ประเพณีชิงเปรต


ก่อนถึงการ “ชิงเปรต” ที่ว่าก็จะมีการ “ตั้งเปรต” ก่อน จากนั้นพอรอสักครู่ (กะว่าวิญญาณญาติพี่น้อง ปู่ ย่า ตา ยาย หรือวิญญาณแร่ร่อน มากินของที่ตั้งเปรตเสร็จแล้ว จึงให้ลูกหลานที่รายรอบอยู่ทุกคนได้ชิงเปรตเอาของที่นำมาตั้งเปรตไว้)

     เมื่อวานซืน (3 ตุลาคม 2548) เป็นวันทำบุญเดือนสิบ หรือที่เรียกว่า “ชิงเปรต” หากมีหลายท่านจะบอกว่าไม่ค่อยสุภาพ ผมก็ยังยืนยันที่จะเรียกอย่างนี้ เพราะในชุมชนเรียกอย่างนี้จริง ๆ โดยก่อนถึงการ “ชิงเปรต” ที่ว่าก็จะมีการ “ตั้งเปรต” ก่อน จากนั้นพอรอสักครู่ (กะว่าวิญญาณญาติพี่น้อง ปู่ ย่า ตา ยาย หรือวิญญาณแร่ร่อน มากินของที่ตั้งเปรตเสร็จแล้ว จึงให้ลูกหลานที่รายรอบอยู่ทุกคนได้ชิงเปรตเอาของที่นำมาตั้งเปรตไว้) ของที่นำมาตั้งเปรตก็จะมีเช่นขนมลา ขนมเจาะหู ขนมบ้า ขนมพอง ขนมเทียน ผลไม้ตามฤดูกาล น้ำ ข้าว แกง เงิน เป็นต้น การตั้งเปรตจะทำในตอนสาย เวลาใกล้เคียงกับที่พระฉันเพล
     ในส่วนสากลจะเรียกว่าวันสารท หรือวันทำบุญเดือนสิบ  งานบุญเดือนสิบ เป็นงานบุญงานประเพณีที่สืบสานกันมาแต่โบราณกาล มีขึ้นในวันแรม 1 ค่ำ (รับเปรต) และวันแรม 15 ค่ำ (ส่งเปรต) เดือนสิบ
เป็นประเพณีที่ชาวพุทธได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพราหมณ์ สืบเนื่องมาจากความเชื่อที่ว่า พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย และ ญาติพี่น้อง ซึ่งล่วงลับไปแล้ว โดยเฉพาะผู้ที่มีบาปต้องตกระกำลำบากเป็น “เปรต” จะได้รับการปล่อยตัวจากนรกภูมิให้มาหาลูกหลานญาติมิตรของตนในเมืองมนุษย์ จึงจัดงานทำบุญเป็นประเพณีขึ้นในวันแรม 1 ค่ำ ครั้งหนึ่งเป็นการต้อนรับ กับจัดในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 อีกครั้งหนึ่ง เพื่อเลี้ยงส่ง และอุทิศบุญกุศลไปให้ การจัดงานบุญทั้งสองวันนี้ชาวบ้านจะให้ความสำคัญกับวันหลังมากกว่า

     ชาวปักษ์ใต้ให้ความสำคัญกับงานบุญเดือนสิบมาก ผู้เฒ่าผู้แก่จะอบรมสั่งสอน และ ทำตัวอย่างให้ลูกหลานเห็นเป็นที่ประจักษ์มาตั้งแต่รุ่นก่อน ๆ โดยเฉพาะคุณตา คุณยาย พ่อแม่ และญาติผู้ใหญ่ ในวันทำบุญจะชวนลูกหลานไปทำบุญหรือไปชิงเปรตที่วัด เมื่อใกล้ถึงวันทำบุญทุกครอบครัวจะตระเตรียมข้าวของ อุปกรณ์ต่างๆให้พร้อม ผู้ที่อยู่ต่างถิ่นกำเนิดจะเริ่มทยอยเดินทางกลับสู่ภูมิลำเนาเดิมปักษ์ใต้บ้านเรา เพื่อไปร่วมพิธีทำบุญพร้อมหน้าพร้อมตากัน นับเป็นงานรวมญาติที่สำคัญงานหนึ่ง
     ปีนี้ผมไม่ได้ไปทั้งขารับ และขาส่ง ด้วยเหตุผลว่าขารับอยู่กรุงเทพฯ ไปประชุมฯ 3 วันติดต่อกัน ขาส่งก็ต้องเตรียมข้อมูลและดำเนินการขออนุญาตไปนำเสนอโครงการเอื้ออาทรคนพิการเข้าถึงสิทธิฯ ที่สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (แผนงานสร้างเสริมสุขภาพคนพิการในสังคมไทย หรือ สสพ.) ก็ได้แต่เพียงนำของไปฝากไว้กับพ่อเมื่อวานซืน (2 ตุลาคม 2548) จึงไม่มีรูปมาให้เห็นบรรยากาศครับ

หมายเลขบันทึก: 4987เขียนเมื่อ 5 ตุลาคม 2005 20:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
     เรื่องต่อเนื่องกันที่ งานบุญเดือนสิบ

ดีคับบบ...ผมว่าน้า ดีมากๆ...เริสๆ

จากกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา...และรวดเร็ว ที่ดำเนินไปในลักษณะของการเปลี่ยนแปลงที่มีลักษณะ...เป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งโลก (Global) ...โลกแคบเข้า..ความทันสมัยเพิ่มขึ้น...ความล้าหลังเริ่มหายไป...รวมถึงวัฒนธรรม...ขอเพียงแค่ได้ระลึกถึงสิ่งที่ดีงาม..ด้วยหัวใจอันมีสุข (Mind's eyes) ก็เพียงพอแล้วมิใช่หรือ...
     ผมตามตอบช้าไปมาก แต่ยังอยาก ลปรร.ด้วย ชอบมากที่ Dr.Ka-poom คนหนึ่งก็ยังคิดห่วงใย "วัฒนธรรม" ดีใจจริง ๆ หากคิดได้หลาย ๆ คน เข้า Globalization ไม่น่ากลัวอะไรครับ เผชิญได้อย่างมีสติและรู้เท่าทัน ผมว่าอย่างนั้นนะ

เป็นเนื้อหาสาระที่ดีมากคะ  หนูกำลังหาเกี่ยวกับวันชิงเปรตแล้วจะไปนำเสนอให้เพื่อนภาคต่างๆรุ้กัน  หนุเป็นคนนครแต่ไม่ค่อยรุ้เรื่องดี  ว่าจะกลับไปถามป๊ะกับม๊ะเพิ่มเติม  แต่หาเนื้อหาไว้ก่อน  หนู่ชอบการเล่าขอคุณจัง  เป้นการอ่านสารคดีสักเรื่องที่ไม่น่าเบื่อเลย  ขอขอบคุณในข้อมูลด้วยคะ  อ้อ  หนูก้มีเว๊ปใน Gotoknow เช่นกันคะ  ลองเข้าไปดูได้นะคะ  แล้วให้ข้อคิดหนูด้วยนะคะ

เรียนคุณชายขอบ

  • เนื้อหาดีจริงค่ะ  ทำให้ผู้อ่านได้รู้วัฒนธรรมประเพณีที่กำลังหดหายไป

ขอบคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท