“อบต.บางพระ”อปท.สร้างการเรียนรู้ชุมชนเข้มแข็ง
<p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">อบต.บางพระเป็นหนึ่งตัวอย่างดี ๆ ของการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เราได้พบจากการไป “จับภาพการจัดการความรู้” และพบว่า </p> <table border="0" align="center"><tbody>
อบต.บางพระ ประชาชนเป็นใหญ่
</tbody></table><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">อบต. บางพระ มีกระบวนการชุมชนเข้มแข็งมาก ผู้นำไม่ว่าจะเป็นกำนัน นายก อบต. พระสงฆ์ ชาวบ้าน เข้ามาร่วมทำงานกันอย่างดีมาก ดึงศักยภาพของหน่วยงานต่างๆ เข้ามาร่วมด้วย โดยมองประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน ของชุมชนเป็นสำคัญ ทำให้แต่ละส่วนได้เรียนรู้ ได้คิด ในชุมชนนี้ ไม่ใช่มี อบต. เป็นองค์กรท้องถิ่นอย่างโดดเดี่ยว แต่มีองค์กรภาคประชาชนในรูปของกลุ่มต่างๆ ตั้ง 40-50 กลุ่ม ทำงานร่วมกับ อบต. อย่างใกล้ชิด กระบวนการทำงาน นอกจากทำให้เกิดการเรียนรู้ ทำให้การทำงานโปร่งใสแล้ว ยังทำให้เกิด จิตวิญญาณของความรัก ความสำนึกร่วมของคนในชุมชน</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">ทั้งนี้จากการ สังเกตุการณ์ประชุมสภาอบต.บางพระ และ พูดคุยกับตัวแทนกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มสตรี และ กลุ่ม อสม. รวมทั้งคุณวรยุทธ ช่วยณรงค์ นายก อบต. บางพระ ทำให้เห็นภาพปัจจุบันของ อบต. คือการทำหน้าที่ประสาน เอื้ออำนวย และสนับสนุน การทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ โดยประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ที่เสนอของความช่วยเหลือหรืองบสนับสนุนมายัง อบต.และมีการพิจารณาบรรจุอยู่ในแผนการดำเนินงานของ อบต.ทั้งระยะสั้นและระยะยาว </p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">นางเยาวมาฎ คงสาคร รองนายก อบต. บางพระ บอกว่า เมื่อ อบต.จัดสรรไปแล้วกลุ่มต่าง ๆ เหล่านั้นก็ไปดำเนินการกันเอง มีกระบวนการของการสรุป ทบทวน ทำแผน ทำประชาคม จนได้แผนสรุป(โครงการ)แล้วจึงเสนอขึ้นมายัง อบต.พิจารณาซึ่งมีทั้งการทำเวทีประชาคมหมู่บ้าน และประชาคมตำบล จึงจะนำประเทศสู่การจัดสรรสนับสนุน โดยจัดลำดับความสำคัญ ความจำเป็นของการช่วยเหลือ ซึ่งจากกระบวนการดังกล่าว ส่วนใหญ่ อบต.ก็จะจัดสรรงบสนับสนุนให้ เพราะจากแผนหมู่บ้าน/กลุ่ม มาเป็นแผนตำบล และเมื่อได้รับจัดสรรงบไปดำเนินการแล้ว ปีละ 1 ครั้งจะมีการประชุมใหญ่ที่ทุกกลุ่มจะได้มาเจอกัน แต่ระหว่างปีดำเนินการเขาก็ทำในส่วนของตัวเองและมีการเชื่อมโยงความช่วยเหลือความร่วมมือกันอยู่แล้ว </p><table border="0"><tbody><tr>
คุณเยาวมาฏ รองนายก อบต.บางพระ
ผู้ใหญ่แอ๊ว ปธ.เครือข่ายกลุ่มสตรีบางพระ
ปธ.เครือข่ายกลุ่มผู้สูงอายุ ต.บางพระ
</tr></tbody></table></span><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">นางยุพิน จิตรไพบูลย์ ประธานเครือข่ายกลุ่มสตรี บอกว่า ที่อบต.บางพระ กลุ่มที่มีความสำคัญและเชื่อมโยงกับทุกกลุ่มกิจกรรมที่เกิดขึ้น คือ กลุ่มสตรี และกลุ่มผู้สูงอายุ เริ่มจากกลุ่มสตรีที่เมื่อผู้หญิงมารวมกันได้ก็นำไปสู่การสร้างกลุ่มอาชีพต่าง ๆ เช่น กลุ่มดอกไม้จันทร์ ซึ่งต่อมานั้นเมื่อได้ไปเรียนรู้ดูงานที่ต่าง ๆ ก็จะใช้การจดจำบ้าง ขอให้เขามาสอนให้บ้าง จนสามารถประยุกต์ดัดแปลง จนเกิดกลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้า เย็นเสื้อชั้นใน (เป็น OTOP มียี่ห้อของกลุ่มวางขายห้างโลตัส) เศษผ้าที่เหลือก็ส่งต่อให้กลุ่มเยาวชนไปประดิษฐ์ดอกไม้ เป็นต้น </p> ประธานกลุ่มผู้สูงอายุ บอกว่า เมื่อมีการมีการรวมกลุ่มผู้สูงอายุ ทำให้รู้ปัญหาของผู้สูงอายุที่ ต้องการให้ลูกหลานมาดูแล เอาใจใส่บ้าง เราจึงคิดกิจกรรมที่จะฟื้นฟูทั้งสภาพร่างกายและจิตใจของผู้สูงอายุ โดยทำร่วมกับทีม อสม.ซึ่งก็มีอยู่ในทุกหมู่บ้าน ส่วนใหญ่เป็นการไปทัศนศึกษาให้ได้เปิดหูเปิดตา ได้พบเพื่อนวัยเดียวกันได้คุยกัน กิจกรรมที่ทำผู้สูงอายุก็คิดกันเอง ทำเองบ้าง ทำร่วมกับ อสม.บ้าง สร้างสุขภาพ สร้างสุขภาวะ โดย อบต.สนับสนุนในด้านต่าง ๆ เช่น ค่าใช้จ่าย การจัดหา/เชิญแพทย์มาให้ความรู้การดูแลตนเอง ปีนี้เรากำลังจะทำกิจกรรมที่ให้ลูกหลานได้มาร่วมกิจกรรมกับผู้สูงอายุด้วย