“สื่อออนไลน์”.. หนึ่งปีให้หลัง ยังมีค่า ( ๒ )


ผลงานสเกลเล็กๆ ที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเรียนรู้ และแบ่งปันองค์ความรู้ บนโลกออนไลน์ ยังมีคุณค่า แม้เวลาผ่านไป

“สื่อออนไลน์”

หนึ่งปีให้หลัง ยังมีค่า ( ๒ )

 

บันทึกนี้ เขียนต่อจากบันทึก สื่อออนไลน์ (๑) ...ผลงาน.. สื่อที่ได้ผลิตโดย "ครูพื้นที่" และ upload ไว้ใน youtube  จำนวน 10 ชิ้นในระยะเวลา 1 ปี เพื่อใช้ในการเรียนการสอน และทำกิจกรรมการเรียนรู้  แต่ละชิ้นมีสาระและจุดประสงค์ที่ต่างกัน 



วัตถุประสงค์ในการผลิตสื่อนี้ เพื่อใช้ในกระบวนการเรียนรู้ต่อศิษย์ที่สอนโดยตรงแล้ว ก็ต้องการแบ่งปันให้กับผู้สนใจทั่วไป อยู่ส่วนไหนของโลกก็เข้าถึงได้ จึงเป็นช่องทางของการเรียนรู้ภาษาอังกฤษซึ่งใช้ในการ ศึกษาผลการวิเคราะห์ทางสถิติ (youtube analysis) ปรากฏว่่าทั้งหมดมีผู้เข้าชม (view) จาก  81 ประเทศ  และประเทศ USA มีจำนวน 40 รัฐ  เป็นเข้าชมในภาพรวม แต่ละชิ้นงาน มีการแสดงความคิดเห็น  มีความชอบ/ไม่ชอบ /โปรด  (like, dislike  & favorite) และอื่นๆ   

 

 

ทั้งนี้ผลงานที่มีจำนวนผู้เข้าชมมากที่สุด เป็นการเล่นดนตรี ฝึกซ้อม “เพลง บุรงกากา” เป็นดนตรีพื้นบ้านของประเทศอินโนนีเซียและมาเลเซีย  ฝึกซ้อมเล่นเพื่อทำกิจกรรมร่วมกันในพื้นที่ พหุวัฒนธรรมถิ่นใต้ชายแดนไทย  หลายท่านที่ติดตามก็คงได้ดูแล้วในบันทึกก่อนหน้านี้  เป็นการฝึกเล่นไวโอลิน ที่บ้านสวน โดยซ้อมเล่นเพียง 2 ชั่วโมง สำหรับผู้ฝึกเล่นไวโอลินใหม่ๆ สนุกทีเดียว  ก่อนที่จะบันทึกวีดีโอ   ผลงานนี้มีผู้เข้าชม 42  ประเทศ  ใน 8 เดือน ที่เผยแพร่ไป

 

ผลงานสเกลเล็กๆ บอกได้ว่า.. ผู้คนที่เข้าชม youtube นิยมสื่อบันเทิง สนุกสนาน ถึงแม้ว่าผลงานจะมาจากบุคคลประเภทไหน.. no name...   และเช่นกันเป็นผลงานที่มีเปอร์เซ็นต์ผู้ชมเป็นเพศชาย ( 77%) มากกว่าเพศหญิง (22 %) ค่าสถิติเหล่านี้เป็น หนึ่งในข้อมูลที่นำมาใช้เป็นสื่อเรียนรู้ เช่นกัน

 

เนื่องจากได้นำคลิปวีดีโอนี้ มาใช้ประกอบการเขียนบันทึกในโกทูโนว์ http://www.gotoknow.org/blogs/posts/484354   ครั้งนี้จึงเปลี่ยนเป็นเนื้อร้องเพลงไทย  คำร้องโดยพ่อ..ซึ่งเล่าเบื้องหลังว่า ไปเล่นดนตรี และถูกร้องขอให้แต่งเพลงหนึ่งเพลง กระทันหัน ในงานแต่งงานของเพื่อนสนิท เลยได้เป็นเพลงนี้  เราร้องเล่นกันที่บ้าน  หรือใช้เล่นในงานสังสันท์ สนุกสนาน ถ้าสนใจก็ร้องตามเลยนะค่ะ ทำนองเดียวกับ บูรงกาก๊า  เทียบเคียงบรรทัดต่อบรรทัด :-))

 

เพลง..ยูงงาม               เพลง..บูรงกาก๊า

 

ยูงทอง ล่องฟ้า มาไกล                    บูรง กาก๊า ตูอา

 

อย่างหยิ่ง วิไล ในหล้า                 ฮิ่งกับ ดีจันเดอลา

 

ยูงงาม อร่ามล้ำ นำนภา              แนะแนะ ซุดา ตูอา

 

เหมือนดังว่า นารี พิไล             กิงกินยา ติงกัล ดูวอ

 

(ซ้ำ)ใครนั่น ใครเอ่ย งามงอน งามตราตรึง        เรซุม เรซุม เรซุม ฮูลาลา

 

ซึ้งใจ ซึ้งใจ ไม่มี ใครงามเกิน                         เรซุม เรซุม เรซุม ฮู ลาลา

 

 งามยิ่ง งามยิ่ง ดั่งยูงทอง ยามเหิร              เรซุม เรซุม เรซุม ฮูลาล๊า

 

ลอยฟ้า พาเพลิน ตาชม                   บูรง กากา ตูอา

 

 

AAR:

*การ ฝึกเล่นดนตรี ทำนองพื้นบ้านของอินโดนีเซียและมาเลเซีย ที่ได้ยินกันบ่อยในพื้นที่พหุวัฒนธรรมถิ่นใต้ ที่ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมหลากหลายทั้ง จีน แขกเทศ ไทย ฝรั่งมังค่า เป็นสิ่งที่ช่วยเสริมสร้างความจรรโลงใจ และทักษะกระบวนการเรียนรู้ ทั้งครู-ศิษย์

 

* ประเมินจาก การที่ผู้เรียนนำเพลงนี้ไปทำกิจกรรมและร่วมร้องกับผู้สอน และขณะทำกิจกรรมนอกห้องเรียนได้อย่างสนุกสนาน เสริมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ดี :-))

 

วรรณชไม การถนัด

๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๕

pax vobiscum (๒/๑๙)

หมายเลขบันทึก: 499039เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2012 22:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มีนาคม 2013 11:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

อ่าน...“สื่อ..บน youtube”....ช่วยอ่าน "สื่อรัก...สื่อแรก...ของ P'Ple"  ด้วยนะคะ....ขอบคุณค่ะ

ชอบค่ะอาจารย์ เพลงน่ารัก ค่ะ

 สวัสดีค่ะ P'Ple .. BlankSomsri

ขอบพระคุณที่แวะมาให้กำลังใจและฝากความเห็นไว้ค่ะ ..ได้เข้าไปติดตามบันทึกที่มีคุณค่าของ P'Ple แล้วนะค่ะ :-))

  • โอโหพี่
  • ไพเราะมาก
  • เป็นเพลงที่ฟังแล้วมีความสุข
  • ส่งเสริมสัมพันธ์ในครอบครัวและชุมชน
  • เพิ่งเห็นพ่อพี่ท่าน อาจารย์ใหญ่ สุชาติ การถนัด
  • ท่านแข็งแรงมากเลยนะครับ
  • สมันก่อนท่านเคยอยู่อ่าวลึกประชาสรรค์ ด้วยใช่ไหม
  • ฝากคารวะด้วยครับ

สวัสดีค่ะน้องแอ๊ด

ขอบคุณค่ะสำหรับคำชม ให้นักดนตรีฝึกหัด อ่อนหัด และอ่อนซ้อม อย่างพี่ค่ะ ส่วนพ่อที่ช่วยนำทางให้ก็ท่านเล่นของท่านเป็นปกติอยู่แล้ว อืืมม์... อย่างที่บอกว่า พี่ไม่อายที่จะเอากระบวนการเรียนรู้ ของตัวเอง ในรูปแบบต่างๆ มาเป็นแรงจูงใจให้กับศิษย์ เพราะส่วนใหญ่ศิษย์ก็จะเห็นภาพสุดท้ายที่ครูเป็น คราวนี้เลยให้เห็นว่ ถ้าจะต้องเร่ิมต้นในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เราต้องผ่านการฝึกฝน เรียนรู้ อดทนอย่างไร เป็นธรรมชาติของการไม่รู้และฝึกฝนให้รู้ได้ แฮ่ๆ ..โขคดี พี่เลือกเอาบทเรียนที่มีทั้งความสนุกและ อาจมองให้ขบขันก็ได้ ในการฝึกซ้อมไวโอลิน เล่นเพลงที่จะทำกิจกรรมร่วมกัน และเป็นเพลงที่ใช้ภาษาเดียวกันกับที่ศิษย์ใข้ในชีวิตประจำวัน ถึงแม้ว่าจะเป็นเพลงพื้นเมืองของอินโดฯ หรือ มาเลย์ฯ แต่กลิ่นอายก็คล้ายๆกับพื้นที่ชายแดนใต้ที่พี่ทำงานอยู่ เลยเรียนรู้กัน ปนไปกับความสนุกค่ะ น้องแอ๊ด ทำกิจกรรมร่วมกันก็ร้องกันสนุกสนาน แต่ในเมื่อคราวนี้นำเสนอเรื่องของสื่อและการแบ่งปัน บนโลกออนไลน์ ก็เลยเปลี่ยนเป็นเนื่้อร้องไทยๆบ้าง น้องแอ๊ดร้องตาม บ้างหรือยังค่ะ ??

โห... ดีใจจังค้ะ จุดไต้ตำตอ :-)) น้องแอ๊ดเคยรู้จักคุณพ่อพี่ด้วยเหรอค่ะ ค่ะจะบอกให้นะค่ะ ว่าแต่พี่จะบอกว่า น้องแอ๊ดเคยรู้จักพ่อพี่ในเรื่องใดๆ หล่ะค่ะ ท่านต้องถามพี่แน่ๆ กรุณาบอกเล่าเก้าสิบจ๊า วันหลังจะรับไปเยี่ยมที่บ้านเลย ท่านคงดีใจค่ะ พ่อพี่ก็แข็งแรงตามประสาวัย 80 ปีค่ะ อีกไม่นานพี่จะได้กลับบ้านไปเยี่ยมท่าน จะได้ถือโอกาสโม้ให้ฟังหน่อยค่ะ :-))

สวัสดีครับคุณครู เยี่ยมจริง ๆ ครับ

สวัสดีค่ะ คุณครูแว่นธรรมทอง,

ขอบพระคุณ คุณครูสำหรับคำชม ถ้าหลวมตัวให้คำชมแล้วละก้อ คราวต่อไปมีแบบฝึกหัดใหม่ เพลงอื่นมาให้ดูอีกแน่ๆเลยค่ะ :-))

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท