาท
  2. ซื้อรถมากทำให้ธุรกิจหมุนเวียนดีแต่รถติดมาก บางคนขับไม่เป็นเลย ขับอยู่ช่องขวาสุด และตัดหน้าผู้อื่นพรวดพลาดออกไปช่องซ้าย

นอกจากจะทำให้คนไทยใช้จ่ายเกินตัวแล้วยังทำให้เกิดปัญหาอื่นๆอีกมากมาย (ถ้าจะเถียงว่าเงินกูกูอยากซื้อก็ไม่ว่ากัน)

                ทฤษฎี 8K’S จะขอนำเผยแพร่ทีละข้อบน Facebook เช่นเดียวกับ ทฤษฎี 5K’S ด้วย ถ้าไม่ได้ไปเรียนจะไม่มีโอกาสรู้เลย แต่ได้นำไปเล่าสู่สมาชิกในสโมสรฝึกการพูดแห่งลานนาไทยเชียงใหม่ไปแล้ว

วันนี้ วันที่ 26 ตุลาคม 2555 ได้รับเกียรติจาก ผศ.สุชิน ปลีหะจินดา บรรยายเรื่อง การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์

 

สรุปการบรรยายโดยทีมงานศ.ดร.จีระ หงส์ลดามภ์เรื่อง

การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์

โดย ผศ. สุชิน ปลีหจินดา

วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม 2555

ทำอย่างไรองค์กรจะมีผู้นำ และมีความเป็นภาวะผู้นำด้วย

มาเลเซีย สิงคโปร์ มีเป้าหมายไปยังระดับโลก International brand ประเทศไทยไม่มีทางทันทั้ง 2 ประเทศนี้

ประเทศไทยมีอันดับการศึกษา อันดับที่ 8  และประเทศที่รั้งอันดับสุดท้าย คือ  ไทย ลาว พม่า  

ลาว อยู่ในสถานะด้อยการพัฒนา เพราะฉะนั้นหลายๆประเทศก็จะเข้ามาให้ความช่วยเหลือ

ประเทศไทยโดนเวียดนามแซงการผลิตข้าว ซึ่งขึ้นมาเป็นอันดับต้นๆ เพราะมีหลักสูตรสอนชาวนาในเรื่องการเกษตร

สหกรณ์ในปัจจุบันมีมากมายแต่ยังไม่ค่อยมีอะไรก้าวหน้า สหกรณ์ภาคการเกษตรโตแบบช้าๆ ขณะที่สหกรณ์ที่โต คือ สหกรณ์ออมทรัพย์ เพราะผู้บริหารสหกรณ์ไม่มีนโยบายอัดฉีดให้สหกรณ์โตขึ้น เพราะคิดแต่เรื่องที่จะหาเงินกู้มากขึ้น แต่ไม่มีการพัฒนาสหกรณ์

การบริหารสหกรณ์ โดยเฉพาะการสู้กันในกระบวนการสหกรณ์มีน้อยมาก เพราะส่วนใหญ่ทำธุรกรรมภายในองค์กรเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันโลกข้างนอกเปลี่ยนแปลงมากขึ้น จึงต้องคิดเรื่องการบริหารกลยุทธ์มากขึ้น เพราะฉะนั้นวันนี้ปฏิเสธเรื่องการปรับตัวไม่ได้

เราด้อยภูมิคุ้มกัน ไม่สร้างภูมิคุ้มกันให้กับประชาชน ผู้บริหาร สมาชิก ขาดภูมิคุ้มกัน พ.ศ. 2475 เป็นปีที่สหกรณ์เห็นว่าสหกรณ์เป็นเครื่องมือยกระดับประชาชน ยังทำให้คนเป็นพลเมืองของชาติได้ด้วยซึ่งจริงๆแล้วสหกรณ์ประเทศไทยเกิดขึ้นจริงๆปี 2459 และเติบโตขึ้นอย่างจริงจังปี 2475  และเติบโตสุดขีด 2479   มีสหกรณ์ 10,000 กว่าสมาคม ต้องการให้สหกรณ์เป็นโรงเรียนสอนประชาธิปไตยไปในตัว

สหกรณ์พ.ร.บ. 2511  สหกรณ์ไทยเริ่มล้มเหลว เป็นสหกรณ์หาทุน โดยเฉลี่ยมี 17 คน สหกรณ์เหลือเพียง 400 กว่าสหกรณ์  จนถึงปัจจุบันนี้มีมากกว่า 7,000 สหกรณ์

การบริหารสหกรณ์เชิงกลยุทธ์ เป็นการประยุกต์ใช้การต่อยอด การสร้างคนให้พริ้ว เปิดใจกว้าง สิ่งทีเราต้องการ คือ การสร้างนวัตกรรม (Innovation)

ปัญหาของนักบริหารสหกรณ์ คือไม่สามารถสร้างวิสัยทัศน์เชิงบริหารได้ เพราะปัจจุบันเด็กไทยคิดไม่เป็น

นักบริหารสหกรณ์  ต้องมีสิ่งดังต่อไปนี้

  • ต้องมีความรู้
  • ประสบการณ์
  • การติดต่อสื่อสาร
  • นำเสนอเป็นแนวคิดสู่ผู้อื่นเป็นด้วย
  • จิตวิทยา
  • ต้องกล้าตัดสินใจ
  • มีบุคลิกภาพที่เหมาะสม  คือทั้งภาพลักษณ์ และ สิ่งที่อยู่ในตัว คือ จิตใจดี เดินบนพื้นฐานของจิตตารมภ์
  • ผู้นำ
  • การเขียนรายงานเป็น
  • ต้องใช้คอมพิวเตอร์ ใช้อินเตอร์เน็ตเป็น
  • การจัดการสารสนเทศ

สหกรณ์ = ธุรกิจ+สหกรณ์

เป้าหมายการบริหารจัดการธุรกิจสหกรณ์  สมาชิกมีคุณภาพชีวิตที่ดี และองค์กรสหกรณ์มีความมั่นคง

ต้องมีวิธีการของสหกรณ์ที่สมาชิก มีความพึงพอใจ +รายได้สูง

แก่นกลางที่สำคัญที่สุด คือ เรื่อง IT  และรองลงมา คือ

คน  ต้องสร้างคนให้เป็นผู้นำ และคนในองค์กรต้องมีภาวะผู้นำ ต้องการให้องค์ในองค์กรคิดเชิงวิสัยทัศน์ และคิดอย่างเป็นระบบสามารถวิเคราะห์เป็น  

ความคิด  ต้องมีวิสัยทัศน์ การวางแผน และมีการตัดสินใจ

หน้าที่การจัดการ ต้องมี 4 หน้าที่ ดังต่อไปนี้

1. การวางแผน

2. การจัดองค์กร

3. การชักนำ

4. การควบคุม

หน้าที่ทางการบริหาร และกระบวนการบริหาร

POSDCORB

POSDC

POLC/POIC

P-Planning การวางแผน

O-Organizing การจัดองค์การ

L- Leading  การชักนำ การนำองค์กร

C-Controlling การควบคุม

หน้าที่ทั้งหมดนี้ต้องเรียงลำดับเป็นขั้น เรียกว่า หน้าที่ที่เป็นลำดับ

Job Description (JD) การจัดงานตามลักษณะเฉพาะ

Job Specification (JS)  การเลือกคนตามคุณลักษณะที่กำหนด

เครื่องมือการจัดการ ต้องเลือกใช้ตามความเหมาะสม

  • TQM
  • KPI
  • Benchmarking
  • Best Practice
  • Balance Scorecard
  • Kaizen

หน้าที่ธุรกิจ

  • การผลิต
  • การตลาด
  • การเงิน

กระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์

  • การวางแผน P
  • การนำเสนอไปปฏิบัติ I
  • การควบคุม C

ทั้ง 3 กิจกรรมนี้ ต้องวนไปเรื่อยๆ ไม่มีวันจบ ต้องพัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อยๆ เหมือนกับ P-O-L-C  

P D C  A เครื่องมือบริหารกลุ่ม QCC คือ วางแผน ทำ ตรวจสอบ เอาไปทำ

ยึดหลัก Quality First and Consumer is King 

กระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ เพื่อให้เตรียมพร้อมสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างเหมาะสม เริ่มจาก

1. วิเคราะห์ SWOT การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค  เป็นการรู้เขา รู้เรา :หนังสือ Kodler  รากเหง้าความคิดมาจากการรู้เขา รู้เรา จากหลักแนวคิดของ ซุนวู  ใช้หลักเศรษฐศาสตร์ว่าทรัพยากรมีอย่างจำกัด

เนื้อหาหลักของแผน คือ 1. การกำหนดเป้าหมาย  และต้องเป็นเป้าหมายที่ท้าทาย เลือกเป้าหมายระดับกลางบวก 2. ต้องมีกิจกรรม Cause of Action  

แผนกลยุทธ์ เป็นสิ่งที่จำเป็นมากในทุกองค์กร นักบริหารต้องพลิ้ว และต้องConsistency Approach ศึกษาให้หมด เรียนรู้เยอะๆ อ่านศึกษาอบรม แล้วเลือกใช้ถึงความเหมาะสม อย่ายึดกับแนวคิดใดแนวคิดหนึ่ง ต้องฝึกการมองข้ามช็อต ทางเลือกที่เหมาะสม คือ กลยุทธ์

แผนธุรกิจ แยกหรือกลืนกับแผนกลยุทธ์ก็ได้ ในการทำแผนทุกครั้งมีคำถาม 3 คำถาม

1. ท่านต้องรู้ตนเองว่าอยู่ตรงไหน Situation Analysis, Competency Analysis

2. ท่านจะไปที่ไหน

3.วิธีการที่จะไป

เป้าหมายควรจะใส่กี่ระดับ ก็ต้องรู้ว่า เราต้องการจะวัดอะไร คือ

2. การกำหนดวิสัยทัศน์  ทำอย่างไรจึงจะใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด  คือต้องยึดหลัก SWOT  

3. การกำหนดพันธกิจ  เป็นเครื่องมือช่วยที่ทำให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น

4. การกำหนดวัตถุประสงค์ เป็นตัวชี้วัด (KPI)

5. การกำหนดกลยุทธ์

6. การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ

7. การควบคุม

คำถาม

1. ข้อจำกัดในประเทศไทย ของกรมส่งเสริมสหกรณ์ ที่มีข้อกำหนด     มากเกินไป ทำไมไม่ส่งเสริมสหกรณ์ให้เป็นอิสระ

ผศ. สุชิน ปลีหจินดา: ประเทศไทย ยังไม่มีความชัดในเรื่องสหกรณ์ ต่างจากประเทศเกาหลี ที่เข้าดูงานในประเทศไทยแล้วมีความสนใจ ยึดหลักว่ามาดูงานแล้วนำเอากลับไปทำที่บ้านเขาได้เลย  เชิงธุรกิจ สหกรณ์ตีความต่างจากประเทศไทย  ประเด็นคือ สหกรณ์ และ กรมส่งเสริมสหกรณ์ มองสหกรณ์ ต่างกัน

            การทำงานราชการเอากฎหมายมาตั้งก่อน ซึ่งการปฏิบัติงานต้องมุ่งไปยังกรอบทางกฎหมาย ซึ่งต่างจากการดำเนินการของสหกรณ์  รัฐบาลเริ่มมาคุยหารือในเรื่องนี้ 1. ประเภทสหกรณ์ 2. วัตถุประสงค์ของสหกรณ์

คำถาม : ระบบสหกรณ์รัฐบาล ข้าราชการสหกรณ์การเกษตร  ประชาชน  ทำอย่างไรจึงจะเกิดขึ้นได้

ผศ. สุชิน ปลีหจินดา:  ต้องแบ่งงานกันทำ และเป็นหน้าทีของทุกคนที่ต้องผลักดัน โดยใช้ภาคี เครือข่าย  

คำถาม: การที่รัฐบาลมีมติค.ร.ม. ให้สหกรณ์เป็นวาระแห่งชาติ หวังจะมีการเปลี่ยนแปลง ท่านคาดหวังหรือไม่ว่า สหกรณ์จะมีการเปลี่ยนแปลง และจะมีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายพ.ร.บ.สหกรณ์ ที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการของสหกรณ์

ผศ. สุชิน ปลีหจินดา:  เรื่องการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย ขึ้นอยู่กับว่า จะแก้กฎหมาย หรือ เพิ่มเติมกฎหมาย  การแก้กฎหมายสหกรณ์ปัญหาอยู่ที่เนื้อหา ไม่ใช่เวลา เนื่องจากใช้การมองของกลุ่มบางกลุ่ม เพราะฉะนั้นต้องมีพลังบางอย่างของสหกรณ์  ไม่เช่นนั้น รัฐบาลจะฟังราชการก่อน

มาตร 40 มีบางสหกรณ์เท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ และ มาตรา 50 ยังมีคนไม่เห็นด้วยอยู่   และการเปลี่ยนแปลงพ.ร.บ. ขณะนี้ยังไม่เป็นวงกว้างมากนัก

           

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ช่วงบ่าย เป็นการบรรยายเรื่อง

ารสร้างและพัฒนาผู้นำ และทำ Workshop ร่วมกัน

เรื่อง คุณสมบัติของผู้นำในอนาคต การศึกษาจากกฏ 20 ข้อของกรณีศึกษาในต่างประเท

 

ดารณี คงมั่น


แรงบันดาลใจและข้อคิดเห็น 1. จากการไปศึกษาดูงานที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ทราบถึง 1.1 ประวัติความเป็นมาของการก่อตั้ง 1.2 ธนบัตรสมัยต่างๆบอกได้ถึงรากเหง้าของชาติของเราจวบจนปัจจุบันได้เห็นวิวัฒนาการให้เหมาะแก่กาลสมัย 1.3 ความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือเสถียรภาพของเศรษฐกิจของประเทศ 2. สหกรณ์บางน้ำเปรี้ยว 2.1 เป็นการทำงานร่วมกันภายใต้ข้อตกลงที่เข้มแข็งและเด็ดขาด 2.2 สร้างความมั่นคงให้สมาชิก 3. สวนสมุนไพร 3.1 ได้รับความรู้เรื่องคุณประโยชน์ของสมุนไพรไทยซึ่งต่างชาติจ้องศึกษาและอยากเป็นเจ้าของ 3.2 ความเป็นธรรมชาติและไมตรีของผู้ต้อนรับ 3.3 เป็นการคืนกำไรสู่ชาติของ ป.ต.ท 4. สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนปากอ่าวชาวเล 4.1 ความสมัครสมานสามัคคีของทุกคนในกลุ่ม 4.2 มิตรภาพที่บริสุทธิ์ (แววตา สีหน้า การพูดคุย) 4.3 ความศรัทธาและความหวังจากการมีสหกรณ์เป็นที่รวมใจ 4.4 เป็นสหกรณ์ที่เล็กแต่ยิ่งใหญ่ในความเป็นสหกรณ์

บทเรียนจากความจริง

หนังสือพิมพ์แนวหน้า                   โดย ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์

ฉบับที่ 25 8-14 กันยายน 2555

เรื่องที่ 1 นโยบาย 3 แสน 5 หมื่นล้านแก้น้ำท่วม ไปถึงไหนแล้ว เพราะข้อเท็จจริงคนภาคเหนือหากไม่ได้สื่อสารกับคนที่ประสบเหตุอุทกภัยก็จะไม่รู้ อย่างไรก็ตาม ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ มุ่งหวังให้คนไทยที่รักชาติได้เฝ้าติดตาม เรื่องที่ 2 เรื่องการจำนำข้าว ถ้าจำนำให้ราคาสูงคนก็จะไม่ไถ่ถอนเหมือนสิ่งของอื่นๆโดยทั่วไปที่ติดกองอยู่ในโรงรับจำนำ เรื่องที่ 3 นโยบายรถคันแรก 1. ความจริงทุกคนอยากได้รถราคาที่ลดให้ถึง 7 หมื่น ถึง 1 แสน บาท 2. ซื้อรถมากทำให้ธุรกิจหมุนเวียนดีแต่รถติดมาก บางคนขับไม่เป็นเลย ขับอยู่ช่องขวาสุด และตัดหน้าผู้อื่นพรวดพลาดออกไปช่องซ้าย นอกจากจะทำให้คนไทยใช้จ่ายเกินตัวแล้วยังทำให้เกิดปัญหาอื่นๆอีกมากมาย (ถ้าจะเถียงว่าเงินกูกูอยากซื้อก็ไม่ว่ากัน)

ทฤษฎี 8K’S จะขอนำเผยแพร่ทีละข้อบน Facebook เช่นเดียวกับ ทฤษฎี 5K’S ด้วย ถ้าไม่ได้ไปเรียนจะไม่มีโอกาสรู้เลย แต่ได้นำไปเล่าสู่สมาชิกในสโมสรฝึกการพูดแห่งลานนาไทยเชียงใหม่ไปแล้ว

กลุ่ม 1 กฏ 20 ข้อของกรณีศึกษาในต่างประเทศ เสนอ 5 ข้อ ที่ท่านเห็นด้วยและเสนอ 3 ข้อที่เหมาะสมของสภาพในประเทศไทยที่ไม่มีใน 20 ข้อนี้

กล้าตัดสินใจและพร้อมรับผิดชอบในสิ่งที่ตัวเองทำ โดยที่ไม่เกรงกลัวว่าผิดพลาด ถ้าผิดก็ต้องยอมรับผิด

หม่อมหลวงชาญโชติ ชมพูนุช ไม่ควรไป Focus เน้นผู้นำคนใดคนหนึ่ง  ความเด็ดขาดในการตัดสินใจ ผู้หญิงมักจะดีกว่าผู้ชาย 

กลุ่ม 2 บทบาทของผู้นำสตรี กับบุรุษต่างกันอย่างไร

ผู้หญิงมีการบริหารการเงินรอบคอบรับผิดชอบสูง

มีการรอบคอบในการตัดสินใจ

ตรงต่อเวลา

ประหยัด

รับผิดชอบเรื่องงานและครอบครัว

ข้อเสีย

ไม่กล้าคิดนอกกรอบ ข้ามศาสตร์ ทำตามระบบ

ไม่เน้นงานใหม่ๆ

ค่านิยมตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ยอมรับผู้ชายมากกว่าผู้หญิง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  ใช้ทฤษฎี 8k 5k มาวิเคราะห์ในเรื่องนี้  เรื่องที่ผู้หญิงต้องเพิ่มทักษะ คือ เรื่องอารมณ์

การสร้างเครือข่ายกับคนนอกวงการอาจจะน้อยไป ต้องมีการเสริมด้วยบทบาทของผู้ชายก็จะเป็นประโยชน์มากขึ้น

หม่อมหลวงชาญโชติ ชมพูนุช   ในอดีตมีค่านิยมว่าผู้หญิงต้องเลี้ยงลูกอยู่กับบ้าน แต่ปัจจุบันก็เปลี่ยนไป

กลุ่ม 3 ในวงการ เครดิตยูเนี่ยน เรามีผู้นำในอดีตกี่รุ่น และผู้นำในอนาคตต้องมีคุณสมบัติอย่างไร

ผู้นำในอดีตแบ่งเป็น 5 ยุค  47 ปีแล้ว

1. ยุดแห่งการก่อตั้ง  ให้ช่วยเหลือตัวเอง และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

2. ยุคแห่งการก่อร้างสร้างตัว  เผยไปภูมิภาคต่างๆ

3. มีการพัฒนาองค์กร

4. ยุดปัจจุบัน  เป็นยุคที่ก้าวไปสู่การเปลี่ยนแปลง  เป็นยุคที่ต้องรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ธุรกิจเข้ามาเสริมกระบวนการให้เจริญขึ้น

5. ยุคอนาคต เป็นยุค IT ต้องพัฒนาให้เป็นสถาบันการเงินที่ใหญ่ 

เครดิตยูเนี่ยนต้องเน้นเรื่องคุณธรรม การเสียสละ  ต้องรู้เท่าทัน ต้องรอบรู้

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  การทำ Workshop เหมือนเป็นการจุดประกาย ให้เป็นมูลค่าเพิ่ม ต้องใช้เวลาที่เราอยู่ด้วยกันให้เป็นประโยชน์สูงสุด

สิ่งที่น่ากลัว และประเทศไทยไม่เอาใจใส่คือ การศึกษาเรื่องครอบครัว Sociology กาศึกษาชีวิตครอบครัว ชุมชน แต่สังคมไทยไม่ค่อยให้ความสำคัญ  ต้องไม่สอนให้คนเก่งอย่างเดียว ต้องสอนให้เป็นคนดีด้วย

 

 

 

27 ตุลาคม 2555

การบรรยายเรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับผู้บริหารงานสหกรณ์

โดย ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร

  • สารสนเทศที่ดีต้องทำงานถูกต้องและรวดเร็ว มีความกะทัดรัด
  • ทิศทางสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนอาจจะต้องใช้มาตรฐานกลาง ใช้เลข 13 หลักเพื่อการเชื่อมโยงระหว่างสหกรณ์
  • ในอนาคต ควรใส่ QR Code ในโบรชัวร์ จะได้ไม่ต้องจดเว็บไซต์ สแกนแล้วเข้าเว็บไซต์ได้เลย
  • อนาคตสหกรณ์จะมีคนรุ่นใหม่มาเป็นสมาชิก ต้องใช้ระบบที่ใช้กับ Tablet ได้เพื่อให้สมาชิกเหล่านี้เข้าถึงข้อมูลได้
  • สหกรณ์ร้านค้ากำลังจะตายเพราะสู้เทสโกไม่ได้
  • โอกาสที่สหกรณ์จะให้สมาชิกมาพบอย่างเดิมคงยาก แต่ก็ต้องมีการบริการรวดเร็วและสะดวกด้วยไอที
  • สารสนเทศต้องตรงตามความต้องการ
  • สหกรณ์ต้องทราบต้นทุนเฉลี่ยทางการเงิน ต้องใช้สารสนเทศ
  • สหกรณ์ขนาดใหญ่มีการบริการกระแสเงินสดล่วงหน้า ซึ่งสหกรณ์ขนาดเล็กจะไม่มี
  • สารสนเทศต้องใช้ง่าย นี่เป็นทิศทางซอฟต์แวร์ในปัจจุบัน
  • ปัจจุบัน ใช้ลายน์ส่งข้อมูลจะได้เร็วขึ้น
  • สัญญากู้ทุกฉบับถ้ายังชำระไม่หมด ก็ยังถือเป็นเอกสาร Active เป็นหลักฐานการฟ้องได้
  • บางสหกรณ์ก็ให้สหกรณ์อื่นกู้ยืมเงินได้
  • อะไรที่ทำเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ก็ควรทำ เช่น นำแบบฟอร์มขึ้นเว็บ สมาชิกอยู่ไกลก็ได้เอกสาร
  • สหกรณ์ขนาดใหญ่ส่ง SMS ไปแจ้งสมาชิกเกี่ยวกับการขึ้นดอกเบี้ยแล้ว
  • ในอนาคต สหกรณ์เปิดสาขาโมบายอาจใช้สัญญาณมือถือ 3G
  • ระบบบริการสมาชิกต้องมีระบบหน้าจอสัมผัส
  • COOP Phone เป็นบริการข้อมูลสหกรณ์ทางโทรศัพท์ ตอบคำถามหลักๆโดยใช้คอมพิวเตอร์ บางครั้งก็ออก Fax on Demand ก็ได้
  • ในอนาคตสหกรณ์จะเริ่มมีสาขามากขึ้น ถ้าไม่มีสาขาจะเสียเปรียบ เพราะคนใกล้ที่ไหนก็ฝากที่นั่น
  • สหกรณ์ควรย้ายเงินฝากธนาคารมาเข้าสหกรณ์มากขึ้น โดยให้ดอกเบี้ยสูงกว่าและมีความสะดวกใกล้เคียงกับธนาคาร
  • สหกรณ์ควรมีธุรกรรมทางอินเตอร์เน็ตเฉพาะการให้ข้อมูล แต่ไม่ใช่โอนเงิน ต้องทำให้สมาชิกคุ้นเคยในระดับหนึ่ง
  • สหกรณ์อาจทำเว็บพาณิชย์อิเลคทรอนิกส์เพื่อขายสินค้าโอทอป สินค้าสมาชิกก็ได้
  • 5 อันดับเหตุผลการตัดสินใจซื้อสารสนเทศ
  • ใช้ง่าย
  • ประโยชน์มาก
  • รองรับกับงานในองค์กรได้
  • โปรแกรมมีการพัฒนาต่อเนื่อง
  • ราคาถูก
  • ปัญหาสหกรณ์คือ สารสนเทศขาดการเชื่อมโยง ในอนาคตชุมนุมกำลังทำระบบมาตรฐานกลางเชื่อมโยง
  • แนวโน้มการพัฒนาเป็นการลิ้งค์ร่วมกันหลายสหกรณ์
  • ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์ไอซีทีทำระบบมาตรฐานเอง ซอฟต์แวร์ชุดแรกจะออกมามิถุนายน 2556
  • สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนควรทำเอทีเอ็มออฟไลน์ ซึ่งทำง่ายกว่า ในอนาคตควรทำเอทีเอ็มออนไลน์เพราะยั่งยืนกว่า มี Side Effects น้อยกว่า
  • สหกรณ์ควรมีเว็บอินเตอร์เน็ตเผยแพร่ทั่วไปและอินทราเน็ตสำหรับสมาชิกดูข้อมูลวงใน
  • 5 ปัญหาต้นๆในการใช้งานโปรแกรม
  • โปรแกรมขาดความต่อเนื่องในการพัฒนา
  • โปรแกรมมีข้อผิดพลาดในการทำงาน
  • โปรแกรมขาดความยืดหยุ่นในการแก้ไข
  • โปรแกรมไม่มีการบริการหลังการขายที่ดี
  • โปรแกรมไม่มีการพัฒนาเพิ่มเติมให้เข้ากับข้อบังคับหรือระเบียบของสหกรณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
  • ในอนาคต สหกรณ์ควรใช้ Web Application มากขึ้น
  • งานวิจัยสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนของฟิลิปปินส์ พบว่า คนเข้าใจว่าสหกรณ์เป็นเรื่องของคนรุ่นเก่า
  • สหกรณ์ต้องตื่นตัวเข้าถึงคนรุ่นใหม่ ต้องทำโปรแกรม Add Icon เวลาคนใช้แท็บเล็ต
  • เทคโนโลยีนำการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมนุษย์ ดังนั้นสหกรณ์ต้องรู้จักปรับตัว
  • ประชุมทางไกลแบบเห็นหน้าโดยใช้แทงโก้หรือสไกป์ก็ได้ เป็นการคุยกันผ่านอินเตอร์เน็ต ผ่านแท็บเล็ตหรือสมาร์ทโฟนก็ได้
  • ยอดขายแท็บเล็ตกำลังเพิ่มขึ้นในขณะยอดขายโน้ตบุ๊คลดลง
  • ควรทำโฟลเดอร์ My Document ของสหกรณ์แยกระบบเฉพาะเป็นการบริหารจัดการแบบพอร์ตโฟลิโอ
  • เวลาทำโครงการสารสนเทศ ควรทำแผนพัฒนาที่ไม่ใช่ปีเดียว เพราะเป็นการพัฒนาต่อเนื่องและใช้งบมาก
  • สหกรณ์มีจุดเด่นคือวงสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสมาชิก แต่ควรปรับตัวเรื่องเทคโนโลยี ราคา เช่น ดอกเบี้ยที่สูงกว่า
  • AEC นำสหกรณ์การเงินเข้ามาด้วย ซึ่งถือเป็นคู่แข่งน่ากลัว เช่น มาเลเซียขยายสาขาสหกรณ์เหมือนธนาคารเลย
  • ต้องมีระบบความปลอดภัยเครือข่าย เช่น การสำรองไฟ
  • ในอนาคต ต้องมีมาตรฐานการตรวจสอบที่ดี ควรมี Admin ต่ำสุดคือ 3 อย่าให้คนเดียวทำทั้งหมดเป็นความเสี่ยงเพราะเปลี่ยนแปลงได้ทุกเรื่อง
  • ในอนาคต สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนต้องมีระบบ Firewall ป้องกันไวรัส
  • การนำเทคโนโลยีไปประยุกต์ต้องอยู่บนสภาพความเหมาะสมของแต่ละสหกรณ์ อาจจะรอชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนทำก่อน แล้วสหกรณ์ของท่านก็มาใช้ Web Application ของชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนได้

 

      การสร้างและพัฒนาภาวะผู้นำ

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

        26 ตุลาคม 2555

 

George S. Patton กล่าวว่า การเป็นผู้นำที่ดี คือ ปล่อยให้ทุกอย่างเกิดขึ้น ไม่ต้องไปสั่งการลูกน้อง

ศ.จีระ หงส์ลดารมภ์  “ผู้นำส่วนหนึ่งมาจากพรสวรรค์ แต่สิ่งสำคัญคือการเรียนรู้ และสามารถฝึกฝนได้

ผู้นำที่ดีต้องมองที่ภาพใหญ่

โลกาภิวัตน์และผลกระทบ

  1. Information Technology เทคโนโลยีสารสนเทศ และอื่น ๆ เช่น Nanotechnology , Biotechnology
  2. เรื่องการค้าเสรี , WTO , FTA, AEC 2015, ฯลฯ
  3. เรื่องการเงินเสรี  อัตราแลกเปลี่ยน
  4. บทบาทของจีน อินเดีย และละตินอเมริกา
  5. เรื่องอิทธิพลของประชาธิปไตย และ human right
  6. เรื่อง Global warming , ภัยธรรมชาติ                   
  7. เรื่องสงคราม และการก่อการร้าย
  8. เรื่องน้ำมันหมดโลก และพลังงานทดแทน
  9. เรื่องโรคระบาด เช่น ไข้หวัดนก เอดส์ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่

 

โลกและการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคต่าง ๆ ถึงปัจจุบัน

จากยุคที่ 1 ยุคเกษตรกรรม สู่ยุคอุตสาหกรรม สู่ยุค Information Technology ปัจจุบันเรากำลังก้าวสู่ยุคที่ 4 หรือ Fourth Wave ซึ่งในอนาคตเราจะต้องเน้น

  • sustainability+
  • wisdom+
  • creativity+
  • Innovation+
  • intellectual capital.

ผู้นำและผู้จัดการแตกต่างกันอย่างไร?

ผู้นำ

  • เน้นที่คน
  • Trust
  • ระยะยาว
  • What , Why
  • มองอนาคต ขอบฟ้า/ภาพลักษณ์
  • เน้นนวัตกรรม
  • Change

ผู้บริหาร

  • เน้นระบบ
  • ควบคุม
  • ระยะสั้น
  • When , How
  • กำไร/ขาดทุน ทุก 3 เดือน
  • จัดการให้สำเร็จ มีประสิทธิภาพ
  • Static

 

ชนิดของผู้นำ

- Trust / Authority

- Charisma

- Situational

- Quiet Leader

Trust คืออะไร? มีหลายคำจำกัดความ..แต่ในความเห็นของผมน่าจะแปลว่าคนในองค์กร/ชุมชน/สังคมเชื่อมั่น ศรัทธาและพึ่งพาในการกระทำในช่วงวิกฤติ และช่วงปกติที่จะนำองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศอย่างยั่งยืน และคนในองค์กร/ชุมชน/สังคมมีความสุข

Trust มี 3 ขั้นตอน

  •  สร้าง (Grow)
  •  ขยาย (Extend)
  •  ดึงกลับ ถ้าหายไป    (Restore)

 

Trust มีหลายประเภท

  1. Self Trust – ตัวเองต้องมีก่อน สัญญาจะทำอะไรกับตัวเองต้องสำเร็จตามสัญญา
  2. Relationship Trust – ความสัมพันธ์ระหว่างคนในองค์กร
  3. Organization Trust
  4. Social Trust

วิธีการได้มาซึ่ง Trust ระหว่างบุคคล (Relationship Trust)

พูดจริงทำจริง ชัดเจน ไม่คลุมเครือ

ยกย่องนับถือเพื่อนร่วมงาน (Respect)

ทำงานด้วยความโปร่งใส

มีปัญหาที่ไม่ดี แก้ให้ดี ถูกต้อง

เน้น Results มากกว่าทำโดยไม่รู้ว่าผลสำเร็จคืออะไร

ต้องปรับปรุงตัวเองตลอดเวลา

รับความจริงหรือรู้ศึกษาความจริง (Reality)

มีความชัดเจนต่อความคาดหวังของผู้ร่วมงาน และของตัวเอง

รับฟังอย่าสั่งการข้างเดียว

รักษาคำมั่นสัญญา (Commitment)

ในต่างประเทศ โดยเฉพาะตะวันตก มีหัวข้อวิจัยมากมายเกี่ยวกับผู้นำสำหรับตะวันออกยังมีน้อยอยู่จึงมักจะใช้ Role Model เป็นหลัก

คุณสมบัติ 20 ข้อของผู้นำของสหกรณ์ของต่างประเทศที่มีประสิทธิภาพ

            ตอนที่ดำเนินการประชุมกลุ่มย่อยเรื่อง อำนาจและภาวะผู้นำของผู้นำกลุ่มความร่วมมือช่วงวันหยุด ก็ได้กระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมประชุมกลับไปคิดถึงคำจำกัดความคุณสมบัติผู้นำที่ประสบความสำเร็จเพื่อช่วยสนับสนุนการทำงานของสมาชิกไม่ใช่วิพากษ์วิจารณ์

เมื่อมีผู้ฟังถามเกี่ยวกับคุณสมบัติผู้นำที่ประสบความสำเร็จ อันที่จริงพวกเขาก็ทราบกันอยู่แล้วถ้าเขาหยุดแล้วคิดถึงเรื่องนี้  และก็จะได้คำตอบที่ดีกว่าถ้าแต่ละกลุ่มรวบรวมความคิดเห็นมามากกว่าที่จะรอคำตอบจากผม

แม้ผมจะชอบคำตอบของผม แต่ผมก็ได้เปลี่ยนใจเกี่ยวกับการแบ่งปันความคิดของผม นี่คือ คุณสมบัติที่พึงปรารถนาของผู้นำของสหกรณ์ของต่างประเทศ

1. ความสามารถที่จะได้ยินสิ่งที่คนอื่นพูดอย่างชัดเจน ไม่ใช่แค่เข้าใจความคิด แต่ต้องเข้าใจน้ำเสียงและอารมณ์ด้วย

2. ความสามารถที่จะได้ยินคำวิพากษ์วิจารณ์อย่างถูกต้องโดยมีปฏิกิริยาโต้ตอบฝ่ายตรงข้ามหรือปกป้องตนเองน้อยที่สุด นี่เป็นเรื่องใหญ่ ผู้นำที่ไม่เก่งเรื่องนี้สอนกลุ่มของเขาให้ไม่พยายามที่จะทำนำไปสู่การขาดประสิทธิภาพความเป็นผู้นำ ถ้าคุณมีปัญหากับพฤติกรรมผู้นำ พวกเขาจะลงโทษคุณเมื่อคุณวิพากษ์วิจารณ์

3. ความสามารถที่จะเปิดเผยข้อมูลและตอบสนองความอยากรู้อยากเห็นเมื่อมีคนไม่เห็นด้วย นี่เป็นเรื่องความสามารถในการบริหารจัดการความเครียดเพื่อเผชิญกับความคิดเห็นที่แตกต่าง ไม่ใช่จะต้องให้ทุกคนตอบเหมือนกัน แต่ต้องให้ทุกคนออกความเห็นแล้วฉลองเมื่อทำสำเร็จ

4. ความสามารถในการรายงานตามความเป็นจริงโดยควบคุมอารมณ์ กุญแจสำคัญข้อหนึ่งของภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพคือการร่วมแบ่งปันและรับรู้ความรู้สึกผู้อื่นอย่างลึกซึ้งและจริงใจ

5. รู้จุดอ่อน และไม่แกล้งคนอื่นให้ทำสิ่งที่เขาไม่เก่ง รู้ว่าตนเองไม่รู้อะไร ไม่ใช่ปกปิด

6. ทำตนเป็นตัวอย่างในด้านการสนใจเรียนรู้ ผู้นำมักสนใจสอนสิ่งที่ตนรู้แก่คนอื่น แต่จะดีขึ้นถ้าสนใจที่จะเรียนรู้จากผู้อื่น

7. สร้างบรรยากาศแบ่งปันความรู้ให้ผู้อื่นแล้วให้โอกาสแสดงความสามารถ ผู้นำที่ดีต้องพัฒนาภาวะผู้นำแก่ผู้อื่น โดยลดบทบาทตนเองลง ให้โอกาสผู้อื่นในการทำงานและแสดงฝีมือมากขึ้น

8.  ความสามารถที่จะซาบซึ้งคุณูปการที่คนอื่นสร้างให้  ควรแบ่งปันความสำเร็จให้ผู้อื่นอย่างเต็มที่ แล้วสมาชิกกลุ่มจะมีความกระตือรือร้นที่จะมีบทบาทเป็นผู้นำ 

9. ควรปกป้องช่วงเวลาสำหรับการนำเสนอความคิดเห็นของผู้อื่น ต้องทำให้เขารู้สึกปลอดภัยและยินดีรับฟังความคิดเห็นของเขา

10. รักษาเวลาในการนำเสนอความคิดเห็นให้กระชับและตรงประเด็น

11. ทำงานได้ดีในสถานการณ์ที่วุ่นวาย

12. ทำงานได้ดีในสถานการณ์เมื่อมีความเสี่ยงสูง คิดได้ชัดเจนและทำสิ่งใหม่ได้มีประสิทธิภาพ

13. สามารถเป็นผู้ตามได้ เช่นเดียวกับผู้นำ ผู้นำแบบกลุ่มไม่ใช่ผู้นำตลอดเวลาเสมอ ต้องเป็นผู้ตามเมื่อผู้อื่นเป็นผู้นำ หรือผู้ตาม

14. มุ่งมั่นทำตามสัญญา

15. เต็มใจและยินดีแบ่งงานน่าเบื่อและหนักมาทำ ต้องดูแลความเรียบร้อยหลังงาน ไม่ใช่ขัดขาเมื่อคนอื่นกำลังทำงาน

16. หัวเราะง่าย แม้ดูเหมือนเป็นเรื่องเล็ก ผู้นำหน้าบึ้งก็ไม่สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นได้

17. ไม่ทำตนเป็นผู้ได้รับความทุกข์ทรมาน ผู้นำขอให้กลุ่มสนับสนุนการทำงานได้ แต่ต้องไม่ตกอยู่ใต้อิทธิพลกลุ่มให้ทำในสิ่งที่กลุ่มต้องการ

18.สามารถทำงานได้อย่างสง่างามต่อหน้าผู้คน และโต้ตอบได้แม้จะมีข้อมูลเพียงเล็กน้อย ผู้นำต้องมีความรู้มากกว่าคนอื่นๆในกลุ่ม

19. ก้าวข้ามความเป็นมนุษย์ ยอมรับความล้มเหลวโดยไม่พยายามใช้อิทธิพลผ่านการออกคำสั่ง

20. เก่งในการเชื่อมโยงความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ทำให้ทั้งสองฝ่ายรู้สึกว่าทราบว่าผู้นำรับทราบและเคารพความคิดเห็นพวกเขา รู้จักสร้างทางสว่างในการเชื่อมโยง

Workshop

กลุ่ม 1 กฏ 20 ข้อของกรณีศึกษาในต่างประเทศ เสนอ 5 ข้อ ที่ท่านเห็นด้วยและเสนอ 3 ข้อที่เหมาะสมของสภาพในประเทศไทยที่ไม่มีใน 20 ข้อนี้

กล้าตัดสินใจและพร้อมรับผิดชอบในสิ่งที่ตัวเองทำ โดยที่ไม่เกรงกลัวว่าผิดพลาด ถ้าผิดก็ต้องยอมรับผิด

หม่อมหลวงชาญโชติ ชมพูนุช ไม่ควรไป Focus เน้นผู้นำคนใดคนหนึ่ง  ความเด็ดขาดในการตัดสินใจ ผู้หญิงมักจะดีกว่าผู้ชาย 

กลุ่ม 2 บทบาทของผู้นำสตรี กับบุรุษต่างกันอย่างไร

ผู้หญิงมีการบริหารการเงินรอบคอบรับผิดชอบสูง

มีการรอบคอบในการตัดสินใจ

ตรงต่อเวลา

ประหยัด

รับผิดชอบเรื่องงานและครอบครัว

ข้อเสีย

ไม่กล้าคิดนอกกรอบ ข้ามศาสตร์ ทำตามระบบ

ไม่เน้นงานใหม่ๆ

ค่านิยมตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ยอมรับผู้ชายมากกว่าผู้หญิง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  ใช้ทฤษฎี 8k 5k มาวิเคราะห์ในเรื่องนี้  เรื่องที่ผู้หญิงต้องเพิ่มทักษะ คือ เรื่องอารมณ์

การสร้างเครือข่ายกับคนนอกวงการอาจจะน้อยไป ต้องมีการเสริมด้วยบทบาทของผู้ชายก็จะเป็นประโยชน์มากขึ้น

หม่อมหลวงชาญโชติ ชมพูนุช   ในอดีตมีค่านิยมว่าผู้หญิงต้องเลี้ยงลูกอยู่กับบ้าน แต่ปัจจุบันก็เปลี่ยนไป

กลุ่ม 3 ในวงการ เครดิตยูเนี่ยน เรามีผู้นำในอดีตกี่รุ่น และผู้นำในอนาคตต้องมีคุณสมบัติอย่างไร

ผู้นำในอดีตแบ่งเป็น 5 ยุค  47 ปีแล้ว

1. ยุดแห่งการก่อตั้ง  ให้ช่วยเหลือตัวเอง และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

2. ยุคแห่งการก่อร้างสร้างตัว  เผยไปภูมิภาคต่างๆ

3. มีการพัฒนาองค์กร

4. ยุดปัจจุบัน  เป็นยุคที่ก้าวไปสู่การเปลี่ยนแปลง  เป็นยุคที่ต้องรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ธุรกิจเข้ามาเสริมกระบวนการให้เจริญขึ้น

5. ยุคอนาคต เป็นยุค IT ต้องพัฒนาให้เป็นสถาบันการเงินที่ใหญ่ 

เครดิตยูเนี่ยนต้องเน้นเรื่องคุณธรรม การเสียสละ  ต้องรู้เท่าทัน ต้องรอบรู้

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  การทำ Workshop เหมือนเป็นการจุดประกาย ให้เป็นมูลค่าเพิ่ม ต้องใช้เวลาที่เราอยู่ด้วยกันให้เป็นประโยชน์สูงสุด

สิ่งที่น่ากลัว และประเทศไทยไม่เอาใจใส่คือ การศึกษาเรื่องครอบครัว Sociology กาศึกษาชีวิตครอบครัว ชุมชน แต่สังคมไทยไม่ค่อยให้ความสำคัญ  ต้องไม่สอนให้คนเก่งอย่างเดียว ต้องสอนให้เป็นคนดีด้วย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

27 ตุลาคม 2555

ผลกระทบและการเตรียมความพร้อมของสหกรณ์กับการเปิดเสรีทางการค้าในอาเซียน ปี 2558

โดย รศ.ดร. ไชยา  ยิ้มวิไล / อาจารย์ประพล  มิลินทจินดา

รศ.ดร. ไชยา  ยิ้มวิไล

  • เมื่อเศรษฐกิจยุโรปประสบปัญหา
  • สหรัฐอเมริกามีปัญหาทางเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ 5-6% คนตกงานมาก
  • จะเห็นได้ว่า ประเทศที่เราเคยค้าขายด้วยก็ประสบปัญหาเศรษฐกิจ
  • ในฐานะที่ท่านเป็นผู้นำสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนก็ต้องสนใจทุกเรื่อง
  • ประเทศไทยเป็นประเทศแรกที่ก่อตั้งประชาคมอาเซียน
  • เมื่อรวมกันเป็น AEC ทำให้อัตราภาษีนำเข้าเป็น 0% ทำให้เกิดการแข่งขันคุณภาพของสินค้า
  • 1 มกราคม 2558 CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนม่าร์และเวียดนาม) จะเข้ามาอาเซียน เวียดนามเป็นประเทศส่งออกข้าวอันดับ 1 ของโลกแล้ว
  • ไทยต้องหาตลาดใหม่สำหรับค้าขาย แอฟริกาก็เป็นตลาดใหม่แต่ยากจนอยู่ อเมริกาใต้กำลังเจริญเติบโต จีนตอนนี้ขายสินค้าแข่งกับไทย
  • สิงคโปร์ใช้นอมินีมาตั้งบริษัทในไทย คนมีคุณภาพ และภาษาอังกฤษดี
  • อินโดนีเซียมีประชากรมากที่สุดในอาเซียนคือ 240 ล้านคน
  • อย่ามองข้ามชาวพม่า เขากลับไปก่อสร้างเขตปกครองพิเศษทวาย
  • ควรไปซื้อที่ดินที่ราชบุรี และกาญจนบุรีเพื่อเชื่อมโยงการลงทุนกับประเทศเมียนม่าร์
  • ต้องมองไปข้างหน้า
  • จีนทุ่มไม่ต่ำกว่า 6-7 หมื่นล้านดอลล่าร์สร้างระบบการขนส่ง
  • จีนนำคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้มาเป็นผู้นำ
  • ประชากรอาเซียนมี 580 ล้านคน แม้จะเป็นสัดส่วนนิดเดียวของโลก แต่เวลาประชุมสุดยอดอาเซียนก็จะมีประเทศมาเกี่ยวด้วยคือ เอเชียเหนือ มีจีน ญี่ปุ่น เกาหลี เอเชียใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ทำให้เกี่ยวข้องกับประชากรครึ่งโลก
  • ค่าแรงขั้นต่ำ จีน 150 บาท พม่า ลาว กัมพูชาไม่ถึง 100 บาท
  • ถ้าจะจ้างค่าแรง 300 บาท ต้องเป็นแรงงานฝีมือขั้นสูง
  • ประเทศอาเซียน 10 ประเทศน่าสนใจ
  • เวียดนามเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวที่สุดใน CLMV เมื่อเปิด AEC เพราะแข็งแกร่งสุด คนเวียดนามขยันมาก
  • เมื่อเขตปกครองพิเศษทวายเสร็จแล้ว จีนก็จะสร้างรถไฟความเร็วสูงไปถึง ประกอบกับ East-West Economic Corridor จากดานังไปออกพม่าและอินเดีย ทำให้สินค้าไม่ต้องผ่านสิงคโปร์ พม่าจึงเป็นอีกประเทศที่น่ากลัว
  • ลาวก็เป็นอีกประเทศที่น่ากลัว ตั้งตนเป็น Battery of Asia สร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้า
  • กัมพูชาจะเป็นแหล่งกาสิโนที่สำคัญในเอเชียรองลงมาจากมาเก๊า
  • สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนต้องสร้างตลาดใหม่ พัฒนาระบบขนส่ง พัฒนานักเรียนให้พูดภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียนได้โดยเฉพาะภาษาบาฮาซา ที่ใช้ในอินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไน และสิงคโปร์บางส่วน
  • ประเทศไทยโดดเด่นศิลปวัฒนธรรมและการค้า (ภาคท่องเที่ยว)
  • North-South Economic Corridor และ East-West Economic Corridor ผ่านกรุงเทพ ควรสร้างกาสิโนที่เกาะช้าง
  • คนไทยต้องฝึกทักษะบริการและการผลิตให้ดีขึ้น
  • ควรเปิดธุรกิจหัตถเวช (นวด)+ทำอาหาร
  • หลังเปิด AEC อาเซียนจะใช้ CLMV เป็นฐานส่งออกเพื่อใช้สิทธิ์ฐานะ Least Developing Countries
  • วันนี้ตอนเปลี่ยนท่าทีการลงทุนมาเป็นประเทศ Brazil, Russia, India, China, Korea, South Africa (BRICKS) ถือเป็นประเทศเศรษฐีใหม่
  • ประเทศไทยได้เปรียบ ใครมาอยู่ประเทศไทยแล้วหลงรักประเทศไทยทุกคน
  • สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนต้องเป็นตัวกลางเผยแพร่ความรู้อาเซียนแก่ชุมชน

อาจารย์ประพล  มิลินทจินดา

  • จากจุดแข็งในอดีตของประเทศไทยที่ไม่เคยเป็นเมืองขึ้นชาติอื่นและไม่มีวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามาตอนนี้กลายเป็นจุดอ่อนในปัจจุบัน
  • คนลาวพื้นฐานภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสดีกว่าไทย และมีชาวต่างชาติเข้ามามาก
  • ประเทศไทยมีจุดอ่อนด้านภาษาอังกฤษเมื่อเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
  • ไทยส่งออก กุ้ง อาหารกระป๋อง และสับปะรดมากที่สุดในโลก
  • ไทยเก่งโลจิสติกส์ที่สุด ดูจากจำนวนพอร์ตที่เราบริหารอยู่
  • ในฐานะที่เราเป็นสหกรณ์และผู้นำชุมชน สิ่งที่ควรจะทำและเตรียมตัวคืออะไร แม้ธุรกิจเป็นบริการ ก็ต้องกลับมาพัฒนาองค์กร
  • ปรัชญาสหกรณ์ ข้อบังคับ กำลังเงินสหกรณ์เป็นการกำหนดการรับมือกับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
  • ผู้บริหารระดับสูงของชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเห็นความสำคัญของเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจึงให้มีการบรรยายเรื่องนี้
  • ถ้านโยบายประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาในอนาคตมุ่งมาทางเอเชีย ประเทศไทยก็ได้ประโยชน์แน่นอน
  • ต้องสร้างโอกาสให้สหกรณ์ จากองค์กร และผู้นำองค์กรสหกรณ์ทุกคนต้องรู้เรื่องอาเซียน อาจมีการทดสอบความรู้เกี่ยวกับอาเซียน
  • แต่ละภาคมีปัญหาจากอาเซียนที่ไม่เหมือนกัน แก้ปัญหาให้ถูกจุด ต้องเข้าใจว่าสมาชิกต้องการอะไร
  • ผู้นำหมายถึงผู้นำสหกรณ์ต้องกลับไปทำการบ้าน พัฒนาภาษาเบื้องต้นสื่อสารกับสมาชิกอาเซียน
  • คนไทยมีนวัตกรรม เข้าไปทำงานบริษัท ขาดแรงงานต้องนำเข้า
  • อีก 2 ปีชาวพม่ากลับบ้านหมด เพราะมีประสบการณ์แล้วก็กลับไปทำงานที่เมียนม่าร์ที่กำลังโต
  • ถ้าสหกรณ์มีสมาชิกในภาคบริการ และภาครัฐดูแลไม่ทัน สหกรณ์เข้าไปดูแลพัฒนาภาษาไม่ให้ตกงาน
  • นโยบายสหกรณ์ต้องเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อไปแย่งชิงผลประโยชน์จากอาเซียนได้
  • ผู้นำสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนต้องรู้ 10 อย่างเพื่อสู้กับอาเซียนได้
  • 8 จังหวัดภาคเหนือ หลักคือ ธุรกิจบริการ ท่องเที่ยว ต้องเน้นภาษา ทักษะการทำงาน
  • สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนจะมีสมาชิกเป็นคนลาว พม่า กัมพูชาได้ไหม เพราะสหกรณ์ของเขาแทบจะไม่มีแต่เปิด AEC แล้ว ก็ต้องใช้เงิน มีเงินออม ประเทศไทยน่าจะทำได้
  • สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนต้องสร้างมูลค่าเพิ่มจากสิ่งที่มีอยู่ ทำให้ค่าใช้จ่ายสมาชิกลดลง
  • สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนต้องเน้นความพอเพียงคือ อด ออมและอวด (มีการสื่อสารว่าการออมและอดดีอย่างไร)
  • สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนต้องทำให้บุคลากรเห็นปัญหาและสร้างภูมิคุ้มกันให้สมาชิกด้วยการลดค่าใช้จ่าย เสริมความรู้ (แต่ละภาค)
  • สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนควรวางนโยบายและธุรกิจที่มีประโยชน์ต่ออาเซียน
  • ประเทศไทยมีความพร้อมที่สุดในด้านโลจิสติกส์ เศรษฐกิจ การเมือง
  • ในทศวรรษข้างหน้า ผู้นำสหกรณ์จะทำให้ประเทศชาติเข้มแข็งได้
  • ในยุควิกฤติต้มยำกุ้ง ประเทศไทยเงินคงคลังไม่เหลือเลย คลังจึงไปยืมเงินกบข. กู้เงินภายในประเทศ ประเทศไทยมีกำลังออมภายในประเทศสูง มีความเชื่อถือและวินัยทางการเงิน แต่ไม่มีการนำสหกรณ์มาขายเพราะคิดไม่เป็น
  • สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนควรนำร่องก่อน เพราะมีความหลากหลายของสมาชิก มีทุกเพศ วัยและอาชีพอยู่ในสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน เป็นการย่อโลกไว้ในชุมชน ดังนั้นการบริหารการเงินต้องทำแบบระดับประเทศ
  • สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนสร้างความเข้มแข็งด้านการเงิน การออมและสร้างคุณภาพชีวิต

คำถาม

10 ข้อ ที่ผู้นำสหกรณ์ควรเตรียมพร้อมกับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนคืออะไร

ตอบ

ในระดับองค์กร

1.เตรียมพร้อมรองรับความหลากหลาย

2.เตรียมความรู้ด้านภาษาและทักษะ

3.เตรียมมองหาและรักษาคนเก่ง

4.เปลี่ยนแปลงการทำงาน

5.ให้ความสำคัญกับ Employability

ในระดับผู้นำ

1.เป็นแบบอย่างในการเรียนรู้เป็นคนแรก

2.สนับสนุนงบประมาณและการพัฒนาคน

3.ปรับสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมในการทำงาน

ในระดับบุคลากร

1.เปิดกว้างและรับรู้สภาวการณ์ใหม่ของระบบเศรษฐกิจ

2.ปรับตัวใกล้ชิดกับคนในองค์กรมากขึ้น

3.มีแนวทางใหม่ Recruitment & Assessment

 

 

 

ทีมงานของผมได้เดินทางร่วมกับคณะของผู้นำเครดิตยูเนี่ยนขั้นสูงรุ่นที่ 2 ไปดูงาน ที่เครดิตยูเนี่ยน (NACUFOK) สำนักงานใหญ่ในเกาหลี นำบรรยากาศมาฝากครับ

ศึกษาดูงานที่ ตลาดกลางการเกษตร HANARO เพื่อการเกษตรกร เจินจู ประเทศเกาหลี

เดินทางไปดูงานที่เขตเกษตรกรรมจังอึบ เจลาบุคโด (Jeollabuk-de) ที่ สหกรณ์เครื่องมือจักรกลการเกษตร จึงอึบ เจลาบุคโด ทางตอนใต้ของประเทศเกาหลี

 

การนำเสนอโครงการพัฒนาสหกรณ์

ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร

ผศ.ดร.รังสรรค์  ปิติปัญญา

22 พฤศจิกายน 2555

โครงการที่  1  โครงการส่งเสริมสมาชิกดีเด่น MUCA

โดย คุณรัตนะ ทับทิมงาม

ที่มาของโครงการ

-          เกิดจากสหกรณ์มีหนี้ค้างจำนวนมาก

-          ประสบปัญหาการขาดทุน

-          เกิดจากการวิเคราะห์ประเภทของสมาชิก

-          เกิดจากคู่แข่งสหกรณ์

-          เพื่อการบริการสมาชิกอย่างมีประสิทธิภาพ  

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1.       เพื่อให้สมาชิกทำธุรกรรมสหกรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.       เพื่อสร้างแรงจูงใจให้แก่สมาชิก

3.       เพื่อตอบแทนในความเป็นเจ้าของที่ดีของสหกรณ์

4.       สร้างแบบอย่างที่ดีให้เกิดขึ้นในองค์กร

5.       เพื่อการบริการสมาชิกอย่างมีประสิทธิภาพ

กิจกรรมของโครงการ

-          กำหนดแนวทาง เงื่อนไขเพื่อจัดชั้นสมาชิก

-          ประกาศหลักเกณฑ์ พร้อมเงื่อนไขต่างๆ

-          กำหนดแนวทางเพิ่มสิทธิประโยชน์

-          คัดเลือกสมาชิกดีเด่นประจำปี

-          สำรวจความพึงพอใจของโครงการ

ตัวชี้วัดผลสำเร็จ

-          จำนวนระดับชั้นสมาชิกที่เพิ่มขึ้น

-          สมาชิกเข้าใจเกี่ยวกับผลประโยชน์

ผศ.ดร.รังสรรค์  ปิติปัญญา โครงการนี้ทำเพื่ออะไร

คุณรัตนะ  โครงการเริ่มขึ้นทำให้การขาดทุนลดลง ทำให้เกิดกำไร ตัวชี้วัดระดับความพึงพอใจของสมาชิกเพิ่มขึ้น

ผศ.ดร.รังสรรค์  ปิติปัญญา ผมเห็นว่าโครงการนี้ไม่ควรเสนอ เพราะเป็นโครงการเก่า การขาดทุนต่อเนื่อง ในวัตถุประสงค์ควรมีเรื่อง การลดการขาดทุน

การประกาศเกียรติคุณจะทำให้คนทำตาม ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี

ส่วนโครงที่อยากให้เพิ่มเติมคือ การวัดผล การประเมินผล ต้องสรุปให้ชัดเจนว่า ต้องประเมินในส่วนที่ทำให้ได้กำไรอย่างชัดเจน

โครงการนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ ที่ทำให้เครดิตยูเนี่ยนก้าวกระโดดขึ้นได้

ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร:  รูปแบบการเขียนโครงการยังเป็นรูปแบบเดิม ซึ่งวัตถุประสงค์สามารถเขียนได้ 2 แนว ถ้าเขียนเชิงบวก ถ้าชั้นคุณภาพดีขึ้น จะมีผลต่ออัตราดอกเบี้ย ลดการขาดทุนของสหกรณ์ ลดสมาชิกที่มีคุณภาพที่ไม่ดีลง

วัตถุประสงค์คือ ต้องรณรงค์เพื่อการปรับคุณภาพชีวิต  ต้องนำเรื่องเก่ามาปรับให้เป็นเรื่องใหม่ เรื่องนี้ยังขาดรายละเอียดอยู่มาก สมาชิกปัจจุบัน

โครงการที่ 2 โครงการ จัดตั้งมหาวิทยาลัยเครดิตยูเนี่ยนไทย

โดย ดต.พิชัย ขวัญทอง และเกียงเฮง แซ่ตั้ง

หลักการและเหตุผล  สืบเนื่องจากสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมีอายุมายาวนานกว่า 40 ปี การศึกษาของเครดิตยูเนี่ยนยังด้อยอยู่ เกิดจากการขาดการพัฒนาบุคลากร การศึกษาเป็นการศึกษาเพื่อเรียนรู้เรื่องสหกรณ์เท่านั้น แต่ยังไม่ครอบคลุมเรื่องการศึกษา ทำให้สมาชิกไม่ได้เรียนรู้ได้อย่างเท่าที่ควร

               วัตถุประสงค์

1.       เพื่อส่งเสริมด้านการศึกษา ของสมาชิกและประชาชนทั่วไป

2.       เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณค่า

3.       ส่งเสริมการพัฒนาอาชีพ

หลักสูตร

1.       เศรษฐศาสตร์สหกรณ์

2.       การพัฒนาสังคม

3.       บริหารธุรกิจ การท่องเที่ยว

4.       เศรษฐกิจชุมชน ชุมชนศึกษา

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.       สมาชิกมีแหล่งเรียนรู้

2.       มีสถาบันการศึกษาเป็นของตนเอง

3.       สามารถเข้ารับราชการได้เมื่อจบการศึกษา

4.       สามารถสร้างองค์กรเครือข่าย การพัฒนาเศรษฐกิจ ชุมชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร:  รายละเอียดยังไม่ชัดเจน เป็นขั้นตอนของความฝัน  ซึ่งขึ้นอยู่กับคณะทำงานว่าจะทำได้จริงหรือไม่ ซึ่งมีทั้งความเป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้

ถ้าเราทำเป็นโครงการ ต้องมีรายละเอียดมากกว่านี้ และต้องปรับให้ชัดเจนขึ้น

ผศ.ดร.รังสรรค์  ปิติปัญญา:  ชอบโครงการนี้ที่มีจินตนาการ ซึ่งยังไม่เกิดขึ้นจริง แต่หากเกิดขึ้นจริงก็เป็นคนที่มีความสร้างสรรค์  นึกถึงมหาวิทยาลัยที่ประเทศสเปนมหาวิทยาลัยหนึ่ง ที่เกิดจากสหกรณ์ทั้งหมด ซึ่งน่าสนใจมาก

น่าจะเรียกโครงการนี้ว่าเป็นมหาวิทยาลัยของกระบวนการ มากกว่า

มหาวิทยาลัยมี 2 รูปแบบ ทางกายภาพชัดเจน เช่น สถาบันปัญญาภิวัตน์ และมีสาระชัดเจน คือ มหาวิทยาลัยชาวบ้าน 

จากข้อมูลที่มีอยู่ เป็นมหาวิทยาลัยกายภาพค่อนข้างยาก

โครงการที่ 3 โครงการพัฒนาสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนครูฝางพัฒนา  จำกัด ปี2556

โดย คุณประสาน ท่าซ้าย

ความสำคัญของโครงการ

ประสิทธิภาพของงานบริการสวัสดิการ

มุ่งให้สมาชิกเกิดความเชื่อมั่น และไว้วางใจ

วัตถุประสงค์

1.       เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ให้เหมาะสมกับงานธุรกรรมที่เพิ่มขึ้น

2.        เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในระบบการปฏิบัติงานของสหกรณ์

3.       เพื่อลดค่าใช้จ่าย และอำนวยความสะดวกในการจัดงาน

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.       โครงสร้างการบริหารจัดการสหกรณ์ครูฝางพัฒนา จำกัด 1 ชุด

2.       บริการจัดท่องเที่ยว ทัวร์ จำนวน 10 รายการ

3.       บริการเค้าท์เตอร์เซอร์วิส 5-10 รายการ

4.       ฝึกอบรมทักษะภาษาอังกฤษ และไทยใหญ่ ภาษาอาเซียน

5.       จัดงาน 25 ปี 1 ครั้ง

6.       มีศูนย์การเรียนรู้

ผศ.ดร.รังสรรค์  ปิติปัญญา: โครงการนี้น่าจะใช้เวลามากกว่า 1 ปี

ลักษณะของวัตถุประสงค์  กับวิธีการดำเนินงาน และเป้าหมาย ยังไม่แน่ใจว่าสอดรับกันหรือไม่

ปรับปรุงระบบการบริหาร ให้รองรับกับแผนแม่บทซึ่งเป็นเรื่องใหญ่มาก ใช้เวลาพอสมควร

การปรับปรุงและขยายธุรกิจ คือ ธุรกิจน้ำมัน เชื่อว่าครูฝางมีประสบการณ์ แต่ต้องทำด้วยความระมัดระวัง เพราะคนใช้น้ำมันทางเลือกเพิ่มขึ้น

พลังงานชีวมวล เป็นเรื่องน่าสนใจขอแนะนำ

ส่วนเรื่องการท่องเที่ยวสามารถทำได้ และเร็ว ไม่ต้องลงทุนมาก โดยทำเป็น Eco tour พักแบบโฮมสเตย์

อย่านำแนวความคิดแบบสหกรณ์ไปบริหารธุรกิจเพราะมักจะช้า

การสร้างธุรกิจเค้าท์เตอร์เซอร์วิส ต้องปรับปรุงระบบให้เป็นเอกชน เพราะเป็นเรื่องที่ดี ควรแยกเป็นส่วน ออกเป็นการปรับปรุงการบริหาร การปรับปรุงธุรกิจ ปรับปรุงคุณภาพของคน ในการส่งเสริมทักษะอาชีพ คอมพิวเตอร์ ภาษาอังกฤษ และเน้นความรู้เรื่องเครดิตยูเนี่ยน

ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร:  ในแง่ของโครงการควรมองเป็นจุดย่อยของงาน การเขียนแบบนี้เหมือนเป็นแผนงานของปี 2556 ทั้งหมด มีเป้าหมาย 3 เรื่อง คือ ปรับโครงสร้างงาน แต่เหมือนเป็นการเพิ่มรายละเอียดในโครงสร้างบริหารเดิมมากกว่า ไม่ถึงกับเป็นการปรับโครงสร้างงาน

ระบบประกันคุณภาพ ต้องสร้างกลไกประกันคุณภาพก่อน

เรื่องการจัดสวัสดิการบริการน้ำมัน  พบว่าวัตถุประสงค์ไม่สอดคล้องกับเป้าหมายที่จะได้รับ เพราะอาจจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากว่า

การปรับโครสร้างเรื่องการพัฒนาภาษา อย่างน้อย 3 ครั้ง  แต่ในโครงการรวมภาษาไทยใหญ่ ภาษาอาเซียน ซึ่งอาจะต้องใช้ระยะเวลากกว่านี้

โครงการนี้ควรปรับให้เห็นชัดๆว่า โครงการย่อยคืออะไร ดีกว่าเขียนในภาพรวมใหญ่ เพราะประเมินยาก  

 

 

22 พฤศจิกายน 2555 (ต่อ)
การนำเสนอโครงการ
 
โครงการที่ 4
โครงการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมขบวนการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคพื้นอินโดจีน
โดย นายสมเดช เจริญชัย
โครงการนี้เป็นโครงการต่อเนื่อง
วัตถุประสงค์
เพื่อรองรับปริมาณงานฝึกอบรม อบรมให้สมาชิกภายในและต่างประเทศ
เพื่อเป็นศูนย์กลางการศึกษาพัฒนาและเวทีกลางในการพูดคุยและเปลี่ยน
เป็นศูนย์ทดลองวิจัย ค้นคว้าให้เหมาะกับชุมชน 
เพื่อเสริมสร้างรายได้ให้แก่ขบวนการ เช่น ค่าบริการฝึกอบรม หอพัก ห้องประชุม
วิธีการดำเนินการ
สร้างหอพัก 6 ชั้น ตอนนี้สร้างหอพักแล้ว 6 ชั้น
ระดมทุนก่อสร้าง 
เมื่อสร้างเสร็จแล้ว รองรับงานฝึกอบรมได้มากและมีหลักสูตรการฝึกอบรมเอง
มีวิทยากรบรรยายภาษาประเทศเพื่อนบ้าน
ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร
น่าจะมีรายละเอียดที่เป็นตัวเลขทางการเงินมากกว่านี้ ต้องพูดต้นทุนทางการเงิน อัตราดอกเบี้ยเท่าไร จะได้ทราบค่าใช้จ่ายที่บวกมากับโครงการ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ถ้าจุดค้มทุน 30 ปีแสดงว่ามีที่มารายได้น้อย 
ถ้าคาดคะเนรับลูกค้าอินโดจีน ต้องมีการคาดคะเนหลักสูตรซึ่งเป็นที่มาของรายได้
ศูนย์นี้น่าจะเป็นประโยชน์
ถ้าบริหารดี ในอนาคต ศูนย์นี้จะได้เปรียบ
ผศ.ดร.รังสรรค์ ปิติปัญญา
ในเรื่องการวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย อาคารที่สร้างรวมค่าเฟอร์นิเจอร์ไหม
การต่อเติมห้องประชุมต้องรวมค่าเครื่องมือด้วย
ในเรื่องการให้ความรู้ บางทีทำกำไรไม่ได้
อาจเปิดให้คนที่ไม่ใช่สมาชิกมาใช้บริการด้วยก็ได้ จะได้มีรายได้มากขึ้น
 
โครงการที่ 5
สัมมนาคณะกรรมการชสค.
โดย นายนที ซื่อผาสุข
วิธีการดำเนินการ
ตั้งกรรมการ
หากิจกรรมให้เจ้าหน้าที่และกรรมการทำร่วมกัน จัดปีละ 2 ครั้ง ครั้งแรก เพื่อรับรู้ปัญหา ครั้งที่สองเป็นการประเมินผล 
ประโยชน์ที่จะได้รับ
ความสัมพันธ์ที่ดี
ความเข้าใจกัน
องค์กรเดินหน้าได้อย่างมั่นคง
ผศ.ดร.รังสรรค์ ปิติปัญญา
เรื่องนี้สำคัญ แต่ไม่น่านำเสนอในเวทีผู้นำ โครงการนี้ต้องเกิดขึ้นอยู่แล้ว อาจใช้งบมากกว่านี้
ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร
อาจจะต้องปรับปรุงรูปแบบ
ในการรับทราบปัญหาในองค์กรของเรา ไม่ต้องใช้เงินมาก การทำงบประมาณยังไม่ชัดเจน
อยากให้มีความชัดเจนในการจัดหาปัญหา มีคณะทำงานย่อยหารือปัญหาไหม ถ้าแก้ปัญหาระดับย่อยไม่ได้ ก็ต้องเสนอขึ้นระดับใหญ่
 
โครงการที่ 6 
โครงการชุมชนเครดิตยูเนี่ยนสามวาตะวันออก
โดย นายภูมิรพี คำหอม
เป็นโครงการที่ยังไม่เคยทำมาก่อน
มีคนจองพร้อมลงหุ้นแล้ว
ใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปี
เป็นโครงการบ้านเดี่ยว 3 Phase มีสิ่งอำนวยความสะดวก มีสวนสาธารณะ ผ่อน 15 ปี แบ่งราคาที่ดินเป็น Phase ราคาไม่เท่ากัน เพราะสร้างเสร็จคนละปีต้องปรับตัวค่าก่อสร้าง กำไรอยู่ที่ Phase 2 และ 3 แล้วมีการคืนกำไรให้สมาชิก
ตอนนี้ ยังไม่ได้ทำ Phase 4
ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร
มีข้อมูลตัวเลขดี
ตามกฎหมายอะไรที่เกี่ยวกับบ้านและที่ดิน ต้องขออนุญาตสร้าง ควรดูกฎหมายก่อนปฏิบัติ
ต้องคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งเป็นต้นทุนแฝง
ต้องเผื่องบดูแลโครงการด้วย
ผศ.ดร.รังสรรค์ ปิติปัญญา
น่าจะไม่มีปัญหาในการจัดการ ดูเหมือนว่าเป็นอาชีพของสหกรณ์นี้
 
โครงการที่ 7
โครงการตลาดนัดสหกรณ์เพื่อสมาชิก
โดย นายคำไพร แก้วพรม
ซื้อที่ดินเพื่อให้สมาชิกมาค้าขาย
ตอนนี้มัดจำที่ดินแล้ว 2 แสนบาท เริ่มโครงการ 3 ม.ค. 56 เสร็จ 31 ม.ค. 56 เปิด 1 ก.พ. 56
ใช้งบทั้งโครงการ 3 แสนบาท มี CCTV ด้วยรอบตลาด ด้านล่างจะเป็นพื้นที่ตลาด
ตอนนี้รออนุมัติเงินกู้จากประธานชสค.
ประโยชน์
สมาชิกมีรายได้และสวัสดิการ
ผศ.ดร.รังสรรค์ ปิติปัญญา
โครงการนี้ดี น่าจะเป็นประโยชน์ระยะยาว ที่ดินราคาไม่ค่อยแพง
เรื่องทำเลสำคัญ ต้องระบุให้ชัด ถ้าทำเลดี ตลาดติด จะไม่มีปัญหาการเงิน รถต้องมาถึง มีลูกค้า แล้วคนขายจะเข้ามาเอง
ถ้าทำเลไม่ดี ต้องมองแนวทางในการดึงคนเข้ามาตลาด
ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร
ตลาดท่านอยู่กลาง 4 ชุมชน น่าจะมีศักยภาพ และควรทำให้เป็นศูนย์กลาง
เห็นด้วยเรื่องการให้ความสำคัญเรื่องทำเล
ความเป็นไปได้ของโครงการอาจจะต้องใช้งบมากขึ้น
อยากให้ปรับรูปแบบโครงการ
 
โครงการที่ 8
โครงการปรับปรุงนาข้าวสู่เกษตรแผนใหม่
โดย นายสุนทร ภูศรีฐานและนายธนโชติ สาขา
วัตถุประสงค์
เพื่อปรับปรุงนาข้าวสู่เกษตรแผนใหม่
เพื่อเพิ่มผลผลิต
เพื่อลดเวลาและต้นทุน
เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานโดยใช้เทคโนโลยี
วิธีการดำเนินการ
คัดเลือกสมาชิก 
ให้สินเชื่อปรับปรุงที่นา 3-5 ไร่
จัดซื้อเครื่องจักรกล รถไถนา เครื่องปักดำ
ประสานภาครัฐและเอกชน
ฝึกอบรมการเกษตรแผนใหม่
ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร
รูปแบบดี
ที่มารายได้มาจากการให้เช่าเครื่องจักร แต่ดูจากจำนวนสมาชิก โครงการอาจจะเลี้ยงตัวเองไม่รอด
รายละเอียดการปรับปรุงพื้นที่ก็เพิ่มได้
อาจจะเพิ่มหรือลดต้นทุนก็ได้ เครื่องจักรลดค่าแรง แต่เพิ่มค่าซ่อมบำรุง
ผศ.ดร.รังสรรค์ ปิติปัญญา
เกษตรแผนใหม่โครงการนี้ใช้ปุ๋ยและเครื่องจักรสมัยใหม่
ที่เกาหลี มีการยืมไป จ่ายเงินแล้วนำไปใช้ แต่ที่เกาหลีมีการลงทุนจากภาครัฐ 50% 
โครงการนี้ก็เหมือนของเกาหลี แต่อาจมีปัญหาบริหารจัดการ เพราะคนไทยดูแลของส่วนรวมไม่ค่อยดี อาจเปลี่ยนเป็นให้บริการรับจ้างจะดีกว่า โดยมีคนไปให้บริการ
โครงการนี้ต้องมีเงินหมุนอีกก้อน สำหรับรับซื้อข้าว ถือเป็นธุรกิจมีความเสี่ยงมากพอสมควร
เขียนโครงการค่อนข้างดี
 
โครงการที่ 9
โครงการพัฒนาองค์ความรู้แก่ผู้นำ
โดย นายนุกูล เรียบร้อย
วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาความรู้
เพื่อเสริมสร้างสัมพันธภาพ
เพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิดพัฒนาสหกรณ์
วิธีการดำเนินการ
เรียนแบบผู้ใหญ่ แลกเปลี่ยนซักถาม
ผลที่จะได้รับ
ผู้นำความสามารถเพิ่มขึ้น
สมาชิกเข้าใจและมีส่วนร่วม
ทำงานเป็นทีมและมีวิสัยทัศน์กว้างไกล
ผศ.ดร.รังสรรค์ ปิติปัญญา
การฝึกอบรมสำคัญ น่าทำ 
โครงการแบบนี้ควรมีในทุกสหกรณ์ ทำต่อเนื่องทุกปี
ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร
เกือบทุกสหกรณ์น่าจะมีแบบนี้
จะทำอย่างไรให้แตกต่างกันไปในแต่ละปี อาจจะมองหลักสูตรที่แตกต่างกันออกไป
 
โครงการที่ 10
โครงการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการดำเนินงานของสหกรณ์
โดย น.ส.ภัทรมน สุธรรม
วัตถุประสงค์
พัฒนาระบบเข้าสู่อิเลคทรอนิกส์
มีข้อมูลสะดวก รวดเร็ว
พัฒนาบุคลากรให้สามารถใช้เครื่องมือ
วิธีการดำเนินการ
สำรวจระบบข้อมูล
ทำเว็บเชื่อมโยงระหว่างสหกรณ์กับองค์กรอื่นๆ
ฝึกอบรมให้คุ้นกับระบบใหม่
ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร
ไอทีเป็นเรื่องใหญ่
ตอนคัดเลือกระบบ ต้องมีงบมาเกี่ยวข้อง ต้องลงรายละเอียดเพิ่มเติม
ผศ.ดร.รังสรรค์ ปิติปัญญา
เรื่องนี้น่าจะอยู่ในแผนงานประจำปีอยู่แล้ว
ต้องดูภาพรวม การพัฒนาไอที ต่างคนต่างพัฒนา ควรหารือกันว่าภาพรวมไอทีขบวนการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนควรเป็นอย่างไร 
ชสค.ควรพัฒนา Software กลางแล้วให้สหกรณ์ใช้
โครงการที่ 11
โครงการเสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กรและการประชาสัมพันธ์
โดย นายเล็ก มโนวิเชียร
วัตถุประสงค์
เพื่อให้บุคคลยอมรับและเห็นด้วยอันเป็นผลที่จะทำให้องค์กรเป็นที่เชื่อถือ
เพื่อปรับปรุงองค์กรในเรื่องการจัดการทั้งหมด
เพื่อสร้างองค์กรให้มีตำแหน่งที่ดีขึ้น
เพื่อสร้างแรงดึงดูดใจเพิ่มสมาชิกที่มีคุณภาพ ในขณะเดียวกับที่ให้ความร่วมมือกับชุมชน
วิธีการดำเนินการ
ค้นหาจุดเด่นและจุดอ่อนของภาพลักษณ์
วางแผนกำหนดขอบเขตภาพลักษณ์
คิดหัวข้อเพื่อช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่เข้าถึงประชาชนได้อย่างกว้างขวาง
ผศ.ดร.รังสรรค์ ปิติปัญญา
เรื่องนี้ลึกลับ เราพูดกันเรื่อย จับต้องได้มากแต่ไหนแต่จำเป็นต้องทำ
ควรเพิ่มการกำหนดเอกลักษณ์ด้วย
ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร
อาจทำรายละเอียดใหม่
เรากำลังสร้างแบรนด์ชสค.บางส่วน
อาจใช้สื่อราคาถูกและเข้าถึงชุมชนง่ายคือ เสียงตามสาย วิทยุชุมชน
อาจเผยแพร่โดยทำเป็นคลิปแล้วไปเผยแพร่ยูทูบ
ต้องออกแบบให้เกิดภาพลักษณ์เชิงบวกที่ประทับใจ
 

 

การนำเสนอโครงการภาคบ่าย

 

โครงการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพารา

โดยคุณกมลพันธ์

สมาชิกของสหกรณ์เป็นผู้ปลูกยางพาราเป็นส่วนใหญ่ ขายยางพาราที่ผลิตได้ให้กับพ่อค้า พ่อค้าเป็นผู้กำหนดราคา สหกรณ์ๆช่วยแก้ปัญหาแค่ให้เงินกู้แก่สมาชิกเพียงอย่างเดียว สหกรณ์มีความพร้อมด้านเงินทุนแต่นำทุนที่มีไปให้ผู้อื่นใช้ประโยชน์

วัตถุประสงค์

1.      เพื่อสร้างโรงงานและจัดซื้อเครื่องจักรพร้อมอุปกรณ์

2.      เพื่อเป็นสถาบันเกษตรกรในการแปรรูปยางพาราที่ครบวงจร

3.      เพื่อร่วมมือกับ ชุมนุมสหกรณ์ระดับชาติ ระดับภาค องค์กรทั้งภาครัฐ และเอกชน สถาบันการศึกษา คิดค้นวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการยางทั้งระบบ

ปัญหาและความสำคัญ

-          เกษตรกรและเกษตรกรโดยส่วนใหญ่ทำอยู่ในขบวนการขั้นต้นเท่านั้น

-          การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์จากยางยังมีน้อยส่วนใหญ่อยู่ในมือพ่อค้าคนกลาง

-          ราคาไม่แน่นอน

ระยะเวลาการดำเนินงาน

1        ธันวาคม 2555  -  31 ธันวาคม 2557

ผู้รับผิดชอบโครงการ:  สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบ้านนาเดิม จำกัด

ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร: โครงการนี้เป็นเรื่องใหม่ ต้องเตรียมเรื่องการเรียนรู้ และอาจจะมีปัญหาเกิดขึ้น อาจจะยังไม่สร้างรายได้ในปีแรก โครงการนี้ใช้เวลา 2 ปี แต่ในความเป็นไปได้ มักจะนานกว่านี้ และต้องคิดเรื่องค่าเสื่อมราคา ต้องเพิ่มการวิเคราะห์ความเป็นไปได้

ผศ.ดร.รังสรรค์  ปิติปัญญา: โครงการนี้ค่อนข้างเป็นรูปเป็นร่าง แต่ข้อมูลบางส่วนยังไม่ชัดเจน ต้องคิดเรื่องเงินหมุนเวียน

ขอฝากเรื่องเครื่องจักร ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี ต้องมีบุคลากรที่รับเรื่องนี้ได้

เครดิตยูเนี่ยน อาจจะไม่ถนัดเรื่องการบริหารงานโรงงาน ต้องหาผู้เชี่ยวชาญ คนที่เข้าใจมาเสริม

การจัดหาวัตถุดิบ ต้องดูว่าจะมีวัตถุดิบไหลเข้ามาหรือไม่ ต้องคำนึงเรื่องสมาชิกที่อาจไปที่อื่น เพราะราคายางที่อื่นสูงกว่า

ต้องเพิ่มเติมเรื่องการประเมินผลของโครงการ

 

โครงการ การสร้างภาพลักษณ์ของผู้นำขบวนการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน

โดยนางทัศนีย์   สมธิ   

 ใครๆก็อยากจะเป็น “ผู้นำ” โดยไม่สนใจด้วยซ้ำว่า “ผู้นำที่แท้จริง”ต้องเป็นเช่นไร ผู้นำแต่ละคนในองค์กรจะทำหน้าที่และบทบาทที่ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับบุคลิกภาพ ประสบการณ์ และความรู้ ความสามารถของผู้นำแต่ละคน ประกอบกับความคาดหวังของกลุ่ม/สหกรณ์ และขบวนการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนทั่วประ เทศที่ต้องการความเชื่อมั่นในขบวนการเพราะฉะนั้นผู้นำก็จะเป็นสิ่งที่ทำให้องค์กรและขบวนการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน เป็นที่น่าเลื่อมใส ศรัทธามากน้อยแค่ไหนอยู่ที่พฤติกรรมและการกระทำของผู้นำทั้งสิ้น การที่ได้พัฒนาศักยภาพของคนที่อยากจะเป็นผู้นำในองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนั้นเป็นสิ่งจำเป็นมากของขบวนการ    

วัตถุประสงค์ในการวิจัย

1.เพื่อความเข้าใจความหมายของคำว่าภาพลักษณ์ของผู้นำและความสำคัญของภาวะผู้นำได้

2.เพื่อให้ผู้นำรู้จักบทบาทหน้าที่และคุณสมบัติของผู้นำได้

3.สามารถเข้าใจภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงได้

กลุ่มเป้าหมาย

  คณะกรรมการกลุ่ม/สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนทุกจังหวัดในประเทศไทย จำนวน 1,000 คน

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

สามารถปลุกจิตสำนึกของคนเก่งให้ฟื้นตื่น เพราะคนเก่งที่ขาดจิตอุทิศตนจะเป็นสมบัติของตัวเขาเองเท่านั้น ถ้าสามารถปลุกคนเก่งให้ฟื้นตัวขึ้นมาเพื่อเป็นผู้นำก็จะเป็นสมบัติที่มีค่าอย่างยิ่งขององค์กรและประเทศชาติ

ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร: เป็นโครงการวิจัย แต่ไม่รู้ว่าประเด็นคืออะไร กลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวอย่างประชากร ต้องไปคำนวณตามสูตร Yamane ให้ดี ต้องใช้เรื่องการจัดชั้นแบบSampling

ไม่ชัดเจนทั้งเรื่องและวัตถุประสงค์

การสร้างภาพลักษณ์ วัตถุประสงค์ต้องพูดถึงกระบวนการการสร้างภาพลักษณ์

ผศ.ดร.รังสรรค์  ปิติปัญญาโครงการนี้เป็นเชิงวิจัย

ชื่อเรื่องการสร้างภาพลักษณ์ของผู้นำขบวนการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน และวัตถุประสงค์ไม่สอดคล้องกัน ข้อ 2 และข้อ 3 ไม่เกี่ยวกันเลย

วิธีการวิเคราะห์เน้นที่หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัย กับการรับรู้ภาพลักษณ์ของสมาชิก ซึ่งไม่สอดคล้องกัน

หน่วยการศึกษาวิเคราะห์ ก็สับสน ต้องปรับปรุงให้ชัด

 

โครงการจัดหาที่ดินเพื่อการเกษตร/ที่อยู่อาศัย แก่สมาชิกสหกรณ์

โดยคุณสำราญ อุ่นยวง

1. หลักการและเหตุผล

สืบเนื่องจากสภาวการณ์ในปัจจุบันที่เศรษฐกิจมีการเติบโตมากขึ้น แต่ในขณะที่ผลผลิตทางการเกษตรมีจำนวนจำกัดไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทั้งภายในประเทศและการส่งออก และที่สำคัญผลผลิตทางการเกษตรหลายชนิดมีแนวโน้มที่จะนำไปใช้เป็นวัตถุดิบของแหล่งพลังงานและการบริโภค เช่น มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน เป็นต้น ส่งผลทำให้เกิดความขาดแคลนและความต้องการบริโภคที่มากขึ้น ประกอบกับการขาดความรู้ทางการเกษตรที่จะเพิ่มผลผลิต และคนส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ให้ความสนใจงานด้านการเกษตรและประเด็นที่สำคัญคือ ผู้ที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยหรือทำงานด้านการเกษตรจำนวนมาก ที่ขาดความสามารถในการมีที่ดินเป็นของตันเอง ในขณะที่สหกรณ์เครดิตยูเนียนฟรีเทรดเกิดขึ้นจาก การรวมตัวกันของสมาชิกที่ทำธุรกิจแอมเวย์ และมีผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่ดีมากที่สามารถเพิ่มผลผลิตอย่างดีเยี่ยม อีกทั้งยังมีบุคคลากรที่มีความรู้ความสามารถทางการเกษตร ที่จะเข้ามาร่วมดำเนินการโครงนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 วัตถุประสงค์

1 ต้องการให้สมาชิกสามารถมีที่ดินสำหรับเป็นที่อยู่อาศัยหรือทำการเกษตรเป็นของตนเองโดยสหกรณ์เป็นผู้สนับสนุนแหล่งเงินทุนในการจัดหาให้ก่อนและสมาชิกผ่อนชำระเป็นรายเดือน

2 ส่งเสริมให้สมาชิกสามารถมีรายได้เพิ่มขึ้นจากผลผลิตทางการเกษตรโดยใช้ผลิตภัณฑ์ทางการ เกษตรของแอมเวย์

3 สมาชิกสามารถพึ่งพาระบบสหกรณ์ในการมีที่ดินหรือที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองโดยไม่ต้องไปเป็นหนี้ในระบบธนาคาร

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 สมาชิกมีโอกาสมีที่ดินเพื่อการเกษตรหรือที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง

2 สหกรณ์จะสามารถสร้างรายได้จากการซื้อที่ดินและบริหารการเพาะปลูกเองเพื่อเพิ่มอัตราการปันผลให้กับสมาชิกได้สูงขึ้น

3 สมาชิกสามารถสร้างรายได้จากการเกษตรได้แบบยั่งยืน

ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร: เป็นโครงการที่เป็นประโยชน์ ต้องเน้นเรื่องรายละเอียดกฎหมายควบคุม

เพราะไม่อยู่ในอำนาจควบคุมของสหกรณ์ ต้องได้รับอนุญาตก่อนกระทำการ ภาษีที่เกี่ยวข้อง ต้องนำมาเป็นต้นทุน 

ผศ.ดร.รังสรรค์  ปิติปัญญา:  โครงการนี้พูดเรื่องการเกษตรเป็นหลัก วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เข้าประเด็นมาก รายได้เพิ่มขึ้นจากการเกษตร โครงการนี้ต้องเน้นเรื่องการบริหารจัดการ และงานด้านเกษตรไม่ใช่งานที่ง่าย อาจจะต้องเปลี่ยนเป็นให้สหกรณ์ทำให้ หรือOutsourceก็ได้

 

โครงการการพัฒนาคุณภาพชีวิตพี่น้องเกษตรกรบนพื้นที่สูงตามแนวจิตตารมณ์ของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน

โดย ดารณี  คงมั่น

หลักการและเหตุผล

ในพื้นที่ จังหวัดภาคเหนือตอนบน กลุ่มชน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตร โดยเลิกปลูกฝิ่น การถางไร่เลื่อนลอย ผันตนเองมาเป็นลูกจ้างชั่วคราวของโครงการหลวงหรือทำการเกษตรด้วยตนเอง กลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้ไม่ได้รวมตัวกันเพื่อจัดตั้งเป็นกลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มแม่บ้านหรือสัจจะออมทรัพย์ หากเมื่อใดมีปัญหาในเรื่องการลงทุนก็มักจะยอมเป็นหนี้นอกระบบเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า โดยยอมจ่ายดอกเบี้ยในอัตราสูง ดังนั้นบางครั้งรายได้ไม่พอกับรายจ่าย ชีวิตพวกพี่น้องเกษตรกรจึงหมุนเวียนอยู่เช่นนี้และมูลเหตุที่สำคัญ คือ ทางคณะกรรมการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนพระหฤทัยเชียงใหม่ จำกัด ได้รับการร้องขอให้ออกไปเผยแพร่ความรู้เรื่องการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อให้เป็นสาขาของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนพระหฤทัยเชียงใหม่ จำกัด จากหัวหน้ากลุ่มสหกรณ์ออมทรัพย์โครงการหลวงเพื่อให้คณะกรรมการแต่ละฝ่ายไปร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจทั้ง 3ศูนย์

วัตถุประสงค์

1.                  เพื่อปลูกฝัง จิตตารมณ์ของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ในเรื่องความสนใจ ความห่วงใย

การแบ่งปันและการรับใช้ให้กับแกนนำ

2.         เพื่อให้สมาชิกรู้จักพึ่งตนเองและช่วยเหลือเพื่อนสมาชิก

3.         เพื่อปลูกฝังในเรื่องการออมและให้สมาชิกสามารถสร้างอนาคตตนเองและครอบครัว

4.         เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของพี่น้องเกษตรกรบนพื้นที่สูง

5.         เพื่อพัฒนาคุณภาพของผลผลิต

6.         เพื่อความมั่นคงของชาติ

เป้าหมาย ให้การอบรมแกนนำของแต่ละกลุ่มจำนวน 38 กลุ่ม 180 คน

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.         90%ของผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจและตัดสินใจร่วมกันจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อเป็นสาขาของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนพระหฤทัยเชียงใหม่ จำกัด

2.         จัดการรับซื้อพืชผักผลไม้และจัดจำหน่ายให้ (ซื้อ-ขาย-แลกเปลี่ยน)

3.         พื้นที่สูงในจังหวัดภาคเหนือตอนบนได้รับการดูแลเอาใจใส่และพัฒนาให้เกิดประโยชน์แก่เศรษฐกิจของประเทศ

4.         เป็นการป้องกัน ขจัดปัญหายาเสพติดและสามารถดำรงความเป็นอธิปไตยของชาติได้ทางหนึ่ง

ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร: วัตถุประสงค์ กับ ประโยชน์ และ ผลที่คาดว่าจะได้รับ ยังไม่สอดคล้องกัน  

ผศ.ดร.รังสรรค์  ปิติปัญญา: โครงการนี้ให้ความหมายยังไม่ชัดเจน วัตถุประสงค์กับผลที่ได้รับคนละเรื่องกัน

 

โครงการ หมู่บ้านสหกรณ์ ไทยฮอนด้า

โดย สมชายชูดวง

ประภาภรณ์ ประจักษ์

หลักการและเหตุผล

เนื่องจากสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนไทยฮอนด้า จำกัด มีสมาชิกเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องและสมาชิกส่วนมากกำลังอยู่ในช่วงก่อร่างสร้างตัว ดังนั้นสหกรณ์ฯ จึงมีแนวคิดจะจัดทำโครงการหมู่บ้านสหกรณ์ฯไทยฮอนด้า ขึ้นมาเพื่อให้สมาชิกของสหกรณ์ได้มีที่อยู่อาศัย ไม่ต้องเช่าบ้าน หรือเช่าห้องเช่า และปัจจุบันสมาชิกผ่อนบ้านกับธนาคารจ่ายดอกเบี้ยให้กับธนาคาร ทางสหกรณ์ฯจึงมองเห็นว่าสมาชิกน่าจะได้ประโยชน์มากกว่านี้ จึงจะจัดตั้งหมู่บ้านสหกรณ์ฯ ไทยฮอนด้าขึ้นมาเพื่อให้สมาชิกได้ผ่อนกับสหกรณ์ฯเมื่อสิ้นปีก็ได้เฉลี่ยคืนในส่วนที่จ่ายดอกเบี้ยไป

 

ร่วมทั้งสหกรณ์ จะจัดตั้งสโมสรขึ้นในหมู่บ้านเพื่อสร้างอาชีพให้กับครอบครัวสมาชิกอีกด้วย ด้วยการจัดอบรมฝึกอาชีพต่าง ๆ ให้ครอบครัวมีรายได้เสริม

วัตถุประสงค์

1.      เพื่อให้สมาชิกสหกรณ์ได้มีที่อยู่อาศัยโดยไม่ต้องเช่าหอพักเพื่อสร้างทรัพย์สิน และความมั่นคงให้กับสมาชิกและครอบครัว

2.      เพื่อให้ครอบครัวสมาชิกที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านสหกรณ์ฯไทยฮอนด้า ได้มีวงสัมพันธ์ที่ดีต่อกันในอนาคต

3.      เพื่อให้สมาชิกลูกหลานไทยฮอนด้าได้ทำกิจกรรมร่วมกัน

4.      เพื่อเปิดที่ฝึกอบรม

เป้าหมาย

-          สมาชิกสหกรณ์มีบ้านเป็นของตัวเองทุกคน

-          ขยายฐานธุรกิจของสหกรณ์ฯ

-          มีสำนักงานหน้าหมู่บ้านสหกรณ์ฯ ไทยฮอนด้า

-          มีศูนย์ฝึกอบรม

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

-          สมาชิกมีบ้านเป็นของตนเองทุกครอบครัว

-          ดอกเบี้ยต่ำกว่าธนาคาร

-          ดอกเบี้ยบ้านเฉลี่ยคืนให้กับสมาชิก

-          สหกรณ์ฯ มีกำไรแบ่งปันให้สมาชิกมากยิ่งขึ้น

-          มีความปลอดภัย และอุ่นใจมากยิ่งขึ้น

-          เพิ่มความมั่นคงให้กับสหกรณ์มากยิ่งขึ้น

-          เป็นทางเลือกอีกทางให้กับสมาชิกสหกรณ์ฯ

-          บุตรของสมาชิกมีที่เรียนกรวดวิชาใกล้บ้าน

-          ครอบครัวสมาชิกมีอาชีพเสริมทุกครอบครัว

ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร: การบริการเรื่องธุรกิจบ้านที่ดิน สินเชื่อทั้งระบบ และ การลงทุนตั้งสโมสรสหกรณ์  ถือว่าเป็นโครงการที่ดี แต่จะมีเรื่องกฎหมายเข้ามาเกี่ยวเยอะ ต้องดูเรื่องภาษีให้ดี คิดให้รอบคอบ งบประมาณ 150ล้าน อาจมากกว่าหรือน้อยกว่าก็ได้ ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมภายนอก ต้องมีการวิเคราะห์โครงการมากกว่านี้

ผศ.ดร.รังสรรค์  ปิติปัญญา: เป้าหมายสมาชิกสหกรณ์มีบ้านเป็นของตัวเองทุกคน ซึ่งไม่น่าจะได้ทั้ง100 เปอร์เซ็นต์ การวิเคราะห์เรื่องงบประมาณต้องดูรายละเอียดมากกว่านี้

 

โครงการIT ปรับปรุงระบบของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน เอ็มบีซี จำกัด

โดยกัณฑ์กานต์

 

อดีต ใช้ระบบ Manaul

ปัจจุบัน ใช้ ระบบโปรแกรม LAN, Stand alone

อนาคต เป็นระบบ Onlineทำรายการชำระเงินทาง online

ขอกู้เงินประเภทฉุกเฉินและอนุมัติ ทาง online

การประชุมกรรมการแต่ละคณะทาง online ผ่านทางTablet

จัดเก็บข้อมูลธุรกรรม/เอกสารสำคัญ/ระเบียบ/ข้อบังคับ
ในรูปของอิเล็คทรอนิคส์ แบบค้นหาข้อมูลได้ สามารถ
เรียกใช้งานได้ทาง app ของ tablet

 

โครงการปรับปรุงระบบ

จะปรับปรุงให้เป็นระบบหน้าจอ Touch screen  ทำธุรกรรมทั้งหมดผ่านระบบ Onlineสามารถดูข้อมูลได้ 24 ชั่วโมง

 

ผลการประเมิน

1.      สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการลูกค้าได้มากขึ้น
      * พนักงานการเงิน 1 คน สามารถบริการสมาชิกได้มากกว่า
          1,000 คน ซึ่งหากสมาชิกมากกว่า 1,000 คนก็เพียงเพิ่มจอ touch screen อีก 1 จอ เท่านั้น

2.      สหกรณ์ประหยัดงบประมาณในการจ้างพนักงานการเงิน/บัญชี
      * พนักงานบัญชี 1 คนสามารถทำบัญชีได้ต่อสมาชิก 3,000 คน

ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร:  โครงการนี้เป็นไปได้สูง อนาคตสหกรณ์ทั่วไป ควรปรับปรุงระบบแบบนี้ ซึ่งเป็นโครงการที่ดีมาก

การเขียนโครงการชัดเจนดี ซึ่งควรเขียนว่าเป็นระยะที่ 2 ของการพัฒนาระบบ ระบบนี้เป็นระบบ Online Transaction  

ผศ.ดร.รังสรรค์  ปิติปัญญา: เป็นโครงการต่อเนื่อง เป็นการ พัฒนาระบบ Online Transaction 

ระยะเวลาการดำเนินงานควรเขียนให้ชัดเจน

ควรเร่งโครงการนี้ เพื่อพัฒนาเป็นระบบกลางให้กับทุกสหกรณ์

 

โครงการ : สร้างจัดตั้งเครดิตพลาซ่าศูนย์บริการสินค้าครบวงจร เพื่อขบวนการสหกรณ์

โดยนายบุญเลิศ  ต้นทอง

ผู้จัดการ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนทวีทรัพย์ จำกัด

จังหวัดศรีสะเกษ

สภาพทั่วไปของการค้าในสังคมไทย

-          ธุรกิจการค้า ในปัจจุบัน มีการดำเนินงานแล้วประสบความสำเร็จสูง  ส่วนใหญ่เป็นห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า ที่มีทุนสูง  มีการบริหารจัดการที่ทันสมัย   ครบวงจร

-          ร้านค้า โซห่วย ร้านค้าของไทย  ประสบปัญหา ขายไม่ได้  ต้นทุนสูง สินค้าแพงกว่าห้างใหญ่  ห้างสรรพสินค้าใหญ่ ได้เปรียบในการให้บริการ แอร์เย็น สินค้าวางเป็นระเบียบ ราคาต่ำ ทั้งแจก ทั้งแถม

-          ร้านค้า ในชุมชน ชนบท  ยังมีการจัดการแบบชาวบ้าน วางสินค้าคละกันไป ไม่เป็นระเบียบ  เจ้าของเป็นผู้ให้บริการ  สินค้าส่วนใหญ่แพง เพื่อให้ลูกค้าได้ต่อราคา หรือ สินค้ามีต้นทุนสูง           ส่วนใหญ่ไปชื้อมาจาก ห้างใหญ่ แล้วบวกค่าบริการเพิ่ม มีต้นทุนสูง การจำหน่าย จึงมีราคาสูง 

ข้อสังเกต คือ สินค้าในชนบท จะแพงกว่าในเมือง และสหกรณ์ขาดการจัดการ การให้บริการ สหกรณ์ควรมีอำนาจในการต่อรอง

 

วัตถุประสงค์

1.      เพื่อเสริมสร้างขบวนการสหกรณ์ไทย ให้มีความเข็มแข็ง ให้มีอำนาจในการต่อรองชื้อสินค้าอุปโภค บริโภค  จากผู้ผลิตโดยตรง

2.      เพื่อช่วยเหลือสมาชิกสหกรณ์ ให้ได้บริโภคสินค้าดี ราคายุติธรรม และ ช่วยเหลือประเทศชาติ ไม่ให้กำไรไหลออกไปต่างชาติ

3.       เพื่อสร้างศูนย์กระจายสินค้าอุปโภค บริโภค และ เป็นศูนย์รวบรวมผลผลิต ผลิตภัณฑ์จากสมาชิกสหกรณ์  และการจำหน่าย

4.      เพื่อสร้างระบบการบริหารจัดการการให้บริการด้านสินค้า ให้มีคุณภาพ ทันสมัย

เพื่อสร้างระบบสวัสดิการให้กับสมาชิกสหกรณ์ สังคม

 

สถานที่ดำเนินการ

-          เครดิตพลาซ่า ดำเนินการในพื้นที่นำร่อง  ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด สุรินทร์

-          ร้านสวัสดิการประชาชน ดำเนินการทุกสหกรณ์ และ ทุกตำบล

แหล่งที่มาของงบประมาณ

-          การระดมทุน  การถือหุ้น  จากสหกรณ์ และมวลสมาชิก

-          ขอกู้ยืมจาก ชุมนุมฯ

-          ขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

-          สมาชิกสหกรณ์ ประชาชน ได้บริโภคสินค้าดี มีคุณภาพ ราคายุติธรรม

-          เกิดระบบสวัสดิการ ที่ดูแลสังคมโดยกระบวนการทางสังคม

-          สังคมสหกรณ์ มีการรวมกิจกรรมกันมากขึ้น  มีความเอื้ออาทรต่อกัน ช่วยเหลือกันมากขึ้น

-          เกิดกิจกรรมการสร้างงาน สร้างอาชีพ การผลิต การอุตสาหกรรม การบริการ อยู่ในขบวนการสหกรณ์

-          เกิดสัญลักษณ์ของขบวนการสหกรณ์   ที่ได้รับการยอมรับจากสังคม และคนสหกรณ์

-          จะส่งผลให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ที่มีคุณภาพ  มีการแข่งขันการสร้างผลิตภัณฑ์

-          ป้องกันเงินตราไหลออกนอก

ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร:  ไม่มีใครหยุดยั้ง เทสโก้โลตัสได้

ขอฝากเรื่องงบประมาณเป็นเรื่องของการหาที่ดินก่อน และต้องคำนึงว่าจะได้งบประมาณมาจากไหน

มีหลายที่ประสบความสำเร็จ เพราะได้เปรียบทางด้านชุมชน

ผศ.ดร.รังสรรค์  ปิติปัญญา: โดยภาพรวมขอชื่นชมโครงการนี้ มีความน่าสนใจ

ขอฝากไว้ว่า สิ่งที่คิดในวันพรุ่งนี้ ก็สายไปแล้วในวันพรุ่งนี้ เพราะคนอื่นทำแล้ว

จังหวัดสกลนคร ทำเรื่องสหกรณ์ค้าส่ง ร้านค้าในหมู่บ้านเป็นสมาชิก แต่สุดท้ายก็ไปไม่รอด เพราะปัญหาความไม่ซื่อตรงต่อกัน และปัญหาเรื่องการขนส่ง

ควรทำโครงการนำร่อง และศึกษากรณีศึกษาของจังหวัดอื่นๆให้ดี ศึกษาเรื่องสินค้า และตลาด และลงรายละเอียดให้มากกว่านี้

 

โครงการเยาวชนต้นกล้าเครดิตยูเนี่ยน

โดย นายสุริยา  เพชรสุข

ผู้จัดการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนชโลดมพัฒนา จำกัด

หลักการและเหตุผล

สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนชโลดมพัฒนา จำกัด มีวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งสหกรณ์ เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกพึ่งพาตนเองได้ และรวบรวมสมาชิกมาดำเนินธุรกิจ โดยยึดหลักการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เน้นคุณธรรม ๕ ประการ อันได้แก่ ความซื่อสัตย์ ความเสียสละ ความรับผิดชอบ ความเห็นใจกัน และความวางใจกัน รวมทั้งจริยธรรมอันดีงาม อันมีการประหยัด การเก็บออม เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่สมาชิก และครอบครัว รวมทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม จนสามารถทำให้สมาชิกอยู่ดีกินดี มีความสุข

การสร้างคนให้มีคุณธรรม จิตตารมณ์ นั้น ต้องมีการปลูกฝังตั้งแต่เยาวชน เพื่อจะได้เป็นต้นกล้าคุณธรรมแห่งความดีฝังอยู่ในจิตใจ พร้อมที่จะเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ เป็นผู้นำช่วยการพัฒนาชุมชน หมู่บ้าน และประเทศต่อไป

วัตถุประสงค์

1. เพื่อถ่ายทอดคุณธรรม และจิตตารมณ์ไปยังเยาวชนต้นกล้าเครดิตยูเนี่ยน

2. เพื่อถ่ายทอด เผยแพร่ ความรู้เรื่องสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน

3. เพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์

4. เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนเป็นคนดีมีคุณธรรม

5. เพื่อสร้างเยาวชนที่เป็นผู้นำที่ดีของชุมชน และสหกรณ์

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1. เยาวชนมีคุณธรรม ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนมากขึ้น

2. เยาวชนมีการเก็บออมเงินเพื่ออนาคต

3. ได้เยาวชนต้นกล้าที่กล้าแสดงออก กล้าคิดกล้าทำความดี เพื่อสังคม

วิธีการติดตามประเมินผลโครงการ

1. ประเมินผลการดำเนินกิจกรรม

2. แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ

ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร:  เป็นโครงการที่ดีถึงไม่ใช่เรื่องใหม่ ตัวชี้วัดเป็นนามธรรม อาจจะวัดในเรื่องการตั้งใจเล่าเรียน

ผศ.ดร.รังสรรค์  ปิติปัญญา: เป้าหมายเชิงปริมาณ และคุณภาพ ชัดเจน แต่ปัญหาคือ การวัดผล เพราะเรื่องคุณธรรมจะต้องชี้ให้ชัดว่าคืออะไร

 

โครงการพัฒนาศักยภาพงานส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน

โดย ณัฐพิพัฒ

ความต้องการ เพื่อจัดตั้งสำนักงานส่งเสริมเครดิตยูเนี่ยนทางภาคใต้

วัตถุประสงค์

1.เพื่อเป็นศูนย์กลางการติดต่อประสานงานในพื้นที่ที่ตั้งของสำนักงานส่งเสริม

 2.เพื่อเป็นศูนย์ข้อมูลสามารถบริการให้กับสมาชิกได้อย่างรวดเร็ว

 3. เพิ่มศักยภาพการส่งเสริมงานสหกรณ์ให้กับอาสาสมัครและเจ้าหน้าที่  ช.ส.ค.

 4. ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางและจัดกิจกรรม

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.   มีอาคารสำนักงานเป็นที่ประสานงานของอาสมัครและผู้นำในการทำกิจกรรม

2.   ช.ส.ค.สาขาภาคใต้สามารถบริการต่างๆได้ทันต่อความต้องการของสมาชิก

3.   ลดค่าใช้จ่าย  ของสหกรณ์และ  ช.ส.ค.

ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร:  โครงการนี้แบ่งเป็นการจัดซื้ออาคารประมาณ 4 แห่ง ค่าใช้จ่ายในรูปดอกเบี้ยต้องคิดออกมา ต้องวิเคราห์ความเป็นไปได้ทางการเงินของโครงการ

ผศ.ดร.รังสรรค์  ปิติปัญญา: ถ้ามีสาขาเพิ่มขึ้น ต้องแสดงให้เห็นว่างานชุมชนสหกรณ์ทางภาคใต้จะดีขึ้นเพียงไร  ต้องประมาณการออกมา

 

โครงการจิตอาสาพาน้องฝากเงิน

โดย คุณภัณธิรา

1. เพื่อช่วยฝึกนิสัยการออมให้กับนักเรียน

2 เพื่อให้นักเรียนมีเงินใช้ในเวลาที่จำเป็นในอนาคต

3 เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการเรียนรู้ระบบสหกรณ์โดยวิธีปฏิบัติจริง

4 เพื่อฝึกฝนอาชีพในลักษณะเป็นเจ้าหน้าที่สหกรณ์ จำลองรูปแบบสหกรณ์ เล็กๆ ในโรงเรียน  รู้จักการให้บริการรับฝาก  ถอนเงิน  การจัดทำบัญชี

5 เพื่อประสานงานและก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างสหกรณ์ฯ กับโรเรียนในพื้นที่

เป้าหมาย

โรงเรียนในเขตพื้นที่ดำเนินงานของสหกรณ์ จำนวน ๓๗ แห่ง ปัจจุบันฝากเงินในโครงการ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ทำให้นักเรียนได้เรียนรู้วิธีการทำงานในระบบสหกรณ์โดยวิธีปฏิบัติจริง  

2.ทำให้สหกรณ์และโรงเรียนมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน

3.ทำให้นักเรียนได้ฝึกการเก็บออมเงินไว้ในอนาคต เกิดความมั่นคงในอนาคต

4.ทำให้สหกรณ์มีเงินลงทุนที่สมดุล ไม่ต้องอาศัยแหล่งเงินทุนจากภายนอก

ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกร:  งานส่งเสริมการออมเป็นหน้าที่หลัก และได้ประสบการณ์จากโครงการผึ้งน้อย โครงการมีความชัดเจน แต่อยากได้รายละเอียดมากกว่านี้ ต้องมีวิธีวิธีปฏิบัติที่ชัดเจน สามารถเป็นโครงการต่อเนื่องได้

 

โครงการการพัฒนาศักยภาพผู้จัดการสหกรณ์ และฝ่ายจัดการ

โดย  รัศมี  ปัญญาใจ

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1.      เพื่อปลูกฝังหลักการ อุดมการณ์ และสร้างทัศนคติที่ดีในการทำงานด้านสหกรณ์

2.      เพื่อพัฒนาศักยภาพในการทำงานของผู้จัดการสหกรณ์ และฝ่ายจัดการในการเลือกการทำธุรกิจสหกรณ์อย่างเหมาะสม

3.      เพื่อพัฒนาศักยภาพในการทำงานของผู้จัดการ และฝ่ายจัดการของสหกรณ์ ด้านการวางแผนงานสหกรณ์

4.      เพื่อพัฒนาศักยภาพในการทำงานของผู้จัดการ และฝ่ายจัดการของสหกรณ์ ด้านการใช้สื่อสารสนเทศงานในงานสหกรณ์

เป้าหมาย  :

            จัดหลักสูตรการศึกษาอบรมให้กับผู้จัดการ หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดการ จำนวน  250 คน ภายในปี พ.ศ. 2556

 

วิธีการดำเนินงาน :

การฝึกอบรมแบ่งเป็น 5 รุ่นรุ่นละ 50 คน

เริ่มตั้งแต่ เดือนกุมภาพันธ์ - เดือนพฤศจิกายน  2556

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.      ผู้ผ่านการฝึกอบรมมีความเข้าใจในเรื่องหลักการ อุดมการณ์ และสร้างทัศนคติที่ดีในการทำงานด้านสหกรณ์เป็นอย่างดี และสามารถถ่ายทอดความรู้ดังกล่าวได้

2.      ผู้ผ่านการฝึกอบรมเลือกการทำธุรกิจสหกรณ์ได้อย่างเหมาะสม

3.      ผู้ผ่านการฝึกอบรมมีความรู้ในการวางแผนงาน และเขียนโครงการพัฒนาสหกรณ์ได้

4.      ผู้ผ่านการฝึกอบรมใช้สื่อสารสนเทศงานในงานสหกรณ์ ได้อย่างเหมาะสม

ดร.ปรีชา สิทธิกรณ์ไกรมีเป้าหมายถึง 5 รุ่น แต่ละวันต้องทำเป้าหมายระหว่างเวลาและหลักสูตร

 

โครงการจัดตั้งสถาบันสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย

โดย อภิชาติ พรหมจินดา

วัตถุประสงค์

1.      สร้างองค์การ และจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทรัพยากร มนุษย์ของขบวนการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน

2. เป็นศูนย์กลางในการให้การศึกษาอบรม สัมมนาแก่บุคลากรของขบวนการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน

3. เป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ของขบวนการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน

4.  ยกระดับการศึกษาให้กับสมาชิกสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน

ประโยชน์ที่จะได้รับ

1.มีสถาบันกลางด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และด้าน IT ของขบวนการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน

2. มีสถานที่ เครื่องมือ บุคลากร องค์ความรู้ และงบประมาณ  ในการจัดการศึกษาอบรม และ พัฒนาเทคโนโลยีท

 

สรุปการบรรยาย

กฎหมายเพื่อการบริหารงานสหกรณ์

โดย

อัยการปรเมศวร์ อินทรชุมนุม

23  พฤศจิกายน 2555

ประวัติศาสตร์ความเป็นมากฎหมายสหกรณ์

-          พ.ร.บ.บัญญัติสมาคม 2457

-          พ.ร.บ.บัญญัติสมาคมเพิ่มเติม 2459

-          พ.ร.บ.บัญญัติสหกรณ์ 2470

-          พ.ร.บ.บัญญัติสหกรณ์ 2511

-          พ.ร.บ.บัญญัติสหกรณ์2542

ประชาธิปไตย คือ การรับฟังแล้วหาจุดสมดุล ซึ่งมีอยู่ในระบบสหกรณ์ แต่ไม่ได้รับการส่งเสริมอย่างจริงจัง

แนวคิดในการจัดตั้งสหกรณ์ในอดีต

รัชกาลที่ 6 กล่าวว่า สหกรณ์ คือ สมาคมชนิดราษฎรผู้การเพาะปลูกผลหากินด้วยการขายรวบรวมกันตั้งขึ้นเพื่อยังความจำเริญให้เกิดแก่หมู่ด้วยวิธีรวมกำลังบำรุงตนเองแลประหยัดค่าใช้จ่ายแต่พอสมควร มิใช่ตั้งขึ้นเพื่อจะหากำไร

รัชกาลที่ 7  สหกรณ์มุ่งหวังสร้างเศรษฐกิจและสังคมในระบอบประชาธิปไตย เป็นอีกทางหนึ่งซึ่งเผยแพร่ความจำเริญทรัพย์และจำเริญธรรมในบ้านเมืองให้ยิ่งขึ้น

 

 

 

สหกรณ์ คือ สถาบันการเงินของเอกชน  สร้างความยั่งยืนให้กับสมาชิกในชุมชน เป็นหน่วยธุรกิจที่สร้างความยั่งยืนของประชาชนระดับล่าง  และสังคมต้องเป็นประชาธิปไตย

แนวคิดในการจัดตั้งสหกรณ์ในปัจจุบัน

ต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และสังคม โดยช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และตาหลักสหกรณ์

แนวคิดระบบการเงินของประเทศ

-Microfinance

-Community Based Financial Service

- การบริหารการเงินสำหรับประชาชนในชุมชนต่างๆ บนพื้นฐานการพึ่งพาตนเอง และการเก็บออม

สหกรณ์เป็นสังคมอุดมคติ

1.      กลุ่มบุคคลที่รวมตัวกันเพื่อดำเนินกิจการ

2.      กิจการเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนมวลสมาชิก

3.      หลักการช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

โครงสร้างสังคมสหกรณ์

1.      สมาชิกสหกรณ์ คือ บุคคลที่รวมตัวกัน

2.      คณะกรรมการดำเนินการ คือ ผู้บริหารสหกรณ์

3.      ผู้ตรวจสอบกิจการ ผู้สอบบัญชี คือ ผู้ควบคุม

§  ดูว่าการใช้เงินเป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือไม่

4.      รัฐ คือ ผู้กำกับดูแล ผู้มีหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุน  เช่น ชุมนุมเกษตร ซึ่งทำได้ดีมาก

เป้าหมายต้องดูว่า มีหน้าที่อะไรเพื่อส่งเสริมสนับสนุน มีกิจการอะไรที่รัฐสนับสนุน

ธกส. เป็นหน่วยงานหนึ่ง ที่จัดฝึกอบรมให้กับชุมนุมสหกรณ์

“เงินเรา ธุรกิจเรา เพื่อชีวิตเรา”

 

            สถานะของกรรมการดำเนินการสหกรณ์

-          เป็นเสมือนคณะรัฐมนตรี ผู้มีหน้าที่ในการบริหารงานและกิจการสหกรณ์ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และอุดมการณ์

-          เป็นผู้ดำเนินการเรื่องความมั่งคงในการดำรงชีวิตของมวลสมาชิก

บทบาทของกรรมการ

-          ดำเนินงานสหกรณ์ให้มีความมั่นคง

-          ดำเนินการสหกรณ์ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์

-          พัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิกไปสู่ความมีวินัยทางการเงิน

-          สร้างเศรษฐกิจและสังคมอุดมคติเพื่อชุมชนสมาชิก ทำให้ชุมชนมีกินมีใช้ ไม่มีผู้ร้าย

วัตถุประสงค์หนึ่งของสหกรณ์ คือ ให้ประชาชนมีที่อยู่ ต้องคำนึงเรื่องพระราชบัญญัติอาคาร การเขียนเสนอข้อบังคับ ต้องเขียนวัตถุประสงค์ส่งเสริมให้สมาชิกมีที่อยู่อาศัย

            หลักการอุดช่องว่างกฎหมาย

กฎหมายต้องใช้ตามตัวอักษร และตามความมุ่งหมายของบทบัญญัตินั้น

คนที่ตีความกฎหมาย ต้องไม่ใช่เป็นคนร่างกฎหมาย

            เมื่อไม่มีบทบัญญัติที่จะยกมาปรับคดีได้ ให้วินิจฉัยคดีตามจารีตประเพณี

            การเทียบเคียงกฎหมาย

เหมือนการจัดการบริษัท มีการเลือกตั้ง แต่ใช้จำนวนมือเป็นตัวตัดสิน ใช่จำนวนผู้ถือหุ้น

กฎหมายของบริษัท ก็สามารถนำไปใช้กับสหกรณ์ได้

คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 2 ปี นับตั้งแต่วันเลือกตั้ง

ในวาระเริ่มแรก เมื่อครบหนึ่งปีนับแต่วันเลือกตั้ง ให้กรรมการ .... 

            ประโยคผิด เพราะสหกรณ์ต้องใช้คำว่า นับตั้งแต่อยู่ในบัญชี

          ข้อกฎหมายที่กรรมการควรทราบ

            หากเกิดปัญหาในที่ประชุมให้เอาเสียงข้างมากเป็นใหญ่  ถ้าคะแนนเท่ากัน ให้ประธานชี้ขาด

            กรณีนายทะเบียนให้พ้นอำนาจชั่วคราวก็จัดให้มีคณะกรรมการชั่วคราว เพื่อให้เกิดการเลือกตั้ง

คำถาม คือ คณะกรรมการชั่วคราว ต้องเป็นสมาชิกสหกรณ์หรือไม่ คำตอบของกรมส่งเสริม คือ ไม่จำเป็น   

 

หลักเศรษฐศาสตร์เพื่อการบริการงานในสหกรณ์

โดย  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2555

คำถาม Macro และ Micro แตกต่างกันอย่างไร

Micro   การบริหารองค์กร เกี่ยวกับตัวเรา พฤติกรรมของผู้ผลิต และผู้บริโภค

Macro   พฤติกรรมของรัฐบาล รวมเป็นนโยบาย

เครดิตยูเนี่ยน เป็นกระบวนการของ Macro ไม่ได้เป็นการลงทุนแค่เรื่องการกู้เงิน  

วัตถุประสงค์ คือ

1.      เข้าใจหลักการของเศรษฐศาสตร์เพื่อนำมาใช้ในการบริการงานในสหกรณ์

2.      เพื่อติดตามข่าวสารทางเศรษฐศาสตร์ตลอดเวลา และหลีกเลี่ยงความเสี่ยง

3.      เพื่อเข้าใจถึงแนวทางที่จะทำให้สหกรณ์มีโอกาสในการทำธุรกิจ

คิดให้ดีว่า

1 เศรษฐศาสตร์เกี่ยวอะไรกับตัวเรา

2. ต้องรู้ว่าเศรษฐศาสตร์ คืออะไร  

ธุรกิจบางอย่างมาจากข้างล่าง ซึ่งจะประสบความสำเร็จในต่างจังหวัด

เศรษฐศาสตร์คือ ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับทางเลือกหนทาง ในการใช้ทรัพยากรการผลิตอันมีอยู่จำกัด และคุ้มค่า เพื่อการผลิตสินค้าและบริการเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

หลักเศรษฐศาสตร์คือ  ไม่มีสิ่งใดที่ได้มาเปล่าๆ

พระเจ้าอยู่หัว ทรงพิจารณาระหว่างความจำเป็นพื้นฐาน และความจำเป็นฟุ่มเฟือย ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการให้มองระยะยาว และเดินทางสายกลาง

เศรษฐศาสตร์ ไม่ยั่งยืน เพราะใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ทำให้เกิดโลกร้อน ภัยธรรมชาติ เพราะฉะนั้นเครดิตยูเนี่ยน ต้องรู้หลักทางเศรษฐศาสตร์ และใช้ให้คุ้ม ตัวกำไร ขึ้นอยู่กับนโยบาย  แต่ก็ขึ้นอยู่กับ Risk ด้วย

มีความแตกต่างเรื่องความต้องการระหว่าง Want  คือ ให้ตัวเองมีค่าในสังคม ใช้เงินอย่างเกินความจำเป็น และ need

เศรษฐศาสตร์ กระทบด้านอื่นทั้งบวกและลบ ผลตอบแทนของสหกรณ์เรียกว่า  Social Return

และมีเรื่อง Social cost และ Private cost

            ต้องไม่ให้Social costสูงเกินไป และผลตอบแทนต้องมากกว่าผลต่างของดอกเบี้ย

            ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)

ถ้าสมาชิกเครดิตมีรายได้มากขึ้น ทำให้ C เพิ่มขึ้น

GDP = C+I+G+X-M

C  =  consumption

I    = investment  เป็นสิ่งที่เครดิตยูเนี่ยนจะทำได้สำเร็จ  ถึงเวลาที่จะต้องลงทุนระดับประเทศมากขึ้น  การเรียนในวันนี้ทำให้ควรทำให้ GDP พึ่งพาสหกรณ์เครดิต มากขึ้น

G  =  government spending

X  =  exports

M = imports

นโยบายระยะสั้น คือ นโยบายภาษีรถคันแรก ข้อดีคือ ทำให้มีการใช้จ่ายภายในประเทศสูงขึ้น

GDP ในอนาคตต้องวัด ความสุข สิ่งแวดล้อม และวัดความมีคุณธรรม จริยธรรมในสังคม

อัตราการเจริญเติบโตของ GDP

อัตราการเจริญเติบโต 1.5% (2011)

ภาคเกษตรกรรม             8.6%  ซึ่งส่วนใหญ่สมาชิกเครดิตยูเนี่ยนอยู่ในภาคเกษตร

ภาคอุตสาหกรรม            39%

ภาคบริการ                     52.4 %

ต้องไม่ผลิตสินค้าภาคการเกษตรเพียงอย่างเดียว ต้องทำสินค้าให้ครบวงจร

ในอนาคตหนี้ กับ GDP ต้องไม่เกิน 45%  ถ้า มีหนี้ถึง60 % ประเทศจะแย่มาก

การค้าระหว่างประเทศ

-          ประเทศไทยเป็นเศรษฐกิจเปิด Export = 70% ของ GDP จึงมีความเสี่ยง

-           ตลาดส่งออก แต่ก่อน 3 แห่ง

       ได้แก่ อเมริกา Europe  และ ญี่ปุ่น

-           ปัจจุบัน ตลาดส่งออก ได้แก่  ASEAN ลาตินอเมริกา  ตะวันออกกลางและ แอฟริกา

ความสามารถในการแข่งขัน

1.Infrastructure

2.นโยบายการเงิน การคลัง

3.การเมืองไม่แน่นอน

4.ทรัพยากรมนุษย์/การศึกษา 

- ไทยเกือบเป็นอันดับสุดท้ายในเรื่องการศึกษาในการเข้าสู่ ASEAN

-อัตราการแลกเปลี่ยนถ้าค่าเงินบาทต่ำ จะทำให้การส่งออกดี แต่การนำเข้าไม่ดี

-อัตราการแลกเปลี่ยนถ้าค่าเงินบาทสูง จะทำให้การส่งออกไม่ดี

เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Micro Economics) คือการศึกษาถึงพฤติกรรมการตัดสินใจของบุคคล ครัวเรือนและบริษัทสำหรับการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดในตลาดที่มีผลกระทบต่ออุปสงค์และอุปทานของสินค้าบริการ โดยมีราคาเป็นเครื่องกำหนด

ต้นทุนค่าเสียโอกาส คือการยอมเสียสละสิ่งหนึ่งเพื่อให้ได้สิ่งหนึ่งมา เช่น การยอมเสียสละเวลาพักผ่อนในวันหยุดเพื่อมานั่งฟังการบรรยาย
หาความรู้ให้ตนเอง

Rational  Thinking คือ การคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล เป็นรูปแบบทางสังคมศาสตร์ซึ่งเป็นการศึกษาถึงพฤติกรรม นักเศรษฐศาสตร์มองว่าคนส่วนใหญ่เป็นผู้มีความคิด
ที่ถูกต้อง คิดถึงประโยชน์สูงสุด เช่น Firm ต้องการกำไรสูงสุด เพราะฉะนั้น Firm ก็จะทำทุกวิถีทางเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด แต่ในช่วงหลังๆ มนุษย์โลภ ก็ขาดการคิดเป็นระบบ

ส่วนกลางในทางเศรษฐศาสตร์  ข้อเสียของสหกรณ์ คือ ไม่มีใครเป็นเจ้าของ จึงไมมีการดูแลอย่างใกล้ชิด แต่หากเป็นบริษัทเอกชน ก็จะได้รับการดูแล บริหารงานอีกแบบหนึ่ง เพราะเป็นทรัพยากรที่มี่เจ้าของ

Transaction cost เป็น  Cost  ที่มองไม่เห็น  แต่เป็น Cost  ของการแลกเปลี่ยน  หรือ  Exchange  Cost  ซึ่งสำคัญต่อการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์มี 3 อย่าง คือ

1.      ต้นทุนทางข่าวสาร

2.      ต้นทุนการเจรจาต่อรอง

3.      ต้นทุนในการทำให้เกิดการปฏิบัติตามสัญญา

สินค้าเกษตรที่น่าสนใจ คือ การทำเกษตรแปรรูป

จุดดุลยภาพ ณ ราคาตลาด (Equilibrium) เป็นจุดที่เส้น Demand ตัดกับ เส้น Supply  หมายความว่า สิ่งที่ผู้ผลิต และผู้บริโภค พอใจ

การควบคุมราคา คือ ไม่ให้ราคาสินค้าเท่ากับราคาตลาด 

 

Workshop

กลุ่ม 1 ผู้นำของเครดิตยูเนี่ยน คิดว่าประโยชน์จาการทำความเข้าใจเรื่องเศรษฐศาสตร์ระดับ Macro 3 เรื่องคืออะไร

1.      รู้จักศึกษานโยบายทางการเงินที่ธนาคารแห่งชาติกำหนด ทุก 3 เดือน ทั้งการเพิ่มลด อัตราดอกเบี้ย ให้ทันกับสถานการณ์ ปัจจุบันกำหนดอัตราดอกเบี้ย เงินกู้ 12 % แต่หากจ่ายต้น ดอก ก็จะได้อัตราดอกเบี้ยลดลง

2.      นโยบายพักชำระหนี้ของเกษตรกรในช่วงน้ำท่วม สามารถนำเงินไปทำธุรกิจเพื่อให้ได้เงินก่อน แล้วค่อยชำระหนี้

อ.ทำนอง  เวลาแบงค์ชาติมีนโยบายไม่ต้องรีบทำตามทุกอย่าง

กลุ่ม 2 ผู้นำของเครดิตยูเนี่ยน คิดว่าประโยชน์จาการทำความเข้าใจเรื่องเศรษฐศาสตร์ระดับ Micro 3 เรื่องคืออะไร

1.พฤติกรรมการจูงใจ คือ ผลตอบแทน เงินปันผลต้องพอเหมาะ

2.การจัดสวัสดิการที่หลากหลาย เช่น การตัดสินใจเป็นสมาชิก ได้แก่ เรื่องอายุ

3.บริการที่หลากหลาย  เช่น นำสินค้าราคาถูกมาจำหน่ายให้แก่สมาชิก 

4. พฤติกรรมการฝากเงินในสหกรณ์ ถ้าดอกเบี้ยสูง ก็จะมีสมาชิกเพิ่มขึ้น และมีทุนดำเนินการสูงขึ้น

ถ้าดอกเบี้ยต่ำ ก็จะมีการกู้เงินเยอะ  

อ.จีระ เป็นด้าน Demand side  ต้องมีการบริหารจัดการให้เกิดความสมดุลขึ้น  ดูเรื่องแรงจูงใจ

ในอนาคตควรทำเรื่อง Best banking practice

อ.ทำนอง  เราต้องมีการพัฒนาเรื่อง Smart phone ในการพัฒนาเรื่อง internet banking ให้มากขึ้น

กลุ่ม 3 เมื่อเห็นช่องทางธุรกิจแล้ว คิดว่าโอกาสที่จะทำธุรกิจใหม่มีอะไรบ้าง 3 เรื่อง

1.      โครงการโอนเงินระหว่างสหกรณ์ผ่าน ระบบ IT

โอกาส Internet ใช้ 3g และสมาชิกมีหลากหลายในต่างจังหวัด

หลักการ เริ่มจากการทำ MOU ระหว่างสหกรณ์ และจะต้องเตรียมความพร้อมในเรื่องบุคลากร

วิธีการ ต้นทาง  ใช้การโอนเงินผ่านระบบอินเตอร์เนตไปยังปลายทาง

เอกสาร ไม่ได้ใช้อะไรมากมาย ไม่เสียต้นทุนมาก

2.      โครงการเชื่อมโยงตลาดสินค้าเกษตรของเครดิตยูเนี่ยน

แต่ละสหกรณ์มีสภาพภูมิอากาศต่างกัน เช่นทางภาคใต้ ระยอง

เช่น เอาเงาะไปขายภาคใต้

จ.ระยอง มีอาหารทะเล  จ. กาญจนบุรี  มีหน่อไม้ป่า  จ.อุดร มีปลาร้า เราก็ต้องเชื่อมโยงสินค้าระหว่างสหกรณ์ และสามารถกำหนดคุณภาพของแต่ละพื้นที่ได้

อ.จีระ: ต้องดูว่าสหกรณ์ การเกษตรจะทำงานร่วมกับเราหรือไม่

                  3. ธุรกิจท่องเที่ยวสืบสานวัฒนธรรมล้านนา

            วิธีการ  จัดการอบรมให้กับมัคคุเทศก์ชุมชน ซึ่งต้องสมาชิกเครดิตยูเนี่ยน และมีการให้ทดลองงาน

            ชมศูนย์วัฒนธรรมท้องถิ่น  ไปศูนย์ธรรมชาติบ้านโป่ง ดูการอนุรักษ์กบ  

อ.จีระ โครงการนี้เป็นประโยชน์มากในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และต้องมีมาตรฐานสูงด้วย

           

กลุ่ม 4 ในระดับ ASEAN จะมีโครงการอะไรที่เสนอแนะ 3 เรื่อง

1.      การเชื่อมโยงเครือข่ายเครดิตยูเนี่ยนระหว่าง 10 ประเทศ  ประเทศไทย มาเล สิงค์โปร์ ฟิลิปปินส์  เข้มแข็งมาก

อ.จีระ ประเทศฟิลิปปินส์ ได้เปรียบเรื่องภาษา เราต้องรีบทำ ในการจัดประชุมอาเซียนในประเทศไทย 

2.      โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยนานาชาติเครดิตยูเนี่ยน

3.      ส่งเสริมให้สหกรณ์มีมัคคุเทศก์ ระหว่าง 10 ประเทศ ในการทำการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

อ.ทำนอง  อยากให้ชัดเจน ในเรื่องผลประโยชน์ที่จะได้รับ

            ศักยภาพของเราส่วนไหนที่ทำได้เลย ก็ควรทำ

ต้องดูเรื่องส่วนร่วมด้านเงิน วิชาการ เทคโนโลยี และกฎหมาย ของแต่ละประเทศอย่างไร

 

กราบเรียน อ.ที่เคารพ หนูได้ติดต่อทางโทรศัพท์ ไปที่คุณสีโทนแล้ว โทรศัพท์มือถือเป็นเสียงที่ตอบมาแล้วฟังไม่เข้าใจ ไม่ใช่ภาษาไทย ส่วนโทรศัพท์บ้านไม่มีใครรับสาย คาดว่าวันนี้จะไปดูที่ให้ ท่านอาจารย์ แต่ก็ไปไม่ได้ เพราะไม่สามารถประสานทางโทรศัพท์ได้ จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ

ดารณี คงมั่น

กราบเรียนอาจารย์ ผมลูกศิษย์ผู้นำสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนรุ่น 2 หลังจากจบโครงการก็ได้เข้ามาอ่านบทความเรื่อย ๆ ครับ ซึ่ง อ.จีระ ได้พูดไว้อยู่คำหนึ่งและจำได้ดี "ว่าหาสิ่งที่ประเทืองปัญญาใส่ในกะโหลกเยอะๆ" หลังจากจบโครงการผู้นำ ทำให้ว่าสิ่งที่ได้เรียนรู้มาเป็นการเริ่มต้นเท่านั้นเองครับ ...... ขอให้บล็อคนี้มีสิ่งดี ๆ เข้ามาประเทืองปัญญาพวกเราด้วยครับ และจพยายามแชร์บล็อคนี้แก่พี่น้องร่วมรุ่น และบุคคลภายนอกได้ทราบ ขอบคุณครับ ^_^

กราบเรียนท่านอาจารย์ที่เคารพอย่างสูง ว่าจะไปดูบ้านให้ท่านคุณสีโทนไม่รับสาย แต่มีเสียงผู้หญิงรับแต่ไม่ได้พูดภาษาไทย เลยสื่อสารกันไม่ได้ "สุขสันต์วันพ่อนะคะอาจารย์ ด้วยความเคารพอย่างสูง ดารณี คงมั่น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท