ข้อจำกัด มีไว้เพื่อ "หลุด"


ข้อจำกัด..มักถูกมองเป็นผู้ร้าย "หยุด"การพัฒนา
วันนี้ข้าพเจ้าจึงขอถ่ายทอดประสบการณ์ อีกมุมมองหนึ่งว่า
ข้อจำกัด..อาจช่วยให้ "หลุด" สู่การทดลองสิ่งใหม่ก็ได้

###
กิจกรรมการเรียนการสอนนักศึกษาหนึ่ง
ตามธรรมเนียมปฎิบัติแล้ว 
นักศึกษาแต่ละคนจะนำข้อมูลการดูแลครอบครัวผู้ป่วย ที่ตนดูแลมานำเสนอให้เพื่อนและอาจารย์ฟัง
โดยอุดมคติ..
ทุกคนควรตั้งใจฟังแล้วจับประเด็นเรียนรู้
ในความเป็นจริง.. 
นักศึกษาที่นำเสนอ ก็ว่าของตัวเองไป
นักศึกษาคนอื่นก็นั่งทำงานของตัวเองไป บ้างก็เล่นเกมส์ หลายๆ คนหลับ
อาจารย์..อย่างข้าพเจ้า ก็มีใจลอยเป็นพักๆ
เพราะ "data" ที่ถูกนำเสนออย่างล้นเหลือ  
ไม่สามารถกลายเป็น "information" ไปใช้ประโยชน์
เพราะไม่มีการประเมินค่า ไม่มีการแปลผล ไม่มีการเชื่อมโยง
ทุกครั้งที่เข้าร่วมกิจกรรมนี้
ก็อดสนเท่ห์ในใจไม่ได้ว่า
"นำเสนอข้อมูลมามากมาย.. แล้วออกไปเหลืออะไรไหมนี่?"
...

จนมานักศึกษากลุ่มนี้ 
ด้วยความที่มีวันหยุดราชการหลายวัน
เกิด "ข้อจำกัด" ทางเวลา
ที่ทำให้ข้าพเจ้ามีข้ออ้างในการปรับเปลี่ยนรูปแบบคือ
1. ขอให้นักศึกษาจับกลุ่ม 4-5 คน แล้วเลือกครอบครัวของเพื่อนที่น่าสนใจที่สุดมาเพียงเคสเดียว แล้วช่วยกันออกแบบ ให้นำเสนออย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดในเวลา 30-45 นาที
2. แม้จะไม่ได้นำเสนอเคสของตัวเองทุกคน แต่ทุกคนควรได้ประเด็นเรียนรู้
ทั้งบทบาทการเป็นผู้เสนอ และผู้ฟังด้วยการ reflection 
3. ใช้ class start ช่วยบันทึกการเรียนรู้ เหตุเพราะไม่มีเวลา reflection ในห้อง : จากประสบการณ์.. นักศึกษา(แพทย์) มักไม่ยอมสมัคร e-learning ด้วยตัวเองเพราะนึกภาพไม่ออก .. จึงใช้วิธีให้ส่งเข้าอีเมล์ข้าพเจ้า แล้วไปโพสต์ไว้ให้เป็นตัวอย่างก่อน

###

ผลลัพท์..
การ reflection ของนักศึกษาบางคน (ที่ข้าพเจ้าให้ดอกไม้ :)

 

สิ่งหนึ่งที่ข้าพเจ้าได้เรียนรู้จากการอ่าน reflection ของนักศึกษา
ไม่รู้ควรเสียใจหรือดีใจดีคือ..
สิ่งที่อาจารย์อย่างข้าพเจ้าพูดไป ไม่ติดในความทรงจำเขาแฮะ
แต่..เขามีความคิดเป็นของเขาเอง
"เขารู้ว่าควรรู้อะไร..หากมีเวลาได้ทบทวน"
 

###

เหตุการณ์นี้ทำให้ข้าพเจ้า เริ่มชอบ "ข้อจำกัด"
เพราะจะได้เป็นข้ออ้าง
..ไม่ใช่ข้ออ้างที่จะหยุด
..แต่เป็นข้ออ้างที่จะหลุด
หลุดจาก กรอบที่ครอบจินตนาการ
หลุดจาก สิ่งที่ทำตามๆ กันมาโดยปราศจากการพิสูจน์คุณค่า
.

อย่าเพิ่งเชื่อสิ่งที่ข้าพเจ้าบอก
จนกว่าคุณจะพิสูจน์ด้วยตนเอง

หมายเลขบันทึก: 495374เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2012 23:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กรกฎาคม 2012 22:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (26)

ถึงกับกรอบกระจุยทีเดียว

ใช้เวลาไม่นานด้วยนะคะ  ในการพิสูจน์คุณค่า

เพชรแท้

คิดถึงคุณหมอ ป. นะคะ พี่ไม่ค่อยจะได้เข้ามา บันทึกน้อง ป. อ่านแล้วสบายใจค่ะ

เรียนอาจารย์หมอป. ข้อจำกัด คือโอกาสพัฒนาครับ

The wide world is too wild. Without a direction, one wanders about - one a child. Commit and persevere, but look around, Friends in different frames are abound.

เป็นวิธีคิดดั่ง R2R ^เพิ่ม tag R2R เข้าไปด้วยน่าจะดียิ่งค่ะ ^^ มาเชียร์ค่ะ

กระบวนการเขียนของนักศึกษาจะทำให้คุณหมอบางเวลาค้นพบอะไรบางอย่างที่ไม่ได้จากการพูด-คุย-วิเคราะห์-สังเคราะห์ที่ได้จากการเรียนในห้องเรียน ;)...

ยินดีด้วยครับ ;)...

ชีวิตมีหนทางเสมอ หาได้มีแต่ข้อจำกัดเพียงอย่างเดียวไม่

เป็นการเอาวิกฤตมาเป็นโอกาส

ถ้าทุกคน คิดบวก มองบวก

ผลงานคงออกมาดีๆ แบบนี้ นี่เอง  อิอิ

เยี่ยมชมบันทึกและส่งต่อ

กำลังใจคะหมอ ป.

เข้าใจข้อดีของ "ข้อจำกัด" แล้วคะ

บางครั้งการมีข้อจำกัด ทำให้เราได้เรียนรู้

ได้ทบทวน และได้ฝึกคิดนอกกรอบบ้าง

จนได้มาซึ่งผลลัพธ์ที่ดีถึงดีมากเชียวคะ

เรีืยน อ. ป. อ่านแล้ว คิดถึงตอนตัวเองเป็น นศพ. ครับ การpresent case น่าเบื่อมากจริงๆครับ บางครั้ง รายงานเองยังเบื่อฟังตัวเองพูด การที่ อ.ให้โจทย์ นศพ. คิดวิธีนำเสนอให้น่าสนใจ เป็นการกระตุกต่อมสร้างสรรค์ให้ทำงานครับ ถ้าผมเป็นลูกศิษย์ อ. ป.ตอนนี้ คงสนุกแน่

และข้อจำกัด มีไว้ให้ "หลุด"...จริงด้วยนะครับ อ. ป. ผมจะจำไว้

ข้อจำกัดไม่ได้มีไว้เพื่อ "หยุด"...สวัสดีครับ

ขอบคุณค่ะ ชอบวิธีการเลือกสรรคำ ของคุณหมออ้อ
อ่านแล้วปลื้มและมีพลังใจเป็นพิเศษเสมอเลยค่ะ 

พี่ krutum ย้ายที่ใหม่คงมีงานยุ่งพอดูเลยนะค่ะ

ดีใจที่มาเยี่ยมเยียนค่ะ

  • หลุดบ่อย ๆ ทำให้เกิดการต่อยอดทางความคิด นับว่าเป็นคุณสมบัติที่ดีของนักเรียนรู้ค่ะ ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณค่ะ บังมีงานพัฒนาล้นมือก็เพราะมุมมองดีๆ เช่นนี้เอง
ข้อจำกัด คือ โอกาสได้พัฒนา
เพราะถ้าไม่มีปัญหา
เราก็จะถูกกรอบบังคับให้เข้าสู่ mode ทำตามเดิมเถิด..

ทำให้เข้าใจความหมายของ
"ดีใจเมื่อเจอปัญหา" ของท่านอาจารย์กะปุ๋มยิ่งขึ้นค่ะ
 

Hello Khun Sr, it seem to be interesting comment.
However, I am not sure understanding it.
Could you please clarify the idea? 

ขอบคุณมากค่ะ อาจารย์กะปุ๋ม :)

ใช่ค่ะอาจารย์ was 
ทุกอย่างที่เราดูจากการกระทำ ทั้งการส่งงาน วิธีการจัดหน้ากระดาษ การเขียน
สะท้อนความเป็นตัวตนของเด็กได้ดีกว่า การยกมือตอบหรือตอบ choice A BC มากมาย 

ชอบรูปแบบการเรียนรู้ของคุณหมอ ป. และคลิปที่มีความหมายมากครับผม

ขอบคุณค่ะพี่มนัญญา 
 

  • ขอบคุณค่ะ ทำให้คิดได้ว่า กรอบ อาจเกิดจากภาวะ "อยู่ในกล่อง"
  • มีหนังสือชื่อ  Leadership and self-depeption มีทฤษฎีการคิดเชิงลบต่อผู้อื่น อย่างน่าสนใจว่า 
  • คนส่วนมาก ไม่สามารถเป็นผู้นำได้เพราะอยู่ "ในกล่อง"
  • ความกลัว ความหวัง ความต้องการภายใน..หรืออะไรก็ตาม ขัดขวางไม่ให้เราได้ทำอย่างที่เราคิดว่าควรทำให้กับผู้อื่น (self betray)  เราจึงรู้สึกผิด   จิตใจเราจึงใช้กลไกปกป้องตัวเองด้วยการโทษผู้อื่น มองผู้อื่นเหมือนเครื่องใช้ เมื่อเกิดความพร่องก็รับไม่ได้
  • ขณะที่ผู้นำ คือผู้ที่สามารถมาอยู่ "นอกกล่อง" ได้ มองผู้คนรอบตัว เป็นมนุษย์ซึ่งมีความกลัว ความหวัง ความต้องการ..ได้เช่นเดียวกับตน  

  • ยินดีและเป็นเกียรติที่คุณหมอเจ้าของความคิดสร้างสรรค์ เจ้าของรางวัล R2R มาเยี่ยมเยียนค่ะ :)
  • ตอนที่ บอก "ให้คิดมาว่าจะทำอย่างไรให้เสนอ ภายใน 30 -45 นาที" ก็แอบได้ยินเสียงแว่วๆ ว่า "สนุก" จากนักศึกษาค่ะ คงไปโดนต่อมสร้างสรรค์ไม่มากก็น้อย
  • ขอบคุณค่ะ เป็นกำลังใจให้คุณหมอและทีม รพ.พิมาย โชว์ผลงานเด็ดๆ ให้เราเห็นอีกนะคะ

ยิ่งมีข้อจำกัดยิ่งมีข้ออ้างให้คิดใหม่ทำใหม่นะค่ะ

ข้อจำกัดมักเกิดขึ่นเมื่อไม่อยากทำตามกรอบที่ทำกันมา อย่างนหมอว่า อยากทำอะไร ไม่มีข้อจำกัด หลุดจากกรอบเดิม ๆ ได้ เพราะทุกอย่างมีทางไป ไม่มากก็น้อย ถ้าอยากทำ

ข้อจำกัดมักเกิดขึ่นเมื่อไม่อยากทำตามกรอบที่ทำกันมา อย่างนหมอว่า อยากทำอะไร ไม่มีข้อจำกัด หลุดจากกรอบเดิม ๆ ได้ เพราะทุกอย่างมีทางไป ไม่มากก็น้อย ถ้าอยากทำ

หูหนวกยังสีไวโอลินได้ ก็เพราะหลุดจากกรอบ แต่เธอหูหนวกกี่เดซิเบล ก็ไม่แน่ใจ ถึงทำได้ขนาดนั้น

ขอบคุณค่ะ ช่วงนี้อ่านบันทึกคุณภาพของอาจารย์แล้วได้แรงบันดาลใจบันทึกมากขึ้นค่ะ

อาจารย์ชัด ช่างตั้งข้อสังเกตได้น่าสนใจค่ะ..ข้อจำกัดคือหูหนวกแล้วเล่นดนตรีได้
..ตัวเองก็ไม่เคยคิดมาก่อน เคยเห็นคนตาบอดเล่นดนตรี แต่คนหูหนวกจะเล่นได้ไหม..บังเอิญ ที่นำมาเป็น spot ที่ไม่ได้บอกว่ามาจากเรื่องจริงหรือเปล่า

  • บีโธเฟน เป็นนักเปียโนชื่อก้องโลก ที่หูหนวก แต่ก็หูหนวกตอนอายุ 30 ปีแล้ว (เขาเริ่มเล่นเปียโนตั้งแต่ 5 ขวบ)
  •  ติ๊ก ศิตาพร พิภพวรไชย นักเปียโนมีฝีมือ พิการทางหูมาแต่กำเนิด แต่ไม่ได้ระบุว่าไม่ได้ยินสนิทหรือเปล่าค่ะ แต่ก็นับถือความพยายามของเธอมากๆ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท