โลกนี้ไม่ได้มีแค่ "สีขาวกับสีดำ"


           เมื่อวานนี้ได้เจอเพื่อคนหนึ่งมันเป็นวิศวกร  สมัยเรียนมัธยมด้วยกันนี่ต้องบอกว่ามันเรียนเก่งมากๆ  แต่วิธีคิดของมันไม่ค่อยเหมือน ชาวบ้านเท่าไร  เพื่อในห้องมักบอกว่า ไอ้นี่มันเกิน ไม่ใช่ไม่เต็ม  เมื่อ 2 ปีก่อนนี่มันเบื่อการเป็นลูกน้องเขา  มันตัดสินใจหอบลูกหอบเมียมันกลับมาอยู่บ้านที่ พิมาย  กลับมาเพื่อทำนา  วิธีการทำนา บนที่นาเป็น 100 ไร่ที่มันมี  ของมันยิ่งแปลก  เรียกว่าได้ใจนักอนุรักษ์นิยมทีเดียว  ไปเจอมันครั้งก่อนช่วงเกี่ยวข้าว  คนอื่นเขาใช้รถเกี่ยวข้าวกันเสร็จเรียบ  แต่ของมันนี่ยังเหลืออีกประมาณ  20 ไร่  ปล่อยไว้อย่างนั้น  ถามมันว่า  ทำไม่ไม่เกี่ยวให้หมด มันบอก เอาไว้จ้างชาวบ้านที่ไม่มีงานทำไปเกี่ยว  คนแก่ไม่ค่อยมีรายได้  แต่ยังแข็งแรง  ก็ให้ค่อยทำไป  เรียกว่าเหตุผลได้ใจชลัญ  ทีเดียว 

          ครั้งนี่มาเจอกันอีก  ก็คุยสัพเพเหระไป  อยู่ๆ มันก็บอกว่า มีนิทานจะเล่าให้ฟัง  เรื่องขาวกับดำ  มันบอกอ่านเจอในอินเตอร์เนตอีกทีหนึ่ง  เรื่อง "ขาวกับดำ"

         มีเศรษฐีคนหนึ่งนิสัยเจ้าเล่ห์ ชอบเอาเปรียบคนอื่นทำนาบนหลังคน   หลงรักลูกสาวชาวนาซึ่งติดหนี้สิน เศรษฐีนี้อยู่    แต่สาวเจ้าไม่เล่นด้วย   จึงออกอุบาย เพื่อบังคับ  จึงให้ชาวนามาหาที่บ้านพร้อมกัลลูกสาว  แล้วก็พาเดินไปคุยในสวนหลังบ้าน  ซึ่งพื้นสวนนั้นถูกโรยด้วยกรวดสีขาวกับสีดำ  ตกแต่งสวน ซึ้งจัดได้อย่างสวยงาม  แล้วเศรษฐีก็เริ่มเจรจากับชาวนาเรื่องหนี้สิน   ซึ่งชาวนานั้นก็ยังไม่มีปัญญาจะหามาคืนให้ได้  ดังนั้นเศรษฐีจึงยื่นข้อเสนอ  ให้เสี่ยงดวง โดยการจับกรวดที่อยู่ในถุงผ้า

          หากจับได้สีขาวจะยกหนี้สินทั้งหมดให้  

          หากจับได้สีดำนั้นลูกสาวของชาวนาต้องแต่งงานกับตน เอง  

          เมื่อไม่มีทางเลือก  ชาวนา จึงทำตามข้อตกลง  โดยมีนายอเภอที่เป็นที่เคารพมาเป็นพยานในครั้งนี้ ด้วย 

          ขณะที่เศรษฐี กำลังเอาก้อนกรวดใส่ไปในถุงผ้านั้นลูกสาวชาวนาสังเกตว่า เป็นสีดำทั้ง 2 ก้อน  ครั้นจะทักท้วง  ก็เกรงว่า  เศรษฐีจะเสียหน้าพาลโกธร  ไม่ยกหนี้สินให้ตามสัญญา  และจะกลายเป็นเรื่องใหญ่กว่าเดิม  เธอจึงคิดวิธีแก้ไข สถานการณ์นั้นด้วยความรอบคอบ 

         ชาวนาให้ลูกสาวเป็นคนเลือกก้อนกรวดนั้นเพื่อตัดสินชะตาชีวิตตัวเองและครอบครัว  

          เมื่อเธอล้วงมือเข้าไป   หยิบก้อนกรวดในถุงผ้านั้นออกมา เธอก็แกล้งทำมันหล่นลงพื้น  แล้ว  อุทานด้วยความตกใจว่า  

        " อุ๊ยท่านเศรษฐี  ข้าขอประทานโทษ  ข้าตื่นเต้นมาก  ทก้อนกรวดนั้นหล่นไปแล้ว  แล้วข้าก็จไม่ได้แล้วว่ามันเป็นก้อนไหน  แต่คงจะดูไม่ยาก  เพราะในถุงนั้น  มีก้อนกรวดเพียง 2 ก้อน  คนละสี  หากก้อนที่เหลืออยู่นั้นคงบอกเราได้ว่า  ก้อนที่หล่นไปเป็นสีอะไร "

        เศรษฐี  พูดอะไรไม่ออก เป็นไปดังคาดเพราะก้อนหินที่ เหลืออยู่นั้นเป็นสีดำ  จึงทำให้ทุกคนที่อยู่นั้นรับรู้ได้ว่า ก้อนที่หล่นนั้นเป็นสีขาวแน่นนอน ด้วยสัจจะที่ประกาศออกไปทำให้ เศรษฐีต้องยกหนี้สินให้แก่ชาวนา  และไม่ยุ่งเกี่ยวกับลูกสาวชาวนาอีกต่อไป 

................................................................................................

      ฟังนิทานของเพื่อนเกินๆ จบ  ต้องขอปรบมือดังๆ  ให้เจ้าของเนื้อเรื่องช่างเปรียบเปรยได้ดีทีเดียว  พร้อมกับถามเพื่อนว่าทไมถึงเล่าเรื่องนี้ให้ฟัง เพื่อนมันบอกว่า

        "คนเราส่วนใหญ่ถูกสอนมาให้มองปัญหาแบบขาวกับดำ หรือถูกกับผิด สิ่งนี้ทำได้ สิ่งนี้ทำไม่ได้  ซึ่งจริงๆแล้ว ไม่ใช่ทุกปัญหาสามารถแก้ไขได้อย่างขาวกับดำเสมอไปในทางตรงข้าม หากเราลองมองต่างมุม จะพบว่าหนทางการแก้ปัญหามีมากกว่าหนึ่งสายเสมอและการยืดหยุ่นพลิกแพลงไปตามสถานการณ์เป็นวิธีการหนึ่ง ได้เสมอ  บางครั้งในการแก้ปัญหา เราอาจต้องสร้างเครื่องมือในการแก้ปัญหาขึ้นมาใหม่ ด้วยซ้ำ แต่ทำไมคนเราชอบตัดสินเพียงแค่ขาวกับดำ"   

       ซึ่งเมื่อชลัญ ได้ฟังเพื่อพูด ก็ได้ถามไถ่ เหตุต่างๆ  ก็พบว่าเพื่อนกำลังมีปัญหานั้นเอง คงไม่เล่าถึงรายละเอียด 

       แต่ที่ชลัญชอบก็คือแนวคิดนี่แหล่ะ  

      ใช่เลย  การคิดแก้ไขปัญหาทุกอย่าง หรือการตัดสิน คน นั้น เราไม่ควรคิดหรือตัดสินเพียงแค่ สอง ถูก+ ผิด  ดี + เลว  ได้ + ไม่ได้ แต่เราควรคิดพินิจให้รอบคอบถึงเหตุ และปัจจัย ต่างๆ ที่ทำให้เกิดปัญหานั้น  วิเคราะเป็นประเด็น  จะทำให้เราสามารถ แก้ปัญหา  หรือตัดสินใจในเรื่องต่างๆ  ได้อย่างแยบยล  ละเอียดละออ  เกิดความยืดหยุ่น

         ผู้ได้รับผลกระทบนั้นไม่มีใครเสีย   แต่ ได้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง  แต่เราจะทำอย่างไรเล่าที่จะทำให้ทุกคนเห็นความจริงในข้อนี้  โดยเฉพาะผู้ที่มีอำนาจ  หากชอบใช้อนาจสั่งการเพียงเพื่อ ถูกผิด แล้ว  นั้น  ผู้ได้รับผลกระทบมักไม่มีใครได้  มักเสียทั้งคู่  อย่างน้อยคนที่ถูกตัดสินว่าถูกก็จะหย่ามใจว่าทำอะไรก็ถูกซึ่งต่อไปจะไม่รู้ตัวเองว่า สิ่งที่ตัวเองทำนั้นถูกหรือผิด หรือ ไม่ถูกไม่ผิด   ส่วนคนที่ถูกตัดสินว่าผิด ก็จะรู้สึกแย่ว่าทำอะไรก็ผิด  ก็จะยิ่งคิดไปใหญ่ว่า ทำดีไม่ได้ดี  ก็ไม่ต้องทำล่ะกัน  นี่แหล่ะคือเสียทุกภาคส่วน

         ซึ่งการคิดแบบนี้ในระบบราชการนั้นมีมากทีเดียว  คิดแล้วน่ากล้ว  ไม่รู้ว่า ระดับผู้บริหารจะมีใครคิดแก้ปัญหาได้อย่างแยบยลเหมือนลูกชาวนา  มั๊ยหนอ 

 

 

ชลัญธร

 

 

 

 

        

หมายเลขบันทึก: 498269เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2012 14:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 สิงหาคม 2012 09:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

อัจฉริยะ มีเส้นแบ่งบาง ๆ กับ คนประหลาด ;)...

ย่อมคล้ายเจ้าของบันทึกเป็นเรื่องธรรมดา ;)...

ไม่ขาวไม่ดำคงจะดี  เอาแค่สีเทาๆก็คงพอนะคะ

เอ! ......อ.was อ่านแล้วทะแม่งๆ .....กระซิบถามเบาๆ ...ชมใช่มั๊ย ( แบบครั้นจะดีใจก็อายเขาน่ะ )

ระดับผู้บริหาร จะมีใครคิดแก้ปัญหาได้อย่างแยบยล ... ฟังแล้วคล้ายกับการคิดแบบโยนิโสมนัสสิการ์ เลยนะคะ

   ซึ่งการคิดแบบนี้ในระบบราชการนั้นมีมากทีเดียว  คิดแล้วน่ากล้ว

โดยส่วนตัว หลังจากทำงานมาเกินครึ่งชีวิต
พยายามเอาหลักธรรมของพระพุทธองค์มาใช้

เช่น ก่อนจะคิดลบ ให้คิดหาทางบวกโดยจิตเมตตาอย่างจริงใจ
ให้มองหาข้อดีของผู้ร่วมงานหรือประเด็นที่เราเกี่ยวข้อง
มองสิ่งที่เกิดประโยชน์ต่อทุกฝ่าย

ทำไม่ได้ตลอด แต่รู้สึกว่า ทำงานสบายใจขึ้นมากเชียวค่ะ 

คิดและทำนอกกรอบ ใช่มั๊ยคะน้องชลัญ แต่น้อยคนที่จะคิดได้นะคะ เลยมีแค่ถูก-ผิด ขาว-ดำ ดี-เลว

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท